ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 1
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบแนวลงทุน ไม่ใช่เก็งกำไร พอร์ทผมเกินแปดสิบเปอร์เซนต์ลงทุนแนววีไอ ผมได้อ่านบทความของอาจารย์นิเวศน์ล่าสุดเรื่องภาพใหญ่ ภาพเล็ก แล้วรู้สึกว่า มันน่าจะเป็นแนวทางที่ดี แต่สงสัยอยู่ว่า ที่อาจารย์บอกว่า ปีหนึ่งทำกำไรได้ซักสิบถึงสิบห้าเปอร์เซนต์ หมายความว่า คิดจากเงินที่ลงทุนไปแล้วดูผลตอบแทนที่กลับมาในรูปปันผล บวกกับผลต่างของราคาที่ซื้อกับราคาปัจจุบันใช่เปล่าครับ เพราะหุ้นที่ผมมีปันผลประมาณปีละ ห้าถึงหกกว่าๆ เปอร์เซนต์ต่อปีเท่านั้นเอง อยากรบกวนท่านผู้รู้หน่อยครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 3
ผลตอบแทนก็คือกำไรที่เกินส่วนทุน
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน มาอย่างไร ก็ไม่สำคัญครับ
ทั้งเงินปันผล ส่วนต่างมูลค่าหุ้น เครดิตเงินปันผล การกู้เงินเพื่อเพิ่มผลตอบแทน
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน มาอย่างไร ก็ไม่สำคัญครับ
ทั้งเงินปันผล ส่วนต่างมูลค่าหุ้น เครดิตเงินปันผล การกู้เงินเพื่อเพิ่มผลตอบแทน
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 4
บทความนี้ช่วยได้มากเลยครับในเรื่องรูปแบบการคิด
การคิดใหญ่(จำได้ว่าดร.เคยเขียนหนังสือ"คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก"ด้วยนะครับ)เป็นเรื่องจำเป็น ถ้ามองภาพใหญ่ผิดไปแม้ภาพเล็กๆน้อยๆจะถูกต้องก็ก่อให้เกิดความเสียหายได้ไม่น้อย
ภาพใหญ่แต่ละเรื่องคืออะไร ก็ต้องดูว่าเรื่องนั้นคืออะไร
ภาพใหญ่ก็คือ กุญแจตัวใหญ่สำหรับไขความลับของเรื่องนั้นๆ
ภาพใหญ่เป็นเรื่องที่ชี้เป็นชี้ตายและมีอิทธิพลสูง
ภาพใหญ่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนลงแรงหนักๆ ขอให้จับจุดให้ถูกแม้เรื่องที่ธรรมดาสามัญก็ให้ผลที่สูงกว่า
หนุ่มๆทำงานหนักเพียงใด มุ่งมั่นเพียงไหน หวังจะร่ำรวยจากการทำงาน แต่เมื่อเทียบกับการแต่งงานกับหญิงสาวบุตรีแห่งคหบดี ความร่ำรวยที่หนุ่มๆมุ่งมั่นย่อมแตกต่างกันลิบลับ
นั่นเป็นภาพใหญ่ของการร่ำรวยของชายหนุ่ม แน่นอนว่าภาพใหญ่ของครอบครัวที่อบอุ่นย่อมมีมุมมองที่แตกต่างออกไปแล้วแต่รสนิยมซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่มุ่งเน้นในกรณีนี้จึงไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียด
ดังนั้นภาพทุกภาพสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้มีความสำคัญเท่ากัน
ภาพใหญ่มีสรรพคุณสูงกว่าภาพเล็กมากมาย
เราจะพึ่งใครสำหรับการมองหาภาพใหญ่ เพราะแม้แต่พระเจ้าก็ทรงซุกซ่อนเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างแยบยล
ไอน์สไตน์เคยบอกว่า พระเจ้าไม่ได้ดูแลโลกและจักรวาลแบบทอดลูกเต๋า(หมายถึงไม่ทรงทำอะไรมั่วๆ)
เรื่องนี้ไอน์สไตน์ผิด
พระเจ้าไม่เพียงแต่เล่นลูกเต๋าเท่านั้น แต่พระองค์ทรงถ่วงปรอทเสียด้วย :lol:
รายละเอียดสามารถพบได้ใน Paretos Law (ที่มาของกฏ 80/20) นี่เอง
การคิดใหญ่(จำได้ว่าดร.เคยเขียนหนังสือ"คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก"ด้วยนะครับ)เป็นเรื่องจำเป็น ถ้ามองภาพใหญ่ผิดไปแม้ภาพเล็กๆน้อยๆจะถูกต้องก็ก่อให้เกิดความเสียหายได้ไม่น้อย
ภาพใหญ่แต่ละเรื่องคืออะไร ก็ต้องดูว่าเรื่องนั้นคืออะไร
ภาพใหญ่ก็คือ กุญแจตัวใหญ่สำหรับไขความลับของเรื่องนั้นๆ
ภาพใหญ่เป็นเรื่องที่ชี้เป็นชี้ตายและมีอิทธิพลสูง
ภาพใหญ่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนลงแรงหนักๆ ขอให้จับจุดให้ถูกแม้เรื่องที่ธรรมดาสามัญก็ให้ผลที่สูงกว่า
หนุ่มๆทำงานหนักเพียงใด มุ่งมั่นเพียงไหน หวังจะร่ำรวยจากการทำงาน แต่เมื่อเทียบกับการแต่งงานกับหญิงสาวบุตรีแห่งคหบดี ความร่ำรวยที่หนุ่มๆมุ่งมั่นย่อมแตกต่างกันลิบลับ
นั่นเป็นภาพใหญ่ของการร่ำรวยของชายหนุ่ม แน่นอนว่าภาพใหญ่ของครอบครัวที่อบอุ่นย่อมมีมุมมองที่แตกต่างออกไปแล้วแต่รสนิยมซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่มุ่งเน้นในกรณีนี้จึงไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียด
ดังนั้นภาพทุกภาพสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้มีความสำคัญเท่ากัน
ภาพใหญ่มีสรรพคุณสูงกว่าภาพเล็กมากมาย
เราจะพึ่งใครสำหรับการมองหาภาพใหญ่ เพราะแม้แต่พระเจ้าก็ทรงซุกซ่อนเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างแยบยล
ไอน์สไตน์เคยบอกว่า พระเจ้าไม่ได้ดูแลโลกและจักรวาลแบบทอดลูกเต๋า(หมายถึงไม่ทรงทำอะไรมั่วๆ)
เรื่องนี้ไอน์สไตน์ผิด
พระเจ้าไม่เพียงแต่เล่นลูกเต๋าเท่านั้น แต่พระองค์ทรงถ่วงปรอทเสียด้วย :lol:
รายละเอียดสามารถพบได้ใน Paretos Law (ที่มาของกฏ 80/20) นี่เอง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 5
ในวันงาน meeting ดร.ท่านพูดถึงหุ้นที่แต่ละกลุ่มเลือก ซึ่งท่านได้พูดถึงภาพใหญ่ที่พวกเรามักมองข้ามกันเวลาที่เราเลือกหุ้น
และวันจิบเบียร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสคุยกับพี่หมอสามัญชน พี่หมอก็ได้พูดอีกครั้งว่าเวลาเลือกหุ้นพวกเรามักมองแต่ภาพเล็กที่มีความสำคัญน้อยเป็นหลัก เรามักมองข้ามหรือมองไม่เห็น ภาพใหญ่ซึ่งมีความสำคัญมากกว่า และพี่หมอได้ยกตัวอย่างเล็กๆไว้ด้วย เป็นกรณีการดูงบการเงิน แต่ผมลืมเนื้อหาไปแล้วว่าพี่หมอพูดว่าอย่างไร :oops:
และวันจิบเบียร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสคุยกับพี่หมอสามัญชน พี่หมอก็ได้พูดอีกครั้งว่าเวลาเลือกหุ้นพวกเรามักมองแต่ภาพเล็กที่มีความสำคัญน้อยเป็นหลัก เรามักมองข้ามหรือมองไม่เห็น ภาพใหญ่ซึ่งมีความสำคัญมากกว่า และพี่หมอได้ยกตัวอย่างเล็กๆไว้ด้วย เป็นกรณีการดูงบการเงิน แต่ผมลืมเนื้อหาไปแล้วว่าพี่หมอพูดว่าอย่างไร :oops:
สติมา ปัญญาเกิด
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 6
ขอเอาบทความเก่าเรื่อง"ภาพใหญ่"มาแจมนะครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 3%CB%AD%E8
และขอเอาบทความต้นฉบับที่ผมเขียนให้คุณโหน่งในเรื่อง"ภาพใหญ่"ไปลงหนังสือ7values มาแชร์ให้อ่านเล่นกันนะครับ(คำพูดที่สละสลวยอยู่ในหนังสือคุณโหน่งนั้น ฝีมือคุณโหน่งแต่งเติมให้ครับ)
กล่าวเนื่องมาจากคำถามที่ได้พูดคุยกันใน THAIVI.COM ที่ท่านดร.นิเวศน์กล่าวไว้ว่าเราต้องมองภาพใหญ่ในการคัดสรรหุ้น แต่ในเมื่อแนวVIดั้งเดิมมีความเข้าใจว่าการเลือกหุ้นต้องเน้นมองMICRO ECONOMIC หรือคือการมองที่ตัวหุ้นโดยไม่ต้องไปเน้นMACRO ECONOMICหรือมองภาพรวมเศรษฐกิจ
ผมเลยลองทำความเข้าใจคำว่าภาพใหญ่ที่ท่านอาจารย์ผมได้กล่าวไว้นั้น แบ่งมุมมองออกเป็นสามส่วนดังนี้ครับ
1ภาพใหญ่ในเรื่องของความต้องการของตนเอง เราต้องถามความต้องการของตนเองให้ได้ว่า
-.เราต้องการผลตอบแทนในการลงทุนเท่าไหร่
-.ในระยะเวลานานเท่าใด และ
-.ยอมขาดทุนจากเงินลงทุนได้มากขนาดไหน
เพื่อที่จะกำหนดภาพใหญ่ในเรื่องความต้องการของตนเอง ไว้เป็นแนวทางที่จะได้กำหนด "ชนิดของปลาที่ต้องการ" และ "แหล่งปลาที่จะไปหา" ได้ตามที่เราต้องการ เช่น ถ้าเราต้องการผลตอบแทนไม่สูงมาก ขอส่วนต่างราคาหุ้นรวมปันผลซักประมาณ10%ต่อปี และต้องการถือระยะยาวซัก20ปี ช่วงแรกไม่เน้นเงินปันผล แต่เน้นความปลอดภัยมากๆหน่อย เราก็หาหุ้นที่มีแบรนด์เนมแข็งแกร่ง เป็นผู้นำในตลาด มีประวัติที่ผ่านมาดีชัดเจน เทรนผู้บริโภคระยะยาวน่าจะโตกว่าGDP เพราะฉะนั้นถ้าเราตั้งโจทย์ไว้อย่างนี้แล้ว เราก็เลือกได้ง่ายขึ้น ยอมที่จะเลือกหุ้นที่มี margins of safety น้อยหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะเราต้องการแลกความเสี่ยงกับราคาที่ซื้อแพงขึ้น เปรียบเสมือนเรายอมไปตกปลาในบ่อที่เขาเตรียมปลาไว้ให้แล้ว เพื่อที่ชัวร์ๆว่ายังไงปลาก็กินเบ็ดของคุณ(แต่คุณต้องเสียค่าตกปลาหน่อยน๊ะเพื่อแลกกับความเสี่ยงที่ลดลง) หุ้นประเภทนี้ก็เช่น TF SCC PB CP7-11 SAUCE BHเป็นต้น ส่วนใครที่ต้องการได้ผลตอบแทนสูงๆ คงจะไปเสียเงินตกในบ่อไม่ได้ ก็คงต้องไปหาปลาในแหล่งที่คนอื่นยังไม่ไปหาอย่างที่คุณลูกอิสานกล่าวไว้ว่า "จงไปหาปลาในที่ๆมันมีปลา" หมายความว่า ถ้าคุณอยากได้ผลตอบแทนสูงๆสัก50%ต่อปี คุณก็ต้องกล้าที่จะไปค้นหาในที่ๆคนอื่นยังไม่ไป และบางครั้งต้องเข้าถ้ำเสือ จึงจะได้ลูกเสือ ก็แน่นอนว่าความเสี่ยงก็ต้องมากกว่าหุ้นพื้นฐานมากอยู่มากโข แต่เราก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงให้ต่ำลงได้โดยการทำความเข้าใจกับหุ้นตัวนั้นให้มากที่สุด ในเมื่อความไม่รู้ในหุ้นตัวนั้นๆลดลง ความเสี่ยงก็ลดลงด้วยเช่นกัน ที่สำคัญ อย่าหลอกตัวเองว่ารู้ และ อย่าโลภเกินความรู้
2ภาพใหญ่ในเรื่องของตัวหุ้น ในเมื่อผมได้รู้ตนเองและได้คำตอบจากข้อ1มาแล้ว ผมก็จะหาหุ้นในแบบที่ผมต้องการ เช่นถ้าผมต้องการผลตอบแทน50%ต่อปี และยังมีไฟในการหาข้อมูล ตามติดข่าวสารได้ตลอด สามารถเข้าได้เร็ว และไม่จำเป็นต้องถือยาวหลายๆปี ยอมรับความเสี่ยงของเงินลงทุนได้ทั้งก้อนที่ลงไป ผมคงไม่ไปหาหุ้นพื้นฐานที่โตช้า ภาพใหญ่อันดับแรกที่ผมเลือกคือประเภทหุ้นที่สามารถให้ผลตอบแทนได้มากๆเช่นนั้น ผมก็คงจะไปหาหุ้นsupergrowth หุ้นturnaround หุ้นวัฏจักร หรือหุ้นasset playที่รอการปลดปล่อยทรัพย์สิน ออกมาให้เรา รวมไปถึงwบางตัวที่คิดว่ามีupsideมากพอควรมากกว่าครับ แล้วเราค่อยมามองภาพใหญ่ในอันดับต่อไปคือภาพใหญ่ของหุ้นตัวนั้นๆ เช่นภาพใหญ่ของหุ้นโตเร็วก็คือการเติบโตของผลกำไร เราก็ต้องเน้นโฟกัสความคิดเราส่วนมากไปที่ความน่าจะเป็นทั้งแง่บวกและลบในผลกำไรที่บริษัทจะหาได้ในอนาคต หรือหุ้นในกลุ่มturnaround เราก็ต้องโฟกัสไปยังจุดกลับตัวของธุรกิจ ว่าที่ผ่านๆมาหุ้นตัวนี้เจอมรสุมที่อาจจะเป็นเรื่องของราคาวัตถุดิบ เพิ่มขึ้นมาก แต่ปรับราคาขายไม่ทัน หรือผลกระทบชั่วครั้งชั่วคราวทำให้รายได้และกำไรลดลงในปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นก็ลงมารองรับข่าวร้ายไปหมด พอธุรกิจฟื้น ผลประกอบการฟื้น ราคาหุ้นก็ฟื้นเช่นกัน
เมื่อผมได้ภาพใหญ่ชัดเจนแล้ว ผมค่อยไปมองภาพย่อยเจาะทำความรู้จักส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นๆครับ
3ภาพใหญ่ในจังหวะการลงทุน ในเมื่อได้คำตอบของข้อ1และ2แล้ว จะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวกับอยู่ทั้งในข้อที่1และ2อยู่ข้อหนึ่งคือระยะเวลาในการครอบครองหุ้นและจังหวะในการซื้อ-ขายหุ้น(time & timing) เช่นดร.มีพอร์ตที่ใหญ่มาก หลายร้อนล้าน เป็นทำให้ต้องมองหาหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงๆในการลงทุน และโดยส่วนตัวท่านเป็นคนที่ไม่ชอบเสี่ยง ต้องการผลตอบแทนระดับ15-25%ต่อปี ต้องการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวในระยะ5ปีขึ้นไป ทำให้ท่านดร.ต้องมองภาพใหญ่เป็นแบบระยะยาวของเทรนอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่ามีกำแพง คูเมืองป้องกันคู่แข่งในระยะยาวเกิน5ปีหรือเปล่า(เท่ากับที่ท่านต้องการลงทุน) โดยมองข้ามปัจจัยที่มีผลกระทบในแง่ลบในระยะสั้นๆ(หรือนั่นคือจังหวะในการซื้อของท่านมากกว่า)หรือมองข้ามภาพเล็กๆในองค์ประกอบที่ไม่ค่อยมีนัยสำคัญกับเมื่อเทียบกับเทรนของธุรกิจในระยะยาว ส่วนบางคนที่พอร์ตเล็กเช่นผม และอาจมีความต้องการผลกำไรช่วงแรกๆในการลงทุนมากกว่านั้น(จนกว่าเงินต้นจะมากพอ) จึงต้องไปมองหาหุ้นขนาดเล็กและขนาดกลางที่สามารถเติบโตได้รวดเร็วในระยะ1-5ปีข้างหน้า ซึ่งก็ต้องมองภาพใหญ่ของผลกำไรแค่ในระยะกลางๆ1-5ปีเท่าที่ๆเราต้องการลงทุน หรือสมมุติว่าถ้าเรารู้ว่าปีหน้ามีบริษัทหนึ่งกำไรของบริษัทจะturnaroundกำไรโต5กว่าเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา peปีหน้าอาจเหลือเพียง2เท่ากว่าในราคาปัจจุบัน(สมมุติว่าเป็นจุดเริ่มต้นขาขึ้นของหุ้นวัฎจักร) อย่างน้อยๆเราคงไม่มองไปในอนาคตอีก5ปีว่าเขาจะเป็นอย่างไร หรือคงไม่ต้องไปหารายละเอียดข้อด้อยปลีกย่อยของหุ้นตัวนั้น เพราะ "ช้างก็บินได้สำหรับขาขึ้นของหุ้นวัฏจักร"(พี่สามัญชนกล่าวไว้) เป็นผมคงมองในระยะสั้นๆถึงแค่ปีหน้าให้ชัวร์ๆไว้ก่อน เพราะถ้าเป็นจริง ปีหน้านี้เราคงได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นตัวนี้เป็นแน่แท้ แล้วค่อยมาหาจุดขายอีกครั้งหนึ่ง
แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า เรามองภาพใหญ่ในระยะต่างๆได้ตรงและชัดเจนเพียงใด เพราะถ้ายิ่งสั้น โอกาสกลับตัวยิ่งน้อย โอกาสขาดทุนมีสูงกว่า ส่วนคนที่มองภาพใหญ่ในระยะยาวอย่างเช่นท่านดร.นิเวศน์ โอกาสขาดทุนก็แทบจะเป็นศูนย์ และที่สำคัญที่สุดใครสามารถมองหาภาพใหญ่ในระยะยาวณ.ที่ราคาหุ้นยังไม่แพง ต้องถือว่าเขาสามารถถูกหวยได้เป็น10ปีโดยไม่ต้องไปเสียเวลาหาหุ้นตัวใหม่อีกเลยครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 3%CB%AD%E8
และขอเอาบทความต้นฉบับที่ผมเขียนให้คุณโหน่งในเรื่อง"ภาพใหญ่"ไปลงหนังสือ7values มาแชร์ให้อ่านเล่นกันนะครับ(คำพูดที่สละสลวยอยู่ในหนังสือคุณโหน่งนั้น ฝีมือคุณโหน่งแต่งเติมให้ครับ)
กล่าวเนื่องมาจากคำถามที่ได้พูดคุยกันใน THAIVI.COM ที่ท่านดร.นิเวศน์กล่าวไว้ว่าเราต้องมองภาพใหญ่ในการคัดสรรหุ้น แต่ในเมื่อแนวVIดั้งเดิมมีความเข้าใจว่าการเลือกหุ้นต้องเน้นมองMICRO ECONOMIC หรือคือการมองที่ตัวหุ้นโดยไม่ต้องไปเน้นMACRO ECONOMICหรือมองภาพรวมเศรษฐกิจ
ผมเลยลองทำความเข้าใจคำว่าภาพใหญ่ที่ท่านอาจารย์ผมได้กล่าวไว้นั้น แบ่งมุมมองออกเป็นสามส่วนดังนี้ครับ
1ภาพใหญ่ในเรื่องของความต้องการของตนเอง เราต้องถามความต้องการของตนเองให้ได้ว่า
-.เราต้องการผลตอบแทนในการลงทุนเท่าไหร่
-.ในระยะเวลานานเท่าใด และ
-.ยอมขาดทุนจากเงินลงทุนได้มากขนาดไหน
เพื่อที่จะกำหนดภาพใหญ่ในเรื่องความต้องการของตนเอง ไว้เป็นแนวทางที่จะได้กำหนด "ชนิดของปลาที่ต้องการ" และ "แหล่งปลาที่จะไปหา" ได้ตามที่เราต้องการ เช่น ถ้าเราต้องการผลตอบแทนไม่สูงมาก ขอส่วนต่างราคาหุ้นรวมปันผลซักประมาณ10%ต่อปี และต้องการถือระยะยาวซัก20ปี ช่วงแรกไม่เน้นเงินปันผล แต่เน้นความปลอดภัยมากๆหน่อย เราก็หาหุ้นที่มีแบรนด์เนมแข็งแกร่ง เป็นผู้นำในตลาด มีประวัติที่ผ่านมาดีชัดเจน เทรนผู้บริโภคระยะยาวน่าจะโตกว่าGDP เพราะฉะนั้นถ้าเราตั้งโจทย์ไว้อย่างนี้แล้ว เราก็เลือกได้ง่ายขึ้น ยอมที่จะเลือกหุ้นที่มี margins of safety น้อยหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะเราต้องการแลกความเสี่ยงกับราคาที่ซื้อแพงขึ้น เปรียบเสมือนเรายอมไปตกปลาในบ่อที่เขาเตรียมปลาไว้ให้แล้ว เพื่อที่ชัวร์ๆว่ายังไงปลาก็กินเบ็ดของคุณ(แต่คุณต้องเสียค่าตกปลาหน่อยน๊ะเพื่อแลกกับความเสี่ยงที่ลดลง) หุ้นประเภทนี้ก็เช่น TF SCC PB CP7-11 SAUCE BHเป็นต้น ส่วนใครที่ต้องการได้ผลตอบแทนสูงๆ คงจะไปเสียเงินตกในบ่อไม่ได้ ก็คงต้องไปหาปลาในแหล่งที่คนอื่นยังไม่ไปหาอย่างที่คุณลูกอิสานกล่าวไว้ว่า "จงไปหาปลาในที่ๆมันมีปลา" หมายความว่า ถ้าคุณอยากได้ผลตอบแทนสูงๆสัก50%ต่อปี คุณก็ต้องกล้าที่จะไปค้นหาในที่ๆคนอื่นยังไม่ไป และบางครั้งต้องเข้าถ้ำเสือ จึงจะได้ลูกเสือ ก็แน่นอนว่าความเสี่ยงก็ต้องมากกว่าหุ้นพื้นฐานมากอยู่มากโข แต่เราก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงให้ต่ำลงได้โดยการทำความเข้าใจกับหุ้นตัวนั้นให้มากที่สุด ในเมื่อความไม่รู้ในหุ้นตัวนั้นๆลดลง ความเสี่ยงก็ลดลงด้วยเช่นกัน ที่สำคัญ อย่าหลอกตัวเองว่ารู้ และ อย่าโลภเกินความรู้
2ภาพใหญ่ในเรื่องของตัวหุ้น ในเมื่อผมได้รู้ตนเองและได้คำตอบจากข้อ1มาแล้ว ผมก็จะหาหุ้นในแบบที่ผมต้องการ เช่นถ้าผมต้องการผลตอบแทน50%ต่อปี และยังมีไฟในการหาข้อมูล ตามติดข่าวสารได้ตลอด สามารถเข้าได้เร็ว และไม่จำเป็นต้องถือยาวหลายๆปี ยอมรับความเสี่ยงของเงินลงทุนได้ทั้งก้อนที่ลงไป ผมคงไม่ไปหาหุ้นพื้นฐานที่โตช้า ภาพใหญ่อันดับแรกที่ผมเลือกคือประเภทหุ้นที่สามารถให้ผลตอบแทนได้มากๆเช่นนั้น ผมก็คงจะไปหาหุ้นsupergrowth หุ้นturnaround หุ้นวัฏจักร หรือหุ้นasset playที่รอการปลดปล่อยทรัพย์สิน ออกมาให้เรา รวมไปถึงwบางตัวที่คิดว่ามีupsideมากพอควรมากกว่าครับ แล้วเราค่อยมามองภาพใหญ่ในอันดับต่อไปคือภาพใหญ่ของหุ้นตัวนั้นๆ เช่นภาพใหญ่ของหุ้นโตเร็วก็คือการเติบโตของผลกำไร เราก็ต้องเน้นโฟกัสความคิดเราส่วนมากไปที่ความน่าจะเป็นทั้งแง่บวกและลบในผลกำไรที่บริษัทจะหาได้ในอนาคต หรือหุ้นในกลุ่มturnaround เราก็ต้องโฟกัสไปยังจุดกลับตัวของธุรกิจ ว่าที่ผ่านๆมาหุ้นตัวนี้เจอมรสุมที่อาจจะเป็นเรื่องของราคาวัตถุดิบ เพิ่มขึ้นมาก แต่ปรับราคาขายไม่ทัน หรือผลกระทบชั่วครั้งชั่วคราวทำให้รายได้และกำไรลดลงในปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นก็ลงมารองรับข่าวร้ายไปหมด พอธุรกิจฟื้น ผลประกอบการฟื้น ราคาหุ้นก็ฟื้นเช่นกัน
เมื่อผมได้ภาพใหญ่ชัดเจนแล้ว ผมค่อยไปมองภาพย่อยเจาะทำความรู้จักส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นๆครับ
3ภาพใหญ่ในจังหวะการลงทุน ในเมื่อได้คำตอบของข้อ1และ2แล้ว จะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวกับอยู่ทั้งในข้อที่1และ2อยู่ข้อหนึ่งคือระยะเวลาในการครอบครองหุ้นและจังหวะในการซื้อ-ขายหุ้น(time & timing) เช่นดร.มีพอร์ตที่ใหญ่มาก หลายร้อนล้าน เป็นทำให้ต้องมองหาหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงๆในการลงทุน และโดยส่วนตัวท่านเป็นคนที่ไม่ชอบเสี่ยง ต้องการผลตอบแทนระดับ15-25%ต่อปี ต้องการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวในระยะ5ปีขึ้นไป ทำให้ท่านดร.ต้องมองภาพใหญ่เป็นแบบระยะยาวของเทรนอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่ามีกำแพง คูเมืองป้องกันคู่แข่งในระยะยาวเกิน5ปีหรือเปล่า(เท่ากับที่ท่านต้องการลงทุน) โดยมองข้ามปัจจัยที่มีผลกระทบในแง่ลบในระยะสั้นๆ(หรือนั่นคือจังหวะในการซื้อของท่านมากกว่า)หรือมองข้ามภาพเล็กๆในองค์ประกอบที่ไม่ค่อยมีนัยสำคัญกับเมื่อเทียบกับเทรนของธุรกิจในระยะยาว ส่วนบางคนที่พอร์ตเล็กเช่นผม และอาจมีความต้องการผลกำไรช่วงแรกๆในการลงทุนมากกว่านั้น(จนกว่าเงินต้นจะมากพอ) จึงต้องไปมองหาหุ้นขนาดเล็กและขนาดกลางที่สามารถเติบโตได้รวดเร็วในระยะ1-5ปีข้างหน้า ซึ่งก็ต้องมองภาพใหญ่ของผลกำไรแค่ในระยะกลางๆ1-5ปีเท่าที่ๆเราต้องการลงทุน หรือสมมุติว่าถ้าเรารู้ว่าปีหน้ามีบริษัทหนึ่งกำไรของบริษัทจะturnaroundกำไรโต5กว่าเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา peปีหน้าอาจเหลือเพียง2เท่ากว่าในราคาปัจจุบัน(สมมุติว่าเป็นจุดเริ่มต้นขาขึ้นของหุ้นวัฎจักร) อย่างน้อยๆเราคงไม่มองไปในอนาคตอีก5ปีว่าเขาจะเป็นอย่างไร หรือคงไม่ต้องไปหารายละเอียดข้อด้อยปลีกย่อยของหุ้นตัวนั้น เพราะ "ช้างก็บินได้สำหรับขาขึ้นของหุ้นวัฏจักร"(พี่สามัญชนกล่าวไว้) เป็นผมคงมองในระยะสั้นๆถึงแค่ปีหน้าให้ชัวร์ๆไว้ก่อน เพราะถ้าเป็นจริง ปีหน้านี้เราคงได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นตัวนี้เป็นแน่แท้ แล้วค่อยมาหาจุดขายอีกครั้งหนึ่ง
แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า เรามองภาพใหญ่ในระยะต่างๆได้ตรงและชัดเจนเพียงใด เพราะถ้ายิ่งสั้น โอกาสกลับตัวยิ่งน้อย โอกาสขาดทุนมีสูงกว่า ส่วนคนที่มองภาพใหญ่ในระยะยาวอย่างเช่นท่านดร.นิเวศน์ โอกาสขาดทุนก็แทบจะเป็นศูนย์ และที่สำคัญที่สุดใครสามารถมองหาภาพใหญ่ในระยะยาวณ.ที่ราคาหุ้นยังไม่แพง ต้องถือว่าเขาสามารถถูกหวยได้เป็น10ปีโดยไม่ต้องไปเสียเวลาหาหุ้นตัวใหม่อีกเลยครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 7
นั่นหมายความว่า หุ้นที่เราซื้อ สมมติว่า สิบบาท ปันผลคิดแล้วซัก 6 เปอร์เซนต์ต่อปี อีกประมาณสิบเปอร์เซนต์ที่เหลือคือมูลค่าหุ้นที่ควรจะเพิ่มขึ้นใช่หรือเปล่าครับ เช่น สิบบาท ปีหน้าควรจะเป็นสิบเอ็ดบาทบวกกับ 6 เปอร์เซนต์ของปันผลเป็น 16 เปอร์เซนต์ ปีต่อไปสมมติว่า ปันผลเท่าเดิม มูลค่าหุ้นก็ควรจะเป็น 12 ขึ้นไปใช่ไหมครับ
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 8
ผมว่าขึ้นอยู่กับรูปแบบ วิธีการ และ ความพอใจในการลงทุนมากกว่า
อย่างที่ท่าน ดร. ว่าถ้าเราต้องการหาวิธีการที่สามารถทำให้เงินออมของเรางอกเงินขึ้นมา ได้ในระดับอัตราผลตอบแทนที่มากกว่า อัตราเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว โดย 15% ที่ว่าเป็นเพียงการคิดถึงผลตอบแทนที่เหมาะสมในการลงทุน และความพอใจในการลงทุน ซึ่งหากทำได้ต่อเนื่องและยาวนานถือว่าคุ้มค่าในการลงทุนกว่าประเภทอื่น
สำหรับอัตราผลตอบแทนสามารถคิดได้หลายแบบ แล้วแต่ สมมุติฐานของนักลงทุน เช่น คิดรวมทั้ง อัตราการเจริญเติบโต เงินปันผล ความต้องการตลาด และอื่นๆที่มีผลต่อบริษัทที่ลงทุน
อย่างที่ท่าน ดร. ว่าถ้าเราต้องการหาวิธีการที่สามารถทำให้เงินออมของเรางอกเงินขึ้นมา ได้ในระดับอัตราผลตอบแทนที่มากกว่า อัตราเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว โดย 15% ที่ว่าเป็นเพียงการคิดถึงผลตอบแทนที่เหมาะสมในการลงทุน และความพอใจในการลงทุน ซึ่งหากทำได้ต่อเนื่องและยาวนานถือว่าคุ้มค่าในการลงทุนกว่าประเภทอื่น
สำหรับอัตราผลตอบแทนสามารถคิดได้หลายแบบ แล้วแต่ สมมุติฐานของนักลงทุน เช่น คิดรวมทั้ง อัตราการเจริญเติบโต เงินปันผล ความต้องการตลาด และอื่นๆที่มีผลต่อบริษัทที่ลงทุน
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
ภาพเล็กภาพใหญ่ กับ ผลตอบแทนที่ได้
โพสต์ที่ 9
อันนี้เป็นภาพใหญ่ของดร.ในเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนดร.นิเวศน์ เขียน:หรือความเชื่อที่ว่าการลงทุนในตลาดหุ้น ผลตอบแทนในระยะยาวสำหรับพอร์ตที่มีขนาดใหญ่พอสมควรจะไม่สามารถทำได้เกินปีละ 20-25% โดยเฉลี่ย
และสำหรับพอร์ทใหญ่ๆด้วย ไม่ใช่เล็กๆแบบพวกเรา(ผมด้วย)
ถ้ามองตรงนี้ด้านเดียวอาจจะงงๆและเข้าใจภาพใหญ่ในเรื่องผลตอบแทนได้ไม่หมด
ลองมองอันนี้ด้วยครับ
จะเห็นได้ว่า ดร.นั้นมีประวัติชัดเจนและยาวนานในรูปแบบของการเป็นนักลงทุนสไตล์เต่า จนกระทั่งทุกวันนี้ทุกคนตั้งฉายาให้ท่านว่า "เซียนเต่า" :lol:ดร.นิเวศน์ เขียน:ภาพใหญ่เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือ เรื่องของสไตล์ในการลงทุน ผมคิดว่า ตัวเราเองก็ควรจะมี ภาพใหญ่ นั่นหมายความว่า เมื่อมองตัวเราเองจากภายนอก ควรจะรู้หรือบอกได้ว่าเราเป็นนักลงทุนแบบไหน พูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือ เรามีสไตล์การลงทุนแบบไหน ชอบลงทุนในหุ้นซุปเปอร์สต็อคหรือแบบก้นบุหรี่ที่ชอบหุ้นที่มีราคาถูกมาก หรือเราชอบหุ้นประเภทวัฎจักรหรือหุ้นที่กำลังฟื้นตัว
แต่ไม่ใช่ว่าผลตอบแทนจะเป็นเต่าไปด้วย เพราท่านชอบหุ้น superprime หรือหุ้น greate ที่มี growth หุ้นเหล่านี้เป็นสุดยอดหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ต่อเนื่องยาวนานโดยไม่ต้องไปทำอะไรกับมันมากและสามารถสร้าง capital gain ได้ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
อย่างกรณี stanly ที่ท่านซื้อนั้น ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 20 กว่าเท่าภายในปีเดียว (20เท่านะครับไม่ใช่ 20 %)
ดังนั้น1. ผมจึงเดาว่าการที่ท่านบอกว่าได้กำไร 15-20% แล้วท่านถือว่าประสบผลสำเร็จสูงมาก จึงเป็นเรื่องที่ท่านถ่อมตัวไว้ก่อน หรือมักน้อยไว้ก่อนเท่านั้นเองเพราะถ้าหวังมากๆก็มีโอกาสผิดหวังสูง แต่ที่ผมบอกว่ามักน้อยที่จริงแล้วก็ไม่ได้น้อยอะไรเลย และสามารถทำกำไรต่อเนื่องได้เป็นสิบๆปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่มหาศาล เพราะผลตอบแทนจากพันธบัตรก็แค่ 4-5% เท่านั้นเอง
และดังนั้น2. ผมจึงเดาว่าภาพใหญ่ในการลงทุนของท่าน จะต้องเป็นการลงทุนอย่างมีความสุข มีความสงบในตัว และไม่กระวนกระวายใจอย่างแน่นอน
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด