เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
อึ้งกิมกี่
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หวัดดีครับ พึ่งสมัครสมาชิก ก็ขอประเดิมกระทู้แรกก่อนนะครับ

วันจันทร์ที่ผ่านมาได้อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุระกิจ มีพูดถึงเรื่องเงินทุนต่างชาติหลายต่อหลายรายที่มาลงทุน แต่ในที่สุดได้ตัดสินใจถอนการลงทุนออกไปเพราะไม่ประสพความสำเร็จในการลงทุนในไทย เช่นกลุ่ม bank กลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์ กลุ่มสื่อสาร ฯลฯ มีใครได้อ่านบ้าง อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างครับ ดูเหมือนบ้านเราไม่มี standard ที่ดีในการทำธุรกิจกันทำให้เขาอยู่ไม่ได้กัน ความสำเร็จในการลงทุนมักจะอยู่ที่เส้นสายหรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงทุนกับรัฐ ซึ่งต่างชาติไม่สามารถเข้าไม่ถึงได้เลยต้องถอยทัพกันไป

ดูๆแล้วไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี กับการดำเนินธุระกิจแบบไทยๆของเรา
นี่ไม่รู้เป็นสาเหตุให้พวกกองทุนต่างชาติพลอยขยาดตลาดหุ้นเราด้วยหรือเปล่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
อึ้งกิมกี่
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 2

โพสต์

กระทู้ข้างบนผมตั้งเองครับ แต่ทำไมชื่อสมาชิกไม่ปรากฎไม่ทราบ สงสัยผมคงทำอะไรไม่ถูกหนะครับ

อึ้งกิมกี่
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ยินดีต้อนรับครับอาเฮียอึ้ง

ในมุมมองต่างชาติ คงไม่ดีแน่ครับ ผมก็ไม่อยากไปลงทุนในประเทศอื่น
ถ้าลงทุนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แต่ผมก็เห็นบริษัทข้ามชาติหลายบริษัทนะครับที่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ
แต่คิดว่า sector บางเ sector ค่อนข้างจะหินครับ อย่างเช่นแบงก์หรือ
คอมมูฯ เป็นต้น เพราะเส้นสายคอนเน็คชั่นมาเป็นอันดับหนึ่ง (ทั้งนี้เพื่อ
ปกป้องผลประโยชน์ของ 10 ตระกูลใหญ่ที่คุมเศรษฐกิจครับ)
THEPUNG
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อ่านเหมือนกันครับ แต่ก้อคิดได้ 2 แง่นะครับ ที่เค้าถอนทุนไปอาจจะเป็นเพราะว่าเค้าทำกำไรได้เยอะแล้ว ยอมขายขาดทุนบ้างไม่เห็นจะเป็นไรเลย ผมดูบทวิเคราะห์จากช่อง 9 เค้าบอกว่าต่างชาติลงทุนในไทยปีที่แล้วมูลค่าเค้าเพิ่มขึ้นมาเกือบเท่าตัว เค้าขายออกไปแค่ ครึ่งเดียวของที่ซื้อมา แล้วยังกำไรอยู่เลยนะครับ ดังนั้นข่าวที่ออกมามีความน่าเชื่อถือขนาดไหนหละครับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คุณอึ้งกิมกี่หมายถึงการลงทุนจริง เช่นเปิดแบงก์ เปิดบริษัทสื่อสารหรือเปล่า
ครับ เช่น DBS ABN Orange ซึ่งต่างก็ประกาศ (บ้างก็เป็นนัยๆ) ว่าจะถอนตัว
แล้ว คือขายหุ้นในแบงก์และบริษัทให้คนอื่นแทน

คงไม่ได้หมายถึงการซื้อหุ้นในตลาดนะครับ

จริงๆแล้วมันก็สัมพันธ์กันอยู่ แต่ถ้าพูดถึงการลงทุนเปิดกิจการจริงละก้อ
คงไม่มีใครได้กำไรเนื้อๆ ครับ ยิ่ง Orange นี่น่าจะขาดทุนหนักเลย
มือใหม่
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 7

โพสต์

vi พันธุ์แท้ ไม่หวั่นไหวช่วงหุ้นลงแรงๆอยู่แล้ว ไม่ใช่เหรอครับ ต่างชาติถอนทุน ก็เรื่องของเขา

ยกเว้นพวก vi พันธุ์ทาง เหมือนผม รู้สึกไม่ดีเมื่อเห็นตัวแดงบนกระดาน ดูไปดูมาวิตกกังวลกันเยอะ vi พันธุ์ทางคงจะเยอะ ฮิฮิฮิฮิฮิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นะ
Verified User
โพสต์: 157
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 8

โพสต์

นำมาจากกระทิงเขียวครับ

http://www.bbznet.com/scripts/view.php? ... r=numtopic

ตะวัน สุรัติเจริญสุข
เมื่อเอกซเรย์ลงไปจนถึงแก่น จะพบว่า ธุรกิจในประเทศไทยไม่เคยหยุดนิ่ง
ทุนต่างชาติที่เคยได้เปรียบ เมื่อระยะเวลาหนึ่งผ่านไป
อาจจะถอยไปเพราะฟันกำไรไปมากพอ มีปัญหาฐานะการเงินของตัวเอง หรือต้อง "พับเสื่อ"
กลับบ้าน เนื่องจากเกมการแข่งขันรุนแรง มีการ "ชกใต้เข็มขัด"
กันทุกรูปแบบเพื่อชัยชนะ เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ
แต่เมื่อรวมๆ กันแล้ว ก็เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เพราะ "อริญญา เถลิงศรี"
กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอพีเอ็ม กรุ๊ป ที่ปรึกษาด้านงานบุคคลชั้นนำ ระบุว่า
ตัวเลขล่าสุดที่เอพีเอ็ม กรุ๊ปได้ศึกษา ปรากฏว่า ทุนต่างชาติกว่า 43%
แล้วที่เก็บกระเป๋ากลับบ้าน
เซย์กู๊ดบายจากพี่ไทย..........
แม้เหตุผลหลักๆ จะถูกยกให้เป็นเรื่องความต่างกันของวัฒนธรรม
แต่ต้องยอมรับว่าแนวโน้มการทำธุรกิจในไทยต่อไปก็ "ไม่ปกติ" นัก
ไม่ปกติ เพราะธุรกิจถูกควบคุมด้วยกลไกของรัฐเกือบทั้งหมด
ทำให้กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างเข้มแข็งด้วยตัวเองในหลายๆ ธุรกิจ
อย่างเช่นขณะนี้ รัฐได้เร่งปราบปรามหวยใต้ดินเพื่อเข้ามาในธุรกิจนี้เสียเอง
รัฐสร้างบ้านราคาถูกขายคอมพิวเตอร์ราคาถูก กำลังจะทำรถยนต์แห่งชาติราคาถูก
ปล่อยสินเชื่อราคาถูก เร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจขายให้กับนักลงทุน
และพยายามจะกำหนดทิศทางตลาดหุ้นด้วยกลไกรัฐ
กลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับอำนาจรัฐ เป็นผู้เปิดฉากสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ "Low-Cost
Airlines" เข้าไปลงทุนในกิจการโทรทัศน์ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารพาณิชย์
โทรศัพท์มือถือ อสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล
กลไกเช่นนี้ทำให้ตลาดถูกขับเคลื่อนไปในลักษณะ "กึ่งผูกขาด"
ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะเหลือเพียงเบอร์ 1 และเบอร์ 2
หรือกลุ่มทุนที่แนบชิดกับรัฐเท่านั้นที่อยู่รอด
ต่างชาติที่ว่าแน่ๆ ทุนหนา เทคโนโลยีสูง การตลาดเจ๋ง จึงมีสิทธิแตกพ่ายได้เช่นกัน
ใครแพ้ "ศึกนอก" แพ้ "ศึกใน" มาไล่เลียงกัน
ออเร้นจ์ เอสเอ ผู้นำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับ 1 ของอังกฤษในเครือฟรานซ์
เทเลคอม เขย่าวงการที่สุด เมื่อยอมขาดทุน 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 20,000
ล้านบาท เมื่อตัดสินใจขายหุ้น 39% หรือ 819 ล้านหุ้นใน "ทีเอ ออเร้นจ์"
ในราคารวมเพียง 1 บาท ให้กับเทเลคอมเอเซีย (TA)
เพื่อแลกกับการไม่ต้องใส่เงินเพิ่มทุนก้อนใหม่เข้าไปอุ้มกิจการอีก 6,000 ล้านบาท
และปลดหนี้สินระยะยาวกับบริษัท
หลายคนวิเคราะห์ว่า ศึกในที่ออเร้นจ์ เอสเอ เจอ คือ การบริหารงานสไตล์ Family
Business Network ของ "เจียรวนนท์" ลักษณะธุรกิจต้องใช้ "คอนเนคชั่น"
กับหน่วยงานของรัฐ และบริษัทมีภาระหนี้จำนวนมหาศาลที่ไม่มีทางออก
ธุรกิจโทรศัพท์มือถือสู้กันทุกรูปแบบจนแทบจะไม่เหลือกลยุทธ์ให้ใครสร้างความแตกต่าง
เพื่อใช้เป็นจุดขายเหนือคู่แข่ง ยกเว้นสงคราม "ราคา"
ปัจจุบัน AIS มีฐานลูกค้าในมือเกือบ 13.50 ล้านเลขหมาย DTAC มี 6.7 ล้านเลขหมาย
Orange มีเพียง 1.9 ล้านเลขหมาย ในขณะที่ Hutch มีฐานลูกค้าในมือไม่ถึง 5
แสนเลขหมาย การต่อสู้อยู่บนพื้นฐานที่เบอร์ 3 เบอร์ 4 ยากที่จะสร้าง Economy of
Scale ทางธุรกิจแข่งกับรายใหญ่
ในขณะที่ธุรกิจนี้ต้องอัดเงินเข้าไปหล่อเลี้ยงนวัตกรรมที่ต้องพัฒนาก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา
แต่ราคาขายต่อหน่วยมีแต่ลดต่ำลง
ท้ายที่สุดแล้วกฎข้อสุดท้ายแห่งชัยชนะวัดกันที่ "ต้นทุน" ใครต่ำที่สุด
อาจกล่าวได้ว่า "เจียรวนนท์" ในเจเนอเรชั่นที่ 3 กำลังถูกท้าทายครั้งสำคัญ
ไม่มีศึกคราใดจะหนักหน่วงเท่าศึกในครั้งนี้ ไม่เพียงบริษัทแม่ออเร้นจ์
จะถอนการลงทุนจากทีเอเท่านั้น Nynex Network Systems บริษัทสื่อสารอันดับต้นๆ
ของสหรัฐซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนรุ่นบุกเบิกของ TA
ก็ยอมขาดทุนขายหุ้นทั้งหมดคืนให้กับกลุ่มซีพี เมื่อไม่นานมานี้
พันธมิตรที่เคยร่วมสู้กันมายอมยกธงขาวถึง 2 ราย โดดเดี่ยว "ซีพี"
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บอกว่า ในระยะยาวแล้ว TA ยังมีหนี้สินจำนวนมากถึง 6.87
หมื่นล้านบาท และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนปีใน 2546 สูงถึง 25 เท่า
และมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกหลังจากซื้อหุ้นเพิ่มในทีเอ ออเร้นจ์
เป็นคำยืนยันว่าธุรกิจสื่อสารของซีพีกำลังตกที่นั่งลำบาก
ศุภชัย เจียรวนนท์ บอกว่า หากทีเอ ออเร้นจ์ ไม่สามารถรีไฟแนนซ์หนี้ได้ภายในวันที่
29 ก.ย.47 ทีเอ ก็จะไม่ซื้อขายหุ้นดังกล่าว และข้อตกลงสัญญาต่างๆ
ก็จะไม่เกิดผลบังคับแต่อย่างใด
ภายหลังบริษัทแม่ของออเร้นจ์โอนหุ้นให้ทีเอจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ 83% ในทีเอ ออเร้นจ์
ในระยะต่อไปเมื่อมีการเพิ่มทุนตามเป้าหมายอีก 6,000 ล้านบาท ทีเอ
ก็จะเป็นผู้ถือหุ้นเกิน 90% และในอนาคตจะเปลี่ยนชื่อ ทีเอ ออเร้นจ์ เป็น "ทรู
โมบาย" เพื่อให้สอดคล้องกับแผนที่จะใช้ชื่อ "ทรู" ดำเนินกิจการต่างๆ ของกลุ่มทีเอ
ส่วนอุตสาหกรรมการเงินของไทย และธุรกิจหลักทรัพย์ ก็เป็นยิ่งกว่าสนามปราบเซียน
กลไกของรัฐมีส่วนเข้ามากำหนดเกมการแข่งขัน
จนทุนต่างชาติต้องล่าถอยออกไประลอกแล้วระลอกเล่า
ขอผมศึกษามั่งนะ ผมขอแค่มีอิสรภาพทางการเงินเองนิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นะ
Verified User
โพสต์: 157
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 9

โพสต์

โดยสถาบันการเงินของรัฐได้รับอภิสิทธิ์เหนือเกมการแข่งขันในหลายเรื่อง
ทั้งอาศัยการเติบโตจากนโยบายประชานิยมของรัฐ กินรวบโครงการรัฐ ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ
แบบไม่กลัวทุนหมด และไม่กลัวหนี้เสีย
เพราะสามารถโยกหนี้เสียออกไปตั้งบริษัทข้างนอกบริหารได้
ทุนการเงินต่างถิ่นที่ล่าถอย เริ่มตั้งแต่ "เลห์แมน บราเธอร์ส"
วาณิชธนกิจรายใหญ่ระดับโลก ประกาศขายหุ้นบงล.โกลบอลไทย ให้แก่ผู้บริหารชาวไทย
ขณะที่ธนาคารต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยหลังช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
ไม่มีรายใดเลยที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ผิดกับช่วงที่เข้ามาใหม่ๆ
ที่หลายคนวิเคราะห์ว่าธนาคารไทยจะเสียเปรียบ
ธนาคารดีบีเอส ของสิงคโปร์ ที่เข้ามาร่วมทุนในธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน และธนาคารยูโอบี รัตนสิน
กลับเป็นฝ่ายตั้งรับมาตลอด
ขณะนี้ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร
ของเนเธอร์แลนด์ที่เข้ามาเทคโอเวอร์ธนาคารเอเชียได้ประกาศขายหุ้นทั้งหมดจำนวน
80.77% ให้กับผู้ร่วมทุนรายใหม่แล้ว
หรือธุรกิจบัตรเครดิต KTC ในเครือธนาคารกรุงไทย
ได้ผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดแทนบัตรเครดิตของ "ซิตี้แบงก์"
ที่เคยล้มแชมป์บัตรเครดิตธนาคารกสิกรไทยลงไปได้เมื่อหลายปีก่อน
แผนแม่บททางเงินฉบับใหม่ยังกระตุ้นให้ทุนต่างชาติเร่งถอนตัวออกไปเร็วขึ้น
ก่อนหน้านี้ China Development Industrial Bank ของไต้หวัน
เป็นรายแรกที่ขายหุ้นทั้งหมด 49.50% ในบง.กรุงเทพธนาทร
ธุรกิจโบรกเกอร์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่เห็นชัดว่าทุนต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มทุนจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ต้องถอนตัวกลับบ้านแบบหมดรูปแล้วหลายราย
เริ่มตั้งแต่ "เมอร์ริล ลินช์" ที่เข้ามาลงทุนใน บล.เมอร์ริล ลินช์ ภัทร
มีกระแสข่าวระหองระแหงกับกลุ่มผู้บริหารคนไทยออกมาเป็นระยะ
โดยเฉพาะวิธีการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันในหลายเรื่อง
การรุกงานที่ปรึกษาขายหุ้นรัฐวิสาหกิจต้องอาศัย "คอนเนคชั่น" กับผู้มีอำนาจในรัฐบาล
ในที่สุดผู้บริหารคนไทยตัดสินใจยุติปัญหาซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจากเมอร์ริล ลินช์ 51%
และธนาคารกสิกรไทย 49%
หรือก่อนหน้านี้ "บล.อินโดสุเอซ ดับบลิวไอ คาร์ (ประเทศไทย)" ของฝรั่งเศส
ตัดสินใจถอนตัวจากประเทศไทย ขายใบอนุญาต และสินทรัพย์ทั้งหมดในราคา 285 ล้านบาท
ให้กับ บล.แอ๊ดคินซัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บล.ไอบี
แม้แต่ในธุรกิจโรงแรม กลุ่มทุนต่างชาติที่หวังเข้ามาตักตวงผลประโยชน์
โดยคิดว่าจะเข้ามาซื้อหุ้นราคาถูกในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
เมื่อผ่านพ้นวิกฤติทุนเหล่านี้กลับต้องล่าถอยออกไป
เพราะพ่ายสนามรบในประเทศไทยที่มีการแข่งขันสูง และมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้ากันไม่ได้

โรงแรมดุสิตธานี (DTC) เป็นตัวอย่าง "GS Emerging Market Real Estate Fund" ในกลุ่ม
Goldman Sachs & Co. วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
ได้เข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัทโดยการซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง 31.47%
เมื่อปลายปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
หลังจากนั้นได้ส่งผู้แทนเข้าเป็นกรรมการ เพื่อร่วมบริหารงานของดุสิตธานี 2 คน
ในที่สุด Goldman Sachs ต้องตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดคืนให้กับกลุ่มท่านผู้หญิงชนัตถ์
ปิยะอุย และล่าถอยออกไป เมื่อเดือนมีนาคม 2546
ไม่เพียง Goldman Sachs จะหิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมดุสิตธานีเท่านั้น
เมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ก็ได้ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทโรงแรมราชดำริ
(โรงแรมรีเจ้นท์เดิม) ที่ถืออยู่ประมาณ 41% ให้กับบริษัท รอยัล การ์เด้น รีซอร์ท
และกลุ่มคอม-ลิงค์
ยักษ์ค้าปลีกทางด้านอาหารรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกจากเนเธอร์แลนด์อย่าง
"รอยัลเอโฮลด์" กลับต้องพ่ายแพ้ในเกมธุรกิจในประเทศไทย
แม้จะชูจุดขาย "ถูกทุกวัน" แต่ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต
กลับไม่สามารถปะทะทางด้านราคากับดิสเคาท์สโตร์ขนาดใหญ่อย่างเทสโก้ โลตัส
ที่ยืนยันว่าขายถูกกว่าได้
"จุดขาย" ที่คิดว่าเป็นจุดแข็งจึงกลายเป็น "จุดอ่อน" ในเกมธุรกิจ
จนต้องขายหุ้นทั้งหมด 100% คืนให้กับกลุ่มเซ็นทรัล หิ้วกระเป๋ากลับบ้านแบบหมดรูป
รอยัลเอโฮลด์ ไม่ได้พลาดท่าที่ประเทศไทยเท่านั้น
แต่ได้เข้าไปกว้านซื้อกิจการในหลายประเทศ จนมีหนี้สินพอกพูน
จนมีแผนถอนการลงทุนจากละตินอเมริกา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมทั้งประเทศไทย
ส่วนเซ็นทรัลยังคงยืนยันจะรักษาจุดแข็งของท็อปส์ด้วย "แผนกอาหาร" ทศ จิราธิวัฒน์
ผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัล มองว่า ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพมาก และอีก 5
ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดรวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ล้านบาท หรือ 45%
ของยอดขายจากโมเดิร์นเทรด
รอยัล เอโฮลด์ ได้เข้ามาเปิดกิจการท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี
2539 โดยการร่วมทุนกับเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ในสัดส่วน 51 ต่อ 49
หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เซ็นทรัลก็ได้ขายหุ้นท็อปส์ 49% ให้กับรอยัล
เอโฮลด์ทั้งหมด ก่อนที่จะซื้อหุ้นทั้ง 100% กลับคืนมา
ทุนต่างชาติที่พลาดท่าในประเทศไทยอีกราย ก็คือ ภัตตาคารระดับโลกอย่าง "แพลเน็ต
ฮอลลีวู้ด" สาขากรุงเทพฯ ที่ถือหุ้นโดยกลุ่มดาราฮอลลีวู้ด
ต้องปิดกิจการแบบถาวรเมื่อต้นปี 2545
เพราะรูปแบบการให้บริการไม่เข้ากับสไตล์ของคนไทย
ในธุรกิจบริการบำรุงรักษารถยนต์ หรือ "ควิกเซอร์วิส" ก็มีการเปลี่ยนมือ
เช่นกรณีของบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ก่อตั้งกิจการ "บี-ควิก" ในประเทศไทย
ประกาศขายกิจการทั้งหมดมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท
ให้กับกลุ่มผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหม่
เป็นครั้งแรกที่มีการซื้อกิจการในลักษณะนี้ในประเทศไทย
หลังจากที่ฟอร์ดมีนโยบายหยุดทำธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก
เพราะเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงิน และมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย
ทำให้ต้องแช่แข็งแผนการเติบโตของบี-ควิก ไป 2 ปี
จนกระทั่งตัดสินใจขายกิจการทิ้งในที่สุด
ขอผมศึกษามั่งนะ ผมขอแค่มีอิสรภาพทางการเงินเองนิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นะ
Verified User
โพสต์: 157
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ในขณะที่ก่อนหน้านี้ บริษัทเชลล์ ประเทศไทย ก็ได้เข้ามาซื้อกิจการแม็กซ์
ออโต้เอ็กซ์เพรส จากแม็คโคร หลังจากนั้นก็ปรับปรุงสาขาใหม่ทั้งหมด
พร้อมกับเปลี่ยนชื่อจากแม็กซ์ออโต้ เอ็กซ์เพรส มาเป็น เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ
และยิ่งรัฐพยายาม Outsourcing ทรัพยากรของรัฐไปสู่ภาคเอกชน
โดยที่รัฐเป็นผู้ควบคุมกฎการแข่งขันอยู่เบื้องหลัง
ธุรกิจของภาคเอกชนก็ยิ่งวิ่งเข้าหาศูนย์อำนาจส่วนกลาง
นั่นคือเหตุผลที่ทำไม บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ (TRAF)
ยอมขายหุ้นเฉพาะเจาะจงจำนวน 140 ล้านหุ้นให้กับ "ชยาภา วงศ์สวัสดิ์"
(หลานสาวนายกฯทักษิณ) ในราคาหุ้นละ 3 บาท ต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก
นัยหนึ่ง คือ การสร้าง "คอนเนคชั่น" กับฐานอำนาจทางการเมือง เพราะทราฟฟิก
คอร์นเนอร์ เล็งผลเลิศของการสร้าง Strategic Partner
ครั้งนี้จะช่วยเกื้อหนุนบริษัทด้านช่องทางการจำหน่ายสินค้า เช่น
การจำหน่ายบัตรโทรศัพท์ และการประมูลสถานีวิทยุ
และโทรทัศน์ที่รัฐกุมคลื่นเอาไว้ในมือ
เป็นเหตุผลเดียวกันที่ "ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม" บิ๊กบอสแห่งเครือแกรมมี่ และ "สุรชัย
เชษฐโชติศักดิ์" เฮียฮ้อแห่งค่ายอาร์.เอส.ให้การสนับสนุนรัฐทุกรูปแบบ
เพราะธุรกิจบางส่วนต้องอาศัยสายสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ
และเป็นเหตุผลเดียวกันที่ "ประชา มาลีนนท์" เป็นตัวแทนช่อง 3
ลงสู่สนามทางการเมืองในนามพรรครัฐบาล ขณะที่กลุ่มซีพีซึ่งหลังผิงฝากับธุรกิจของ TA
และ UBC ก็เลือกส่งตัวแทนกลุ่มลงสนามทางการเมือง
เช่นเดียวกันกับธุรกิจเหล้าและเบียร์ของ "เจริญ สิริวัฒนภักดี"
ที่ให้การสนับสนุนรัฐอยู่เบื้องหลัง จนมีกระแสข่าวว่า นายกรัฐมนตรีของไทย
เตรียมจับมือ "เจ้าสัวเจริญ" ขอซื้อหุ้น "หงส์แดง" ลิเวอร์พูล 25%
หลายคนตั้งคำถามว่าการที่ "เจริญ" สั่งดั๊มพ์ราคาเหล้าขาว ขายเหล้าพ่วงเบียร์
เดินแผนกินรวบตลาดเบียร์ 90% หลายคนถามหากฎหมาย "ผูกขาดทางการค้า"
ของไทยว่าไม่ศักดิ์สิทธิ์แล้วหรือ
นักการเมืองในยุคที่มีกลุ่มทุนสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
ไม่มีใครกล้าใช้อาญาสิทธิ์ทางกฎหมายจัดการกับการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ล่าสุดเจริญฟ้องเรียกค่าเสียหายคาร์ลสเบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก เป็นเงิน 500
ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท เนื่องจากคาร์ลสเบอร์ก ประเทศเดนมาร์ก
บอกเลิกสัญญาหยุดผลิต และหยุดจัดจำหน่ายเบียร์ "คาร์ลสเบอร์ก"
ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ.2547
เพราะไม่พอใจการทำตลาดในประเทศไทยของเจริญที่เน้นเฉพาะเบียร์ช้าง แบรนด์ของตัวเอง
มีคำกล่าวว่า การทำธุรกิจในประเทศไทย ใหญ่ไม่กลัว กลัวไม่ใหญ่ อยู่ต้อง "ใหญ่" ถ้า
"ไม่ใหญ่" ไม่มีโอกาสอยู่
ความพร้อมทางด้านเงินทุน มีเทคโนโลยี และเก่งทางด้านการตลาดแค่นั้นไม่พอ
ต้องมีสายสัมพันธ์กับกลุ่มทุนการเมืองด้วย
ทุนต่างชาติหิ้วกระเป๋ากลับบ้านก็เพราะเหตุนี้
ขอผมศึกษามั่งนะ ผมขอแค่มีอิสรภาพทางการเงินเองนิ
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ใครที่เข้ามาอ่านผมว่า กรุณาใช้หลักกาลามสูตร วิเคราะห์ด้วยไม่งั้นจะหลงไปตามกระแสง่าย ๆ
แต่ผมเห็นว่า เมื่อไหร่เขาได้เปรียบเราเขา(ฝรั่ง)จะมา เมื่อไหร่ความได้เปรียบเขาลดลง เขาจะไป ถ้าเขาอยากได้เงินเราเขาก็ต้องเล่นกติกาเรา เราให้ฝรั่งตั้งกติกาให้เราเล่นมาเยอะแล้ว(คราวเศรษฐกิจล่ม) เราลองตั้งกติกาให้เขาเล่นตามเราบ้างไม่ดีเหรอ เผื่อจะเวิร์ก ไม่เล่นกะเราเราไปเล่นกะจีนก็ได้ไม่เห็นง้อเลย ประวัติศาสตร์เราคบกะจีนเวิร์กกว่าคบกะฝรั่งบางพวกนา
ผมมองว่ารัฐ กำลังปรับฐาน หลายต่อหลายอย่าง เพื่อให้คนบ้านเรามีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นหรือเปล่า หรือจะโกงยึดประเทศเป็นของตระกูล หรือผมมองโลกในแง่ดีเกินไป หรือผมความรู้น้อยไปที่จะวิเคราะห์เรื่องใหญ่ ๆ สุดจะเดาเนาะไปละ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
อึ้งกิมกี่
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องการย้ายออกของทุนต่างชาติ...

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณคุณ นะที่ช่วยตัดข่าวมาแปะ ขอโทษคนเข้ามาอ่านที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเกี่ยวกับตลาดทุน(หุ้น) จริงๆเป็นเรื่องการลงทุนในกิจการต่างๆ ผมมาอ่านหัวข้อที่ตัวเองโพสต์อีกทีก็ดูอาจจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่
ล็อคหัวข้อ