ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โพสต์ที่ 1
ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โดย ไกร โพธิ์งาม รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มติชนรายวัน วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10736
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลก คาดว่าในปี ค.ศ.2020-2025 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง เช่น ผลกระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้
ผลกระทบต่อการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
และผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ประเทศใดก็ตามที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทั้งความต้องการสินค้าที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ และความต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ผลิตต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตใหัมากขึ้น
แต่เมื่อปริมาณการผลิตมากเกินไปจะทำให้ราคาสินค้าลดต่ำลงเป็นวัฏจักร ดังเช่น ปัญหาที่เกิดกับราคาเนื้อหมูในประเทศจีน ขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ราคาเนื้อหมูในประเทศจีนสูงขึ้นจากปีที่แล้ว 50% เนื้อหมูเป็นอาหารหลักของชาวจีน ประเทศจีนบริโภคหมูมากกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นประเทศเยอรมนี
การที่ราคาเนื้อหมูแพงขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศจีนสูงขึ้น เดือนพฤษภาคมปี ค.ศ.2007 อัตราเงินเฟ้อของจีน เท่ากับ 3.4% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนปีเดียวกันเท่ากับ 3%
สาเหตุที่ราคาเนื้อหมูสูงขึ้น เนื่องจาก โรคติดเชื้อชนิดหนึ่งได้คร่าชีวิตสุกร เป็นจำนวนถึง 20 ล้านตัว
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือต้นทุนในการเลี้ยงสุกรสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ได้วิเคราะห์เรื่องนี้และให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของ "hog cycle" เนื่องจากในปี ค.ศ.2004 ราคาเนื้อหมูสูงมาก ทำให้ชาวจีนเลี้ยงสุกรมากขึ้น ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงในปี ค.ศ.2005 พอราคาเนื้อหมูลดลง ผู้เลี้ยงสุกรจึงลดจำนวนสุกรให้น้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูปี ค.ศ.2007 สูงขึ้นอีกเป็นวัฏจักร (The Economist June 9th 2007 page 30)
พิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐ ภายในปี ค.ศ.2020-2025 เนื่องจากในขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ประชากรจีนมีเป็นจำนวน 1,300 ล้านคน ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 300 ล้านคน
และถ้าประชากรจีนมีผู้ที่มีรายได้สูงอยู่เพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จีนจะมีขนาดผู้บริโภคกำลังซื้อสูงเทียบเท่าชาวอเมริกันในปัจจุบัน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เจ้าของกิจการของจีนจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่จีน และผลักดันให้จีนกลายเป็นตลาดบริหารจัดการความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียนอกจากญี่ปุ่นภายใน 10 ปี หรือเร็วกว่านั้น
จากรายงานของเมอร์ริลลินช์ เมื่อปี ค.ศ.2006 คาดการณ์ว่าแผ่นดินใหญ่มีกลุ่มของผู้ที่มีรายได้สูงที่มีทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 320,000 คน มีสินทรัพย์โดยรวมสูงถึง 1.59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้ของจีน
ประเทศจีนมีโรงงานผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก นับจากนี้ไปอีก 20 ปี 213 ล้านครัวเรือนของจีนจะมีรายได้สูงมาก
นอกจากนี้ ประชากรจีนจำนวน 100 ล้านคนจะหลุดพ้นจากความยากจน ในปี ค.ศ.1985 99% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน แต่ในปี ค.ศ.2005 ประชากรจีนที่ยากจนเหล่านี้ลดลงเหลือเพียง 57%
เป็นที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า รายได้ของคนจีนจะเพิ่มขึ้น 8 เท่าของรายได้ในปัจจุบัน (ปี ค.ศ.2007) จะทำให้จำนวนคนยากจนในจีนลดลงเหลือเพียง 16% ของประชากรทั้งหมด
และจีนจะกลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าการบริโภคสูงเป็นอันดับสามของโลกรองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา (Newsweek May 28,2007 page 36)
ผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดทุน
ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา ประชาชนที่มีฐานะทางการเงินดีในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ทำการลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย เช่น ห้องชุดหรือบ้าน เพื่อการเก็งกำไร
ทางการจีนทราบเรื่องนี้ดี ได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะขจัดการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
นักวิชาการของจีนได้ให้ข้อเสนอแนะให้ประชาชนจีนลงทุนในตลาดทุน แต่เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวเร็วเกินไป ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกันประชาชนจีนไม่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากได้ผลตอบแทนเพียง 3% ต่อปีเท่านั้น ไม่แตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อมากนัก
ทางการจีนจึงพยายามที่จะดึงดูดใจประชาชนให้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธีการให้ธนาคารกลางของจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดการปล่อยกู้ให้กับประชาชน
เนื่องจากธนาคารกลางจีนตระหนักดีว่า การปล่อยเงินกู้ให้กับประชาชน เพิ่มขึ้นจะทำให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ (bubble economy) ซึ่งทางการจีนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
จากการที่มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศของจีนอยู่ในระดับสูง รัฐบาลจีนจึงต้องการพัฒนาระดับการศึกษา ของประชาชนทุกเพศ เนื่องจากเพศหญิงได้รับการศึกษาน้อย สำหรับเพศชายโอกาสที่จะได้รับการศึกษามีมากกว่าเพศหญิง
หญิงจีนบางคนอายุใกล้จะ 40 ปี แต่ไม่เคยไปโรงเรียน ได้แต่ทำงานในไร่นา
ปี ค.ศ.1986 รัฐบาลรับประกันที่จะให้การศึกษาฟรี แก่นักเรียนตลอด 9 ปี แต่นโยบายนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะในชนบทโรงเรียนหลายแห่ง ยังเก็บเงินค่าเล่าเรียน และค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
ในชนบทบางแห่งมารดาซึ่งเป็นโรคขาดอาหาร ต้องขายเลือดของตัวเองเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือ
ทางการจีนได้สอบถามมารดาของเด็กนักเรียน ว่าทางการให้เด็กได้เรียนหนังสือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำไมจึงต้องไปขายเลือด หญิงผู้นั้นอธิบายสาเหตุที่ต้องขายเลือด เนื่องจากต้องการนำเงินไปซื้อหนังสือให้ลูก (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ชาวนาที่ยากจนบางราย เมื่อย้ายถิ่นฐานจากชนบท เข้ามาอยู่ในตัวเมือง จะมีปัญหาในการส่งลูกไปเข้าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากทางโรงเรียนไม่รับเด็กที่ย้ายมาจากที่อื่น หรือถ้ารับเข้าเรียน เด็กนักเรียนต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
ดังนั้นในปี ค.ศ.2000 รัฐบาลจีนจึงประกาศว่าจะขจัดความไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไป และจะให้การศึกษาฟรี แก่ประชาชนตลอด 9 ปี ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นบังคับ
ปี ค.ศ.2002 ได้มีการสำรวจและพบว่า ประชาชนที่ไม่รู้หนังสือลดลงจาก 22.3% ในปี ค.ศ.1992 เหลือเพียง 8.7% เท่านั้น (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกเป็นที่คาดหมายกันว่าประมาณ ปี ค.ศ.2009 หรือ 2010 ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นำมาซึ่งปัญหาโลกร้อน
และภายใน 25 ปีนี้ ก๊าซเรือนกระจกจากประเทศจีนจะมีปริมาณเป็นสองเท่าของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของบรรดาประเทศที่ร่ำรวยทั้งหลายรวมกัน ถ้าประเทศจีนไม่หาทางจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เสียตั้งแต่วันนี้
การหารือกันระหว่างประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีน กับประธานาธิบดี George W. Bush และผู้นำประเทศต่างๆ ในกลุ่ม G8 ที่ประเทศเยอรมัน โดยที่ประธานาธิบดี Bush วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับปัญหาโลกร้อน
โดยประธานาธิบดี Bush ให้ความเห็นว่า ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมีทั้งหมด 15 ประเทศ ประเทศเหล่านี้ควรจะมีการวางแผนที่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายใน 10 ถึง 20 ปีนี้ ก่อนที่สภาวะโลกร้อนจะวิกฤตมากไปกว่านี้ (International Herald Tribune newspapers June 5,2007 page 1,8)
นานาประเทศต้องการให้จีนลดการปล่อยมลภาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อน แต่ทางการจีนกลับชี้แจงว่าประเทศที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา โดยจีนเสนอให้คิดปริมาณมลภาวะเฉลี่ยต่อประชากร 1 คน
Mr.Ma Kai รัฐมนตรี ที่รับผิดชอบเรื่องนี้แจงว่า ภายในปี ค.ศ.2010 การผลิตกระแสไฟฟ้าของจีน จะใช้พลังงานน้ำเป็นส่วนใหญ่ และรัฐบาลจีนกำลังสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 4 แห่ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ จีนสามารถประหยัดการใช้น้ำมันได้มากกว่าสหรัฐอเมริกา เช่น รถยนต์ในประเทศจีน ใช้น้ำมัน 6.9 ลิตรสำหรับระยะทาง 100 กิโลเมตร (34 miles ต่อ แกลลอน) ในขณะที่รถยนต์ในสหรัฐอเมริกา ใช้น้ำมัน 9.8 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร
และภายในปี ค.ศ.2008 รถยนต์ในประเทศจีนจะใช้น้ำมันเพียง 6.5 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานได้มาก
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนสามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรได้ และโครงการอีกอย่างหนึ่งที่จีนทำคือ การปลูกป่า (reforestation) ป่าไม้ในประเทศจีนสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 5,000 ล้านตัน ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา (The Economist June 9th 2007 page 30,34)
โดย ไกร โพธิ์งาม รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มติชนรายวัน วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10736
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลก คาดว่าในปี ค.ศ.2020-2025 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง เช่น ผลกระทบต่อความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้
ผลกระทบต่อการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
และผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น
ประเทศใดก็ตามที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทั้งความต้องการสินค้าที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ และความต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น จะทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ผลิตต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตใหัมากขึ้น
แต่เมื่อปริมาณการผลิตมากเกินไปจะทำให้ราคาสินค้าลดต่ำลงเป็นวัฏจักร ดังเช่น ปัญหาที่เกิดกับราคาเนื้อหมูในประเทศจีน ขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ราคาเนื้อหมูในประเทศจีนสูงขึ้นจากปีที่แล้ว 50% เนื้อหมูเป็นอาหารหลักของชาวจีน ประเทศจีนบริโภคหมูมากกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นประเทศเยอรมนี
การที่ราคาเนื้อหมูแพงขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศจีนสูงขึ้น เดือนพฤษภาคมปี ค.ศ.2007 อัตราเงินเฟ้อของจีน เท่ากับ 3.4% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนปีเดียวกันเท่ากับ 3%
สาเหตุที่ราคาเนื้อหมูสูงขึ้น เนื่องจาก โรคติดเชื้อชนิดหนึ่งได้คร่าชีวิตสุกร เป็นจำนวนถึง 20 ล้านตัว
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือต้นทุนในการเลี้ยงสุกรสูงขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ได้วิเคราะห์เรื่องนี้และให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของ "hog cycle" เนื่องจากในปี ค.ศ.2004 ราคาเนื้อหมูสูงมาก ทำให้ชาวจีนเลี้ยงสุกรมากขึ้น ทำให้ราคาเนื้อหมูลดลงในปี ค.ศ.2005 พอราคาเนื้อหมูลดลง ผู้เลี้ยงสุกรจึงลดจำนวนสุกรให้น้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูปี ค.ศ.2007 สูงขึ้นอีกเป็นวัฏจักร (The Economist June 9th 2007 page 30)
พิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าสหรัฐ ภายในปี ค.ศ.2020-2025 เนื่องจากในขณะนี้ (ปี ค.ศ.2007) ประชากรจีนมีเป็นจำนวน 1,300 ล้านคน ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 300 ล้านคน
และถ้าประชากรจีนมีผู้ที่มีรายได้สูงอยู่เพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จีนจะมีขนาดผู้บริโภคกำลังซื้อสูงเทียบเท่าชาวอเมริกันในปัจจุบัน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เจ้าของกิจการของจีนจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่จีน และผลักดันให้จีนกลายเป็นตลาดบริหารจัดการความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียนอกจากญี่ปุ่นภายใน 10 ปี หรือเร็วกว่านั้น
จากรายงานของเมอร์ริลลินช์ เมื่อปี ค.ศ.2006 คาดการณ์ว่าแผ่นดินใหญ่มีกลุ่มของผู้ที่มีรายได้สูงที่มีทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 320,000 คน มีสินทรัพย์โดยรวมสูงถึง 1.59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ผลกระทบต่อการกระจายรายได้ของจีน
ประเทศจีนมีโรงงานผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก นับจากนี้ไปอีก 20 ปี 213 ล้านครัวเรือนของจีนจะมีรายได้สูงมาก
นอกจากนี้ ประชากรจีนจำนวน 100 ล้านคนจะหลุดพ้นจากความยากจน ในปี ค.ศ.1985 99% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน แต่ในปี ค.ศ.2005 ประชากรจีนที่ยากจนเหล่านี้ลดลงเหลือเพียง 57%
เป็นที่คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า รายได้ของคนจีนจะเพิ่มขึ้น 8 เท่าของรายได้ในปัจจุบัน (ปี ค.ศ.2007) จะทำให้จำนวนคนยากจนในจีนลดลงเหลือเพียง 16% ของประชากรทั้งหมด
และจีนจะกลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าการบริโภคสูงเป็นอันดับสามของโลกรองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา (Newsweek May 28,2007 page 36)
ผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดทุน
ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา ประชาชนที่มีฐานะทางการเงินดีในเมืองใหญ่ๆ เช่น เซี่ยงไฮ้ ทำการลงทุนซื้อที่อยู่อาศัย เช่น ห้องชุดหรือบ้าน เพื่อการเก็งกำไร
ทางการจีนทราบเรื่องนี้ดี ได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะขจัดการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
นักวิชาการของจีนได้ให้ข้อเสนอแนะให้ประชาชนจีนลงทุนในตลาดทุน แต่เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวเร็วเกินไป ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกันประชาชนจีนไม่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากได้ผลตอบแทนเพียง 3% ต่อปีเท่านั้น ไม่แตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อมากนัก
ทางการจีนจึงพยายามที่จะดึงดูดใจประชาชนให้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธีการให้ธนาคารกลางของจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดการปล่อยกู้ให้กับประชาชน
เนื่องจากธนาคารกลางจีนตระหนักดีว่า การปล่อยเงินกู้ให้กับประชาชน เพิ่มขึ้นจะทำให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ (bubble economy) ซึ่งทางการจีนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก
ผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประชาชน
จากการที่มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศของจีนอยู่ในระดับสูง รัฐบาลจีนจึงต้องการพัฒนาระดับการศึกษา ของประชาชนทุกเพศ เนื่องจากเพศหญิงได้รับการศึกษาน้อย สำหรับเพศชายโอกาสที่จะได้รับการศึกษามีมากกว่าเพศหญิง
หญิงจีนบางคนอายุใกล้จะ 40 ปี แต่ไม่เคยไปโรงเรียน ได้แต่ทำงานในไร่นา
ปี ค.ศ.1986 รัฐบาลรับประกันที่จะให้การศึกษาฟรี แก่นักเรียนตลอด 9 ปี แต่นโยบายนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะในชนบทโรงเรียนหลายแห่ง ยังเก็บเงินค่าเล่าเรียน และค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
ในชนบทบางแห่งมารดาซึ่งเป็นโรคขาดอาหาร ต้องขายเลือดของตัวเองเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือ
ทางการจีนได้สอบถามมารดาของเด็กนักเรียน ว่าทางการให้เด็กได้เรียนหนังสือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำไมจึงต้องไปขายเลือด หญิงผู้นั้นอธิบายสาเหตุที่ต้องขายเลือด เนื่องจากต้องการนำเงินไปซื้อหนังสือให้ลูก (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ชาวนาที่ยากจนบางราย เมื่อย้ายถิ่นฐานจากชนบท เข้ามาอยู่ในตัวเมือง จะมีปัญหาในการส่งลูกไปเข้าโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากทางโรงเรียนไม่รับเด็กที่ย้ายมาจากที่อื่น หรือถ้ารับเข้าเรียน เด็กนักเรียนต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
ดังนั้นในปี ค.ศ.2000 รัฐบาลจีนจึงประกาศว่าจะขจัดความไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไป และจะให้การศึกษาฟรี แก่ประชาชนตลอด 9 ปี ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นบังคับ
ปี ค.ศ.2002 ได้มีการสำรวจและพบว่า ประชาชนที่ไม่รู้หนังสือลดลงจาก 22.3% ในปี ค.ศ.1992 เหลือเพียง 8.7% เท่านั้น (Newsweek June 18,2007 Page 28)
ผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกเป็นที่คาดหมายกันว่าประมาณ ปี ค.ศ.2009 หรือ 2010 ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด นำมาซึ่งปัญหาโลกร้อน
และภายใน 25 ปีนี้ ก๊าซเรือนกระจกจากประเทศจีนจะมีปริมาณเป็นสองเท่าของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของบรรดาประเทศที่ร่ำรวยทั้งหลายรวมกัน ถ้าประเทศจีนไม่หาทางจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เสียตั้งแต่วันนี้
การหารือกันระหว่างประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีน กับประธานาธิบดี George W. Bush และผู้นำประเทศต่างๆ ในกลุ่ม G8 ที่ประเทศเยอรมัน โดยที่ประธานาธิบดี Bush วิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับปัญหาโลกร้อน
โดยประธานาธิบดี Bush ให้ความเห็นว่า ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมีทั้งหมด 15 ประเทศ ประเทศเหล่านี้ควรจะมีการวางแผนที่ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายใน 10 ถึง 20 ปีนี้ ก่อนที่สภาวะโลกร้อนจะวิกฤตมากไปกว่านี้ (International Herald Tribune newspapers June 5,2007 page 1,8)
นานาประเทศต้องการให้จีนลดการปล่อยมลภาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อน แต่ทางการจีนกลับชี้แจงว่าประเทศที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา โดยจีนเสนอให้คิดปริมาณมลภาวะเฉลี่ยต่อประชากร 1 คน
Mr.Ma Kai รัฐมนตรี ที่รับผิดชอบเรื่องนี้แจงว่า ภายในปี ค.ศ.2010 การผลิตกระแสไฟฟ้าของจีน จะใช้พลังงานน้ำเป็นส่วนใหญ่ และรัฐบาลจีนกำลังสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 4 แห่ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ จีนสามารถประหยัดการใช้น้ำมันได้มากกว่าสหรัฐอเมริกา เช่น รถยนต์ในประเทศจีน ใช้น้ำมัน 6.9 ลิตรสำหรับระยะทาง 100 กิโลเมตร (34 miles ต่อ แกลลอน) ในขณะที่รถยนต์ในสหรัฐอเมริกา ใช้น้ำมัน 9.8 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร
และภายในปี ค.ศ.2008 รถยนต์ในประเทศจีนจะใช้น้ำมันเพียง 6.5 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานได้มาก
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนสามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรได้ และโครงการอีกอย่างหนึ่งที่จีนทำคือ การปลูกป่า (reforestation) ป่าไม้ในประเทศจีนสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 5,000 ล้านตัน ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา (The Economist June 9th 2007 page 30,34)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โพสต์ที่ 2
แรงฉุดสำคัญเศรษฐกิจแดนมังกร
มองมุมใหม่ : ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค
กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เศรษฐกิจแดนมังกรเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันอย่างมากมายในขณะนี้ครับ ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เรียกว่าใครที่ไม่สามารถเข้าไปร่วมวงไพบูลย์นี้ได้ ก็จะตกขบวนรถไฟแห่งผลประโยชน์กันเลยทีเดียวครับ จนเกิดคำถามที่ว่า ร้อนแรงกันเสียขนาดนี้ จะมีอะไรที่ยั้งอยู่หรือไม่
แท้จริงแล้ว เหรียญทุกเหรียญย่อมมีสองด้านด้วยกันทั้งสิ้นครับ มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เพราะการเติบโตที่ร้อนแรงจนเกินไป ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Overheated" จนกลายเป็นความเสี่ยงอย่างมาก ในการดำเนินงานของกิจการที่เข้าไปลงทุนในเมืองจีน ว่าในระยะยาวจะยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตระดับนี้ ไว้ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
สิ่งที่กิจการข้ามชาติ มักจะให้ความสำคัญและคำนึงถึงมากๆ เลยก็คือ เรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา การคอร์รัปชัน หรือปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองเป็นหลัก จึงพยายามหาแนวทางมาป้องกัน และลดความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
แต่สิ่งหนึ่งที่กิจการเหล่านี้ มักลืม หรือมองข้ามไป ทั้งๆ ที่ปัญหานี้เสมือนกับจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่รอคอยวันที่จะทำลายศักยภาพของประเทศ นั่นคือ ความเสี่ยงทางด้านของสภาพแวดล้อม ที่นับวันจะเสื่อมโทรมมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาได้ทันกับการเติบโตที่รวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ
ไม่ว่าจะเป็นด้านน้ำเสียและไม่เพียงพอต่ออุตสาหกรรม อากาศเป็นพิษ ดินถล่ม พลังงานไฟฟ้าขาดแคลนโครงข่ายการติดต่อสื่อสาร เดินทางขนส่ง และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ยังไม่พร้อมพอที่จะรองรับกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นทุกวินาทีครับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ถูกมองว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้ทีเดียว
โดยในรายละเอียดของประเด็นความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม ที่เป็นประเด็นหลัก ประกอบด้วย เรื่องของ น้ำ ที่ซีเรียสมากๆ ก็คือ ความไม่เพียงพอของน้ำ ที่แม้ว่าปริมาณสำรองของน้ำในจีน จะมีมากเป็นถึงอันดับหกของโลก รองจากบราซิล แคนาดา รัสเซีย อเมริกา และอินโดนีเซีย แต่ก็ยังไม่พอกับการเติบโตร้อนแรงขนาดนี้ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำมากก็ตาม แต่ก็ขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรน้ำไปยังท้องที่ต่างๆ ซึ่งมีอัตราการกระจุกตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมแตกต่างกัน
โดยจากรายงานของหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ ปรากฏว่า สองในสามของเมืองอุตสาหกรรมในจีน กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในขณะนี้ ถึงกับอาจจะต้องใช้การปันส่วนน้ำกันทีเดียว
ยังไม่ได้คิดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการเกษตร และการอุปโภคบริโภคของประชาชนเลยนะครับ ซึ่งหากรวมการใช้น้ำของประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าไปด้วยแล้ว ตอนนี้รัฐบาลและธุรกิจต้องกุมขมับทีเดียว
ถัดมาที่มีปัญหาไม่แพ้กัน ก็คือ ทางด้าน พลังงาน ทั้งไฟฟ้า และน้ำมัน ซึ่งมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมหาศาลอย่างรวดเร็ว จนปริมาณผลิตไม่สามารถตามทัน ทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าติดๆ ดับๆ ตลอดเวลา ส่งผลต่อสายการผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันจีนก็พยายามเพิ่มการผลิต โดยใช้พลังงานจากถ่านหินที่ตนเองมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาด้านความเสื่อมโทรม ของสภาพแวดล้อมตามมาครับ
นอกจากนี้ ความไม่พอเพียงด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงข่ายการขนส่ง ที่ระบบถนน รถไฟ และการขนส่ง ยังไม่ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วทั้งประเทศ และมาตรฐานก็ยังแตกต่างกัน ส่งผลให้ระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศยังแย่อยู่ สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางการเดินทางขนส่งก็มีมากขึ้นทวีคูณ ซึ่งจากสถิติบ่งชี้ว่า อุบัติเหตุจากการเดินทางในจีนมีอัตราสูงที่สุดในโลก
นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อซัพพลายเชนของกิจการด้วย อาทิเช่น กรณีของกิจการค้าปลีกหลายแห่ง ที่ยังไม่สามารถการันตีความรวดเร็วแน่นอน ของซัพพลายเชนของตนได้ ทำให้เรื่องของการจัดการคลังสินค้า สินค้าคงเหลือลดประสิทธิภาพลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้นทุนก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างแน่นอน
และที่สำคัญที่สุด คือ ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยและมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น ดังเช่น ในหลายหมู่บ้านของจีน ได้รับการขนานนามว่า "หมู่บ้านมะเร็ง" เนื่องจากอัตราการเป็นมะเร็งของคนในชุมชนนั้น เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลย เพราะปัญหาน้ำเน่า อากาศเสีย จากการปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษของโรงงานออกมายังสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
ซึ่งต้องไม่ลืมว่า คนเหล่านี้ก็คือ แรงงานที่สำคัญ และตลาดขนาดใหญ่ของธุรกิจนั่นเอง หากไม่มีคนเหล่านี้ ความได้เปรียบทางการแข่งขันของจีน ย่อมลดลงแน่แท้ทีเดียวครับ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระทางด้านงบประมาณสาธารณสุข ของประเทศในระยะยาวอีกด้วย แทนที่จะนำไปพัฒนาประเทศต่อไป
ดังนั้น กิจการที่เข้าไปลงทุนในจีน คงจะหวังพึ่งพาแต่รัฐบาลจีนอย่างเดียวไม่ได้ การรับมือกับปัญหาจึงต้องอาศัยความพยายามจากทุกกิจการเช่นกัน ซึ่งควรต้องใช้กลยุทธ์ในการรับมือ ทั้งสองด้าน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
เริ่มจากเชิงรับ คือการลดและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในระยะสั้น ทั้งการเพิ่มสวัสดิการให้กับพนักงาน ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ การกระตุ้นให้บุคลากรมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการเก็บกวาดจัดการกับปัญหาด้านมลภาวะที่กิจการของตนเองกำลังก่อ ให้ลดน้อยลงมากที่สุด
ส่วนเชิงรุกนั้น นับว่ามีความจำเป็น ควรต้องมุ่งขจัดปัญหาในระยะยาว ดังเช่น บริษัทโคคาโคลา ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในโรงงานผลิตขวดของตนในจีน ที่จะทำให้ปริมาณการสูญเสียน้ำจากกระบวนการผลิตแทบจะเป็นศูนย์ ลดภาระด้านทรัพยากรน้ำในอนาคต ส่วนจีอีก็ลดปริมาณการปลดปล่อยสารออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อน รวมถึงร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลจีน ในการพัฒนาพลังงานจากถ่านหินที่ไม่มีการปล่อยสารพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีในการรีไซเคิลน้ำให้บริสุทธิ์กลับมาใช้ใหม่
ซึ่งประเด็นความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมนี้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนต้องคำนึงถึง มิฉะนั้น สิ่งที่คาดหวังย่อมจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ความร่วมมือจากทั้งภาคธุรกิจ รัฐบาล และประชาชน จึงเป็นความจำเป็นอย่างมาก ในการขีดอนาคตของทั้งจีนและประชาคมโลก ที่มีส่วนร่วมในปรากฏการณ์ครั้งนี้ครับ
มองมุมใหม่ : ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค
กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เศรษฐกิจแดนมังกรเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันอย่างมากมายในขณะนี้ครับ ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เรียกว่าใครที่ไม่สามารถเข้าไปร่วมวงไพบูลย์นี้ได้ ก็จะตกขบวนรถไฟแห่งผลประโยชน์กันเลยทีเดียวครับ จนเกิดคำถามที่ว่า ร้อนแรงกันเสียขนาดนี้ จะมีอะไรที่ยั้งอยู่หรือไม่
แท้จริงแล้ว เหรียญทุกเหรียญย่อมมีสองด้านด้วยกันทั้งสิ้นครับ มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เพราะการเติบโตที่ร้อนแรงจนเกินไป ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Overheated" จนกลายเป็นความเสี่ยงอย่างมาก ในการดำเนินงานของกิจการที่เข้าไปลงทุนในเมืองจีน ว่าในระยะยาวจะยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตระดับนี้ ไว้ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
สิ่งที่กิจการข้ามชาติ มักจะให้ความสำคัญและคำนึงถึงมากๆ เลยก็คือ เรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา การคอร์รัปชัน หรือปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองเป็นหลัก จึงพยายามหาแนวทางมาป้องกัน และลดความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
แต่สิ่งหนึ่งที่กิจการเหล่านี้ มักลืม หรือมองข้ามไป ทั้งๆ ที่ปัญหานี้เสมือนกับจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่รอคอยวันที่จะทำลายศักยภาพของประเทศ นั่นคือ ความเสี่ยงทางด้านของสภาพแวดล้อม ที่นับวันจะเสื่อมโทรมมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาได้ทันกับการเติบโตที่รวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ
ไม่ว่าจะเป็นด้านน้ำเสียและไม่เพียงพอต่ออุตสาหกรรม อากาศเป็นพิษ ดินถล่ม พลังงานไฟฟ้าขาดแคลนโครงข่ายการติดต่อสื่อสาร เดินทางขนส่ง และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ยังไม่พร้อมพอที่จะรองรับกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นทุกวินาทีครับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ถูกมองว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากในระยะเวลาอันใกล้ทีเดียว
โดยในรายละเอียดของประเด็นความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม ที่เป็นประเด็นหลัก ประกอบด้วย เรื่องของ น้ำ ที่ซีเรียสมากๆ ก็คือ ความไม่เพียงพอของน้ำ ที่แม้ว่าปริมาณสำรองของน้ำในจีน จะมีมากเป็นถึงอันดับหกของโลก รองจากบราซิล แคนาดา รัสเซีย อเมริกา และอินโดนีเซีย แต่ก็ยังไม่พอกับการเติบโตร้อนแรงขนาดนี้ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีปริมาณน้ำมากก็ตาม แต่ก็ขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรน้ำไปยังท้องที่ต่างๆ ซึ่งมีอัตราการกระจุกตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมแตกต่างกัน
โดยจากรายงานของหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ ปรากฏว่า สองในสามของเมืองอุตสาหกรรมในจีน กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในขณะนี้ ถึงกับอาจจะต้องใช้การปันส่วนน้ำกันทีเดียว
ยังไม่ได้คิดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการเกษตร และการอุปโภคบริโภคของประชาชนเลยนะครับ ซึ่งหากรวมการใช้น้ำของประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าไปด้วยแล้ว ตอนนี้รัฐบาลและธุรกิจต้องกุมขมับทีเดียว
ถัดมาที่มีปัญหาไม่แพ้กัน ก็คือ ทางด้าน พลังงาน ทั้งไฟฟ้า และน้ำมัน ซึ่งมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมหาศาลอย่างรวดเร็ว จนปริมาณผลิตไม่สามารถตามทัน ทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าติดๆ ดับๆ ตลอดเวลา ส่งผลต่อสายการผลิตและประสิทธิภาพในการผลิตอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันจีนก็พยายามเพิ่มการผลิต โดยใช้พลังงานจากถ่านหินที่ตนเองมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาด้านความเสื่อมโทรม ของสภาพแวดล้อมตามมาครับ
นอกจากนี้ ความไม่พอเพียงด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงข่ายการขนส่ง ที่ระบบถนน รถไฟ และการขนส่ง ยังไม่ได้เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วทั้งประเทศ และมาตรฐานก็ยังแตกต่างกัน ส่งผลให้ระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศยังแย่อยู่ สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางการเดินทางขนส่งก็มีมากขึ้นทวีคูณ ซึ่งจากสถิติบ่งชี้ว่า อุบัติเหตุจากการเดินทางในจีนมีอัตราสูงที่สุดในโลก
นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อซัพพลายเชนของกิจการด้วย อาทิเช่น กรณีของกิจการค้าปลีกหลายแห่ง ที่ยังไม่สามารถการันตีความรวดเร็วแน่นอน ของซัพพลายเชนของตนได้ ทำให้เรื่องของการจัดการคลังสินค้า สินค้าคงเหลือลดประสิทธิภาพลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้นทุนก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างแน่นอน
และที่สำคัญที่สุด คือ ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยและมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น ดังเช่น ในหลายหมู่บ้านของจีน ได้รับการขนานนามว่า "หมู่บ้านมะเร็ง" เนื่องจากอัตราการเป็นมะเร็งของคนในชุมชนนั้น เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลย เพราะปัญหาน้ำเน่า อากาศเสีย จากการปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษของโรงงานออกมายังสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
ซึ่งต้องไม่ลืมว่า คนเหล่านี้ก็คือ แรงงานที่สำคัญ และตลาดขนาดใหญ่ของธุรกิจนั่นเอง หากไม่มีคนเหล่านี้ ความได้เปรียบทางการแข่งขันของจีน ย่อมลดลงแน่แท้ทีเดียวครับ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระทางด้านงบประมาณสาธารณสุข ของประเทศในระยะยาวอีกด้วย แทนที่จะนำไปพัฒนาประเทศต่อไป
ดังนั้น กิจการที่เข้าไปลงทุนในจีน คงจะหวังพึ่งพาแต่รัฐบาลจีนอย่างเดียวไม่ได้ การรับมือกับปัญหาจึงต้องอาศัยความพยายามจากทุกกิจการเช่นกัน ซึ่งควรต้องใช้กลยุทธ์ในการรับมือ ทั้งสองด้าน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
เริ่มจากเชิงรับ คือการลดและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในระยะสั้น ทั้งการเพิ่มสวัสดิการให้กับพนักงาน ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ การกระตุ้นให้บุคลากรมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการเก็บกวาดจัดการกับปัญหาด้านมลภาวะที่กิจการของตนเองกำลังก่อ ให้ลดน้อยลงมากที่สุด
ส่วนเชิงรุกนั้น นับว่ามีความจำเป็น ควรต้องมุ่งขจัดปัญหาในระยะยาว ดังเช่น บริษัทโคคาโคลา ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในโรงงานผลิตขวดของตนในจีน ที่จะทำให้ปริมาณการสูญเสียน้ำจากกระบวนการผลิตแทบจะเป็นศูนย์ ลดภาระด้านทรัพยากรน้ำในอนาคต ส่วนจีอีก็ลดปริมาณการปลดปล่อยสารออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อน รวมถึงร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลจีน ในการพัฒนาพลังงานจากถ่านหินที่ไม่มีการปล่อยสารพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีในการรีไซเคิลน้ำให้บริสุทธิ์กลับมาใช้ใหม่
ซึ่งประเด็นความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมนี้ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนต้องคำนึงถึง มิฉะนั้น สิ่งที่คาดหวังย่อมจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ความร่วมมือจากทั้งภาคธุรกิจ รัฐบาล และประชาชน จึงเป็นความจำเป็นอย่างมาก ในการขีดอนาคตของทั้งจีนและประชาคมโลก ที่มีส่วนร่วมในปรากฏการณ์ครั้งนี้ครับ
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โพสต์ที่ 3
ในไทยผมไม่ค่อยรู้ว่าเขาพูดเรื่อง demographic structure ของจีนมากน้อยแค่ไหนอ่ะครับ เห็นมี paper ของพวกฝรั่งเยอะเลยที่ว่าถึงเรื่องนี้เพราะโครงสร้างประชากรของจีนกำลังไม่สมดุลอย่างมาก และดูน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ ตามนโยบายมีลูกคนเดียว
แค่ 5 ปี หรือ 10 ปี ข้างหน้า โครงสร้างประชากรก็สยองขนลุกซู่ๆ มากขึ้นเพราะฐานประชากรวัยทำงาน shift ไปมีอายุสูงขึ้น ว่ากันว่าถ้าเป็นยังงี้ต่อไป อีก 30 ปี median อายุประชากรจีนจะสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ซะอีก คนแก่จะล้นประเทศเศรษฐกิจจะถดถอยอย่างหนัก พูดๆ กันว่าเขาอยากเปลี่ยนให้เป็น 2-child policy เพื่อป้องกันปัญหานี้แต่ไม่รู้ไปถึงไหน
แค่ 5 ปี หรือ 10 ปี ข้างหน้า โครงสร้างประชากรก็สยองขนลุกซู่ๆ มากขึ้นเพราะฐานประชากรวัยทำงาน shift ไปมีอายุสูงขึ้น ว่ากันว่าถ้าเป็นยังงี้ต่อไป อีก 30 ปี median อายุประชากรจีนจะสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ซะอีก คนแก่จะล้นประเทศเศรษฐกิจจะถดถอยอย่างหนัก พูดๆ กันว่าเขาอยากเปลี่ยนให้เป็น 2-child policy เพื่อป้องกันปัญหานี้แต่ไม่รู้ไปถึงไหน
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
ผลกระทบจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับผม :D
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ