กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/07/07
โพสต์ที่ 31
บล. กิมเอ็ง ชี้กลุ่มพลังงานยังลงทุนได้ แต่ต้องเลือกรายตัว
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, July 25, 2007
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวผ่านรายการ Stock in Focus ว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเกิดจากปัจจัยบวกหลายประการ เช่น ความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การที่ปริมาณอุปทานในตลาดโลกเริ่มตึงตัวหลังเกิดปัญหาการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันในประเทศต่าง ๆ ปัญหาภัยธรรมชาติ และการคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปคอาจปรับลดกำลังการผลิตลง จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจแตะระดับเหนือกว่า 77 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ได้
สำหรับค่าการกลั่นที่มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันค่อนข้างมากนั้นก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันเช่นกัน แต่นายกิติชาญเชื่อว่า ค่าการกลั่นมีแนวโน้มปรับลดลงได้ในครึ่งปีหลัง ขณะที่ภัยธรรมชาติ เช่น พายุเฮอร์ริเคน ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม เนื่องจากอาจทำให้โรงกลั่นน้ำมันเสียหาย จนต้องปิดซ่อมบำรุงได้อีก
สำหรับราคาถ่านหินในครึ่งปีแรกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งเกิดจากการที่เหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ของโลก ประสบปัญหาในการขนส่งถ่านหิน และยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีกด้วย ทำให้ราคาถ่านหินพุ่งขึ้นในระยะสั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวได้คลี่คลายลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว ซึ่งจะมีผลให้ราคาถ่านหินในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงได้
ขณะที่ราคาแก๊สธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมายังไม่ผันผวนมากนัก เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันเตาและอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งผันผวนค่อนข้างน้อย เพราะมีการกำหนดเพดานการเปลี่ยนแปลงราคา (Ceiling-Floor) ไว้ นอกจากนี้ การที่แหล่งผลิตแก๊สธรรมชาติมักไม่เปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายบ่อยนัก ส่งผลให้ราคาแก๊สธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเท่ากับราคาน้ำมัน
นายกิติชาญได้จำแนกบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มพลังงานไว้ 4 ประเภท ดังนี้
1) กลุ่มน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) และ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งคาดว่า PTTEP จะมีกำไรเติบโต 22% หรือมากที่สุดของอุตสาหกรรมในปี 2551 เนื่องจากการที่ PTTEP มีสินค้าหลายชนิด และจะเริ่มดำเนินการผลิตจากแหล่งก๊าซธรรมชาติและแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ได้ 2 โครงการ แต่การที่ ราคาหุ้น PTTEP ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก จึงแนะนำให้นักลงทุนรอให้ราคาน้ำมันปรับลดในครึ่งปีหลังก่อนเข้าลงทุน
ขณะที่ PTT ถือเป็นหุ้นที่มีฐานกำไรค่อนข้างสูงมากอยู่แล้ว จึงอาจเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ค่อนข้างยาก แต่ก็เชื่อว่าจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อดีของ PTT คือ การเป็น Holding Company ที่ถือหุ้นในธุรกิจหลากหลายประเภท ทั้งธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และปิโตรเคมี เป็นสัดส่วนเฉลี่ย 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด จึงถือว่ามีการกระจายรายได้ที่ดีมาก โดยในปีนี้ PTT จะมีกำไรเติบโตจากธุรกิจแก๊สธรรมชาติเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นน้ำมันอาจชะลอตัวลงไปบ้าง ขณะที่ทุกธุรกิจของ PTT ในปี 2551 จะสามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะหนุนให้กำไรของ PTT เติบโตได้อีกมาก จึงมีความน่าสนใจเข้าลงทุน
2) กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ได้แก่ บมจ. ไทยออยล์ (TOP) และ บมจ. โรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากค่าการกลั่นที่อาจปรับลดลงได้ในครึ่งปีหลัง จึงต้องพิจารณาคัดเลือกหุ้นเป็นรายตัว ทั้งนี้ TOP จะได้เปรียบในเรื่องการกระจายธุรกิจที่หลากหลาย เช่น ธุรกิจปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น และธุรกิจไฟฟ้า ซึ่งมีผลให้บริษัทฯ มีแนวโน้มชนะการประมูลโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ได้ 1 โรง และจะเป็นปัจจัยที่เพิ่มมูลค่าหุ้นได้ จึงมีความน่าสนใจมากกว่า RRC ขณะที่ RRC ยังมีผลประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากควบรวมกิจการกับ บมจ. อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) (ATC) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 1/51 แต่หากประเมิน RRC เพียงบริษัทเดียวแล้ว จะเห็นว่ามีความเสี่ยง เพราะมีธุรกิจเดียวที่มีรายได้ผันผวนตามค่าการกลั่น
3) กลุ่มถ่านหิน ได้แก่ บมจ. บ้านปู (BANPU) บมจ. ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) และ บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมากจนใกล้ระดับมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว จึงมีความน่าสนใจในการลงทุนน้อยลงในครึ่งปีหลัง
4) กลุ่มโรงไฟฟ้า ได้แก่ บมจ. ผลิตไฟฟ้า (EGCO) บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และ บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW) เป็นกลุ่ม Defensive Stock ที่มีราคาปรับขึ้นช้าแต่มั่นคง และจากการที่ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนข่าวการประมูลโรงไฟฟ้าไปแล้ว ทำให้ความน่าสนใจลงทุนน้อยลง
อย่างไรก็ตาม นายกิติชาญมองว่า EGCO ถือเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากที่สุดในกลุ่มโรงไฟฟ้า เพราะเชื่อว่าจะมีกำไรที่เติบโตมากกว่าหุ้นอื่น และการที่ EGCO ได้ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP 50% ที่จะเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตในปีนี้ รวมถึงจะสามารถบันทึกรายได้จากโรงไฟฟ้าแก่งคอยได้อีก ซึ่งจะทำให้รายได้ในปีนี้เติบโตขึ้นมาก แม้ว่ารายได้จากโรงไฟฟ้าขนอมและโรงไฟฟ้าระยองจะลดลงก็ตาม นอกจากนี้ EGCO ยังมีทำเลที่เหมาะสมในการเข้าประมูลโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ทำให้มีศักยภาพในการประมูลค่อนข้างสูง
ขณะที่ RATCH ยังคงมีกำไรไม่เติบโตมากนัก เนื่องจากยังมีโครงการโรงไฟฟ้าเท่าเดิม คือ 5 แห่ง แต่เนื่องจากอาจชนะการประมูลโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ได้ 1 โรง ก็อาจทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต
นายกิติชาญกล่าวด้วยว่า หุ้นกลุ่มพลังงานอาจมีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากพอสมควรแล้ว ทำให้ไม่มีแรงจูงใจที่จะลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก แต่นักลงทุนก็ควรพิจารณาถึงรายละเอียดเชิงลึก รวมถึงความสามารถในการทำกำไรของแต่ละบริษัทด้วย ซึ่งอาจมีความเสี่ยงทางธุรกิจแตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจปั๊มน้ำมัน ที่ไม่สามารถกำหนดค่าการตลาดซึ่งเป็นรายได้หลักของธุรกิจได้เอง ธุรกิจพลังงานที่ต้องพึ่งพาภาครัฐ ก็จะมีความผันผวนสูงเนื่องจากมีรายได้ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ จึงยังมีความเสี่ยงของธุรกิจค่อนข้างมาก เป็นต้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Sto ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, July 25, 2007
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวผ่านรายการ Stock in Focus ว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเกิดจากปัจจัยบวกหลายประการ เช่น ความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การที่ปริมาณอุปทานในตลาดโลกเริ่มตึงตัวหลังเกิดปัญหาการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันในประเทศต่าง ๆ ปัญหาภัยธรรมชาติ และการคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปคอาจปรับลดกำลังการผลิตลง จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจแตะระดับเหนือกว่า 77 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ได้
สำหรับค่าการกลั่นที่มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันค่อนข้างมากนั้นก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันเช่นกัน แต่นายกิติชาญเชื่อว่า ค่าการกลั่นมีแนวโน้มปรับลดลงได้ในครึ่งปีหลัง ขณะที่ภัยธรรมชาติ เช่น พายุเฮอร์ริเคน ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม เนื่องจากอาจทำให้โรงกลั่นน้ำมันเสียหาย จนต้องปิดซ่อมบำรุงได้อีก
สำหรับราคาถ่านหินในครึ่งปีแรกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งเกิดจากการที่เหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ของโลก ประสบปัญหาในการขนส่งถ่านหิน และยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีกด้วย ทำให้ราคาถ่านหินพุ่งขึ้นในระยะสั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวได้คลี่คลายลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว ซึ่งจะมีผลให้ราคาถ่านหินในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงได้
ขณะที่ราคาแก๊สธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมายังไม่ผันผวนมากนัก เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันเตาและอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งผันผวนค่อนข้างน้อย เพราะมีการกำหนดเพดานการเปลี่ยนแปลงราคา (Ceiling-Floor) ไว้ นอกจากนี้ การที่แหล่งผลิตแก๊สธรรมชาติมักไม่เปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายบ่อยนัก ส่งผลให้ราคาแก๊สธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเท่ากับราคาน้ำมัน
นายกิติชาญได้จำแนกบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มพลังงานไว้ 4 ประเภท ดังนี้
1) กลุ่มน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) และ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งคาดว่า PTTEP จะมีกำไรเติบโต 22% หรือมากที่สุดของอุตสาหกรรมในปี 2551 เนื่องจากการที่ PTTEP มีสินค้าหลายชนิด และจะเริ่มดำเนินการผลิตจากแหล่งก๊าซธรรมชาติและแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ได้ 2 โครงการ แต่การที่ ราคาหุ้น PTTEP ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก จึงแนะนำให้นักลงทุนรอให้ราคาน้ำมันปรับลดในครึ่งปีหลังก่อนเข้าลงทุน
ขณะที่ PTT ถือเป็นหุ้นที่มีฐานกำไรค่อนข้างสูงมากอยู่แล้ว จึงอาจเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ค่อนข้างยาก แต่ก็เชื่อว่าจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อดีของ PTT คือ การเป็น Holding Company ที่ถือหุ้นในธุรกิจหลากหลายประเภท ทั้งธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และปิโตรเคมี เป็นสัดส่วนเฉลี่ย 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด จึงถือว่ามีการกระจายรายได้ที่ดีมาก โดยในปีนี้ PTT จะมีกำไรเติบโตจากธุรกิจแก๊สธรรมชาติเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นน้ำมันอาจชะลอตัวลงไปบ้าง ขณะที่ทุกธุรกิจของ PTT ในปี 2551 จะสามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะหนุนให้กำไรของ PTT เติบโตได้อีกมาก จึงมีความน่าสนใจเข้าลงทุน
2) กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ได้แก่ บมจ. ไทยออยล์ (TOP) และ บมจ. โรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากค่าการกลั่นที่อาจปรับลดลงได้ในครึ่งปีหลัง จึงต้องพิจารณาคัดเลือกหุ้นเป็นรายตัว ทั้งนี้ TOP จะได้เปรียบในเรื่องการกระจายธุรกิจที่หลากหลาย เช่น ธุรกิจปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น และธุรกิจไฟฟ้า ซึ่งมีผลให้บริษัทฯ มีแนวโน้มชนะการประมูลโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ได้ 1 โรง และจะเป็นปัจจัยที่เพิ่มมูลค่าหุ้นได้ จึงมีความน่าสนใจมากกว่า RRC ขณะที่ RRC ยังมีผลประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากควบรวมกิจการกับ บมจ. อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) (ATC) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 1/51 แต่หากประเมิน RRC เพียงบริษัทเดียวแล้ว จะเห็นว่ามีความเสี่ยง เพราะมีธุรกิจเดียวที่มีรายได้ผันผวนตามค่าการกลั่น
3) กลุ่มถ่านหิน ได้แก่ บมจ. บ้านปู (BANPU) บมจ. ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) และ บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมากจนใกล้ระดับมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว จึงมีความน่าสนใจในการลงทุนน้อยลงในครึ่งปีหลัง
4) กลุ่มโรงไฟฟ้า ได้แก่ บมจ. ผลิตไฟฟ้า (EGCO) บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และ บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW) เป็นกลุ่ม Defensive Stock ที่มีราคาปรับขึ้นช้าแต่มั่นคง และจากการที่ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนข่าวการประมูลโรงไฟฟ้าไปแล้ว ทำให้ความน่าสนใจลงทุนน้อยลง
อย่างไรก็ตาม นายกิติชาญมองว่า EGCO ถือเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากที่สุดในกลุ่มโรงไฟฟ้า เพราะเชื่อว่าจะมีกำไรที่เติบโตมากกว่าหุ้นอื่น และการที่ EGCO ได้ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP 50% ที่จะเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตในปีนี้ รวมถึงจะสามารถบันทึกรายได้จากโรงไฟฟ้าแก่งคอยได้อีก ซึ่งจะทำให้รายได้ในปีนี้เติบโตขึ้นมาก แม้ว่ารายได้จากโรงไฟฟ้าขนอมและโรงไฟฟ้าระยองจะลดลงก็ตาม นอกจากนี้ EGCO ยังมีทำเลที่เหมาะสมในการเข้าประมูลโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม ทำให้มีศักยภาพในการประมูลค่อนข้างสูง
ขณะที่ RATCH ยังคงมีกำไรไม่เติบโตมากนัก เนื่องจากยังมีโครงการโรงไฟฟ้าเท่าเดิม คือ 5 แห่ง แต่เนื่องจากอาจชนะการประมูลโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ได้ 1 โรง ก็อาจทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต
นายกิติชาญกล่าวด้วยว่า หุ้นกลุ่มพลังงานอาจมีราคาปรับเพิ่มขึ้นมากพอสมควรแล้ว ทำให้ไม่มีแรงจูงใจที่จะลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก แต่นักลงทุนก็ควรพิจารณาถึงรายละเอียดเชิงลึก รวมถึงความสามารถในการทำกำไรของแต่ละบริษัทด้วย ซึ่งอาจมีความเสี่ยงทางธุรกิจแตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจปั๊มน้ำมัน ที่ไม่สามารถกำหนดค่าการตลาดซึ่งเป็นรายได้หลักของธุรกิจได้เอง ธุรกิจพลังงานที่ต้องพึ่งพาภาครัฐ ก็จะมีความผันผวนสูงเนื่องจากมีรายได้ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐ จึงยังมีความเสี่ยงของธุรกิจค่อนข้างมาก เป็นต้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Sto ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/07/07
โพสต์ที่ 32
กลุ่มพลังงานจะชี้นำดัชนี
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:16:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เป๋ไปบ้างช่วงเช้า แต่ยังกลับมาปิดบวกได้ ตลาดหุ้นไทยยังทานแรงซื้อของนักลงทุนไม่ไหว แม้ต้องเผชิญแรงขายช่วงเปิดตลาด ตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน แต่เพียงชั่วอึดใจก็สามารถดีดตัวกลับมายืนในแดนบวกได้ ด้วยแรงซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงาน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยไต่ขึ้นแตะระดับสูดสุดของวันที่ 891.33 จุด ก่อนจะมีแรงเทขายช่วงท้ายตลาด กดให้ดัชนีลงมาปิดที่ 883.65 จุด เพิ่มขึ้น 2.70 จุด
ดัชนีจะผันผวนมากขึ้น
ดัชนีมีโอกาสปรับขึ้นต่อ ด้วยแรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งพลังงาน และขนส่งทางเรือ ตามราคา spot ของผลิตภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์กำลังทะยานขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมที่ 78 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และค่าระวางเรือทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 6,720 จุด แนวต้านทางเทคนิควันนี้อยู่ที่ 895 900 จุด ที่บริเวณดังกล่าวดัชนีจะผันผวนมากขึ้น การสะสมหุ้นเพิ่มเริ่มมีความเสี่ยงจากการขายทำกำไร โดยเฉพาะเมื่อดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเทียบกับเงินสกุลหลัก 6 สกุลเริ่มแข็งค่าขึ้น
หุ้นพลังงานยังเป็นกลุ่มหลักขับเคลื่อนดัชนีในระยะสั้น หุ้นเด่นของเราได้แก่ PTTEP (มูลค่าพื้นฐาน 146 บาท) จากแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นในปี 51 ในขณะที่กลุ่มโรงกลั่นเริ่มมีความเสี่ยงเพิ่ม เมื่อค่าการกลั่นตลาดสิงคโปร์ลดลงแตะระดับ 4 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล (ยืนยันมุมมองของเราที่ค่าการกลั่นมักปรับตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี จากผลของฤดูกาล และการกลับมาผลิตตามปกติของโรงกลั่นหลังปิดซ่อมบำรุงในช่วงต้นปี) เราชอบ RRC มากกว่า TOP เพราะยังมีประเด็นจูงใจเรื่องการแลกหุ้นเป็นบริษัทใหม่ ด้วยราคาที่เหมาะสม 28 บาท
กลุ่มหลักทรัพย์ ยังสามารถเก็งกำไรระยะสั้นได้ จากปริมาณการซื้อขายที่ยังทรงตัวระดับสูง แนะนำ BSEC, BLS และ KGI
ตลาดฯ ยกเลิกผ่อนผันการวางเงินประกัน 10% ของนักลงทุนรายย่อย
ปัจจัยลงทุน:
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมยกเลิกการผ่อนผันการวางหลักประกัน 10% ของวงเงินที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ สำหรับบัญชีเงินสดของผู้ลงทุนบุคคลทั้งในและต่างประเทศ จากเดิมที่ผ่อนผันให้ ผู้ที่มีวงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท ไม่ต้องวางหลักประกัน มาตั้งแต่ปี 47 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 50 แม้จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับนักลงทุนรายบุคคล แต่ผลกระทบต่อภาวะการซื้อขายโดยรวมน่าจะไม่รุนแรง เนื่องจากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งเป็นผู้เล่นหลักในตลาด ณ ขณะนี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องวางหลักประกัน
ราคาน้ำมันดิบทะยานหลัง สต็อคน้ำมันสหรัฐลดมากกว่าคาด
ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าดีดตัวแรง (ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 76.35 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และไนเม็กซ์ 75.88 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล) หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐเปิดเผยสต็อคน้ำมันดิบลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล เหลือ 351 ล้านบาร์เรล ขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นเป็น 91.7%
ดาวโจนส์ได้แรงหนุนผลประกอบการ แต่ยังวิตกปัญหาตลาดบ้าน
ดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 68.12 จุด วานนี้ มาปิดที่ 13,785.07 จุด แม้แรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของ Amazon และ Boeing จะดันดัชนีไปแตะจุดสูงสุดที่ 13,822 จุด แต่ตลาดลดแรงบวก หลังสมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือน มิ.ย. เหลือเพียง 5.75 ล้านหน่วย เทียบกับ 5.98 ล้านหน่วยในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด และแพงขึ้น หลังเกิดปัญหาวิกฤติในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีเครดิตต่ำ ในขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Countrywide Financial ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย คาดตลาดบ้านจะฟื้นตัวในปี 52 เป็นอย่างเร็ว
ขณะที่การปรับตัวลงของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเช้านี้ คาดว่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายในประเทศ เพื่อรอผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้นปลายสัปดาห์นี้ (29 ก.ค.) ผลการเลือกตั้งอาจกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ภายใต้การบริหารของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย (LDP) ของนายกรัฐมนตรีอาเบะ ซึ่งได้รับแรงกดดันจากกรณีอื้อฉาวและคอรัปชั่นของรัฐมนตรีหลายรายในรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากคะแนนความนิยมของนายกฯ อาเบะลดต่ำเหลือเพียง 30%
ที่มา : บล.ซีมิโก้
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=86192
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:16:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เป๋ไปบ้างช่วงเช้า แต่ยังกลับมาปิดบวกได้ ตลาดหุ้นไทยยังทานแรงซื้อของนักลงทุนไม่ไหว แม้ต้องเผชิญแรงขายช่วงเปิดตลาด ตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน แต่เพียงชั่วอึดใจก็สามารถดีดตัวกลับมายืนในแดนบวกได้ ด้วยแรงซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงาน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยไต่ขึ้นแตะระดับสูดสุดของวันที่ 891.33 จุด ก่อนจะมีแรงเทขายช่วงท้ายตลาด กดให้ดัชนีลงมาปิดที่ 883.65 จุด เพิ่มขึ้น 2.70 จุด
ดัชนีจะผันผวนมากขึ้น
ดัชนีมีโอกาสปรับขึ้นต่อ ด้วยแรงหนุนจากหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งพลังงาน และขนส่งทางเรือ ตามราคา spot ของผลิตภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์กำลังทะยานขึ้นทดสอบจุดสูงสุดเดิมที่ 78 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และค่าระวางเรือทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 6,720 จุด แนวต้านทางเทคนิควันนี้อยู่ที่ 895 900 จุด ที่บริเวณดังกล่าวดัชนีจะผันผวนมากขึ้น การสะสมหุ้นเพิ่มเริ่มมีความเสี่ยงจากการขายทำกำไร โดยเฉพาะเมื่อดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเทียบกับเงินสกุลหลัก 6 สกุลเริ่มแข็งค่าขึ้น
หุ้นพลังงานยังเป็นกลุ่มหลักขับเคลื่อนดัชนีในระยะสั้น หุ้นเด่นของเราได้แก่ PTTEP (มูลค่าพื้นฐาน 146 บาท) จากแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นในปี 51 ในขณะที่กลุ่มโรงกลั่นเริ่มมีความเสี่ยงเพิ่ม เมื่อค่าการกลั่นตลาดสิงคโปร์ลดลงแตะระดับ 4 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล (ยืนยันมุมมองของเราที่ค่าการกลั่นมักปรับตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี จากผลของฤดูกาล และการกลับมาผลิตตามปกติของโรงกลั่นหลังปิดซ่อมบำรุงในช่วงต้นปี) เราชอบ RRC มากกว่า TOP เพราะยังมีประเด็นจูงใจเรื่องการแลกหุ้นเป็นบริษัทใหม่ ด้วยราคาที่เหมาะสม 28 บาท
กลุ่มหลักทรัพย์ ยังสามารถเก็งกำไรระยะสั้นได้ จากปริมาณการซื้อขายที่ยังทรงตัวระดับสูง แนะนำ BSEC, BLS และ KGI
ตลาดฯ ยกเลิกผ่อนผันการวางเงินประกัน 10% ของนักลงทุนรายย่อย
ปัจจัยลงทุน:
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมยกเลิกการผ่อนผันการวางหลักประกัน 10% ของวงเงินที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ สำหรับบัญชีเงินสดของผู้ลงทุนบุคคลทั้งในและต่างประเทศ จากเดิมที่ผ่อนผันให้ ผู้ที่มีวงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท ไม่ต้องวางหลักประกัน มาตั้งแต่ปี 47 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 50 แม้จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับนักลงทุนรายบุคคล แต่ผลกระทบต่อภาวะการซื้อขายโดยรวมน่าจะไม่รุนแรง เนื่องจากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งเป็นผู้เล่นหลักในตลาด ณ ขณะนี้ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องวางหลักประกัน
ราคาน้ำมันดิบทะยานหลัง สต็อคน้ำมันสหรัฐลดมากกว่าคาด
ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าดีดตัวแรง (ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 76.35 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และไนเม็กซ์ 75.88 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล) หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐเปิดเผยสต็อคน้ำมันดิบลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล เหลือ 351 ล้านบาร์เรล ขณะที่อัตราการใช้กำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นเป็น 91.7%
ดาวโจนส์ได้แรงหนุนผลประกอบการ แต่ยังวิตกปัญหาตลาดบ้าน
ดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 68.12 จุด วานนี้ มาปิดที่ 13,785.07 จุด แม้แรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของ Amazon และ Boeing จะดันดัชนีไปแตะจุดสูงสุดที่ 13,822 จุด แต่ตลาดลดแรงบวก หลังสมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือน มิ.ย. เหลือเพียง 5.75 ล้านหน่วย เทียบกับ 5.98 ล้านหน่วยในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด และแพงขึ้น หลังเกิดปัญหาวิกฤติในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีเครดิตต่ำ ในขณะที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Countrywide Financial ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย คาดตลาดบ้านจะฟื้นตัวในปี 52 เป็นอย่างเร็ว
ขณะที่การปรับตัวลงของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเช้านี้ คาดว่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายในประเทศ เพื่อรอผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้นปลายสัปดาห์นี้ (29 ก.ค.) ผลการเลือกตั้งอาจกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ภายใต้การบริหารของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย (LDP) ของนายกรัฐมนตรีอาเบะ ซึ่งได้รับแรงกดดันจากกรณีอื้อฉาวและคอรัปชั่นของรัฐมนตรีหลายรายในรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากคะแนนความนิยมของนายกฯ อาเบะลดต่ำเหลือเพียง 30%
ที่มา : บล.ซีมิโก้
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/2 ... wsid=86192
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/07/07
โพสต์ที่ 33
น้ำมันแพงหุ้นถ่านหินเดือด
หลังปล่อยให้หุ้นน้ำมันเป็นพระเอกเล่นบทนำดันตลาดเข้าภาวะกระทิงไปแล้ว หุ้นพลังงานทดแทนถ่านหินเริ่มไล่ตามมาติด
คู่หูพี่เบิ้มน้องเล็ก BANPU-LANNA มีสตอรี่เดียวกันเป๊ะ มีปันผลครึ่งปีตอบแทน และเตรียมนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนระดมทุนเพิ่ม รอบนี้น้องรอง LANNA เริ่มโดดเด่นไม่แพ้พี่ใหญ่ อนาคตดีเข้าตากองทุน โบรกเตรียมปรับเพิ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นรับปี 2551 ที่จะเติบโตอย่างโดดเด่น คาดเพิ่มขึ้นอย่างต่ำ 20% จากราคาปัจจุบันที่ 20.00 บาท ส่วน BANPU เริ่มกลับมาแรงอีกรอบจากที่พักตัวไป คาดปันผลกลางปี 5.50 บาท จากทั้งปี 10.50 บาท เป้าหมาย 312 บาท ที่ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากบริษัทลูกที่จะดันเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น LANNA วานนี้ (26 ก.ค.) ปิดตลาดที่ 20.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.01 บาท หรือ 5.82% มีมูลค่าซื้อขายรวม 305.51 ล้านบาท ซึ่ง BANPU ปิดตลาดที่ 296 บาท เพิ่มขึ้น 6.00 บาท หรือ 2.07% มีมูลค่าซื่อขายรวม 834 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากทิศทางของราคาถ่านหุ้นในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 66 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และคาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อไปถึงปี 2551 ซึ่งคาดว่าราคาน่าจะแกว่งตัวที่ประมาณ 55-60 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประกอบกับความต้องการใช้จากจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และ อินเดียที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังคงขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาได้ปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 76.35 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อต่อบาร์เรล จะส่งผลให้มีการหันมาใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะถ่านหินที่สามารถประหยัดต้นทุนได้สูงกว่าการใช้น้ำมันถึง 60%
ดังนั้นจึงมองว่าหุ้นของบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หรือ LANNA ผู้ผลิตถ่านหินอันดับ 2 ของไทยยังคงได้รับความสนใจ และน่าลงทุนไม่ต่างอะไรจากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ที่เป็นเบอร์ 1 เมื่อสังเกตจากระดับราคาหุ้นที่ปรับตัวควบคู่อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในไตรมาส 2/2550 ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากำไร และรายได้ปรับตัวสูงกว่าไตรมาสแรกที่มีรายได้ 1,465 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 125 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณยอดขายที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มสูงเรื่อยๆในไตรมาสถัดไป
นอกจากนี้มองว่าในปีหน้า LANNA จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินในครั้งนี้สูงไม่แพ้ BANPU เพราะคาดว่า LANNA จะสามารถปรับขึ้นราคาขายได้สูงถึง 40-42 เหรียญดอลลาร์สหฐต่อตัน ซึ่งสูงกว่าปีนี้ที่มีการกำหนดราคาขายที่ 36-37 เหรียญ/ตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถึง 70%
นักวิเคราะห์ กล่าวต่อว่า LANNA ยังมีแผนที่จะนำบริษัทลูก คือ บริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TAE) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเอทานอลที่ LANNA ถือหุ้นอยู่ 75.75% ของทุจดทะเบียนที่ชำระแล้วในช่วงปลายปี หรือต้นปี 2551 ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกกับ LANNA มากขึ้น
LANNAครึ่งแรกปันผล0.50บาท
นอกจากนี้ LANNA ยังเป็นหุ้นที่กองทุนให้ความน่าสนใจลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มในระยะยาวที่มีการเติบโตสูง และผลตอบแทนอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าในครึ่งปีแรก LANNA จะสามารถจ่ายปันผลได้สูงถึง 0.50 บาท/หุ้น ขณะที่ปีก่อนก่อนจ่ายปันผลระหว่างกาลแค่ 0.35 บาท/หุ้น และทั้งปีคาดว่าจะจ่ายปันผลที่ประมาณ 1.00 บาท/หุ้น ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงแนะนำ ซื้อลงทุน โดยราคาเป้าหมายขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับประมาณการณ์ แต่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากราคาหุ้นบนกระดานที่ 20.00 บาท
สำหรับ BANPU ซึ่งเป็นเบอร์ 1 อยู่แล้ว และคุณภาพถ่านหินที่เหนือกว่าส่งผลให้การกำหนดราคาขายย่อมสูงกว่า LANNA เป็นธรรมดา ดังนั้นคาดว่าในปีหน้า BANPU จะมีราคาขายที่สูงถึง 42-43 เหรียญ/ตัน จากปัจจุบันที่มีราคาขายเฉลี่ย 38-39 เหรียญ/ตัน
BANPUปันผล5.50บาท
ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2550 ของ BANPU นั้นคาดว่ามีกำไรสุทธิ 1,400 ล้านบาท และรายได้ 7,000 ล้านบาท จากไตรมาส 1/2549 ที่มีกำไรสุทธิ 742 ล้านบาท รายได้รวม 7,582 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการใช้ที่ปรับตัวสูงขึ้น เพราะราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ประเมินว่า BANPU สามารถจ่ายปันผลระหว่างกาลสูงถึง 5.50 บาท ส่วนทั้งปีคาดว่าสามารถจ่ายได้สูงถึง 10.50 บาท เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ปรับตัวอย่างโดเด่นในปีนี้ อย่างไรก็ตาม BANPU มีประเด็นที่น่าจับตาคลายกับ LANNA เรื่องของการนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซียได้ในช่วงปลายปี 2550 นี้ ซึ่งจะเพิ่มแวร์ลู่ให้กับ BANPU ได้ในระดับสูง เพราะบริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจถ่านหิน ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างมากในปี 2551 ได้
ดังนั้นจึงแนะนำ ซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมาย 312 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่คิดมูลค่าจากการนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย แต่หากเพิ่มมูลค่าดังกล่าวจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 60 บาท จากราคาเป้าหมายเดิม
LANNA ปีหน้าสุดยอด
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปริมาณผลิตถ่านของ LANNA จะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2551 ถึง 29% แต่ปีนี้ทรงตัวจากความล่าช้าในการผลิตเชิงพาณิชย์ของเหมือง SINGLURUS PRATAMA (SGP) ซึ่งเป็นเหมืองแหล่งที่ 3 ในประเทศอินโดนีเซียของ LANNA จากการเลื่อนผลิตจากปลายปี 2550 เป็นต้นปี 2551 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ในปีนี้ แต่ได้รับผลบวกจากราคาถ่านหินที่สูงมาทดแทน
ทั้งนี้ LANNA มีเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียทั้งหมด 3 แห่ง และมีกำลังผลิต 3 ล้านตันต่อปี และถ้าเหมือง SGP เสร็จจะเพิ่มกำลังผลิตอีก 0.8 ล้านตัน โดยคาดว่าปีนี้ผลิตได้ 2.8 ล้านตันใกล้เคียงปีก่อน โดยต้องติดตามความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการ SGP ว่าจะมีการเลื่อนกำหนดเปิดดำเนินงานอีกหรือไม่
ดังนั้นคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 2/2550 เติบโตสูงกว่าไตรมาส 1/2550 ที่มีกำไรสุทธิ 125 ล้านบาท โดยราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้นช่วยทำให้ผลการดำเนินงานทรงตัวระดับสูง แม้ราคาขายเอทานอลจะลดลงจาก 22.5 บาท/ลิตร เป็น 18 บาทต่อลิตรในไตรมาส 2/2550 และ 17 บาทต่อลิตรในไตรมาส 3/2550 จากโครงสร้างราคาขายเอทานอลที่เปลี่ยนไปอ้างอิงจากราคาเอทานอลของตลาดบราซิล (Brizillian Commodity Exchange Sao Paulo Index)
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ สินเอเซีย จำกัด กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น LANNA ยังมีโอกาสที่จะปรับตัวต่อได้ จากมูลค่าซื้อขายที่มีการสะสมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และการเข้ามาเก็งกำไรผลการดำเนินงาน จึงแนะนำ ซื้อเก็งกำไรให้แนวรับ 20.00-19.60 บาท แนวต้าน 20.70-21.30 บาท
ส่วน BANPU ราคาหุ้นยังมีการปรับตัวได้ต่อเช่นกัน แม้ว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาสูงแล้ว แต่ผลการดำเนินงานที่คาดว่าออกมาดี ส่งผลให้มีการเข้ามาเก็งกำไรเพิ่มสูงขึ้น จึงแนะนำ ซื้อ ให้แนวรับ 290 บาท แนวต้าน 304-320 บาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 939&ch=225
หลังปล่อยให้หุ้นน้ำมันเป็นพระเอกเล่นบทนำดันตลาดเข้าภาวะกระทิงไปแล้ว หุ้นพลังงานทดแทนถ่านหินเริ่มไล่ตามมาติด
คู่หูพี่เบิ้มน้องเล็ก BANPU-LANNA มีสตอรี่เดียวกันเป๊ะ มีปันผลครึ่งปีตอบแทน และเตรียมนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนระดมทุนเพิ่ม รอบนี้น้องรอง LANNA เริ่มโดดเด่นไม่แพ้พี่ใหญ่ อนาคตดีเข้าตากองทุน โบรกเตรียมปรับเพิ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นรับปี 2551 ที่จะเติบโตอย่างโดดเด่น คาดเพิ่มขึ้นอย่างต่ำ 20% จากราคาปัจจุบันที่ 20.00 บาท ส่วน BANPU เริ่มกลับมาแรงอีกรอบจากที่พักตัวไป คาดปันผลกลางปี 5.50 บาท จากทั้งปี 10.50 บาท เป้าหมาย 312 บาท ที่ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากบริษัทลูกที่จะดันเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น LANNA วานนี้ (26 ก.ค.) ปิดตลาดที่ 20.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.01 บาท หรือ 5.82% มีมูลค่าซื้อขายรวม 305.51 ล้านบาท ซึ่ง BANPU ปิดตลาดที่ 296 บาท เพิ่มขึ้น 6.00 บาท หรือ 2.07% มีมูลค่าซื่อขายรวม 834 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากทิศทางของราคาถ่านหุ้นในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 66 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และคาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อไปถึงปี 2551 ซึ่งคาดว่าราคาน่าจะแกว่งตัวที่ประมาณ 55-60 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประกอบกับความต้องการใช้จากจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และ อินเดียที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังคงขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาได้ปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 76.35 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อต่อบาร์เรล จะส่งผลให้มีการหันมาใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะถ่านหินที่สามารถประหยัดต้นทุนได้สูงกว่าการใช้น้ำมันถึง 60%
ดังนั้นจึงมองว่าหุ้นของบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หรือ LANNA ผู้ผลิตถ่านหินอันดับ 2 ของไทยยังคงได้รับความสนใจ และน่าลงทุนไม่ต่างอะไรจากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ที่เป็นเบอร์ 1 เมื่อสังเกตจากระดับราคาหุ้นที่ปรับตัวควบคู่อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในไตรมาส 2/2550 ฝ่ายวิจัยประเมินว่ากำไร และรายได้ปรับตัวสูงกว่าไตรมาสแรกที่มีรายได้ 1,465 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 125 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณยอดขายที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มสูงเรื่อยๆในไตรมาสถัดไป
นอกจากนี้มองว่าในปีหน้า LANNA จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินในครั้งนี้สูงไม่แพ้ BANPU เพราะคาดว่า LANNA จะสามารถปรับขึ้นราคาขายได้สูงถึง 40-42 เหรียญดอลลาร์สหฐต่อตัน ซึ่งสูงกว่าปีนี้ที่มีการกำหนดราคาขายที่ 36-37 เหรียญ/ตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถึง 70%
นักวิเคราะห์ กล่าวต่อว่า LANNA ยังมีแผนที่จะนำบริษัทลูก คือ บริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TAE) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเอทานอลที่ LANNA ถือหุ้นอยู่ 75.75% ของทุจดทะเบียนที่ชำระแล้วในช่วงปลายปี หรือต้นปี 2551 ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกกับ LANNA มากขึ้น
LANNAครึ่งแรกปันผล0.50บาท
นอกจากนี้ LANNA ยังเป็นหุ้นที่กองทุนให้ความน่าสนใจลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มในระยะยาวที่มีการเติบโตสูง และผลตอบแทนอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าในครึ่งปีแรก LANNA จะสามารถจ่ายปันผลได้สูงถึง 0.50 บาท/หุ้น ขณะที่ปีก่อนก่อนจ่ายปันผลระหว่างกาลแค่ 0.35 บาท/หุ้น และทั้งปีคาดว่าจะจ่ายปันผลที่ประมาณ 1.00 บาท/หุ้น ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงแนะนำ ซื้อลงทุน โดยราคาเป้าหมายขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับประมาณการณ์ แต่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากราคาหุ้นบนกระดานที่ 20.00 บาท
สำหรับ BANPU ซึ่งเป็นเบอร์ 1 อยู่แล้ว และคุณภาพถ่านหินที่เหนือกว่าส่งผลให้การกำหนดราคาขายย่อมสูงกว่า LANNA เป็นธรรมดา ดังนั้นคาดว่าในปีหน้า BANPU จะมีราคาขายที่สูงถึง 42-43 เหรียญ/ตัน จากปัจจุบันที่มีราคาขายเฉลี่ย 38-39 เหรียญ/ตัน
BANPUปันผล5.50บาท
ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2550 ของ BANPU นั้นคาดว่ามีกำไรสุทธิ 1,400 ล้านบาท และรายได้ 7,000 ล้านบาท จากไตรมาส 1/2549 ที่มีกำไรสุทธิ 742 ล้านบาท รายได้รวม 7,582 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการใช้ที่ปรับตัวสูงขึ้น เพราะราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ประเมินว่า BANPU สามารถจ่ายปันผลระหว่างกาลสูงถึง 5.50 บาท ส่วนทั้งปีคาดว่าสามารถจ่ายได้สูงถึง 10.50 บาท เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ปรับตัวอย่างโดเด่นในปีนี้ อย่างไรก็ตาม BANPU มีประเด็นที่น่าจับตาคลายกับ LANNA เรื่องของการนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซียได้ในช่วงปลายปี 2550 นี้ ซึ่งจะเพิ่มแวร์ลู่ให้กับ BANPU ได้ในระดับสูง เพราะบริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจถ่านหิน ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างมากในปี 2551 ได้
ดังนั้นจึงแนะนำ ซื้อ โดยให้ราคาเป้าหมาย 312 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่คิดมูลค่าจากการนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย แต่หากเพิ่มมูลค่าดังกล่าวจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 60 บาท จากราคาเป้าหมายเดิม
LANNA ปีหน้าสุดยอด
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปริมาณผลิตถ่านของ LANNA จะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2551 ถึง 29% แต่ปีนี้ทรงตัวจากความล่าช้าในการผลิตเชิงพาณิชย์ของเหมือง SINGLURUS PRATAMA (SGP) ซึ่งเป็นเหมืองแหล่งที่ 3 ในประเทศอินโดนีเซียของ LANNA จากการเลื่อนผลิตจากปลายปี 2550 เป็นต้นปี 2551 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ในปีนี้ แต่ได้รับผลบวกจากราคาถ่านหินที่สูงมาทดแทน
ทั้งนี้ LANNA มีเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียทั้งหมด 3 แห่ง และมีกำลังผลิต 3 ล้านตันต่อปี และถ้าเหมือง SGP เสร็จจะเพิ่มกำลังผลิตอีก 0.8 ล้านตัน โดยคาดว่าปีนี้ผลิตได้ 2.8 ล้านตันใกล้เคียงปีก่อน โดยต้องติดตามความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการ SGP ว่าจะมีการเลื่อนกำหนดเปิดดำเนินงานอีกหรือไม่
ดังนั้นคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 2/2550 เติบโตสูงกว่าไตรมาส 1/2550 ที่มีกำไรสุทธิ 125 ล้านบาท โดยราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้นช่วยทำให้ผลการดำเนินงานทรงตัวระดับสูง แม้ราคาขายเอทานอลจะลดลงจาก 22.5 บาท/ลิตร เป็น 18 บาทต่อลิตรในไตรมาส 2/2550 และ 17 บาทต่อลิตรในไตรมาส 3/2550 จากโครงสร้างราคาขายเอทานอลที่เปลี่ยนไปอ้างอิงจากราคาเอทานอลของตลาดบราซิล (Brizillian Commodity Exchange Sao Paulo Index)
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ สินเอเซีย จำกัด กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น LANNA ยังมีโอกาสที่จะปรับตัวต่อได้ จากมูลค่าซื้อขายที่มีการสะสมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และการเข้ามาเก็งกำไรผลการดำเนินงาน จึงแนะนำ ซื้อเก็งกำไรให้แนวรับ 20.00-19.60 บาท แนวต้าน 20.70-21.30 บาท
ส่วน BANPU ราคาหุ้นยังมีการปรับตัวได้ต่อเช่นกัน แม้ว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาสูงแล้ว แต่ผลการดำเนินงานที่คาดว่าออกมาดี ส่งผลให้มีการเข้ามาเก็งกำไรเพิ่มสูงขึ้น จึงแนะนำ ซื้อ ให้แนวรับ 290 บาท แนวต้าน 304-320 บาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 939&ch=225
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 34
ทุ่ม120ล้านปรับโฉมใหม่ปั๊มบางจากTrendylookสู้Newlook
บางจากฯเตรียมไม้เด็ดสู้ศึกค้าปลีกน้ำมันด้วยการสร้างปั๊มบางจากโฉมใหม่ "newlook" ในสถานีบริการน้ำมันต้นแบบจำนวน 2 แห่ง เพื่อเปิดให้บริการในปลายปี 2551 พร้อมๆ กับการประเมินภาวะการค้าในธุรกิจน้ำมันใหม่ ใช้เงินลงทุนอีก 120 ล้านบาท ยึดคอนเซ็ปต์รองรับการใช้ชีวิตคนเมืองที่ทันสมัย จับมือ ร้านพัพ แอนด์ พายเข้ามาเสริมธุรกิจ nonoil หวังดันยอดขายให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10% แน่นอน
นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้อำนวยการอาวุโส สายการตลาดค้าปลีก บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร บริษัทบางจากฯครั้งล่าสุดที่ประชุมมีมติ "อนุมัติ" การลงทุนเพื่อสร้างสถานีบริการต้นแบบของบริษัทบางจากฯภายใต้แนวคิด "newlook" โดยสถานีบริการต้นแบบใหม่ของบางจากครั้งนี้จะแตกต่างจากการปรับโฉม (rebranding) สถานีบริการบางจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมาภายใต้แนวคิด "trendylook"
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจะเริ่มตั้งแต่โครงสร้างของสถานีบริการน้ำมันบางจากทั้งหมด รวมถึงอาคารภายในสถานีบริการ ส่วนของร้านสะดวกซื้อ "ใบจาก" ก็จะถูกปรับใหม่ด้วยเช่นกัน แต่จะคงความเป็นแบรนด์บางจากด้วยสีเขียวมะนาวอยู่ คาดว่าเบื้องต้นจะมีสถานีบริการน้ำมัน "newlook" เปิดใหม่ทั้งหมด 2 แห่งด้วยเงินลงทุน 120 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ก็คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตในเมือง ทุกอย่างออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้น และบางจากยังร่วมมือกับร้านพัพ แอนด์ พาย ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขยายร้านสาขาเข้ามาภายในสถานีบริการน้ำมันบางจากแล้ว 2 แห่ง และมีแผนที่จะขยายเพิ่มเติมในสถานีบริการน้ำมัน newlook แบบใหม่ของบางจากด้วย
ส่วนร้านกาแฟจะมีแบรนด์ "อินทนิล" ของบางจากเข้ามาให้บริการ ส่วนสิ่งที่จะเพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ การออกแบบห้องน้ำที่จะเน้นการใช้งานที่ครอบคลุมไปถึงผู้พิการและคนชราให้สามารถใช้ห้องน้ำได้สะดวกมากขึ้นและมีความสะอาดไม่แพ้กับสถานีบริการน้ำมันอื่นๆ รวมถึงการจัดมุมเฉพาะสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่บางจากจะเพิ่มเครื่องมือ-อุปกรณ์ที่ทันสมัยไว้รองรับการให้บริการด้วย
"ทุกอย่างจะถูกออกแบบให้มีความต่อเนื่อง ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน ถือเป็นสถานีต้นแบบ เลยทีเดียว เน้นเจาะกลุ่ม yong generation การบริการครบวงจรแบบ one stop service ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างหาพื้นที่ของปั๊มน้ำมันที่เราจะ ขยาย เราจะเน้นทำเลในกรุงเทพฯที่ดีและสามารถดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น ส่วนการ rebranding ในรูปแบบ trendylook ของปั๊มบางจากเมื่อช่วงต้นปีถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่เราจะไม่หยุดไว้แค่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การแข่งขันธุรกิจค้าปลีกสูงมาก เราต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้าอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญปั๊มอื่นๆ ภายใต้แบรนด์บางจากจะถูกปรับให้มีมาตรฐานในระดับเดียวกันด้วยในอนาคต" นายยอดพจน์กล่าว
นายยอดพจน์กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในปีนี้บริษัทบางจากฯจะต้องเร่งหาพื้นที่ตั้งสถานีบริการรูปแบบใหม่ Newlook ทั้ง 2 แห่งให้แล้วเสร็จ ในส่วนของการออกแบบนั้นจะใช้บริษัทที่ปรึกษา แปลนดีไซน์เข้ามาช่วยออกแบบและคาดว่าในช่วงกลางปี 2551 จะเปิดประมูลเพื่อหาผู้รับเหมาก่อสร้างสถานีบริการได้ เพื่อเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2551
โดยบางจากค่อนข้างมั่นใจว่า การปรับรูปแบบของสถานีบริการภายใต้แนวคิด "newlook" นี้จะสามารถเพิ่มยอดขายได้ไม่น้อยกว่าการดำเนินการปรับรูปโฉม หรือ rebranding ในช่วงต้นปีแน่นอน โดยบางจากมองว่าในช่วงปี 2550-2553 เป็นช่วงการปรับปรุงไปพร้อมๆ กับการประเมินตลาดค้าปลีกน้ำมันในประเทศว่าจะเป็นอย่างไร
ปัจจุบันบริษัทบางจากฯมีสถานีบริการน้ำมันรวม 1,081 แห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้บางจากได้ทยอยปิดสถานีบริการบางส่วนไป เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ไม่สามารถเพิ่มยอดขายได้และเป็นสถานีบริการน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปีบางจาก ได้ดำเนินการ rebranding ใหม่ให้สถานีบริการน้ำมันของบางจากมีความทันสมัยมากขึ้นภายใต้แนวคิด "trendylook" ไปแล้วรวม 20 แห่ง ด้วยงบประมาณ 120-140 ล้านบาท
ส่วนใหญ่เป็นสถานีบริการน้ำมันที่ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ช่วงรังสิต/ถนนมิตรภาพ/ถนนสายเอเชีย สถานีบริการบนถนนพระรามที่ 2/ถนนเพชรเกษม/สุขุมวิท/บางนา-ตราด ฯลฯ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มยอดขายผ่านสถานีบริการน้ำมันของบางจากได้ถึงร้อยละ 10-15
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
บางจากฯเตรียมไม้เด็ดสู้ศึกค้าปลีกน้ำมันด้วยการสร้างปั๊มบางจากโฉมใหม่ "newlook" ในสถานีบริการน้ำมันต้นแบบจำนวน 2 แห่ง เพื่อเปิดให้บริการในปลายปี 2551 พร้อมๆ กับการประเมินภาวะการค้าในธุรกิจน้ำมันใหม่ ใช้เงินลงทุนอีก 120 ล้านบาท ยึดคอนเซ็ปต์รองรับการใช้ชีวิตคนเมืองที่ทันสมัย จับมือ ร้านพัพ แอนด์ พายเข้ามาเสริมธุรกิจ nonoil หวังดันยอดขายให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10% แน่นอน
นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ผู้อำนวยการอาวุโส สายการตลาดค้าปลีก บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหาร บริษัทบางจากฯครั้งล่าสุดที่ประชุมมีมติ "อนุมัติ" การลงทุนเพื่อสร้างสถานีบริการต้นแบบของบริษัทบางจากฯภายใต้แนวคิด "newlook" โดยสถานีบริการต้นแบบใหม่ของบางจากครั้งนี้จะแตกต่างจากการปรับโฉม (rebranding) สถานีบริการบางจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมาภายใต้แนวคิด "trendylook"
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจะเริ่มตั้งแต่โครงสร้างของสถานีบริการน้ำมันบางจากทั้งหมด รวมถึงอาคารภายในสถานีบริการ ส่วนของร้านสะดวกซื้อ "ใบจาก" ก็จะถูกปรับใหม่ด้วยเช่นกัน แต่จะคงความเป็นแบรนด์บางจากด้วยสีเขียวมะนาวอยู่ คาดว่าเบื้องต้นจะมีสถานีบริการน้ำมัน "newlook" เปิดใหม่ทั้งหมด 2 แห่งด้วยเงินลงทุน 120 ล้านบาท
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ก็คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตในเมือง ทุกอย่างออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้น และบางจากยังร่วมมือกับร้านพัพ แอนด์ พาย ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขยายร้านสาขาเข้ามาภายในสถานีบริการน้ำมันบางจากแล้ว 2 แห่ง และมีแผนที่จะขยายเพิ่มเติมในสถานีบริการน้ำมัน newlook แบบใหม่ของบางจากด้วย
ส่วนร้านกาแฟจะมีแบรนด์ "อินทนิล" ของบางจากเข้ามาให้บริการ ส่วนสิ่งที่จะเพิ่มเติมขึ้นมาก็คือ การออกแบบห้องน้ำที่จะเน้นการใช้งานที่ครอบคลุมไปถึงผู้พิการและคนชราให้สามารถใช้ห้องน้ำได้สะดวกมากขึ้นและมีความสะอาดไม่แพ้กับสถานีบริการน้ำมันอื่นๆ รวมถึงการจัดมุมเฉพาะสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่บางจากจะเพิ่มเครื่องมือ-อุปกรณ์ที่ทันสมัยไว้รองรับการให้บริการด้วย
"ทุกอย่างจะถูกออกแบบให้มีความต่อเนื่อง ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน ถือเป็นสถานีต้นแบบ เลยทีเดียว เน้นเจาะกลุ่ม yong generation การบริการครบวงจรแบบ one stop service ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างหาพื้นที่ของปั๊มน้ำมันที่เราจะ ขยาย เราจะเน้นทำเลในกรุงเทพฯที่ดีและสามารถดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น ส่วนการ rebranding ในรูปแบบ trendylook ของปั๊มบางจากเมื่อช่วงต้นปีถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่เราจะไม่หยุดไว้แค่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การแข่งขันธุรกิจค้าปลีกสูงมาก เราต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้าอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญปั๊มอื่นๆ ภายใต้แบรนด์บางจากจะถูกปรับให้มีมาตรฐานในระดับเดียวกันด้วยในอนาคต" นายยอดพจน์กล่าว
นายยอดพจน์กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในปีนี้บริษัทบางจากฯจะต้องเร่งหาพื้นที่ตั้งสถานีบริการรูปแบบใหม่ Newlook ทั้ง 2 แห่งให้แล้วเสร็จ ในส่วนของการออกแบบนั้นจะใช้บริษัทที่ปรึกษา แปลนดีไซน์เข้ามาช่วยออกแบบและคาดว่าในช่วงกลางปี 2551 จะเปิดประมูลเพื่อหาผู้รับเหมาก่อสร้างสถานีบริการได้ เพื่อเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2551
โดยบางจากค่อนข้างมั่นใจว่า การปรับรูปแบบของสถานีบริการภายใต้แนวคิด "newlook" นี้จะสามารถเพิ่มยอดขายได้ไม่น้อยกว่าการดำเนินการปรับรูปโฉม หรือ rebranding ในช่วงต้นปีแน่นอน โดยบางจากมองว่าในช่วงปี 2550-2553 เป็นช่วงการปรับปรุงไปพร้อมๆ กับการประเมินตลาดค้าปลีกน้ำมันในประเทศว่าจะเป็นอย่างไร
ปัจจุบันบริษัทบางจากฯมีสถานีบริการน้ำมันรวม 1,081 แห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้บางจากได้ทยอยปิดสถานีบริการบางส่วนไป เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ไม่สามารถเพิ่มยอดขายได้และเป็นสถานีบริการน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปีบางจาก ได้ดำเนินการ rebranding ใหม่ให้สถานีบริการน้ำมันของบางจากมีความทันสมัยมากขึ้นภายใต้แนวคิด "trendylook" ไปแล้วรวม 20 แห่ง ด้วยงบประมาณ 120-140 ล้านบาท
ส่วนใหญ่เป็นสถานีบริการน้ำมันที่ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ช่วงรังสิต/ถนนมิตรภาพ/ถนนสายเอเชีย สถานีบริการบนถนนพระรามที่ 2/ถนนเพชรเกษม/สุขุมวิท/บางนา-ตราด ฯลฯ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มยอดขายผ่านสถานีบริการน้ำมันของบางจากได้ถึงร้อยละ 10-15
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 35
อาทิตย์ เวชกิจ เผยสูตรสำเร็จ8ปีของอีอีไอ บริษัทจัดการ+ลดใช้พลังงาน
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:20 น.
คอลัมน์ เฉลียงไอเดีย
โดย ปวีณา ประยูรหาญ
8 ปีกับจำนวนลูกค้าหลายๆ กลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท นันยางการทออุตสาหกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ บริษัท สหสินวัฒนา บริษัท อาหารสยาม โรงสีธัญญรุ่งเรืองชัย กลุ่มโรงแรมดุสิตธานี กลุ่มโรงแรมเซ็นทารา ในเครือเซ็นทรัล ฯลฯ
ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าการประหยัดต้นทุนพลังงานได้ถึงปีละ 500 ล้านบาท!!!
นี่คงจะพอเป็นเครื่องการันตีได้ถึงความสำเร็จของบริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company) หรือ ESCO ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เอ็กเซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ EEI ได้เป็นอย่างดี
อีอีไอ เป็นบริษัทจัดการพลังงาน โดยมีพันธกิจในการให้บริการจัดการและลดการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ในที่สุด อาทิตย์ เวชกิจ กรรมการผู้จัดการ อีอีไอ เกริ่นให้ฟังถึงที่มาของการจัดตั้งบริษัท
พร้อมกับขยายความต่อว่า นับจากความตั้งใจของนายพิสิฐ อนันตศานต์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหุ้นส่วนรวมถึงตน ตัดสินใจลงทุนอีอีไอขึ้น โดยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องบริษัทจัดการพลังงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากทางรัฐบาลไทยและธนาคารโลก ตั้งแต่ปี 2542 กระทั่งปัจจุบันนี้ อีอีไอ กลายเป็นบริษัทรายแรกและรายเดียวที่ประสบความสำเร็จด้านบริษัทจัดการพลังงาน
แม้ว่าความพยายามในยุคแรกของธุรกิจนั้นจะค่อนข้างลำบาก และต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์และสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้าก็ตาม
กระแสการลดใช้พลังงานมีมานานแล้ว แต่รูปแบบของบริษัทจัดการพลังงานที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้นอาจจะเป็นเรื่องใหม่ของคนไทยเวลานั้น ทั้งที่ในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เริ่มให้ความสนใจด้านต้นทุนพลังงานมานานมาก การทำอย่างไรเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้รับบริการ เจ้าของกิจการ เจ้าสัวบ้านเราให้ลงทุนจึงเป็นเรื่องยาก แม้ว่าแต่ละกิจการจะเข้าใจดีว่าการลดต้นทุนได้มากเท่าไหร่จะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น
แต่ด้วยหัวใจสำคัญของการดำเนินงานของอีอีไอ ภายใต้สโลแกน The Experienced Partner You Can Trust เน้นการรับประกันการบริการ นับแต่วันตกลงเซ็นสัญญาความร่วมมือเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของบริษัทกับลูกค้า ตั้งแต่การรับประกันผลการประหยัดพลังงาน การลงทุน และค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มต้นโครงการกระทั่งสิ้นสุดระยะเวลาคืนทุน และรับผิดชอบชดเชยหากผลประหยัดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ไปจนกระทั่งสิ้นสุดสัญญา ทีมบริหารทุกคนจึงมั่นใจว่าอีอีไอ เดินมาถูกทางและในอนาคตความจำเป็นของการเข้าไปบริหารจัดการพลังงานจะมีมากขึ้นตามลำดับ
นั่นเพราะการใช้พลังงานทั้งโลกเวลานี้ ต้องยอมรับว่าเข้าสู่วิกฤตแล้ว ภาวะโลกร้อนเป็นตัวชี้วัดได้ดีหากวันนี้ทุกคนยังเมินเฉยกับการใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงวิธีการลดใช้ให้มากที่สุด เราซึ่งอยู่ในธุรกิจนี้ยินดีที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนการลดปัญหาโลกร้อน
สำหรับรูปแบบการดำเนินงานจัดการพลังงานของอีอีไอนั้น ถือว่าเป็นระบบที่ครบวงจร ด้วยความเชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Cogeneration) และการจัดการประหยัดพลังงานด้านอื่นๆ รองรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงานต่างๆ
โดยที่อีอีไอจะเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่การตรวจสอบการใช้พลังงาน การออกแบบและบริหารโครงการ การจัดหาแหล่งเงินทุน การควบคุมการติดตั้ง ตลอดจนการตรวจวัดเพื่อพิสูจน์ผลประหยัด (M&V)
อาทิตย์บอกว่า จุดนี้เองที่ทำให้เจ้าของกิจการและผู้ลงทุนมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด และปราศจากความเสี่ยงใดๆ จากการลงทุนในโครงการ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนั้น ลูกค้าสามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบ เฉลี่ยการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร ประมาณ 200 ล้านบาท บริษัทการันตีการประหยัดพลังงานได้ปีละ 50 ล้านบาท และคุ้มทุนภายในระยะเวลา 3-4 ปี
ขณะที่อุตสาหกรรม หรืออาคารสำนักงานขนาดเล็กนั้น บริษัทก็เปิดกว้างในการให้บริการปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน หรือลงทุนเฉพาะเทคโนโลยีเท่านั้น เช่น กลุ่มโรงแรม อาจเลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีเครื่องซักผ้าระบบโอโซนที่ไม่ต้องใช้ผงซักฟอกและน้ำในกระบวนการทำงาน และไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เป็นต้น
หรือเลือกเฉพาะบริการจัดการดำเนินการด้านวิศวกรรม การออกแบบรวมถึงควบคุมการก่อสร้าง บริการควบคุมการดำเนินงานของโครงการ ดูแลจัดให้มีการบำรุงรักษาและป้องกันอุปกรณ์รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ ในสถานประกอบการให้คงอยู่ในสภาพที่ดี
อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของกิจการใดๆ ขาดเงินลงทุนแต่มีความสนใจการลงทุนเพื่อประหยัดต้นทุน ทางอีอีไอ ยินดีที่จะเป็นผู้หาแหล่งเงินทุนให้ หรือทางอีอีไออาจจะเป็นผู้ลงทุนให้เอง โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ตามสัญญาแบ่งรายได้จากผลการประหยัด ในช่วงระยะเวลาสัญญาโดยโครงการนั้นๆ จะตกเป็นของเจ้าของ
อีอีไอ ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในหลายสาขา ทั้งด้านวิศวกรรม ด้านการจัดการโครงการและสัญญา ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อกฎหมาย ตลอดจนด้านการบริหารความเสี่ยง และใช้เทคโนโลยีพลังงานประสิทธิภาพสูงที่พิสูจน์แล้วจากทั่วโลก โดยอีอีไอ ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศ และในระดับสากล เช่น Electric Power Research Institute (EPRI) สถาบันวิจัยด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา, Global Energy Partners LLC (Global) บริษัทวิศวกรรมพลังงานที่มีประสบการณ์จากสหรัฐอเมริกา, บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการด้านการลงทุนและให้คำปรึกษาด้านการเงินรวมทั้ง EEI ยังได้รับการยอมรับจากทางสถาบันการเงินและกองทุนพลังงานชั้นนำของเอเชียซึ่งบริหารจัดการเงินลงทุนให้แก่สถาบันการเงิน
จากความสำเร็จที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน อีอีไอ จะนำตัวอย่างขององค์กรเหล่านั้นเดินหน้าทำตลาดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ารายใหม่ๆ ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน กลยุทธ์สำคัญคือการประชาสัมพันธ์ร่วมกับภาครัฐ โดยวางเป้าหมายที่จะให้เกิดการลงทุนโครงการประหยัดพลังงานนี้ประมาณปีละ 1,000 ล้านบาท พร้อมกับการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาทิตย์ตอกย้ำว่า โลกปัจจุบันนี้ เป็นโลกของการแข่งขัน พลังงานจึงเป็นตัวแปรสำคัญของต้นทุนการผลิต หากสามารถลดการใช้พลังงานได้ ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้มากที่สุด อีอีไอ จึงภูมิใจที่มีส่วนในการช่วยประหยัดการใช้พลังงานของประเทศอีกทางหนึ่ง
วันนี้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในโครงการ ลูกค้าจะนึกถึงเราก่อน และเราก็พิสูจน์แล้วว่าเราอยู่กับลูกค้ามาโดยตลอด เราจึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานด้านนี้ต่อไป
http://news.sanook.com/economic/economic_162370.php
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 10:20 น.
คอลัมน์ เฉลียงไอเดีย
โดย ปวีณา ประยูรหาญ
8 ปีกับจำนวนลูกค้าหลายๆ กลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท นันยางการทออุตสาหกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ บริษัท สหสินวัฒนา บริษัท อาหารสยาม โรงสีธัญญรุ่งเรืองชัย กลุ่มโรงแรมดุสิตธานี กลุ่มโรงแรมเซ็นทารา ในเครือเซ็นทรัล ฯลฯ
ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าการประหยัดต้นทุนพลังงานได้ถึงปีละ 500 ล้านบาท!!!
นี่คงจะพอเป็นเครื่องการันตีได้ถึงความสำเร็จของบริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company) หรือ ESCO ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เอ็กเซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ EEI ได้เป็นอย่างดี
อีอีไอ เป็นบริษัทจัดการพลังงาน โดยมีพันธกิจในการให้บริการจัดการและลดการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ในที่สุด อาทิตย์ เวชกิจ กรรมการผู้จัดการ อีอีไอ เกริ่นให้ฟังถึงที่มาของการจัดตั้งบริษัท
พร้อมกับขยายความต่อว่า นับจากความตั้งใจของนายพิสิฐ อนันตศานต์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหุ้นส่วนรวมถึงตน ตัดสินใจลงทุนอีอีไอขึ้น โดยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องบริษัทจัดการพลังงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากทางรัฐบาลไทยและธนาคารโลก ตั้งแต่ปี 2542 กระทั่งปัจจุบันนี้ อีอีไอ กลายเป็นบริษัทรายแรกและรายเดียวที่ประสบความสำเร็จด้านบริษัทจัดการพลังงาน
แม้ว่าความพยายามในยุคแรกของธุรกิจนั้นจะค่อนข้างลำบาก และต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์และสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้าก็ตาม
กระแสการลดใช้พลังงานมีมานานแล้ว แต่รูปแบบของบริษัทจัดการพลังงานที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้นอาจจะเป็นเรื่องใหม่ของคนไทยเวลานั้น ทั้งที่ในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เริ่มให้ความสนใจด้านต้นทุนพลังงานมานานมาก การทำอย่างไรเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้รับบริการ เจ้าของกิจการ เจ้าสัวบ้านเราให้ลงทุนจึงเป็นเรื่องยาก แม้ว่าแต่ละกิจการจะเข้าใจดีว่าการลดต้นทุนได้มากเท่าไหร่จะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น
แต่ด้วยหัวใจสำคัญของการดำเนินงานของอีอีไอ ภายใต้สโลแกน The Experienced Partner You Can Trust เน้นการรับประกันการบริการ นับแต่วันตกลงเซ็นสัญญาความร่วมมือเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของบริษัทกับลูกค้า ตั้งแต่การรับประกันผลการประหยัดพลังงาน การลงทุน และค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มต้นโครงการกระทั่งสิ้นสุดระยะเวลาคืนทุน และรับผิดชอบชดเชยหากผลประหยัดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ไปจนกระทั่งสิ้นสุดสัญญา ทีมบริหารทุกคนจึงมั่นใจว่าอีอีไอ เดินมาถูกทางและในอนาคตความจำเป็นของการเข้าไปบริหารจัดการพลังงานจะมีมากขึ้นตามลำดับ
นั่นเพราะการใช้พลังงานทั้งโลกเวลานี้ ต้องยอมรับว่าเข้าสู่วิกฤตแล้ว ภาวะโลกร้อนเป็นตัวชี้วัดได้ดีหากวันนี้ทุกคนยังเมินเฉยกับการใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงวิธีการลดใช้ให้มากที่สุด เราซึ่งอยู่ในธุรกิจนี้ยินดีที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนการลดปัญหาโลกร้อน
สำหรับรูปแบบการดำเนินงานจัดการพลังงานของอีอีไอนั้น ถือว่าเป็นระบบที่ครบวงจร ด้วยความเชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Cogeneration) และการจัดการประหยัดพลังงานด้านอื่นๆ รองรับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงานต่างๆ
โดยที่อีอีไอจะเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่การตรวจสอบการใช้พลังงาน การออกแบบและบริหารโครงการ การจัดหาแหล่งเงินทุน การควบคุมการติดตั้ง ตลอดจนการตรวจวัดเพื่อพิสูจน์ผลประหยัด (M&V)
อาทิตย์บอกว่า จุดนี้เองที่ทำให้เจ้าของกิจการและผู้ลงทุนมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด และปราศจากความเสี่ยงใดๆ จากการลงทุนในโครงการ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนั้น ลูกค้าสามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบ เฉลี่ยการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร ประมาณ 200 ล้านบาท บริษัทการันตีการประหยัดพลังงานได้ปีละ 50 ล้านบาท และคุ้มทุนภายในระยะเวลา 3-4 ปี
ขณะที่อุตสาหกรรม หรืออาคารสำนักงานขนาดเล็กนั้น บริษัทก็เปิดกว้างในการให้บริการปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน หรือลงทุนเฉพาะเทคโนโลยีเท่านั้น เช่น กลุ่มโรงแรม อาจเลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีเครื่องซักผ้าระบบโอโซนที่ไม่ต้องใช้ผงซักฟอกและน้ำในกระบวนการทำงาน และไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เป็นต้น
หรือเลือกเฉพาะบริการจัดการดำเนินการด้านวิศวกรรม การออกแบบรวมถึงควบคุมการก่อสร้าง บริการควบคุมการดำเนินงานของโครงการ ดูแลจัดให้มีการบำรุงรักษาและป้องกันอุปกรณ์รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ ในสถานประกอบการให้คงอยู่ในสภาพที่ดี
อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของกิจการใดๆ ขาดเงินลงทุนแต่มีความสนใจการลงทุนเพื่อประหยัดต้นทุน ทางอีอีไอ ยินดีที่จะเป็นผู้หาแหล่งเงินทุนให้ หรือทางอีอีไออาจจะเป็นผู้ลงทุนให้เอง โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ตามสัญญาแบ่งรายได้จากผลการประหยัด ในช่วงระยะเวลาสัญญาโดยโครงการนั้นๆ จะตกเป็นของเจ้าของ
อีอีไอ ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในหลายสาขา ทั้งด้านวิศวกรรม ด้านการจัดการโครงการและสัญญา ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อกฎหมาย ตลอดจนด้านการบริหารความเสี่ยง และใช้เทคโนโลยีพลังงานประสิทธิภาพสูงที่พิสูจน์แล้วจากทั่วโลก โดยอีอีไอ ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศ และในระดับสากล เช่น Electric Power Research Institute (EPRI) สถาบันวิจัยด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา, Global Energy Partners LLC (Global) บริษัทวิศวกรรมพลังงานที่มีประสบการณ์จากสหรัฐอเมริกา, บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการด้านการลงทุนและให้คำปรึกษาด้านการเงินรวมทั้ง EEI ยังได้รับการยอมรับจากทางสถาบันการเงินและกองทุนพลังงานชั้นนำของเอเชียซึ่งบริหารจัดการเงินลงทุนให้แก่สถาบันการเงิน
จากความสำเร็จที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน อีอีไอ จะนำตัวอย่างขององค์กรเหล่านั้นเดินหน้าทำตลาดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ารายใหม่ๆ ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน กลยุทธ์สำคัญคือการประชาสัมพันธ์ร่วมกับภาครัฐ โดยวางเป้าหมายที่จะให้เกิดการลงทุนโครงการประหยัดพลังงานนี้ประมาณปีละ 1,000 ล้านบาท พร้อมกับการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาทิตย์ตอกย้ำว่า โลกปัจจุบันนี้ เป็นโลกของการแข่งขัน พลังงานจึงเป็นตัวแปรสำคัญของต้นทุนการผลิต หากสามารถลดการใช้พลังงานได้ ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้มากที่สุด อีอีไอ จึงภูมิใจที่มีส่วนในการช่วยประหยัดการใช้พลังงานของประเทศอีกทางหนึ่ง
วันนี้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในโครงการ ลูกค้าจะนึกถึงเราก่อน และเราก็พิสูจน์แล้วว่าเราอยู่กับลูกค้ามาโดยตลอด เราจึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานด้านนี้ต่อไป
http://news.sanook.com/economic/economic_162370.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 36
แก๊สโซฮอล์ 91 เกิดยาก! ชี้ปัญหาเทคนิคเพียบ-หัวจ่ายปั๊มไม่เพียงพอ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2550 19:13 น.
กลุ่มโรงกลั่นระบุว่า แผนส่งเสริมการผลิตแก๊สโซฮอล์ 91 ของรัฐบาลทำได้ยาก เพราะเอทานอลระเหยง่าย ขณะที่ประธานเชลล์ชี้ปัญหาในทางปฏิบัติ หากรัฐต้องการส่งเสริมการขายแก๊สโซฮอล์ 91 เพราะในแต่ละปั๊มจะมีหัวจ่ายเพียง 3-4 หัวจ่ายเท่านั้น
วันนี้(30 ก.ค.) นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) หรืออาร์อาร์ซี ในฐานะประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มโรงกลั่นได้แจ้งกับกระทรวงพลังงานแล้วว่า ไม่สามารถจะผลิตแก๊สโซฮอล์ 91 ได้เนื่องจากการผสมเอทานอลกับเบนซิน 91 ค่อนข้างทำได้ยาก เพราะมีการระเหยค่อนข้างเร็ว ขณะที่การผสมในส่วนของเบนซิน 95 จะดำเนินการได้ง่ายกว่า ขณะเดียวกันก็จะต้องลงทุนคลังผสมเพิ่มขึ้นอีก แต่ที่บางจากยังทำได้นั้นเพราะเป็นโรงกลั่นแบบเก่า ซึ่งกระทรวงพลังงานรับทราบปัญหาแล้ว ซึ่งก็เห็นว่าในที่สุดคงจะต้องพยายามส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ให้มากที่สุด
นอกจากนี้แล้วการส่งเสริมการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 ยังพบว่า หัวจ่ายของผู้ค้าน้ำมันเองก็ไม่เพียงพอ หากจะมีการจำหน่ายทั้งเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 95 เบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 91 และดีเซลคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะหัวจ่ายปั๊มส่วนใหญ่มีเพียง 4 หัวจ่ายเท่านั้น ดังนั้น หากรัฐจะยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 เพื่อหันมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 ทั้งหมด กลุ่มโรงกลั่นเองจะไม่มีผลกระทบเท่ากับการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แทนเบนซิน 91
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ 91 คงจะเกิดขึ้นยาก เพราะหัวจ่ายของปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่มีเพียง 3-4 หัวจ่ายเท่านั้น ดังนั้น ในที่สุดภาครัฐอาจจะต้องตัดสินใจยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งลง โดยเฉพาะเบนซิน 95 หรือเบนซิน 91
หากรัฐจะส่งเสริมทั้งแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ก็มีข้อถกเถียงกันว่าแล้วจะต้องยกเลิกเบนซิน 95 หรือ 91 ซึ่งปัญหาของเบนซิน 95 หากยกเลิกก็จะมีรถยนต์หมื่นกว่าคันที่ต้องใช้จะลำบาก แต่หากยกเลิก 91 นั้นหลายฝ่ายก็มองว่าน่าจะดีกว่า เพราะสามารถหันไปเติมเบนซิน 95 ได้ แต่ก็ติดว่ารถจักรยานยนต์ 2 จังหวะใช้ไม่ได้ ก็ต้องดูว่าจำนวนมากไหม และโรงกลั่นเองก็จะทำได้หรือเปล่า ทั้งหมดก็ยังไม่ได้ข้อยุติ นายธีรพจน์ กล่าว
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000088994
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2550 19:13 น.
กลุ่มโรงกลั่นระบุว่า แผนส่งเสริมการผลิตแก๊สโซฮอล์ 91 ของรัฐบาลทำได้ยาก เพราะเอทานอลระเหยง่าย ขณะที่ประธานเชลล์ชี้ปัญหาในทางปฏิบัติ หากรัฐต้องการส่งเสริมการขายแก๊สโซฮอล์ 91 เพราะในแต่ละปั๊มจะมีหัวจ่ายเพียง 3-4 หัวจ่ายเท่านั้น
วันนี้(30 ก.ค.) นายชายน้อย เผื่อนโกสุม กรรมการผู้จัดการบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) หรืออาร์อาร์ซี ในฐานะประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มโรงกลั่นได้แจ้งกับกระทรวงพลังงานแล้วว่า ไม่สามารถจะผลิตแก๊สโซฮอล์ 91 ได้เนื่องจากการผสมเอทานอลกับเบนซิน 91 ค่อนข้างทำได้ยาก เพราะมีการระเหยค่อนข้างเร็ว ขณะที่การผสมในส่วนของเบนซิน 95 จะดำเนินการได้ง่ายกว่า ขณะเดียวกันก็จะต้องลงทุนคลังผสมเพิ่มขึ้นอีก แต่ที่บางจากยังทำได้นั้นเพราะเป็นโรงกลั่นแบบเก่า ซึ่งกระทรวงพลังงานรับทราบปัญหาแล้ว ซึ่งก็เห็นว่าในที่สุดคงจะต้องพยายามส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ให้มากที่สุด
นอกจากนี้แล้วการส่งเสริมการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 ยังพบว่า หัวจ่ายของผู้ค้าน้ำมันเองก็ไม่เพียงพอ หากจะมีการจำหน่ายทั้งเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 95 เบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 91 และดีเซลคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะหัวจ่ายปั๊มส่วนใหญ่มีเพียง 4 หัวจ่ายเท่านั้น ดังนั้น หากรัฐจะยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 95 เพื่อหันมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 ทั้งหมด กลุ่มโรงกลั่นเองจะไม่มีผลกระทบเท่ากับการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แทนเบนซิน 91
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ 91 คงจะเกิดขึ้นยาก เพราะหัวจ่ายของปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่มีเพียง 3-4 หัวจ่ายเท่านั้น ดังนั้น ในที่สุดภาครัฐอาจจะต้องตัดสินใจยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งลง โดยเฉพาะเบนซิน 95 หรือเบนซิน 91
หากรัฐจะส่งเสริมทั้งแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 ก็มีข้อถกเถียงกันว่าแล้วจะต้องยกเลิกเบนซิน 95 หรือ 91 ซึ่งปัญหาของเบนซิน 95 หากยกเลิกก็จะมีรถยนต์หมื่นกว่าคันที่ต้องใช้จะลำบาก แต่หากยกเลิก 91 นั้นหลายฝ่ายก็มองว่าน่าจะดีกว่า เพราะสามารถหันไปเติมเบนซิน 95 ได้ แต่ก็ติดว่ารถจักรยานยนต์ 2 จังหวะใช้ไม่ได้ ก็ต้องดูว่าจำนวนมากไหม และโรงกลั่นเองก็จะทำได้หรือเปล่า ทั้งหมดก็ยังไม่ได้ข้อยุติ นายธีรพจน์ กล่าว
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000088994
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 37
ความเป็นจริงเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน [ ฉบับที่ 814 ประจำวันที่ 28-7-2007 ถึง 31-7-2007]
1.ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
เนื่องด้วยความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยเรานั้นมีสูงขึ้นเป็นลำดับตามอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ โดยมีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เป็นผู้รับผิดชอบวางแผน ให้ประเทศเรามีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการทั้งของภาคอุตสาหกรรมและพี่น้องประชาชนทั่วไป ทั้งประเทศ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
แต่เนื่องจากการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้านั้น จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนสูง ดังนั้น เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินของประเทศ รัฐบาลจึงเชิญชวนให้เอกชนผู้มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและเทคโนโลยีให้เข้ามาร่วมกับรัฐบาลช่วยกันผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของทุกภาคส่วน ป้องกันมิให้เกิดความขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงทั้งต่อความมั่นคงของชาติเป็นส่วนรวมในทุกด้าน รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศอีกด้วย
2.ไออาร์พีซีขอมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
ไออาร์พีซีประกอบธุรกิจหลักด้านการกลั่นน้ำมันและเม็ดพลาสติก ซึ่งหลังพ้นจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการสู่ธุรกิจปกติตั้งแต่ 27 เม.ย.2549 ที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันเรามีความมั่นคงเข้มแข็งทั้งทางด้านการเงินและผลประกอบการมีผู้ร่วมทุนที่ดี มีผู้บริหาร มีพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งต่างตระหนักในฐานะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะต้องเข้าร่วมแก้ปัญหาสำคัญของชาติ ดังนั้น ไออาร์พีซี จึงมีเจตนารมณ์ที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ไฟฟ้าให้กับประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราในครั้งนี้ ถึงแม้จะต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมากก็ตาม
ดังนั้น เมื่อ 29 มิ.ย.2549 ที่ผ่านมา ไออาร์พีซีจึงได้ซื้อซองประกวดราคาจากทางราชการ อันเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการประกวดราคา เพื่อสร้าง โรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในระยะ 15 ปีข้างหน้า (2550-2564)
ทั้งนี้ ยังมีธุรกิจเอกชนรายอื่นให้ความสนใจเข้าซื้อซองประกวดราคาครั้งนี้ด้วย ผลการประกวดราคาจะทราบผลในประมาณ ธ.ค.2550 นี้
3.ความจำเป็นและความเป็นจริงในการใช้ถ่านหิน
รัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งจำเป็นต้องใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง และอีกครึ่งหนึ่งอาจจำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์ ด้วยเหตุผลที่ประเทศของเราใช้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตพลังงานไฟฟ้ามากเกินไป ในขณะที่ประเทศ อื่นๆ เช่น อเมริกา และจีน ล้วนมีสัดส่วนการใช้ถ่านหินมากกว่าครึ่ง เพราะเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า ปริมาณสำรองถ่านหินทั่วโลก ยังคงสามารถใช้ได้อีกหลายร้อยปี ขณะที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีปริมาณเหลือน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะไม่ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
4.ถ่านหิน กับ ลิกไนต์
คนทั่วไปเข้าใจว่า ถ่านหิน คือ ลิกไนต์ และ ลิกไนต์ คือ ถ่านหิน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ่านหิน หรือ COAL เป็นชื่อเรียกโดยรวม ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ตามระดับคุณภาพ ได้แก่ แอนทราไซต์, บีทูมินัส, ซับบีทูมินัส และลิกไนต์
สำหรับบีทูมินัส ซึ่งไออาร์พีซีเลือกใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้านั้น มีคุณภาพโดยรวมใกล้เคียงกับถ่านหินที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดคือ แอนทราไซต์ บีทูมินัสมีปริมาณความร้อนสูง ปริมาณความชื้นต่ำ ปริมาณขี้เถ้าต่ำ และปริมาณกำมะถันต่ำ ลิกไนต์ มีปริมาณความร้อนต่ำถึงปานกลาง ปริมาณความชื้นสูง ปริมาณขี้เถ้าสูง และปริมาณกำมะถันต่ำถึงสูง
ปัจจุบันประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกเลือกใช้ถ่านหินบีทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงหลัก เนื่องจากมีผลต่อมลภาวะน้อย และสามารถควบคุมแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งยังคงมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
5.เจตนารมณ์ของไออาร์พีซี
ด้วยเจตนารมณ์และปรัชญาในการทำธุรกิจของไออาร์พีซีที่ไม่เอาเปรียบสังคม ไม่ทำร้ายพี่น้องชาวระยอง เพราะ ชาวระยองอยู่ได้ ไออาร์พีซีก็อยู่ได้ ดังนั้น ในการจัดทำแผนประกวดราคา ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ เราจึงเลือกบีทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงควบคู่ไปกับเทคโนโลยีและกระบวนการบริหารจัดการที่ดีที่สุดในการขจัดและควบคุมมลภาวะ แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าสูงขึ้นก็ตาม โดยไม่มุ่งเน้นเพียงเพื่อให้ชนะการประกวดราคา แต่ทำร้ายชาวระยองเป็นอันขาด
ขณะเดียวกัน ไออาร์พีซีถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดในการน้อมรับฟังข้อคิดเห็นและความต้องการของพี่น้องชาวระยอง เราพร้อมเสมอที่จะรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งข้อกังวลใจทั้งสิ้น เรายินดีเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างตามความเป็นจริง ไม่โกหกบิดเบือน ด้วยความเคารพและให้เกียรติสูงสุดต่อความคิดเห็นและสิทธิของประชาชน เราเชื่อมั่นว่า หากชุมชนอยู่ไม่ได้ ไออาร์พีซีก็อยู่ไม่ได้ แนวทางใดที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชุมชน ไออาร์พีซีพร้อมร่วมกับท่านอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และมีความสุขตลอดไป
6.ข่าวลือกับความเป็นจริง
อนึ่ง ตามที่ปรากฏข่าวลือว่า ไออาร์พีซีกำลังเริ่มดำเนินการเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าในเขตประกอบการของไออาร์พีซี มีการบิดเบือนทำประชาพิจารณ์เพื่อหลอกลวงประชาชนให้เห็นชอบการก่อสร้าง มีการถมดินและปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งมีการปิดบังข้อมูลเพื่อรวบรัดการดำเนินการก่อสร้าง ฯลฯ นั้น
ไออาร์พีซีขอยืนยันว่า ณ บัดนี้ ยังมิได้มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเพิ่งเข้าสู่ขั้นตอนแรกคือ การซื้อซองประกวดราคา เมื่อ 29 มิ.ย.2550 ที่ผ่านมา ซึ่งยังมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาและระเบียบของทางราชการอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการประกวดราคา จะได้แก่เอกชนรายใดก็ยังไม่มีใครทราบ จึงเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิงที่ไออาร์พีซีจะดำเนินการตามข่าวลือเหล่านั้น
ไออาร์พีซียึดมั่นความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด และพร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆ กับพี่น้องชาวระยอง และจะไม่มีวัน ทำร้ายชาวระยองเป็นอันขาด
ความคืบหน้าเป็นประการใด ไออาร์พีซีจะรายงานให้พี่น้องชาวระยองทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป
อนึ่ง หากพี่น้องชาวระยองประสงค์จะทราบข้อมูลหรือมีข้อคิดเป็นประการใดในชั้นต้นนี้ กรุณาส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรมาที่ คุณวิชัย สถาปิตานนท์ บมจ.ไออาร์พีซี เลขที่ 299 ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000 หรือส่งทางโทรสารมาที่ 038-612812-3 ขณะนี้ ไออาร์พีซีกำลังดำเนินการ เพื่อสร้างวิธีการติดต่อสื่อสารกับพี่น้องชาวระยองด้วยวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5165
1.ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
เนื่องด้วยความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยเรานั้นมีสูงขึ้นเป็นลำดับตามอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ โดยมีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เป็นผู้รับผิดชอบวางแผน ให้ประเทศเรามีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการทั้งของภาคอุตสาหกรรมและพี่น้องประชาชนทั่วไป ทั้งประเทศ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
แต่เนื่องจากการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้านั้น จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนสูง ดังนั้น เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินของประเทศ รัฐบาลจึงเชิญชวนให้เอกชนผู้มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและเทคโนโลยีให้เข้ามาร่วมกับรัฐบาลช่วยกันผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของทุกภาคส่วน ป้องกันมิให้เกิดความขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงทั้งต่อความมั่นคงของชาติเป็นส่วนรวมในทุกด้าน รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศอีกด้วย
2.ไออาร์พีซีขอมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
ไออาร์พีซีประกอบธุรกิจหลักด้านการกลั่นน้ำมันและเม็ดพลาสติก ซึ่งหลังพ้นจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการสู่ธุรกิจปกติตั้งแต่ 27 เม.ย.2549 ที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันเรามีความมั่นคงเข้มแข็งทั้งทางด้านการเงินและผลประกอบการมีผู้ร่วมทุนที่ดี มีผู้บริหาร มีพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งต่างตระหนักในฐานะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่จะต้องเข้าร่วมแก้ปัญหาสำคัญของชาติ ดังนั้น ไออาร์พีซี จึงมีเจตนารมณ์ที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ไฟฟ้าให้กับประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราในครั้งนี้ ถึงแม้จะต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมากก็ตาม
ดังนั้น เมื่อ 29 มิ.ย.2549 ที่ผ่านมา ไออาร์พีซีจึงได้ซื้อซองประกวดราคาจากทางราชการ อันเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการประกวดราคา เพื่อสร้าง โรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในระยะ 15 ปีข้างหน้า (2550-2564)
ทั้งนี้ ยังมีธุรกิจเอกชนรายอื่นให้ความสนใจเข้าซื้อซองประกวดราคาครั้งนี้ด้วย ผลการประกวดราคาจะทราบผลในประมาณ ธ.ค.2550 นี้
3.ความจำเป็นและความเป็นจริงในการใช้ถ่านหิน
รัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งจำเป็นต้องใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง และอีกครึ่งหนึ่งอาจจำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์ ด้วยเหตุผลที่ประเทศของเราใช้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตพลังงานไฟฟ้ามากเกินไป ในขณะที่ประเทศ อื่นๆ เช่น อเมริกา และจีน ล้วนมีสัดส่วนการใช้ถ่านหินมากกว่าครึ่ง เพราะเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า ปริมาณสำรองถ่านหินทั่วโลก ยังคงสามารถใช้ได้อีกหลายร้อยปี ขณะที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีปริมาณเหลือน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะไม่ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
4.ถ่านหิน กับ ลิกไนต์
คนทั่วไปเข้าใจว่า ถ่านหิน คือ ลิกไนต์ และ ลิกไนต์ คือ ถ่านหิน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ่านหิน หรือ COAL เป็นชื่อเรียกโดยรวม ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ตามระดับคุณภาพ ได้แก่ แอนทราไซต์, บีทูมินัส, ซับบีทูมินัส และลิกไนต์
สำหรับบีทูมินัส ซึ่งไออาร์พีซีเลือกใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้านั้น มีคุณภาพโดยรวมใกล้เคียงกับถ่านหินที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดคือ แอนทราไซต์ บีทูมินัสมีปริมาณความร้อนสูง ปริมาณความชื้นต่ำ ปริมาณขี้เถ้าต่ำ และปริมาณกำมะถันต่ำ ลิกไนต์ มีปริมาณความร้อนต่ำถึงปานกลาง ปริมาณความชื้นสูง ปริมาณขี้เถ้าสูง และปริมาณกำมะถันต่ำถึงสูง
ปัจจุบันประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกเลือกใช้ถ่านหินบีทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงหลัก เนื่องจากมีผลต่อมลภาวะน้อย และสามารถควบคุมแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งยังคงมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
5.เจตนารมณ์ของไออาร์พีซี
ด้วยเจตนารมณ์และปรัชญาในการทำธุรกิจของไออาร์พีซีที่ไม่เอาเปรียบสังคม ไม่ทำร้ายพี่น้องชาวระยอง เพราะ ชาวระยองอยู่ได้ ไออาร์พีซีก็อยู่ได้ ดังนั้น ในการจัดทำแผนประกวดราคา ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ เราจึงเลือกบีทูมินัสเป็นเชื้อเพลิงควบคู่ไปกับเทคโนโลยีและกระบวนการบริหารจัดการที่ดีที่สุดในการขจัดและควบคุมมลภาวะ แม้ว่าจะทำให้ต้นทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าสูงขึ้นก็ตาม โดยไม่มุ่งเน้นเพียงเพื่อให้ชนะการประกวดราคา แต่ทำร้ายชาวระยองเป็นอันขาด
ขณะเดียวกัน ไออาร์พีซีถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดในการน้อมรับฟังข้อคิดเห็นและความต้องการของพี่น้องชาวระยอง เราพร้อมเสมอที่จะรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งข้อกังวลใจทั้งสิ้น เรายินดีเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างตามความเป็นจริง ไม่โกหกบิดเบือน ด้วยความเคารพและให้เกียรติสูงสุดต่อความคิดเห็นและสิทธิของประชาชน เราเชื่อมั่นว่า หากชุมชนอยู่ไม่ได้ ไออาร์พีซีก็อยู่ไม่ได้ แนวทางใดที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชุมชน ไออาร์พีซีพร้อมร่วมกับท่านอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และมีความสุขตลอดไป
6.ข่าวลือกับความเป็นจริง
อนึ่ง ตามที่ปรากฏข่าวลือว่า ไออาร์พีซีกำลังเริ่มดำเนินการเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าในเขตประกอบการของไออาร์พีซี มีการบิดเบือนทำประชาพิจารณ์เพื่อหลอกลวงประชาชนให้เห็นชอบการก่อสร้าง มีการถมดินและปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งมีการปิดบังข้อมูลเพื่อรวบรัดการดำเนินการก่อสร้าง ฯลฯ นั้น
ไออาร์พีซีขอยืนยันว่า ณ บัดนี้ ยังมิได้มีการดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากเพิ่งเข้าสู่ขั้นตอนแรกคือ การซื้อซองประกวดราคา เมื่อ 29 มิ.ย.2550 ที่ผ่านมา ซึ่งยังมีขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาและระเบียบของทางราชการอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการประกวดราคา จะได้แก่เอกชนรายใดก็ยังไม่มีใครทราบ จึงเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิงที่ไออาร์พีซีจะดำเนินการตามข่าวลือเหล่านั้น
ไออาร์พีซียึดมั่นความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด และพร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆ กับพี่น้องชาวระยอง และจะไม่มีวัน ทำร้ายชาวระยองเป็นอันขาด
ความคืบหน้าเป็นประการใด ไออาร์พีซีจะรายงานให้พี่น้องชาวระยองทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป
อนึ่ง หากพี่น้องชาวระยองประสงค์จะทราบข้อมูลหรือมีข้อคิดเป็นประการใดในชั้นต้นนี้ กรุณาส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรมาที่ คุณวิชัย สถาปิตานนท์ บมจ.ไออาร์พีซี เลขที่ 299 ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000 หรือส่งทางโทรสารมาที่ 038-612812-3 ขณะนี้ ไออาร์พีซีกำลังดำเนินการ เพื่อสร้างวิธีการติดต่อสื่อสารกับพี่น้องชาวระยองด้วยวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5165
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 38
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) [ ฉบับที่ 814 ประจำวันที่ 28-7-2007 ถึง 31-7-2007]
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการกำจัดหรือลดมลพิษเพื่อนำถ่านหินมาใช้เป็น เชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งปัญหามลพิษที่เกิดจากการ เผาไหม้ของถ่านหิน ได้แก่ ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้รับการพัฒนาและสามารถกำจัดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผา ไหม้ของถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ แต่สำหรับปัญหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นในฐานะประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในภูมิภาคเอเชีย ได้ดำเนินการ พัฒนาการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินควบคู่ไปกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า
>> ประเภทของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
1.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดก่อนการเผาไหม้ (Pre-combustion Technology) เป็นการกำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกจากถ่านหิน เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และสารประกอบอนินทรีย์ เช่น Pyritic Sulfur เพื่อลดปริมาณเถ้าและกำมะถัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มค่าความร้อนของถ่านหินก่อนนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป โดยมีวิธีการทำความสะอาดดังกล่าว ได้แก่
1.1 การทำความสะอาดโดยวิธีทางกายภาพ (Physical Cleaning) คือ การแยกสารที่ไม่ต้องการ เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และ Pyritic Sulfur ออกจากเนื้อถ่านหิน
1.2 การทำความสะอาดโดยวิธีทางเคมี (Chemical Cleaning) คือ การใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติชะล้างแร่ธาตุและกำมะถันอินทรีย์ ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการทำความสะอาดทางกายภาพ วิธีทางเคมีดังกล่าว เช่น Molten Caustic Leaching
1.3 การทำความสะอาดโดยวิธีทางชีวภาพ (Biological Cleaning) คือ การใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แบคทีเรีย และ เชื้อรา ในการกำจัดกำมะถันในถ่านหิน
2.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขณะการเผาไหม้ (Combustion Technology) เป็นการปรับปรุงเตาเผาและหม้อไอน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหิน และลดมลพิษที่เกิดระหว่างการเผาไหม้ ซึ่งจะควบคุมไม่ให้มีการปล่อยก๊าซมลพิษ (Zero Emission) เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
2.1 Pulverized Fuel Combustion (PFC) คือ วิธีการเผาไหม้ถ่านหินด้วยการบดถ่านหินให้มีขนาดเล็กมาก แล้วพ่นเข้าไปในเตาเผาพร้อมอากาศ เมื่อถ่านหินติดไฟจะให้ความร้อนแก่หม้อไอน้ำ ซึ่งไอน้ำจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเตาเผาทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหินเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 40 สำหรับ ระบบ Advanced Pulverized Coal ผงถ่านหินจะถูกเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำและไอน้ำที่ได้นำไปขับกังหัน ไอน้ำ ประสิทธิภาพการกำเนิดไฟฟ้าขึ้นอยู่กับสภาพของไอน้ำ
2.2 Fluidized Bed Combustion (FBC) คือ วิธีการเผาไหม้ถ่านหินด้วยการนำถ่านหินที่บดจนมีขนาดเล็กมากผสมกับหินปูนพ่นเข้าไปในหม้อไอน้ำพร้อมอากาศร้อน ถ่านหินและหินปูนที่พ่นเข้าไปจะแขวนลอยอยู่ในคลื่นอากาศร้อน โดยมีลักษณะคล้ายของเหลวเดือด ขณะที่ถ่านหินเผาไหม้ หินปูนจะทำหน้าที่คล้ายฟองน้ำดักจับกำมะถันที่เกิดขึ้น ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจะนำมาต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระบวนการนี้สามารถลดปริมาณ กำมะถันที่จะถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ได้มากถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ อุณหภูมิของหม้อไอน้ำที่ใช้กระบวนการนี้ยังต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในวิธีการเดิม ประโยชน์ของการเผาไหม้ที่อุณหภูมิต่ำ คือ ลดปริมาณมลพิษที่เกิดจากไนโตรเจนในถ่านหิน สำหรับ Pressured Fluidized Bed Combustion เป็นการเผาไหม้ถ่านหินแบบ Fluidized Bed ภายใต้ความดันสูง ความร้อนที่ผลิตได้นำไปใช้ผลิตไอน้ำเพื่อขับกังหันไอน้ำ ส่วนก๊าซร้อนที่ได้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงสามารถนำไปขับกังหันก๊าซ เพื่อผลิตไฟฟ้าร่วม การผลิตพลังงานความร้อนร่วมแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง และยังมีการพัฒนาระบบการเผาไหม้ถ่านหินแบบ Fluidized Bed ภายใต้ความดันสูง ชนิดฟองอากาศ (Bubbling Type PFBC)
2.3 Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนสถานะถ่านหินให้เป็นก๊าซ (Coal Gasification) กับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซ (Gas Fired Combined Cycle Plant) เข้าด้วยกัน โดยกระบวนการเริ่มจากการนำถ่านหินไปผสมกับไอน้ำและออกซิเจน โดยใช้แรงดันและอุณหภูมิสูงจนเกิดปฏิกิริยา ทางเคมี จะได้ก๊าซที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรเจน ก๊าซที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนี้ จะผ่านขั้นตอนในการทำให้สะอาด โดยการสกัดฝุ่นละออง กำมะถัน และไนโตรเจนออกไป ก่อนที่จะนำไปเผาไหม้ผ่านเครื่องกังหันก๊าซ เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้ ความร้อนหรือก๊าซเสียที่ออกมาจากเครื่อง กังหันก๊าซ จะนำไปใช้ให้ความร้อนแก่หม้อกำเนิดไอน้ำ เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้อีกทอดหนึ่ง
2.4 Ultra Super Critical (USC) คือ การใช้หม้อกำเนิดไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนา ประสิทธิภาพการใช้งาน
3.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดหลังการเผาไหม้ (Post-Combustion Technology) เป็นการกำจัดมลพิษที่เกิดจาก การเผาไหม้และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากถ่านหินเผาไหม้แล้ว เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
3.1 Electrostatic Precipitator คือ การดักจับฝุ่นด้วยการใช้ไฟฟ้าสถิตดักจับเถ้าลอย โดยให้ฝุ่นละอองมีประจุ ไฟฟ้าขั้วหนึ่ง และถังเก็บฝุ่นละอองมีประจุไฟฟ้าอีกขั้วหนึ่ง ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงในการดักจับฝุ่น หรือใช้ไซโคลน (Cyclone) ในการแยกฝุ่น โดยใช้หลักของแรงเหวี่ยงเพื่อให้ก๊าซเกิดการหมุนตัว ฝุ่นจะถูกแยกออกมา สามารถใช้ร่วมกับหม้อไอน้ำแบบ Fluidized Bed หรือกับหม้อไอน้ำแบบ Pulverized Coal นอกจากนี้ อาจใช้อุปกรณ์ดักจับฝุ่นแบบ ถุงกรอง (Bag Filter) มีเทคโนโลยีหลักๆ คือ High Temperature ESP, Low temperature ESP และ Low Lower temperature ESP
3.2 Flue Gas Desulfurization (FGD) คือ กระบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ออกมาพร้อมก๊าซทิ้ง เทคโนโลยีดังกล่าวมี 2 แบบหลักๆ คือ แบบเปียก (Wet Type) และแบบแห้ง (Dry Type) เทคโนโลยีแบบเปียกจะเป็น ที่นิยมมาก ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นแบบ Limestone-gypsum คือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในก๊าซทิ้งจะทำปฏิกิริยากับของผสมระหว่างน้ำกับหินปูนที่ฉีดเข้าไปในระบบก๊าซทิ้ง เกิดเป็นยิปซัม ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นได้
3.3 Flue Gas Denitrifurizer คือ ขบวนการกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในก๊าซทิ้ง มีเทคโนโลยีหลักๆ คือ Selective Catalytic Reduction (SCR), Two Stage Combustion และ Low Nox Burner แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี SCR นิยมใช้กันแพร่หลาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง กระบวนการคือ ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ เกิดเป็นไนโตรเจนและน้ำ
4.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดโดยการแปรสภาพถ่านหิน (Coal Conversion) ปัจจุบันได้มีการพัฒนา ดังนี้
4.1 Coal Gasification Technology คือ การแปรสภาพถ่านหินให้เป็นก๊าซ ซึ่งเป็นกระบวนการออกซิเดชั่นถ่านหินเพียงบางส่วน โดยถ่านหินทำปฏิกิริยากับก๊าซ ออกซิเจนหรืออากาศและไอน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ให้ก๊าซเชื้อเพลิง (Fuel Gas) ซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ ก๊าซเชื้อเพลิง ที่ได้จะถูกนำมาทำให้สะอาดโดยการกำจัดมลพิษก่อน ก๊าซที่ได้นี้สามารถนำมาใช้เป็น เชื้อเพลิง หรือเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์แอมโมเนีย เมธานอล หรือก๊าซไฮโดรเจน เตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ Entraied Flow, Fluidised Bed และ Moving Bed การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของถ่านหิน และขนาดของโรงงาน นอกจากกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงในโรงงานแล้ว ยังสามารถผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากถ่านหินที่อยู่ใต้ดินซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการขุดขึ้นมา กระบวนการนี้เรียกว่า Underground Gasification ซึ่งทำโดยการอัดไอน้ำและออกซิเจนเข้า ไปในชั้นถ่านหินผ่านหลุมเจาะจากพื้นผิวดิน เมื่อชั้นถ่านหินบางส่วนติดไฟ ความร้อน ที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะทำให้ถ่านหินที่เหลือผลิตก๊าซเชื้อเพลิงก๊าซที่เกิดขึ้นจะผ่าน ขึ้นมาตามท่อ และนำไปแยกมลพิษออกก่อนที่จะนำไปใช้ นอกจากนี้ สามารถนำมาใช้ร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกับกระบวนการ ผลิตก๊าซจากถ่านหิน (Integrated coal gasification combined cycle Power Generation, IGCC) และการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโดยกระบวนการผลิต ก๊าซจากถ่านหินและเซลล์เชื้อเพลิง (Integrated coal gasification fuel cell combined cycle Power Generation, IGFC) เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ที่รวมกังหันก๊าซและไอน้ำ ประสิทธิภาพความร้อนสูงถึงร้อยละ 55
4.2 Coal Liquefaction Technology คือ การแปลงถ่านหินให้อยู่ในสภาพของเหลว เป็นการแปรรูปถ่านหินให้อยู่ในรูปเชื้อเพลิงเหลว (liquid fuel) โดยทั่วไป การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากถ่านหิน ทำได้โดยการแยกคาร์บอนออก หรือการเติมไฮโดรเจนเข้าไป กรณีแรกเรียกว่า Carbonisation หรือ Pyrolysis สำหรับการเติมไฮโดรเจน เรียกว่า Liquefaction เชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากถ่านหิน สามารถนำมากลั่นในกระบวนการกลั่นน้ำมัน จะได้น้ำมันสำหรับรถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น พลาสติก และสารละลายต่างๆ (Solvent) กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การผลิตเชื้อเพลิงเหลวโดยตรง (Direct Liquefaction) เป็นการแปรรูปถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้กระบวนการเดียว (Single Process) และการผลิตเชื้อเพลิงเหลวโดยทางอ้อม (Indirect Liquefaction) เป็นการนำถ่านหินมาผ่านกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงก่อน จึงนำมาแปรรูปเป็นของเหลว
4.3 Dimethyl Ether (DME) คือ เทคโนโลยีสังเคราะห์เชื้อเพลิงสะอาด โดยนำก๊าซมีเทน ซึ่งมาจากเหมืองถ่านหิน (CBM) นำมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ คือ DME ซึ่งคุณสมบัติเปรียบเสมือน LPG (liquefied petroleum gas) คาร์บอนไดออกไซด์ และเมธานอล
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5167
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการกำจัดหรือลดมลพิษเพื่อนำถ่านหินมาใช้เป็น เชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งปัญหามลพิษที่เกิดจากการ เผาไหม้ของถ่านหิน ได้แก่ ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้รับการพัฒนาและสามารถกำจัดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผา ไหม้ของถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ แต่สำหรับปัญหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นในฐานะประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในภูมิภาคเอเชีย ได้ดำเนินการ พัฒนาการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินควบคู่ไปกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า
>> ประเภทของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
1.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดก่อนการเผาไหม้ (Pre-combustion Technology) เป็นการกำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกจากถ่านหิน เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และสารประกอบอนินทรีย์ เช่น Pyritic Sulfur เพื่อลดปริมาณเถ้าและกำมะถัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มค่าความร้อนของถ่านหินก่อนนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป โดยมีวิธีการทำความสะอาดดังกล่าว ได้แก่
1.1 การทำความสะอาดโดยวิธีทางกายภาพ (Physical Cleaning) คือ การแยกสารที่ไม่ต้องการ เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และ Pyritic Sulfur ออกจากเนื้อถ่านหิน
1.2 การทำความสะอาดโดยวิธีทางเคมี (Chemical Cleaning) คือ การใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติชะล้างแร่ธาตุและกำมะถันอินทรีย์ ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการทำความสะอาดทางกายภาพ วิธีทางเคมีดังกล่าว เช่น Molten Caustic Leaching
1.3 การทำความสะอาดโดยวิธีทางชีวภาพ (Biological Cleaning) คือ การใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แบคทีเรีย และ เชื้อรา ในการกำจัดกำมะถันในถ่านหิน
2.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขณะการเผาไหม้ (Combustion Technology) เป็นการปรับปรุงเตาเผาและหม้อไอน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหิน และลดมลพิษที่เกิดระหว่างการเผาไหม้ ซึ่งจะควบคุมไม่ให้มีการปล่อยก๊าซมลพิษ (Zero Emission) เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
2.1 Pulverized Fuel Combustion (PFC) คือ วิธีการเผาไหม้ถ่านหินด้วยการบดถ่านหินให้มีขนาดเล็กมาก แล้วพ่นเข้าไปในเตาเผาพร้อมอากาศ เมื่อถ่านหินติดไฟจะให้ความร้อนแก่หม้อไอน้ำ ซึ่งไอน้ำจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเตาเผาทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหินเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 40 สำหรับ ระบบ Advanced Pulverized Coal ผงถ่านหินจะถูกเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำและไอน้ำที่ได้นำไปขับกังหัน ไอน้ำ ประสิทธิภาพการกำเนิดไฟฟ้าขึ้นอยู่กับสภาพของไอน้ำ
2.2 Fluidized Bed Combustion (FBC) คือ วิธีการเผาไหม้ถ่านหินด้วยการนำถ่านหินที่บดจนมีขนาดเล็กมากผสมกับหินปูนพ่นเข้าไปในหม้อไอน้ำพร้อมอากาศร้อน ถ่านหินและหินปูนที่พ่นเข้าไปจะแขวนลอยอยู่ในคลื่นอากาศร้อน โดยมีลักษณะคล้ายของเหลวเดือด ขณะที่ถ่านหินเผาไหม้ หินปูนจะทำหน้าที่คล้ายฟองน้ำดักจับกำมะถันที่เกิดขึ้น ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจะนำมาต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระบวนการนี้สามารถลดปริมาณ กำมะถันที่จะถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ได้มากถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ อุณหภูมิของหม้อไอน้ำที่ใช้กระบวนการนี้ยังต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในวิธีการเดิม ประโยชน์ของการเผาไหม้ที่อุณหภูมิต่ำ คือ ลดปริมาณมลพิษที่เกิดจากไนโตรเจนในถ่านหิน สำหรับ Pressured Fluidized Bed Combustion เป็นการเผาไหม้ถ่านหินแบบ Fluidized Bed ภายใต้ความดันสูง ความร้อนที่ผลิตได้นำไปใช้ผลิตไอน้ำเพื่อขับกังหันไอน้ำ ส่วนก๊าซร้อนที่ได้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงสามารถนำไปขับกังหันก๊าซ เพื่อผลิตไฟฟ้าร่วม การผลิตพลังงานความร้อนร่วมแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง และยังมีการพัฒนาระบบการเผาไหม้ถ่านหินแบบ Fluidized Bed ภายใต้ความดันสูง ชนิดฟองอากาศ (Bubbling Type PFBC)
2.3 Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนสถานะถ่านหินให้เป็นก๊าซ (Coal Gasification) กับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซ (Gas Fired Combined Cycle Plant) เข้าด้วยกัน โดยกระบวนการเริ่มจากการนำถ่านหินไปผสมกับไอน้ำและออกซิเจน โดยใช้แรงดันและอุณหภูมิสูงจนเกิดปฏิกิริยา ทางเคมี จะได้ก๊าซที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรเจน ก๊าซที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนี้ จะผ่านขั้นตอนในการทำให้สะอาด โดยการสกัดฝุ่นละออง กำมะถัน และไนโตรเจนออกไป ก่อนที่จะนำไปเผาไหม้ผ่านเครื่องกังหันก๊าซ เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้ ความร้อนหรือก๊าซเสียที่ออกมาจากเครื่อง กังหันก๊าซ จะนำไปใช้ให้ความร้อนแก่หม้อกำเนิดไอน้ำ เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้อีกทอดหนึ่ง
2.4 Ultra Super Critical (USC) คือ การใช้หม้อกำเนิดไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนา ประสิทธิภาพการใช้งาน
3.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดหลังการเผาไหม้ (Post-Combustion Technology) เป็นการกำจัดมลพิษที่เกิดจาก การเผาไหม้และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากถ่านหินเผาไหม้แล้ว เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
3.1 Electrostatic Precipitator คือ การดักจับฝุ่นด้วยการใช้ไฟฟ้าสถิตดักจับเถ้าลอย โดยให้ฝุ่นละอองมีประจุ ไฟฟ้าขั้วหนึ่ง และถังเก็บฝุ่นละอองมีประจุไฟฟ้าอีกขั้วหนึ่ง ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงในการดักจับฝุ่น หรือใช้ไซโคลน (Cyclone) ในการแยกฝุ่น โดยใช้หลักของแรงเหวี่ยงเพื่อให้ก๊าซเกิดการหมุนตัว ฝุ่นจะถูกแยกออกมา สามารถใช้ร่วมกับหม้อไอน้ำแบบ Fluidized Bed หรือกับหม้อไอน้ำแบบ Pulverized Coal นอกจากนี้ อาจใช้อุปกรณ์ดักจับฝุ่นแบบ ถุงกรอง (Bag Filter) มีเทคโนโลยีหลักๆ คือ High Temperature ESP, Low temperature ESP และ Low Lower temperature ESP
3.2 Flue Gas Desulfurization (FGD) คือ กระบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ออกมาพร้อมก๊าซทิ้ง เทคโนโลยีดังกล่าวมี 2 แบบหลักๆ คือ แบบเปียก (Wet Type) และแบบแห้ง (Dry Type) เทคโนโลยีแบบเปียกจะเป็น ที่นิยมมาก ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นแบบ Limestone-gypsum คือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในก๊าซทิ้งจะทำปฏิกิริยากับของผสมระหว่างน้ำกับหินปูนที่ฉีดเข้าไปในระบบก๊าซทิ้ง เกิดเป็นยิปซัม ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นได้
3.3 Flue Gas Denitrifurizer คือ ขบวนการกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในก๊าซทิ้ง มีเทคโนโลยีหลักๆ คือ Selective Catalytic Reduction (SCR), Two Stage Combustion และ Low Nox Burner แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี SCR นิยมใช้กันแพร่หลาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง กระบวนการคือ ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ เกิดเป็นไนโตรเจนและน้ำ
4.เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดโดยการแปรสภาพถ่านหิน (Coal Conversion) ปัจจุบันได้มีการพัฒนา ดังนี้
4.1 Coal Gasification Technology คือ การแปรสภาพถ่านหินให้เป็นก๊าซ ซึ่งเป็นกระบวนการออกซิเดชั่นถ่านหินเพียงบางส่วน โดยถ่านหินทำปฏิกิริยากับก๊าซ ออกซิเจนหรืออากาศและไอน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ให้ก๊าซเชื้อเพลิง (Fuel Gas) ซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ ก๊าซเชื้อเพลิง ที่ได้จะถูกนำมาทำให้สะอาดโดยการกำจัดมลพิษก่อน ก๊าซที่ได้นี้สามารถนำมาใช้เป็น เชื้อเพลิง หรือเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์แอมโมเนีย เมธานอล หรือก๊าซไฮโดรเจน เตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ Entraied Flow, Fluidised Bed และ Moving Bed การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของถ่านหิน และขนาดของโรงงาน นอกจากกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงในโรงงานแล้ว ยังสามารถผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากถ่านหินที่อยู่ใต้ดินซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการขุดขึ้นมา กระบวนการนี้เรียกว่า Underground Gasification ซึ่งทำโดยการอัดไอน้ำและออกซิเจนเข้า ไปในชั้นถ่านหินผ่านหลุมเจาะจากพื้นผิวดิน เมื่อชั้นถ่านหินบางส่วนติดไฟ ความร้อน ที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะทำให้ถ่านหินที่เหลือผลิตก๊าซเชื้อเพลิงก๊าซที่เกิดขึ้นจะผ่าน ขึ้นมาตามท่อ และนำไปแยกมลพิษออกก่อนที่จะนำไปใช้ นอกจากนี้ สามารถนำมาใช้ร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกับกระบวนการ ผลิตก๊าซจากถ่านหิน (Integrated coal gasification combined cycle Power Generation, IGCC) และการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโดยกระบวนการผลิต ก๊าซจากถ่านหินและเซลล์เชื้อเพลิง (Integrated coal gasification fuel cell combined cycle Power Generation, IGFC) เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ที่รวมกังหันก๊าซและไอน้ำ ประสิทธิภาพความร้อนสูงถึงร้อยละ 55
4.2 Coal Liquefaction Technology คือ การแปลงถ่านหินให้อยู่ในสภาพของเหลว เป็นการแปรรูปถ่านหินให้อยู่ในรูปเชื้อเพลิงเหลว (liquid fuel) โดยทั่วไป การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากถ่านหิน ทำได้โดยการแยกคาร์บอนออก หรือการเติมไฮโดรเจนเข้าไป กรณีแรกเรียกว่า Carbonisation หรือ Pyrolysis สำหรับการเติมไฮโดรเจน เรียกว่า Liquefaction เชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากถ่านหิน สามารถนำมากลั่นในกระบวนการกลั่นน้ำมัน จะได้น้ำมันสำหรับรถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น พลาสติก และสารละลายต่างๆ (Solvent) กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การผลิตเชื้อเพลิงเหลวโดยตรง (Direct Liquefaction) เป็นการแปรรูปถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้กระบวนการเดียว (Single Process) และการผลิตเชื้อเพลิงเหลวโดยทางอ้อม (Indirect Liquefaction) เป็นการนำถ่านหินมาผ่านกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงก่อน จึงนำมาแปรรูปเป็นของเหลว
4.3 Dimethyl Ether (DME) คือ เทคโนโลยีสังเคราะห์เชื้อเพลิงสะอาด โดยนำก๊าซมีเทน ซึ่งมาจากเหมืองถ่านหิน (CBM) นำมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ คือ DME ซึ่งคุณสมบัติเปรียบเสมือน LPG (liquefied petroleum gas) คาร์บอนไดออกไซด์ และเมธานอล
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5167
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 39
ยุทธศาสตร์แหล่งพลังงานชาติ [ ฉบับที่ 814 ประจำวันที่ 28-7-2007 ถึง 31-7-2007]
จากความสำเร็จในการสำรวจพบปิโตรเลียมของประเทศไทย ทำให้สัดส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศลดลง จากช่วงก่อนปี 2524 ไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงสูงถึง 90% ในปัจจุบันตัวเลขสัดส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงมาอยู่ที่ 49% ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้น ทำให้ช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประเทศ
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงพลังงานของ ประเทศ โดยจะเห็นจากสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นพลังงานขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจาก 20% ในปี 2528 เป็น 35% ในปี 2549
โดยในอนาคตคาดว่า อัตราการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6% ในขณะที่สัดส่วนการ ใช้น้ำมัน จะลดลงจาก 49% เหลือ 45% และสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มจาก 35% เป็น 38% ภายในปี พ.ศ.2563 (2020)
ทั้งนี้ ทรัพยากรพลังงานหลักที่ผลิตในประเทศ คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการจัดหาก๊าซธรรมชาติวันละ 3,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยเป็นการผลิตในประเทศวันละ 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต และนำเข้าจากประเทศพม่าวันละ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งประมาณ 70% ของก๊าซธรรมชาตินำไปใช้ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนที่เหลือถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงแยกก๊าซ โรงงานอุตสาหกรรม และผลิตเป็น NGV
โดยสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 67% และจะเพิ่มสูงถึงเกือบ 80% ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งรัฐได้มีการวางแผนที่จะไม่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียวในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยได้มีการวางแผนการจัดหาพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ กรณีแรก โรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่หลังปี พ.ศ.2554 (2011) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 50% และถ่านหิน 50% และ กรณีที่สอง โรงไฟฟ้าสร้างใหม่หลังปี พ.ศ.2554 (2011) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 70% และถ่านหิน 30%
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรพลังงานโดยรวมของประเทศจะเป็นการใช้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 80% แสดงให้เห็นว่าประเทศเรายังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งการจัดหาจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและสภาวการณ์ของตลาดโลก แม้ว่าประเทศจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองในปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้าไม่มีการวางแผนการจัดหา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมก็อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติได้ ดังนั้นเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงาน กระทรวงพลังงานจึงมุ่งเน้นการสนับสนุนให้มีการนำทรัพยากรพลังงานชนิดอื่นมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น ทั้งถ่านหิน หินน้ำมัน และพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์ ไบโอดีเซล ก๊าซโซฮอล์ ชีวมวล รามถึงพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างพลังงานนิวเคลียร์และไฮโดรเจน
>> ถ่านหินพลังงานแห่งความหวัง
ณ สิ้นปี 2548 ปริมาณสำรองถ่านหินโลกเท่ากับ 909 พันล้านตัน มีอัตราการผลิต 5.85 พันล้านตัน ทำให้มีค่า R/P Ratio เท่ากับ 155 โดยประเทศที่มีปริมาณสำรองสูงสุด 5 ประเทศแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อินเดีย และออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศไทยมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1.4 พันล้านตัน คิดเป็น 0.1% ของปริมาณสำรองทั้งโลก การผลิตและความต้องการใช้ถ่านหินทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยเฉพาะใน 2 ปีหลัง ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอัตราการผลิตและการ ใช้เพิ่มขึ้นสูงสุด โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (จีน) และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทยในปี 2548 มีปริมาณการผลิตถ่านหินลิกไนต์ 21.4 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากเหมืองที่แม่เมาะและกระบี่ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในขณะที่ปริมาณการใช้ถ่านหินอยู่ที่ 29.6 ล้านตัน โดยมีปริมาณถ่านหินนำเข้า 8.6 ล้านตัน โดยที่ถ่านหินส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซีเมนต์ และอุตสาหกรรมกระดาษ
ประเทศไทยยังมีทรัพยากรถ่านหินเป็นจำนวนมากที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ โดยแหล่งถ่านหินที่พบในประเทศไทยเป็นถ่านหินที่เกิดในยุค เทอร์เชียรี่และยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประเภทของถ่านหินในประเทศส่วนใหญ่เป็นถ่านหินลิกไนต์ และซิบบีทูมินัส โดยมีการพบถ่านหินแอนทราไซต์เพียง 2 แห่งเท่านั้น เป็นแหล่งถ่านหินที่มีปริมาณสำรองค่อนข้างน้อยคือ เหมืองนาด้วง จังหวัดเลย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้หยุดทำเหมืองแล้ว และเหมืองนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
แหล่งถ่านหินของประเทศส่วนใหญ่พบอยู่ในภาคเหนือ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา ตาก แพร่ และเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ยังพบในภาคกลาง จังหวัดเพชรบุรี และภาคใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา และกระบี่
สำหรับแหล่งถ่านหินที่มีการทำเหมืองและกำลังผลิตอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เหมืองลี้ จังหวัดลำพูน เหมืองแม่ทาน จังหวัดลำปาง เหมืองเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เหมืองนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู และเหมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีปริมาณสำรองถ่านหินทั้งสิ้น 1,305 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปริมาณสำรองของเหมืองแม่เมาะที่มีปริมาณ 630 ล้านตัน
ถ่านหินนับเป็นทรัพยากรพลังงานที่มีราคาถูก สามารถจัดหา ทำการขนส่งได้ง่าย และปลอดภัย โดยที่ต้นทุนในการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีราคาถูกที่สุด เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และก๊าซธรรมชาติ แต่ปัญหาในการนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงของประเทศไทยคือ ปัญหาความหวาดกลัวที่ว่าถ่านหินเป็นพลังงานสกปรกและก่อให้เกิดมลพิษ โดยกลุ่มต่อต้านยังพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งในอดีตมีปัญหาในด้านเทคโนโลยีในการจัดการฝุ่นและสารประกอบกำมะถัน ทั้งที่ในปัจจุบันนี้ การใช้ถ่านหินมีการนำเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) มาใช้ ทั้งการปรับปรุงระบบเผาไหม้ มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความร้อน (Thermal Efficiency) ระบบการควบคุมมลภาวะ เช่น Fluidized Bed Combustion, Low No Burner, Flue Gas Desulphurization เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีการกำจัดและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) มาใช้ เพื่อไม่ให้มีการปล่อย CO สู่บรรยากาศในอนาคต ทั้งนี้ นอก จากจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขึ้นมาใช้แล้ว ยังมีการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำถ่านหินมาใช้ประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซ (Coal Gasification) การเปลี่ยน ถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal to Liquid)
ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง จะเร่งรัดประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน และกลุ่มต่อต้านว่าประเทศไทยสมควรมีการพัฒนาถ่านหินขึ้นมาใช้ ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้า และมีการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Diversification of Energy Supply) เพื่อไม่ให้เป็นการพึ่งพาเชื้อเพลิงอย่าง หนึ่งอย่างใดมากเกินไป
>> ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติถือเป็นทรัพยากรปิโตรเลียมหลักของประเทศไทย โดยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ณ สิ้นปี 2548 รวมทั้งหมดเท่ากับ 31.9 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็นปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (Proved Reserve, P1) 10.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ (Probable Reserve, P2) 11.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปริมาณสำรองที่อาจจะพบ (Possible Reserve, P3) 9.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยมีการสำรวจพบแหล่งก๊าซธรรมชาติไปแล้วทั้งสิ้น 70 แหล่ง โดยมีการดำเนินการผลิตอยู่ 19 แหล่ง
จากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติพิสูจน์แล้ว (10.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) เมื่อนำมาเทียบกับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติ 0.8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี (2,190 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) จะเห็นว่าสัดส่วนปริมาณสำรองต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ (Reserve/Production (R/P) = 10.7/0.8) จะเท่ากับ 13.4 ซึ่งค่านี้จะเป็นดัชนีชี้ว่าปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่เทียบกับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติในขณะนี้ จะสามารถมีก๊าซธรรมชาติใช้ไปได้อีกประมาณ 13 ปี ซึ่งในขณะที่การเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในแต่ละปีจะขึ้นกับผลการสำรวจ แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่นอนว่าจะเพิ่มมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2549-2553) โดยจะเพิ่มเป็น 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี พ.ศ.2551 และเพิ่มเป็น 3,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2553 จะเห็นได้ว่าจากปริมาณการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นมากเพื่อส่งก๊าซธรรมชาติเข้าท่อเส้นที่ 3 ให้ได้ตาม ความต้องการใช้ของประเทศจะทำให้สัดส่วนปริมาณสำรองต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติลดลง
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5169
จากความสำเร็จในการสำรวจพบปิโตรเลียมของประเทศไทย ทำให้สัดส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศลดลง จากช่วงก่อนปี 2524 ไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงสูงถึง 90% ในปัจจุบันตัวเลขสัดส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงมาอยู่ที่ 49% ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้น ทำให้ช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประเทศ
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงพลังงานของ ประเทศ โดยจะเห็นจากสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นพลังงานขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจาก 20% ในปี 2528 เป็น 35% ในปี 2549
โดยในอนาคตคาดว่า อัตราการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6% ในขณะที่สัดส่วนการ ใช้น้ำมัน จะลดลงจาก 49% เหลือ 45% และสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มจาก 35% เป็น 38% ภายในปี พ.ศ.2563 (2020)
ทั้งนี้ ทรัพยากรพลังงานหลักที่ผลิตในประเทศ คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการจัดหาก๊าซธรรมชาติวันละ 3,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยเป็นการผลิตในประเทศวันละ 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต และนำเข้าจากประเทศพม่าวันละ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งประมาณ 70% ของก๊าซธรรมชาตินำไปใช้ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนที่เหลือถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงแยกก๊าซ โรงงานอุตสาหกรรม และผลิตเป็น NGV
โดยสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 67% และจะเพิ่มสูงถึงเกือบ 80% ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งรัฐได้มีการวางแผนที่จะไม่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียวในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยได้มีการวางแผนการจัดหาพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ กรณีแรก โรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่หลังปี พ.ศ.2554 (2011) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 50% และถ่านหิน 50% และ กรณีที่สอง โรงไฟฟ้าสร้างใหม่หลังปี พ.ศ.2554 (2011) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 70% และถ่านหิน 30%
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการใช้ทรัพยากรพลังงานโดยรวมของประเทศจะเป็นการใช้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ประมาณ 80% แสดงให้เห็นว่าประเทศเรายังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งการจัดหาจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและสภาวการณ์ของตลาดโลก แม้ว่าประเทศจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองในปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้าไม่มีการวางแผนการจัดหา และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมก็อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติได้ ดังนั้นเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงาน กระทรวงพลังงานจึงมุ่งเน้นการสนับสนุนให้มีการนำทรัพยากรพลังงานชนิดอื่นมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น ทั้งถ่านหิน หินน้ำมัน และพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์ ไบโอดีเซล ก๊าซโซฮอล์ ชีวมวล รามถึงพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างพลังงานนิวเคลียร์และไฮโดรเจน
>> ถ่านหินพลังงานแห่งความหวัง
ณ สิ้นปี 2548 ปริมาณสำรองถ่านหินโลกเท่ากับ 909 พันล้านตัน มีอัตราการผลิต 5.85 พันล้านตัน ทำให้มีค่า R/P Ratio เท่ากับ 155 โดยประเทศที่มีปริมาณสำรองสูงสุด 5 ประเทศแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อินเดีย และออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศไทยมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1.4 พันล้านตัน คิดเป็น 0.1% ของปริมาณสำรองทั้งโลก การผลิตและความต้องการใช้ถ่านหินทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยเฉพาะใน 2 ปีหลัง ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอัตราการผลิตและการ ใช้เพิ่มขึ้นสูงสุด โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (จีน) และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทยในปี 2548 มีปริมาณการผลิตถ่านหินลิกไนต์ 21.4 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากเหมืองที่แม่เมาะและกระบี่ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในขณะที่ปริมาณการใช้ถ่านหินอยู่ที่ 29.6 ล้านตัน โดยมีปริมาณถ่านหินนำเข้า 8.6 ล้านตัน โดยที่ถ่านหินส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซีเมนต์ และอุตสาหกรรมกระดาษ
ประเทศไทยยังมีทรัพยากรถ่านหินเป็นจำนวนมากที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ โดยแหล่งถ่านหินที่พบในประเทศไทยเป็นถ่านหินที่เกิดในยุค เทอร์เชียรี่และยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประเภทของถ่านหินในประเทศส่วนใหญ่เป็นถ่านหินลิกไนต์ และซิบบีทูมินัส โดยมีการพบถ่านหินแอนทราไซต์เพียง 2 แห่งเท่านั้น เป็นแหล่งถ่านหินที่มีปริมาณสำรองค่อนข้างน้อยคือ เหมืองนาด้วง จังหวัดเลย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้หยุดทำเหมืองแล้ว และเหมืองนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
แหล่งถ่านหินของประเทศส่วนใหญ่พบอยู่ในภาคเหนือ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา ตาก แพร่ และเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ยังพบในภาคกลาง จังหวัดเพชรบุรี และภาคใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง สงขลา และกระบี่
สำหรับแหล่งถ่านหินที่มีการทำเหมืองและกำลังผลิตอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เหมืองลี้ จังหวัดลำพูน เหมืองแม่ทาน จังหวัดลำปาง เหมืองเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เหมืองนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู และเหมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีปริมาณสำรองถ่านหินทั้งสิ้น 1,305 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปริมาณสำรองของเหมืองแม่เมาะที่มีปริมาณ 630 ล้านตัน
ถ่านหินนับเป็นทรัพยากรพลังงานที่มีราคาถูก สามารถจัดหา ทำการขนส่งได้ง่าย และปลอดภัย โดยที่ต้นทุนในการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามีราคาถูกที่สุด เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และก๊าซธรรมชาติ แต่ปัญหาในการนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงของประเทศไทยคือ ปัญหาความหวาดกลัวที่ว่าถ่านหินเป็นพลังงานสกปรกและก่อให้เกิดมลพิษ โดยกลุ่มต่อต้านยังพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งในอดีตมีปัญหาในด้านเทคโนโลยีในการจัดการฝุ่นและสารประกอบกำมะถัน ทั้งที่ในปัจจุบันนี้ การใช้ถ่านหินมีการนำเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) มาใช้ ทั้งการปรับปรุงระบบเผาไหม้ มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความร้อน (Thermal Efficiency) ระบบการควบคุมมลภาวะ เช่น Fluidized Bed Combustion, Low No Burner, Flue Gas Desulphurization เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีการกำจัดและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) มาใช้ เพื่อไม่ให้มีการปล่อย CO สู่บรรยากาศในอนาคต ทั้งนี้ นอก จากจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขึ้นมาใช้แล้ว ยังมีการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อนำถ่านหินมาใช้ประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซ (Coal Gasification) การเปลี่ยน ถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal to Liquid)
ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง จะเร่งรัดประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน และกลุ่มต่อต้านว่าประเทศไทยสมควรมีการพัฒนาถ่านหินขึ้นมาใช้ ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้า และมีการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Diversification of Energy Supply) เพื่อไม่ให้เป็นการพึ่งพาเชื้อเพลิงอย่าง หนึ่งอย่างใดมากเกินไป
>> ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติถือเป็นทรัพยากรปิโตรเลียมหลักของประเทศไทย โดยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ณ สิ้นปี 2548 รวมทั้งหมดเท่ากับ 31.9 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็นปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (Proved Reserve, P1) 10.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ (Probable Reserve, P2) 11.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปริมาณสำรองที่อาจจะพบ (Possible Reserve, P3) 9.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต โดยมีการสำรวจพบแหล่งก๊าซธรรมชาติไปแล้วทั้งสิ้น 70 แหล่ง โดยมีการดำเนินการผลิตอยู่ 19 แหล่ง
จากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติพิสูจน์แล้ว (10.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) เมื่อนำมาเทียบกับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติ 0.8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี (2,190 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) จะเห็นว่าสัดส่วนปริมาณสำรองต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ (Reserve/Production (R/P) = 10.7/0.8) จะเท่ากับ 13.4 ซึ่งค่านี้จะเป็นดัชนีชี้ว่าปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่เทียบกับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติในขณะนี้ จะสามารถมีก๊าซธรรมชาติใช้ไปได้อีกประมาณ 13 ปี ซึ่งในขณะที่การเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในแต่ละปีจะขึ้นกับผลการสำรวจ แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่นอนว่าจะเพิ่มมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2549-2553) โดยจะเพิ่มเป็น 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี พ.ศ.2551 และเพิ่มเป็น 3,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2553 จะเห็นได้ว่าจากปริมาณการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นมากเพื่อส่งก๊าซธรรมชาติเข้าท่อเส้นที่ 3 ให้ได้ตาม ความต้องการใช้ของประเทศจะทำให้สัดส่วนปริมาณสำรองต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติลดลง
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5169
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 40
สนพ.ลั่นค่าไฟฟ้าถูกลง-หลังเอกชน 60 รายแห่ซื้อซองประมูล
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2550 13:44 น.
รมว.พลังงานพอใจการแข่งขันซื้อซองประมูลไอพีพีถึง 60 ซอง คาดการแข่งขันด้านราคาจะเหมาะสม และทำให้ได้ราคาต่ำ ย้ำหากเจรจาซื้อไฟฟ้าลาว ล่าช้าจะขยายซื้อไอพีพีมากกว่า 3,200 เมกะวัตต์ และซื้อเอสพีพีระบบโคเจนเนอเรชั่นจาก 500 เมกะวัตต์ เป็น 1,400 เมกะวัตต์
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่าจากที่กระทรวงพลังงานได้เปิดขายซองประมูลรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) และได้ปิดการขายซองเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีผู้สนใจซื้อซองประมูลเป็นจำนวน 60 ซองประมูล โดยบรรยากาศวันสุดท้ายของการเปิดขายซองประมูลค่อนข้างที่จะคึกคัก เพราะมีผู้ผลิตไฟฟ้าต่างพากันทยอยมาซื้อซองประมูลในช่วงวันสุดท้ายถึง 20 ราย และหลังจากนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้า IPP จะต้องยื่นข้อเสนอเข้ามาภายในเดือนตุลาคม 2550 ทั้งข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา สถานที่ตั้งและการเลือกใช้เชื้อเพลิง โดยอนุกรรมการจะประเมินและคัดเลือกข้อเสนอให้แล้วเสร็จ โดยจะประกาศผู้ที่ชนะการประมูลแข่งขันได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2550 และจะลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในมิถุนายน 2551 เพื่อให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ทันตามกำหนด และเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ
ทั้งนี้ หลังการรับซื้อไฟฟ้า IPP เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้าระยะยาว หรือ PDP 2007 ที่กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าเอกชนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่ปี 2555 - 2557 จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ โดยจะใช้วิธีประมูลแข่งขัน ซึ่งการประมูลไอพีพีครั้งนี้มีทั้งรายเก่าและรายใหม่เข้ามาซื้อซองประมูล
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าพอใจตัวเลขการประมูลในครั้งนี้ เพราะประมูลซื้อไฟฟ้าเพียง 3 ปี แต่มีผู้ซื้อซองถึง 60 ซอง ทำให้เชื่อมั่นว่า การแข่งขันด้านราคาไฟฟ้าจะเป็นผลดีต่อประชาชน ทำให้ได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ดี และมีแนวโน้มอาจจะขยายการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากประกาศรับซื้อ 3,200 เมกะวัตต์ หากการเจรจาซื้อขายไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว ) เป็นไปอย่างล่าช้า
โดยเฉพาะ 4 โครงการที่วางแผนจะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ) ในปี นี้ คือ น้ำเทิน 1, น้ำงึม 3, เทินหินบุน ส่วนขยาย และน้ำเงี๊ยบ ซึ่งหากล่าช้าก็ต้องเจรจาความชัดเจนว่า โครงการจากลาวจะเลื่อนการรับซื้อไปในปีไหนจึงจะเหมาะสม ขณะเดียวกัน จะขยายการรับซื้อไฟฟจากโครงการเอสพีพีระบบโคเจนเนอเรชั่นด้วย เพราะเดิมวางแผนจะรับซื้อ 500 เมกะวัตต์ แต่ขณะนี้เอกชนเสนอขายมาถึง 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งน่าจะรับซื้อทั้งหมด เพราะระบบนี้เป็นประโยชน์ในแง่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000089224
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2550 13:44 น.
รมว.พลังงานพอใจการแข่งขันซื้อซองประมูลไอพีพีถึง 60 ซอง คาดการแข่งขันด้านราคาจะเหมาะสม และทำให้ได้ราคาต่ำ ย้ำหากเจรจาซื้อไฟฟ้าลาว ล่าช้าจะขยายซื้อไอพีพีมากกว่า 3,200 เมกะวัตต์ และซื้อเอสพีพีระบบโคเจนเนอเรชั่นจาก 500 เมกะวัตต์ เป็น 1,400 เมกะวัตต์
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่าจากที่กระทรวงพลังงานได้เปิดขายซองประมูลรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) และได้ปิดการขายซองเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีผู้สนใจซื้อซองประมูลเป็นจำนวน 60 ซองประมูล โดยบรรยากาศวันสุดท้ายของการเปิดขายซองประมูลค่อนข้างที่จะคึกคัก เพราะมีผู้ผลิตไฟฟ้าต่างพากันทยอยมาซื้อซองประมูลในช่วงวันสุดท้ายถึง 20 ราย และหลังจากนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้า IPP จะต้องยื่นข้อเสนอเข้ามาภายในเดือนตุลาคม 2550 ทั้งข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา สถานที่ตั้งและการเลือกใช้เชื้อเพลิง โดยอนุกรรมการจะประเมินและคัดเลือกข้อเสนอให้แล้วเสร็จ โดยจะประกาศผู้ที่ชนะการประมูลแข่งขันได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2550 และจะลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในมิถุนายน 2551 เพื่อให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ทันตามกำหนด และเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ
ทั้งนี้ หลังการรับซื้อไฟฟ้า IPP เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้าระยะยาว หรือ PDP 2007 ที่กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าเอกชนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่ปี 2555 - 2557 จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ โดยจะใช้วิธีประมูลแข่งขัน ซึ่งการประมูลไอพีพีครั้งนี้มีทั้งรายเก่าและรายใหม่เข้ามาซื้อซองประมูล
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าพอใจตัวเลขการประมูลในครั้งนี้ เพราะประมูลซื้อไฟฟ้าเพียง 3 ปี แต่มีผู้ซื้อซองถึง 60 ซอง ทำให้เชื่อมั่นว่า การแข่งขันด้านราคาไฟฟ้าจะเป็นผลดีต่อประชาชน ทำให้ได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ดี และมีแนวโน้มอาจจะขยายการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากประกาศรับซื้อ 3,200 เมกะวัตต์ หากการเจรจาซื้อขายไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว ) เป็นไปอย่างล่าช้า
โดยเฉพาะ 4 โครงการที่วางแผนจะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ) ในปี นี้ คือ น้ำเทิน 1, น้ำงึม 3, เทินหินบุน ส่วนขยาย และน้ำเงี๊ยบ ซึ่งหากล่าช้าก็ต้องเจรจาความชัดเจนว่า โครงการจากลาวจะเลื่อนการรับซื้อไปในปีไหนจึงจะเหมาะสม ขณะเดียวกัน จะขยายการรับซื้อไฟฟจากโครงการเอสพีพีระบบโคเจนเนอเรชั่นด้วย เพราะเดิมวางแผนจะรับซื้อ 500 เมกะวัตต์ แต่ขณะนี้เอกชนเสนอขายมาถึง 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งน่าจะรับซื้อทั้งหมด เพราะระบบนี้เป็นประโยชน์ในแง่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000089224
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/08/07
โพสต์ที่ 41
หุ้นปิโตรยึดแชมป์ก.ค.
กลุ่มปิโตรเคมีครองแชมป์ราคาหุ้นพุ่งสูงสุดในรอบเดือนกรกฎาคม IRP ขึ้นแท่นเบอร์ 1
ราคาพุ่งแรงเฉียด 33% นำโด่งพี่บิ๊ก PTTCH , ATC ต้องหลีกทางให้ ด้านโบรกคาดราคาหุ้นวิ่งรับการเติบโตก้าวกระโดดหลังเดินเครื่องขยายกำลังการผลิตทั้งใน-ต่างประเทศ ยิ่งใกล้ระเบิดผลงานไตรมาส 2 ปรับเป้าหมายใหม่รับทันทีเป็น 13 บาท จากเดิม 9.00 บาท ส่วนผู้บริหาร IRP ปราโมด นารายณ์ ดูเบย์ แย้มเตรียมประกาศผลงานไตรมาส 2/2550 วันที่ 13-14 สิงหาคมนี้ มั่นใจดีกว่าปีก่อนแน่นอน ส่วนเงินปันผลยังไม่ใจอ่อนแบ่งจ่ายกลางปี ให้รอรับงวดเดียวเต็มที่ทั้งปีเหมือนเดิม
ก้าวผ่านเดือนแรกของไตรมาส 3/2550 ตลาดหุ้นไทยยังคงเดินหน้าต่อเนื่องโดยตลอดช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมา 13.82% โดยทำจุดสูงสุดที่ 884.16 จุดเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม ขณะที่ต่ำสุดที่ 792.71 จุด เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2550 ด้วยมูลค่าการซื้อขายต่อวันกว่า 3.21 หมื่นล้านบาท
ผลการสำรวจหมวดอุตสาหกรรมที่ครองแชมป์ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือนคือกลุ่มปิโตรเคมี มีการปรับตัวขึ้นมากว่า 22.85% รองมาคือกลุ่มพลังงาน ปรับตัวขึ้นมา 21.49% ส่วนอันดับ 3 เป็นกลุ่มไอซีที ปรับตัวขึ้นมา 15.01% อันดับ 4 เป็นของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ปรับตัวขึ้นมา 14.49% และอันดับ 5 กลุ่มไฟแนนท์ปรับตัวขึ้นมา 14.49%
สำหรับหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีพบว่าราคาหุ้น IRP มีการปรับตัวขึ้นสูงสุด จากระดับราคาต่ำสุดที่ 7.90 บาท เป็น 10.50 บาท หรือคิดเป็น 32.48% อันดับ 2 หุ้น PTTCH ราคาต่ำสุดที่ 90.50 บาท ขึ้นไปสูงสุดที่ 120 บาท คิดหรือคิดเป็น 30% ส่วนอันดับ 3 หุ้น TCCC ปรับตัวขึ้นมา 25% อันดับ 4 หุ้น ATC ปรับตัวขึ้นมา 15.88% และอันดับ 5 หุ้น VNT ปรับตัวขึ้นมา 7.88%
นายวรุฒม์ ศิวะศริยานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีที่ปรับตัวสูงที่สุดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้นคงเป็นเพราะความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอุปทานจากประเทศจีนหลังจากมีการประท้วงและมีการปิดโรงงานปิโตรเคมีจากปัญหาในเรื่องมลภาวะทำให้กดดันราคาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ประเด็นหลักคงเป็นเรื่องการประท้วงโรงงานปิโตรเคมีที่จีนทำให้เกิดปัญหาเรื่องอุปทานเพราะอุปทานจากจีนมีปริมาณที่มากทำให้เป็นปัจจัยผลักดันให้ราคาผลิตภัณฑ์ขยับสูงขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยทั้งอะโรเมติกส์ โอเลฟินท์รวมถึงตัวเม็ดพลาสติก นายวรุฒม์กล่าว
IRP ไตรมาส2ติดเครื่อง
ส่วนหุ้น IRP ที่มีการปรับตัวขึ้นมาโดดเด่นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านนั้นคงเป็นเพราะแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากการขยายกำลังการผลิต ซึ่งคาดว่าตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2/2550เป็นต้นไป จะมีผลประกอบการเติบโตอย่างโดดเด่นจากการขยายกำลังการผลิตที่อเมริกา และกำลังการผลิตของโรงงานในประเทศไทย และจะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 6.03 แสนตันต่อปีภายในปีนี้
กำไรปีนี้โต 60%-เป้า 13บาท
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยยังคงมองว่าแนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในครึ่งปีหลังส่งผลให้หุ้นในกลุ่มปิโตรเคมียังคงน่าสนใจโดยหุ้นที่แนะนำคือ IRP โดยคาดว่าจะกำไรสุทธิเติบโตประมาณ 60% จากปีก่อนและเมื่อพิจารณาถึงการขยายกำลังการผลิตแบบก้าวกระโดดในอนาคตและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จึงปรับราคาเป้าหมายจากเดิมให้ไว้ที่ 9 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 13 บาท และคาดว่าอัตราส่วนจากเงินปันผลปีนี้จะอยู่ที่ 2.8%
นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มปิโตรที่ยังแนะนำและเตรียมปรับประมาณการ์ใหม่เร็วๆ คือ ATC โดยราคาเป้าหมายอยู่ที่ 88 บาท ,PTTCH ราคาเป้าหมายที่ 125 บาท และTPC ราคาเป้าหมายที่ 21.40 บาท
แจ้งQ2วันที่13-14ส.ค.
นายปราโมด นารายณ์ ดูเบย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) IRP เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2550 ในช่วงวันที่ 13-14 สิงหาคมนี้ซึ่งยังมั่นใจว่าผลการดำเนินงานดังกล่าวจะดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการที่บริษัทมีการขยายกำลังการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ผลงานไตรมาส 2 เราดีแน่นอนคงประกาศได้ประมาณวันที่ 13-14 สิงหาคมนี้ ส่วนเรื่องเงินปันผลนั้นเราไม่มีการจ่ายครึ่งปีอยู่แล้วคงเป็นทั้งปีทีเดียวเลยซึ่งปีก่อนก็จ่ายไป 0.17 บาท และคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังก็ยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องเพราะเราขยายกำลังผลิตค่อนข้างเยอะ นายปราโมดกล่าว
สำหรับราคาหุ้น IRP ที่ปรับตัวขึ้นมาโดดเด่นนั้นไม่สามารถระบุได้แต่หากพิจารณาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีถือว่ามีการเติบโตได้ต่อเนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูงและการที่หลายบริษัทมีการขยายกำลังการผลิต
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น IRP วานนี้ (27 ก.ค.2550) ปิดที่ราคา 10 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือ 3.85% มูลค่าการซื้อขาย 41.60 ล้านบาท ส่วน PTTCH ปิดที่ราคา 113 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 3.42% มูลค่าการซื้อขาย 409.32 ล้านบาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 958&ch=223
กลุ่มปิโตรเคมีครองแชมป์ราคาหุ้นพุ่งสูงสุดในรอบเดือนกรกฎาคม IRP ขึ้นแท่นเบอร์ 1
ราคาพุ่งแรงเฉียด 33% นำโด่งพี่บิ๊ก PTTCH , ATC ต้องหลีกทางให้ ด้านโบรกคาดราคาหุ้นวิ่งรับการเติบโตก้าวกระโดดหลังเดินเครื่องขยายกำลังการผลิตทั้งใน-ต่างประเทศ ยิ่งใกล้ระเบิดผลงานไตรมาส 2 ปรับเป้าหมายใหม่รับทันทีเป็น 13 บาท จากเดิม 9.00 บาท ส่วนผู้บริหาร IRP ปราโมด นารายณ์ ดูเบย์ แย้มเตรียมประกาศผลงานไตรมาส 2/2550 วันที่ 13-14 สิงหาคมนี้ มั่นใจดีกว่าปีก่อนแน่นอน ส่วนเงินปันผลยังไม่ใจอ่อนแบ่งจ่ายกลางปี ให้รอรับงวดเดียวเต็มที่ทั้งปีเหมือนเดิม
ก้าวผ่านเดือนแรกของไตรมาส 3/2550 ตลาดหุ้นไทยยังคงเดินหน้าต่อเนื่องโดยตลอดช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมา 13.82% โดยทำจุดสูงสุดที่ 884.16 จุดเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม ขณะที่ต่ำสุดที่ 792.71 จุด เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2550 ด้วยมูลค่าการซื้อขายต่อวันกว่า 3.21 หมื่นล้านบาท
ผลการสำรวจหมวดอุตสาหกรรมที่ครองแชมป์ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือนคือกลุ่มปิโตรเคมี มีการปรับตัวขึ้นมากว่า 22.85% รองมาคือกลุ่มพลังงาน ปรับตัวขึ้นมา 21.49% ส่วนอันดับ 3 เป็นกลุ่มไอซีที ปรับตัวขึ้นมา 15.01% อันดับ 4 เป็นของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ปรับตัวขึ้นมา 14.49% และอันดับ 5 กลุ่มไฟแนนท์ปรับตัวขึ้นมา 14.49%
สำหรับหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีพบว่าราคาหุ้น IRP มีการปรับตัวขึ้นสูงสุด จากระดับราคาต่ำสุดที่ 7.90 บาท เป็น 10.50 บาท หรือคิดเป็น 32.48% อันดับ 2 หุ้น PTTCH ราคาต่ำสุดที่ 90.50 บาท ขึ้นไปสูงสุดที่ 120 บาท คิดหรือคิดเป็น 30% ส่วนอันดับ 3 หุ้น TCCC ปรับตัวขึ้นมา 25% อันดับ 4 หุ้น ATC ปรับตัวขึ้นมา 15.88% และอันดับ 5 หุ้น VNT ปรับตัวขึ้นมา 7.88%
นายวรุฒม์ ศิวะศริยานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีที่ปรับตัวสูงที่สุดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้นคงเป็นเพราะความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอุปทานจากประเทศจีนหลังจากมีการประท้วงและมีการปิดโรงงานปิโตรเคมีจากปัญหาในเรื่องมลภาวะทำให้กดดันราคาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ประเด็นหลักคงเป็นเรื่องการประท้วงโรงงานปิโตรเคมีที่จีนทำให้เกิดปัญหาเรื่องอุปทานเพราะอุปทานจากจีนมีปริมาณที่มากทำให้เป็นปัจจัยผลักดันให้ราคาผลิตภัณฑ์ขยับสูงขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยทั้งอะโรเมติกส์ โอเลฟินท์รวมถึงตัวเม็ดพลาสติก นายวรุฒม์กล่าว
IRP ไตรมาส2ติดเครื่อง
ส่วนหุ้น IRP ที่มีการปรับตัวขึ้นมาโดดเด่นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านนั้นคงเป็นเพราะแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากการขยายกำลังการผลิต ซึ่งคาดว่าตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2/2550เป็นต้นไป จะมีผลประกอบการเติบโตอย่างโดดเด่นจากการขยายกำลังการผลิตที่อเมริกา และกำลังการผลิตของโรงงานในประเทศไทย และจะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 6.03 แสนตันต่อปีภายในปีนี้
กำไรปีนี้โต 60%-เป้า 13บาท
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยยังคงมองว่าแนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในครึ่งปีหลังส่งผลให้หุ้นในกลุ่มปิโตรเคมียังคงน่าสนใจโดยหุ้นที่แนะนำคือ IRP โดยคาดว่าจะกำไรสุทธิเติบโตประมาณ 60% จากปีก่อนและเมื่อพิจารณาถึงการขยายกำลังการผลิตแบบก้าวกระโดดในอนาคตและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จึงปรับราคาเป้าหมายจากเดิมให้ไว้ที่ 9 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 13 บาท และคาดว่าอัตราส่วนจากเงินปันผลปีนี้จะอยู่ที่ 2.8%
นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มปิโตรที่ยังแนะนำและเตรียมปรับประมาณการ์ใหม่เร็วๆ คือ ATC โดยราคาเป้าหมายอยู่ที่ 88 บาท ,PTTCH ราคาเป้าหมายที่ 125 บาท และTPC ราคาเป้าหมายที่ 21.40 บาท
แจ้งQ2วันที่13-14ส.ค.
นายปราโมด นารายณ์ ดูเบย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) IRP เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2550 ในช่วงวันที่ 13-14 สิงหาคมนี้ซึ่งยังมั่นใจว่าผลการดำเนินงานดังกล่าวจะดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการที่บริษัทมีการขยายกำลังการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ผลงานไตรมาส 2 เราดีแน่นอนคงประกาศได้ประมาณวันที่ 13-14 สิงหาคมนี้ ส่วนเรื่องเงินปันผลนั้นเราไม่มีการจ่ายครึ่งปีอยู่แล้วคงเป็นทั้งปีทีเดียวเลยซึ่งปีก่อนก็จ่ายไป 0.17 บาท และคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังก็ยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องเพราะเราขยายกำลังผลิตค่อนข้างเยอะ นายปราโมดกล่าว
สำหรับราคาหุ้น IRP ที่ปรับตัวขึ้นมาโดดเด่นนั้นไม่สามารถระบุได้แต่หากพิจารณาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีถือว่ามีการเติบโตได้ต่อเนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับสูงและการที่หลายบริษัทมีการขยายกำลังการผลิต
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น IRP วานนี้ (27 ก.ค.2550) ปิดที่ราคา 10 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือ 3.85% มูลค่าการซื้อขาย 41.60 ล้านบาท ส่วน PTTCH ปิดที่ราคา 113 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 3.42% มูลค่าการซื้อขาย 409.32 ล้านบาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 958&ch=223
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/08/07
โพสต์ที่ 42
เจริญโยน400ล. กองทุนพลังงาน
โพสต์ทูเดย์ เสี่ยเจริญ ร่วมลงขันกองทุนเอ็นเนอร์จี้ฟันด์ 300-400 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี (MFC) กล่าวถึงกองทุนเอ็มเอฟซีเอนเนอร์จีฟันด์ จะระดมเงินจากผู้ลงทุนวันที่ 16 ส.ค. และ จดทะเบียนในวันที่ 19 ส.ค.นี้ มูลค่า 4 พันล้านบาท โดยมีบริษัท ทีซีซีแลนด์ ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ร่วมลงทุนด้วย 300-400 ล้านบาท
อนาคตทีซีซีแลนด์คงมีโอกาส เข้าร่วมลงทุนในไพรเวทอิควิตี้ กับ เอ็มเอฟซีมากขึ้น เพราะเขาสนใจเรื่องพลังงานทดแทนมาก นายพิชิต กล่าว
สำหรับกองทุนเอ็มเอฟซีเอนเนอร์จีฟันด์นี้ เสนอขายเฉพาะนักลงทุนสถาบันเท่านั้น โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ปตท. 60% และ 40% เป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์ และบริษัท ไทยสมุทรประกันภัย
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตน่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนรายบุคคลสามารถเข้าลงทุนในกองทุนลักษณะไพรเวทอิควิตี้ฟันด์ได้
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แม้จะเห็นประโยชน์กองทุนประเภทดังกล่าวในการขยายจำนวนสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ในระยะยาวตามแนวทางการพัฒนาตลาดทุน แต่มีความเป็นห่วงการบริหารความเสี่ยงเกรงว่าผู้ลงทุนรายบุคคลไม่เข้าใจ ความเสี่ยงการลงทุนมุ่งสนใจ เฉพาะผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว
ในอนาคตสำนักงาน ก.ล.ต.คงจะผ่อนคลายให้รายย่อยเข้าลงทุนได้ เพราะนอกจากเพิ่มมูลค่าแง่ลงทุนแล้ว ยังสร้างประโยชน์ทางด้านสังคม ทดแทนการนำเข้าพลังงาน ซึ่งจะสร้างความมั่นคงสร้างเศรษฐกิจและพลังงานให้ กับประเทศ ซึ่งเอ็มเอฟซีคงตั้งกองใหม่ขึ้นมาอีกกอง นายพิชิต กล่าว
ทั้งนี้ กองทุนพลังงานของเอ็มเอฟซี มูลค่าโครงการ 4 พันล้านบาท อายุ 10 ปี คาดให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 15% และหลังประสบความสำเร็จก็มีแผนจัดตั้งกองทุนใหม่ลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนในต่างประเทศ (FIF)
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182480
โพสต์ทูเดย์ เสี่ยเจริญ ร่วมลงขันกองทุนเอ็นเนอร์จี้ฟันด์ 300-400 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี (MFC) กล่าวถึงกองทุนเอ็มเอฟซีเอนเนอร์จีฟันด์ จะระดมเงินจากผู้ลงทุนวันที่ 16 ส.ค. และ จดทะเบียนในวันที่ 19 ส.ค.นี้ มูลค่า 4 พันล้านบาท โดยมีบริษัท ทีซีซีแลนด์ ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ร่วมลงทุนด้วย 300-400 ล้านบาท
อนาคตทีซีซีแลนด์คงมีโอกาส เข้าร่วมลงทุนในไพรเวทอิควิตี้ กับ เอ็มเอฟซีมากขึ้น เพราะเขาสนใจเรื่องพลังงานทดแทนมาก นายพิชิต กล่าว
สำหรับกองทุนเอ็มเอฟซีเอนเนอร์จีฟันด์นี้ เสนอขายเฉพาะนักลงทุนสถาบันเท่านั้น โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ปตท. 60% และ 40% เป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์ และบริษัท ไทยสมุทรประกันภัย
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตน่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนรายบุคคลสามารถเข้าลงทุนในกองทุนลักษณะไพรเวทอิควิตี้ฟันด์ได้
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แม้จะเห็นประโยชน์กองทุนประเภทดังกล่าวในการขยายจำนวนสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ในระยะยาวตามแนวทางการพัฒนาตลาดทุน แต่มีความเป็นห่วงการบริหารความเสี่ยงเกรงว่าผู้ลงทุนรายบุคคลไม่เข้าใจ ความเสี่ยงการลงทุนมุ่งสนใจ เฉพาะผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว
ในอนาคตสำนักงาน ก.ล.ต.คงจะผ่อนคลายให้รายย่อยเข้าลงทุนได้ เพราะนอกจากเพิ่มมูลค่าแง่ลงทุนแล้ว ยังสร้างประโยชน์ทางด้านสังคม ทดแทนการนำเข้าพลังงาน ซึ่งจะสร้างความมั่นคงสร้างเศรษฐกิจและพลังงานให้ กับประเทศ ซึ่งเอ็มเอฟซีคงตั้งกองใหม่ขึ้นมาอีกกอง นายพิชิต กล่าว
ทั้งนี้ กองทุนพลังงานของเอ็มเอฟซี มูลค่าโครงการ 4 พันล้านบาท อายุ 10 ปี คาดให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 15% และหลังประสบความสำเร็จก็มีแผนจัดตั้งกองทุนใหม่ลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนในต่างประเทศ (FIF)
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182480
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 43
"เชลล์"เข็นดีลเลอร์ลุยศึกปั๊มน้ำมัน ยอมแบกสต๊อก-เพิ่มค่าการตลาด
เชลล์ใช้กลยุทธใหม่สู้ศึกค้าปลีกน้ำมันในประเทศ เตรียมโอนปั๊มที่บริษัทแม่บริหารเองทั้ง 100 แห่ง ให้ดีลเลอร์ในพื้นที่เข้ามาบริหารจัดการแทนในฐานะผู้จัดการ แถมยอมแบกรับต้นทุนการ บริหารสต๊อกน้ำมัน ตัดปัญหาดีลเลอร์วิ่งวุ่นหาเงินมาจ่ายค่าน้ำมันให้บริษัทแม่ โดยต่อไปนี้ดีลเลอร์ที่เข้ามารับหน้าที่บริหารจะมีภารกิจเดียวคือจะเพิ่มยอดขายน้ำมันได้อย่างไร ผสมกับการปรับโฉมสถานีบริการเชลล์ใหม่ เชื่อว่าด้วยจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่มีอยู่ทั้ง 565 แห่ง จะช่วยให้เชลล์ยืนหยัดอยู่ในธุรกิจนี้ได้ต่อไป
การครอบครองสถานีบริการน้ำมัน JET/Jiffy ทั้ง 146 แห่งในทำเลที่ดีเยี่ยมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ส่งผลกระเทือนไปถึงบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายอื่นในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งจากจำนวนสถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ที่เพิ่มขึ้นไปถึง 1,366 แห่ง การเป็นผู้นำตลาดในการให้บริการค้าปลีกน้ำมัน ส่งผลให้บริษัทเชลล์ในประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ภายใต้โจทย์ที่ว่า ด้วยจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่เชลล์มีอยู่ 565 แห่ง จะเพิ่มยอดจำหน่ายน้ำมันซึ่งถือเป็นรายได้หลักของเชลล์ได้อย่างใด
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานกรรมการ บริษัทเชลล์ในประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทเชลล์ในประเทศไทยได้รับนโยบายจากบริษัทแม่ให้ปรับการบริหารสถานีบริการน้ำมันเชลล์ในประเทศใหม่ทั้งหมด จากจำนวนสถานีบริการน้ำมันเชลล์ที่มีอยู่ทั้งหมด 565 แห่งในปัจจุบัน ในจำนวนนี้ 100 แห่ง เป็นสถานีบริการน้ำมันที่ บริษัทเชลล์เป็นเจ้าของ-บริหารเอง ส่วนที่เหลืออีก 465 แห่ง มีทั้งบริหารงานผ่านดีลเลอร์ รวมไปถึงดีลเลอร์เป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน
นโยบายใหม่ที่เชลล์จะนำมาบริหารสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทยทั้งหมดก็คือบริษัทจะให้ดีลเลอร์เข้ามาบริหารสถานีบริการน้ำมันทั้งหมด ด้วยการเริ่มจากสถานีบริการน้ำมันที่บริษัทเชลล์เป็นเจ้าของทั้ง 100 แห่ง ก็จะคัดเลือกดีลเลอร์ในพื้นที่ที่มีความสามารถเข้ามาบริหารสถานีบริการน้ำมันแทนบริษัทแม่ โดยดีลเลอร์ 1 คน "อาจจะ" บริหารสถานีบริการน้ำมันเชลล์ในพื้นที่ใกล้เคียง 3-4 แห่งก็ได้
แม้วิธีการดังกล่าวดูเหมือนว่า "ดีลเลอร์" จะกลายเป็น "ผู้จัดการ" สถานีบริการน้ำมันให้บริษัทเชลล์ก็ตาม แต่ข้อดีที่ดีลเลอร์จะได้รับก็คือบริษัทเชลล์ในประเทศไทยรับที่จะบริหารจัดการสต๊อกน้ำมันทั้งหมดแทนดีลเลอร์นั้น หมายความว่าต่อจากนี้ไปหากดีลเลอร์รายใดยอมที่จะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันเชลล์ ก็จะตัดปัญหาเรื่องการหาเงินหมุนเวียนมาซื้อน้ำมันจากบริษัทแม่ ไม่ต้องมาบริหารน้ำมันที่จะจำหน่ายลูกค้า รวมทั้งดอกเบี้ยจากการใช้สินเชื่อแบงก์มา บริหารปั๊มและจัดหาน้ำมันด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
เชลล์ใช้กลยุทธใหม่สู้ศึกค้าปลีกน้ำมันในประเทศ เตรียมโอนปั๊มที่บริษัทแม่บริหารเองทั้ง 100 แห่ง ให้ดีลเลอร์ในพื้นที่เข้ามาบริหารจัดการแทนในฐานะผู้จัดการ แถมยอมแบกรับต้นทุนการ บริหารสต๊อกน้ำมัน ตัดปัญหาดีลเลอร์วิ่งวุ่นหาเงินมาจ่ายค่าน้ำมันให้บริษัทแม่ โดยต่อไปนี้ดีลเลอร์ที่เข้ามารับหน้าที่บริหารจะมีภารกิจเดียวคือจะเพิ่มยอดขายน้ำมันได้อย่างไร ผสมกับการปรับโฉมสถานีบริการเชลล์ใหม่ เชื่อว่าด้วยจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่มีอยู่ทั้ง 565 แห่ง จะช่วยให้เชลล์ยืนหยัดอยู่ในธุรกิจนี้ได้ต่อไป
การครอบครองสถานีบริการน้ำมัน JET/Jiffy ทั้ง 146 แห่งในทำเลที่ดีเยี่ยมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ส่งผลกระเทือนไปถึงบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายอื่นในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งจากจำนวนสถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ที่เพิ่มขึ้นไปถึง 1,366 แห่ง การเป็นผู้นำตลาดในการให้บริการค้าปลีกน้ำมัน ส่งผลให้บริษัทเชลล์ในประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ภายใต้โจทย์ที่ว่า ด้วยจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่เชลล์มีอยู่ 565 แห่ง จะเพิ่มยอดจำหน่ายน้ำมันซึ่งถือเป็นรายได้หลักของเชลล์ได้อย่างใด
นายธีรพจน์ วัชราภัย ประธานกรรมการ บริษัทเชลล์ในประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทเชลล์ในประเทศไทยได้รับนโยบายจากบริษัทแม่ให้ปรับการบริหารสถานีบริการน้ำมันเชลล์ในประเทศใหม่ทั้งหมด จากจำนวนสถานีบริการน้ำมันเชลล์ที่มีอยู่ทั้งหมด 565 แห่งในปัจจุบัน ในจำนวนนี้ 100 แห่ง เป็นสถานีบริการน้ำมันที่ บริษัทเชลล์เป็นเจ้าของ-บริหารเอง ส่วนที่เหลืออีก 465 แห่ง มีทั้งบริหารงานผ่านดีลเลอร์ รวมไปถึงดีลเลอร์เป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน
นโยบายใหม่ที่เชลล์จะนำมาบริหารสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทยทั้งหมดก็คือบริษัทจะให้ดีลเลอร์เข้ามาบริหารสถานีบริการน้ำมันทั้งหมด ด้วยการเริ่มจากสถานีบริการน้ำมันที่บริษัทเชลล์เป็นเจ้าของทั้ง 100 แห่ง ก็จะคัดเลือกดีลเลอร์ในพื้นที่ที่มีความสามารถเข้ามาบริหารสถานีบริการน้ำมันแทนบริษัทแม่ โดยดีลเลอร์ 1 คน "อาจจะ" บริหารสถานีบริการน้ำมันเชลล์ในพื้นที่ใกล้เคียง 3-4 แห่งก็ได้
แม้วิธีการดังกล่าวดูเหมือนว่า "ดีลเลอร์" จะกลายเป็น "ผู้จัดการ" สถานีบริการน้ำมันให้บริษัทเชลล์ก็ตาม แต่ข้อดีที่ดีลเลอร์จะได้รับก็คือบริษัทเชลล์ในประเทศไทยรับที่จะบริหารจัดการสต๊อกน้ำมันทั้งหมดแทนดีลเลอร์นั้น หมายความว่าต่อจากนี้ไปหากดีลเลอร์รายใดยอมที่จะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันเชลล์ ก็จะตัดปัญหาเรื่องการหาเงินหมุนเวียนมาซื้อน้ำมันจากบริษัทแม่ ไม่ต้องมาบริหารน้ำมันที่จะจำหน่ายลูกค้า รวมทั้งดอกเบี้ยจากการใช้สินเชื่อแบงก์มา บริหารปั๊มและจัดหาน้ำมันด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 44
คาดได้ผู้ชนะประมูล IPP ภายใน พ.ย.
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า หลังการปิดขายซองประมูล IPP เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้สนใจซื้อซองประมูลเป็นจำนวน 60 ราย หลังจากนั้นผู้สนใจจะต้องยื่นข้อเสนอภายในเดือน ต.ค. โดยต้องเสนอทั้งเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา สถานที่ตั้งและการเลือกใช้เชื้อเพลิง คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในเดือนพฤศจิกายน 2550 และลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในมิถุนายน 2551
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เชื่อว่า การที่มีผู้สนใจเข้ามาซื้อซองประมูล IPP จำนวนมากจะส่งผลดีต่อประชาชน ทำให้ได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ดี ขณะที่มีแนวโน้มที่จะขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP มากกว่าที่ประกาศไว้ด้วย หากโครงการเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับลาวมีความล่าช้ากว่าแผน รวมถึงอาจขยายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จากปัจจุบันที่มีแผนรับซื้อราว 500 เมกะวัตต์
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า หลังการปิดขายซองประมูล IPP เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้สนใจซื้อซองประมูลเป็นจำนวน 60 ราย หลังจากนั้นผู้สนใจจะต้องยื่นข้อเสนอภายในเดือน ต.ค. โดยต้องเสนอทั้งเทคนิค และข้อเสนอด้านราคา สถานที่ตั้งและการเลือกใช้เชื้อเพลิง คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในเดือนพฤศจิกายน 2550 และลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในมิถุนายน 2551
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เชื่อว่า การที่มีผู้สนใจเข้ามาซื้อซองประมูล IPP จำนวนมากจะส่งผลดีต่อประชาชน ทำให้ได้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ดี ขณะที่มีแนวโน้มที่จะขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP มากกว่าที่ประกาศไว้ด้วย หากโครงการเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับลาวมีความล่าช้ากว่าแผน รวมถึงอาจขยายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จากปัจจุบันที่มีแผนรับซื้อราว 500 เมกะวัตต์
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 45
"ดาวเคมีคอล"ตั้งรง.HP-POในไทย
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ขณะนี้บริษัทดาวเคมีคอลได้มีโครงการร่วมลงทุนใหญ่ 2 โครงการ คือ 1)โครงการร่วมทุนกับบริษัท โซลเว่ย์ เอส.เอ. ได้ร่วมทุนก่อสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (HP) ในไทย ถือเป็นโรงงานใหญ่สุดในโลกกำลังการผลิต 330 กิโลตัน คาดว่าจะดำเนินการผลิตได้ปี 2553 ซึ่งผลผลิตของโรงงานใหม่นี้จะเป็นวัตถุดิบให้กับการผลิต โพรพิลีนออกไซด์ (PO) ที่ดำเนินการผลิตอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ บริษัทโซลเว่ย์ฯ ถือเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์รายใหญ่ในทวีปเอเชีย มีสาขาบริษัทอยู่ในไทยชื่อว่า เพอรอกซิไทย เป็นผู้นำในทวีปเอเชียในการส่งมอบผลิต ภัณฑ์เพอรอกซิเจน และลูกค้าส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศ ปริมาณผลผลิต HP ของโรงงานใหม่นี้จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนธุรกิจ HP ของโซลเว่ย์ฯ ในการตอบสนองความต้องการในทวีปเอเชียมากขึ้นด้วย
2)การร่วมทุนกับบริษัทบีเอเอสเอฟ ซึ่งอยู่ในช่วงการเจรจาถึงขยายการสร้างโรงงานผลิต โพรพิลีนออกไซด์ (PO) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กำลังการผลิตปีละ 390 กิโลตัน โดยโรงงานแห่งนี้จะใช้เทคโนโลยีการผลิตโพรพิลีนออกไซด์จากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (HPPO) ซึ่งดาวได้พัฒนารวมกับบีเอเอสเอฟมาก่อนหน้านี้ ถือเป็นโรงงานแห่งที่สองที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ แห่งแรกจะอยู่ที่เมืองแอนต์เวิร์บ ประเทศเบลเยียม กำลังการผลิตปีละ 300 กิโลตัน โดยใช้วัตถุดิบ HP จากโรงงานของโซลเว่ย์ฯ โรงงานแห่งแรกนี้อยู่ในระหว่างก่อสร้าง
คาดว่าจะเสร็จช่วงต้นปี 2551 โดยวัตถุดิบ โพรพิลีนสำหรับโรงงาน HPPO ในไทยจะมาจากเอทิลีนแครกเกอร์ ที่ดาวได้ประกาศร่วมลงทุนสร้างกับเครือซิเมนต์ไทยในเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมดำเนินการในปี 2553
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ขณะนี้บริษัทดาวเคมีคอลได้มีโครงการร่วมลงทุนใหญ่ 2 โครงการ คือ 1)โครงการร่วมทุนกับบริษัท โซลเว่ย์ เอส.เอ. ได้ร่วมทุนก่อสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (HP) ในไทย ถือเป็นโรงงานใหญ่สุดในโลกกำลังการผลิต 330 กิโลตัน คาดว่าจะดำเนินการผลิตได้ปี 2553 ซึ่งผลผลิตของโรงงานใหม่นี้จะเป็นวัตถุดิบให้กับการผลิต โพรพิลีนออกไซด์ (PO) ที่ดำเนินการผลิตอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ บริษัทโซลเว่ย์ฯ ถือเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์รายใหญ่ในทวีปเอเชีย มีสาขาบริษัทอยู่ในไทยชื่อว่า เพอรอกซิไทย เป็นผู้นำในทวีปเอเชียในการส่งมอบผลิต ภัณฑ์เพอรอกซิเจน และลูกค้าส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศ ปริมาณผลผลิต HP ของโรงงานใหม่นี้จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนธุรกิจ HP ของโซลเว่ย์ฯ ในการตอบสนองความต้องการในทวีปเอเชียมากขึ้นด้วย
2)การร่วมทุนกับบริษัทบีเอเอสเอฟ ซึ่งอยู่ในช่วงการเจรจาถึงขยายการสร้างโรงงานผลิต โพรพิลีนออกไซด์ (PO) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กำลังการผลิตปีละ 390 กิโลตัน โดยโรงงานแห่งนี้จะใช้เทคโนโลยีการผลิตโพรพิลีนออกไซด์จากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (HPPO) ซึ่งดาวได้พัฒนารวมกับบีเอเอสเอฟมาก่อนหน้านี้ ถือเป็นโรงงานแห่งที่สองที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ แห่งแรกจะอยู่ที่เมืองแอนต์เวิร์บ ประเทศเบลเยียม กำลังการผลิตปีละ 300 กิโลตัน โดยใช้วัตถุดิบ HP จากโรงงานของโซลเว่ย์ฯ โรงงานแห่งแรกนี้อยู่ในระหว่างก่อสร้าง
คาดว่าจะเสร็จช่วงต้นปี 2551 โดยวัตถุดิบ โพรพิลีนสำหรับโรงงาน HPPO ในไทยจะมาจากเอทิลีนแครกเกอร์ ที่ดาวได้ประกาศร่วมลงทุนสร้างกับเครือซิเมนต์ไทยในเดือนตุลาคม 2549 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมดำเนินการในปี 2553
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/08/07
โพสต์ที่ 46
กฟน.ถก"พลังงาน" ก่อนย้ายสายไฟฟ้า ลงใต้ดินทั่วกรุง
นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)กล่าวว่า กฟน.เตรียมหารือถึงแหล่งเงินที่จะนำมาเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ กับรมว.พลังงานภายใน 1 - 2 สัปดาห์นี้ โดยจะเน้นถนนสายหลัก ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อลดความสูญเสียจากการเสียหายของเสาไฟฟ้าที่ส่งผลต่อไฟฟ้าดับ ทั้งยังทำให้ภูมิทัศน์สวยงามขึ้น โดยก่อนหน้านี้ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับกรุงเทพมหานครแล้ว สำหรับแผนดังกล่าวเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่ง กฟน.มีแผนที่จะดำเนินการนำสายไฟฟ้าลงดินใน กทม.ภายใน 15 ปีนับจากปี 2551 โดยจะไม่สร้างภาระให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า
นอกจากนี้ การตัดถนนสายใหม่ของกรุงเทพฯ กฟน.ได้วางระบบเป็นการร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินมาตลอดบนถนนสายหลักที่ดำเนินการขณะนี้ ได้แก่ ถนนพหลโยธิน พญาไท สุขุมวิท ซึ่งคืบหน้ามากกว่าร้อยละ 50
สำหรับแหล่งเงินที่จะเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณามี 2 ทางเลือกคือ นำเงินชดเชยที่ กฟน.จ่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปีละ 10,000 ล้านบาทมาใช้ หรือเพิ่มค่าไฟ 6 สต.ต่อหน่วย ซึ่งคาดว่าแนวทางหลังเป็นไปได้น้อยมาก เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน
นายพรเทพ กล่าวถึงผลดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกปี 2550 ว่าในพื้นที่ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ มียอดการใช้ไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ กฟน.มีรายได้รวม 67,700 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,400 ล้านบาท มีผู้ใช้ไฟทั้งสิ้น 2.6 ล้านราย มีความต้องใช้ไฟฟ้าที่ 7,720 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีที่แล้ว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69968
นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)กล่าวว่า กฟน.เตรียมหารือถึงแหล่งเงินที่จะนำมาเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ กับรมว.พลังงานภายใน 1 - 2 สัปดาห์นี้ โดยจะเน้นถนนสายหลัก ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อลดความสูญเสียจากการเสียหายของเสาไฟฟ้าที่ส่งผลต่อไฟฟ้าดับ ทั้งยังทำให้ภูมิทัศน์สวยงามขึ้น โดยก่อนหน้านี้ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับกรุงเทพมหานครแล้ว สำหรับแผนดังกล่าวเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่ง กฟน.มีแผนที่จะดำเนินการนำสายไฟฟ้าลงดินใน กทม.ภายใน 15 ปีนับจากปี 2551 โดยจะไม่สร้างภาระให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า
นอกจากนี้ การตัดถนนสายใหม่ของกรุงเทพฯ กฟน.ได้วางระบบเป็นการร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินมาตลอดบนถนนสายหลักที่ดำเนินการขณะนี้ ได้แก่ ถนนพหลโยธิน พญาไท สุขุมวิท ซึ่งคืบหน้ามากกว่าร้อยละ 50
สำหรับแหล่งเงินที่จะเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณามี 2 ทางเลือกคือ นำเงินชดเชยที่ กฟน.จ่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปีละ 10,000 ล้านบาทมาใช้ หรือเพิ่มค่าไฟ 6 สต.ต่อหน่วย ซึ่งคาดว่าแนวทางหลังเป็นไปได้น้อยมาก เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน
นายพรเทพ กล่าวถึงผลดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกปี 2550 ว่าในพื้นที่ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ มียอดการใช้ไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ กฟน.มีรายได้รวม 67,700 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,400 ล้านบาท มีผู้ใช้ไฟทั้งสิ้น 2.6 ล้านราย มีความต้องใช้ไฟฟ้าที่ 7,720 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีที่แล้ว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=69968
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/08/07
โพสต์ที่ 47
พลังงานจับมือ11แบงก์ ปล่อยกู้อนุรักษ์พลังงาน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า พลังงาน ได้จับมือกับ 11 สถาบันการเงิน ในโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยล่าสุดเตรียมปล่อยงบอีก 2,000 ล้านบาท ต่อยอดโครงการฯ อนุรักษ์พลังงาน ระยะ 3
โดยปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการผ่านสถาบันการเงิน 11 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ,ไทยธนาคาร,ธนาคารกรุงเทพ ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ไทยพาณิชย์,นครหลวงไทย,ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก ,ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารพัฒนารัฐวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และธนาคารยูโอบี ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี โครงการละไม่เกิน 50 ล้านบาท
สำหรับโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน นับเป็นทางออกที่สำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือภาคเอกชน ผู้ประกอบการ/อาคาร/โรงงาน ด้วยการให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการ ฯ ที่ได้ดำเนินการมาใน 2 ระยะ (ปี2546 - 2549) โดยร่วมกับสถาบันการเงินทั้งสิ้น 11 แห่ง พบว่า ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการทำให้เกิดการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน 7,220 ล้านบาท เกิดผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยรวม 2,951 ล้านบาท / ปี รวมทั้งยังช่วยลดมลพิษที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 39,000 ตัน ก๊าซไนโตรเจน 26,000 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 45 ล้านตัน นอกจากนี้ยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเตา 179 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นเงิน 2,506 ล้านบาทต่อปี และชะลอการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าจากภาครัฐ ขนาด 70 MW คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านบาท
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70072
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า พลังงาน ได้จับมือกับ 11 สถาบันการเงิน ในโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยล่าสุดเตรียมปล่อยงบอีก 2,000 ล้านบาท ต่อยอดโครงการฯ อนุรักษ์พลังงาน ระยะ 3
โดยปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการผ่านสถาบันการเงิน 11 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ,ไทยธนาคาร,ธนาคารกรุงเทพ ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ไทยพาณิชย์,นครหลวงไทย,ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก ,ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารพัฒนารัฐวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และธนาคารยูโอบี ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี โครงการละไม่เกิน 50 ล้านบาท
สำหรับโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน นับเป็นทางออกที่สำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือภาคเอกชน ผู้ประกอบการ/อาคาร/โรงงาน ด้วยการให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งผลสำเร็จจากโครงการ ฯ ที่ได้ดำเนินการมาใน 2 ระยะ (ปี2546 - 2549) โดยร่วมกับสถาบันการเงินทั้งสิ้น 11 แห่ง พบว่า ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการทำให้เกิดการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน 7,220 ล้านบาท เกิดผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยรวม 2,951 ล้านบาท / ปี รวมทั้งยังช่วยลดมลพิษที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 39,000 ตัน ก๊าซไนโตรเจน 26,000 ตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 45 ล้านตัน นอกจากนี้ยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเตา 179 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นเงิน 2,506 ล้านบาทต่อปี และชะลอการลงทุนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าจากภาครัฐ ขนาด 70 MW คิดเป็นเงิน 2,500 ล้านบาท
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70072
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/08/07
โพสต์ที่ 48
เชลล์...ผู้ไม่แพ้ "บาดเจ็บ แต่ไม่ผิดหวัง" ทุ่มพันล้านพลิกโฉมปั๊มสู้...ปตท.
1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:46:00
ไซมอน เฮิร์ส ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดค้าปลีก เชลล์ในประเทศไทย จำกัด
บาดเล็กๆ เจ็บลึกๆ จากปากของ "ไซม่อน เฮิร์ส ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาดค้าปลีก เชลล์ "คนใหม่" กับคำพูดที่ว่า บาดเจ็บ แต่ไม่ผิดหวัง จากการพลาดเป้าคว้า "ปั๊มเจ็ท" 147 แห่ง มาไว้ในอ้อมกอด ตัดโอกาสขยายธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทยอย่างน่าเสียดาย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
มาวันนี้หลังจากหลบไปเลียแผลใจจวนจะหายดี เชลล์ก็กลับมาอีกครั้งในมาดใหม่ กับแผนลงทุนครั้งใหญ่ในรอบ 10-15 ปี ด้วยการทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อ "รีแบรนด์" ปั๊มเชลล์ โดยมีเป้าหมายดันมาร์เก็ตแชร์เพิ่มเป็น 18%
"บาดเจ็บ แต่ไม่ผิดหวัง" เป็นคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ ไซม่อน เฮิร์ส ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์ในประเทศไทย จำกัด "คนใหม่" ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งนี้ หลังเชลล์พลาดท่าเสียที บมจ.ปตท. ในการประมูลสถานีบริการน้ำมัน "เจ็ท" ของบริษัทโคโนโค่ ฟิลลิปส์ จำกัด ไปอย่างน่าเสียดาย เท่ากับเป็นการตัดโอกาสในการขยายธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของเชลล์ในไทย
เพราะนอกจากปั๊มเจ็ทแล้ว สิ่งที่เชลล์ และ ปตท.อยากได้ (มากกว่า) คือ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ "จิฟฟี่" ในภาวะที่มาร์จินน้ำมันต่ำมาก ทุกค่ายน้ำมันจึงหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (นอนออยล์) ขณะที่จิฟฟี่ เป็นแบรนด์ที่ขายได้
ดิวในครั้งนั้น ตามมาด้วยเสียงวิพากษ์ ว่า ปตท.กำลังจะผูกขาดธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทย จากส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นเกือบจะ 50% โดยเสียงหนึ่งที่เล็ดลอดออกมา คือ เสียงของ "ธีรพจน์ วัชราภัย" ประธานบริษัทเชลล์
อาการ "เคือง" ของผู้บริหารเชลล์ที่เกิดขึ้น กำลังจะแปลงมาเป็นการปรับ "กลยุทธ์การลงทุน" ครั้งใหญ่ อย่าง... เชลล์ ผู้ไม่แพ้
ไซม่อนยอมรับว่า ตั้งแต่ที่เชลล์พ่ายการประมูลสถานีบริการน้ำมันเจ็ท ทำให้เชลล์จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปรับบทบาทและภาพลักษณ์ของตัวเองใหม่ โดยตั้งธงไว้ว่าจะต้องทำยอดขายเพื่อช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันจากเจ้าตลาด (ปตท.) ให้ได้ แม้จะรู้ตัวดีว่าไม่สามารถเบียดเป็นเบอร์ 1 ในตลาดได้ ก็ตาม
เราพ่ายการประมูลปั๊มเจ็ทในครั้งนั้น ยอมรับว่าบาดเจ็บแต่ไม่ผิดหวัง เพราะเชลล์ทำดีที่สุดแล้ว เราต่อสู้อย่างเต็มที่ แม้ว่าผลจะออกมายังไงก็ตาม ในครั้งนั้น ปตท.ชนะประมูลไปด้วยราคาที่สูงราว 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9,300 กว่าล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่เชลล์ เสนอราคาไปประมาณ 5,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นราคาที่สูงพอสมควรแล้ว เราเองก็ภูมิใจในการต่อสู้ครั้งนั้น" เขากล่าวปนเสียงหัวเราะ
อย่างไรก็ตาม จะว่าไปแล้ว อาการพลาดท่าเสียทีของเชลล์ต่อ ปตท. ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น เพราะในช่วงวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" เชลล์ได้ตัดใจขายหุ้นทั้งหมด 64% ในโรงกลั่นน้ำมันระยอง (อาร์อาร์ซี) ให้กับ ปตท. เพื่อล้างหนี้สูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก้ปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จากค่าการกลั่นที่ปรับลดลงจากซัพพลายน้ำมันที่ล้นตลาด ทว่าไม่นานหลังจากการขายหุ้น ปตท.ได้นำโรงกลั่นระยองเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ พร้อมกับธุรกิจโรงกลั่นก็กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง จากค่าการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้น
ผลจากการตัดสินใจขายโรงกลั่นระยองในครั้งนั้น หลายคนมองเป็นการเพลี่ยงพล้ำของเชลล์....แต่ธีรพจน์ย้ำว่า "ตัดสินใจถูกแล้วในขณะนั้น และมองค่าการกลั่นภูมิภาคนี้ในระยะยาว ที่อย่างไรซะค่าเฉลี่ยก็ยังอยู่ในระดับต่ำ"
ไซม่อนบอกว่า เรื่องเก่าที่ผ่านไปแล้วก็ให้ผ่านไป แต่หลังจากนี้ไปเชลล์จะเริ่มต้นทำในสิ่งใหม่ๆ ด้วยการเสริมเขี้ยวเล็บ ทุ่มงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ในระยะ 2-3 ปีจากนี้ เพื่อ "พลิกโฉม-ปรับภาพลักษณ์" ของเชลล์ซะใหม่
...ถือว่าเป็นการลงทุน "ครั้งใหญ่" ในรอบ 10-15 ปีของเชลล์ในไทย ไซม่อนเผย
ประกอบด้วยการจัดทำโครงการปรับปรุงภาพลักษณ์สถานีบริการในรูปโฉมใหม่ (Retail Visual Identify-RVI) โดยในระยะเริ่มต้น เชลล์จะปรับปรุงสถานีบริการใหม่จำนวน 50 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เฉลี่ยต้องใช้เงินลงทุนแห่งละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมดราว 100 ล้านบาท ก่อนจะปรับปรุงสถานีบริการให้ครอบคลุมทั้งหมด 570 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีจากนี้
พร้อมๆ กับนำระบบใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า "Mistery Motorist Program -MMP หรือเรียกในชื่อภาษาไทยว่า โครงการลูกค้านิรนาม เข้ามาใช้ในการบริหารงานในไทยเป็นแห่งแรกๆ ของโลก หลังจากที่บริษัทแม่คิดค้นโปรแกรมนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าในด้านต่างๆ ทั้งการให้บริการ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งมาตรฐานการบริการของพนักงานเชลล์ในแต่ละสถานีบริการ ก่อนจะนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงบริการและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
เขาเล่าว่า การวัดความสำเร็จจากโครงการ MMP นี้ จะดูที่คะแนน ถ้าคะแนนที่ได้รับจากลูกค้าเพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ยอดขายโตประมาณ 0.8% จากนั้นจะนำคะแนนที่ได้รับมารวมกัน เพื่อวัดเป็นความสำเร็จของเชลล์ในไทยกับเชลล์ทั่วโลก
...จุดนี้เองจะช่วยให้ยอดขายของเชลล์เพิ่มขึ้น หากลูกค้าเกิดความประทับในการให้บริการของเชลล์
เชลล์ในประเทศไทยให้ความสำคัญกับ 2 โครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะตั้งใจเต็มที่ว่าจะต้องทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนลิตรต่อวัน จากปัจจุบันที่ 4 แสนลิตรต่อวัน หลังจากที่เราพลาดโอกาสในการขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้น จึงต้องนำสถานีที่มีอยู่มาปรับปรุงใหม่ และด้วยวิธีการดำเนินงานใหม่ ที่เริ่มใช้ในไทย มาเลเซีย และฮ่องกง เป็นแห่งแรกๆ ในโลก โดยเฉพาะในไทยนี้ เราตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ให้ได้เป็น 18% ในอีก 2 ปีข้างหน้า จาก 16.2% ในปัจจุบัน เขา กล่าว
เขายังบอกอีกว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน แต่เชลล์มองว่าในระยะยาวเศรษฐกิจของไทยจะกลับมาดีขึ้น อีกทั้งนโยบายการบริหารงานของเชลล์จะมองไปที่ระยะยาวมากกว่าระยะสั้นๆ เชลล์เคยมีประสบการณ์มาแล้วจากครั้งก่อนๆ จึงไม่กลัวที่จะลงทุน และจะชิงลงทุนก่อนรายอื่นๆ เพื่อรอโอกาสและจังหวะที่เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ถ้าเราชิงลงมือก่อนคนอื่นๆ ในตอนนี้ ก็อาจจะได้เปรียบทางด้านธุรกิจ หากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว หากเราไปลงทุนในช่วงนั้นก็อาจจะไม่ทัน ดังนั้นชิงลงมือทำก่อนจะได้เปรียบกว่า เขาเล่า
นอกจากนี้ เชลล์ยังถือโอกาสในช่วงนี้เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการและความพร้อม เชื่อว่าจะสร้างความฮือฮาได้ไม่น้อยให้กับตลาดน้ำมันในช่วงนี้ แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
"เป้าหมายของเชลล์ต้องการเพิ่มยอดขาย เพราะมองว่าไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน เราอยากอยู่ต่อและขยายกิจการในไทยอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการที่เชลล์ให้ความสำคัญและทุ่มเทในการประมูลปั๊มเจ็ทของโคโนโค่ เพื่อเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้มากกว่าที่เรามีอยู่ และไม่กลัวว่าการลงทุนในครั้งนี้ จะสร้างความผิดหวังให้กับเชลล์อีก เพราะยังมีบริษัทแม่ในอังกฤษให้ความช่วยเหลืออยู่ในทุกๆ ด้าน
ไซม่อนทิ้งท้ายว่า ในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมา เชลล์ประสบกับภาวะขาดทุน เนื่องจากค่าการตลาดที่ถูกจำกัดและอยู่ในระดับที่ต่ำมากเฉลี่ย 0.60-0.70 บาทต่อลิตรเท่านั้น แต่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ค่าการตลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.10 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีกว่า ดังนั้นผลการดำเนินงานของเชลล์ในปี 2550 น่าจะออกมามีกำไร แต่อย่างไรก็ตาม หากจะให้ดีจริงๆ ค่าการตลาดที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ประมาณ 1.80 บาทต่อลิตร
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87111
1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:46:00
ไซมอน เฮิร์ส ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดค้าปลีก เชลล์ในประเทศไทย จำกัด
บาดเล็กๆ เจ็บลึกๆ จากปากของ "ไซม่อน เฮิร์ส ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาดค้าปลีก เชลล์ "คนใหม่" กับคำพูดที่ว่า บาดเจ็บ แต่ไม่ผิดหวัง จากการพลาดเป้าคว้า "ปั๊มเจ็ท" 147 แห่ง มาไว้ในอ้อมกอด ตัดโอกาสขยายธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทยอย่างน่าเสียดาย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
มาวันนี้หลังจากหลบไปเลียแผลใจจวนจะหายดี เชลล์ก็กลับมาอีกครั้งในมาดใหม่ กับแผนลงทุนครั้งใหญ่ในรอบ 10-15 ปี ด้วยการทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อ "รีแบรนด์" ปั๊มเชลล์ โดยมีเป้าหมายดันมาร์เก็ตแชร์เพิ่มเป็น 18%
"บาดเจ็บ แต่ไม่ผิดหวัง" เป็นคำพูดที่หลุดออกมาจากปากของ ไซม่อน เฮิร์ส ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์ในประเทศไทย จำกัด "คนใหม่" ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งนี้ หลังเชลล์พลาดท่าเสียที บมจ.ปตท. ในการประมูลสถานีบริการน้ำมัน "เจ็ท" ของบริษัทโคโนโค่ ฟิลลิปส์ จำกัด ไปอย่างน่าเสียดาย เท่ากับเป็นการตัดโอกาสในการขยายธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของเชลล์ในไทย
เพราะนอกจากปั๊มเจ็ทแล้ว สิ่งที่เชลล์ และ ปตท.อยากได้ (มากกว่า) คือ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ "จิฟฟี่" ในภาวะที่มาร์จินน้ำมันต่ำมาก ทุกค่ายน้ำมันจึงหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (นอนออยล์) ขณะที่จิฟฟี่ เป็นแบรนด์ที่ขายได้
ดิวในครั้งนั้น ตามมาด้วยเสียงวิพากษ์ ว่า ปตท.กำลังจะผูกขาดธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในไทย จากส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นเกือบจะ 50% โดยเสียงหนึ่งที่เล็ดลอดออกมา คือ เสียงของ "ธีรพจน์ วัชราภัย" ประธานบริษัทเชลล์
อาการ "เคือง" ของผู้บริหารเชลล์ที่เกิดขึ้น กำลังจะแปลงมาเป็นการปรับ "กลยุทธ์การลงทุน" ครั้งใหญ่ อย่าง... เชลล์ ผู้ไม่แพ้
ไซม่อนยอมรับว่า ตั้งแต่ที่เชลล์พ่ายการประมูลสถานีบริการน้ำมันเจ็ท ทำให้เชลล์จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปรับบทบาทและภาพลักษณ์ของตัวเองใหม่ โดยตั้งธงไว้ว่าจะต้องทำยอดขายเพื่อช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันจากเจ้าตลาด (ปตท.) ให้ได้ แม้จะรู้ตัวดีว่าไม่สามารถเบียดเป็นเบอร์ 1 ในตลาดได้ ก็ตาม
เราพ่ายการประมูลปั๊มเจ็ทในครั้งนั้น ยอมรับว่าบาดเจ็บแต่ไม่ผิดหวัง เพราะเชลล์ทำดีที่สุดแล้ว เราต่อสู้อย่างเต็มที่ แม้ว่าผลจะออกมายังไงก็ตาม ในครั้งนั้น ปตท.ชนะประมูลไปด้วยราคาที่สูงราว 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 9,300 กว่าล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่เชลล์ เสนอราคาไปประมาณ 5,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นราคาที่สูงพอสมควรแล้ว เราเองก็ภูมิใจในการต่อสู้ครั้งนั้น" เขากล่าวปนเสียงหัวเราะ
อย่างไรก็ตาม จะว่าไปแล้ว อาการพลาดท่าเสียทีของเชลล์ต่อ ปตท. ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น เพราะในช่วงวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" เชลล์ได้ตัดใจขายหุ้นทั้งหมด 64% ในโรงกลั่นน้ำมันระยอง (อาร์อาร์ซี) ให้กับ ปตท. เพื่อล้างหนี้สูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก้ปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จากค่าการกลั่นที่ปรับลดลงจากซัพพลายน้ำมันที่ล้นตลาด ทว่าไม่นานหลังจากการขายหุ้น ปตท.ได้นำโรงกลั่นระยองเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ พร้อมกับธุรกิจโรงกลั่นก็กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง จากค่าการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้น
ผลจากการตัดสินใจขายโรงกลั่นระยองในครั้งนั้น หลายคนมองเป็นการเพลี่ยงพล้ำของเชลล์....แต่ธีรพจน์ย้ำว่า "ตัดสินใจถูกแล้วในขณะนั้น และมองค่าการกลั่นภูมิภาคนี้ในระยะยาว ที่อย่างไรซะค่าเฉลี่ยก็ยังอยู่ในระดับต่ำ"
ไซม่อนบอกว่า เรื่องเก่าที่ผ่านไปแล้วก็ให้ผ่านไป แต่หลังจากนี้ไปเชลล์จะเริ่มต้นทำในสิ่งใหม่ๆ ด้วยการเสริมเขี้ยวเล็บ ทุ่มงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ในระยะ 2-3 ปีจากนี้ เพื่อ "พลิกโฉม-ปรับภาพลักษณ์" ของเชลล์ซะใหม่
...ถือว่าเป็นการลงทุน "ครั้งใหญ่" ในรอบ 10-15 ปีของเชลล์ในไทย ไซม่อนเผย
ประกอบด้วยการจัดทำโครงการปรับปรุงภาพลักษณ์สถานีบริการในรูปโฉมใหม่ (Retail Visual Identify-RVI) โดยในระยะเริ่มต้น เชลล์จะปรับปรุงสถานีบริการใหม่จำนวน 50 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เฉลี่ยต้องใช้เงินลงทุนแห่งละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมดราว 100 ล้านบาท ก่อนจะปรับปรุงสถานีบริการให้ครอบคลุมทั้งหมด 570 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีจากนี้
พร้อมๆ กับนำระบบใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า "Mistery Motorist Program -MMP หรือเรียกในชื่อภาษาไทยว่า โครงการลูกค้านิรนาม เข้ามาใช้ในการบริหารงานในไทยเป็นแห่งแรกๆ ของโลก หลังจากที่บริษัทแม่คิดค้นโปรแกรมนี้ขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าในด้านต่างๆ ทั้งการให้บริการ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งมาตรฐานการบริการของพนักงานเชลล์ในแต่ละสถานีบริการ ก่อนจะนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงบริการและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
เขาเล่าว่า การวัดความสำเร็จจากโครงการ MMP นี้ จะดูที่คะแนน ถ้าคะแนนที่ได้รับจากลูกค้าเพิ่มขึ้น 1% จะทำให้ยอดขายโตประมาณ 0.8% จากนั้นจะนำคะแนนที่ได้รับมารวมกัน เพื่อวัดเป็นความสำเร็จของเชลล์ในไทยกับเชลล์ทั่วโลก
...จุดนี้เองจะช่วยให้ยอดขายของเชลล์เพิ่มขึ้น หากลูกค้าเกิดความประทับในการให้บริการของเชลล์
เชลล์ในประเทศไทยให้ความสำคัญกับ 2 โครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะตั้งใจเต็มที่ว่าจะต้องทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนลิตรต่อวัน จากปัจจุบันที่ 4 แสนลิตรต่อวัน หลังจากที่เราพลาดโอกาสในการขยายสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้น จึงต้องนำสถานีที่มีอยู่มาปรับปรุงใหม่ และด้วยวิธีการดำเนินงานใหม่ ที่เริ่มใช้ในไทย มาเลเซีย และฮ่องกง เป็นแห่งแรกๆ ในโลก โดยเฉพาะในไทยนี้ เราตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ให้ได้เป็น 18% ในอีก 2 ปีข้างหน้า จาก 16.2% ในปัจจุบัน เขา กล่าว
เขายังบอกอีกว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน แต่เชลล์มองว่าในระยะยาวเศรษฐกิจของไทยจะกลับมาดีขึ้น อีกทั้งนโยบายการบริหารงานของเชลล์จะมองไปที่ระยะยาวมากกว่าระยะสั้นๆ เชลล์เคยมีประสบการณ์มาแล้วจากครั้งก่อนๆ จึงไม่กลัวที่จะลงทุน และจะชิงลงทุนก่อนรายอื่นๆ เพื่อรอโอกาสและจังหวะที่เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ถ้าเราชิงลงมือก่อนคนอื่นๆ ในตอนนี้ ก็อาจจะได้เปรียบทางด้านธุรกิจ หากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว หากเราไปลงทุนในช่วงนั้นก็อาจจะไม่ทัน ดังนั้นชิงลงมือทำก่อนจะได้เปรียบกว่า เขาเล่า
นอกจากนี้ เชลล์ยังถือโอกาสในช่วงนี้เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการและความพร้อม เชื่อว่าจะสร้างความฮือฮาได้ไม่น้อยให้กับตลาดน้ำมันในช่วงนี้ แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
"เป้าหมายของเชลล์ต้องการเพิ่มยอดขาย เพราะมองว่าไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน เราอยากอยู่ต่อและขยายกิจการในไทยอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการที่เชลล์ให้ความสำคัญและทุ่มเทในการประมูลปั๊มเจ็ทของโคโนโค่ เพื่อเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้มากกว่าที่เรามีอยู่ และไม่กลัวว่าการลงทุนในครั้งนี้ จะสร้างความผิดหวังให้กับเชลล์อีก เพราะยังมีบริษัทแม่ในอังกฤษให้ความช่วยเหลืออยู่ในทุกๆ ด้าน
ไซม่อนทิ้งท้ายว่า ในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมา เชลล์ประสบกับภาวะขาดทุน เนื่องจากค่าการตลาดที่ถูกจำกัดและอยู่ในระดับที่ต่ำมากเฉลี่ย 0.60-0.70 บาทต่อลิตรเท่านั้น แต่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ค่าการตลาดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.10 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีกว่า ดังนั้นผลการดำเนินงานของเชลล์ในปี 2550 น่าจะออกมามีกำไร แต่อย่างไรก็ตาม หากจะให้ดีจริงๆ ค่าการตลาดที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ประมาณ 1.80 บาทต่อลิตร
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87111
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/08/07
โพสต์ที่ 49
ยอดใช้แก๊สโซฮอล์6ด.พุ่ง
โดย มติชน วัน จันทร์ ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:15 น.
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า ยอดการใช้พลังงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มิถุนายน) พบว่าปริมาณการขายแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยยอดการใช้เฉลี่ย 3.9 ล้านลิตรต่อวัน เฉพาะเดือนมิถุนายนมีอัตราการใช้สูงที่สุดวันละ 4.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 34.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดการใช้เบนซิน 95 กลับมีอัตราลดลงตั้งแต่ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เฉพาะเดือนมิถุนายนมีการใช้ 3.1 ล้านลิตรต่อวัน ลดลง 22.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากนโยบายเพิ่มส่วนต่างราคาให้ต่ำกว่าเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ถึง 3.50 บาทต่อลิตร
http://news.sanook.com/economic/economic_165839.php
โดย มติชน วัน จันทร์ ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:15 น.
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า ยอดการใช้พลังงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มิถุนายน) พบว่าปริมาณการขายแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น โดยยอดการใช้เฉลี่ย 3.9 ล้านลิตรต่อวัน เฉพาะเดือนมิถุนายนมีอัตราการใช้สูงที่สุดวันละ 4.7 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 34.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดการใช้เบนซิน 95 กลับมีอัตราลดลงตั้งแต่ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เฉพาะเดือนมิถุนายนมีการใช้ 3.1 ล้านลิตรต่อวัน ลดลง 22.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากนโยบายเพิ่มส่วนต่างราคาให้ต่ำกว่าเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ถึง 3.50 บาทต่อลิตร
http://news.sanook.com/economic/economic_165839.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/08/07
โพสต์ที่ 50
เป้าผลิตไฟฟ้าจากขยะ100เมกฯปี 54 - 7/8/2550
ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว. พลังงาน ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากขยะให้ได้ 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 54 จากปัจจุบันที่มีแล้ว 3 แห่ง โดยให้แรงจูงใจ ให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า 2.50 บาทต่อหน่วย ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา การส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะชุมชน วานนี้ โดยมีนักลงทุน ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และหอการค้าจังหวัด เข้าร่วม ว่ากระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากขยะ 1 หมื่นตัน ให้ได้ไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2554 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของพลังงานทดแทน และเป็นการกำจัดขยะให้มีประสิทธิภาพ
กระทรวงพลังงานจึงระดมความคิดเห็น เพื่อผลักดันโครงการผลิตพลังงานจากขยะชุมชนให้เกิดขึ้นในวงกว้าง จากปัจจุบันมี 3 โรงงาน คือ โรงงานเตาเผาขยะ จังหวัดภูเก็ต โรงงานผลิตขยะปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดระยอง และโรงงานไฟฟ้าขยะ ราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า 2.50 บาทต่อหน่วย สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ระยะเวลา 7 ปี กรณีที่เป็นโครงการดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้ส่วนเพิ่มอีก 1 บาทต่อหน่วย ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรผลิตพลังงานทดแทนจากขยะ และยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี โดยขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ อัตราดอกเบี้ย 4% จ่ายคืนเงินกู้ใน 7 ปี และยังสามารถยื่นข้อเสนอขายคาร์บอนเครดิตในโครงการซีดีเอ็ม เนื่องจากเป็นโครงการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่าขณะนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากได้ยื่นแล้ว 3 โครงการ ซึ่ง กฟผ. ให้การตอบรับเป็นอย่างดี และเชื่อว่าจะมีโครงการต่างๆ สนใจยื่นเพิ่มเติม
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานจะพัฒนา และสาธิตถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะในระดับชุมชนอีก 5 แห่ง คือเทศบาสอำเภอสามชุก สุพรรณบุรี เทศบาลอำเภอเมือง กำแพงเพชร เทศกาลอำเภอเมือง สกลนคร เทศบาลอำเภอเมือง ภูเก็ต และเทศกาลอำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช โดยกระทรวงจะสนับสนุนทั้งระบบแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งขยายผลไปยังโรงเรียนต่างๆ อีก 200 แห่ง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179062
ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว. พลังงาน ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากขยะให้ได้ 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 54 จากปัจจุบันที่มีแล้ว 3 แห่ง โดยให้แรงจูงใจ ให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า 2.50 บาทต่อหน่วย ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนา การส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะชุมชน วานนี้ โดยมีนักลงทุน ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และหอการค้าจังหวัด เข้าร่วม ว่ากระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากขยะ 1 หมื่นตัน ให้ได้ไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2554 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของพลังงานทดแทน และเป็นการกำจัดขยะให้มีประสิทธิภาพ
กระทรวงพลังงานจึงระดมความคิดเห็น เพื่อผลักดันโครงการผลิตพลังงานจากขยะชุมชนให้เกิดขึ้นในวงกว้าง จากปัจจุบันมี 3 โรงงาน คือ โรงงานเตาเผาขยะ จังหวัดภูเก็ต โรงงานผลิตขยะปุ๋ยอินทรีย์ จังหวัดระยอง และโรงงานไฟฟ้าขยะ ราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า 2.50 บาทต่อหน่วย สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก ไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ระยะเวลา 7 ปี กรณีที่เป็นโครงการดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้ส่วนเพิ่มอีก 1 บาทต่อหน่วย ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรผลิตพลังงานทดแทนจากขยะ และยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี โดยขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ อัตราดอกเบี้ย 4% จ่ายคืนเงินกู้ใน 7 ปี และยังสามารถยื่นข้อเสนอขายคาร์บอนเครดิตในโครงการซีดีเอ็ม เนื่องจากเป็นโครงการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่าขณะนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากได้ยื่นแล้ว 3 โครงการ ซึ่ง กฟผ. ให้การตอบรับเป็นอย่างดี และเชื่อว่าจะมีโครงการต่างๆ สนใจยื่นเพิ่มเติม
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานจะพัฒนา และสาธิตถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะในระดับชุมชนอีก 5 แห่ง คือเทศบาสอำเภอสามชุก สุพรรณบุรี เทศบาลอำเภอเมือง กำแพงเพชร เทศกาลอำเภอเมือง สกลนคร เทศบาลอำเภอเมือง ภูเก็ต และเทศกาลอำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช โดยกระทรวงจะสนับสนุนทั้งระบบแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งขยายผลไปยังโรงเรียนต่างๆ อีก 200 แห่ง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179062
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/08/07
โพสต์ที่ 51
ข่าวย่อย-ให้กู้ ดบ.ต่ำปลูกปาล์มน้ำมัน
โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 03:17 น.
ดร.พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เพื่อสร้างกลไกส่งเสริมการปลูกปาล์ม เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล เบื้องต้นจะจัดวงเงินประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท เพื่อให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรที่สนใจปลูก หรือขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม วงเงินดังกล่าวจะมาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 3,000 ล้านบาท ที่เหลือมาจากเงินทุนหมุนเวียนของ ธ.ก.ส. คาดว่าจะได้ข้อสรุปในรายละเอียดภายใน 1-2 เดือนนี้
http://news.sanook.com/economic/economic_166494.php
โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 03:17 น.
ดร.พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เพื่อสร้างกลไกส่งเสริมการปลูกปาล์ม เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล เบื้องต้นจะจัดวงเงินประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท เพื่อให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรที่สนใจปลูก หรือขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม วงเงินดังกล่าวจะมาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 3,000 ล้านบาท ที่เหลือมาจากเงินทุนหมุนเวียนของ ธ.ก.ส. คาดว่าจะได้ข้อสรุปในรายละเอียดภายใน 1-2 เดือนนี้
http://news.sanook.com/economic/economic_166494.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/08/07
โพสต์ที่ 52
ซื้อหุ้นพลังงานปลอดภัย 10บริษัทกำไร7.4หมื่นล.
โพสต์ทูเดย์ หุ้นพลังงานปลอดภัยสุด ราคาลดลงเป็นโอกาสซื้อ 6 เดือนแรกปีนี้ 10 บริษัท โชว์กำไรรวม 7.4 หมื่นล้านบาท พุ่ง 71%
บริษัทพลังงานทยอยประกาศผลประกอบการ โดยบริษัท 10 แห่ง ฟันกำไรสุทธิรวม 74,669.46 ล้านบาท ทะยานประมาณ 71% เทียบกำไรสุทธิ 43,627.36 ล้านบาท
ล่าสุดบริษัท ไทยออยล์ (TOP) ประกาศกำไรสุทธิ 12,045.80 ล้านบาท หรือ 5.90 บาท ดีขึ้น 9% เทียบกับครึ่งแรกปีก่อน กำไรสุทธิ 11,033.44 ล้านบาท หรือ 5.41 บาทต่อหุ้น แต่ไตรมาส 2 ปีนี้กำไร สุทธิเหลือ 6,286.93 ล้านบาท หรือ 3.08 บาท หดตัวลงประมาณ 9.93%
บริษัท บ้านปู (BANPU) กระโดดกำไรสุทธิ 1,758.64 ล้านบาท หรือ 6.47 บาทต่อหุ้น ในไตรมาส 2 ปีนี้ พุ่ง 118.41% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และรวม 6 เดือนแรกปีนี้ กำไรสุทธิเพิ่ม 90.30% เป็น 2,952.32 ล้านบาท หรือ 10.86 บาทต่อหุ้น
บริษัท โกลว์พลังงาน (GLOW) ประกาศกำไรสุทธิงวดครึ่งปี 2,601.68 ล้านบาท ลดลงจากงวดปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,915.60 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิ 1,251.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวด ปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,236.94 ล้าน บาท
ขณะที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มีกำไรสุทธิลดลง โดยครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 8,945.02 ล้านบาท และไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิ 4,431.61 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง เป็นจังหวะให้นักลงทุนเข้าเลือกหุ้นพื้นฐานดี โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่มพลังงาน เพราะมีความปลอดภัยสุด และพื้นฐานในการ ทำธุรกิจของแต่ละบริษัทก็ยังอยู่ ในระดับดีด้วย อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่ จ่ายเงินปันผลดีด้วย
นักวิเคราะห์อีกรายกล่าวว่า แนะนำให้ซื้อหุ้นธุรกิจโรงกลั่น แม้ค่าการกลั่นจะชะลอตัวลง แต่ก็ยังสูงกว่า 7-8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใน ช่วง 1-2 ปีนี้
ล่าสุด TOP ปิดที่ 76.50 บาท ส่วน RRC ปิด 23.30 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=184388
โพสต์ทูเดย์ หุ้นพลังงานปลอดภัยสุด ราคาลดลงเป็นโอกาสซื้อ 6 เดือนแรกปีนี้ 10 บริษัท โชว์กำไรรวม 7.4 หมื่นล้านบาท พุ่ง 71%
บริษัทพลังงานทยอยประกาศผลประกอบการ โดยบริษัท 10 แห่ง ฟันกำไรสุทธิรวม 74,669.46 ล้านบาท ทะยานประมาณ 71% เทียบกำไรสุทธิ 43,627.36 ล้านบาท
ล่าสุดบริษัท ไทยออยล์ (TOP) ประกาศกำไรสุทธิ 12,045.80 ล้านบาท หรือ 5.90 บาท ดีขึ้น 9% เทียบกับครึ่งแรกปีก่อน กำไรสุทธิ 11,033.44 ล้านบาท หรือ 5.41 บาทต่อหุ้น แต่ไตรมาส 2 ปีนี้กำไร สุทธิเหลือ 6,286.93 ล้านบาท หรือ 3.08 บาท หดตัวลงประมาณ 9.93%
บริษัท บ้านปู (BANPU) กระโดดกำไรสุทธิ 1,758.64 ล้านบาท หรือ 6.47 บาทต่อหุ้น ในไตรมาส 2 ปีนี้ พุ่ง 118.41% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และรวม 6 เดือนแรกปีนี้ กำไรสุทธิเพิ่ม 90.30% เป็น 2,952.32 ล้านบาท หรือ 10.86 บาทต่อหุ้น
บริษัท โกลว์พลังงาน (GLOW) ประกาศกำไรสุทธิงวดครึ่งปี 2,601.68 ล้านบาท ลดลงจากงวดปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,915.60 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิ 1,251.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวด ปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,236.94 ล้าน บาท
ขณะที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มีกำไรสุทธิลดลง โดยครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 8,945.02 ล้านบาท และไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิ 4,431.61 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง เป็นจังหวะให้นักลงทุนเข้าเลือกหุ้นพื้นฐานดี โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่มพลังงาน เพราะมีความปลอดภัยสุด และพื้นฐานในการ ทำธุรกิจของแต่ละบริษัทก็ยังอยู่ ในระดับดีด้วย อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่ จ่ายเงินปันผลดีด้วย
นักวิเคราะห์อีกรายกล่าวว่า แนะนำให้ซื้อหุ้นธุรกิจโรงกลั่น แม้ค่าการกลั่นจะชะลอตัวลง แต่ก็ยังสูงกว่า 7-8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใน ช่วง 1-2 ปีนี้
ล่าสุด TOP ปิดที่ 76.50 บาท ส่วน RRC ปิด 23.30 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=184388
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/08/07
โพสต์ที่ 53
เอทานอลเอือมรัฐใช้นโยบายรายวัน
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:52 น.
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกรัฐพัฒนา ฐานะนายกสมาคม ผู้ค้าเอทานอล เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการเอทานอลที่ขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตเอทานอลทั้งหมด 45 ราย โดยในจำนวนนี้มีโรงงานผลิตเอทานอลที่ดำเนินการผลิตแล้ว 12 ราย ส่วนอีก 8 รายกำลังเปิดดำเนินการ รวมมีกำลังการผลิตเอทานอลรวมทั้งหมดประมาณวันละ 1 ล้านลิตร และเมื่อโรงงานอีก 19 แห่ง สร้างเสร็จปลายปีนี้จะมีกำลังการผลิตรวมไม่น้อยกว่าวันละ 3 ล้านลิตร ปัจจุบันตลาดใช้เอทานอลวันละ 470,000 ลิตร และสิ้นปีนี้คาดว่าจะมีความต้องการใช้เพียง 800,000 ลิตรเท่านั้น
ทั้งนี้ล่าสุดกลุ่มบริษัท เค.ไอ. เอทา นอลต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว เพราะมีเอทานอลสำรองถึง 36 ล้านลิตร และที่น่าเป็นห่วงคือโรงงานที่จะทยอยสร้างเสร็จและเริ่มผลิตปลายปีนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นสาเหตุมาจากนโยบายของทางการ จนทำให้เอกชนเปลี่ยนแผนการลงทุนไม่ทัน.
http://news.sanook.com/economic/economic_168775.php
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:52 น.
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกรัฐพัฒนา ฐานะนายกสมาคม ผู้ค้าเอทานอล เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการเอทานอลที่ขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตเอทานอลทั้งหมด 45 ราย โดยในจำนวนนี้มีโรงงานผลิตเอทานอลที่ดำเนินการผลิตแล้ว 12 ราย ส่วนอีก 8 รายกำลังเปิดดำเนินการ รวมมีกำลังการผลิตเอทานอลรวมทั้งหมดประมาณวันละ 1 ล้านลิตร และเมื่อโรงงานอีก 19 แห่ง สร้างเสร็จปลายปีนี้จะมีกำลังการผลิตรวมไม่น้อยกว่าวันละ 3 ล้านลิตร ปัจจุบันตลาดใช้เอทานอลวันละ 470,000 ลิตร และสิ้นปีนี้คาดว่าจะมีความต้องการใช้เพียง 800,000 ลิตรเท่านั้น
ทั้งนี้ล่าสุดกลุ่มบริษัท เค.ไอ. เอทา นอลต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว เพราะมีเอทานอลสำรองถึง 36 ล้านลิตร และที่น่าเป็นห่วงคือโรงงานที่จะทยอยสร้างเสร็จและเริ่มผลิตปลายปีนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นสาเหตุมาจากนโยบายของทางการ จนทำให้เอกชนเปลี่ยนแผนการลงทุนไม่ทัน.
http://news.sanook.com/economic/economic_168775.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news17/08/07
โพสต์ที่ 54
ซื้อหุ้นพลังงาน
17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 07:35:00
๐ สถานการณ์เรื่องตลาด Subprime เริ่มคลายความกังวล เนื่องจากว่าล่าสุดธนาคารกลางของยุโรป ญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้มีการดูดสภาพคล่องกลับ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากก่อนหน้านี้ได้อัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าไปยังตลาดการเงินระยะสั้น การดูดสภาพคล่องกลับนั้นกำลังบอกว่าระบบการเงินเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากก่อนหน้านี้ตลาดเงินตึงตัวมาก เนื่องจากธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ ซึ่งจะส่งผลเสียหายกับลูกค้าที่ดี นอกจากนั้นธนาคารกลางสหรัฐก็ได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับช่วงปลายสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตามแม้ว่ายังไม่มีใครจะรับประกันได้ว่าปัญหานี้จะยุติหรือลุกลามต่อ แต่จากการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลครั้งนี้ของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งคิดคร่าวๆ ประมาณเกือบ 12 ล้านล้านบาท น่าจะวางใจได้ระดับหนึ่ง ส่วนการปรับตัวลงแรงของดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียเมื่อวานนี้เป็นผลต่อเนื่องจาก 1.การปรับตัวลงของตลาดหุ้นในสหรัฐและยุโรป มากกว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของธนาคารหรือธุรกิจในเอเชียจะเข้าไปเกี่ยวโยงกับตลาด Subprime และ 2. ตลาดที่ลงหนักคือ เกาหลี ซึ่งดัชนียังลงได้น้อยและชดเชยวันที่หยุด
๐ วิกฤติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1997 ที่เศรษฐกิจเอเชียล่มสลายปี 1998 ก็เกิด LTCM ล้มละลาย ปี 2001 เกิดฟองสบู่ของ IT ในสหรัฐแตกและตามมาด้วยเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก World trade center จนสหรัฐบุกอิรักและอัฟกานิสถานในปี 2002-2003 เหตุการณ์เหล่านี้ต่างผ่านการช่วยเหลือทางการเงินมาแล้วทั้งสิ้น โดยบางเหตุการณ์ได้นำไปสู่การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐให้ปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลง โดยเฉพาะช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียตามด้วย LTCM และเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก WTC จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีการเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ปรากฏว่าไม่มีการลุกลาม โดยเฉพาะในช่วงหลังปี 1997 เป็นต้นมา สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เราสามารถดูได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตลาดหุ้นตกแรงๆ ในไม่ช้าก็จะดีดตัวกลับได้แรงเช่นกันเป็น V shape ไม่ว่าจะเป็นในกลางปี 2549 ที่เกิดการเทขายสินค้าที่เกี่ยวโยงกับโภคภัณฑ์และญี่ปุ่นปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงไปลึก แต่แล้วที่ดีดตัวกลับได้สูงกว่าเก่า หรือแม้แต่ในช่วงต้นปี 2550 ที่เกิดแรงขายหุ้นในประเทศจีนจนหุ้นทั่วโลกดิ่งตัวลงอย่างมากและไม่ช้าก็ดีดตัวกลับสร้างสถิติสูงสุดใหม่ เหตุผลมาจาก 1.) เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงแข็งแกร่ง 2.) ทิศทางดอกเบี้ยยังต่ำ 3.) สภาพคล่องโลกยังมีมาก และ 4.) ความมั่นใจของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชียผ่านการเติบโตของ EPS
๐ โดยสรุปแล้ว เรามองว่าปัญหาเรื่อง Subprime จะเริ่มหยุดการขยายวง แต่ก็อาจจะมีบางกองทุนที่ขาดทุนเพิ่มเติม ซึ่งไม่น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงที่เกิดปัญหา Subprime เป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวพอดี ดังนั้นมันจึงเกิดแรงบวก 2 แรงกระหน่ำตลาดหุ้นสหรัฐและขยายวงไปทั่วโลก โดยปัญหาเรื่อง Subprime ในรอบนี้แทบจะไม่ส่งผลต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจในเอเชียเลย จะมีอยู่บ้างก็คือ การขายหุ้นของต่างชาติ เพื่อเตรียมเม็ดเงินไว้เผื่อการไถ่ถอน ซึ่งตรงนี้ในไม่ช้าก็คงจะหยุด เพราะตอนนี้ไม่ว่ากองทุนหรือนักลงทุนต่างประเทศจะขายสินทรัพย์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น แทบจะได้รับผลกระทบเหมือนกันแทบทั้งสิ้น (จะปลอดภัยก็แต่ฝากธนาคารหรือในพันธบัตร) ไม่ว่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมันและตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะยาวอีกนิดหนึ่ง เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในไม่ช้าน่าจะเริ่มส่งผลดีต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในเอเชีย เพราะแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเหมือนกับสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรป ที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาของนักลงทุน อันเนื่องมาจากการเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง การปล่อยสินเชื่อที่แทบจะไม่ดูสินทรัพย์ค้ำประกันและการขาดการกำกับดูแล
๐ จากรูปด้านซ้าย เรามาดูความผันผวนของดัชนี VIX ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต พบว่าความผันผวนที่รุนแรงและนำไปสู่วิกฤติจะอยู่ที่เกิน 30 ส่วน ตอนนี้อยู่ที่ประมาณเกือบ 30 แม้ว่าค่าความผันผวนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเสี่ยงอยู่ แต่สถานการณ์ที่คลี่คลายลงและดัชนีลงไปมากพอ ก็น่าจะทำให้ความผันผวนลดลง ปัจจุบันดัชนี MSCI Thailand (US) ปรับตัวลงไปแล้วถึง 18.4% (วัดจากจุดสูงสุดในวันที่ 24/07/50 ถึง 16/08/50) เทียบกับค่าเฉลี่ย MSCI EM Asia ที่ลงไป 12.8% MSCI AC World ที่ 11% MSCI South East Asia ที่ 16.3% และ MSCI AC Asia Ex Japan 12.6% จากตัวเลขสรุปได้ว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าค่าเฉลี่ยทุกดัชนี ซึ่งกำลังแสดงถึงความเสี่ยงที่น้อยมาก หากเข้าไปลงทุน โดยเรามองว่าหลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มยืนได้ในปลายสัปดาห์นี้ โอกาสที่ดัชนี SET จะกลับไปยืนที่ 800 จุด คงจะได้เห็นในครึ่งหลังเดือนส.ค.
๐ ในระดับดัชนีที่เป็นอยู่ เราแนะนำให้ซื้อเพิ่ม หุ้นพลังงานและปิโตรเคมี (PTT/RRC/TOP/PTTEP/ATC) เนื่องจากราคาน้ำมันจะดีดตัวกลับรอบใหม่ โดยปรับราคาเป้าหมายของ PTT จากเดิมที่ 276 บาท เป็น 330 บาท TOP ที่ 85 บาท RRC ที่ 26 บาท และ PTTEP ปรับราคาเป้าหมายจาก 111 เป็น 125 บาท ATC ปรับราคาเป้าหมายจาก 70 บาท เป็น 82 บาท และ TPIPL ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 17.8 บาท การที่เราแนะนำให้ซื้อหุ้นพลังงานเพิ่ม ทั้งๆ ที่ช่วงนี้ต่างชาติกำลังขายหุ้นพลังงานออก ก็เนื่องจากแนวคิดว่า 1) ราคาหุ้นพลังงานทั้ง 4 ตัว ได้กลับมายืนในระดับต่ำกว่าราคาเป้าหมายเฉลี่ยของ IBES ที่เฉลี่ยประมาณ 15% 2) ทิศทางราคาน้ำมันน่าจะหยุดอยู่ที่บริเวณ 70 ดอลลาร์ต้นๆ และกำลังจะสร้างฐานขึ้นรอบใหม่ เนื่องจากเริ่มมีปัจจัยเข้ามากระทบด้านปริมาณการผลิตอย่างการเกิดพายุเฮอร์ริเคนในช่วงที่ผ่านมา 3) ต่างชาติที่เข้ามาซื้อหุ้นพลังงานหลักๆ ต้นทุนจะสูงกว่านี้ โดยแรงขายหุ้นพลังงานหนักๆ ตอนนี้น่าจะเป็นเฉพาะบางกองทุนที่ประสบปัญหาในตลาด Subprime 4) ราคาหุ้นเฉลี่ยของหุ้นพลังงานทั้งสี่ ตอนนี้ปรับตัวลงไปแล้วถึง 14.6% เทียบกับภูมิภาคที่เฉลี่ย 12.5% และ 5) คาดว่าค่าการกลั่นในช่วงตั้งแต่กลาง ส.ค. ถึงปลาย ก.ย. มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้นจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในเกาหลี คือ SK Energy ที่ 170,000 บาร์เรลต่อวัน
Stock Hilight:เกียรติก้อง เดโช
ที่มา:บล.ซิกโก้
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/1 ... wsid=89807
17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 07:35:00
๐ สถานการณ์เรื่องตลาด Subprime เริ่มคลายความกังวล เนื่องจากว่าล่าสุดธนาคารกลางของยุโรป ญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้มีการดูดสภาพคล่องกลับ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากก่อนหน้านี้ได้อัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าไปยังตลาดการเงินระยะสั้น การดูดสภาพคล่องกลับนั้นกำลังบอกว่าระบบการเงินเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากก่อนหน้านี้ตลาดเงินตึงตัวมาก เนื่องจากธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ ซึ่งจะส่งผลเสียหายกับลูกค้าที่ดี นอกจากนั้นธนาคารกลางสหรัฐก็ได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับช่วงปลายสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตามแม้ว่ายังไม่มีใครจะรับประกันได้ว่าปัญหานี้จะยุติหรือลุกลามต่อ แต่จากการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลครั้งนี้ของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งคิดคร่าวๆ ประมาณเกือบ 12 ล้านล้านบาท น่าจะวางใจได้ระดับหนึ่ง ส่วนการปรับตัวลงแรงของดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียเมื่อวานนี้เป็นผลต่อเนื่องจาก 1.การปรับตัวลงของตลาดหุ้นในสหรัฐและยุโรป มากกว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของธนาคารหรือธุรกิจในเอเชียจะเข้าไปเกี่ยวโยงกับตลาด Subprime และ 2. ตลาดที่ลงหนักคือ เกาหลี ซึ่งดัชนียังลงได้น้อยและชดเชยวันที่หยุด
๐ วิกฤติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1997 ที่เศรษฐกิจเอเชียล่มสลายปี 1998 ก็เกิด LTCM ล้มละลาย ปี 2001 เกิดฟองสบู่ของ IT ในสหรัฐแตกและตามมาด้วยเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก World trade center จนสหรัฐบุกอิรักและอัฟกานิสถานในปี 2002-2003 เหตุการณ์เหล่านี้ต่างผ่านการช่วยเหลือทางการเงินมาแล้วทั้งสิ้น โดยบางเหตุการณ์ได้นำไปสู่การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐให้ปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลง โดยเฉพาะช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียตามด้วย LTCM และเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก WTC จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีการเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ปรากฏว่าไม่มีการลุกลาม โดยเฉพาะในช่วงหลังปี 1997 เป็นต้นมา สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เราสามารถดูได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตลาดหุ้นตกแรงๆ ในไม่ช้าก็จะดีดตัวกลับได้แรงเช่นกันเป็น V shape ไม่ว่าจะเป็นในกลางปี 2549 ที่เกิดการเทขายสินค้าที่เกี่ยวโยงกับโภคภัณฑ์และญี่ปุ่นปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงไปลึก แต่แล้วที่ดีดตัวกลับได้สูงกว่าเก่า หรือแม้แต่ในช่วงต้นปี 2550 ที่เกิดแรงขายหุ้นในประเทศจีนจนหุ้นทั่วโลกดิ่งตัวลงอย่างมากและไม่ช้าก็ดีดตัวกลับสร้างสถิติสูงสุดใหม่ เหตุผลมาจาก 1.) เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงแข็งแกร่ง 2.) ทิศทางดอกเบี้ยยังต่ำ 3.) สภาพคล่องโลกยังมีมาก และ 4.) ความมั่นใจของนักลงทุนต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเชียผ่านการเติบโตของ EPS
๐ โดยสรุปแล้ว เรามองว่าปัญหาเรื่อง Subprime จะเริ่มหยุดการขยายวง แต่ก็อาจจะมีบางกองทุนที่ขาดทุนเพิ่มเติม ซึ่งไม่น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงที่เกิดปัญหา Subprime เป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวพอดี ดังนั้นมันจึงเกิดแรงบวก 2 แรงกระหน่ำตลาดหุ้นสหรัฐและขยายวงไปทั่วโลก โดยปัญหาเรื่อง Subprime ในรอบนี้แทบจะไม่ส่งผลต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจในเอเชียเลย จะมีอยู่บ้างก็คือ การขายหุ้นของต่างชาติ เพื่อเตรียมเม็ดเงินไว้เผื่อการไถ่ถอน ซึ่งตรงนี้ในไม่ช้าก็คงจะหยุด เพราะตอนนี้ไม่ว่ากองทุนหรือนักลงทุนต่างประเทศจะขายสินทรัพย์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น แทบจะได้รับผลกระทบเหมือนกันแทบทั้งสิ้น (จะปลอดภัยก็แต่ฝากธนาคารหรือในพันธบัตร) ไม่ว่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมันและตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะยาวอีกนิดหนึ่ง เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในไม่ช้าน่าจะเริ่มส่งผลดีต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในเอเชีย เพราะแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเหมือนกับสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรป ที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาของนักลงทุน อันเนื่องมาจากการเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง การปล่อยสินเชื่อที่แทบจะไม่ดูสินทรัพย์ค้ำประกันและการขาดการกำกับดูแล
๐ จากรูปด้านซ้าย เรามาดูความผันผวนของดัชนี VIX ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต พบว่าความผันผวนที่รุนแรงและนำไปสู่วิกฤติจะอยู่ที่เกิน 30 ส่วน ตอนนี้อยู่ที่ประมาณเกือบ 30 แม้ว่าค่าความผันผวนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเสี่ยงอยู่ แต่สถานการณ์ที่คลี่คลายลงและดัชนีลงไปมากพอ ก็น่าจะทำให้ความผันผวนลดลง ปัจจุบันดัชนี MSCI Thailand (US) ปรับตัวลงไปแล้วถึง 18.4% (วัดจากจุดสูงสุดในวันที่ 24/07/50 ถึง 16/08/50) เทียบกับค่าเฉลี่ย MSCI EM Asia ที่ลงไป 12.8% MSCI AC World ที่ 11% MSCI South East Asia ที่ 16.3% และ MSCI AC Asia Ex Japan 12.6% จากตัวเลขสรุปได้ว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าค่าเฉลี่ยทุกดัชนี ซึ่งกำลังแสดงถึงความเสี่ยงที่น้อยมาก หากเข้าไปลงทุน โดยเรามองว่าหลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มยืนได้ในปลายสัปดาห์นี้ โอกาสที่ดัชนี SET จะกลับไปยืนที่ 800 จุด คงจะได้เห็นในครึ่งหลังเดือนส.ค.
๐ ในระดับดัชนีที่เป็นอยู่ เราแนะนำให้ซื้อเพิ่ม หุ้นพลังงานและปิโตรเคมี (PTT/RRC/TOP/PTTEP/ATC) เนื่องจากราคาน้ำมันจะดีดตัวกลับรอบใหม่ โดยปรับราคาเป้าหมายของ PTT จากเดิมที่ 276 บาท เป็น 330 บาท TOP ที่ 85 บาท RRC ที่ 26 บาท และ PTTEP ปรับราคาเป้าหมายจาก 111 เป็น 125 บาท ATC ปรับราคาเป้าหมายจาก 70 บาท เป็น 82 บาท และ TPIPL ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 17.8 บาท การที่เราแนะนำให้ซื้อหุ้นพลังงานเพิ่ม ทั้งๆ ที่ช่วงนี้ต่างชาติกำลังขายหุ้นพลังงานออก ก็เนื่องจากแนวคิดว่า 1) ราคาหุ้นพลังงานทั้ง 4 ตัว ได้กลับมายืนในระดับต่ำกว่าราคาเป้าหมายเฉลี่ยของ IBES ที่เฉลี่ยประมาณ 15% 2) ทิศทางราคาน้ำมันน่าจะหยุดอยู่ที่บริเวณ 70 ดอลลาร์ต้นๆ และกำลังจะสร้างฐานขึ้นรอบใหม่ เนื่องจากเริ่มมีปัจจัยเข้ามากระทบด้านปริมาณการผลิตอย่างการเกิดพายุเฮอร์ริเคนในช่วงที่ผ่านมา 3) ต่างชาติที่เข้ามาซื้อหุ้นพลังงานหลักๆ ต้นทุนจะสูงกว่านี้ โดยแรงขายหุ้นพลังงานหนักๆ ตอนนี้น่าจะเป็นเฉพาะบางกองทุนที่ประสบปัญหาในตลาด Subprime 4) ราคาหุ้นเฉลี่ยของหุ้นพลังงานทั้งสี่ ตอนนี้ปรับตัวลงไปแล้วถึง 14.6% เทียบกับภูมิภาคที่เฉลี่ย 12.5% และ 5) คาดว่าค่าการกลั่นในช่วงตั้งแต่กลาง ส.ค. ถึงปลาย ก.ย. มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้นจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในเกาหลี คือ SK Energy ที่ 170,000 บาร์เรลต่อวัน
Stock Hilight:เกียรติก้อง เดโช
ที่มา:บล.ซิกโก้
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/1 ... wsid=89807
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/08/07
โพสต์ที่ 55
เอกชนเล็งนำเอทานอลเหลือใช้จากไทยส่งขายในตลาดโลก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2550 14:10 น.
สิริวุทธิ์ เสียมภักดี เผยผู้ผลิตเอทานอลเตรียมร่วมมือส่งออกเอทานอลที่ผลิตได้เกินความต้องการใช้ในประเทศส่งออกไปขายในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการเอทานอลในตลาดโลกยังมีอยู่ และราคาขายในตลาดโลกก็ใกล้เคียงกับที่ผู้ประกอบการไทยต้องการขาย
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงงานผลิตเอทานอลที่เปิดเดินเครื่องผลิตแล้วรวม 8 โรงงาน มีกำลังผลิตรวมกันถึงวันละ 1.15 ล้านลิตรต่อวัน แต่ผลิตเอทานอลจริงประมณ 600,000-800,000 ลิตรต่อวัน เพราะขณะนี้ความต้องการใช้เอทานอลไปผสมน้ำมันเบนซินเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ มีความต้องการจริงเพียงวันละ 450,000 ลิตรต่อวัน เท่านั้น นอกจากนี้ จะมีโรงงานใหม่ทยอยเปิดเดินเครื่องผลิตเอทานอลอีก 4-5 โรงงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้มีกำลังการผลิตเอทานอลรวมกันเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 1 ล้านตัน ในสิ้นปีหน้า ทำให้โรงงานในประเทศในช่วงสิ้นปีหน้ากำลังการผลิตเอทานอลจะมีสูงถึง 2 ล้านลิตร
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ความต้องการใช้เอทานอลจริงในประเทศ น้อยกว่ากำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการจะผลิตให้เต็มกำลังการผลิตก็สามารถทำได้ โดยนำส่งไปขายต่างประเทศ แต่การตั้งโรงงานมีวัตถุประสงค์ตั้งแต่เริ่มแรกว่า จะผลิตเพื่อขายในประเทศเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน แต่รัฐบาลได้เปลี่ยนนโยบายให้เป็นพลังงานทางเลือกแทน การที่จะนำเอทานอลที่เกินความต้องการใช้ในประเทศส่งออกไปขายในต่างประเทศ การจะทำได้จะต้องเตรียมแท็งก์ฟาร์มที่มีความจุเอทานอลสูงถึง 5 ล้านลิตร หรือ 5,000 ตัน เพื่อให้พอดีกับเรือที่จะมาขนส่งเอทานอลออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
สำหรับการเตรียมการส่งออกเอทานอลนั้น ขณะนี้ทางโรงงานผู้ผลิตเอทานอล อยู่ระหว่างรวมตัวกันว่าอาจจะร่วมมือกันกันเช่าแท็งก์ฟาร์ม และเก็บเอทานอลรวมไว้ในที่เดียวกัน ตลอดจนรวมกันเอทานอลขายด้วย แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาความแตกต่างเรื่องกำลังการผลิตของแต่ละโรงงานอยู่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องกฎระเบียบของกรมสรรพสามิต ที่จะอนุญาตให้ผู้ผลิตเอทานอลหลายรายจะสามารถนำเอทานอลมาเก็บรวมกันได้หรือไม่ นอกจากนี้ จะต้องหารือกับกระทรวงพลังงาน และกรมศุลกากรด้วย ซึ่งที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมกันกับทางราชการมาแล้วเป็นระยะ ๆ โดยทางราชการก็เข้าใจภาคเอกชน
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า สมาคมฯ คาดว่าต้นปีหน้า ผู้ผลิตเอทานอลจะเริ่มต้นส่งออกเอทานอลขายต่างประเทศในปริมาณมาก ๆ ได้ จากที่ขณะนี้มีบางโรงงานเริ่มส่งออกเอทานอลไปขายบ้างแล้วแต่ในปริมาณไม่มากนัก และไม่มากพอที่จะทำให้ปริมาณเอทานอลที่ผลิตได้ในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการเอทานอลในตลาดโลกยังมีอยู่ และราคาขายในตลาดโลกก็ใกล้เคียงกับที่ผู้ประกอบการไทยต้องการขาย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000097107
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2550 14:10 น.
สิริวุทธิ์ เสียมภักดี เผยผู้ผลิตเอทานอลเตรียมร่วมมือส่งออกเอทานอลที่ผลิตได้เกินความต้องการใช้ในประเทศส่งออกไปขายในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการเอทานอลในตลาดโลกยังมีอยู่ และราคาขายในตลาดโลกก็ใกล้เคียงกับที่ผู้ประกอบการไทยต้องการขาย
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงงานผลิตเอทานอลที่เปิดเดินเครื่องผลิตแล้วรวม 8 โรงงาน มีกำลังผลิตรวมกันถึงวันละ 1.15 ล้านลิตรต่อวัน แต่ผลิตเอทานอลจริงประมณ 600,000-800,000 ลิตรต่อวัน เพราะขณะนี้ความต้องการใช้เอทานอลไปผสมน้ำมันเบนซินเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ มีความต้องการจริงเพียงวันละ 450,000 ลิตรต่อวัน เท่านั้น นอกจากนี้ จะมีโรงงานใหม่ทยอยเปิดเดินเครื่องผลิตเอทานอลอีก 4-5 โรงงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้มีกำลังการผลิตเอทานอลรวมกันเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 1 ล้านตัน ในสิ้นปีหน้า ทำให้โรงงานในประเทศในช่วงสิ้นปีหน้ากำลังการผลิตเอทานอลจะมีสูงถึง 2 ล้านลิตร
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ความต้องการใช้เอทานอลจริงในประเทศ น้อยกว่ากำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการจะผลิตให้เต็มกำลังการผลิตก็สามารถทำได้ โดยนำส่งไปขายต่างประเทศ แต่การตั้งโรงงานมีวัตถุประสงค์ตั้งแต่เริ่มแรกว่า จะผลิตเพื่อขายในประเทศเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน แต่รัฐบาลได้เปลี่ยนนโยบายให้เป็นพลังงานทางเลือกแทน การที่จะนำเอทานอลที่เกินความต้องการใช้ในประเทศส่งออกไปขายในต่างประเทศ การจะทำได้จะต้องเตรียมแท็งก์ฟาร์มที่มีความจุเอทานอลสูงถึง 5 ล้านลิตร หรือ 5,000 ตัน เพื่อให้พอดีกับเรือที่จะมาขนส่งเอทานอลออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
สำหรับการเตรียมการส่งออกเอทานอลนั้น ขณะนี้ทางโรงงานผู้ผลิตเอทานอล อยู่ระหว่างรวมตัวกันว่าอาจจะร่วมมือกันกันเช่าแท็งก์ฟาร์ม และเก็บเอทานอลรวมไว้ในที่เดียวกัน ตลอดจนรวมกันเอทานอลขายด้วย แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาความแตกต่างเรื่องกำลังการผลิตของแต่ละโรงงานอยู่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องกฎระเบียบของกรมสรรพสามิต ที่จะอนุญาตให้ผู้ผลิตเอทานอลหลายรายจะสามารถนำเอทานอลมาเก็บรวมกันได้หรือไม่ นอกจากนี้ จะต้องหารือกับกระทรวงพลังงาน และกรมศุลกากรด้วย ซึ่งที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมกันกับทางราชการมาแล้วเป็นระยะ ๆ โดยทางราชการก็เข้าใจภาคเอกชน
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า สมาคมฯ คาดว่าต้นปีหน้า ผู้ผลิตเอทานอลจะเริ่มต้นส่งออกเอทานอลขายต่างประเทศในปริมาณมาก ๆ ได้ จากที่ขณะนี้มีบางโรงงานเริ่มส่งออกเอทานอลไปขายบ้างแล้วแต่ในปริมาณไม่มากนัก และไม่มากพอที่จะทำให้ปริมาณเอทานอลที่ผลิตได้ในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการเอทานอลในตลาดโลกยังมีอยู่ และราคาขายในตลาดโลกก็ใกล้เคียงกับที่ผู้ประกอบการไทยต้องการขาย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000097107
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/08/07
โพสต์ที่ 56
ทางเลือก...พลังงานทดแทน ทางรอดวิกฤตโลกร้อน?
โดย ข่าวสด วัน อาทิตย์ ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 04:18 น.
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
การแก้ปัญหาโลกร้อน เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมาก แต่การแก้ปัญหาก็ยังไม่ทันกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลง
ปีนี้จึงได้ยินข่าวหนาหูว่าน้ำทะเลเหือดแห้ง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หิมะตกในประเทศจากที่ไม่เคยเห็นหิมะมานาน คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในแถบอเมริกา และยุโรปคร่าชีวิตคนไปไม่น้อย
ประเทศไทย แม้จะไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ซึ่งถือเป็นตัวการทำลายชั้นบรรยากาศโลกเท่ากับประเทศมหาอำนาจ แต่ในเมื่อพลังงานเป็นสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 56% จึงเป็นโอกาสที่จะเปิดใจผู้กุมนโยบายด้านพลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ถึงการวางนโยบายพลังงานเพื่อร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน
-อยากให้รัฐมนตรีช่วยฉายภาพพลังงานกับปัญหาโลกร้อน
การแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องไม่ใช่ทำแค่สาขาพลังงานอย่างเดียว เพราะกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ต่างเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น พอมนุษย์มีรายได้สูงขึ้นก็ใช้พลังงานมากขึ้น มีกิจกรรมดำเนินชีวิตที่ทำให้เกิดโลกร้อนมากขึ้น อาทิ ไอเสียจากรถยนต์ เรือยนต์ และเครื่องบิน การทานเนื้อสัตว์ที่ทำให้ต้องเลี้ยงวัว เลี้ยงแกะมากขึ้น ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการปลูกผัก
ดังนั้น ต้องปรับวิธีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใหม่ ควบคู่กับการแก้ปัญหาในภาคพลังงาน เพราะภาคพลังงานเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าครึ่ง และผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าใครๆ คือประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะเป็นผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า
ขณะนี้มาตรการของภาคพลังงานในการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ทั่วโลกยอมรับมี 4 มาตรการคือ
1.การประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาพลังงานหมุนเวียน
3.ส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า
4.หาทางกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ลงไปในดิน
ในเรื่องการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานหมุนเวียนนั้น ไทยเองก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ แต่ในเรื่องของนิวเคลียร์คงต้องศึกษาไว้เพื่อเป็นทางเลือกในอนาคต เพราะขณะนี้หลายๆ ประเทศเริ่มใช้นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ส่วนการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงดินนั้น เป็นแนวทางที่มีต้นทุนแพงมาก ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นของการทดลอง จึงยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับบ้านเรา
-ดูเหมือนรัฐมนตรีจะให้ความสำคัญเรื่องนิวเคลียร์มาก
ที่ต้องเน้นนิวเคลียร์ เพราะดูแล้วในอนาคต การใช้ก๊าซธรรมชาติมีข้อจำกัด ราคานำเข้าแพงมาก ขณะนี้ในตลาดโลกอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยอยู่ที่ 5.6 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู และในอนาคตต้องแพงกว่านี้ ส่วนการใช้ถ่านหินมีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ตั้ง ประชาชนไม่ยอมรับ และถ่านหินเป็นตัวสำคัญของการทำให้โลกร้อน
ไทยควรมีทางเลือกของการใช้พลังงาน เพราะขณะนี้ไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าถึง 70% สูงเกินไป หากเป็นไปได้อยากจะลดให้เหลือเพียง 50% และกระจายสัดส่วนไปยังถ่านหิน นิวเคลียร์มากขึ้น แต่ในเมื่อถ่านหินคนไทยไม่ยอมรับ คงต้องหันไปพึ่งนิวเคลียร์
ขณะนี้เทคโนโลยีเรื่องนิวเคลียร์ก้าวหน้าไปมาก ประเทศต่างๆ ในโลกที่มีแหล่งพลังงานจำกัด เดินหน้านิวเคลียร์ไปไกลกว่าไทยแล้วไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย ใช้นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และขณะนี้เวียดนามก็วางแผนชัดเจนที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
นิวเคลียร์ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานจากฟอสซิลที่มีอย่างจำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานต่างประเทศเห็นตรงกันว่าถ้าไม่มีนิวเคลียร์ก็คงไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้ เพราะนิวเคลียร์นั้นไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย
-ไทยพร้อมแค่ไหนในเรื่องนิวเคลียร์
คงต้องพร้อม เพราะจากข้อจำกัดในเรื่องเชื้อเพลิง และทิศทางพลังงานจากฟอสซิลโลก ไทยคงหนีไม่พ้นนิวเคลียร์ และนิวเคลียร์กว่าจะเกิดได้ต้องใช้เวลา 13 ปี แบ่งเป็นขั้นเตรียมการ 7 ปี ก่อสร้าง 6 ปี ซึ่งขณะนี้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเตรียมการศึกษาการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีนายกอรป กฤตยกีรณ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน เพื่อจัดทำแผนด้านนิวเคลียร์ ซึ่งแผนนี้จะเสร็จและได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลชุดนี้ เพื่อให้รัฐบาลชุดต่อๆ ไปนำไปปฏิบัติ
ในช่วง 7 ปีของการเตรียมการ คือการออกกฎหมายรองรับ ตั้งองค์กรขึ้นมากำกับดูแล ออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย หาพื้นที่ในการก่อสร้าง สร้างคนไทยที่จะมาทำหน้าที่ดูแล ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
หน้าที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานด้านพลังงานของประเทศ
-มั่นใจแค่ไหนว่ารมว.พลังงานคนใหม่จะสานต่อ
ไม่มีอะไรมั่นใจ แต่ถ้าเขาไม่เอานิวเคลียร์ต้องมีคำตอบให้ได้ว่าจะนำพลังงานตัวไหนมาแทน และตัวเขาต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัดสินใจไปด้วย
ถ้าเขาไม่เอานิวเคลียร์ แสดงว่าคนๆ นั้นขาดความรับผิดชอบมาก เพราะถ้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ ปัญหาโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น เราจะโง่มากที่บอกว่าจะไม่พิจารณานิวเคลียร์ และตัดออกไปเลย เป็นสิ่งที่ไม่ฉลาดเลย
-ถ้าไทยจะให้น้ำหนักไปทางพลังงานหมุนเวียนแทนนิวเคลียร์
เป็นอะไรที่เสี่ยงมาก ที่จะให้ไทยพึ่งพาพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานด้านอื่นๆ เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ได้มีเหลือเฟือ และที่มีคนบอกว่าจะให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า 50,000 เมกะวัตต์ แทนการนิวเคลียร์ โดยมองว่าถ้าสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ขนาดนั้นจะทำให้ต้นทุนถูกลงจากขณะนี้ที่สูงถึง 18 บาท/หน่วย ถ้าอนาคตไม่เป็นอย่างนั้นจะทำอย่างไร แต่ถ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์ถูกจริงและคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์อย่างที่คาดไว้ก็ถือเป็นเรื่องดีอีก 7 ปีจะได้ไม่ต้องสร้างนิวเคลียร์ แต่จะให้ยกเลิกโครงการศึกษานิวเคลียร์ไปแล้วพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ถูกจริงก็คงไม่ทันหากจะนำนิวเคลียร์กลับมาใช้ใหม่ แล้วเมื่อถึงเวลานั้นใครจะรับผิดชอบ
ส่วนการนำพลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้า ขณะนี้กระทรวงเร่งอย่างเต็มที่ ทั้งน้ำเสีย ขยะ ชานอ้อย เศษไม้ พลังน้ำ น่าจะได้เพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ในช่วง 5 ปี แต่ขณะนี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 1,500 เมกะวัตต์ คงไม่พอหากจะพึ่งพาแค่พลังงานหมุนเวียน
พลังงานต่างๆ เหล่านั้นจะผลิตไฟฟ้าไม่ได้มาก เพราะมีข้อจำกัด ยกตัวอย่าง ขยะหากกวาดมาหมดประเทศเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าได้แค่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งในทางปฏิบัติคงเป็นไปไม่ได้ หากจะนำขยะมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ส่วนพลังน้ำชุมชนขนาดเล็กมากคาดว่าจะมีอีก 100 โครงการ ผลิตไฟฟ้าเพียง 4 เมกะวัตต์ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของกฟผ.ที่ร่วมกับกรมชลประทานมีเพียง 77 เมกะวัตต์ ดูแล้วไม่เพียงพอกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นแน่นอน
ในเรื่องโลกร้อนกระทรวงพลังงานติดตามมาหลายปีแล้ว และวางนโยบายด้านพลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกมาตลอด ถือเป็นโอกาสดีที่ร่วมกับเครือมติชนจัดงาน กระทรวงพลังงาน มติชน ชวนเที่ยวงานแฟร์ ร่วมกับดูแลสังคม ภายใต้แนวคิด พลังงานทดแทนกู้วิกฤตโลกร้อน ซึ่งจัดมาตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. และมีถึงวันนี้ (19 ส.ค.)เป็นวันสุดท้าย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์
หากใครที่ยังไม่เต็มอิ่มกับเรื่องพลังงาน เชิญเข้าไปชมที่บูธของกระทรวง ยังพอมีเวลาเหลือ
http://news.sanook.com/economic/economic_170675.php
โดย ข่าวสด วัน อาทิตย์ ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 04:18 น.
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
การแก้ปัญหาโลกร้อน เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมาก แต่การแก้ปัญหาก็ยังไม่ทันกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายลง
ปีนี้จึงได้ยินข่าวหนาหูว่าน้ำทะเลเหือดแห้ง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หิมะตกในประเทศจากที่ไม่เคยเห็นหิมะมานาน คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในแถบอเมริกา และยุโรปคร่าชีวิตคนไปไม่น้อย
ประเทศไทย แม้จะไม่ใช่ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ซึ่งถือเป็นตัวการทำลายชั้นบรรยากาศโลกเท่ากับประเทศมหาอำนาจ แต่ในเมื่อพลังงานเป็นสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 56% จึงเป็นโอกาสที่จะเปิดใจผู้กุมนโยบายด้านพลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ถึงการวางนโยบายพลังงานเพื่อร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน
-อยากให้รัฐมนตรีช่วยฉายภาพพลังงานกับปัญหาโลกร้อน
การแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องไม่ใช่ทำแค่สาขาพลังงานอย่างเดียว เพราะกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ต่างเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น พอมนุษย์มีรายได้สูงขึ้นก็ใช้พลังงานมากขึ้น มีกิจกรรมดำเนินชีวิตที่ทำให้เกิดโลกร้อนมากขึ้น อาทิ ไอเสียจากรถยนต์ เรือยนต์ และเครื่องบิน การทานเนื้อสัตว์ที่ทำให้ต้องเลี้ยงวัว เลี้ยงแกะมากขึ้น ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการปลูกผัก
ดังนั้น ต้องปรับวิธีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใหม่ ควบคู่กับการแก้ปัญหาในภาคพลังงาน เพราะภาคพลังงานเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าครึ่ง และผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าใครๆ คือประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะเป็นผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า
ขณะนี้มาตรการของภาคพลังงานในการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ทั่วโลกยอมรับมี 4 มาตรการคือ
1.การประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาพลังงานหมุนเวียน
3.ส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า
4.หาทางกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ลงไปในดิน
ในเรื่องการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานหมุนเวียนนั้น ไทยเองก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ แต่ในเรื่องของนิวเคลียร์คงต้องศึกษาไว้เพื่อเป็นทางเลือกในอนาคต เพราะขณะนี้หลายๆ ประเทศเริ่มใช้นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ส่วนการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงดินนั้น เป็นแนวทางที่มีต้นทุนแพงมาก ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นของการทดลอง จึงยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับบ้านเรา
-ดูเหมือนรัฐมนตรีจะให้ความสำคัญเรื่องนิวเคลียร์มาก
ที่ต้องเน้นนิวเคลียร์ เพราะดูแล้วในอนาคต การใช้ก๊าซธรรมชาติมีข้อจำกัด ราคานำเข้าแพงมาก ขณะนี้ในตลาดโลกอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยอยู่ที่ 5.6 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู และในอนาคตต้องแพงกว่านี้ ส่วนการใช้ถ่านหินมีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ตั้ง ประชาชนไม่ยอมรับ และถ่านหินเป็นตัวสำคัญของการทำให้โลกร้อน
ไทยควรมีทางเลือกของการใช้พลังงาน เพราะขณะนี้ไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าถึง 70% สูงเกินไป หากเป็นไปได้อยากจะลดให้เหลือเพียง 50% และกระจายสัดส่วนไปยังถ่านหิน นิวเคลียร์มากขึ้น แต่ในเมื่อถ่านหินคนไทยไม่ยอมรับ คงต้องหันไปพึ่งนิวเคลียร์
ขณะนี้เทคโนโลยีเรื่องนิวเคลียร์ก้าวหน้าไปมาก ประเทศต่างๆ ในโลกที่มีแหล่งพลังงานจำกัด เดินหน้านิวเคลียร์ไปไกลกว่าไทยแล้วไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย ใช้นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และขณะนี้เวียดนามก็วางแผนชัดเจนที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
นิวเคลียร์ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานจากฟอสซิลที่มีอย่างจำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานต่างประเทศเห็นตรงกันว่าถ้าไม่มีนิวเคลียร์ก็คงไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้ เพราะนิวเคลียร์นั้นไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย
-ไทยพร้อมแค่ไหนในเรื่องนิวเคลียร์
คงต้องพร้อม เพราะจากข้อจำกัดในเรื่องเชื้อเพลิง และทิศทางพลังงานจากฟอสซิลโลก ไทยคงหนีไม่พ้นนิวเคลียร์ และนิวเคลียร์กว่าจะเกิดได้ต้องใช้เวลา 13 ปี แบ่งเป็นขั้นเตรียมการ 7 ปี ก่อสร้าง 6 ปี ซึ่งขณะนี้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการเตรียมการศึกษาการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีนายกอรป กฤตยกีรณ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน เพื่อจัดทำแผนด้านนิวเคลียร์ ซึ่งแผนนี้จะเสร็จและได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลชุดนี้ เพื่อให้รัฐบาลชุดต่อๆ ไปนำไปปฏิบัติ
ในช่วง 7 ปีของการเตรียมการ คือการออกกฎหมายรองรับ ตั้งองค์กรขึ้นมากำกับดูแล ออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย หาพื้นที่ในการก่อสร้าง สร้างคนไทยที่จะมาทำหน้าที่ดูแล ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
หน้าที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานด้านพลังงานของประเทศ
-มั่นใจแค่ไหนว่ารมว.พลังงานคนใหม่จะสานต่อ
ไม่มีอะไรมั่นใจ แต่ถ้าเขาไม่เอานิวเคลียร์ต้องมีคำตอบให้ได้ว่าจะนำพลังงานตัวไหนมาแทน และตัวเขาต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัดสินใจไปด้วย
ถ้าเขาไม่เอานิวเคลียร์ แสดงว่าคนๆ นั้นขาดความรับผิดชอบมาก เพราะถ้าลดคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ ปัญหาโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น เราจะโง่มากที่บอกว่าจะไม่พิจารณานิวเคลียร์ และตัดออกไปเลย เป็นสิ่งที่ไม่ฉลาดเลย
-ถ้าไทยจะให้น้ำหนักไปทางพลังงานหมุนเวียนแทนนิวเคลียร์
เป็นอะไรที่เสี่ยงมาก ที่จะให้ไทยพึ่งพาพลังงานทดแทนมากกว่าพลังงานด้านอื่นๆ เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ได้มีเหลือเฟือ และที่มีคนบอกว่าจะให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า 50,000 เมกะวัตต์ แทนการนิวเคลียร์ โดยมองว่าถ้าสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ขนาดนั้นจะทำให้ต้นทุนถูกลงจากขณะนี้ที่สูงถึง 18 บาท/หน่วย ถ้าอนาคตไม่เป็นอย่างนั้นจะทำอย่างไร แต่ถ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์ถูกจริงและคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์อย่างที่คาดไว้ก็ถือเป็นเรื่องดีอีก 7 ปีจะได้ไม่ต้องสร้างนิวเคลียร์ แต่จะให้ยกเลิกโครงการศึกษานิวเคลียร์ไปแล้วพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ถูกจริงก็คงไม่ทันหากจะนำนิวเคลียร์กลับมาใช้ใหม่ แล้วเมื่อถึงเวลานั้นใครจะรับผิดชอบ
ส่วนการนำพลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้า ขณะนี้กระทรวงเร่งอย่างเต็มที่ ทั้งน้ำเสีย ขยะ ชานอ้อย เศษไม้ พลังน้ำ น่าจะได้เพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ในช่วง 5 ปี แต่ขณะนี้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 1,500 เมกะวัตต์ คงไม่พอหากจะพึ่งพาแค่พลังงานหมุนเวียน
พลังงานต่างๆ เหล่านั้นจะผลิตไฟฟ้าไม่ได้มาก เพราะมีข้อจำกัด ยกตัวอย่าง ขยะหากกวาดมาหมดประเทศเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าได้แค่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งในทางปฏิบัติคงเป็นไปไม่ได้ หากจะนำขยะมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ส่วนพลังน้ำชุมชนขนาดเล็กมากคาดว่าจะมีอีก 100 โครงการ ผลิตไฟฟ้าเพียง 4 เมกะวัตต์ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของกฟผ.ที่ร่วมกับกรมชลประทานมีเพียง 77 เมกะวัตต์ ดูแล้วไม่เพียงพอกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นแน่นอน
ในเรื่องโลกร้อนกระทรวงพลังงานติดตามมาหลายปีแล้ว และวางนโยบายด้านพลังงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกมาตลอด ถือเป็นโอกาสดีที่ร่วมกับเครือมติชนจัดงาน กระทรวงพลังงาน มติชน ชวนเที่ยวงานแฟร์ ร่วมกับดูแลสังคม ภายใต้แนวคิด พลังงานทดแทนกู้วิกฤตโลกร้อน ซึ่งจัดมาตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. และมีถึงวันนี้ (19 ส.ค.)เป็นวันสุดท้าย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์
หากใครที่ยังไม่เต็มอิ่มกับเรื่องพลังงาน เชิญเข้าไปชมที่บูธของกระทรวง ยังพอมีเวลาเหลือ
http://news.sanook.com/economic/economic_170675.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/08/07
โพสต์ที่ 57
จีนร่วมทุนผลิตเอทานอลพันล้าน
โดย เดลินิวส์ วัน จันทร์ ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:51 น.
นายจิรายุ วสุรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัทอาร์เอซีโกลบอลอินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยถึงการลงนามกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณ รัฐประชาชนจีนในโครงการผลิตเอทานอลมูลค่า 1 พันล้านบาท ซึ่งมีกำลังผลิตปีละ 36 ล้านลิตรว่า โครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ จ.จันทบุรี โดยจะใช้มันเส้นที่มีปริมาณแป้ง 68-85 เปอร์เซ็นต์ และมีความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์จำนวน 9 หมื่นตันต่อปี ผลิตผลที่ได้จะจำหน่ายให้กับผู้ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ และอีกส่วนหนึ่งจะส่งออกไปขายในต่างประเทศ
ประเด็นสำคัญก็คือ เทคโนโลยีที่ใช้กับโครงการนี้เป็นของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ซึ่งองค์การยูนิโดแห่งสหประชาชาติให้การรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถเอาน้ำเสียและกากมันสำปะหลังไปผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพอย่างครบวงจร จนไม่มีมลพิษตกค้างเลย
ด้านนายวู เหมี่ยน ประธานคณะกรรม การสภาวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า โครงการนี้มีหลักประกันทางธุรกิจสูงมากนั่นคือ ทางฝ่ายจีนได้ลงนามควบคู่ไปด้วยว่า จะรับซื้อเอทานอลที่ผลิตได้ทั้งหมดตามราคาตลาดโลก เพื่อไม่ให้ผู้ผลิตฝ่ายไทยกังวลเรื่องตลาด.
http://news.sanook.com/economic/economic_171231.php
โดย เดลินิวส์ วัน จันทร์ ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:51 น.
นายจิรายุ วสุรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัทอาร์เอซีโกลบอลอินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยถึงการลงนามกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณ รัฐประชาชนจีนในโครงการผลิตเอทานอลมูลค่า 1 พันล้านบาท ซึ่งมีกำลังผลิตปีละ 36 ล้านลิตรว่า โครงการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ จ.จันทบุรี โดยจะใช้มันเส้นที่มีปริมาณแป้ง 68-85 เปอร์เซ็นต์ และมีความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์จำนวน 9 หมื่นตันต่อปี ผลิตผลที่ได้จะจำหน่ายให้กับผู้ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ และอีกส่วนหนึ่งจะส่งออกไปขายในต่างประเทศ
ประเด็นสำคัญก็คือ เทคโนโลยีที่ใช้กับโครงการนี้เป็นของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ซึ่งองค์การยูนิโดแห่งสหประชาชาติให้การรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถเอาน้ำเสียและกากมันสำปะหลังไปผลิตก๊าซชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพอย่างครบวงจร จนไม่มีมลพิษตกค้างเลย
ด้านนายวู เหมี่ยน ประธานคณะกรรม การสภาวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า โครงการนี้มีหลักประกันทางธุรกิจสูงมากนั่นคือ ทางฝ่ายจีนได้ลงนามควบคู่ไปด้วยว่า จะรับซื้อเอทานอลที่ผลิตได้ทั้งหมดตามราคาตลาดโลก เพื่อไม่ให้ผู้ผลิตฝ่ายไทยกังวลเรื่องตลาด.
http://news.sanook.com/economic/economic_171231.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/08/07
โพสต์ที่ 58
เชียร์ซื้อปิโตรฯ หนีที่ดิน-แบงก์
โพสต์ทูเดย์ แนะเลือกซื้อหุ้นปิโตรเคมี หลีกเลี่ยงอสังหาริมทรัพย์และแบงก์ ทิสโก้หั่นดัชนีสิ้นปีเหลือ 800-850 จุด เดิมมอง 900 จุด
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง ซับไพรม์ : เจาะวิกฤตชี้โอกาสตลาดหุ้นไทย ว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ส่วนแง่พื้นฐาน แต่ อาจทำให้ผลประกอบการในบางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่นส่งออกไปยังสหรัฐอาจต้องกระทบบ้าง และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจได้รับผลจากกรณีธนาคารพาณิชย์เริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันแนะนำลงทุนหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี เพราะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่ดีราคาเอทิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้น และนับเป็นกลุ่มหุ้นที่มีอัตราจ่ายเงินปันผลสูง และให้ชะลอลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคาร ให้รอดูราคาหุ้นก่อน เพราะพบว่าสินเชื่อไม่ขยายตัว แต่หนี้เสียที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) กลับเพิ่มขึ้น
นายสุกิจ กล่าวว่า หุ้นไทยปรับตัวลดลง เนื่องมาจากนักลงทุนต่างชาติได้ขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยที่เคยขึ้นบวกถึง 30% ขณะนี้เพิ่มเพียง 15% เท่านั้น แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) งวด 6 เดือนแรกที่ติดลบ 15% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มีโอกาส จะกระทบต่อความสามารถทำกำไร บจ.ครึ่งปีหลัง โดยเศรษฐกิจไทยอาจชะลอตัวบ้างจากการพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐอยู่บ้าง
ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ กล่าวว่า ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1 เดือน นับจากนี้ฝุ่นถึงจะหายตลบ ทำให้สถานการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยนโยบาย (เฟดฟันด์เรต) ลงมาสำหรับการประชุมที่จะมีขึ้นกลางเดือน ก.ย.นี้ ดังนั้นระยะนี้หุ้นทั่วโลกอยู่ใน ช่วงของการปรับฐาน
สำหรับตลาดหุ้นไทยคาดว่าเงินระยะสั้นจากบรรดากองทุนเก็งกำไร(เฮดจ์ฟันด์) ได้ขายเงินลงทุนในหุ้นไทยเกือบหมดแล้ว และหลังจากนี้คงไม่มีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงๆ อีก จึงได้ปรับลดดัชนีหุ้นสิ้นปีนี้เหลือ 800-850 จุด จากเดิมมองไว้ 900 จุด เชื่อว่าจะขึ้นได้เพราะจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้
1 เดือนนับจากนี้ เอาอะไรแน่ ไม่ได้ เล่นหุ้นระยะสั้นวันต่อวันไม่ได้ ต้องมองไกล หากจะลงทุนในระยะ 3-6 เดือน ทยอยลงทุนได้ และจะได้ราคาหุ้นที่ดี เพราะเชื่อว่าหลังจากเหตุการณ์ชัดเจนต่างชาติจะกลับเข้าลงทุนในเอเชียและไทยแน่นอน
ทั้งนี้ มองผลกระทบโดยตรงของ ซับไพรม์ต่อไทยน้อยมาก โดยมีการส่งออกไปสหรัฐไม่มาก แต่เหตุผลทำให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทย ปีนี้ติดลบ เพราะสภาพเศรษฐกิจ ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ แต่ปีหน้า จะเป็นปีที่กำไร บจ.จะโตมากประมาณ 15% เมื่อเทียบจากฐานกำไรต่ำในปี 2550
ด้านตลาดหุ้นไทยหลังประธาน คมช. ปฏิเสธข่าวปฏิวัติซ้ำและเลื่อน วันเลือกตั้งแล้ว ส่งผลดีต่อการลงทุน ทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจเข้ามาไล่ซื้อหุ้นทั่วกระดาน โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มธนาคารและพลังงาน นำโดยหุ้น ปตท. (PTT) ที่ราคาปิดสูงสุดถึง 288 บาท บวก 4.35% จนส่งผลให้ดัชนีปิดที่ 784.43 จุด เพิ่มขึ้น 20.03 จุด หรือ 2.62% แต่มูลค่าซื้อขายเบาบาง เพียง 14,178.90 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิ 402 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดหุ้นยังจะมีความผันผวนเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นต่างประเทศ หากดัชนีเมืองนอกปรับตัวลงแรง ก็จะกระแทกให้ตลาดหุ้นไทยลงตามไปด้วย เพราะฐานที่ขึ้นรอบนี้ยังไม่แน่นและนักลงทุนในประเทศยังไม่กล้าซื้อหุ้นจำนวนมาก หากราคาขึ้นมาก็พร้อมจะขายทำกำไร
ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เริ่มการประชุมเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. และวันนี้จะทราบผลว่า ดอกเบี้ยจะขึ้นหรือไม่ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 0.50% ซึ่งหากญี่ปุ่นไม่เปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ก็จะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะจะไม่มีแรงกดดันให้นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะกองทุนเฮดจ์ฟันด์ขายหุ้นเพื่อนำเงินไปคืนเงินกู้ของญี่ปุ่น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=186790
โพสต์ทูเดย์ แนะเลือกซื้อหุ้นปิโตรเคมี หลีกเลี่ยงอสังหาริมทรัพย์และแบงก์ ทิสโก้หั่นดัชนีสิ้นปีเหลือ 800-850 จุด เดิมมอง 900 จุด
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง ซับไพรม์ : เจาะวิกฤตชี้โอกาสตลาดหุ้นไทย ว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ส่วนแง่พื้นฐาน แต่ อาจทำให้ผลประกอบการในบางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่นส่งออกไปยังสหรัฐอาจต้องกระทบบ้าง และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจได้รับผลจากกรณีธนาคารพาณิชย์เริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันแนะนำลงทุนหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี เพราะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่ดีราคาเอทิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้น และนับเป็นกลุ่มหุ้นที่มีอัตราจ่ายเงินปันผลสูง และให้ชะลอลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคาร ให้รอดูราคาหุ้นก่อน เพราะพบว่าสินเชื่อไม่ขยายตัว แต่หนี้เสียที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) กลับเพิ่มขึ้น
นายสุกิจ กล่าวว่า หุ้นไทยปรับตัวลดลง เนื่องมาจากนักลงทุนต่างชาติได้ขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยที่เคยขึ้นบวกถึง 30% ขณะนี้เพิ่มเพียง 15% เท่านั้น แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) งวด 6 เดือนแรกที่ติดลบ 15% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มีโอกาส จะกระทบต่อความสามารถทำกำไร บจ.ครึ่งปีหลัง โดยเศรษฐกิจไทยอาจชะลอตัวบ้างจากการพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐอยู่บ้าง
ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ กล่าวว่า ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1 เดือน นับจากนี้ฝุ่นถึงจะหายตลบ ทำให้สถานการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยนโยบาย (เฟดฟันด์เรต) ลงมาสำหรับการประชุมที่จะมีขึ้นกลางเดือน ก.ย.นี้ ดังนั้นระยะนี้หุ้นทั่วโลกอยู่ใน ช่วงของการปรับฐาน
สำหรับตลาดหุ้นไทยคาดว่าเงินระยะสั้นจากบรรดากองทุนเก็งกำไร(เฮดจ์ฟันด์) ได้ขายเงินลงทุนในหุ้นไทยเกือบหมดแล้ว และหลังจากนี้คงไม่มีแรงซื้อจากต่างชาติเข้ามาดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงๆ อีก จึงได้ปรับลดดัชนีหุ้นสิ้นปีนี้เหลือ 800-850 จุด จากเดิมมองไว้ 900 จุด เชื่อว่าจะขึ้นได้เพราะจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้
1 เดือนนับจากนี้ เอาอะไรแน่ ไม่ได้ เล่นหุ้นระยะสั้นวันต่อวันไม่ได้ ต้องมองไกล หากจะลงทุนในระยะ 3-6 เดือน ทยอยลงทุนได้ และจะได้ราคาหุ้นที่ดี เพราะเชื่อว่าหลังจากเหตุการณ์ชัดเจนต่างชาติจะกลับเข้าลงทุนในเอเชียและไทยแน่นอน
ทั้งนี้ มองผลกระทบโดยตรงของ ซับไพรม์ต่อไทยน้อยมาก โดยมีการส่งออกไปสหรัฐไม่มาก แต่เหตุผลทำให้ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทย ปีนี้ติดลบ เพราะสภาพเศรษฐกิจ ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ แต่ปีหน้า จะเป็นปีที่กำไร บจ.จะโตมากประมาณ 15% เมื่อเทียบจากฐานกำไรต่ำในปี 2550
ด้านตลาดหุ้นไทยหลังประธาน คมช. ปฏิเสธข่าวปฏิวัติซ้ำและเลื่อน วันเลือกตั้งแล้ว ส่งผลดีต่อการลงทุน ทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจเข้ามาไล่ซื้อหุ้นทั่วกระดาน โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มธนาคารและพลังงาน นำโดยหุ้น ปตท. (PTT) ที่ราคาปิดสูงสุดถึง 288 บาท บวก 4.35% จนส่งผลให้ดัชนีปิดที่ 784.43 จุด เพิ่มขึ้น 20.03 จุด หรือ 2.62% แต่มูลค่าซื้อขายเบาบาง เพียง 14,178.90 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิ 402 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดหุ้นยังจะมีความผันผวนเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นต่างประเทศ หากดัชนีเมืองนอกปรับตัวลงแรง ก็จะกระแทกให้ตลาดหุ้นไทยลงตามไปด้วย เพราะฐานที่ขึ้นรอบนี้ยังไม่แน่นและนักลงทุนในประเทศยังไม่กล้าซื้อหุ้นจำนวนมาก หากราคาขึ้นมาก็พร้อมจะขายทำกำไร
ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เริ่มการประชุมเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. และวันนี้จะทราบผลว่า ดอกเบี้ยจะขึ้นหรือไม่ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 0.50% ซึ่งหากญี่ปุ่นไม่เปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ก็จะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เพราะจะไม่มีแรงกดดันให้นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะกองทุนเฮดจ์ฟันด์ขายหุ้นเพื่อนำเงินไปคืนเงินกู้ของญี่ปุ่น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=186790
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/08/07
โพสต์ที่ 59
รมต.พลังงานอาเซียนรุกจัดทำแผนเชื่อมระบบไฟฟ้าระหว่างกัน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2550 15:45 น.
รัฐมนตรีพลังงานอาเซียนไฟเขียวเดินหน้าจัดทำแผนการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มอาเซียน (อาเซียนกริด) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนราคาน้ำมันแพง นอกจากนี้ พร้อมจะเจรจาและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงานกับกลุ่มโอเปกในอนาคต
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมรัฐมนตรีพลังงานตะวันออก 16 ประเทศ ที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม ได้ให้ความเห็นชอบและได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มอาเซียน (อาเซียนกริด) โดยได้กำหนดกรอบมาตรฐาน กติกา และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ระหว่างกันให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการเชื่อมโยงของระบบไฟฟ้าระหว่างกัน ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมัน
ส่วนการหารือการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อนำเข้าสู่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวของแต่ละประเทศ มีการตกลงว่ากลุ่มอาเซียนต้องมีการพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานมาช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนข้อตกลงความมั่นคงทางด้านน้ำมันต้องมีการแก้ไข เพราะสัญญาเดิมไม่สามารถปฏิบัติได้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีพลังงานยังได้ยกย่องความพยายามของประเทศสมาชิกในปีที่ผ่านมา ในการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าภูมิภาคเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2553 ซึ่งจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอาเซียน โดยได้ตกลงที่จะผลักดันความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล
ทั้งนี้ รัฐมนตรีพลังงานยังได้แสดงความชื่นชมในการตัดสินใจของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันโดยการคงราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแ ละหวังที่จะเห็นมาตรการใหม่ ๆ ของกลุ่มโอเปกในการติดตามดูแลพัฒนาการของตลาดน้ำมันอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการคาดการณ์และเสถียรภาพของตลาด ดังนั้น รัฐมนตรีพลังงานพร้อมที่จะทำการเจรจาและหารือในประเด็นต่าง ๆ ด้านพลังงานกับกลุ่มโอเปกต่อไปในอนาคต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000099822
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2550 15:45 น.
รัฐมนตรีพลังงานอาเซียนไฟเขียวเดินหน้าจัดทำแผนการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มอาเซียน (อาเซียนกริด) เพื่อช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนราคาน้ำมันแพง นอกจากนี้ พร้อมจะเจรจาและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงานกับกลุ่มโอเปกในอนาคต
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมรัฐมนตรีพลังงานตะวันออก 16 ประเทศ ที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม ได้ให้ความเห็นชอบและได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มอาเซียน (อาเซียนกริด) โดยได้กำหนดกรอบมาตรฐาน กติกา และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ระหว่างกันให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการเชื่อมโยงของระบบไฟฟ้าระหว่างกัน ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมัน
ส่วนการหารือการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อนำเข้าสู่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวของแต่ละประเทศ มีการตกลงว่ากลุ่มอาเซียนต้องมีการพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานมาช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนข้อตกลงความมั่นคงทางด้านน้ำมันต้องมีการแก้ไข เพราะสัญญาเดิมไม่สามารถปฏิบัติได้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีพลังงานยังได้ยกย่องความพยายามของประเทศสมาชิกในปีที่ผ่านมา ในการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าภูมิภาคเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2553 ซึ่งจะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอาเซียน โดยได้ตกลงที่จะผลักดันความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล
ทั้งนี้ รัฐมนตรีพลังงานยังได้แสดงความชื่นชมในการตัดสินใจของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันโดยการคงราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแ ละหวังที่จะเห็นมาตรการใหม่ ๆ ของกลุ่มโอเปกในการติดตามดูแลพัฒนาการของตลาดน้ำมันอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการคาดการณ์และเสถียรภาพของตลาด ดังนั้น รัฐมนตรีพลังงานพร้อมที่จะทำการเจรจาและหารือในประเด็นต่าง ๆ ด้านพลังงานกับกลุ่มโอเปกต่อไปในอนาคต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000099822
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 60
เร่งผลิตก๊าซชีวภาพ คาด4ปีประหยัดค่าน้ำมัน6.9พันล้าน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้จัดงานสัมมนาการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็นเวทีสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในรูปแบบต่างๆ ที่ผลิตก๊าซและไฟฟ้าจากฟาร์มสุกร โรงงานสกัดปาล์มน้ำมันและขยะเปียก โดยตั้งเป้าหมายว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าจะผลิตก๊าซชีวภาพได้ถึง 1,060 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งทดแทนการใช้น้ำมันได้ 397,000 ตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ 6,970 ล้านบาท/ปี และคาดว่าจะมีการผลิตไฟฟ้าจากขยะ 100 เมกะวัตต์ และน้ำเสีย 30 เมกะวัตต์
รมว.พลังงาน เชื่อว่า แนวทางดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาของเสียของประเทศ ลดการนำเข้าน้ำมัน ที่สำคัญช่วยลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตให้ต่างประเทศตามสนธิสัญญาเกียวโตได้อีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติให้ 8 โครงการของไทยขายคาร์บอนเครดิตได้ จากก่อนหน้านี้อนุมัติไปแล้ว 7 โครงการ ซึ่งได้รายได้ที่ดีเพราะทั่วโลกวิตกกังวลเรื่องโลกร้อน และยังได้รายได้จากค่าไฟฟ้าตามปกติ รวมทั้งส่วนเพิ่มเติมพิเศษอีก 2.50 บาท/หน่วย และเพื่อเร่งส่งเสริมโรงงานประเภทนี้ กระทรวงพลังงานจะตั้งกองทุนร่วมลงทุนเข้ามาลดภาระการลงทุนของเอกชนด้วย
"นอกจากนี้จะประสานให้มีการใช้ก๊าซชีวภาวภาพจากน้ำเสียให้เร็วขึ้น โดยออกกฎหมายบังคับใช้ในปี 2551 ให้เจ้าของแหล่งน้ำเสียต้องกำจัดของเสียด้วยระบบก๊าซชีวภาพ โดยกระทรวงพลังงานจะให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=73281
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้จัดงานสัมมนาการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็นเวทีสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพในรูปแบบต่างๆ ที่ผลิตก๊าซและไฟฟ้าจากฟาร์มสุกร โรงงานสกัดปาล์มน้ำมันและขยะเปียก โดยตั้งเป้าหมายว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าจะผลิตก๊าซชีวภาพได้ถึง 1,060 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งทดแทนการใช้น้ำมันได้ 397,000 ตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าที่ประหยัดได้ 6,970 ล้านบาท/ปี และคาดว่าจะมีการผลิตไฟฟ้าจากขยะ 100 เมกะวัตต์ และน้ำเสีย 30 เมกะวัตต์
รมว.พลังงาน เชื่อว่า แนวทางดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาของเสียของประเทศ ลดการนำเข้าน้ำมัน ที่สำคัญช่วยลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตให้ต่างประเทศตามสนธิสัญญาเกียวโตได้อีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติให้ 8 โครงการของไทยขายคาร์บอนเครดิตได้ จากก่อนหน้านี้อนุมัติไปแล้ว 7 โครงการ ซึ่งได้รายได้ที่ดีเพราะทั่วโลกวิตกกังวลเรื่องโลกร้อน และยังได้รายได้จากค่าไฟฟ้าตามปกติ รวมทั้งส่วนเพิ่มเติมพิเศษอีก 2.50 บาท/หน่วย และเพื่อเร่งส่งเสริมโรงงานประเภทนี้ กระทรวงพลังงานจะตั้งกองทุนร่วมลงทุนเข้ามาลดภาระการลงทุนของเอกชนด้วย
"นอกจากนี้จะประสานให้มีการใช้ก๊าซชีวภาวภาพจากน้ำเสียให้เร็วขึ้น โดยออกกฎหมายบังคับใช้ในปี 2551 ให้เจ้าของแหล่งน้ำเสียต้องกำจัดของเสียด้วยระบบก๊าซชีวภาพ โดยกระทรวงพลังงานจะให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=73281