อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
-
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 2
พื้นฐานความแตกต่างกันของ 2 ระบบไงครับ ทำให้ กำไรแตกต่างกัน
โทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน)
โดยเริ่มแรกเป็นบริการพื้นฐานเพื่อประชาชน รัฐฯต้องการให้ทุกครัวเรือนมีใช้แต่ไม่สามารถ ลงทุนทั้งหมดได้ บริษัทเอกชนจึงได้สัมปทานจากรัฐฯ ไปทำแทน โดย TA ได้สัมปทานในกรุงเทพฯ TT&T ได้สัมปทานในส่วนภูมิภาค
จุดด้อยของโทรศัพท์บ้าน
1. ไม่สามารถพกพาไปไหนได้ ทำให้ไม่เหมาะกับชีวิตปัจจุบัน
2. การขยายเครือข่ายทำได้ยากและช้ากว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแต่ละเบอร์สูง สังเกตได้จากการขยายตัว ถ้าไม่เป็นการตั้งชุมสายเพื่อหมู่บ้านใหม่หรือชุมชนใหม่แล้ว การไปขอโทรศัพท์พื้นฐานแต่ละครั้งยากมากๆที่จะได้ ต้องดูว่ามีคู่สายว่างที่ชุมสายเดิมใกล้บ้านหรือไม่ ถ้าไม่มีเป็นอันจบ
3. ราคาค่าบริการที่เป็นตัวกำหนดรายได้นั้น ถูกควบคุมโดยกลไกจากภาครัฐฯ
4. ลูกเล่นที่เป็นบริการเสริมให้แก่ระบบ มีน้อยไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ทำรายได้มากๆ เช่น กลุ่มวัยรุ่น, นักธุรกิจ ฯ ได้
โทรศัพท์มือถือ
จากความไม่สมบูรณ์ของระบบโทรศัพท์พื้นฐานในไทย ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ได้ ระบบโทรศัพท์มือถือในไทยซึ่งวางเครือข่ายได้ง่ายกว่าเพราะเพียงแค่ลำเรียงเสาไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและคุ้มต่อการลงทุนก็สามารถให้บริการได้แล้ว จนปัจจุบันสามาถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (โดยไม่ต้องตั้งเสาลากสายดังโทรศัพท์บ้าน)
จุดเด่นของโทรศัพท์มือถือ
1. ราคาเครื่องถูกลงเรื่อยๆ ตามสภาพการแข่งขัน และขอเบอร์ง่าย เพียงแค่มีเงินบวกกับเอกสารก็เข้าไปซื้อได้ตามร้านขายมือถือทั่วไป จากความง่ายและสะดวกตรงนี้ทำให้ฐานลูกค้าขยายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่ปี
2. การผูกขาดระบบทำให้มีผู้ให้บริการไม่กี่รายเท่านั้น แม้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ
มากขึ้น ก็ไม่ทำให้รายได้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจก่อนลดลงมากมาย เหมือนอย่างโทรศัพท์พื้นฐานถูกโทรศัพท์มือถือ แทรกส่วนแบ่งรายได้ไปมหาศาล
3. ระบบสามารถให้บริการสนับสนุนที่เป็นกำไรมหาศาลได้ เช่น การโหลดภาพ, การร่วมสนุกโดยส่ง SMS ฯ
4. กลับมาพูดถึงเครือข่ายอีกนิดครับ เสาแต่ละต้นที่ตั้งไปนั้น บริการครอบคลุมผู้ใช้ได้มากราย ขณะที่ โทรศัพท์บ้าน 1 คู่สายต่อ 1 เบอร์ ทำให้ต้นทุนถูกกว่า
5. เป็นธุรกิจผูกขาดมานานหลายปี ผู้ที่ทำธุรกิจก่อนจึงได้เปรียบ กล่าวคือเมื่อผู้ใช้ไม่เยอะ ราคาค่าเครื่องแพง บริษัทกำไรจากการขายเครื่องมาก ค่าบริการแพง เงินที่ได้จากการขายเครื่องมากและค่าบริการแพงก็เอามาสร้างระบบรองรับปัจจุบัน
------- โดยคร่าวข้างต้นเป็นเบื้องหลังในอดีต -------
อนาคตธุรกิจสื่อสารในเมืองไทย
1. ถ้าลองเอาจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและมือถือมาเขียน โทรศัพท์บ้านการเพิ่มขึ้นค่อนข้างคงที่ไม่หวือหวา ขณะที่โทรศัพท์มืิอถือเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงถึงจำนวนผู้ต้องการใช้บริการมีมากๆ ซึ่งโทรศัพท์พื้นฐานตอบสนองไม่ได้
2. บริษัทมือถือในเมืองไทย ที่ดำเนินงานมาก่อนได้เปรียบในด้านระบบโครงสร้างเพราะโครงสร้างปัจจุบันค่อนข้างสมบูรณ์ เปรียบเสมือนสร้างถนนเสร็จแล้วตอนนี้รอแต่โปรโมทให้คนรับรู้ เข้ามาใช้บริการมากๆ (ยิ่งมีผู้ใช้บริการมาก รายได้ก็มากขึ้น) ตอนนี้จึงเห็นโปรโมชั่นบริการลูกเล่นต่างๆ กันอย่างเต็มที่
3. บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน ต้องหันมาใช้โครงสร้างระบบเท่าที่ตนเองมีอยู่มาให้บริการบ้าง เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป บริการของโทรศัพท์บ้าน ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเวลานี้คือ ADSL เพื่อเบนกลุ่มลูกค้ามาที่อีกกลุ่มที่ต้องการสื่อสารทางข้อมูลมากๆ และรวดเร็ว ซึ่งโทรศัพท์มือถือทำได้แต่แพงกว่ามากและไม่คงเส้นคงวาในการเชื่อมต่อระบบ
4. เบอร์โทรศัพท์ในอนาคตในไม่นานจะถูกใช้เต็มหมด เห็นได้จากโทรศัพท์บ้านในกรุงเทพฯ ต้องเริ่มใช้ 02 นำหน้าเพื่อแยกแยะเบอร์ โทรศัพท์บ้านในภูมิภาคใช้ 03,04,05 นำหน้า โทรศัพท์มือ มีการใช้เบอร์ 01 อดีต ตามมาด้วย 09 ปัจจุบัน มี 06,07 ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้(แต่ละบริษัทฯ)ต้องมีการนำเบอร์เดิมๆ ที่เลิกใช้มาให้บริการใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่บริษัทฯ ตนเองจะไม่มีเบอร์ให้บริการ (ถ้าจำไม่ผิดแต่ละบริษิทฯ จะมีชุดเบอร์ที่ตนเองได้สัมปทานมาด้วย) แล้วต้องรอการจัดสรรตั้งเบอร์ใหม่ นี้เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เห็น บริการเสริมมาแรงมากๆ ในยุคปัจจุบัน
5. อนาคตหากมีคณะกรรมการ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ) มาจัดสรรดูแล การแข่งขันน่าจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเงื่อนไขในรายละเอียดก็ไม่เอื้อต่อการที่จะมีบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นมาง่ายๆ บริษัทเดิมๆ จึงทำกำไรได้มากกว่า
----------------------------------------------------------------
แบบคร่าวๆ แค่นี้ไม่ทราบว่าใช้ได้ไหมนะครับ แต่ว่าหากมีอะไร ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องติติงได้นะครับ พี่ๆ และทุกๆ ท่าน
พอดีผมเพิ่งโพสท์ที่นี่ครั้งแรก แต่ผมก็อ่านที่นี่บ่อยครับ ความรู้ที่นี่มีให้ดี
สอนให้ไม่โลภ เป็นนักลงทุนที่ดี(แม้ว่าวันนี้จะยังทำได้ไม่เต็มที่ก็ตาม)
1
โทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน)
โดยเริ่มแรกเป็นบริการพื้นฐานเพื่อประชาชน รัฐฯต้องการให้ทุกครัวเรือนมีใช้แต่ไม่สามารถ ลงทุนทั้งหมดได้ บริษัทเอกชนจึงได้สัมปทานจากรัฐฯ ไปทำแทน โดย TA ได้สัมปทานในกรุงเทพฯ TT&T ได้สัมปทานในส่วนภูมิภาค
จุดด้อยของโทรศัพท์บ้าน
1. ไม่สามารถพกพาไปไหนได้ ทำให้ไม่เหมาะกับชีวิตปัจจุบัน
2. การขยายเครือข่ายทำได้ยากและช้ากว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแต่ละเบอร์สูง สังเกตได้จากการขยายตัว ถ้าไม่เป็นการตั้งชุมสายเพื่อหมู่บ้านใหม่หรือชุมชนใหม่แล้ว การไปขอโทรศัพท์พื้นฐานแต่ละครั้งยากมากๆที่จะได้ ต้องดูว่ามีคู่สายว่างที่ชุมสายเดิมใกล้บ้านหรือไม่ ถ้าไม่มีเป็นอันจบ
3. ราคาค่าบริการที่เป็นตัวกำหนดรายได้นั้น ถูกควบคุมโดยกลไกจากภาครัฐฯ
4. ลูกเล่นที่เป็นบริการเสริมให้แก่ระบบ มีน้อยไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ทำรายได้มากๆ เช่น กลุ่มวัยรุ่น, นักธุรกิจ ฯ ได้
โทรศัพท์มือถือ
จากความไม่สมบูรณ์ของระบบโทรศัพท์พื้นฐานในไทย ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ได้ ระบบโทรศัพท์มือถือในไทยซึ่งวางเครือข่ายได้ง่ายกว่าเพราะเพียงแค่ลำเรียงเสาไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการสูงและคุ้มต่อการลงทุนก็สามารถให้บริการได้แล้ว จนปัจจุบันสามาถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (โดยไม่ต้องตั้งเสาลากสายดังโทรศัพท์บ้าน)
จุดเด่นของโทรศัพท์มือถือ
1. ราคาเครื่องถูกลงเรื่อยๆ ตามสภาพการแข่งขัน และขอเบอร์ง่าย เพียงแค่มีเงินบวกกับเอกสารก็เข้าไปซื้อได้ตามร้านขายมือถือทั่วไป จากความง่ายและสะดวกตรงนี้ทำให้ฐานลูกค้าขยายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่ปี
2. การผูกขาดระบบทำให้มีผู้ให้บริการไม่กี่รายเท่านั้น แม้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ
มากขึ้น ก็ไม่ทำให้รายได้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจก่อนลดลงมากมาย เหมือนอย่างโทรศัพท์พื้นฐานถูกโทรศัพท์มือถือ แทรกส่วนแบ่งรายได้ไปมหาศาล
3. ระบบสามารถให้บริการสนับสนุนที่เป็นกำไรมหาศาลได้ เช่น การโหลดภาพ, การร่วมสนุกโดยส่ง SMS ฯ
4. กลับมาพูดถึงเครือข่ายอีกนิดครับ เสาแต่ละต้นที่ตั้งไปนั้น บริการครอบคลุมผู้ใช้ได้มากราย ขณะที่ โทรศัพท์บ้าน 1 คู่สายต่อ 1 เบอร์ ทำให้ต้นทุนถูกกว่า
5. เป็นธุรกิจผูกขาดมานานหลายปี ผู้ที่ทำธุรกิจก่อนจึงได้เปรียบ กล่าวคือเมื่อผู้ใช้ไม่เยอะ ราคาค่าเครื่องแพง บริษัทกำไรจากการขายเครื่องมาก ค่าบริการแพง เงินที่ได้จากการขายเครื่องมากและค่าบริการแพงก็เอามาสร้างระบบรองรับปัจจุบัน
------- โดยคร่าวข้างต้นเป็นเบื้องหลังในอดีต -------
อนาคตธุรกิจสื่อสารในเมืองไทย
1. ถ้าลองเอาจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและมือถือมาเขียน โทรศัพท์บ้านการเพิ่มขึ้นค่อนข้างคงที่ไม่หวือหวา ขณะที่โทรศัพท์มืิอถือเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงถึงจำนวนผู้ต้องการใช้บริการมีมากๆ ซึ่งโทรศัพท์พื้นฐานตอบสนองไม่ได้
2. บริษัทมือถือในเมืองไทย ที่ดำเนินงานมาก่อนได้เปรียบในด้านระบบโครงสร้างเพราะโครงสร้างปัจจุบันค่อนข้างสมบูรณ์ เปรียบเสมือนสร้างถนนเสร็จแล้วตอนนี้รอแต่โปรโมทให้คนรับรู้ เข้ามาใช้บริการมากๆ (ยิ่งมีผู้ใช้บริการมาก รายได้ก็มากขึ้น) ตอนนี้จึงเห็นโปรโมชั่นบริการลูกเล่นต่างๆ กันอย่างเต็มที่
3. บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน ต้องหันมาใช้โครงสร้างระบบเท่าที่ตนเองมีอยู่มาให้บริการบ้าง เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป บริการของโทรศัพท์บ้าน ที่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเวลานี้คือ ADSL เพื่อเบนกลุ่มลูกค้ามาที่อีกกลุ่มที่ต้องการสื่อสารทางข้อมูลมากๆ และรวดเร็ว ซึ่งโทรศัพท์มือถือทำได้แต่แพงกว่ามากและไม่คงเส้นคงวาในการเชื่อมต่อระบบ
4. เบอร์โทรศัพท์ในอนาคตในไม่นานจะถูกใช้เต็มหมด เห็นได้จากโทรศัพท์บ้านในกรุงเทพฯ ต้องเริ่มใช้ 02 นำหน้าเพื่อแยกแยะเบอร์ โทรศัพท์บ้านในภูมิภาคใช้ 03,04,05 นำหน้า โทรศัพท์มือ มีการใช้เบอร์ 01 อดีต ตามมาด้วย 09 ปัจจุบัน มี 06,07 ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้(แต่ละบริษัทฯ)ต้องมีการนำเบอร์เดิมๆ ที่เลิกใช้มาให้บริการใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่บริษัทฯ ตนเองจะไม่มีเบอร์ให้บริการ (ถ้าจำไม่ผิดแต่ละบริษิทฯ จะมีชุดเบอร์ที่ตนเองได้สัมปทานมาด้วย) แล้วต้องรอการจัดสรรตั้งเบอร์ใหม่ นี้เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เห็น บริการเสริมมาแรงมากๆ ในยุคปัจจุบัน
5. อนาคตหากมีคณะกรรมการ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ) มาจัดสรรดูแล การแข่งขันน่าจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเงื่อนไขในรายละเอียดก็ไม่เอื้อต่อการที่จะมีบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นมาง่ายๆ บริษัทเดิมๆ จึงทำกำไรได้มากกว่า
----------------------------------------------------------------
แบบคร่าวๆ แค่นี้ไม่ทราบว่าใช้ได้ไหมนะครับ แต่ว่าหากมีอะไร ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องติติงได้นะครับ พี่ๆ และทุกๆ ท่าน
พอดีผมเพิ่งโพสท์ที่นี่ครั้งแรก แต่ผมก็อ่านที่นี่บ่อยครับ ความรู้ที่นี่มีให้ดี
สอนให้ไม่โลภ เป็นนักลงทุนที่ดี(แม้ว่าวันนี้จะยังทำได้ไม่เต็มที่ก็ตาม)
1
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 5
ผมว่ามือถือเกิดขึ้นเพราะว่าคนเราต้องไปไหนมาไหน ทำให้คิดค้นเทคโนโลยีที่ทำให้เอาโทรศัพท์ติดตัวไปไหนมาไหนได้ครับ คงไม่ใช่เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของระบบโทรศัพท์พื้นฐานหรอกครับ
ผมว่ายังงัยโทรศัพท์บ้านก็อยู่ได้ เพราะออฟฟิศก็ต้องมีเบอร์สำนักงาน เบอร์แฟกซ์ ไว้ต่อเน็ตที่เร็วๆ มือถือยังงัยก็เร็วกว่าโทรศัพท์บ้านได้ยากครับ ในช่วงไม่กี่ปีจากนี้
ผมว่ายังงัยโทรศัพท์บ้านก็อยู่ได้ เพราะออฟฟิศก็ต้องมีเบอร์สำนักงาน เบอร์แฟกซ์ ไว้ต่อเน็ตที่เร็วๆ มือถือยังงัยก็เร็วกว่าโทรศัพท์บ้านได้ยากครับ ในช่วงไม่กี่ปีจากนี้
Expecto Patronum!!!!!!
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 6
พอดีมีหุ้นTT&Tอยู่นิดหน่อย แต่ยอมรับว่าก้นบุหรี่ครับ ความเข้าใจเรื่องธุรกิจน้อยมาก ผมอยากถามนิดหนึ่งว่า โทรศัพท์พื้นฐานหากจะเติบโตได้ในอนาคตมีปัจจัยอะไรบ้างครับ และผู้ที่เป็นเจ้าของโครงข่ายอย่างTT&Tจะได้รับประโยชน์มากน้อยแค่ไหนหากมีการแปรรูปแล้ว
บริการที่จะเกิดในอนาคตของสายโทรศัพท์พื้นฐาน แน่นอนอาจจะสู้มือถือไม่ได้ แต่มันน่าจะมีจุดแข็งของมัน ไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างครับ
ขอบพระคุณมากครับ
การแบ่งปันข้อมูลครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผมมากครับ
บริการที่จะเกิดในอนาคตของสายโทรศัพท์พื้นฐาน แน่นอนอาจจะสู้มือถือไม่ได้ แต่มันน่าจะมีจุดแข็งของมัน ไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างครับ
ขอบพระคุณมากครับ
การแบ่งปันข้อมูลครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผมมากครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- วันพีส
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 7
อันนี้ผมก็ว่าใช่ครับ แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคือหากเป็นประเทศที่มีระบบโทรศัพท์พื้นฐานดีๆ(ระบบโทรศัพท์พื้นฐานหมายรวมถึงโทรศัพท์สาธารณะด้วยนะครับ) เช่น สหรัฐฯ ยอดการเติบโตของโทรศัพท์มือถือไม่ใช่ก้าวกระโดด อย่างประเทศไทยหรือประเทศในเอเซียตะวันออก (หรือว่านิสัยการใช้ของคนไทยและเอเซียตะวันออกต้องการใช้เทคโนโลยีมากกว่าความจำเป็นพื้นฐาน)harry ตอบเมื่อ: Fri Mar 12, 2004 1:30 pm เรื่อง:
--------------------------------------------------------------------------------
ผมว่ามือถือเกิดขึ้นเพราะว่าคนเราต้องไปไหนมาไหน ทำให้คิดค้นเทคโนโลยีที่ทำให้เอาโทรศัพท์ติดตัวไปไหนมาไหนได้ครับ
ระบบโทรศัพท์พื้นฐานดีๆ ก็ทำให้ประชาชนที่เป็นผู้ใช้งานจริงๆ ลดความต้องการโทรศัพท์มือถือลงไปเยอะ อย่างเช่น เดินไปมุมถนนไหนๆ ก็มีโทรศัพท์สาธารณะที่ใช้งานได้ให้ใช้ติดต่อ
แต่ผมก็คิดว่าตอนนี้ นิสัยการใช้โทรศัพท์ของคนไทยคงไม่กลับไปสู่การเดินไปโทรศัพท์ที่ตู้สาธารณะแล้ว(คงเหลือน้อยมาก)เพราะมีความสะดวกสบายของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือมาทดแทนเมื่อยามที่เราเรียกร้องความต้องการขั้นพื้นฐานแต่ไม่ได้มา บริษัทเอกชนเล็งเห็นข้อนี้จึงเอามาเป็นประโยชน์
ผมว่าเริ่มจากการสนับสนุนภาครัฐฯ โดยปัจจุบัน รัฐฯ มีแผนแม่บทที่จะสร้าง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Infrastructure --NII) (เป็นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์และถนนที่จะขนข่าวสารแห่งยุคสารสนเทศ) อันเนี่ยเป็นงานใหญ่เหมือน ITD ได้สัมปทานสร้างถนนเลยครับ แต่อันนี้เป็นถนนของข้อมูลข่าวสาร (ส่วนตัวผมอยากให้สร้างทันรัฐบาลชุดที่มีเสถียรภาพอย่างนี้และนายกก็เป็นคนสนใจทางด้านนี้) เป็นการยกโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารของประเทศขึ้นมาอีกขั้น ซึ่งปัจจุบัน เช่น สหรัฐฯ,ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้ เป็นต้น เริ่มดำเนินการหมดแล้วMon money ตอบเมื่อ: Fri Mar 12, 2004 9:44 pm เรื่อง:
--------------------------------------------------------------------------------
โทรศัพท์พื้นฐานหากจะเติบโตได้ในอนาคตมีปัจจัยอะไรบ้างครับ
ต่อไปคงไม่กล่าวถึงกันแค่โทรศัพท์พื้นฐานแล้วหละึครับเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของระบบใหญ่ไปแล้ว ทั้ง TA,TT&T,ทศท., กสท.และอื่นๆ จะมุ่งกันมาทำธุรกิจจากประโยชน์ที่เกิดขึ้นตรงนี้ เมื่อทางดีประชาชนก็อยากใช้บริการครับ แล้วบริการรูปแบบต่างๆ จะตามมาครับ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างมหาศาล เช่น เกษตรกรที่อยู่รอบนอกห่างไกลได้ใช้บริการข้อมูลการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อตน ทำให้ผลผลิตมากขึ้น สร้างช่องทางค้าขายเองโดยตรงกับผู้ซื้อไม่ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง , หรือเมื่อเราป่วยไข้ ทำให้หมอให้บริการการรักษาผ่านทาง อินเตอร์เน็ทได้ ส่งฟิลม์เอกเรย์เพื่อช่วยวิเคราะห์ผลผ่านทางอินเตอร์ืเน็ทที่อยู่บนโครงข่ายความเร็วสูงได้ เป็นต้น
อันนี้ผมไม่ทราบรายละเอียดครับ แต่ TT&T ได้สัมปทานจากภาครัฐฯ มา 1 ล้านเลขหมาย ซึ่งใช้เครือข่ายชุมสาย ด้วย ระบบเคเบิ้ลใยแก้ว ทำให้อนาคต หากรายละเอียดกฏหมายทางด้านโทรคมนาคมชัดเจนแน่นอนแล้ว และ TT&T ยังคงดูแล 1 ล้านเลขหมายนี้อยู่ คงสามารถให้บริการรูปแบบต่างๆ ได้ผู้ที่เป็นเจ้าของโครงข่ายอย่างTT&Tจะได้รับประโยชน์มากน้อยแค่ไหนหากมีการแปรรูปแล้ว
ข้อสังเกต คือปัจจุบันการปรับปรุง,เพิ่มเติม โครงข่ายพื้นฐานไม่เดินหน้าเลย เพราะไม่มีเจ้าภาพคือ กทช. มาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยสัญญาของบริษัทต่างๆ ทำให้บริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TA,TT&T,ทศท., กสท.ฯ ดูแลระบบปัจจุบันที่มีอยู่ไปวันๆ อย่าง TA,TT&T เนี่ยก็อยากขยายเวลาและเลขหมายโทรศัพท์ในสัมปทาน ลองนึกดูนะครับ ใครบ้างอยากปรับปรุงโครงข่ายที่ตนเองวางให้ดีขึ้น เมื่ออีกไม่กี่ปีก็ต้องส่งมอบสัมปทานให้ ทศท. หากมี กทช. มาช่วยขยายสัมปทานได้ คงเห็นการลงทุนเพิ่มเติมอย่างชัดเจนของทั้ง TA,TT&T เพราะลงทุนเพิ่มเติมอีกไม่มากแล้ว ก็ได้นั่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่
จุดแข็งของเขาคือการเป็นระบบสายไงครับ(สายของระบบที่วางเป็นหลักใหญ่ๆ ในยุคนี้ไม่เป็นสายทองแดงแล้วนะครับ เป็นใยแก้วนำแสง ต่อไปก็คงพัฒนาไปทางนี้ครับ) กล่าวคืิอ การบริการข้อมูลไปตามสายเนี่ย จะสามารถทำได้คราวละมากๆ มากกว่าโทรศัพท์มือถือ และรวดเร็วกว่าอีกทั้งยังสูญเสียรายละเอียดของข้อมูลน้อยกว่า หากปรับปรุง,เพิ่มเติม บางส่วนอีกเล็กน้อย บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับคนหลายวงการจะเกิดขึ้น เมื่อมีคนใช้บริการมากขึ้นรายได้ก็มากขึ้นตามไปด้วยบริการที่จะเกิดในอนาคตของสายโทรศัพท์พื้นฐาน แน่นอนอาจจะสู้มือถือไม่ได้ แต่มันน่าจะมีจุดแข็งของมัน ไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างครับ
-----------------------------------
แต่ปัญหาหลักที่หยุดการเติบโตของระบบโทรคมนาคม ส่วนตัวผมเห็นว่าอยู่ที่การไม่มี กทช. ครับ
1
ผมรู้น้อย แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณมากครับคุณวันพีส ทำให้ผมรู้เพิ่มขึ้นอีกมาก
ขอถามเพิ่มนิดหนึ่งครับ
ตอนนี้จากอุปนิสัยคนไทยปัจจุบันที่มีมือถือกันมากและใช้กันมาก เท่าที่ดูแล้วเห็นจะเป็นแค่การใช้ขั้นพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสะดวก แต่หากจะต้องการใช้ประโยชน์มากกว่านั้นมักใช้ land line ในการณีนี้ข้อได้เปรียบที่ว่ามันเป็นการส่งข้อมูลตามสายที่ประหยัดกว่าเพราะส่งได้มากและผิดผลาดน้อยกว่า มันจะมีtechnologyใดมาช่วยสร้างความโดดเด่นให้เกิดขึ้นมากกว่านี้ไหมครับ และมีความเป็นไปได้ไหมว่าผู้ประกอบการบ้านเราจะนำมาใช้ และต้นทุนสูงไหมครับ และที่สำคัญแนวโน้มมันจะเป็นไปในรูปใดครับ
ขอถามเพิ่มนิดหนึ่งครับ
ตอนนี้จากอุปนิสัยคนไทยปัจจุบันที่มีมือถือกันมากและใช้กันมาก เท่าที่ดูแล้วเห็นจะเป็นแค่การใช้ขั้นพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสะดวก แต่หากจะต้องการใช้ประโยชน์มากกว่านั้นมักใช้ land line ในการณีนี้ข้อได้เปรียบที่ว่ามันเป็นการส่งข้อมูลตามสายที่ประหยัดกว่าเพราะส่งได้มากและผิดผลาดน้อยกว่า มันจะมีtechnologyใดมาช่วยสร้างความโดดเด่นให้เกิดขึ้นมากกว่านี้ไหมครับ และมีความเป็นไปได้ไหมว่าผู้ประกอบการบ้านเราจะนำมาใช้ และต้นทุนสูงไหมครับ และที่สำคัญแนวโน้มมันจะเป็นไปในรูปใดครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 9
ผมว่าตอนนี้ยังเป็นยุคของมือถือ แต่ land line มาแน่ครับ
เหตุผลก็คือ ความต้องการติดต่อสื่อสารที่ประหยัดและได้ข้อมูลคุณภาพทางอิเลคโทรนิคส์จะเกิดขึ้นแน่ และสิ่งที่จะ support ได้ดีที่สุดไม่ใช่คลื่นที่เราไม่เห็นแน่ๆ แต่เป็นสายโทรศัพท์ต่างๆ นี่แหละ
TA พยายามหา value-added service จากตรงนี้จ้าละหวั่น TT&T ก็เริ่มทำบ้างแล้วแต่ก็ยังอีกสักพักนึงที่ตจว จะมีความต้องการเท่ากรุงเทพ
ถ้ามีกทช. ก็จะยิ่งทำให้ความสามารถในการทำกำไรของ TA TT&T มีมากขึ้นแน่ๆ ครับ
ท่าน วันพีส ไม่ได้รู้น้อยเลยเหมือนที่ถล่มตัวไว้เลยนะเนี่ย
เหตุผลก็คือ ความต้องการติดต่อสื่อสารที่ประหยัดและได้ข้อมูลคุณภาพทางอิเลคโทรนิคส์จะเกิดขึ้นแน่ และสิ่งที่จะ support ได้ดีที่สุดไม่ใช่คลื่นที่เราไม่เห็นแน่ๆ แต่เป็นสายโทรศัพท์ต่างๆ นี่แหละ
TA พยายามหา value-added service จากตรงนี้จ้าละหวั่น TT&T ก็เริ่มทำบ้างแล้วแต่ก็ยังอีกสักพักนึงที่ตจว จะมีความต้องการเท่ากรุงเทพ
ถ้ามีกทช. ก็จะยิ่งทำให้ความสามารถในการทำกำไรของ TA TT&T มีมากขึ้นแน่ๆ ครับ
ท่าน วันพีส ไม่ได้รู้น้อยเลยเหมือนที่ถล่มตัวไว้เลยนะเนี่ย
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 10
คุณวันพีสเขียนได้โดนใจครับ ขอบคุณครับ
ส่วนเรื่องที่โทรศัพท์มือถือในอเมริกาไม่โตแบบก้าวกระโดดนั้น สาเหตุมา
จากความคุ้มค่าในการลงทุนเครือข่ายด้วยครับ เพราะอเมริกาเป็นประเทศ
ใหญ่ แค่รัฐเท็กซัสรัฐเดียวก็ใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศแล้ว คิดค่า
ลงทุนในการวางเครือข่ายต่อ return ยังไงเสียค่าโทรศัพท์ก็ออกมาแพง
แน่นอนครับ
ในเอเชีย ประเทศที่มีการกระจุกตัวของประชากรสูงมากๆ เช่น สิงคโปร์
ฮ่องกง มาเลเชีย และไทย โทรศัพท์มือถือจะได้เปรียบกว่ามาก ยุโรปก็
เช่นกันครับ
ส่วนเทคโนโลยีทางด้าน land line ก็ค่อยๆพัฒนาต่อไป แต่ข้อจำกัดสำคัญ
คือ copper line ครับ ถ้า fiber optic สามารถขยายไปทั่วประเทศได้ อันนี้
จะน่าสนใจมาก cost ของการวางสาย fiber optic นั้นสูงที่สุดตอนเข้าหัว
เท่านั้น ส่วนตัวสายการลงทุนแทบไม่ต่างกับ copper line เลย และมีข้อดี
คือ เมื่อสายเสีย สามารถยิงแสงออกไป วัดการสะท้อนกลับมา และคำนวณ
ได้เลยครับ ว่าสายเสียที่ไหน สามารถ replace ได้ค่อนข้างง่าย
ตอนนี้สาย land line ที่เข้าตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัยยังไม่ได้เป็น fiber optic
ครับ เป็น copper เป็นส่วนมาก
ถ้าพูดถึง wireless ที่น่าสนใจคือระบบโทรศัพท์ดาวเทียมที่เคยฮือฮาอยู่พัก
หนึ่ง แต่ตอนนี้เงียบไปแล้วครับ low orbit sattelite ยิ่งน่าสนใจมากครับ
แต่เสียดายที่ operator เจ๊งไปแล้ว ยังไม่ได้ตามข่าวเหมือนกันว่ายังไงต่อ
ส่วนเรื่องที่โทรศัพท์มือถือในอเมริกาไม่โตแบบก้าวกระโดดนั้น สาเหตุมา
จากความคุ้มค่าในการลงทุนเครือข่ายด้วยครับ เพราะอเมริกาเป็นประเทศ
ใหญ่ แค่รัฐเท็กซัสรัฐเดียวก็ใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศแล้ว คิดค่า
ลงทุนในการวางเครือข่ายต่อ return ยังไงเสียค่าโทรศัพท์ก็ออกมาแพง
แน่นอนครับ
ในเอเชีย ประเทศที่มีการกระจุกตัวของประชากรสูงมากๆ เช่น สิงคโปร์
ฮ่องกง มาเลเชีย และไทย โทรศัพท์มือถือจะได้เปรียบกว่ามาก ยุโรปก็
เช่นกันครับ
ส่วนเทคโนโลยีทางด้าน land line ก็ค่อยๆพัฒนาต่อไป แต่ข้อจำกัดสำคัญ
คือ copper line ครับ ถ้า fiber optic สามารถขยายไปทั่วประเทศได้ อันนี้
จะน่าสนใจมาก cost ของการวางสาย fiber optic นั้นสูงที่สุดตอนเข้าหัว
เท่านั้น ส่วนตัวสายการลงทุนแทบไม่ต่างกับ copper line เลย และมีข้อดี
คือ เมื่อสายเสีย สามารถยิงแสงออกไป วัดการสะท้อนกลับมา และคำนวณ
ได้เลยครับ ว่าสายเสียที่ไหน สามารถ replace ได้ค่อนข้างง่าย
ตอนนี้สาย land line ที่เข้าตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัยยังไม่ได้เป็น fiber optic
ครับ เป็น copper เป็นส่วนมาก
ถ้าพูดถึง wireless ที่น่าสนใจคือระบบโทรศัพท์ดาวเทียมที่เคยฮือฮาอยู่พัก
หนึ่ง แต่ตอนนี้เงียบไปแล้วครับ low orbit sattelite ยิ่งน่าสนใจมากครับ
แต่เสียดายที่ operator เจ๊งไปแล้ว ยังไม่ได้ตามข่าวเหมือนกันว่ายังไงต่อ
- วันพีส
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 11
ขออนุญาตเรียก คุณ Mon money ว่า พี่มน แล้วกันครับ ดูจากการตอบกระทู้ที่ต่างๆ แล้ว ผมต้องเป็นรุ่นน้องแน่นอนMon money :
land line ในกรณีนี้ข้อได้เปรียบที่ว่ามันเป็นการส่งข้อมูลตามสายที่ประหยัดกว่าเพราะส่งได้มากและผิดผลาดน้อยกว่า มันจะมีtechnologyใดมาช่วยสร้างความโดดเด่นให้เกิดขึ้นมากกว่านี้ไหมครับ และมีความเป็นไปได้ไหมว่าผู้ประกอบการบ้านเราจะนำมาใช้ และต้นทุนสูงไหมครับ และที่สำคัญแนวโน้มมันจะเป็นไปในรูปใดครับ
ปัจจุบันในประเทศไทย ผมก็เข้าใจว่ามีเทคโนโลยี ISDN และ ADSL ใช้กันมากๆ ตอนนี้
เหมือนอย่างที่ พี่ๆ และหลายๆ ท่านโพสท์กันในกระทู้
อีกหน่อยการสื่อสารคงก้าวไกลแน่ผมว่า นั่นแหละครับ
เทคโนโลยี ISDN มาก่อน แต่ใช้ไม่แพร่หลาย ยุ่งยากกว่าในการติดตั้ง ต้องขอใช้สาย ISDN ใหม่
เทคโนโลยี ADSL มาทีหลัง ทำท่าว่าจะแซงหน้าแล้วครับ ด้วยเหตุที่ใช้สายโทรศัพท์บ้านธรรมดาได้ในการเชื่อมต่อ เพียงแค่หา โมเด็ม ADSL มาเชื่อมต่อก็ใช้ได้
ถ้าสนใจรายละเอียด เทคโนโลยีทั้ง 2 อ่านได้จากเรื่อง
Broadband มหัศจรรย์เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่
http://internet.se-ed.com/content/in91/in91_52.asp
เนื้อหาเป็นการมองภาพโดยรวมๆ ได้ดีทีเดียว(ผมคิดเอาเอง)
หรือ ISDN vs ADSL
http://www.adslthailand.com/Tutorial/isdnVSdsl.html
เปรียบเทียบ ระหว่าง ADSL และ ISDN ที่มีอยู่ในไทย
-------------------------------------------------
ผมไม่เข้าใจครับ ว่าที่พี่มน ถามเรื่อง แนวโน้มมันจะเป็นไปในรูปใดครับ เป็นแนวโน้มแบบไหน
ถ้าเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่จะเข้ามาในไทย ผมไม่ทราบหรอกครับ คงต้องอิงจากความต้องการของคนในประเทศ ที่ต้องการ ความเร็ว, ความสะดวก, ถูกต้องแม่นยำของข้อมูล, สภาพภูมิอากาศประเทศไทย ฯลฯ
แต่ถ้าเดาเล่นๆ แล้วกันครับ ก็ต้องเรียกว่า เทคโนโลยีความเร็วสูง 3 ตัว ที่มีใช้อยู่ในโลกนี้แหละครับ ที่มีโอกาสเข้ามาในไทย
เทคโนโลยีถัดๆ ไป เกี่ยวกับ DSL เนี่ยหละครับ เพราะเป็นเทคโนโลยีความเร็วสูงของสายโทรศัพท์บ้าน ซึ่ง ADSL เป็น DSL แบบหนึ่ง
เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อการใช้กับอินเตอร์เน็ทความเร็วสูง(เทคโนโลยีนี้นอกเรื่อง land line ครับ)
เทคโนโลยีการส่งข้อมูลความเร็วสูงมากับสายเคเบิ้ล TV (ถือว่าเป็น land line แบบหนึ่งได้ไหมครับ ถ้าเกิดขึ้นจริงในไทย UBC รับเละก่อนเพื่อนเลยครับ) เนี่ยก็สามารถ ทำให้เกิดประโยชน์ได้นะครับ ซึ่งมี คร่าวๆ อยู่ใน เรื่อง Broadband มหัศจรรย์เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
มีอีกเทคโนโลยีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ ในโลกนี้หลายๆ บริษัท ให้ความสนใจ คือ การ ส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟฟ้า เพราะว่า เป็นสายชนิดเดียวที่ทุกบ้านในโลกนี้ที่มีไฟฟ้าใช้งานต้องต่อ
เทคโนโลยี 3 ตัวบน เนี่ยปัจจบันกำลังใช้งานจริงจังอยู่ในโลกนี้ ตัวที่ 4 เนี่ยผมคิดว่าอยู่ในขั้นทดลองใช้งาน
เรื่องการนำมาใช้ของผู้ประกอบการและต้นทุนสูงไหมเนี่ย ถ้านำเทคโนโลยีมาใช้กับโครงสร้างเดิมที่ตนเองมีอยู่ก็ไม่สูงครับ ค่าโครงสร้างสูงกว่ามากครับ ถนนหลวงใหญ่ๆ รัฐฯ จึงต้องเป็นผู้สร้างไงครับ(ทางด่วนข้อมูลถนนซุปเปอร์ไฮเวย) ถ้ารัฐฯ ไม่สามารถสร้างได ้ผู้ให้บริการคงต้องเปลี่ยนวิธีคิด ในการนำเทคโนโลยีความเร็วสูงมาใช้กับประเทศไทย และผมว่าเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นตัวแปรเรื่องแนวโน้ม
ยกตัวอย่าง สายโทรศัพท์ธรรมดา(อันนี้เป็นโครงสร้างที่มีอยู่) ผู้ใช้ทั่วไปมีอยู่แล้ว ก็เพิ่มโมเด็ม ADSL เข้าไป และเสียค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับปริมาณข้อมูลที่สนใจและได้มา ผมคิดว่าผู้ใช้งานคงยอมรับได้ ทำให้ผู้ประกอบการยอมที่จะลงทุนวางระบบ ADSL การวางระบบก่อนย่อมได้เปรียบ เพราะคู่แข่งน้อย ราคาค่าบริการก็แพง ก่อนที่การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ราคาลดลง ผู้ใช้จะได้ประโยชน์มากขึ้นแทน
สรุป แบบกำปั้นทุบดินหน่อยว่า เทคโนโลยี 3 ตัวแรกข้างบนเนี่ยหละครับ แต่จะเข้ามาในชื่อใดเท่านั้นเอง เพราะเปลี่ยนเพียงรายละเอียดเล็กน้อย ก็มีชื่อใหม่แล้ว แต่อย่างไรเสีย บริษัทที่จะนำเทคโนโลยีนั้นๆ เข้ามา เขาก็ต้องเน้น ความเร็ว ความละเอียดถูกต้อง เข้าถึงได้ง่าย สะดวกสบาย ปรับจากโครงสร้างระบบเดิมได้ ไม่ใช่ต้องมาสร้างโครงสร้างใหม่ ยกเว้นกรณีเมื่อมี ทางด่วนข้อมูล ตอนนั้นคงสร้างโครงสร้างกันใหม่ครับ เช่น สายที่เดินก็คงไม่เป็นทองแดง แต่เป็นสายเงินหรือสายที่มีส่วนผสมของทองคำแทนหรือใยแก้วนำแสง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่ระยะทางใกล้ไกล
และเดาว่าเราคงต้องหันมามองเทคโนโลยี ที่เพื่อนบ้านเราจากเอเซียใช้งานอยู่ เพราะเราอยู่กับเขา ไม่ใชอยู่กับ่ชาติตะวันตก ผมลองนึกดูว่าถ้าเราใช้เทคโนโลยีที่ สหรัฐฯ ใช้งานอยู่ แต่เอเซียซึ่งเป็นรอบๆ บ้านเราไม่ใช่ การเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีที่ต่างออกไป เราคงจะต่อกันยากครับ และเสียต้นทุนในการต่อที่สูงกว่า
-------------------------------------------------
ถ้าตอบเรื่องแนวโน้มแบบเชิงธุรกิจ โดยสมมติว่าเรามี ระบบเทคโนโลยีความเร็วสูงอะไรก็ตามที่มีคุณสมบัติครบ ตามความต้องการของธุรกิจ ผมว่าคุ้มทุนได้โดยไม่ยากทั้งนั้นครับ ในยุคต้องการข้อมูลข่าวสาร อย่างเช่นปัจจุบัน
โดยล่วนตัวผมไม่ได้สนใจเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะเข้ามาในไทย มากนัก เพราะมันมาในชื่อต่างๆ เยอะไปหมด ตามไม่ทัน แต่หลักๆ แล้ว การส่งข้อมูลไปถึงบ้านของผู้ใช้งานในไทย ตอนนี้และต่อไปในอนาคตก็คงเข้าข่ายเทคโนโลยีความเร็วสูงเพียงแค่ 3 ตัว แรกเท่านั้นเอง
ความสนใจของผมจึงไปอยู่ที่เรื่อง ภาพโดยรวมที่ธุรกิจนั้นๆ จะเอาระบบความเร็วสูงมาใช้ มากกว่าครับ
เช่น
โครงการบ้านของ SC ที่สร้างบ้านแล้วใส่ระบบ อินเตอร์เน็ท ความเร็วสูงเข้าไป สามารถเพิ่มราคาบ้านได้อีกหลายเงิน เพราะ ความต้องการบริโภคข้อมูลของคนเรา
TA,TT&T นำระบบ ADSL มาใช้ไปพลางๆ ก่อน ดีกว่าไม่ทำอะไร ปล่อยสายไว้แค่โทรศัพท์เฉยๆ มันไม่คุ้มต้นทุน และทนการร้องเรียนประชาชนไม่ไหวเกี่ยวกับความช้า
โบรกเกอร์บริษัทหลักทรัพย์ นำเทคโนโลยีความเร็วสูงมาเชื่อมต่อที่ห้องค้าหลักทรัพย์ที่สาขาต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของตนเอง
(ตัวอย่างนี้นึกเล่นๆ ดูนะครับเกี่ยวกับอนาคตของ UBC) ถ้า UBC สามารถมีเครือข่ายเคเบิ้ลได้ทั่วประเทศ UBC อาจตัดสินใจลงทุน การให้บริการข้อมูลความเร็วสูงผ่านทางสายเคเบิ้ล TV
ร้านขายกาแฟ อย่าง บ้านไร่กาแฟ ก็เอา อินเตอร์เน็ทความเร็วสูงไปใช้งาน
-------------------------------------------------
ต่อไปผมก็คงเรียกว่า คุณ ayethebing ว่าพี่นะครับayethebing ตอบเมื่อ: Sun Mar 14, 2004 2:25 am เรื่อง:
ท่าน วันพีส ไม่ได้รู้น้อยเลยเหมือนที่ถล่มตัวไว้เลยนะเนี่ย
ปัจจุบันเนี่ยยังรู้น้อยครับ จะตอบเรื่องอะไรสักทียังต้องเอาเรื่องมาประติดประต่อดู ว่าเข้าท่าและคิดว่าถูกต้องมากที่สุดไหม และที่รู้น้อยเข้าไปใหญ่ ก็เรื่องแนวทางการลงทุนที่ดีในหลักทรัพย์ไงครับ
-------------------------------------------------
ขอบคุณครับ คุณ CK, คุณ harry, พี่มน, พี่ ayethebing สำหรับทุกคำแนะนำและติชม


1
ผมรู้น้อย แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 12
เยี่ยมมากครับคุณวันพีส ละเอียดและครบถ้วนมาก ต้องเชิญคุณวันพีส
เป็นวิทยากรพิเศษด้านการสื่อสารในมีทติ้งคราวหน้าซะแล้ว
ขอเสริมแค่นิดเดียวนะครับ คิดว่า UBC เริ่มให้บริการด้าน broadband
ผ่านสายเคเบิ้ลทีวีบ้างแล้วครับ แต่ยังไม่มี economy of scale และลูกค้า
ส่วนใหญ่ของ UBC อยู่บนระบบดาวเทียบที่ใช้ KU BAND ครับ (เป็นดิจิตัล
อยู่แล้ว)
อีกเรื่องคือการส่งสัญญาณผ่านสายไฟฟ้า จริงๆแล้วมีการนำมาใช้ในเชิง
ปฏิบัติบ้างครับ โดยใช้สายไฟฟ้าในบ้านเป็นเหมือนกับสาย LAN ภายใน
บ้าน ซึ่งผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (เหมือนในห้องทดลอง) ก็คงต้อง
ยกให้เป็นโครงการอนาคตต่อไปครับ
เป็นวิทยากรพิเศษด้านการสื่อสารในมีทติ้งคราวหน้าซะแล้ว
ขอเสริมแค่นิดเดียวนะครับ คิดว่า UBC เริ่มให้บริการด้าน broadband
ผ่านสายเคเบิ้ลทีวีบ้างแล้วครับ แต่ยังไม่มี economy of scale และลูกค้า
ส่วนใหญ่ของ UBC อยู่บนระบบดาวเทียบที่ใช้ KU BAND ครับ (เป็นดิจิตัล
อยู่แล้ว)
อีกเรื่องคือการส่งสัญญาณผ่านสายไฟฟ้า จริงๆแล้วมีการนำมาใช้ในเชิง
ปฏิบัติบ้างครับ โดยใช้สายไฟฟ้าในบ้านเป็นเหมือนกับสาย LAN ภายใน
บ้าน ซึ่งผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (เหมือนในห้องทดลอง) ก็คงต้อง
ยกให้เป็นโครงการอนาคตต่อไปครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 13
เห็นด้วยกับป๋าCKแน่นอนเลย อย่างนี้น้อง(หรือเปล่า ผม 34นะครับ)วันพีส ต้องมาให้ผมซักเรื่องนี้ก่อนเป็นคนแรก และจะถูกเชิญเป็นวิทยากรในงานTVI meeting ครั้งต่อไปอย่างไม่ต้องคิดปฎิเสธเป็นอันขาด
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 14
ผมอายุ 23 ครับ รู้กันเลยว่าใครแก่กว่าครับวันพีส เขียน: ขอบคุณครับ คุณ CK, คุณ harry, พี่มน, พี่ ayethebing สำหรับทุกคำแนะนำและติชม
เดี๋ยววันหลังหาก ผมคาดการณ์ได้ว่า คุณ CK และ คุณ harry น่า่จะเป็นรุ่นพี่ ผมก็ขอเรียกพี่อีกแล้วกันครับ รวมถึงทุกท่านที่เข้ามาอ่านด้วยนะครับ
Expecto Patronum!!!!!!
- วันพีส
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
อนาคตของโทรมือถือกับโทรบ้าน
โพสต์ที่ 15
Mon money ตอบเมื่อ: Mon Mar 15, 2004 10:53 am เรื่อง:
--------------------------------------------------------------------------------
เห็นด้วยกับป๋าCKแน่นอนเลย อย่างนี้น้อง(หรือเปล่า ผม 34นะครับ)วันพีส ต้องมาให้ผมซักเรื่องนี้ก่อนเป็นคนแรก และจะถูกเชิญเป็นวิทยากรในงานTVI meeting ครั้งต่อไปอย่างไม่ต้องคิดปฎิเสธเป็นอันขาด
ถ้ามีประโยชน์ก็ยินดีด้วยความเต็มใจครับ แต่อย่างที่บอกครับ ผมยังรู้น้อย กว่าจะเอามารวมกันได้ต้องนั่งปะติดปะต่อตั้งพักนึง กล้ัวว่าข้อมูลจะผิดCK ตอบเมื่อ: Mon Mar 15, 2004 7:56 am เรื่อง:
--------------------------------------------------------------------------------
เยี่ยมมากครับคุณวันพีส ละเอียดและครบถ้วนมาก ต้องเชิญคุณวันพีส
เป็นวิทยากรพิเศษด้านการสื่อสารในมีทติ้งคราวหน้าซะแล้ว
ตอบ พี่มน, พี่ CK(harry ตอบเมื่อ: Mon Mar 15, 2004 12:40 pm เรื่อง:
ผมอายุ 23 ครับ รู้กันเลยว่าใครแก่กว่าครับ


ผมอายุ 27 ครับ
ผมรู้น้อย แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจครับ