อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 92
ลำดับต่อไป เราจะได้อ่านบทสัมภาษณ์ของนพ.มงคล ณ สงขลา
ซึ่งให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนที่ท่านจะเดินทางไปอเมริกาคับ...
โปรดติดตามต่อไป....
++++++++++++++++++++++++++++++++
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 93
"หมอมงคล" รับนั่งเก้าอี้ปธ.บอร์ดยูเอ็นเอดส์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤษภาคม 2550 10:45 น.
นายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังพบและหารือกับนายแพทย์ปีเตอร์ ปิอ็อต (Dr.Peter Piot) ผู้อำนวยการองค์การเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ว่า ได้ตอบรับคำเชิญของนายแพทย์ปีเตอร์ ที่ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย รับหน้าที่เป็นประธานกรรมการบริหารขององค์กรยูเอ็นเอดส์ ต่อจากรัฐมนตรีสาธารณสุขสวีเดน โดยมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 1 ปี ซึ่งการทำหน้าที่นี้จะสลับกันระหว่างประเทศที่พัฒนากับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม ขององค์การสหประชาชาติ จะพิจารณาเป็นปีๆ ไปตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ นายแพทย์ปีเตอร์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนการทำซีแอลของประเทศไทยอย่างเต็มที่ โดยได้ทำหนังสือแสดงการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ในฐานะผู้อำนวยการองค์กรเอดส์แห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2549
สำหรับคณะกรรมการบริหารองค์กรยูเอ็นเอดส์ ประกอบด้วยสมาชิก 37 คน จากประเทศสมาชิกต่างๆ 22 ประเทศ องค์กรของสหประชาชาติ 10 แห่ง และองค์กรภาคประชาสังคมอีก 5 แห่ง คณะกรรมการมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย จะเริ่มทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป นายแพทย์มงคล กล่าวต่อว่า การที่ไทยได้รับเชิญให้เป็นประธานกรรมการบริหารองค์กรยูเอ็นเอดส์ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งของประเทศไทย ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทย โดดเด่นในสายตาของนานาชาติมากขึ้น เนื่องจากผลงานการทำงานแก้ไขปัญหาเอดส์ของไทย เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ทั้งเรื่องการป้องกัน การเข้าถึงยาของผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งไทยจัดเป็น 1 ใน 2 ของประเทศกำลังพัฒนา คู่กับประเทศบราซิล ที่ได้ประกาศนโยบายการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์อย่างถ้วนหน้า และในการทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการบริหารองค์กรยูเอ็นเอดส์ ถือว่าอยู่ในระดับของผู้กำหนดทิศทางแก้ไขปัญหาเอดส์ทั่วโลก และปฏิรูปองค์กรให้ทันต่อสถานการณ์ เพราะขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อกว่า 40 ล้านคน ร้อยละ 95 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สาเหตุการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
สำหรับองค์กรยูเอ็นเอดส์ เป็นองค์กรที่องค์การสหประชาชาติตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการด้านโรคเอดส์ทั่วโลกโดยเฉพาะ มีองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูเนสโก ยูเอ็นเอฟพีเอ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก ร่วมด้วย ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการและด้านข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการผลักดันนโยบายด้านการควบคุมและแก้ปัญหาเอดส์แก่ทุกประเทศทั่วโลก โดยมีงบประมาณราย 2 ปี ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินด้วยประมาณ 5 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือประมาณ 2 ล้านบาท โดยองค์กรยูเอ็นเอดส์มีสาขากระจายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 94
บทสัมภาษณ์ นพ.มงคล ณ สงขลา
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 97
เรื่องเสาะหาเรื่องราวดีๆ เชิงลึก มาให้อ่าน
ไม่มีใครเก่งเกินพี่บี
ไม่มีใครเก่งเกินพี่บี
"Winners never quit, and quitters never win."
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 98
ไม่อาจรับคับพี่หวี..
มีมากมายหลายท่านรู้รายละเอียด รู้ลึก รู้จริง
เพียงแต่ท่านเหล่านั้นไม่ประสงค์แสดงตน
ผมเป็นแค่คนรายงานข่าว แค่นั้นเองคับ..
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มีมากมายหลายท่านรู้รายละเอียด รู้ลึก รู้จริง
เพียงแต่ท่านเหล่านั้นไม่ประสงค์แสดงตน
ผมเป็นแค่คนรายงานข่าว แค่นั้นเองคับ..
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 100
แถม....ที่มาของปกหนังสือ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 101
อีกท่านก็ซู้ดดด..หยอดดดดดด....
ขอคาราวะจากใจ
bsk(มหาชน)
ความยิ่งใหญ่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่ทะเลทรายซาฮาร่า
เภสัชกรยิปซีไทย ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์(ปัจจุบัน ขณะนี้ ไทยกำลังมีปัญหากับอเมริกา เพราะข้อขัดแย้ง เรื่องราคายา ที่ไทยไม่ยอมอเมริกา เรื่อง สิทธิบัตรยา)
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซีไทย ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ที่เร่ร่อนไปทั่วเเอฟริกาจนเป็นที่รู้จักจนอเมริกานำชีวิตเธอสร้างเป็นละครบรอดเวย์ แต่คนไทยไม่รู้จักเธอ
ชื่อ - ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นคนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน พ่อเป็นหมอ คุณแม่ เป็นพยาบาล
เรียน - นักเรียนประจำที่ รร.ราชินี ปริญญา คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ ม.Strahclyde ปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี ม.Bath ที่อังกฤษ
(ฐานะทางบ้าน ก็สบายๆ ญาติพี่น้อง ทำธุรกินโรงแรมที่เกาะสมุย)
ชอบเล่นดนตรี เคยฝันอยากเป็น Conductor
เคยอยากเปลี่ยนสายเรียน ไปเป็น ไบโอเคมี (ชีวเคมี )แต่เห็นว่า คณะที่เรียนอยู่ ในเมืองไทย มีคนเรียน แค่ 5 คน จึงก้มหน้าก้มตาเรียนต่อไป
ปี 2535 เริ่มมีผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก พบในเอดส์ในไทยครั้งแรก ปี 2526 ทำไห้ตัดสินใจศึกษาวิจัยยาต้านไวรัสเอดส์ คิดค้นอยู่ 3 ปี แรกๆทำงานคนเดียวหมด
ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกของโลก ที่ผลิตยาชื่อสามัญว่า ยาเอดส์ ในปี 2538 ได้
โดนคดีขึ้นศาลกับบริษัทยา(ชื่อของอจ. ถูกบรรจุอยู่ในแบล็กลิสต์ของบริษัทยาเกือบทุกบริษัท) จากเรื่องของผลประโยชน์ เพราะถ้า ผลิตยาได้สำเร็จ ยอดขายของผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ต้องตกแน่นอน เพราะว่า ราคาต่างกันค่อนข้างมาก ถือว่าตัวเองได้ทำหน้าที่ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างดีที่สุดแล้ว ไม่ได้คิดว่าจะตบหน้าใคร หรือมาทำให้ยอดขายของบริษัทไหนลดลง (ก็คนกำลังจะตายอยู่แล้ว ไม่มีเงินซื้อยาแพงๆกิน ก็ต้องช่วยกันไป)
คือ ยา ZIDOVUDINE (AZT)- ยาที่ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก จาก แคปซูลละ 40 บาท เหลือ 7-8 บาท
อีกตัวคือ จากเดิม ขาย แคปซูลละ 284 บาท เหลือ 8 บาท
ยาที่มีชื่อเสียงมาก คือ GPO-VIR สามารถทำให้ยา 3 เม็ดรวมอยู่ในเม็ดเดียว จากต้องทาน วันละ 6 เม็ด เหลือเพียง 2 เม็ดเท่านั้น
รัฐบาลไทย สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ จาก 1000คน เพิ่มเป็น 10000 คนค่ายา จาก คนละ 20,000 เหลือ 1,200 บาท
ปี 2545 ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อจะไปช่วยเหลือทางแอฟริกาใต้อย่างเต็มตัว (เห็นว่า เมืองไทย เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ) ไม่มีใคร(รวมทั้งรัฐมนตรี)ยอมเซ็นใบอนุมัติการลาออกให้
มีการยื่นข้อเสนอ ให้เปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้น และการเอายาของเราไปขายที่แอฟริกาแทน แต่ไม่เอาด้วยเหตุผล
ต้องการให้พวกเขาทำเองให้พึ่งตนเอง เชื่อว่า ถ้าเขาอยากกินปลา เราก็ควรสอนเขาตกปลาเอง ไมใช่ว่าเอาปลาไปให้เขากิน เพราะไม่อย่างนั้น เขาจะไม่มีวันพึ่งตัวเองได้ เมืองไทยไปจำหน่ายได้ มันจะมีประโยชน์อะไร เพราะมันไม่มีความยั่งยืน(ไม่สนเงินเข้ากระเป๋า ว่างั้น)
เดินทางไปคองโก ไปบุกเบิกใหม่หมด วาดแปลนโรงงาน ที่จะผลิตยา ใช้เวลา 3 ปี โรงงานดังกล่าว ผลิต ยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR เหมือนเมืองไทยทุกอย่าง ได้สำเร็จ
ปี 2546 ผลิตยาที่ทวีปแอฟริกา ที่ดังมาก และขายดีที่สุดในประเทศแทนซาเนีย คือ ยามาลาเรีย (THAI-TANZUNATE) ยาราคาถูก จาก 360 บาท ผลิตได้ ในราคา 36 บาทเท่านั้น
ประเทศด้วยพัฒนาในแอฟริกายากจนมาก สมมติว่าโรงพยาบาลหนึ่งมีเตียง 150 เตียงแต่มีคนไข้ที่มาแอดมิด 450 คน นั่นหมายถึง ใน 1 เตียง มีคนไข้ 3 คน นอนบนเตียงเดียวกัน 2 คน นอนกลับหัวกลับหางกัน และนอนใต้เตียงอีก 1 คน
เวลาอยู่ที่แอฟริกา ก็ร่อนเร่ไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีหลักแหล่ง บางทีก็มีคนช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง บางทีออกเอง เพราะประเทศเขายากจน ไม่มีตังค์ให้หรอก
อุปสรรคชีวิตโลดโผน
เจอเครื่องบินดีเลย์ ไป 24 ชม.
บางที เครื่องบินก็พาไปลงผิดประเทศ
เสื้อผ้า ต้องมีติดกระเป๋าสะพายตลอดอย่างน้อย 3 ชุด เพราะชุดในกระเป๋าเดินทางที่โหลดไว้ใต้ท้องเครื่องอาจมาช้า ไม่ก็หายไปเลย
ที่คองโก นอนอยู่ดีๆ ก็มีแสงสว่างวาบๆขึ้นมา ก็คิดในใจว่า ทำไมถึงสว่างเร็วจัง ปรากฏว่าไม่ใช่แต่เป็น ระเบิดที่เขายิงมา โดยมีเป้าหมายที่บ้านพักของดิฉัน แต่เขากะพลาดไปหน่อย เลยไปตกข้างๆบ้านแทน คิดว่า คงเป็นฝีมือของพวกที่เขาคิดว่าดิฉันเป็นศัตรูนั่นแหล่ะค่ะ
ตอนไปช่วยเหลือที่ ไนจีเรีย ต้องเดินทางตอนตี 1 จากสนามบิน เข้าสุ่ที่พัก คนเดียว ไม่มีคนมารับ นั่งแท๊กซี่ไป ถูกคนเอาปืนมาจี้ 5 ครั้ง ในคืนเดียว รอดมาได้หมดทุกครั้ง และไม่มีใครเอาทรัพย์สินไปเลยสักคนเดียว ด้วยเหตุผล " ฉันมาช่วยคนในประเทศเธอน่ะ อยากได้อะไรก็เอาไปเลย" เลยไม่มีคนจี้ต่อ แต่เสียเวลาไป 4 ชั่วโมง กับการเดินทาง 20 กม. เพราะมัวแต่โดนจี้ ไป 5 ครั้ง
สื่อของฝรั่งเศสและเยอรมนี ชื่นชมการทำงานมาก นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ จนได้รับรางวัลจาก เทศกาลหนังเมืองคานส์ 3 รางวัล
เรื่องหนังสารคดี
A Right to Live Aidsmedication for Millions
A film by ARTE / WDR, 2006
45 min. documentary
Directed by: Birgit Schulz
http://www.imdb.com/name/nm1663523/
อเมริกา นำไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์เรื่อง COCKTAIL แสดงในเดือนพฤษภาคมนี้
ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ประวัติการทำงานของอาจารย์
ในแง่ของละคร Cocktail ทำได้ดีทีเดียวค่ะ สามารถถ่ายทอดทั้งประวัติชีวิตและการทำงานของอาจารย์ได้ดีและจับใจมาก
เรื่องนี้ได้ผู้กำกับและร่วมเขียนบท รวมทั้งผู้แสดงเป็นอาจารย์ระดับมืออาชีพ ผู้กำกับและเขียนบททำการบ้านได้ดีมากค่ะ
มีการปูเรื่องถึงความเมตตาของอาจารย์ซึ่งถ่ายทอดมาจากการใช้ชีวิตในวัยเด็กกับคุณยายซึ่งเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง
มีช่วงที่เล่าถึงความยากลำบากของอาจารย์ในการทำงาน อุปสรรคทั้งในแง่การเมือง ธุรกิจ และองค์กร NGO ต่าง ๆ
แต่อาจารย์ก็ฝ่าฟันอุปสรรคและสามารถคิดค้นพัฒนายารักษาโรคเอดส์ได้ในราคาที่ถูกมาก
หลังจากพัฒนาได้สำเร็จในประเทศไทยแล้ว อาจารย์จึงตัดสินใจไปช่วยพัฒนายารักษาโรคเอดส์ในหลายๆประเทศในแอฟริกาซึ่งเป็นพื้นที่ที่โรคเอดส์ปัญหาร้ายแรง
หลังละครจบและทุกครั้งหลังการบรรยายของอาจาย์ผู้ชมจะยืนขี้นปรบมือทั้งโรงละคร เป็นภาพที่น่าปลื้มใจแทนอาจารย์และภูมิใจในฐานะคนไทยค่ะ
ลิงค์รายละเอียดละคร Cocktail
http://www.swinepalace.org/explore.cfm/ ... /cocktail/
ลิงค์เบื้องหลังการซ้อมละครและบทสัมภาษณ์ผู้กำกับและผู้เขียนบท
http://www.lpb.org/programs/swi/streaming.cfm
click ที่ SWI 3032 - Swine Palace's Cocktail 13-Apr-07
ไปสัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุของอเมริกาแค่ครึ่งชั่วโมง มีทั้งอังกฤษและอเมริกา เสนอปริญญากิตติมศักดิ์ให้ไม่รู้กี่ใบ
รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award 2004) จากประเทศนอร์เวย์ และได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA
โดยเป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ดังกล่าว
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยารักษาโรคเอดส์มาโดยตลอด และประสบความสำเร็จเป็นประเทศแรกของโลกในการผลิตยาชื่อสามัญ AZT ป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก ในปี 2535 หลังจากนั้น ในปี 2545 ได้คิดค้นยาชื่อ GPO (Government Pharmacy Organization) หรือยาต้านเอดส์สตรี ค็อกเทล ที่มีส่วนประกอบของยา 3 ชนิดในเม็ดเดียว ส่งผลให้ยา มีราคาถูกลงมาก โดยผู้ป่วยจะเสียค่ายาเพียงเดือนละ 1,200 บาท ซึ่งปกติต้องจ่ายค่ายาเดือนละ 20,000 บาท ราคายาที่ถูกลงทำให้ ผู้ป่วยเอดส์ได้รับยาอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึงยิ่งขึ้น
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ยังได้ช่วยเหลือ 5 ประเทศในทวีป แอฟริกา ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย แทนซาเนียน คองโก เบนิน และประเทศไลบีเรีย ซึ่งมีปัญหาผู้ป่วยเอดส์ประมาณ 30 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 90 จากผู้ป่วยเอดส์ 38 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงปัญหาโรควัณโรคและโรคมาลาเรีย โดยรับผิดชอบถ่ายทอดเทคนิคการ ผลิตยา ในระหว่างนั้นยังประสบผลสำเร็จในการผลิตยารักษาโรคมาลาเรีย ชื่อ Thai Tan Zumate และผลิตยาเหน็บทวารเด็กสำหรับรักษาโรคมาลาเรีย เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถกลืนยาได้ การใช้ยาเหน็บจึงมาความจำเป็นมาก นอกจากนี้ ดร.กฤษณา ยังได้นำความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมมาไปปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรในต่างประเทศอีกหลายแห่ง
ที่มาและเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน :
*ดูจับเข่าคุยสิ สัมภาษณ์ผู้หญิงคนนึงเกี่ยวกับยาต้านเอดส์ วีรกรรมเธอมีคนเอาไปทำละครบรอดเวย์ด้วย *
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/ ... 02900.html
**เมื่อคืน ดู ภญ อ. ดร กฤษณา ไกรสินธ์ ในรายการ สรยุทธ จับเข่าคุย แล้วน้ำตาซึมครับ
http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topi ... 03940.html
***ละครบรอดเวย์ สร้างจากชีวิตจริง เภสัชกรยิปซีไทย (แต่คนไทย ไม่รู้จัก)
http://www.roorha.com/main/view_joke.php?id=6875
ประชาสังคม ในฐานะสมาชิก เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ควรที่พวกเราจะได้ช่วยกันเป็นกำลังใจ ยกย่อง ส่งเสริม สนับสนุนการทำงานของคนดี คนที่เสียสละ และช่วยกันเผยแพร่เกียรติคุณของท่านเหล่านั้นให้เข้าถึงผู้คนในวงกว้างต่อไป คนทำงานเช่นนี้ต้องการกำลังใจมากคับ
ความคิดเห็นที่ 231
ขอบคุณจากใจจาก ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ทุกท่าน สำหรับคำติชม ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และที่สำคัญที่สุด คือ กำลังใจที่ส่งมาให้อย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ต่อสู้กับอุปสรรคนานัปการที่กำลังทำอยู่ และที่กำลังจะทำในอนาคตในทวีปแอฟริกา
ไม่มีบริษัทยาไหนจะให้สูตรและวิธีการผลิตยาแก่ประเทศด้อยพัฒนา หรือฝึกอบรมให้เขาทำยาเองได้ การพัฒนาสูตรตำรับยาเป็นสิ่งที่ไม่ยากเย็นอะไร เภสัชกรไทยทุกท่านสามารถทำได้แต่ก็ต้องอาศัยเวลา ตลอดเวลาที่ทำงาน ไม่เคยลอกสูตรยาของใครมา และไม่เคยละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทยาใด ๆ สิ่งที่ถ่ายทอดให้ประเทศในทวีปแอฟริกา แม้จะไม่ยิ่งใหญ่ตามความรู้สึกของบางท่าน ก็มีความภูมิใจ เพราะอย่างน้อยก็ได้ช่วยชีวิตคนแอฟริกันได้นับเป็นล้าน ๆคน
ตลอดเวลาที่ทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่เคยหวังการตอบแทนอะไร ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ เงินทอง ชื่อเสียง หรือรางวัลต่าง ๆ มีความสุขกับการทำงานและผลงานที่ได้รับ คือ การที่ผู้ป่วยยากจนได้รับยา แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมายก็ตาม
ขณะนี้ กำลังผลิตยาต้านมาลาเรียชนิดเม็ดที่เป็นยาผสมระหว่าง Artesunate และ Amodiaquine ที่ประเทศมาลี ซึ่งเป็นประเทศยากจนหนึ่งในสิบของโลก อากาศที่นี่โดยเฉพาะเดือนนี้ร้อนมาก (อุณหภูมิเฉลี่ย
40 C) แต่ก็มีความสุขกับงาน ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาให้กับคนที่นี่ พนักงานในโรงงานยาก็สามารถผลิตยาเองได้แล้ว นี่ความภูมิใจที่ได้รับ
หากใครต้องการจะติดต่อโดยตรง ก็ส่งอีเมล์มาที่ [email protected]
จากคุณ : ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ - [ 21 พ.ค. 50 22:57:19 A:216.252.179.145 X: ]
ตอบจากกระทู้
*ดูจับเข่าคุยสิ สัมภาษณ์ผู้หญิงคนนึงเกี่ยวกับยาต้านเอดส์ วีรกรรมเธอมีคนเอาไปทำละครบรอดเวย์ด้วย *
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/ ... 02900.html
ขอคาราวะจากใจ
bsk(มหาชน)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 102
คือผมเห็นทู้อเมริกาเล่นแรงของพี่หวีเนี่ย..
พอเข้ามาอ่าน และเริ่มสนใจ ผมก็ไม่ได้อ่านทู้อื่นอีกเลย
เพราะต้องเล่นกับทู้นี้ตลอด และขอเรียนว่า ยังเล่นอีกยาวพอสมควร
ก่อนนี้ก็ไม่เคยสนใจหรอกคับ ข่าวสารบ้านเมืองก็ไม่ได้ติดตามระยะหนึ่งแล้ว
มาวมายเสียมากกว่าตามสไตล์ผมอะ..
ทีนี้เรื่องนี้ มันก็ไม่ไกลตัวนักในแง่ของธุรกิจยา ผู้คนในอุตสาหกรรมนี้
ผมมีเพื่อน เพื่อนของเพื่อน แฟนของเพื่อน หลายคนที่อยู่ในธุรกิจยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์
มีทั้งเป็นดีเทลยา ซุป เป็นเจ้าของร้านยา และมีที่เปิดบริษัทเอง
แม้ไม่ค่อยได้ถามรายละเอียดมากนัก แต่ก็พอจะทราบวิธีการทำงานของเขามาบ้าง
แต่จะไม่นำมาเล่าเอง ขอเป็นการให้ข้อมูลและข่าวสารแทนก็แล้วกันเนอะ...
ให้ยาแรงก็อาจมีผลข้างเคียง
แต่จะให้ต่อไปคับ...
ไปนอนก่อน วันนี้วันเสาร์แล้วเหรอ..
พอเข้ามาอ่าน และเริ่มสนใจ ผมก็ไม่ได้อ่านทู้อื่นอีกเลย
เพราะต้องเล่นกับทู้นี้ตลอด และขอเรียนว่า ยังเล่นอีกยาวพอสมควร
ก่อนนี้ก็ไม่เคยสนใจหรอกคับ ข่าวสารบ้านเมืองก็ไม่ได้ติดตามระยะหนึ่งแล้ว
มาวมายเสียมากกว่าตามสไตล์ผมอะ..
ทีนี้เรื่องนี้ มันก็ไม่ไกลตัวนักในแง่ของธุรกิจยา ผู้คนในอุตสาหกรรมนี้
ผมมีเพื่อน เพื่อนของเพื่อน แฟนของเพื่อน หลายคนที่อยู่ในธุรกิจยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์
มีทั้งเป็นดีเทลยา ซุป เป็นเจ้าของร้านยา และมีที่เปิดบริษัทเอง
แม้ไม่ค่อยได้ถามรายละเอียดมากนัก แต่ก็พอจะทราบวิธีการทำงานของเขามาบ้าง
แต่จะไม่นำมาเล่าเอง ขอเป็นการให้ข้อมูลและข่าวสารแทนก็แล้วกันเนอะ...
ให้ยาแรงก็อาจมีผลข้างเคียง
แต่จะให้ต่อไปคับ...
ไปนอนก่อน วันนี้วันเสาร์แล้วเหรอ..
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 103
ยังไม่จบเหรอ เห็นให้ข่าวว่าการเจรจาเป็นไปได้ ทางโน้นเข้าใจดี
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 104
ความคืบหน้าการเจรจาซีแอลสหรัฐ วันที่สองราบรื่น
ความคืบหน้า และผลเจรจาทำความเข้าใจซีแอลของประเทศไทยกับสมาคมพ่อค้า กลุ่มนักธุรกิจด้านยา และฝ่ายการเมืองของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้อง วันที่สอง ประสบผลสำเร็จราบรื่น ทุกฝ่ายเข้าใจในการทำซีแอลของไทย พร้อมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น "หมอมงคล" บอกปลื้มมีกำลังใจทำงาน พร้อมเดินหน้างานอื่น เผยไทยใกล้จะบรรลุข้อตกลงกับบริษัทเมิร์ก เพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาของคนจน คาดใน 1-2 เดือนนี้ คนไทยได้รับข่าวดีแน่นอน
เมื่อเวลา 09.00 น. (23 พ.ค.) นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ จากสถานทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับความคืบหน้าของการเจรจาทำความเข้าใจเรื่องซีแอลของประเทศไทย กับสมาคมผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ หรือฟาร์มา (PhRMA) กลุ่มสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน หรือยูเอสเอบีซี (USABC) สภาหอการค้าสหรัฐฯ (US Chamber of Commerce) นักการเมืองของสหรัฐฯ ทั้งวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งบริษัทเมิร์ก (Merck) ตลอดวันตั้งแต่เวลา 08.45 น. จนถึงเวลา 19.00 น. ว่า บรรยากาศการหารือในวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่สองและวันสุดท้ายของการทำความเข้าใจเรื่องซีแอล เป็นไปด้วยความสร้างสรรค์ จากการพูดคุยพบว่ายังมีข้อมูลหลายจุดที่ทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้รับมาไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการที่ไทยจะใช้ซีแอลมากจนกลายเป็นมาตรการปกติ และการกล่าวหาว่าไทยไม่เคยเจรจา หรือไม่ยอมเจรจากับบริษัทยา การพูดคุยทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องซีแอลของสหรัฐฯ เข้าใจข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนดีขึ้น จัดว่าการหารือวันนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้ความหวังโดยเฉพาะความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ กระชับแน่นยิ่งขึ้น และทำให้เราสามารถทำงานเรื่องอื่นๆ เป็นไปอย่างราบรื่น
"บอกตรงๆ ว่า วันนี้เป็นความสำเร็จที่ผมดีใจมาก สบายใจ คลายกังวลที่มีมาหลายวันก่อน ว่าจะมีกำลังใจฝ่าฟันปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าได้หรือไม่ แต่พอถึงจุดนี้บอกได้เลยว่า คืนนี้นอนหลับอย่างสบายใจ" นพ.มงคล กล่าว
นพ.มงคล กล่าวต่อไปว่า จากการที่ได้พบกับผู้บริหารบริษัทเมิร์ก หลังจากที่พบที่นครนิวยอร์กมาแล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มาเสนอราคายา ซึ่งเคยเสนอไว้ที่ 726 บาทต่อคนต่อเดือน ไม่สามารถลดได้อีก แต่มีแนวคิดที่จะทำงานร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุขไทย ซึ่งอยู่ในลักษณะสร้างสรรค์ดีมาก โดยฝ่ายไทยและบริษัทจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาทั้งสองฝ่าย ในส่วนของไทยมอบหมายให้
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นคณะทำงาน เพื่อหารือรูปแบบความร่วมมือที่จะให้ยาเอฟฟาไวเรนซ์ ซึ่งเป็นยาของบริษัทเอ็มเอสดี ได้เข้าถึงคนยากจน ทำให้คนจนโดยเฉพาะเด็กที่ติดเชื้อเอดส์จากแม่ ได้มีโอกาสอย่างทั่วถึงมากขึ้น โดยจะสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้ จะเป็นข่าวดีของคนไทยที่มีฐานะยากจน ได้รับยาที่มีประสิทธิภาพและมีราคาถูกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งถ้าบริษัทยาต่างๆ มีท่าทีที่สร้างสรรค์และมีความเห็นใจคนยากจนเหมือนบริษัทเมอร์ก คนยากจนทั่วโลกจะเข้าถึงยาได้ดีกว่านี้มาก
ทางด้านนพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า จากการเข้าพบหารือกลุ่มองค์กรด้านการค้า ได้แก่ สมาคมฟาร์มา (PhRMA) ซึ่งเป็นสมาคมวิจัยและผลิตเวชภัณฑ์อเมริกา และมีอิทธิพลสูงมากในสหรัฐฯ โดยมียาชั้นนำอยู่หลายตัว และมีงบวิจัยตัวยาใหม่ๆ มากถึงปีละ 39,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งสภาหอการค้าสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสูงในเรื่องการค้ากับต่างประเทศ มีเครือข่าย 830 องค์กรทั่วโลก สมาชิกรวมกว่า 3 ล้านธุรกิจ และพบกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทชั้นนำที่ทำธุรกิจกับประเทศในอาเซียน ส่วนภาคการเมืองของสหรัฐฯ ที่พบครั้งนี้ มี 3 กลุ่ม คือ วุฒิสภาชิก จิม เดมินท์ พรรคลีพับลิกัน จากรัฐเซาท์แคโรไรนา และพบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน ได้แก่ ส.ส.เซนเดอร์ เลวิน พรรคเดโมเครต จากรัฐมิชิแกน ซึ่งสนับสนุนการทำซีแอลของไทย ส.ส.เจ เดนนิส ฮารสเติต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร จากรัฐอิลินอย ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทแอบบอต ส.ส.อินี ฟาริโอมาเวกา จากพรรคเดโมเครต เกาะอเมริกันซามัว นายเดวิด คาโนลล์ ซึ่งเป็นทีมงานของวุฒิสมาชิกเอดเวิร์ด เคเนดี้ ผลการหารือ ทุกฝ่ายที่กล่าวมามีความเข้าใจประเด็นการทำซีแอลของไทยว่า ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งตามข้อตกลงทริปส์ และมีความโปร่งใสทุกประการ ประเด็นนี้ผู้แทนจากสภาหอการค้าสหรัฐฯ พูดชัดเจนว่าไม่มีข้อสงสัยใดๆ อีกต่อไป
ทั้งนี้ ผลจากการประกาศซีแอลของประเทศไทยกับยา 3 ตัว ได้แก่ ยาเอฟฟาไวเรนซ์ ยาโคลพิโดเกรล และยาคาเร็ตตรา คาดว่าจะมีผลเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ในขณะที่ตลาดยาทั่วโลก มีมูลค่าถึง 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรวมแล้วทุกฝ่ายมีความเข้าใจดีขึ้น แม้ว่ามีบางกลุ่ม เช่น สมาคมผู้วิจัยและผลิตเวชภัณฑ์อเมริกา ในเครือสมาคมฟาร์มา จะเริ่มเจรจาด้วยท่าทีแข็งกร้าวมาก แต่ในที่สุดก็จบลงด้วยความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี
นพ.วิชัยกล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจตลาดยาในประเทศ พบว่ายาต้นแบบทั้งหมดที่ไม่มีสิทธิบัตร หลังจากออกสู่ท้องตลาด 7 ปี จะมียาสามัญออกมาสู่ท้องตลาดเพียง ร้อยละ 24 และในจำนวนนี้ก็มียาจำนวนมากที่เป็นยากลุ่มเดิม ที่ไม่มีประสิทธิภาพดีไปกว่ายาที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ อีกส่วนหนึ่งเป็นยากลุ่มของยาส่งเสริมลีลาชีวิต ไม่เกี่ยวข้องกับการนำมาใช้ช่วยชีวิต เช่น ยารักษาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยาปลูกผม และยารักษาสิว เป็นต้น ในทางปฏิบัติจึงมีข้อจำกัดในการทำซีแอล และสามารถทำซีแอลกับยาได้ไม่กี่ตัวเท่านั้น ไม่มีทางที่จะดำเนินการจนกลายเป็นมาตรการที่ใช้เป็นปกติวิสัยได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเด็นความคลุมเครือที่ว่า ไทยจะทำ ซีแอลจนเป็นมาตรการปกติหรือไม่ จึงมีความกระจ่างชัดในสายตาของฝ่ายสหรัฐอเมริกา
แต่ขณะนี้ประเด็นสำคัญที่พุ่งเป้าต่อไปก็คือ เรื่องผลกระทบจากซีแอลต่อการวิจัยและพัฒนาตัวยาใหม่ๆ เนื่องจากสหรัฐกังวลว่าการทำซีแอลจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาว ทำให้ไม่มีบริษัทใดกล้าลงทุนวิจัยยาใหม่ เพราะต้องใช้งบประมาณสูงมาก ซึ่งไทยแจ้งว่าตลาดของผู้ที่ใช้ยาใหม่ที่มีสิทธิบัตร จะเป็นผู้ที่มีฐานะดี มีกำลังซื้อ และจ่ายค่ายาเอง ซึ่งมีประมาณร้อยละ 20 รวมทั้งยังมีชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในประเทศไทยอีกปีละกว่า 2 ล้านคน ส่วนคนจนเป็นกลุ่มที่ไม่มีเงินซื้อ และจะได้มีสิทธิใช้ยาใหม่ก็ต่อเมื่อยานั้นหมดสิทธิบัตรไปแล้ว การดำเนินการของไทยครอบคลุมเฉพาะคนที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพของรัฐเท่านั้น จึงไม่กระทบต่อตลาดยาที่มีสิทธิบัตร ซึ่งเป็นตลาดของผู้มีรายได้สูงแต่อย่างใด
.pdf]ข้อมูลความจริง 10 ประเด็นร้อน การใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตร 3 รายการในประเทศไทย
แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กรณีมาตรการบังคับใช้สิทธิต่อยาของประเทศไทยและการกดดันจากสหรัฐอเมริกา
แนวความคิด ประเด็นปัญหา และแรงผลักดันระหว่างประเทศเกี่ยวกับระบบทรัพย์สินทางปัญญา
โดย..สุธี ประศาสน์เศรษฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
TRIPs Agreement and Access to Drugs in Development Countries
โดย.. Calos M. Correa
หลักเกณฑ์มาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์
อย่ายอมให้สหรัฐฯทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ไปตลอดชาติ
สิทธิบัตรยากับมาตรการบังคับใช้สิทธิ
มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory license) จำเป็นสำหรับการรักษา
โดย นาธาน์ ฟอร์ด หัวหน้าหน่วยแมนสัน ลอนดอน องค์การหมอไร้พรมแดน (MSF)
ยังไม่หมดคับ แล้วค่อยมาต่อวันหลัง..
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 105
มติชน วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10665
เข้าใจธรรมชาติของล็อบบี้ยิสต์ (Don"t get mad - Get even)
โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
ล็อบบี้ (Lobby) ที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก คือห้องโถงตรงทางเข้าโรงแรมชั้นหนึ่งทั่วไปซึ่งจะมีที่นั่งเอาไว้ให้ผู้ที่มาพักโรงแรมเอาไว้นัดหมายหรือเป็นสถานที่รวมพลของกรุ๊ปทัวร์นั่นแหละ
ความจริงล็อบบี้ คือห้องโถงที่ไม่ใช่ห้องทำงานเนื่องจากฝรั่งเขามีวัฒนธรรมที่แบ่งห้องต่างๆ ในอาคารบ้านเรือนตามการใช้งาน คือ แบ่งเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร ฯลฯ
อีทีนี้ที่รัฐสภาของอังกฤษและสหรัฐอเมริกา (ว่าไปแล้วก็รัฐสภาทั่วโลกนั่นแหละ) ก็ต้องมีห้องโถงใหญ่ตรงทางเข้ารัฐสภานะแหละ มีห้องโถงไว้เป็นสถานที่อเนกประสงค์ว่ายังงั้นเถอะ
ตรงห้องโถงของรัฐสภาสหรัฐอเมริกานี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นให้มีศัพท์ทางการเมืองที่ติดปากคนทั่วไปคือล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyist) คือผู้คนที่วนเวียนอยู่ในห้องโถงของรัฐสภาคอยดักพบบรรดาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกคนสำคัญๆ ประเภทประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณ, การทหาร, สาธารณสุข ฯลฯ (ที่แย่งกันเป็นมากๆ นั่นแหละ) เพื่อขให้ช่วยออกกฎหมายหรือผ่านร่างกฎหมายต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นนายจ้างพวกล็อบบี้ยิสต์นี่แหละ
ชาวอเมริกันนี่เขายอมรับความจริงซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของเขากล่าวคือเขาไม่ดัดจริตเป็นแบบพวกมือถือสากปากถือศีลเนื่องจากเขารู้ดีว่าการวิ่งเต้นหาผลประโยชน์ใส่ตนและพรรคพวกนั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์เหมือนกับการกิน การถ่ายและการสืบพันธุ์นั่นแหละ จะห้ามอย่างไรก็ไม่ได้หรอก
ดังนั้นเมื่อห้ามไม่ได้ก็ให้ทำกันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาและโปร่งใสมันเสียเลยจะได้ตรวจเช็คได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พวกล็อบบี้ยิสต์ในสหรัฐอเมริกาต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทต้องมีการส่งบัญชีให้ตรวจว่าใครมาว่าจ้าง เรื่องอะไร ในราคาเท่าไร ซึ่งต้องให้ใครๆ ก็ได้ตรวจดูได้นะครับแบบว่าให้ประชาชนคนทั่วไปมีส่วนร่วมในการตรวจเช็คได้เอง
(ประชาชนนี่หมายถึงคนไทยด้วยที่อยากตรวจเช็คบริษัทล็อบบี้เหล่านี้ก็ได้นะ)
อีทีนี้บริษัทผลิตยารักษาโรคเอดส์ของอเมริกันได้จ้างบริษัทล็อบบี้ยิสต์ให้ไปชักชวนรัฐสภาและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายมาลงโทษประเทศไทยทางการค้าและเศรษฐกิจเพราะทางรัฐบาลไทยไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างให้บริษัทยาอเมริกันมาขูดรีดเลือดเนื้อคนที่เป็นโรคเอดส์ชาวไทยที่มีจำนวนถึง 6 แสนคนโดยขายยารักษาโรคเอดส์ราคาแพงๆ จนเราไม่มีปัญญาจะซื้อมารักษาชีวิตได้
แม้รัฐบาลไทยจะพยายามเจรจาขอลดราคายาลงบ้างทางบริษัทยาของอเมริกาก็ไม่ยอมเลย องค์การเภสัชกรรมของเราจึงผลิตยาตามสูตรของบริษัทยานั่นแหละออกมาเองซึ่งก็ใช้ได้อย่างดีและช่วยชีวิตคนไทยไว้อย่างมากมายเลยทีเดียว
ดังนั้นป่วยการที่จะไปด่าไปว่าพวกล็อบบี้ยิสต์ เนื่องจากพวกนี้ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีหรอก พวกล็อบบี้ยิสต์นี้เป็นอเวไนยสัตว์ผู้บังเอิญมีความรู้สูงและมีเส้นสายดีมีเงินไว้ทุ่มเลี้ยงและช่วยในการหาเสียงให้บรรดาท่านสมาชิก ส.ส.และ ส.ว.ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายเพื่อประโยชน์ของนายจ้างที่จ่ายเงินให้ตนเพียงเท่านั้น ใครจะตายใครจะฉิบหาย ใครถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบอย่างไรนั้น พวกล็อบบี้ยิสต์ไม่แคร์หรอก
เรื่องใช้ความรู้บิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างที่ล็อบบี้ยิสต์นายเคน อีเดิ้ลแมน แห่ง เว็บไซต์ ยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น ที่ลงโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ของไทยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคมนี้อ้างงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ทำเมื่อ พ.ศ.2548 ว่า
"ยารักษาโรคเอดส์ที่องค์การเภสัชใช้สูตรที่ก๊อบปี้มาจากยาจริงนั้นทำให้เกิดการดื้อยาในหมู่คนที่เป็นเอดส์ระหว่าง 39.6% ถึง 58% ซึ่งจัดว่าเป็นกรณีที่ดื้อยาสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก"
ความจริงข้อมูลของงานวิจัยนี้เก็บตั้งแต่ พ.ศ.2543 ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาขณะนั้นคือยาต้านไวรัสเอแซดที ส่วนยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตเพื่อรักษาโรคเอดส์นั้นคือยาจีพีโอเวียร์ เพิ่งผลิตมาได้ 3 ปีเท่านั้นเอง ดูความหน้าหนาหน้าทนของพวกล็อบบี้ยิสต์เอาเถอะ
แต่ที่น่าขายหน้ากว่านั้นคือถ้าคนไทยโง่ๆ ที่หลงเชื่อตามนั้นก็ช่วยไม่ได้
เรื่องอย่างนี้ผู้เขียนได้พบและพูดคุยกันคนไทยที่ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกานานถึง 9 ปีและทำงานเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของบริษัทที่ปรึกษาใหญ่แห่งหนึ่งที่นครนิวยอร์ก ผู้ตัดสินใจลาออกจากงานที่เงินเดือนสูงมากเนื่องจากถูกให้ทำงานกับบริษัทล็อบบี้ยิสต์ที่ต้องการเฉพาะข้อมูลสถิติที่เป็นประโยชน์ในการอ้างอิงเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงเท่านั้น ซึ่งวิชาสถิตินั้นเป็นการศึกษาของความ "น่าจะเป็น-probability" ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีความแท้ๆ
บังเอิญคนไทยคนนั้นรู้สึกบาปกรรมหากจะใช้วิชาสถิติไปรับใช้พวกล็อบบี้ยิสต์ที่ปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดีโดยสิ้นเชิงเลยลาออกดีกว่า
สรุป อย่าไปด่าว่าพวกล็อบบี้ยิสต์เลยเสียเวลาเปล่าๆ ผิดเป้าแท้ๆ ต้องด่าคนจ้างคือบริษัทยานั่นแหละ ดูตัวเลขที่ล็อบบี้ยิสต์อ้างว่าบริษัทยาลงทุนในงานวิจัยที่จะผลิตยาต้นแบบไปถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐทั้งๆ ที่ไม่เคยมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยยาต้นแบบชนิดใดต้องใช้เงินเกิน 100 ล้านเหรียญเลย แต่บริษัทยาจะยึดเอาลิขสิทธิ์ถึง 20 ปีซึ่งตามธรรมดาอย่างงานออกแบบเสื้อผ้านั้นๆ ลิขสิทธิ์มีอายุไม่ถึง 6 เดือนเลย การหาเงินเอากำไรกับชีวิตคนนี่น่าชังจริงๆ
พวกธุรกิจข้ามชาติของสหรัฐอเมริกานี่เจอจีน เจอซาอุดีอาระเบียไปก็เงียบ ดูอย่าง Google และ Youtube สิ ยอมรัฐบาลจีนได้ทุกอย่างเพราะเป็นตลาดที่ใหญ่มหาศาล
หลักการของอเมริกาเกี่ยวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพสื่อถูกมองข้ามไปได้อย่างง่ายดาย
หรือกรณีประธานาธิบดีบุชไปทำความตกลงเกี่ยวก้อยกับกษัตริย์อับดุลเลาะห์แห่งซาอุดีอาระเบียว่าอเมริกาจะยกเว้นไม่พยายามผลักดันให้ซาอุฯ เป็นประชาธิปไตยซึ่งการส่งเสริมประชาธิปไตยนั้นเป็นหนึ่งในนโยบายต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของอเมริกาเลยทีเดียว เพราะก็เห็นๆ กันอยู่แล้วว่าการมีหลักประกันในแหล่งน้ำมันนั้นสำคัญต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นไหนๆ
แต่ประเทศไทยเราสิมักไม่ค่อยมีอะไรไปต่อรองกับเค้า ถ้าดื้อก็ต้องโดนหนักหน่อย แต่เที่ยวนี้ขออย่าเป็นมวยล้มเลย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 106
จงซื่อสัตย์กับตนเอง บางบทของเช็คสเปียร์ที่ เค็น เอเด็ลแมน ลืมนำมาใช้
มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ
Oh what a tangled web we weave,
When first we practice to deceive!
Sir Walter Scott,
Marmion, Canto VI. Stanza 17*
เค็น เอเด็ลแมน หรือ Kenneth Adelman ประธานบริหารขององค์กรที่ชื่อว่า สหรัฐอเมริกา เพื่อ นวัตกรรม (USA for Innovation) ที่กำลังรณรงค์โจมตีประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในขณะนี้ เป็นใครกันแน่ คนไทยอาจจะกำลังมีคำถาม
หากสำหรับคนอเมริกัน ที่ติดตามสถานการณ์การเมือง โดยเฉพาะการบุกอิรักของสหรัฐ ต่างรู้จักเค็นเป็นอย่างดี จากวาทะอันลือลั่น (ซึ่งต่อมา กลายเป็นเรื่องแสนจะขายหน้า) ของเขา
ในบทความที่เขาเขียนให้หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสท์ฉบับวันที่ 13 ก.พ. 2545 เค็นกล่าวว่า สงครามในอิรักนั้น ง่ายเสียยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก** และว่าอเมริกาจะได้รับชัยชนะอย่างง่ายดาย พร้อมทั้งโจมตีผู้คัดค้านการทำสงครามกับอิรักที่เกรงว่าจะต้องสูญเสียชีวิตทหารอเมริกันจำนวนมากนั้นว่า กลัวเกินกว่าเหตุ
เขายังแสดงความมั่นใจในอำนาจที่ยิ่งใหญ่ทางการทหารของอเมริกา ซึ่งนับวันมีแต่จะทวีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็หมิ่นแคลนยุทโธปกรณ์ของฝ่ายอิรักว่าล้าสมัย เก่าคร่ำคร่า ทำนองว่ามวยคนละชั้น ซ้ำกำลังพลก็น้อยกว่ากันมาก นอกจากนี้ เขายังส่งสารกับประธานาธิบดีจอร์จ บุชว่า ทำสงครามไปเลย ไม่ต้องไปห่วงว่าประเทศอื่นๆ จะว่ายังไง เพราะเขามั่นใจว่า คนอเมริกันจะเข้าใจและสนับสนุนว่า การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำ
ห้าปีผ่านไป ข้อกล่าวหาอิรักเรื่องอาวุธทำลายล้างประสิทธิภาพสูงกลายเป็นเรื่องชวนหัวที่น่าอับอายของผู้นำสายเหยี่ยวในทำเนียบขาว แล้วยังเรื่องที่หาว่าซัดดัม ฮุสเซ็น เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก่อการร้ายและการระเบิดตึกเวิลด์เทรดอีกเล่า ที่จนป่านนี้ก็ยังหาหลักฐานใดๆ ไม่ได้ ในขณะที่ทั้งทหารอเมริกันและประชาชนอิรักจำนวนมาก ต้องล้มตายรายวัน
เค็นกลับลำ โดยออกมาวิพากษ์วิจารณ์โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ อดีตรัฐมนตรีกลาโหม ผู้ที่เขาเคยทำงานด้วย (และเป็นเพื่อนสนิทของเขามากว่า 10 ปี) และคนอื่นๆ (โดยลืมนึกถึงตัวเอง) ว่า ดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดในอิรัก (ก็ไม่ใช่เขาเองหรอกหรือที่มีส่วนสนับสนุนอย่างแข็งขัน) บทความที่เขาเขียนให้หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ วันที่ 13 มี.ค. 2547 เขายอมรับว่ามองผิดพลาดไปที่ว่า อิรักมีอาวุธทำลายล้างประสิทธิภาพสูง ที่ว่าคนอิรักพร้อมจะร่วมมือเต็มที่หลังโค่นซัดดัม ฮุสเซ็น และที่ว่าซัดดัมอาจจะเกี่ยวข้องกับขบวนการอัลกอ อิดะห์
หากแต่เขาก็ยังยืนยันว่าทำเนียบขาวก็ยังต้องคงกำลังทหารในอิรักต่อไป เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง
ครั้นพอถูกซักถามตอนให้สัมภาษณ์กับนิตยสารวานิตี้ แฟร์ ว่า อ้าว แล้วที่เคยพูดไว้ว่า มันง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากนั่นเล่า มันเกิดอะไรขึ้น เค็นก็อ้อมแอ้มไปว่า อ้อ เขาประเมินความสามารถของทีมความมั่นคงแห่งชาติสูงเกินไปหน่อย
ปีที่แล้ว โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ ขอให้เค็นลาออก จากคณะกรรมการบริหารนโยบายกลาโหม เค็นเล่าให้นิตยสารนิวยอร์คเกอร์ฟังว่า โดนัลด์ บอกว่าเค็นเป็นเพื่อนเขามาตลอดและจะเป็นตลอดไป แต่ขอให้ลาออกเสียเถอะ
หลังจากนั้น เค็นได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการจากโดนัลด์ รัมส์เฟลด์ ว่ากำลังจะหาคนมาแทนตำแหน่งของเค็น แต่ในที่สุดโดนัลด์เองก็มีเหตุต้องระเห็จจากตำแหน่งไปก่อนเค็น ความเป็นเพื่อนก็มีอันเป็นต้องขาดสะบั้นลง เมื่อต่อมาเค็นให้สัมภาษณ์กับนิตยสารนิวยอร์คเกอร์ว่า เขาอาจจะมองคนผิดไป เค็นว่าโดนัลด์คนที่เขารู้จักไม่ใช่แบบนี้ แต่เค็นก็รีบเสริมว่า โดนัลด์อาจจะเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้น แต่เขา (เค็น) มองผิดไปเอง
ในอเมริกา เค็น ถูกวิจารณ์ว่าเป็นพวกมีแนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยมใหม่ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพวกที่กุมอำนาจอยู่ในทำเนียบขาวขณะนี้
เค็นเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารนโยบายกลาโหมของสหรัฐ และเคยอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ด้านนโยบายในช่วงราวปี พ.ศ. 2513 เช่นเป็นกรรมการในคณะกรรมการทางด้านมหันตภัยแห่งชาติ ซึ่งมีการรื้อฟื้นกันขึ้นมาใหม่เมื่อปี 2547
เขายังเคยเป็นผู้ช่วยของโดนัลด์ รัมส์เฟล์ด ในสมัยของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เคยเป็นผู้ช่วยของนางจีน เคิร์กแพทริค อยู่สองปีครึ่งในสมัยที่เธอเป็นทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ และยังเคยรับใช้รัฐบาลประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน เกือบห้าปี ในฐานะผู้อำนวยการของหน่วยงานควบคุมการขยายอาวุธ และเป็นที่ปรึกษาของเรแกนด้วย
เค็นเกิดที่ชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย พ.ศ. 2489 เขาเรียนจบวิชาเอกด้านปรัชญาและศาสนา จากวิทยาลัยกรินเนลในไอโอวา จากนั้นเรียนต่อปริญญาโทด้านการศึกษาการบริการต่างประเทศ และปริญญาเอกด้านทฤษฎีการเมืองที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เขาแต่งงานกับนางแครอล มีบุตรสาวสองคน ภรรยาของเค็นทำงานเป็นผู้อำนวยการโครงการที่ชื่อว่า ศูนย์ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ในนโยบายสาธารณะ ของสถาบันหัวอนุรักษ์นิยมที่ชื่อว่า สถาบันฮัดสัน
เค็นเคยแปลให้โมฮัมหมัด อาลี ในการชกมวยชิงแชมป์เฮฟวี่เวท ที่แอฟริกาในปี พ.ศ 2518 และเป็นหนึ่งในคณะสำรวจที่เดินทางล่องแม่น้ำคองโกที่ยาวเป็นอันดับสองในแอฟริการองจากแม่น้ำไนล์
เค็นเคยเขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์การเจรจาควบคุมอาวุธของอเมริกาและอดีตสหภาพโซเวียต เขายังเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอชิงตันเนี่ยน และดังนั้น จึงรู้ดีว่าจะใช้สื่อที่ความอยู่รอดของธุรกิจขึ้นอยู่กับรายได้จากการโฆษณาได้อย่างไร ตัวอย่างล่าสุดก็คือ การจ่ายค่าโฆษณาเต็มหน้าในหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับในเมืองไทย
ในบทความที่เขาเขียนเมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา ในหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน ไทมส์ เค็นกล่าวหาว่าไทยพยายามขโมยนวัตกรรมทางปัญญาของสหรัฐ เพื่อยักย้ายผลประโยชน์ไปให้กับอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ เขาตอบโต้ว่า ข้ออ้างเรื่องไทยไม่สามารถซื้อยาติดสิทธิบัตรราคาแพงได้นั้น เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ เมื่อพิจารณาว่าทีเพิ่มเงินเดือนให้พวก คมช.ยังทำได้ แถมงบกลาโหมยังได้เพิ่มอีกมหาศาล เขายังกล่าวว่า การกลายเป็นรัฐทหาร การโจมตีสถาบันประชาธิปไตย และแนวโน้มการปิดกั้นทางเศรษฐกิจ ทำให้ไทยไม่ต่างอะไรกับพม่าเพื่อนบ้าน
เค็น เปรียบเปรยไทยว่าเป็นส่วนหนึ่งของ อักษะแห่งความชั่วร้ายด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเขาอ้างว่ารวมถึงบราซิล อินเดีย และจีน
ข้อเสนอของเขาก็คือ เรียกร้องให้ทำเนียบขาวและรัฐสภาอเมริกันเป็นหัวหอก กดดันให้เกิดการบริหารที่ดีในประเทศไทย บรรดาพวกที่คุ้นเคยกับวาทะของเค็นที่หนุนให้สหรัฐบุกอิรัก ฟังแล้วอาจจะรู้สึกว่าเคยได้ยินข้อเสนออะไรทำนองนี้มาก่อน (แล้วดูผลที่เกิดขึ้นตามมาสิ ว่าเป็นอย่างไร)
บริษัทโฆษณาประชาสัมพันธ์ในนามของเขานั้น มีลูกค้าที่ใช้บริการเช่น บริษัทยาแอ็บบอท และเมิร์ค จะว่าไปแล้ว ครึ่งหนึ่งของบริษัท 14 แห่งที่เป็นลูกค้าของเขานั้นเป็นผู้ผลิตยา นอกจากสองบริษัทข้างต้นแล้ว ก็ยังมี แอสทราเซเนกา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โนวาทิส ไฟเซอร์ เป็นต้น และดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เค็นออกมาปกป้องอุตสาหกรรมยาเต็มที่
เค็นและภรรยา ยังร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า นักเคลื่อนไหว และ เช็คสเปียร์ ซึ่งแครอลเป็นประธาน และเค็นเป็นรองประธาน บริษัทนี้จัดอบรมเรื่องการสื่อสารและการจัดการให้กับพวกซีอีโอระดับสูง ปีหนึ่งกว่า 35 ครั้ง การจัดอบรมของพวกเขาแต่ละครั้งใช้เวลา 3 ชั่วโมง ผู้เข้าอบรมเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 ถึง 18,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 136,000 ถึง 612,000 บาท) การฝึกอบรมมักจัดขึ้นตามสถาบันต่างๆ พอฝึกอบรมเสร็จแล้ว พวกนักเรียนต้องมาแต่งตัวย้อนยุค และมาแสดงว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างในการปรับประยุกต์ภูมิปัญญาของเช็คสเปียร์มาใช้ในทักษะการบริหาร เค็นสอนเกี่ยวกับเช็คสเปียร์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ และจอร์จ วอชิงตัน และยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับการใช้แรงบันดาลใจจากเช็คสเปียร์เพื่อการเป็นผู้นำและความสำเร็จทางธุรกิจ
ในกระแสความขัดแย้งเรื่องมาตรการบังคับใช้สิทธิของประเทศไทย อาจบางที เค็น จำเป็นต้องระลึกถึงคำกล่าวของเซอร์ วอลเตอร์ สก็อต ข้างต้น กับ คำกล่าวข้างล่างนี้จากบทละครของเช็คสเปียร์เรื่อง แฮมเล็ท ให้มากขึ้น
This above all: to thine own self be true;
And it must follow, as the night the day;
Thou canst not then be false to any man.
William Shakespeare,
Hamlet, Act I, Scene iii
เหนืออื่นใด คือ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพื่อจะไม่ตระบัดสัตย์กับผู้อื่น
--------------------
* จากบทกวีของนักประพันธ์ชาวสก็อต เซอร์ วอลเตอร์ สก็อท (1771-1832) เรื่อง Marmion เกี่ยวกับการสู้รบครั้งใหญ่ที่ทุ่งฟล็อดเด็น ทางเหนือของอังกฤษ ระหว่างกองทัพสก็อตแลนด์กับอังกฤษ เมื่อปีค.ศ. 1513 (พ.ศ. 2056) จบลงด้วยสก็อตเป็นฝ่ายปราชัย
** เค็นใช้คำว่า Cakewalk ในภาษาอังกฤษ ในความหมายว่า สามารถได้ชัยชนะอย่างง่ายๆหากแต่เราไม่มีปริบทเช่นที่จะเข้าใจคำนี้ได้ จึงเทียบกับสำนวนไทยๆ ว่า ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก
เท่าที่สืบค้นดู คำว่า Cakewalk นั้น เป็นการเต้นที่คิดค้นขึ้นโดยคนแอฟริกัน-อเมริกัน ทางภาคใต้ เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อล้อเลียนการเต้นรำแบบบอลรูมของพวกเจ้าของไร่ผิวขาวที่ต้องการเลียนแบบชนชั้นสูงในยุโรป โดยการเต้นแบบเค้กวอล์คนี้ ผสมผสานลักษณะการแสดงออกแบบขำขันเข้ากับจังหวะการเต้นแบบดั้งเดิมของแอฟริกา มีการเตะขาสูง ทำท่าทางประหนึ่งกำลังถอดหมวก พวกนายทาสผิวขาวชอบใจกับการเต้นนี้ และมักจะเชิญชวนพวกทาสให้เข้าร่วมประกวดในวันอาทิตย์ ผู้ชนะได้รางวัลเป็นเค้กหนึ่งชิ้น อันเป็นที่มาของชื่อการเต้นแบบนี้
แม้หลังเลิกทาส การเต้นนี้ก็ยังดำเนินอยู่ในชุมชนคนผิวดำ ส่วนที่ว่าคำๆ นี้ กลายเป็นมีความหมายว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ได้อย่างไรนั้น กล่าวกันว่าเป็นเพราะการเต้นแบบนี้ สะท้อนบรรยากาศง่ายๆ สบายๆ แบบพักผ่อนในวันอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม คนอเมริกันทางภาคใต้ ที่เติบโตขึ้นมากับสังคมในโบสถ์และการระดมทุน มีความเข้าใจว่าการเต้นแบบเค้กวอล์คนี้ว่าเหมือนกับการเล่นเก้าอี้ดนตรี คือมีการเดินรอบวงกลมที่มีตัวเลขระบุอยู่ พอดนตรีหยุด กรรมการก็จะเรียกหมายเลข ผู้ที่อยู่ใกล้หมายเลขที่ถูกเรียกที่สุด จะได้รับรางวัลเป็นขนมหวาน
ข้อมูลประกอบรายงาน
1.Cakewalk in Iraq. February 13, 2002. p.A27. The Washington Post. Access through www.washingtonpost.com.
2.Troubles from Thailand. By Ken Adelman. The Washington Times. April 27, 2007. Access through www.washingtontimes.com
3.Ken Adelman: A Rat Abandons a Ship of Fools. By Ken Silverstein. November 20, 2006. Harpers Magazine. Access through www.harpers.org
4.Ken Adelmans (New) Lies. By Robert Weissman. 05.07.2007. Access through www.huffingtonpost.com
5.www.usaforinnovation.org
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 107
มติชน วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10672
ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย
โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
จากข้อเขียนในเรื่องเมธีตะวันออกของท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของไทยผู้มีอายุสั้นเหลือเกิน น่าเสียดายที่ท่านจากโลกนี้ไปด้วยอายุเพียง 37 ปีเท่านั้นเอง ท่านอาจารย์เสถียรเขียนถึงอุดมคติการเมืองของขงจื๊อไว้ดังนี้คือ
อุดมคติการเมืองของขงจื๊อเรียกว่า "ไต้ท้ง" แปลตามตัวอักษรว่า ความเสมอภาคอันใหญ่ยิ่ง ลัทธิไต้ท้งของขงจื๊อไม่ยอมให้มีการแบ่งชาตินั้นชาตินี้ แต่ให้ถือว่าทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลกเหมือนกันหมด จึงเป็นสากลนิยม สมมุติถ้ามีใครมาถามคนที่ถือลัทธิสากลนิยมว่า ท่านเป็นคนชาติอะไร? เขาจะตอบว่าข้าพเจ้าเป็นมนุษยชาติเป็นแน่ ขงจื๊อเห็นว่าความเดือดร้อนในโลกเกิดจากการแบ่งเป็นชาติ จากชาติก็แบ่งแยกออกมาเป็นรัฐ เป็นแคว้น เป็นเมือง เป็นคณะ เป็นพวก แก่งแย่งเบียดเบียนกันไม่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น ถ้าจะสร้างสันติภาพในโลกก็ต้องเลิกความรู้สึกแบ่งแยกนี้โดยสิ้นเชิง ให้ถือว่าทุกคนเป็นพลโลก มีชาติชาติเดียวกันคือมนุษยชาติเท่านั้น
คราวหนึ่งเจ้าครองนครฌ้อออกไปประพาสป่ากลับมา แต่ลืมทิ้งคันศรไว้ในหนทาง พวกมหาดเล็กจะกลับไปค้นหา เจ้าครองนครฌ้อตรัสว่า "ไม่ต้องค้นหาให้เสียเวลาหรอก เพราะพระราชาฌ้อทำตกหายไป แต่ราษฎรฌ้อเป็นผู้ได้ไป จะเป็นไรมี"
ขงจื๊อทราบเรื่องนี้ก็วิจารณ์ว่า "น่าเสียดายนัก ที่เจ้าครองนครฌ้อยังคับแคบไป ไฉนไม่พูดว่ามนุษย์ทำคันศรตกหาย แต่มนุษย์ด้วยกันเป็นผู้ได้ไปจะเป็นไรมี ทำไมจะต้องเจาะจงเป็นชาวฌ้อเล่า"
ทรรศนะการเมืองของขงจื๊อ คือพลโลกเป็นครอบครัวเดียวกันหมด
ผู้เขียนได้อ่านข้อความนี้มาตั้งแต่เด็กแล้วก็ได้แต่รำพึงในใจว่า "ยังจะมีคนที่คิดและทำอย่างนี้บ้างไหมหนอในโลกนี้ หากมีโอกาสพบเห็นคงเป็นมงคลในชีวิตเป็นที่ยิ่ง!"
พบแล้วละคนไทยเรานี่เอง คือเภสัชกร ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คนเกาะสมุย ท่านเป็นผู้มีความเมตตาอันไพศาลดังมหาสมุทร เริ่มจากการก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาให้กับองค์การเภสัชกรรมด้วยการเข้าไปทำงานเป็นคนแรกและคนเดียวเท่านั้นใน พ.ศ.2539 ทำได้ 6 ปีก็ลาออกเพื่อไปช่วยผลิตยาสามัญรักษาโรคเอดส์และมาเลเรียให้แก่ชาวแอฟริกาทั้งทวีปเมื่อ พ.ศ.2545 ในขณะที่สถาบันวิจัยและพัฒนาของไทยมีบุคลากรคุณภาพถึง 70 คนและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ก่อนอื่นท่านผู้อ่านต้องเข้าใจความหมายของยาสามัญ (generic drug) เสียก่อน (ผู้เขียนเองทีแรกก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน)
กล่าวคือ ยาชนิดเดียวกันเมื่อมีการผลิตจากหลายบริษัทอาจมีราคาขายที่แตกต่างกันได้มากเนื่องจากยาเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง
คราวนี้ยาใหม่มักจะมีราคาแพงมากกว่ายาเก่าในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากบริษัทยาผู้ผลิตจำเป็นต้องได้รับกำไรชดเชยค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนายาชนิดนั้นๆ ก่อนที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาจำหน่ายในท้องตลาดได้
บริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรของยาใหม่จึงได้รับความคุ้มครองในช่วงเวลาหนึ่ง (ประมาณ 15-20 ปีนับแต่วันจดทะเบียนสิทธิบัตรการค้นพบ)
เมื่อครบกำหนดบริษัทยาอื่นก็สามารถผลิตยาชนิดเดียวกันนั้นออกจำหน่ายด้วยเช่นกัน แต่ต้องใช้ชื่อการค้าอื่นหรือใช้ชื่อทางเคมีของยาโดยตรงจึงนิยมเรียกยาที่ผลิตออกมาจากต่างบริษัทในภายหลังว่าเป็นยาเลียนแบบหรือ ยาสามัญ (generic drugs) ซึ่งส่วนใหญ่มักมีราคาถูกลงมาก เนื่องจากบริษัทที่ผลิตขึ้นตามในภายหลังเหล่านี้ไม่มีต้นทุนด้านการวิจัยและพัฒนามากเหมือนบริษัทต้นแบบ
อีทีนี้ปัญหามันมีอยู่ว่าบรรดาบริษัทยานั้น (ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา) มีความโลภอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เวลาคิดราคายาที่ตนเองผลิตขึ้นมาก็เอากำไรกันด้วยการคิดราคายาที่ขายสูงกว่าต้นทุนการผลิตไม่ต่ำกว่า 30-40 เท่าตัวแบบว่าไม่คำนึงถึงชีวิตคนโดยไม่มีมนุษยธรรมเลยนั่นแหละก็จะพยายามไม่ให้ใครผลิตยาสามัญขึ้นมา
แต่ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ของเรานี่แหละได้พยายามผลิตยารักษาโรคเอดส์ขึ้นเป็นคนแรกและประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ผลิตยาสามัญรักษาโรคเอดส์ขึ้นใน พ.ศ.2538 ซึ่งยานี้เป็นตัวอย่างการผลิตยาสามัญรักษาโรคเอดส์ที่ไทยเราทำออกมาขายในราคาแคปซูลละ 8 บาท ในขณะที่บริษัทยาของฝรั่งที่มาฟ้องร้องนั้นขายแคปซูลละ 284 บาท
การผลิตยาสามัญรักษาโรคเอดส์นี้ทำให้รัฐบาลไทยแต่เดิมสามารถแจกยารักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ประมาณพันคนสามารถช่วยเหลือคนเป็นหมื่นๆ ได้เนื่องจากราคายาถูกลง (ยารักษาโรคเอดส์ต้องกินทุกวัน วันละ 2 เวลาไปตลอดชีวิต ขาดไม่ได้
ใน พ.ศ.2542 ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เห็นว่าทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่โชคร้ายมีผู้ป่วยเอดส์เป็นสิบล้านคนท่านจึงคิดที่จะไปช่วยสอนให้คนแอฟริกาสามารถผลิตยาสามัญรักษาโรคเอดส์นี้ได้เอง เนื่องจากอย่างที่ว่าแหละยารักษาเอดส์นี้ต้องกินทุกวันขาดไม่ได้
คงมีคนสงสัยว่าทำไมเราไม่ส่งยาสามัญของเราเองไปขายที่แอฟริกาเล่า?
ดร.กฤษณาท่านตอบว่า "ดิฉันต้องการให้พวกเขาทำเองให้พึ่งตนเอง ดิฉันเชื่อว่า ถ้าเขาอยากกินปลา เราก็ควรสอนเขาตกปลาเองไม่ใช่ว่าเอาปลาไปให้เขากิน เพราะไม่อย่างนั้นเขาจะไม่มีวันพึ่งตนเองได้ ถ้าเรามองว่าเราสามารถนำยาจากเมืองไทยไปจำหน่ายได้ มันจะมีประโยชน์อะไร เพราะมันไม่มีความยั่งยืน บุคลากรที่มาผลิตยา ก็เป็นคนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น"
ท่านไปแอฟริกาคนเดียวนะแถมยังต้องควักกระเป๋าตัวเองด้วยเหมือนกันอย่างประเทศแรกที่ท่านไปช่วยคือประเทศคองโก (ซาร์อี) ซึ่งกำลังมีสงครามกลางเมือง ที่คองโกนอกจาก ดร.กฤษณาจะไปช่วยผลิตยารักษาโรคเอดส์แล้วยังต้องไปออกแบบแปลนสร้างโรงงานให้ด้วยเพราะเวลาไปถึงมีแต่ที่ดินว่างๆ เท่านั้น
ช่วยคองโก 3 ปีจนสำเร็จเป็นแห่งแรกต่อจากนั้นก็ไปที่ประเทศแทนซาเนียซึ่งที่นี่นอกจากยารักษาโรคเอดส์แล้ว ดร.กฤษณายังคิดและผลิตยารักษามาเลเรียขึ้นมาเองโดยตั้งชื่อว่า "THAI-TANZUNATE" ซึ่งเป็นยามาเลเรียราคาถูกที่สุดในโลกคือตกราว 36 บาทต่อเม็ด
ในขณะที่ยามาเลเรียของฝรั่งทุกยี่ห้อราคาประมาณเม็ดละ 360 บาท
ดร.กฤษณาได้เดินทางไปตามประเทศต่างๆ ในแอฟริกาทำอย่างนี้จนปัจจุบันยาที่มีคำว่า THAI ขึ้นหน้าเป็นที่รู้จักทั่วแอฟริกา ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในแอฟริกานั้นท่านต้องเจออากาศที่ร้อนถึง 50 องศาเซลเซียส ถูกปืนจี้ 5 ครั้ง เจอระเบิดตกลงข้างที่พักและที่สำคัญคือพูดกับคนแอฟริกาไม่รู้เรื่องด้วยซี
ที่น่าสนใจคือสื่อต่างประเทศเขาชื่นชมการทำงานของ ดร.กฤษณาถึงกับเอาไปสร้างภาพยนตร์จนได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ 3 รางวัล นอกจากนี้ทางอเมริกายังนำเรื่องของท่านไปสร้างป็นละครบรอดเวย์เรื่อง "Cocktail" เปิดแสดงในเดือนพฤษภาคมนี้เอง และยังได้รับการเสนอปริญญากิตติมศักดิ์จากอังกฤษและอเมริกาไม่รู้กี่ใบแล้ว
รางวัลโนเบลสำหรับคนไทยคนแรกอยู่ไม่ไกลหรอก แต่ ดร.กฤษณาท่านไม่สนใจหรอกเพราะท่านคือ "มหาตมะ" ของแท้แน่นอน
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 108
หนังสือ สิทธิบัตรยา-ยาใจคนรวย โดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล (ในโลกการค้า ยาไม่ได้มีไว้ให้ทุกคน)
อ่านรายละเอียดที่นี่...
http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/ ... ow.pl?0299
อ่านรายละเอียดที่นี่...
http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/ ... ow.pl?0299
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 110
ไม่ต้องห่วงเลยคับพี่ javidol
ถ้ามันเป็นความจริง และบังเอิญผมก็เชื่อเช่นนั้น
ไม่เคยท้อที่จะทำ
ปล.ยังไม่จบคับ ยังมีอีก เดี๋ยวค่อยทยอยแปะ...
คืนนี้แมวมาแล้วด้วย ..ไปก่อนคับ...
ถ้ามันเป็นความจริง และบังเอิญผมก็เชื่อเช่นนั้น
ไม่เคยท้อที่จะทำ
ปล.ยังไม่จบคับ ยังมีอีก เดี๋ยวค่อยทยอยแปะ...
คืนนี้แมวมาแล้วด้วย ..ไปก่อนคับ...
-
- Verified User
- โพสต์: 431
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 111
มุกใหม่สหรัฐฯช่วยพัฒนาไอทีส่งซิกบีบไทยห้ามใช้CLยาเพิ่ม
ผู้จัดการรายวัน:ในประเทศ-การเมือง 05/06/2007 21:38:58
สหรัฐฯ มามุขใหม่ เสนอตัวช่วยเหลือไทยด้านการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา แทนรุกให้เร่งปราบปรามเพียงอย่างเดียว แต่ลึกๆ กลับส่งสัญญาณ ไม่ให้ไทยใช้ซีแอลอีก หากเห็นว่ายาราคาแพง และคนไทยเข้าไม่ถึงยา ให้ใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าแก้ปัญหาแทน สธ.ต่อรองราคายาอีกรอบวันนี้ กรมควบคุมโรค เชียร์ซื้อยาเมิร์ก แถมยาเอดส์เด็กสมน้ำสมเนื้อ เผยมียอดผู้ป่วยเด็ก 3,000 ราย จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ระบุยาน้ำเอฟฟาไวเรนท์ กินง่าย ผลข้างเคียงน้อยเหมาะกับเด็ก
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯด้านทรัพย์สินทางปัญญาว่า สหรัฐฯเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือไทยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงติดตามถึงการแก้ไขปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หารือถึงกรณีที่ไทยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับบลิวแอล) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามกฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษแต่อย่างใด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การหารือดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการประชุมระหว่างสหรัฐฯ และอาเซียน ซึ่งสหรัฐฯเสนอให้ความช่วยเหลืออาเซียน รวมถึงไทยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากที่ไทยอยู่ในบัญชีพีดับบลิวแอล ซึ่งการเสนอความช่วยเหลือครั้งนี้เป็นแนวทางใหม่ที่สหรัฐฯยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน จากก่อนหน้านี้ สหรัฐฯต้องการให้ไทยเร่งปราบปราม และป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯในไทยเท่านั้น
สำหรับการหารือครั้งนี้ สหรัฐฯได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงกรณีที่ไทยอยู่ระหว่างการว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าพ.ศ.2542 ให้สอดคล้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เกิดความสมดุล และความเป็นธรรมกับทั้งผู้บริโภค และเจ้าของสิทธิ
อย่างไรก็ตาม แม้สหรัฐฯไม่ได้แจ้งว่าต้องการให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าอย่างไร แต่เชื่อว่า สหรัฐฯไม่ต้องการให้ไทยประกาศบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) ผลิตหรือนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองในกรณีที่ยามีราคาแพง และผู้ป่วยไทยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ แต่หากไทยต้องการซื้อยาราคาถูก นอกเหนือจากการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตยาแล้ว ก็อาจใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้ามากกว่าการประกาศซีแอล
ทั้งนี้เพราะกฎหมายแข่งขันทางการค้าจะครอบคลุมถึงเรื่องการกำหนดราคาที่ต้องไม่สูงเกินไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค อีกทั้งยังมีเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด ซึ่งหากไทยเห็นว่า ผู้ผลิตผู้นำเข้ายามีอำนาจเหนือตลาด และผูกขาดยาแต่เพียงผู้เดียว ก็สามารถใช้กฎหมายดังกล่าวจัดการได้ทันที คาดว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะศึกษาแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ และจะเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าต่อไป ส่วนรัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหน้าที่เสนอแนะเท่านั้น
วันเดียวกันนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า การเจรจาต่อรองราคายาราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ครั้งที่ 4 ในวันนี้(มิ.ย.) ได้เชิญตัวแทนบริษัทยาทั้งหมดเข้าร่วมการเจรจาคือ บ.แอ็บบอต แลบอรสตอรีส จำกัด และบริษัท ซาโนฟี อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ยกเว้นบริษัทเอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของยาต้านไวรัสเอฟฟาไวเรนท์ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการพิเศษ ช่วยเหลือยาต้านไวรัสสำหรับเด็ก 2,500 คนฟรี รวมทั้งบริษัทโนวาตีสที่ก่อนหน้านี้เสนอข้อเสนอในการขายยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชื่อทางการค้าว่า กลิวิก (Glivec) ด้วย
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า การเจรจาครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงเปิดกว้าง ให้มีการต่อรองราคายา โดยยึดนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่าจะซื้อยาต้นแบบหากราคายามีส่วนต่างกับยาสามัญไม่เกินร้อยละ 5 จึงจะรับพิจารณา ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ไม่ได้เสนอข้อต่อรองเป็นพิเศษกับทางบริษัทยา เพราะคงต้องอยู่ที่บริษัทยาจะต้องเป็นผู้พิจารณาเสนอราคาที่สมเหตุสมผลและได้ประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับโครงการยาเอดส์สำหรับเด็กที่ขณะนี้กำลังศึกษาผลดี ผลเสีย รวมทั้งมูลค่าราคายาเมื่อนำมารวมกับยาเอฟฟาไวเรนท์จะต้องเข้าเกณฑ์คือสูงกว่าราคายาสามัญไม่เกิน 5% และต้องคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเอดส์ในเด็กด้วยว่ายาดังกล่าวมีความจำเป็นหรือไม่ เพราะของแถมที่เสนอให้ถึงจะฟรีแต่ก็ต้องใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งตัวเลขที่แท้จริงว่ามีมากน้อยเพียงใด หากเกินกว่า 2,500 ราย ก็ต้องเจรจาเพิ่มจำนวนยามากขึ้น อย่างไรก็ดีขณะนี้บริษัทยังไม่มีการนำมาขึ้นทะเบียนยากับทาง อย.
นพ.ศิริวัฒน์กล่าวอีกว่า ส่วนค่าตอบแทนสิทธิบัตรยาให้กับบริษัทเอ็มเอสดี ตามกฎหมาย โดยที่ไทยมีการสั่งซื้อยาเอฟฟาไวเรนท์ไปแล้วนั้น ยังคงต้องมีการเจรจากันใหม่อีกครั้ง ส่วนจะรับหรือไม่รับหรือจะเรียนร้องเท่าใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่น่าจะยืดเยื้อยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากเอ็มเอสดีไม่ต้องการรับค่าชดเชยแต่ต้องการให้เลิกบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ดังนั้นในการประชุมครั้งหน้าก็จะมีการเชิญบริษัทเอ็มเอสดีฯ มาร่วมประชุมอีกครั้งหนึ่ง
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โครงการยาเอดส์สำหรับเด็ก 2,500 คน ที่เป็นการแถมฟรีของบริษัทเมิร์ก เป็นยาเอฟฟาไวเรนท์ชนิดน้ำ ซึ่งมีผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอสไอวีที่ติดจากแม่สู่ลูกประมาณ 3,000 ราย ซึ่งอยู่ในข่ายจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ปัจจุบันต้องใช้ยาจีพีโอเวียร์บดให้กับเด็กซึ่งเป็นวิธีที่ยุ่งยาก การรับประทานยาน้ำจะช่วยให้รับประทานง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งมีผลข้างเคียงน้อย เหมาะสำหรับเด็ก จึงนับว่าเป็นข้อเสนอที่ดี
ความเห็นส่วนตัวมองข้อเสนอของเมิร์กครั้งนี้ หากสธ.ตัดสินใจซื้อยาเอฟฟาไวเรนท์ของเมิร์ก ก็ถือว่าสมน้ำสมเนื้อ เนื่องจากราคายาลดลงมากหากลดมากกว่านี้ก็อาจส่งผลต่อธุรกิจ เห็นใจทุกฝ่าย แต่ถ้าไทยไม่ทำซีแอลก็จะไม่ได้ยาในราคานี้ สำหรับยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดยาสำหรับเด็ก สามารถคำนวณราคายาในฐานเดียวกับยาชนิดเม็ด ซึ่งยาน้ำทำยากกว่า ทำให้มีราคาแพงกว่ายาเม็ด อีกทั้งยาน้ำเป็นยาที่ผลิตเพื่อเด็กผลข้างเคียงน้อยกว่าและสรรคุณดีกว่ายาที่ใช้อยู่ในขณะนี้
ผู้จัดการรายวัน:ในประเทศ-การเมือง 05/06/2007 21:38:58
สหรัฐฯ มามุขใหม่ เสนอตัวช่วยเหลือไทยด้านการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา แทนรุกให้เร่งปราบปรามเพียงอย่างเดียว แต่ลึกๆ กลับส่งสัญญาณ ไม่ให้ไทยใช้ซีแอลอีก หากเห็นว่ายาราคาแพง และคนไทยเข้าไม่ถึงยา ให้ใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าแก้ปัญหาแทน สธ.ต่อรองราคายาอีกรอบวันนี้ กรมควบคุมโรค เชียร์ซื้อยาเมิร์ก แถมยาเอดส์เด็กสมน้ำสมเนื้อ เผยมียอดผู้ป่วยเด็ก 3,000 ราย จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ระบุยาน้ำเอฟฟาไวเรนท์ กินง่าย ผลข้างเคียงน้อยเหมาะกับเด็ก
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯด้านทรัพย์สินทางปัญญาว่า สหรัฐฯเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือไทยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงติดตามถึงการแก้ไขปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หารือถึงกรณีที่ไทยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับบลิวแอล) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามกฎหมายการค้า มาตรา 301 พิเศษแต่อย่างใด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การหารือดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการประชุมระหว่างสหรัฐฯ และอาเซียน ซึ่งสหรัฐฯเสนอให้ความช่วยเหลืออาเซียน รวมถึงไทยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากที่ไทยอยู่ในบัญชีพีดับบลิวแอล ซึ่งการเสนอความช่วยเหลือครั้งนี้เป็นแนวทางใหม่ที่สหรัฐฯยังไม่เคยดำเนินการมาก่อน จากก่อนหน้านี้ สหรัฐฯต้องการให้ไทยเร่งปราบปราม และป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯในไทยเท่านั้น
สำหรับการหารือครั้งนี้ สหรัฐฯได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงกรณีที่ไทยอยู่ระหว่างการว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าพ.ศ.2542 ให้สอดคล้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เกิดความสมดุล และความเป็นธรรมกับทั้งผู้บริโภค และเจ้าของสิทธิ
อย่างไรก็ตาม แม้สหรัฐฯไม่ได้แจ้งว่าต้องการให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าอย่างไร แต่เชื่อว่า สหรัฐฯไม่ต้องการให้ไทยประกาศบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) ผลิตหรือนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองในกรณีที่ยามีราคาแพง และผู้ป่วยไทยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ แต่หากไทยต้องการซื้อยาราคาถูก นอกเหนือจากการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตยาแล้ว ก็อาจใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้ามากกว่าการประกาศซีแอล
ทั้งนี้เพราะกฎหมายแข่งขันทางการค้าจะครอบคลุมถึงเรื่องการกำหนดราคาที่ต้องไม่สูงเกินไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค อีกทั้งยังมีเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด ซึ่งหากไทยเห็นว่า ผู้ผลิตผู้นำเข้ายามีอำนาจเหนือตลาด และผูกขาดยาแต่เพียงผู้เดียว ก็สามารถใช้กฎหมายดังกล่าวจัดการได้ทันที คาดว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะศึกษาแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ และจะเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าต่อไป ส่วนรัฐบาลจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหน้าที่เสนอแนะเท่านั้น
วันเดียวกันนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า การเจรจาต่อรองราคายาราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ครั้งที่ 4 ในวันนี้(มิ.ย.) ได้เชิญตัวแทนบริษัทยาทั้งหมดเข้าร่วมการเจรจาคือ บ.แอ็บบอต แลบอรสตอรีส จำกัด และบริษัท ซาโนฟี อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด ยกเว้นบริษัทเอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของยาต้านไวรัสเอฟฟาไวเรนท์ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการพิเศษ ช่วยเหลือยาต้านไวรัสสำหรับเด็ก 2,500 คนฟรี รวมทั้งบริษัทโนวาตีสที่ก่อนหน้านี้เสนอข้อเสนอในการขายยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชื่อทางการค้าว่า กลิวิก (Glivec) ด้วย
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า การเจรจาครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังคงเปิดกว้าง ให้มีการต่อรองราคายา โดยยึดนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่าจะซื้อยาต้นแบบหากราคายามีส่วนต่างกับยาสามัญไม่เกินร้อยละ 5 จึงจะรับพิจารณา ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ไม่ได้เสนอข้อต่อรองเป็นพิเศษกับทางบริษัทยา เพราะคงต้องอยู่ที่บริษัทยาจะต้องเป็นผู้พิจารณาเสนอราคาที่สมเหตุสมผลและได้ประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับโครงการยาเอดส์สำหรับเด็กที่ขณะนี้กำลังศึกษาผลดี ผลเสีย รวมทั้งมูลค่าราคายาเมื่อนำมารวมกับยาเอฟฟาไวเรนท์จะต้องเข้าเกณฑ์คือสูงกว่าราคายาสามัญไม่เกิน 5% และต้องคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเอดส์ในเด็กด้วยว่ายาดังกล่าวมีความจำเป็นหรือไม่ เพราะของแถมที่เสนอให้ถึงจะฟรีแต่ก็ต้องใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งตัวเลขที่แท้จริงว่ามีมากน้อยเพียงใด หากเกินกว่า 2,500 ราย ก็ต้องเจรจาเพิ่มจำนวนยามากขึ้น อย่างไรก็ดีขณะนี้บริษัทยังไม่มีการนำมาขึ้นทะเบียนยากับทาง อย.
นพ.ศิริวัฒน์กล่าวอีกว่า ส่วนค่าตอบแทนสิทธิบัตรยาให้กับบริษัทเอ็มเอสดี ตามกฎหมาย โดยที่ไทยมีการสั่งซื้อยาเอฟฟาไวเรนท์ไปแล้วนั้น ยังคงต้องมีการเจรจากันใหม่อีกครั้ง ส่วนจะรับหรือไม่รับหรือจะเรียนร้องเท่าใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่น่าจะยืดเยื้อยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากเอ็มเอสดีไม่ต้องการรับค่าชดเชยแต่ต้องการให้เลิกบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ดังนั้นในการประชุมครั้งหน้าก็จะมีการเชิญบริษัทเอ็มเอสดีฯ มาร่วมประชุมอีกครั้งหนึ่ง
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โครงการยาเอดส์สำหรับเด็ก 2,500 คน ที่เป็นการแถมฟรีของบริษัทเมิร์ก เป็นยาเอฟฟาไวเรนท์ชนิดน้ำ ซึ่งมีผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอสไอวีที่ติดจากแม่สู่ลูกประมาณ 3,000 ราย ซึ่งอยู่ในข่ายจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ปัจจุบันต้องใช้ยาจีพีโอเวียร์บดให้กับเด็กซึ่งเป็นวิธีที่ยุ่งยาก การรับประทานยาน้ำจะช่วยให้รับประทานง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งมีผลข้างเคียงน้อย เหมาะสำหรับเด็ก จึงนับว่าเป็นข้อเสนอที่ดี
ความเห็นส่วนตัวมองข้อเสนอของเมิร์กครั้งนี้ หากสธ.ตัดสินใจซื้อยาเอฟฟาไวเรนท์ของเมิร์ก ก็ถือว่าสมน้ำสมเนื้อ เนื่องจากราคายาลดลงมากหากลดมากกว่านี้ก็อาจส่งผลต่อธุรกิจ เห็นใจทุกฝ่าย แต่ถ้าไทยไม่ทำซีแอลก็จะไม่ได้ยาในราคานี้ สำหรับยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดยาสำหรับเด็ก สามารถคำนวณราคายาในฐานเดียวกับยาชนิดเม็ด ซึ่งยาน้ำทำยากกว่า ทำให้มีราคาแพงกว่ายาเม็ด อีกทั้งยาน้ำเป็นยาที่ผลิตเพื่อเด็กผลข้างเคียงน้อยกว่าและสรรคุณดีกว่ายาที่ใช้อยู่ในขณะนี้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 112
ดีเลยคับ คุณ keng56 ช่วยรายงานความคืบหน้า..
ฝากหญิงแกร่งแห่งสยามไว้ในอ้อมใจอีกท่านหนึ่งคับ...
ฝากหญิงแกร่งแห่งสยามไว้ในอ้อมใจอีกท่านหนึ่งคับ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 113
ยังมีต่อคับ..
แต่ไว้แค่นี้ก่อน..เดี๋ยวค่อยมาต่อวันหลัง..
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 114
เกิดข้อผิดพลาด ตัวหนังสือเล็กมาก ขอแก้ไขใหม่อีกนิดคับ..
ขออภัยด้วยคับ..
ขออภัยด้วยคับ..
-
- Verified User
- โพสต์: 431
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 115
ถกซีแอลเหลว2บริษัทยายันไม่ลดราคาอีก
ผู้จัดการรายวัน:ข่าวปก 06/06/2007 22:59:05
ผู้จัดการรายวัน เจรจาลดราคายาไม่คืบ แอ็บบอต-ซาโนฟี่ ยืนราคาเดิมไม่มีข้อเสนอใหม่ ขณะที่สธ.ให้โอกาสอีก ย้ำจะเลิกซีแอลหากยอมลดราคาสูงกว่ายาสามัญไม่เกิน 5% หรือมีโครงการพิเศษเสนอขอเจรจาใหม่ได้ทันที หมอศิริวัฒน์ ยันมีความเข้าใจกันมากขึ้น ขณะที่ยาต้านไวรัสเด็กพิจารณาปรับปรุงข้อเสนอใหม่เสนอ 12 มิ.ย.นี้ ด้านกรมบัญชีกลางพบเบิกค่ายาจากบัญชียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติอื้อ สั่งตั้งคณะกรรมการกำหนดบัญชียานอกบัญชีที่เบิกจ่ายได้ให้โรงพยาบาลใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
วานนี้ (6 มิ.ย.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า การเจรจาต่อรองราคายาราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ครั้งที่ 4 ซึ่งมีบริษัทที่เข้าร่วมเจรจา 2 ราย คือ บริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส จำกัด เจ้าของยาต้านไวรัสเอดส์ คาเรตต้าสูตรตำรับพิเศษยาเม็ดเคลือบฟิล์มชื่อว่ายาอลูเวีย และบริษัท ซาโนฟี อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของยาพลาวิกซ์ ซึ่งผลการเจรจาทั้ง 2 บริษัทยังคงยืนข้อเสนอเหมือนเดิมไม่มีข้อเสนอใหม่ใด
กล่าวคือ บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส จำกัด ได้ยืนยันราคายาอลูเวีย ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ/ปี อีกครั้ง โดยยังไม่รวมค่าส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งหากได้รวมค่าใช้จ่ายทั้งสองแล้ว จะทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านยาที่คิดเป็นเงิน ไทยเท่ากับ 3,488 บาท/คน/เดือน ตามที่เคยเสนอมาก่อนแล้ว ซึ่งมีส่วนต่างถึงเกือบ 300 เหรียญ แถมยังมีเงื่อนไขว่ากระทรวง สาธารณสุขต้องไม่บังคับใช้สิทธิยาด้วย
คณะกรรมการฯ เห็นว่าราคายาของแอ็บบอตฯ ยังแพงอยู่และขอให้ลดราคาลงอีก ตามนโยบายของสธ.ว่าหากบริษัทฯ เสนอราคาไม่เกิน 5 % ของราคายาสามัญ กระทรวงฯ ยินดีจะซื้อยาจากบริษัทฯ แต่หากบริษัท เสนอราคาเกินกว่านั้นนิดหน่อย จะต้องมีโครงการพิเศษเพิ่มเติมในลักษณะการกุศลแถมมา สธ.จึงจะรับพิจารณา ซึ่งทางบริษัทฯ รับทราบนโยบายดังกล่าวและจะนำไปพิจารณา และหากพร้อมที่จะลดราคายา
ลงเท่ากับที่แจ้งไว้ก็สามารถเสนอราคาใหม่ได้ทันที รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้แจ้ง ราคายาสามัญของยาอลูเวียอยู่ที่ 695 เหรียญสหรัฐฯ/คน/ปี ไม่รวมค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นฐานอ้างอิง ซึ่งบริษัทฯ รับข้อเสนอด้านราคานี้กลับไปพิจารณาอีกครั้งด้วย
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า ส่วนบริษัท ซาโนฟี อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของยาพลาวิกซ์ ผู้แทนบริษัทฯ มีการเจรจาเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน เกี่ยวกับโครงการพิเศษเพื่อขยายการเข้าถึงยาพลาวิกซ์ โดยการจัดเตรียมยาจำนวน 3.4 ล้านเม็ด/ปีที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับยาที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยจัดทำในบรรจุภัณฑ์พิเศษ สำหรับผู้ป่วย ราว 34,000 คน ที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมและระบบหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้าซึ่งปกติไม่สามารถเข้าถึงยานี้ได้ โดยที่สธ.จะจ่ายเงินเพียง 1 ล้านเม็ด เท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างเห็นชอบในหลักการพื้นฐานของโครงการดังกล่าว
แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่า หากคิดเป็นค่ายาแล้วพบว่ายายังมีราคาแพงอยู่ คณะกรรมการฯจึงเสนอนโยบายราคายาเช่นเดียวกับที่เสนอให้กับแอ็บบอตฯ ซึ่งทางบริษัทฯ เห็นว่าเรื่องราคายา หรือปริมาณยาที่ต้องการทั้งหมดเป็นเรื่องทางเทคนิครายละเอียด ที่น่าจะมีการพูดคุยในคณะทำงานเฉพาะ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นด้วยที่จะให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพื่อหาข้อยุติให้เป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่ายต่อไป
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย จำกัดแม้จะไม่ได้มาร่วมเจรจา แต่มีข้อเสนอของที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อเสนอพิเศษเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงยาเอฟฟาไวเรนซ์ สำหรับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วยการสนับสนุนยาน้ำเอฟฟาไวเรนซ์ชนิดแขวนตะกอนสำหรับการรักษาเด็กอายุกว่า 3 ปี จำนวน 2,500 คน/ปี พร้อมกับการสนับสนุนงบประมาณการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย และให้การสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ ติดเชื้อ ซึ่งบริษัทฯ จะได้มีการเสนอรายละเอียดโครงการที่ปรับปรุงให้พิจารณา อีกครั้งในวันที่ 12 มิ.ย.นี้
บริษัทเอ็มเอสดียังคงยืนอยู่ที่ราคาเดิมโดยให้เหตุผลไม่อยากลดราคายาแข่งกับยาสามัญ โดยมองว่าบริษัทยาต้นตำรับที่เป็นผู้วิจัยและพัฒนาการแข่งขันกับบริษัทยาสามัญไม่ใช่จุดเน้น ซึ่งเราก็เข้าใจจึงแจ้งนโยบายให้บริษัทเอ็มเอสดีเช่นเดียวกับอีก 2 บริษัท ส่วนมูลค่าของแถมโครงการยาต้านไวรัสเด็กก็จะต้องมีการพิจารณาต่อไป โดยให้เวลาคณะทำงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ความคืบหน้าในแง่สาระในวันนี้อาจไม่มีอะไรเพิ่มเติม แต่มีความเข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น อย่างแอ็บบอตฯ ถึงแม้จะไม่มีอะไรใหม่ในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งยังไม่มีการขึ้นทะเบียนยา 7-8 ชนิด ที่มีการถอนการขึ้นทะเบียนก่อนหน้านี้ แต่ก็มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมเจรจามากขึ้น และเมื่อได้รับทราบนโยบายของสธ.ครั้งนี้ อนาคตจึงน่าจะมีข้อเสนอโครงการพิเศษที่น่าสนใจมาเสนอกระทรวงฯ
เมื่อถามว่า ได้มีการแจ้งให้ทั้ง 3 บริษัททราบหรือไม่ว่า สธ.จะต้องตัดสินใจซื้อยาทั้งที่มีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ทั้ง 3 รายการ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หรือไม่ นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า คณะเจรจาฯ ไม่ได้มีการแจ้งเรื่องนี้ให้กับบริษัทยาทราบ เนื่องจากบริษัทยาอาจเข้าใจว่า เป็นการขู่มากเกินไป ทำให้บรรยากาศในการเจรจาที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เกิดความเข้าใจและมีการร่วมมือกันมากขึ้น สะดุดลงได้
**ยอดเบิกยานอกบัญชีพุ่งสูงลิ่ว
วันเดียวกันนายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลจากการตรวจสอบ พบว่ามีการเบิกค่ายาจากบัญชียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศและมีราคาแพง และที่สำคัญ คือ จากการวิเคราะห์เชิงวิชาการจากข้อมูลที่ได้รับ พบว่า มีผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวเป็นกลุ่มที่ได้รับยาที่ไม่จำเป็น ยาบางชนิดยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลการรักษา สรรพคุณไม่ชัดเจน ไม่มีข้อบ่งชี้ ค่าใช้จ่ายสูง และได้รับความเสี่ยงจากการใช้ยา ซึ่งนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่แย่ลง เช่น เกิดอันตรายจากการ ใช้ยา เกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่ไม่ใช่จากโรคที่เป็น และยังนำไปสู่ภาวะเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ต้องมีบัญชียาหลักฯ เพราะมีการใช้ยาเกินความจำเป็น การใช้ยาในปีหนึ่ง ๆ มีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านบาท โดยในปี 2549 งบประมาณด้านการรักษาพยาบาลสูงถึง 37,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 25.95% ในขณะที่อัตราการเพิ่มของงบประมาณก่อนหน้านี้ (ค่ารักษาพยาบาลปี 2543 2548) จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 11.52% จึงเห็นได้ว่าเป็นการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศในการนำเข้ายาสำเร็จรูปและวัตถุดิบจำนวนมาก
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนการเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการแพทย์ของโรงพยาบาลรับรองเพื่อประกอบการเบิกค่ายา ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาลในการรับรอง โดยจะมีการกำหนดบัญชียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่เบิกจ่ายได้ให้โรงพยาบาลใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อป้องกันการใช้ดุลยพินิจที่มีความแตกต่างกัน และมากำหนดเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการประมวลผล
ทั้งนี้ คาดว่า สธ.จะประกาศใช้ปลายปี 2550 นี้ และกรมบัญชีกลางจะใช้บัญชียาหลักดังกล่าวอ้างอิงในการเบิกจ่ายเท่านั้น โดยที่บัญชียาหลักดังกล่าวต้องมีความครอบคลุมการรักษาทุกโรคและมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่กระทบสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว หากจะมีการประกาศใช้กรมบัญชีกลางจะแจ้งให้ผู้มีสิทธิทราบล่วงหน้า รวมทั้งแจ้งโรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนด้วย
ผู้จัดการรายวัน:ข่าวปก 06/06/2007 22:59:05
ผู้จัดการรายวัน เจรจาลดราคายาไม่คืบ แอ็บบอต-ซาโนฟี่ ยืนราคาเดิมไม่มีข้อเสนอใหม่ ขณะที่สธ.ให้โอกาสอีก ย้ำจะเลิกซีแอลหากยอมลดราคาสูงกว่ายาสามัญไม่เกิน 5% หรือมีโครงการพิเศษเสนอขอเจรจาใหม่ได้ทันที หมอศิริวัฒน์ ยันมีความเข้าใจกันมากขึ้น ขณะที่ยาต้านไวรัสเด็กพิจารณาปรับปรุงข้อเสนอใหม่เสนอ 12 มิ.ย.นี้ ด้านกรมบัญชีกลางพบเบิกค่ายาจากบัญชียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติอื้อ สั่งตั้งคณะกรรมการกำหนดบัญชียานอกบัญชีที่เบิกจ่ายได้ให้โรงพยาบาลใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
วานนี้ (6 มิ.ย.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า การเจรจาต่อรองราคายาราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ครั้งที่ 4 ซึ่งมีบริษัทที่เข้าร่วมเจรจา 2 ราย คือ บริษัท แอ็บบอต แลบอราตอรีส จำกัด เจ้าของยาต้านไวรัสเอดส์ คาเรตต้าสูตรตำรับพิเศษยาเม็ดเคลือบฟิล์มชื่อว่ายาอลูเวีย และบริษัท ซาโนฟี อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของยาพลาวิกซ์ ซึ่งผลการเจรจาทั้ง 2 บริษัทยังคงยืนข้อเสนอเหมือนเดิมไม่มีข้อเสนอใหม่ใด
กล่าวคือ บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส จำกัด ได้ยืนยันราคายาอลูเวีย ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ/ปี อีกครั้ง โดยยังไม่รวมค่าส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งหากได้รวมค่าใช้จ่ายทั้งสองแล้ว จะทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านยาที่คิดเป็นเงิน ไทยเท่ากับ 3,488 บาท/คน/เดือน ตามที่เคยเสนอมาก่อนแล้ว ซึ่งมีส่วนต่างถึงเกือบ 300 เหรียญ แถมยังมีเงื่อนไขว่ากระทรวง สาธารณสุขต้องไม่บังคับใช้สิทธิยาด้วย
คณะกรรมการฯ เห็นว่าราคายาของแอ็บบอตฯ ยังแพงอยู่และขอให้ลดราคาลงอีก ตามนโยบายของสธ.ว่าหากบริษัทฯ เสนอราคาไม่เกิน 5 % ของราคายาสามัญ กระทรวงฯ ยินดีจะซื้อยาจากบริษัทฯ แต่หากบริษัท เสนอราคาเกินกว่านั้นนิดหน่อย จะต้องมีโครงการพิเศษเพิ่มเติมในลักษณะการกุศลแถมมา สธ.จึงจะรับพิจารณา ซึ่งทางบริษัทฯ รับทราบนโยบายดังกล่าวและจะนำไปพิจารณา และหากพร้อมที่จะลดราคายา
ลงเท่ากับที่แจ้งไว้ก็สามารถเสนอราคาใหม่ได้ทันที รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้แจ้ง ราคายาสามัญของยาอลูเวียอยู่ที่ 695 เหรียญสหรัฐฯ/คน/ปี ไม่รวมค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นฐานอ้างอิง ซึ่งบริษัทฯ รับข้อเสนอด้านราคานี้กลับไปพิจารณาอีกครั้งด้วย
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า ส่วนบริษัท ซาโนฟี อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของยาพลาวิกซ์ ผู้แทนบริษัทฯ มีการเจรจาเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน เกี่ยวกับโครงการพิเศษเพื่อขยายการเข้าถึงยาพลาวิกซ์ โดยการจัดเตรียมยาจำนวน 3.4 ล้านเม็ด/ปีที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับยาที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยจัดทำในบรรจุภัณฑ์พิเศษ สำหรับผู้ป่วย ราว 34,000 คน ที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมและระบบหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้าซึ่งปกติไม่สามารถเข้าถึงยานี้ได้ โดยที่สธ.จะจ่ายเงินเพียง 1 ล้านเม็ด เท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างเห็นชอบในหลักการพื้นฐานของโครงการดังกล่าว
แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่า หากคิดเป็นค่ายาแล้วพบว่ายายังมีราคาแพงอยู่ คณะกรรมการฯจึงเสนอนโยบายราคายาเช่นเดียวกับที่เสนอให้กับแอ็บบอตฯ ซึ่งทางบริษัทฯ เห็นว่าเรื่องราคายา หรือปริมาณยาที่ต้องการทั้งหมดเป็นเรื่องทางเทคนิครายละเอียด ที่น่าจะมีการพูดคุยในคณะทำงานเฉพาะ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นด้วยที่จะให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพื่อหาข้อยุติให้เป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่ายต่อไป
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย จำกัดแม้จะไม่ได้มาร่วมเจรจา แต่มีข้อเสนอของที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อเสนอพิเศษเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงยาเอฟฟาไวเรนซ์ สำหรับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วยการสนับสนุนยาน้ำเอฟฟาไวเรนซ์ชนิดแขวนตะกอนสำหรับการรักษาเด็กอายุกว่า 3 ปี จำนวน 2,500 คน/ปี พร้อมกับการสนับสนุนงบประมาณการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย และให้การสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ ติดเชื้อ ซึ่งบริษัทฯ จะได้มีการเสนอรายละเอียดโครงการที่ปรับปรุงให้พิจารณา อีกครั้งในวันที่ 12 มิ.ย.นี้
บริษัทเอ็มเอสดียังคงยืนอยู่ที่ราคาเดิมโดยให้เหตุผลไม่อยากลดราคายาแข่งกับยาสามัญ โดยมองว่าบริษัทยาต้นตำรับที่เป็นผู้วิจัยและพัฒนาการแข่งขันกับบริษัทยาสามัญไม่ใช่จุดเน้น ซึ่งเราก็เข้าใจจึงแจ้งนโยบายให้บริษัทเอ็มเอสดีเช่นเดียวกับอีก 2 บริษัท ส่วนมูลค่าของแถมโครงการยาต้านไวรัสเด็กก็จะต้องมีการพิจารณาต่อไป โดยให้เวลาคณะทำงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ความคืบหน้าในแง่สาระในวันนี้อาจไม่มีอะไรเพิ่มเติม แต่มีความเข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น อย่างแอ็บบอตฯ ถึงแม้จะไม่มีอะไรใหม่ในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งยังไม่มีการขึ้นทะเบียนยา 7-8 ชนิด ที่มีการถอนการขึ้นทะเบียนก่อนหน้านี้ แต่ก็มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมเจรจามากขึ้น และเมื่อได้รับทราบนโยบายของสธ.ครั้งนี้ อนาคตจึงน่าจะมีข้อเสนอโครงการพิเศษที่น่าสนใจมาเสนอกระทรวงฯ
เมื่อถามว่า ได้มีการแจ้งให้ทั้ง 3 บริษัททราบหรือไม่ว่า สธ.จะต้องตัดสินใจซื้อยาทั้งที่มีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ทั้ง 3 รายการ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ หรือไม่ นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า คณะเจรจาฯ ไม่ได้มีการแจ้งเรื่องนี้ให้กับบริษัทยาทราบ เนื่องจากบริษัทยาอาจเข้าใจว่า เป็นการขู่มากเกินไป ทำให้บรรยากาศในการเจรจาที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เกิดความเข้าใจและมีการร่วมมือกันมากขึ้น สะดุดลงได้
**ยอดเบิกยานอกบัญชีพุ่งสูงลิ่ว
วันเดียวกันนายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลจากการตรวจสอบ พบว่ามีการเบิกค่ายาจากบัญชียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศและมีราคาแพง และที่สำคัญ คือ จากการวิเคราะห์เชิงวิชาการจากข้อมูลที่ได้รับ พบว่า มีผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวเป็นกลุ่มที่ได้รับยาที่ไม่จำเป็น ยาบางชนิดยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลการรักษา สรรพคุณไม่ชัดเจน ไม่มีข้อบ่งชี้ ค่าใช้จ่ายสูง และได้รับความเสี่ยงจากการใช้ยา ซึ่งนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่แย่ลง เช่น เกิดอันตรายจากการ ใช้ยา เกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่ไม่ใช่จากโรคที่เป็น และยังนำไปสู่ภาวะเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ต้องมีบัญชียาหลักฯ เพราะมีการใช้ยาเกินความจำเป็น การใช้ยาในปีหนึ่ง ๆ มีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านบาท โดยในปี 2549 งบประมาณด้านการรักษาพยาบาลสูงถึง 37,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 25.95% ในขณะที่อัตราการเพิ่มของงบประมาณก่อนหน้านี้ (ค่ารักษาพยาบาลปี 2543 2548) จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 11.52% จึงเห็นได้ว่าเป็นการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศในการนำเข้ายาสำเร็จรูปและวัตถุดิบจำนวนมาก
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนการเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการแพทย์ของโรงพยาบาลรับรองเพื่อประกอบการเบิกค่ายา ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาลในการรับรอง โดยจะมีการกำหนดบัญชียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่เบิกจ่ายได้ให้โรงพยาบาลใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อป้องกันการใช้ดุลยพินิจที่มีความแตกต่างกัน และมากำหนดเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการประมวลผล
ทั้งนี้ คาดว่า สธ.จะประกาศใช้ปลายปี 2550 นี้ และกรมบัญชีกลางจะใช้บัญชียาหลักดังกล่าวอ้างอิงในการเบิกจ่ายเท่านั้น โดยที่บัญชียาหลักดังกล่าวต้องมีความครอบคลุมการรักษาทุกโรคและมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่กระทบสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว หากจะมีการประกาศใช้กรมบัญชีกลางจะแจ้งให้ผู้มีสิทธิทราบล่วงหน้า รวมทั้งแจ้งโรงพยาบาลเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 431
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 116
NGOมะกันแฉสหรัฐฯสุดแสบ ชี้ปากด่าไทยแต่ใช้CLเองเพียบ
ผู้จัดการรายวัน:ในประเทศ-การเมือง 11/06/2007 21:48:55
วานนี้ (11 มิ.ย.) นายเบนจามิน โครห์มัล ผู้อำนวยการโครงการผู้บริโภคด้านเทคโนโลยี และผู้ประสานงานโครงการนวัตกรรมทางการแพทย์ องค์การความรู้นิเวศวิทยาระหว่างประเทศ จากสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้สิทธิ (CL) ในสหรัฐฯ ว่า สหรัฐเป็นประเทศที่มีการบังคับใช้สิทธิต่อสิทธิบัตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อนปี 1950 มีการใช้สิทธิกว่า 40,000 รายการ จนมีการตั้งศาลพิเศษดูแลเรื่องสิทธิบัตร การบังคับใช้สิทธิจึงลดน้อยลงเหลือ 12,000 กว่ารายการ แต่ก็ถือว่ามากอยู่ดี แต่กลับคัดค้านและไม่พอใจกับการบังคับใช้สิทธิของประเทศไทย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาโครงการช่วยเหลือฉุกเฉินของประธานาธิบดีด้านเอดส์ หรือ Presidents Emergency Plan for AIDS Relief (PEPFAR) ของสหรัฐฯ มีการจัดซื้อยาสามัญ เอฟฟาไวเรนท์ ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ประเทศไทยมีการใช้สิทธิ ในการส่งไปช่วยเหลือประเทศยากจน แม้ว่าจะไม่มีการทำซีแอล เนื่องจากไม่มีการซื้อและนำหน่ายยาเอฟฟาไวเรนท์ ในสหรัฐฯ แต่พฤติกรรมก็เข้าข่าย ปากว่าตาขยิบ และมีการปฏิบัติที่มี 2 มาตรฐาน คือ สหรัฐทำได้แต่ประเทศไทยทำไม่ได้ ทั้งนี้หากสหรัฐฯ เป็นห่วงบริษัทเอ็มเอสดี ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธฺบัตรจะสูญเสียรายได้ ทำไมไม่จัดซื้อยาจากบริษัทเอ็มเอสดี
นายเบนจามินกล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในปี 2549 ยาชื่อสามัญ โคลพิโดเกรล หรือในชื่อการค้า ยาพลาวิกซ์ มียอดขายสูงเป็นอันดับ 2 ของบรรดายาชื่อสามัญในสหรัฐฯ โดยมียอดขายมากกว่า 36,000 ล้านบาท เป็นผลให้เกิดคดีความกันระหว่างบริษัทซาโนฟี่ อเวนตีส และบริษัท อโปเท็กซ์ (Apotex) ของแคนนาดา ซึ่งซาโนฟี่ครอบครองสิทธิบัตรยานี้ในสหรัฐและไม่ยอมให้มีการจำหน่ายยาชื่อสามัญ เนื่องจากทำให้สูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก โดยที่ผลการตัดสินของศาลในสหรัฐฯ อนุญาตให้บริษัทอโปเท็กซ์ ขายยาชื่อสามัญที่มีการผลิตก่อนที่จะมีคำสั่งศาลสามารถที่จำหน่ายต่อได้ ขณะที่ประเทศไทยซาโนฟี่มียอดขายเพียง 700 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับบริษัทซาโนฟี่สูญเสียรายได้ในสหรัฐเองมากกว่าในประเทศไทย อย่างน้อย 50 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เทียบกันไม่ได้เลย
ส่วนกรณีของบริษัทแอ็บบอต ลาบอราตอรีส ก็มีการร้องขอให้ศาลสหรัฐฯ สั่งอนุญาตให้สามารถใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของบริษัทอื่น เนื่องจากบริษัทนั้นไม่ยินยอมด้วย ดังนั้น เท่ากับว่าแอ๊บบอตได้ใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรมากแล้ว
ขณะนี้ยอดการจำหน่ายยาในยุโรป สหรัฐฯ กำลังลดลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็กลัวจะเสียตลาดในเอเชียด้วย ซึ่งการทำซีแอลของไทยทำให้ผลกระทบเป็นลูกโซ่ เนื่องจากเกิดการตื่นตัวของประเทศที่เสียเปรียบ ซึ่งบริษัทกลัวมากว่าประเทศไทยจะเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นทำตามและลุกลามไปถึงยาอื่นๆ เพราะเมื่อมีการผลิตเยอะเยอะมีการแข่งขันมากราคายาก็จะลดลง รวมถึงกลัวว่า ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นผู้นำเข้ายาจากประเทศอินเดียเพียงอย่างเดียวแต่กลัวว่าองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะมีศักยภาพในการผลิตยาได้เอง เป็นตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคแทบนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทยาสูญเสียมูลค่าทางการตลาดอีกมหาศาลนายเบนจามินกล่าว
ผู้จัดการรายวัน:ในประเทศ-การเมือง 11/06/2007 21:48:55
วานนี้ (11 มิ.ย.) นายเบนจามิน โครห์มัล ผู้อำนวยการโครงการผู้บริโภคด้านเทคโนโลยี และผู้ประสานงานโครงการนวัตกรรมทางการแพทย์ องค์การความรู้นิเวศวิทยาระหว่างประเทศ จากสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้สิทธิ (CL) ในสหรัฐฯ ว่า สหรัฐเป็นประเทศที่มีการบังคับใช้สิทธิต่อสิทธิบัตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อนปี 1950 มีการใช้สิทธิกว่า 40,000 รายการ จนมีการตั้งศาลพิเศษดูแลเรื่องสิทธิบัตร การบังคับใช้สิทธิจึงลดน้อยลงเหลือ 12,000 กว่ารายการ แต่ก็ถือว่ามากอยู่ดี แต่กลับคัดค้านและไม่พอใจกับการบังคับใช้สิทธิของประเทศไทย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาโครงการช่วยเหลือฉุกเฉินของประธานาธิบดีด้านเอดส์ หรือ Presidents Emergency Plan for AIDS Relief (PEPFAR) ของสหรัฐฯ มีการจัดซื้อยาสามัญ เอฟฟาไวเรนท์ ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ประเทศไทยมีการใช้สิทธิ ในการส่งไปช่วยเหลือประเทศยากจน แม้ว่าจะไม่มีการทำซีแอล เนื่องจากไม่มีการซื้อและนำหน่ายยาเอฟฟาไวเรนท์ ในสหรัฐฯ แต่พฤติกรรมก็เข้าข่าย ปากว่าตาขยิบ และมีการปฏิบัติที่มี 2 มาตรฐาน คือ สหรัฐทำได้แต่ประเทศไทยทำไม่ได้ ทั้งนี้หากสหรัฐฯ เป็นห่วงบริษัทเอ็มเอสดี ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธฺบัตรจะสูญเสียรายได้ ทำไมไม่จัดซื้อยาจากบริษัทเอ็มเอสดี
นายเบนจามินกล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในปี 2549 ยาชื่อสามัญ โคลพิโดเกรล หรือในชื่อการค้า ยาพลาวิกซ์ มียอดขายสูงเป็นอันดับ 2 ของบรรดายาชื่อสามัญในสหรัฐฯ โดยมียอดขายมากกว่า 36,000 ล้านบาท เป็นผลให้เกิดคดีความกันระหว่างบริษัทซาโนฟี่ อเวนตีส และบริษัท อโปเท็กซ์ (Apotex) ของแคนนาดา ซึ่งซาโนฟี่ครอบครองสิทธิบัตรยานี้ในสหรัฐและไม่ยอมให้มีการจำหน่ายยาชื่อสามัญ เนื่องจากทำให้สูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก โดยที่ผลการตัดสินของศาลในสหรัฐฯ อนุญาตให้บริษัทอโปเท็กซ์ ขายยาชื่อสามัญที่มีการผลิตก่อนที่จะมีคำสั่งศาลสามารถที่จำหน่ายต่อได้ ขณะที่ประเทศไทยซาโนฟี่มียอดขายเพียง 700 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับบริษัทซาโนฟี่สูญเสียรายได้ในสหรัฐเองมากกว่าในประเทศไทย อย่างน้อย 50 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เทียบกันไม่ได้เลย
ส่วนกรณีของบริษัทแอ็บบอต ลาบอราตอรีส ก็มีการร้องขอให้ศาลสหรัฐฯ สั่งอนุญาตให้สามารถใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของบริษัทอื่น เนื่องจากบริษัทนั้นไม่ยินยอมด้วย ดังนั้น เท่ากับว่าแอ๊บบอตได้ใช้ประโยชน์จากการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรมากแล้ว
ขณะนี้ยอดการจำหน่ายยาในยุโรป สหรัฐฯ กำลังลดลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็กลัวจะเสียตลาดในเอเชียด้วย ซึ่งการทำซีแอลของไทยทำให้ผลกระทบเป็นลูกโซ่ เนื่องจากเกิดการตื่นตัวของประเทศที่เสียเปรียบ ซึ่งบริษัทกลัวมากว่าประเทศไทยจะเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นทำตามและลุกลามไปถึงยาอื่นๆ เพราะเมื่อมีการผลิตเยอะเยอะมีการแข่งขันมากราคายาก็จะลดลง รวมถึงกลัวว่า ประเทศไทยจะไม่ได้เป็นผู้นำเข้ายาจากประเทศอินเดียเพียงอย่างเดียวแต่กลัวว่าองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะมีศักยภาพในการผลิตยาได้เอง เป็นตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคแทบนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทยาสูญเสียมูลค่าทางการตลาดอีกมหาศาลนายเบนจามินกล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 431
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 117
สธ.รอลุย CL หลัง 1 ก.ค.ลุ้นสหรัฐฯ พิพากษา GSP
ผู้จัดการรายวัน:ในประเทศ-การเมือง 14/06/2007 23:40:08
ประธานต่อรองซีแอลเผยส่งข้อสรุปยา 3 รายการที่บังคับใช้สิทธิให้ หมอมงคล แล้ว ระบุหากยังไม่พอใจ อาจเจรจาต่อรองใหม่อีกรอบ คาดรอจังหวะท่าทีเส้นตายสหรัฐฯ ประกาศตัดจีเอสพีไทย 1 ก.ค.นี้ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อยาต่อไป ด้าน หมอวิชัย ระบุข้อเสนอบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจของสมาคมบริษัทยายังไม่ความคืบหน้า
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า ได้ส่งรายงานข้อเสนอต่างๆ ให้กับนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.วิชัย โชควิวัฒน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจในระดับนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร ระหว่างการซื้อยาจากบริษัทเอ็มเอสดี หรือซื้อยาจากประเทศอินเดียต่อไป
ส่วนจะมีการเสนอในรอบใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีเช่นกัน เพราะหากยังไม่พอใจผลการเจรจาก็อาจสั่งให้มีการเจรจาต่อรองเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการฯ จะเชิญบริษัทยาเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนคาดว่า หลายฝ่ายอาจจะรอจังหวะให้ผ่านวันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อรอดูท่าทีสหรัฐฯ จะมีการตอบโต้ทางการค้าอย่างไรหรือไม่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่จะประกาศตัดลดจีเอสพีของไทย
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ความคืบหน้าการบังคับใช้สิทธิยาที่มีสิทธิบัตรขณะนี้ ยาพลาวิกซ์ ซึ่งพบว่ามี 2 ฟอร์ม คือ ที่ติดสิทธิบัตรและไม่ติดสิทธิบัตร ซึ่งยาพลาวิกซ์ที่ไม่ติดสิทธิบัตร อุตสาหกรรมยาภายในประเทศสามารถที่จะผลิตเองได้ แต่อาจมีราคาสูง กว่ายาที่ สธ.จะนำเข้ายาจากอินเดีย ซึ่งหากยาทั้ง 2 ตัวมีการขึ้นทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)แล้วอาจจะต้องมีการพิจารณา ทั้งเรื่องคุณภาพยา ราคา ความคุ้มค่าว่าจะซื้อยาจากอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ผลิตได้ หรือยาจากอินเดียที่ราคาเม็ดละ 5 บาท ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นบริษัทยาในประเทศอาจจะลดราคายาลงเพื่อแข่งขันกับยาสามัญจากอินเดียก็เป็นได้
ส่วนการบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจ (Voluntary Licensing : VL) ที่สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เสนอมานั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากทางพรีมาส่งหนังสือเพื่อขอเลื่อนการประชุมออกไป ซึ่งความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่าการทำวีแอลไม่ได้ผลนักกับประเทศไทย แต่ทางพรีมายืนยันว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีมีประโยชน์ อย่างไรก็ตามสธ.ยืนยันที่จะไม่ยกเลิกการทำซีแอลแลกกับการทำวีแอลอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการที่จะทำวีแอลหรือไม่ นพ.วิชัยกล่าวว่า หากเขายินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่มีข้อแม้ ก็มีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยาภายในประเทศหลายรายซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยาขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการขายยาทั้งในประเทศและต่างประเทศใกล้เคียงกับอภ.ที่พร้อมและสามารถจะลงทุน พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตยาได้
ประธานต่อรองซีแอลเผยส่งข้อสรุปยา 3 รายการที่บังคับใช้สิทธิให้ หมอมงคล แล้ว ระบุหากยังไม่พอใจ อาจเจรจาต่อรองใหม่อีกรอบ คาดรอจังหวะท่าทีเส้นตายสหรัฐฯ ประกาศตัดจีเอสพีไทย 1 ก.ค.นี้ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อยาต่อไป ด้าน หมอวิชัย ระบุข้อเสนอบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจของสมาคมบริษัทยายังไม่ความคืบหน้า
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า ได้ส่งรายงานข้อเสนอต่างๆ ให้กับนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.วิชัย โชควิวัฒน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจในระดับนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร ระหว่างการซื้อยาจากบริษัทเอ็มเอสดี หรือซื้อยาจากประเทศอินเดียต่อไป
ส่วนจะมีการเสนอในรอบใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีเช่นกัน เพราะหากยังไม่พอใจผลการเจรจาก็อาจสั่งให้มีการเจรจาต่อรองเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการฯ จะเชิญบริษัทยาเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนคาดว่า หลายฝ่ายอาจจะรอจังหวะให้ผ่านวันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อรอดูท่าทีสหรัฐฯ จะมีการตอบโต้ทางการค้าอย่างไรหรือไม่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่จะประกาศตัดลดจีเอสพีของไทย
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ความคืบหน้าการบังคับใช้สิทธิยาที่มีสิทธิบัตรขณะนี้ ยาพลาวิกซ์ ซึ่งพบว่ามี 2 ฟอร์ม คือ ที่ติดสิทธิบัตรและไม่ติดสิทธิบัตร ซึ่งยาพลาวิกซ์ที่ไม่ติดสิทธิบัตร อุตสาหกรรมยาภายในประเทศสามารถที่จะผลิตเองได้ แต่อาจมีราคาสูง กว่ายาที่ สธ.จะนำเข้ายาจากอินเดีย ซึ่งหากยาทั้ง 2 ตัวมีการขึ้นทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)แล้วอาจจะต้องมีการพิจารณา ทั้งเรื่องคุณภาพยา ราคา ความคุ้มค่าว่าจะซื้อยาจากอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ผลิตได้ หรือยาจากอินเดียที่ราคาเม็ดละ 5 บาท ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นบริษัทยาในประเทศอาจจะลดราคายาลงเพื่อแข่งขันกับยาสามัญจากอินเดียก็เป็นได้
ส่วนการบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจ (Voluntary Licensing : VL) ที่สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เสนอมานั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากทางพรีมาส่งหนังสือเพื่อขอเลื่อนการประชุมออกไป ซึ่งความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่าการทำวีแอลไม่ได้ผลนักกับประเทศไทย แต่ทางพรีมายืนยันว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีมีประโยชน์ อย่างไรก็ตามสธ.ยืนยันที่จะไม่ยกเลิกการทำซีแอลแลกกับการทำวีแอลอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการที่จะทำวีแอลหรือไม่ นพ.วิชัยกล่าวว่า หากเขายินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่มีข้อแม้ ก็มีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยาภายในประเทศหลายรายซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยาขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการขายยาทั้งในประเทศและต่างประเทศใกล้เคียงกับอภ.ที่พร้อมและสามารถจะลงทุน พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตยาได้
ผู้จัดการรายวัน:ในประเทศ-การเมือง 14/06/2007 23:40:08
ประธานต่อรองซีแอลเผยส่งข้อสรุปยา 3 รายการที่บังคับใช้สิทธิให้ หมอมงคล แล้ว ระบุหากยังไม่พอใจ อาจเจรจาต่อรองใหม่อีกรอบ คาดรอจังหวะท่าทีเส้นตายสหรัฐฯ ประกาศตัดจีเอสพีไทย 1 ก.ค.นี้ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อยาต่อไป ด้าน หมอวิชัย ระบุข้อเสนอบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจของสมาคมบริษัทยายังไม่ความคืบหน้า
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า ได้ส่งรายงานข้อเสนอต่างๆ ให้กับนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.วิชัย โชควิวัฒน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจในระดับนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร ระหว่างการซื้อยาจากบริษัทเอ็มเอสดี หรือซื้อยาจากประเทศอินเดียต่อไป
ส่วนจะมีการเสนอในรอบใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีเช่นกัน เพราะหากยังไม่พอใจผลการเจรจาก็อาจสั่งให้มีการเจรจาต่อรองเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการฯ จะเชิญบริษัทยาเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนคาดว่า หลายฝ่ายอาจจะรอจังหวะให้ผ่านวันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อรอดูท่าทีสหรัฐฯ จะมีการตอบโต้ทางการค้าอย่างไรหรือไม่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่จะประกาศตัดลดจีเอสพีของไทย
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ความคืบหน้าการบังคับใช้สิทธิยาที่มีสิทธิบัตรขณะนี้ ยาพลาวิกซ์ ซึ่งพบว่ามี 2 ฟอร์ม คือ ที่ติดสิทธิบัตรและไม่ติดสิทธิบัตร ซึ่งยาพลาวิกซ์ที่ไม่ติดสิทธิบัตร อุตสาหกรรมยาภายในประเทศสามารถที่จะผลิตเองได้ แต่อาจมีราคาสูง กว่ายาที่ สธ.จะนำเข้ายาจากอินเดีย ซึ่งหากยาทั้ง 2 ตัวมีการขึ้นทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)แล้วอาจจะต้องมีการพิจารณา ทั้งเรื่องคุณภาพยา ราคา ความคุ้มค่าว่าจะซื้อยาจากอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ผลิตได้ หรือยาจากอินเดียที่ราคาเม็ดละ 5 บาท ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นบริษัทยาในประเทศอาจจะลดราคายาลงเพื่อแข่งขันกับยาสามัญจากอินเดียก็เป็นได้
ส่วนการบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจ (Voluntary Licensing : VL) ที่สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เสนอมานั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากทางพรีมาส่งหนังสือเพื่อขอเลื่อนการประชุมออกไป ซึ่งความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่าการทำวีแอลไม่ได้ผลนักกับประเทศไทย แต่ทางพรีมายืนยันว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีมีประโยชน์ อย่างไรก็ตามสธ.ยืนยันที่จะไม่ยกเลิกการทำซีแอลแลกกับการทำวีแอลอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการที่จะทำวีแอลหรือไม่ นพ.วิชัยกล่าวว่า หากเขายินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่มีข้อแม้ ก็มีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยาภายในประเทศหลายรายซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยาขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการขายยาทั้งในประเทศและต่างประเทศใกล้เคียงกับอภ.ที่พร้อมและสามารถจะลงทุน พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตยาได้
ประธานต่อรองซีแอลเผยส่งข้อสรุปยา 3 รายการที่บังคับใช้สิทธิให้ หมอมงคล แล้ว ระบุหากยังไม่พอใจ อาจเจรจาต่อรองใหม่อีกรอบ คาดรอจังหวะท่าทีเส้นตายสหรัฐฯ ประกาศตัดจีเอสพีไทย 1 ก.ค.นี้ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อยาต่อไป ด้าน หมอวิชัย ระบุข้อเสนอบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจของสมาคมบริษัทยายังไม่ความคืบหน้า
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร กล่าวว่า ได้ส่งรายงานข้อเสนอต่างๆ ให้กับนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.วิชัย โชควิวัฒน เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจในระดับนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร ระหว่างการซื้อยาจากบริษัทเอ็มเอสดี หรือซื้อยาจากประเทศอินเดียต่อไป
ส่วนจะมีการเสนอในรอบใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีเช่นกัน เพราะหากยังไม่พอใจผลการเจรจาก็อาจสั่งให้มีการเจรจาต่อรองเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการฯ จะเชิญบริษัทยาเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนคาดว่า หลายฝ่ายอาจจะรอจังหวะให้ผ่านวันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อรอดูท่าทีสหรัฐฯ จะมีการตอบโต้ทางการค้าอย่างไรหรือไม่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่จะประกาศตัดลดจีเอสพีของไทย
ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ความคืบหน้าการบังคับใช้สิทธิยาที่มีสิทธิบัตรขณะนี้ ยาพลาวิกซ์ ซึ่งพบว่ามี 2 ฟอร์ม คือ ที่ติดสิทธิบัตรและไม่ติดสิทธิบัตร ซึ่งยาพลาวิกซ์ที่ไม่ติดสิทธิบัตร อุตสาหกรรมยาภายในประเทศสามารถที่จะผลิตเองได้ แต่อาจมีราคาสูง กว่ายาที่ สธ.จะนำเข้ายาจากอินเดีย ซึ่งหากยาทั้ง 2 ตัวมีการขึ้นทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)แล้วอาจจะต้องมีการพิจารณา ทั้งเรื่องคุณภาพยา ราคา ความคุ้มค่าว่าจะซื้อยาจากอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ผลิตได้ หรือยาจากอินเดียที่ราคาเม็ดละ 5 บาท ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นบริษัทยาในประเทศอาจจะลดราคายาลงเพื่อแข่งขันกับยาสามัญจากอินเดียก็เป็นได้
ส่วนการบังคับใช้สิทธิโดยสมัครใจ (Voluntary Licensing : VL) ที่สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เสนอมานั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากทางพรีมาส่งหนังสือเพื่อขอเลื่อนการประชุมออกไป ซึ่งความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่าการทำวีแอลไม่ได้ผลนักกับประเทศไทย แต่ทางพรีมายืนยันว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีมีประโยชน์ อย่างไรก็ตามสธ.ยืนยันที่จะไม่ยกเลิกการทำซีแอลแลกกับการทำวีแอลอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการที่จะทำวีแอลหรือไม่ นพ.วิชัยกล่าวว่า หากเขายินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่มีข้อแม้ ก็มีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) หรือแม้แต่อุตสาหกรรมยาภายในประเทศหลายรายซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยาขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการขายยาทั้งในประเทศและต่างประเทศใกล้เคียงกับอภ.ที่พร้อมและสามารถจะลงทุน พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตยาได้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 118
บทสัมภาษณ์ต่อจากข้างบนคับ...
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 120
ขอบคุณบทสัมภาษณ์จากเนชั่นสุดสัปดาห์คับ..
กำหนดการ สัมมนาทางวิชาการ ของคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ประจำปี 2550
จ. 18 มิ.ย. อภิปราย
"การบังคับสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (CL): สังคมเศรษฐกิจไทยได้อะไร?"
ห้อง ศ.101 (จัดร่วมกับโครงการ WTO Watch)
วิทยากร : อ.จอน อึ๊งภากรณ์
นพ.วินัย สวัสดิวร
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์
คุณสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง
เวลา 13.30 น.
ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าสัมมนาแต่อย่างใด รายละเอียดเพิ่มเติมของงานสัมมนา ติดต่อได้ที่คุณดาราวรรณ โทร. 02-613-2404