ขอปรึกษานักกฎหมาย
- Yaileela
- Verified User
- โพสต์: 373
- ผู้ติดตาม: 0
ขอปรึกษานักกฎหมาย
โพสต์ที่ 1
ลูกชายผมอายุ 17 ปี ได้รับการชักชวนจากพนักงานบริษัทดีแทคให้เปิดหมายเลขโทรศัพท์มือถือแบบเหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยใช้สำเนาบัตรประชาชนเพียงใบเดียว โดยที่ผมไม่รู้ ต่อมามีใบแจ้งหนี้ถึงลูกชายจากดีแทค เป็นจำนวนเงิน 800 กว่าบาท สำหรับค่าบริการในเดือนแรก จึงทำให้ผมทราบรายละเอียดทั้งหมด
ผมได้โทรไปถามรายละเอียดที่ call center ของบริษัทดังกล่าวเพื่อขอปิดเบอร์โทรแต่ทางบริษัทได้แจ้งว่าจะยกเลิกโปรโมชั่นได้เมื่อครบกำหนด 6 เดือนเท่านั้น ผมจึงขอรายละเอียดจากบริษัท ทำให้ทราบว่าผู้ที่จะทำสัญญาเปิดเบอร์โทรต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อยากทราบว่าสัญญาที่ลูกชายผมไปทำไว้เป็นโมฆะหรือไม่ และถ้าลูกชายผมจะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายจะได้หรือไม่
สาเหตที่อยากจะปฏิเสธความรับผิดชอบเพราะว่า
1.ทางบริษัทเห็นประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป
2.เมื่อผมโทรไปถามเรื่องปิดเบอร์ กลับปฏิเสธคำขอร้อง(เป็นกรณีพิเศษ) และยังโทรกลับมาถามลูกชายผมเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งลูกชายผมตอบกลับไปว่าจะหาเงินไปชำระในเวลากำหนดหลังจากนั้นทางบริษัทโทรกลับมาแจ้งกับผมว่าไม่สามารถยกเลิกได้เนื่องจากผู้ทำสัญญาต้องการใช้ต่อและจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทำให้ผมรู้สึกว่าผมถูกตบหน้าจากเจ้าหน้าที่บริษัทอย่างแรง
ในกรณีเช่นนี้ผมควรทำอย่างไร ขอความกรุณาจากผู้รู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
ผมได้โทรไปถามรายละเอียดที่ call center ของบริษัทดังกล่าวเพื่อขอปิดเบอร์โทรแต่ทางบริษัทได้แจ้งว่าจะยกเลิกโปรโมชั่นได้เมื่อครบกำหนด 6 เดือนเท่านั้น ผมจึงขอรายละเอียดจากบริษัท ทำให้ทราบว่าผู้ที่จะทำสัญญาเปิดเบอร์โทรต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อยากทราบว่าสัญญาที่ลูกชายผมไปทำไว้เป็นโมฆะหรือไม่ และถ้าลูกชายผมจะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายจะได้หรือไม่
สาเหตที่อยากจะปฏิเสธความรับผิดชอบเพราะว่า
1.ทางบริษัทเห็นประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป
2.เมื่อผมโทรไปถามเรื่องปิดเบอร์ กลับปฏิเสธคำขอร้อง(เป็นกรณีพิเศษ) และยังโทรกลับมาถามลูกชายผมเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งลูกชายผมตอบกลับไปว่าจะหาเงินไปชำระในเวลากำหนดหลังจากนั้นทางบริษัทโทรกลับมาแจ้งกับผมว่าไม่สามารถยกเลิกได้เนื่องจากผู้ทำสัญญาต้องการใช้ต่อและจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทำให้ผมรู้สึกว่าผมถูกตบหน้าจากเจ้าหน้าที่บริษัทอย่างแรง
ในกรณีเช่นนี้ผมควรทำอย่างไร ขอความกรุณาจากผู้รู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
ขอปรึกษานักกฎหมาย
โพสต์ที่ 2
ลองคุยกันอีกทีดีกว่านะดรับ ถ้าน้อง call center เขาไม่เข้าใจก็ขอคุยกับหัวหน้าเขาดู น่าจะจบได้ง่ายๆ ดีกว่าเสียประวัติ
ถึงในทางกฏหมายเราอาจจะไม่ต้องรับผิดชอบแต่พี่ก็น่าจะทำอะไรให้เป็นบทเรียนกับลุกพี่บ้าง ลองให้เขาแก้ปัญหานี้ดู ใช้สติ
ถึงในทางกฏหมายเราอาจจะไม่ต้องรับผิดชอบแต่พี่ก็น่าจะทำอะไรให้เป็นบทเรียนกับลุกพี่บ้าง ลองให้เขาแก้ปัญหานี้ดู ใช้สติ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
ขอปรึกษานักกฎหมาย
โพสต์ที่ 4
มาตอบช้าหน่อยคะ
เรื่องการทำนิติกรรมหรือสัญญาของผู้เยาว์ กฏหมายบอกว่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม(ซึงกรณีนี้ก็คือ คุณพ่อ หรือคุณแม่นะแหละคะ)ก่อน มิฉนั้น สัญญานั้นจะเป็นโมฆียะ แปลว่าสัญญานั้นๆสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยผู้แทนโดยชอบธรรม
แต่ว่า กฏหมายก็อนุญาตให้ผู้เยาว์สามารถเข้ทำการใดๆก็ได้ ถ้าเป็นเรื่องที่สมควรแก่ฐานานุรูป และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร มิฉนั้น จะกลายเป็นว่าผู้เยาว์จะซื้อของจากร้านเซเว่นยังไม่ได้เลย
ก่อนอื่นต้องดูว่าทำไมกฏหมายถึงกำหนดจำกัดสิทธิผู้เยาว์ เพราะกฏหมายมองว่าถ้าอยุไม่ถึงเกณฑ์ อาจไม่สามารถใช้ดุลยพินิจได้อย่างเต็มที่ เช่นเด็กอายุน้อยๆ ไม่รู้มูลค่าของทรัพย์สิน หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ขณะเดียวกัน เด้กอายุสิบเจ็ดสิบแปด ก็อาจต้องไปเรียนหนังสือ ไปทำงาน ต้องจับจ่ายใช้สอยในการดำรงชีวิต จะให้เด้กมาขออนุญาติพ่อแม่ทุกครั้งก็เป็นไปไม่ได้ เลยเปิดช่องทางไว้ว่าถ้าเหมาะสมแก่ฐานะ และจำเป็นเด็กทำนิติกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ในข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ จะอ้างเหตุโมฆียะเพราะเด็กไปทำสัญญา น่าจะลำบากเพราะบริษัทคงอ้างได้ว่าการใช้โทรศัพท์เป็นเรื่องจำเป็นและมูลค่าก็ไม่ได้เกินเลย
แต่ถ้าบริษัทเองมีกฏว่าผู้ใช้บริการต้องอายุไม่น้อยกว่าสิบแปด (ซึ่งเข้าใจว่าฝ่ายกฏหมายบริษัทคงคิดถึงประเด็นทางกฏหมายไว้แล้วว่าถ้าเด็กอายุเกินสิบแปด น่าจะทำสัญญาได้โดยเข้าข้อยกเว้นทางกฏหมายที่ไม่ต้องขออนุญาตผู้แทนโดยชอบธรรม) ก็น่าจะแจ้งทางบริษัทได้ว่าเป็นความบกพร่องที่บริษัทเข้าทำสัญญากับเด้กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของบริษัทเอง น่าอาจจะอ้างบอกเลิกสัญญาได้คะ
เรื่องการทำนิติกรรมหรือสัญญาของผู้เยาว์ กฏหมายบอกว่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม(ซึงกรณีนี้ก็คือ คุณพ่อ หรือคุณแม่นะแหละคะ)ก่อน มิฉนั้น สัญญานั้นจะเป็นโมฆียะ แปลว่าสัญญานั้นๆสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยผู้แทนโดยชอบธรรม
แต่ว่า กฏหมายก็อนุญาตให้ผู้เยาว์สามารถเข้ทำการใดๆก็ได้ ถ้าเป็นเรื่องที่สมควรแก่ฐานานุรูป และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร มิฉนั้น จะกลายเป็นว่าผู้เยาว์จะซื้อของจากร้านเซเว่นยังไม่ได้เลย
ก่อนอื่นต้องดูว่าทำไมกฏหมายถึงกำหนดจำกัดสิทธิผู้เยาว์ เพราะกฏหมายมองว่าถ้าอยุไม่ถึงเกณฑ์ อาจไม่สามารถใช้ดุลยพินิจได้อย่างเต็มที่ เช่นเด็กอายุน้อยๆ ไม่รู้มูลค่าของทรัพย์สิน หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ขณะเดียวกัน เด้กอายุสิบเจ็ดสิบแปด ก็อาจต้องไปเรียนหนังสือ ไปทำงาน ต้องจับจ่ายใช้สอยในการดำรงชีวิต จะให้เด้กมาขออนุญาติพ่อแม่ทุกครั้งก็เป็นไปไม่ได้ เลยเปิดช่องทางไว้ว่าถ้าเหมาะสมแก่ฐานะ และจำเป็นเด็กทำนิติกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ในข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ จะอ้างเหตุโมฆียะเพราะเด็กไปทำสัญญา น่าจะลำบากเพราะบริษัทคงอ้างได้ว่าการใช้โทรศัพท์เป็นเรื่องจำเป็นและมูลค่าก็ไม่ได้เกินเลย
แต่ถ้าบริษัทเองมีกฏว่าผู้ใช้บริการต้องอายุไม่น้อยกว่าสิบแปด (ซึ่งเข้าใจว่าฝ่ายกฏหมายบริษัทคงคิดถึงประเด็นทางกฏหมายไว้แล้วว่าถ้าเด็กอายุเกินสิบแปด น่าจะทำสัญญาได้โดยเข้าข้อยกเว้นทางกฏหมายที่ไม่ต้องขออนุญาตผู้แทนโดยชอบธรรม) ก็น่าจะแจ้งทางบริษัทได้ว่าเป็นความบกพร่องที่บริษัทเข้าทำสัญญากับเด้กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของบริษัทเอง น่าอาจจะอ้างบอกเลิกสัญญาได้คะ
just one life, use it!