อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 61

โพสต์

มาตรา 301 แห่งสหรัฐอเมริกา อาวุธถนัดที่ใช้คร่าชีวิตผู้ป่วยในเมืองไทย

มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ



ปี พ.ศ 2544 ข่าวแอนแทรกซ์ระบาด ทำให้รัฐสภาสหรัฐประกาศว่าอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory licensing) อนุญาตให้ผู้ผลิตยาในสหรัฐสามารถผลิตยาสามัญรักษาโรคนี้ได้ เพื่อให้ยามีราคาถูกและมีจำนวนเพียงพอกับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ คำประกาศได้ผลทันที บริษัท Bayer สัญชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรยาปฎิชีวนะ Cipro ซึ่งเป็นยาเพียงตัวเดียวที่ใช้รักษาแอนแทรกซ์ ต้องรีบลดราคายาและเพิ่มจำนวนการผลิตมากขึ้น



ลุ พ.ศ 2550 ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิยารักษาโรคเอดส์ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสได้ใช้ยาที่ราคาไม่แพงในการรักษาอาการต่างๆที่เกิดจากโรคเอดส์ รัฐบาลสหรัฐภายใต้การชักใยของบรรษัทยาระดับโลกประท้วงว่าไทยละเมิดข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวหาว่าประเทศไทยไม่มีปัญหาการเข้าถึงยาจริง และตอบโต้ด้วยวิธีการถนัด นั่นคือ มาตรการทางการค้า มาตรา 301 ประกาศให้ไทยเป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (เพื่อที่ว่าขั้นต่อไปจะยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษี หรือ จีเอสพี)



หรือเรากำลังจะเห็นเหตุการณ์เดิมๆฉายซ้ำอีกครั้ง เมื่อในที่สุดกระทรวงพาณิชย์จะบอกว่า เอาเถอะผู้ป่วยโรคราคาแพงทั้งหลาย จงทนซื้อยาแพงต่อไป หรือ ถ้าไม่มีปัญญาซื้อยา ก็ตายไปเสียเถิด เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไว้ ไม่ให้ผู้ส่งออกสินค้าสำคัญของเราต้องได้รับผลกระทบจากการถูกตัดจีเอสพี อย่างนั้นหรือ


กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมเรื่อง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายทางการค้า กำเนิดขึ้นเพื่อปกป้องผู้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เป็นการตอบแทนความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อกระตุ้นให้มีการประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาอีก แนวคิดเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นในประเทศที่มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมในระดับสูง หากแต่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อประเทศเหล่านี้ได้มีการพัฒนาด้านต่างๆเหล่านี้ไปในระดับหนึ่งแล้วเท่านั้น ส่วนในระยะแรกๆนั้น การประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ ไม่ว่าอังกฤษหรืออเมริกา หรือ ประเทศทางยุโรป ก็ล้วนแล้วแต่เริ่มต้นด้วยการลอกเลียนแบบประเทศที่พัฒนาไปก่อนตนทั้งสิ้น



หลักการของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเช่นในกรณีของสิทธิบัตร พูดง่ายๆ ก็คือให้สิทธิผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรต่างๆนั้น ในการผูกขาดการผลิต การจำหน่าย และแพร่หลาย ของสิ่งที่ตนประดิษฐ์แต่เพียงผู้เดียว ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดูเผินๆเหมือนจะเป็นหลักการที่เข้าทีและมีเหตุผล ยุติธรรมกับผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร



หากแต่ใช่ว่า สิ่งของที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้ทุกอย่าง ควรจะได้รับสิทธิผูกขาดเหมือนกันหมด โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา กรณีของยา เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด หลายประเทศทั่วโลกไม่ต้องการให้ยากลายเป็นสินค้าตัวหนึ่งเหมือนกับสินค้าอื่นๆ และไม่ต้องการให้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรเพื่อผูกขาดการผลิต จำหน่าย และเผยแพร่ยา เนื่องจากรู้ดีว่า การทำเช่นนั้น จะทำให้เจ้าของสิทธิบัตรสามารถกำหนดราคายาได้ตามใจชอบ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยจะสามารถซื้อยา หรือได้ยามาใช้หรือไม่



หลายสิบปีก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มผู้บริโภค เคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนัก ต่อการที่สหรัฐพยายามบีบบังคับให้ไทยแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร ให้คุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา ด้วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้สหรัฐดำเนินการกดดันจนไทยต้องคุ้มครอง กระบวนการ ในการผลิตยามาแล้ว ข้อแตกต่างก็คือ การคุ้มครองเฉพาะกระบวนการผลิตยา ผู้ผลิตรายอื่นยังคงสามารถผลิตยาตัวเดียวกัน โดยใช้กระบวนการผลิตแบบอื่นได้ ทำให้มีสินค้าในตลาดมากกว่า 1 ยี่ห้อ ผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบ ส่วนผู้บริโภคก็มีสินค้าให้ตัดสินใจเลือกมากกว่าหนึ่งอย่าง (หากเชื่อในเรื่องการแข่งขันในระบบตลาดเสรี) แต่เมื่อการคุ้มครองสิทธิบัตรนี้ครอบคลุมไปถึงตัวผลิตภัณฑ์ยา เท่ากับเป็นการตัดโอกาสมิให้มีใครผลิตมาแข่งขันกับเจ้าของสิทธิบัตรได้



ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนา (ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม)อื่นๆทั่วโลกก็คือ การถูกกดดันโดยบรรษัทอุตสาหกรรมยาซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศอย่าง อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ ให้แก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรในประเทศ ให้คุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 20 ปี หรือมากกว่านั้น



อาวุธอันทรงอานุภาพที่สหรัฐใช้มาโดยตลอด เพื่อบังคับให้ประเทศต่างๆต้องยอมตาม ก็คือมาตรการทางการค้า โดยเฉพาะที่เรียกว่า มาตรา 301 ซึ่งมีระดับความรุนแรงของการตอบโต้ตั้งแต่ การขึ้นทะเบียนเป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ไปจนถึงกระทั่งขึ้นบัญชีไว้ว่าต้องมีการตอบโต้ทางการค้า เช่น การยกเลิกอัตราภาษีศุลกากรใพิเศษ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จีเอสพี เป็นต้น



สหรัฐรู้ดีว่า จุดอ่อนของประเทศไทยอยู่ที่เรื่องจีเอสพีนี้เอง ที่ผ่านมาไทยยอมทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐตลอด เพราะกลัวจะโดนตัดสิทธิพิเศษทางภาษีจีเอสพี แล้วจะทำให้อุตสาหกรรมส่งออกบางประเภทที่ได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษตัวนี้ต้องกระทบกระเทือน อาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านมาในเรื่องสิทธิบัตรยานั้น ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาราคาแพงต่างๆ ต้องยอมเสียสละให้กับผู้ประกอบการธุรกิจมาโดยตลอด สหรัฐฉลาดที่ใช้คนในประเทศไทยกดดันกันเอง เจ้าหน้าที่เจรจาของฝ่ายสหรัฐคุยกันได้ง่ายกว่ากับเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ไทย ซึ่งมีอำนาจในการโน้มน้าวกับคณะรัฐมนตรีมากกว่า ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งในสายตาของผู้มีอำนาจ เป็นกระทรวงเกรดบีต้องต่อสู้อยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยมีพันธมิตรเป็นภาคประชาชนและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งอาจจะรณรงค์ผลักดันในระดับโลกได้ แต่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในระดับนโยบายที่ทำเนียบรัฐบาล



เรามีหมอที่ก้าวหน้าและคิดถึงผู้ป่วย (ทั้งมั่งมีและยากจน) อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ในขณะเดียวกัน เรามีข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ที่พยายามบอกว่าต้องการจะปกป้องผลประโยชน์(ทางด้านเศรษฐกิจ)ของประเทศชาติ ด้วยการจำเป็นต้องทำตามคำเรียกร้องของสมาคมผู้แทนทางการค้าสหรัฐ (ซึ่งทำทุกอย่างตามที่สมาคมผู้วิจัยและผู้ผลิตยาของสหรัฐเรียกร้อง) และดังนั้น ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาที่มีราคาแพง ก็จำเป็นต้องทนซื้อยาแพงต่อไป หรือผู้ที่ไม่มีเงินซื้อยา ก็เจ็บป่วยล้มตายไป เพื่อให้ประเทศชาติโดยส่วนรวม (หรือจริงๆแล้ว คือผู้ประกอบธุรกิจที่จะถูกมาตรการทางการค้าของสหรัฐเล่นงาน) ยังคงอยู่ได้ สถานการณ์ที่ผ่านมาหลายปีเป็นเช่นนั้น



ในระบอบการค้าเสรี แนวคิดเรื่องการผูกขาดไปด้วยกันไม่ได้อย่างยิ่ง หากแต่ผลประโยชน์มหาศาลที่ระบบผูกขาดอำนวย เป็นเหตุให้ประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย (ภายใต้การชักใยของบรรษัทอุตสาหกรรมยาระดับโลก) ต้องฟาดฟันต่อสู้กับประเทศกำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา (ภาษาขององค์การการค้าโลก) เพื่อคงแนวคิดเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเอาไว้ สิ่งที่ต่อรองกันไว้ในข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือ ที่รู้จักกันในนามข้อตกลงทริปส์นั้น คือการยอมให้มีการละเมิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ ในกรณีที่ประเทศชาติเห็นว่าเกิดความจำเป็นเร่งด่วนทางด้านสาธารณสุข ที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อคนในประเทศได้ ประเทศนั้นๆก็สามารถที่จะตัดสินใจใช้มาตรการที่เรียกว่าการบังคับใช้สิทธิ (เช่น ในกรณียา ก็อาจจะอนุญาตให้ผู้ผลิตรายอื่นผลิตได้ โดยมีการเจรจาตกลงเรื่องผลตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตร) โดยการบังคับใช้สิทธินี้ ตามกฎหมายสิทธิบัตรของไทย มี 2 แบบ คือ รัฐอนุญาตให้เอกชนใช้สิทธิ หรือ รัฐเป็นผู้บังคับใช้สิทธิเอง ในกรณีหลังนี้ ไม่จำเป็นต้องมีการเจรจา



เรื่องมาตรการบังคับใช้สิทธินี้ เมื่อครั้งหลังเหตุการณ์ถล่มอาคารเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ใหม่ๆ มีข่าวความวุ่นวายในสหรัฐและแคนาดา เกี่ยวกับข้ออ้างการก่อการร้ายโดยใช้สารแอ็นแทรกซ์ ทำให้แคนาดาประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ และสหรัฐประกาศว่าอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการเดียวกัน เพื่อให้ผู้ผลิตยาในสหรัฐสามารถผลิตยารักษาแอ็นแทรกซ์ได้ โดยไม่ต้องซื้อยาราคาแพงจาก Bayer ซึ่งเป็นเจ้าเดียวที่ผลิตอยู่ในขณะนั้น ผลก็คือบริษัทนี้ยอมลดราคายาลงมาและเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น องค์กรผู้บริโภคสหรัฐเองรายงานว่า สหรัฐใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิมาโดยตลอด (แล้วยังจะผูกขาดไม่ให้ประเทศอื่นได้ใช้บ้าง)



หากแต่เรื่องมาตรการบังคับใช้สิทธินี้ ใช่ว่าทุกประเทศที่กำลังพัฒนาจะสามารถทำได้ เพราะว่าต้องมีอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศในระดับที่เพียงพอจะดำเนินการได้ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ในข่ายนี้ก็คือ อินเดีย บราซิล และไทย โดยเฉพาะในอินเดีย อุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศสามารถผลิตวัตถุดิบเบื้องต้นได้ ในขณะที่ไทยและบราซิลยังอยู่ในระดับที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาผลิตเองเป็นบางอย่าง ทั้งอินเดีย บราซิล และไทยต่างก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหาการผูกขาดยา ยาราคาแพงในประเทศมาโดยตลอด ในกรณีของอินเดีย เป็นความพยายามพึ่งตนเอง โดยการผลิตยาภายในประเทศ ก่อนหน้านี้ อินเดียไม่ได้คุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา แต่ในปัจจุบันนี้ จำเป็นต้องคุ้มครองตามข้อตกลงทริปส์ (ส่วนไทยไม่ต้องพูดถึง ถูกสหรัฐบังคับให้คุ้มครองมาตั้งแต่ก่อนมีข้อตกลงทริปส์ 8 ปี ด้วยซ้ำ) ส่วนบราซิลซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีความเข้มแข็งในเรื่องนี้มาก ได้พยายามแสวงหาหนทางต่างๆ โดยอาศัยมาตรการบังคับใช้สิทธิ เพื่อผลิตยาเอง หรือเพื่อกดดันให้บริษัทยาต่างประเทศต้องลดราคายาลงมาเพื่อให้ผู้ป่วยในประเทศมีโอกาสได้รับยาที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง



บรรษัทอุตสาหกรรมยาระดับโลกมักอ้างเสมอว่า ประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธินั้น ไม่ได้มีปัญหาเรื่องสาธารณสุขในประเทศจริงหรอก แต่มีนิสัยชอบละเมิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาโดยไม่เคารพต่อผู้ที่อุตส่าห์ผลิตค้นคว้ายาใหม่ๆมาให้ได้ใช้กัน ต้องลงทุนลงแรงไปเท่าไหร่ เป็นเงินปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐ แถมขู่ว่า หากยังละเมิดกันอย่างนี้อยู่บ่อยๆ เดี๋ยวก็ไม่มีกำลังใจ ไม่ค้นคว้าวิจัยยาใหม่ๆให้นะ แล้วมีโรคใหม่ๆเกิดขึ้นไม่มียารักษาก็อย่ามาโทษกันก็แล้วกัน ซึ่งเป็นการพูดความจริงไม่หมด



ตรรกะง่ายๆทางเศรษฐศาตร์ที่บริษัทยาเองก็รู้ดีคือ จะลงทุนวิจัยไปทำไมในที่ที่มันไม่มีตลาด (คนที่มีกำลังซื้อสินค้าของเรา) จะเห็นได้ชัดเจนจากตัวยาใหม่ๆที่มีการคิดค้นวิจัยระหว่างปี 1975-1999 จำนวน 1393 ชนิดนั้น มีเพียง 13 ตัวที่เป็นยาสำหรับรักษาโรคในเขตร้อนในประเทศยากจนทั้งหลาย ซึ่งแสดงว่า โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายที่เกิดขึ้นอยู่ในละแวกบ้านเรานี้ กลายเป็นโรคที่ถูกละเลย ไม่มีบริษัทยาใดๆสนใจจะมาลงทุนค้นคว้าวิจัย (ซึ่งทำให้เห็นความสำคัญของการที่เราจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศขึ้นมาให้ได้ แทนที่จะพึ่งแต่การนำเข้ายาราคาแพงจากต่างประเทศไปตลอด)



นอกจากนี้ รายงานขององค์กรผู้บริโภคสหรัฐระบุว่า งบประมาณของบริษัทยายักษ์ใหญ่ที่ใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในแต่ละปีนั้นมากกว่างบวิจัยและพัฒนาด้วยซ้ำไป ซ้ำร้ายกว่านั้น ยาที่ว่าลงทุนวิจัยค้นคว้ากันมาเป็นประโยชน์กับประชาชนโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือ ยาลดความอ้วน ซึ่งคำนวณแล้วว่าจะสร้างกำไรมหาศาลให้ผู้ผลิตมากกว่ายาที่จะมารักษาโรคที่มักเกิดขึ้นและระบาดในประเทศโลกที่สาม



สิ่งที่ไทย อินเดีย และบราซิล ทำ เป็นความพยายามส่งเสริมการเข้าถึงยาของคนในประเทศ และก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับสิ่งที่อเมริกาหรืออังกฤษก็เคยทำมาก่อนที่จะพัฒนามาจนกระทั่งทุกวันนี้ หากแต่เหตุผลที่แท้จริงที่บรรษัทอุตสาหกรรมยาระดับโลก และประเทศที่บรรษัทเหล่านี้ไปตั้งอยู่ยอมไม่ได้กับมาตรการบังคับใช้สิทธิก็คือ ไทย อินเดีย และบราซิล จะเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆต่อไป ที่จะดำเนินมาตรการเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ความศักดิ์สิทธิของระบอบทรัพย์สินทางปัญญาเสื่อมลง คำนวณเป็นผลกำไรที่อาจจะลดลงจากการผูกขาดยาในระดับโลก



จึงไม่เพียงแต่เรามีสิทธิที่จะใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเท่านั้น หากแต่รัฐบาลยังมีหน้าที่ที่จะต้องแสวงหาและเรียกร้องการใช้ประโยชน์จากมาตรการอื่นๆที่กระทำได้ภายใต้ข้อตกลงทริปส์ อาทิ การนำเข้าซ้อน พูดง่ายๆก็คือ นำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรที่จำหน่ายในประเทศอื่นในราคาที่ถูกกว่า เรื่องนี้ พวกคนแก่อเมริกันรู้ดี เพราะมักจะข้ามไปซื้อยาฝั่งแคนาดาที่มีราคาถูกกว่าเสมอ



สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะมีความสำคัญ แต่ไม่ควรจะมีค่าสูงกว่าสิทธิในชีวิต สหรัฐรู้ดีเช่นที่กระทรวงสาธารณสุขรู้ว่า การใช้มาตรการบังคับใช้สิทธินั้น เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของประเทศ ที่จะคุ้มครองด้านสาธารณสุขและส่งเสริมการเข้าถึงยาของประชาชน



--------------------

ข้อมูลประกอบรายงาน



1.บทความเรื่อง Strict International Patent Laws Hurt Developing Countries, โดย Amy Kapczynski, ตีพิมพ์ใน YaleGlobal Online, 16 December 2002.

2.P. Trouiller et. al, "Drug Development for Neglected Diseases: a Deficient Market and a Public Health Policy Failure," The Lancet, vol. 359, pp. 2188-94.

http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... guage=Thai
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ท่านที่ยังพอไหว มีเรื่องอ่านประกอบอีกคับ เดี๋ยวทำลิงค์ให้คับ..

+++++++++++++++++++++++++++++++++++


TO CURE OR TO KILL - หวานเป็นลม (ยา)ขมเป็นลวง

2 กุมภาพันธ์ 2550
ตัดต่อและเรียบเรียงจาก To Cure or To Kill หวานเป็นลม ขมเป็นลวง ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสาร a day weekly ฉบับที่ 031 ประจำวันที่ เขียนโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
เรียบเรียงโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์

ความย่อ : ถ้าปัจจัย 4 หมายถึง สิ่งที่ชีวิตมนุษย์ขาดไม่ได้ และถ้าหากสังคมอเมริกันเป็นสังคมในฝันของคนเกินกว่าครึ่งโลก ยา-ภายใต้การคิดค้นวิจัยยาเพื่อมนุษยชาติที่ต้องลงทุนมหาศาล กับต้นทุนในการล็อบบี้เปลี่ยนแปลงหรือกำหนดนโยบายเกี่ยวกับยาที่มีรายจ่ายน้อยกว่า บริษัทยาเหล่านั้นจะเลือกอะไรและผลออกมาเป็นอย่างไร ในวันนี้เราจะปลอกเปลือกอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกาให้ดู เพื่อจะพบว่าบริษัทยาเหล่านี้กำลังควบคุมชีวิตของมนุษย์ในสังคมที่ยกย่องเชิดชูเสรีภาพของปัจเจกบุคคลได้อย่างไม่น่าเชื่อ

http://www.localtalk2004.com/V2005/deta ... 2022007_01


+++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทางแพร่งสิทธิบัตรยาไทย
2 กุมภาพันธ์ 2550
เขียนโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์
อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวูลองกอง ออสเตรเลีย, 26มกราคม2550

ความย่อ : ล่าสุดบรรษัทยาข้ามชาติขู่ถอนการลงทุนในไทย เพื่อประท้วงกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรกับยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก แต่มีราคาแพง เนื่องจากบรรษัทข้ามชาติมีสิทธิเป็นผู้จำหน่ายแบบผูกขาด ทั้งที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้มาตรการเดียวกันเพื่อปกป้องสาธารณสุขภายในประเทศ ดังเช่นการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกากับสิทธิบัตรยา "Cipro เพื่อป้องกันโรคแอนแทรกซ์ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544

http://www.localtalk2004.com/V2005/deta ... 2022007_03


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อย่ามาใช้ชีวิตคนเป็นตัวประกัน !
28 เมษายน 2550
สัมภาษณ์/เรียบเรียงโดย ช่อผกา จิตรกุล

ความย่อ : บทสัมภาษณ์ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล จากองค์การหมอไร้พรมแดน (Medecins Sans Frontieres-MSF/Doctors Without Borders) อธิบายถึงกระแสการคัดค้านบริษัทยาข้ามชาติ แอ๊บบอต ที่ถอดการขึ้นทะเบียนยา 7 รายการในประเทศไทย เพื่อตอบโต้การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรกับยาคาเลทราของบริษัทก่อนหน้านี้ ว่าไม่ใช่การเอาชีวิตคนมาเล่น เพียงเพื่อเพิ่มยอดขายยา

วันนี้กระแส แอ๊บบอต กำลังมาแรง ไม่ใช่สินค้า เครื่องดื่มชูกำลังแต่อย่างใด แต่นั่นคือชื่อเสียงเรียงนามของบริษัทยาข้ามชาติบริษัทหนึ่ง ที่เป็นเรื่องเป็นราวกับทั้งประเทศไทย และนานาชาติอยู่ในขณะนี้ เมื่อแอ๊บบอตตัดสินใจถอดการขึ้นทะเบียนยา 7 รายการในไทย เพื่อตอบโต้กลับที่ไทยประกาศใช้ มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory Licenses-CL) กับยาคาเลทราของบริษัท เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น

โลคัลทอล์ค สัมภาษณ์ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล จากองค์การหมอไร้พรมแดน (Medecins Sans Frontieres-MSF/Doctors Without Borders) ที่จะมาช่วยไขปัญหา และเติมเต็มข้อสงสัยเกี่ยวกับขบวนการไล่ล่าแอ๊บบอตทั่วโลกให้คุณ และเธอจะทำให้คุณรู้ว่า โลกาภิวัตน์ ที่เรามักพูดถึงกันบ่อย ๆ นั่นสามารถบันดาลให้เกิด ซาตาน และ นางฟ้า ได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย...

http://www.localtalk2004.com/V2005/deta ... 8042007_02

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รูปภาพ

บริษัทยาข้ามชาติ แอ็บบอต - ความดิ้นรนของความโลภ
28 เมษายน 2550
เขียนโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
ภาพจาก  www.abbottsgreed.com

ความย่อ : เมื่อบริษัทยาข้ามชาติแอ็บบอต สั่งถอนการขึ้นทะเบียนยา 7 รายการในประเทศไทย เพื่อเป็นการตอบโต้การประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร กระแสการต่อต้านจากทั่วโลกได้เกิดขึ้นตามมาอย่างต่อเนื่อง ประณามการกระทำที่มองเห็นชีวิตคนเป็นเครื่องต่อรองผลกำไรของบริษัท โดยผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพายาดังกล่าวต้องได้รับผลกระทบในฐานะตัวประกันของบริษัทยา ที่หมดโอกาสซื้อยารักษาตัวเอง

การประกาศใช้ มาตรการบังคับสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (Compulsory Licenses-CL) ของรัฐบาลไทยกับยาต้านไวรัสและยารักษาโรคหัวใจ 3 รายการ คือยาคาเลทรา เอฟฟาไวเรนซ์ และพลาวิกซ์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จนถึงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสะเทือนไปทั่วโลกแล้วในเวลานี้

เมื่อบริษัทยาข้ามชาติอย่าง บริษัท แอ็บบอต แลบอราทอรี่ส์ สั่งถอนการขึ้นทะเบียนยา 7 รายการในประเทศไทย เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำของรัฐไทยในครั้งนี้ ซึ่งตัวยา 1 ใน 7 เป็นยาอลูเวีย หรือยาคาเลทราชนิดเม็ดที่เหมาะสมกับภูมิอากาศในแถบประเทศเขตร้อนอย่างไทย มากกว่ายาแบบเก่าอีกด้วย และยังมียาสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจล้มเหลว และโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองฯลฯ จึงถือเป็นการปิดกั้นการเข้าถึงยาที่จะช่วยให้คนไข้ได้มีชีวิตยืนยาวต่อไปได้ อย่างเลือดเย็น

แต่พระเจ้าคงไม่อาจเข้าข้างฝ่ายที่เห็นค่าของชีวิตคนเป็นเพียงแค่สินค้า หรือมุ่งแสวงหาแต่เงินตราเท่านั้นได้ ทำให้ในวันนี้กระแสการต่อต้านแอ็บบอตแพร่ขยายออกไปในหลายประเทศ ชนิดที่เรียกว่า Worldwide Boycott Abbott และมีเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ให้ข้อมูลข่าวสารและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยใช้ชื่อว่า www.abbottsgreed.com (ความโลภของแอ็บบอต) กันเลยทีเดียว

http://www.localtalk2004.com/V2005/deta ... 8042007_01

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สิทธิบัตรยา มวยยกนี้ยังไม่เลิก
16 มีนาคม 2550
เขียนโดย กองบรรณาธิการ

ความย่อ : ล่าสุดบริษัทแอ๊บบอต แลบอราทอรี่ส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีหนังสือถึงกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอหยุดกระบวนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ 7 ตัว เพื่อตอบโต้กรณีที่ประเทศไทยประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ (Compulsory Licensing - CL) กับยาต้านไวรัสและยารักษาโรคหัวใจ 3 รายการ จนกว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนท่าทีในเรื่องดังกล่าว ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคและผู้ใช้ยาได้รณรงค์ตอบโตงดซื้องดใช้สินค้าในเครือบริษัทแอ๊บบอตเพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง

http://www.localtalk2004.com/V2005/deta ... 6032007_05

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มุสา7ประการ สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา
16 กุมภาพันธ์ 2550
แปลจาก PhRMA's Seven Deadly Lies about Thai Compulsory Licenses เขียนโดย Brook K. Baker, Health GAP, 1 กุมภาพันธ์ 2550
แปลโดย ผศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความย่อ : 7 ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา โดยเฉพาะกรณีบรรษัทยาข้ามชาติกล่าวโจมตีประเทศไทยที่ใช้สิทธิอย่างไม่ถูกต้อง ทั้งที่เกี่ยวพันกับการเข้าถึงยาของคนทั้งประเทศและผู้ป่วยที่รอการรักษา ขณะที่อุตสาหกรรมยาข้ามชาติร่ำรวยมหาศาลจากการครอบครองกว่าร้อยละ 90 ของตลาดยาในโลก และบรรษัทยาข้ามชาติกลับต่อว่ากับการกระทำของผู้ผลิตยาชื่อสามัญดังเช่นอินเดียซึ่งผลิตยาราคาถูก ที่ครอบครองตลาดยาในโลกเพียงร้อยละ 10

http://www.localtalk2004.com/V2005/deta ... 6022007_01

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กระชากหน้ากากธุรกิจ ยา ชี้มาเฟียข้ามชาติใหญ่คับโลก


รายงานพิเศษชุด บริษัทยา : มาเฟียข้ามชาติ โดยทีมข่าวคุณภาพชีวิต ความยาว 2 ตอนจบ

http://www.bangkokhealth.com/healthnews ... mber=15826


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

"นิมิตร์ เทียนอุดม" ไขข้อข้องใจ"CL" "ไทยไม่ละเมิดสิทธิบัตร"
แนวหน้า 14 พ.ค. 50
เฉลิมชัย ยอดมาลัย

กรณีการประกาศใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตร 3 รายการ คือ ยาเอฟริเรนซ์ ยาโลพินาเวียร์-ริโทนาเวียร์ และยาโคลพิโดเกรล ทำให้เกิดประเด็นคำถามต่างๆมากมาย ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ล่าสุดที่สหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้น "บัญชีดำ" จัดอันดับไทยให้เข้าไปอยู่ใน "กลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองพิเศษ" หรือ "PWL".....

คำถามส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจและไม่ทราบข้อเท็จจริง อีกส่วนหนึ่งเป็น "เจตนา" ในการที่จะสร้างความเข้าใจผิดต่อสังคมไทยและสังคมโลก เพื่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการที่จะมุ่งประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศ โดยมุ่งรักษาเพียงประโยชน์ "ธุรกิจยา" เท่านั้น หลากหลายคำถามที่เกิดขึ้น คงไม่มีใครให้คำตอบได้ดีกว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง ซึ่ง.....

"นิมิตร์ เทียนอุดม" ประธานมูลนิธิเข้าถึงเอดส์!!!


http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=11491


แค่นี้ก่อนนาคับ ป๋มง่วงและแสบตาแล้วคับ..
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 63

โพสต์

จริงๆเราละเมิดก็น่าจะเงียบๆน่ะครับ แอบๆผลิตไม่ต้องไปออกเป็นกฎหมาย
ขายหลังบ้านเอา

เหมือน ลิขสิทธ์ ซอฟแวร์ใช้กันตามบ้าน
triathlon
Verified User
โพสต์: 551
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 64

โพสต์

lekmak333 เขียน:จริงๆเราละเมิดก็น่าจะเงียบๆน่ะครับ แอบๆผลิตไม่ต้องไปออกเป็นกฎหมาย
ขายหลังบ้านเอา

เหมือน ลิขสิทธ์ ซอฟแวร์ใช้กันตามบ้าน
เราไม่ได้ทำอะไรผิดกฏหมายนะคะ พี่ว่าถ้าเราลักลอบ ยิ่งเท่ากับเรายอมรับว่าเราผิด
ถ้านาย ก ขโมยขนมปังจากร้านขายของ แล้วเขาสอยมะม่วงที่อยู่ในรั้วบ้านมากิน แล้วเราเอาตรรกะของอเมริกามาใช้
ผลที่ออกมาก็คือ นาย ก ซึงเคยขโมยของ เป็นคนเลว ไม่มีสิทธิที่จะสอบมะม่วงในรั้วบ้านตัวเองมากิน สำหรับพี่ พี่ไม่เห็นด้วย
ถ้าเราผิดเรื่องสิทธิบัตรจริง ทำไมสหรัฐ ไม่ฟ้องเรากับ WTO  :evil:
แต่เพราะรู้ว่าเราไม่ผิด เลยเอาเรื่องผลประโยชน์มาบีบให้คนไทยทะเลาะกันเอง เพราะอเมริการู้ว่าการบีบเรื่องส่งออก ทำให้เศรษฐีเดือดร้อน และเศรษฐีเสียงดังฟังชัดกว่าคนด้อยโอกาศในสังคมอยู่แล้ว
just one life, use it!
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 65

โพสต์

ที่เราผลิตยาเอง ผมก็เห็นด้วยน่ะ ผลประโยชน์ของประเทศชาติเรา
แต่เราไปละเมิดตัวยาเขาผมก็เห็นว่ามันเรื่องจริง

แบบคุณ chatchai บอกไงครับ ถ้ามองในแง่ ผู้ถือหุ้นบริษัทยา คนอเมริกา หรืออื่นๆ ก็มองไปอีกแบบหนึ่ง

หรือในอีกแง่ คดีภาษีชินคอร์ป เจตนาเลี่ยงภาษีกับปฎิบัติให้ถูกตามเงื่อนไข ยังขัดแย้งในสังคมเราเลยครับ
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 66

โพสต์

หลายคนอาจเคยอ่านแล้ว แต่หลายคนอาจจะยัง ลองดูชีวิตหญิงสาวปริญญาโทที่ติดเชื้อ HIV จากแฟน แก้วไดอารี่

http://www.kaewdiary.com/kaewdiary.php?month=200103
Onokung
Verified User
โพสต์: 1250
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 67

โพสต์

Boring Stock Lover เขียน:หลายคนอาจเคยอ่านแล้ว แต่หลายคนอาจจะยัง ลองดูชีวิตหญิงสาวปริญญาโทที่ติดเชื้อ HIV จากแฟน แก้วไดอารี่

http://www.kaewdiary.com/kaewdiary.php?month=200103
ผมชอบมาเธอเป็นคนดีจริง ๆ จิตใจดีมาก ๆ
จริงๆแล้วผมสงสารแฟนแก้ว พอๆกัน ครับเพราะเค้าจมอยู่กับความรู้สึกผิด ร่างกายท้อแท้ ... ไปเร็วกว่าแก้วจริงๆ อาจจะเป็นเพราะสภาพจิตใจด้วย
1.ถูกหรือแพง
2.มั่นคงหรือชั่วครู่
3.ขยายตัวหรือหดตัว
รูปภาพ
ShexShy
Verified User
โพสต์: 577
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 68

โพสต์

เห็นข่าวว่า บริษัทยาเริ่มมาเจรจาต่อรองแล้วนิครับ ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ช่วงนี้   ฟังจากผู้ติดเชื้อแล้ว
เห็นว่า  เชื้อมันดื้อยาง่ายเหมือนกัน  เมื่อทานต่อเนื่อง
จริงๆแล้วผมสงสัยว่า  แล้วถ้าครั้งนี้  เขายอมลดราคา  หรือว่าไม่ยอม  ยังไงก็ได้..........
แล้วถ้า......เขาผลิตยารุ่นใหม่ได้  แล้วไม่เอามาขายและจดทะเบียนยาในประเทศไทย
ถึงตอนนั้น  พวกที่ดื้อต่อยาที่มีในปัจจุบัน  จะทำไงดีคับ  งง
แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สุดท้ายคือเราไม่มี  เทคโนโลยี่  อะไรเลย

สงสารแต่คนติดเชื้อครับ  ไม่ว่ายังไงก็ผิดพลาดไปแล้ว

จะทำไงหว่า  หวังจะได้กลับตัว....เฮ้อ

เมื่อ  สิบสองปีที่แล้ว  ตอนผมกำลังจะจบ    มีอยู่วันนึง  น้องที่เรียน  วิดว่ะ  ที่ดังๆ  แถวๆสามย่านนั่นแหล่ะครับ
เดินมาหน้าเครียดเชียว  น้องเขา  ป ตรี  ปี  สี่  
มาขอปรึกษา  ว่าพี่  ทำไงดี  ไปเที่ยวมา  น้องเขากลัวติด HIV  นอนไม่หลับมาเป็นสัปดาห์แล้ว  ไม่กล้าไปตรวจ  กลัวเจอ  HIV
ก็ได้แต่บอกว่า   ใจเย็นๆ   ให้รอ สาม เดือน  แล้วค่อยไปตรวจ  จะได้ สบายใจ  
ตรวจเสร็จ  น้องเขามาบอกว่า เรียบร้อยแล้ว  ปลอดภัย  
ก็ได้แต่บอกว่า  วันหลังอย่าไปอีกหล่ะ   รับปากดิบดี  น้องเรา
ผ่านไปได้อีกไม่น่าเกิน ครึ่งปี  ทำหน้าเศร้ามาอีกแล้ว   บอกว่ากลัวติดเชื้อ  เอ๋.....ก็คุยกันแล้ว     ตรวจก็ตรวจไปแล้ว    เกิดกลัวอะไรอีกหว่า  
555555   ปรากฏว่า  น้องตัวดี  มันไปเที่ยวอีกรอบ  
ตอนเที่ยวดันไม่กลัว  เที่ยวเสร็จ  เรียบร้อยโรงเรียนชูวิทย์       สติ กลับมา   ก็เลยกลัว

ไม่รู้จะว่ายังไงดี

เล่าให้ฟังครับ   กลัวอดมากกว่ากลัว  HIV

ที่เล่ามาก็ขอให้เพื่อนๆ  พี่ๆ  น้องๆ   ทั้งหลาย  ที่ยังสนุกกับชีวิต  มากๆ  
ระวังตัวด้วยนะครับ  
รวมทั้งคนที่ทำตัวเรียบร้อย  กลับบ้านตอนเย็น  ตรงเวลา  วัน  ส. อ.  อยู่กับบ้าน  แต่ว่า  ช่วงบ่ายสอง  วันทำงาน  ดัน แว่บงานไป............  
ได้โปรดระมัดระวังตัวด้วยครับ   อิอิอิ

พอตอนออกมา     ก็ปิดแอร์รถยนต์ ปิดกระจก   ขับรถกลับบ้าน  ให้เหงื่อมันออกเยอะๆ      จะได้ไม่มีกลิ่นสบู่   อิอิอิ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
nearly_vi
Verified User
โพสต์: 743
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 70

โพสต์

[quote="san"]รวมทั้งคนที่ทำตัวเรียบร้อย
ShexShy
Verified User
โพสต์: 577
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 71

โพสต์

ทฤษฎีเกมนี้ สามารถใช้ได้กับ case นี้หรือเปล่าครับ :o
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 72

โพสต์

Merck กำไรไหลลงห้วยมาหลายปีแล้วครับ แต่ Pfizer เจ้าตำรับยา "หั้งTUM" กำไรมาแรง ปีที่แล้วกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 19.3 พันล้านเหรียญ ขี้เกียจดูรายละเอียดครับว่าสูบเลือดสูบเนื้อคนป่วยกันยังไงบ้าง  :la:  

จะโดนพี่พอใจ censor อ๊ะป่าวนี่  :oops:  :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 73

โพสต์

อา...เชื้อบรรษัทข้ามชาติดื้อยา

ได้เวลาให้ยาเพิ่มอีกแล้วคับ..

ผมใช้เวลา 2 วันหามาเพิ่มเติม ข้อมูลมีซ้ำกันบ้าง เพราะเป็นข้อเท็จจริง...

กำนัลแด่ทุกท่านและเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่เผชิญกับยาแพงโดยไม่มีทางเลือก ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส

เป็นกำลังใจให้คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายไทย

โดยเฉพาะความกล้าหาญของนพ.มงคล ณ สงขลา ที่กำลังต่อกรกับอภิมหายักษ์

ถ้าไม่มีก้าวแรก ก็ไม่มีก้าวต่อไป :arrow:



จะพิมพ์เอาก็เป็นคนพิมพ์ช้ามากๆ เลยสแกนมาให้อ่านซะ อาจจะไม่ชัดนัก

ขอขอบคุณนิตยสาร WAY สำหรับข้อมูลที่จะได้นำมาให้อ่านต่อไปนี้

ซึ่งจะทยอยนำมาลงวันละนิดละหน่อย วันไหนดื้อยาก็ลงเยอะคับ... :wink:

ถ้าไม่ทันใจ ไปซื้อได้ตามแผงหนังสือทั่วไปคับ...50 บาท

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 74

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 75

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 76

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 77

โพสต์

รูปภาพ

โปรดติดตามตอนต่อไป...

- สิทธิบัตรยา สิทธิผูกขาดเพื่อการทำกำไร 'เสรี'

- การตลาดแบบ 'อ้วกๆ'

- กองทัพผีดิบ ล็อบบี้ยิสต์ยา

ฯลฯ

การให้ยาของผมมีผลข้างเคียง แต่ก็ต้องให้กันต่อไป...
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 78

โพสต์

บทความ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : ใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยา เพื่อคนไข้ หรือเพื่อกำไรผูกขาดของรัฐ?

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มาตรการ ใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยา (compulsory licensing --- CL หรือ ซีแอล) ที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ต้นปีนี้ ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างหนักว่า สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทยเข้าขั้นวิกฤตถึงกับต้องใช้มาตรการรุนแรงเทียบเท่ากับ ยึดทรัพย์ เช่นนี้หรือไม่ ความขัดแย้งมีแนวโน้มขยายลามไปเป็นความขัดแย้งทางการค้าเมื่อสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ออก รายงานพิเศษ 301 เลื่อนชั้นประเทศไทยจากกลุ่ม จับตามอง ไปเป็น จับตามองเป็นพิเศษ โดยอ้างเหตุผลเรื่องความอ่อนแอในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยที่มีทั้งละเมิดลิขสิทธิ์บันเทิง ซอฟแวร์และสิทธิบัตรยา

กระทรวงสาธารณสุขอ้างว่า ยาต้านโรคเอดส์ในประเทศไทยมีราคาแพงเกินไปจนไม่สามารถครอบคลุมผู้ป่วยได้ทั้งหมดด้วยงบประมาณที่มีอยู่ แต่ถ้าเราพิจารณาดูปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด ก็จะเห็นว่า นอกจากประเด็นราคาและงบประมาณแล้ว เหตุผลที่แท้จริงยังอยู่ที่การใช้มุ่งใช้ซีแอลเป็นเครื่องมือหลักเพื่อลดราคายารายการสำคัญและเพื่อมุ่งประโยชน์แก่การผูกขาดของรัฐในตลาดยาเป็นสำคัญ

อ่านต่อ http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... guage=Thai
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 79

โพสต์

http://www.bsa.org/globalstudy/upload/2 ... Global.pdf

ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในไทย ก็ไม่แย่ลง แต่ก็ไม่ดีขึ้น
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 80

โพสต์

http://www.fringer.org/?p=236

นี่ก็น่าสนใจจากคุณชายขอบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ขอบคุณคับท่าน BSL ที่ร่วมแบ่งปัน...

ผมชอบงานเขียนของคนชายขอบ

เห็นมีผลงานหนังสือออกมาหลายเล่มแล้ว หลายแนวด้วย..

ผมมีเล่มที่เกี่ยวกับภูฏาน(มั้ง) .. ถ้าแวะร้านหนังสือ หนุนอุดเธอด้วยนาคร้าบ..

ได้เวลาให้ยาต่อ...

ถ้าตรงไหนตัวหนังสือไม่ชัด ถามได้นะคับ พอดีเครื่องสแกนผมมานโบราณมาก...

++++++++++++++++++++++++++++++


รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 82

โพสต์

รูปภาพ
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 83

โพสต์

อ่านแต่ผลงานคนชายขอบในเนตครับ ยังไม่เคยอุดหนุนหนังสือเธอเลย มุมมองและข้อมูลน่าสนใจ ถึงแม้ผมจะเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเธอ แต่ก็ติดตามมาเรื่อยๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 84

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 85

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 86

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 87

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 88

โพสต์

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 89

โพสต์

ยังมีต่อคับ อีกหลายตั้ง..ตามมาคับ..

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...

โพสต์ที่ 90

โพสต์

รูปภาพ