รัฐ ผมไม่เห็นด้วยที่มีการกระจายหุ้นออกไป (แม้ผมจะอยากได้หุ้นมาเก็บไว้
แต่ก็เป็น เพียงรายย่อยๆคนหนึ่ง แค่นั้นเอง)

ขอทราบความคิดเห็นของนักลงทุนในบอร์ด หน่อยครับ ว่าคิดเช่นไร...

โค้ด: เลือกทั้งหมด
ไม่มีพนักงานเหล่านี้ก็ทำงานกันได้ ผมว่าเราน่าจะประหยัดได้มากเลยนะ เฮ้อ.............
คำถามนี้น่าสนใจทีเดียว... 8)Jeng เขียน:แล้วสต๊อกคิดอย่างไร กับ โทรศัพท์ พื้นฐาน ละครับ...
ม็อบกฟผ.พ่นพิษ ดันค่าไฟร้อนนี้พุ่งขึ้น ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่ม
ม็อบค้านแปรรูป กฟผ.พ่นพิษ ผู้บริหารยอมรับพนักงานหยุดงานร่วมประท้วง ส่งผลหน้าร้อนนี้ค่าไฟพุ่ง หลังหยุดงานประท้วง เหตุการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะล่าช้ากว่า 6 สัปดาห์ เพราะพนักงานไม่พอ ดันต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริหารกว่า 300 คน เสนอ 3 แนวทางยุติการชุมนุม แนะแกนนำสหภาพพบนายกฯ การันตี กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ 50% และรัฐถือหุ้นใหญ่หลังแปลงสภาพ
นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า จากการที่พนักงาน กฟผ.หยุดงานชุมนุมค้านการแปรรูปมาตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงวานนี้ (12 มี.ค) รวม 19 วัน เริ่มส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า และมีแนวโน้มค่าไฟฟ้าช่วงหน้าร้อนนี้จะสูงขึ้น
เนื่องจากประสบปัญหาพนักงานไม่เพียงพอเตรียมความพร้อมปรับปรุงและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งต้องทำเป็นประจำทุกปี เพื่อผลิตไฟรองรับความต้องการใช้ในช่วงหน้าร้อน (มี.ค.-พ.ค.) ที่สูงจากปกติ 7-8% ตามความต้องการใช้ไฟสูงขึ้นกว่า 5% ตามภาวะเศรษฐกิจ
โดยโรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ 9 ขนาด 300 เมกะวัตต์ ขณะนี้การเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ล่าช้า จากแผนไปแล้ว 6 สัปดาห์ เพราะพนักงานหยุดงานมาประท้วง ทำให้ กฟผ.ต้องปรับแผนการผลิตไฟ โดยจะเปลี่ยนให้โรงไฟฟ้าบางปะกงที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงมาผลิตแทน ส่งผลให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้นเดือนละกว่า 10 ล้านบาท หรือต้นทุนค่าไฟจากน้ำมันเตาอยูที่ 1 บาทกว่าต่อหน่วยเทียบกับ โรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะมีต้นทุนต่ำกว่า และอยู่ที่ 60 ส.ต.ต่อหน่วยเท่านั้น
?ไฟฟ้ามีเพียงพอกับความต้องการใช้ในช่วงหน้าร้อนนี้แน่นอน ประชาชนไม่ต้องกังวลว่า จะเกิดปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ แต่มีความเป็นห่วงในต้นทุนค่าไฟที่จะสูงขึ้น เพราะต้องใช้โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ที่ต้นทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยอมรับการหยุดงานค้านแปรรูปครั้งนี้กระทบการดำเนินงานของ กฟผ.แต่ที่ประเมินค่าไม่ได้ คือ ผลกระทบต่อภาพพจน์ของ กฟผ.ที่สะสมมานาน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน?
ชี้ทางก.ม.การชุมนุมถือว่ามีความผิด
ส่วนการประชุมใหญ่วิสามัญของสหภาพ กฟผ.นั้น ผู้บริหารไม่อนุมัติให้ใช้สถานที่ประชุม เพราะมีการประชุมมติค้านการแปรรูซึ่งขัดนโยบายรัฐบาล ดังนั้น ในทางกฎหมายการชุมนุมครั้งนี้ถือว่ามีความผิด แต่ต้องใช้แนวทางรัฐศาสตร์แก้ไขปัญหา และขึ้นอยูที่อธิบดีกรมแรงงานและสวัสดิการสังคม จะพิจารณาว่าระยะเวลาที่สหภาพจัดประชุมสมควรจะยุติได้แล้วหรือไม่
ด้าน นายคำผุย จีราระรื่นศักดิ์ รองผู้ว่าการอาวุโสกลุ่มระบบส่งทำการแทนผู้ว่าการ กฟผ.ได้เรียกประชุมผู้บริหาร กฟผ.ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป จนถึงระดับรองผู้ว่าการกว่า 300 คน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการชุมนุม โดยมีนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน และมีมติว่าแนวทางที่จะยุติชุมนุมได้ คือ แกนนำสหภาพ กฟผ.ต้องได้เจรจากับนายกฯ และหากจะต้องแปรรูปรัฐต้องสร้างความมั่นใจ โดยทำสัญญาที่ชัดเจนว่ารัฐจะถือหุ้นใหญ่หลังแปลงสภาพองค์กรแล้ว รวมทั้งรับประกันให้ กฟผ.เป็นผู้สร้างโรงไฟฟ้าตามแผนพีดีพีใหม่ (2004) ที่ง ครม.ยังไม่อนุมัติ โดยตั้งแต่ปี 2547-2552 ต้องสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรง คือ พระนครเหนือ พระนครใต้ บางปะกง และที่สงขลา
นอกจากนี้ ในปี 2552-2559 จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 16 โรง ซึ่ง กฟผ.ต้องสร้างโรงไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 50% ในจำนวนดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันว่า กฟผ.จะยังเป็นผู้ผลิตไฟรายใหญ่ที่ต้องการให้สร้างเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ โดยจะเสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวกับรัฐบาลต่อไป
ขณะที่การชุมนุมของพนักงาน กฟผ.วานนี้ (12 มี.ค.) ยังคงชุมนุมต่อเนื่องเป็นวันที่ 19 แล้ว โดยพนักงานพร้อมใจใส่เสื้อแดง แม้จะมีข่าวว่านายกรัฐมนตรีสั่งให้เช็ควันลา และเช็คเวลาชุมนุมตามกรอบกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ว่าสามารถหยุดงานได้มากน้อยเพียงใด
พรหมินทร์สั่งผู้บริหารหาช่องก.ม.เอาผิดพนักงานลา
น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า การประท้วงของสหภาพ กฟผ.ผู้บริหารต้องไปดูในแง่กฎหมายการชุมนุมว่าใช้ระยะเวลานานจะผิดระเบียบหรือไม่นั้น ตนได้สั่งการให้ผู้บริหารของ กฟผ.ไปพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วว่าควรจะดำเนินการจัดการอย่างไร
สำหรับการทำความเข้าใจเกี่วกับการแปรรูป กฟผ.ต่อประชาชน ที่นายกฯระบุให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนก่อนเดินหน้าการแปรรูปนั้น ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะเตรียมที่จะร่างพระราชกฤษฎีการองรับการแปรรูป ซึ่งจะนำเสนอ ครม.ในเร็วๆ นี้
ส่วนการกระจายหุ้นนั้น กระทรวงการคลังได้เร่งดำเนินการอย่างชัดเจน โดยล่าสุดได้สรุปประเด็นการยกเลิกหุ้นผู้มีอุปการคุณไปแล้ว และกำลังดูเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
"การประชุมของสหภาพจะต้องอยู่ภายใต้ของกรอบกฎหมาย การอนุญาตให้มีการประชุมวิสามัญประจำปีนั้น หากดำเนินการ 10 วันไปแล้วจะผิดหรือไม่ ฝ่ายบริหาร กฟผ.จะต้องไปจัดการว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งผมได้ให้นโยบายไปแล้ว" รมว.พลังงาน กล่าว
สหภาพเตรียมแจ้งพนง.ชุมนุมได้ไม่ผิดก.ม.
น.พ.บรรลือ เฮงประสิทธิ์ แกนนำสหภาพ กฟผ.กล่าวว่า พนักงานจะยังร่วมชุมนุมต่อไป เพราะตามกฎหมายสามารถดำเนินการได้ และจะเชิญชวนพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพให้มาสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าสมัครคนละ 200 บาท สหภาพจะให้การรับรองเป็นสมาชิกตามกฎหมาย เพื่อเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถร่วมชุมนุมได้ ด้วยการลาป่วย ลากิจ และวันนี้ (13 มี.ค.) สหภาพจะไปร่วมชุมนุมใหญ่กับเครือข่ายประชาชนที่บริเวณท้องสนามหลวง เพื่อแสดงพลังคัดค้านการแปรรูป แม้ กทม.จะขอร้องไม่ให้ไปชุมนุมก็ตาม
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพ กฟผ.กล่าวได้หารือกับอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถึงแนวทางการยุติปัญหา ซึ่งได้รับการยืนยันว่าจะไม่ใช่กฎหมายแก้ไขปัญหา โดยสหภาพจะทำหนังสือชี้แจงพนักงาน กฟผ.ทั่วประเทศว่าสามารถมาร่วมชุมนุมได้โดยไม่ผิดกฎหมาย และวันจันทร์ (15 มี.ค.) จะยังคงมีการชุมนุมต่อไปหากยังไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล