ปีละโว้นี่นานขนาดไหน@ สธ.หาช่องฟ้อง"ยูเอสเอ ฟอร์ฯ"
ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) แถลงกรณีที่องค์กรยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น ลงโฆษณาในสื่อไทยโจมตีการทำซีแอลของไทย รวมทั้งการผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี "จีพีโอเวียร์" ของ อภ.ไม่ได้มาตรฐานว่า ยืนยันว่ายาจีพีโอเวียร์ได้มาตรฐานและไม่ได้ทำให้เกิดการดื้อยาร้อยละ 39.6-58 ตามที่กล่าวหา และยาจีพีโอวียร์ยังได้มาตรฐานความปลอดภัย เพราะผ่านการศึกษาชีวสมมูลเทียบกับยาต้นแบบที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ จากการวิจัยทางคลีนิคในผู้ป่วย 100 ราย โดย นพ.ถนอมศักดิ์ เอนกธนานนท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า ยาจีพีโอเวียร์สามารถลดปริมาณไวรัสเอชไอวีถึงร้อยละ 94.4 ในเวลา 76 สัปดาห์ และมีผลข้างเคียงเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น โดยผลการวิจัยนี้ได้เผยแพร่ในวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ
"ขณะนี้ได้ให้ฝ่ายกฎหมาย อภ.หาช่องทางฟ้องกรณีที่ยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น ให้ข้อมูลบิดเบือน เพราะถือว่าก่อกวนการทำซีแอลของไทย เพื่อให้เกิดความไขว้เขว เสียเวลา" นพ.วิชัยกล่าว
@ โต้"ยูเอสเอ ฟอร์ฯ"ใช้ข้อมูลยาปีมะโว้
นพ.สมบัติ แทนประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ยาจีพีโอเวียร์เป็นยาสูตรพื้นฐานในโครงการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ของ สธ. เพื่อสะดวกในการกิน และลดปัญหาการดื้อยา จากการศึกษาการดื้อยาที่ จ.อุบลราชธานี ในปี พ.ศ.2548 พบว่าหลังได้รับยาจีพีโอเวียร์ 6 เดือนแรก มีอัตราการดื้อยาร้อยละ 4.9 รักษานาน 6-12 เดือน มีอัตราดื้อยาร้อยละ 7.1 ใช้ยานาน 12-24 เดือน ดื้อยาร้อยละ 8.2 และหากใช้นานกว่า 24 เดือน ดื้อยาเพียงร้อยละ 14.6 ซึ่งไม่ได้สูงมาก อย่างไรก็ตาม หากพบว่าผู้ป่วยดื้อต่อยาพื้นฐานตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในสูตรของจีพีโอเวียร์ ก็จะพิจารณาใช้ยาสูตรที่ 2 ต่อไป โดยประเมินว่าขณะนี้มีผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาสูตร 2 ไม่ต่ำกว่า 12,000 ราย
นายวสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาและจุลชีววิทยาโมเลกุล โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยอมรับว่าข้อมูลที่ยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น นำมากล่าวอ้างเป็นข้อมูลการวิจัยของมหิดลจริง แต่สรุปผลไม่ถูกต้อง เพราะการศึกษานี้ได้เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งขณะนั้นผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสเอแซดที ที่มีอัตราการดื้อยาสูงมากร้อยละ 50-60 ในขณะที่ อภ.เริ่มผลิตยาจีพีโอเวียร์ประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา และพบการดื้อยาในปีนี้เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต้านไวรัสโดยปกติจะเกิดการดื้อยาอยู่แล้วไม่ว่าช้าหรือเร็ว ซึ่งปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับการกินยาของผู้ป่วยที่ต้องกินให้ครบตามกำหนด
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 31
ปิดท้ายเย็นนี้...
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 32
สิ่งหนึ่งที่ไม่ชอบเวลาที่เราตอบโต้ เรามักใช้ภาษาลีลาเชิงอารมณ์มาก แต่ข้อเท็จจริงน้อย เวลาอ่านที่เวบที่ต่อต้าน จะมีข้อเท็จจริง แต่อาจจะหยิบจับเฉพาะมุมบางมุมหรือเปล่า ไม่ทราบได้ มันดูดีน่าเชื่อถือกว่าของเราที่เล่นไปที่อารมณ์ความรู้สึก
ตอนนี้สนใจว่าในการดำเนินการของเราเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกันใน wto หรือเปล่า ฝ่ายเราก็บอกว่าเราทำ ฝ่ายเขาบอกว่าไม่ได้ทำ
นอกเรื่องนิดหนึ่ง แล้วที่เราเคยบอกว่าเราผลิตยารักษาเอดส์ได้ V1 อะไรเนี่ย ตอนนี้มันเป็นยังไงแล้ว
ตอนนี้สนใจว่าในการดำเนินการของเราเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกันใน wto หรือเปล่า ฝ่ายเราก็บอกว่าเราทำ ฝ่ายเขาบอกว่าไม่ได้ทำ
นอกเรื่องนิดหนึ่ง แล้วที่เราเคยบอกว่าเราผลิตยารักษาเอดส์ได้ V1 อะไรเนี่ย ตอนนี้มันเป็นยังไงแล้ว
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 34
โค้ด: เลือกทั้งหมด
อย่าง ที่เป็นข่าวอยู่ โรคเอดส์ เป็นโรคที่ป้องกันได้นะครับ
ตั้งแต่รู้เรื่องเกี่ยวกับโรคเอดส์ ผมว่าคนที่ติดเชื้อหลังปี 1984 ก็ไม่สมควรได้รับการรักษาฟรีแล้วด้วยซ้ำ (นอกจากบุคคลากรที่มีความเสี่ยง เป้นต้น)
คนที่ออกมาโวยวาย อยากได้สิทธิบัตร ทำไมไม่คิดให้ได้ตั้งแต่ก่อนติดล่ะครับ? อย่าอ้างว่าไม่มีความรู้นะครับ?
ถ้าเป็นโรคอื่น ที่เลี่ยงไม่ได้ อย่างเบาหวาน โรคทางกรรมพันธุ์อย่างอื่นก็ยังว่าไปอย่างนะครับ
นี่โรคเอดส์ ผมว่า ถ้าไม่มองเรื่อง ความเมตตา แล้วผมว่านะ ...
คนรวย น้อยคน ที่จะเห็นใจและเข้าใจคนจน เพราะว่าตัวเองมีเงินตลอด ไม่เดือดร้อนเรืองเงิน
คนมี น้อยคน ที่จะเห็นใจและเข้าใจคนไม่มี เพราะว่าตัวเองมีตลอด ไม่เคยเจอปัญหาของความไม่มี
ลองเผชิญเคราะห์กรรมของการติดเชื้อ HIV ดูสิครับ
โลกเรามีตั้งหลายมุม
คุณ nearly_vi
คนที่ติดเยอะแยะที่ไม่ได้มาจากการสำส่อน
ผู้หญิงมากมายที่ติดจากสามีที่สำส่อน หรือสามีที่ไปผิดพลาดจากข้างนอกมา
แต่ผู้หญิงที่น่าสงสารเหล่านั้นหล่ะครับ ทำไงดี บางคนก็ไม่มีกำลังทุนทรัพย์มากมายอะไร
หรือว่าจะโทษต่อว่า เลือกสามีผิดเหรอ ก็.......เฮ้อ ใจคอ
ผมขอชมเชยคุณหมอที่ออกไปสู้กับคนนอกบ้านครับ ทั้งๆที่รู้ว่าเจองานหินแต่ก็สู้
ขอชมเชยน้ำใจครับ
แทนที่จะทำง่ายๆ เอาแต่ตำหนิคนในบ้าน เรื่องแบบนี้ใครๆก็ทำได้
เมตตา ช่วยผู้อื่นให้มีความสุข
กรุณา ช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์
มุฑิตา ยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
อุเบกขา ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นมีทุกข์
โลกเราก็แบบนี้แหล่ะครับ คนมีมักไม่เข้าใจคนไม่มี
นักร้องลูกทุ่ง คุณฮาย เคยบอกว่า ลองมาจนดูสิ จะเข้าใจความจน สำหรับเขาแล้ว ชาตินี้ไม่ขอจนอีก
ยอดเขาเอเวอร์เรส ไม่ว่าสูงสักเพียงใด ไกลเพียงใด ก็มีคนตั้งหลายคนไปพิชิตมา
แต่ว่า ยอดในขั้วหัวใจ ที่อยู่ในกายเรา จะมีกี่คนที่พิชิตได้
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 35
เด็กๆ อีกตั้งมากมายที่ติดเชื้อ HIV
สังคมส่วนใหญ่ น่าจะช่วยเหลือเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนะครับ
เมื่อมีใครยื่นข้อเสนอ ทางเลือกที่ดีกว่าให้สำหรับผู้ด้อยโอกาส ผมว่า ผู้ยื่นน่าจะได้รับคำชมเชย
สำหรับผู้ด้อยโอกาสแล้ว ถ้าเลือกได้ เขาคงไม่อยากอยู่ในจุดที่ว่ามังครับ
การด้อยโอกาสนั้น บางส่วนก็มาจากความผิดพลาดของตัวเขาเอง
บางส่วนก็มาจากโชค วาสนา
( ถ้าเชื่อในคำสอนในหนังสือ "โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน" คงมีไม่กี่คนที่หลีก โชคชะตา วาสนา ที่ตามมาได้ )
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม พระพุทธเจ้าท่านสอนมา
แต่ท่านก็สอนเรื่องอุเบกขา มาพร้อมด้วยแล้ว
จำได้ว่า......
อาจารย์ท่านนึงที่พิการทางสายตา ( ที่ เมื่อก่อน สอน กม อยู่ธรรมศาสตร์ เดี๋ยวนี้ ไม่แน่ใจว่าสอนอยู่ป่าวครับ ที่มีสุนัข เป็นตัวนำทางให้ท่านในการเดินทางด้วยนะครับ )
ท่านเปลี่ยนไปนับถือ ศาสนาคริสต์ เพราะคำว่า กรรมของคุณ คำเดียวสั้นๆ
ท่านแน่ใจว่าท่านไม่ได้ทำกรรมอะไรไว้มากมายขนาดที่จะทำให้ท่านตาบอดตอนเรียน มัธยม คนอื่นมีกรรมมากกว่ากว่าท่านเยอะแย่ะ ไม่เห็นเป็นอะไรเลย
ท่านรับไม่ได้
ผมว่าท่านรับไม่ได้ เพราะว่ารู้สึกว่า โดนเหยียบรึป่าว ไม่รู้
คำว่า กรรมของคุณ มันเอาไว้เหยียบคน รึป่าวหนอ
ถ้าเอาไว้ให้ตัวเราเอง ปลอบใจตัวเอง ก็ดีนะครับ
แต่ถ้าให้อีกคนมาบอกเรา สงสัยไม่ใช่การปลอบใจแล้วมังครับ
ดีไม่ดี อาจจะเลยเข้าสู่ขอบเขตของคำว่า ไม่มีอุเบกขาแล้วครับ
เฮ้อ......
เที่ยงแล้ว......หาอะไรทานดีกว่าครับ หิวแหล่ว อิอิอิอิ
สังคมส่วนใหญ่ น่าจะช่วยเหลือเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนะครับ
เมื่อมีใครยื่นข้อเสนอ ทางเลือกที่ดีกว่าให้สำหรับผู้ด้อยโอกาส ผมว่า ผู้ยื่นน่าจะได้รับคำชมเชย
สำหรับผู้ด้อยโอกาสแล้ว ถ้าเลือกได้ เขาคงไม่อยากอยู่ในจุดที่ว่ามังครับ
การด้อยโอกาสนั้น บางส่วนก็มาจากความผิดพลาดของตัวเขาเอง
บางส่วนก็มาจากโชค วาสนา
( ถ้าเชื่อในคำสอนในหนังสือ "โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน" คงมีไม่กี่คนที่หลีก โชคชะตา วาสนา ที่ตามมาได้ )
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม พระพุทธเจ้าท่านสอนมา
แต่ท่านก็สอนเรื่องอุเบกขา มาพร้อมด้วยแล้ว
จำได้ว่า......
อาจารย์ท่านนึงที่พิการทางสายตา ( ที่ เมื่อก่อน สอน กม อยู่ธรรมศาสตร์ เดี๋ยวนี้ ไม่แน่ใจว่าสอนอยู่ป่าวครับ ที่มีสุนัข เป็นตัวนำทางให้ท่านในการเดินทางด้วยนะครับ )
ท่านเปลี่ยนไปนับถือ ศาสนาคริสต์ เพราะคำว่า กรรมของคุณ คำเดียวสั้นๆ
ท่านแน่ใจว่าท่านไม่ได้ทำกรรมอะไรไว้มากมายขนาดที่จะทำให้ท่านตาบอดตอนเรียน มัธยม คนอื่นมีกรรมมากกว่ากว่าท่านเยอะแย่ะ ไม่เห็นเป็นอะไรเลย
ท่านรับไม่ได้
ผมว่าท่านรับไม่ได้ เพราะว่ารู้สึกว่า โดนเหยียบรึป่าว ไม่รู้
คำว่า กรรมของคุณ มันเอาไว้เหยียบคน รึป่าวหนอ
ถ้าเอาไว้ให้ตัวเราเอง ปลอบใจตัวเอง ก็ดีนะครับ
แต่ถ้าให้อีกคนมาบอกเรา สงสัยไม่ใช่การปลอบใจแล้วมังครับ
ดีไม่ดี อาจจะเลยเข้าสู่ขอบเขตของคำว่า ไม่มีอุเบกขาแล้วครับ
เฮ้อ......
เที่ยงแล้ว......หาอะไรทานดีกว่าครับ หิวแหล่ว อิอิอิอิ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 36
[quote="bsk(มหาชน)"]มาลองจับโกหกของ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 37
ผมจะให้ยาแรงขึ้นเรื่อยๆ โปรดอย่าดื้อ...
แคนาดากับการใช้สิทธิส่งออกยาที่มีสิทธิบัตร
วิทยา กุลสมบูรณ์
แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาวะการกดดันจากปัญหาสาธารณสุขโดยเฉพาะโรคเอชไอวี/เอดส์ ที่เพิ่มทวีขึ้น และต้องการยาเพื่อการรักษา ทำให้สังคมโลกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศได้แสวงหาความพยายามที่จะมีส่วนร่วมบรรเทาเบาบางความทุกข์ทรมานของประชากรโลก
ในการประชุมทรัพย์สินทางปัญญากับการเข้าถึงยาที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน จัดโดยสถาบันเหนือใต้ และเครือข่ายกฎหมายเพื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ และสถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา ที่ผ่านมานี้ นายจอน ลูอิส อดีตผู้แทนองค์การสหประชาชาติด้านเอชไอวี/เอดส์ ได้กล่าวเรียกร้องเมตตาธรรมจากผู้เกี่ยวข้องว่า เหตุใดสังคมโลกจึงยังยอมปล่อยให้ผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์กว่า 5 ล้านคนไม่ได้รับยา แม่ที่ติดเชื้อได้รับยาเพียงร้อยละ 10 และเด็กที่ติดเชื้อได้รับยาประมาณร้อยละ 15
การแก้ไขปัญหานี้ทำไม่ยาก หากให้กลไกการผลิตยาที่มีอยู่ของประเทศต่างๆ ได้มีการดำเนินการอย่างไม่ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
ศักยภาพของหลายประเทศ รวมทั้งแคนาดามีมากหลายเหลือเฟือ และสามารถที่จะผลิตยาสามัญ หรือยาเจเนอริก (Generie Drug) ในราคาที่ถูกลงจนสามารถครอบคลุมผู้ป่วยได้ทั้งหมด
นายจอน ลูอิส ได้กล่าวถึงการตัดสินใจที่กล้าหาญของรัฐบาลไทยต่อการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิต่อยาสิทธิบัตรกับยาต้านไวรัสที่จำเป็นในการแก้ปัญหาเมื่อยาสูตรพื้นฐานไม่ได้ผล
นายลูอิสยังมีความกังวลต่อการที่บริษัทยาโนวาติสฟ้องร้องรัฐบาลอินเดียที่ไม่ให้จดทะเบียนสิทธิบัตรยา Imatinib หรือชื่อการค้า Gleevec
โดยรัฐบาลอินเดียให้เหตุผลว่าการจดสิทธิบัตรดังกล่าวไม่ถือเป็นนวัตกรรมการคิดค้น แค่เป็นการพยายามสร้างการผูกขาดโดยไม่มีเหตุผลพอเพียง ที่มักจะเรียกกันว่า Ever Greening Patent หรือสิทธิบัตรตลอดกาล
ในการต่อสู้ข้อพิพาททางศาลในกรณีดังกล่าวนี้ นายลูอิสพยากรณ์ว่าโลกจะรวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมที่บริษัทยาโนวาติส ใช้มาตรการทางกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงโอกาสการเข้าถึงยาของผู้ป่วย
จอน ลูอิส เป็นชาวแคนาดา เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้รัฐบาลแคนาดาจัดทำกฎหมายขึ้นมาฉบับหนึ่งที่เรียกว่า CANADA ACCESS TO MEDICINE REGIME (CAMR) หรือระบบส่งเสริมการเข้าถึงยาของประเทศแคนาดา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้อยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงการค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือทริปส์ (TRIPS)
ในปี ค.ศ.2003 เป็นระยะต้นๆ ของการค้นพบยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ สูตร 3 ตัว แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสิทธิบัตรทำให้ผู้ป่วยจำนวนมหาศาลในแอฟริกาต้องป่วยและล้มตายลง โดยเข้าไม่ถึงยาเนื่องจากยามีราคาแพง
เทคโนโลยีที่มนุษยคิดค้นเพื่อมุ่งหยุดยั้งความตายและต่อชีวิตของผู้ติดเชื้อถูกกังขังอยู่ในกลุ่มคนจำนวนน้อยที่มีเงินตราเป็นใบเบิกทาง แต่กลับทอดทิ้งผู้ป่วยในประเทศยากจนที่มีอัตราการติดเชื้อสูงให้ล้มตายลงอย่างเลือดเย็น
นายลูอิสได้ผลักดันจนสำเร็จให้แคนาดาเป็นประเทศแรกที่มีกฎหมายผลิตยาชื่อสามัญ เพื่อการส่งออกได้ กฎหมายนี้มิได้ละเมิดข้อตกลงทางการค้าทริปส์ ดังเช่นที่มักมี "นักมุสาด้านสิทธิบัตร" ตัวแทนบริษัทยาข้ามชาติออกมาโพนทะนาหลอกลวงผู้คนอย่างไม่ละอายต่อบาป
แม้กฎหมายฉบับนี้จะผ่านรัฐสภาของประเทศแคนาดาเมื่อปี 2003 อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายที่ระบุไว้ เช่น การกำหนดชื่อประเทศที่จะนำเข้า การกำหนดรายการผลิตภัณฑ์ การกำหนดจำนวนยา คุณภาพยา ระยะเวลาที่จะใช้สิทธิ และขอบเขตของผลประโยชน์และอื่นๆ ได้ ทำให้การผลิตยาเพื่อส่งออกของประเทศแคนาดายังติดอยู่ในวังวนของตัวหนังสือในกฎหมาย
ในการประชุมที่ออตตาวานี้ "ราเชล" ผู้แทนองค์กรหมอไร้พรมแดน หรือ MSF ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแคนาดาดำเนินการเร็วกว่านี้
ผู้เขียนได้กล่าวกับเธอว่า "MSF" หมายถึง "MAKE IT SIMPLE AND FAST" ไม่ใช่ "MAKE IT SLOW AND FUTILE" คือนอกจากช้าแล้วยังไร้ผล
เธอได้กล่าวถึงความล่าช้าดังกล่าวทำให้ประเทศยากจนที่ขาดแคลนยาต้องไปพึ่ง "แหล่งยาของคนจน (PHARMACY OF THE POOR)" ซึ่งก็คือประเทศอินเดีย ทั้งที่แคนาดาควรจะมีบทบาทต่อสังคมโลก ดังที่ลูอิสคาดหวังไว้
การประชุมครั้งนี้ผู้แทนจากกระทรวงสุขภาพ (HEALTH CANADA) และกระทรวงอุตสาหกรรม (INDUSTRY CANADA) ของแคนาดาได้มารับทราบอุปสรรค ข้อจำกัดเพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่สามารถส่งออกยาได้จริง
โดยแท้จริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพไม่เพียงแต่ผลิตยาสามัญเพื่อใช้ในประเทศ แต่อุตสาหกรรมยาประเทศไทยยังมีศักยภาพมากเกินพอที่จะผลิตยาจำเป็น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยา โดยการส่งออกในประเทศกลุ่มอินโดจีน อเมริกาใต้ หรือแอฟริกา
ศักยภาพของเภสัชกรไทยที่มีต่อการประดิษฐ์คิดค้นยาต้านไวรัส เพื่อช่วยเหลือความเจ็บป่วยของชาวโลกก็ได้แสดงออกแล้ว ดังกรณี เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญ และนักวิทยาศาสตร์ขององค์การเภสัชกรรมที่ปัจจุบันได้ไปบุกเบิกก่อตั้งโรงงานผลิตยาสามัญในแอฟริกา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนยาในขณะนี้
การประชุมเพื่อการเข้าถึงยาในคราวนี้ ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการที่บางประเทศได้ยอมรับข้อตกลงการค้าเสรี เช่น โมร็อกโก และประเทศกลุ่ม CAFTA ในอเมริกาใต้ ชี้ให้เห็นการกดดันของสหรัฐอเมริกาที่ผลักให้กฎหมายการค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ดูดกลืนเอาเรื่องยาที่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์เข้าไปรวมอยู่ด้วย โดยที่ผู้คนในประเทศมิอาจรู้ถึงผลพวงที่จะเกิดขึ้นจากการเข้าไม่ถึงยา
ผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนประเทศไทย เช่น ผู้แทนจาก DNDI (DRUG FOR NEGLECT DISEASE INITIATIVE) องค์กรเพื่อการพัฒนายาที่ถูกละเลยและไม่มีการผลิต ซึ่งเป็นชาวอิตาลีได้กล่าวว่า ประเทศอิตาลีเพิ่งจะใช้สิทธิกับยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และยารักษาผมร่วงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในปีที่แล้วก็มีการใช้สิทธิยา IMIPINAM ที่เป็นยาฆ่าเชื้อ ทั้งยังได้กล่าวว่าจะเร่งเร้าให้ภาครัฐมีการส่งจดหมายสนับสนุนการดำเนินการของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ภายใต้การดำเนินการของประเทศไทย ได้ทำให้บรรษัทธุรกิจยาต่างไปล็อบบี้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ผู้แทนจากประเทศเคนยา ได้กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการต่อรองไม่ให้รัฐบาลเคนยาใช้สิทธิต่อยาที่มีสิทธิบัตร ทั้งที่มีความต้องการยาจำเป็นอย่างมาก
ประเด็นสำคัญต่อการเข้าถึงยา ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางปัญญาคือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ผลผลิตจากการค้นพบภายใต้การคิดค้นและค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ที่มีเจตจำนงค์ต่อการช่วยรักษาชีวิตและความเจ็บป่วยของมนุษยชาติตกไปอยู่ใน "หลุมดำ" ของอำนาจทุนธุรกิจภายใต้วาทกรรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่กรอบล้อมปิดกั้นการเข้าถึงยาของของประชากรโลกจากกำแพงราคายา
นักศึกษาปริญญาเอกชาวแคนาดา ผู้แทนจากองค์กรพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อยาจำเป็น Universities Allied for Essential Medicines (UAEM) ได้ยกตัวอย่าง ดร.เฮคเตอร์ เดลูกา (DR.Hector Deluca) มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ ที่แสดงจุดยืนคัดค้านการดำเนินการของบริษัท แอ๊บบอตฯ ที่ระงับการขึ้นทะเบียนยา "Zemplar" ในประเทศไทย โดยที่เธอมีส่วนในการคิดค้นยานี้
ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องไปยังนายกสภามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ที่จะหาหนทางแสดงจุดยืนคัดค้านการกระทำของบริษัท แอ๊บบอตฯ ดังกล่าว
การประชุมนี้ได้เปิดโลกทรรศน์ของผู้เขียนให้กว้างขึ้นและปลดปล่อยตนเองจากการบดบังของข้อมูลที่หลอกลวงในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและข้อตกลงการค้า ที่สำคัญคือชี้ให้เห็นความจำเป็นที่สังคมไทย โดยเฉพาะประชาสังคมสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค จะต้องแสวงหาความร่วมมือต่อสู้กับมาตรการและการเจรจาการค้าที่มุ่งผูกขาดและจำกัดการเข้าถึงยา
ผู้เขียนหวังว่าการพัฒนากฎหมายเพื่อการส่งออกยาที่มีสิทธิบัตรของประเทศแคนาดา จะบรรลุผลทางปฏิบัติเพื่อช่วยชาวโลกเช่นเดียวกับการใช้สิทธิต่อยาที่มีสิทธิบัตรของประเทศไทย ที่มีผลอย่างมหาศาลต่อการเข้าถึงยาของประชากรผู้ป่วยในสังคมโลก แต่ได้รับการต่อต้านด้วยมาตรการการค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศต่างๆ ในโลกจะต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะประเทศที่มีอุดมการณ์แห่งมนุษยธรรมมากกว่าอุดมการณ์ "ทุรกิจ" (ทุ = ไม่ดี หรือ เลว)
กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินการตามหลักกฎหมายและศีลธรรมโดยชอบแล้ว ควรจะได้รับการสรรเสริญจากสังคมไทย รัฐบาลไทยจะต้องให้การสนับสนุนจุดยืนและท่าทีของกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ดับความหวังของสังคมโลกที่เฝ้ามอง ความกล้าหาญที่ได้แสดงประจักษ์ต่อสาธารณะในครั้งนี้
ความกล้าหาญนี้ย่อมจะนำพาประเทศต่างๆ ในโลกเข้ามามีส่วนร่วมกับความถูกต้องทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต
โดย : มติชน วันที่ 12/05/2007
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 38
สูตร 2
[/quote]
ฝรั่งปลิ้นปล้อน
ประสงค์ วิสุทธิ์ [email protected]
เคน อีเดิ้ลแมน และ องค์การ ยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น เปิดเว็บไซต์ชื่อ thailies.com ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น (thaimyths.com ) เพื่อโจมตีประเทศไทยเรื่องการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ว่า ไทยโกหกในประเด็นต่างๆ เช่น การดำเนินการขัดต่อกฎขององค์การการค้าโลก
ปรากฏว่า โรเบิร์ต ไวส์แมน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน บรรณาธิการนิตยสารออนไลน์ และผู้อำนวยการองค์การ เอสเซนเชี่ยล แอคชั่น ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์เพื่อบรรษัทภิบาลในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ใช้เว็บบล็อกของตนเองจับโกหกของอีเดิ้ลแมนในข้อเขียนที่ชื่อว่า "เคน อีเดิ้ลแมน นิว ไลส์ หรือ การโกหกใหม่ของนายเคน อีเดิ้ลแมน"
ก่อนหน้านั้นนายอีเดิ้ลแมนให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทยา (ข้ามชาติ) มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ช่วยเหลือในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและยืดอายุของประชาชน บริษัทเหล่านี้ได้จ่ายเงินโดยเฉลี่ยถึงเกือบ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาและดำเนินการคิดค้นยาแต่ละชนิด เพื่อนำออกสู่ท้องตลาดตามมาตรการรักษาความปลอดภัย และประสิทธิภาพอย่างเคร่งครัด ระบบการรับรองมาตรฐานเพื่อรับรองสิทธิของผู้คิดค้นจึงเป็นหนทางเดียว ซึ่งจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนายา
การอ้างตัวเลขว่า บริษัทยาต้องใช้เงินในการวิจัยเพื่อค้นคว้าตัวยาใหม่ๆ เกือบ 1,000 ล้านเหรียญนั้น เป็นการปั้นตัวเลขแบบหน้าด้านๆ เพื่อที่บริษัทยาจะได้ใช้เป็นข้ออ้างในการผูกขาดและขายยาในราคาแพง เพราะความจริงแล้วค่าใช้จ่ายในการวิจัยตัวยาใหม่มีมูลค่าไม่ถึง 100 ล้านเหรียญ
ข้อมูลดังกล่าวอยู่ในหนังสือชื่อ "กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ" ซึ่งแปลจากหนังสื่อชื่อ "The Truth About the Drug Companies : How they deceive us and what to do about it " โดยแพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์ มี นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นบรรณาธิการ ซึ่งเปิดโปงเล่ห์เหลี่ยมของบริษัทยาข้ามชาติในการแสวงหากำไรสูงสุดแบบไร้ศีลธรรม
แม้แพทย์หญิงมาร์เซียบอกว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะเน้นที่การปฏิบัติของบริษัทยาในสหรัฐอเมริกา แต่ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมยาทั่วโลกใน ปี 2545 มียอดขายตามที่หมอสั่งประมาณ 400,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 16 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งขายในสหรัฐอเมริกา
จากตัวเลขดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า อุตสาหกรรมยาทั่วโลกมีขนาดใหญ่กว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของไทยกว่า 2 เท่าตัว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมบริษัทยาเหล่านี้จึงมีอิทธิพลมหาศาลในการติดสินบนในรูปแบบต่างๆ แก่นักการเมือง สำนักงานอาหารและยา บุคลากรทางการแพทย์และผู้คนในวงการต่างๆ ให้เป็นเครื่องมือของตน
นิตยสารฟอร์จูนรายงานว่า รายการยา 500 รายการ ที่จำหน่ายในตลาดโลก จากบริษัทยาของสหรัฐ 10 บริษัท มีมูลค่ารวมกัน 217,000 ล้านเหรียญ (ประมาณ 8.68 ล้านล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยเพียงร้อยละ 14 (ประมาณ 31,000 ล้านเหรียญ) มีกำไรร้อยละ 17 (ประมาณ 36,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งมากกว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัย
แต่ที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดกลับสูงถึงร้อยละ 31 หรือประมาณ 67,000 ล้านเหรียญ มากกว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัยถึง 2 เท่าตัว
ค่าใช้จ่ายในการตลาดเหล่านี้ นอกจากการจ้างผู้แทนยาเกือบ 90,000 คน เพื่อไปแจกยาฟรีให้แก่แพทย์และสถานพยาบาลต่างๆ กว่า 11,000 ล้านเหรียญแล้ว ยังมีการโฆษณาโดยตรงถึงผู้บริโภค โฆษณาแอบแฝง รวมถึงการให้สินบนในรูปแบบต่างๆ ด้วย
สิ่งที่สามารถสร้างกำไรสูงสุดให้แก่บริษัทยาคือ การสร้างกลไกการผูกขาดให้แก่ยาแต่ละประเภทให้นานที่สุด เพราะจะทำให้บริษัทคู่แข่งหรือผู้อื่นไม่สามารถผลิตยาประเภทเดียวกันได้ ทำให้บริษัทสามารถกำหนดราคายาในราคาสูงได้
รัฐบาลและรัฐสภาสหรัฐเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทยา ด้วยการออกกฎหมายยืดอายุของสิทธิบัตรยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2537 ได้เพิ่มอายุสิทธิบัตรยาจาก 17 ปี เป็น 20 ปี
นอกจากนั้น สหรัฐยังบีบให้คู่ค้าทั่วโลกรวมถึงไทยต้องยืดอายุสิทธิบัตรให้ยาวนานขึ้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ 2522 กำหนดอายุสิทธิยาเฉพาะกระบวนการผลิตไว้นาน 15 ปี ต้องแก้ไขเป็น 20 ปี ในปี 2535 ให้คุ้มครองครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ด้วย และขณะนี้กำลังบีบให้แก้ไขให้ยืดอายุสิทธิบัตรเป็น 25 ปี
แค่นี้ก็เห็นชัดแล้วว่า "อั๊กลี่อเมริกัน" เป็นอย่างไร
[quote][/quote]
[/quote]
ฝรั่งปลิ้นปล้อน
ประสงค์ วิสุทธิ์ [email protected]
เคน อีเดิ้ลแมน และ องค์การ ยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น เปิดเว็บไซต์ชื่อ thailies.com ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น (thaimyths.com ) เพื่อโจมตีประเทศไทยเรื่องการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ว่า ไทยโกหกในประเด็นต่างๆ เช่น การดำเนินการขัดต่อกฎขององค์การการค้าโลก
ปรากฏว่า โรเบิร์ต ไวส์แมน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน บรรณาธิการนิตยสารออนไลน์ และผู้อำนวยการองค์การ เอสเซนเชี่ยล แอคชั่น ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์เพื่อบรรษัทภิบาลในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ใช้เว็บบล็อกของตนเองจับโกหกของอีเดิ้ลแมนในข้อเขียนที่ชื่อว่า "เคน อีเดิ้ลแมน นิว ไลส์ หรือ การโกหกใหม่ของนายเคน อีเดิ้ลแมน"
ก่อนหน้านั้นนายอีเดิ้ลแมนให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทยา (ข้ามชาติ) มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ช่วยเหลือในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและยืดอายุของประชาชน บริษัทเหล่านี้ได้จ่ายเงินโดยเฉลี่ยถึงเกือบ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนาและดำเนินการคิดค้นยาแต่ละชนิด เพื่อนำออกสู่ท้องตลาดตามมาตรการรักษาความปลอดภัย และประสิทธิภาพอย่างเคร่งครัด ระบบการรับรองมาตรฐานเพื่อรับรองสิทธิของผู้คิดค้นจึงเป็นหนทางเดียว ซึ่งจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนายา
การอ้างตัวเลขว่า บริษัทยาต้องใช้เงินในการวิจัยเพื่อค้นคว้าตัวยาใหม่ๆ เกือบ 1,000 ล้านเหรียญนั้น เป็นการปั้นตัวเลขแบบหน้าด้านๆ เพื่อที่บริษัทยาจะได้ใช้เป็นข้ออ้างในการผูกขาดและขายยาในราคาแพง เพราะความจริงแล้วค่าใช้จ่ายในการวิจัยตัวยาใหม่มีมูลค่าไม่ถึง 100 ล้านเหรียญ
ข้อมูลดังกล่าวอยู่ในหนังสือชื่อ "กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ" ซึ่งแปลจากหนังสื่อชื่อ "The Truth About the Drug Companies : How they deceive us and what to do about it " โดยแพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์ มี นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นบรรณาธิการ ซึ่งเปิดโปงเล่ห์เหลี่ยมของบริษัทยาข้ามชาติในการแสวงหากำไรสูงสุดแบบไร้ศีลธรรม
แม้แพทย์หญิงมาร์เซียบอกว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะเน้นที่การปฏิบัติของบริษัทยาในสหรัฐอเมริกา แต่ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมยาทั่วโลกใน ปี 2545 มียอดขายตามที่หมอสั่งประมาณ 400,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 16 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งขายในสหรัฐอเมริกา
จากตัวเลขดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า อุตสาหกรรมยาทั่วโลกมีขนาดใหญ่กว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของไทยกว่า 2 เท่าตัว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมบริษัทยาเหล่านี้จึงมีอิทธิพลมหาศาลในการติดสินบนในรูปแบบต่างๆ แก่นักการเมือง สำนักงานอาหารและยา บุคลากรทางการแพทย์และผู้คนในวงการต่างๆ ให้เป็นเครื่องมือของตน
นิตยสารฟอร์จูนรายงานว่า รายการยา 500 รายการ ที่จำหน่ายในตลาดโลก จากบริษัทยาของสหรัฐ 10 บริษัท มีมูลค่ารวมกัน 217,000 ล้านเหรียญ (ประมาณ 8.68 ล้านล้านบาท) มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยเพียงร้อยละ 14 (ประมาณ 31,000 ล้านเหรียญ) มีกำไรร้อยละ 17 (ประมาณ 36,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งมากกว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัย
แต่ที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดกลับสูงถึงร้อยละ 31 หรือประมาณ 67,000 ล้านเหรียญ มากกว่าค่าใช้จ่ายในการวิจัยถึง 2 เท่าตัว
ค่าใช้จ่ายในการตลาดเหล่านี้ นอกจากการจ้างผู้แทนยาเกือบ 90,000 คน เพื่อไปแจกยาฟรีให้แก่แพทย์และสถานพยาบาลต่างๆ กว่า 11,000 ล้านเหรียญแล้ว ยังมีการโฆษณาโดยตรงถึงผู้บริโภค โฆษณาแอบแฝง รวมถึงการให้สินบนในรูปแบบต่างๆ ด้วย
สิ่งที่สามารถสร้างกำไรสูงสุดให้แก่บริษัทยาคือ การสร้างกลไกการผูกขาดให้แก่ยาแต่ละประเภทให้นานที่สุด เพราะจะทำให้บริษัทคู่แข่งหรือผู้อื่นไม่สามารถผลิตยาประเภทเดียวกันได้ ทำให้บริษัทสามารถกำหนดราคายาในราคาสูงได้
รัฐบาลและรัฐสภาสหรัฐเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทยา ด้วยการออกกฎหมายยืดอายุของสิทธิบัตรยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2537 ได้เพิ่มอายุสิทธิบัตรยาจาก 17 ปี เป็น 20 ปี
นอกจากนั้น สหรัฐยังบีบให้คู่ค้าทั่วโลกรวมถึงไทยต้องยืดอายุสิทธิบัตรให้ยาวนานขึ้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ 2522 กำหนดอายุสิทธิยาเฉพาะกระบวนการผลิตไว้นาน 15 ปี ต้องแก้ไขเป็น 20 ปี ในปี 2535 ให้คุ้มครองครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ด้วย และขณะนี้กำลังบีบให้แก้ไขให้ยืดอายุสิทธิบัตรเป็น 25 ปี
แค่นี้ก็เห็นชัดแล้วว่า "อั๊กลี่อเมริกัน" เป็นอย่างไร
[quote][/quote]
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 39
เสริมสูตร 1
จุดเปลี่ยนของตลาดยาโลกมาถึงแล้ว
คอลัมน์ Active Opionion
ธวัช วิรัตติพงศ์ ผู้บริหารโครงการ นาซ่า-เจพีแอล
ประเทศไทยต้องซื้อยาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ในราคาแพงมาเป็นเวลายาวนาน ความจริงมิใช่เฉพาะยาเท่านั้น อุปกรณ์เครื่องมือ และอาหารทางการแพทย์ รวมถึงน้ำยาและอุปกรณ์ทดสอบทั้งหลายล้วนมีราคาแพงทั้งสิ้น ทำให้ผู้มีรายได้น้อยของเราและประเทศอื่นทั่วโลกมีโอกาสน้อยที่จะได้ใช้ยาดี
แม้แต่คนอเมริกันเอง ตอนนี้ก็ประสบปัญหาเรื่องยาราคาแพงเช่นกัน และไม่พอใจที่ต้องจ่ายค่ายาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น แคนาดาและเม็กซิโก แม้เป็นยาประเภทเดียวกัน บริษัทยาของอเมริกามีอิทธิพลทางการเมืองสูง เพราะมีเงินมาก การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ทำให้บริษัทยาได้กำไรน้อยลงจะทำได้ยากมาก
ข่าวการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอล) ต่อยาที่จำเป็นต่อประเทศไทยจำนวน 3 ตัวนั้น แม้ว่าจะเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับตลาดยาทั่วโลก แต่บริษัทยาของอเมริกาเริ่มเดือดร้อนและถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะกลัวว่าประเทศอื่นจะเอาอย่างและขยายต่อ ซึ่งจริงๆ ตอนนี้ก็มีประเทศอื่นทำตามแล้ว ดังนั้น บริษัทยาคงหาวิธีต่อสู้ทุกรูปแบบและโต้ตอบแบบสุดฤทธิ์
ความจริงบริษัทยาของอเมริกาน่าจะรู้ว่านโยบายการตลาดในลักษณะที่ผูกขาดและตั้งราคาตามใจชอบและสูงจนเกินไป จะอยู่ไม่ได้นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบกับยาสามัญ (ยาเลียนแบบ) ตัวอื่น ที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน แต่ราคาต่ำกว่ามาก เมื่อถึงจุดหนึ่ง ประเทศทั่วโลกจะไม่ยอมรับและจะต้องหาวิธีเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เชื่อว่าวันนี้เรามาถึงจุดนั้นแล้ว
ประเทศไทยจะต้องมั่นคงและยึดมั่นในผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และมั่นใจว่าเรามาถูกทางแล้ว แต่อย่าเพิ่งเร่งด่วนประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาเพิ่มเติมอีกในขณะนี้ สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ควรต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ต้องหาแนวร่วมจากประเทศอื่นๆ ด้วย เชื่อว่าประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วย
สำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องยาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั้น รัฐบาลต้องเริ่มให้การสนับสนุนอย่างจริงจังต่องานวิจัยแบบครบวงจรที่ได้ผลเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาใช้บริโภค เพื่อลดการนำเข้า ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตลอดจนอาจเพิ่มการส่งออกได้ด้วย โดยเฉพาะด้านยา เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะนักวิจัย ห้องแล็บ และอุปกรณ์ต่างๆ ทางด้านนี้ เรามีความพร้อมอยู่พอควร และด้านตลาดเราก็พอสู้เขาได้
ไทยต้องเริ่มทำสิ่งที่แน่ใจว่าสามารถทำได้ก่อน ซึ่งมีอยู่มากมาย รัฐบาลจะต้องเริ่มตรวจสอบอย่างจริงจังว่างบประมาณวิจัยปีละเกือบหมื่นล้านบาทนั้น ใครเอาไปทำอะไรบ้าง และที่ผ่านมาทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้แค่ไหน
รัฐบาลจะต้องเปลี่ยนให้นักวิชาการที่มีความสามารถทางการบริหารจัดการและทางธุรกิจ หรือนักธุรกิจมาเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการโครงการวิจัย ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานวิจัย และหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศให้มากขึ้น ประเทศไทยสูญเงินประชาชนไปหลายแสนล้านบาทในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เพราะมีนักวิชาการที่อาจจะเก่งทางวิชาการ แต่ไม่เข้าใจหรือไม่สนใจเรื่องการบริหารจัดการ และการตลาดมารับผิดชอบงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติ ซึ่งยังคงมีอยู่ในหลายหน่วยงาน
แต่เป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้หน่วยงานวิจัยหลายแห่ง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พยายามปรับแนวนโยบายเพื่อให้งานวิจัยได้ผลออกสู่ตลาดมากขึ้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดนี้แม้ทำงานต่ออีกไม่ถึงปี จะเห็นความสำคัญและดำเนินการให้การสนับสนุนงานวิจัยที่ให้ผลเป็นผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยา เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ของคนไทยและเศรษฐกิจของชาติ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 40
ข้อเท็จจริงของสูตรสำเร็จบริษัทยาข้ามชาติ
กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ
กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ /เป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตาทั้งเล่ม / คณะผู้แปล : นพ.วิชัย โชควิวัฒน , รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์, ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ, ผศ.สุนทรี วิทยานารถไพศาล, รศ.ดร.ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง, ดร.ปิยรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ / บรรณาธิการ : นพ.วิชัย โชควิวัฒน / ผู้ช่วยบรรณาธิการ : รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์, ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ /สนับสนุนการพิมพ์โดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข (สวรส.) / จัดจำหน่าย :ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ราคา 200 บาท
คุณเชื่อไหมว่า ในสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมธุรกิจยา ทำ กำไรสูงสุด เป็นอันดับหนึ่ง มากกว่าธุรกิจแขนงอื่น ๆ ?
แน่ล่ะ คุณอาจจะไม่เชื่อ ตราบเท่าที่เรายังคิดว่า ยา เป็นเรื่องของ มนุษยธรรม-คุณธรรม-จริยธรรม ไม่ใช่เรื่องของ ธุรกิจ เพื่อแสวงกำไรสูงสุด
ทว่า ! ความจริงไม่ได้งดงามเช่นนั้น....
ตรงกันข้าม ความจริงของ ธุรกิจยา กลับเต็มไปด้วยความลับที่มืดดำ อัปลักษณ์ และซับซ้อนซ่อนเงื่อน อยู่ใน วงจรอุบาทว์ โดยสิ้นเชิง
ทั้งหมด วนเวียนอยู่กับคำว่า อำนาจ เล่ห์เหลี่ยม กลโกง การผูกขาด และสินบน !
ยา ในอุตสาหกรรมยา ถูกบริษัทยายักษ์ใหญ่รวมหัวกัน ทำให้เชื่อว่า มีต้นทุนสูงลิบลิ่ว จากการ ศึกษา-วิจัย เพื่อค้นพบ นวัตกรรม ในการรักษาชีวิต ของมวลมนุษยชาติ
แต่ความจริงที่คุณไม่รู้ก็คือ ต้นทุน จากการศึกษาวิจัย ไม่ได้สูงเช่นนั้น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบส่วนต่าง ระหว่าง ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ในการ วิจัย กับ ค่าการตลาด-การบริหาร ที่ส่วนหลังมากกว่าส่วนแรก ถึง 2 เท่าครึ่ง
แล้วอะไร ทำให้ ยา มีราคาแพงลิบลิ่วขนาดนั้น ?
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมบริษัทยา จึงทำให้ราคายาแพงมาก
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมยาบางชนิด จึงถูกสั่งจ่ายยาอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง ทั้งที่ราคายาสูงลิบลิ่ว
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมจึงต้องเปลี่ยนการใช้ยา จากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง หรือต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น ถี่ขึ้น นานขึ้น และต้องจ่ายมากขึ้น ในขั้นตอนสุดท้าย
คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมรัฐและอำนาจทางการเมือง รวมทั้งกลไกของกฎหมาย จึงไม่สามารถเข้ามาควบคุมดูแล ให้ราคายาต่ำลง และมีคุณภาพตามที่ควรจะเป็น
ความจริงก็คือ อุตสาหกรรมยา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นับจากปี 2523 หลังจากที่ โรนัลด์ เรแกน ชนะการเลือกตั้ง
2503-2523 มูลค่าการสั่งยาค่อนข้างคงที่ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ขณะที่ 2523-2543 มูลค่าการสั่งยา เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า
และนั่นก็คือ จุดเริ่มต้น ของนโยบาย เข้าข้างฝ่ายธุรกิจของรัฐบาล
ปี 2545 ปีเดียว อุตสาหกรรมยา ได้รับเงินค่ายาจากคนสหรัฐฯ ถึง 2 แสนล้านเหรียญ โดยมีอีก 2 แสนล้านเหรียญ ที่ อุตสาหกรรมยา ได้รับจากทั่วโลก
และทั้ง ๆ ที่ ปี 2545 อยู่ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา บริษัทยายักษ์ใหญ่ ก็ยังมีผลกำไรลดลงเพียงเล็กน้อย จาก 18.5 % มาอยู่ที่ 17 % ของยอดขาย
คุณเชื่อไหมว่า บริษัทยา 10 บริษัท จากรายชื่อการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์จูน 500 อันดับ ในปี 2545 มีผลกำไรรวมเท่ากับ 3 หมื่น 5 พันล้านเหรียญ
ผลกำไรที่ว่านี้ ยังมากกว่า บริษัททั้ง 490 อันดับที่เหลือ รวมกันเสียอีก
คุณเชื่อไหมว่า เฉพาะปี 2545 ปีเดียว อุตสาหกรรมยา ใช้ ล็อบบี้ยีสต์ ถึง 675 คน จากบริษัทรับล็อบบี้ 138 แห่ง มากที่สุดในกรุงวอชิงตัน และมากกว่าจำนวนสมาชิกรัฐสภา คิดเป็นค่าใช้จ่าย มากกว่า 91 ล้านเหรียญ
คำถามก็คือ บริษัทยาใช้เงินจำนวนนี้ จ้าง ล็อบบี้ยีสต์ ให้ไปใช้เงินอีกจำนวนเท่าไรในวงการเมือง เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับกลับมา สำหรับ ธุรกิจยา ?
ยังมีอะไรที่คุณไม่รู้ และควรต้องรู้ อีกหรือไม่
คำตอบก็คือ มี และมีอีกมากมายก่ายกอง เช่น.....
* ยาใหม่ ไม่ใช่ นวัตกรรม แต่เป็นการดัดแปลง ยาเก่า ที่เรียกว่า ยาต่อ-ท้าย
* ธุรกิจยา ไม่ใช่ ธุรกิจเสรี แต่เป็น ธุรกิจผูกขาด ผ่าน สิทธิบัตร และกลไกแทรกแซงอื่น ๆ
* บริษัทยา ไม่ได้ทำ งานวิจัย แต่ซื้อสิทธิงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานวิจัยของรัฐ หรือบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ แล้วผูกขาดผ่าน สิทธิบัตร เป็นของบริษัทยา
* ตัวอย่างยาแจกฟรี คือการ โฆษณาชวนเชื่อ โดยบวกราคาไว้ ในยาที่จะจำหน่ายจริง
* บริษัทยา ใช้เงิน และค่าตอบแทนรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่รัฐ ฝ่ายการเมือง แพทย์ และ ฯลฯ เพื่อแลกกับกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ , สิทธิผูกขาดยาวนาน , การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อลดทอนการตรวจสอบ , ยอดจำหน่ายยา , ผลกำไรสูงสุด และ ฯลฯ
เราจะไม่ยอมรับความล้มเหลว ตราบใดก็ตาม ที่เรายังสามารถจัดการเงื่อนไขทางการเมืองได้ทั้งหมด
นี่เป็น อหังการ ของ บริษัทยา" ผ่านปากของ อลัน เอฟ. โฮลเมอร์ ประธานสมาคมผู้ผลิตและวิจัยยาของอเมริกา ที่พูดต่อที่ประชุมประจำปี 2545
ที่เจ็บปวดคือ ความจริงนี้ถูกยอมรับโดย เบอร์นาร์ด แซนเดอร์ส สมาชิกสภาผู้แทนฯ จากรัฐเวอร์มอนต์ ที่ว่า...
องค์กรหนึ่งที่ไม่เคยแพ้เลยในรัฐสภา มีแต่ชนะนับร้อยครั้ง องค์กรนั้นคือ อุตสาหกรรมยา
นี่เป็นเรื่องราวบางส่วน ที่ปรากฏในหนังสือ กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ ของ แพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์ ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรก ด้วยทีมแพทย์ เภสัชกร ที่ติดตามการพัฒนาวิจัยยาอย่างใกล้ชิด นำทีมโดย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน, ภญ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์, ภก.สรชัย จำเนียรดำรงการ, ภญ.สุนทรี วิทยานารถไพศาล, ภญ.ดร.ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง และ ภญ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ จากการสนับสนุนของแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เพื่อไขปมดำมืด วงจรอุบาทว์ ของ ระบบฉ้อฉล ใน อุตสาหกรรมยา
และมันก็ไม่ได้จำกัดวงแค่สหรัฐฯ หากแต่ยังหมายถึงทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศของคุณเอง!!!
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 41
น้ำจิ้มต่อท้ายหนังสือ"กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ"
เป็นหนังสือที่ควรมีอ่านประกอบการติดตามศึก CL ไทย- USA อย่างยิ่ง
มาน VSOP มากๆเลยคับ...
ผมได้รับหนังสือ กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ จากน.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดลผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อน หนังสือเล่มนี้มี น.พ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นบรรณาธิการ แต่ผมยังไม่มีเวลาอ่าน
จนกระทั่งมีข่าวเรื่ององค์การอนามัยโลก หรือ WHO สั่งย้าย นายวิลเลียม อัลดิส ผู้แทน WHO ในไทยไปอยู่อินเดีย ทั้งๆที่เพิ่งมาอยู่ได้แค่ 16 เดือนซึ่งปกติจะอยู่กันเทอมละ 4 ปี
เหตุผลที่ถูกย้ายข่าวบอกว่า เพราะสหรัฐฯไม่พอใจที่นายอัลดิส เขียนบทความลงใน น.ส.พ.บางกอกโพสต์ เมื่อเดือนมกราคมเตือนรัฐบาลไทยคิดให้รอบคอบเรื่องทำเอฟทีเอ-เขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ จะทำให้คนไทยต้องใช้ยาแพง กระทบต่อผู้ป่วยไทยหลายล้านคน
ทำให้ผมต้องรีบหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเปิดอ่านอย่างรีบด่วนแค่อ่านบทนำของผู้เขียน พ.ญ.มาร์เซีย แอนเจลล์ อดีตบรรณาธิการ วารสารการแพทย์ นิวอิงแลนด์ที่นิตยสารไทม์ เคยยกย่องให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลของสหรัฐฯในเรื่องสุขภาพ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์สังคม คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ต้องบอกว่า ตกตะลึงงันนึกไม่ถึงว่าวงการยาในสหรัฐฯจะเล่นกันโหดและสกปรกอย่างนี้
ปีที่แล้วและปีนี้ ผมได้รับเชิญไปดูการวิจัยยาใหม่ๆของบริษัทยายักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายแห่งในสหรัฐฯและยุโรป
ต้นเดือนที่ผ่านมาหมาดๆผมเพิ่งเล่าเรื่องการไปดูการวิจัยยาของ โนวาร์ติส และโรช ในสวิส ดูสถาบันวิจัยยา มหาวิทยาลัยไฮเดนเบิร์กในเยอรมัน และ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ ผมเพิ่งเขียนบอกผู้อ่านไปว่า ข้อมูลที่บริษัทยายักษ์ใหญ่สองแห่งบอกกับผมว่า การวิจัยและพัฒนายาแต่ละชนิดจนสามารถผลิตออกจำหน่ายได้ต้องใช้เงินลงทุนในยาแต่ละตัวสูงถึง 880 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 34,000 ล้านบาท
วันนี้ผมเพิ่งจะตาสว่าง เมื่อแพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์นำความจริงมาเปิดเผยว่า เมื่อปี 2544 บริษัทยาได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ออกสู่ตลาดต่อหนึ่งตัวยาสูงถึง 802 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 31,000 ล้านบาท เป็นการให้ข้อมูลที่เว่อมาก
จากการวิเคราะห์อย่างละเอียดของ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในสหรัฐฯ ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนยาใหม่ที่ออกสู่ตลาดในช่วงปี พ.ศ.2537-2543 เพื่อลดความแตกต่างในแต่ละปีแล้วเอาข้อมูลค่าใช้จ่ายการวิจัยของแต่ละปีเหล่านั้นมาใช้
ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการวิจัยหลังหักลดหย่อนภาษีแล้วน้อยกว่า 100 ล้านเหรียญ หรือราว 3,900 ล้านบาทต่อหนึ่งตัวยาในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น ตัวเลขต้นทุนการวิจัยและพัฒนายาตัวยาละ 802 ล้านเหรียญ ที่บริษัทยาบอกกับสาธารณชน จึงเป็นข้อมูลที่โกหกทั้งเพ แต่บวกกำไรเข้าไปเฉยๆ 8 เท่า
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็เชื่อว่าข้อมูลต้นทุนยาตัวละ 880 ล้านเหรียญที่สองบริษัทยายักษ์ใหญ่ที่เพิ่งบอกกับผมเมื่อปลายเดือนก่อนก็น่าจะเข้าข่ายเดียวกัน
แพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์ แฉด้วยว่า ตัวเลข 802 ล้านเหรียญนี้ เป็นตัวเลขจากนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ โจเซฟ ดิมาสิ แห่งศูนย์การศึกษาการพัฒนายาทัฟท์ส เผยแพร่ในสื่อในเมืองฟิลาเดลเฟีย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 โดยแพทย์หญิงมาร์เซีย ระบุว่า ศูนย์ศึกษาแห่งนี้ได้รับทุนสนับสนุนส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมยา(จึงต้องทำข้อมูลเข้าข้างบริษัทยา)สิ่งที่น่าตกใจก็คือ การตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องยาตามวารสารวิชาการเรื่องยา และการแพทย์ต่างๆนั้น มีผลงานวิจัยจำนวนมากที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงจากการกำหนดอย่างตั้งใจของบริษัทยาเพื่อให้แพทย์เชื่อว่ายาใหม่ที่นำออกจำหน่ายมีประสิทธิผลสูงกว่าและปลอดภัยกว่าความเป็นจริง
มิน่า นายวิลเลียม อัลดิส ที่เขียนบทความเตือนรัฐบาลไทยจึงถูกสั่งย้ายด่วนทันที
พรุ่งนี้ผมขอต่ออีกสักวันนะครับ.
**********************************
แพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์ อาจารย์เวชศาสตร์สังคมมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนเปิดโปงธุรกิจยาในสหรัฐฯในหนังสือ The Truth About the Drug Companies หรือพากย์ไทยว่า กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ ว่า
ทุกวันนี้คนอเมริกันต้องจ่ายค่ายาที่ หมอสั่งสูงถึงปีละ 200,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 8 ล้านล้านบาทและต้องจ่ายเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นตัวเลขค่ายาเฉพาะที่จ่ายในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นเองนะครับ
ยังไม่รวมค่ายาที่ขายในตลาดต่างประเทศทั่วโลกอีกมากมายมหาศาลไม่รู้อีกกี่ล้านล้านบาท
อุตสาหกรรมยาสหรัฐฯจึงใช้ความมั่งคั่งและอำนาจดึงดูดทุกสถาบันที่อยู่บนเส้นทางของตนเข้ามาเป็นพวก ได้แก่ สภาคองเกรส สำนักงานอาหารและยา ศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ให้มาเป็นเครื่องมือของตน แพทย์หญิงมาร์เซีย แอน-เจลล์ แฉในหนังสือเล่มนี้ ดังนั้น ผมจึงไม่แปลกใจที่การเจรจา เปิดเขตการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอ ระหว่าง สหรัฐฯกับไทย เรื่อง ยา และสถาบันการเงินจึงเป็นสองหัวข้อหลักที่ชี้เป็นชี้ตายผลการเจรจานอกเหนือจากเรื่อง ซอฟต์แวร์
ยา-สถาบันการเงิน-นํ้ามัน เป็น 3 ธุรกิจหลักที่ทำกำไรสูงสุดในสหรัฐฯหลังจากที่ชาวอเมริกันรู้ทันเล่ห์บริษัทยายักษ์ใหญ่ที่มีการบวกต้นทุนการวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆแพงเกินจริงถึง 8 เท่าทำให้คนอเมริกันเริ่มต่อต้านการตั้งราคายาอย่างละโมบของอุตสาหกรรมยา
ดังนั้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทยาจึงพยายามที่จะกล่อมลูกค้าด้วยข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านการประชาสัมพันธ์และถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ซํ้าแล้วซํ้าเล่าในเรื่องการวิจัย และ นวัตกรรมยาเพื่อพัฒนาตัวยาใหม่ๆออกมารักษาโรค
แต่แพทย์หญิงมาร์เซีย แอนเจลล์ก็ได้แฉให้เห็นถึงความหลอกลวงของบริษัทยาว่ามีการวิจัยและพัฒนายาใหม่ออกมาน้อยมาก ยาใหม่ ที่บริษัทยาผลิตออกมาขาย ส่วนใหญ่ ไม่ใช่ยาใหม่ที่แท้จริง แต่เป็นการ ดัดแปลงยาเก่าที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ยาพวกนี้เรียกว่า ยาต่อท้าย หรือ me-too drugโดยการฉกฉวยส่วนแบ่งตลาดของยาตัวที่ทำกำไรดีอยู่แล้วแล้วผลิตบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายคลึงกับยาที่ขายดีที่สุดออกมาขายต่อ
แพทย์หญิงแอนเจลล์ได้ยกตัวอย่าง ยาสแตติน ซึ่งใช้ ลดคอเลสเทอรอล ปัจจุบันมีขายอยู่ในตลาดถึง 6 ชนิด คือ Mevacor, Lipitor, Zocor, Pravachol, Lescolและตัวใหม่ล่าสุดคือ Crestor ยาใหม่ทุกตัวล้วนปรับเปลี่ยนมาจากตัวแรกที่ขายดิบขายดี เห็นความเจ้าเล่ห์ของบริษัทยาหรือยัง ยาอย่างเดียวกันแต่ทยอยผลิตใหม่ออกมาเรื่อยๆ ใส่โน่นนิดใส่นี่หน่อย แล้วบอกว่าเป็นยาใหม่ดีกว่าเดิม ขายแพงกว่าตัวเดิม ดร.ชารอน เลไวน์ ผู้ช่วยประธานบริหาร กลุ่มการแพทย์ไกเซอร์เปอร์มาเนนเต ช่วยแฉกลวิธีสร้างยาใหม่ของบริษัทยาในหนังสือเล่มนี้ด้วยว่า
ถ้าผมเป็นผู้ผลิต ผมสามารถเปลี่ยนโมเลกุลหนึ่งแล้วได้รับสิทธิบัตรยาต่อไปอีก 20 ปี และสามารถจูงใจให้แพทย์เขียนใบสั่งและให้ผู้บริโภคเรียกร้องต้องการรูปแบบถัดไปของยา...เพราะสิทธิบัตรยาเดิมของผมกำลังจะหมดอายุ
แล้วทำไมผมจะต้องจ่ายเงินให้ กับการหายาที่ใหม่จริงๆซึ่งมีความแน่นอนน้อยกว่า มากกว่าจะค้นพบ
ดังนั้น ยาใหม่ ที่เป็น นวัตกรรมที่บริษัทยาอ้างว่าต้องใช้ ต้นทุนแพงมากในการวิจัยและพัฒนา จึงมีออกสู่ตลาดน้อยมาก และยาใหม่ ที่ออกสู่ตลาดส่วนใหญ่ก็เป็นยาที่เกิดจากการวิจัยของสถาบันวิจัยในมหา-วิทยาลัยและการวิจัยที่ใช้เงินจากภาษีของประชาชน ไม่ใช่เงินลงทุนโดยตรงของบริษัทยา ผมไปดูมาแล้วก็เพิ่งถึงบางอ้อ ยอมรับว่าหลายอย่างในหนังสือเล่มนี้เป็นความจริง ผมก็ได้แต่หวังว่า รัฐบาลไทยจะไม่ทำเอฟทีเอกับสหรัฐฯให้คนไทยต้องเป็นเหยื่อของบริษัทยาสหรัฐฯเหมือนคนอเมริกัน ขนาดอเมริกันด้วยกันเอง บริษัทยาเขายังไม่ละเว้น แล้วคนไทยจะไปเหลืออะไร
ที่มา : คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย
โดย ลม เปลี่ยนทิศ
นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 22-23 มิถุนายน 2549
เป็นหนังสือที่ควรมีอ่านประกอบการติดตามศึก CL ไทย- USA อย่างยิ่ง
มาน VSOP มากๆเลยคับ...
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 42
กำลังอ่านเรื่องกระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติอยู่คะ เป็นหนังสือที่ดีมากๆจริงๆ
คุณ SAN ตอบได้ถูกใจมากคะ โลกนี้มีอะไรมากกว่าที่เราคิดว่าเรารู้เยอะ
มีข้อมูลเรื่องเข้าถึงเอดส์
คนที่ติดเอดส์ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ค้ากามอย่างที่เราๆเข้าใจ
แม่บ้านมากมายนับเป็นหมื่นๆคน ติดเอดส์จากสามี
ผู้หญิงเป็นหมื่นๆคนติดเอดส์จากแฟน และผู้ชายเป็นหมื่นคนติดเอดส์จากแฟนของตนเพราะเธอติดมาจากแฟนเก่า
คนที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับแฟน กับคนรัก แล้วติดเอดส์ คนพวกนี้เราน่าจะเห็นใจเขาหรือประณามเขาว่าเขาไม่รักตัวเอง
คนไทยนั่งนอนรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเก่า
เอ.....อาการเกลียดหน้าเหลี่ยมฝังลึกไปหรือเปล่าคะ
คนไทยที่ไหนนั่งกินนอนกิน พี่ไม่ทราบ
พี่คิดว่าชาวนาชาวไร่ กรรมกรไทยเขาขยัน เขาปากกัดตีนถีบ เขาสู้เพื่อตัวเองและครอบครัว แบบที่ลูกชนชั้นกลางในกรุงเพคงใช้ชีวิตหาเช้าวันนี้กินพรุ่งนี้อย่างเขาได้ไม่เกินเจ็ดวัน
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
พี่กินข้าวด้วยความรำลึกถึงบุญคุณของชาวนา ชนชั้นที่ให้ผู้มีอันขะกินอย่างพี่เอารัดเอาเปรียบมาชั่วหน้าตาปี
คุณ SAN ตอบได้ถูกใจมากคะ โลกนี้มีอะไรมากกว่าที่เราคิดว่าเรารู้เยอะ
มีข้อมูลเรื่องเข้าถึงเอดส์
คนที่ติดเอดส์ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ค้ากามอย่างที่เราๆเข้าใจ
แม่บ้านมากมายนับเป็นหมื่นๆคน ติดเอดส์จากสามี
ผู้หญิงเป็นหมื่นๆคนติดเอดส์จากแฟน และผู้ชายเป็นหมื่นคนติดเอดส์จากแฟนของตนเพราะเธอติดมาจากแฟนเก่า
คนที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับแฟน กับคนรัก แล้วติดเอดส์ คนพวกนี้เราน่าจะเห็นใจเขาหรือประณามเขาว่าเขาไม่รักตัวเอง
คนไทยนั่งนอนรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเก่า
เอ.....อาการเกลียดหน้าเหลี่ยมฝังลึกไปหรือเปล่าคะ
คนไทยที่ไหนนั่งกินนอนกิน พี่ไม่ทราบ
พี่คิดว่าชาวนาชาวไร่ กรรมกรไทยเขาขยัน เขาปากกัดตีนถีบ เขาสู้เพื่อตัวเองและครอบครัว แบบที่ลูกชนชั้นกลางในกรุงเพคงใช้ชีวิตหาเช้าวันนี้กินพรุ่งนี้อย่างเขาได้ไม่เกินเจ็ดวัน
เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
พี่กินข้าวด้วยความรำลึกถึงบุญคุณของชาวนา ชนชั้นที่ให้ผู้มีอันขะกินอย่างพี่เอารัดเอาเปรียบมาชั่วหน้าตาปี
just one life, use it!
-
- Verified User
- โพสต์: 743
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 43
[quote="san"]
โค้ด: เลือกทั้งหมด
อย่าง ที่เป็นข่าวอยู่ โรคเอดส์ เป็นโรคที่ป้องกันได้นะครับ
ตั้งแต่รู้เรื่องเกี่ยวกับโรคเอดส์ ผมว่าคนที่ติดเชื้อหลังปี 1984 ก็ไม่สมควรได้รับการรักษาฟรีแล้วด้วยซ้ำ (นอกจากบุคคลากรที่มีความเสี่ยง เป้นต้น)
คนที่ออกมาโวยวาย อยากได้สิทธิบัตร ทำไมไม่คิดให้ได้ตั้งแต่ก่อนติดล่ะครับ? อย่าอ้างว่าไม่มีความรู้นะครับ?
ถ้าเป็นโรคอื่น ที่เลี่ยงไม่ได้ อย่างเบาหวาน โรคทางกรรมพันธุ์อย่างอื่นก็ยังว่าไปอย่างนะครับ
นี่โรคเอดส์ ผมว่า ถ้าไม่มองเรื่อง ความเมตตา แล้วผมว่านะ ...
-
- Verified User
- โพสต์: 577
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 46
อ่านแล้วเศร้า นะครับ ...
นึกถึงหนังย้อนยุคของชาวตะวันตก สมัยก่อนที่มีกษัตริย์ ที่ชอบขูดรีดภาษี ชาวบ้าน แล้วก็จะมี Hero ขึ้นมา ต่อสู้ จนได้รับชัยชนะ ...
การต่อสู้สมัยก่อน ใช้อาวุธ ฆ่ากัน
ตอนนี้ ใช้สื่อ การลงมติ ในสภา ใช้เสียง สส. สว.
Hero คนเดียวแบบสมัยก่อน อาจจะทำอะไรไม่ได้แล้ว ...
ถ้าบริษัทยา สามาร control เสียงในสภาได้ (อาศัยทุนบริจาคพรรค ควบคุม)
สมมติ ... คุมจนได้ กฎหมาย ขยายอายุสิทธิบัตร จาก 17 เป็น 20 ปี
จะมี Hero คนไหน มาบอก ยกเลิกได้ และกระบวนการบกเลิกคง กินเวลานานแสนนานถึงแม้จะมีอีกฝ่ายเข้ามาบริหารแทน
....
ไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบใด ที่สามารถ support แก้ไขปัญหาได้ทุกกรณี
อย่างเรื่อง ยาต้านไวรัสเอดส์ ... ถ้า CL ของไทยเป็นผลสำเร็จ จะบอกว่า เป็นการสนับสนุนให้คนกลัวเอดส์ลดลงหรือเปล่า ... คนสำส่อนจะมากขึ้นหรือเปล่า เพราะ ยาหาซื้อได้ถูกแล้ว ... จะแบ่งอย่างไรในคนติดเอดส์ ว่า คนนี้สมควรได้รับยาถูกเพราะ ติดเอดสืโดยไม่ได้ตั้งใจ คนนี้สมควรได้รับการลงโทษ ได้รับยาแพง ๆ ซะ เพราะ ติดมาจากการสำส่อน ..
...
เพราะ ไม่มีอะไรสมบูรณ์ เราจึงต้องเลือก ... เพราะ การเลือก มันดีกว่าไม่เลือกอะไรเลย หรือ เราเอง ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไม่เลือกเลย เพราะ มีแต่ 2 choice ไม่มี choice ที่ 3 ว่างดออกเสียง
...
นึกถึงหนังย้อนยุคของชาวตะวันตก สมัยก่อนที่มีกษัตริย์ ที่ชอบขูดรีดภาษี ชาวบ้าน แล้วก็จะมี Hero ขึ้นมา ต่อสู้ จนได้รับชัยชนะ ...
การต่อสู้สมัยก่อน ใช้อาวุธ ฆ่ากัน
ตอนนี้ ใช้สื่อ การลงมติ ในสภา ใช้เสียง สส. สว.
Hero คนเดียวแบบสมัยก่อน อาจจะทำอะไรไม่ได้แล้ว ...
ถ้าบริษัทยา สามาร control เสียงในสภาได้ (อาศัยทุนบริจาคพรรค ควบคุม)
สมมติ ... คุมจนได้ กฎหมาย ขยายอายุสิทธิบัตร จาก 17 เป็น 20 ปี
จะมี Hero คนไหน มาบอก ยกเลิกได้ และกระบวนการบกเลิกคง กินเวลานานแสนนานถึงแม้จะมีอีกฝ่ายเข้ามาบริหารแทน
....
ไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบใด ที่สามารถ support แก้ไขปัญหาได้ทุกกรณี
อย่างเรื่อง ยาต้านไวรัสเอดส์ ... ถ้า CL ของไทยเป็นผลสำเร็จ จะบอกว่า เป็นการสนับสนุนให้คนกลัวเอดส์ลดลงหรือเปล่า ... คนสำส่อนจะมากขึ้นหรือเปล่า เพราะ ยาหาซื้อได้ถูกแล้ว ... จะแบ่งอย่างไรในคนติดเอดส์ ว่า คนนี้สมควรได้รับยาถูกเพราะ ติดเอดสืโดยไม่ได้ตั้งใจ คนนี้สมควรได้รับการลงโทษ ได้รับยาแพง ๆ ซะ เพราะ ติดมาจากการสำส่อน ..
...
เพราะ ไม่มีอะไรสมบูรณ์ เราจึงต้องเลือก ... เพราะ การเลือก มันดีกว่าไม่เลือกอะไรเลย หรือ เราเอง ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไม่เลือกเลย เพราะ มีแต่ 2 choice ไม่มี choice ที่ 3 ว่างดออกเสียง
...
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 48
เห็นด้วยครับ รู้สึกเหมือนกันเลยBoring Stock Lover เขียน:สิ่งหนึ่งที่ไม่ชอบเวลาที่เราตอบโต้ เรามักใช้ภาษาลีลาเชิงอารมณ์มาก แต่ข้อเท็จจริงน้อย เวลาอ่านที่เวบที่ต่อต้าน จะมีข้อเท็จจริง แต่อาจจะหยิบจับเฉพาะมุมบางมุมหรือเปล่า ไม่ทราบได้ มันดูดีน่าเชื่อถือกว่าของเราที่เล่นไปที่อารมณ์ความรู้สึก
ตอนนี้สนใจว่าในการดำเนินการของเราเป็นไปตามกติกาที่ตกลงกันใน wto หรือเปล่า ฝ่ายเราก็บอกว่าเราทำ ฝ่ายเขาบอกว่าไม่ได้ทำ
นอกเรื่องนิดหนึ่ง แล้วที่เราเคยบอกว่าเราผลิตยารักษาเอดส์ได้ V1 อะไรเนี่ย ตอนนี้มันเป็นยังไงแล้ว
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 49
เพื่อความสบายใจของพวกเราทุกคน พี่อ่านเรื่อง "กระชากหน้ากากธุรกิจขาข้ามชาติ" ได้ห้าสิบกว่าหน้า เลยรู้ว่าไม่ใช่แค่พวกราชาวไทยที่โดนหลอก
ประชาชนชาวสหรัฐก็โดน
แคนาดาบังคับใช้ CL มากที่สุดในโลก ราคายาเลยถูกกว่าในอเมริกา
บริษัทยาก็ให้เงิน สส เพื่อแก้กฏหมายห้ามนำเข้ายาจากแคนาดา
ดีใจจัง คิดว่ามีแต่คนไทยที่เลือกนักการเมืองขี้โกง ฝรั่งเขาก็มีนักการเมืองขี้โกงเหมือนกัน
แฮ่ แต่ไม่รู้จะหัวเราะจนน้ำตาไหลเป็นสายเลือดดีหรือว่าไง
เรื่องหนังสือ พี่ซื้อมาจากซีเอ็ดคะ อุ๊ย จะกลายเป็นกระทู้ปั่นหุ้นไปไหมเนี่ย
พี่ว่าซีเอ็ดมีหนังสือดีๆเยอะนะ แถมอยู่ที่โลตัสพระรามสามใกล้บ้าน ขับรถไปทีเดียวได้สองสามเด้ง (ซื้อกับข้าว ตัดผม ซื้อหนังสือ กิยโอบองแปง)
น้อง nearly VI แวะไปซีเอ้ดน่าจะยังมีคะ เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากๆ
อ่านแล้วพี่หายโง่ไปจม มีหลายเรื่องที่คิดแบบเข้าข้างบริษัทยา พอรู้ข้อมูลจริงๆ อึ้งคะ :evil:
ประชาชนชาวสหรัฐก็โดน
แคนาดาบังคับใช้ CL มากที่สุดในโลก ราคายาเลยถูกกว่าในอเมริกา
บริษัทยาก็ให้เงิน สส เพื่อแก้กฏหมายห้ามนำเข้ายาจากแคนาดา
ดีใจจัง คิดว่ามีแต่คนไทยที่เลือกนักการเมืองขี้โกง ฝรั่งเขาก็มีนักการเมืองขี้โกงเหมือนกัน
แฮ่ แต่ไม่รู้จะหัวเราะจนน้ำตาไหลเป็นสายเลือดดีหรือว่าไง
เรื่องหนังสือ พี่ซื้อมาจากซีเอ็ดคะ อุ๊ย จะกลายเป็นกระทู้ปั่นหุ้นไปไหมเนี่ย
พี่ว่าซีเอ็ดมีหนังสือดีๆเยอะนะ แถมอยู่ที่โลตัสพระรามสามใกล้บ้าน ขับรถไปทีเดียวได้สองสามเด้ง (ซื้อกับข้าว ตัดผม ซื้อหนังสือ กิยโอบองแปง)
น้อง nearly VI แวะไปซีเอ้ดน่าจะยังมีคะ เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากๆ
อ่านแล้วพี่หายโง่ไปจม มีหลายเรื่องที่คิดแบบเข้าข้างบริษัทยา พอรู้ข้อมูลจริงๆ อึ้งคะ :evil:
just one life, use it!
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 50
ถ้าต้นทุนการวิจัยเพียงแค่ 3000 ล้าน องค์กรเภสัชเราน่าจะทำวิจัยเองนะ
แทนที่จะมาทะเลาะกัน ซึ่งก็เสียค่าใช้จ่ายดีไม่ดีมากกว่า 3000 ล้าน
คราวที่ผ่านมาเราหมดไปตั้ง 1500 ล้านแล้วนี่แค่ประเทศเดียว อ้าวนอกเรื่องไป
เคยอ่านมาก เขาว่า
สัดส่วนยาที่ออกสู่ตลาดต่อยาที่ทำวิจัยอยู่ที่ 1:10
ระยะเวลาในการวิจัยอย่างต่ำ 6 ปี
เร็วๆนี้ไฟเซอร์ก็เพิ่งประกาศว่าล้มเลิกการออกตลาดของยาอีกตัวสองตัว หุ้นตกทันที แล้วก็ยังไม่ฟื้นจากพิษเก่าที่มียาคู่แข่งออกมาแข่งด้วยทั้งๆที่มีสิทธิบัตรนี่แหละ แต่อีกบรฺษัทก็สามารถคิดค้นและได้สิทธิบัตรเช่นกัน เมิร์คนี่ก็เพิ่งฟื้นหลังจากที่โดนมรสุมว่าไม่มียาใหม่ๆ สำหรับนักลงทุนอย่างพวกเรา บรรดาเกจิอาจารย์เขาเตือนไว้ว่า ยาเป็นธุรกิจที่เสี่ยงมากถึงมากที่สุด
ไม่รู้ว่ามีระบบ open source ในอุตสาหกรรมยาหรือเปล่า
แทนที่จะมาทะเลาะกัน ซึ่งก็เสียค่าใช้จ่ายดีไม่ดีมากกว่า 3000 ล้าน
คราวที่ผ่านมาเราหมดไปตั้ง 1500 ล้านแล้วนี่แค่ประเทศเดียว อ้าวนอกเรื่องไป
เคยอ่านมาก เขาว่า
สัดส่วนยาที่ออกสู่ตลาดต่อยาที่ทำวิจัยอยู่ที่ 1:10
ระยะเวลาในการวิจัยอย่างต่ำ 6 ปี
เร็วๆนี้ไฟเซอร์ก็เพิ่งประกาศว่าล้มเลิกการออกตลาดของยาอีกตัวสองตัว หุ้นตกทันที แล้วก็ยังไม่ฟื้นจากพิษเก่าที่มียาคู่แข่งออกมาแข่งด้วยทั้งๆที่มีสิทธิบัตรนี่แหละ แต่อีกบรฺษัทก็สามารถคิดค้นและได้สิทธิบัตรเช่นกัน เมิร์คนี่ก็เพิ่งฟื้นหลังจากที่โดนมรสุมว่าไม่มียาใหม่ๆ สำหรับนักลงทุนอย่างพวกเรา บรรดาเกจิอาจารย์เขาเตือนไว้ว่า ยาเป็นธุรกิจที่เสี่ยงมากถึงมากที่สุด
ไม่รู้ว่ามีระบบ open source ในอุตสาหกรรมยาหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 1250
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 51
ถ้าเราเอากระป๋องสีไปพ่น ถนน ทำนองลบหลู่ คนพ่นจะโดนฟ้องหรือว่า การทางจะโดนฟ้องข้อหามีข้อความหมิ่นอยู่บนถนนครับ :?:bsk(มหาชน) เขียน:*****************************
ตกลงเพราะซาบซึ้งหรือเพราะจะถูกฟ้องกันแน่
และคำ youtube อ่านอย่างไรถูกคับ ยูทิวบ์ หรือยูทูบ
ผมมองเห้นเหมือนพี่ฉัตรชัยนะครับเรื่องยา ถ้าเราลงขันถือหุ้นเพราะว่าได้ข่าวมาว่าบริษัทนี้จะผลิตยาต้านเอดส์ได้ เราแบกรับความเสี่ยงเรื่องเงินสุญ ถ้ายามันใช้ไม่ได้ผลหรือเงินลงทุนเป็น 0 แต่ว่าการเอาสิทธิมาต่อต้านมันยังไงอยู่ครับ ส่วนหนึ่งเห็นใจคนปว่ยที่ยากจน แต่ก็ต้องเห็นแก่การค้นคิดของเค้าด้วยครับ ถ้าเค้าไม่คิดได้เราก็ไม่ละเมิดเค้า ตรรกะมันดูเห็นแก่ได้ยังไงๆอยู่ ประเทศไทย น่าจะดังอันดับต้นๆเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ดูอย่างหนัง,เพลง,โปรแกรม หรือว่า วินโดว มีน้อยมักนะที่จะใช้ของแท้ (จีนน่าจะละเมิดอันดับต้นๆเหมือนกัน แต่ ทางการก็สนับสนุนคนในประเทศให้ใช้ลีนุกไปเลย)
สนับสนุนให้ต่อรองดูครับ เพราะว่ายังไงๆ ก็ต้องพึ่งความรู้ที่เค้าคิดค้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 52
ลองหาเรื่อง cl ของแคนาดาแต่ยังไม่เจอ แต่เจอนี่
Pfizer Wins Celebrex Patent Decision in Canadian Court, Launch of Generic Product by Novopharm Prohibited until 2014
NEW YORK--(BUSINESS WIRE)--Pfizer Inc reported today that the Federal Court of Appeal of Canada has reversed a lower court ruling that would have permitted generic manufacturer Novopharm to launch a competitor product to Celebrex. The appellate court issued an order prohibiting regulatory approval of Novopharms product in Canada until Celebrexs compound patent expires in November 2014.
Todays ruling is an important one not only for Pfizer, but also for patients in Canada and elsewhere, said Pfizer General Counsel Allen Waxman. Without appropriate protection of intellectual property, Pfizer and other research-based pharmaceutical companies would not be able to make the tremendous investments required to develop new, life-saving medicines that are so critical to public health.
Novopharm may seek to appeal the decision to the Supreme Court of Canada.
มีช่องทางศาลอีก อย่างนี้ก็ยังอีกหลายยกมั่ง
Pfizer Wins Celebrex Patent Decision in Canadian Court, Launch of Generic Product by Novopharm Prohibited until 2014
NEW YORK--(BUSINESS WIRE)--Pfizer Inc reported today that the Federal Court of Appeal of Canada has reversed a lower court ruling that would have permitted generic manufacturer Novopharm to launch a competitor product to Celebrex. The appellate court issued an order prohibiting regulatory approval of Novopharms product in Canada until Celebrexs compound patent expires in November 2014.
Todays ruling is an important one not only for Pfizer, but also for patients in Canada and elsewhere, said Pfizer General Counsel Allen Waxman. Without appropriate protection of intellectual property, Pfizer and other research-based pharmaceutical companies would not be able to make the tremendous investments required to develop new, life-saving medicines that are so critical to public health.
Novopharm may seek to appeal the decision to the Supreme Court of Canada.
มีช่องทางศาลอีก อย่างนี้ก็ยังอีกหลายยกมั่ง
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 53
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ปล. คุณ san เป็นหมอรึเปล่าครับ? ถ้าใช่ก็ขอทำความเคารพรุ่นพี่ครับ
อ่า....ป่าวครับ ชาตินี้ไม่มีวาสนาครับ เกลียด ชีวะฯ เข้าใส้ อิอิอิ ถ้าสมมติ.....เข้าไปเรียนก็สงสัย จองอันดับ บ๊วยประจำห้องแน่นอนครับ อิอิอิ
ผ่านไป 20 กว่าปี ตอนหลานสาวผม....ตอนเขาเริ่มเรียนที่เตรียม เราก็กล่อมให้หลานสาวสอบหมอ เขาก็ไม่เอา เชื้อผมมันแรง ( เชื้อของความหัวแข็งครับ อิอิอิ ) หลานสาวผมพูดเหมือนผมเมื่อก่อนเลย สั้นๆ ว่า ไม่เอาชีวะ ห้ามบังคับ....อิอิอิ ตอนนั้น ก็เลย ไม่รู้จะเกลี้ยกล่อมยังไง ก็ตามใจ.....เขา อยากมาเป้นพวกใช้แรงงานก็ตามใจ ตอนนี้เขาเรียน โท ปิโตร อยู่
ผม.....พวกใช้แรงงานครับ เรียกว่าพวกคอเสื้อสีฟ้า บลูคอลล่าร์ ได้ป่าวหนอ civil ครับ civil
ต้นเดือนหน้าก็ไม่ใช่ civil eng แล้วครับ เบื่องานที่ทำอยู่ครับ
จะไปเป็น ผู้ประกอบการ..... + นักลงทุน ( จริงๆ คือโดนเมียสั่งให้กลับไปอยู่ด้วยกันที่ต่างจังหวัดครับ อิอิอิ )
แล้วคุณ nearly_vi หล่ะครับ ทำงานอยู่ที่ไหนเหรอครับ ยินดีทีได้รู้จักครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ดูเข้าใจคนเป็นดีมากๆ เลยครับ ... ขำๆ นะครับ อย่าโกรธนะครับ
อ่านอีกที มันสะกิดใจ ตะแหง่วๆ บางอย่าง
เจตนาแซวกันแน่ๆแล้วน้องเรา อิอิอิ ตามมาแซวถึงในนี้
ยังไงๆ....เรื่องมันผ่านมาตั้งนานนมแล้ว ครึ่งปีผ่านไปแล้ว ปล่อยมันไปเถอะครับ
อิอิอิ สงสารผมเต๊อะ..........
ธุ มาล่วงหน้าแล้วนะจ๊ะ..............
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 54
ยามวิกาลสงัดเช่นนี้...
ได้เวลาให้ยาอีกชุดแล้วคับ..
ก่อนอื่น กล่าวถึงหนังสือที่แนะนำไปนั้น
อย่างที่คุณพี่ triathlon บอกน่ะคับ
เป็นหนังสือที่มีข้อมูลละเอียดดีมาก มีเชิงอรรถ มีเอกสารอ้างอิงท้ายบท
สามารถไปอ่านต่อยอดได้สำหรับท่านที่คล่องในภาษาอังกฤษ
เพื่อนๆที่สงสัย ข้องใจ อาจจะพบคำตอบในหนังสือเล่มนี้ จริงๆนาคับ
วางตลาดมาปีเศษแล้ว 3 พันเล่มยังขายไม่หมด
312 หน้ากระดาษ ราคา 200 บาทกับคุณค่าที่ได้รับ...
ท่านที่สนใจรีบไปซื้อนะคับ
ตอนที่ผมไปซื้อที่ซีเอ็ดใกล้บ้านก็เหลือเล่มสุดท้ายแล้ว
คุณพี่ triathlon เป็นนักกฎหมาย เป็นนักอ่าน แซงผมไปหลายกิโลม้งแล้วล่ะคับ
ผมเพิ่งจบบทแรก แต่ก็แว้บไปดูบทอื่นๆบ้างแล้ว
มานไม่ใช่แค่กระชากหน้ากากมั้งคับ ต้องเรียกว่า ตีแสกหน้า ประมาณนั้น..
ผมจะเริ่มแจกยาสูตรอีกนะคับคืนนี้ เตรียมอ้วกไว้เลย...
ได้เวลาให้ยาอีกชุดแล้วคับ..
ก่อนอื่น กล่าวถึงหนังสือที่แนะนำไปนั้น
อย่างที่คุณพี่ triathlon บอกน่ะคับ
เป็นหนังสือที่มีข้อมูลละเอียดดีมาก มีเชิงอรรถ มีเอกสารอ้างอิงท้ายบท
สามารถไปอ่านต่อยอดได้สำหรับท่านที่คล่องในภาษาอังกฤษ
เพื่อนๆที่สงสัย ข้องใจ อาจจะพบคำตอบในหนังสือเล่มนี้ จริงๆนาคับ
วางตลาดมาปีเศษแล้ว 3 พันเล่มยังขายไม่หมด
312 หน้ากระดาษ ราคา 200 บาทกับคุณค่าที่ได้รับ...
ท่านที่สนใจรีบไปซื้อนะคับ
ตอนที่ผมไปซื้อที่ซีเอ็ดใกล้บ้านก็เหลือเล่มสุดท้ายแล้ว
คุณพี่ triathlon เป็นนักกฎหมาย เป็นนักอ่าน แซงผมไปหลายกิโลม้งแล้วล่ะคับ
ผมเพิ่งจบบทแรก แต่ก็แว้บไปดูบทอื่นๆบ้างแล้ว
มานไม่ใช่แค่กระชากหน้ากากมั้งคับ ต้องเรียกว่า ตีแสกหน้า ประมาณนั้น..
ผมจะเริ่มแจกยาสูตรอีกนะคับคืนนี้ เตรียมอ้วกไว้เลย...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 55
สิทธิบัตรยา : ค้ากำไร หรือ ค่าชีวิตคน?
2 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่องโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
ความย่อ : ข้อบังคับเรื่องสิทธิบัตร ที่กำลังเป็นหัวข้อเจรจาในการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยและสหรัฐฯ อยู่ในขณะนี้ หากข้อบังคับดังกล่าวบรรลุผลจะส่งผลให้เกิดการจำกัดการแข่งขัน และลดทอนโอกาสในการเข้าถึงยาราคาไม่แพงในประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของโครงการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ในไทย และอาจรวมถึงยาตัวอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งฯลฯ
ข้อบังคับเรื่องสิทธิบัตร ที่กำลังเป็นหัวข้อเจรจาในการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยและสหรัฐฯ อยู่ในขณะนี้ หากข้อบังคับดังกล่าวบรรลุผลจะส่งผลให้เกิดการจำกัดการแข่งขัน และลดทอนโอกาสในการเข้าถึงยาราคาไม่แพงในประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของโครงการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยโรคเอดส์ในไทย และอาจรวมถึงยาตัวอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งฯลฯ
ปัจจุบัน ยาราคาไม่แพงต่างก็อาศัยยาชื่อสามัญ (Generic drug) ที่ผลิตขึ้นแทนยาต้นตำรับ (Original drug) แต่หากข้อบังคับเรื่องสิทธิบัตรดังกล่าวถูกใช้ จะส่งผลให้ประชาชนนับแสนนับล้านคนขาดโอกาส หรือเข้าไม่ถึงการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากติดสิทธิบัตรยาของบรรดาบริษัทต่าง ๆ ไม่เพียงเท่านั้นข้อบังคับยังใช้ครอบคลุมไปถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีเนื้อหาเข้มงวดและผูกมัดเกินกว่ามาตรฐานที่ได้ตกลงไว้ในองค์กรการค้าโลก (WTO) ด้วย
แต่สำหรับประเทศอินเดีย ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตยาราคาถูกแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยการผลิตยาชื่อสามัญราคาถูกอินเดียกว่า 67% ถูกส่งไปใช้ในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ขณะนี้กำลังต่อสู้กับบริษัทยาที่ถูกรัฐบาลอินเดียปฏิเสธการยื่นขอสิทธิบัตรยา บริษัทยาจึงยื่นฟ้องดำเนินคดีกับรัฐบาลอินเดียที่ยืนเคียงข้างประชาชนของตน และรักษาไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงยาและการรักษาที่จำเป็นต่อชีวิต มากกว่าเงินและผลกำไร
นี่จึงเป็นบทเรียนสำคัญแก่รัฐบาลไทย และรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาได้หันมาศึกษา และหันมาดูแลประชาชน แม้ว่าต้องเดินหน้าชนกับบริษัทยาก็ตาม!
อินเดีย ปะทะ โนวาร์ติส
ประชากรกว่า 100,000 คนทั่วโลกมีชีวิตอยู่ได้ด้วยยาราคาถูกที่ผลิตจากประเทศอินเดีย ซึ่งกฎหมายของประเทศอินเดียมุ่งเน้นช่วยชีวิตผู้คนที่สำคัญมากไปกว่าเรื่องของสิทธิบัตร แต่บริษัทโนวาร์ติส (Novartis) กลับกำลังฟ้องร้องรัฐบาลอินเดียเพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายสำคัญนี้
ในอินเดีย บริษัทโนวาร์ติสขายยากลีเวค (Gleevec) ในราคา 2,500 เหรียญสหรัฐ (120,000 รูปี) ต่อผู้ป่วยต่อเดือน แต่บริษัทยาชื่อสามัญของอินเดียสามารถขายได้ในราคา 175 เหรียญสหรัฐ (8,000 รูปี) ต่อผู้ป่วยต่อเดือนเท่านั้นเอง ซึ่งยารักษาโรคมะเร็ง หรือกลีเวคนี้ เป็นยารักษาโรคมะเร็งในเลือด หรือลูคิเมีย ผลิตและจำหน่ายไปทั่วโลก โดยบริษัทโนวาร์ติสของสวิตเซอร์แลนด์ และบริษัทยาในอินเดีย อาทิ Cipia, Hetero, Natco และ Ranbaxy
ยากลีเวคเป็นยาที่ได้สิทธิบัตรในประเทศไทยเช่นกัน ราคาขายในโรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 100 มิลลิกรัม เม็ดละ 1,000 บาท ส่วนราคาขายในโรงพยาบาลเอกชนเม็ดละ 1,300 บาท ส่วนขนาด 400 มิลลิกรัม ราคาขายอยู่ที่ขวดละ 109,000 บาท หนึ่งขวดมี 30 เม็ด เม็ดละประมาณ 3,600 บาท ผู้ป่วยต้องกินทุกวันวันละ 1 เม็ด ดังนั้นผู้ป่วยคนไทยจะต้องเสียค่ายา 109,000 ต่อเดือน ขณะที่ราคาชื่อสามัญในอินเดียเม็ดละ 30 บาท
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 บริษัทโนวาร์ติส ซึ่งเป็นบริษัทยาจากสวิตเซอร์แลนด์ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีกับสำนักงานสิทธิบัตรของอินเดีย ฐานปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรยารักษามะเร็ง Imatinib Mesylate หรือในชื่อทางการค้า กลีเวค (Gleevec) ต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาและท้าทายกฎหมายสิทธิบัตรของอินเดีย
ด้านผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ อินเดีย กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสาธารณสุขประชาชนของอินเดีย และองค์กรหมอไร้พรมแดน (MSF) ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณกุศลด้านการแพทย์นานาชาติ ก็กำลังเรียกร้องให้บริษัทโนวาร์ติสถอนฟ้องคดีทันที โดยมีประชาชนหลายแสนคนจาก 150 ประเทศทั่วโลกร่วมลงชื่อออนไลน์ในครั้งนี้ด้วย
(ร่วมลงชื่อคัดค้านการยื่นฟ้องรัฐบาลอินเดียได้ที่
http://www.msf.org/petition_india/international.html )
การผลิตยาชื่อสามัญ (มีราคาถูกกว่ายาที่ติดสิทธิบัตรอยู่มาก) ในอินเดีย เพราะรัฐบาลมีการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร หรือ Compulsory License (CL) เป็นมาตรการหนึ่งในกฎหมายสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นตามความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (Trade-related Aspects of Intellectual Property - TRIPS) ขององค์การการค้าโลก ถือเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะถ่วงดุลระหว่างเจ้าของสิทธิบัตรกับประชาชนผู้บริโภค
โดยรัฐมีสิทธิจะไปนำของที่มีความจำเป็นยิ่งต่อชีวิต เช่นยาที่ติดสิทธิบัตรมาผลิตเองและขายในราคาถูกหรือให้ฟรีแก่ประชาชน หากยังผลิตไม่ได้ก็สามารถให้ประเทศอื่นที่มีความสามารถผลิตแทนได้ โดยรัฐต้องจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรด้วยเช่นกัน
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 56
สิทธิบัตร ผูกขาดชีวิตคน?
กระทรวงสาธารณสุขของไทยก็เคยประกาศใช้มาตรการนี้เช่นกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วในการผลิตยาต้านไวรัส เอฟาไวแรนซ์ ซึ่งเป็นยาต้านไว้รัสเอชไอวี และยาเอฟฟาไวแรนซ์ที่สั่งผลิตจากอินเดียโดยใช้มาตรการนี้และจะมาถึงไทยในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ ทำให้ยาดังกล่าว ที่ปกติแล้วสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซื้อจากบริษัทเม็ดละ 73 บาท แต่หากใช้มาตรการบังคับใช้สิทธินำเข้าจากอินเดียราคาจะลงไปอยู่ที่ 6-12 บาทต่อเม็ด ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไทยประหยัดงบประมาณได้มากถึง 50-80%
ขณะที่ยาต้านไวรัสคาเร็ทตรา (kaletra) นั้น ราคาขายปกติอยู่ที่ 11,580 บาท/คน/เดือน เมื่อประเทศไทยเริ่มใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิอย่างจริงจัง บริษัทก็ติดต่อลดราคาลงเหลือ 5,900 บาท/คน/เดือน อย่างไรก็ตาม หากใช้มาตรการนี้นำเข้าจากอินเดียราคาจะอยู่ที่ประมาณ 4,000/คน/เดือน
ย้อนกลับไปยัง บริษัทโนวาร์ติสที่ยื่นขอสิทธิบัตรในอินเดียและได้สิทธิผูกขาดชั่วคราวเมื่อปี 2541 โนวาร์ติสยื่นขอสิทธิบัตรยากลีเวคที่สำนักงานสิทธิบัตรที่เมืองเชนไนน์ในรัฐทมิฬนาดูล
ในขณะนั้นอินเดียยังไม่ให้สิทธิบัตรกับยาดังกล่าวจนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 โนวาร์ติสได้รับสิทธิผูกขาดตลาด เป็นเวลา 5 ปีตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายสิทธิบัตรฉบับเก่าของอินเดีย การให้สิทธิผูกขาดตลาดเป็นไปตามความผูกผันตามข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) ขององค์กรการค้าโลก สำหรับประเทศที่ไม่ได้ให้สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ก่อนปี 2548
ตั้งแต่ปี 2548 เมื่อสำนักงานสิทธิบัตรของอินเดียเริ่มพิจารณาคำขอสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์ สิทธิผูกขาดจะถูกแทนที่โดยสิทธิบัตร (ในกรณีที่คำขอจดสิทธิบัตรผ่านการพิจารณา) หรือถูกยกเลิก (ในกรณีที่คำขอสิทธิบัตรนั้นตกไป) ซึ่งในประการหลังเป็นกรณีของยากลีเวคที่คำขอจดสิทธิบัตรยาไม่ผ่านการพิจารณา
แต่การเข้าถึงยากลีเวคของผู้ป่วยมะเร็งได้รับผลกระทบ จากสิทธิผูกขาดตลาด (Exclusive Marketing Rights-EMR) ทำหน้าที่ผูกขาดเช่นเดียวกับสิทธิบัตร คือขัดขวางไม่ให้บริษัทชื่อสามัญต่าง ๆ ในอินเดียไม่สามารถผลิตยาชื่อสามัญของกลีเวคได้บริษัทเหล่านี้ถูกบังคับให้เก็บสินค้าออกจากตลาดทั้งในอินเดียและประเทศต่าง ๆ
ยกเลิกสิทธิบัตร ต่อชีวิตคน!
กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งได้ยื่นคัดค้านการจดสิทธิบัตรปี 2548 อินเดียแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรโดยผูกพันตามข้อตกลง TRIPS เต็มที่ ขณะเดียวกันคำขอสิทธิบัตรของโนวาร์ติสก็เริ่มเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานสิทธิบัตรในเมืองเชนไนน์ กฎหมายสิทธิบัตรของอินเดียเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปยื่นคัดค้านคำขอฯ ก่อนที่จะออกดังนั้น สมาคมผู้ป่วยโรคมะเร็งของอินเดียได้ยื่นคัดค้านในนามของผู้ป่วยมะเร็งต่อสำนักงานสิทธิบัตรเมืองเชนไนน์เพื่อคัดค้าน
ต่อมาสำนักงานสิทธิบัตร เมืองเชนไนน์ปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรในยากลีเวคเดือนมกราคม 2549 สำนักงานสิทธิบัตรเมืองเชนไนน์ ปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรในยากลีเวค เนื่องจากเป็นเพียงรูปแบบใหม่ของยาเก่าเท่านั้น คำตัดสินของสำนักงานสิทธิบัตรเมืองเชนไนน์ ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งหลายพันคนให้สามารถเข้าถึงยาราคาถูกได้ แทนที่จะถูกยกเลิกสิทธิผูกขาดไปจนถึงปี 2561 และมีผลยกเลิกสิทธิผูกขาดตลาดทันที
นอกจากนี้ คำตัดสินของสำนักงานสิทธิบัตรเมืองเชนไนน์ยังเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญสำหรับการพิจารณาสิทธิบัตรยาของอินเดียนับจากนี้ว่า คำขอสิทธิบัตรที่ไม่ใช่โมเลกุลใหม่จะไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งมียาชื่อการค้าอีกหลายตัวอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารวมทั้งยาต้านไว้รัสเอชไอวี/เอดส์
โนวาร์ติส ท้าทายคำตัดสินของสำนักงานสิทธิบัตรและกฎหมายสิทธิบัตรของอินเดีย วันที่ 17 พฤษภาคม 2549 บริษัทโนวาร์ติส ยื่นฟ้องศาสสูงเมืองเชนไนน์ 2 คดี คดีแรก ฟ้องเพิกถอนคำตัดสินสำนักงานสิทธิบัตร เมืองเชนไนน์ ที่ปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรยากลีเวค โดยคดีนี้ทนายความของสมาคมผู้ป่วยโรคมะเร็งอินเดียจะต้องขึ้นให้การในศาล ฐานะที่เป็นผู้คัดค้านคำขอสิทธิบัตร
การที่โนวาร์ติสท้าทายต่อคำตัดสินของสำนักงานสิทธิบัตรครั้งนี้ ทำให้เกิดความวิตกกังวลต่อผู้ป่วยมะเร็งว่า จะเกิดภาวะขาดยากลีเวคที่เป็นชื่อสามัญในตลาด และยังทำให้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ กังวลว่าจะกระทบต่อยาตัวอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสิทธิบัตร 4 แห่งของอินเดีย เนื่องจากคำตัดสินในกรณีของยากลีเวค สร้างบรรทัดฐานที่สำคัญกับการพิจารณาสิทธิบัตรยา
คดีที่สอง บริษัทโนวาร์ติสฟ้องว่ากฎหมายสิทธิบัตรของอินเดีย ในมาตรา 3 (d) ไม่เป็นไปตามข้อตกลง TRIPS ฉะนั้นจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งตามมาตรา 3 (d) ของกฎหมายสิทธิบัตรของอินเดีย มาตรการป้องกันด้านสาธารณสุขที่สำคัญ มาตรานี้มีเจตนารมณ์ที่จะป้องกันมิให้บริษัทยาได้สิทธิบัตรในยาที่มีการพัฒนาเพียงเล็กน้อย หรือมีข้อบ่งใช้ใหม่ในตัวยาเก่า
เมื่ออินเดียปฏิบัติตามข้อตกลง TRIPS ด้วยให้สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ในปี 2548 อินเดียได้บรรจุมาตรการป้องกันที่สำคัญที่จะปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรในรูปแบบใหม่ของตัวยาเก่าหรือข้อบ่งใช้ใหม่ ในกฎหมายสิทธิบัตรของอินเดียไม่ถือว่านั่นเป็นนวัตกรรมใหม่ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า เป็นขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นจริง ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลง TRIPS ที่ไม่นิยามว่าอะไรคือการประดิษฐ์ใหม่ โดยอนุญาตให้สมาชิกขององค์กรการค้าโลกไปพิจารณาอย่างอิสระถึงวิธีการที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ
ยิ่งไปกว่านั้น คำประกาศโดฮา ยังระบุให้การปฏิบัติตามข้อตกลง TRIPS จะต้องมีมาตรการที่ทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงยาและมาตรา 3 (d) ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ว่านี้ด้วย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 57
ชีวิตในอุ้งมือเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐ
สถานการณ์โลกปัจจุบัน ปัญหาใหญ่ที่ชาวโลกในแถบประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจนกำลังประสบอยู่ คือการเข้าไม่ถึงยาของประชาชน จึงเป็นเหตุให้สมาชิกองค์การการค้าโลกจึงร่วมกันออก ปฏิญญาโดฮา เพื่อเป็นมาตรการสำคัญในการลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาของประชาชน นั่นคือ มาตรการบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาได้ในราคาถูก และการนำเข้าซ้อนเพื่อให้ชาวโลกที่สามสามารถมียาที่จำเป็นต้องใช้ได้ทันสถานการณ์
ทั้งนี้ สิทธิเหล่านี้จะหมดไปทันที ถ้าไทยมีการตกลงทำเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา รวมถึงการขยายอายุของสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี โดยอ้างว่าเป็นการชดเชยความล่าช้าของการดำเนินการให้สิทธิบัตร ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ การผลิตยาชื่อสามัญขึ้นมาแข่งขันจะทำไม่ได้ เพราะต้องรออีก 25 ปี จึงจะสามารถผลิตยาออกจำหน่ายได้ ในทางธุรกิจการรอให้ยาหมดสิทธิบัตร ในขณะที่ผู้คนเคยชินกับการใช้ยาแบรนด์เนม (brand name/trade name) นั้น ๆ มานานถึง 25 ปี จึงมีคู่แข่งผลิตยาชื่อสามัญออกมาสู้หลังหมดสิทธิบัตร พบว่าไม่คุ้มไม่จูงใจ นักธุรกิจหันไปทำธุรกิจอื่นดีกว่า นั่นจึงจะส่งผลระยะยาวต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศในการพึ่งตนเองด้วย
หากตลาดยาถูกผูกขาดโดยการเพิ่มอายุสิทธิบัตรและผูกขาดข้อมูลตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบด้านราคา ทำให้ยาแต่ละชนิดมีราคาแพงขึ้น 0.11.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี(ประมาณ 4-44 ล้านบาท) ซึ่งภายในระยะเวลา 10 ปีของการผูกขาด ยาแต่ละตัวจะแพงขึ้น 13.9 -90.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 556 3,608 ล้านบาท)
จากประมาณการยาขึ้นทะเบียนใหม่เฉลี่ยปีละ 60 ชนิด จะทำให้รายจ่ายของประเทศต้องเพิ่มขึ้น 6.4-65.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งปี (ประมาณ 256-2,636 ล้านบาท)ของการผูกขาดทางการตลาด และหากบริษัทยาสามารถผูกขาดยาได้ถึง 10 ปี ค่าใช้จ่ายด้านยาจะสูงถึง 836.7-5,411.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(ประมาณ 33,468-216,456 ล้านบาท)
ปัจจุบันตัวเลขการบริโภคยาของคนไทยอยู่ที่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 52,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้ 53.6% เป็นการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ
กล้า กล้า หน่อย เพื่อชีวิตคนไทย
ด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ประเด็นปัญหาขณะนี้ คือระบบสิทธิบัตรยาได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากในประเทศที่กำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา เพราะยามีราคาที่แพงมาก รวมถึงบริษัทยายังมีลักษณะที่ผูกขาดตลาดยาอีกด้วย
รศ.ดร.จิราพร กล่าวเสริมว่า การใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยานี้ ที่ในประเทศไทยก็เพิ่งจะเริ่มประกาศใช้ไป หากถามว่าทำไมถึงไม่สนใจ และทำมาตั้งนานแล้ว เนื่องจากมีปัจจัยหลายข้อด้วยกัน
ข้อแรก การที่จะประกาศใช้มาตรการนี้ได้นั้น รัฐบาล และนักการเมืองต้องมีความกล้าหาญมาก ประกอบกับนโยบายของรัฐมนตรี ของกระทรวงก็ต้องเห็นร่วมกันด้วย เพื่อการออกกฎระเบียบ หรือกฎหมายเพื่อทำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
ข้อสอง คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องอยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรงมาก (จำเป็นต้องหาวิธีทางแก้ไข)
ข้อสาม คือ ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เรื่องของความสามารถในผลิตยาในประเทศ จนต้องประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร
สำหรับประเทศไทยแล้ว สาเหตุหลักสำคัญ คือมาจากข้อแรก หรือมาจากเจตจำนงทางการเมืองของคณะรัฐบาล และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข แต่มาตอนนี้ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความกล้าหาญมากที่จะใช้มาตรการดังกล่าวนี้ รวมทั้งปัญหาก็รุมเร้าหนักมาก ทั้งการใช้ระบบประกันสุขภาพ ที่ต้องการให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาได้ แต่ในการบริหารจัดการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. กำลังแบกภาระเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเรื่องยาที่สูงมาก
รศ.ดร.จิราพร กล่าวต่อว่า ความสำเร็จครั้งนี้ จึงถือเป็นเรื่องดีเช่นเดียวกับที่รัฐบาลอินเดียก็ดูแลประชาชนของตน ในการประกาศใช้มาตรการบังคับสิทธิฯ ของไทยจึงเป็นก้าวย่างที่สำคัญ และคงต้องยกความสำเร็จนี้ให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ที่ร่วมมือกันในการเรียกร้อง และพยายามขับเคลื่อนเรื่องสิทธิบัตรยา ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม เครือข่ายผู้ติดเชื้อ รวมถึงเจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาลที่มาสอดรับร่วมกันในครั้งนี้ด้วย
ไม่เพียงแค่นี้ ต่อไปในอนาคต หากตัวแรก (ยา) สามารถทำได้ ก็น่าไม่ยากนักสำหรับตัวต่อ ๆ ไป และไม่ว่ารัฐบาลชุดใดจะขึ้นมาบริหาร จะได้ไม่มีข้อนู่นนี่ ที่แสดงความเกรงกลัวว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งหรือไปกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกาด้วย รศ.ดร.จิราพร กล่าวทิ้งท้าย
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะไม่ถ้วนหน้า
แนวโน้มในอนาคตสำหรับรัฐบาลอินเดีย จากแรงกดดันของบริษัทยาที่เพิ่มมากขึ้นในการเรียกร้องขอสิทธิบัตรนี่เอง อาจส่งผลต่อรัฐบาลอินเดียหันมาทบทวนนโยบายหรือกฎหมายสิทธิบัตรใหม่ เพื่อบรรเทากระแสดังกล่าวก็เป็นได้
การสงวนสิทธิในการผลิตยาชื่อสามัญอาจยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อชาวอินเดีย แต่ไม่แน่ว่ารัฐบาลอาจจะไม่สามารถส่งออก หรือจำหน่ายยาชื่อสามัญในราคาถูกนี้ไปยังประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนาต่าง ๆ ได้อีกแล้ว ถึงเมื่อนั้น รัฐบาลไทยเองก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มความกล้ามากขึ้น เพื่อประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิเหนือสิทธิบัตรยากับตัวยาที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เพื่อความอยู่รอดของคนไทย ไม่เพียงเท่านั้นรัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาศักยภาพเทคโนโลยีการผลิตยา การค้นคว้าวิจัยยาเพื่อเสถียรภาพความมั่นคงของชีวิตคนไทยมากขึ้นอีกด้วย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 58
หมายเหตุ:
TRIPS หรือ ทริบส์ ย่อมาจาก Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights ข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรการค้าโลก เป็นข้อตกลงในองค์กรการค้าโลก เป็นข้อตกลงในองค์กรการค้าโลก ซึ่งกำหนดมาตรการคุ้มครองขั้นต่ำไว้หลายระดับ โดยที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องเลือกและใช้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศสมาชิกขององค์กรการค้าโลก ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นในการเจรจาการค้าโลก รอบอุรุกวัยในปี 2529-2537 ซึ่งเป็นรอบที่สรุปตกลงให้ก่อตั้งองค์กรกรค้าโลกขึ้น ข้อตกงทริปส์มีผลบังคับใช้กับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (หรือ WTO-World Trade Organization) ทั้งหมด
Doha Declaration หรือ คำประกาศโดฮา เกิดจากการเจรจาเกี่ยวกับยาและสุขภาพภายใต้องค์กรการค้าโลกที่เรียกกันว่า ข้อตกลงรอบโดฮา หรือ ปฏิญญาโดฮา นั้น ประเทศสมาชิกมีความเห็นร่วมกันว่า การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและการรักษาพยาบาลผู้ป่วย จึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา ที่ยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตยา
ทำให้การใช้ มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory License) เพื่อผลิตยา ซึ่งเป็นการลดเงื่อนไขการผูกขาดตลาดของบริษัทยาโดยการเปิดโอกาสให้ประเทศที่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข หรือโรคระบาดร้ายแรงภายในประเทศ สามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเพื่อทำการผลิตยา หรือนำเข้าซ้อนในช่วงที่ยานั้นมีสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่ในประเทศได้ เป็นมาตรการของรัฐบาลที่อนุญาตให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐหรือเอกชน) สามารถใช้สิทธิบัตรนั้นได้ โดยจ่ายค่าชดเชยตามสมควรให้แก่ผู้ทรงสิทธิ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงการรักษา องค์การหมอไร้พรมแดน-เบลเยี่ยม (ประเทศไทย) (MSF, Campaign for Access to Essential Medicines)
www.ftawatch.org กลุ่มศึกษาข้อตกลงการเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH)
สุขภาพประชาชนบนความเสี่ยง เอกสารสรุปผลกระทบ ข้อตกลงการค้าเสรีของสหรัฐฯ ส่อเค้าคุกคาม การเข้าถึงยาในประเทศไทย โดย Oxfam International, เมษายน 2549
www.prachatai.com
TRIPS หรือ ทริบส์ ย่อมาจาก Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights ข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรการค้าโลก เป็นข้อตกลงในองค์กรการค้าโลก เป็นข้อตกลงในองค์กรการค้าโลก ซึ่งกำหนดมาตรการคุ้มครองขั้นต่ำไว้หลายระดับ โดยที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องเลือกและใช้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศสมาชิกขององค์กรการค้าโลก ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นในการเจรจาการค้าโลก รอบอุรุกวัยในปี 2529-2537 ซึ่งเป็นรอบที่สรุปตกลงให้ก่อตั้งองค์กรกรค้าโลกขึ้น ข้อตกงทริปส์มีผลบังคับใช้กับประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (หรือ WTO-World Trade Organization) ทั้งหมด
Doha Declaration หรือ คำประกาศโดฮา เกิดจากการเจรจาเกี่ยวกับยาและสุขภาพภายใต้องค์กรการค้าโลกที่เรียกกันว่า ข้อตกลงรอบโดฮา หรือ ปฏิญญาโดฮา นั้น ประเทศสมาชิกมีความเห็นร่วมกันว่า การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและการรักษาพยาบาลผู้ป่วย จึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา ที่ยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตยา
ทำให้การใช้ มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory License) เพื่อผลิตยา ซึ่งเป็นการลดเงื่อนไขการผูกขาดตลาดของบริษัทยาโดยการเปิดโอกาสให้ประเทศที่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข หรือโรคระบาดร้ายแรงภายในประเทศ สามารถใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเพื่อทำการผลิตยา หรือนำเข้าซ้อนในช่วงที่ยานั้นมีสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่ในประเทศได้ เป็นมาตรการของรัฐบาลที่อนุญาตให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐหรือเอกชน) สามารถใช้สิทธิบัตรนั้นได้ โดยจ่ายค่าชดเชยตามสมควรให้แก่ผู้ทรงสิทธิ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงการรักษา องค์การหมอไร้พรมแดน-เบลเยี่ยม (ประเทศไทย) (MSF, Campaign for Access to Essential Medicines)
www.ftawatch.org กลุ่มศึกษาข้อตกลงการเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH)
สุขภาพประชาชนบนความเสี่ยง เอกสารสรุปผลกระทบ ข้อตกลงการค้าเสรีของสหรัฐฯ ส่อเค้าคุกคาม การเข้าถึงยาในประเทศไทย โดย Oxfam International, เมษายน 2549
www.prachatai.com
โนวาร์ติส (Novartis)
2 กุมภาพันธ์ 2550
เรียบเรียงจาก www.wikipedia.org ในคำค้น Novartis
เรียบเรียงโดย สุขุม ชีวา
โนวาร์ติส อินเตอร์เนชั่นแนล เอจี (Novartis International AG) เกิดจากการรวมบริษัทของสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างซิบ้า-ไกกี้ (Cidba-Geigy) และ แซนดอซ แลบอราตอรี่ (Sandoz Laboratories) ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งถือว่าเป็นการควบรวมกิจการครั้งใหญ่สุดในช่วงเวลานั้น
ต่อมาปี พ.ศ. 2541โนวาร์ติสประกาศทำข้อตกลงวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เกี่ยวกับเรื่องไบโอเทคโนโลยีหรือเทคโนโลยีชีวภาพ แต่กลับมีข้อน่าเคลือบแคลงว่าการทำข้อตกลงดังกล่าวเพื่อหวังผลทางธรุกิจ โดยเฉพาะกรณีการศึกษาพืชเพื่อตัดแต่งพันธุกรรม ในที่สุดปี พ.ศ. 2546 โนวาร์ติสได้ยกเลิกข้อตกลง ภายหลังกรีนพีชในสเปนยืนยันว่ามีสิ่งบ่งชี้ว่าโนวาร์ติสนำผลิตผลที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรมมาใช้ในทางการค้าจริง
ไม่เพียงเท่านั้น โนวาร์ติสยังควบรวมกิจการด้านการเกษตรกับแอสตร้าซีนีก้า (AstraZeneca) กลายเป็นซินเจนต้า (Syngenta) เมื่อปี พ.ศ. 2543
ด้านอุตสาหกรรมยาของโนวาร์ติสมีบริษัทสาขาชื่อ แซนดอซ (Sandoz) ได้ผลิตแอลเอสดี (LSD) ซึ่งเป็นยารักษาเกี่ยวกับจิตประสาทที่เคยโด่งดังในช่วงปี พ.ศ. 2490 ถึงช่วงต้นทศวรรษ 2500 ปัจจุบันแซนดอซผลิตยาชื่อสามัญอีกหลายตัว
ล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549) โนวาร์ติสได้เข้าซื้อกิจการอีเมอร์รี่วิล์ล (Emeryville) และชีรอน คอร์ปอเรชั่น (Chiron Corporation) แล้วเปลี่ยนชื่อธรุกิจย่อยของชีรอน คอร์ปอเรชั่นเป็น โนวาร์ติส วัคซีน แอนด์ ไดแอคโนสติค (Novartis Vaccines and Diagnostics) และ โนวาร์ติส ไบโอฟาร์มาซูติค (Novaris BioPharmaceuticals)
ปัจจุบันถือว่าโนวาร์ติสเป็นบริษัทยาข้ามชาติขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จ้างพนักงานกว่า 81,400 คน และทำยอดรายได้เมื่อปี พ.ศ. 2547 ประมาณ 8.5 แสนล้านบาท
http://www.fda.gov/cder/consumerinfo/generics_q&a.htm
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคำนวนจาก 1 USD = 33.9802 บาท
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 59
ชั่งน้ำหนักซื้อยาถูกแลกตัด จีเอสพี เกมอ่อนหัดได้ไม่คุ้มเสีย
ไทยรัฐ 14 พ.ค. 50 - 16:42
ข้อพิพาทในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา จากการที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของสหรัฐฯ (Compulsory Licensing : CL) และสหรัฐฯได้ใช้การตอบโต้กลับด้วยการประกาศเลื่อนสถานะไทยขึ้นสู่บัญชีประเทศ ที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List : PWL) เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา
อาจเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ทำให้ความสัมพันธ์อันดีทางการค้าระหว่างสองประเทศ ที่ดำเนินมายาวนานนับสิบๆปีกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงขึ้น
หากรัฐบาลไม่พยายามหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน และทำให้ประเทศ โดยเฉพาะคนไทยได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งจากเวทีการค้าระหว่างประเทศ และการทำให้ผู้ยากไร้ในประเทศสามารถเข้าถึงยาคุณภาพดีที่มีสิทธิบัตรได้
อย่างที่ทราบกันดีว่า สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 1 ของไทย ในแต่ละปี ประเทศไทยได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากการส่งออกสินค้าสำคัญๆไปยังตลาดสหรัฐฯ จากมูลค่ารวมการค้าระหว่างกันที่มีมากถึงกว่า 1 ล้านล้านบาท
ภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalised System of Preferences : GSP) ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมโครงการกับสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา และได้รับการต่ออายุเป็นครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2550-31 ธ.ค. 2551 นั้น ถือเป็นน้ำหล่อเลี้ยงสำคัญที่ทำให้ภาคการค้า และการผลิตของไทยยังคงเป็นกำลังหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่เงื่อนไขของการให้สิทธิพิเศษนี้แก่ประเทศต่างๆ ก็เป็นที่ทราบชัดแจ้งในหมู่ประชาคมโลกว่า สหรัฐฯได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในหลายๆเรื่อง และเรื่องหนึ่งในนั้น ก็คือ การให้ความคุ้มครองแก่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหากมีการละเมิด ก็อาจเป็นเหตุให้สหรัฐฯตัด GSP ได้!
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทีมเศรษฐกิจ จึงอยากขอให้คนไทยด้วยกัน ตั้งหลักพิจารณาข้อพิพาทนี้อย่างมีสติ และรอบคอบ อย่าใจร้อนด่วนโจมตีสหรัฐฯโดยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงรอบด้านดังข้อมูลต่อจากนี้
ขณะเดียวกัน ก็ขอให้ช่วยกันผลักดันภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาทางออกของปัญหานี้อย่างถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับในเวทีสากลโลก ด้วยความตระหนักดีถึงผลประโยชน์ของประเทศ และประชาชนคนไทยเป็นหลัก
ข้อเท็จจริง
ทันใดที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศใช้ CL โดยรัฐ ต่อยาที่มีสิทธิบัตร 3 รายการ ได้แก่ ยาเอฟวิเรนซ์ (Efavirenz) ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาโลพินาเวียร์+ริโทนาเวียร์ (Lopinavir+Ritonavir) ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรดื้อยา และยาโคลพิโดเกรล ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2549
การขอใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หมายถึงการขอผลิตยาเอง หรือซื้อยาจากผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของสิทธิบัตรโดยตรง ซึ่งโดยปกติการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยหน่วยงานรัฐนั้น จะต้องอยู่ในข่ายเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่นป้องกันการขาดแคลน หรือในยามที่เกิดภาวะสงคราม ฉุกเฉิน เช่นเกิดโรคระบาด
5 เดือนต่อมา ในวันที่ 30 เม.ย.2550 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ก็ได้ประกาศทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าตามมาตรา 301 พิเศษ ด้วยการเลื่อนสถานะของประเทศไทยไปอยู่ในบัญชี PWL ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับประเทศอื่นๆอันได้แก่ จีน รัสเซีย อาร์เจนตินา ชิลี เป็นต้น
สถานะใหม่นี้เป็นระดับที่สูงขึ้นจากปีก่อน ซึ่งไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (Watch List : WL) โดย USTR ระบุว่า การบังคับใช้สิทธิของไทยไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรม ซึ่งนั่นจะทำให้การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรต่างๆในประเทศไทยถูกเข้มงวดขึ้น!!
ย้อนกลับไป 5 เดือนก่อนหน้า กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ มาจากการประกาศนโยบายการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์อย่างถ้วนหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2546 ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินการให้ประชาชนไทยทุกคน มีสิทธิได้รับยาตามรายการที่ปรากฏในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งรวมยาต้านไวรัสเอดส์ด้วย
แม้ในปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขรวมถึง 170,000 ล้านบาท ในจำนวนนั้นเป็นงบประมาณเพื่อการรักษาผู้ป่วยเอดส์โดยเฉพาะ 3,800 ล้านบาท แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน
โดยเฉพาะยาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อรวมกันทั่วประเทศกว่า 1 ล้านคน และในระยะไม่กี่ปีข้างหน้าจะอยู่ในขั้นที่ต้องใช้ยาถึง 500,000 คน ด้วยงบประมาณจำกัดและราคาจำหน่ายสูง เพราะเป็นยาที่มีผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว ที่สุดจะทำให้มีผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ไม่ถึง 20%
โดยปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้ทำคำสั่งซื้อยาลอตแรกภายใต้ CL เป็นยาเอฟวิเรนซ์จากประเทศอินเดียแล้วจำนวน 30,000 โดส จากเป้าหมาย 500,000 โดส โดยยานำเข้าจากอินเดียจะถูกกว่ายาที่ซื้อจากเจ้าของสิทธิบัตรเท่าตัว คือจากค่าใช้จ่ายเดือนละ 1,300 บาท เหลือ 650 บาท ส่วนยาอีก 2 รายการที่เหลือ เชื่อว่าจะดำเนินการในระยะต่อไป
ประเด็นทางการค้า
แม้การประกาศใช้ CL ในครั้งนี้ จะเป็นมาตรการที่สามารถกระทำได้ตามกฎหมายไทย และข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการรักษาชีวิตมนุษย์ แต่เมื่อพิจารณาจากขั้นตอนการดำเนินการที่ได้นำไปสู่ความขัดแย้ง และข้อพิพาททางการค้าแล้ว
จะพบว่า กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการทางกฎหมายเพียงฝ่ายเดียว ทั้งยังไม่ได้ตรวจสอบประเด็นแวดล้อม และผลกระทบด้านต่างๆที่อาจจะตามมา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ดำเนินการตามมารยาท และหลักการ ในการเจรจาทางการค้าไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ และไม่แม้กระทั่งจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์
หากกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ ก็คงจะได้รับรู้ว่า USTR ประกาศเงื่อนไขชัดเจนในการให้สิทธิ GSP ว่า มีรายการใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากการกระทำของตน
ในช่วงระหว่างปี 2534-2536 ประเทศไทยเคยต้องอยู่ในบัญชีประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และพร้อมที่จะถูกตอบโต้ทางการค้าอย่างรุนแรง (Priority Foreign Country : PFC) ก็เพราะปัญหาเรื่องยามาแล้ว จนในที่สุดการตอบโต้ดังกล่าว ก็นำประเทศไทยไปสู่การแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองยาด้วย ก่อนที่ไทยจะได้รับการปรับลดสถานะสู่ประเทศ PWL ในปี 2537 และประเทศ WL ในปีถัดมา
การดำเนินการในเรื่องยา ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของสหรัฐฯ จึงต้องกระทำด้วยความรอบคอบอย่างยิ่งยวด
แต่จากสภาพการณ์ที่ปรากฏ ดูเหมือนว่าผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงในกระทรวงสาธารณสุข จะรวบรัดประกาศการใช้ CL เพียงเพื่อช่วงชิงจังหวะและหาโอกาสสร้างผลงานให้กับตนเองอย่างผิดเวลาและกาลเทศะ ขณะเดียวกันก็พยายามหาคะแนนจากผู้ป่วยโรคเอดส์จนลืมไปว่า ประเทศไทยยังมีผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆที่ต้องการโอกาส ในการเข้าถึงยาคุณภาพดีมีสิทธิบัตรยาอีกเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน หรือผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องเข้าคิวรอล้างไตอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่แพงลิ่ว
ที่สำคัญกระทรวงสาธารณสุขควรคำนึงถึงการผลิตยาให้ได้คุณภาพ มุ่งพัฒนาองค์การเภสัชกรรม หน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถผลิตยาให้ได้มาตรฐานทัดเทียมต่างประเทศ
เพราะจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีวี่แววว่าโรงงานผลิตยาภายใต้องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผ่านมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Product) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ในการผลิตเพื่อการส่งออกได้สำเร็จตามแผนเดิมในเดือน พ.ย. 2549 ขณะที่ผู้ผลิตยาเอกชนบางรายทำสำเร็จไปก่อนหน้า
ในแง่ของการเจรจาการค้า ยิ่งดูเหมือนว่า ประเทศไทยถูกหลอกให้เป็นหัวหอกสำคัญในการคัดค้าน ต่อต้านสหรัฐฯ โดยมีบราซิลเป็นกองหนุนสำคัญ ซึ่งแม้จะเคยออกประกาศเพื่อกดดันสหรัฐฯให้ปรับลดราคายารักษาโรคไวรัสเอดส์ลงมาให้ได้ แต่รัฐบาลบราซิลก็ไม่เคยลุกขึ้นมาประกาศอย่างเป็นทางการ หรือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเดียวกับประเทศไทย ว่าจะใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของสหรัฐฯซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญ บราซิลยังคงดำรงสถานะของตนในบัญชี WL ต่อไปได้โดยปลอดภัย
คงปล่อยให้ไทยเป็นประเทศแรก ที่ขอใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาดังกล่าวเองตามลำพัง จนกลายเป็นประเทศต้นแบบให้อีกหลายประเทศในกลุ่มประเทศโลกที่ 3 ดำเนินรอยตาม
บทสรุป
ในโลกแห่งการค้าที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการช่วงชิงความได้เปรียบ แต้มต่อเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศเล็กๆอย่างไทยเอาชนะคู่แข่งได้ ถึงแม้ว่า กระทรวงพาณิชย์จะมั่นใจว่า ไทยจะไม่ถูกโต้ตอบทางการค้าใดๆ ภายใต้มาตรการ 301 พิเศษ อย่างที่สหรัฐฯขู่มาก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การถูกขึ้นบัญชี PWL นั้น เป็นการบั่นทอนบรรยากาศการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯซึ่งถือเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย
ด้วยมูลค่าส่งออกในปี 2549 ที่มีมากถึง 22,344 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 782,064. 5 ล้านบาท (35 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่ไทยยังได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯมากที่สุดถึงประมาณ 14,320 ล้านเหรียญฯ หรือเท่ากับ 501,200 ล้านบาท จากมูลค่ารวมการค้าระหว่างกันที่สูงลิ่วถึง 30,624.29 ล้านเหรียญฯ หรือเท่ากับ 1.07 ล้านล้านบาท
เฉพาะในปี 2549 จะเห็นได้ว่า สถิติการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของไทย มีมูลค่าสูงถึง 4,252 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 148,820 ล้านบาท โดยสินค้าที่ใช้สิทธิ GSP มีตั้งแต่ อัญมณี เครื่องรับโทรทัศน์ ยาง อุปกรณ์ยานยนต์ ไปจนถึงสินค้าแช่แข็งอย่างกุ้ง
ที่สำคัญ GSP ไม่ใช่สิทธิที่ไทยได้มาฟรีๆ หากแต่ต้องแลกกับการปฏิบัติตามกฎกติกาการค้าโลก และความขะมักเขม้นในเกมการต่อรอง และการรู้เขารู้เรา จนกระทั่งได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือในฐานะเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาพันธ์การค้าโลก
บางทีอาจเป็นการสมควรที่ไทยต้องขึ้นสู่ทำเนียบประเทศ PWL เพราะการประกาศใช้ CL ของไทยไร้ซึ่งความสง่างามตามมารยาททางการค้า ไม่มีการหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรก่อน หากแต่อาศัยข้ออ้างภายใต้กฎที่ว่าการประกาศใช้สิทธิโดยภาครัฐ ว่าไม่จำเป็นต้องเจรจากับผู้ทรงสิทธิบัตร
แต่กระนั้น เราก็ไม่อาจปล่อยให้ผลจากการดำเนินการข้างต้น กระทบต่อระบบการผลิต และส่งออกของประเทศได้ การร่วมกันผลักดันให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขปรับลดท่าทีที่แข็งกร้าวลง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จึงเป็นสิ่งจำเป็น
หลายคนอาจมองว่า การอ่อนข้อให้เท่ากับยอมตกเป็นลูกไล่ของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯต่อไป แต่ถ้าเราจะลองพินิจพิเคราะห์ตัวเลขการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการที่ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯข้างต้นดู ก็จะเห็นได้เองว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ไทยคงไม่ได้ประโยชน์ทางการค้าจากสหรัฐฯมากมายมหาศาลเช่นนี้
คิดผิด ยังคิดใหม่ได้ เมื่อรู้ว่า สิ่งที่ทำไปส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ก็สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้ ถ้าเพียงแต่เราทุกฝ่ายจะตั้งมั่นอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริงจริงๆ.
* * * * * * * * * *
ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตผู้แทนการค้าไทย ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างเป็นกังวลว่า ประเด็นสิทธิบัตรยา และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalised System of Preferences : GSP) ถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความละเอียดอ่อนมาก การดำเนินการใดๆของรัฐบาล จึงต้องทำด้วยความสุขุมรอบคอบ เพราะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ผลการเจรจาของภาครัฐจะต้องไม่ทำให้ประเทศไทยเสียหาย ทั้งกรณีการเข้าถึงยารักษาโรคเอดส์ และการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงชื่อเสียงของประเทศเป็นสำคัญ
ประเด็นที่ผมอยากจะให้ความสำคัญ ก็คือ
1. รัฐบาลควรมีนโยบายชัดเจนในการป้องกัน และรักษาโรคเอดส์อย่างทั่วถึง วันนี้ยังมีผู้ติดเชื้อเอดส์หลายแสนคนที่ไม่สามารถเข้าถึงยารักษาได้ เพราะไม่ได้มีการจัดงบประมาณเพียงพอให้กับกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่รัฐมีนโยบายให้การรักษาฟรีกับประชาชน
นั่นหมายความว่า ไทยต้องพร้อมในเรื่องของงบประมาณเพื่อสุขภาพประชาชนอย่างเพียงพอ
2. ในการเข้าถึงยารักษาโรคเอดส์ที่มีราคาแพง รัฐน่าจะลองคิดถึงช่องทางอื่นๆที่เหมาะสมกับสถานการณ์ดู เช่น พิจารณาลดภาษีนำเข้ายาซึ่งเก็บอยู่ในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 30 ลง กำแพงภาษีนี้ทำให้ยาทุกชนิดมีราคาแพงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
โดยข้อเท็จจริงในปัจจุบัน เราควรจะเก็บภาษีนำเข้ายาหรือไม่ ขณะที่ยาไม่ใช่สินค้าปกติธรรมดา เพราะมีผลต่อสุขภาพ และอนามัยของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ การประกาศ CL (Compulsory Licensing) ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหารอบด้าน อาจไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะต้องพบกับปัญหาเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศเป็นการซ้ำเติมอีก
ประเด็นสำคัญที่อยากให้นำมาพิจารณาก็คือ สถานภาพขององค์การเภสัชกรรมซึ่งมีกำไรในปี 2548 ถึง 989 ล้านบาท และมีกำไรสะสมอยู่ถึง 6,000 ล้านบาท องค์กรนี้น่าจะสามารถวางแผนเพื่อการแก้ไขปัญหาระยาวสำหรับการผลิตยาคุณภาพ และพัฒนาขีดความสามารถของตนให้สูงขึ้น
ผมเชื่อว่า เรายังมีหนทางอื่นอีกที่จะเจรจากับบริษัทยาโดยไม่ต้องใช้ CL โดยการแบ่งผลประโยชน์กันในลักษณะที่เป็น win win win situation คือ ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ ประเทศไทยได้ยาในราคาถูกลง ขณะเดียวกัน บริษัทยาก็ได้ผลตอบแทนในอัตราที่เหมาะสม โดยที่ยังคงได้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
3. หากเจรจากับบริษัทผู้ผลิตยาอย่างจริงจังและเปิดเผยแล้วคุยกันไม่รู้เรื่อง ขณะที่ฝ่ายไทยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ผูกพันองค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ก็อาจสนับสนุนให้มีการประกาศ CL ได้ แต่เรื่องนี้ยังมีความสับสนว่า ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข พาณิชย์ และคณะกรรมการสิทธิบัตร ใครมีอำนาจในการประกาศใช้ CL ที่สำคัญ ก่อนประกาศใช้ เราได้ดำเนินการตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่ถูกต้องแล้วหรือไม่
4. ในประเด็นของโรคเอดส์ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่ควรให้ความสำคัญลำดับต้นๆนั้น กระทรวงสาธารณสุขจะต้องมีแนวทาง และนโยบายที่ชัดเจน การเจรจาปัญหาโรคเอดส์จึงควรแยกออกจากเรื่องของการค้า เพราะเอดส์เป็นเรื่องของชีวิตมนุษย์ แต่การถูกตัด GSP เป็นเรื่องของเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เมื่อมีการนำเอา 2 เรื่องนี้มาเชื่อมโยงกันภายใต้กฎหมายสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษแล้ว หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้เกิดความสมดุลของทั้ง 2 กรณี
ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯให้ความสำคัญแก่การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิบัตรยาซึ่งถือเป็นของรักของหวง ดังนั้น ฝ่ายไทยจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือตัดสินใจใดๆในเรื่องนี้ ก็ขอให้ใช้ความรอบคอบสูงมาก
5. ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจประเทศไทยชะลอตัวลง เช่นนี้ การถูกประกาศให้ไทยอยู่ในฐานะประเทศถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority Watch List : PWL) ไม่น่าจะเป็นผลดี ถึงแม้จะต้องผ่านการดำเนินการอีกหลายขั้นตอนกว่าที่ฝ่ายสหรัฐฯจะตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่ประเทศไทยก็ไม่ควรเสี่ยงกับการถูกตัด GSP หรือถูกตอบโต้ (Retaliate) ด้วยมาตรการต่างๆโดยเหตุ เพราะไทยไม่ได้เคารพกติกาตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมากสำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นและระยะยาว
ถึงแม้ไทยจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2551 ซึ่งดูเหมือนจะยังมีเวลาอีกมากก็ตาม
แต่ผมก็ยังเห็นว่า เราไม่ควรประมาท ยิ่งมีแนวโน้มว่า ไทยอาจถูกตัด GSP เศรษฐกิจประเทศก็ยิ่งจะได้รับความกระทบกระเทือนมาก ที่สำคัญ ลูกค้าหรือผู้นำเข้าสินค้าไทยที่เฝ้าดูเรื่องนี้อยู่ อาจเปลี่ยนใจหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่นแทนได้
ทีมเศรษฐกิจ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 60
สปสช.กระชากหน้ากากบริษัทยานอก
มติชน 14 พ.ค. 50 - นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
นับตั้งแต่ ไทยประกาศบังคับใช้สิทธิบัตร (Compulsory Licensing : CL) ครั้งแรก ปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 ฝั่งบริษัทยาข้ามชาติก็มุ่งต่อสู้ด้วยการให้ข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกแก่นักลงทุน บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนทั่วไป เช่น จากนี้ไปจะไม่มีใครมาลงทุน จะไม่มียาใหม่ให้แพทย์ใช้ ไม่มีใครมาค้าขายด้วย จะถูกกีดกันไม่รับสินค้าจากไทย โดยอ้างว่าไทยไม่เคารพกติกาบ้าง ไทยปล้นทรัพย์สินทางปัญญาบ้าง โดยที่ไม่เห็นใจว่าบริษัทยาต้องลงทุนค้นคว้าวิจัยมากมาย ซึ่งหากได้รับข้อมูลด้านเดียว ก็อาจเคลิ้มตาม พลอยสงสาร และเห็นอกเห็นใจบริษัทฝรั่งได้ง่ายๆ แต่หากท่านรู้ข้อมูลด้านตรงข้าม ก็จะเข้าใจและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ริเริ่มทำเรื่องนี้
บริษัทวิจัยยาลงทุนมากแค่ไหน?
บริษัทผู้วิจัยยา หรือบริษัทยาต้นตำรับ มักจะอ้างว่าที่ต้องตั้งราคายาสูงลิบ เป็นเพราะต้องลงทุนสูงในงานวิจัย ยาใหม่ 1 ตัว กว่าจะออกมาสู่ตลาดได้ ต้องลงทุนถึง 800 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการลงทุนค้นหายาใหม่มีความเสี่ยงสูง ลงทุนแล้วล้มเหลวก็มาก เรื่องนี้ชาวอเมริกันรู้ดีว่า บริษัทยาโกหก เพราะมีผู้ทำวิจัยแล้วว่า การลงทุนในการวิจัยยาใหม่ของบริษัทยานั้น ใช้เงินไม่ถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนของการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งเป็นการลงทุนในช่วงต้นของงานวิจัยนั้น เป็นการลงทุนของหน่วยงานรัฐ คือ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health) ซึ่งได้เงินงบประมาณมาจากภาษีอากรของประชาชนอีกที การลงทุนของบริษัท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในช่วงปลายที่มีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวน้อยมาก
นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัทยาต้นตำรับใช้เงินมากกว่าการลงทุนในงานวิจัย เพื่อส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อคนไข้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยาก็ถูกจัดอันดับว่าเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้มากที่สุด
ประเทศไทยเป็นโจร?
การที่บริษัทผู้ผลิตยา ตั้งราคายาสูงเพื่อเอากำไรให้ได้มากที่สุด โดยมิได้ลงทุนมากมายดังที่กล่าวอ้าง จึงถือว่าไม่เป็นธรรม ยังดีที่มีกติกาสากลถ่วงดุลอำนาจการผูกขาดตลาดนี้ไว้ นั่นคือ สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) มีสิทธิ "บังคับใช้สิทธิ" ต่อสิทธิบัตรใดๆ ที่สร้างปัญหาต่อการเข้าถึงยา เป็นเรื่องน่าเศร้าที่บรรดาประเทศเล็กๆ ที่มักไม่มีนวัตกรรมจะเป็นผู้เสียเปรียบ หรือไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แถมยังต้องคอยดูแลผลประโยชน์ให้แก่ประเทศมหาอำนาจ เศร้ายิ่งไปกว่านั้นก็คือ ประเทศเล็กๆ ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้สิทธิ "การบังคับใช้สิทธิ" ที่เป็นกติกาสากลถ่วงดุลอำนาจการผูกขาดเพื่อบรรเทาความรุนแรงแห่งการเสียเปรียบนั้น และไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาผู้กล้าหาญอันน้อยนิดที่ขอใช้สิทธินี้ แม้ว่าจะช้า แต่ก็น่าภาคภูมิใจ ในขณะที่ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐได้ใช้สิทธินี้อยู่เนืองๆ แล้วจะหาว่าเราเป็นโจรได้อย่างไร
ความคาดหวังต่อการบังคับใช้สิทธิ
แรกคิดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ทำเรื่องนี้ มิได้มุ่งหวังว่าจะประหยัดเงินตราเพื่อเก็บไว้ หรือเพื่อเอาเงินที่ประหยัดได้ไปทำอย่างอื่น แต่มุ่งหวังการเพิ่มจำนวนคนไข้ที่สามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตในระดับปัจเจกแล้ว ยังส่งผลดีต่อระบบการรักษาและระบบการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในกรณีของโรคเอดส์อีกด้วย นอกจากนี้ไทยก็คิดในเรื่องของสิทธิอันชอบธรรมของประเทศผู้เสียเปรียบในระบบสิทธิบัตรดังกล่าว
กรณีของยาเอฟาไวเรนซ์ซึ่งเป็นยาสูตรพื้นฐาน (ที่นิยมใช้กันมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในประเทศไทย จะไม่เลือกใช้เป็นลำดับแรกเพราะมีราคาสูง) ก่อนการบังคับใช้สิทธิมีคนไข้เข้าถึงยานี้ประมาณ 1.5 หมื่นคน เมื่อบังคับใช้สิทธิแล้วจะเพิ่มการเข้าถึงยานี้ได้ถึง 3 หมื่นคน ผลก็คือ ทำให้คนไข้เอดส์อีก 1.5 หมื่นคน รอดพ้นจากความทุกข์ที่ต้องทนใช้ยาเนวิราพีนที่มีผลข้างเคียงสูง นอกจากนี้ กล่าวกันว่า เมื่อยาราคาถูกลงแล้ว แพทย์จะหันมาสั่งจ่ายยานี้มากขึ้น อาจถึง 5 หมื่นคน
กรณียาโลพิ+ริโทนาเวียร์ซึ่งเป็นยาสูตรเชื้อดื้อยาที่มีราคาสูงกว่าเอฟาไวเรนซ์ถึง 4 เท่า แต่เดิมมีคนไข้สามารถเข้าถึงได้เพียงไม่เกิน 1,600 คนเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีการประมาณการว่า มีคนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ยานี้ถึงอย่างน้อย 1 หมื่นคน ซึ่งการบังคับใช้สิทธิที่ทำให้ยานี้มีราคาลดลงจะส่งผลให้แพทย์มีกำลังใจมากขึ้นในการค้นหาเชื้อดื้อยาในคนไข้เพื่อเปลี่ยนยาและทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุด
ผลลัพธ์ที่ออกมา เกินคาด!
ขณะที่ สปสช.และ สธ.ไม่ได้ให้ความสำคัญในเชิงดุลการค้า โดยที่เล็งเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์มากกว่า แต่คนบางคนกลับกล้าหาญออกมาเปรียบเทียบผลได้-ผลเสียในรูปของเงินตรา ระหว่าง "ผลประโยชน์จากการบังคับใช้สิทธิ" กับ "ผลประโยชน์ที่อาจสูญเสียไปในสินค้าประเภทอื่นที่ไทยอาจถูกกีดกัน" กรณีนี้ วิงวอนให้ใช้สติอย่างรอบคอบ และมองให้กว้างไกลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ บริษัทยา 2 แห่ง ประกาศลดราคายาทั่วโลก ซึ่งหากคำนวณเป็นตัวเลขเงินตราที่ชาวโลกได้รับอานิสงส์จากการกระทำของประเทศไทยและนำไปเปรียบเทียบกับผลประโยชน์จากสิทธิพิเศษในจีเอสพีแล้ว มันเทียบกันไม่ได้เลย
สรุป
สปสช.และ สธ.ยืนอยู่บนหลักการของ "การสาธารณสุขสำคัญเหนือกว่าการค้า" ความร่ำรวยที่ปราศจากสุขภาพที่ดีย่อมไม่มีความหมายใดๆ เมื่อเรามีข้อมูลที่ตัดสินได้ว่า เราไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องราคายาใหม่ และเรารู้ว่าเรามีช่องทางของการต่อสู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะต่อสู้ในช่องทางนั้น เราจึงกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะดังที่กล่าวอ้างเหตุผลไว้ในประกาศบังคับใช้สิทธิทุกฉบับ
"แม้ว่าไทยอาจจะต้องเสียดุลการค้าบางส่วนไป แต่โลกก็ได้อานิสงส์คุ้มค่ามิใช่หรือ"