ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
- titiwach
- Verified User
- โพสต์: 85
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 63
ผมขอเสริมในธุรกิจอสังหาฯนะครับ โดยรูปแบบของแต่ละบริษัทฯ ถ้าสังเกตดูให้ดีจะมีความแตกต่างกันอยู่มากพอสมควร ทำให้ผลกระทบต่อธุรกิจแต่ละบริษัทฯจึงไม่เหมือนกันครับ
1. PS เน้นทำ Mass Product เจาะล/ค ระดับล่างชนิดที่ว่าบ้านเอื้ออาทรยังอาย เนื่องจากเน้นล/ค ระดับล่างจึงจำเป็นที่จะต้องเป็น Cost Leader เลยต้องสร้างโรงงานทำ Pre-fab ของตัวเอง เพื่อจะได้สร้างบ้านทีละหลายๆพันหลังได้ต่อปี ข้อดีจับตลาดได้กว้างมากๆ แต่ขนาดโครงการต้องใหญ่ด้วย แบบบ้านห้ามเปลี่ยนบ่อย ฉะนั้นบ้านของ PS ถึงประสบความสำเร็จกับ Townhouse แต่ บ้านเดี่ยวยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เพราะ Branding ของพฤกษา อาจจะติดภาพของระดับล่างมากเกินไปสำหรับคนซื้อบ้านเดี่ยวครับ
กลยุทธ์ ตีตรงกลางครับ ตีซึ่งๆหน้า เน้นพละกำลัง
2. PRIN เน้นขายเร็วแต่จับกลุ่มล/ค หลักที่ B+ ถึง C ไม่เน้นกำไรสูงสุด มักจะทำโครงการขนาดกลางถึงเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการปิดโครงการให้อยู่ประมาณ 2-3 ปีทุกโครงการ เน้นรูปแบบบ้านจะมีการออกแบบบ้านรูปแบบโครงการใหม่ๆเสมอ เน้น Promotion ของแถมเพียบ เพื่อให้ล/ค เทียบ Value แล้ว บ้านของปริญต้องคุ้มค่ากว่าของคู่แข่ง (ไม่ใช่ถูกกว่านะครับ) เป็นเพียงไม่กี่บริษัทที่สามารถกระจายทำเลได้เกือบทุก zone ในกทม. เนื่องจากมีความแตกต่างจากคู่แข่งด้าน ทำเล แบบบ้าน Promotion และขนาดของโครงการที่ไม่ใหญ่ มีการกระจายสินค้าทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด
กลยุทธ์ กองโจรครับ ตีในชัยภูมิที่เราเลือกเราได้เปรียบ เน้นรบเร็วชนะเร็ว เคลื่อนที่เร็ว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตลอดเวลา
หมายเหตุ: ผู้เขียนทำงานอยู่ปริญสิริครับ กรุณาใช้วิจารณญานในการอ่านด้วยครับ
3. LH เริ่มจากสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย เหมือนขายรถยนต์ โครงการมักมีขนาดใหญ่ แต่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ Margin สูง ไม่เน้นทำเล (สังเกตได้ว่ามักจะต้องเข้าซอยค่อนข้างลึก) เนื่องจากมี Brand ที่แข็งแกร่ง หน้าตาแบบบ้านไม่ค่อยเปลี่ยน (สไตล์ยุโรป) จับ Mass แต่เป็นกลุ่ม A ถึง B- ตอนนี้กำลังปรับภาพลักษณ์ว่าบ้านแลนด์แพงอยู่ครับ โดยออกโฆษณาที่ว่ายังไม่ถึง 30 ก็ซื้อบ้านแลนด์ได้
กลยุทธ์ ผู้นำ และ ป่าล้อมเมืองครับ แลนด์มีโครงการทุกโซนครับ แต่มักจะอยู่รอบๆนอก เพราะราคาที่ดินถูกกว่า
4. SPALI เน้น Margin สูงครับ โดยเป็น Cost Leader ด้วย ไม่จำเป็นต้องปิดโครงการได้รวดเร็ว (ยกเว้น Condo) ดังนั้นจะไม่ค่อยเน้นการเปลี่ยนรูปแบบสินค้ากับรูปแบบโครงการ จับล/ค B ถึง C เน้นทำเลที่มีการแข่งขันน้อย และมี Backlog ที่แข็งแกร่งมาก สามารถทำทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด แถมมี โรงแรม และ อาคารสำนักงานด้วย
กลยุทธ์ นักแสวงหาโอกาส และ ตีโอบครับ แสวงหาโอกาสหรือมุมอับที่ข้าศึกมองข้ามแล้วเข้าโจมตี พอข้าศึกโดดเข้าตะลุมบอน Condo ศุภาลัยก็จะไปตีที่อื่น เน้นทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยว ในทำเลที่ทุกคนมองข้ามแต่มีความต้องการ
เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ถ้าท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่นรบกวนช่วยกันเสริมได้เลยนะครับ และถ้าต้องการบริษัทอสังหาฯอื่นเพิ่มเติมอีก PM หรือ ขอในกระทู้ก็ได้นะครับ จะพยายามตอบให้ดีที่สุดครับ
1. PS เน้นทำ Mass Product เจาะล/ค ระดับล่างชนิดที่ว่าบ้านเอื้ออาทรยังอาย เนื่องจากเน้นล/ค ระดับล่างจึงจำเป็นที่จะต้องเป็น Cost Leader เลยต้องสร้างโรงงานทำ Pre-fab ของตัวเอง เพื่อจะได้สร้างบ้านทีละหลายๆพันหลังได้ต่อปี ข้อดีจับตลาดได้กว้างมากๆ แต่ขนาดโครงการต้องใหญ่ด้วย แบบบ้านห้ามเปลี่ยนบ่อย ฉะนั้นบ้านของ PS ถึงประสบความสำเร็จกับ Townhouse แต่ บ้านเดี่ยวยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เพราะ Branding ของพฤกษา อาจจะติดภาพของระดับล่างมากเกินไปสำหรับคนซื้อบ้านเดี่ยวครับ
กลยุทธ์ ตีตรงกลางครับ ตีซึ่งๆหน้า เน้นพละกำลัง
2. PRIN เน้นขายเร็วแต่จับกลุ่มล/ค หลักที่ B+ ถึง C ไม่เน้นกำไรสูงสุด มักจะทำโครงการขนาดกลางถึงเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการปิดโครงการให้อยู่ประมาณ 2-3 ปีทุกโครงการ เน้นรูปแบบบ้านจะมีการออกแบบบ้านรูปแบบโครงการใหม่ๆเสมอ เน้น Promotion ของแถมเพียบ เพื่อให้ล/ค เทียบ Value แล้ว บ้านของปริญต้องคุ้มค่ากว่าของคู่แข่ง (ไม่ใช่ถูกกว่านะครับ) เป็นเพียงไม่กี่บริษัทที่สามารถกระจายทำเลได้เกือบทุก zone ในกทม. เนื่องจากมีความแตกต่างจากคู่แข่งด้าน ทำเล แบบบ้าน Promotion และขนาดของโครงการที่ไม่ใหญ่ มีการกระจายสินค้าทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด
กลยุทธ์ กองโจรครับ ตีในชัยภูมิที่เราเลือกเราได้เปรียบ เน้นรบเร็วชนะเร็ว เคลื่อนที่เร็ว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตลอดเวลา
หมายเหตุ: ผู้เขียนทำงานอยู่ปริญสิริครับ กรุณาใช้วิจารณญานในการอ่านด้วยครับ
3. LH เริ่มจากสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย เหมือนขายรถยนต์ โครงการมักมีขนาดใหญ่ แต่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ Margin สูง ไม่เน้นทำเล (สังเกตได้ว่ามักจะต้องเข้าซอยค่อนข้างลึก) เนื่องจากมี Brand ที่แข็งแกร่ง หน้าตาแบบบ้านไม่ค่อยเปลี่ยน (สไตล์ยุโรป) จับ Mass แต่เป็นกลุ่ม A ถึง B- ตอนนี้กำลังปรับภาพลักษณ์ว่าบ้านแลนด์แพงอยู่ครับ โดยออกโฆษณาที่ว่ายังไม่ถึง 30 ก็ซื้อบ้านแลนด์ได้
กลยุทธ์ ผู้นำ และ ป่าล้อมเมืองครับ แลนด์มีโครงการทุกโซนครับ แต่มักจะอยู่รอบๆนอก เพราะราคาที่ดินถูกกว่า
4. SPALI เน้น Margin สูงครับ โดยเป็น Cost Leader ด้วย ไม่จำเป็นต้องปิดโครงการได้รวดเร็ว (ยกเว้น Condo) ดังนั้นจะไม่ค่อยเน้นการเปลี่ยนรูปแบบสินค้ากับรูปแบบโครงการ จับล/ค B ถึง C เน้นทำเลที่มีการแข่งขันน้อย และมี Backlog ที่แข็งแกร่งมาก สามารถทำทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด แถมมี โรงแรม และ อาคารสำนักงานด้วย
กลยุทธ์ นักแสวงหาโอกาส และ ตีโอบครับ แสวงหาโอกาสหรือมุมอับที่ข้าศึกมองข้ามแล้วเข้าโจมตี พอข้าศึกโดดเข้าตะลุมบอน Condo ศุภาลัยก็จะไปตีที่อื่น เน้นทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยว ในทำเลที่ทุกคนมองข้ามแต่มีความต้องการ
เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ถ้าท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่นรบกวนช่วยกันเสริมได้เลยนะครับ และถ้าต้องการบริษัทอสังหาฯอื่นเพิ่มเติมอีก PM หรือ ขอในกระทู้ก็ได้นะครับ จะพยายามตอบให้ดีที่สุดครับ
Lucky = Well prepare + Hard working + Experience + Learn from mistake and success
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 64
เห็นกระทู้ตกไปไกล เริ่มไม่มีคนสนใจ
ครั้งก่อนผมกล่าวถึงเรื่องการวัดผลของ BIZ Model มีหลายคนเสนอ
ROA ตัวชี้วัดนี้ก้ใช้ได้ครับ แต่ผมขอใช้ OPCFแทน กำไรสุทธิครับ จะเห็นว่า สินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นทำเงินได้มากน้อยแค่ไหน
ROE ก็เช่นกัน ใช้OPCFแทน กำไรสุทธิครับ จะเห็นว่า ทุนที่มีอยู่นั้นทำเงินได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้ต้องดู DEประกอบหน่อยจะดี ว่าเงินสดนั้นจ่ายหนี้พอไหม
สำหรับเนื้อหาข้างบน มาช่วยกันออกความคิดเห็นกันอีกนิดนะครับ
เดี๋ยวคราวหน้าถ้ากระทู้ไม่ตกไปมาก ผมจะเอาเรื่อง การประเมินราคาหุ้นว่า OVER หรือ UNDERไปไหมมาคุยกัน
ครั้งก่อนผมกล่าวถึงเรื่องการวัดผลของ BIZ Model มีหลายคนเสนอ
ROA ตัวชี้วัดนี้ก้ใช้ได้ครับ แต่ผมขอใช้ OPCFแทน กำไรสุทธิครับ จะเห็นว่า สินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นทำเงินได้มากน้อยแค่ไหน
ROE ก็เช่นกัน ใช้OPCFแทน กำไรสุทธิครับ จะเห็นว่า ทุนที่มีอยู่นั้นทำเงินได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้ต้องดู DEประกอบหน่อยจะดี ว่าเงินสดนั้นจ่ายหนี้พอไหม
สำหรับเนื้อหาข้างบน มาช่วยกันออกความคิดเห็นกันอีกนิดนะครับ
เดี๋ยวคราวหน้าถ้ากระทู้ไม่ตกไปมาก ผมจะเอาเรื่อง การประเมินราคาหุ้นว่า OVER หรือ UNDERไปไหมมาคุยกัน
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 65
พี่ครับ OPCF คืออะไรครับ หาไม่เจอ :(
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 67
อ้อเจอแล้ว OPCF Operation Cash Flow
ขอบคุณครับ Woody
เออมันใช่ ที่เราไปดูที่งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานใช่เปล่าครับ
ถ้าจะใช้ต้องมีการปรับรายการอะไรก่อนไหมครับ
ในเรื่องของ Business Model ผมว่าวิธีการทำธุรกิจสุดท้ายแล้วเราต้องมองให้ออกว่าอะไรคือหัวใจในการทำธุรกิจนั้นๆให้ได้กำไร
ผมยังจำรายงานผู้ถือหุ้นของเบิร์กไชน์ ที่พูดถึงเรื่องบริษัทประกันของเขาNICO ที่ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายมากเท่าคู่แข่ง(ลดลงหลายปีติดต่อด้วย) เพราะบริษัทนี้ไม่ยอมลดราคาค่าประกันลงเมื่อคู่แข่งลดราคา แต่บัฟเฟ็ตเองก็ไม่ได้กังวลมากนักเพราะในที่สุดแล้วบริษัทนี้ทำกำไร เพราะเขามองว่าการเพิ่มยอดแต่ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายจะไม่เป็นการทำกำไรให้กับบริษัทอย่างยั่งยืน
การเพิ่มขึ้นของยอดขายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายนำมาซึ่งปัญหาในปีต่อๆมาเมื่อมีการเครมเกิดขึ้น การตั้งราคาที่เหมาะสมกับความเสี่ยง ทำกำไรให้กับบริษัทได้อย่างยั่งยืนกว่าการลดราคาและเพิ่มยอดขาย การตัดราคาอย่างที่คู่แข่งทำกันสามารถทำกำไรเพิ่มในปีแรกๆได้ดี แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคตสามารถทำให้บริษัทขาดทุนอย่างหนักได้
แต่ NICO ไม่ทำอย่างนั้น ลูกค้ามั่นใจได้ว่าบริษัทจะมีการจ่ายเงินประกัน
ผมมองว่าเขามองธุรกิจของเขาเป็นการบริหารความเสี่ยงที่ต้องมีการจัดการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ยอดขายไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับธุรกิจนี้
กลับมาเรื่องของ Business Model ถ้าเรามองบริษัทที่เราสนใจเราคงต้องมองมันให้ทะลุว่าหัวใจมันคืออะไรและสิ่งที่บริษัททำมันช่วยให้เกิดกำไร(หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว) อย่างยั่งยืนหรือไม่
ขอบคุณครับ Woody
เออมันใช่ ที่เราไปดูที่งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานใช่เปล่าครับ
ถ้าจะใช้ต้องมีการปรับรายการอะไรก่อนไหมครับ
ในเรื่องของ Business Model ผมว่าวิธีการทำธุรกิจสุดท้ายแล้วเราต้องมองให้ออกว่าอะไรคือหัวใจในการทำธุรกิจนั้นๆให้ได้กำไร
ผมยังจำรายงานผู้ถือหุ้นของเบิร์กไชน์ ที่พูดถึงเรื่องบริษัทประกันของเขาNICO ที่ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายมากเท่าคู่แข่ง(ลดลงหลายปีติดต่อด้วย) เพราะบริษัทนี้ไม่ยอมลดราคาค่าประกันลงเมื่อคู่แข่งลดราคา แต่บัฟเฟ็ตเองก็ไม่ได้กังวลมากนักเพราะในที่สุดแล้วบริษัทนี้ทำกำไร เพราะเขามองว่าการเพิ่มยอดแต่ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายจะไม่เป็นการทำกำไรให้กับบริษัทอย่างยั่งยืน
การเพิ่มขึ้นของยอดขายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายนำมาซึ่งปัญหาในปีต่อๆมาเมื่อมีการเครมเกิดขึ้น การตั้งราคาที่เหมาะสมกับความเสี่ยง ทำกำไรให้กับบริษัทได้อย่างยั่งยืนกว่าการลดราคาและเพิ่มยอดขาย การตัดราคาอย่างที่คู่แข่งทำกันสามารถทำกำไรเพิ่มในปีแรกๆได้ดี แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในอนาคตสามารถทำให้บริษัทขาดทุนอย่างหนักได้
แต่ NICO ไม่ทำอย่างนั้น ลูกค้ามั่นใจได้ว่าบริษัทจะมีการจ่ายเงินประกัน
ผมมองว่าเขามองธุรกิจของเขาเป็นการบริหารความเสี่ยงที่ต้องมีการจัดการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ยอดขายไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับธุรกิจนี้
กลับมาเรื่องของ Business Model ถ้าเรามองบริษัทที่เราสนใจเราคงต้องมองมันให้ทะลุว่าหัวใจมันคืออะไรและสิ่งที่บริษัททำมันช่วยให้เกิดกำไร(หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว) อย่างยั่งยืนหรือไม่
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 68
ตามสัญญาครับ คราวนี้มาคุยกันเรื่องการประเมินมูลค่าคร่าวๆกันหน่อย
ผมมีสูตรสามสูตรง่ายๆ
1 Value = Cf / (rk(1+rk)^n) ใช้หามูลค่าหลังจาก n ปีไปแล้ว
2 Value = Cf / rk ใช้หามูลค่าโดยสมมุติให้ FCF คงที่เริ่มจากปัจจุบันเป็นต้นไป
3 Value = C0 /( rk - g) ใช้หามูลค่าเมื่อเราประเมินอัตราการเติบโตได้
มาดูตัวอย่างกันหน่อย ผมเอาหุ้นอสังหาฯน้องใหม่ที่ประกาศว่าจะแซงหน้าพี่ใหญ่ในอีกห้าปีมาประเมินกัน
ถ้าเราให้ Value = Market Value ~ 12,282.25ล้านบาท
ประมาณ discount rate, rk ที่ 10%
ระยะเวลา 5ปี จากนี้ ต้องการจะเป็นที่หนึ่งควรจะมี Market Value ~ 56,402.03 ล้านบาท
FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท
พี่ใหญ่มี FCF ~
มาดูกันว่าถ้าจะแซงพี่ใหญ่จะต้องสร้างกำไรที่เป็นเงินสดได้เท่าไร
Value = 56,402.03 x 0.1x(1+0.1)^5 = 9,083.60 ล้านบาท ในอีกห้าปีข้างหน้า
ปัจจุบัน FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ถ้าจะแซงได้จริงในห้าปีจะต้องโตประมาณ 8.20% ทบต้นไปอีกห้าปีข้างหน้า
ที่นี้มาดูว่าปัจจุบันนั้นมูลค่าเป็นอย่างไร
Cf = 12,282.25 / 0.1 = 1,228.23 ล้านบาท เทียบกับของจริง FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ก็ห่างกันพอสมควร ถ้าให้ประเมินกันว่ามูลค่าตอนนี้ควรเป็นเท่าไร ก็น่าจะเป็น 1039/0.1 = 10,390 ล้านบาท ที่ 2,211,287,066หุ้น มูลค่าน่าจะประมาณ 4.70 บาท/หุ้นให้ Errorได้นิดหน่อยก็น่าจะแถวๆ 5บาทต้นๆ
แต่ถ้าคิดว่าโตได้ปีละประมาณ 8.5%/ปี
ผมมีสูตรสามสูตรง่ายๆ
1 Value = Cf / (rk(1+rk)^n) ใช้หามูลค่าหลังจาก n ปีไปแล้ว
2 Value = Cf / rk ใช้หามูลค่าโดยสมมุติให้ FCF คงที่เริ่มจากปัจจุบันเป็นต้นไป
3 Value = C0 /( rk - g) ใช้หามูลค่าเมื่อเราประเมินอัตราการเติบโตได้
มาดูตัวอย่างกันหน่อย ผมเอาหุ้นอสังหาฯน้องใหม่ที่ประกาศว่าจะแซงหน้าพี่ใหญ่ในอีกห้าปีมาประเมินกัน
ถ้าเราให้ Value = Market Value ~ 12,282.25ล้านบาท
ประมาณ discount rate, rk ที่ 10%
ระยะเวลา 5ปี จากนี้ ต้องการจะเป็นที่หนึ่งควรจะมี Market Value ~ 56,402.03 ล้านบาท
FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท
พี่ใหญ่มี FCF ~
มาดูกันว่าถ้าจะแซงพี่ใหญ่จะต้องสร้างกำไรที่เป็นเงินสดได้เท่าไร
Value = 56,402.03 x 0.1x(1+0.1)^5 = 9,083.60 ล้านบาท ในอีกห้าปีข้างหน้า
ปัจจุบัน FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ถ้าจะแซงได้จริงในห้าปีจะต้องโตประมาณ 8.20% ทบต้นไปอีกห้าปีข้างหน้า
ที่นี้มาดูว่าปัจจุบันนั้นมูลค่าเป็นอย่างไร
Cf = 12,282.25 / 0.1 = 1,228.23 ล้านบาท เทียบกับของจริง FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ก็ห่างกันพอสมควร ถ้าให้ประเมินกันว่ามูลค่าตอนนี้ควรเป็นเท่าไร ก็น่าจะเป็น 1039/0.1 = 10,390 ล้านบาท ที่ 2,211,287,066หุ้น มูลค่าน่าจะประมาณ 4.70 บาท/หุ้นให้ Errorได้นิดหน่อยก็น่าจะแถวๆ 5บาทต้นๆ
แต่ถ้าคิดว่าโตได้ปีละประมาณ 8.5%/ปี
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามพี่มนครับ
โพสต์ที่ 69
ก่อนอื่น กระทู้ด้านล่างขออนุญาติ Copy ไว้นะครับ มีประโยชน์มากครับMon money เขียน:เห็นกระทู้ตกไปไกล เริ่มไม่มีคนสนใจ
ครั้งก่อนผมกล่าวถึงเรื่องการวัดผลของ BIZ Model มีหลายคนเสนอ
ROA ตัวชี้วัดนี้ก้ใช้ได้ครับ แต่ผมขอใช้ OPCFแทน กำไรสุทธิครับ จะเห็นว่า สินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นทำเงินได้มากน้อยแค่ไหน
ROE ก็เช่นกัน ใช้OPCFแทน กำไรสุทธิครับ จะเห็นว่า ทุนที่มีอยู่นั้นทำเงินได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้ต้องดู DEประกอบหน่อยจะดี ว่าเงินสดนั้นจ่ายหนี้พอไหม
สำหรับเนื้อหาข้างบน มาช่วยกันออกความคิดเห็นกันอีกนิดนะครับ
เดี๋ยวคราวหน้าถ้ากระทู้ไม่ตกไปมาก ผมจะเอาเรื่อง การประเมินราคาหุ้นว่า OVER หรือ UNDERไปไหมมาคุยกัน
และมีคำถามครับ จากที่เคยถามพี่ไปว่า
ไม่ว่าจะเรียกวิธีแบบนี้ว่าอะไรก็ตาม หากมีบริษัทฯ ไหนมีนโยบายแบบนี้ สุดท้ายจะไปสะท้อนอยู่ในงบการเงินซึ่งเมื่อนำมาคำนวณ ทั้งจากวิธี ROAจากการดูงบ การเงินบริษัทในตลาด แบบงูๆๆปลาๆๆ ของผม พบว่าปัจจุบันนี้มีหลายบริษัท ไม่นิยมถือ สินทรัพย์ ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน สำนักงาน โรงงาน แต่ เป็นการอาศัยการเช่า มาขึ้นทั้งจากกรรมการ และบริษัทในเครือ ซึ่งทำหน้าที่ถือ Asset
เหตุผล เพื่อสภาพคล่อง ทางการเงิน ซึ่งส่งผลใช้การกู้เงินระยะสั้นลดลง ดอกเบี้ยจ่ายลดลง กำไรก็เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดในมือเพิ่มขึ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น หรืแม้แต่นำไปปล่อยเครดิตให้ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นได้
และ OPCF หรือแม้แต่ ROE แล้ว ผลจะออกมาน่าพอใจมากๆๆ
แต่วิธีการนี้ก็ไม่ใช้สูตรสำเร็จ เพราะ เมื่อใดก็ตามบริษัทฯ ขยายกิจการจนเติบโตมากขึ้น และมีสถาบันการเงินให้วงเงินหมุนเวียนสูงขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง จะเกิดความเสี่ยงกับสถาบันการเงิน และไม่สามารถเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนได้จากเงินกู้อีก
ดังนั้น จึงมี 2 ทางให้บริษัทฯ ดำเนินการคือ
1 เพิ่มทุนจดทะเบียน ซึ่งจะส่งผลให้ ROE ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งก็จะส่งผลให้ OPCE ลดลงในระยะสั้น หากยังไม่สามารถหมุนเงินจากการเพิ่มทุนได้ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะเกิดผลให้ มูลค่าหุ้นลดลง ซึ่ง ณ จุดนี้จะเกิดจุดเปลี่ยนที่ Business Model จะสามารถสร้างผลกำไรให้ธุรกิจได้มากเท่าเดิมหรือไม่
2. เริ่มลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เพื่อสร้างความปลอดภัยให้สถาบันการเงิน
ซึ่งวิธีนี้จะส่งผลให้ ROA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และส่งให้ให้ OPCE ลดลงอีกเช่นเคย เพราะภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งผลนี้จะสะท้อนออกมาในราคาหุ้น(ราคาลดลง) ดังนั้นจึงอยากถามพี่มนว่า หากเป็นเช่นนี้ ควรพิจารณาประเด็นนี้หรือไม่ในการประเมินมูลค่าหุ้นครับ
ว่าจะขายออกไปก่อนหรือ ลงทุนเพิ่มดีครับ :?: :?: :?:
อีกข้อครับ หากมาพิจาณาในกรณีของ STPI (หรือแม้แต่ธุรกิจธนาคาร) ซึ่งมีการกันสำรองเงินสดจากการดำเนินงานไว้ ทำให้ผลของ OPCE ยังคงไม่แสดงออกมา (ยังคงสูง) แต่ผลนี้จะแสดงออกมาในอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจการเงิน ซึ่งเป็นผลที่คาดการยากมาก
ประเด็นนี้ควรประเมินอย่างไรครับ :?: :?: :?:
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
กลัวกระทู้ดีๆๆ ตกไป
โพสต์ที่ 70
กลัวกระทู้ดีๆๆ ตกไป
อยากขอความเห็นพี่ๆๆ ทุกท่านครับ
เราจะแยก BIZ Model กับ การขายฝัน ออก ได้ไงครับ เช่น บางบริษัทสร้าง BIZ Model มาเพื่อสร้างราคาหุ้น ซึ่งบางบริษัทก็ทำได้ตาม BIZ Model เช่น โรงพยาบาล บางแห่ง ที่เน้นขยายโดยการซื้อ โรงพยาบาลในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น แต่บางบริษัทก็ทำไม่ได้ อย่างเช่น ถังแก๊ส เน้นซื้อ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตนเป็นต้น :?: :?: :?:
อยากขอความเห็นพี่ๆๆ ทุกท่านครับ
เราจะแยก BIZ Model กับ การขายฝัน ออก ได้ไงครับ เช่น บางบริษัทสร้าง BIZ Model มาเพื่อสร้างราคาหุ้น ซึ่งบางบริษัทก็ทำได้ตาม BIZ Model เช่น โรงพยาบาล บางแห่ง ที่เน้นขยายโดยการซื้อ โรงพยาบาลในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น แต่บางบริษัทก็ทำไม่ได้ อย่างเช่น ถังแก๊ส เน้นซื้อ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตนเป็นต้น :?: :?: :?:
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 71
คุณ Path2544
ดังนั้นเวลาเราจะประเมินผลตอบแทนต่อไป จะไม่ใช่เป็นการประเมินผลตอบแทนแบบปกติครับ แต่จะต้องประเมินผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงด้วย
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าธนาคารแห่งหนึ่งปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทการก่อสร้าง กับอีกธนาคารหนึ่งปล่อยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อย
แม้ธนาคารทั้ง 2 แห่งอาจมี ROA ที่เท่ากัน แต่เมื่อคำนึงถึงความเสี่ยงประกอบด้วยแล้ว เราจะพบว่า ธนาคาที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อยนั้นจะมีความเสี่ยงต่อหนี้สูญจำนวนมาก ๆ น้อยกว่าธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ไม่กี่ราย ดังนั้นเมื่อเราคำนวณ ROA โดยปรับด้วย Risk Adjust แล้ว เราก็อาจจะพบว่า ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อยมี ROA ที่ปรับด้วย Risk Adjust แล้วสูงกว่าธนาคาที่ปล่อยกุ้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ครับ
เท่าที่ผมทราบก็คือ ในอนาคตสถาบันการเงินทั้งหมด เมื่อเข้าสู่ระบบ BaselII แล้ว จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด โดยเฉพาะด้านการให้สินเชื่อ หรือตราสารที่ไปลงทุน การประเมินความเสี่ยงตามกฏเกณฑ์ใหม่จะมีความเข้มงวดมาก และมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญที่รองรับความเสี่ยงในอนาคตได้มากตามมาตรฐานสากล และเจ้าความเสี่ยงตรงนี้หละครับที่จะไปมีผลกระทบกับเงินกองทุนของธนาคาร และจะไปกระทบกับ เงินกองทุน BIS Ratio ที่ธปท.จะมีการกำหนดเงินทุนสำรองขั้นต่ำที่ธนาคารจะต้องรักษาไว้ หากต่ำกว่า BIS Ratio ผมเข้าใจว่าประมาณ 8.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด ถ้าต่ำกว่านั้น ธนาคารต้องแก้ไขโดยการเพิ่มเงินทุนเข้าไป อาจจะเป็นการเพิ่มทุน หรือเพิ่มเงินกองทุนโดยการออกตราสารกึ่งทุนมาเป็นเงินสำรองครับอีกข้อครับ หากมาพิจาณาในกรณีของ STPI (หรือแม้แต่ธุรกิจธนาคาร) ซึ่งมีการกันสำรองเงินสดจากการดำเนินงานไว้ ทำให้ผลของ OPCE ยังคงไม่แสดงออกมา (ยังคงสูง) แต่ผลนี้จะแสดงออกมาในอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจการเงิน ซึ่งเป็นผลที่คาดการยากมาก
ประเด็นนี้ควรประเมินอย่างไรครับ
ดังนั้นเวลาเราจะประเมินผลตอบแทนต่อไป จะไม่ใช่เป็นการประเมินผลตอบแทนแบบปกติครับ แต่จะต้องประเมินผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงด้วย
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าธนาคารแห่งหนึ่งปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทการก่อสร้าง กับอีกธนาคารหนึ่งปล่อยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อย
แม้ธนาคารทั้ง 2 แห่งอาจมี ROA ที่เท่ากัน แต่เมื่อคำนึงถึงความเสี่ยงประกอบด้วยแล้ว เราจะพบว่า ธนาคาที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อยนั้นจะมีความเสี่ยงต่อหนี้สูญจำนวนมาก ๆ น้อยกว่าธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ไม่กี่ราย ดังนั้นเมื่อเราคำนวณ ROA โดยปรับด้วย Risk Adjust แล้ว เราก็อาจจะพบว่า ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อยมี ROA ที่ปรับด้วย Risk Adjust แล้วสูงกว่าธนาคาที่ปล่อยกุ้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ครับ
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 72
ก่อนอื่นขอบคุณ คุณ thawattt ที่มาช่วยตอบครับ ไม่อยากให้กระทู้ดีๆ ตกไป เลย ตั้งคำถามแบบนี้ (ขออภัยครับไม่ได้มาคิดป่วนครับ) จริงอยากจะหาความเห็นที่แตกต่างครับแม้ธนาคารทั้ง 2 แห่งอาจมี ROA ที่เท่ากัน แต่เมื่อคำนึงถึงความเสี่ยงประกอบด้วยแล้ว เราจะพบว่า ธนาคาที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อยนั้นจะมีความเสี่ยงต่อหนี้สูญจำนวนมาก ๆ น้อยกว่าธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ไม่กี่ราย ดังนั้นเมื่อเราคำนวณ ROA โดยปรับด้วย Risk Adjust แล้ว เราก็อาจจะพบว่า ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อยมี ROA ที่ปรับด้วย Risk Adjust แล้วสูงกว่าธนาคาที่ปล่อยกุ้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ครับ
และอยากได้ความเห็นจากท่านที่เข้าใจในเรื่อง BaselII ครับ
ผมกลับเห็นเรื่องนี้ต่างจากคุณ thawattt นะครับ ผมกลับเห็นว่า ธนาคารที่ปล่อย สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อย มีความเสี่ยงน้อยกว่าเนื่องจาก หลักประกันของธนาคาร สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อย ส่วนใหญ่จะคุ้มวงเงิน มากกว่า ธนาคาที่ปล่อยกุ้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่มีหลักประกัน
แต่อันนี้ผมไม่แนใจจริงๆๆ ครับ ไงหากมีผู้รู้เรื่อง BaselII ช่วยตอบด้วยนะครับ
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 73
ประเด็นนี้ ผมก็สงสัยเหมือนกัน ได้พยายามเข้าไปอ่านหนังสือแนวคิดของบัฟเฟทเพื่อจะหาคำตอบประเด็นนี้อยู่เหมือนกันครับเราจะแยก BIZ Model กับ การขายฝัน ออก ได้ไงครับ เช่น บางบริษัทสร้าง BIZ Model มาเพื่อสร้างราคาหุ้น ซึ่งบางบริษัทก็ทำได้ตาม BIZ Model เช่น โรงพยาบาล บางแห่ง ที่เน้นขยายโดยการซื้อ โรงพยาบาลในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น แต่บางบริษัทก็ทำไม่ได้ อย่างเช่น ถังแก๊ส เน้นซื้อ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตนเป็นต้น
เท่าที่ได้อ่านจากหนังสือครับ ผมคิดว่า สิ่งที่เราจะรู้ว่าขายฝันหรือไม่ขายฝัน โดยดูจากตัวธุรกิจอย่างเดียวนั้น อาจจะดูไม่ทะลุครับ เพราะผู้บริหารที่มีจิตวิทยาเพื่อหลอกเงินจากผู้ลงทุนนั้น เขาสามารถพัฒนาวิธีการที่แยบยลจนทำให้เราหลงเคลิ้มในภาพของฝันของธุรกิจของเขาได้ง่ายครับ
สิ่งที่บัฟเฟทกับให้ความสำคัญมากกว่านอกจากธุรกิจแล้วก็คือ การดูที่ตัวผู้บริหารสูงสุดว่าเป็นบุคคลลักษณะเช่นใด เท่าที่ผมอ่านดู จะพบว่า ผู้บริหาร CEO ที่บัฟเฟทเข้าไปซื้อหุ้นนั้น บัฟเฟทมักจะดูลึกเข้าไปถึง ความซื่อสัตย์ของผู้บริหาร ดูความมุ่งมั่นของผู้บริหารและความรักความทุ่มเทในธุรกิจที่ทำอยู่ หลาย ๆ ธุรกิจนะครับ ผุ้บริหารทำงานแบบไม่มีเกษียณอายุ เพราะความรักในธุรกิจของเขาเลยครับ ดูความเชี่ยวชาญในธูรกิจของผู้บริหารที่ทำอยู่เป็นเวลานานพอควร ดูประสบการณ์ของผู้บริหารว่าเคยบริหารล้มเหลวมาอย่างไร และสามารถกอบกู้วิกฤตการณ์ตรงนั้นขึ้นมาได้อย่างไร ครับ อันนี้ผมได้จากการอ่านข้อเขียนการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหาร CEO ของเขาแล้วมาประมวลนะครับ
เมื่อเลือกธุรกิจที่ดีซึ่งเป็นธูรกิจที่มีจุดเด่นมีศักยภาพการแข่งขันสูงในอนาคต ซึ่งค่อนข้างเป็นศักยภาพการแข่งขันที่สร้างความได้เปรียบอย่างถาวรหรือยั่งยืนได้ยาวนานมากเพียงใด (บัฟเฟทมักจะใช้วิธีการว่า หากธุรกิจดังกล่าวต้องสร้างขึ้นใหม่ บัฟเฟทมีเงินทุนจำนวนมาก ถ้าจะสร้างธุรกิจใหม่ดังกล่าวขึ้นมาแข่งขันกับธุรกิจเดิมที่เป็นอยู่ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ธุรกิจนั้นแหละครับมีความได้เปรียบการแข่งขันอย่างยั่งยืน)
ต่อจากนั้นก็มองผู้บริหารที่โดยสรุปก็คือมีธรรมาภิบาล และมีความเชี่ยวชาญในธูรกิจดังกล่าวจนหาคู่แข่งขันรายอื่นมาทำตามและประสบความสำเร็จได้ยาก และที่สำคัญ ธุรกิจดังกล่าว บัฟเฟทจะท้าทายให้ผู้บริหาร Ceo เหล่านั้นต้องมีการเตรียมคนสำรองไว้ในอนาคต เพื่อสืบทอดตำแหน่งต่อจากผุ้บริหารสูงสุดดังกล่าวเมื่อเกษียณ หรือตายจากไปเป็นต้น
เมื่อได้ธุรกิจที่ดี ได้ผู้บริหารที่มีธรรมาภิบาลและเก่งหรือเชี่ยวชาญในธุรกิจแล้ว ก็ปล่อยให้ CEO เหล่านั้นบริหารงานโดยอิสระ และบัฟเฟทจะติดตามผลงานในระยะยาวเป็นหลัก ทำให้ผู้บริหารเหล่านั้นไปต้องถูกกดดันให้มองแต่เฉพาะผลงานระยะสั้นเป็นรายไตรมาสครับ มีการเปรียบเทียบว่า CEO คือผู้วาดเขียน ส่วนบัฟเฟททำหน้าที่เป็น ผู้ให้สีและพู่กันกับ CEO นั้น สีก็คือ เครดิตของบริษัทที่มีบัฟเฟทเป็นผู้ถือหุ้น ทำให้มีเงินทุนมาดำเนินงานในต้นทุนที่ต่ำลงมาก และพู่กันคือการสนับสนุนให้ธุรกิจมีการขยายงาน และวัดความสำเร็จในระยะยาวครับ
ซึ่ง CEO ที่เป็นบริษัทที่บัฟเฟทเข้าไปซื้อ ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถสร้างการเจริญเติบโตที่ดีในระยะยาวเสียด้วยครับ และสามารถทำความฝันของธุรกิจให้เป็นจริงอีกด้วย
การลงทุนของบัฟเฟท จึงไม่ใช่เป็นเพียงผุ้ลงทุนธรรมดา แต่บัฟเฟทเข้าไปลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ และให้การสนับสนุนธุรกิจที่ลงทุนอย่างเต็มที่เพื่อให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถสร้างการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ในระยะยาวครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 74
ที่เข้าใจถูกแล้วครับ ความหมายของผมก็คือ ธนาคารเพื่อสินเชื่อที่อยุ่อาศัยรายย่อยนั้น มีความเสี่ยงต่อหนี้เสียเมื่อคิดเป็น Portfolio ที่ปล่อยสินเชื่อในจำนวนเงินที่เท่ากันนั้น น้อยกว่า สินเชื่อรายใหญ่ที่ปล่อยกู้ให้กับอสังหาริมทรัพย์ครับผมกลับเห็นเรื่องนี้ต่างจากคุณ thawattt นะครับ ผมกลับเห็นว่า ธนาคารที่ปล่อย สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อย มีความเสี่ยงน้อยกว่าเนื่องจาก หลักประกันของธนาคาร สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรายย่อย ส่วนใหญ่จะคุ้มวงเงิน มากกว่า ธนาคาที่ปล่อยกุ้ให้กับผุ้ก่อสร้างรายใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่มีหลักประกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 75
ประธานมนตรี
แต่ถ้าน้องใหม่จะแซงพี่ใหญ่ได้ ก็หมายความว่า พี่ใหญ่ต้อง Zero Growth ใน 5 ปีข้างหน้า
ความที่พี่ใหญ่ ตัวใหญ่มาก อัตราการเติบโตอาจจะสู้น้องใหม่ที่เป็นฐานเล็กกว่าไม่ได้ แต่ถ้ามี Growth บ้าง เช่นเท่ากับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผมคิดว่า น้องใหม่ ต้องก้าวในอัตราที่มากกว่า 8.5% ทบต้นครับ เพราะมิฉะนั้นจะก้าวไม่ทันพี่ใหญ่ครับ เพราะพี่ใหญ่จะมี Market Value ที่มากกว่าปีปัจจุบันครับ ภายใต้สมมุติฐานที่มี Growth ครับ
ไม่ทราบว่า ประธานมนตรีมีอะไรจะแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ครับ
2. ที่ประเมิน Value ตามข้อที่ 1 ได้มูลค่าปัจจุบันใน 5 ปีข้างหน้าคือ 9083.60 บาทนั้น ก็เท่ากับต้องการให้มูลค่าในอนาคต เท่ากับ 9083.60 หารด้วย จำนวนหุ้นปัจจุบันเท่ากับ 2211.287 ล้านหุ้น (กรณี 5 ปีต่อจากนี้ไม่มีการเพิ่มทุนด้วย) หรือเท่ากับ 4.10 บาท ณ ราคาปัจจุบัน (โดยมีสมมุติฐาน discount rate ที่ 10%) เทียบกับราคาปัจจุบันที่มี Market Value อยู่ที่ 12282.25 หารด้วย 2211.287 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 5.55 บาทต่อหุ้น แบบนี้ ราคาปัจจุบันก็อยู่สูงเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็นใช่หรือไม่ครับ
เพราะ ราคาในอนาคต Instince Value ตามสมมุติฐานคือ 4.10 บาท แต่ราคาปัจจุบันเท่ากับ 5.55 บาท แบบนี้ก็ทำให้ราคาปัจจุบันไม่มี Margin of Safety ใช่ไหมครับ ดังนั้นถ้าบริษัทตั้งเป้าการเติบโตที่จะมี Market Cap เท่าพี่ใหญ่ในปีปัจจุบันคือ 56402.03 บาท ดังนั้นเมื่อเราตีราคาเป็นแบบนี้ ก็หมายความว่า ถ้าจะซื้อหุ้นของน้องใหม่ เราก็ต้องซื้อในราคาต่ำกว่า 4.10 บาทลงมา จึงจะมี Margin of Safety ใช่หรือไม่ครับ
3. ถ้าจะให้ซื้อหุ้นน้องใหม่ในราคาที่สูงกว่าปัจจุบัน ก็ต้องมีสมมุติฐานที่น้องใหม่จะต้องตั้งเป้าการเติบโตที่สูงกว่าปัจจุบันจึงจะทำให้ Instince Value สูงขึ้นครับ
ก็รบกวนสอบถามเพิ่มเติมหน่อยนะครับ
1. ที่ประเมิน Market Value ของพี่ใหญ่ไว้ 56402.03 นั้น เป็นตัวเลขปัจจุบันมาดูตัวอย่างกันหน่อย ผมเอาหุ้นอสังหาฯน้องใหม่ที่ประกาศว่าจะแซงหน้าพี่ใหญ่ในอีกห้าปีมาประเมินกัน
ถ้าเราให้ Value = Market Value ~ 12,282.25ล้านบาท
ประมาณ discount rate, rk ที่ 10%
ระยะเวลา 5ปี จากนี้ ต้องการจะเป็นที่หนึ่งควรจะมี Market Value ~ 56,402.03 ล้านบาท
FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท
พี่ใหญ่มี FCF ~
มาดูกันว่าถ้าจะแซงพี่ใหญ่จะต้องสร้างกำไรที่เป็นเงินสดได้เท่าไร
Value = 56,402.03 x 0.1x(1+0.1)^5 = 9,083.60 ล้านบาท ในอีกห้าปีข้างหน้า
ปัจจุบัน FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ถ้าจะแซงได้จริงในห้าปีจะต้องโตประมาณ 8.20% ทบต้นไปอีกห้าปีข้างหน้า
ที่นี้มาดูว่าปัจจุบันนั้นมูลค่าเป็นอย่างไร
Cf = 12,282.25 / 0.1 = 1,228.23 ล้านบาท เทียบกับของจริง FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ก็ห่างกันพอสมควร ถ้าให้ประเมินกันว่ามูลค่าตอนนี้ควรเป็นเท่าไร ก็น่าจะเป็น 1039/0.1 = 10,390 ล้านบาท ที่ 2,211,287,066หุ้น มูลค่าน่าจะประมาณ 4.70 บาท/หุ้นให้ Errorได้นิดหน่อยก็น่าจะแถวๆ 5บาทต้นๆ
แต่ถ้าคิดว่าโตได้ปีละประมาณ 8.5%/ปี Value = 1,039/( 0.1 - 0.08 ) = 51,950 ล้านบาท หรือ ประมาณ 23.5 บาทต่อหุ้น(ถ้าไม่โดนเพิ่มทุนก่อน)
แต่พอมาดูพี่ใหญ่ FCF ก็ไม่เท่าไร ~ 1,500ล้านบาท ถ้าจะดูที่กำไรที่ 3,247ล้านบาท ดูแล้วก้น่าจะตามทัน เพียงแต่พี่ใหญ่เขามีสินทรัพย์มากกว่า แต่ดูเหมือนจะสู้น้องใหม่ไม่ได้ในเรื่องคุณภาพของสินทรัพย์เพราะ ROA แค่ 8%กว่าๆ ในขณะที่น้องใหม่ 13.88% นี่ถ้าเอา FCFมาคิดยิ่งไปกันใหญ่
สรุปว่าน้องใหม่นี่มีโอกาสแซงพี่ใหญ่ได้โดยพยามโตให้ได้ประมาณปีละ 9-10% หรือไม่งั้นพี่ใหญ่อาจสดุดขาตัวเองก็เป็นได้
ดูจากการประเมินคร่าวๆแล้ว พี่ใหญ่ Over Valueไปมาก แต่อาจจะเป็นได้ว่าเราไม่ได้ประเมินมูลค่าของ Brandที่แข็งแกร่งเอาไว้ด้วย ในขณะที่น้องเล็กก็Over Value เช่นเดียวกันแต่นิดหน่อย
ต่อจากนี้เราก็ไล่ไปดูที่ BIZ Modelกันว่า ทำไมตลาดจึงให้มูลค่าบริษัทไปต่างๆกัน และตัวเลขที่คำนวณได้สะท้อนมูลค่า BIZ Modelไว้ครบหรือสมเหตุสมผลไหม อย่างกรณีพี่ใหญ่นี่ ตลาดน่าจะให้มูลค่า Brandสูงมากทีเดียว สำหรับน้องเล็กคิดต่อกันว่ามีความเป็นไปได้ไหมที่เขาจะทำได้ ลองดูส่วนอื่นๆในBIZ Modelประกอบด้วยจะช่วยได้มาก
แต่ถ้าน้องใหม่จะแซงพี่ใหญ่ได้ ก็หมายความว่า พี่ใหญ่ต้อง Zero Growth ใน 5 ปีข้างหน้า
ความที่พี่ใหญ่ ตัวใหญ่มาก อัตราการเติบโตอาจจะสู้น้องใหม่ที่เป็นฐานเล็กกว่าไม่ได้ แต่ถ้ามี Growth บ้าง เช่นเท่ากับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผมคิดว่า น้องใหม่ ต้องก้าวในอัตราที่มากกว่า 8.5% ทบต้นครับ เพราะมิฉะนั้นจะก้าวไม่ทันพี่ใหญ่ครับ เพราะพี่ใหญ่จะมี Market Value ที่มากกว่าปีปัจจุบันครับ ภายใต้สมมุติฐานที่มี Growth ครับ
ไม่ทราบว่า ประธานมนตรีมีอะไรจะแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่ครับ
2. ที่ประเมิน Value ตามข้อที่ 1 ได้มูลค่าปัจจุบันใน 5 ปีข้างหน้าคือ 9083.60 บาทนั้น ก็เท่ากับต้องการให้มูลค่าในอนาคต เท่ากับ 9083.60 หารด้วย จำนวนหุ้นปัจจุบันเท่ากับ 2211.287 ล้านหุ้น (กรณี 5 ปีต่อจากนี้ไม่มีการเพิ่มทุนด้วย) หรือเท่ากับ 4.10 บาท ณ ราคาปัจจุบัน (โดยมีสมมุติฐาน discount rate ที่ 10%) เทียบกับราคาปัจจุบันที่มี Market Value อยู่ที่ 12282.25 หารด้วย 2211.287 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 5.55 บาทต่อหุ้น แบบนี้ ราคาปัจจุบันก็อยู่สูงเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็นใช่หรือไม่ครับ
เพราะ ราคาในอนาคต Instince Value ตามสมมุติฐานคือ 4.10 บาท แต่ราคาปัจจุบันเท่ากับ 5.55 บาท แบบนี้ก็ทำให้ราคาปัจจุบันไม่มี Margin of Safety ใช่ไหมครับ ดังนั้นถ้าบริษัทตั้งเป้าการเติบโตที่จะมี Market Cap เท่าพี่ใหญ่ในปีปัจจุบันคือ 56402.03 บาท ดังนั้นเมื่อเราตีราคาเป็นแบบนี้ ก็หมายความว่า ถ้าจะซื้อหุ้นของน้องใหม่ เราก็ต้องซื้อในราคาต่ำกว่า 4.10 บาทลงมา จึงจะมี Margin of Safety ใช่หรือไม่ครับ
3. ถ้าจะให้ซื้อหุ้นน้องใหม่ในราคาที่สูงกว่าปัจจุบัน ก็ต้องมีสมมุติฐานที่น้องใหม่จะต้องตั้งเป้าการเติบโตที่สูงกว่าปัจจุบันจึงจะทำให้ Instince Value สูงขึ้นครับ
ก็รบกวนสอบถามเพิ่มเติมหน่อยนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 76
ข้อที่ 2 นี้ผมเข้าใจวิธีการคำนวณผิดไป ครับ จริง ๆ แล้ว 9083.60 นั้น เป็นกำไรสุทธิในรูปกระแสเงินสดไม่ใช่มูลค่าหุ้น หรือ Value ของหุ้นทั้งหมด ดังนั้น ถ้าใช้กำไรสุทธิในรูปกระแสเงินสดต่อมูลค่าหุ้นที่ 10% ซึ่งมาจาก (9083/90836 คุณ 100) มูลค่าในอนาคตของพี่ใหญ่จะเป็น 90,836 ล้านบาทครับ2. ที่ประเมิน Value ตามข้อที่ 1 ได้มูลค่าปัจจุบันใน 5 ปีข้างหน้าคือ 9083.60 บาทนั้น ก็เท่ากับต้องการให้มูลค่าในอนาคต เท่ากับ 9083.60 หารด้วย จำนวนหุ้นปัจจุบันเท่ากับ 2211.287 ล้านหุ้น (กรณี 5 ปีต่อจากนี้ไม่มีการเพิ่มทุนด้วย) หรือเท่ากับ 4.10 บาท ณ ราคาปัจจุบัน (โดยมีสมมุติฐาน discount rate ที่ 10%) เทียบกับราคาปัจจุบันที่มี Market Value อยู่ที่ 12282.25 หารด้วย 2211.287 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 5.55 บาทต่อหุ้น แบบนี้ ราคาปัจจุบันก็อยู่สูงเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็นใช่หรือไม่ครับ
เพราะ ราคาในอนาคต Instince Value ตามสมมุติฐานคือ 4.10 บาท แต่ราคาปัจจุบันเท่ากับ 5.55 บาท แบบนี้ก็ทำให้ราคาปัจจุบันไม่มี Margin of Safety ใช่ไหมครับ ดังนั้นถ้าบริษัทตั้งเป้าการเติบโตที่จะมี Market Cap เท่าพี่ใหญ่ในปีปัจจุบันคือ 56402.03 บาท ดังนั้นเมื่อเราตีราคาเป็นแบบนี้ ก็หมายความว่า ถ้าจะซื้อหุ้นของน้องใหม่ เราก็ต้องซื้อในราคาต่ำกว่า 4.10 บาทลงมา จึงจะมี Margin of Safety ใช่หรือไม่ครับ
อย่างไรก็ตาม ตามทฤษฎีนี้ที่เป็นแนวทาง หากใช้กำไรสุทธิในรูปกระแสเงินสดเป็นตัวประเมินมูลค่าหุ้น ผมลองคำนวณ กำไรของน้องใหม่แล้ว ต้องเติบโตที่ 40% ต่อปี ทบต้น จึงจะทำให้กระแสเงินสดปัจจุบัน ขึ้นไปถึง 5640 ล้านบาทได้ครับ แต่ถ้าเติบโตขึ้นไปประมาณ 55% ทบต้น จึงจะทำให้กระแสเงินสดปัจจุบันขึ้นไปถึง 9083 ล้านบาท ซึ่งหากทำได้จริง ก็จะทำให้ราคาหุ้น ที่ควรจะเป็นในอนาคตที่ กำไรสุทธิในรูปกระแสงเงินสดต่อราคาหุ้น 10% ราคาหุ้นจะอยู่ที่ 25 บาท จนถึง 40 บาทเลยครับ
ผมเข้าใจว่า การเติบโตคงไม่ใช่ระดับเพียงแค่ 8.5% ทบต้นนะครับ
รบกวนอาจารย์ประธานมนตรี ช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 77
เพ่งหายป่วยจากการกินยาเลิกบุหรี่ที่คุณวิบูลย์หามาให้กิน สรุปว่าเลิกได้สมบูรณ์แบบแต่ปางตายเลยทีเดียว ทั้งอาเจียร ทั้งกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หลายวัน
คำถามของทังสองท่านนั้น สักพักผมจะมาตอบนะครับ แต่คุณ PLY ลองหาตัวอย่างเรื่องความฝันกับความจริงมาอวดกันหน่อย ผมว่าเยอะนะ พวกบริษัทที่ชอบtake overแล้วว่าจะโตหลายๆเท่าตัว ส่วนเรื่องการเช่าหรือไม่นั้นให้ดูว่าสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือไม่ ถ้าก่อรายได้ก็ควรมีไว้เองไม่น่าเช่า แต่ถ้าเป็นอาคารสถานที่ทำสำนักงานเช่าก็ไม่น่าเป้นไร เพราะย้ายไปไหนก็ได้ แต่ถ้าเครื่องจักรนี่เช่าก็แปลกๆอยู่ จริงไหมครับ
ส่วนคุณ Thawatt ลองกับไป dewriteสูตร Present Value of the future cash flow ดูอีกครั้งนะครับ จะได้ไม่งง ผมนำให้
คำถามของทังสองท่านนั้น สักพักผมจะมาตอบนะครับ แต่คุณ PLY ลองหาตัวอย่างเรื่องความฝันกับความจริงมาอวดกันหน่อย ผมว่าเยอะนะ พวกบริษัทที่ชอบtake overแล้วว่าจะโตหลายๆเท่าตัว ส่วนเรื่องการเช่าหรือไม่นั้นให้ดูว่าสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือไม่ ถ้าก่อรายได้ก็ควรมีไว้เองไม่น่าเช่า แต่ถ้าเป็นอาคารสถานที่ทำสำนักงานเช่าก็ไม่น่าเป้นไร เพราะย้ายไปไหนก็ได้ แต่ถ้าเครื่องจักรนี่เช่าก็แปลกๆอยู่ จริงไหมครับ
ส่วนคุณ Thawatt ลองกับไป dewriteสูตร Present Value of the future cash flow ดูอีกครั้งนะครับ จะได้ไม่งง ผมนำให้
ลดรูปโดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ เป็นV = Ccurrent +C1/(1+rk) + C2/(1+rk)^2 +....Cn/(1+rk)^n
ลองโดยใช้สมมุติฐานทั้งสามข้อของผมนะครับ ดูว่าจะได้สูตรตรงกันไหม เริ่มจากตรงนี้จะไม่งงและจะระลึกได้เสมอ ไม่ต้องเปิดสูตร เอาอย่างBuffettเลยครับ ส่วงนเรื่องอื่นๆว่าราคาสูงไปหรือต่ำไปนั้น ผมบอกแล้วว่ามันมีเรื่อง Brand , Human capital etc. ที่สูตรคณิตศาสตร์ไม่สามารถประเมินได้และไม่ได้อยู่ในงบการเงินนะครับ แต่มนุษย์ทำได้ ลองดูว่ามูลค่าที่เกินมานั้นเหมาะกับ ทรัพยากรณ์ที่บริษัทมีอยู่หรือไม่ครับ
t=n
SUM = Ct/(1+rk)^t
t=0
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 79
เอาเป็นว่าเดี๋ยวผมคุยไปเรื่อยๆ เป็นการเรียกน้ำย่อย ใครอ่านแล้วgetก็ไม่ต้องเสียเงินไปนั่งสัมมนา ใครอยากไปก็เตรียมตัวจากตรงนี้ได้
กำหนดวันสัมนาเรื่อง มองหุ้นเด่นผ่าน BIZ Model ได้แล้วละ คือวันหลังจาก TVI Meeting เอาวันเดียวพอ เอาเป็นไสตร์แนะหลักในการดูBIZ Model และคุยกรณีตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ แบบแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ค่าสัมมนาน่าจะขอสัก 1,800 บาท สำหรับศิษย์เก่าบัญชี ลดให้เหลือ 1,500 บาท เอาไปเป็นค่าดำเนินการของผู้จัด 10%สมทบทุนเข้ากองทุน TVI
รายละเอียด เดี๋ยวพร้อมเมื่อไรจะมาUpdate
เรื่องที่จะคุยต่อไปก็คือเรื่องที่คุณ PLYต้องการทราบ คาดว่าวันสองวันนี้จะสรุปมาคุยกัน
เออ นี่ตกลงว่ามีคนคุยกับผมแค่ สองสามคนเท่านั้นหรือนี่ เหงาอ่ะ
กำหนดวันสัมนาเรื่อง มองหุ้นเด่นผ่าน BIZ Model ได้แล้วละ คือวันหลังจาก TVI Meeting เอาวันเดียวพอ เอาเป็นไสตร์แนะหลักในการดูBIZ Model และคุยกรณีตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ แบบแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ค่าสัมมนาน่าจะขอสัก 1,800 บาท สำหรับศิษย์เก่าบัญชี ลดให้เหลือ 1,500 บาท เอาไปเป็นค่าดำเนินการของผู้จัด 10%สมทบทุนเข้ากองทุน TVI
รายละเอียด เดี๋ยวพร้อมเมื่อไรจะมาUpdate
เรื่องที่จะคุยต่อไปก็คือเรื่องที่คุณ PLYต้องการทราบ คาดว่าวันสองวันนี้จะสรุปมาคุยกัน
เออ นี่ตกลงว่ามีคนคุยกับผมแค่ สองสามคนเท่านั้นหรือนี่ เหงาอ่ะ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 80
ช่วงนี้งานประจำยุ่งครับพี่ หยุดยาวกลับมางานเพียบ
ตามอ่านตามเช็คอยู่คราบบบ
เอาไปแปะไว้ที่Stickyดีไหมครับไว้เรียกลูกค้า
ตามอ่านตามเช็คอยู่คราบบบ
เอาไปแปะไว้ที่Stickyดีไหมครับไว้เรียกลูกค้า
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
มาช่วยคุย..
โพสต์ที่ 81
quote="Mon money"]
เรื่องที่จะคุยต่อไปก็คือเรื่องที่คุณ PLYต้องการทราบ คาดว่าวันสองวันนี้จะสรุปมาคุยกัน
[/quote]
รอรับฟังคำสั่งสอนครับ :D :D :D
ปล. สูตรพี่มนข้างบน มีใครทำ Excel ไว้บ้างครับ คุณ thawattt ทำไว้บ้างเปล่าครับ ถ้าทำไว้ขอบ้าง :oops: :oops: (ขอกันซื่อๆๆ เลย :lol: :lol: )
เรื่องที่จะคุยต่อไปก็คือเรื่องที่คุณ PLYต้องการทราบ คาดว่าวันสองวันนี้จะสรุปมาคุยกัน
[/quote]
รอรับฟังคำสั่งสอนครับ :D :D :D
จริงๆๆด้วยครับเออ นี่ตกลงว่ามีคนคุยกับผมแค่ สองสามคนเท่านั้นหรือนี่ เหงาอ่ะ
ปล. สูตรพี่มนข้างบน มีใครทำ Excel ไว้บ้างครับ คุณ thawattt ทำไว้บ้างเปล่าครับ ถ้าทำไว้ขอบ้าง :oops: :oops: (ขอกันซื่อๆๆ เลย :lol: :lol: )
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 82
มาต่อกันหน่อยครับ เรื่อง ทรัพยากร และความสามารถในการใช้
Business Model ที่ดีนั้นจะต้องสร้างผลตอบแทนได้อย่างคุ้มค่า ถ้าจะให้ดีกว่านั้นจะต้องสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าคู่แข่ง ในการที่บริษัทจะทำได้อย่างนั้น บริษัทจะต้องมีทรัพยากรที่สามารถผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value) บริษัทจะต้องมีความสามารถและกำลังการผลิตในการเปลี่ยนทรัพยากรดังกล่าวให้เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (มีคุณค่าต่อลูกค้า) และเป็นผลกำไรต่อบริษัท
สินทรัพย์มีตัวตนนี้จะระบุอยู่ในงบการเงิน เช่นโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ รวมไปถึงเงินสด
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะไม่สามารถนำมาบันทึกบัญชีได้ตามมาตรฐานบัญชีเราจึงไม่เห็น แต่ทรัพยากรพวกนี้แหละครับมักจะเป็นทรัพยากรที่สร้างผลตอบแทนที่สำคัญให้กับบริษัท เช่น ชื่อเสียงของตราสินค้า ลิขสิทธิ์ ฐานข้อมูลลูกค้า ความสัมพันธ์ของลูกค้าและผู้ขายวัตถุดิบ
ทรัพยากรมนุษย์จะหมายถึงความรู้ความสามารถและความชำนาญของพนักงาน ผู้บริหาร ทรัพยากรส่วนนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะบริษัทดำเนินงานด้วยคน และผู้บริหารก็อยู่ในส่วนนี้ด้วย หากผู้บริหารซื่อสัตย์ เก่ง ก็จัดว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่ยอดเยี่ยม
เมื่อมีทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เปลี่ยนไปเป็นสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการและบริษัทได้กำไร ดังนั้นบริษัทจะต้องมีความสามารถในการเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้า จงจำไว้ว่าลูกค้ามักซื้อสินค้าและบริการเพราะมันสามารถแก้ปัญหาของเขาได้ เช่นซื้อยาเพราะต้องการรักษาโลก ซื้อบ้านเพราะต้องการที่อยู่อาศัย ใช้บริการโทรศัพท์เพราะต้องการสื่อสาร
วิธีการวิเคราะห์ก็คือการตั้งคำถามตามหัวข้อที่ให้ไว้ คือ
Value: ทรัพยากรที่บริษัทใช้นั้นสามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้าหรือไม่?
Rareness: มีเพียงบริษัทนี้เท่านั้นหรือไม่ที่มีทรัพยากรนี้? ถ้าไม่ ความสามารถที่บริษัทใช้ทรัพยากรนี้สูงกว่าคู่แข่งอย่างไร?
Immutability: บริษัทอื่นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่?
Substitutability: มีทรัพยากรอย่างอื่นที่สามารถทดแทนกันและสามารถสร้างคุณค่าต่อลูกค้าได้เท่าเทียมกันหรือไม่?
Appropriability: ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์จริงๆจากทรัพยากรนี้
เอาแค่นี้ก่อน ส่วนใครจะลองเอาไปวิเคราะห์ดูแล้วเอามาอวดกันก็ดี เพราะผมคุยอยู่คนเดียวไม่สนุก เริ่มเบื่อแล้ว
Business Model ที่ดีนั้นจะต้องสร้างผลตอบแทนได้อย่างคุ้มค่า ถ้าจะให้ดีกว่านั้นจะต้องสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าคู่แข่ง ในการที่บริษัทจะทำได้อย่างนั้น บริษัทจะต้องมีทรัพยากรที่สามารถผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้า (Customer Value) บริษัทจะต้องมีความสามารถและกำลังการผลิตในการเปลี่ยนทรัพยากรดังกล่าวให้เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (มีคุณค่าต่อลูกค้า) และเป็นผลกำไรต่อบริษัท
สินทรัพย์มีตัวตนนี้จะระบุอยู่ในงบการเงิน เช่นโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ รวมไปถึงเงินสด
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะไม่สามารถนำมาบันทึกบัญชีได้ตามมาตรฐานบัญชีเราจึงไม่เห็น แต่ทรัพยากรพวกนี้แหละครับมักจะเป็นทรัพยากรที่สร้างผลตอบแทนที่สำคัญให้กับบริษัท เช่น ชื่อเสียงของตราสินค้า ลิขสิทธิ์ ฐานข้อมูลลูกค้า ความสัมพันธ์ของลูกค้าและผู้ขายวัตถุดิบ
ทรัพยากรมนุษย์จะหมายถึงความรู้ความสามารถและความชำนาญของพนักงาน ผู้บริหาร ทรัพยากรส่วนนี้ก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะบริษัทดำเนินงานด้วยคน และผู้บริหารก็อยู่ในส่วนนี้ด้วย หากผู้บริหารซื่อสัตย์ เก่ง ก็จัดว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่ยอดเยี่ยม
เมื่อมีทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เปลี่ยนไปเป็นสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการและบริษัทได้กำไร ดังนั้นบริษัทจะต้องมีความสามารถในการเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้า จงจำไว้ว่าลูกค้ามักซื้อสินค้าและบริการเพราะมันสามารถแก้ปัญหาของเขาได้ เช่นซื้อยาเพราะต้องการรักษาโลก ซื้อบ้านเพราะต้องการที่อยู่อาศัย ใช้บริการโทรศัพท์เพราะต้องการสื่อสาร
วิธีการวิเคราะห์ก็คือการตั้งคำถามตามหัวข้อที่ให้ไว้ คือ
Value: ทรัพยากรที่บริษัทใช้นั้นสามารถสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อลูกค้าหรือไม่?
Rareness: มีเพียงบริษัทนี้เท่านั้นหรือไม่ที่มีทรัพยากรนี้? ถ้าไม่ ความสามารถที่บริษัทใช้ทรัพยากรนี้สูงกว่าคู่แข่งอย่างไร?
Immutability: บริษัทอื่นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่?
Substitutability: มีทรัพยากรอย่างอื่นที่สามารถทดแทนกันและสามารถสร้างคุณค่าต่อลูกค้าได้เท่าเทียมกันหรือไม่?
Appropriability: ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์จริงๆจากทรัพยากรนี้
เอาแค่นี้ก่อน ส่วนใครจะลองเอาไปวิเคราะห์ดูแล้วเอามาอวดกันก็ดี เพราะผมคุยอยู่คนเดียวไม่สนุก เริ่มเบื่อแล้ว
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 83
คุณ path2544
http://www.latterblum.com/calc/dcf.html
ผมไปเจอ web site ที่คำนวณ DCF ง่าย ๆ นะครับ key Cashflow ในแต่ละปีที่เราคาดการณ์หรือคำนวนเข้าไป แล้วใส่ Discount Cashflow ที่เท่ากับ WACC ที่เราคำนวณลงไป จะได้ NPV ซึ่งเอาไปใช้ในการคำนวณสูตร Value ของประธานมนตรีได้ครับ เผื่อบางคนไม่อยากใช้ Excel ก็เอาเครื่องใน Internet นี่หละครับลองคำนวณ Value ด้วยตนเองได้เลยครับสูตรพี่มนข้างบน มีใครทำ Excel ไว้บ้างครับ คุณ thawattt ทำไว้บ้างเปล่าครับ ถ้าทำไว้ขอบ้าง
http://www.latterblum.com/calc/dcf.html
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 84
ไปเจออีก website หนึ่งครับ คำนวณ Calculator ได้สบายมาก และทำคำนวณได้หลาย mode ครับ ไม่ว่าจะเป็น
Compound Interest
Present Value
Rate of Return
Annuity
Bond Yield
Mortgage
Retirement
ลองไปเล่นดูได้ เข้าไป website แล้ว ไปที่link Calculator ครับ คราวนี้เราก็คำนวณได้สนุกสนาน ไม่ว่าจะคำนวณจาก Future อนาคต และหา PV เพื่อหาว่า Value ปัจจุบันเป็นอย่างไร หรือมี PV แล้วอยากจะคำนวณว่าถ้าเติบโตมี Growth ไปเรื่อย ๆ มูลค่าอนาคตจะเป็นอย่างไร หรือจะคำนวณเงินผ่อนชำระต่าง ๆ คำนวณ IRR ถ้ามี Cash Flow สารพัดครับ ลองไปเล่นดูนะครับ ไม่ต้องพึ่ง Excel ก็ได้ครับ
http://www.moneychimp.com/articles/valu ... kvalue.htm
Compound Interest
Present Value
Rate of Return
Annuity
Bond Yield
Mortgage
Retirement
ลองไปเล่นดูได้ เข้าไป website แล้ว ไปที่link Calculator ครับ คราวนี้เราก็คำนวณได้สนุกสนาน ไม่ว่าจะคำนวณจาก Future อนาคต และหา PV เพื่อหาว่า Value ปัจจุบันเป็นอย่างไร หรือมี PV แล้วอยากจะคำนวณว่าถ้าเติบโตมี Growth ไปเรื่อย ๆ มูลค่าอนาคตจะเป็นอย่างไร หรือจะคำนวณเงินผ่อนชำระต่าง ๆ คำนวณ IRR ถ้ามี Cash Flow สารพัดครับ ลองไปเล่นดูนะครับ ไม่ต้องพึ่ง Excel ก็ได้ครับ
http://www.moneychimp.com/articles/valu ... kvalue.htm
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 85
ตัวอย่างที่ผมนำมาคำนวณอัตราดอกเบี้ยทบต้นของ cash Flow ครับตามที่ท่านประธานมนตรีบอกครับ ผมลองกด Rate of return ดูครับ แล้วเครื่องก็คำนวณตัวเลขออกมาตามนี้ครับ
Present Value: $ 1,039.00
Future Value: $ 9,083.00
Years to Grow: 5
Growth Rate: % 54.28
ซึ่งเครื่องคำนวณได้ทันทีว่า อัตราดอกเบี้ยทบต้นจาก Cash flow ปัจจุบันที่อยู่ที่ 1039 จะขึ้นไปเป็น 9083 นั้น จะต้องขึ้นไปด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้นหรือ IRR ที่เท่าไร และเครื่องก็คำนวณออกมาว่าเท่ากับ 54.28% ครับ
สะดวกง่ายดายจริง ๆ ครับ อิ อิ
ผมกำลังหา Calculator ที่จะคำนวณ Net free Cash flow อยู่ เพราะต้องมีการคำนวณยุ่งยากเล็กน้อย ตอนนี้ค้นได้แต่สูตรการคำนวณ แต่ยังหา Calculator ไม่เจอ อิ อิ เดี๋ยวถ้าเจอจะเอามา Share กัน
คราวนี้เราก็สามารถประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตนเองได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นครับ
Present Value: $ 1,039.00
Future Value: $ 9,083.00
Years to Grow: 5
Growth Rate: % 54.28
ซึ่งเครื่องคำนวณได้ทันทีว่า อัตราดอกเบี้ยทบต้นจาก Cash flow ปัจจุบันที่อยู่ที่ 1039 จะขึ้นไปเป็น 9083 นั้น จะต้องขึ้นไปด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้นหรือ IRR ที่เท่าไร และเครื่องก็คำนวณออกมาว่าเท่ากับ 54.28% ครับ
สะดวกง่ายดายจริง ๆ ครับ อิ อิ
ผมกำลังหา Calculator ที่จะคำนวณ Net free Cash flow อยู่ เพราะต้องมีการคำนวณยุ่งยากเล็กน้อย ตอนนี้ค้นได้แต่สูตรการคำนวณ แต่ยังหา Calculator ไม่เจอ อิ อิ เดี๋ยวถ้าเจอจะเอามา Share กัน
คราวนี้เราก็สามารถประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตนเองได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 86
และใครต้องการคำนวณ Net free cash flow เพื่อหามูลค่า Value ของหุ้น ตามสูตรของท่านประธานมนตรี และมี Calculator ที่คำนวณได้อย่างง่ายดาย ลองเข้าไปทบทวนสูตร net free cash flow จากกระทู้นี้ครับ มีการคำนวณตัวอย่างให้เห็นด้วยครับ ลองไปเล่นกันดูนะครับ คราวนี้เราจะจะประเมินมูลค่าหุ้นตาม Business model ได้ง่ายขึ้นอีกครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=24713
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=24713
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 87
และหากเราจะเริ่มต้นคำนวณมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เอาขึ้นตอนตามนี้ไปก่อนแล้วไปขยายความรู้ต่อครับว่า ในแต่ละเรื่องหมายถึงอะไรบ้าง หรือจะหาหนังสือของท่านแม่ทัพสุมาอี้มาอ่านเพิ่มเติมก็ได้ครับ หวังว่าหนังสือท่านแม่ทัพสุมาอี้จะยังไม่หมดไปจากท้องตลาดนะครับ อิ อิ รบกวนท่านแม่ทัพสุมาอี้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ
Step 1Forecast Expected Cash Flow: the first order of business is to forecast the expected cash flow for the company based on assumptions regarding the company's revenue growth rate, net operating profit margin, income tax rate, fixed investment requirement, and incremental working capital requirement. We describe these variables and how to estimate them in other screens.
Step 2Estimate the Discount Rate: the next order of business is to estimate the company's weighted average cost of capital (WACC), which is the discount rate that's used in the valuation process. We describe how to do this using easily observable inputs in other screens.
Step 3Calculate the Value of the Corporation: the company's WACC is then used to discount the expected cash flows during the Excess Return Period to get the corporation's Cash Flow from Operations. We also use the WACC to calculate the company's Residual Value. To that we add the value of Short-Term Assets on hand to get the Corporate Value.
Step 4Calculate Intrinsic Stock Value: we then subtract the values of the company's liabilitiesdebt, preferred stock, and other short-term liabilities to get Value to Common Equity, divide that amount by the amount of stock outstanding to get the per share intrinsic stock value.
Step 1Forecast Expected Cash Flow: the first order of business is to forecast the expected cash flow for the company based on assumptions regarding the company's revenue growth rate, net operating profit margin, income tax rate, fixed investment requirement, and incremental working capital requirement. We describe these variables and how to estimate them in other screens.
Step 2Estimate the Discount Rate: the next order of business is to estimate the company's weighted average cost of capital (WACC), which is the discount rate that's used in the valuation process. We describe how to do this using easily observable inputs in other screens.
Step 3Calculate the Value of the Corporation: the company's WACC is then used to discount the expected cash flows during the Excess Return Period to get the corporation's Cash Flow from Operations. We also use the WACC to calculate the company's Residual Value. To that we add the value of Short-Term Assets on hand to get the Corporate Value.
Step 4Calculate Intrinsic Stock Value: we then subtract the values of the company's liabilitiesdebt, preferred stock, and other short-term liabilities to get Value to Common Equity, divide that amount by the amount of stock outstanding to get the per share intrinsic stock value.
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 88
ขอบคุณครับ คุณThawatt
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ขอเปิดประเด็นเรื่อง Biz Modelต่อ
โพสต์ที่ 90
ประธานมนตรี
เพราะถ้าเราประเมินมูลค่าจากทรัพย์สินที่มีตัวตน พอมี Ratio ที่จะประเมินได้ครับ แต่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนี้ สำคัญมาก แต่หา Ratio หรือวิธีการประเมินไม่รู้จะทำอย่างไรดีครับ
หรือเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ มีความเห็นอย่างไรก็ช่วย Share กันด้วยครับ
อยากจะสอบถามอาจารย์มนตรีหน่อยนะครับว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น เวลาเราจะประเมินประสิทธิภาพว่าสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรมากน้อยเพียงใดเราจะมีวิธีการประเมินได้หรือไม่ครับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะไม่สามารถนำมาบันทึกบัญชีได้ตามมาตรฐานบัญชีเราจึงไม่เห็น แต่ทรัพยากรพวกนี้แหละครับมักจะเป็นทรัพยากรที่สร้างผลตอบแทนที่สำคัญให้กับบริษัท เช่น ชื่อเสียงของตราสินค้า ลิขสิทธิ์ ฐานข้อมูลลูกค้า ความสัมพันธ์ของลูกค้าและผู้ขายวัตถุดิบ
เพราะถ้าเราประเมินมูลค่าจากทรัพย์สินที่มีตัวตน พอมี Ratio ที่จะประเมินได้ครับ แต่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนี้ สำคัญมาก แต่หา Ratio หรือวิธีการประเมินไม่รู้จะทำอย่างไรดีครับ
หรือเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ มีความเห็นอย่างไรก็ช่วย Share กันด้วยครับ