ค่าเงินบาทกับสต๊อกของผู้นำเข้า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเงินบาทกับสต๊อกของผู้นำเข้า

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ถ้าเงินบาทแข็งขึ้นมากจนทำให้สต๊อกของผู้นำเข้าที่ซื้อมาก่อนหน้านี้ที่ต้นทุน 40 บาท เหลือค่าแค่เพียง 35 บาท แบบนี้จำเป็นจะต้องมี management discretion ที่จะตัดขาดทุนจากการด้อยค่าของสินค้าคงคลังหรือไม่ครับ  :roll:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเงินบาทกับสต๊อกของผู้นำเข้า

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เหลือ 32 แล้วครับ

หรือเขาจะตัดเป็นขาดทุนจากค่าเงิน ครับ

มันจะต่างกันยังไงครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเงินบาทกับสต๊อกของผู้นำเข้า

โพสต์ที่ 3

โพสต์

กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดจากการที่บริษัทมีสินทรัพย์หรือหนี้สินอยู่ในรูปของเงินเหรียญ แล้วเวลาทำงบต้องแสดงในรูปเงินบาทเลยเกิดกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

แต่กรณีของผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้ามาขายในประเทศ น่าจะขึ้นอยู่กับว่าต้นทุนของสินค้าคงเหลือนั้น สูงกว่าราคาขายตามท้องตลาดหรือเปล่า

ถ้าต้นทุนสูงกว่าราคาตลาด จะต้องตั้งสำรองสินค้าคงเหลือครับ
แต่ถ้าต้นทุนต่ำกว่าราคาตลาด แปลว่าหากขายได้บริษัทยังมีกำไร ถึงแม้จะได้กำไรลงก็ตาม ก็ไม่ต้องทำอะไรครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับธรรมาภิบาลของผู้บริหาร และจรรยาบรรณผู้สอบบัญชีครับ :lol:
"Price is what you pay. Value is what you get."
โพสต์โพสต์