อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ในอดีตที่ผ่านมา การที่พลังงานมีค่าสูงขึ้น
หรือแพงขึ้น ผู้ใช้จะรู้สักประหยัดใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด
แต่ในปัจจุบันไม่รู้ว่าผมคิดไปเองไหม
การใช้กับฟุ่ยเฟือยมากขึ้น และมีการสูญเสียมากกว่าแต่ก่อนอีก
ทำไมเป็นแบบนี้
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เพราะมัน hot ครับ ก็เลยต้องเปิดแอร์กันเยอะ

:D :D :D
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 0

อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

หลายบริษัทรายงานผลประกอบการที่ลดลง
โดยส่วนหนึ่งคือค่าใช้จ่ายถูกขึ้นมากกว่ารายได้ที่สูงขึ้น
หากมีการค่าไฟ และพลังงานสูงขึ้นไปอีก คงต้องกระทบผบประกอบการแน่นอน
คงต้องให้ความสนใจกับกิจการที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นครับในช่วงนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

Re: อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเป

โพสต์ที่ 4

โพสต์

hot เขียน:ในอดีตที่ผ่านมา การที่พลังงานมีค่าสูงขึ้น
หรือแพงขึ้น ผู้ใช้จะรู้สักประหยัดใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด
แต่ในปัจจุบันไม่รู้ว่าผมคิดไปเองไหม
การใช้กับฟุ่ยเฟือยมากขึ้น และมีการสูญเสียมากกว่าแต่ก่อนอีก
ทำไมเป็นแบบนี้

ยุครัฐบาลทุนนิยมครับ

ขายหุ้นรัฐวิสาหกิจถูกๆ (เป็นเกมส์ตั้งตัวของรัฐมนโท)

พวกรายย่อยนี่ น้ำจิ้ม ได้หุ้นจองคนละพัน2พัน

รัฐมนโทบวกเครือญาติอัดกันไปเป้นล้านๆ

ดูการจัดสรรหุ้นptt ก็แล้วกัน

นามสกุลอักษร จXXXXXX นำหน้าฟาดไปกี่ล้านหุ้น

ลองตรวจดู แล้ว ปปง กลต พวกนี้ไม่เคยคิดเลยหรือไง

นี่คือ........เกมส์ฟอกหุ้นให้เป็นเงิน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

อันตรายไปไหมที่ค่าพลังงานสูงขึ้น แต่นิสัยการใช้ไม่เคยเปลี่ย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อีกหนึ่งสาเหตุครับที่ทำให้พลังงานบริโภคแพงขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ
กฟผ.รับประเมินแผนลงทุนพลาด 4.6 หมื่นล้าน
ดันต้นทุนแฝงค่าเอฟที 4 ส.ต.

กฟผ.รับประเมินแผนลงทุนผิดพลาดกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท เป็นต้นทุนแฝงในค่าเอฟที 4 ส.ต.ต่อหน่วย พรหมินทร์ ชี้สัญญาซื้อขายก๊าซเสียเปรียบ เรียกร้องความเสียหายจากผู้ผลิตไม่ได้ แม้ส่งมอบล่าช้า




น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยอมรับว่าการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. นี้ อีก 12.6 สตางค์ต่อหน่วย จาก 2.51 บาทต่อหน่วย เป็น 2.63 บาทต่อหน่วย เนื่องจากการไฟฟ้าผฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ประเมินแผนการลงทุนผิดพลาด ทำให้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าทั้งค่าเชื้อเพลิงและค่าพร้อมจ่ายการซื้อขายก๊าซเพิ่มขึ้น

โดย กฟผ. ชี้แจงว่า ประมาณการเดิมปี 2546 จะมีค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 100,876 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 128,935 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28,059 ล้านบาท ขณะที่ค่าพร้อมจ่ายประมาณการว่าจะมี 19,417 ล้านบาท แต่เกิดขึ้นจริง 38,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,754 ล้านบาท เมื่อรวมค่าใช้จ่ายที่คำนวณผิดผลาดรวมทั้งสิ้น 46,813 ล้านบาท โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนำมารวมไว้ในค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้น 4 ส.ต.ต่อหน่วย

สำหรับต้นทุนที่ประมาณการผิดพลาดนั้น เนื่องจากแหล่งก๊าซเยตะกุนในพม่าไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ตามสัญญา เพราะต้องหยุดการผลิต เพื่อขยายกำลังการผลิตช่วง ส.ค.2546-มี.ค.2547 เพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านลูกบาศก์ฟุต เป็น 400 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งระหว่างที่ไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ กฟผ. ต้องจ่ายค่าพร้อมจ่ายล่วงหน้าให้ผู้ผลิตตามสัญญาไปก่อน แม้ไม่ได้ผิดสัญญา

น.พ.พรหมินทร์ ยังระบุว่า สัญญาซื้อขายก๊าซระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อ หากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นจนไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ตามสัญญา ผู้ซื้อจะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ผลิตได้ แม้ว่าผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้ผลิตได้ แต่รัฐบาลจะดูแลส่วนนี้ให้ดีที่สุด และพยายามไม่ให้ค่าไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นมากเกินไป

"หากช่วงใดที่ค่าไฟสูงเกินเหตุ รัฐบาลจะพยายามไม่ให้เพิ่มเกิน 10% ต่อปี เพราะปกติโครงสร้างค่าไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือค่าเชื้อเพลิง 50% และค่าใช้จ่ายการลงทุนอีก 50% โดยค่าเอฟทีที่ขึ้นอีก 12.16 ส.ต.ครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ." รมว.พลังงานย้ำ

ทั้งนี้ กฟผ. มีค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่หันมาใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซเพิ่มขึ้น 1.10 บาทต่อหน่วย ค่าน้ำมัน 2.20 บาทต่อหน่วย จากปีที่ผ่านมาใช้น้ำมันเตา 500 ล้านลิตร ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น1,000 ล้านลิตร และเพิ่มเป็น 4,000 ล้านลิตร ในปี 2548 คาดว่าค่าไฟฟ้าตั้งแต่ปีนี้ถึงปี 2549 จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามต้นทุนสูงขึ้น จึงอนุมัติให้เพิ่มค่าเอฟที

อย่างไรก็ตามรัฐบาลกำลังพิจารณาให้ กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มและหาพลังงานอื่นมาทดแทนก๊าซมากขึ้น รวมถึงใช้กลไกการเงินมาลดต้นทุน โดยอาจจะนำกำไรที่ได้จากการแปรรูป กฟผ. มาตั้งเป็นกองทุนเพื่อชดเชยค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งว่าสามารถทำได้หรือไม่

ด้านนายบรรพต แสงเขียว ผู้ช่วยผู้ว่าการนโยบายและแผน กฟผ. กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าสงขลา เดิมมีแผนสร้างที่ อ.จะนะ เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท กำหนดเสร็จปี 2550 แต่หากต้องการลดต้นทุนต้องก่อสร้างให้เสร็จปี 2549 จะช่วยประหยัดต้นทุนได้ 5,000 ล้านบาท คิดเป็นค่าไฟฟ้า 5 สตางค์ต่อหน่วย
ประชาขนตาดำๆ รับเคราะห์ไปจากความผิดพลาดของกฟผ. อย่างนี้อะไรเป็นแรงจูงใจให้กฟผ. ผลิตไฟฟ้าให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดกันครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ล็อคหัวข้อ