ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 1
กับดักสภาพคล่อง ที่เป็นปรากฎการณ์ว่า
ถึงแม้ลดดอกเบี้ยอย่างต่ำเตี้ยแล้ว คนก็ยังไม่ยอมใช้จ่ายกันให้มากขึ้น
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกใช่ไหมครับ
ที่ผมคิดว่ากำลังเกิดเช่นนั้น เพราะว่าคนค้าขายบ่นว่าค้าขายไม่ดี
ในวงการผม หอบผ้าหอบผ่อน หนีหนี้ไปหลายเจ้าแล้วครับ
แต่เท่าที่ดู คนซื้อยังมีกำลังซื้อพอประมาณครับ ขาดแต่อารมณ์ที่จะทำให้ซื้อ
แล้วเห็นว่ารัฐก็กำลังพิจารณาเรื่องจะขึ้น VAT เป็น 10% อีกแน่ะ
ไหนตอนนั้นบอกว่า พูดมาเพื่อเป็นแค่การเสนอแนะแก่รัฐบาลต่อไปที่จะมาจากการเลือกตั้ง
แต่วันนี้แอบได้ข่าวแวบ ๆ แล้วว่า มีการประเมินผลกระทบจากการขึ้น VAT กันแล้ว
ถึงแม้ลดดอกเบี้ยอย่างต่ำเตี้ยแล้ว คนก็ยังไม่ยอมใช้จ่ายกันให้มากขึ้น
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกใช่ไหมครับ
ที่ผมคิดว่ากำลังเกิดเช่นนั้น เพราะว่าคนค้าขายบ่นว่าค้าขายไม่ดี
ในวงการผม หอบผ้าหอบผ่อน หนีหนี้ไปหลายเจ้าแล้วครับ
แต่เท่าที่ดู คนซื้อยังมีกำลังซื้อพอประมาณครับ ขาดแต่อารมณ์ที่จะทำให้ซื้อ
แล้วเห็นว่ารัฐก็กำลังพิจารณาเรื่องจะขึ้น VAT เป็น 10% อีกแน่ะ
ไหนตอนนั้นบอกว่า พูดมาเพื่อเป็นแค่การเสนอแนะแก่รัฐบาลต่อไปที่จะมาจากการเลือกตั้ง
แต่วันนี้แอบได้ข่าวแวบ ๆ แล้วว่า มีการประเมินผลกระทบจากการขึ้น VAT กันแล้ว
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 2
ประเทศไทยเคยอยู่ในกับดักสภาพคล่องมาก่อนแล้วตอนที่ดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.50%
เคนส์เชื่อว่าเวลาเศรษฐกิจตกหล่ม รัฐต้องใช้จ่ายเพื่อดึงเศรษฐกิจให้กลับขึ้นมาจากหลุม ไทยเราก็ได้ลองทำไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าพอเงินหมด เศรษฐกิจก็ทรุดกลับลงไปใหม่เหมือนเดิม
ฟรีแมนเชื่อว่าความมั่นใจของผู้บริโภคนั้นขึ้นอยู่กับ permanent income (all expected future income) ไม่ใช่ current income การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการฉีดเงินจึงไม่ได้ผล สังเกตดูเวลาคุณได้ package ก้อนโตตอนถูกไล่ออกจากงาน คุณจะใช้จ่ายมากขึ้นหรือน้อยลง
คนจะใช้จ่ายมากขึ้นก็ต่อเมื่อเขามีมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของเขา (permanent income) ถ้าคุณหาได้งาน แม้ยังไม่ได้รับเงินเดือนเดือนแรก คุณก็กล้าใช้จ่ายมากกว่าเดิมแล้ว :lol:
นักธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ถ้ารัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ เขารู้ว่าเป็นดีมานด์เทียม เขาจึงไม่ลงทุนเพิ่ม เพียงแต่ใช้กำลังการผลิตเดิมที่ว่างอยู่ขายของไปเท่านั้น การกระตุ้นจากภาครัฐจึงทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ได้ นักธุรกิจจะลงทุนเพิ่มก็ต่อเมื่อเขาเห็นว่ามีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นในระยะยาว :)
ผมว่าไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่าการรอ สต๊อกส่วนเกินที่ค่อยๆ หมดไป เครื่องจักรส่วนเกินที่ค่อยๆ เก่าลง ถึงจุดๆ หนึ่ง อุปทานส่วนเกินเหล่านั้นก็จะหายไปจากตลาดจนน้อยกว่าอุปสงค์ ภาคธุรกิจก็จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครั้งเอง เหมือนกับญี่ปุ่น กระตุ้นไปไม่รู้ต้องกี่ครั้ง ไม่ได้ผล พอเลิกพยายาม อยู่ดีๆ มันก็ฟื้นขึ้นมาเอง
มันจะฟื้นเองเมื่อถึงเวลา
เคนส์เชื่อว่าเวลาเศรษฐกิจตกหล่ม รัฐต้องใช้จ่ายเพื่อดึงเศรษฐกิจให้กลับขึ้นมาจากหลุม ไทยเราก็ได้ลองทำไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าพอเงินหมด เศรษฐกิจก็ทรุดกลับลงไปใหม่เหมือนเดิม
ฟรีแมนเชื่อว่าความมั่นใจของผู้บริโภคนั้นขึ้นอยู่กับ permanent income (all expected future income) ไม่ใช่ current income การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการฉีดเงินจึงไม่ได้ผล สังเกตดูเวลาคุณได้ package ก้อนโตตอนถูกไล่ออกจากงาน คุณจะใช้จ่ายมากขึ้นหรือน้อยลง
คนจะใช้จ่ายมากขึ้นก็ต่อเมื่อเขามีมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของเขา (permanent income) ถ้าคุณหาได้งาน แม้ยังไม่ได้รับเงินเดือนเดือนแรก คุณก็กล้าใช้จ่ายมากกว่าเดิมแล้ว :lol:
นักธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ถ้ารัฐกระตุ้นเศรษฐกิจ เขารู้ว่าเป็นดีมานด์เทียม เขาจึงไม่ลงทุนเพิ่ม เพียงแต่ใช้กำลังการผลิตเดิมที่ว่างอยู่ขายของไปเท่านั้น การกระตุ้นจากภาครัฐจึงทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้นไม่ได้ นักธุรกิจจะลงทุนเพิ่มก็ต่อเมื่อเขาเห็นว่ามีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นในระยะยาว :)
ผมว่าไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่าการรอ สต๊อกส่วนเกินที่ค่อยๆ หมดไป เครื่องจักรส่วนเกินที่ค่อยๆ เก่าลง ถึงจุดๆ หนึ่ง อุปทานส่วนเกินเหล่านั้นก็จะหายไปจากตลาดจนน้อยกว่าอุปสงค์ ภาคธุรกิจก็จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครั้งเอง เหมือนกับญี่ปุ่น กระตุ้นไปไม่รู้ต้องกี่ครั้ง ไม่ได้ผล พอเลิกพยายาม อยู่ดีๆ มันก็ฟื้นขึ้นมาเอง
มันจะฟื้นเองเมื่อถึงเวลา
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 4
ดอกเบี้ยลดแต่เงินฝาก เงินกู้ยังไม่ได้ลดตามนิครับ
ผมเชื่อว่า มาตราการกระตุ้นเศษรฐกิจยังได้ผลอยู่
เพียงแต่เรามองด้าน demand เกินไปหรือเปล่า
ถ้าเราเพิ่มเส้น supply ให้สูงขึ้น
ช่วง recession มาตราการนี้ สมัยเรแกน เคยใช้ได้ผลมาแล้ว
โดยการลดภาษี แทนที่รัฐจะได้ภาษีน้อยลงกลับได้มากขึ้น
เนื่องจาก ประชาชนเร่งให้เกิดผลผลิต
ผมเชื่อว่า มาตราการกระตุ้นเศษรฐกิจยังได้ผลอยู่
เพียงแต่เรามองด้าน demand เกินไปหรือเปล่า
ถ้าเราเพิ่มเส้น supply ให้สูงขึ้น
ช่วง recession มาตราการนี้ สมัยเรแกน เคยใช้ได้ผลมาแล้ว
โดยการลดภาษี แทนที่รัฐจะได้ภาษีน้อยลงกลับได้มากขึ้น
เนื่องจาก ประชาชนเร่งให้เกิดผลผลิต
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 6
อันนี้ผมเห็นไม่เหมือนคุณสุมาอี้นะครับ
จริงๆแล้วการใช้จ่ายภาครัฐมันไม่เหมือนการให้เงินชดเชยการว่างงานครับ แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาด้วยว่าการใช้จ่ายภาครัฐดังกล่าวส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆต่อเนื่องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างถนน ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานในการสร้าง ทำให้ผู้ผลิตยางมะตอยสามารถจำหน่ายสินค้าออกมาได้และเกิดการผลิต(ในกรณีที่ไม่มีสินค้าคงค้าง) เหมืองหิน ซีเมนต์ วิศวกร รถบดถนน ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมสู่ชุมชน เช่น การเดินทางสะดวกขึ้น ส่งผลให้การขนส่งมากเที่ยวขึ้นหรือใช้เวลาสั้นลง(reduce cost) เมื่อถนนตัดผ่านการคมนาคมดีขึ้น ส่งผลให้วัฏจักรทางเศรษฐกิจต่างๆเรื่อมหมุนต่อไปเรื่อยๆ นี่คือผลลัพธ์จากการที่รัฐใช้จ่ายด้านสาธรณูปโภคครับ
จริงๆแล้วการใช้จ่ายภาครัฐมันไม่เหมือนการให้เงินชดเชยการว่างงานครับ แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาด้วยว่าการใช้จ่ายภาครัฐดังกล่าวส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆต่อเนื่องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างถนน ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานในการสร้าง ทำให้ผู้ผลิตยางมะตอยสามารถจำหน่ายสินค้าออกมาได้และเกิดการผลิต(ในกรณีที่ไม่มีสินค้าคงค้าง) เหมืองหิน ซีเมนต์ วิศวกร รถบดถนน ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมสู่ชุมชน เช่น การเดินทางสะดวกขึ้น ส่งผลให้การขนส่งมากเที่ยวขึ้นหรือใช้เวลาสั้นลง(reduce cost) เมื่อถนนตัดผ่านการคมนาคมดีขึ้น ส่งผลให้วัฏจักรทางเศรษฐกิจต่างๆเรื่อมหมุนต่อไปเรื่อยๆ นี่คือผลลัพธ์จากการที่รัฐใช้จ่ายด้านสาธรณูปโภคครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 7
สำหรับปัญหากับดักสภาพคล่องคือ การที่ประชาชนขาดความมั่นใจทางเศรษฐกิจมาก จนมีความต้องการถือเงินไม่จำกัด (ง่ายๆครับถือเงินสดไว้อย่างเดียวเลย ไม่ยอมใช้จ่าย(ยกเว้นเพื่อการดำรงชีพ)แม้จะเก็บเงินลงไหฝังดิน และไม่ได้ดอกเบี้ยก็ทำ) ซึ่งสถานการณ์ ในลักษณะเช่นนี้ ในทฤษฎีของเคนส์รัฐบาลจะไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการปรับดอกเบี้ยไม่ได้ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่นลดดอกเบี้ยลงแล้วแต่ก็ไม่ได้กระตุ้นการลงทุนให้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ด้านบริโภคก็ยังคงไม่กล้าใช้จ่าย) ซึ่งตามทฤษฎีของเคนส์ นโยบายที่ใช้ได้ในกรณีนี้คือนโยบายการคลัง ซึ่งมีสองส่วนคือ ด้านภาษี การการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งทั้งนี้การใช้จ่ายภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงตามโพสที่แล้วที่ได้โพสไป
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 8
หรือเคนส์หรือไม่เคนส์นี่ผมไม่เถียงกับใครแล้วล่ะ เห็นเขาเถียงกันมา 50 ปีแล้ว ไม่ได้อะไร แล้วแต่ค่ายครับ คิดต่างกันได้แต่ไม่ต้องทะเลาะกันนะครับ (ยืมสโลแกนพี่หนึ่งมา)
แต่สงสัยคราวนี้คงได้เห็นนโยบายการเงิน (ดอกเบี้ย) มากกว่านโยบายการคลังแน่ๆ เพราะผมทราบมาว่าคุณฉลองภพอยู่ในค่ายที่เชื่อว่าเศรษฐกิจที่เป็นระบบเปิด นโยบายการคลังจะใช้ไม่ได้ผล
คาบข่าวมาบอก
แต่สงสัยคราวนี้คงได้เห็นนโยบายการเงิน (ดอกเบี้ย) มากกว่านโยบายการคลังแน่ๆ เพราะผมทราบมาว่าคุณฉลองภพอยู่ในค่ายที่เชื่อว่าเศรษฐกิจที่เป็นระบบเปิด นโยบายการคลังจะใช้ไม่ได้ผล
คาบข่าวมาบอก
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 9
แก้ที่ root cause ครับ ที่อกสั่นขวัญแขวนรายวัน ก็เพราะนโยบายรัฐไม่ใช่เหรอ ตั้งแต่ 30% แล้ว
ไม่ต้องลดดอกเบี้ยหรอกครับ ไม่ต้องเปิดตำรา Econ ด้วย การเมืองไม่นิ่ง ตำราไหนจะช่วยได้ล่ะ ถ้าจะกระตุ้นศก. รัฐบาลทำอะไรให้คิดถึงประชาชนหน่อย
ไอ้ประเภทยิงกราดลูกสมุนรายวัน พอได้แล้วครับ เกลียดหัวหน้าก็ตามล่ามาขึ้นศาลเลย ให้จบกัน ส่วนอื่นๆ maintain ไว้ก็บุญโขแล้ว บ้านเมืองไทยไม่ได้เลวร้ายอะไรนักหรอก เด๋วก็ดีเอง พวกโฆษณาชวนเชื่อก็หัดปิดปากมั่งครับ ไม่ต้องบอกว่าใคร
เรื่องเงินแข็งนำเข้าจะดี เงินอ่อนส่งออกจะดี ผมว่าเอกชนคิดได้ ไม่ต้องรอรัฐมาบอก ส่วนพวกกดดันรัฐบาลโอดว่าจะเจ๊งแล้ว ควรกลับไปกวาดบ้านตัวเองซะ ไอ้ที่เคยโกงบริษัทตัวเองจนรวยปลิ้นก็เลิกซะ ..ไม่เจ๊งหรอก ญี่ปุ่นเค้าว่า 7 waste ..เมืองไทยขอเพิ่ม management waste อีกรายการก็แล้วกัน
ไม่ต้องลดดอกเบี้ยหรอกครับ ไม่ต้องเปิดตำรา Econ ด้วย การเมืองไม่นิ่ง ตำราไหนจะช่วยได้ล่ะ ถ้าจะกระตุ้นศก. รัฐบาลทำอะไรให้คิดถึงประชาชนหน่อย
ไอ้ประเภทยิงกราดลูกสมุนรายวัน พอได้แล้วครับ เกลียดหัวหน้าก็ตามล่ามาขึ้นศาลเลย ให้จบกัน ส่วนอื่นๆ maintain ไว้ก็บุญโขแล้ว บ้านเมืองไทยไม่ได้เลวร้ายอะไรนักหรอก เด๋วก็ดีเอง พวกโฆษณาชวนเชื่อก็หัดปิดปากมั่งครับ ไม่ต้องบอกว่าใคร
เรื่องเงินแข็งนำเข้าจะดี เงินอ่อนส่งออกจะดี ผมว่าเอกชนคิดได้ ไม่ต้องรอรัฐมาบอก ส่วนพวกกดดันรัฐบาลโอดว่าจะเจ๊งแล้ว ควรกลับไปกวาดบ้านตัวเองซะ ไอ้ที่เคยโกงบริษัทตัวเองจนรวยปลิ้นก็เลิกซะ ..ไม่เจ๊งหรอก ญี่ปุ่นเค้าว่า 7 waste ..เมืองไทยขอเพิ่ม management waste อีกรายการก็แล้วกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 269
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 10
อ่านมา ผมเห็นด้วยกับทุกคน นะครับ
ที่ทุกคนพูดก็ถูกทั้งนั้น
ผมคิดว่า การใช้นโยบายการคลังมีประโยชน์แต่ขึ้นกับว่าเอาไปใช้ทำอะไร ถ้ารัฐออกมากระตุ้น ให้คนเอาไปใช้บริโภค สุดท้ายมันก็หมดไป แต่ถ้าเอาไปใช้เกี่ยวกับสาธราณุปโภค หรือ เพื่อส่วนรวมผมว่ามันจะเกิดประโยชน์มากกว่า
การรอให้เป็นตามกลไกตลาด มันก็ดี ครับ แต่ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐต้องแทรกแซงบ้าง
ที่ผมว่ามีปัญหา ก็คือเรื่องของการเมืองนี่แหล่ะครับ ที่ทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุน
ที่ทุกคนพูดก็ถูกทั้งนั้น
ผมคิดว่า การใช้นโยบายการคลังมีประโยชน์แต่ขึ้นกับว่าเอาไปใช้ทำอะไร ถ้ารัฐออกมากระตุ้น ให้คนเอาไปใช้บริโภค สุดท้ายมันก็หมดไป แต่ถ้าเอาไปใช้เกี่ยวกับสาธราณุปโภค หรือ เพื่อส่วนรวมผมว่ามันจะเกิดประโยชน์มากกว่า
การรอให้เป็นตามกลไกตลาด มันก็ดี ครับ แต่ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐต้องแทรกแซงบ้าง
ที่ผมว่ามีปัญหา ก็คือเรื่องของการเมืองนี่แหล่ะครับ ที่ทำให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 12
คือจริงๆแล้ว มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องตำราไหนช่วยได้ช่วยไม่ได้ เพราะปัญหาที่เกิดมันมีส่วนประกอบทั้ง Systematric error (ความผิดพลาดเชิงระบบ) กับ Non-systemetric error (ความผิดพลาดอันไม่ได้มาจากระบบ) ซึ่งตำรามีหน้าที่แก้ไข Systematric error ครับ ไม่ใช่เอาไปแก้ Non-systemetric error แล้วทำไมตำราแก้ Non-sys ไม่ได้ ก็เพราะลักษณะของ Non-sys เป็น event problem คือเป็นปัญหาที่เกิดแบบสุ่ม อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงขั้วการเมือง การก่อปฏิวัติ ฯลฯ ปัญหาแบบนี้ไม่ใช่ปัญหาเชิงระบบ การแก้ไขต้องเป็นเคสบายเคสไป ไม่สามารถกางตำราไหนได้หรอกครับ แต่ทั้งนี้มิใช่ตำราทำอะไรไม่ได้ เพราะหน้าที่ของตำราคือการแก้ปัญหาเชิงระบบ เพราะปัญหาเชิงระบบเป็นปัญหาพื้นฐานและหากเกิดก็จะเกิดอย่างต่อเนื่องและคงอยู่ในลักษณะนั้น เช่น คุณเอาลิฟท์มาแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายคนระหว่างชั้นอาคาร หรือ กระบวนการการลงทุนแนวVIที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการลงทุน เป็นต้น อย่างที่บอกแหละครับ ตำรามีหน้าที่บอกแนวทาง บอกกระบวนการ แต่อย่าคาดหวังให้มันสามารถแก้ปัญหานอกระบบเลยครับเพราะไม่ใช่หน้าที่มัน
-
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 13
คงไม่มีอะไรต้องพูดเรื่องตำรา เพราะไม่ใช่ประเด็น ปัญหาที่ประเทศไทยเผชิญก็ทราบกันทุกคนครับ
........กลับมาเรื่องเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้นโยบายเศรษฐศาสตร์เป็นตัวนำ เพราะผมเชื่อว่าการ Manipulate เศรษฐกิจ ก็ไม่ต่างกับ Manipulate หุ้น สุดท้ายก็กลับไปหาพื้นฐานครับ
ผมมองว่ากรอบคิดของรัฐเป็นเรื่องสำคัญครับ หากวัดกรอบคิดของรัฐบาลไทยไม่ว่ายุคใดก็ตาม ผมเชื่อว่ายุคทักษิณเกิดความเปลี่ยนแปลงกับกรอบคิดมากที่สุด นอกนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่ว่าใครจะบอกโกงมากโกงน้อย ทำเพื่อตัวเองหรือทำเพื่อชาติ มันก็ไอ้พอๆกันแหละ
แต่การมองประเทศไทยในเชิงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอย่างจริงจังก็เริ่มมีในสมัยทักษิณ แต่อาจจะติดเว่อร์ๆไปหน่อยก็ไม่เถียง แต่ก็กระตุ้นให้ทุกฝ่ายเปลี่ยนมุมมองประเทศที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์จอมหลักการก็มีความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ จะเห็นได้จากผู้ว่ากทม.ที่เฟ้นหานักธุรกิจมือทองมาลงสมัคร เชื่อว่า...ถ้า...มี....การเลือกตั้ง คงจะเห็นผู้นำที่โดดเด่นในเชิงกลยุทธเป็นอย่างแน่นอน ...
กรอบคิดเดิมๆ ที่เน้นผลิตสินค้าเกษตรพื้นฐานแล้วส่งออกมากๆ สุดท้ายจะทำให้ประเทศไทยไปไม่ได้ไกลครับ และนั่นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง พูดไปหลายทีแล้ว
........กลับมาเรื่องเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้นโยบายเศรษฐศาสตร์เป็นตัวนำ เพราะผมเชื่อว่าการ Manipulate เศรษฐกิจ ก็ไม่ต่างกับ Manipulate หุ้น สุดท้ายก็กลับไปหาพื้นฐานครับ
ผมมองว่ากรอบคิดของรัฐเป็นเรื่องสำคัญครับ หากวัดกรอบคิดของรัฐบาลไทยไม่ว่ายุคใดก็ตาม ผมเชื่อว่ายุคทักษิณเกิดความเปลี่ยนแปลงกับกรอบคิดมากที่สุด นอกนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่ว่าใครจะบอกโกงมากโกงน้อย ทำเพื่อตัวเองหรือทำเพื่อชาติ มันก็ไอ้พอๆกันแหละ
แต่การมองประเทศไทยในเชิงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอย่างจริงจังก็เริ่มมีในสมัยทักษิณ แต่อาจจะติดเว่อร์ๆไปหน่อยก็ไม่เถียง แต่ก็กระตุ้นให้ทุกฝ่ายเปลี่ยนมุมมองประเทศที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์จอมหลักการก็มีความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ จะเห็นได้จากผู้ว่ากทม.ที่เฟ้นหานักธุรกิจมือทองมาลงสมัคร เชื่อว่า...ถ้า...มี....การเลือกตั้ง คงจะเห็นผู้นำที่โดดเด่นในเชิงกลยุทธเป็นอย่างแน่นอน ...
กรอบคิดเดิมๆ ที่เน้นผลิตสินค้าเกษตรพื้นฐานแล้วส่งออกมากๆ สุดท้ายจะทำให้ประเทศไทยไปไม่ได้ไกลครับ และนั่นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง พูดไปหลายทีแล้ว
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 14
ขอฉวยโอกาสเผยแพร่ลัทธิทุนนิยมหน่อย :lol:
ตามแนวคิดทุนนิยม รัฐบาลไม่มีหน้าที่ด้านเศรษฐกิจ เรื่องของเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของ "ตลาด"
แนวของทักษิณเป็นแนวที่สวนทางกับระบอบทุนนิยมเพราะทักษิณพยายามทำให้ความเป็นอยู่ของคนขึ้นอยู่กับรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐมีหน้าที่กระตุ้นการบริโภค การควบคุมราคาสินค้าต่างๆ ตลอดจนระบบรัฐสวัสดิการภาคบังคับทั้งหลาย แล้วรัฐบาลก็กลายเป็น sector ที่นับวันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้นทุกที
รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในแง่รัฐศาสตร์แล้ว อย่าให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในแง่เศรษฐศาสตร์ด้วยเลย
ตามแนวคิดทุนนิยม รัฐบาลไม่มีหน้าที่ด้านเศรษฐกิจ เรื่องของเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของ "ตลาด"
แนวของทักษิณเป็นแนวที่สวนทางกับระบอบทุนนิยมเพราะทักษิณพยายามทำให้ความเป็นอยู่ของคนขึ้นอยู่กับรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐมีหน้าที่กระตุ้นการบริโภค การควบคุมราคาสินค้าต่างๆ ตลอดจนระบบรัฐสวัสดิการภาคบังคับทั้งหลาย แล้วรัฐบาลก็กลายเป็น sector ที่นับวันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้นทุกที
รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในแง่รัฐศาสตร์แล้ว อย่าให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนในแง่เศรษฐศาสตร์ด้วยเลย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 15
แน่นอนครับ เศรษฐกิจวิ่งไปตาม curve ขึ้น-ลง แม้ไม่ได้ใช้นโยบายกระตุ้น
การกระตุ้น ก็เหมือนทำให้มันเร็วขึ้นครับ เพราะเราอาจจะตายก่อน ที่ curve จะวิ่งขึ้น
เหมือนปลูกพืช โยนเมล็ดลงบนพื้นดิน แล้วรอเก็บเกี่ยวอย่างเดียว โดยไม่ได้ทำอะไร
กับเรากระตุ้น โดยการเตรียมแปลง พรวนดิน ใส่ปุ๋ยเร่งการเติบโต มีการบล็อกวัชพืช ผลผลิตที่ได้ก็มีแนวโน้มที่มากกว่า และ เร็วกว่า
ส่วนนิยาม ทุนนิยมว่าไว้รัฐไม่เกี่ยวข้อง แต่ทางการปฎิบัติเป็นไปได้อยู่แล้ว ทุกอย่างถูกโยงผูกเข้ากันหมด
การกระตุ้น ก็เหมือนทำให้มันเร็วขึ้นครับ เพราะเราอาจจะตายก่อน ที่ curve จะวิ่งขึ้น
เหมือนปลูกพืช โยนเมล็ดลงบนพื้นดิน แล้วรอเก็บเกี่ยวอย่างเดียว โดยไม่ได้ทำอะไร
กับเรากระตุ้น โดยการเตรียมแปลง พรวนดิน ใส่ปุ๋ยเร่งการเติบโต มีการบล็อกวัชพืช ผลผลิตที่ได้ก็มีแนวโน้มที่มากกว่า และ เร็วกว่า
ส่วนนิยาม ทุนนิยมว่าไว้รัฐไม่เกี่ยวข้อง แต่ทางการปฎิบัติเป็นไปได้อยู่แล้ว ทุกอย่างถูกโยงผูกเข้ากันหมด
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 16
ทุนนิยม ระบบตลาดเสรี มองผิวเผินก็ดีครับ แต่ จุดอ่อนสำคัญในตัวมันที่ลืมไม่ได้ คือ เงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้ระบบทุนนิยมมีประสิทธิภาพคือตลาดต้องมีประสิทธิภาพ และสมมติฐานข้อที่หนึ่งของตลาดทีมีประสิทธิภาพคือ ทุกคนมีพื้นฐานเท่าเทียมกัน นี่คือปัญหา ทุกคนมีพื้นฐานที่เท่าเทียมกันหรือ? เจ้ตุ๋ยเจ้าของร้านชำปากซอยมีพื้นฐานเท่า7-11หรือ? สหกรณ์โคนมไทยมีพื้นฐานทัดเทียมโคนมออสเตรเลียหรือ? นักลงทุนรายย่อยมีข้อมูลเท่าเทียมนักลงทุนรายใหญ่หรือ? เพราะเหตุที่พื้นฐานไม่เท่า และตลาดไม่มีประสิทะภาพมิใช่หรือ รัฐจึงต้องแทรกแซง การต่อต้าน FTA ไม่ใช่การต่อต้านการแซกแทรงของรัฐหรือ เพราะกำแพงภาษีก็ถูกกำหนดโดยรัฐ การต่อต้าน Superstore ก็ไม่ใช่การต่อต้านระบบตลาดเสรีหรือ นี่คือเหตุที่ว่าทำไมต้องแยกให้ออกว่า ปัญหาอะไรเป็น Sys ปัญหาอะไรเป็น Non-sys ตราบใดที่ไม่เข้าใจถึงพื้นฐานแห่งปัญหา ไม่ได้มีการแยกปัญหา Non-sys ออกจาก Sys มันก็เหมือนปลาว่ายวนในอ่างไม่รู้จบ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้บอกว่าระบบตลาดเสรีมันไม่ดี แต่มันมีจุดอ่อนถึงได้มีความจำเป็นในการต้องแทรกแซงโดยรัฐต่างหาก ซึ่งทั้งนี้เราไม่ควรบอกว่าการแทรกแซงไม่ดี แต่ควรพิจารณาว่าการแทรกแซงในแต่ละนโยบาย นโยบายใดมีประสิทธิภาพ นโยบายใดด้อยประสิทธิภาพต่างหาก ที่น่าถกน่าวิจารณ์มากกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสต์ที่ 17
ถามคุณเจย์โชว์
ผมมีคำถามใคร่ถามคุณสองว่าทำไมคุณคิดว่าไม่ควรเอาเศรษฐศาสตร์มาดูแลเรื่องเศรษฐกิจ แล้วถ้าไม่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ใช้หลักอะไรครับ รัฐศาสตร์? นิติศาสตร์? ศิลปศาสตร์? หรือควรใช้หลักไหนที่คุณเห็นว่าสมควรกว่าครับ
ผมมีคำถามใคร่ถามคุณสองว่าทำไมคุณคิดว่าไม่ควรเอาเศรษฐศาสตร์มาดูแลเรื่องเศรษฐกิจ แล้วถ้าไม่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ใช้หลักอะไรครับ รัฐศาสตร์? นิติศาสตร์? ศิลปศาสตร์? หรือควรใช้หลักไหนที่คุณเห็นว่าสมควรกว่าครับ