Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 1
กระทู้พล่ามความเห็นส่วนตัวครับ ข้ามไปเลยถ้าไม่ชอบ
การหันไปปลูกข้าว ทำนา เป็นเศรษฐกิจพอเพียงจริงหรือ?
ดูกันในระยะยาวๆนะครับ ...ผมคิดว่าการผลิตข้าวเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะราคาข้าว ราคาปุ๋ย การชลประทาน และภัยธรรมชาติ แต่เกษตรกรไทยผู้ไม่ค่อยถนัดเรื่องธุรกิจ ส่วนใหญ่ก็มีธุรกิจส่วนตัวสุดเสี่ยงอันนี้อย่างไม่สะทกสะท้าน กลายเป็นหน้าที่รับใช้ชาติที่ต้องทำไปแล้ว เพื่อเป็นกระดูกสันหลังของชาติไป (ได้ยินเพลงมั้ย ..กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม..) ค่านิยมว่าคนไทยยังไงก็กินข้าว ดังนั้นปลูกข้าวก็ขายได้แน่นอน ผมว่าไม่ถูกต้องครับ
การปลูกข้าว หรือผลิตสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงๆ และประสบกับoversupply เรื้อรัง ควรจะได้รับการเข้ามาจัดการดูแลโดยการจูงใจให้ผลิตสินค้าอื่นครับ ไม่ใช่ว่าจะพักหนี้ จำนำข้าว ประกันราคาข้าว หรือไล่ส่งออก แต่เพียงอย่างเดียว
ธกส. น่าจะเป็นตัวแปรหลัก ก็ดูเหมือนจะให้กู้อย่างไม่จำกัดซะด้วย ชาวนาก็กู้กันอย่างลืมเจ๊ง ยิ่งไปกันใหญ่ครับ รัฐบาลที่แล้วก็เล่นได้อย่างถูกใจประชาชนจริงๆ เรื่องการพักหนี้เกษตรกร ยิ่งเรียกคะแนนได้ดี แต่ปัญหาไม่ได้แก้นะ ผมว่า เพราะตั้งแต่จำความได้ เกษตรกรไทยนั้นแทบไม่มี"ส่วนทุน" หรือ"กำไรสะสม"เลย แต่ก็ลงทุนอย่างต่อเนื่องในแต่ละรอบ(ฤดู)ด้วยเงินกู้ เห็นว่ากู้ตลอดเจ๊งตลอด เรียกว่าฟองสบู่แตกเป็นเรื่องปกติ จึงไม่น่าจะเป็นธุรกิจที่น่าส่งเสริมแต่อย่างใด
ธกส.มีกลไกอะไรในการประเมินความเสี่ยงของการเกษตรแต่ละอย่างมั้ยครับ เช่นถ้าปลูกข้าว ปลูกมัน ปลูกพืชสวน ความเสี่ยงที่จะผิดนัด เป็นเท่าไหร่ และตัดสินใจให้อนุมัติเงินกู้หรือไม่ ตามความเหมาะสม ผมว่าการลดการลงทุนในธุรกิจการผลิตข้าว น่าจะเป็นการเริ่มแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้ถูกทางนะครับ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กระทบอัตราว่างงานครับ ผมขอตอบท่านสุมาอี้ว่า ภาคการเกษตรที่ไร้ประสิทธิภาพของเราดูดซับแรงงานไปเยอะ ทำให้การว่างงานต่ำ แต่ผลผลิตก็ต่ำครับ
การหันไปปลูกข้าว ทำนา เป็นเศรษฐกิจพอเพียงจริงหรือ?
ดูกันในระยะยาวๆนะครับ ...ผมคิดว่าการผลิตข้าวเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะราคาข้าว ราคาปุ๋ย การชลประทาน และภัยธรรมชาติ แต่เกษตรกรไทยผู้ไม่ค่อยถนัดเรื่องธุรกิจ ส่วนใหญ่ก็มีธุรกิจส่วนตัวสุดเสี่ยงอันนี้อย่างไม่สะทกสะท้าน กลายเป็นหน้าที่รับใช้ชาติที่ต้องทำไปแล้ว เพื่อเป็นกระดูกสันหลังของชาติไป (ได้ยินเพลงมั้ย ..กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม..) ค่านิยมว่าคนไทยยังไงก็กินข้าว ดังนั้นปลูกข้าวก็ขายได้แน่นอน ผมว่าไม่ถูกต้องครับ
การปลูกข้าว หรือผลิตสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงๆ และประสบกับoversupply เรื้อรัง ควรจะได้รับการเข้ามาจัดการดูแลโดยการจูงใจให้ผลิตสินค้าอื่นครับ ไม่ใช่ว่าจะพักหนี้ จำนำข้าว ประกันราคาข้าว หรือไล่ส่งออก แต่เพียงอย่างเดียว
ธกส. น่าจะเป็นตัวแปรหลัก ก็ดูเหมือนจะให้กู้อย่างไม่จำกัดซะด้วย ชาวนาก็กู้กันอย่างลืมเจ๊ง ยิ่งไปกันใหญ่ครับ รัฐบาลที่แล้วก็เล่นได้อย่างถูกใจประชาชนจริงๆ เรื่องการพักหนี้เกษตรกร ยิ่งเรียกคะแนนได้ดี แต่ปัญหาไม่ได้แก้นะ ผมว่า เพราะตั้งแต่จำความได้ เกษตรกรไทยนั้นแทบไม่มี"ส่วนทุน" หรือ"กำไรสะสม"เลย แต่ก็ลงทุนอย่างต่อเนื่องในแต่ละรอบ(ฤดู)ด้วยเงินกู้ เห็นว่ากู้ตลอดเจ๊งตลอด เรียกว่าฟองสบู่แตกเป็นเรื่องปกติ จึงไม่น่าจะเป็นธุรกิจที่น่าส่งเสริมแต่อย่างใด
ธกส.มีกลไกอะไรในการประเมินความเสี่ยงของการเกษตรแต่ละอย่างมั้ยครับ เช่นถ้าปลูกข้าว ปลูกมัน ปลูกพืชสวน ความเสี่ยงที่จะผิดนัด เป็นเท่าไหร่ และตัดสินใจให้อนุมัติเงินกู้หรือไม่ ตามความเหมาะสม ผมว่าการลดการลงทุนในธุรกิจการผลิตข้าว น่าจะเป็นการเริ่มแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้ถูกทางนะครับ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กระทบอัตราว่างงานครับ ผมขอตอบท่านสุมาอี้ว่า ภาคการเกษตรที่ไร้ประสิทธิภาพของเราดูดซับแรงงานไปเยอะ ทำให้การว่างงานต่ำ แต่ผลผลิตก็ต่ำครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 2
ธกส.เพื่อประกาศว่ากำลังจะเพิ่มทุนอีกหนึ่งหมื่นล้านบาท พูดง่ายๆ ก็คือ ที่ทำไปขาดทุนทั้งนั้นแหละ ต้องใช้ภาษีตบขาดทุนไปเรื่อยๆ
อาชีพเกษตรที่จริงแล้วเป็นอาชีพที่เหมาะกับคนที่มีทุนหนา ลองคิดดูสิครับ ต้นปีจะต้องใช้เงินซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมี จำนวนมากไปก่อนโดยจะไม่มีรายได้เข้ามาเลยอีกหลายเดือน (ถ้าเป็นพวกสวนผลไม้ก็หลายๆ ปี) แถมไม่รู้ด้วยว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวแล้วจะขายผลผลิตได้ราคาหรือไม่
แต่คนที่มาทำอาชีพนี้กลับเป็นชาวบ้านที่ไม่มีทุนเป็นของตัวเอง มันขัดแย้งกันอยู่
ตอนต้นปี ชาวบ้านต้องหาเงินมาซื้อปุ๋ยให้ได้ กู้แพงเท่าไรก็ต้องกู้ มิฉะนั้นปีนั้นทั้งปีก็ไม่ต้องทำอะไรกัน ด้วยความที่อาชีพนี้มันเสี่ยง โอกาสขาดทุนมีสูง แต่เงินทุนที่ใช้เป็นเงินกู้ ปีไหนขาดทุนขึ้นมาก็จะจ่ายคืนเงินต้นไม่ได้ทันที พอติดเงินต้น ก็ต้องกู้เพิ่มมาอีกไม่งั้นปีต่อไปก็ไม่มีอะไรจะทำก็ไม่รู้จะคืนเงินต้นให้ได้อย่างไร ดอกเบี้ยจึงเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดดอกเบี้ยก็มากจนไม่มีวันคืนหนี้ได้เลย นี่คือวงจรชั่วร้ายแห่งความยากจน
อาชีพเกษตรที่จริงแล้วเป็นอาชีพที่เหมาะกับคนที่มีทุนหนา ลองคิดดูสิครับ ต้นปีจะต้องใช้เงินซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมี จำนวนมากไปก่อนโดยจะไม่มีรายได้เข้ามาเลยอีกหลายเดือน (ถ้าเป็นพวกสวนผลไม้ก็หลายๆ ปี) แถมไม่รู้ด้วยว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวแล้วจะขายผลผลิตได้ราคาหรือไม่
แต่คนที่มาทำอาชีพนี้กลับเป็นชาวบ้านที่ไม่มีทุนเป็นของตัวเอง มันขัดแย้งกันอยู่
ตอนต้นปี ชาวบ้านต้องหาเงินมาซื้อปุ๋ยให้ได้ กู้แพงเท่าไรก็ต้องกู้ มิฉะนั้นปีนั้นทั้งปีก็ไม่ต้องทำอะไรกัน ด้วยความที่อาชีพนี้มันเสี่ยง โอกาสขาดทุนมีสูง แต่เงินทุนที่ใช้เป็นเงินกู้ ปีไหนขาดทุนขึ้นมาก็จะจ่ายคืนเงินต้นไม่ได้ทันที พอติดเงินต้น ก็ต้องกู้เพิ่มมาอีกไม่งั้นปีต่อไปก็ไม่มีอะไรจะทำก็ไม่รู้จะคืนเงินต้นให้ได้อย่างไร ดอกเบี้ยจึงเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดดอกเบี้ยก็มากจนไม่มีวันคืนหนี้ได้เลย นี่คือวงจรชั่วร้ายแห่งความยากจน
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 3
ประเด็นของคุณคืออะไร..กันแน่ ที่ผมจับได้เลาๆก็มี
การปลูกข้าว แสดงถึงการทำเกษตรที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งของประเทศเรา
ผมก็ว่าใช่....และเป็นกันทั้งโลกด้วย
คุณรู้หรือเปล่า
การผลิตอาหารให้ได้พลังงาน 1แคลอรี่จะต้องใช้พลังงานในการผลิต 7
แคลอรี่ สำหรับการเกษตรปฏิวัติเขียว ที่ได้พลังงานส่วนใหญ่จากปิโตรเลียม
ในขณะที่เกษตรแบบดั้งเดิมใช้พลังงาน 1 แคลอรี่ แต่ผลิตอาหารได้ 50
แคลอรี่
แล้วเราก็เจอกับภาวะโลกร้อนนี่ในที่สุด ในระยะอันไม่ต้องยาวแล้ว
เห็นๆกันอยู่
เงินทองจะมายา หรือข้าวปลาจะอิ่มท้อง คงจะได้เห็นกัน
การปลูกข้าว แสดงถึงการทำเกษตรที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งของประเทศเรา
ผมก็ว่าใช่....และเป็นกันทั้งโลกด้วย
คุณรู้หรือเปล่า
การผลิตอาหารให้ได้พลังงาน 1แคลอรี่จะต้องใช้พลังงานในการผลิต 7
แคลอรี่ สำหรับการเกษตรปฏิวัติเขียว ที่ได้พลังงานส่วนใหญ่จากปิโตรเลียม
ในขณะที่เกษตรแบบดั้งเดิมใช้พลังงาน 1 แคลอรี่ แต่ผลิตอาหารได้ 50
แคลอรี่
แล้วเราก็เจอกับภาวะโลกร้อนนี่ในที่สุด ในระยะอันไม่ต้องยาวแล้ว
เห็นๆกันอยู่
เงินทองจะมายา หรือข้าวปลาจะอิ่มท้อง คงจะได้เห็นกัน
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 4
อ่านดีๆครับ ผมไม่ได้บอกให้เลิกปลูกข้าวทั้งหมด แต่การปลูกข้าวแบบไม่ลืมหูลืมตา ทำให้ประเทศนี้ไม่ไปไหนซะทีครับ ถ้าไม่พูดเรื่องเงิน ผมเสียดายโอกาสการผลิตงานดีๆอย่างพวกศิลปาชีพ ท่องเที่ยวและการศึกษา คุณคิดว่าลูกๆที่ออกจากโรงเรียนไปช่วยพ่อแม่ทำนา เค้าขาดโอกาสอะไรบ้างครับ
เรื่องแคลอรี่ ผมไม่เห็นด้วยในการใช้เป็นดัชนีบอกประสิทธิภาพ เพราะเป็นคนละเรื่องกับเศรษฐศาสตร์เกษตร คุณสามารถได้พลังงานมากกว่านี้ถ้าคุณกินไขมันครับ
เรื่องแคลอรี่ ผมไม่เห็นด้วยในการใช้เป็นดัชนีบอกประสิทธิภาพ เพราะเป็นคนละเรื่องกับเศรษฐศาสตร์เกษตร คุณสามารถได้พลังงานมากกว่านี้ถ้าคุณกินไขมันครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 5
กลับมาจากการกิน "ข้าว" ครับ แม้ผมเองจะเป็นคนที่กินข้าวหมดทุกเมล็ด แต่คนอื่นคงไม่เหมือนกับผม ...เห็นข้าวเป็นเศษอาหารที่กินเหลือและถูกโกยทิ้งมากที่สุดในที่ที่ผมอยู่ ในขณะที่ขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ก็แป้งเหมือนกันปาดครีมนิดหน่อยขาย 5 บาท ใครซื้อก็กินเกลี้ยงไม่มีเหลือทิ้ง ยิ่งยืนยันว่าข้าวน่ะไร้ค่าปานใดในสายตาผู้บริโภค
ผมไม่ได้พูดเรื่องเครื่องจักรเลยนะครับ ผมไม่ได้เป็นพวกเครื่องจักรนิยมตามที่ควรจะเป็นเสียด้วย ในความเห็นผมผลิต "อะไร" สำคัญกว่าผลิต "อย่างไร" ครับ
การแก้ไขที่ยั่งยืน ควรให้ความรู้ด้านธุรกิจส่วนตัว การจัดการการผลิต และเศรษฐศาสตร์กับเกษตรกรไทย ให้เค้ายืนได้ด้วยตนเอง อย่าไปพูดว่าเค้าไร้การศึกษาแล้วสอนไม่ได้ เพราะนโยบายที่ปวกเปียกด้อยประสิทธิภาพของรัฐนี่แหละ ที่ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาแรงงานเป็นอย่างมาก ลูกเด็กเล็กแดง จบการศึกษาภาคบังคับ ก็ต้องออกมาทำการเกษตรแบบไร้ประสิทธิภาพ คนที่เป็นข้าราชการที่เรียกว่าเกษตรอำเภอ เกษตรตำบล จะประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆหรือไม่ ... ดูที่ผลงานครับ
ขอสรุปตรงนี้ก่อนว่าความเห็นผมคือ หากจะส่งเสริมเกษตรกร ควรดูว่ามีอะไรน่าทำมากกว่าปลูกข้าวหรือเปล่า มากกว่าปลูกข้าวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพครับ
อ้อ...มจ.สิทธิพร กฤดากร เจ้าของวลี "เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง" ที่จริงท่านจบวิศวกรรมศาสตร์ แต่ท่านเลี้ยงไก่ และปลูกแตงโมครับ ไม่ใช่ข้าว ท่านใช้แทรกเตอร์ซะด้วยสิ
ผมไม่ได้พูดเรื่องเครื่องจักรเลยนะครับ ผมไม่ได้เป็นพวกเครื่องจักรนิยมตามที่ควรจะเป็นเสียด้วย ในความเห็นผมผลิต "อะไร" สำคัญกว่าผลิต "อย่างไร" ครับ
การแก้ไขที่ยั่งยืน ควรให้ความรู้ด้านธุรกิจส่วนตัว การจัดการการผลิต และเศรษฐศาสตร์กับเกษตรกรไทย ให้เค้ายืนได้ด้วยตนเอง อย่าไปพูดว่าเค้าไร้การศึกษาแล้วสอนไม่ได้ เพราะนโยบายที่ปวกเปียกด้อยประสิทธิภาพของรัฐนี่แหละ ที่ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาแรงงานเป็นอย่างมาก ลูกเด็กเล็กแดง จบการศึกษาภาคบังคับ ก็ต้องออกมาทำการเกษตรแบบไร้ประสิทธิภาพ คนที่เป็นข้าราชการที่เรียกว่าเกษตรอำเภอ เกษตรตำบล จะประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆหรือไม่ ... ดูที่ผลงานครับ
ขอสรุปตรงนี้ก่อนว่าความเห็นผมคือ หากจะส่งเสริมเกษตรกร ควรดูว่ามีอะไรน่าทำมากกว่าปลูกข้าวหรือเปล่า มากกว่าปลูกข้าวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพครับ
อ้อ...มจ.สิทธิพร กฤดากร เจ้าของวลี "เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง" ที่จริงท่านจบวิศวกรรมศาสตร์ แต่ท่านเลี้ยงไก่ และปลูกแตงโมครับ ไม่ใช่ข้าว ท่านใช้แทรกเตอร์ซะด้วยสิ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 6
ครับก็เห็นด้วยครับ ถ้าเรามี "ศักยภาพในการเลือกปลูก" ก็จะดี
ทำไมสินค้าเกษตรราคาตกต่ำแล้วอุปทานยังไม่ยอมลดลง ก็เพราะไม่มีคนส่วนหนึ่งยอมออกไปจากตลาด ปู่ย่าตายายปลูกข้าวต่อให้ข้าวราคาเท่าไรก็จะปลูกข้าวต่อไป
ถ้าสินค้าเกษตรอย่างอื่นราคาดีกว่าแล้วชาวนาส่วนหนึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนไปปลูกอย่างนั้น ก็จะช่วยทำให้ราคาข้าวดีขึ้นได้
ทำไมสินค้าเกษตรราคาตกต่ำแล้วอุปทานยังไม่ยอมลดลง ก็เพราะไม่มีคนส่วนหนึ่งยอมออกไปจากตลาด ปู่ย่าตายายปลูกข้าวต่อให้ข้าวราคาเท่าไรก็จะปลูกข้าวต่อไป
ถ้าสินค้าเกษตรอย่างอื่นราคาดีกว่าแล้วชาวนาส่วนหนึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนไปปลูกอย่างนั้น ก็จะช่วยทำให้ราคาข้าวดีขึ้นได้
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 7
การเปลี่ยนอาชีพไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราต้องการคนที่เป็น risk taker สักหน่อย
ที่ประสบความสำเร็จมีให้เห็นมาแล้ว สวนส้มธนาธรไงครับ ทดลองปลูกส้มที่มีผิวเงาๆ แข่งกับส้มนำเข้าจากประเทศหนาว ช่วงแรกๆ ขายได้ กก.ละเป็นร้อยทีเดียวเพราะไม่มีใครปลูกแข่ง แถมยังกลายเป็นจุดแวะของนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเหนืออีกด้วย
พอคนเห็นว่ามีคนปลูกสัมแล้วรวยก็แห่ตามกันทันทีเดี๋ยวนี้เหลือกก.ละยี่สิบ แต่อย่างน้อยก็ได้ช่วยให้เกษตรกรไทยรู้จักอาชีพที่หลากหลายขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง ราคาพืชผลอย่างอื่นก็พลอยดีขึ้นด้วยเพราะมีคนหันมาปลูกส้มมากขึ้น แถมยังช่วยลดการนำเข้าได้อีกส่วนหนึ่ง
ปัญหาเศรษฐกิจไทยมันเป็นปัญหา micro มากกว่า macro เพราะไม่มีใครกล้าฉีกไปทำอะไรใหม่ๆ มันถึงได้ล้นตลาดไปหมดทุกวงการ
ที่ประสบความสำเร็จมีให้เห็นมาแล้ว สวนส้มธนาธรไงครับ ทดลองปลูกส้มที่มีผิวเงาๆ แข่งกับส้มนำเข้าจากประเทศหนาว ช่วงแรกๆ ขายได้ กก.ละเป็นร้อยทีเดียวเพราะไม่มีใครปลูกแข่ง แถมยังกลายเป็นจุดแวะของนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเหนืออีกด้วย
พอคนเห็นว่ามีคนปลูกสัมแล้วรวยก็แห่ตามกันทันทีเดี๋ยวนี้เหลือกก.ละยี่สิบ แต่อย่างน้อยก็ได้ช่วยให้เกษตรกรไทยรู้จักอาชีพที่หลากหลายขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง ราคาพืชผลอย่างอื่นก็พลอยดีขึ้นด้วยเพราะมีคนหันมาปลูกส้มมากขึ้น แถมยังช่วยลดการนำเข้าได้อีกส่วนหนึ่ง
ปัญหาเศรษฐกิจไทยมันเป็นปัญหา micro มากกว่า macro เพราะไม่มีใครกล้าฉีกไปทำอะไรใหม่ๆ มันถึงได้ล้นตลาดไปหมดทุกวงการ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 8
เห้นด้วยครับ ว่าแต่ว่าธุรกิจส่วนตัวสุดเสี่ยงคืออะไรครับ :roll:jaychou เขียน:กระทู้พล่ามความเห็นส่วนตัวครับ ข้ามไปเลยถ้าไม่ชอบ
การหันไปปลูกข้าว ทำนา เป็นเศรษฐกิจพอเพียงจริงหรือ?
ดูกันในระยะยาวๆนะครับ ...ผมคิดว่าการผลิตข้าวเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะราคาข้าว ราคาปุ๋ย การชลประทาน และภัยธรรมชาติ แต่เกษตรกรไทยผู้ไม่ค่อยถนัดเรื่องธุรกิจ ส่วนใหญ่ก็มีธุรกิจส่วนตัวสุดเสี่ยงอันนี้อย่างไม่สะทกสะท้าน กลายเป็นหน้าที่รับใช้ชาติที่ต้องทำไปแล้ว เพื่อเป็นกระดูกสันหลังของชาติไป (ได้ยินเพลงมั้ย ..กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม..) ค่านิยมว่าคนไทยยังไงก็กินข้าว ดังนั้นปลูกข้าวก็ขายได้แน่นอน ผมว่าไม่ถูกต้องครับ
อันนี้ยากครับ เพราะว่าเดี๋ยวก็เฮโลไปผลิตอย่างเดียวกันอีก ผมว่าน่าจะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และมุ่งเน้นหาตลาด จะง่ายกว่า เรื่องประกันราคาข้าวนี่ รัฐบาลที่แล้วก็ทำจนได้ผล (แต่ผมไม่รู้ว่ามันดีรึเปล่า) เพราะชาวนาก็ขายข้าวได้ราคาสูงจริง แต่รัฐขายไม่ออก ต้องเก็บไว้จนสต๊อกมันเสียหาย และเสื่อมคุณภาพมาก สุดท้ายก็บังคับให้ผู้ส่งออกซื้อไป (บางรายซื้อไปทิ้งก็มี)jaychou เขียน:การปลูกข้าว หรือผลิตสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงๆ และประสบกับoversupply เรื้อรัง ควรจะได้รับการเข้ามาจัดการดูแลโดยการจูงใจให้ผลิตสินค้าอื่นครับ ไม่ใช่ว่าจะพักหนี้ จำนำข้าว ประกันราคาข้าว หรือไล่ส่งออก แต่เพียงอย่างเดียว
เราต้องสร้างทัศนคติใหม่ให้กับเกษตรกรครับ เพราะเค้าก็ไม่คิดว่าเค้าเป็นหนี้นี่ครับ เงินกู้ หรือ พักหนี้ที่ได้ เค้าคิดว่าได้มาฟรีๆ เพราะเค้าคิดว่าได้มาเปล่าๆมากกว่า จริงนโยบายนี้ก็ดูดี แต่ผิดที่การนำเสนอออกไปมากกว่า คนเลยคิดว่าทักกี้แจกฟรี :Pjaychou เขียน:ธกส. น่าจะเป็นตัวแปรหลัก ก็ดูเหมือนจะให้กู้อย่างไม่จำกัดซะด้วย ชาวนาก็กู้กันอย่างลืมเจ๊ง ยิ่งไปกันใหญ่ครับ รัฐบาลที่แล้วก็เล่นได้อย่างถูกใจประชาชนจริงๆ เรื่องการพักหนี้เกษตรกร ยิ่งเรียกคะแนนได้ดี แต่ปัญหาไม่ได้แก้นะ ผมว่า เพราะตั้งแต่จำความได้ เกษตรกรไทยนั้นแทบไม่มี"ส่วนทุน" หรือ"กำไรสะสม"เลย แต่ก็ลงทุนอย่างต่อเนื่องในแต่ละรอบ(ฤดู)ด้วยเงินกู้ เห็นว่ากู้ตลอดเจ๊งตลอด เรียกว่าฟองสบู่แตกเป็นเรื่องปกติ จึงไม่น่าจะเป็นธุรกิจที่น่าส่งเสริมแต่อย่างใด
เห็นด้วยครับjaychou เขียน:ธกส.มีกลไกอะไรในการประเมินความเสี่ยงของการเกษตรแต่ละอย่างมั้ยครับ เช่นถ้าปลูกข้าว ปลูกมัน ปลูกพืชสวน ความเสี่ยงที่จะผิดนัด เป็นเท่าไหร่ และตัดสินใจให้อนุมัติเงินกู้หรือไม่ ตามความเหมาะสม ผมว่าการลดการลงทุนในธุรกิจการผลิตข้าว น่าจะเป็นการเริ่มแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้ถูกทางนะครับ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กระทบอัตราว่างงานครับ ผมขอตอบท่านสุมาอี้ว่า ภาคการเกษตรที่ไร้ประสิทธิภาพของเราดูดซับแรงงานไปเยอะ ทำให้การว่างงานต่ำ แต่ผลผลิตก็ต่ำครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 9
นี่แหละตอนนี้ราคาข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวเหนือ ขึ้นพรวดๆๆๆๆๆ(ขอย้ำว่าขึ้นแรงกว่า iec ตอน hotๆ )เป็นติดจรวดก็เพราะเจ้านี่แหละสุมาอี้ เขียน:การเปลี่ยนอาชีพไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราต้องการคนที่เป็น risk taker สักหน่อย
ที่ประสบความสำเร็จมีให้เห็นมาแล้ว สวนส้มธนาธรไงครับ ทดลองปลูกส้มที่มีผิวเงาๆ แข่งกับส้มนำเข้าจากประเทศหนาว ช่วงแรกๆ ขายได้ กก.ละเป็นร้อยทีเดียวเพราะไม่มีใครปลูกแข่ง แถมยังกลายเป็นจุดแวะของนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเหนืออีกด้วย
พอคนเห็นว่ามีคนปลูกสัมแล้วรวยก็แห่ตามกันทันทีเดี๋ยวนี้เหลือกก.ละยี่สิบ แต่อย่างน้อยก็ได้ช่วยให้เกษตรกรไทยรู้จักอาชีพที่หลากหลายขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง ราคาพืชผลอย่างอื่นก็พลอยดีขึ้นด้วยเพราะมีคนหันมาปลูกส้มมากขึ้น แถมยังช่วยลดการนำเข้าได้อีกส่วนหนึ่ง
ปัญหาเศรษฐกิจไทยมันเป็นปัญหา micro มากกว่า macro เพราะไม่มีใครกล้าฉีกไปทำอะไรใหม่ๆ มันถึงได้ล้นตลาดไปหมดทุกวงการ
เดี๋ยวปีหน้าราคาข้าวเหนียวคงตกลงมาเหมือนเดิม เพราะแห่กันกลับมาปลูก :lol:
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 11
ทางออก VC นั้นไม่เหมาะครับ เพราะไม่ได้ลดความเสี่ยงให้ตัวธุรกิจเลย ความเห็นผมก็คือเพิ่มความเข้มงวดในการอนุมัติเงินกู้สำหรับเกษตรกร โดยประเมินความเสี่ยงในการผลิตพืชในแต่ละชนิด อาจจะต้องวิเคราะห์ประวัติการกู้เพื่อไปเจ๊งของเกษตรกรแต่ละราย และพืชแต่ละชนิดประกอบ รวมทั้งงบดุล ...เอ้อ...ที่จริงก็ลองถามพี่ฉัตรชัยดูสิ มองเกษตรกรแต่ละรายเป็นบริษัทนะครับ
เคยสังเกตุมั้ย พวกพืชผักที่รัฐบาลไม่สนับสนุน ไม่ยื่นมือเข้าไปแทรกแซง ราคาก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร บางรายการเรียกว่าแพงระเบิดด้วยซ้ำไป ทำไมข้าว ถึงเป็นประเด็นเศรษฐกิจได้ทุกรัฐบาลเลย อย่างผักสดต่างๆ ตอนนี้แพงมากครับ ผักสะอาดๆไร้สารพิษ สำหรับกินสดๆทำสลัดนี่ถือว่าแพงกระเป๋าฉีกจริงๆ ผักทั่วไปพ่อค้าผักตามตลาดต่างๆ ไม่ใช่ว่ายากจนนะครับถึงต้องไปลำบากแบบนั้น ที่ยังทนทำอยู่เพราะร่ำรวยต่างหาก
ผมมีอีกเรื่องหนึ่งน่าสนใจครับ เดิมทีเรามีส้มบางมด ส้มรังสิต แต่ตอนนี้ชาวสวนเค้าขายที่ดินให้หมู่บ้านไปเยอะแล้ว พวกเกษตรกรแถวๆรังสิต ธัญบุรี ลำลูกกา ที่หันมาปลูกไม้ดอก ไม้ประดับก็เยอะครับ รายได้ดีกว่าเป็นไหนๆ ถ้ายังทู่ซี้ปลูกส้ม(อาจจะหลอกตัวเองว่าทุกคนต้องการวิตามินซี...) แล้วรอรัฐบาลมาประกันราคา รับซื้อจำนำส้ม ป่านนี้คงเจ๊งระนาวทั้งรัฐทั้งเกษตรกร
ภาคอิสานไม่ใช่ว่าแห้งแล้งกันดารเหมือนแต่ก่อน ณ วันนี้เราคงรู้แล้วว่า ปัญหาอยู่ที่การจัดการน้ำ มากกว่าตัวภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผมเชื่อว่าพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นยังมีอีกมากให้เรานำมาพัฒนาครับ
สินค้าคงคลังเป็นปัญหาทางธุรกิจยอดนิยมครับ ถ้ารัฐยังบริหารแล้วเจ๊ง ก็ควรเปลี่ยนนโยบายครับ การที่รัฐเอาเงินภาษีของคนในชาติทุกคน ไปสร้าง demand เทียมโดยการรับซื้อข้าวในราคาคงที่สูงๆ แล้วสุดท้ายก็ทิ้ง... มันถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์หรือครับอันนี้ยากครับ เพราะว่าเดี๋ยวก็เฮโลไปผลิตอย่างเดียวกันอีก ผมว่าน่าจะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และมุ่งเน้นหาตลาด จะง่ายกว่า เรื่องประกันราคาข้าวนี่ รัฐบาลที่แล้วก็ทำจนได้ผล (แต่ผมไม่รู้ว่ามันดีรึเปล่า) เพราะชาวนาก็ขายข้าวได้ราคาสูงจริง แต่รัฐขายไม่ออก ต้องเก็บไว้จนสต๊อกมันเสียหาย และเสื่อมคุณภาพมาก สุดท้ายก็บังคับให้ผู้ส่งออกซื้อไป (บางรายซื้อไปทิ้งก็มี)
เคยสังเกตุมั้ย พวกพืชผักที่รัฐบาลไม่สนับสนุน ไม่ยื่นมือเข้าไปแทรกแซง ราคาก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร บางรายการเรียกว่าแพงระเบิดด้วยซ้ำไป ทำไมข้าว ถึงเป็นประเด็นเศรษฐกิจได้ทุกรัฐบาลเลย อย่างผักสดต่างๆ ตอนนี้แพงมากครับ ผักสะอาดๆไร้สารพิษ สำหรับกินสดๆทำสลัดนี่ถือว่าแพงกระเป๋าฉีกจริงๆ ผักทั่วไปพ่อค้าผักตามตลาดต่างๆ ไม่ใช่ว่ายากจนนะครับถึงต้องไปลำบากแบบนั้น ที่ยังทนทำอยู่เพราะร่ำรวยต่างหาก
ผมมีอีกเรื่องหนึ่งน่าสนใจครับ เดิมทีเรามีส้มบางมด ส้มรังสิต แต่ตอนนี้ชาวสวนเค้าขายที่ดินให้หมู่บ้านไปเยอะแล้ว พวกเกษตรกรแถวๆรังสิต ธัญบุรี ลำลูกกา ที่หันมาปลูกไม้ดอก ไม้ประดับก็เยอะครับ รายได้ดีกว่าเป็นไหนๆ ถ้ายังทู่ซี้ปลูกส้ม(อาจจะหลอกตัวเองว่าทุกคนต้องการวิตามินซี...) แล้วรอรัฐบาลมาประกันราคา รับซื้อจำนำส้ม ป่านนี้คงเจ๊งระนาวทั้งรัฐทั้งเกษตรกร
ภาคอิสานไม่ใช่ว่าแห้งแล้งกันดารเหมือนแต่ก่อน ณ วันนี้เราคงรู้แล้วว่า ปัญหาอยู่ที่การจัดการน้ำ มากกว่าตัวภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผมเชื่อว่าพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นยังมีอีกมากให้เรานำมาพัฒนาครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 12
ความเห็นผมนะ ถ้า ธกส.เลือกจะเจ๊งกับไอเดียใหม่ๆแต่เราต้องการคนที่เป็น risk taker สักหน่อย
ก็ยังคุ้มกว่าการเจ๊งกับไอเดียเก่าๆ
เพราะอย่างน้อยเราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 13
ปลูกข้าวยังใช้น้ำฝนอยู่เลยครับ แต่ถ้ามีระบบชลประทานแล้วปลูกข้าวได้ปีละสองครั้ง ข้าวหอมอาจจะไม่หอมอย่างที่เคยเป็นก็ได้ 8)jaychou เขียน: ภาคอิสานไม่ใช่ว่าแห้งแล้งกันดารเหมือนแต่ก่อน ณ วันนี้เราคงรู้แล้วว่า ปัญหาอยู่ที่การจัดการน้ำ มากกว่าตัวภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ผมเชื่อว่าพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นยังมีอีกมากให้เรานำมาพัฒนาครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 14
ขนาดมืออาชีพด้านการเกษตรในตลาดหุ้น ไม่ว่าจะซีพี หรืออะไรก็ตามก็ยังมีความเสี่ยงสูงมาก นักลงทุนยังเรียกว่า "หุ้นปราบเซียน" เลยครับแต่เกษตรกรไทยผู้ไม่ค่อยถนัดเรื่องธุรกิจ ส่วนใหญ่ก็มีธุรกิจส่วนตัวสุดเสี่ยงอันนี้อย่างไม่สะทกสะท้าน
ข้อเสนอ......
1. ทำธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันมากกว่าเดิม แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำได้อย่างไรถ้ารัฐไม่ช่วย ลำพังกระดูกสันหลังผุๆจะช่วยตัวเองได้อย่างไร (ที่ผุก็เพื่อให้คนทั้งโลกมีกินซะด้วย)
2. ไม่ต้องทำอะไร รออย่างเดียว รอให้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ จนอุปสงค์ไม่พอกับอุปทาน แต่ไม่รู้ว่าต้องรออีกนานเท่าไหร่นี่สิ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 15
ใช่ครับพี่หมอ หุ้นนี่สะท้อนได้ชัดเจนจริงๆ
มีข่าวปีนี้น้ำแล้งอีกแล้ว วิธีแก้ของทางราชการ
"ช่วยเหลือการเงินให้แก่เกษตรกรผู้มีปัญหา"
เมื่อไหร่เราจะได้น้ำมาใช้อย่างยั่งยืนล่ะ ไปแก้กันปลายเหตุตลอดเลย
มีข่าวปีนี้น้ำแล้งอีกแล้ว วิธีแก้ของทางราชการ
"ช่วยเหลือการเงินให้แก่เกษตรกรผู้มีปัญหา"
เมื่อไหร่เราจะได้น้ำมาใช้อย่างยั่งยืนล่ะ ไปแก้กันปลายเหตุตลอดเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 16
ปีนี้เมืองจีนก็แล้ง ปลูกข้าวนาปรังก็ได้ข่าวว่าล่ม ขออย่าให้เกิดกับบ้านเราเลย ถ้าเราปลูกได้เยอะปีนี้คงขายได้ดี เพราะทั้งจีน ทั้งออสเตรเลียคงแล้งjaychou เขียน:ใช่ครับพี่หมอ หุ้นนี่สะท้อนได้ชัดเจนจริงๆ
มีข่าวปีนี้น้ำแล้งอีกแล้ว วิธีแก้ของทางราชการ
"ช่วยเหลือการเงินให้แก่เกษตรกรผู้มีปัญหา"
เมื่อไหร่เราจะได้น้ำมาใช้อย่างยั่งยืนล่ะ ไปแก้กันปลายเหตุตลอดเลย
ราคาข้าวน่าจะสูงกว่าราคาประกันครับปีนี้
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1647
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 17
ถ้าอย่างงั้น โครงการ ชลประทาน แสนล้านคงไม่คุ้มค่า
เกษตรกรเป็นกลุ่มที่รัฐบาลทุกชาติอุ้มเพราะอะไรครับ ญี่ปุ่นก็อุ้ม เกาหลีก็อุ้ม อเมริกาก็อุ้ม ออสเตรเลียก็อุ้ม ทำไมครับ
เคยอ่าน mein kampf ของ hitler เค้าบอกว่าเยอรมันควรหันมาปกป้องการผลิตอาหาร และผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง เพราะตอนนั้นเยอรมันต้องนำเข้าอาหารเสียส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีความมั่นคงในชาติ
เป็นเรื่องความมั่นคงหรือเปล่าครับ
ถ้าจะผลิตข้าวกันจริงๆและให้ได้ราคาสูงๆคงต้องมีผลิตภัณฑ์จากข้าวใหม่ๆที่ทุกคนต้องใช้ นอกจากข้าวสวยที่กินกัน
เกษตรกรเป็นกลุ่มที่รัฐบาลทุกชาติอุ้มเพราะอะไรครับ ญี่ปุ่นก็อุ้ม เกาหลีก็อุ้ม อเมริกาก็อุ้ม ออสเตรเลียก็อุ้ม ทำไมครับ
เคยอ่าน mein kampf ของ hitler เค้าบอกว่าเยอรมันควรหันมาปกป้องการผลิตอาหาร และผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง เพราะตอนนั้นเยอรมันต้องนำเข้าอาหารเสียส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีความมั่นคงในชาติ
เป็นเรื่องความมั่นคงหรือเปล่าครับ
ถ้าจะผลิตข้าวกันจริงๆและให้ได้ราคาสูงๆคงต้องมีผลิตภัณฑ์จากข้าวใหม่ๆที่ทุกคนต้องใช้ นอกจากข้าวสวยที่กินกัน
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณ JayChou ที่จุดประเด็น และสุมาอี้ เขียน:
ปัญหาเศรษฐกิจไทยมันเป็นปัญหา micro มากกว่า macro เพราะไม่มีใครกล้าฉีกไปทำอะไรใหม่ๆ มันถึงได้ล้นตลาดไปหมดทุกวงการ
ชอบความเห็นของท่านแม่ทัพ
สภาพแวดล้อมและอากาศของบ้านเรามันเอื้อในเรื่องการเกษตร จะปลูกข้าวก็ไม่ได้ผิดอะไรแต่มันต้องมีการปรับตัวด้วยสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด ไม่ใช่อุ้มกันไปเรื่อยๆโดยไม่รู้จักหาทางออกใหม่ๆกันบ้าง
ผมเองก็เคยอ่านเจอเรื่องที่กระแสโลกกำลังนิยมเรื่องปลอดสารพิษ และมีเกษตรกรที่ไหนจำไม่ได้ หันมาปลูกข้าวด้วยปุ๋ยธรรมชาติ และไม่ใช้สารเคมี เวลาไปส่งข้าว ที่โรงสียังนึกว่าโกงเพราะน้ำหนักข้าวต่อเม็ดเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนการผลิตต่ำลงเพราะไม่ต้องซื้อปุ๋ยกับยา เพื่อนบ้านที่ปลูกข้าวยังมาขอซื้อ-แลกข้าวเพราะปลูกโดยไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลง ตอนหลังมีคนมารับซื้อถึงที่เลยเพราะเอาไปส่งออกเป็นอาหารorganic
ผมยังนึกอยู่เลยว่าถ้าอันที่จริงถ้าบอกว่าไทยจะเป็นครัวโลก ทำไมเราไม่เป็นครัวที่ดีที่สุดในโลก ส่งออกอาหารที่ปลอดสารพิษ หรือเป็นแบบ Organic ไปเลยชูจุดเด่นอันนี้ ที่ไม่มีใครทำ และก็เป็นที่ต้องการของผู้มีรายได้ในต่างประเทศเองก็มีความต้องการเรื่องนี้มาก ขายอาหารปลอดสารพิษทั้งหมด ผลไม้ ไก่ กุ้ง ปลา ฯลฯ ชูธง"อาหารไทยปลอดสารพิษ" หรือ Organic Thailand
หาทางออกให้เขาน่าจะได้ราคาดีกว่าที่จะตะบี้ตะบันกันปล่อยกู้ ทำให้ชาวนาจมอยู่ในวงจรอุบากศ์นี้ - โง่ จน เจ็บ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 19
ผมเห็นด้วยกับพี่ๆครับ ว่ามันเป็นปัญหาที่อยู่กับประเทศเรามานาน และไม่ได้รับการแก้ไขจริงจังซักที
ถ้ารัฐเข้ามาช่วยแกปัญหาโดยการจัด demand และ supply ให้มันพอดีกัน ไม่มีการ over ไปทางด้านใดด้านหนึ่งก็จะดีมาก ( ขอรวมถึง ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ) ทางกรมเกษตรก็น่าจะรู้ทั้ง demand และ supply คร่าวๆอยู่แล้วครับว่าในปีนี้ สินค้าแต่ละอย่างอันไหน จะเกินจะขาดเท่าไร แทนที่จะทุ่มเงินไปสร้าง demand จอมปลอม ก็สู้มาปรับ product ที่จะได้ให้สอดคล้องกับdemand ที่มีอยู่จะดีกว่า
คือผมคิดว่าปัญหามันอยู่ที่ชาวนา/ สวน /ไร่ที่มีปัญหาขาดทุนอยู่นั้น ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปปลูกอะไรดี และถ้าจะเปลียนจริงจะทำอย่างไร (ส่วนใหญ่มี khow how ที่ได้มาจาก ปู่ ย่าตา ทวด เท่านั้น) จึงได้แต่ปลูกไปและขอให้ปีนี้ราคาดีเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ผมว่าทางรัฐน่าจะช่วยได้ดี จะได้ไม่ต้องเห็ยใครเอามันสำปะหลัง , สับปะรดมาถมถนนอีกครับ
ถ้ารัฐเข้ามาช่วยแกปัญหาโดยการจัด demand และ supply ให้มันพอดีกัน ไม่มีการ over ไปทางด้านใดด้านหนึ่งก็จะดีมาก ( ขอรวมถึง ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ) ทางกรมเกษตรก็น่าจะรู้ทั้ง demand และ supply คร่าวๆอยู่แล้วครับว่าในปีนี้ สินค้าแต่ละอย่างอันไหน จะเกินจะขาดเท่าไร แทนที่จะทุ่มเงินไปสร้าง demand จอมปลอม ก็สู้มาปรับ product ที่จะได้ให้สอดคล้องกับdemand ที่มีอยู่จะดีกว่า
คือผมคิดว่าปัญหามันอยู่ที่ชาวนา/ สวน /ไร่ที่มีปัญหาขาดทุนอยู่นั้น ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปปลูกอะไรดี และถ้าจะเปลียนจริงจะทำอย่างไร (ส่วนใหญ่มี khow how ที่ได้มาจาก ปู่ ย่าตา ทวด เท่านั้น) จึงได้แต่ปลูกไปและขอให้ปีนี้ราคาดีเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ผมว่าทางรัฐน่าจะช่วยได้ดี จะได้ไม่ต้องเห็ยใครเอามันสำปะหลัง , สับปะรดมาถมถนนอีกครับ
"When the seagulls trawler it is because they think sardines will be thron into the sea."
- boonprak
- Verified User
- โพสต์: 153
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 20
จะให้ปลาเขา หรือจะสอนเขาจับปลา?
ผมมองปัญหาในปัจจุบัน มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาดูเหมือนเราจะให้ปลาเขาโดยตลอด ไม่ต้องคิดอะไรมาก ปลูกๆ กันไป เป็นหนึ่เป็นสิน เดี่ยวรัฐก็มาช่วย เดี่ยวรัฐก็แทรกแซง หรือไม่ก็โดนประท้วงจนต้องเข้าไปดูแล (เพราะเป็นส่วนที่ให้คะแนนเสียง ใครให้ปลาเขา ใครให้เขาสบาย ครั้งหน้าได้รับเลือก)
ขออภัยน่ะครับ ผมเลยมองว่า ทำให้บางส่วนเสียนิสัย
หันกลับมามองว่า ถ้าสามารถช่วยให้เกษตรกรมีศักยภาพในการปรับตัวกับตลาด อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง มีความเข้มแข็ง รู้จักการบริโภคใช้จ่ายที่เหมาะสม ถือเป็นการสร้างดีมานด์ภายในระยะยาวให้กับประเทศ สอนเขาจับปลา น่าจะดีกว่า รัฐเองควรเป็นหัวหอกนำด้านนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังซักที
ผมมองปัญหาในปัจจุบัน มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาดูเหมือนเราจะให้ปลาเขาโดยตลอด ไม่ต้องคิดอะไรมาก ปลูกๆ กันไป เป็นหนึ่เป็นสิน เดี่ยวรัฐก็มาช่วย เดี่ยวรัฐก็แทรกแซง หรือไม่ก็โดนประท้วงจนต้องเข้าไปดูแล (เพราะเป็นส่วนที่ให้คะแนนเสียง ใครให้ปลาเขา ใครให้เขาสบาย ครั้งหน้าได้รับเลือก)
ขออภัยน่ะครับ ผมเลยมองว่า ทำให้บางส่วนเสียนิสัย
หันกลับมามองว่า ถ้าสามารถช่วยให้เกษตรกรมีศักยภาพในการปรับตัวกับตลาด อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง มีความเข้มแข็ง รู้จักการบริโภคใช้จ่ายที่เหมาะสม ถือเป็นการสร้างดีมานด์ภายในระยะยาวให้กับประเทศ สอนเขาจับปลา น่าจะดีกว่า รัฐเองควรเป็นหัวหอกนำด้านนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังซักที
-
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 21
เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้างครับ
ทั้ง เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันอื่นๆ ของรัฐและเอกชนของประเทศที่ว่ามานั้น คนละเรื่องกับประเทศไทย
ทั้ง เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันอื่นๆ ของรัฐและเอกชนของประเทศที่ว่ามานั้น คนละเรื่องกับประเทศไทย
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 22
ผมไปเจอมา ขอโทษนะครับถ้ามันยาวไป ไม่รู้ว่าผิดวัตถุประสงค์หรือเปล่าที่มีเบอร์โทรด้วย แต่เราทำได้ครับถ้าช่วยกันทำรวมมิตรชุมชน ประชาคมท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาในระดับฐานราก
โรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ อ.กุดชุม จ.ยโสธร
ปัจจุบันกระแสการผลิต และบริโภคอาหารปลอดพิษ ได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยจะเห็นตัวอย่างจากการวางสินค้าประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ผลไม้ สมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะ "ข้าว" อาหารหลักของคนไทยเรา มีการพูดถึง และซื้อหาข้าวชนิดต่างๆ ที่ไม่ต้องขัดขาว เพราะนอกจากจะให้คุณค่าอาหารมากกว่าแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานในการสีข้าวอีกด้วย
แต่ใครจะรู้บ้างว่า กว่าที่จะมีคนหันมาสนใจผลิต และซื้อหาของเหล่านี้ ได้มีชาวบ้านส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ผลิตต้องฝ่าฟันกับอุปสรรค นานับปการ เพื่อพิสูจน์ว่า แนวทางการผลิตข้าวปลอดสารเคมีนั้น เป็นเรื่องที่ทำไก้ท่ามกลางกระแสการผลิต ที่เน้นการใช้ยา เร่งปุ๋ย
ที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญแห่งหนึ่ง ได้มีชาวบ้านรวมตัวกันในนาม "กลุ่มเกษตรกรทำนาโส่" เพื่อปลูกช้าวปลอดสารเคมี และร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน จัดตั้งโรงสีข้าว ที่เป็นของชุมชน มีสมาชิกกระจายอยู่ใน 17 หมู่บ้าน 3 ตำบล
ชุมชนมีพื้นฐานของการรวมตัวอย่างไร
ชาวบ้านตำบลนาโส่ และบริเวณใกล้เคียงมีพื้นฐานที่สำคัญ ในการรวมกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เช่น การรวมตัวกัน เพื่อตั้งร้านค้าของชุมชน ซึ่งยังคงดำเนินกิจการมาถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นความต้องการของชาวบ้านเอง หรือการรวมตัวกัน เพื่อแก้ปัญหาในอาชีพของตน จากลักษณะอาชีพของชาวบ้านที่นี่ เกือบทั้งหมดทำนา และประสบปัญหาเกี่ยวกับการขาย ที่ทำให้ไม่ได้ราคา เพราะถูกโกงตาชั่งบ้าง การเสียค่าขนส่งบ้าง และได้เคยคิดแก้ปัญหามาตั้งแต่เดิมแล้ว ในรูปของการรวมกลุ่มกันขาย และค่อนข้างประสบความสำเร็จ สามารถทำให้เกิดการรวมข้าว โดยมีพ่อค้านำรถมารับถึงในหมู่บ้าน จนถึงกับอยากจะทำให้มีโรงสีขึ้น เป็นของตนเอง "เคยจะรวมกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 แต่สถานการณ์รวมตัวไม่ได้ เพราะเขาหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์" (วิจิตร บุญสูง ผู้จัดการโรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ)
นอกจากหน่วยพื้นฐานของชุมชน คือ ชาวบ้านแต่ละคน แต่ละครอบครัว จะให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่มต่างๆ แล้วนั้น ยังมีสถาบันสงฆ์ในท้องถิ่น ที่ร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับชาวบ้าน คือ พระครูสุภาจารวัฒน์ หรือ หลวงพ่อสีหา พระนักพัฒนาของชาวบ้าน โดยได้ร่วมกับชาวบ้าน ทำกิจกรรมที่สำคัญ ซึ่งนะไปสู่การเชื่อมโยง เพื่อจัดตั้งโรงสีข้าวในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ.2526 หลวงพ่อสีหาได้ร่วมกับชาวบ้าน และโรงพยาบาลอำเภอกุดชุม ริเริ่มแสวงหา และฟื้นฟูภูมิปัญญา ในการรักษาตัวเองของชาวบ้าน โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "ชมรมหมอยาพื้นบ้าน" ซึ่งทำให้ได้รับการสนับสนุน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ คณธวัชชัย โตสิตระกูล เจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชน จาก "โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง" ซึ่งได้กลายมาเป็น เพื่อคนสำคัญของชุมชน ในการร่วมคิด และพัฒนาการรวมตัว จากเรื่องสมุนไพร ไปสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ เช่น การทำเกษตรแบบผสมฟสาน กองทุนเพื่อพันธุ์ไม้ และพัฒนาแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ป่าชุมชน ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ และทำกิจกรรมรวมกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น
"เข้ามารู้จักที่อำเภอกุดชุมตั้งแต่ปี 2527 เพราะว่าชมรมหมอยาพื้นบ้าน ของอำเภอนี้ เชิญให้มาเป็นวิทยากรบรรยายให้สมาชิกฟัง ก็เห็นศักยภาพว่า ชาวบ้านรวมตัวกันค่อนข้างเหนียวแน่น มีทั้งชาวบ้าน ข้าราชการจากหน่วยงานสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลกุดชุม ครูในท้องถิ่น และมีพระเรียกว่า มีคนหลากหลายมาร่วมใจกันทำ แต่คนส่วนใหญ่ยังคงสนใจเรื่อง ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจ มีสมาชิกหลายคนที่เราพยายาม ให้เขาปลูก และใช้สมุนไพรแบบพึ่งตนเอง แต่เขาบอก ผมไม่ปลูกหรอก ผมต้องดูแล 365 วัน แล้วผมจะได้ใช้มันหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ถ้าอาจารย์ให้คนทำมาขาย ผมป่วย ผมซื้อ ในระดับของการส่งเสริมเรื่อง สมุนไพร จึงค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด" (ธวัชชัย โตสิตระกูล โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง)
จากสมุนไพรสู่การทำนาปลอดสารพิษ และโรงสีข้าว
ในส่วนของงานสมุนไพรในตอนแรก ประสบกับปัญหาข้อจำกัดว่า อาจจะไม่สามารถรับความต้องการ ในการแก้ไขปัญหาปากท้องของชาวบ้านได้ แต่ก็ยังคงจัดทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด ตั้งเป็น "ศูนย์สุขภาพวัดท่าลาด" เพื่อให้เป็นทางเลือก ในการรักษาตนเองของชาวบ้าน และสามารถสร้างรายได้ให้กับบ้านได้จริง ในเวลาต่อมา เพราะเป็นศูนย์รวบรวมวัตถุดิบ ให้แก่โรงพยาบาลกุดชุม และในทุกวันพระที่มีชาวบ้านมาทำบุญ จะเปิดให้บริการดูแลสุขภาพ เช่น นวด ประคบ อบสมุนไพร เป็นต้น
ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2533 ทางโครงการสมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเอง และองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่ง ได้เชิญ คุณมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ชาวนาญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่งจะได้รับรางวัลแม็กไซไซ มาเยี่ยมชาวนาไทย และได้เดินทางมาพูดคุย เกี่ยวกับการทำนาธรรมชาติ กับสมาชิกชมรมหมอยาพื้นบ้านด้วย "ปรากฎว่า ชาวบ้านหลายคน ให้ความสนใจอยากทำนาธรรมชาติ แบบฟูกูโอกะบ้าง ในขณะเดียวกัน คณะที่มาจากกรุงเทพก็บอกว่า โอ๊ะ ... ถ้าชาวบ้านที่นี่ปลูกข้าวธรรมชาติ ก็อยากจะซื้อไปกิน เขาไม่อยากกินข้าวที่ใช้สารเคมี อันนั้นก็ไม่เพียงเป็นการพูดกันเล่นๆ ต่อมาคณะนั้นก็รวมตัวกัน เป็นชมรมเพื่อนธรรมชาติ" (ธวัชชัย โตสิตระกูล) หลังจากนั้น อีกประมาณ 3 เดือน ชมรมเพื่อนธรรมชาติ ก็ส่งตัวแทนมาหารือกับชาวบ้านว่า ถ้าชาวบ้านจะปลูกข้าวธรรมชาติจริงๆ ก็อยากได้ข้าวไปกิน แต่ติดปัญหาว่าจะทำอย่างไร เพราะชาวบ้านปลูกได้ข้าวเปลือก จึงเกิดความพยายามแก้ปัญหา และนำไปสู่การเป็นต้นทางสำคัญ ของการรวมกลุ่ม จัดตั้งโรงสีข้าวของชาวบ้านอย่างจริงจัง
"ก็พยายามหาโรงสีที่จะรับจ้างสี แต่ไม่มีโรงสีไหนรับ เพราะยุ่งยาก ต้องไปล้างเครื่องเพื่อมาสีข้าวปลอดสาร ปริมาณไม่มาก กำไรก็ไม่เยอะ สุดท้ายคุยกันไปคุยกันมา ก็มาลงที่บ้านโสกขุมปูน ซึ่งมีชาวบ้านที่เคยอยากจะตั้งโรงสี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 แต่ยังไม่มีช่องทางเรื่อง ทุน และการตลาด เมื่อมีคนมารับว่า จะซื้อและมีองค์กรพัฒนาเอกชน ทำงานประสานอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านจึงรับว่า ทำได้ นั่นก็เป็นที่มาของโรงสีข้าว ชมรมรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งให้สอดคล้องกับเพื่อนธรรมชาติ" (ธวัชชัย โตสิตระกูล)
โรงสีข้าวปลอดสารพิษ วัดใจคนปลูกคนกิน
เมื่อมีการเริ่มต้นสร้างโรงสีกันอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่ยังไม่มีทุน และประสบการณ์นั้น ผู้นำชาวบ้านเป็นบุคคลสำคัญ ที่จะคิดหาวิธีการเริ่มต้น วิธีแก้ปัญหาและเป็นตัวอย่างของกำลังใจที่เข้มแข็ง เมื่อถามถึงเรื่องการลงทุนในเริ่มแรก พ่อวิจิตรได้กล่าวว่า "มีใจก็เสร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ทุนเราอาจจะไม่มี แต่ต้นทุนเรามี ต้นทุนของเราคือ ใจ พอจะตั้ง ก็ทำกันแบบหาเสียงเลย เอาเครื่องเสียงติดรถออกไปตามหมู่บ้านเลย บางคนว่าคอมมิวนิสต์มาแล้ว ก็มีบางส่วนเข้าใจ เห็นดีด้วย เพระาเหตุว่า เขาถูกโกงมามากแล้ว รวมกันซีที ไปถึงบ้านไหนก็ต้อนรับ ช่วยลงหุ้น แต่ลงหุ้นปากเปล่า เพราะเค้ายังไม่มีเงิน งวดแรกได้เงินมาแสนกว่าบาท มันไม่พอ เพราะไปถามช่างเขาดูว่า ทำโรงสีครั้งแรกประมาณ 3.3 แสนบาท ก็ถามว่าจะทำหรือไม่ ก็ตกลงใจว่าทำ แต่ช่างต้องทำให้ทันสี ได้เอาข้าวไปขายก่อน ถ้าขายข้าวได้จะให้ช่างคืน ช่างก็ดีใจบอกว่า เออ มันรวมกันได้ พอทำไปทำมาเงินหมด โรงสียังไม่เสร็จ ก็ต้องขอทางผู้บริโภค ก็ถาม อ.ธวัชชัยว่า จะมีคนกิน ก็มาช่วยกันลงหุ้นมั่งสิ จะให้ผมทำคนเดียวได้ไง เขาก็ระดมทุนช่วยมา 2 แสนบาท ลงหุ้นด้วย มันก็เป็นรูปธรรมขึ้นมา" (วิจิตร บุญสูง) เมื่อมีการรวมตัวกันอย่างจริงจัง การให้ความสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ก็หลั่งไหลเข้าสู่ชุมชน "ที่ทำมาก็มีปัญหา แต่ก็มีคนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อย่างราชการในตอนหลัง กระทรวงเกษตรก็เข้ามาช่วย เอาฉางข้าวมาให้ เอ๊ะ พวกนี้มันรวมกันจริงๆ นี่" (วิจิตร บุญสูง)
ชาวบ้านได้อะไรจากโรงสีของชุมชน
โรงสีข้าวธรรมชาติบ้านนาโส่ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของชาวบ้าน และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่ชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่อง การสร้างรายได้จากการขายข้าวของชาวบ้าน ที่ทำให้ได้ราคาดี ควบคู่ไปกับ การช่วยให้ชาวนามีสุขภาพที่ดีขึ้น
กำลังการผลิตของโรงสีในปัจจุบัน สามารถสีข้าวได้ 60 เกวียน หากเดินเครื่อง 24 ชั่วโมง โดยจะรับสีข้าว ทั้งประเภทที่ปลูกโดยทั่วไป และข้าวของสมาชิกที่ปลูกแบบปลอดสารพิษ ซึ่งหมายถึง ข้าวที่ปลูกโดยมีการใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงไม่เกิน 10 กิโลกรัมต่อไร่ แลเข่าวปลอดสารเคมี ซึ่งปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงเลย การที่ต้องรับสีข้าวประเภทอื่นด้วยนั้น เพื่อให้คุ้มกับกำลังการผลิต โดยจะกำหนดราคาให้กับสมาชิกทีปลูกข้าวปลอดสารพิษ และสารเคมีสูงกว่าราคาตลาด (ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงตามผลกำไรของโรงสี ซึ่งมีการประชุมใหญ่ทุกปี) โดยคิดให้อัตราส่วนต่อหมื่นละ 2 บาท หากเป็นข้าวปลอดสารทั่วไป แต่หากเป็นข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ บวกเพิ่มอีกหมื่นละ 4 บาท และบวกอีกหมื่นละ 6 บาท ให้แก่ข้าวหอมะลิปลอดสารเคมี (1 หมื่น เท่ากับ 12 กิโลกรัม) แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านให้ความสำคัญ ในการผลิตข้าวแบบนี้ ก็คือ ผลสะท้อนกลับของการมีสุขภาพที่ดี และตื่นตัว ในการระมัดระวังการบริโภคพืชผักที่มีสารพิษอีกด้วย "ปีแรกๆ ที่มาทำขาย ชาวบ้านเขาหัวเราะ ต้องตายแน่ๆ ข้าวปลอดสารพิษ แต่จนถึงปัจจุบัน เกือบ 8-9 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านที่นี่เป็นกลุ่มต้นๆ ที่ไม่กินผักที่ฉีดยา" (วิจิตร บุญสูง)
การที่โรงสีสามารถให้ราคารับซื้อสูงกว่าท้องตลาด ได้เป็นเพราะบริหารยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดกำลังใจในการผลิต ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ ต้องประกอบกับการที่ข้าวประเภทนี้ เป็นที่ต้องการและยังมีช่องว่างในตลาดอยู่บ้าง "ที่ทำเช่นนี้ได้ เพราะเป็นข้าวที่ได้ราคาดี และเพื่อเป็รแรงจูงใจ ซึ่งคำนวณแล้วว่า ไม่ขาดทุน" (วิจิตร บุญสูง)
นอกจากนั้น การที่โรงสีตั้งอยู่ในชุมชน ก่อให้เกิดการสร้างงานให้แก่ชาวบ้านด้วยกันเองด้วย "การทำโรงสีก่อให้เกิดการสร้างงาน กับชาวบ้านหลายสิบคน เอาเฉพาะที่กินเงินเดือนประจำของโรงสีอยู่ 30 คน นอกนั้นก็ว่ากันตามงาน ซึ่งอันนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก ดูจากพัฒนาการของชาวบ้าน เวลาประชุมกันหลายครั้ง พอโรงสีใหญ่ขึ้น ก็มีกรรมการบางคนเสนอว่า อยากซื้อรถตักข้าว เพราะวิธีเดิมจะช้า และชาวบ้านบางคนงอแง มาบ้างไม่มาบ้าง ต่อรองราคาบ้าง กรรมการส่วนหนึ่งเห็นว่า ใช้เครื่องจักรง่ายกว่า ลงทุนครั้งเดียวไม่ต้องปวดหัว ใช้คนเดียวดูแลเครื่อง แต่สุดท้ายมีมติว่า ไม่ซื้อ เพราะกรรมการส่วนหนึ่งแสดงความเห็นว่า เอารถมาจะทำให้คนว่างงาน 30-40 คน กรรมการหลายคนบอกเลยว่า ยินดีปวดหัวในการบริหารชาวบ้าน" (ธวัชชัย โตสิตระกูล) ในประเด็นของการจ้างงาน ในลักษณะนี้ทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ได้แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจนของกรรมการชาวบ้าน ในการกระจายผลประโยชน์ ให้สู่สมาชิก และชุมชนของตน มากกว่าการหวังผลกำไร ในทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว
"ผมเคยทำตัวเลข อย่างโรงสีใหญ่ๆ มีค่าบริหารข้าวเปลือกต่อต้น เท่ากับ 14 บาท แต่ที่นี่คิดต่อต้นเท่ากับ 85 บาท แพงกว่าเขามากๆ แต่กรรมการไม่ยอมตราบเท่าที่โรงสีไม่ขาดทุน พ่อวิจิตร ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงสีจะบอกว่า เราไม่ได้ทำให้โรงสีรวม เราจะทำเพื่อให้ชาวบ้านดีขึ้น แต่ถ้าโรงสีแล้ว ชาวบ้านจนลง อันนั้นผิดวัตถุปรัสงค์ของโรคสี" (ธวัชชัย โตสิตระกูล)
ใครคือสมาชิก
คนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกของโรงสีนั้น จะต้องสมัครเป็นสมาชิก โดยมีกระบวนการเพื่อคัดกรอง และให้ความรู้วิธีการทำนาธรรมชาติอย่างถูกต้อง "คนที่จะมาขายข้าวปลอดสารเคมีนั้น ต้องมาเป็นสมาชิกก่อน ก่อนจะทำนาต้องไปดูแปลง ดูใจกันด้วยว่าใจจุสู้มั๊ย มีความซื่อสัตย์หรือเปล่า พอขั้นที่ 2 ก็ไปแนะนำวิธีการปลูก ใส่ปุ๋ยทำอย่างไร ปุ๋ยพืชสดทำยังไง แต่ก่อนไม่รู้หรอก คือ อะไรรู้มั๊ย ก็เอาเมล็ดพืชไปหว่าน พอมันขึ้นก็ไถกลบ" (วิจิตร บุญสูง)
หลังจากจะตัดสินใจว่า จะทำนาธรรมชาติ ปลูกข้าวปลอดสารพิษแน่แล้ว ชมรมฯ ยังได้ใช้กระบวนการทางสังคม ของคนในชุมชนเดียวกัน ในการควบคุมคุณภาพของกันและกัน เพื่อประกันการมีข้าวที่ได้คุณภาพดี ให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
"การตรวจสอบ ไม่ได้ทำเฉพาะเจ้าหน้าที่ เรามีชาวบ้านซึ่งเป็นกรรมการส่งเสริมคอยช่วยดู และชาวบ้านดูแลกันเองด้วย อย่างคนมีนาอยู่ใกล้กัน จะช่วยกันดูเองว่า มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลงหรือเปล่า อันนี้สำคัญมาก เพราะเป็นลักษณะธรรมชาติ มากกว่าการที่มีเจ้าหน้าที่ไปคอยตรวจ" (มาณิชรา ทองน้อย: ฝ่ายส่งเสริมของโรงสี)
ตลาดข้าวปลอดสารพิษ ของคนกุดชุม
ทุกวันนี้ นอกจากโรงสีข้าวจะส่งข้างให้แก่เพื่อนชาวชมรมรักษ์ธรรมชาติ เพื่อบริโภค และขายให้แก่ผู้บริโภคที่สนใจ ในนามของข้าว "ทุ่งรวงทอง" นับเป็นอีกความภูมิใจของชาวกุดชุม ที่ได้มีโอกาศทำให้ความฝันของตนเป็นจริง เพื่อช่วยเหลือเพื่อนชาวนาด้วยกัน และพิสูจน์ว่า ชาวนาไทย มีความสามารถในการบริหารจัดการโรงสี และค้าขายเป็น ขอเพียงได้มีโอกาส และการสนับสนุนที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังมีการควบคุมจากตัวแทน ของผู้บริโภคโดยตรงจนขายได้ทั้งในและนอกประเทศ "ข้าวที่ว่าส่งสวิสต์เซอร์แลนด์เนี่ย เขาก็ส่งคนมาดูด้วย"(วิจิตร บุญสูง)
การทำโรงสีข้าวของชาวอำเภอกุดชุม มาเกือบ 10 ปี นั้น เป็นภาพสะท้อนให้เห็นการผสมผสานเอาการดำเนินงานธุรกิจชุมชน โดยองค์กรชาวบ้าน ที่มุ่งหวังจะให้ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกทุกคน มีชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งด้านรายได้ และสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับช่องว่างของตลาดข้าว ที่สนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ที่ห่วงใยในสุขภาพของตนเอง และห่วงใยในชีวิตของเพื่อชาวนา ที่อยู่ร่วมสังคมไทย
หมายเหตุ : จากการที่ชาวกุดชุมมีประสบการณ์ทำธุรกิจชุมชน และร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ได้มีการหารือ เก็บข้อมูลชุมชน และพูดคุยถึงภาพรวมของเศรษฐกิจของชาวบ้าน เช่น รายได้ หนี้สิน และได้ทดลองจัดทำ "เบี้ยกุดชุม" ขึ้นใช้ในชุมชนเมื่อกลางปี 2543
สนใจติดต่อ : วิจิตร บุญสูง, มั่น สามสี โทร. (045) 713-630
โครงการตำรา สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง นนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-4144 โทรสาร 0-2591-8147
- BerZerK
- Verified User
- โพสต์: 128
- ผู้ติดตาม: 0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
โพสต์ที่ 23
การทำการเกษตรสมัยนี้ มีค่าใช้จ่ายและต้นทุนสูง อาทิเช่น
-ค่าจ้างแรงงาน ในขั้นตอนเตรียมดิน การไถ การหว่านปักดำ ค่ากำจัดวัชพืช ค่าเก็บเกี่ยว
-ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง
-ค่าสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ค่าน้ำมัน
-ค่าเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
ถ้าลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ ก็จะทำให้ต้นทุนในการเกษตรลดลงมากครับ
แล้วจะเป็นไปได้หรือ ที่จะไม่เตรียมดิน ไม่ไถ ไม่ปักดำ ไม่กำจัดวัชพืช
ไม่ไส่ปุ๋ย ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แล้วจะทำให้ผลผลิตที่ได้ออกมาดีเท่ากัน
คำตอบคือ เป็นไปได้และก็มีคนทำได้จริงครับ
โดยใช้วิธีการทางธรรมชาติ
ผลผลิตก็จะค่อย ๆ กลับมาดีเท่ากันหรือดีกว่าวิธีการทำการทำการเกษตรสมัยใหม่อีกครับ
การทำการเกษตรด้วยวิธีธรรมชาตินี้ จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
ปัญหาเรื่องสุขภาพของเกษตรกรกับผู้บริโภคก็จะดีขึ้น
คุณอาจไม่เชื่อว่าการทำการเกษตรรูปแบบสมัยใหม่ซึ่งเป็น
การปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น การปลูกข้าว ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง
เป็นพัน ๆ ไร่ เป็นหมืน ๆ ไร่ การไถพรวนอย่างหนัก
ใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การกำจัดวัชพืชให้หมดสิ้นจากแปลง
เป็นการทำให้ธรรมชาติเสียหายอย่างร้ายแรงมาก
มีหลักฐานว่า การทำการเกษตรรูปแบบสมัยใหม่
เป็นสาเหตุหลักที่ให้ทะเลทรายในทวีปอเมริกาและทวีปอาฟริกา
มีการขยายตัวอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
ผมตั้งข้อสัณนิฐานว่า อารยธรรมสมัยโบราณเช่น อาณาจักรบาบิโลน
มีบันทึกหลักฐานว่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นทะเลทราย
ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรกันสิ้นเปลืองอย่างหนัก
จนทำให้ธรรมชาติพัง ผู้คนอยู่ไม่ได้ และสูญสิ้นอารยธรรมไปทั้งหมด
ไม่อยากให้เมืองไทยและลูกหลานของเราต้องพบกับเหตุการณ์อย่างนั้นเลยครับ
สำหรับคำถามหลาย ๆ คำถามเรื่องปัญหาผลผลิต demand/supply ต่าง ๆ
หรือเรื่องการแก้ปัญหาเรื่อง ความยากจน
ปัญหาเหล่านี้ต้นเหตุมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
และปัญหาเหล่านี้ มีวิธีการแก้ใขอย่างยั่งยืนนะครับ
คุณเองก็มีส่วนในเรื่องเหล่านี้เช่นกัน