เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

http://www.bangkokbiznews.com/viewOpini ... sid=148416
เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม
18 มกราคม 2550 น.
ชำนาญ จันทร์เรือง


ขณะที่กระแสของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำลังมาแรง แนวความคิดต่างๆ ถูกนำเสนอผ่านเวทีสาธารณะมากมาย มีทั้งข้อเสนอที่เป็นวิชาการแท้ๆ และมีทั้งการโยนหินถามทาง อาทิเช่น นายกฯ ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งบ้าง วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งล้วนๆ บ้าง ฯลฯ แต่คราวนี้ไม่ปรากฏว่ามีผู้เสนอแนวทางการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงแต่อย่างใด อาจจะเป็นเพราะเรายังคงติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ หรือรูปแบบของตำราฝรั่งชาติตะวันตกอยู่ ผมจึงอยากเสนอรูปแบบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ประเทศอื่นไม่มี เผื่ออาจจะเป็นทางเลือกบ้าง

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าในการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) ในโลกบูดๆ เบี้ยวๆ ของเราที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มี 2 ระบบใหญ่ๆ คือ

ระบบรัฐสภา (parliamentary system) และระบบประธานาธิบดี (presidential system) กับอีกหนึ่งระบบเล็กคือระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี (semi-parliamentary system)

ระบบรัฐสภา เป็นการปกครองที่เป็นวิวัฒนาการมาจากการช่วงชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภาของอังกฤษ อาทิเช่น ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ฯลฯ มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1) ตำแหน่งประมุขของประเทศแยกออกจากตำแหน่งบริหาร ในระบบรัฐสภานี้ ประมุขของประเทศซึ่งอาจเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดีมีฐานะเป็นประมุขเพียงอย่างเดียว ไม่มีบทบาทหรืออำนาจในการบริหาร

2) รัฐสภาจะเป็นผู้เลือกรัฐบาลขึ้นมาทำหน้าที่บริหาร เมื่อถึงเวลาที่รัฐสภาไม่ไว้วางใจรัฐบาล รัฐบาลจึงต้องออกจากตำแหน่ง แต่ในขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้ารัฐบาลก็มีสิทธิที่จะยุบสภาได้

ระบบประธานาธิบดี เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ใครใช้อำนาจมากเกินไป อาทิเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศแถบละตินอเมริกา ฯลฯ โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้

1) มีการแบ่งแยกอำนาจ (separation of powers) ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับระบบรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาเป็นกลุ่มเดียวกับรัฐบาล

2) ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารเป็นคนๆ เดียวกัน ระบบนี้กำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหารได้แก่ประธานาธิบดีเพียงคนเดียวเท่านั้น (ไม่มีนายกรัฐมนตรี)

3) รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี เนื่องจากประธานาธิบดีเป็นประมุขของฝ่ายบริหารแต่เพียงผู้เดียว จึงหมายความว่าประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนรัฐมนตรีได้ รัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา

4) ใช้หลักการคานอำนาจ (balance of power) เนื่องจากทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาต่างได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน ดังนั้นจึงมีการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยใช้วิธีการตรวจสอบอำนาจซึ่งกันและกัน (check and balances) ทั้งสามอำนาจ ทั้งนี้ เพื่อไม่ใช้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจมากเกินไปนั่นเอง

ระบบกึ่งรัฐสภา หรือกึ่งประธานาธิบดี หรือรู้จักกันทั่วไปว่า "ประชาธิปไตยแบบฝรั่งเศส" เพราะฝรั่งเศสนำสองระบบข้างต้นมาผสมกันและใช้ที่ฝรั่งเศสที่เดียว มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1) ประธานาธิบดีเป็นผู้ที่แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและฝ่ายบริหาร ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดีจึงมีอำนาจทางการเมือง ส่วนนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ด้านบริหาร แต่อำนาจในการอนุมัติ ตัดสินใจ ลงนามในกฎหมาย ยังคงอยู่ที่ประธานาธิบดี

2) นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาและประธานาธิบดี โดยทั้งสององค์กรสามารถปลดนายกรัฐมนตรีออกได้ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอาจเข้าร่วมการประชุมในรัฐสภาได้ แต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียง

จากรูปแบบที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงที่ผมเสนอจึงเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ เพราะไม่เหมือนใคร การที่ผมเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงนั้น เหตุก็เนื่องเพราะนายกฯ ได้รับฐานอำนาจจากประชาชนโดยตรง ย่อมที่จะสร้างความหวั่นเกรงให้แก่กลุ่มทหารหรือกลุ่มบุคคลใดก็ตามที่จะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจเหมือนดั่งเช่นที่ผ่านๆ มา

คำถามหรือข้อกังวลที่ว่านายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจะมีอำนาจวาสนาหรือมีบารมีมากถึงขนาดกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น เห็นว่าเป็นข้อกังวลที่ไกลเกินเหตุ เพราะคนไทยสามารถแยกแยะออกว่าการเป็นหัวหน้ารัฐบาลกับการเป็นประมุขของประเทศอันเป็นที่เคารพสักการะนั้นมันคนละเรื่องกัน และถึงแม้ว่านายกฯ จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงก็ตามก็ย่อมต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ เพื่อรับรองความชอบธรรมเสียก่อนตามประเพณีการปกครองของไทยอยู่ดี

ผู้ที่เป็นโรคกลัวทักษิณ (Thaksinphobia) เกรงว่าจะกลับมาเป็นนายกฯ อีกนั้น เฉพาะคดีที่ยังค้างคาอยู่ในโรงในศาลไม่ว่าจะเป็นคดียุบพรรคหรือคดีอื่นๆ อีกมากมาย อีกไม่รู้กี่ปีจึงจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ถึงตอนนั้นก็คงไม่มีพิษสงใดๆ ให้กริ่งเกรงอีกแล้ว

แน่นอนว่าผู้ที่เป็นนายกฯ โดยตรง ย่อมต้องผ่านกลไกการคัดกรองและตรวจสอบอย่างเข้มข้นละเอียดยิบ ประเภทสร้างบ้านรุกเขตป่าสงวนหรือจดทะเบียนสมรสซ้อน แม้กระทั่งคนที่วิปริตผิดเพศผิดลูกผิดเมียเขา ตลอดจนคนที่ซุกหุ้นให้คนขับรถหรือคนใช้ถือแทนเพื่อเลี่ยงกฎหมายนั้นคงยากที่จะผ่านด่านเข้ามา ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่พูดเก่ง หน้าตาดี มีทุนหนา ก็มาเป็นหัวหน้าพรรค แล้วกวาดต้อน ส.ส.เข้าคอกเพื่อที่ตนเองจะได้เป็นนายกฯ หรือต่อรองตำแหน่งต่างๆ ดังเช่นที่ผ่านๆ มา

ที่สำคัญคือเมื่อเลือกตั้งนายกฯ แล้ว นายกฯ ก็ไปเลือกคณะรัฐมนตรีเอง ไม่ต้องยุ่งยากต่อโควตาพรรคหรือมุ้งต่างๆ จะเอาขิงแก่ขิงอ่อนแค่ไหนก็ไม่มีใครว่า เพราะเป็นอำนาจของนายกฯ และเชื่อว่าจะได้คณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพตามที่ต้องการด้วย ส่วนรัฐสภาก็คานอำนาจด้วยการออกกฎหมายและการถอดถอนหากว่าเป็นความผิดร้ายแรง (impeachment)

แต่ก่อนเราเคยกังวลเรื่องหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องให้เลือกตั้งโดยอ้อมหรือแม้กระทั่งกำหนดให้ข้าราชการประจำไปเป็นเสียเองเลยก็มี แต่เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็น กทม. อบจ. อบต.ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการเลือกตั้งโดยตรงทั้งนั้น

เมื่อฝรั่งเศสแหวกรูปแบบหลักแล้วประสบความสำเร็จ เราก็น่าจะลองเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงกันดูสักครั้งจะเป็นไร เผื่อจะเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ แบบที่เราแสวงหามากันกว่าค่อนศตวรรษ เพราะนอกจากจะป้องกันการรัฐประหารแล้ว ยังอาจจะได้รัฐบาลที่เข้มแข็งและมีคุณภาพมากกว่าที่ผ่านๆ มาก็เป็นได้
http://www.bangkokbiznews.com/viewOpini ... sid=148416
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เลือก รัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) แยกกับสภาล่าง แยกกับ สภาบนให้เลือกตั้งเหลื่อมกันจะได้ balance

ผมว่าดีนะ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เห็นด้วยครับ

ว่าควรเลือกนายกโดยตรง

เพราะสังเกตุหลายครั้งแล้วว่า

คนที่เป็นนายกนั้นต้อง 1. เป็นผู้นำ 2. กล้าคิดกล้าทำ 3. ประวัติดี 4. มีคุณธรรม เป็นต้น

เมื่อได้คนที่ดีเพรียบพร้อมมานำประเทศแล้ว ก็จะเกิดการยอมรับจากทุกฝ่าย ทำให้ แบ่งผลประโยชน์กันลงตัว
ShexShy
Verified User
โพสต์: 577
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยครับ
และชอบแนวคิดนี้ครับ

แต่เจะสามารถ นำแนวคิดนี้เข้าไปในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้อย่างไรครับ
ให้ สสร. เขาเอาไปคุย และ ลงมติกันบ้างครับ

หรือ ให้ สส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ครับ

อันนี้ไม่ได้ประชดนะครับ อยากให้เกิดอย่างนี้จริง ๆ

:o
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมชอบระบบนี้เพราะ
อยากเห็นคนไทยทุกคนได้เลือกหมาเยอะๆไปกัดกัน
ที่ผ่านมาหมาไม่กัดกันเพราะนายกมาจากเสียงใหญ่ในสภา

โดยเฉพาะยุคทักษิณ เบ็ดเสร็จเกิ๊น
แรงตรวจสอบไม่มี
องค์กรอิสระก็เล็กเก๊นและไม่ได้มาจาก/ไม่ต้องรับผิดต่อประชาชน

ที่นี่ล่ะจะได้เลือกหมาเยอะๆ
เข้าไปกัดกันอย่างเป็นระบบซะที
เบื่อแล้วคนดีที่ไม่ผ่านการพิสูจน์แข่งขัน
และไม่ยึดโยงกับประชาชน
เกิดระบบที่ไม่กลัวคนเลว
เพราะเราให้คนเลวไปจับผิดไปกัดกันจนชาติเจริญ
Demigod
Verified User
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมกลัวหมาจะกัดกันจนไม่เป็นอันทำอะไรหน่ะสิครับ

ทั้งสนามบิน ทั้งรถไฟฟ้า คิดกันมากี่สิบปีหล่ะครับ กว่าจะทำ
รูปภาพ
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ตัวอย่างที่ไม่กัดกันแล้วเจริญ จีน สิงคโปร์
ตัวอย่างที่กัดกันแล้วเจริญ  G8 +ยุโรปเยอะแยะ
ตัวอย่างที่ไม่กัดกันแล้วล้าหลัง พม่า เกาหลีเหนือ
ฯลฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 8

โพสต์

สนใจครับ
ชอบมากด้วย
อิอิอิ
Demigod
Verified User
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แล้วอย่างไทยเรานี่ต้องให้หมากัดหรือไม่กัดกันถึงจะเจริญหล่ะครับ (หรือไม่ว่ายังไงก็ไม่เจริญ อิอิ  :lol: )
รูปภาพ
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มันต้องกัดกันเพื่อประชาชนครับ
กัดกันเพื่อแย่งผลประโยชน์ก็เท่านั้นแหละ

สส ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองหรอกครับมันจำกัดสิทธิประชาชนในการเลือกครับ

ทำไมต้องบังคับให้ประชาชนเลือกพรรคครับ ไม่เข้าใจ
wiras
Verified User
โพสต์: 86
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เลือกตั้งโดยตรงก็ดีครับ แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือ
อำนาจของพระเจ้าอยู่หัวจะอยู่ตรงไหน  ปกติพระเจ้าอยู่หัว
จะต้องทรงลงพระนามอนุมัติรับรองการแต่งตั้งนายกฯ  
ในระบบเดิม ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงรับรองนายกฯที่สภา
เลือกมา  ก็ยังจะสามารถส่งกลับไปให้สภาเลือกนายกฯใหม่ได้
แต่ถ้านายกฯมาจากการเลือกตั้งโดยตรง แล้วพระเจ้าอยู่หัวไม่
ทรงรับรอง ขบวนการตรงนี้จะเกิดความยุ่งยากขึ้นมาได้ ว่าจะ
ทำอย่างไรต่อไป เพราะพระราชอำนาจของพระเจ้าอยู่หัวจะต้อง
คงอยู่ต่อไป
121
Verified User
โพสต์: 843
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ก็ให้กลับมาเลือกตั้งใหม่อีกรอบเป็นไรไป

หรือให้สภายืนยันแบบเดิมก็ไม่เห็นจะเป็นไร

ผมเสนอให้ ส.ส เป็นได้แค่สมัยเดียวตลอดชีพด้วย

จะผูกขาดรับใช้ประชาชนกันกี่ตระกูล
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 13

โพสต์

นายกเลือกตั้งจากประชาชน   ถ้าทำได้ก็ดีซิ    เมื่อเลือกเสร็จก็ให้ประธานรัฐสภายื่นเสนอในหลวงลงพระปรมาภิไธย    โดยออกกฎหมายเป็น พ.ร.บ.รองรับ

หรือถ้าการเลือกนายกโดยให้ สส. เป็นผู้เสนอชื่อ  ก็ให้เป็นได้สมัยเดียว   และให้ สส.เป็นได้แค่สองสมัย   ไม่ว่าจะอยู่ครบเทอมหรือไม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ก็เป็นข้อเสนอที่น่าพิจารณา

ระบบของฝรั่งเศสกว่าจะมาถึงวันนี้ก็ล้มเหลวและแก้ไขกันหลายครั้งคับ

ถ้านายกฯ มีที่มาจากเลือกตั้งโดยตรง

แล้วที่ไปจะเป็นแบบใดได้บ้าง

ครบวาระ ลาออก ตาย ถูกถอดถอน ถูกปลด(โดยพระมหากษัตริย์) ต้องคำพิพากษา ฯลฯ ???

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มีบทความของปรมาจารย์ท่านหนึ่งที่น่าติดตามศึกษา

1.เราจะตั้งชื่อ ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ว่าระบอบอะไร โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์

http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=922

2.ปฏิรูปการเมืองไทย ฤาจะไปไม่ถึงจุดหมาย ?
โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์

http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=413
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6447
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมอยากให้ประเทศไทยเป็นระบบประธานาธิบดีนานแล้วครับ
เหตุผลคือ..

1.ประธานาธิบดีจะได้มีอำนาจเด็ดขาดในการแต่งตั้งรัฐมนตรี ไม่ต้องตกในอิทธิพลของมุ้งต่างๆโดยเฉพาะมุ้งขายตัวแบบเสนาะ เทียนทอง

2.ความเสี่ยงที่จะได้ประธานาธิบดีที่ไม่ดีก็มี แต่ประเทศตอนนี้ต้องการการบริหารแบบเข้มข้นและเร่งด่วน เพราะปัญหาของโลกนี้ซับซ้อนขึ้นทุกวัน จะหวังให้พวกเทคโนเครตมาบริหารก็ไม่ทันกิน เหมือนตอนนี้

3.ระบบประธานาธิบดีที่มีพระมหากษัตรย์เป็นประมุข พวกที่อ้างประเด็นนี้จะได้สบายใจ ที่จริงตอนนี้เราก็มีพระมหากษัตรย์เป็นประมุขที่ไม่ได้บริหาร แต่มีความพยายามที่จะแอบอ้างสถาบันให้เกี่ยวข้องกับการเมืองเสมอๆ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 16

โพสต์

แยกฝ่ายบริหาร ออกจาก รัฐสภา โดยชัดเจนเลยสิครับ

มี สส ทั้งระบบพรรคและอิสระ
สว จะสังกัดพรรคก็ได้ไม่เห็นเป็นไร จะได้รู้ไปเวลาเลือกตั้งเหลื่อมกันแล้ว ถ้าไม่พอใจฝ่ายบริหารก็ถ่วงมันซะ

ให้ สส และ สว สามารถทำการ หยั่งเสียงประชาชนในเขตเป็นเรื่องๆได้ตามหลักสถิติ

เผื่อเอาไว้แบบมาตรา 7 ไว้อย่างเดียวว่า พระมหากษัตริย์ สามารถยกเลิกการ ปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจฝ่ายบริหารโดยใช้กำลังได้
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 17

โพสต์

คุณคนเรือ VI พูดโดนใจ
แต่จริงๆถึงไม่ได้บัญญัติไว้ ก็ยกเลิกโดยพฤตินัย
หรือผ่านพระราชดำรัสได้ครับ

ว่าแต่
คุณ คนเรือVI เคยอ่านเรื่องของกษัตริย์ฮวนคาร์ลอสแห่งสเปนไหมครับ ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 18

โพสต์

สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และโดยเฉพาะในยุคสมัยปัจจุบันแตกต่างจากยุโรปและเอเชียอื่นๆ มีลักษณะพิเศษที่ควรศึกษาทำความเข้าใจต่อไป

พระราชกระแสของกษัตริย์สเปนก็อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น

อ่านเป็นความรู้ เป็นกรณีศึกษาดีคับ เห็นด้วย..

แต่ถ้าจะนำมาเป็นประเด็นให้เข้าใจว่าเป็นการลดพระเกียรติสถาบันฯไทย

ผมเห็นว่า ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ด้วยคับ

เป็นกรณีศึกษาไว้ก็ดี..

อย่าหาว่าผมเป็นพวกนิยมเจ้าเลยคับ..

แต่ก็เข้าใจเจตนาที่ดีที่อยากให้ได้การเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง

นักวิชาการหลายท่านผ่านความเจ็บปวดจาก 6 ตุลา น่าเห็นใจ

แต่จะเป็นเหตุนำมาสู่ความเจ็บแค้นเคืองโกรธหรือไม่นั้น

ยากที่จะหยั่งถึงจิตใจคับ

ด้วยความนับถือ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 19

โพสต์

นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง (ข้อเสนอเมื่อ 30 ปีที่แล้ว)
คอลัมน์:คนแคระบนบ่ายักษ์
แพทย์ พิจิตร  
มติชนรายสัปดาห์  วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1376


มื่อสามสิบปีที่แล้ว นักรัฐศาสตร์ไทยต่างพากันคิดหาหนทางที่จะป้องกัน ไม่ให้ทหารทำรัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือน ที่มาจากการเลือกตั้ง หนึ่งในมาตรการป้องกัน หรือป้องปรามมิให้ทหารกล้าตัดสินใจทำรัฐประหารก็คือ หาทางทำให้รัฐบาลพลเรือนเข้มแข็ง และชอบธรรม จนฝ่ายทหารจะต้องคิดแล้วคิดอีกก่อนจะกล้าลงมือทำรัฐประหาร

จุดอ่อนหรือความอ่อนแอบางประการของรัฐบาลพลเรือนที่มาตามกระบวนการการเลือก ตั้งตามครรลองประชาธิปไตย ได้แก่ การเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค

การที่การจัดตั้งรัฐบาลเมื่อสามสิบปีที่แล้วต้องเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ก็เพราะสาเหตุที่ไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง สามารถได้คะแนนเสียงมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว การเมืองไทยเราเพิ่งจะได้เห็นรัฐบาล ที่จัดตั้งโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว ก็สมัยพรรคไทยรักไทยเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง

การที่พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งของไทยไม่สามารถได้คะแนนเสียงข้างมาก ก็เป็นเพราะพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทย ยังยึดติดกับตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมากกว่าพรรคหรือนโยบายพรรค ดังนั้น พรรคการเมืองต่างๆ จึงพยายามที่จะควานหาบรรดาคนที่มีบารมีในท้องถิ่นต่างๆมาเป็นผู้สมัครในนามของพรรคของตน จึงเกิดปรากฏการณ์พรรควิ่งแย่งผู้สมัครที่มีศักยภาพ มากกว่าผู้สมัครวิ่งเข้าพรรค ส่วนผู้สมัครที่วิ่งเข้าหาพรรค ก็มักจะเป็นผู้ที่ไม่ค่อยจะมีชื่อเสียงในท้องที่ท้องถิ่นเท่าไรนัก แต่หวังเผื่อโชคดีได้โหนกระแสพรรคเข้าไปในรัฐสภากับเขา

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนจะเป็นแบบนี้ คนดีมีความสามารถบางคนก็วิ่งเข้าพรรคเองก็มี หากเขารู้สึกว่าหลักการของพรรคกับแนวทางของเขานั้นเข้ากันได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นอย่างที่กล่าวไป

เมื่อไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้คะแนนเสียงข้างมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ จึงทำให้พรรคที่พอจะมีคะแนนเสียงมากกว่าพรรคอื่นๆ ต้องร่วมมือกับพรรคการเมืองอื่นในการจัดตั้งรัฐบาล และต้องแบ่งสันปันส่วน ตำแหน่งรัฐมนตรีให้พรรคต่างๆ ที่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล ทำให้รัฐบาลที่เกิดขึ้นไม่สามารถมีเสถียรภาพได้ เพราะต้องคอยระแวดระวังพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเป็นรัฐบาล

เพราะพรรคอื่นก็คือคนอื่น ไม่เหมือนคนในพรรคตน ขนาดคนในพรรคเดียวกัน ยังคุมกันลำบากเลย นับประสาอะไร กับคนพรรคอื่น มีอะไรไม่พอใจก็ทำท่าจะถอนตัวออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ขู่จะเอาท่าโน้นท่านี้อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ดังใจ เวลาพรรคฝ่ายค้านเกิดคิดจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคร่วมรัฐบาลที่งอแง ก็อาจจะปันใจไปช่วยยกมือไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้หัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก มีอันต้องพับกระเป๋าลาโรงไป

และนั่นก็จะเป็นโอกาสให้หัวหน้าพรรคการเมืองอื่นๆ มีโอกาสที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ได้ หรือไม่ก็สามารถต่อรองได้ตำแหน่งรัฐมนตรี ที่สำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ในรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ภาพของรัฐบาลผสมหลายพรรคที่ปรากฏในการเมืองไทยเป็นภาพที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งแก่งแย่งต่อรองเก้าอี้ที่นั่งตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นเรื่องผลประโยชน์เต็มๆ เป็นเรื่องของการทรยศหักหลัง การหวงเก้าอี้ นายกรัฐมนตรีก็ทำอะไรไม่ได้มาก ขาดประสิทธิภาพ เพราะมัวแต่มานั่งระแวดระวัง จัดการกับการต่อรองจากพรรคร่วมฯ เพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลไว้ ผลงานจึงไม่ค่อยจะมี หรือถ้ามีก็ไม่โดดเด่นเห็นชัด อีกทั้งพรรคร่วมรัฐบาลเอง ก็ไม่อยากจะให้เครดิต ตกอยู่กับพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เสียถ่ายเดียว ก็พยายามสร้างภาพความโดดเด่นสามารถของตนด้วย อีกทั้งก็พยายามปัดแข้งปัดขาพรรค แกนนำในเวลาเดียวกัน

ผู้คนมักจะเหม็นเบื่อปรากฏการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลผสมหลายพรรค และพลอยเบื่อการเมืองไปในเวลาเดียวกันด้วย

เมื่อประชาชนเริ่มเหม็นเบื่อการเมืองตามครรลองประชาธิปไตยที่ดูแล้วมัน "ยุ่งชิบหายเลย!" มันก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่เอื้อต่อการที่กลุ่มทหารจะเข้ามาแทรกแซงทำรัฐประหารนั่นเอง เพราะถ้าผู้คนเริ่มรู้สึกรังเกียจรำคาญ ปรากฏการณ์รัฐบาลผสมหลายพรรค และบรรดาพรรคการเมืองในสภามากขึ้นเท่าใด ความชอบธรรมในการทำรัฐประหารก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น

เมื่อสามสิบปีที่แล้ว การหาทางทำให้พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ได้คะแนนเสียงข้างมาพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว แทบจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นั่นคือ ประชาชนเลือกคนมากกว่าเลือกพรรค อีกทั้งการเลือกตั้งก็ไม่ได้มีบ่อยๆ เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนตระหนักว่า เลือกคนไปไม่มีประโยชน์เท่าเลือกพรรค เพราะจะทำงานในระดับมหภาคได้เป็นจริงเป็นจังกว่า

ถ้าจะถามว่า พรรคการเมืองเมื่อสามสิบปีที่แล้วไม่ได้มีนโยบายพรรคที่แตกต่างกันเด่นชัด มากพอที่จะทำให้คนเลือกที่นโยบายมากกว่าที่ตัวบุคคลหรือไม่?

คำตอบคือ พอมีบ้างเหมือนกัน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะสนใจเลือกที่นโยบาย ยังไม่เข้าใจว่า เขาควรที่จะเลือกที่นโยบายมากกว่าที่ตัวบุคคล ดังนั้น การหาทางที่จะให้พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงที่มากพอ จะจัดตั้งรัฐบาลนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสมัยนั้น อีกทั้งปัญหาดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นปัญหาของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่จะหาทางสร้างคะแนนนิยม นักรัฐศาสตร์มิได้มีหน้าที่ ที่จะช่วยพรรคใดพรรคหนึ่งให้ได้คะแนนเสียงข้างมาก ยกเว้นแต่จะนิยมในหลักการของพรรคนั้นๆ จริงๆ

แม้ว่าในการเลือกตั้ง จะมีพรรคต่างๆ ที่สามารถได้รับคะแนนเสียงมากน้อยต่างกัน แต่เพียงพอที่จะเข้ามามีเก้าอี้ ส.ส. ในรัฐสภา แต่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีเพียงตำแหน่งเดียว ดังนั้น นักรัฐศาสตร์จึงคิดหาทางทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เข้มแข็งมีอำนาจมากพอที่จะจัดการ กับพรรคร่วมรัฐบาลที่คิดจะงอแง และเมื่อสามารถสร้างรัฐบาลที่ไม่อ่อนแอ และมีเสถียรภาพแล้ว แม้จะเป็นรัฐบาลผสมก็ตาม ภาพของความขัดแย้งในทางการเมืองก็จะลดน้อยลง ความชอบธรรมในการหาข้ออ้างในการทำรัฐประหารของฝ่ายทหารก็จะน้อยลงเป็นเงาตามตัวไปด้วย

วิธีการที่นักรัฐศาสตร์ไทยสมัยนั้นอย่าง ศาสตราจารย์พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย แห่งภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอเพื่อสร้างนายกรัฐมนตรีให้มีอำนาจเข้มแข็งก็คือ ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพื่อจะได้มีฐานเสียงประชาชนเป็นหลักประกัน แต่อย่างที่กล่าวไปแล้ว นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่สามารถยอมรับวิธีนี้ได้!


หนึ่งในนักวิชาการที่คัดค้านความคิดที่ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงคือ ศาสตราจารย์จรูญ สุภาพ อดีตหัวหน้าภาควิชาการปกครอง และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อนร่วมงานของอาจารย์พงศ์เพ็ญนั่นเอง ซึ่งจะว่าไปแล้ว นับได้ว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นอาจารย์ใน "ปีกเดียว" กันในภาควิชาการปกครอง โดยที่ไม่ได้มี ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อยู่ในปีกนั้นด้วย

แม้ว่าจะอยู่ในปีกเดียวของกันของภาควิชาการปกครอง แต่ความคิดเห็นในทางวิชาการในประเด็นเรื่องการให้นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้น ทั้งอาจารย์จรูญและอาจารย์พงศ์เพ็ญไม่สามารถมีความเห็นไปในทางเดียวกันได้

อาจารย์พงศ์เพ็ญต้องการเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้กับนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยนำเสนอหนทางที่ค่อนข้างจะแปลกประหลาด นั่นคือ ให้นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ไม่ต่างจากที่มาของประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี เพื่อหวังจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยไทยเข้มแข็ง ไม่ตกอยู่ในวงจรของการรัฐประหาร โดยกลุ่มทหาร อย่างที่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ในช่วงสามสิบปีที่แล้ว

ส่วนอาจารย์จรูญกล่าวกับผู้เขียนโดยตรง ณ บริเวณระเบียงชั้นสองของอาคารวรภักดิ์พิบูลญ์หรือตึก 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ว่า ข้อเสนอดังกล่าวยอมรับไม่ได้ และไม่มีวันจะให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง ก็จะมีอำนาจบารมีมาก ถึงขนาดอาจท้าทายพระราชอำนาจ และบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ เพราะการที่สามัญชนใครสักคนหนึ่งได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งโดยตรง มากพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี เขาก็ย่อมจะมีสถานะเป็นศูนย์รวมใจของปวงชนชาวไทยด้วยอย่างยากที่จะปฏิเสธได้

อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน มันก็ยากที่จะปฏิเสธในสมัยนั้นว่า หากนายกรัฐมนตรีมีประชาชนเป็นฐานอำนาจอย่างชัดเจน มันก็จะสามารถสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับกลุ่มทหาร หรือใครก็ตามที่คิดจะใช้กำลังทำรัฐประหา ยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีไป
เพราะการลิดรอนอำนาจทางการเมืองจากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง จะส่งผลให้เห็นภาพอันชัดเจน ของการกระทำอันลิดรอน "อำนาจอธิปไตยที่เป็นของหรือมาจากปวงชนชาวไทย" อย่างโต้งๆ

ความคิดหรือข้อเสนอดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะของพลังประชาธิปไตย ที่สัมพันธ์เชื่อมต่อกับสถาบันกษัตริย์อย่างชัดเจน ทำให้บรรยากาศประชาธิปไตยในช่วงเวลานั้นกล้าแกร่ง

ปัจจุบัน พ.ศ.2549 บรรยากาศภายหลังรัฐประหาร 2 เดือน กลับมีการนำเสนอความคิดในการร่างรัฐธรรมนูญ ที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเลย แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะสามารถยุติความล่อแหลมที่จะนำไปสู่การนองเลือดของประชาชนจำนวนมาก แต่ก็ดูจะไม่ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์ประชาธิปไตยให้เข้มแข็งก้าวหน้าขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เงื่อนไขสำคัญในการกำหนดความเป็นไปของประชาธิปไตยไทย คงอยู่ที่พลังประชาชนประชาธิปไตยในสังคมไทย มากกว่าจะขึ้นอยู่ที่คนร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นทางการเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำเตือนว่า นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงยังไม่เคยเกิดขึ้นในการเมืองไทย ที่อิงกับระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาตามแบบอังกฤษ หรือที่เรียกว่า "Westminster model" สิ่งที่บรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆ และนักวิชาการ ประชาชนทั่วไปจำนวนหนึ่งยืนยันในขณะนี้คือ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามที่เคยดำเนินมา โดยจะเป็นตัวแทนประชาชนจากเขตต่างๆ (แบบเก่า) หรือในระบบบัญชีรายชื่อ (แบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540) เขาเหล่านี้มิได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงตามข้อเสนอเมื่อสามสิบปีที่แล้ว

ขณะเดียวกัน ก็ยังไม่เคยเห็นนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ไหนในโลก ที่มาจากการแต่งตั้งโดยตรงโดยมิได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ยกเว้นเมืองไทยสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบของป๋าเปรมและปรากฏอีกครั้งหนึ่งในสมัยของ พลเอกสุจินดา คราประยูร!

นอกนั้น ก็ต้องเป็น ส.ส. กันก่อนทั้งนั้น โดยหลังจากผ่านการเลือกตั้งแล้ว ส.ส. คนใดที่รัฐสภาเสนอชื่อไปยังประมุขของรัฐ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี หรือประมุขของรัฐบาล (ประมุขของรัฐอาจเป็นประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ แล้วแต่กรณีในแต่ละสังคมนั้นๆ) ประมุขของรัฐก็จะลงนามแต่งตั้งบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้อำนาจลงนามรับรองแทนประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

เพราะฉะนั้น การที่ใครบางคนที่สนับสนุนให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้นายกรัฐมนตรีของไทยไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยกล่าวอ้างว่า แม้แต่นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ ยังไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี จึงเป็นการกล่าวอ้างแบบพูดความจริงไม่หมด

จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่คนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้นั้นจะต้องเป็น ส.ส. ในเบื้องต้น และหลังจากนั้น หากเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากเสียงส่วนใหญ่ในสภา ประมุขของรัฐก็จะรับรองและแต่งตั้งเป็นกระบวนการดังที่กล่าวไป

หน้า 41
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 20

โพสต์

นายกรัฐมนตรี : ที่ไม่ได้มาจาก ส.ส. vs ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
คอลัมน์:คนแคระบนบ่ายักษ์  
แพทย์ พิจิตร  
มติชนรายสัปดาห์  วันที่ 05 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1377


เมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว ข้อเสนอประการหนึ่งในการป้องกันไม่ให้คณะทหารทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐ จากผู้นำทางการเมือง ที่มาตามครรลองประชาธิปไตยคือ การให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง นายกรัฐมนตรีจะได้มีฐานเสียงประชาชน เป็นเกราะป้องกัน ไม่ให้ใครมาคิดยึดอำนาจได้ง่ายดาย เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การทำรัฐประหารยึดอำนาจทางการเมือง จากนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง จะส่งผลให้เห็นภาพอันชัดเจน ของการกระทำอันลิดรอน "อำนาจอธิปไตยที่เป็นของหรือมาจากปวงชนชาวไทย" อย่างโต้งๆ

แต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกวิจารณ์โจมตีจนตกไปว่า แม้ว่าวิธีการดังกล่าว จะทำให้สถานะของนายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เข้มแข็งมั่นคงยิ่ง แต่มันอาจจะกลายเป็นดาบสองคมได้ คมแรกเป็นคมในแง่ดีคือ นายกรัฐมนตรีมีสถานะเข้มแข็งชัดเจนอย่างที่กล่าวไปแล้ว แต่คมในแง่ลบก็คือ เป็นการเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรี กลายสภาพเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน ทัดเทียมสถานะของพระมหากษัตริย์ได้

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งแผ่นดินตามจารีตประเพณี อีกทั้งถ้าพระองค์ ทรงสามารถแสดงให้ประจักษ์ถึง การ "ครองแผ่นดินโดยธรรม" ก็จะส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัชสมัยนั้นๆ มีสถานะของการเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งแผ่นดินได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ และบารมี นอกเหนือไปจากตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้สังคม ฝ่าฟันวิกฤตทางการเมือง และเศรษฐกิจได้ ในยามที่รัฐธรรมนูญไม่มีความหมาย หรือมีการแสดงกำลังอำนาจทางการเมือง ที่ไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

นายกรัฐมนตรีที่มาจาการเลือกตั้งโดยตรงก็มีสถานะของการเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนทั้งประเทศได้ และมีอำนาจบารมีเช่นกัน แต่ไม่ใช่ด้วยจารีตประเพณี แต่มีอำนาจบารมีด้วยหลักการประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ

นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่ไหน เพราะประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเน้นให้รัฐสภาเป็นสถาบันที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุด เพราะเป็นที่ที่อำนาจของปวงชนชาวไทย ถูกนำมารวมกันไว้ โดยผ่านตัวแทนที่ประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ได้เลือก และยินยอมให้ตัวแทน จากเขตเลือกตั้งต่างๆ ทั้งหมดทั่วประเทศเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ในรัฐสภา หลังจากการถกเถียงหารือ และลงคะแนนเสียงกันในสภาแล้ว สิ่งที่เป็นผลออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่างๆ จึงถือว่าเป็นเจตจำนงทั่วไปของประชาชาตินั้นๆ

นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมีสถานะอำนาจที่เข้มแข็งยิ่ง หากฉ้อฉลก็ยากที่จะทัดทาน หากไม่มีสถาบันการเมืองอื่นสามารถถ่วงดุลได้ แต่ถ้านายกรัฐมนตรีบริหารบ้านเมืองดี ยึดถือความเป็นธรรม และหลักการประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด อำนาจที่มากมายดังกล่าวก็จะถูกใช้ไปอย่างเหมาะสม

แต่ในทางตรงกันข้าม มันก็จะนำไปสู่สภาวะอัตตาธิปไตย (autocracy) และเกิดเผด็จการของการอ้างเสียงข้างมาก เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจบังคับเรื่องราวต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ


การใช้การเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ แม้ว่าจะไม่ใช่การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งย่อมทราบดีว่า บุคคลในบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคเสนอมานั้นคือ บุคคลที่จะไปดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะรัฐมนตรี หากได้คะแนนเสียงที่พอเพียง เป็นอัตราส่วนมากน้อยแล้วแต่คะแนนเสียงที่ได้ ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งยังทราบดีว่า บุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในอันดับที่หนึ่งในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคคือ บุคคลที่พรรคการเมืองนั้นๆ นำเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี

ขนาดไม่ได้เป็นการเลือกตั้งโดยตรง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังอ้างคะแนนเสียงสิบเก้าล้านสิบหกล้านเสียง ในการสร้างความชอบธรรม ให้กับการใช้อำนาจทางการเมืองของตน ทั้งๆ ที่คะแนนทั้งหมดนั้น มิใช่คะแนนที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเลือก เจาะจงให้ พ.ต.ท.ทักษิณแต่ผู้เดียว แต่เป็นคะแนนเสียงที่ลงให้กับตัวแทนอื่นๆ ที่พวกเขาพึงพอใจด้วย

ด้วยคะแนนเสียงข้างมากและด้วยระบบบัญชีรายชื่อทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณกล้าที่จะใช้มันท้าทายอำนาจจากทุกสถาบัน และภาคส่วนในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันกษัตริย์ อย่างที่ทราบถึงการที่ พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวพาดพิงถึง "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" ซึ่งจะว่าไปแล้ว จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะหมายถึงบุคคลใดก็ตาม ย่อมหนีไม่พ้นสถาบันพระมหากษัตริย์ และคณะองคมนตรีอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่กระนั้น พ.ต.ท.ทักษิณก็กล้าที่จะกล่าวเช่นนั้น และไม่ได้รู้สึกรู้สาแต่อย่างใด หลังจากที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายเกิดขึ้น

อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณกล้าท้าทายเช่นนั้น? คำตอบก็คือ นอกเหนือจากการมีอำนาจอิทธิพลทางการเงินแล้ว อำนาจที่มีเสียงข้างมากผ่านระบบบัญชีรายชื่อที่ดูจะสะท้อนถึงการได้รับเลือกให้เป็น "คณะรัฐมนตรี" ที่ชัดเจนกว่าการเลือกตั้งที่ไม่มีระบบบัญชีรายชื่อดังกล่าว

นอกจากนี้ การกล่าวอ้างถึงการมีเสียงข้างมากในการครอบครอง ทำให้การต่อต้านระบอบทักษิณเกิดข้อถกเถียงขัดแย้งขึ้น ในหมู่ผู้รณรงค์ต่อต้าน และแน่นอนว่า รวมถึงความพยายามที่จะล้มล้างระบอบทักษิณด้วยวิธีการรัฐประหารโดยคณะทหาร เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป ด้วยความชอบธรรมที่เกิดขึ้นจากการได้รับเลือกตั้ง ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นและด้วยเงื่อนไขของระบบบัญชีรายชื่อ

ผู้ต่อต้านระบอบทักษิณจึงตกอยู่ในสภาวะของการเป็นผู้ที่ทำลายประชาธิปไตยไปในสายตาของผู้ที่ยึดมั่นในปริมาณเสียงข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในช่วงที่มีการประท้วงรัฐบาลทักษิณอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2548 เรื่อยมาจนถึงก่อนหน้ารัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นักวิชาการและประชาชนจำนวนหนึ่ง ไม่เข้าร่วมการประท้วงในลักษณะดังกล่าวก็ด้วยติดกับความคิดที่ว่า

การประท้วงขับไล่รัฐบาลทักษิณนั้นเป็นวิธีการที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีของประชาชนอย่างยากที่จะปฏิเสธ

จากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้เราได้ข้อคิดว่า ยามที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของรัฐตามครรลองจารีตประเพณี และรัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากบริหารบ้านเมืองตามครรลองประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐไม่ครองแผ่นดินโดยธรรม ไม่ทรงซึ่งการเป็นประมุขของรัฐที่ดีแล้ว ใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต เมื่อนั้นเราก็อาจต้องการนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากพอที่จะถ่วงดุล

หรือหากไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นสถาบันทหาร กลุ่มทุน นายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจทางการเมืองมาก มีฐานประชาชนอย่างกว้างขวาง ก็อาจจะช่วยถ่วงดุลไม่ให้สถาบันทหาร หรือกลุ่มทุนมีอิทธิพลหาประโยชน์ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และประโยชน์ของประชาชนได้

เช่นกัน หากยามที่นายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากและใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล ลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชน และใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์เข้ากลุ่มของตัวเอง เมื่อนั้น สังคมก็ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งเข้าต้านทาน หรือต้องการสถาบันทหารให้เข้ามาถ่วงดุล หากสถาบันทางการเมืองอื่นๆ ไร้น้ำยา

ขณะนี้ บทเรียนจากระบอบทักษิณทำให้เกิดแรงเหวี่ยงอย่างสุดโต่ง ในประเด็นเรื่องอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่มีฐานเสียง ผ่านการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้เกิดความคิดที่จะเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้ต้องมาจาก ส.ส. เพื่อมิให้นักการเมืองมีอำนาจมากจากการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชนส่วนใหญ่

ถ้าจะถามว่า หากนายกรัฐมนตรีมิได้มาจาก ส.ส. แล้ว จะมาจากไหนได้บ้าง?

คำตอบอยู่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เรามีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้เป็น ส.ส. อันได้แก่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีและเป็นประธานองคมนตรีในที่สุด)

ในสมัยของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ไม่มีการเลือกตั้ง แต่ในสมัยของ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีการเลือกตั้ง และถ้าจะรวมถึง พลเอกสุจินดา คราประยูร ด้วยก็ได้ เพราะพลเอกสุจินดาได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังมีการเลือกตั้ง

แต่ในช่วงต่างๆ ที่ว่านี้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากผู้ที่เป็น ส.ส. อันอยู่ในเงื่อนไข คล้ายกับข้อเสนอจากบุคคลบางกลุ่มในปัจจุบัน ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญเปิดทางให้ผู้ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. เป็นนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าว ได้รับการขนานนามว่า เป็นระบอบที่เป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งเดียว

จะเห็นได้ว่า บุคคลที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีดังที่กล่าวมานี้คือผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเห็นชอบ จากสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีสถาบันทหารเป็นฐานค้ำจุน หรือบางกรณีก็มีเพียงอำนาจใดอำนาจหนึ่ง ในสองสถาบันนี้สนับสนุน ดังนั้น จึงตอบได้ว่า หากเรายอมให้รัฐธรรมนูญ เปิดทางให้บุคคลนอกระบบการเลือกตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีได้ ช่องทางที่มาของบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องเป็น ส.ส. ในอนาคต ก็ย่อมต้องมาจากการสนับสนุนเห็นชอบ จากสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจประชาชนตามจารีตประเพณี และสถาบันทหารนั่นเอง

สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์มีปัญหาเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมที่สลับซับซ้อน ยากที่จะบริหาร ยากที่จะสร้างความพอใจทั่วไปได้ หากนายกรัฐมนตรีที่มีภาพลักษณ์ที่ได้รับการสนับสนุน จากสถาบันพระมหากษัตริย์บริหารงานผิดพลาด ก็ย่อมจะเชื่อมโยงส่งผลในแง่ลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ อันจะนำไปสู่การสั่นคลอนความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสายตาของประชาชน และอาจถึงขั้นของการล่มสลายก็ได้

การให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากผู้ที่เป็น ส.ส. ไม่เกื้อหนุนให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่รู้รับผิดชอบต่อคะแนนเสียงที่เลือกตัวแทนของตน แต่กลับนิยมที่จะผลักภาระความรับผิดชอบดังกล่าวนี้ ไปให้บุคคล หรือสถาบันอื่นนอกเหนือสถาบันประชาชน

ดังนั้น ไม่ว่าจะจากแง่มุมอนุรักษนิยมที่ต้องการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันสำคัญในทางการเมือง และสังคมให้ยั่งยืนยาวนาน หรือจากแง่มุมของการมุ่งพัฒนาประชาธิปไตยให้ประชาชนรู้จักปกครองตัวเอง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเราจึงไม่ควรเปิดช่องทางให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากผู้ที่เป็น ส.ส.

ยกเว้นเสียแต่ใครจะมีเหตุผลที่ดีกว่ามาหักล้างเหตุผลที่กล่าวไป


หน้า 41
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เพลงนี้ "ลึกสุดใจ" คนร้องน่าจะเป็น ก้อง นูโว

เพลงนี้ประกอบละครเมื่อ 5-6 ปีก่อน หรืออาจนานกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดนะคับ

และแน่นอน ไม่ใช่เพลงในอัลบั้ม"คิดใหม่ทำใหม่"  :lol:

พูดถึงเพลง เคยฟังเพลงนี้กันมั้ยคับ..ขำๆ..

หมีแพนด้า
Artist: ไฮโร
Album: กูขอร้อง




รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงกันดีไหม?

โพสต์ที่ 23

โพสต์

อ้าว..เลยลืมแปะลิงค์ให้เลย..

เพลงอยู่นี่คับ...เป็น MV..

http://www.bbznet.com/scripts2/view.php ... r=lastpost

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ผมไม่มองว่าระบบของไทยล้มเหลว ผมกลับมองว่ามันน่าทึ่ง

http://politic.tjanews.org/index.php?op ... &Itemid=27

บทสัมภาษณ์นี้ แม้จะผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้ว แต่ก็ถือว่าทันเหตุการณ์ดี

และใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงของสังคม การเมืองการปกครองและวิถีไทย

ไม่เพ้อฝัน จินตนาการ อุดมคติหรืออุดมการณ์เกินไป..

จากเจ้าของทฤษฎี " 2 นคราประชาธิปไตย"(ไทย)
โพสต์โพสต์