เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 5
ผมว่าวันนี้ตัวที่น่าเก็บมากที่สุดคือ tfund ครับ ...
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 7
ปันผลขอ tfund ต้องเสียภาษีไหมครับ
ปล. เริ่มสนใจเหมื่อนกัน
ปล. เริ่มสนใจเหมื่อนกัน
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 12
ไม่มีความเสี่ยงจริงครับ แต่ก็แลกมาด้วยผลตอบแทนที่ต่ำ ผมจิ้มเครื่องคิดเลขออกมาได้ 9% ต่อปีbuddy เขียน:bcp-dr1 8.5 ไม่ดีกว่าหรอครับ อีก 5ปี รัฐซื้อคืน 13 บาท ไม่มีคำว่าขาดทุน
ผมซื้อ tfund ราคานี้ดีกว่าได้ปันผลตอบแทนเกือบๆ 10% ต่อปี โอกาสได้ capital ก็สูง ความเสี่ยงก็มี แต่ผมว่าค่อนข้างต่ำ แถมไม่ต้องแช่เงินอยู่กับที่นานๆถึง 5 ปี เจอโอกาสดีๆก็เอาไปซื้อตัวอื่นได้
ปล. tfund อาจจะไม่เหมาะกับเงินที่ต้องการผลตอบแทนสูงๆ แต่เหมาะกับคนที่เหลือเงิน และไม่อยากลงในตลาดหุ้นทั้งหมด อยากซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หรือฝากประจำ ลง tfund ความเสี่ยงเพิ่มกว่านิดหน่อย แต่เทียบกับผลตอบแทนแล้วผมว่าคุ้มกว่าเยอะครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 15
[quote="buddy"]yoyo ครับ แล้วถ้าเกิดสิ่งที่คาดฝัน เช่น ผู้เช่าหาย หุ้น tfund ลงไป 5 บาท ปันเหลือ 2%
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 16
ท่าน ดร. เคยเขียนเอาไว้
บริษัท A เป็นบริษัทจดทะเบียน มีอสังหาริมทรัพย์เป็นโกดังให้เช่า มีกำไรปีละ 100 ล้านบาท บริษัท A ไม่มีหนี้เลย ดังนั้นฐานะการเงินของบริษัทมั่นคงมาก แต่เนื่องจากธุรกิจให้เช่าโกดังเป็นธุรกิจที่กำไรเติบโตช้ามาก เฉลี่ยแล้วสามารถขึ้นค่าเช่าได้ปีละไม่เกิน 3-4% ดังนั้นหุ้นของบริษัท A จึงไม่เป็นที่นิยม มูลค่าตลาดของหุ้นของบริษัทจึงมีค่าเพียง 800 ล้านบาท หรือมีค่า PE เพียง 8 เท่า ซึ่งนักวิเคราะห์ทุกคนเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ไม่สนใจที่จะเล่นหุ้นตัวนี้
ต่อมาบริษัท A จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบที่ 1 โดยขายโกดังของบริษัทเข้ากองทุนในราคา 1250 ล้านบาท หรือสูงกว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทถึง 56% เงิน 1250 ล้านบาทของกองทุนนี้ถูกระดมมาจากประชาชนทั่วไป แต่ที่มาซื้อลงทุนกันมากก็คือพวกกองทุนรวมต่าง ๆ รวมถึงนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผู้ลงทุนอื่น ๆ ที่ ไม่ค่อยชอบเสี่ยง ที่จะลงทุนในหุ้นแต่อยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินหรือการลงทุนในตราสารหนี้
การขายกองทุนที่เป็นโกดังของบริษัท A ประสบความสำเร็จสูงมาก มีคนจองเกินจำนวนหลายเท่า เหตุผลก็คือ ด้วยกำไรของกิจการโกดังจำนวน 100 ล้านบาทต่อปีและนโยบายจ่ายปันผล 100% ทำให้คนลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ผลตอบแทนปีละถึง 8% (100/1250) โดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยต่ำแบบนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก นอกจากนี้ หน่วยลงทุนที่ซื้อมายังมีสภาพคล่องสามารถขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
หลังจากการขายโกดังให้กองทุน บริษัท A ก็มีเงินสดในมือถึง 1250 ล้านบาท ซึ่งบริษัทก็ประกาศว่าจะนำเงินนี้ไปสร้างโกดังให้เช่าอีก และเมื่อได้ผู้เช่าแล้วก็จะนำโกดังนั้นมาขายให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่อไปอีก ซึ่งก็จะทำให้บริษัทได้กำไรเพิ่มทวีคูณไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเพิ่มทุนของบริษัทหรือก่อหนี้ให้เป็นภาระ ทุกอย่างดูสดใสหมด กำไรของบริษัทก้าวกระโดดเนื่องจากการขายโกดัง และอนาคตดูเหมือนจะเติบโตขึ้นไปได้เรื่อย ๆ โดยมีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะโกดังมีตลาดใหญ่มาก คนเช่าก็มีมหาศาล การก่อสร้างโกดังก็ทำได้ง่าย การขายให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็ง่ายเพราะมีแต่คนอยากซื้อหน่วยลงทุน
หุ้นของบริษัท A ที่เคยเหงาหงอยเพราะเป็นธุรกิจที่โตช้าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นและไม่มีนักลงทุนสนใจก็กลายเป็น หุ้นร้อน ขึ้นมาทันที นักวิเคราะห็ที่ไม่เคยสนใจที่จะเยี่ยมเยียนบริษัทก็แห่กันมาสัมภาษณ์ผู้บริหารและออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ซื้อหุ้นแบบ Strong Buy นักลงทุนเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างคึกคักดันให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป 3 เท่าตัวเป็น 2400 ล้านบาทในเวลาเพียง 4-5 เดือนในช่วงที่มีการจัดตั้งและขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท แต่แม้ว่าหุ้นจะขึ้นไป 3 เท่าตัวแล้ว นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็ยังคิดว่านี่คือหุ้นที่ดีเยี่ยมและยังแนะนำให้ซื้ออยู่ เพราะนี่คือหุ้น ตัวใหม่ ที่ไม่ใช่บริษัทให้เช่าโกดังแล้ว
ทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องสมมุติที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ไม่ยาก ตัวเลขทุกตัวที่แสดงไว้เป็นตัวเลขที่สามารถเป็นไปได้สูงพิจารณาจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ โกดังเป็นตัวอย่างที่ใช้เพื่อความสะดวกในการอธิบาย แต่กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เช่น อพาร์ตเมนท์ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และอื่น ๆ อีกมากก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
พัฒนาการของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่มีศักยภาพที่จะเติบโตได้สูงมากเพราะมันให้บริการที่ตรงกับวัตถุประสงค์บางอย่างของนักลงทุนกลุ่มใหญ่หลายกลุ่มที่ ต้องการผลตอบแทนและความปลอดภัยสูง เช่นเดียวกับที่มันให้บริการกับคนที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าได้ในราคาที่ดี
สุดท้ายคือประเด็นของหุ้นของบริษัท A ว่าควรที่จะมีราคาสูงขึ้นขนาดเป็น 3 เท่าจากราคาเดิมก่อนการจัดตั้งกองทุนไหม? ซึ่งเป็นเรื่องที่ Value Investor จะต้องพิจารณานั้นผมเองก็ตอบไม่ได้ แต่ในมุมมองของผม นี่คือกระบวนการทางการเงินไม่ใช่เรื่องพื้นฐานของธุรกิจ และประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทางการเงินนั้นโดยปกติจะมีข้อจำกัด คือเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะอิ่มตัวไม่สามารถสร้าง Value เพิ่มอีกต่อไป การเพิ่มมูลค่าของกิจการในระยะยาวต้องมาจากพื้นฐานของธุรกิจเท่านั้น
บริษัท A เป็นบริษัทจดทะเบียน มีอสังหาริมทรัพย์เป็นโกดังให้เช่า มีกำไรปีละ 100 ล้านบาท บริษัท A ไม่มีหนี้เลย ดังนั้นฐานะการเงินของบริษัทมั่นคงมาก แต่เนื่องจากธุรกิจให้เช่าโกดังเป็นธุรกิจที่กำไรเติบโตช้ามาก เฉลี่ยแล้วสามารถขึ้นค่าเช่าได้ปีละไม่เกิน 3-4% ดังนั้นหุ้นของบริษัท A จึงไม่เป็นที่นิยม มูลค่าตลาดของหุ้นของบริษัทจึงมีค่าเพียง 800 ล้านบาท หรือมีค่า PE เพียง 8 เท่า ซึ่งนักวิเคราะห์ทุกคนเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ไม่สนใจที่จะเล่นหุ้นตัวนี้
ต่อมาบริษัท A จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบที่ 1 โดยขายโกดังของบริษัทเข้ากองทุนในราคา 1250 ล้านบาท หรือสูงกว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทถึง 56% เงิน 1250 ล้านบาทของกองทุนนี้ถูกระดมมาจากประชาชนทั่วไป แต่ที่มาซื้อลงทุนกันมากก็คือพวกกองทุนรวมต่าง ๆ รวมถึงนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผู้ลงทุนอื่น ๆ ที่ ไม่ค่อยชอบเสี่ยง ที่จะลงทุนในหุ้นแต่อยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินหรือการลงทุนในตราสารหนี้
การขายกองทุนที่เป็นโกดังของบริษัท A ประสบความสำเร็จสูงมาก มีคนจองเกินจำนวนหลายเท่า เหตุผลก็คือ ด้วยกำไรของกิจการโกดังจำนวน 100 ล้านบาทต่อปีและนโยบายจ่ายปันผล 100% ทำให้คนลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ผลตอบแทนปีละถึง 8% (100/1250) โดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยต่ำแบบนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก นอกจากนี้ หน่วยลงทุนที่ซื้อมายังมีสภาพคล่องสามารถขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
หลังจากการขายโกดังให้กองทุน บริษัท A ก็มีเงินสดในมือถึง 1250 ล้านบาท ซึ่งบริษัทก็ประกาศว่าจะนำเงินนี้ไปสร้างโกดังให้เช่าอีก และเมื่อได้ผู้เช่าแล้วก็จะนำโกดังนั้นมาขายให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่อไปอีก ซึ่งก็จะทำให้บริษัทได้กำไรเพิ่มทวีคูณไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเพิ่มทุนของบริษัทหรือก่อหนี้ให้เป็นภาระ ทุกอย่างดูสดใสหมด กำไรของบริษัทก้าวกระโดดเนื่องจากการขายโกดัง และอนาคตดูเหมือนจะเติบโตขึ้นไปได้เรื่อย ๆ โดยมีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะโกดังมีตลาดใหญ่มาก คนเช่าก็มีมหาศาล การก่อสร้างโกดังก็ทำได้ง่าย การขายให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็ง่ายเพราะมีแต่คนอยากซื้อหน่วยลงทุน
หุ้นของบริษัท A ที่เคยเหงาหงอยเพราะเป็นธุรกิจที่โตช้าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นและไม่มีนักลงทุนสนใจก็กลายเป็น หุ้นร้อน ขึ้นมาทันที นักวิเคราะห็ที่ไม่เคยสนใจที่จะเยี่ยมเยียนบริษัทก็แห่กันมาสัมภาษณ์ผู้บริหารและออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ซื้อหุ้นแบบ Strong Buy นักลงทุนเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างคึกคักดันให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป 3 เท่าตัวเป็น 2400 ล้านบาทในเวลาเพียง 4-5 เดือนในช่วงที่มีการจัดตั้งและขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท แต่แม้ว่าหุ้นจะขึ้นไป 3 เท่าตัวแล้ว นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็ยังคิดว่านี่คือหุ้นที่ดีเยี่ยมและยังแนะนำให้ซื้ออยู่ เพราะนี่คือหุ้น ตัวใหม่ ที่ไม่ใช่บริษัทให้เช่าโกดังแล้ว
ทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องสมมุติที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ไม่ยาก ตัวเลขทุกตัวที่แสดงไว้เป็นตัวเลขที่สามารถเป็นไปได้สูงพิจารณาจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ โกดังเป็นตัวอย่างที่ใช้เพื่อความสะดวกในการอธิบาย แต่กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เช่น อพาร์ตเมนท์ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และอื่น ๆ อีกมากก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
พัฒนาการของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่มีศักยภาพที่จะเติบโตได้สูงมากเพราะมันให้บริการที่ตรงกับวัตถุประสงค์บางอย่างของนักลงทุนกลุ่มใหญ่หลายกลุ่มที่ ต้องการผลตอบแทนและความปลอดภัยสูง เช่นเดียวกับที่มันให้บริการกับคนที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าได้ในราคาที่ดี
สุดท้ายคือประเด็นของหุ้นของบริษัท A ว่าควรที่จะมีราคาสูงขึ้นขนาดเป็น 3 เท่าจากราคาเดิมก่อนการจัดตั้งกองทุนไหม? ซึ่งเป็นเรื่องที่ Value Investor จะต้องพิจารณานั้นผมเองก็ตอบไม่ได้ แต่ในมุมมองของผม นี่คือกระบวนการทางการเงินไม่ใช่เรื่องพื้นฐานของธุรกิจ และประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทางการเงินนั้นโดยปกติจะมีข้อจำกัด คือเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะอิ่มตัวไม่สามารถสร้าง Value เพิ่มอีกต่อไป การเพิ่มมูลค่าของกิจการในระยะยาวต้องมาจากพื้นฐานของธุรกิจเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 17
เอ บทความนี้ออกเมื่อไหร่พอจะจำได้ไหมครับtanate@man เขียน:ท่าน ดร. เคยเขียนเอาไว้
บริษัท A เป็นบริษัทจดทะเบียน มีอสังหาริมทรัพย์เป็นโกดังให้เช่า มีกำไรปีละ 100 ล้านบาท บริษัท A ไม่มีหนี้เลย ดังนั้นฐานะการเงินของบริษัทมั่นคงมาก แต่เนื่องจากธุรกิจให้เช่าโกดังเป็นธุรกิจที่กำไรเติบโตช้ามาก เฉลี่ยแล้วสามารถขึ้นค่าเช่าได้ปีละไม่เกิน 3-4% ดังนั้นหุ้นของบริษัท A จึงไม่เป็นที่นิยม มูลค่าตลาดของหุ้นของบริษัทจึงมีค่าเพียง 800 ล้านบาท หรือมีค่า PE เพียง 8 เท่า ซึ่งนักวิเคราะห์ทุกคนเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ไม่สนใจที่จะเล่นหุ้นตัวนี้
ต่อมาบริษัท A จัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบที่ 1 โดยขายโกดังของบริษัทเข้ากองทุนในราคา 1250 ล้านบาท หรือสูงกว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทถึง 56% เงิน 1250 ล้านบาทของกองทุนนี้ถูกระดมมาจากประชาชนทั่วไป แต่ที่มาซื้อลงทุนกันมากก็คือพวกกองทุนรวมต่าง ๆ รวมถึงนักลงทุนสถาบัน เช่น บริษัทประกันภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผู้ลงทุนอื่น ๆ ที่ ไม่ค่อยชอบเสี่ยง ที่จะลงทุนในหุ้นแต่อยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินหรือการลงทุนในตราสารหนี้
การขายกองทุนที่เป็นโกดังของบริษัท A ประสบความสำเร็จสูงมาก มีคนจองเกินจำนวนหลายเท่า เหตุผลก็คือ ด้วยกำไรของกิจการโกดังจำนวน 100 ล้านบาทต่อปีและนโยบายจ่ายปันผล 100% ทำให้คนลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ผลตอบแทนปีละถึง 8% (100/1250) โดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยต่ำแบบนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก นอกจากนี้ หน่วยลงทุนที่ซื้อมายังมีสภาพคล่องสามารถขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
หลังจากการขายโกดังให้กองทุน บริษัท A ก็มีเงินสดในมือถึง 1250 ล้านบาท ซึ่งบริษัทก็ประกาศว่าจะนำเงินนี้ไปสร้างโกดังให้เช่าอีก และเมื่อได้ผู้เช่าแล้วก็จะนำโกดังนั้นมาขายให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่อไปอีก ซึ่งก็จะทำให้บริษัทได้กำไรเพิ่มทวีคูณไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเพิ่มทุนของบริษัทหรือก่อหนี้ให้เป็นภาระ ทุกอย่างดูสดใสหมด กำไรของบริษัทก้าวกระโดดเนื่องจากการขายโกดัง และอนาคตดูเหมือนจะเติบโตขึ้นไปได้เรื่อย ๆ โดยมีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะโกดังมีตลาดใหญ่มาก คนเช่าก็มีมหาศาล การก่อสร้างโกดังก็ทำได้ง่าย การขายให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็ง่ายเพราะมีแต่คนอยากซื้อหน่วยลงทุน
หุ้นของบริษัท A ที่เคยเหงาหงอยเพราะเป็นธุรกิจที่โตช้าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นและไม่มีนักลงทุนสนใจก็กลายเป็น หุ้นร้อน ขึ้นมาทันที นักวิเคราะห็ที่ไม่เคยสนใจที่จะเยี่ยมเยียนบริษัทก็แห่กันมาสัมภาษณ์ผู้บริหารและออกบทวิเคราะห์แนะนำให้ซื้อหุ้นแบบ Strong Buy นักลงทุนเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างคึกคักดันให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป 3 เท่าตัวเป็น 2400 ล้านบาทในเวลาเพียง 4-5 เดือนในช่วงที่มีการจัดตั้งและขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท แต่แม้ว่าหุ้นจะขึ้นไป 3 เท่าตัวแล้ว นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็ยังคิดว่านี่คือหุ้นที่ดีเยี่ยมและยังแนะนำให้ซื้ออยู่ เพราะนี่คือหุ้น ตัวใหม่ ที่ไม่ใช่บริษัทให้เช่าโกดังแล้ว
ทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องสมมุติที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ไม่ยาก ตัวเลขทุกตัวที่แสดงไว้เป็นตัวเลขที่สามารถเป็นไปได้สูงพิจารณาจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ โกดังเป็นตัวอย่างที่ใช้เพื่อความสะดวกในการอธิบาย แต่กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เช่น อพาร์ตเมนท์ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และอื่น ๆ อีกมากก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
พัฒนาการของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของไทยถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่มีศักยภาพที่จะเติบโตได้สูงมากเพราะมันให้บริการที่ตรงกับวัตถุประสงค์บางอย่างของนักลงทุนกลุ่มใหญ่หลายกลุ่มที่ ต้องการผลตอบแทนและความปลอดภัยสูง เช่นเดียวกับที่มันให้บริการกับคนที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าได้ในราคาที่ดี
สุดท้ายคือประเด็นของหุ้นของบริษัท A ว่าควรที่จะมีราคาสูงขึ้นขนาดเป็น 3 เท่าจากราคาเดิมก่อนการจัดตั้งกองทุนไหม? ซึ่งเป็นเรื่องที่ Value Investor จะต้องพิจารณานั้นผมเองก็ตอบไม่ได้ แต่ในมุมมองของผม นี่คือกระบวนการทางการเงินไม่ใช่เรื่องพื้นฐานของธุรกิจ และประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทางการเงินนั้นโดยปกติจะมีข้อจำกัด คือเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะอิ่มตัวไม่สามารถสร้าง Value เพิ่มอีกต่อไป การเพิ่มมูลค่าของกิจการในระยะยาวต้องมาจากพื้นฐานของธุรกิจเท่านั้น
Impossible is Nothing
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 18
บทความนี้ออกมานานมากแล้วครับ ช่วงนั้นดร. แกไม่ค่อยชอบกองทุนอสังหาเท่าไหร่ .... แต่ยังไงผมก็ว่าคนละเรื่องกันนะครับ หลังๆมานี้มุมมองต่อกองทุนอสังหาผมว่าเปลี่ยนไปเยอะแล้วครับ season change
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 20
[quote="chatchai"]มาตรการกักเงิน 30% ยกเว้นการลงทุนใน Property Fund หรือเปล่า
อ่านมาว่าไม่ยกเว้นนะครับ
อ่านมาว่าไม่ยกเว้นนะครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 21
[quote="yoyo"][quote="chatchai"]มาตรการกักเงิน 30% ยกเว้นการลงทุนใน Property Fund หรือเปล่า
อ่านมาว่าไม่ยกเว้นนะครับ
อ่านมาว่าไม่ยกเว้นนะครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 22
[quote="yoyo"][quote="chatchai"]มาตรการกักเงิน 30% ยกเว้นการลงทุนใน Property Fund หรือเปล่า
อ่านมาว่าไม่ยกเว้นนะครับ
อ่านมาว่าไม่ยกเว้นนะครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 23
ผมนี้พิมพ์ผิดเยอะจริงๆ ขอแก้คำผิดหน่อยครับ
เพราะฉะนั้นมุมมองของ TFUND ผมก็ยังชอบเหมือนเดิมครับ เพราะเชื่อว่าเป็นผละกระทบระยะสั้น และเงินที่เอามาลงใน TFUND ก็ควรจะเป็นเงินลงทุนที่มองในแง่เปรียบเทียบกับการซื้อพันธบัตรระยะยาว หรือฝากระยะยาว อยู่แล้ว ผลกระทบระยะสั้นไม่ควรจะมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญ ราคานี้ 9.2 ผมว่าก็ยังถือว่ามีส่วนลดอยู่พอสมควร ก็ถือว่าเป็นโอกาสครับcheck เรียบร้อยแล้วครับ
เมื่อกี้โทรคุยกับ Fund manager ของ ING กองทุนอสังหา กองทุนหุ้น ณ วันนี้โดนหัก 30% หมดครับ
หมายความว่า TFUND ก็โดนมาตราการนี้ด้วยเช่นกัน
บริษัทบริหารจัดการกองทุนเดือดร้อนกันหมดครับ ตอนนี้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปเรียบร้อยแล้ว คาดว่ายังไงเดี๋ยวก็ต้องยกเว้นส่วนที่เป็น กองทุนหุ้นกับกองทุนอสังหาด้วยเช่นกัน เพราะจริงๆแล้วไม่ได้ต่างอะไรกับการลงทุนในหุ้นและอสังหาเลย เพียงแต่จะเมื่อไหร่เท่านั้นเอง .. fund แอบกระซิบมาว่าพูดคุยกับ ธปท. แล้ว ยังไงก็คงยกเว้นแน่ๆ เพราะเข้าใจประเด็น และเข้าใจว่าบริษัทบริการจัดการกองทุนจะเดือดร้อนกันหมด เพียงแต่อยากขอให้เลื่อนเวลาไปก่อน เพราะไม่อยากแก้กฏรายวัน ขายหน้าเค้า แค่นี้ก็แทบจะไม่เหลือหน้าให้ขายแล้ว
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 24
วันนี้ฟังความเห็นจาก ING ไปแล้ว ลองมาฟังของ Ticon เพิ่มอีกหน่อย
ตอบรวดเร็วทันใจดีจริงๆการลงทุนใน TFUND ไม่ได้รับการยกเว้น ดังนั้น ถูกหัก 30% แต่ในขณะนี้หลาย ๆ บลจ. รวมทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังจะเพิ่มทุนช่วงต้นปีหน้าได้หารือ กลต. และ ธปท. เพื่อหารือให้ได้รับการยกเว้น ซึ่งเป็นที่คาดกันว่าจะได้รับการยกเว้น เนื่องจากผู้ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะยาว
เนื่องจาก TICON เพิ่งเพิ่มทุนเสร็จ จึงมีเงินเพียงพอสำหรับการลงทุนไปจนถึงไตรมาสที่ 2-3 ของปีหน้า (และ TICON ยังสามารถกู้เงินมาใช้ขยายกิจการได้อีกจำนวนหนึ่ง เนื่องจาก D/E ลดต่ำลงมาก) ความจำเป็นในการขายโรงงานให้ TFUND จึงยังไม่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 1-2 อีกนัยหนึ่งก็คือ TFUND จะไม่ต้องเพิ่มทุนเพื่อซื้อโรงงานจาก TICON ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้
กว่าจะถึงเวลาที่ TICON จะขายโรงงานให้ TFUND และ TFUND จะต้องเพิ่มทุน เป็นที่คาดกันว่า ธปท. คงจะมีเวลาพิจารณาอย่างรอบคอบและผ่อนคลายให้การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อยู่ในข่ายที่ได้รับการยกเว้นด้วย
ยินดีสำหรับคำถามเพิ่มเติมนะคะ
ลลิตพันธุ์ พิริยะพันธุ์
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 26
เคยซื้อถูกสุดที่ 8.9
ที่ 9 บาทจะได้ปันผลหลังหักภาษี 10% = 0.9x8/9 = 8%
อยากได้ 9% ก็รอที่ 8.1 บาทครับ ได้ก็จะยอดมั่กเลย เพราะได้ discount ~20% ของ NAV
ที่ 9 บาทจะได้ปันผลหลังหักภาษี 10% = 0.9x8/9 = 8%
อยากได้ 9% ก็รอที่ 8.1 บาทครับ ได้ก็จะยอดมั่กเลย เพราะได้ discount ~20% ของ NAV
I do not sleep. I dream.
-
- Verified User
- โพสต์: 17
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 29
ดู NAV ของ TFUND ได้ที่ไหนครับ?Viewtiful Investor เขียน:เคยซื้อถูกสุดที่ 8.9
ที่ 9 บาทจะได้ปันผลหลังหักภาษี 10% = 0.9x8/9 = 8%
อยากได้ 9% ก็รอที่ 8.1 บาทครับ ได้ก็จะยอดมั่กเลย เพราะได้ discount ~20% ของ NAV
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายซื้อtfund ที่ราคา8.75ไม่ได้
โพสต์ที่ 30
TFUND: ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุน ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
Source - ข่าว SETSMART
Thursday, 21 December 2006 09:32
ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุน ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (บาท) = 4,069,547,570.37
มูลค่าหน่วยลงทุน (บาท) = 10.7093
ยังมี discount อยู่พอสมควรครับ
Source - ข่าว SETSMART
Thursday, 21 December 2006 09:32
ประกาศมูลค่าหน่วยลงทุน ประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (บาท) = 4,069,547,570.37
มูลค่าหน่วยลงทุน (บาท) = 10.7093
ยังมี discount อยู่พอสมควรครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com