เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
-
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 2
แค่ชื่อก็หนาวแล้วคับ ไม่รู้ใครตั้งซะน่ากลัว
ฮิ
ฮิ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 4
ยังไม่ใช่ครับ นี่แค่ออเดิร์ฟ
ความเร็วลมของช้างสาร ตอนนี้อยู่ที่ 130 km/h
เท่าๆ กับตอนที่เข้าฟิลิปปินส์
หวังว่า ขึ้นฝั่งเวียดนามแล้ว จะเบาลง
หวังอย่างยิ่ง่วา เข้าไทยแล้ว จะเบาลงเยอะ
ปล. ช้างสารเป็นชื่อที่ตั้งโดยประเทศลาวครับ
ความเร็วลมของช้างสาร ตอนนี้อยู่ที่ 130 km/h
เท่าๆ กับตอนที่เข้าฟิลิปปินส์
หวังว่า ขึ้นฝั่งเวียดนามแล้ว จะเบาลง
หวังอย่างยิ่ง่วา เข้าไทยแล้ว จะเบาลงเยอะ
ปล. ช้างสารเป็นชื่อที่ตั้งโดยประเทศลาวครับ
- มดง่าม
- Verified User
- โพสต์: 584
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 6
Xangsane ต้องอ่าน ซ้างสาน สิครับ เพราะลาวไม่มี ช ช้าง มีแต่ ซ ซ้างCK เขียน:
ปล. ช้างสารเป็นชื่อที่ตั้งโดยประเทศลาวครับ
คนไท ออกเสียงบ่ซัด จั้กคน
เหงาให้ตาย ถ้าไม่ใช่เธอ(หุ้นดี) ไม่เอา
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 9
ว่าจะตั้งทู้ใหม่ตั้งแต่วันศุกร์แล้ว แต่คิดว่ามาลงไว้ที่นี่จะต่อเนื่องดีกว่าคับ
ขออนุญาตนะคับท่าน CK ..
***************************************************
ช่วงนี้กำลังมีพายุโซนร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ประเทศไทย ถ้าผู้สนใจกับเหตุการณ์เหล่านี้จะสังเกตได้ว่า
เริ่มมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หรือทางทีวี ถึงความสูญเสียจากพายุของประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ซึ่ง ณ วันนี้เป็นคิวของช้างสาร จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สงสัยกันบ้างมั้ยคับ ว่าทำไมชื่อพายุถึงมีหลายชื่อหลายภาษา มานมีที่มาที่ไปอย่างไร เดี๋ยวเราจะได้รับรู้กัน
ตอนนี้มาทบทวนความรู้เดิมกันก่อนคับ...
พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย (Tropical cyclone in Thailand)
พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 ํซ. หรือ 27 ํซ. ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุด เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"
มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 ํ ตะวันออก เรียกว่า "ไซโคลน"
มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่วิลลี่"
พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด
ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กม./ชม.)
พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กม./ชม.) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กม./ชม.)
ไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กม./ชม.) ขึ้นไป
ตาพายุ (Eye of storm) เป็นบริเวณศูนย์กลางของพายุ มีลักษณะเป็นวงกลมสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นบริเวณ เล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 60 กิโลเมตร ส่วนข้างในตาพายุ เป็นบริเวณ ที่ลมสงบ อากาศแจ่มใส
จากสถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในรอบ 48 ปี จำนวนทั้งหมด 164 ลูก เมื่อนำมาหาความถี่ที่พายุแต่ละลูกเคลื่อนผ่านในแต่ละพื้นที่ 1 grid (1 lat 5 1 long) แล้วคำนวณเปอร์เซนต์ความถี่ของแต่ละ grid นั้นแล้ว จึงนำค่าเปอร์เซนต์ความถี่มาวิเคราะห์แผนที่เส้นเท่า
ซึ่งจากการวิเคราะห์สถิติพายุโดยรวมตลอดทั้งปี ปรากฏว่าบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมมีพายุเคลื่อนผ่าน 20 - 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดจำนวน 164 ลูก รองลงไปได้แก่พื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหาร สกลนคร หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภูและเลย มีพายุเคลื่อนผ่าน 15 - 20 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด
จากการวิเคราะห์สถิติพายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปปรากฏผลดังนี้
เดือนพฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือมากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมจำนวน 6 ลูก ได้แก่ พื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน และพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตากและอุทัยธานี
เดือนมิถุนายน
ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งในเดือนนี้บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคายและตอนบนของสกลนครมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เข้ามาในเดือนนี้จำนวน 6 ลูก
เดือนสิงหาคม **
บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงรายและเชียงใหม่ และพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย โดยมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามามากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมด ที่เข้ามาในเดือนนี้จำนวน 18 ลูก
เดือนกันยายน
เดือนนี้เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน แต่มีโอกาสน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามามากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 39 ลูก
เดือนตุลาคม
เป็นเดือนที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ โดยในเดือนนี้พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างได้บ้างแต่มีโอกาสน้อย ส่วนบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 10 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 48 ลูก
เดือนพฤศจิกายน
พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มากกว่าประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 28 ลูก บริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านได้มากเป็นอันดับรองลงไป ได้แก่พื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา ซึ่งมีศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 25 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังมีบางพื้นที่ที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อกับภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว มีพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 15 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด
เดือนธันวาคม
เดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนพายุทั้งหมด จะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมากที่สุด คือ 75 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 7 ลูกจะเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่บริเวณ 2 จังหวัดดังกล่าว
**ไม่เห็นมีข้อมูลเดือนก.ค. :?: **
ขออนุญาตนะคับท่าน CK ..
***************************************************
ช่วงนี้กำลังมีพายุโซนร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ประเทศไทย ถ้าผู้สนใจกับเหตุการณ์เหล่านี้จะสังเกตได้ว่า
เริ่มมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หรือทางทีวี ถึงความสูญเสียจากพายุของประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ซึ่ง ณ วันนี้เป็นคิวของช้างสาร จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สงสัยกันบ้างมั้ยคับ ว่าทำไมชื่อพายุถึงมีหลายชื่อหลายภาษา มานมีที่มาที่ไปอย่างไร เดี๋ยวเราจะได้รับรู้กัน
ตอนนี้มาทบทวนความรู้เดิมกันก่อนคับ...
พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย (Tropical cyclone in Thailand)
พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 ํซ. หรือ 27 ํซ. ขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุด เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"
มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 ํ ตะวันออก เรียกว่า "ไซโคลน"
มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่วิลลี่"
พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด
ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กม./ชม.)
พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กม./ชม.) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กม./ชม.)
ไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กม./ชม.) ขึ้นไป
ตาพายุ (Eye of storm) เป็นบริเวณศูนย์กลางของพายุ มีลักษณะเป็นวงกลมสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นบริเวณ เล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 60 กิโลเมตร ส่วนข้างในตาพายุ เป็นบริเวณ ที่ลมสงบ อากาศแจ่มใส
จากสถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในรอบ 48 ปี จำนวนทั้งหมด 164 ลูก เมื่อนำมาหาความถี่ที่พายุแต่ละลูกเคลื่อนผ่านในแต่ละพื้นที่ 1 grid (1 lat 5 1 long) แล้วคำนวณเปอร์เซนต์ความถี่ของแต่ละ grid นั้นแล้ว จึงนำค่าเปอร์เซนต์ความถี่มาวิเคราะห์แผนที่เส้นเท่า
ซึ่งจากการวิเคราะห์สถิติพายุโดยรวมตลอดทั้งปี ปรากฏว่าบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดนครพนมมีพายุเคลื่อนผ่าน 20 - 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดจำนวน 164 ลูก รองลงไปได้แก่พื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหาร สกลนคร หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภูและเลย มีพายุเคลื่อนผ่าน 15 - 20 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด
จากการวิเคราะห์สถิติพายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปปรากฏผลดังนี้
เดือนพฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือมากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมจำนวน 6 ลูก ได้แก่ พื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน และพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตากและอุทัยธานี
เดือนมิถุนายน
ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งในเดือนนี้บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคายและตอนบนของสกลนครมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 50 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เข้ามาในเดือนนี้จำนวน 6 ลูก
เดือนสิงหาคม **
บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงรายและเชียงใหม่ และพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย โดยมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามามากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมด ที่เข้ามาในเดือนนี้จำนวน 18 ลูก
เดือนกันยายน
เดือนนี้เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน แต่มีโอกาสน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามามากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 39 ลูก
เดือนตุลาคม
เป็นเดือนที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ โดยในเดือนนี้พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างได้บ้างแต่มีโอกาสน้อย ส่วนบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 10 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 48 ลูก
เดือนพฤศจิกายน
พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มากกว่าประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 28 ลูก บริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านได้มากเป็นอันดับรองลงไป ได้แก่พื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา ซึ่งมีศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 25 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังมีบางพื้นที่ที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อกับภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว มีพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 15 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด
เดือนธันวาคม
เดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนพายุทั้งหมด จะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมากที่สุด คือ 75 เปอร์เซนต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 7 ลูกจะเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่บริเวณ 2 จังหวัดดังกล่าว
**ไม่เห็นมีข้อมูลเดือนก.ค. :?: **
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 10
พายุหมุนแต่ละลูกมีการตั้งชื่อเพื่อความสะดวกในการแจ้งข่าว รวมทั้งทำให้เรียงและจดเป็นสถิติได้ง่าย โดยองค์การ อุตุนิยมวิทยาโลก และสมาชิกได้ตกลงกันจัดตั้งชื่อพายุเรียงไว้ตามลำดับอักษรตั้งแต่ A-Z และเรียงชื่อของพายุตามลำดับก่อน หลังตามวันและเวลาที่เกิด
ตั้งแต่ปี 2543 ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศสมาชิกในแถบ มหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนและแถบทะเลจีนใต้รวม 14 ประเทศ ทำความตกลงกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ตั้งชื่อพายุเองโดยแต่ละประเทศตั้งชื่อพายุ 10 ชื่อ รวม 140 ชื่อ จากนั้นนำมาเรียงสลับชื่อกันเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 28 ดังนี้
วิธีการตั้งชื่อพายุ
ข้อที่ 1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 62 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
ข้อที่ 2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"
ข้อที่ 3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"
ข้อที่ 4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"
ข้อที่ 5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"
รายชื่อที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้
หมายเหตุ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 คำสะกดและความหมายตาม ราชบัณฑิตยสถาน
ตั้งแต่ปี 2543 ได้เกิดระบบการตั้งชื่อพายุเป็นภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศสมาชิกในแถบ มหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนและแถบทะเลจีนใต้รวม 14 ประเทศ ทำความตกลงกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ตั้งชื่อพายุเองโดยแต่ละประเทศตั้งชื่อพายุ 10 ชื่อ รวม 140 ชื่อ จากนั้นนำมาเรียงสลับชื่อกันเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 28 ดังนี้
วิธีการตั้งชื่อพายุ
ข้อที่ 1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 62 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
ข้อที่ 2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"
ข้อที่ 3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"
ข้อที่ 4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"
ข้อที่ 5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"
รายชื่อที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้
หมายเหตุ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 คำสะกดและความหมายตาม ราชบัณฑิตยสถาน
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 11
ความหมายและที่มาของชื่อพายุ
คอลัมน์ที่ 1
คอลัมน์ที่ 1
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 12
คอลัมน์ที่ 2
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 13
คอลัมน์ที่ 3
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 14
คอลัมน์ที่ 4
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 15
คอลัมน์ที่ 5
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 16
ภาพถ่ายดาวเทียม
http://www.tmd.go.th/linkframe/satellite_show.html
แผนที่ผิวพื้น
http://www.tmd.go.th/program/map_weather01.php?id=1
ทางเดินพายุ
http://www.tmd.go.th/program/wximages/ways_stom.gif
สถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย คาบ 55 ปี (พ.ศ.2494-2548)
http://www.tmd.go.th/image_news/storm_way.pdf
กรมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th/
ดูเมฆเคลื่อนคล้อยลอยผ่านกรุงเทพฯและภาคกลาง (เดาว่าอย่างน้าน)
พยากรณ์อากาศประจำวัน
วันอาทิตย์ ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ออกประกาศเวลา 2300 น.
สภาวะอากาศทั่วไป
เมื่อเวลา 19.00 น. วันนี้ (1 ตุลาคม 2549) พายุไต้ฝุ่น ช้างสาร ได้อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนแล้ว และเมื่อเวลา 22.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ระหว่างบริเวณประเทศลาวและทางตะวันออกของจังหวัดอุบลราชธานี หรือ ที่ละติจูด 15.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 105.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุนี้จะอ่อนกำลังลงอีกและเคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานีในคืนนี้( 1 ตุลาคม 2549) ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก พายุลมแรง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพายุลมแรง
สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1 - 4 ตุลาคม 2549 นี้
http://www.tmd.go.th/program/daily_forecast.php
http://www.tmd.go.th/linkframe/satellite_show.html
แผนที่ผิวพื้น
http://www.tmd.go.th/program/map_weather01.php?id=1
ทางเดินพายุ
http://www.tmd.go.th/program/wximages/ways_stom.gif
สถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย คาบ 55 ปี (พ.ศ.2494-2548)
http://www.tmd.go.th/image_news/storm_way.pdf
กรมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th/
ดูเมฆเคลื่อนคล้อยลอยผ่านกรุงเทพฯและภาคกลาง (เดาว่าอย่างน้าน)
พยากรณ์อากาศประจำวัน
วันอาทิตย์ ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ออกประกาศเวลา 2300 น.
สภาวะอากาศทั่วไป
เมื่อเวลา 19.00 น. วันนี้ (1 ตุลาคม 2549) พายุไต้ฝุ่น ช้างสาร ได้อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนแล้ว และเมื่อเวลา 22.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ระหว่างบริเวณประเทศลาวและทางตะวันออกของจังหวัดอุบลราชธานี หรือ ที่ละติจูด 15.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 105.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุนี้จะอ่อนกำลังลงอีกและเคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานีในคืนนี้( 1 ตุลาคม 2549) ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก พายุลมแรง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพายุลมแรง
สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 1 - 4 ตุลาคม 2549 นี้
http://www.tmd.go.th/program/daily_forecast.php
-
- Verified User
- โพสต์: 431
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 17
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
ฉบับที่ 16 (170/2549)
เรื่อง พายุ ช้างสาร
พายุดีเปรสชัน ช้างสาร เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (2 ตุลาคม 2549) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครราชสีมา มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา เลย ขอนแก่น ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดระนอง ชุมพร และพังงา ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ
ประกาศ ณ วันที่ 02 ตุลาคม 2549
ออกประกาศเวลา 16:30 น.
<<ติดตามข่าวย้อนหลังได้ทีข่าวเตือนภัยลักษณะอากาศ>>
ฉบับที่ 16 (170/2549)
เรื่อง พายุ ช้างสาร
พายุดีเปรสชัน ช้างสาร เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (2 ตุลาคม 2549) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครราชสีมา มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา เลย ขอนแก่น ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดระนอง ชุมพร และพังงา ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ
ประกาศ ณ วันที่ 02 ตุลาคม 2549
ออกประกาศเวลา 16:30 น.
<<ติดตามข่าวย้อนหลังได้ทีข่าวเตือนภัยลักษณะอากาศ>>
-
- Verified User
- โพสต์: 431
- ผู้ติดตาม: 0
เส้นทางและความเร็วของพายุช้างสาร (Xangsane)
โพสต์ที่ 18
พยากรณ์อากาศประจำวัน
วันจันทร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ออกประกาศเวลา 2300 น.
สภาวะอากาศทั่วไป
พายุดีเปรสชัน ช้างสาร เมื่อเวลา 22.00 น. วันนี้ (2 ตุลาคม 2549) อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว และปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร ปราจีนบุรี และสระแก้วระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากต่อไปอีกระยะหนึ่ง
สำหรับภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดระนอง ชุมพร และพังงา ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ
วันจันทร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ออกประกาศเวลา 2300 น.
สภาวะอากาศทั่วไป
พายุดีเปรสชัน ช้างสาร เมื่อเวลา 22.00 น. วันนี้ (2 ตุลาคม 2549) อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว และปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร ปราจีนบุรี และสระแก้วระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากต่อไปอีกระยะหนึ่ง
สำหรับภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดระนอง ชุมพร และพังงา ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ