และเลือกใช้กลยุทธ์ "การลงทุนสวนกระแสแบบคัดสรร "
โดยเขาจะเลือกลงทุนเฉพาะ"บริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น"
และนั่นแหละคือประเด็นที่ทำให้ผมขบคิด เพื่อที่จะอธิบายให้กับตัวเองฟังให้ได้ว่า "บริษัทที่ว่า กรอบมันอยู่ตรงไหน และอะไร" (เพราะในปัจจุบัน บริษัทที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีและมีแบรนด์เนมที่แข็งแกร่งที่เข้าข่าย "ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน" เช่น BH,MINT,HMPRO,BIGC,IT ได้มี PEที่สูงขึ้นจนไม่มีส่วนเผื่อแห่งความปลอดภัยที่เพียงพอในการซื้อ)
ผมเลยลองสรุปองค์ประกอบของคำจำกัดความ"ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน"ด้วยสติปัญญาอันน้อยนิด
![Embarassed :oops:](./images/smilies/icon_redface.gif)
1.ต้องเป็น บ.ที่เป็นผู้นำด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน มีคู่ค้าที่มีความสัมพันธ์ที่ดี(win-win) ,มีลูกค้ากระจายหลายราย และ สามารถขึ้นราคาสินค้าได้เมื่อต้นทุนวัตถุดิบขึ้น
2.ต้องมีผลิตภัณฑ์ที่อายุยืนยาวในตลาด ไม่ตกรุ่น ตกสมัย และไม่ต้องเสียเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ตลอดเวลา
3.ต้องใช้เงินลงทุนต่อยอดขายหรือกำไรที่ต่ำ โดยสามารถดูระยะยาวได้จากบริษัทต้องมีกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้น และไม่มีการเพิ่มทุน ถ้ายอดขายไม่ได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด
4.จำนวนคนที่จะต้องใช้สินค้าหรือบริการนี้ในอนาคตต้องมากขึ้น หรือเม็ดเงินที่ใช้ต่อคนจะสูงขึ้น
5.บ.ต้องมีประสิทธิภาพในการทำกำไรสูงกว่าคู่แข่ง โดย2วิธี
5.1มีกำไรขั้นต้นที่สูงกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจนและยั่งยืน จาก
-ต้นทุนที่ถูกกว่าเช่น economy of scale, logisticที่ดีเป็นต้น หรือ
-สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่า โดยมีจุดเด่นที่คู่ค้ายอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นแลกกับสิ่งที่คู่ค้าต้องการ
เช่น MK ยอมซื้อไข่ใบละ5บาทจากซีพี ทั้งที่ในตลาดราคาฟองละ 2บาท เป็นต้น
5.2การหมุนรอบของการขาย ต่อ เงินลงทุน สูงกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน
ปล.แต่ต้องเป็น บ.ที่ผ่านการคัดเลือกเรื่องธรรมาภิบาลแล้วเท่านั้น
เมื่อสรุปได้เช่นนี้แล้ว ผมเลยลองใส่ข้อมูลของบริษัทหนึ่งที่ผมสงสัยว่าจะเข้าข่าย บ.ที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน หรือเปล่า สาเหตุที่ผมสนใจ บ.นี้ก็เพราะว่า ราคาหุ้น ณ.วันนี้ยังเท่ากับวันนี้ เมื่อปีที่แล้ว แต่รายได้โตขึ้นกว่า 40% แต่สาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นไม่ไปไหนเพราะ ความคาดหวังของนายตลาดที่เห็นกำไรสุทธิที่เพิ่มเพียง10%
แต่พอลองเจาะลึกลงไปในสาเหตุที่ทำให้กำไรสุทธิ โตช้ากว่ายอดขาย ก็มาจาก 2ข้อคือ-ต้นทุนวัตถุดิบขึ้นเร็วเกินไป และ ค่าเสื่อมจากโรงงานใหม่นั่นเอง
และเรามาลองดูถึงเกณฑ์ทั้ง5ข้อกันนะครับว่า บ.นี้จะผ่านการคัดเลือกหรือเปล่า
1. บ.นี้เป็นผู้รับจ้างผลิต โดยปัจจุบันเป็นผู้นำการผลิต(โดยสามารถผลิตสินค้าได้ดีและถูกกว่าผู้จ้างผลิต)
2. สายการผลิต และประเภทสินค้าไม่เคยเปลี่ยนมานานกว่า 10ปี และคาดว่าอนาคตก็ยังไม่เปลี่ยน
3. ดูจากงบการเงินและโทรไปสอบถามถึงผู้บริหาร เครื่องจักรไม่ซับซ้อน ไม่มีตกรุ่น และอายุการใช้งานนานกว่าค่าเสื่อม
4. พฤติกรรมของโรงงานในอนาคตจะ จ้างผลิตและประกอบมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประหยัด และคล่องตัวมากขึ้น ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคปลายทาง นับวันปริมาณการใช้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ
5.ประสิทธิภาพการทำกำไรสูงกว่าคู่แข่งมาจากการ economy of scale และ การบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม
สรุปว่า บ.นี้ผมว่ามีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน และ จุดที่ผมสนใจ คือ ไตรมาท3นี้ผู้บริหารให้ข่าวว่าจะเริ่มมีกำไรจากโรงงานใหม่ และเช็คข้อมูลวัตถุดิบปีนี้ถึงปีหน้า(จากพี่หมอดูให้)ค่อนข้างมั่นใจว่าราคาวัตถุดิบได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้กำไรขั้นต้นปีหน้าจะดีขึ้นมากกว่าปีนี้ และกำลังการผลิตปี2550น่าจะมากกว่าปีนี้ถึง30% แถมยังได้ boi มาประหยัดภาษีจากโรงงานใหม่ ผมเลยคาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ก้าวกระโดดของกำไรที่อาจมากกว่าที่ฝันไว้อีก
## ผมถึงค่อนข้างมั่นใจว่าไตรมาท3เป็นต้นไปจะเป็นไตรมาทที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆสำหรับ SNC ครับ##