SAV

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

SAV

โพสต์ที่ 1

โพสต์

*"สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์"ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขาย IPO พร้อมเข้า SET นำเงินชำระคืนหนี้
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)

Thursday, October 17, 2019 10:12


สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (17 ต.ค. 62)--บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) โดยแบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจำนวนไม่เกิน 64 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 10% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ และหุ้นสามัญเดิมที่ถือโดย บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด และ/หรือ บริษัท สามารถ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด รวมถึงอาจจะมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินอีก

ทั้งนี้ บริษัทฯมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน วัตถุประสงค์การใช้เงินเพื่อใช้ชำระคืนหนี้สินกับสถาบันการเงิน

SAV หรือเดิมชื่อบริษัท สามารถ ทรานส์โซลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) ประกอบธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น (Holding company) เน้นการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ โดยปัจจุบันถือหุ้น 100% ใน บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) เพียงบริษัทเดียว

สำหรับ CATS เป็นบริษัทสัญชาติกัมพูชา ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ (Air Navigation Service Provider : ANSP) แต่เพียงรายเดียวสำหรับทุกสนามบินในกัมพูชาทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ, สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ และสนามบินนานาชาติสีหนุ ซึ่งเป็นสนามบินที่ให้บริการการบินทั้งในและระหว่างประเทศ รวมไปถึงสนามบินพระตะบอง, สนามบินเกาะกง และสนามบินสตึงเตรง ให้บริการเฉพาะการบินภายในประเทศ

รายได้ของ CATS แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงในประเทศ (Landing & Take-off : Domestic) สัดส่วนรายได้คิดเป็นประมาณ 3.73-5.08% ของรายได้จากการให้บริการรวมงวดปี 59-61 และงวด 6 เดือนแรกของปี 61 และ 62 , รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ (Landing & Take-off : International) สัดส่วนประมาณ 37.23-44.24% และ รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) มีสัดส่วนประมาณ 50.25-51.16%

ทั้งนี้ รายได้รวมของบริษัทในงวดปี 59-61 เท่ากับ 1,780.63 ล้านบาท 1,872.36 ล้านบาท และ 1,947.35 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรายได้รวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนั้นสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการ ตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินในทุกประเภทตามการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชา

ส่วนกำไรในงวดปี 59-61 เท่ากับ 279.39 ล้านบาท 317.92 ล้านบาท และ 252.84 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 15.69%, 16.98% และ 12.98% ของรายได้รวม ตามลำดับ

ขณะที่งวด 6 เดือนแรกของปี 62 มีรายได้รวม 1,044.19 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปี 61 มีรายได้เท่ากับ 924.30 ล้านบาทน โดยเพิ่มขึ้น 12.97% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินในทุกประเภท โดยเฉพาะประเภท Overflight นอกจากนี้ยังมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และรายได้ดอกเบี้ย เนื่องจากมีการให้เงินกู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น

และกำไรสุทธิสำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 62 เท่ากับ 246.88 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 111.41 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 12.05% และ 23.64% ของรายได้รวมตามลำดับ
ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 สินทรัพย์รวมเท่ากับ 2,434.04 ล้านบาท หนี้สินรวม 2,359.49 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 74.55 ล้านบาท

บริษัทเปิดโอกาสในการเข้าลงทุนหรือดำเนินการเพื่อให้ได้รับสิทธิในการเป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศในประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ และ/หรือ CATS ยังเปิดโอกาสในการประกอบธุรกิจหรือเข้าลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ เช่น การจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการจราจรทางอากาศ การจัดหาพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นต้น

ณ วันที่ 30 ก.ย.62 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 320 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 640 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท และมีทุนที่ออกและชำระแล้วจำนวน 288 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวนทั้งสิ้น 576 ล้านหุ้น ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ บริษัทจะมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเต็มจำนวน

รายชื่อผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด ถือหุ้น 384 ล้านหุ้น คิดเป็น 66.67% และ บริษัท สามารถ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 191,997,868 หุ้น คิดเป็น 33.33%

ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินหลังหักเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ และตามกฎหมาย


--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 2

โพสต์

SAV : บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) เน้นการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ ปัจจุบันถือสัดส่วนร้อยละ 100.00 ในบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จํากัด (“CATS”) เพียงบริษัทเดียวซึ่ง CATS เป็นบริษัทสัญชาติกัมพูชาที่ประกอบธุรกิจให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว ปัจจุบันมีสนามบินทั้งหมด 6 แห่งทั้งในและระหว่างประเทศ ได้แก่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ และสนามบินนานาชาติสีหนุ สนามบินพระตะบอง สนามบินเกาะกง และสนามบินสตึงเตรง
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ บริการ /ขนส่งและโลจิสติกส์
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
1) หุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 64,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 10 % ของทุนชำระแล้วหลัง IPO)
2) หุ้นสามัญเดิม (ยังไม่กำหนด)
3) จัดสรรหุ้นส่วนเกิน (ยังไม่กำหนด)
โดยภายหลัง IPO จะมีจำนวนหุ้นไม่เกิน 640,000,000 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
0.50 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ข้อมูล Filing
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 3

โพสต์

https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... 21&lang=th



หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : -
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท หลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) / นาย ประเสริฐ ตันตยาวิทย์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 4

โพสต์

SAMART ลุ้นกำไรสดใสปี’63 ปีนี้ธุรกิจโตหนุนรายได้ประจำ 40%

29/10/2019Exclusive News, samart

HoonSmart.com>>กลุ่มสามารถฯประกาศปี 62 พลิกฟื้นอย่างแข็งแรงและยั่งยืน โอกาสทางธุรกิจมีมาก หนุนปีหน้าไปได้สวย คาดรายได้ 2 หมื่นล้านบาท SAMART มีกำไรจากการนำหุ้นสามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ มาร่วมขายไอพีโอประมาณเดือนมี.ค. ส่วนสามารถ ดิจิตอลที่ยังขาดทุน คาดเทิร์นอะราวด์ รายได้กระโดดจาก 1,000 ล้านบาทเป็น 5,000 ล้านบาท

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มในครึ่งปีหลังจะเติบโตมากกว่าครึ่งปีแรก ทำให้รายได้ของปีนี้เข้าเป้าจำนวน 18,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มในปี 2563 จะดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีโอกาสทางธุรกิจมาก คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท SAMARTจะมีกำไรพิเศษจากการนำหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทสามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) ส่วนหนึ่งร่วมเสนอขายให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ประมาณเดือน มี.ค. 2563 ด้วย

“ปี2562 เป็นปีแห่งการพลิกฟื้นอย่างแข็งแรงและยั่งยืนของกลุ่มสามารถฯ ผลดำเนินงานดีกว่าปีก่อนเยอะ แม้ว่าบางโครงการของรัฐจะชะลอกว่าที่คาดก็ตาม ผลงานที่ดีขึ้นเกิดจากบริษัทเปิดตลาดใหม่ ๆเช่นในกลุ่มธนาคาร และธุรกิจยังสร้างรายได้ประจำเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 40% คาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 50% สามารถรองรับความผันผวนของธุรกิจ สร้างรายได้ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น”นายวัฒน์ชัยกล่าว

ปัจจุบันบริษัทสามารถ ดิจิตอล (SDC) ยังขาดทุนอยู่เพียงแห่งเดียวในกลุ่ม แต่ขาดทุนเริ่มลดลง ในปีหน้าคาดว่ามีรายได้โตก้าวกระโดดเป็นประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท จากสิ้นปีนี้ทำได้ประมาณ 1,207 ล้านบาท เนื่องจากมีโอกาสทางธุรกิจใหม่ ทยอยรับรู้รายได้จากโครงการบริการวิทยุสื่อสารคมนาคมระบบดิจิทัล มีลูกค้ารายใหญ่ ตั้งเป้าจำหน่ายประมาณ 6 หมื่นเครื่อง จากปีนี้คาดขายได้ 9,000 เครื่อง และโครงการใหม่ยังสร้างรายได้ประจำต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟทั่วประเทศ หรือ Google Station ที่จับมือกับบริษัท กสท.โทรคมนาคม (CAT) ในการทำตลาด โดย SDC จะมีรายได้จากการเข้าไปหาพื้นที่และติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟ พร้อมดูแลรักษาตลอด 5 ปี โดยตั้งเป้าติดตั้งจำนวน 1 หมื่นจุด ภายในปี 2563 ล่าสุดได้บรรลุข้อตกลงกับกรมอาชีวะ เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟในสถาบันอาชีวะ 428 แห่ง

สำหรับบริษัทสามารถเทลคอม (SAMTEL) ยังเป็นแหล่งรายได้หลักของกลุ่ม ปัจจุบันมีงานอยู่ในมือแล้วกว่า 9,000 ล้านบาท คาดว่าปีหน้าจะทะลุ 1 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ยังมีงานที่รอเซ็นสัญญาอีก 1,000 ล้านบาท เป็นโครงการของธนาคารออมสิน และปลายปีนี้คาดจะทราบผลโครงการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต มูลค่า 8,000 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะเติบโตทั้งรายได้และกำไร โดยเฉพาะในไตรมาส 4 จะรับรู้รายได้มากที่สุดของปี

ด้านบริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ (SUT) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านพลังงานและสาธารณูปโภค โดยบริษัท เทด้า จำกัด (TEDA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้มีการเซ็นสัญญาในโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า และโครงการสายไฟลงดิน รวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท และยังมีโอกาสเข้าประมูลโครงการนำสายไฟฟ้าลงดินอีกหลายเส้นทาง และยังมองหาธุรกิจใหม่ ๆ ด้านการจัดการพลังงานด้วย

ส่วนการนำบริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) บริษัทแห่งที่ 5 ของกลุ่มเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ช่วยแบ่งเบาภาระหนี้และดอกเบี้ยให้กับ SMART ส่วน SAV

เป็นโฮลดิ้งเน้นการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ โดยปัจจุบันถือหุ้น 100% ใน บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) เพียงบริษัทเดียว ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ ทั่วน่านฟ้ากัมพูชา เป็นเวลา 39 ปี นับจากปี 2545-2584
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 5

โพสต์

SAMART ลั่นรายได้ปี 63 ทะลุ 2 หมื่นลบ.-ดันลูกเข้าตลาดหุ้น

efinanceThai.com
"สามารถคอร์ปอเรชั่น" เดินหน้าดันรายได้ปี 63 ทะลุ 2 หมื่นลบ. จากปีนี้คาดทำได้ 1.8 หมื่นลบ. หลังมีงานในมือแล้ว 9 พันลบ. จ่อประมูลใหม่อีก 1 หมื่นลบ. เน้นงานระบบไอทีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เตรียมดัน"สามารถ ดิจิทัล" พลิกมีกำไร พร้อมส่งธุรกิจบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ(SAV)เข้า SET ภายในมี.ค.63

*** งานในมือหนา ลุยประมูลเพิ่ม 1 หมื่นลบ.

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังปี 62 จะทำได้ดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจ ICT มีงานโครงการในมือ (Backlog) รวมกว่า 9 พันล้านบาท ประกอบไปด้วย โครงการออกแบบ จัดหา พัฒนา ติดตั้ง และดูแลบำรุง รักษาระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ,โครงการของทีโอที , โครงการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME) ที่จะทยอยรับรู้เข้ามาต่อเนื่องโดยเฉพาะในไตรมาส 4/62

ขณะที่ช่วงที่เหลือของปี 62 จะเข้าประมูลโครงการใหม่ๆรวมมูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท คาดได้งานอย่างน้อย 60 - 70% ของมูลค่าทั้งหมด อาทิ โครงการพัฒนา ซอฟต์แวร์ด้าน Finance Solution ให้กับลูกค้ากลุ่มธนาคาร ,โครงการของกรมสรรพสามิต ,โครงการของกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มูลค่างานในมือสิ้นปี 62 ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท

*** ปี 63 ดันรายได้ทะลุ 2 หมื่นลบ.

ในปี 63 บริษัทได้ตั้งเป้าหมายรายได้เอาไว้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท จากปี 62 ที่คาดว่าจะทำได้ 1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะเข้าประมูลงานต่อเนื่องอีก โดยเฉพาะงานโครงการรูปแบบใหม่หรืองานระบบไอทีของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของภาครัฐเป็นหลัก อาทิ ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารกรุงไทย และงานบริการรูปแบบอื่นๆ

ซึ่งจากงานบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น จะทำให้สัดส่วนรายได้ประจำเพิ่มขึ้นเป็น 50% ช่วยหนุนรายได้ในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 40%

*** บริษัทย่อยพลิกกำไร หนุนผลงานปี 63

ส่วนด้านผลการดำเนินงานปี 63 จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุหลักคือ บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SDC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยพลิกมีกำไรสุทธิ ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 - 5 พันล้านบาท จากปี 62 ที่ทำได้ 1.2 พันล้านบาท

หลังจากเริ่มดำเนินธุรกิจใหม่ ทั้งการติดตั้งโครงข่ายวิทยุคมนาคมระบบดิจิทัล, เสาโทรคมนาคมภายในกรมอุทยาน , โครงการให้บริการวิทยุสื่อสารคมนาคมระบบดิจิทัลให้กับ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมป้องกันสาธารณภัย โดยตั้งเป้าจำหน่ายสินค้าจากธุรกิจนี้ไว้ทั้งหมด 6 หมื่นเครื่องในปี 63 เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 62 ที่ทำได้ 9 พันเครื่อง

ขณะที่โครงการใหม่ เช่น โครงการติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟ ทั่วประเทศ หรือ Google Station ซึ่งจับมือ กับ CAT ในการทำตลาด จะมีรายได้จากการเข้าไปหาพื้นที่และติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟ พร้อมดูแลรักษาตลอด 5 ปี (นับจากติดตั้ง) โดยตั้งเป้าติดตั้งจำนวน 10,000 จุด ภายในปี 63 ล่าสุดได้บรรลุข้อตกลงกับกรมอาชีวะ ในการติดตั้งอุปกรณ์ไวไฟในสถาบันอาชีวะแล้ว 428 แห่ง

*** เตรียมส่งธุรกิจบริหารจราจรทางอากาศเข้า SET ปี 63

นายวัฒน์ชัย ระบุ คาดว่าบริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ SAV (ชื่อเดิมบริษัท สามารถ ทรานส์โซลูชั่น จำกัด) จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)ได้ในเดือนมีนาคม 63

อนึ่ง SAV คือ ธุรกิจบริหารจัดการการจราจรทางอากาศทั่วน่านฟ้ากัมพูชา ของกลุ่ม SAMART โดยดำเนินธุรกิจผ่านการลงทุนใน บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิก เซอร์วิส จำกัด หรือ CATS ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาเป็นเวลารวม 39 ปี นับจากปี 45 ถึง 84

ซึ่งวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ชำระคืนเงินกู้ ลดภาระดอกเบี้ย และรองรับการขยายธุรกิจใหม่ๆ ของกลุ่มบริษัทสามารถในอนาคต โดยความคืบหน้าในปัจจุบันบริษัทดังกล่าวผ่านขั้นตอนการยื่นแบบคำขอและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 62
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ที่ปรึกษาฯคาดนำ "สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์" เข้า SET ช่วง Q2/63
--อินโฟเควสท์ โดย พชรธร ภูมิคำ/วิลาวัลย์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวหุ้น-การเงิน 28 มกราคม พ.ศ. 2563 13:18 น. —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ที่ปรึกษาฯคาดนำ
นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ บมจ.สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV) กล่าวว่า SAV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) มีแผนจะเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ไม่เกิน 224 ล้านหุ้น แบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 64 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 10% ของทุนจดทะเบียนภายหลังการเสนอขายหุ้น และหุ้นสามัญเดิมรวมกับหุ้นส่วนเกิน (กรีนชู) ไม่เกิน 160 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 25% ของทุนจดทะเบียนภายหลังการเสนอขายหุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ ในช่วงเดือนต.ค.62 บริษัทได้ทำการยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปแล้ว คาดว่าจะได้รับการอนุมัติได้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งกระบวนการเสนอขายหุ้น IPO และการนำ SAV เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) น่าจะเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาส 2/63

SAV ประกอบธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น (Holding company) เน้นการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ โดยปัจจุบันถือหุ้น 100% ใน บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ (Air Navigation Service Provider : ANSP) แต่เพียงรายเดียวสำหรับทุกสนามบินในกัมพูชาทั้ง 6 แห่ง

"หุ้นไอพีโอของ SAV คาดว่าจะเป็นที่สนใจของนักลงทุน สืบเนื่องจากปัจจัยด้านการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงปริมาณการจราจรทางอากาศของทั้งกัมพูชาและภูมิภาคกว่า 10% ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยธุรกิจให้บริการด้านการบินในกัมพูชาของ CATS นั้นถือว่าไม่มีคู่แข่งทางธุรกิจ อีกทั้งยังมีความมั่นคงทางรายได้สูงตามจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถในการทำกำไรในอัตราที่สูงมาโดยตลอด ทำให้บริษัทมีสถานะทางการเงินและกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง"นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า การดำเนินธุรกิจนั้น SAV และ CATS มีคณะกรรมการ คณะผู้บริหาร และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในธุรกิจการบริหารจราจรทางอากาศมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ SAV มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลสูงถึง 50% ของกำไรสุทธิ ซึ่งเมื่อบวกกับความสามารถในการทำกำไรและกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งแล้ว เชื่อว่า SAV จะเป็นหุ้นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนในระยะยาวอย่างแน่นอน

ด้านนายธีระชัย พงศ์พนางาม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ SAV กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการนำ SAV เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ไปชำระคืนเงินกู้ระยาวจากสถาบันทางการเงินทั้งหมด ที่ปัจจุบันมีอยู่ 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้บริษัทลดต้นทุนดอกเบี้ยไปประมาณ 70 ล้านบาท/ปี และจะเพิ่มอัตรากำไรสุทธิให้กับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจุบันอยู่ที่ 25% อีกทั้งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการขยายการลงทุนต่อไปในอนาคต ซึ่งบริษัทก็มองโอกาสในการเข้าไปรับงานในรูปแบบ Outsource ในน่านฟ้าของประเทศอื่น ๆ เช่น ลาว เมียนมา เป็นต้น

นอกจากนี้ภายหลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ประเมินว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) จะมากกว่า SAMART ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ที่ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 7,448.13 ล้านบาท

สำหรับ SAV มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 288 ล้านบาท มีหุ้นสามัญจำนวน 576 ล้านหุ้น โดยมูลค่าที่ตราไว้ 0.50 บาทต่อหุ้น โดยกลุ่มสามารถ ถือหุ้น 100% ในบริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด และยู-ทรานส์ ถือหุ้น SAV ในอัตรา 66.67% และยังมีบริษัท สามารถ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นในอัตรา 33.33%

สำหรับ CATS ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชา ระยะเวลารวม 39 ปี (ปี 45-84) ในสนามบิน 6 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ สนามบินนานาชาติสีหนุ สนามบินพระตะบอง สนามบินเกาะกง และสนามบินสตึงเตรง

โดยมีรายได้หลักจากบริการควบคุมการจรารจรทางอากาศ แบ่งตามประเภทเที่ยวบินได้ 3 ประเภท ได้แก่ รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ (Landing &Take-off : International) เป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 37-44%, รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงภายในประเทศ (Landing & Take-off : Domestic) เป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 4-5% และรายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) เป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 50% ของรายได้รวม

SAV มีผลการดำเนินงานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ทั้งในประเทศกัมพูชาและภูมิภาคอาเซียน โดยมีรายได้จากจำนวนเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่บินขึ้น-ลง ในกัมพูชา ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และจำนวนเที่ยวบินที่บินผ่านน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ โดยมีจำนวนเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 9.5% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยในช่วง 9 เดือนแรกปี 62 SAV มีรายได้รวม 1,556 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 389 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีรายได้รวม 1,440 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 208 ล้านบาท ส่วนในปี 61 SAV มีรายได้รวมจำนวน 1,947 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิ 253 ล้านบาท โดย SAV สามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับประมาณ 50% และอัตรากำไรสุทธิที่ 25% ในช่วง 9 เดือนแรกปี 62
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 7

โพสต์

SAV บริษัทไทย ที่เป็นเจ้าของวิทยุการบิน ในกัมพูชา /โดย ลงทุนแมน

หากให้เรานึกถึง บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสนามบิน
หลายคนก็น่าจะคุ้นเคยกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT
รัฐวิสาหกิจเจ้าของสนามบินเกือบทุกแห่งในประเทศไทย

แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีอีกบริษัทที่ทำธุรกิจควบคุมการจราจรทางอากาศ
ซึ่งแม้ว่าจะเป็นบริษัทสัญชาติไทย แต่ไม่ได้ทำธุรกิจในบ้านเรา
และดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศกัมพูชา

แล้วบริษัทที่ว่านี้ คือใคร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

บริษัทแห่งนี้ชื่อว่า แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จํากัด หรือ CATS
ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV

โดย CATS เป็น ผู้ให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศ
ในประเทศกัมพูชาทุกสนามบินเพียงรายเดียว
จากการได้รับสัมปทานจำนวน 39 ปี

โดยสัมปทานที่ว่านี้ จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2584 หรือในอีก 20 ปีข้างหน้า

ปัจจุบัน ประเทศกัมพูชา มีสนามบินจำนวน 6 แห่ง แบ่งออกเป็น

สนามบินที่ให้บริการในประเทศ และระหว่างประเทศ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

สนามบินนานาชาติพนมเปญ
สนามบินนานาชาติเสียมเรียบ
และสนามบินนานาชาติสีหนุ

และสนามบินที่ให้บริการเฉพาะในประเทศอีก 3 แห่ง ได้แก่

สนามบินพระตะบอง
สนามบินเกาะกง
และสนามบินสตึงเตรง

แล้วทีนี้เรามาดูกันว่า CATS มีรายได้มาจากไหนบ้าง?

รายได้ของ CATS แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามโครงสร้างธุรกิจ

- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงในประเทศ
เรียกเก็บจากสายการบินที่ทำการบินขึ้น-ลง ที่สนามบินในประเทศกัมพูชาและเส้นทางการบินอยู่ภายในประเทศกัมพูชาเท่านั้น

- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ
เรียกเก็บจากสายการบินที่มีการทำการบินขึ้น-ลง ที่สนามบินภายในประเทศกัมพูชามีเส้นทางการบินระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศอื่นๆ

- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา
เรียกเก็บจากสายการบินที่มีการนำเครื่องบินบินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา แต่ไม่ได้ลงจอด

เราลองมาดูผลประกอบการของ CATS กันว่าเป็นอย่างไรบ้าง?

ปี 2559 รายได้ 1,771 ล้านบาท กำไร 279 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 1,855 ล้านบาท กำไร 318 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,930 ล้านบาท กำไร 253 ล้านบาท

ที่ผ่านมา CATS มีรายได้ที่เติบโต ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ในประเทศกัมพูชาที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อ CATS มีรายได้ค่าบริการในทุกสนามบินของกัมพูชา
นั่นเท่ากับว่าธุรกิจนี้ ถือเป็นธุรกิจที่ไร้คู่แข่ง
ซึ่งธุรกิจวิทยุการบินก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐานที่ดีอีกธุรกิจหนึ่ง
เพราะไม่ว่าจะเดินทางภายในประเทศ ระหว่างประเทศ
หรือแค่บินผ่านน่านฟ้าของกัมพูชา
ก็ต้องเสียเงินให้กับทาง CATS อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม พอขึ้นชื่อว่าธุรกิจ
ไม่ว่าจะแข็งแกร่งขนาดไหน
ก็จะมีคำว่าความเสี่ยงตามมาเสมอ
แล้วความเสี่ยงของธุรกิจการบิน คืออะไร?

ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของ CATS ก็คือ “สัมปทาน”

ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่า ธุรกิจบริหารจัดการจราจรทางอากาศ
จำเป็นต้องได้รับสัมปทานจากภาครัฐ
ทำให้ CATS มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการต่อสัมปทาน
หรือถูกยกเลิกสัมปทานก่อนครบกำหนดอายุสัญญา

ในขณะเดียวกัน อีกหนึ่งความท้าทายของธุรกิจนี้ก็คือ ปริมาณการบินที่ลดลง
เช่นในปีที่ผ่านมา คงเป็นตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนที่สุด
เพราะทั่วโลกเกิดโรคระบาดอย่างหนัก
การบินระหว่างประเทศต้องหยุดชะงักลง

เรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้รายได้ในส่วนของค่าบริการสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และ ระหว่างประเทศ หายไปแทบทั้งหมดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่เรื่องนี้ ก็อาจถือเป็นผลกระทบระยะสั้น
เพราะเมื่อทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ
การเดินทางทางอากาศ ก็น่าจะกลับมาเป็นแบบเดิม..
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: SAV

โพสต์ที่ 8

โพสต์

SAMARTต่างชาติดีลSAV ปลดล็อคธุรกิจสนามบิน

จับตา SAMART กลุ่มทุนข้ามชาติหลายราย เริ่มตั้งโต๊ะเจรจาสนใจซื้อธุรกิจการควบคุมจราจรทางอากาศ ประเทศกัมพูชา ในนามบริษัท SAV ในเครือของ SAMART สะพัด หากสำเร็จ มีแววปลดล็อค SAMART ลอยตัวเหนือโควิด-19



รายงานข่าวจากวงการตลาดทุนเปิดเผยว่า มีข่าวแพร่สะพัดถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART ที่เริ่มเปิดเกมการเจรจากับนักลงทุนต่างชาติหลายราย ที่สนใจจะเข้าลงทุนใน บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV ที่ประกอบธุรกิจการควบคุมจราจรทางอากาศ ในประเทศกัมพูชา แต่เพียงผู้เดียว จากเดิมถือเป็นหุ้นน้องใหม่ค่ายSAMART ที่เล็งนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ



“การตัดสินใจครั้งสำคัญ ของ SAMART รอบนี้ เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ธุรการท่องเที่ยว ต้องหยุดชะงัก ธุรกิจการควบคุมการจราจรทางอากาศได้รับผลกระทบหนัก ดังนั้น การตัดขายออกไปก่อน จะเป็นการปลดล็อค ของกลุ่มSAMART” แหล่งข่าวกล่าว



ธุรกิจของ SAV ต้องรอให้การเดินทางและการท่องเที่ยวฟื้นตัว คือ สายธุรกิจ Samart U-Trans โดยบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด หรือ (CATS) ที่ทำธุรกิจด้านการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชา ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบินลดลง



ล่าสุด การให้บริการการควบคุมจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชาของCATS ซึ่งมีจํานวนเที่ยวบินลดลงจาก 27,099 เทียวบิน เป็น 8,096 เที่ยวบินในไตรมาสทีผ่านมา หรือลดลงร้อยละ 70 จากไตรมาส เดียวกันของปีก่อนหน้า



ทั้งนี้ SAV ยังเป็นธุรกิจที่มีอนาคต หากวิกฤติโควิดผ่านไป เพราะประเทศกัมพูชามีการเตรียมพร้อมด้านการท่องเที่ยว โดยมีการปรับปรุงสนามบินเก่าและสร้างสนามบินใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ Darasakor , New Siem Reap และ New Phompenh Airport ซึ่งมีสนามบินที่ทันสมัยติด 1 ใน 10 ของโลกด้วย คาดว่าแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ที่สำคัญ คือ CATS จะเป็นผู้ให้บริการระบบวิทยุการบินในทุกสนามบินอีกด้วย



ตามแผนเดิมSAV ต้องการเงินที่ได้จากการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เงินกู้ ที่มีอยู่ราว 1.2 พันล้านบาท ทำให้มีสถานะปลอดหนี้สิน และบางส่วนใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน



หากย้อนไปตรวจสอบพบว่า ที่ปรึกษาทางการเงินของ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV ช่วงนั้น คาดว่ากระบวนการขายหุ้น IPO จะเสร็จสิ้น และหุ้นสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในช่วงไตรมาส 2/63



โดย SAV จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 224 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 0.50 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่เกิน 64 ล้านหุ้นหรือไม่เกิน 10% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว และหุ้นสามัญของผู้ถือหุ้นเดิมอีกไม่เกิน 160 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 25% โดยการระดมทุนครั้งนี้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในอนาคต



SAV เป็นโฮลดิ้งคอมปานี โดยเน้นการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันถือหุ้น 100% ในบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด หรือ CATS ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติกัมพูชาที่ประกอบธุรกิจให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชาแต่เพียงผู้เดียว



สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นภายหลังจากที่ทาง SAV มีการขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวจะทำให้ทางกลุ่ม SAMART ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SAV มีสัดส่วนการถือหุ้นปรับตัวลดลงเหลือราว 60-70% จากปัจจุบันที่มีการถือหุ้นผ่านบริษัทลูกคือ บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด ในอัตรา 66.67% และ โดย บริษัท สามารถ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ในอัตรา 33.33%



บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ทาง SAV จะนำไปชำระคืนหนี้กู้ยืมของสถาบันการเงินทั้งหมดที่มีอยู่ราว 1.2 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธุรกิจกลับมามีสถานะปลอดหนี้สินและยังเป็นการช่วยประหยัดต้นทุนทางการเงินในส่วนของค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ยได้เพิ่มเติม จากเดิมที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยส่วนนี้ราว 70 ล้านบาทต่อปี ส่วนเงินที่เหลือนั้นจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน รองรับการขยายธุรกิจในอนาคตต่อไป
user.basic11
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 4

Re: SAV

โพสต์ที่ 9

โพสต์

user.basic11 #Post 2.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic02
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 2

Re: SAV

โพสต์ที่ 10

โพสต์

user.basic02 #Post 2.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic12
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 8

Re: SAV

โพสต์ที่ 11

โพสต์

user.basic12 #Post 2.1
user.basic04
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 12

โพสต์

user.basic04 #Post 2.1
user.basic05
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 13

โพสต์

user.basic05 #Post 2.1
user.basic05
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 14

โพสต์

user.basic11 #Post 3.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic02
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 2

Re: SAV

โพสต์ที่ 15

โพสต์

user.basic02 #Post 3.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic12
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 8

Re: SAV

โพสต์ที่ 16

โพสต์

user.basic12 #Post 3.1
user.basic04
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 17

โพสต์

user.basic04 #Post 3.1
user.basic05
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 18

โพสต์

user.basic05 #Post 3.1
user.basic11
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 4

Re: SAV

โพสต์ที่ 19

โพสต์

user.basic11 #Post 4.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic02
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 2

Re: SAV

โพสต์ที่ 20

โพสต์

user.basic02 # Post 4.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic12
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 8

Re: SAV

โพสต์ที่ 21

โพสต์

user.basic12 # Post 4.1
user.basic04
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 22

โพสต์

user.basic04 # Post 4.1
user.basic05
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 23

โพสต์

user.basic05 # Post 4.1
user.basic11
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 4

Re: SAV

โพสต์ที่ 24

โพสต์

user.basic11 #Post 5.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic02
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 2

Re: SAV

โพสต์ที่ 25

โพสต์

user.basic02 #Post 5.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic12
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 8

Re: SAV

โพสต์ที่ 26

โพสต์

user.basic12 #Post 5.1
user.basic04
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 27

โพสต์

user.basic04 #Post 5.1
user.basic05
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 3

Re: SAV

โพสต์ที่ 28

โพสต์

user.basic05 #Post 5.1
user.basic11
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 4

Re: SAV

โพสต์ที่ 29

โพสต์

user.basic11 #Post 6.1
ภาพประจำตัวสมาชิก
user.basic02
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 2

Re: SAV

โพสต์ที่ 30

โพสต์

user.basic02 # Post 6.1
โพสต์โพสต์