ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 61
To the Moon 2021 (6 Mar 2021)
.
ช่วงที่ผ่านมาใครที่ลงทุนหุ้นกลาง/เล็ก ในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือ Nasdaq จะเจอสภาพ correction ที่ค่อนข้างแรง หุ้นบางตัวลดลงมากกว่า 50% จากจุดสูงสุดในเวลาเพียงไม่กี่อาทิตย์
.
ในขณะเดียวกันกองทุน ETF ARK ที่เป็นกระแสมาก ๆ ตั้งแต่ต้นปี กองทุนไทยเปิดขายและขายหมดแบบเทน้ำเทท่า ARK ที่ทุกคนที่ซื้อไว้หวังว่าจะรวย ราคาก็ปรับตัวลดลงมา 20-30% จนเป็นกระแสตีกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน
.
ผมคิดว่ามีสิ่งที่นักลงทุนเราเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้คือ
.
1. ความตื่นเต้นคือความอันตราย
ต้นปีนี้ต้องยอมรับว่าหุ้นต่างประเทศขึ้นแบบไม่น่าเชื่อ หุ้นบางตัวขึ้น 2x, 5x, 10x ในเวลาไม่กี่เดือน เกิดกระแส SPAC นี่คือ "แสงไฟระดับพระอาทิตย์" ที่ดึงเอา "เม่าทั่วโลก" เข้าไปสู่แสงไฟ ดีที่รอบนี้ไม่นานฟองสบู่ก็แตก ทำให้ผลกระทบยังคงเป็นวงจำกัดในหุ้นไม่กี่ตัว ไม่กี่กลุ่ม ในวงการลงทุนอะไรๆที่น่าเบื่อมักจะปลอดภัย อะไรที่ตื่นเต้นจน "hype" มักจะอันตราย
.
2. ความขี้เกียจคือความอันตราย
ในทางกลับกัน กระแสหุ้นต่างประเทศนั้นมีมานานแล้ว บางคนก็มัวตั้งท่า แต่พอเริ่มมีคนพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พอเราเริ่มลงทุนก็อยู่บนดอยพอดี นั่นแปลว่า Status Quo bias เรามากเกินไป โอกาสมักจะเกิดจากการ "ขวนขวาย" ไม่ใช่เกิดจากการที่ให้คนอื่นมาบอก จงขวนขวายไปเรื่อย ๆ
.
3. อีโก้คือความอันตราย
หุ้นที่ขึ้นเยอะเกินพื้นฐานจะตกลงมาเสมอ ส่วนหุ้นที่ตกมากเกินพื้นฐานก็จะขึ้นเสมอ ไม่ว่าพื้นฐานหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นระดับโลก หรือหุ้นระดับตำบล บางครั้งกำไรที่เราได้มามากเกินไปคือสิ่งที่เกิน Mean ความสามารถของเรา หรือความสามารถของหุ้นที่เราถือในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ Regression to mean คือกฎที่ทรงพลัง จงดู "ประวัติศาสตร์ระยะยาว" เพราะนี่คือสิ่งที่ทรงพลังที่สุด อย่าฟังลมปากของคนที่ทำน้อย ๆ แต่พูดอนาคตยาว ๆ จงฟังคนที่ทำมายาว ๆ แต่พูดสั้น ๆ มากกว่า
.
4. True Passion & Faith คือความปลอดภัย
ผมเห็นหลายคนบอกว่าลงทุนหุ้นต่างประเทศสนุกมาก ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อะไรเยอะ แต่พอช่วงนี้หุ้นอเมริกาเริ่มทำกำไรได้ไม่มาก หุ้นไทยกำไรเยอะกว่า ก็รู้สึกว่าหุ้นต่างประเทศไม่สนุกซะแล้ว การค้นหาและทำสิ่งที่ตัวเองรักอย่างแท้จริงและทำอย่างต่อเนื่อง ผลกำไรจะได้มาเอง พยายามมองยาว อย่ามองสั้น และอย่า Bias
.
เส้นทางการลงทุนต่างประเทศเพิ่งเริ่มต้น แต่เส้นทางยาวไกลมาก ปีนี้ก็อาจจะทำให้คนหลายคนพับแผน ผมเห็นคนหนีหุ้นไทยไปเวียดนาม แล้วก็หนีเวียดนามไปหุ้นอเมริกา ประสบการณ์ผมบอกได้เลยว่าทุกตลาดดีหมดถ้าเรามีความรู้มากพอ สิ่งที่ควรทำคือหา "จุดที่เราได้เปรียบ" และหา "จุดที่หุ้นเราได้เปรียบ" + "กระจายความเสี่ยงแบบเหมาะสม" + "วางกองกำลังในยุทธศาสตร์ให้ครบ" ต้นไม้มันต้องรอ ถึงจะโตอย่างแข็งแรง
.
ถ้ามัวแต่หนีเสือ ย้ายไปย้ายมา จะปะจรเข้แน่นอนครับ
.
ปล. ผมไม่ได้จะเขียนกระทบใครนะครับ เขียนทบทวน ช่วงนี้เหมือนได้เห็น case เยอะดี ขอบันทึกไว้หน่อย
.
ช่วงที่ผ่านมาใครที่ลงทุนหุ้นกลาง/เล็ก ในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือ Nasdaq จะเจอสภาพ correction ที่ค่อนข้างแรง หุ้นบางตัวลดลงมากกว่า 50% จากจุดสูงสุดในเวลาเพียงไม่กี่อาทิตย์
.
ในขณะเดียวกันกองทุน ETF ARK ที่เป็นกระแสมาก ๆ ตั้งแต่ต้นปี กองทุนไทยเปิดขายและขายหมดแบบเทน้ำเทท่า ARK ที่ทุกคนที่ซื้อไว้หวังว่าจะรวย ราคาก็ปรับตัวลดลงมา 20-30% จนเป็นกระแสตีกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน
.
ผมคิดว่ามีสิ่งที่นักลงทุนเราเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้คือ
.
1. ความตื่นเต้นคือความอันตราย
ต้นปีนี้ต้องยอมรับว่าหุ้นต่างประเทศขึ้นแบบไม่น่าเชื่อ หุ้นบางตัวขึ้น 2x, 5x, 10x ในเวลาไม่กี่เดือน เกิดกระแส SPAC นี่คือ "แสงไฟระดับพระอาทิตย์" ที่ดึงเอา "เม่าทั่วโลก" เข้าไปสู่แสงไฟ ดีที่รอบนี้ไม่นานฟองสบู่ก็แตก ทำให้ผลกระทบยังคงเป็นวงจำกัดในหุ้นไม่กี่ตัว ไม่กี่กลุ่ม ในวงการลงทุนอะไรๆที่น่าเบื่อมักจะปลอดภัย อะไรที่ตื่นเต้นจน "hype" มักจะอันตราย
.
2. ความขี้เกียจคือความอันตราย
ในทางกลับกัน กระแสหุ้นต่างประเทศนั้นมีมานานแล้ว บางคนก็มัวตั้งท่า แต่พอเริ่มมีคนพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พอเราเริ่มลงทุนก็อยู่บนดอยพอดี นั่นแปลว่า Status Quo bias เรามากเกินไป โอกาสมักจะเกิดจากการ "ขวนขวาย" ไม่ใช่เกิดจากการที่ให้คนอื่นมาบอก จงขวนขวายไปเรื่อย ๆ
.
3. อีโก้คือความอันตราย
หุ้นที่ขึ้นเยอะเกินพื้นฐานจะตกลงมาเสมอ ส่วนหุ้นที่ตกมากเกินพื้นฐานก็จะขึ้นเสมอ ไม่ว่าพื้นฐานหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นระดับโลก หรือหุ้นระดับตำบล บางครั้งกำไรที่เราได้มามากเกินไปคือสิ่งที่เกิน Mean ความสามารถของเรา หรือความสามารถของหุ้นที่เราถือในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ Regression to mean คือกฎที่ทรงพลัง จงดู "ประวัติศาสตร์ระยะยาว" เพราะนี่คือสิ่งที่ทรงพลังที่สุด อย่าฟังลมปากของคนที่ทำน้อย ๆ แต่พูดอนาคตยาว ๆ จงฟังคนที่ทำมายาว ๆ แต่พูดสั้น ๆ มากกว่า
.
4. True Passion & Faith คือความปลอดภัย
ผมเห็นหลายคนบอกว่าลงทุนหุ้นต่างประเทศสนุกมาก ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อะไรเยอะ แต่พอช่วงนี้หุ้นอเมริกาเริ่มทำกำไรได้ไม่มาก หุ้นไทยกำไรเยอะกว่า ก็รู้สึกว่าหุ้นต่างประเทศไม่สนุกซะแล้ว การค้นหาและทำสิ่งที่ตัวเองรักอย่างแท้จริงและทำอย่างต่อเนื่อง ผลกำไรจะได้มาเอง พยายามมองยาว อย่ามองสั้น และอย่า Bias
.
เส้นทางการลงทุนต่างประเทศเพิ่งเริ่มต้น แต่เส้นทางยาวไกลมาก ปีนี้ก็อาจจะทำให้คนหลายคนพับแผน ผมเห็นคนหนีหุ้นไทยไปเวียดนาม แล้วก็หนีเวียดนามไปหุ้นอเมริกา ประสบการณ์ผมบอกได้เลยว่าทุกตลาดดีหมดถ้าเรามีความรู้มากพอ สิ่งที่ควรทำคือหา "จุดที่เราได้เปรียบ" และหา "จุดที่หุ้นเราได้เปรียบ" + "กระจายความเสี่ยงแบบเหมาะสม" + "วางกองกำลังในยุทธศาสตร์ให้ครบ" ต้นไม้มันต้องรอ ถึงจะโตอย่างแข็งแรง
.
ถ้ามัวแต่หนีเสือ ย้ายไปย้ายมา จะปะจรเข้แน่นอนครับ
.
ปล. ผมไม่ได้จะเขียนกระทบใครนะครับ เขียนทบทวน ช่วงนี้เหมือนได้เห็น case เยอะดี ขอบันทึกไว้หน่อย
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 62
โครงการร้อยคนร้อยเหรียญ (17 Apr 2021)
.
เคยสงสัยฟองสบู่แรกของมนุษย์คือ Tulip mania ที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์มั๊ยครับ ผมจะเขียนแบบไม่น่าเคยอ่านที่ไหน
.
Background ประเทศนี้เป็นจุดกำเนิดนวัตกรรมหลายอย่างรวมถึงตลาดหุ้นด้วย ผมไปเที่ยวและชอบประเทศนี้มาก ไปมาหมด ตึกที่เคยเป็นตลาดหุ้นแรกของโลก ที่นึงอยู่ Bruge ตอนนี้เป็น Pub อีกที่ Antwerp เค้า renovate ไปทำเป็นโรงละคร แอบมุดเข้าไปโดนไล่ออกมา 55555
.
ช่วงปี 1636 ที่มีฟองสบู่ทิวลิปนี้ มีลักษณะ macroeconomics คล้าย ๆ กับช่วงปัจจุบัน คือเป็น golden age ที่มีปัญหาโครงสร้างซ่อนอยู่เยอะมาก
.
ทุกคนมักจะสงสัยว่าทำไมคนยุคนั้นถึงขายซื้อทิวลิปกันในราคาแพงมหาโหดขนาดนี้ ราคาหัวนึงทะลุล้านบาท(เทียบเงินปัจจุบัน)
.
ผมลองแอบคิด ๆ ดูว่าบทสนทนาในยุคนั้นจะเป็นยังไง ถ้าไปอ่านใน FB ยุคนั้น คงมีคนมาโพสต์บอกว่าก็มันมีคนชอบไงครับ (Network Effect) ทุกคนชอบกันหมด ซื้อไปไม่ขาดทุน มีคนรับซื้อมากมาย ตลาดรอง สภาพคล่องมีเต็มไปหมด
.
แถมมี used case เอาไปเพาะพันธุ์ได้ (Farming) วันนี้ซื้อมาหนึ่งหัว ถ้าเอาไปเพาะ ปีหน้ามีหลายๆหัว สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เอาไปค้ำประกันกู้เงินได้ ราชสำนักก็ชอบเอาไปประดับประดา เอาไปเป็นเครื่องบรรณาการ บางหัวเป็น unique ด้วยผลิตเพิ่มยาก นักเขียนดัง ๆ บางคนรับค่าจ้างเป็นหัวทิวลิป
.
แถมถ้าเอาใช้ปลูกมาประดับ มันใช้แล้วหมดไปด้วย มีการ burn ทิ้งอีก หัวที่ไม่ปลูกอายุ 12 เดือนก็ถูก burn ทิ้งอัตโนมัติ ไม่มีเฟ้อแน่นอน
.
ในอนาคตอาจจะเป็นสื่อกลางการซื้อขายได้อีก ดีกว่าเงินกระดาษที่รัฐบาลพิมพ์แล้วพังไปตั้งหลายรอบ
.
ที่ดินคุณอาจจะถูกรัฐยึด ถ้ามีปัญหาการเมืองอะไรคุณเอาหัวทิวลิปใส่เป้ วิ่งหนีไปได้เลย เป็นที่เก็บและย้ายความมั่งคั่งชั้นยอด
.
ราคาขึ้นตลอดแบบนี้ใครไม่ซื้อก็ตกรถ แสดงว่าไม่เคยศึกษามันเลย
.
มุมมองผมในเวลานี้ ถ้าในนิยามของ Intelligent investor ไม่ว่ามองมุมไหน coins ก็คือ speculation และเป็นฟองสบู่ แต่อย่างว่าผมเขียนเตือนไปเด็กรุ่นใหม่ ๆ อยู่กันคนละ Channel กับผม อิอิ
.
แต่ผมก็คิดว่าไม่มีเหตุผลอะไร ถ้าคนที่เก็งกำไรหุ้นอยู่ จะไม่ไปเก็งเหรียญแทน ผมว่าดีกว่าเยอะ นี่อาจจะเป็นเหตุผลหลักของการคงอยู่ในช่วงนี้ของ Crypto เป็น casino of the world ไปก่อน
.
ผมมีบัญชี Crypto ลองมันบ้าง ผมสนใจตามแต่ยังไม่อยู่ในโหมดลงทุน และแถมอยากเปิดห้องร้อยคนร้อยเหรียญใน ThaiVI ด้วย แต่ก็คิดว่ามันยังไม่ถึงเวลา แต่อยากทำจริง ๆ นะ แต่ผมต้องการ coin investor จำนวนมากๆ ในการสร้าง wisdom ให้เกิด
.
ผมเชียร์ให้ทุกคนรวยๆๆกับ Crypto แต่ถ้าเกิดมีเวลาเลิกรา ขอให้เรา lock กำไรขายกินเงินฝรั่งทุกคนแล้วกันครับ
.
เคยสงสัยฟองสบู่แรกของมนุษย์คือ Tulip mania ที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์มั๊ยครับ ผมจะเขียนแบบไม่น่าเคยอ่านที่ไหน
.
Background ประเทศนี้เป็นจุดกำเนิดนวัตกรรมหลายอย่างรวมถึงตลาดหุ้นด้วย ผมไปเที่ยวและชอบประเทศนี้มาก ไปมาหมด ตึกที่เคยเป็นตลาดหุ้นแรกของโลก ที่นึงอยู่ Bruge ตอนนี้เป็น Pub อีกที่ Antwerp เค้า renovate ไปทำเป็นโรงละคร แอบมุดเข้าไปโดนไล่ออกมา 55555
.
ช่วงปี 1636 ที่มีฟองสบู่ทิวลิปนี้ มีลักษณะ macroeconomics คล้าย ๆ กับช่วงปัจจุบัน คือเป็น golden age ที่มีปัญหาโครงสร้างซ่อนอยู่เยอะมาก
.
ทุกคนมักจะสงสัยว่าทำไมคนยุคนั้นถึงขายซื้อทิวลิปกันในราคาแพงมหาโหดขนาดนี้ ราคาหัวนึงทะลุล้านบาท(เทียบเงินปัจจุบัน)
.
ผมลองแอบคิด ๆ ดูว่าบทสนทนาในยุคนั้นจะเป็นยังไง ถ้าไปอ่านใน FB ยุคนั้น คงมีคนมาโพสต์บอกว่าก็มันมีคนชอบไงครับ (Network Effect) ทุกคนชอบกันหมด ซื้อไปไม่ขาดทุน มีคนรับซื้อมากมาย ตลาดรอง สภาพคล่องมีเต็มไปหมด
.
แถมมี used case เอาไปเพาะพันธุ์ได้ (Farming) วันนี้ซื้อมาหนึ่งหัว ถ้าเอาไปเพาะ ปีหน้ามีหลายๆหัว สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เอาไปค้ำประกันกู้เงินได้ ราชสำนักก็ชอบเอาไปประดับประดา เอาไปเป็นเครื่องบรรณาการ บางหัวเป็น unique ด้วยผลิตเพิ่มยาก นักเขียนดัง ๆ บางคนรับค่าจ้างเป็นหัวทิวลิป
.
แถมถ้าเอาใช้ปลูกมาประดับ มันใช้แล้วหมดไปด้วย มีการ burn ทิ้งอีก หัวที่ไม่ปลูกอายุ 12 เดือนก็ถูก burn ทิ้งอัตโนมัติ ไม่มีเฟ้อแน่นอน
.
ในอนาคตอาจจะเป็นสื่อกลางการซื้อขายได้อีก ดีกว่าเงินกระดาษที่รัฐบาลพิมพ์แล้วพังไปตั้งหลายรอบ
.
ที่ดินคุณอาจจะถูกรัฐยึด ถ้ามีปัญหาการเมืองอะไรคุณเอาหัวทิวลิปใส่เป้ วิ่งหนีไปได้เลย เป็นที่เก็บและย้ายความมั่งคั่งชั้นยอด
.
ราคาขึ้นตลอดแบบนี้ใครไม่ซื้อก็ตกรถ แสดงว่าไม่เคยศึกษามันเลย
.
มุมมองผมในเวลานี้ ถ้าในนิยามของ Intelligent investor ไม่ว่ามองมุมไหน coins ก็คือ speculation และเป็นฟองสบู่ แต่อย่างว่าผมเขียนเตือนไปเด็กรุ่นใหม่ ๆ อยู่กันคนละ Channel กับผม อิอิ
.
แต่ผมก็คิดว่าไม่มีเหตุผลอะไร ถ้าคนที่เก็งกำไรหุ้นอยู่ จะไม่ไปเก็งเหรียญแทน ผมว่าดีกว่าเยอะ นี่อาจจะเป็นเหตุผลหลักของการคงอยู่ในช่วงนี้ของ Crypto เป็น casino of the world ไปก่อน
.
ผมมีบัญชี Crypto ลองมันบ้าง ผมสนใจตามแต่ยังไม่อยู่ในโหมดลงทุน และแถมอยากเปิดห้องร้อยคนร้อยเหรียญใน ThaiVI ด้วย แต่ก็คิดว่ามันยังไม่ถึงเวลา แต่อยากทำจริง ๆ นะ แต่ผมต้องการ coin investor จำนวนมากๆ ในการสร้าง wisdom ให้เกิด
.
ผมเชียร์ให้ทุกคนรวยๆๆกับ Crypto แต่ถ้าเกิดมีเวลาเลิกรา ขอให้เรา lock กำไรขายกินเงินฝรั่งทุกคนแล้วกันครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 63
Quick take วีไอกับการลงทุนต่างประเทศ update q1/21 (12 May 2021)
.
1. การลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยง ซื้อ ETF กองทุน ระยะยาวน่าจะดีกว่าซื้อ SET50 ไทย กระจายหลายประเทศสามารถลดความผันผวน เพิ่มผลตอบแทนได้
.
2. ถ้าเลือกหุ้น ลงทุนเอง ใช้พลังและเวลาในการสะสมความรู้ ยากกว่าหุ้นไทย ผลลัพท์ขึ้นกับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
.
3. ส่วนตัวคิดว่าไม่เหมาะกับมือใหม่ ถ้ายังไม่ชำนาญ ควรลงทุนหุ้นไทยให้ดีก่อน แล้วค่อย ๆ แบ่งไป
.
4. ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบ สนุกท้าทายดี ได้ความรู้ ผลตอบแทนยังไม่รู้ แต่รู้สึกมันกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น potential portfolio ในอนาคตดูดีขึ้น
.
5. ThaiVI ตอนนี้ ยังคงส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เราใช้ทรัพยากร 80% สำหรับหุ้นไทย และ 20% สำหรับเปิดประตูสู่หุ้นต่างประเทศ
.
1. การลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยง ซื้อ ETF กองทุน ระยะยาวน่าจะดีกว่าซื้อ SET50 ไทย กระจายหลายประเทศสามารถลดความผันผวน เพิ่มผลตอบแทนได้
.
2. ถ้าเลือกหุ้น ลงทุนเอง ใช้พลังและเวลาในการสะสมความรู้ ยากกว่าหุ้นไทย ผลลัพท์ขึ้นกับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
.
3. ส่วนตัวคิดว่าไม่เหมาะกับมือใหม่ ถ้ายังไม่ชำนาญ ควรลงทุนหุ้นไทยให้ดีก่อน แล้วค่อย ๆ แบ่งไป
.
4. ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบ สนุกท้าทายดี ได้ความรู้ ผลตอบแทนยังไม่รู้ แต่รู้สึกมันกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น potential portfolio ในอนาคตดูดีขึ้น
.
5. ThaiVI ตอนนี้ ยังคงส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เราใช้ทรัพยากร 80% สำหรับหุ้นไทย และ 20% สำหรับเปิดประตูสู่หุ้นต่างประเทศ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 64
อนาคตประเทศไทย (8 Jun 2021)
.
ผมนั่งอ่านบทความอาจารย์นิเวศน์ ประจวบกับ The Economist ฉบับล่าสุด ซึ่งถอดบทเรียนเรื่องการวิเคราะห์ประเทศผ่านเลนส์ Geopolitics ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
.
เนื้อหาเกริ่นว่าสาเหตุใดทำไมแค่ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ยุโรปถึงได้ถดถอยในบทบาทเวทีเศรษฐกิจโลก เดิมธุรกิจ Top100 ในยุโรปมีขนาด Market Cap ใกล้เคียงสหรัฐ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งในสี่ ซึ่งผมคิดว่ามีแนวคิดดี ๆ นำมาปรับใช้ได้จำนวนมาก
.
1. เหตุผลแรกบริษัทในยุโรป มีการบริหารจัดการด้อยกว่า ในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันตลอด 20 ปี ลองนึกถึงบริษัทอย่าง SIEMENS, NOKIA, Carrefour เทียบกับบริษัทชั้นนำของอเมริกา
.
2. ยุโรปเลือก "ผิดอุตสาหกรรม" โดยพัฒนาอุตสาหกรรมที่ล้าสมัย หรือเรียกว่า old economy ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น Tech, Consumer Internet
.
3. เหตุผลที่สาม ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลหลัก ที่นำไปสู่ความผิดพลาดในสองเหตุผลแรกคือ ยุโรปขาด "บริษัทใหม่ๆ" การที่เน้นให้บริษัทเดิม ๆ มีอายุยืน ๆ อาจจะทำให้ผู้คนขาดความเป็นเจ้าของกิจการ ขาดความกล้าคิด สร้างสรรค์ บริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกาเช่น Tesla, Amazon, Netflix, Facebook ล้วนมีผู้นำและ founder อายุน้อยๆ เกิดใหม่ แตกต่างจากบริษัทในยุโรปที่มีแต่ผู้บริหารระดับสูงอายุมากที่ต้องไต่เต้าขึ้นมาในสายบังคับบัญชา หรือไต่เต้าขึ้นมาตามระบบครอบครัว
.
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการในยุโรปไม่ได้คิดคำว่า "European Union" แต่คิดเฉพาะตลาดในประเทศเป็นหลัก ทำให้หลายบริษัทขาด Economies of Scale เช่นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในยุโรปมีมากกว่า 100 แห่ง อุตสาหกรรมค้าปลีกก็มีเป็น 100 บริษัท แตกต่างจากอเมริกา (หรือจีน) ที่มีจำนวนไม่กี่บริษัท ทำให้เกิดความได้เปรียบต่อขนาดเป็นอย่างมาก
.
และอีกเหตุผลย่อย ๆ คือ ยุโรปให้โอกาส "ผู้พ่ายแพ้" น้อยกว่าประเทศอเมริกาหรือจีน คนจึงกลัวความล้มเหลว สังคมไม่ให้รางวัลหรือไม่ให้โอกาสคนที่กล้าเสี่ยง ผู้คนจึงนิยมเลือกทำงานประจำ รับเงินเดือนและให้ระบบรัฐสวัสดิการดูแลตอนเกษียณ (อันที่จริงปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากระบบรัฐสวัสดิการ ทำให้ยุโรปป่วยมายาวนาน)
.
Economist ตั้งชื่อบทความว่า The land that ambition forgot บางครั้งเราอาจจะต้องสมดุลระหว่าง Work - Life Balance และที่สำคัญกว่านั้นคือ "การเลือก" ที่ถูกต้อง
.
ในเล่มนี้ยังพูดถึงความล้มเหลวของประเทศที่ตรงกันข้ามจากยุโรป คือบราซิลอีกด้วย ประเทศที่มีแต่คนรุ่นใหม่อายุน้อย ไม่ได้ขาดความทะเยอทะยานแบบยุโรป แต่เหตุผลคือนโยบายรัฐที่มองระยะสั้น ประเทศซึ่งขาดผู้นำใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ (ประชาชนต้องเลือก Who is lesser evil) ทำให้บราซิลในปัจจุบันมี GDP per capita เล็กกว่าไทยแล้ว ผมยังไม่อยากเชื่อเลยครับ
.
ใครมีโอกาสชักชวนให้อ่านครับ และชักชวนให้คิดต่อว่าอนาคตประเทศไทยจะเป็นไปในทางไหน และเราจะอยู่ตรงไหนของจิกซอว์นั้น
.
ณ ขณะนี้คนส่วนมากจะเริ่มได้ไปฉีดวัคซีนแล้ว เป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดที่เราตระหนักคิดวางแผนว่าปีหน้า สิบปีข้างหน้า ชีวิตบทใหม่ Post Covid จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรครับ
.
ผมนั่งอ่านบทความอาจารย์นิเวศน์ ประจวบกับ The Economist ฉบับล่าสุด ซึ่งถอดบทเรียนเรื่องการวิเคราะห์ประเทศผ่านเลนส์ Geopolitics ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
.
เนื้อหาเกริ่นว่าสาเหตุใดทำไมแค่ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ยุโรปถึงได้ถดถอยในบทบาทเวทีเศรษฐกิจโลก เดิมธุรกิจ Top100 ในยุโรปมีขนาด Market Cap ใกล้เคียงสหรัฐ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งในสี่ ซึ่งผมคิดว่ามีแนวคิดดี ๆ นำมาปรับใช้ได้จำนวนมาก
.
1. เหตุผลแรกบริษัทในยุโรป มีการบริหารจัดการด้อยกว่า ในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันตลอด 20 ปี ลองนึกถึงบริษัทอย่าง SIEMENS, NOKIA, Carrefour เทียบกับบริษัทชั้นนำของอเมริกา
.
2. ยุโรปเลือก "ผิดอุตสาหกรรม" โดยพัฒนาอุตสาหกรรมที่ล้าสมัย หรือเรียกว่า old economy ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น Tech, Consumer Internet
.
3. เหตุผลที่สาม ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลหลัก ที่นำไปสู่ความผิดพลาดในสองเหตุผลแรกคือ ยุโรปขาด "บริษัทใหม่ๆ" การที่เน้นให้บริษัทเดิม ๆ มีอายุยืน ๆ อาจจะทำให้ผู้คนขาดความเป็นเจ้าของกิจการ ขาดความกล้าคิด สร้างสรรค์ บริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกาเช่น Tesla, Amazon, Netflix, Facebook ล้วนมีผู้นำและ founder อายุน้อยๆ เกิดใหม่ แตกต่างจากบริษัทในยุโรปที่มีแต่ผู้บริหารระดับสูงอายุมากที่ต้องไต่เต้าขึ้นมาในสายบังคับบัญชา หรือไต่เต้าขึ้นมาตามระบบครอบครัว
.
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการในยุโรปไม่ได้คิดคำว่า "European Union" แต่คิดเฉพาะตลาดในประเทศเป็นหลัก ทำให้หลายบริษัทขาด Economies of Scale เช่นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในยุโรปมีมากกว่า 100 แห่ง อุตสาหกรรมค้าปลีกก็มีเป็น 100 บริษัท แตกต่างจากอเมริกา (หรือจีน) ที่มีจำนวนไม่กี่บริษัท ทำให้เกิดความได้เปรียบต่อขนาดเป็นอย่างมาก
.
และอีกเหตุผลย่อย ๆ คือ ยุโรปให้โอกาส "ผู้พ่ายแพ้" น้อยกว่าประเทศอเมริกาหรือจีน คนจึงกลัวความล้มเหลว สังคมไม่ให้รางวัลหรือไม่ให้โอกาสคนที่กล้าเสี่ยง ผู้คนจึงนิยมเลือกทำงานประจำ รับเงินเดือนและให้ระบบรัฐสวัสดิการดูแลตอนเกษียณ (อันที่จริงปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากระบบรัฐสวัสดิการ ทำให้ยุโรปป่วยมายาวนาน)
.
Economist ตั้งชื่อบทความว่า The land that ambition forgot บางครั้งเราอาจจะต้องสมดุลระหว่าง Work - Life Balance และที่สำคัญกว่านั้นคือ "การเลือก" ที่ถูกต้อง
.
ในเล่มนี้ยังพูดถึงความล้มเหลวของประเทศที่ตรงกันข้ามจากยุโรป คือบราซิลอีกด้วย ประเทศที่มีแต่คนรุ่นใหม่อายุน้อย ไม่ได้ขาดความทะเยอทะยานแบบยุโรป แต่เหตุผลคือนโยบายรัฐที่มองระยะสั้น ประเทศซึ่งขาดผู้นำใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ (ประชาชนต้องเลือก Who is lesser evil) ทำให้บราซิลในปัจจุบันมี GDP per capita เล็กกว่าไทยแล้ว ผมยังไม่อยากเชื่อเลยครับ
.
ใครมีโอกาสชักชวนให้อ่านครับ และชักชวนให้คิดต่อว่าอนาคตประเทศไทยจะเป็นไปในทางไหน และเราจะอยู่ตรงไหนของจิกซอว์นั้น
.
ณ ขณะนี้คนส่วนมากจะเริ่มได้ไปฉีดวัคซีนแล้ว เป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดที่เราตระหนักคิดวางแผนว่าปีหน้า สิบปีข้างหน้า ชีวิตบทใหม่ Post Covid จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 55
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 65
ผมได้ลองไปอ่าน Economic Principles ของ Ray Dalio มาซึ่งเกี่ยวกับกลไกของเศรษฐกิจและ long term debt cycle ผมเห็นด้วยกับเค้าว่าในอเมริกาตอนนี้มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่าง haves และ have-nots (พวกที่มีและไม่มี assets) ซึ่งเป็นหนึ่งในความไม่สมดุล ที่เกิดขึ้น โดยมาจากเหตุผลหลายประการเช่น การทำ QE ที่ไม่ effective และ tech disruption ทำให้คนตกงานมากขึ้น ส่วนเงินที่ print ออกมาก็มีบางส่วนถูกนำไปซื้อหรือเล่นหุ้นโดยไม่ได้ถูกนำไปหมุนเวียนในเศรษฐกิจ ผ่านการจ้างงานและการใช้จ่าย ถ้าปัญหาความเหลื่อมล้ำยังไม่ถูกแก้ไขโดยเร็ว มันก็จะเป็นดินพอกหางหมูที่ถ่วงการเดินไปข้างหน้าของเศรษฐกิจก็ได้ มันไม่ใช่แค่ในไทยครับ มันเป็นเกือบทุกที่
ตอนนี้ผมเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้น tech/growth ตปท. สักเท่าไหร่ พวกนี้เป็นหุ้นแห่งอนาคตที่มีพฐดีเยี่ยม แต่ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มัน hype แค่ไหน มัน hype ไปมากกว่าพฐเปล่า ผมเคยโดนหุ้นโรงไฟฟ้ามาแล้ว มันเป็นบทเรียนที่เจ็บจริง ไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้นที่ hype บทเรียนนี้ทำให้ผมรอดดอยหุ้น DELTA มาได้โดยไม่ซื้อมันที่ 802
ตอนนี้ผมเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้น tech/growth ตปท. สักเท่าไหร่ พวกนี้เป็นหุ้นแห่งอนาคตที่มีพฐดีเยี่ยม แต่ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มัน hype แค่ไหน มัน hype ไปมากกว่าพฐเปล่า ผมเคยโดนหุ้นโรงไฟฟ้ามาแล้ว มันเป็นบทเรียนที่เจ็บจริง ไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้นที่ hype บทเรียนนี้ทำให้ผมรอดดอยหุ้น DELTA มาได้โดยไม่ซื้อมันที่ 802
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 66
โรงไฟฟ้ามันไม่ได้มีลักษณะของ Winner take all เหมือน Tech นะครับ และไม่ใช่ธุรกิจที่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะยาวได้ด้วย การเติบโตของโรงไฟฟ้าต้องใช้ Capex มาก ในขณะที่ Tech software สามารถเติบโตได้โดยมี operating leverage มหาศาล โดยรวมแล้วบริบทของหุ้นโรงไฟฟ้าแตกต่างจากหุ้น Tech อย่างสิ้นเชิงPeter1011 เขียน: ↑อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2021 3:32 pmผมได้ลองไปอ่าน Economic Principles ของ Ray Dalio มาซึ่งเกี่ยวกับกลไกของเศรษฐกิจและ long term debt cycle ผมเห็นด้วยกับเค้าว่าในอเมริกาตอนนี้มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่าง haves และ have-nots (พวกที่มีและไม่มี assets) ซึ่งเป็นหนึ่งในความไม่สมดุล ที่เกิดขึ้น โดยมาจากเหตุผลหลายประการเช่น การทำ QE ที่ไม่ effective และ tech disruption ทำให้คนตกงานมากขึ้น ส่วนเงินที่ print ออกมาก็มีบางส่วนถูกนำไปซื้อหรือเล่นหุ้นโดยไม่ได้ถูกนำไปหมุนเวียนในเศรษฐกิจ ผ่านการจ้างงานและการใช้จ่าย ถ้าปัญหาความเหลื่อมล้ำยังไม่ถูกแก้ไขโดยเร็ว มันก็จะเป็นดินพอกหางหมูที่ถ่วงการเดินไปข้างหน้าของเศรษฐกิจก็ได้ มันไม่ใช่แค่ในไทยครับ มันเป็นเกือบทุกที่
ตอนนี้ผมเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้น tech/growth ตปท. สักเท่าไหร่ พวกนี้เป็นหุ้นแห่งอนาคตที่มีพฐดีเยี่ยม แต่ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มัน hype แค่ไหน มัน hype ไปมากกว่าพฐเปล่า ผมเคยโดนหุ้นโรงไฟฟ้ามาแล้ว มันเป็นบทเรียนที่เจ็บจริง ไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้นที่ hype บทเรียนนี้ทำให้ผมรอดดอยหุ้น DELTA มาได้โดยไม่ซื้อมันที่ 802
ถ้าพูดถึง Sector Tech อาจจะมีหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัว hype เกิน valuation ได้ครับ และก็มีโอกาสที่สถานการณ์จะเป็นแบบนี้ได้ยาวนาน แต่ถ้าศึกษาเป็นรายบริษัท ผมคิดว่ายังมีโอกาสที่จะหาหุ้นที่ undervalue ได้อยู่ครับ การมองในเชิงเหมารวมผมคิดว่าเป็น bias ศึกษาเป็นรายกรณีไปน่าจะดีกว่าครับ
ขอขอบคุณนายกหลินฯ ที่รวบรวม content ดีๆ ไว้ในนี้ด้วยครับ จะได้ไม่หายไปตามเวลา
-
- Verified User
- โพสต์: 55
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 67
ผมบอกคุณรึยังว่าหุ้นโรงไฟฟ้ามันมีลักษณะเหมือนกับ หุ้น Tech การที่ผมไปโดนหุ้นรฟฟ. นั้นทำให้ผมตระหนักว่าเราไม่ควรไปลงทุนในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ ไม่งั้นเราก็อาจจะโดนอีกได้ ผมไม่เข้าใจหุ้น Tech และต้องใช้เวลาเข้าใจอีกนาน ผมก็เลยไม่กล้าลงทุนตอนนี้ คุณยังมองว่ามันเป็นการมองในเชิงเหมารวม/bias หรือไงนายมานะ เขียน: ↑อังคาร มิ.ย. 15, 2021 12:38 amโรงไฟฟ้ามันไม่ได้มีลักษณะของ Winner take all เหมือน Tech นะครับ และไม่ใช่ธุรกิจที่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะยาวได้ด้วย การเติบโตของโรงไฟฟ้าต้องใช้ Capex มาก ในขณะที่ Tech software สามารถเติบโตได้โดยมี operating leverage มหาศาล โดยรวมแล้วบริบทของหุ้นโรงไฟฟ้าแตกต่างจากหุ้น Tech อย่างสิ้นเชิง
ถ้าพูดถึง Sector Tech อาจจะมีหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัว hype เกิน valuation ได้ครับ และก็มีโอกาสที่สถานการณ์จะเป็นแบบนี้ได้ยาวนาน แต่ถ้าศึกษาเป็นรายบริษัท ผมคิดว่ายังมีโอกาสที่จะหาหุ้นที่ undervalue ได้อยู่ครับ การมองในเชิงเหมารวมผมคิดว่าเป็น bias ศึกษาเป็นรายกรณีไปน่าจะดีกว่าครับ
ขอขอบคุณนายกหลินฯ ที่รวบรวม content ดีๆ ไว้ในนี้ด้วยครับ จะได้ไม่หายไปตามเวลา
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 68
ถ้าคอมเม้นของผมทำให้คุณ Peter1011 รู้สึกไม่ดีก็ต้องขอโทษด้วยครับPeter1011 เขียน: ↑อังคาร มิ.ย. 15, 2021 1:28 pmผมบอกคุณรึยังว่าหุ้นโรงไฟฟ้ามันมีลักษณะเหมือนกับ หุ้น Tech การที่ผมไปโดนหุ้นรฟฟ. นั้นทำให้ผมตระหนักว่าเราไม่ควรไปลงทุนในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ ไม่งั้นเราก็อาจจะโดนอีกได้ ผมไม่เข้าใจหุ้น Tech และต้องใช้เวลาเข้าใจอีกนาน ผมก็เลยไม่กล้าลงทุนตอนนี้ คุณยังมองว่ามันเป็นการมองในเชิงเหมารวม/bias หรือไง
อย่างไรก็ดีผมคิดว่าการมองหุ้นกลุ่ม Tech แบบเหมารวมทั้ง sector เป็นวิธีคิดแบบ Stereotype ซึ่งเป็น bias ประเภทหนึ่งครับ
คำว่า bias นี้ ส่วนตัวผมไม่ได้มองว่าเป็นคำ negative และไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อคุณ Peter1011 ครับ เอาเป็นว่าต่อไปผมคงโพสให้น้อยลงดีกว่าครับ จะได้ไม่ไปเผลอกระทบความรู้สึกใคร โดยไม่ได้เจตนา
-
- Verified User
- โพสต์: 195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 69
ผมว่าไม่ว่าคอมเม้นของคุณ Peter1011 หรือคอมเม้นของพี่ นายมานะ ล้วนเป็นประโยชน์กับบอร์ด ThaiVI ไม่มากก็น้อย
การ discuss กันช่วยให้เราเห็นมุมมองที่หลากหลาย ลดอคติ หรือ อีโก้ ที่เรามีได้มากขึ้น
ผมคงเสียดายถ้าคอมเม้นดีๆจากสมาชิกค่อยๆลดไปยังไงก็ยังอยากให้พี่ นายมานะ และคุณ Peter1011 คอมเม้นอยู่นะครับ : ))
การ discuss กันช่วยให้เราเห็นมุมมองที่หลากหลาย ลดอคติ หรือ อีโก้ ที่เรามีได้มากขึ้น
ผมคงเสียดายถ้าคอมเม้นดีๆจากสมาชิกค่อยๆลดไปยังไงก็ยังอยากให้พี่ นายมานะ และคุณ Peter1011 คอมเม้นอยู่นะครับ : ))
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 70
อยากแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ น่าจะช่วยให้เรามีแนวทางในการหาคำตอบได้ว่า ราคาที่ซื้อขายอยู่ในตลาด ณ ขณะนี้ มันใส่ความคาดหวังมากน้อยขนาดไหน มี hype อยู่หรือเปล่า มีแค่ไหน และมากกว่าพื้นฐานหรือเปล่า
https://www.amazon.com/Expectations-Inv ... B01J0FP7JE
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?