เศรษฐกิจไทย 'ไม่ดี' มากเพียงใด?/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

เศรษฐกิจไทย 'ไม่ดี' มากเพียงใด?/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เศรษฐกิจไทยไม่ดีมากเพียงใด วิธีหนึ่งที่จะประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 คือการวัด output gap

การวัด “output gap” หรือส่วนต่างระหว่างผลผลิตมวลรวมจริง (จีดีพี) ของประเทศแล้วนำไปเปรียบเทียบกับจีดีพีที่ควรจะเกิดขึ้นหากเศรษฐกิจขยายตัวเป็นปกติหรือ potential GDP ว่าแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดเพราะผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

ดังนั้น ผมจะขอเริ่มโดยการสมมุติตัวเลขของประเทศสหรัฐอเมริกาว่าเมื่อเศรษฐกิจปกติจีดีพีเท่ากับ 100 ในปี 2019 ก่อน COVID-19 ระบาด ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐนั้นประเมินว่าปกติแล้วจะขยายตัวได้ 1.7% ต่อปี (แรงงานขยายตัว 0.5% ต่อปี ผลิตภาพขยายตัว 1.2% ต่อปี) ดังนั้นบรรทัดแรกของตารางข้างล่างคือการประเมินจีดีพีว่าควรจะอยู่ที่ระดับใดในปี 2020 2021 และ 2022 กล่าวคือหากเหตุการณ์ปกติ จีดีพีของสหรัฐควรจะเท่ากับ 101.7 ในปี 2020 103.4ในปี 2021 และ 105.2 ในปี 2022 แต่ COVID-19 ทำให้จีดีพีสหรัฐหดตัวลงไป 3.5% ในปี 2020 ดังนั้นจีดีพีจริงในปีดังกล่าวจึงเหลือเพียง 96.5 ทำให้ในปี 2020 นั้นผลผลิตมวลรวมจริงจึงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 5.2 หรือ 5.4% ของจีดีพีในปีดังกล่าว

รูปภาพ

ในปี 2021 นั้น Congressional Budget Office (CBO) หรือสำนักงานงบประมาณของรัฐสภาสหรัฐประเมินว่าจีดีพีน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4.5% ในปี 2021 ดังนั้น output gap ในปี 2021 จึงปรับลดลงเหลือ 2.6% และในทำนองเดียวกันในปี 2022 output gap ก็จะลดลงอีกเหลือเพียง 1.7% ในปี 2022 ดังนั้นจึงอาจประเมินโดยสรุปได้ว่าประเทศสหรัฐได้รับความเสียหายจาก COVID-19 โดยรวมประมาณ 10% ของจีดีพีในช่วง 3 ปีคือปี 2020 ถึง 2022

หากเราทำการประเมินในลักษณะเดียวกันกับเศรษฐกิจไทยก็จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้รับความเสียหายจาก COVID-19 สูงกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่าตัว ดังปรากฏในตารางข้างล่าง

รูปภาพ

จะเห็นจากตารางได้ว่าความสูญเสียของเศรษฐกิจไทยจาก COVID-19 นั้นสูงกว่า 10% ของจีดีพีติดต่อกันทั้ง 3 ปีและหากทำการคำนวณ output gap ต่อไปอีกในปี 2023 และปีต่อไปข้างหน้า output gap ก็น่าจะยังสูงต่อไปได้อีกนาน เพราะการหดตัวของเศรษฐกิจที่รุนแรงมากกว่าในปี 2020 (จีดีพีลดลง 6.1%) และการฟื้นตัวที่น่าจะเชื่องช้ากว่าสหรัฐอเมริกาในปี 2021 จะทำให้output gap ของไทยมีขนาดใหญ่ต่อไปอีกหลายปี ซึ่งจะสะท้อนในความรู้สึกของคนไทยว่า “เศรษฐกิจไม่ดี”

ผมได้นำเอาตัวเลขเปรียบเทียบขึ้นมาใช้อธิบายผลกระทบของ COVID-19 เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าการที่รัฐบาลสหรัฐดำเนินนโยบายการคลังและการเงินอย่างแข็งขันรวดเร็วและเพียงพอนั้น กำลังจะช่วยให้ประเทศสหรัฐและประชาชนสหรัฐได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ที่จำกัดเพียง 10% ของจีดีพี แม้ว่าประชาชนจะเป็น COVID-19 หลายสิบล้านคนและเสียชีวิตหลายสนคน แต่ในกรณีของไทยนั้นแม้จะมีผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่หมื่นกว่าคนและเสียชีวิตไม่ถึง 100 คน แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและของคนไทยนั้นสูงกว่าที่สหรัฐมาก ทั้งนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นและผู้ที่มีรายได้น้อยและ SME จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงและแสนสาหัสมากเพียงใดครับ.
โพสต์โพสต์