เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1593
- ผู้ติดตาม: 2
เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
สิ้นปี 2562 หุ้นเดลต้ามีราคา 53.5 บาท ต้นปี 2563 เกิดวิกฤติโควิด-19 และต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ที่ 15 มกราคม 2564 เป็นเวลาประมาณ 1 ปีเศษ หุ้นเดลต้ามีราคา 580 บาท มูลค่าหุ้นทั้งหมดหรือ Market Cap. เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาทเป็น 7.2 แสนล้านบาท คิดแล้วเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 เท่าในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นเดลต้ากลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากหุ้นขนาดกลางที่ยังไม่ติดเข้ามาในดัชนี SET 50 ที่ไม่ไปไหนมาหลายปี
ในเวลาเดียวกันนั้น หุ้นเทสลา มีราคาประมาณ 86 เหรียญสหรัฐและก็ไม่ได้ไปไหนมานานก็ขยับขึ้นฝ่าวิกฤติโควิด-19 มาจนถึงวันนี้มีราคา 826 เหรียญหรือโตขึ้นเกือบ 10 เท่า ในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นมี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดประมาณ 7.8 แสนล้านเหรียญหรือ 23.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นหุ้นใหญ่ประมาณอันดับ 5-6 ของตลาดหุ้นอเมริกาและของโลกจากบริษัทระดับกลาง ๆ ที่ยังไม่ถูกคำนวณในดัชนี S&P 500 และนี่ก็คือความเหมือนกันของหุ้นทั้งสองตัวที่ทุกคนต่างก็ “ตะลึง” แต่นั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ทั้งสองบริษัทหรือสองหุ้นยังมีอะไรเหมือนกันมากกว่านั้น เรามาดูกัน
เทสลาเป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแสหรือเมกาเทรนด์ใหม่ของโลก อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ของบริษัทก็ยังน้อยมากเพียงประมาณ 500,000 คัน ในปีที่ผ่านมาเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้าที่ขายถึงประมาณ 10 ล้านคันต่อปี กำไรของบริษัทก็น้อยมากและเพิ่งจะเริ่มกำไรหลังจากที่ขาดทุนมานานและก่อนหน้านั้นแค่ 1-2 ปี ยังทำให้อีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัทต้องประกาศขายอสังหาริมทรัพย์และอื่น ๆ เพื่อ “พยุง” ตัวให้รอดจากภาวะยากลำบากทางการเงิน แต่ภายหลังหุ้นเทสลาดีดตัวขึ้นมาแรงกลับทำให้เขากลายเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกเพราะถือหุ้นเทสลาประมาณ 25% ของบริษัท
หุ้นเทสลาขึ้นมาแรงมากในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะมาจากสตอรี่หรือข่าวดีต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่บริษัทเริ่มมีกำไรและโรงงานที่จีนประสบความสำเร็จในการผลิตอย่างสูง นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่าคนหรือนักลงทุนเริ่มเห็นว่าบริษัทจะเริ่ม “Take of” หรือตั้งตัวได้เต็มที่พร้อมที่จะ “ออกบิน” แล้วจึงเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างหนักซึ่งส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นอย่างแรงหลังจากที่หุ้นนิ่งและประสบกับอุปสรรคมานานไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นแรง นักเก็งกำไรก็คงตามแห่เข้ามาซื้อเพราะกลัว “ตกรถ” กลัวจะพลาดโอกาสในการทำเงินจาก “กระแสใหม่” ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของรถยนต์ไปตลอดกาลคล้าย ๆ กับกระแสของการ “ปฏิวัติดิจิตอล” ที่ทำให้ผู้นำโลกอย่างเฟซบุคและอะเมซอนมีมูลค่าหุ้นสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ในสายตาของนักวิเคราะห์จำนวนมากรวมทั้งผมเองนั้นคิดว่าเทสลาอาจจะมีความแตกต่างในแง่ที่ว่ามันเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จับต้องได้ที่มักจะไม่สามารถทำกำไรได้แบบ “ทวีคูณ” เมื่อยอดขายมากขึ้น เหตุผลก็เพราะว่าทุกครั้งที่ยอดขายเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็จะเพิ่มตามในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับของเดิม ดังนั้น กำไรก็จะเพิ่มตามกันไปในอัตราส่วนใกล้เคียงกับของเดิม ในขณะที่หุ้นดิจิตอลนั้น เวลามีคนใช้บริการมากขึ้น ต้นทุนที่เพิ่มจะน้อยมากเพราะต้นทุนในการทำระบบนั้นได้จ่ายไปหมดแล้ว ทำให้เมื่อถึงจุดเริ่มกำไรแล้ว หลังจากนั้นกำไรจะโตมากเป็นทวีคูณ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเสียเปรียบก็คือ มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “Network Effect” นั่นก็คือ คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันได้เสมอตราบที่สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ในขณะที่หุ้นดิจิตอลอย่างเฟซบุคเองนั้น คู่แข่งจะเข้ามายากมากเพราะผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการของบริษัทที่มีเครือข่ายที่ใหญ่กว่า มากกว่าเรื่องของคุณภาพและราคา
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว มีคนจำนวนมากไม่เชื่อว่าราคาหุ้นเทสลาที่ขึ้นไปนั้นสอดคล้องกับ “พื้นฐาน” ที่ควรเป็นของเทสลา คนเชื่อว่านี่เป็นราคาที่เกิดจากการเก็งกำไรสุดโต่งอานิสงค์ส่วนหนึ่งจากการที่สภาพคล่องทางการเงินของโลกสูงลิ่ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครคิดว่าหุ้นตัวนี้มีคนปั่นหรือหุ้นถูก “Corner” อย่างตั้งใจโดยคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าหุ้นเทสลานั้นมีผู้ถือหุ้นกระจายตัวมากและประวัติเรื่องการคอร์เนอร์หุ้นในอเมริกานั้นมีน้อยมาก
บริษัทเดลต้ามีความคล้ายกับเทสลาในแง่ที่ว่าเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ให้แก่บริษัทผู้ผลิตสินค้า “ไฮเท็ค” ทั่วโลก โดยเฉพาะด้านของการสำรองพลังงาน ว่าที่จริงเทสลาก็น่าจะเป็นลูกค้าด้วยเพราะชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือพลังงานจากแบตเตอรี่ที่ถูกสำรองไว้ ดังนั้น สตอรี่ของเดลต้าก็คือการเกาะไปกับเมกาเทรนด์ส่วนนี้ด้วย ข่าวที่ว่ารายได้และกำไรของบริษัทกำลังจะโต “ก้าวกระโดด” หลังจากที่นิ่งมาไม่น้อยกว่า 4-5 ปีจึงไป “ปลุกหุ้น” ให้วิ่งขึ้นมาและก็คงคล้าย ๆ กับเทสลาที่เมื่อนักลงทุนเห็นหุ้นวิ่งขึ้นมารุนแรงก็แห่กันเข้ามาซื้อส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นไปอีกและวิ่งขึ้นไปมากเสียยิ่งกว่าหุ้นเทสลา ซึ่งคนดูว่า “ไม่น่าเป็นไปได้” เพราะเทสลานั้นเป็นผู้นำที่ขายความไฮเท็ค ในขณะที่เดลต้านั้นเป็นแค่ผู้ผลิตชิ้นส่วน ไม่ได้เป็นคนที่จะ “เปลี่ยนโลก”
แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ หุ้นเดลต้านั้นมีหุ้น Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือนักลงทุนที่พร้อมขายน้อยมาก ในขณะที่หุ้นเทสลาอาจจะมีฟรีโฟลท 75% หุ้นเดลต้าน่าจะมีฟรีโฟลทไม่เกิน 25% ดังนั้น โอกาสที่หุ้นเดลต้าจะถูก Corner ทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจจึงสูงกว่ามาก ว่าที่จริงก่อนเริ่มวิ่งนั้น หุ้นเดลต้าหรือหุ้นฟรีโฟลทของเดลต้านั้นไม่ได้สูงเลย และอยู่ในวิสัยที่นักลงทุนรายใหญ่ของไทยสามารถที่จะคอร์เนอร์ได้อย่างไม่ยากเย็น ว่าที่จริงหุ้นตัวอื่นที่มีฟรีโฟลทระดับเดียวกันหลาย ๆ ตัวก็น่าจะเคยหรือกำลังถูกคอร์เนอร์กันมาแล้วจนมีมูลค่าหุ้นเป็นแสนล้านบาท หุ้นเดลต้าก็อาจจะเป็นเพียงอีกตัวหนึ่งที่ถูกคอร์เนอร์เหมือนกัน เพียงแต่ว่าการคอร์เนอร์อาจจะรุนแรงกว่ามาก อาจจะเนื่องจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการเป็นหุ้นของ “ต่างชาติ” ที่ทำให้ราคาหุ้น “หลุดโลก”
หุ้นเทสลากับหุ้นเดลต้ายังมีความคล้ายกันในแง่ที่ว่า หลังจากที่หุ้นขึ้นไปสูงมากและปริมาณการซื้อขายสูงลิ่วอานิสงค์จากการเก็งกำไรกันอย่างรุนแรง ทำให้เข้าเกณฑ์ที่จะถูกรวมอยู่ในดัชนี S&P 500 และ SET 50 ตามลำดับ ผลจากการนั้นจะทำให้กองทุนอิงดัชนีทั้งหลายที่มีจำนวนมากต้องเข้ามาซื้อหุ้นไม่ว่าจะมีราคาเท่าไร กองทุนจะต้องซื้อหุ้น “ตามสัดส่วน” ของ Market Cap. ซึ่งในขณะนี้มูลค่าของหุ้นทั้งสองก็สูงมากเมื่อเทียบกับดัชนี ผลก็คือ จะมี “แรงซื้อ” หุ้นทั้งสองตัวเข้ามามหาศาลในวันที่มันถูกนำเข้ามาคำนวณ ผลก็คือ ถ้าหุ้นถูกคอร์เนอร์อยู่แล้ว มันก็จะถูกคอร์เนอร์แน่นเข้าไปอีก ราคาหุ้นก็อาจจะต้องวิ่งขึ้นไปอีกจนกว่าคอร์เนอร์จะ “แตก” และเมื่อถึงวันนั้น ความเสียหายหรือกำไรที่จะได้รับสำหรับบางคนก็จะมหาศาล
หุ้นเทสลานั้น กำลังถูกชอร์ตอย่างแรงโดยคนที่คิดว่าหุ้นเทสลานั้น “แพงหลุดโลก” และจะต้องตกลงมาอย่าง “หายนะ” ปริมาณการขายชอร์ตในขณะนี้น่าจะ “มากที่สุดในโลก” ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านเหรียญหรือกว่า 1 ล้านล้านบาท เซียนหรือ “ตำนานนักชอร์ต” ที่เคยทำกำไรมหาศาลจากการชอร์ตตราสารซับไพร์มคือ Michael Burry กำลังพนันอย่างเต็มที่ว่าหุ้นเทสลาจะต้อง “พังทลาย” เราคงต้องดูกันว่าใครจะพัง ว่าที่จริงคนที่เคยชอร์ตหุ้นเทสลาในปีก่อน “เจ๊ง” ไปแล้วประมาณ 3.8 หมื่นล้านเหรียญเพราะหุ้นขึ้นไปเรื่อยและแพงเวอร์มาทั้งปี นักวิเคราะห์หลายคนรวมถึงอีลอน มัสก์ บอกว่าคนที่ชอร์ตต่างหากที่จะต้องพังเพราะจะถูก “บี้” ให้ต้องกลับไปซื้อหุ้นที่ราคาแพงขึ้นไปอีก คนทั่วโลกกำลังหลงรักเทสลา
หุ้นเดลต้านั้น ตั้งแต่มีประเด็นว่าอาจจะถูกปั่นหรือคอร์เนอร์หุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็มีการปรับตัวลงมาบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงมาก ตลาดหลักทรัพย์และคนที่เกี่ยวข้องเองต้องออกมาเสนอมาตรการเกี่ยวกับเรื่องฟรีโฟลทเพื่อป้องกันไม่ให้การเกิดการคอร์เนอร์หุ้นอย่างง่าย ๆ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ในเวลาเดียวกัน ดูเหมือนว่าคนก็ยังเล่นกันอย่างหนัก ราคาหุ้นผันผวนวันละเป็น 10% บวกลบเป็นเรื่อง “ปกติ” ผมเองไม่แน่ใจว่าเมื่อมาตรการออกมาจะทำให้หุ้นสงบลงและราคาสะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงเมื่อไร และเคยสงสัยว่าเราจะ “ขายชอร์ต” หุ้นเดลต้าได้ไหม เพราะผมรู้สึกว่าราคานี้ยังไงก็รับไม่ได้ แต่เมื่อตรวจสอบกับโบรกเกอร์ของผมดูแล้วก็พบว่า ในกรณีของหุ้นเดลต้าไม่น่าจะทำได้ เพราะไม่มีคนให้ยืมหุ้นหรือถ้าให้ยืมแล้วมาขอคืนเราก็ “ตาย” ดังนั้น สำหรับผมแล้ว กรณีของหุ้นเดลต้าก็ไม่ต้องสนใจที่จะเข้าไป “หาเงินจากความผิดพลาดของตลาด” แต่แค่เอาไว้ศึกษาว่าความคิดของเราถูกต้องไหม แค่นั้น
ในเวลาเดียวกันนั้น หุ้นเทสลา มีราคาประมาณ 86 เหรียญสหรัฐและก็ไม่ได้ไปไหนมานานก็ขยับขึ้นฝ่าวิกฤติโควิด-19 มาจนถึงวันนี้มีราคา 826 เหรียญหรือโตขึ้นเกือบ 10 เท่า ในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้หุ้นมี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดประมาณ 7.8 แสนล้านเหรียญหรือ 23.5 ล้านล้านบาท กลายเป็นหุ้นใหญ่ประมาณอันดับ 5-6 ของตลาดหุ้นอเมริกาและของโลกจากบริษัทระดับกลาง ๆ ที่ยังไม่ถูกคำนวณในดัชนี S&P 500 และนี่ก็คือความเหมือนกันของหุ้นทั้งสองตัวที่ทุกคนต่างก็ “ตะลึง” แต่นั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ทั้งสองบริษัทหรือสองหุ้นยังมีอะไรเหมือนกันมากกว่านั้น เรามาดูกัน
เทสลาเป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแสหรือเมกาเทรนด์ใหม่ของโลก อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ของบริษัทก็ยังน้อยมากเพียงประมาณ 500,000 คัน ในปีที่ผ่านมาเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้าที่ขายถึงประมาณ 10 ล้านคันต่อปี กำไรของบริษัทก็น้อยมากและเพิ่งจะเริ่มกำไรหลังจากที่ขาดทุนมานานและก่อนหน้านั้นแค่ 1-2 ปี ยังทำให้อีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัทต้องประกาศขายอสังหาริมทรัพย์และอื่น ๆ เพื่อ “พยุง” ตัวให้รอดจากภาวะยากลำบากทางการเงิน แต่ภายหลังหุ้นเทสลาดีดตัวขึ้นมาแรงกลับทำให้เขากลายเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกเพราะถือหุ้นเทสลาประมาณ 25% ของบริษัท
หุ้นเทสลาขึ้นมาแรงมากในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะมาจากสตอรี่หรือข่าวดีต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่บริษัทเริ่มมีกำไรและโรงงานที่จีนประสบความสำเร็จในการผลิตอย่างสูง นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่าคนหรือนักลงทุนเริ่มเห็นว่าบริษัทจะเริ่ม “Take of” หรือตั้งตัวได้เต็มที่พร้อมที่จะ “ออกบิน” แล้วจึงเริ่มเข้ามาซื้อหุ้นกันอย่างหนักซึ่งส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นอย่างแรงหลังจากที่หุ้นนิ่งและประสบกับอุปสรรคมานานไม่ต่ำกว่า 4-5 ปีตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นแรง นักเก็งกำไรก็คงตามแห่เข้ามาซื้อเพราะกลัว “ตกรถ” กลัวจะพลาดโอกาสในการทำเงินจาก “กระแสใหม่” ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของรถยนต์ไปตลอดกาลคล้าย ๆ กับกระแสของการ “ปฏิวัติดิจิตอล” ที่ทำให้ผู้นำโลกอย่างเฟซบุคและอะเมซอนมีมูลค่าหุ้นสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ในสายตาของนักวิเคราะห์จำนวนมากรวมทั้งผมเองนั้นคิดว่าเทสลาอาจจะมีความแตกต่างในแง่ที่ว่ามันเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จับต้องได้ที่มักจะไม่สามารถทำกำไรได้แบบ “ทวีคูณ” เมื่อยอดขายมากขึ้น เหตุผลก็เพราะว่าทุกครั้งที่ยอดขายเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็จะเพิ่มตามในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับของเดิม ดังนั้น กำไรก็จะเพิ่มตามกันไปในอัตราส่วนใกล้เคียงกับของเดิม ในขณะที่หุ้นดิจิตอลนั้น เวลามีคนใช้บริการมากขึ้น ต้นทุนที่เพิ่มจะน้อยมากเพราะต้นทุนในการทำระบบนั้นได้จ่ายไปหมดแล้ว ทำให้เมื่อถึงจุดเริ่มกำไรแล้ว หลังจากนั้นกำไรจะโตมากเป็นทวีคูณ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเสียเปรียบก็คือ มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “Network Effect” นั่นก็คือ คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันได้เสมอตราบที่สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน ในขณะที่หุ้นดิจิตอลอย่างเฟซบุคเองนั้น คู่แข่งจะเข้ามายากมากเพราะผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการของบริษัทที่มีเครือข่ายที่ใหญ่กว่า มากกว่าเรื่องของคุณภาพและราคา
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว มีคนจำนวนมากไม่เชื่อว่าราคาหุ้นเทสลาที่ขึ้นไปนั้นสอดคล้องกับ “พื้นฐาน” ที่ควรเป็นของเทสลา คนเชื่อว่านี่เป็นราคาที่เกิดจากการเก็งกำไรสุดโต่งอานิสงค์ส่วนหนึ่งจากการที่สภาพคล่องทางการเงินของโลกสูงลิ่ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครคิดว่าหุ้นตัวนี้มีคนปั่นหรือหุ้นถูก “Corner” อย่างตั้งใจโดยคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าหุ้นเทสลานั้นมีผู้ถือหุ้นกระจายตัวมากและประวัติเรื่องการคอร์เนอร์หุ้นในอเมริกานั้นมีน้อยมาก
บริษัทเดลต้ามีความคล้ายกับเทสลาในแง่ที่ว่าเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ให้แก่บริษัทผู้ผลิตสินค้า “ไฮเท็ค” ทั่วโลก โดยเฉพาะด้านของการสำรองพลังงาน ว่าที่จริงเทสลาก็น่าจะเป็นลูกค้าด้วยเพราะชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือพลังงานจากแบตเตอรี่ที่ถูกสำรองไว้ ดังนั้น สตอรี่ของเดลต้าก็คือการเกาะไปกับเมกาเทรนด์ส่วนนี้ด้วย ข่าวที่ว่ารายได้และกำไรของบริษัทกำลังจะโต “ก้าวกระโดด” หลังจากที่นิ่งมาไม่น้อยกว่า 4-5 ปีจึงไป “ปลุกหุ้น” ให้วิ่งขึ้นมาและก็คงคล้าย ๆ กับเทสลาที่เมื่อนักลงทุนเห็นหุ้นวิ่งขึ้นมารุนแรงก็แห่กันเข้ามาซื้อส่งผลให้หุ้นวิ่งขึ้นไปอีกและวิ่งขึ้นไปมากเสียยิ่งกว่าหุ้นเทสลา ซึ่งคนดูว่า “ไม่น่าเป็นไปได้” เพราะเทสลานั้นเป็นผู้นำที่ขายความไฮเท็ค ในขณะที่เดลต้านั้นเป็นแค่ผู้ผลิตชิ้นส่วน ไม่ได้เป็นคนที่จะ “เปลี่ยนโลก”
แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ หุ้นเดลต้านั้นมีหุ้น Free Float หรือหุ้นที่อยู่ในมือนักลงทุนที่พร้อมขายน้อยมาก ในขณะที่หุ้นเทสลาอาจจะมีฟรีโฟลท 75% หุ้นเดลต้าน่าจะมีฟรีโฟลทไม่เกิน 25% ดังนั้น โอกาสที่หุ้นเดลต้าจะถูก Corner ทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจจึงสูงกว่ามาก ว่าที่จริงก่อนเริ่มวิ่งนั้น หุ้นเดลต้าหรือหุ้นฟรีโฟลทของเดลต้านั้นไม่ได้สูงเลย และอยู่ในวิสัยที่นักลงทุนรายใหญ่ของไทยสามารถที่จะคอร์เนอร์ได้อย่างไม่ยากเย็น ว่าที่จริงหุ้นตัวอื่นที่มีฟรีโฟลทระดับเดียวกันหลาย ๆ ตัวก็น่าจะเคยหรือกำลังถูกคอร์เนอร์กันมาแล้วจนมีมูลค่าหุ้นเป็นแสนล้านบาท หุ้นเดลต้าก็อาจจะเป็นเพียงอีกตัวหนึ่งที่ถูกคอร์เนอร์เหมือนกัน เพียงแต่ว่าการคอร์เนอร์อาจจะรุนแรงกว่ามาก อาจจะเนื่องจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการเป็นหุ้นของ “ต่างชาติ” ที่ทำให้ราคาหุ้น “หลุดโลก”
หุ้นเทสลากับหุ้นเดลต้ายังมีความคล้ายกันในแง่ที่ว่า หลังจากที่หุ้นขึ้นไปสูงมากและปริมาณการซื้อขายสูงลิ่วอานิสงค์จากการเก็งกำไรกันอย่างรุนแรง ทำให้เข้าเกณฑ์ที่จะถูกรวมอยู่ในดัชนี S&P 500 และ SET 50 ตามลำดับ ผลจากการนั้นจะทำให้กองทุนอิงดัชนีทั้งหลายที่มีจำนวนมากต้องเข้ามาซื้อหุ้นไม่ว่าจะมีราคาเท่าไร กองทุนจะต้องซื้อหุ้น “ตามสัดส่วน” ของ Market Cap. ซึ่งในขณะนี้มูลค่าของหุ้นทั้งสองก็สูงมากเมื่อเทียบกับดัชนี ผลก็คือ จะมี “แรงซื้อ” หุ้นทั้งสองตัวเข้ามามหาศาลในวันที่มันถูกนำเข้ามาคำนวณ ผลก็คือ ถ้าหุ้นถูกคอร์เนอร์อยู่แล้ว มันก็จะถูกคอร์เนอร์แน่นเข้าไปอีก ราคาหุ้นก็อาจจะต้องวิ่งขึ้นไปอีกจนกว่าคอร์เนอร์จะ “แตก” และเมื่อถึงวันนั้น ความเสียหายหรือกำไรที่จะได้รับสำหรับบางคนก็จะมหาศาล
หุ้นเทสลานั้น กำลังถูกชอร์ตอย่างแรงโดยคนที่คิดว่าหุ้นเทสลานั้น “แพงหลุดโลก” และจะต้องตกลงมาอย่าง “หายนะ” ปริมาณการขายชอร์ตในขณะนี้น่าจะ “มากที่สุดในโลก” ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านเหรียญหรือกว่า 1 ล้านล้านบาท เซียนหรือ “ตำนานนักชอร์ต” ที่เคยทำกำไรมหาศาลจากการชอร์ตตราสารซับไพร์มคือ Michael Burry กำลังพนันอย่างเต็มที่ว่าหุ้นเทสลาจะต้อง “พังทลาย” เราคงต้องดูกันว่าใครจะพัง ว่าที่จริงคนที่เคยชอร์ตหุ้นเทสลาในปีก่อน “เจ๊ง” ไปแล้วประมาณ 3.8 หมื่นล้านเหรียญเพราะหุ้นขึ้นไปเรื่อยและแพงเวอร์มาทั้งปี นักวิเคราะห์หลายคนรวมถึงอีลอน มัสก์ บอกว่าคนที่ชอร์ตต่างหากที่จะต้องพังเพราะจะถูก “บี้” ให้ต้องกลับไปซื้อหุ้นที่ราคาแพงขึ้นไปอีก คนทั่วโลกกำลังหลงรักเทสลา
หุ้นเดลต้านั้น ตั้งแต่มีประเด็นว่าอาจจะถูกปั่นหรือคอร์เนอร์หุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็มีการปรับตัวลงมาบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงมาก ตลาดหลักทรัพย์และคนที่เกี่ยวข้องเองต้องออกมาเสนอมาตรการเกี่ยวกับเรื่องฟรีโฟลทเพื่อป้องกันไม่ให้การเกิดการคอร์เนอร์หุ้นอย่างง่าย ๆ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ในเวลาเดียวกัน ดูเหมือนว่าคนก็ยังเล่นกันอย่างหนัก ราคาหุ้นผันผวนวันละเป็น 10% บวกลบเป็นเรื่อง “ปกติ” ผมเองไม่แน่ใจว่าเมื่อมาตรการออกมาจะทำให้หุ้นสงบลงและราคาสะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงเมื่อไร และเคยสงสัยว่าเราจะ “ขายชอร์ต” หุ้นเดลต้าได้ไหม เพราะผมรู้สึกว่าราคานี้ยังไงก็รับไม่ได้ แต่เมื่อตรวจสอบกับโบรกเกอร์ของผมดูแล้วก็พบว่า ในกรณีของหุ้นเดลต้าไม่น่าจะทำได้ เพราะไม่มีคนให้ยืมหุ้นหรือถ้าให้ยืมแล้วมาขอคืนเราก็ “ตาย” ดังนั้น สำหรับผมแล้ว กรณีของหุ้นเดลต้าก็ไม่ต้องสนใจที่จะเข้าไป “หาเงินจากความผิดพลาดของตลาด” แต่แค่เอาไว้ศึกษาว่าความคิดของเราถูกต้องไหม แค่นั้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ทุกวันนี้พยายามลงทุนบนหลักพื้นฐานของเหตุผล
หลายๆ เหตุการณ์อาจจะทำให้ตัวเองดูโง่
และผลตอบแทนดูอ่อนด้อย
แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่ทำให้อยู่รอดปลอดภัย
และยังสามารถลงทุนอยู่ได้ในตลาดต่อไป
ขอขอบคุณ อ.นิเวศน์
ถึงผมจะไม่เคยเรียนกับ อ.
แต่ชีวิตช่วงหลังเริ่มต้นวัยทำงาน
ได้รับว่าความรู้ และอิทธิพลทางความคิด
จาก อ. ในหลายด้าน
จากเด็กที่เคยทรัพย์จาง
กู้ กยศ. มาเรียน
เดินทางมาไกลจนแทบไม่เคยคิดว่าจะเดินทางมาถึง
หลายๆ เหตุการณ์อาจจะทำให้ตัวเองดูโง่
และผลตอบแทนดูอ่อนด้อย
แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่ทำให้อยู่รอดปลอดภัย
และยังสามารถลงทุนอยู่ได้ในตลาดต่อไป
ขอขอบคุณ อ.นิเวศน์
ถึงผมจะไม่เคยเรียนกับ อ.
แต่ชีวิตช่วงหลังเริ่มต้นวัยทำงาน
ได้รับว่าความรู้ และอิทธิพลทางความคิด
จาก อ. ในหลายด้าน
จากเด็กที่เคยทรัพย์จาง
กู้ กยศ. มาเรียน
เดินทางมาไกลจนแทบไม่เคยคิดว่าจะเดินทางมาถึง
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
นี่เป็นกรณีที่แปลกมาก ที่แทบจะหาคำอธิบายไม่ได้เลยว่า ทำไมราคาหุ้นและมูลค่าหุ้นของ DELTA ถึงได้ดีดตัวขึ้นไปสูงขนาดนั้น และราคาก็ยังค้างอยู่ได้มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว จนผมก็เริ่มสงสัยแล้วว่า ยังมีอะไรที่เราไม่รู้หรือคิดไม่ถึงอีกหรือเปล่า อย่างไรก็ตามผมก็ยังเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว ราคาต้องปรับตัวลงอีกพอสมควรแน่ๆ เพื่อพิสูจน์และทำในสิ่งที่เชื่อ ผมจึงได้ Short Single Stock Future ของ DELTA จากที่ผ่านมาก็แค่ติดตามห่างๆ ดูราราคาผ่านๆ กลายเป็นทุกวันนี้ นั่งจ้องดูการเคลื่อนไหวของราคาเกือบทั้งวัน สุดท้ายผลจะเป็นอย่างไร ก็เริ่มไม่แน่ใจ แต่คงจะรู้สึกเสียดาย ถ้าไม่ได้เข้าสู่สมรภูมินี้
-
- Verified User
- โพสต์: 97
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
จุดนี้คิดว่าตัว Tesla มี network effect ครับ เช่น การที่รถ Tesla แต่ละคันนั้นเท่าตัวเป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทุกครั้งที่มีการใช้งาน เกิด Data มหาศาลครับ เช่นเอาไปเป็น Input ไว้ Train Neural network ให้ AI ทำงานได้แม่นยำมากขึ้นใน Auto Pilot ซึ่ง Tesla ก็เริ่มเก็บข้อมูลพวกนี้ก่อนหน้าเจ้าอื่นๆมาหลายปี แล้วยิ่งมีรถTesla ออกมาบนถนนมากเท่าไหร่ ข้อมูลก็ยิ่งมากๆเรื่อยๆ จนคู่แข่งตามทันยากครับThai VI Article เขียน: ↑อาทิตย์ ม.ค. 17, 2021 12:22 pm....อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตเสียเปรียบก็คือ มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “Network Effect” นั่นก็คือ คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันได้เสมอตราบที่สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน.....
ไม่ได้หมายความว่าหุ้น Tesla ราคาเหมาะสมนะครับ มันแพงมากๆๆๆตามที่อาจารย์ว่าไว้เลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
เห็นด้วยครับ ขอเสริมคือTesla robotaxi ถ้าเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้จริงๆก็คงมีnetwork effectได้ และอีกอย่างที่คนยังไม่ค่อยพูดถึงกันแต่ว่าelon muskตั้งเป้าไว้แล้ว คือการทำให้tesla energyกลายเป็นgiant distributor of global utilityผ่านการขายtesla solar, powerwall, autobidder software โดยการให้ลูกค้าที่ซื้อจากteslaสามารถเปลี่ยนจากพึ่งพาไฟฟ้าจากtraditional gridที่มีการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากส่วนกลาง ให้กลายเป็นdecentralized energy generation ให้consumerแต่ละคน(บ้านแต่ละหลัง ตึกแต่ละตึก)สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้ได้เองและอาจถึงขั้นให้consumerแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าด้วยกันเองได้ ถ้าการdecentralized energy generationมันใหญ่มากถึงจุดหนึ่งก็อาจจะเป็นnetwork effectได้ เพียงแต่ธุรกิจของteslaมันอาจจะไม่ใช่ประเภทธุรกิจที่มีzero marginal expansion costเหมือนกับเวลาบริษัทsoftwareสเกลทีเร็วมากๆได้เท่านั้นเองarmchakorn เขียน: ↑อาทิตย์ ม.ค. 17, 2021 6:32 pmจุดนี้คิดว่าตัว Tesla มี network effect ครับ เช่น การที่รถ Tesla แต่ละคันนั้นเท่าตัวเป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทุกครั้งที่มีการใช้งาน เกิด Data มหาศาลครับ เช่นเอาไปเป็น Input ไว้ Train Neural network ให้ AI ทำงานได้แม่นยำมากขึ้นใน Auto Pilot ซึ่ง Tesla ก็เริ่มเก็บข้อมูลพวกนี้ก่อนหน้าเจ้าอื่นๆมาหลายปี แล้วยิ่งมีรถTesla ออกมาบนถนนมากเท่าไหร่ ข้อมูลก็ยิ่งมากๆเรื่อยๆ จนคู่แข่งตามทันยากครับ
ไม่ได้หมายความว่าหุ้น Tesla ราคาเหมาะสมนะครับ มันแพงมากๆๆๆตามที่อาจารย์ว่าไว้เลยครับ
ตอนนี้ก็ ราคาโคตรแพงอย่างที่ดร.ว่านะแหละครับ
- odin
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
เคยอ่านในหนังสือ ของ อ.ฟิลลิปส์ ฟิชเชอร์ บอกไว้ว่า
“ตลาดจะมีพฤตกรรมนึง ซึ่งจะแบ่งแยกหุ้นออกเป็นสองกลุ่มตามภาพพจน์ของมัน
คือ กลุ่มที่มีภาพพจน์ดี ได้รับความนิยม และ กลุ่มที่ภาพพจน์ไม่ดี ตลาดจะละเลย
หากเราสามารถพบเจอหุ้นที่มีคุณภาพกิจการดีและขณะนั้นภาพพจน์ไม่ดี
หากเราได้ซื้อไว้และถือมันไว้ เมื่อผลงานของหุ้นนั้นดีขึ้น ตลาดจะให้ภาพพจน์กับมันใหม่ และราคามันจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาพพจน์ที่ดีขึ้นนั้น”
บางทีการลงทุนมันมักทำให้เราสับสน ต้องฝึกจิตใจให้มั่นคง
“ตลาดจะมีพฤตกรรมนึง ซึ่งจะแบ่งแยกหุ้นออกเป็นสองกลุ่มตามภาพพจน์ของมัน
คือ กลุ่มที่มีภาพพจน์ดี ได้รับความนิยม และ กลุ่มที่ภาพพจน์ไม่ดี ตลาดจะละเลย
หากเราสามารถพบเจอหุ้นที่มีคุณภาพกิจการดีและขณะนั้นภาพพจน์ไม่ดี
หากเราได้ซื้อไว้และถือมันไว้ เมื่อผลงานของหุ้นนั้นดีขึ้น ตลาดจะให้ภาพพจน์กับมันใหม่ และราคามันจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาพพจน์ที่ดีขึ้นนั้น”
บางทีการลงทุนมันมักทำให้เราสับสน ต้องฝึกจิตใจให้มั่นคง
“Compound interest is the eighth wonder of the world. He who understands it, earn it ; he who doesn’t, pays it.”
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 3530
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เดลต้า VS เทสลา/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #