ปริศนาการลงทุน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

แล้วความเสี่ยงล่ะ

โพสต์ที่ 91

โพสต์

ผมว่านอกจาก expected value ที่ 10*0.5-5*0.5 = 2.5 ตามทฤษฏีแล้ว
ผมว่าเราน่าจะดูเรื่องความเสี่ยงหน่อยนะครับ

ดูว่า return ที่ได้เมื่อเทียบกับความเสี่ยงมันมากน้อยขนาดไหน แล้วเรารับได้รึเปล่า (ใช่พวก Sharp Ratio, หรือพวก Information Ratio รึเปล่านะ... จำไม่ค่อยได้ซะด้วยสิ)

แต่สำหรับ VI พันธุ์แท้... ผมว่าคำตอบจากโจทย์ข้อนี้ไม่น่าจะสำคัญเท่ากับคำถามที่ว่า Value บริษัทนี้มันเท่ากับเท่าไหร่ นา...
prin
Verified User
โพสต์: 133
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 92

โพสต์

อิอิ...ปริศนา ของคุณสุมาอี้ ชักจะถูกโยงเข้าเรื่องจริงของการลงทุนแล้วครับ
เมื่อเข้าสู่เรื่องจริง ก็ยิ่งหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะจะเริ่มมีปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกควบคุมเข้ามาอีกตรึม

คุณสุมาอี้ ได้ให้ข้อมูลว่า...
ต้นทุนยานั้นเป็นต้นทุนเม็ดยาประมาณ 1% อีก 99% เป็นทุนวิจัย

บริษัทต้องลงทุนทำ Clinical Trial Phase I, II, III เป็นเงินประมาณ 12000 ล้านบาท เพื่อพิสูจน์ให้ FDA เห็นว่ายาไม่มีอันตราย ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่ใช้หมดไปกับค่าตอบแทนมนุษย์ที่มาทดลอง

เฉพาะยาที่ผ่าน Phase III ได้เท่านั้นที่จะเริ่มผลิตเม็ดยา ซึ่งมีแค่ 1% ของยาทั้งหมดที่ทดสอบ

ตอนแรกผมนึกว่า Amgen บริษัทด้าน biotech ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาคงมี products หลายตัว อาจจะสัก 100 ตัวมั้ง แต่ที่จริงแล้ว Amgen ทั้งบริษัทมี products ที่สร้างรายได้ให้บริษัทอยู่แค่ 5 ตัวเท่านั้น (แต่ละตัวยอดขายไตรมาสเดียวก็มากกว่า 12000 ล้านบาทแล้ว)

แต่ ณ ขณะหนึ่งๆ Amgen มียาที่รอผล Clinical Trial อยู่เป็นผูงๆ แต่ในจำนวนนี้จะมีแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นที่รอดจนผ่าน Phase III ได้

ธุรกิจอย่างนี้น่าลงทุนหรือเปล่า?

ผมคิดว่าทั้งหมดนี้ คือ ต้นทุน ต่อให้มากมหาศาลก็ตาม
ส่วนจะขายเท่าไร ก็ต้องมีกำไรที่คุ้มค่าอยู่ดี
อาวุธที่ร้ายแรง ต้นทุนที่สูง ยังทำขายได้
แล้วทำไมยารักษาโรค ต้นทุน(เท่าไรนะ?) ที่ช่วยมนุษย์โลกจะขายไม่ได้
ผมสรุปส่วนตัวเองว่า ยังคงน่าลงทุน ยิ่งมีคนทำน้อย ยิ่งน่าลงทุน
ผิดถูก ความเห็นผมคนเดียว  :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 93

โพสต์

บริษัทต้องลงทุนทำ Clinical Trial Phase I, II, III เป็นเงินประมาณ 12000 ล้านบาท
แต่ละบริษัทย่อมจะใช้เงินในจุดนี้แตกต่างกันและขึ้นอยู่กับประเภทของยาด้วย

แต่เอาหละสมมติว่า ใช้เงิน 12000 ลบ.จริง
เราก็ต้องมองต่อว่าสัดส่วนแต่ละเฟสก็ไม่ได้เท่ากันอยู่ดี เฟส I จะใช้น้อยกว่าและเฟส IIIจะใช้มากกว่า นี่ยังไม่รวมเฟส IV และ V และขั้นตอนในสัตว์ทดลองนะครับ

ผมจะเรียงลำดับในการผลิตยาแต่ละตัวนะครับ

เริ่มต้นที่ สัตว์เซลเดียว(รวมๆทั้งไวรัสแบคทีเรียและอื่นๆ)---->หลายเซล----> เซลซับซ้อน--->เยอะแยะ--->หนู--->สุนัข--->ลิง--->คน(เฉพาะคนนะครับที่เราเรียกว่า  Clinical Trial Phase I, II, III ,IV และ V)

ค่าใช้จ่ายจะเริ่มที่  เล็กน้อย--->มากขึ้น--->มากเรื่อยๆ--->มากมายมหาศาล  ถ้าเป็นกราฟก็จะเป็นรูป พาราโบลา หรือลำดับเรขาคณิต
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 94

โพสต์

คำถาม 1.

คุณคิดว่าการใช้เงินจำนวนเยอะมากในเฟส III นี้  ทำไปโดยมีความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จเพียง 50% หรือไม่

คำตอบ

ไม่มีทางครับ ถ้าบริษัทไหนฝืนทำก็เจ๊งลูกเดียวครับแต่ที่จริงถึงจะฝืนทำก็ทำไม่ได้เพราะกฏหมายไม่ให้ทำอยู่แล้ว  การที่จะทดลองในคนได้นั้นนอกจากจะต้องใช้เงินมหาศาลแล้วยังมีเรื่องจริยธรรมซึ่งจะต้องรับประกันความปลอดภัยด้วย  

ความน่าจะเป็นที่จะไม่เกิดอันตรายจะต้องสูงมาก  ผมไม่ทราบว่าตัวเลขจริงๆเป็นเท่าไหร่แต่ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 99%(เผลอๆตัวเลขนี้จะน้อยไปด้วยซ้ำ) ตัวเลข 50%ไม่มีทางจริงๆครับ  และแม้ในเฟส V เอง  ถ้าพบว่ามีผลข้างเคียงร้ายแรงเกิดขึ้น แม้จะพบแค่หนึ่งในแสนของประชากรที่ใช้ยา  ยาตัวนี้ก็จะถูกประกาศห้ามใช้ทันที และบริษัทมักจะเป็นฝ่ายเรียกเก็บจากตลาดคืนก่อนด้วยซ้ำไปเพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบและชื่อเสียงชองบริษัท

คำถาม 2.

แล้วในเฟส I และ II  โอกาสที่จะสำเร็จมีเพียง 50% ได้หรือไม่

คำตอบ

ไม่มีทางเช่นเดียวกัน(เฟส Iก็ทดลองในคนนะครับ)  แม้โอกาสที่จะสำเร็จอาจจะน้อยกว่าเฟส III แต่ก็อยู่ในระดับที่สูงอยู่ดีน่าจะใกล้ๆ 99%
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 95

โพสต์

คุณนันถามว่า
กลายเป็นอันนี้ นี่ดีหรือไม่ดีครับ


ผมว่าดีสุดยอดเลยครับ  เพราะถ้าเราซื้อที่ 13 บาท ความน่าจะเป็นที่จะขึ้นไปอีก 7 บาท ก็จะเป็น 100% (ตามเงื่อนไขของโจทย์หลังจากข่าวดีออกครับ)

โอกาสที่ราคาจะลงจากเดิมก็เป็น 0.00 % (ตามเงื่อนไขของโจทย์หลังจากข่าวดีออกเช่นเดียวกันครับ)

ซึ่งเท่ากับ

expected value = 7*1.0 - 0*0= +7
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 96

โพสต์

อืม....คำถาม 3. (ที่จริงโพสท์ไปก่อนแต่ไม่ติด ขอโพสท์เพิ่มครับ)

แล้วขั้นตอนไหนที่ความน่าจะเป็นไม่สูงนักที่อยู่ในช่วง 50%  

คำตอบ

ขั้นตอนแรกๆครับ อาจจะเป็นขั้นทดลองกับหนูหรือต่ำกว่า  แต่ขั้นตอนสัตว์เซลเดียวหลายเซลนั้นมีโอกาสสำเร็จน้อยมาก  น้อยกว่า 1% ด้วยซ้ำ เผลอๆทำหมื่นครั้งสำเร็จครั้งเดียวก็มี แต่เขาไม่ได้เดือดร้อนอะไร ถ้าไม่สำเร็จก็เพียงแต่โยนกระบะแบคทีเรียทิ้งเท่านั้นเองแล้วก็ลองตัวใหม่ไปเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายไม่ได้เป็นสัดส่วนที่มากมายอะไรในการลองแต่ละครั้ง ตรงนี้แหละครับที่เราเรียกหนวดกุ้งฝอยตกปลากระพง เขาถึงสามารถลองได้เป็นหมื่นๆแสนๆครั้งไงครับ  

ดังนั้นเงินวิจัยในส่วนที่ลงทุนหนักๆจึงไม่ได้ทำโดยที่มี โอกาสสำเร็จเพียง 50% แต่อย่างใด
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 97

โพสต์

งานวิจัยที่ผ่านหนูทดลองมีแล้วเท่านั้น บริษัทยาจึงจะลงทุนทำ Clinical Trials ครับ แต่ถึงกรองแล้วก็ยังมีโอกาสผ่านแค่ 1% เพราะ FDA โหดมากๆ มีข้อสงสัยว่าจะมีผลข้างเคียงที่อันตรายนิดๆ หน่อยๆ ก็จะตกไปเลย

ส่วนพวกที่ยังอยู่ใน lab หนูนั้น มีโอกาสผ่านอาจจะแค่ 1 ใน 10000 หรือ 1 ใน 100000 เท่านั้นเอง


อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เช่นกัน ปีหนึ่งมีหนังไทยเข้าฉาย 50 เรื่อง ขาดทุน 42 เรื่อง กำไร 8 เรื่องเท่านั้น ในจำนวนนี้มีที่กำไรมากๆ 2 เรื่อง ความน่าจะเป็นจึงแค่ 15% เท่านั้น

สังเกตว่าอเมริกาแข็งเรื่อง ยา และ ภาพยนตร์ เพราะตลาดทุนของอเมริกามีพัฒนาการสูงกว่าชาติอื่นมาก โครงการที่เสี่ยงสูงเหล่านี้จึงหานายทุนได้ ทำให้ประเทศอื่นตามไม่ทัน ทั้งที่บุคลากรก็เก่งเท่าๆ กัน
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 98

โพสต์

เห็นด้วยเลยครับว่าเรื่องอุตสาหกรรมภาพยนต์นั้นเขาเสี่ยงที่จะสร้างแม้โอกาสที่จะทำกำไรสูงๆจะมีน้อย  แต่ก็ยังทำ อาจจะเป็นเพราะใจรักด้วยกระมังครับ

บางคนขอให้ได้ทำแม้จะขาดทุนก็ยอม(เอากะเขาดูสิ) เลยเป็นเหตุให้บริษัททำหนังในบ้านเราไม่ค่อยโตได้มากนัก จะหวังโตเคียงบ่าเคีบงไหล่ระดับโลกนั้นยากมาก หรือเขาอาจจะชอบลุ้นก็ได้ แบบว่าถ้าสำเร็จก็รวยไปเลย ถ้าจนก็สู้ใหม่ หรือเขาอาจจะเชื่อมั่นในแนวคิดตนเองมากๆซึ่งทำให้เขาลำเอียงเข้าข้างตัวเองโดยไม่รู้ตัวก็มีเยอะซึ่งเจอได้บ่อยๆสำหรับคนหัวศิลป์

ที่จริงจะโทษเขาก็ไม่ถูกเสียทีเดียวเพราะการทำวิจัยเกี่ยวกับหนังไม่ค่อยได้ผลที่น่าพอใจมากนัก  เพราะว่าไม่ใช่ศาสตร์ตรงๆที่จะวัดเป็นตัวเลขเป๊ะๆ  แต่เป็นศิลป์เสียเยอะ เป็นความชอบไม่ชอบซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในชั่วค่ำคืนเดียว  ปีที่แล้วเคยชอบแนวนี้  คาดว่าปีนี้น่าจะชอบคล้ายๆเดิม  อ้าว.....พอสร้างเสร็จหันไปชอบหนังเกาหลีแทนซะเนี่ย.......เอาใจยากจริงๆ

แต่ก็เอาใจช่วยคนทำหนังครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4549
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 99

โพสต์

กระทู้ดีๆแบบนี้  ขอเซฟฟฟฟฟ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 100

โพสต์

ขอบคุณที่ขุดมาครับ  :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nstar
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

ปริศนาการลงทุน

โพสต์ที่ 101

โพสต์

ขอบคุนเช่นกันครับ
การวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการวางแผน

การวางแผนเป็นรากฐานของความสำเร็จ

แต่หากปฏิบัติตามแผนโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์แล้ว

เมื่อนั้นคงไม่สามารถก่อเกิดความสำเร็จได้