เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 782
ถ้าเข้าใจไม่ผิด ตอนที่เขียนน่าจะหมายถึง ฌาน 4 ขึ้นไปจนถึงอรูปฌานทั้งหมด แต่อรูปฌานใดๆ จริงๆ แล้วในหลายๆ ตำราก็รวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของฌาน 4 เพราะมีองค์เท่ากัน" ยิ่งเข้าถึงสภาพที่สงบลุ่มลึกลงไปได้มากเท่าไร สภาพความพร้อมของจิตที่ออกจากสมาธิ แล้วเอาจิตนั้นๆ ไปใช้งาน ยิ่งมีกำลังที่แตกต่างกันตามลำดับขั้น ระดับขั้นที่จิตพอที่จะเป็นอิสระจากอคติ คือ สมาธิในระดับขั้นที่เรารับรู้ถึงตัวจิตได้อย่างชัดเจน โดยเป็นอิสระจากทางกายโดยสมบูรณ์แล้ว กล่าวคือ สภาพของสมาธิที่ไม่สนใจกายแล้ว ทิ้งกาย เหลือแต่จิต "
.
ขออนุญาตถามคุณตี่ และ พี่ๆ เพื่อนๆทางธรรมที่มีประสบการณ์ ดังนี้ครับ
1. "สงบลุ่มลึก" ในที่นี้น่าจะหมายถึง "อัปปนาสมาธิ" หรือ "ฌาน 4" ใช่หรือไม่ครับ
สภาพใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาก็มีความดับไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา อุปสรรคใหญ่ที่สุด คือ เรายังเป็นฆราวาสอยู่ อุปสรรคของความเป็นฆราวาส คือ ความวุ่นวายในชีวิต ที่ยังมีขยะ ของเสียอยู่เยอะ และยังรับเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น ทำให้แม้ว่าในช่วงที่วิเวกออกมาฝึกอย่าจริงจัง จนสามารถเข้าสมาธิที่ลึก ทรงได้นาน แต่เมื่อกลับมาใช้ชีวิตที่วุ่นวายมากๆ ตามประสาฆราวาส สิ่งที่ได้มาก็เสื่อมไปเป็นธรรมดา2. รบกวนช่วยเล่าประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติ ขวากหนามที่พบเจอ และกำลังใจที่ทำให้ก้าวผ่านจนเข้าใกล้ หรือสำเร็จ สมาธิระดับลุ่มลึกนี้ครับ
ถ้าจะเข้าถึงเพื่อให้รู้ในความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตแต่ละประเภท เพื่อจะได้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด เป้าหมายนี้ก็โอเคที่จะลองออกไปวิเวกปฏิบัติหลายๆ เดือนดู
ถ้าเราไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่วิเวก สงบ มีเครื่องอยู่มาเหมาะสมจริงๆ ในระยะเวลาที่นานพอ ผลลัพธ์มันก็เกิดเองตามธรรมชาติ อุปสรรคที่มีทั้งหมดโดยส่วนใหญ่ คือ เราอยากที่จะได้มากกว่าที่เราทำ เราฝืนธรรมชาติความเป็นจริงที่ว่า ทำน้อยได้น้อย ทำมากได้มาก
ความอยากที่ทำน้อยได้มาก นี่แหละอุปสรรค
เอาไว้ทำมากแล้วได้น้อยค่อยถามถึงเทคนิค วิธีการ แต่ตราบใดที่ยังทำน้อยอยู่ อยากจะได้ super productive หรือทางลัด หนทางสายนี้ไม่มีอยู่ในโลกของการปฏิบัติครับ
ทาง วิธีการทุกอย่างมีอยู่แล้ว อุปสรรคมีแค่อย่างเดียว คือ ไม่มีศรัทธาหรือแรงบันดาลใจ ที่จะสละโลก ออกจากโลกไปทำจริงๆ ให้สำเร็จ
คนแต่ละคนสร้างเหตุ มาต่างกัน มีจริต มีความเหมาะสมกับครูบาอาจารย์ หรือ เครื่องมือแตกต่างกันไป สิ่งที่เหมาะกับผม อาจไม่เหมาะกับคุณ สิ่งที่ผมใช้อยู่ทุกวันนี้อาจจะยังไม่เหมาะกับผมที่สุด และจะมีสิ่งที่เหมาะสมกับผมมากกว่านี้ในอนาคต3. ช่วยชี้แนะแนวทาง เทคนิคการปฏิบัติ และการวางใจ สำหรับผู้สนใจปฏิบัติให้ได้ผล
4. ช่วยชี้แนะสื่อ คลิป คำสอน ครูบาอาจารย์ หรือ มีสถานปฏิบัติธรรมที่มุ่งเน้นสอนด้านนี้แนะนำมั้ยครับ
ในฐานะผู้ปฏิบัติ ผู้ศึกษา ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าที่จะแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด ประกอบกับพระที่ประพฤติดีประพฤติชอบในยุคนี้มีน้อยลงๆ ตามพัฒนาการของโลก โยนิโสมนสิการจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่พระพุทธเจ้าได้ให้เอาไว้
โอกาสในยุคนี้ต่างจากยุคก่อน คือ เราสามารถเข้าถึงความรู้ที่มีคนถ่ายทอด ตลอดจนมีพระไตรปิฎก มีความสามารถในการ search ที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต โยนิโสมนสิการ จึงมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก
ทดลองศึกษา ทดลองทำ อย่าพึ่งปักใจเชื่อด้วยหลักกาลามสูตร และใช้โยนิโสมนสิการดูว่า วิธีการที่เราทำอยู่นี้ ทำให้กุศลเกิดขึ้นในจิตของเรามากขึ้นไหม อกุศลในจิตของเราลดน้อยลงไหม เรามีเครื่องมือในการเจริญกุศล และในการละและระวังป้องกันอกุศลไหม ถ้าศึกษา ทดลองทำแล้วดีก็ทำต่อ ถ้ายังไม่ใช่ก็อาจจะต้องลองเปลี่ยนวิธี ลองศึกษาวิธีอื่นดู
เราต้องมีความเชื่อในกรรม ว่าเหตุที่เราทำมา จะนำไปสู่แนวทางที่ให้เราไปทำต่อ ให้สังเกตความรู้สึกทางใจตัวเองดีๆ ว่าความรู้สึกจากภายในว่าทางที่ทำมันใช่ไหม ถ้าเราสั่งสมเหตุมา ยังไงมันก็จะมีหนทางที่จะทำให้เราได้เจอกับทาง และทำให้เราพ้นจากสิ่งที่ไม่ใช่ทาง
ทุกครั้งที่ไหว้พระพุทธ กราบพระพุทธ สวดอิติปิโส มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ก็กำหนดทิศทางของใจตัวเอง ที่จะมุ่งชีวิตไปสู่คุณงามความดี ถ้าจะอธิษฐานก็ให้ขอแค่ให้ได้พบกับทางที่เหมาะกับเรา ที่เราจะมีศรัทธา และมีความเพียร ที่เราจะเอาเป็นที่พึ่งในชีวิต
ทำไปเรื่อยๆ วันใดวันหนึ่ง หากยังไม่พบทางก็จะได้เจอกับทาง หากยังไม่มีศรัทธาก็จะเกิดศรัทธา
ที่สำคัญที่สุด ระวังหลงไปกับสมถะสมาธิ สมถะเป็นสิ่งที่ดีหากมีทัศนคติที่ถูก แต่ถ้ามีทัศนคติที่ผิด เห็นว่าผลของสมถะเป็นสุขอันปราณีต ที่น่าหลงไหล น่ายึดน่าถือ อันตรายก็จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ เพราะ เวลาหลงไปกับสมาธิแบบปราศจากสติ ปราศจากความเข้าใจที่ถูก มันจะไปแบบกู่ไม่กลับ และยิ่งจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริง
เป้าหมายของการเจริญสมถะ ควรเป็นไปเพื่อให้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เห็นว่าสิ่งต่างๆ ไม่เที่ยงมีความดับไปมีธรรมดา เห็นว่าสิ่งต่างๆ เป็นทุกข์มีความบีบคั้น ทนอยู่ได้ยาก และเมื่อเห็นว่าสภาพสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงเช่นนี้อยู่เนืองๆ ว่าสภาพใดๆ ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น หาตัวหาตนที่แท้จริงไม่ได้ สมควรแล้วหรือที่จะสำคัญว่าสิ่งนั้นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
สุขสุดยอดที่สุดของเราที่เคยเจอ ก็เป็นของชั่วคราว ที่เกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็ดับไป จะให้มันเกิดขึ้นอีกเหมือนเดิม เท่าเดิม แบบเดิม ก็ไม่ได้ และความพยายามที่จะทำให้มันเกิดขึ้นอีก ก็นำมาซึ่งทุกข์อีกเป็นกระบวน
สภาพความมั่งคั่ง ที่เรามีอยู่ก็เป็นของชั่วคราว มีขึ้นก็มีลง ไม่ถูกพรากจากเราในวันนี้ ก็ต้องถูกพรากจากเราไปแน่ๆ ในวันที่เราตายจากโลกนี้ไป แต่เราใช้เวลาของชีวิตหมดไปกับการดูแล รักษา สิ่งที่เรามีเอาไว้ให้นานที่สุด มากที่สุด ทั้งๆ ที่วันหนึ่งเราก็ต้องทิ้งมันไปอยู่ดี
แม้แต่สภาพจิตที่เป็นสมาธิที่เป็นสุขปราณีต ตั้งมั่น กว้างขวาง ผุดผ่อง ก็เป็นสภาพชั่วคราว เมื่อมีเหตุให้เกิดมันก็เกิด เมื่อเหตุดับมันก็ดับ และหากไม่มีเครื่องมือและความเพียรระวังป้องกันที่ดี มันก็พร้อมที่จะไหลลงสู่ที่ต่ำ จากจิตสะอาด เบา ผุดผ่อง ก็สามารถกลับกลายไปเป็นจิตดำมืด สกปรก มืดมน ตามเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนไป
เมื่อเห็นทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็ควรแล้วไหมที่จะเบื่อหน่ายกับทุกข์ เมื่อเบื่อหน่ายกับความทุกข์มากๆ เข้า ก็คลายความทะยานอยากที่จะได้สุข เมื่ออยากที่จะหายทุกข์จึงมีเพียรที่จะดับกิเลส เมื่อพยายามดับกิเลส ตัดกิเลสทุกครั้งที่เกิดขึ้น ก็สามารถสละคืนกิเลสตัวนั้นๆ ให้หลุดจากใจ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 783
อนุโมทนากับคุณ Picatos ด้วยนะครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
-
- Verified User
- โพสต์: 181
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 784
ขอบคุณคุณตี่มากครับ ที่ช่วยตอบปัญหา และตักเตือนถึงการฝึกสมาธิครับ
ผมผู้มาใหม่ เริ่มต้นศึกษาธรรมะได้ไม่นานนัก ยังอยู่ในช่วงค้นคว้าหาครูบาอาจารย์ หาแนวทางปฏิบัติ ทดลองปฏิบัติ ลองผิดลองถูกอยู่ครับ ช่วงแรกๆอาจค้นเจอครูบาอาจารย์ที่บรรลุธรรมแบบใช้สมถะนำหน้าทำให้ผมโน้มเอียงสนใจ และสงสัยไปทางด้านสมาธิครับ แต่ข้อมูลที่ค้นพบมักกล่าวว่า การฝึกสมาธิให้ได้ถึงอัปปนาสมาธินั้นไม่ใช่ของง่าย ขึ้นอยู่กับบุญวาสนาเก่าที่สะสมไว้ด้วย อีกทั้งอาจหลงในสมาธิ และ เจริญแล้วก็ยังเสื่อมได้ เหมือนดั่งที่คุณตี่เตือนไว้เลยครับ
แนวทางปฏิบัติธรรมที่กล่าวถึงกันมาก และเหมาะกับยุคสมัยในปัจจุบัน ที่ผู้คนเป็นสังคมเมือง ชีวิตค่อนข้างวุ่นวาย คือ การเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ หรือเรียกว่า สติปัฏฐาน๔ (บ้างก็เน้นคำว่า “รู้สึกตัว” บ้างก็เน้นการ “ดูจิต”) ซึ่งในปัจจุบันผมก็เริ่มย้อนกลับมาศึกษา และทดลองปฏิบัติบ้างแล้วครับ (จะว่าไปแล้ว คอร์สปฏิบัติธรรมครั้งแรกผมก็เป็นแนวนี้ครับ แต่ผมยังงงงง ปฏิบัติไปปฏิบัติมาเกิดสมาธิ ได้ปิติมา เลยเขวไปเรื่องสมาธิครับ)
หากคุณตี่ พี่ๆ เพื่อนๆ มีคำแนะนำใดๆสำหรับนักปฏิบัติธรรมมือใหม่ รบกวนฝากชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
สารคดีชีวประวัติ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
https://www.youtube.com/watch?v=eUs8WRmleZo&t=1714s
สารคดีชีวประวัติ อ.กำพล ทองบุญนุ่ม ชุด การเดินทางครั้งสุดท้าย
https://www.youtube.com/watch?v=x1t1hrbp9gI&t=1580s
คำถามยอดนิยมและคำตอบ โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
https://www.youtube.com/watch?v=4WuPRaj_2g8
ผมผู้มาใหม่ เริ่มต้นศึกษาธรรมะได้ไม่นานนัก ยังอยู่ในช่วงค้นคว้าหาครูบาอาจารย์ หาแนวทางปฏิบัติ ทดลองปฏิบัติ ลองผิดลองถูกอยู่ครับ ช่วงแรกๆอาจค้นเจอครูบาอาจารย์ที่บรรลุธรรมแบบใช้สมถะนำหน้าทำให้ผมโน้มเอียงสนใจ และสงสัยไปทางด้านสมาธิครับ แต่ข้อมูลที่ค้นพบมักกล่าวว่า การฝึกสมาธิให้ได้ถึงอัปปนาสมาธินั้นไม่ใช่ของง่าย ขึ้นอยู่กับบุญวาสนาเก่าที่สะสมไว้ด้วย อีกทั้งอาจหลงในสมาธิ และ เจริญแล้วก็ยังเสื่อมได้ เหมือนดั่งที่คุณตี่เตือนไว้เลยครับ
แนวทางปฏิบัติธรรมที่กล่าวถึงกันมาก และเหมาะกับยุคสมัยในปัจจุบัน ที่ผู้คนเป็นสังคมเมือง ชีวิตค่อนข้างวุ่นวาย คือ การเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ หรือเรียกว่า สติปัฏฐาน๔ (บ้างก็เน้นคำว่า “รู้สึกตัว” บ้างก็เน้นการ “ดูจิต”) ซึ่งในปัจจุบันผมก็เริ่มย้อนกลับมาศึกษา และทดลองปฏิบัติบ้างแล้วครับ (จะว่าไปแล้ว คอร์สปฏิบัติธรรมครั้งแรกผมก็เป็นแนวนี้ครับ แต่ผมยังงงงง ปฏิบัติไปปฏิบัติมาเกิดสมาธิ ได้ปิติมา เลยเขวไปเรื่องสมาธิครับ)
หากคุณตี่ พี่ๆ เพื่อนๆ มีคำแนะนำใดๆสำหรับนักปฏิบัติธรรมมือใหม่ รบกวนฝากชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
สารคดีชีวประวัติ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
https://www.youtube.com/watch?v=eUs8WRmleZo&t=1714s
สารคดีชีวประวัติ อ.กำพล ทองบุญนุ่ม ชุด การเดินทางครั้งสุดท้าย
https://www.youtube.com/watch?v=x1t1hrbp9gI&t=1580s
คำถามยอดนิยมและคำตอบ โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
https://www.youtube.com/watch?v=4WuPRaj_2g8
- Thai VI Officer
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 800
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 785
รายการ Money Talk - พลังจิตกับการลงทุน โดย คุณพศิน อินทรวงค์
https://www.youtube.com/watch?v=cXzv6_C ... e=youtu.be
https://www.youtube.com/watch?v=cXzv6_C ... e=youtu.be
ขอแสดงความนับถือ
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)