ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 151

โพสต์

ในตอนที่แล้ว ค้างเรื่อง ถ้าช่วงนี้ถือหุ้นเต็มพอร์ตแล้ว
ตลาดลงจะทำอย่างไร เรามาคุยกันต่อว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง
1. หุ้นขึ้นเมื่อวานกว่า30จุด แต่หุ้นของเราในพอร์ตทำไมไม่ขึ้นเลย มาเช็คดูปรากฏว่าหุ้นที่ขึ้น ส่วนใหญ่เป็นหุ้นโรงไฟฟ้า หรือ หุ้นที่โดนทุบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางเลือก คือ เราจะเข้าไปถือหุ้นโรงไฟฟ้าดีไหม ก่อนอื่นเราต้องวิเคราะห์ก่อนว่า หุ้นที่จะเข้าไปซื้อนั้น ราคาสมเหตุผลหรือไม่ ซึ่งหุ้นโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ตอนนี้ค่อนข้างแพง ถามว่าจะไปต่อได้ไหม ก็ต้องตอบว่า upside อาจยังไม่มี แต่ downsideมีเยอะกว่า หมายความว่า ความน่าจะเป็นที่จะลงมีมากกว่า ดังนั้น ถ้าตัดสินใจจะไปซื้อ ถามว่าเเล้วเราจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อ ก็มีทางเลือก คือ การขายหุ้นในพอร์ตบางตัวออกไป แล้วมาซื้อหุ้นที่ต้องการ หรือ กู้เงินจากโบรกมา โดยเอาหุ้นที่มีอยู่ค้ำไว้. แต่ ณ ขณะนี้ดูจะไม่เหมาะสม เพราะดูเสี่ยงเกินไป ดังนั้น การเปลี่ยนตัว น่าจะเป็นทางเลือกดีที่สุด โดยขายหุ้นที่ดูแล้ว ยังไงก็ไม่ฟื้น เพราะให้โอกาสมาหลายไตรมาสหรือหลายปีแล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนตัวอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่หุ้นที่เลือกต้องมีโอกาสขึ้นแรงๆด้วย เหมือนกับที่. อ โจ บอกไว้ว่า หุ้นที่เราขายลงแรงมาก จะมาเข้าหุ้นที่ขึ้นช้าๆ โอกาสจะคืนทุนก็ยาก ก็ต้องหาหุ้นที่ลงแรงๆ แต่ดูแล้วปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ เข้าไปถือแทน
2. อีกกรณีคือ หุ้นที่ถือขึ้นมาจนเกินเป้าหมายที่เรากำหนดแล้ว ก็อาจเป็นโอกาสในการเปลี่ยนตัวโดย ขายตัวที่เกินเป้าหมายไป และ ไปเข้าตัวที่ปัจจัยพื้นฐานดี แต่ตกหนักในช่วงนี้ ซึ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้น
3. ส่วนใครที่ลงทุนแบบจัดพอร์ตอยู่ สมมติว่า จัดพอร์ตหุ้น 70% ตราสารหนี้ 30% ตอนนี้สัดส่วนก็คงเปลี่ยนไป เพราะหุ้นลงไปต่ำกว่า70%ของพอร์ต เราก็สามารถเพิ่มหุ้นได้ โดยโยกตราสารหนี้ไปซื้อหุ้นแทน จนครบ70%ตามที่เรากำหนด ขอย้ำนะครับว่า สัดส่วนการถือหุ้นแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ตามความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต้องการ
4. ขอเสริมว่า ช่วงตลาดผันผวนอย่าอยู่บ้านคนเดียว พยายามพูดคุยกับเพื่อน หาหนังสืออ่านหรือเข้าคอร์ตสัมมนา หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาด้วยนะครับ
ใครมีกลยุทธ์อะไร สามารถแชร์กันได้นะครับ ในยามที่ตลาดไม่เป็นใจ เราต้องหมั่นศึกษาการลงทุนเพิ่มเติม และ ปรับให้เหมาะสมกับเรา เพื่อพอร์ตจะได้โตในยามที่ตลาดเป็นขาขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องระวังวิกฤตซึ่งกูรูหลายท่านก็บอกว่า ปีนี้มีโอกาสเจอด้วยนะครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 152

โพสต์

หลังตลาดหุ้นไทยลงไปต่ำกว่า 1500 จุด เริ่มจะต้องมองหาตลาดหุ้นประเทศอื่นบ้างแล้ว
พบว่าปีที่แล้ว ตลาดหุ้นจีน โดยเฉพาะตลาดหุัน A-Share สร้างผลตอบแทนสูง
เลยต้องมาศึกษากันครับ เผื่อเป็นทางเลือกในการลงทุน

Riding High in China with the Top China Fund
By Krungsri Prime

ภาพของปีที่แล้วไม่ค่อยจะดี มีแต่ข่าวร้าย
แต่NAV ของ กองทุนที่บลจKrungsri บริหารคือ KFAchina-A ขึ้นมา 51%

ย้อนเหตุการณ์ที่สำคัญที่ทำให้ตลาดผันผวนในปีที่แล้ว

1.ย้อนไป เมื่อ พค 62 สงครามการค้าเดือด และเกิดขึ้นตลอดทั้งปี2019
และสถานการณ์การค้า ทำให้คนกลัวเรื่องRecession เมื่อตอน เดือน สค

2.GDPของจีนใน Q3 ซึ่งประกาศตอน Q4 ประกาศว่าGDPต่ำสุดในรอบ21ปี
ล่าสุด เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ก็ ประกาศ GDPของจีน ใน Q4 จีนต่ำสุดในรอบ21ปี

3.ตราสารหนี้เริ่มมีdefaultในเดือน ธค 2019

แต่NAVของกองทุน กลับปรับขึ้นได้หลังลงหนักมาก่อนหน้า
NAVปรับขึ้นซึ่งมาจากผลประกอบการของบริษัท
หุ้นที่ถืออยู่ในกอง ได้แก่
1. Kweichow Moutai
2. Jiangsu Hengrui medicine
3. Ping An
4. Gree Electric
5. Wuliangye Yibin

ซึ่งบริษัทเหล่านี้ EPS growth มากกว่า 10% ในรอบ 9เดือน

ภาพใหญ่ศก จีน ถึงแม้ GDP โตต่ำสุดในรอบ 21 ปี
ประเทศที่ขนาดสูงสุดในโลก
ที่1 คือ US และ จีนเป็นอันดับสอง 13 ล้านล้าน $
ดังนั้นการเติบโตต่ำแค่6% แต่ขนาดGDPใหญ่มาก ก็ไม่ได้แย่

หนี้อยู่กับจีนมานาน
ปี18 จำนวนการdefaultใหม่ 38 บริษัท
แต่ปี19 ก็มี 35 บริษัทที่เพิ่มใหม่ แต่ไม่กระทบต่อตลาดหุ้น

สาเหตุหลักที่ผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น มาจากเจตนาของจีนพยายามลดหนี้
พยายามดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ
เมื่อก่อนใส่เงินเยอะ บริษัทก็กู้เงินง่าย ทำให้ระบบไม่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น บริษัทเหล่านี้ ขาดสภาพคล่อง ก็เลยทำให้ตราสารหนี้defaultไป

สงครามการค้า
ปีที่แล้วเป็นผู้ร้าย ประทุตั้งแต่ พค และ รุนแรงขึ้น มีการปรับภาษีวงกว้างมากขึ้น
ไม่รู้ว่าจุดพีค และ จบเมื่อไหร่ ในปีที่แล้ว แต่ปีนี้เป็นปัจจัยบวก เพราะผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว
ไม่เชื่อว่าสหรัฐจะขึ้นภาษีแบบนี้อีก แต่ก็อาจไม่แน่ว่าจะกลับมา
Phase II ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะคืบหน้ามาก ถึงแม้เจรจาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
Phase I ก้อนที่จะขึ้น 15%ก็ไม่ได้ขึ้น และ ก้อนที่ขึ้น15% ก็ลดไปครึ่งนึง
สรุปแล้ว มีแต่ดีขึ้น ไม่ได้แย่ลง

สมมติว่าถ้าขึ้นภาษีอีกรอบ ก็ไม่ได้กระทบโดยตรงกับหุ้นในพอร์ตของกองทุน
เพราะรายได้ 95%มาจากประเทศ แต่อาจกระทบทางอ้อม
ช่องสีแดง Net Export 2%ของGDP จีน แต่ที่เหลือเป็นการบริโภคและการลงทุน
ซึ่งกองนี้เน้นการบริโภคในประเทศ

Invert Yield Curve พูดบ่อยในปีที่แล้ว ถ้าไปถามresearch ระดับโลก
จะพูดว่ามีโอกาสเกิดrecession แต่ก็พูดเบาๆว่าอาจจะเกิด
แต่ปีนี้ พูดเสียงดังฟังชัด ว่า ไม่น่าจะเกิด recession

เราเห็นบริษัทที่ลงทุนเติบโตค่อนข้างดี ล้วนอยู่ใน new economy
บริษัทที่มีสินค้าที่ทันสมัย หรือ premium เป็นที่ต้องการของสังคม
สามารถเติบโตได้ดี
มาดูแต่ละsector ของธุรกิจจีน
SOE รัฐวิสาหกิจในจีน ไม่ค่อยมี ปสภ CAR 5%
Private Old economy เช่น พลังงาน ฟอสซิล CAR 19%
Private new economy CAR 30% เติบโตได้สูงมาก
ปัจจัยทำให้โตสำหรับ new china คือ consumption upgrade , Technology
Consumption upgrade เป็นการขายสินค้าที่แพงขึ้น เช่น จากกินมาม่า ก็มากินหม้อไฟแทน

China see explosive growth of millenaries (Asset > 1 M$)
จีน มีคนได้เป็น dollar millionaires เป็น 4,447,000 คนในปีที่แล้ว จากเดิม 38,000 คน ในปี2010
แสดงว่าคนจีนรวยขึ้น
อัตราการเพิ่มขึ้น มีเร็วและแรงมาก 65sec เกิด millionaires 1 คน
คนที่รวยขึ้น ก็ต้องใช้จ่ายมากขึ้น
ตลาดสินค้า Luxury 2012 สัดส่วนคนจีนไปซื้อ 19%
ผ่านไป 8 ปี ตอนนี้กลายเป็น 35%
และปี 2025 คาดว่า จะเป็น 40%ของ millionaires

เพื่อนเคยเล่า สมัยก่อน คนรวยจะซื้อสินค้ามาอวด เป็นสินค้าbrand name , Logo ใหญ่
ต่อมาเน้นสุขภาพ เช่น เสื้อราคา7000บาท หรือ หมอนสุขภาพราคาหลายหมื่น
คุ้นว่าน่าจะเป็นทีน่าเล่านะ 555

ตลาดเหล้าราคาถูก จะโตติดลบ แต่ตลาดpremiumจะเติบโตดี ราคาขวดละหมื่นยิ่งขายดี
นี่คือภาพของ consumption upgrade

Shopping online: Alibaba
เมื่อก่อนจัดวันที่ 11.11 หรือวันคนโสด จัดทุกปี และ ทำลายสถิติทุกปี
ปีที่แล้ว 11/11/2019 ยอดขายในวันเดียว 1,100,000 ล้านบาท หรือเทียบกับยอดขาย 7-11 ใน4ปี

Technology จีนเป็นผู้นำด้านนี้ไปแข่งกับสหรัฐ สิทธิบัตรก็ปรับตัวสูงขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องย้อนมาหลายปีที่ส่งเสริมคนไปเรียนวิทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
ตอนนี้เยอะสุดในโลก และ สมองเริ่มไหลกลับมาจีน เพราะจ่ายเงินได้สูงขึ้น

ไทยมีการประมูล 5Gในปีนี้ และหลายประเทศเริ่มประมูลและวางโครงข่าย
5G อันดับหนึ่งคือจีน

สองเดือนที่แล้ว จีนได้พัฒนา 6G แล้ว แน่นอนว่าอาจใช้เวลา 7-10ปี
แต่ประเทศอื่นพึ่งเริ่มวางโครงข่ายเอง
อยากให้เห็นวิสัยทัศน์ของจีน ทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น

Ping An ทุ่มงบไปใช้ระบบ Block Chain 22,000 M$ ซึ่งเป็นภาพสะท้อน
ให้เห็นว่า Tech กระจายไปอยู่หลายsectorแล้ว

ตัวอย่างการใช้จ่ายผ่าน QR Code ที่จีน ขอทานรับ QR codeแล้ว
ตอนนี้มีบางร้านค้า ใช้สแกนใบหน้าเพื่อจ่ายเงินด้วย

จีนมีหลายตลาดหุ้น เช่น เซี่ยงไฮ้ เซิ่นเจิ้น หรือ US
A-share จะรวม เซี่ยงไฮ้ และ เซิ่นเจิ้น ซึ่งรวมบริษัท new china ค่อนข้างเยอ
ถ้าลงทุนในจีน ก็ควรลงทุนใน A-share ซึ่งสองตลาดนี้ ติดหนึ่งในสิบตลาดที่มีmarket cap
ถ้ารวมสองตลาดจะใหญ่เป็นอันดับสองของโลกแล้ว
ตอนนี้ MSCI EM เพิ่มสัดส่วนในการลงทุนในA share 20%
และ ค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ
แสดงว่า Fund Flow ก็ไหลเข้ามาเรื่อยๆ แต่ตอนนี้คิดเป็น 7% มีupsideไหลเข้าได้อีกเยอะ
นอกจากนี้ยังมีกองทุนทั่วไปที่ไปลงทุนในจีนได้
จีนก็พยายามเปิดประเทศ และ จะออกกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลให้มีความโปร่งใส

นี่คือเสน่ห์ของตลาดหุ้น A-share

ตราสารหนี้ตอนนี้อยู่ในระดับสูง และ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพมีความหลากหลายก็ต้องเลือก
ปีที่แล้วขึ้นไป 51% แพงไปหรือเปล่า
มาจากตลาดขึ้น 20กว่า% และ มาจากฝีมือผู้จัดการกองทุน 20%กว่า
PE ratio ปีที่แล้วเริ่มจาก 9 เท่ากว่าในต้นปี 2019
พอขึ้นมาเรื่อยๆ PE 12.5 เท่า เมื่อวานลง 8% PE 12 เท่า
ซึ่งยังขึ้นมาน้อยเมื่อเทียบกับ PE ในอดีต

จากรูป Equity Market : PE Ratio
A-share PE ต่ำกว่าตลาดหุ้นอื่น แค่ขึ้นเป็น 16-17 เท่า ก็พอแล้ว จากอดีตเคยขึ้นถึง 22 เท่า

ตลาดหุ้นถูกแพง ดูที่ PE Ratio
เพราะตลาดหุ้น กำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นก็สามารถเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งPE Ratio ก็จะเท่าเดิม
แต่ถ้ากำไรของตลาดหุ้นทำกำไรได้ 5% แต่ราคาหุ้น ขึ้น 10% แสดงว่า PE จะขยับเพิ่มขึ้น
ปีที่แล้ว หุ้นส่วนใหญ่ของ A-Share กำไรของบริษัทเติบโตทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 153

โพสต์

Investment Themes & Outlook for 2020
Win Phromphaet ,Principle Asset Management

คุณวินมาพูดถึงThemes ในการลงทุนปี 2020 ไว้ว่ามีทั้งหมด 4 หัวข้อ ได้แก่
1.Risk Velocity
2.Technology
3.ESG
4.Asia Rising

ซึ่งวิทยากรจากต่างประเทศมาพูดถึงเนื้อหาของแต่ละหัวข้อ

1.Risk Velocity
คุณ Seema Shah Chief Strategist ของ Principal พูดถึง ภาวะที่ราคาสินทรัพย์กับทิศทางเศรษฐกิจไม่ไปด้วยกัน
ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนมากขึ้น และ ผันผวนด้วยอัตราเร่งที่สูงขึ้น นอกจากนี้ Fund Flow จาก ETFs มีส่วนทำให้ตลาดหุ้นผันผวนมากขึ้น
เช่น ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ตอนปี2018 ตลาดหุ้นไม่ดี แต่กำไรเติบโต แต่พอปีที่แล้ว ตลาดหุ้นดี แต่กำไรบริษัทจดทะเบียนเริ่มไม่ดี และต่อเนื่องถึงปีนี้

2.Technology
คุณ Sunita VP จาก BlackRock ได้พูดถึงโอกาสในการลงทุนว่า
เนื่องจากปี 2018เป็นปีแรกที่คนใช้internetมากกว่า50%ของประชากรโลก
และ 75% fastmove เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่หน้าจอมือถือ
พร้อมกับ อุปกรณ์ที่ต่อกับinternet ก็พร้อมมากขึ้น และ
ส่วนของHealth care service คนแก่เยอะขึ้นและสุขภาพไม่ดี
ทำให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น

3.ESG นักลงทุนทั่วโลกให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลมากขึ้น

สถาบันเริ่มให้ความสำคัญกีบเรื่องนี้มากขึ้น และเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้น

4.Asia Rising
ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะจีนและอินเดีย เคยเป็นผู้นำก่อน ปี 1980 และต่อมาเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความเป็นผู้นำย้ายมาที่ฝั่งตะวันตก พอปี2000 จีนและอินเดียเริ่มมีบทบาทมากขึ้น กำลังทวงคืนความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
ประธานาธิบดี สีเจี้ยนผิง ประกาศในวันรับตำแหน่งว่า จีนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2049 และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Robots,AI

นี่เป็นช่วงเปิดตัวThemesของทาง Principle เดี่ยวคราวหน้าจะมาเจาะลึกมากขึ้นว่ากองทุนไหนของPrincipleจะตอบโจทย์ในแต่ละThemeกันครับ

ขอขอบคุณ คุณวิน ที่ให้โอกาสมารับฟังข้อมูลที่เป็นประโยขน์ต่อการลงทุนนะครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 154

โพสต์

Portfolio Management มีส่วนช่วยในเรื่องผลตอบแทนอย่างไร
By Seminar Knowledge

ท่านทราบไหมว่า ปัจจัยอะไรส่งผลต่อความสำเร็จในการลงทุนของคนธรรมดาทั่วๆไป
เทคนิค จับจังหวะการลงทุน หรือ การเลือกหุ้นที่ดี ใช่ไหม
ถ้าเลือกปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ก็อาจจะประสบความสำเร็จได้ถ้าเป็นนักลงทุนที่เก่งมากๆ
แต่ถ้าเป็นนักลงทุนธรรมดา ปัจจัยทั้งสองอันมีผลน้อยมาก
การจัดสัดส่วนสินทรัพย์ในportfolio ให้เหมาะสมกับการลงทุนแต่ละท่านต่างหาก
ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุน มีส่วนในอัตรา91.5%เลยทีเดียว

Theme การลงทุนแบบ Risk Velocity ซึ่งคุณPanitiจากPrinciple มาพูดถึง
ผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ของAssetแต่ละอัน
เริ่มจาก Money Market ผลตอบแทนและความเสี่ยงต่ำสุด จนถึง
ทองคำ ผลตอบแทนและความเสี่ยงสูงสุด

การจัดสินทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญ
ตัวอย่างเช่น กบข ซึ่งทำหน้าที่บริหารเงินให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานตอนอายุน้อย ก็สามรถเลือกแผนที่มีสัดส่วนหุ้นได้เยอะ
เพราะรับความเสี่ยงได้สูง ผลตอบแทนก็สูงตามไปด้วย

แต่ถ้าอายุมากขึ้น ก็มีแผนที่สามรถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้โดยอัตโนมัติ
โดยสมาชิกแค่เลือกตั้งแต่แรก ทาง กบข จะดำเนินปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนโดยอัตโนมัติให้
เพราะได้ประสบการณ์จากตอนช่วงวิกฤต เดือน กย แต่คนที่เกษียณในเดือน ตค เงินหายไปเยอะ
เพราะเมื่อก่อน มีแผนการลงทุนแผนเดียว ถือหุ้นในสัดส่วนเกือบ10% ก็เลยถอนไม่ทันตอนเกษียณ

ทางPrincipleก็มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดสินทรัพย์ของกองทุนibalance
เมื่อก่อน จะมีแต่ลงทุนในหุ้น และตราสารหนี้
เป็นnew strategy เน้นลงทุนmulti asset โดยเพิ่ม หุ้นต่างประเทศ Reits ทองคำ เข้าไป
ทำให้ รักษาผลตอบแทนได้ดี แต่ความเสี่ยงลดลง
แต่ละสินทรัพย์ก็มีคุณสมบัติต่างกันดังรูป บางครั้งหุ้นตก ทองขึ้น บางครั้งหุ้นขึ้น ทองลง reitsขึ้น
ส่วนตราสารหนี้ความผันผวนก็น้อย ถ้าจัดสัดส่วนดีๆ ก็จะบดความผันผวนของกองได้

อีกกอง Target Date Fund ก็ให้ผลตอบแทนที่ดี โดยที่ความเสี่ยงและความผันผวนต่ำกว่า
กองทุนผสม

คราวหน้าจะมาเรียนรู้ในThemeถัดไป เพื่อจะได้นำมาใส่ในportได้อย่าวเหมาะสมครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 155

โพสต์

ONEAM Investment Forum 2020
“Investing in a Disrupted World”
งานนี้ต้องขอขอบคุณ คุณ Surasak Dhammo ที่เชิญมาฟังoutlookและข้อมูลที่น่าสนใจนะครับ
งานนี้อาหารว่างก่อนเข้าสัมมนา อร่อยมากครับ ดูแล้วน่าจะเป็นอาหารกลางวันมากกว่า
เพราะมีหลายอย่างให้เลือกทานครับ

เอาละมาเข้าเนื้อหากันครับ
คุณ พจน์ หะริณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ONEAM
มาพูดในหัวข้อ Market Outlook 2020 investing in a Disrupted World

คุณ พจน์ เกริ่นนำ ว่า สองต่ำ เปราะบาง ต้องกระตุ้น
สองต่ำ หมายถึง เศรษฐกิจโลกเติบโตต่ำ ปกติเฉลี่ย 4%ต่อปี คาดการณ์ปีนี้ 3.3%
ดอกเบี้ยต่ำ คงจะอยู่กับเราไปอีกนาน เพราะ ตอนนี้ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้QE
การเงินโลกอยู่ในภาวะผ่อนคลายและมีสภาพคล่องสูง มีส่วนสนับสนุน ศก ให้เริ่มฟื้นตัวขึ้น

เดือน มกราคม เหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นมายา ไม่ว่าจะเป็น การใช้โดรนไปถล่มอิหร่าน
หรือ ไวรัสโคโรนาที่ระบาดอย่างรวดเร็ว
ลองตรวจสอบดูเหตุการณ์ที่ผ่านมา
ระเบิดราชประสงค์ ดัชนีฟื้นกลับมาใน 1-2 เดือน
น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ดัชนีก็ฟื้นใน 6 เดือน
ดังนั้นให้ไปสนใจปัจจัยที่กระทบต่อเศรษฐกิจจริงๆ เช่น สงครามการค้า ซึ่งกระทบต่อการส่งออกของประเทศ

Global Macro View
ครึ่งปีแรก ศก ชะลอตัวลงจากการระบาดไวรัสโครนา โดยจีนมีขนาดศกใหญ่ประมาณ 16%ของโลก
ส่งผลกระทบต่อการเติบโตชอง ศก โลกแต่ก็คาดการณ์ว่าเป็นผลกระทบชั่วคราว
ปัจจัยบวก คือ นโยบายการเงินทั่วโลกอยู่ในทิศทางผ่อนคลายและกระตุ้น ศก ช่วยลดผลกระทบเชิงลบ
จากการระบาดได้ระดับหนึ่ง
ตั้งแต่ พค 2019 การผลิตทั่วโลกชะลอ แต่ยอดขายไม่ได้ลดมาก แต่stockสินค้าลด และ การขัดแย้ง
ระหว่างจีนกับสหรัฐลดลง ทำให้ผู้ผลิตกลับมาผลิต ระยะสั้น6เดือน ศก โลกฟื้นตัว
จะ เห็นPMI ของ ภาคการผลิตและบริการเริ่มผงกหัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี
โดยที่ PMI ภาคการผลิต ที่ยังต่ำกว่า50 คือ ประเทศพัฒนาแล้ว

การจัดพอร์ตการลงทุน
สำหรับหุ้น
Overweight ในสินทรัพย์ เช่น Global , USD Mid cap , EU , EM asia ex india,asean และ
แต่ USA Large Cap , DM asia , India , Asean มองว่าเป็นกลาง
Underweight – Other EM
ส่วน Fix income ที่น่าสนใจลงทุน – Global& Local investment Grade
Alternative : ที่น่าลงทุนได้แก่ Gold,Local PF&REITs ,Multi-asset,Life settlement(private fund)
ซึ่งดูรายละเอียดว่าแต่ละasset มีกองไหนบ้างจากสไลด์

ONEAM มีการแนะนำพอร์ตการลงทุนสำหรับ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
1.Conservative
Fix income , Mixed Find 60%
Thai Equity Fund : 5%
Foreign investment Fund : 15%
Alternative Investment : 20%

2.Aggressive :
Fix income , Mixed Find 25%
Thai Equity Fund : 10%
Foreign investment Fund : 45%
Alternative Investment : 20%

คุณพจน์จะเน้นในตัว Life Settlement Fund ซึ่งผมจะเขียนสรุปในภายหลังนะครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 156

โพสต์

สถานการณ์ตลาดหุ้น ในเดือนมกราคม ผันผวน เนื่องจากมีเหตุการณ์พิเศษหลายเหตุการณ์
เข้ามาตั้งแต่ต้นปี เลยมาตามฟัง ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร พูดว่าช่วงนี้ต้องทำอย่างไร
ในรายการ รู้ใช้เข้าใจเงิน วันนี้กันครับ

ก่อนอื่นขอแสดงว่าความเสียใจผู้เสียหายกับเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมนะครับ
หวังว่าครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย และ ทางรัฐบาลสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกครับ

อาจารย์ให้ความเห็นกับเหตุการณ์นี้ว่า จะไม่ค่อยกระทบต่อตลาดหุ้นมากนัก
แต่เหตุการณ์ โคโลนาไวรัส มีผลมากกว่า ซึ่งส่งผลกับธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ห้างใหญ่ตอนนี้ คนไปเดินลดลงมาก แต่อาจมีผลกระทบน้อยกับร้านสะดวกซื้อ
เพราะอยู่ใกล้บ้านของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมาจับจ่ายใช้สอย ก็ไม่ไปห้างแต่มาร้านสะดวกซื้อ
ดีกว่า แต่ร้านสดวกซื้อจะโดนกระทบเรื่องไม่ได้แจกถุงพลาสติกมากกว่า

การลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 1.00% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ดอกเบี้ยไทย
คงส่งผลต่อตลาดหุ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก เพราะดอกเบี้ยบ้านเราอยู่ระดับต่ำมานาน

ส่วนหุ้นกลุ่มธนาคาร ที่ลงมาเยอะในช่วงที่ผ่านมา แต่คุณภาพของธนาคารยังใช้ได้ ตอนนี้
กลัวอย่างเดียวคือเรื่อง NPLเพิ่มขึ้น แต่คิดว่าธนาคารก็จัดการได้ โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่
เมื่อผ่านตรงนี้ไป ธนาคารขนาดใหญ่ก็OK และ PB ratio ต่ำกว่า 1 ปันผล 3-4% ดีกว่าฝากธนาคาร

การลงทุนในช่วงนี้ ดุว่าราคาของหุ้นกลุ่มธนาคารไม่ได้ปรับเพิ่มมา 2-3 ปี ปันผลค่อยๆดีขึ้น เราลงทุนต้องเปรียบเทียบ
กับที่ลงทุนอยู่ตอนนี้ เช่น ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 1% อย่างนี้การลงทุนในหุ้นธนาคารอาจจะดีกว่า
ได้ปันผล 2-3% ถ้าตลาดหุ้นไม่ไปไหน ก็ยังได้ปันผล แต่ถ้าตลาดหุ้นดี ก็ถือว่าได้ในส่วน capital gainด้วย
ทุกครั้งที่ราคาหุ้นลงมา ถือเป็นโอกาสในการลงทุน
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่ง่าย เพราะมีเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งตลาดหุ้นทั้งในและต่างประเทศมีความผันผวน ปีที่แล้ว ตลาดต่างประเทศเช่น จีน สหรัฐ อียู ขึ้นแรงมาก
แต่ตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหน ถ้าเราใช้market timing ก็จะย้ายไปลงทุนในต่างประเทศ ก็อาจเจอว่า
ตลาดหุ้นปีนี้ที่ต่างประเทศตกพอดี
ดังนั้นนักการเงินแนะนำว่า การลงทุนควรถัวเฉลี่ย ทั้งในและต่างประเทศ
อย่าคาดจับจังหวะในการลงทุน ควรกระจายความเสี่ยงลงในแต่ละตลาด
ถือเป็นแนวทางการลงทุนอีกแบบ
สมมติว่าเรามีเงินพอสมควร ลงในตลาดใด้ 3-4 ตลาดได้
แต่ต้องปรับน้ำหนักตลอดเวลา (Rebalancing)
เช่น ลงทุนในตลาด ไทย สหรัฐ และเวียดนาม ปีที่แล้วตลาดหุ้นสหรัฐดีมาก
เราก็แนะให้ขายส่วนเกินในสหรัฐออกมาลงทุนในไทยแทน ซึ่งปีที่แล้วไม่ค่อยดี
เพราะการทำนายตลาด ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่

Q: บ้านเราดอกเบี้ยต่ำสุดในประวัติศาสตร์ มีโอกาสไหมที่ถึง0%เหมือนญี่ปุ่น
A: โครงสร้างไทยเหมือนญี่ปุ่น สุดท้ายอาจคล้ายกัน เพราะดอกเบี้ยมีโอกาสต่ำลงได้อีก
แต่คงไม่ถึงกับต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร
ถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะยาว มั่นใจในปันผลของบริษัท ถึงแม้ราคาลงมา ก็ต้องทำใจถือหุ้นให้ผ่านไปให้ได้
นักลงทุนระยะยาว ลงทุนยากกว่าระยะสั้นที่พอไม่สบายใจ ก็ขายหุ้นออกได้เลย
ธุรกิจที่ดีในระยะยาว กำไรก็เพิ่มขึ้น ปันผลก็เพิ่มขึ้น อย่าไปห่วงสถานการณ์ตอนนี้

Q: หุ้น Mid-Small cap ยังน่าสนใจไหม
A: ยังน่าสนใจเฉพาะหุ้นบางตัว มีไม่เยอะ การเลือกหุ้นพวกนี้ ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง
วิเคราะห์ตรวจสอบให้ดี ดูศักยภาพของบริษัทนั้น ถ้าแน่ใจก็ซื้อและโตไปกับบริษัทด้วยกัน
การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้น ถ้าเลือกถูกตัว ก็รวย แต่ถ้าเลือกผิดตัว ก็มีโอกาสขาดทุนได้
นักลงทุนต้องเก่งจริง วิเคราะห์ธุรกิจไปข้างหน้า 5-10ปี ว่าศักยภาพของบริษัทดีหรือไม่

สุดท้ายขอขอบคุณ ดร นิเวศน์ และ น้องบิวมากๆครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 157

โพสต์

The Conversation EP.10 แม้เศรษฐกิจไทยแย่ แต่เป็นจังหวะเข้าลงทุน
คุณ วิน พรหมแพทย์


จากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวอย่างชัดเจน จากความไม่แน่นอนจากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ การเมืองโลกอย่างเทรดวอร์ก็ยังไม่สิ้นสุด แถมล่าสุดยังมีความกังวลเรื่อง “ฝุ่น PM2.5” และ “โคโรนาไวรัส” ที่ไม่แน่ใจว่าจะอยู่กับเราอีกนานแค่ไหน The Conversation ตอนนี้เลยอยากมาย้ำความมั่นใจเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการจัดพอร์ตการลงทุนกันอีกครั้ง กับคุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด ว่าทิศทางของเศรษฐกิจไทยภายใต้ความท้าทาย จะไปทางไหน จัดพอร์ตอย่างไรภายใต้ความผันผวน



Q : ภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง มีประเด็นไหนที่พรินซิเพิลมองว่าต้องจับตาเป็นพิเศษ

A : ตัวเลขเศรษฐกิจไม่ดีหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การบริโภคในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐก็ล่าช้ามาตั้งแต่ปีที่แล้ว ยิ่งมาเจอกับปัญหาการเสียบบัตรแทนกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ก็ล่าช้าไปอีก ขณะเดียวกันภาคการบริโภคก็ยังชะลอ เนื่องจากคนเป็นหนี้เยอะ ซื้อของชิ้นใหญ่ไม่ไหว ส่วนปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างการส่งออกก็ไม่ฟื้น ทั้งนี้ในตอนแรกเราหวังเรื่องท่องเที่ยวว่าจะช่วยได้ กลับมาเจอไวรัสไปอีก ความหวังหายไป ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมไม่ดี อย่างไรก็ตามถ้าประเมินในภาพรวมเราอาจจะมีความหวังว่าที่บอกว่าเศรษฐกิจไม่ดีนั้น มันจะประคองตัวไปได้ เพราะปีที่แล้วตัวเลขจีดีพีปิดไม่ค่อยสวย หวังไว้แค่นั้น

“สิ่งที่ท้าท้ายมากของรัฐบาลคือ เราเจอกับปัญหาภายนอก และกระเทือนเรา ภาคท่องเที่ยวเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ จะทำอย่างไรถึงจะประคับประคองเศรษฐกิจไทยไปได้ มองไปข้างหน้าเราคงโตช้าไปอีกระยะหนึ่ง ถ้าจะมีความหวังต้องจัดการเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี) และการยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้มากขึ้น เพราะตัวหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไป นั่นก็คือตัวบวกของเราในเรื่อง Infrastructure รถไฟฟ้าหลายสายทยอยเปิดใช้บริการต่อเนื่อง เมื่อโครงสร้างพื้นฐานดี ก็เกิดการกระตุ้นความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม รวมถึงเศรษฐกิจในพื้นที่นั้นๆ ก็เริ่มดีขึ้นได้ ส่วนในระยะต่อไปต้องลุ้นการพัฒนา EEC และโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ในเบื้องต้น ระยะสั้นนั้นอาจจะยาก” นายวินกล่าว



Q : แล้วภัยแล้ง จะกำลังซื้อของเกษตรกรมากน้อยแค่ไหน เพราะปีนี้น่าจะแล้งหนักกว่าเดิม

A : ภัยแล้งเป็นปัญหาหลักของปีนี้นะครับ โดยเรื่องที่กังวลคือ กำลังซื้อของฝั่งเกษตรกรไม่ค่อยดี และอีกสักพักปัญหาเรื่องกำลังซื้อคนวัยทำงาน ก็จะเริ่มมีปัญหาขึ้น คนเป็นหนี้กันเยอะขึ้น ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน มันจึงพัวพันทั้งกำลังซื้อภาคเกษตรกร และกำลังซื้อคนวัยทำงาน ที่มีปัญหาทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้โตช้า ซึ่งถ้าจะให้ดีกว่านี้ ต้องแก้ที่โครงสร้าง ซึ่งต้องใช้เวลานาน เพราะเป็นการแก้ระยะยาว คนจะรอไหวมั้ย?



Q : ในปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ปัญหาไหนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด

A: ในระยะสั้นคือท่องเที่ยวและส่งออก เพราะเรากระทบจากภายนอก ส่วนระยะยาวคือปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจ การยกระดับอุตสาหกรรม การเพิ่มมูลค่าการผลิต ปัญหาเรื่องกำลังซื้อผู้บริโภคและหนี้ครัวเรือน



Q : เมื่อภาพเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ธนาคารซีไอเอ็มบี และบลจ.พรินซิเพิล ประเมินจีดีพีอย่างไร

A : พาร์ทเนอร์ซีไอเอ็มบีแบงก์ ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินจีดีพีไว้ที่ประมาณ 2.7-2.8% สอดคล้องกับที่หลาย ๆ สำนักประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะโตที่ระดับ 3% อย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ประเมินไว้ที่ 2.8% เพราะตัวไวรัสกระทบการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวใหญ่ของเศรษฐกิจ ประเมินว่าทางพาร์ทเนอร์เราน่าจะต้องปรับลดประมาณการลงอีก จากที่คาดไว้ต้นปี*



Q : เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ จะส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นลดลงด้วยไหม เพราะฉะนั้นในสภาวะแบบนี้ พรินซิเพิลจะให้คำแนะนำด้านการลงทุนอย่างไร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

A : เรามองว่าจริงๆ เศรษฐกิจอาจจะไม่ไปกับตลาดหุ้นเสียทีเดียว อย่างปีที่แล้วเศรษฐกิจไม่ดี แต่ตลาดหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (รีทส์) และตราสารหนี้ทั่วโลก ผลตอบแทนดีมาก ยกเว้นผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยที่ติดตอนต้นปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจอาจจะไม่ใช่ตัวฟันธงว่าหุ้นจะดีไม่ดี มันก็มีส่วนแหละ แต่ไม่ได้เป็นคำตอบเดียวในการลงทุนในหุ้น

“และถ้ามองภาวะตลาดหุ้นไทย ข้อดีคือเราเปิดต้นปีด้วยฐานที่ต่ำ และตอนนี้ก็ลงมาที่ระดับ 1,500 จุด การลงทุนดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะเราได้ซื้อของถูกลง และข้อดีอีกข้อหนึ่งคือหลายคนมองว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตได้ เพราะติดลบมา 2 ปี ปีนี้น่าจะกลับมาเป็นบวกได้” นายวินกล่าว

แต่ข้อเสียคือเรามีระดับ Valuation ที่ค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับตัวเองในอดีตและเทียบกับเพื่อนบ้าน เป็นตัวฉุดรั้งให้นักลงทุนไม่อยากลงทุนมากเท่าที่ควรจะเป็น พอแพงก็ไม่ค่อยกล้าที่จะซื้อเท่าไหร่ และข้อเสียคือปัจจัยภายนอกเต็มเลย รวมถึงการเมืองไทยด้วย เพราฉะนั้นก็แนะนำว่าต้องจัดพอร์ตแบบกระจายไว้ก่อน คือต้องมีหุ้นไทย อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นโลก

โดยหุ้นไทย มองว่าราคาที่ลงมาขนาดนี้สามารถเก็บเพิ่มได้ แต่ก็ไม่ถึงกับฟันธงว่าราคาหุ้นจะลงต่อ อย่างไรก็ตามการเข้าซื้อที่ดัชนีระดับ 1,500 จุด เท่ากับว่าซื้อของถูกกว่าเดิมตั้งเยอะ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ขึ้นไป 1,700 จุดกว่าๆ และการที่ตลาดหุ้นปรับฐานมาแรงๆ ช่วงที่จีนโดนกระหน่ำหนักต้นปี 2563 ช่วงนี้ต้องหาจังหวะเพิ่มหุ้น แต่รอจังหวะที่เหมาะสม และกระจายการลงทุนในพอร์ต

สำหรับหุ้นไทย แนะนำกลุ่มยากมาก ด้วยความที่ตลาดหมุนเร็ว เดิมเชื่อว่าเป็นหุ้นในประเทศที่น่าลงทุน แต่ตอนนี้ไม่น่าจะได้แล้ว เพราะตลาดหมุนเปลี่ยนกลุ่มหุ้นเร็วมาก ขณะที่กำลังซื้อภาคการบริโภคก็น่าห่วง เราจึงแนะนำว่านักลงทุนควรจัดพอร์ตแบบกระจายกลุ่ม แล้วไปเลือกหุ้นเด่นของแต่ละกลุ่มจะดีกว่า ถามว่าแล้วจะเลือกยังไง? ให้หุ้นที่เป็น Winner หรือหุ้นที่เป็นผู้นำธุรกิจ หรือได้รับผลกระทบน้อย มากกว่าที่จะเลือกเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ควรเลือกรายตัว

ส่วนการลงทุนในหุ้นโลกแนะนำหุ้นกลุ่มปลอดภัย (Defensive) เพราะราคาหุ้นโลกขึ้นมาพอสมควร ในหุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภค หุ้นโครงสร้างพื้นฐานและหุ้นปันผลสูง โดยให้น้ำหนักฝั่งเอเชีย-แปซิฟิกมากหน่อย เนื่องจากหุ้นส่วนที่เหลือปรับขึ้นไปมากแล้วในปีที่ผ่านมา สวนทางกับสถานการณ์เทรดวอร์ที่ฉุดเศรษฐกิจ และหากนักลงทุนอยากลงทุนในสินทรัพย์ที่มั่นคง รีทส์คือคำตอบ แม้ว่าผลตอบแทนอาจจะไม่ดีเท่าปีที่แล้วที่ปรับขึ้น 20% ก็ตาม

*ล่าสุดกรุงเทพธุรกิจรายงานว่าธนาคารซีไอเอ็มบี ประกาศปรับลดจีดีพี จาก 2.7% เหลือ 2.3% จากผลกระทบไวรัสโคโรนา

Cr:Wealthy
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 158

โพสต์

กลิ่นบางๆ ฟองสบู่ของประเทศไทยมาแล้วค่ะ
เก็บเงินไว้ก่อน อย่าลงทุนซื้ออะไรหนักๆในระหว่างนี้
นี่คือการทำเพื่อให้บริษัทอยู่รอดของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ

0.เชฟโรเลตปิดฉาก ขายโรงงาน เลิกจำหน่าย ผลิตรถในไทย

1. Honda เพิ่มวันหยุดยาว ในเดือนเมษายน พฤษภาคม กรกฎาคม สิงหาคม มีวันหยุด ติดต่อกัน 10 วัน และหยุดทุกวันเสาร์- อาทิตย์

2. Toyota เริ่มทยอยปลดพนักงาน Supervisor ไป 1 lot แล้ว เนื่องจากเเบกรับภาระขาดทุน ค่าแรงงานที่สูงไม่ไหว รถที่ผลิตออกมาจอดเต็ม Stock ขายไม่ได้

3. GM ปลดพนักงาน Sup ออกหมดเเล้ว เเละแบรนด์เนมที่เป็นของ Isuzu ให้นำกลับไป ประกอบที่สำโรงเเล้วเพื่อลด Cost ส่วน บ. แม่ GM ที่อเมริกา ทางรัฐบาลของสหรัฐ อุ้มไว้เเล้ว หากไม่อุ้มอีก 3 เดือนข้างหน้า GM จะล้มละลาย บริษัท​ GM จะเลิกขายผลิตภัณฑ์เชฟโรเลต​ ภายในสิ้นปีนี้2563 และจะปิดตัวถาวร

4. Nissan ลดการผลิตลง 50% เเละกำลังลดพนักงานออกชุดเเรก เดือนหน้า

5. Misubishi ยังมียอดขายที่ต่างประเทศอยู่บ้าง จะกระทบจริงเดือน มค. ปีหน้า

6. AAT กำลังทำกิจกรรมลดต้นทุนอย่างหนัก ทั้งไม่ให้มี OT ทำกิจกรรรม Balance งานใหม่ทั้งระบบเพื่อลดค่าใช้จ่าย เเละยังไม่ปลดคน…ปีหน้าไม่เเน่

7. Fujisu เอาออกไปแล้ว 300 คน

8.Sieko Instrument เอาออกไปแล้ว 400 คน

9. Statschippac ตั้งแต่เดือนหน้า หยุดทำงานทุกๆวันจันทร์

10.TOT เท9พันล้านโละพนักงานอีกกว่า 3,500คน ลดภาระเงินเดือนที่จ่ายปีละ 1.4หมื่นล้าน

11. Sumsung – LG ย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปเวียดนาม และยกเลิกสายการผลิตtvในไทย เนื่องจากแบกรับต้นทุนค่าแรง วันละ 300 บ.ไม่ไหว

12. อินโด ปิดน่านน้ำ ส่งผลให้ แรงงานประมงกว่า 3,000 อัตรา จ่อตกงาน ธุรกิจประมงขาดทุนยับ!!

12.การบินไทย ปรับลงพนักงานอีกกว่า 5,000 อัตรา หลังขาดทุนต่อเนื่อง!!

13.เครือ EU ยกเลิกการนำเข้าสินค้าประมงไทย สิ้นเดือนนี้!
หากไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ / ประชาธิปไตยได้

14.ธุรกิจท่องเที่ยวชั้น เฟริสคราส จ่อเจ๊งยับ!!
15. โรงแรมใหญ่ๆ ในประเทศไทย ทะยอยปิดตัว หลังนักท่องเที่ยวหดหาย แบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว ยกตัวอย่าง รร. เก่าแก่ อย่าง อิมพีเรียล ควีนปาร์ค ที่ ปิดตัวลงเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา

16. Nikon, TOYOTA ย้ายฐานการผลิตจากไทยแต่เริ่มไปเปิดฐานการลงทุนใหม่ ที่ประเทศลาว โดยเริ่มบุกตลาดด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และ พลังงาน

17.หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ – ขนาดกลาง เริ่มปรับลดโอที หลังประสบปัญหาขาดทุน/ยอดสั่งซื้อลดลงต่อเนื่อง

18.กลุ่มธนาคาร เครือข่ายค่ายมือถือ ที่ใช้ระบบออนไลน์ทำธุรกรรมมากขึ้น ปรับลดจำนวนพนักงานลง และยังไม่รวมภาคอุสาหกรรมและการเกษตรที่ราคาตกต่ำแต่ขายปลีกแพง

ทุกคนต้องระวังนะ อย่าใช้เงินเกินตัว
เหตุการณ์นี้อาจอยู่ยาว 2 ปี หรือมากกว่า

Cr. ดร.ปัณนรัตน์ รังสีเสาวภาคย์
yoko
Verified User
โพสต์: 4337
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 159

โพสต์

ผมเริ่มลงเเรงหาหุ้นดีๆเก็บเข้าพอร์ทแล้วครับ :B
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 160

โพสต์

amornkowa เขียน:
อังคาร ก.พ. 18, 2020 9:18 am
กลิ่นบางๆ ฟองสบู่ของประเทศไทยมาแล้วค่ะ
เก็บเงินไว้ก่อน อย่าลงทุนซื้ออะไรหนักๆในระหว่างนี้
นี่คือการทำเพื่อให้บริษัทอยู่รอดของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ

0.เชฟโรเลตปิดฉาก ขายโรงงาน เลิกจำหน่าย ผลิตรถในไทย

1. Honda เพิ่มวันหยุดยาว ในเดือนเมษายน พฤษภาคม กรกฎาคม สิงหาคม มีวันหยุด ติดต่อกัน 10 วัน และหยุดทุกวันเสาร์- อาทิตย์

2. Toyota เริ่มทยอยปลดพนักงาน Supervisor ไป 1 lot แล้ว เนื่องจากเเบกรับภาระขาดทุน ค่าแรงงานที่สูงไม่ไหว รถที่ผลิตออกมาจอดเต็ม Stock ขายไม่ได้

3. GM ปลดพนักงาน Sup ออกหมดเเล้ว เเละแบรนด์เนมที่เป็นของ Isuzu ให้นำกลับไป ประกอบที่สำโรงเเล้วเพื่อลด Cost ส่วน บ. แม่ GM ที่อเมริกา ทางรัฐบาลของสหรัฐ อุ้มไว้เเล้ว หากไม่อุ้มอีก 3 เดือนข้างหน้า GM จะล้มละลาย บริษัท​ GM จะเลิกขายผลิตภัณฑ์เชฟโรเลต​ ภายในสิ้นปีนี้2563 และจะปิดตัวถาวร

4. Nissan ลดการผลิตลง 50% เเละกำลังลดพนักงานออกชุดเเรก เดือนหน้า

5. Misubishi ยังมียอดขายที่ต่างประเทศอยู่บ้าง จะกระทบจริงเดือน มค. ปีหน้า

6. AAT กำลังทำกิจกรรมลดต้นทุนอย่างหนัก ทั้งไม่ให้มี OT ทำกิจกรรรม Balance งานใหม่ทั้งระบบเพื่อลดค่าใช้จ่าย เเละยังไม่ปลดคน…ปีหน้าไม่เเน่

7. Fujisu เอาออกไปแล้ว 300 คน

8.Sieko Instrument เอาออกไปแล้ว 400 คน

9. Statschippac ตั้งแต่เดือนหน้า หยุดทำงานทุกๆวันจันทร์

10.TOT เท9พันล้านโละพนักงานอีกกว่า 3,500คน ลดภาระเงินเดือนที่จ่ายปีละ 1.4หมื่นล้าน

11. Sumsung – LG ย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปเวียดนาม และยกเลิกสายการผลิตtvในไทย เนื่องจากแบกรับต้นทุนค่าแรง วันละ 300 บ.ไม่ไหว

12. อินโด ปิดน่านน้ำ ส่งผลให้ แรงงานประมงกว่า 3,000 อัตรา จ่อตกงาน ธุรกิจประมงขาดทุนยับ!!

12.การบินไทย ปรับลงพนักงานอีกกว่า 5,000 อัตรา หลังขาดทุนต่อเนื่อง!!

13.เครือ EU ยกเลิกการนำเข้าสินค้าประมงไทย สิ้นเดือนนี้!
หากไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ / ประชาธิปไตยได้

14.ธุรกิจท่องเที่ยวชั้น เฟริสคราส จ่อเจ๊งยับ!!
15. โรงแรมใหญ่ๆ ในประเทศไทย ทะยอยปิดตัว หลังนักท่องเที่ยวหดหาย แบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว ยกตัวอย่าง รร. เก่าแก่ อย่าง อิมพีเรียล ควีนปาร์ค ที่ ปิดตัวลงเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา

16. Nikon, TOYOTA ย้ายฐานการผลิตจากไทยแต่เริ่มไปเปิดฐานการลงทุนใหม่ ที่ประเทศลาว โดยเริ่มบุกตลาดด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร และ พลังงาน

17.หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ – ขนาดกลาง เริ่มปรับลดโอที หลังประสบปัญหาขาดทุน/ยอดสั่งซื้อลดลงต่อเนื่อง

18.กลุ่มธนาคาร เครือข่ายค่ายมือถือ ที่ใช้ระบบออนไลน์ทำธุรกรรมมากขึ้น ปรับลดจำนวนพนักงานลง และยังไม่รวมภาคอุสาหกรรมและการเกษตรที่ราคาตกต่ำแต่ขายปลีกแพง

ทุกคนต้องระวังนะ อย่าใช้เงินเกินตัว
เหตุการณ์นี้อาจอยู่ยาว 2 ปี หรือมากกว่า

Cr. ดร.ปัณนรัตน์ รังสีเสาวภาคย์
ข้อมูลเก่า แบะมีการนำเชฟโรเลตมาเพิ่ม
โปรดข้ามบทความนี้ไปครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 161

โพสต์

ดร นิเวศน์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ รู้ไว้ เข้าใจเงินกับ น้องบิว Chittima Tawaret

อาจารย์ได้ให้ความเห็นว่า นาทีนี้มีหุ้นปลอดภัยน่าลงทุน เลือกซื้อได้หลายตัว
แตอย่าคาดหวังผลตอบแทนสูงมากนะ
แต่ก็ยังมีหุ้นจำนวนมากที่ยังแพงอยู่ ต้อง selective buy
ดังนั้น ยังสรุปไมได้ว่าลงทุนช่วงนี้แล้วได้ผลตอบแทนดี
โดยยังมีหุ้นบางตัวที่ยังแพงอยู่ และตลาดหุ้นก็ไม่อยู่ในโซนที่ถูก
โอกาสที่ดัชนีลงต่อ ก็ยังมีอยู่. ตอนนี้ลงมา10กว่า%แล้ว
(ถ้าลงมาอีกเหมือนเมื่อวาน ก็ถือว่าเป็นช่วงวิกฤตแล้ว)

อาจารย์บอกว่าต้องเผื่อไว้บ้าง เพราะถ้ามีการกระจายของผู้ติดเชื้อกว้างขวางขึ้น
ความเสี่ยงก็ค่อนข้างสูง. ดังนั้นหุ้นที่ลงทุนต้องเป็นหุ้นที่defensiveพอสมควร

หุ้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ต้องdiscountมากกว่านี้อีก
แต่หุ้นที่ไม่ถูกกระทบทางตรง. ก็พอลงทุนได้
ต้องดูว่าไวรัสอยู่อีกนานไหม กระทบต่อเศรษฐกิจเยอะไหม
ตอนนี้กลุ่มท่องเที่ยว การบิน ราคายังไม่น่าสนใจ

ตลาดหุ้นตอนนี้ยังไม่เรียกว่าวิกฤต แต่ก็มีโอกาสถึง
เผลอๆถ้ามีcorrection หนักๆอีกสัก10% ก็ถือว่าวิกฤต (ตลาดหุ้นลงเกิน20%ถือเป็นภาวะวิกฤติ
แต่ถ้าปรับตัวน้อยกว่าทเรียกว่าปรับฐาน)
ลงทุนตอนนี้ต้องเผื่อด้วย เราต้องหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านี้
ไปลงทุนหุ้นdefensive และมีปันผล. บริษัทมีอนาคต
และไม่เกี่ยวข้องกับ Covid-19 และถือหุ้นข้ามปีไป ก็มีโอกาสฟื้น
เราหวังแค่เป็นเจ้าของธุรกิจที่ให้ปันผล5% ก็พอใจแล้ว

ตอนวิกฤต แฮมเบอร์เกอร์ มั่นใจ100%ว่าตลาดต้องกลับมา
เพราะเป็นเรื่องของสหรัฐ กระทบเราไม่มาก
แต่ตอนนี้ไม่รู้จบเมื่อไหร่ อาจระบาดเกินปี ถือเป็นปัญหาใหญ่
บ้านเรา ศก ชะลอมาหลายปี บริษัทจดทะเบียนไม่มีgrowth
ไม่เหมือนสมัยต้มยำกุ้ง ที่มีบริษัทส่งออกมาช่วย
คงต้องติดตามดูต่อไป

ขอบคุณ ดร นิเวศน์ สำหรับความคิดเห็นกับตลาดช่วงนี้ครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 162

โพสต์

AGM KBANK 2 APR 2020 14.00
มีผู้เข้าร่วมประชุม 2,869 คน คิดเป็น 1,272,269,872 หุ้น = 53.6979%

วาระที่ 1-8 มีมติอนุมัติ
วาระที่ 9 อื่นๆ

ผู้บริหารได้พูดถึงโครงการซื้อหุ้นคืนในตลาดหลักทรัพย์ สิ้นสุดเมื่อ 27 กพ ได้หุ้น 23,932,600 หุ้น คิดเป็น 1%ของหุ้นที่จำหน่าย และ ธนาคารมีเงินกองทุนเพียงพอ และ มีสินทรัพย์สภาพคล่อง ROE,EPS ก็สูงขึ้นจากการซื้อหุ้นคืน
อนาคตอาจขายคืนในตลาดหลักทรัพย์หรือขายให้ประชาชนทั่วไป จะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ ซึ่งกำหนดการหลังจาก
ซื้อหุ้นคืนเสร็จ 6เดือนถึง 3 ปี
วาระที่2
คุณขัตติยา กรรมการผู้จัดการได้แจ้งถึงผลการดำเนินงาน

1.ผลการดำเนินงานในจีนดีขึ้น เป็นไปตามเป้าหมาย ปีที่แล้ว สินเชื่อดีขึ้น และ สินทรัพย์มีคุณภาพดี

2.ผลการดำเนินงานใน ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม
ที่กัมพูชา เป็นบริษัทร่วมทุน กับเมืองไทยประกันชีวิตซึ่งถือ 49% เบี้ยปีแรกสูงขึ้น
ส่วนที่ลาว เมืองไทยประกันชีวิตถือหุ้น 22.5%ในบริษัทร่วม
ส่วนที่เวียดนาม เมืองไทยประกันชีวิต ก็ดำเนินงานได้เป้าหมายที่วางไว้ เบี้ยปีแรกสูงขึ้น

3.แนวทางในการหารายได้อื่นๆ ที่ไม่ถูกจำกัดจาก ธปท โดยการเอาเทคโนโลยีมาสร้างรายได้ใหม่ของธนาคาร

Q; ถ้าวิกฤต ธนาคารมีมาตรการอย่างไร
A: ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีเงินกองทุนสูง มีสภาพคล่องทางการเงินสูง ไม่น่าจะเกิดผลรุนแรงดังกล่าว

Q: กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุน เกิดจากอะไร
A:เกิดจาการขายหุ้นที่ธนาคารถืออยู่ และ การถือตราสารหนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น

Q: หนี้เสียที่เพิ่มขึ้น มีการตั้งสำรองที่เพียงพอไหม รับมือกับวิกฤตอย่างไร
A: กำลังทบทวน และ จะแจ้งให้ทราบภายหลัง

Q: สอบถามเรื่องอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอย่างไร
A: LCR Q4 2562 = 189% สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท กำหนดคือ 90%

Q: สอบถามว่า กำไรที่อยู่ในส่วนที่เสียภาษี30% ยังเหลืออีกเท่าไหร่ หลังจากปันผลครั้งนี้
A: เหลือ 4,000 ลบ เพียงพอกับปันผลระหว่างกาลในปีนี้

Q: ค่าตอบแทนกรรมการสูงขึ้นสวนทางกับกำไรที่ลดลง อยากให้อธิบาย
A: เราพิจารณาตามความเหมาะสมกับงานที่ได้รับ และ เปรียบเทียบกับกรรมการในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ปี61ค่าตอบแทนกรรมการค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม เลยเสนอเพิ่มค่าตอบแทน
ปี63 เสนอค่าตอบแทนเท่ากับปี 62
การจ่ายปันผลจะคำนึงผลตอบแทนในระยะยาว มีกองทุนที่แข็งแกร่ง
ปี62 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เลยจ่ายปันผลคิดเป็น 34%ของกำไรสุทธิ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 5.03%

Q: ค่าตรวจสอบบัญชี ทำไมเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาทโดยรวม
A: มาจากงานตรวจสอบที่เพิ่มขึ้น จาก IFRS7,9

จบการประชุม
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 163

โพสต์

หุ้นตอนนี้ถูกเพียบเลย แต่ตอนนี้มาตรการที่ออกมาคือ หยุดเลือดไหลเท่านั้น ไม่ให้เศรษฐกินยุบตัวมากกว่านี้
มาตรการออกมาชุด1,2 ส่วนชุดสาม น่าจะใหญ่ที่สุด เริ่มเดือนนี้ (เมษายน 2563) นั้น
มีคนคาดการณ์ว่า 4-6 แสนล้านบาทจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย และ รัฐบาลอีกประมาณ 1-3 แสนล้านบาท
สำหรับช่วงฟื้นฟู น่าจะมีกระสุนอีกประมาณ 10% ของ GDP ของไทย อีก 2 ล้านล้านบาท แต่ทว่าใช้เป็นระลอกไป
ต้องจับตาว่า 2 ล้านล้านบาท นั้น ออกมาเป็นอะไรบาง แต่น่าจะลอกมาจาก New Deal ของ US ที่ออกมาหลังจากการเกิด The Great Depression โดยเป็นชุดของมาตรการทางการคลัง ที่ให้รัฐสร้างโครงการขนาดใหญ่ ในการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก่อนที่เข้าสู่ สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมา

ตอนนี้สิ่งที่ทำส่วนใหญ่เป็นภาคการเงิน คือ ปั้มเงินออกมา /ให้กู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) /อุดช่องโหว่งในระบบทางการเงินไล่ตั้งแต่ ตลาดพันธบัตรรัฐบาล,ตลาดตราสารหนี้,สถานบันคุ้มครองเงินฝาก /เสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจ ไม่ปลดพนักงานออก หรือยังคงสามารถดำเนินการกิจการได้ /ลดภาษี/ขยายเวลาในการยื่นภาษี/คืนภาษีเร็วขึ้น

ส่วนทางการคลัง อันนี้คาดเดาได้ว่า โครงการใหญ่ๆ เกิดขึ้น น่าจับตา คือ เส้นทางรถไฟสายไหม ของจีน ,คลองคอขอดกะ ของไทย,ยกระดับสาธารณสุขของไทย ในด้านต่างๆ เช่นห้องความดันลบ (negative pressure) ,เครื่องช่วยหายใจ พวกนี้ ที่เดินหน้าแล้วได้เห็นผล

ปล ต้องดูว่า ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเช่นไร เมื่ออัดมาตรการทางเงินออกมาใช้ เพราะว่า ปั้มเงินเข้าระบบ เพิ่ม Money supply เข้าสู่ระบบตรงๆ ไม่ผ่านตัวกลางเลย เหมือนให้เลือดเข้าร่างกายผ่านเส้นเลือดดำเลย
ตอนนี้คือ พักชำระหนี้ 3 เดือน /ชำระแต่ดอกเบี้ย /หยุดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อให้หายจากภาวะคนจมน้ำก่อน
ส่วนภาคการคลังนั้นรอดูอีกซักหน่อยแต่เดาไว้ก่อนว่าอะไร
:)
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 164

โพสต์

แชร์ List 10 หุ้นพื้นฐานดี จาก เพจ ซั่มหุ้น ตอนที่ 2

"ที่สามารถ ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจในรอบนี้ไปได้"

โดยที่ ROE สูง D/E ต่ำ งบการเงินแข็งแกร่ง ในหลายอุตสาหกรรม
.
วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 เวลา 20.30 น.

หุ้นที่เลือกนอกจากเก่งยังไม่พอ ต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินด้วย
แต่เรื่องมูลค่าหุ้น ให้แต่ละคนไปทำการบ้านต่อ
บางหุ้นยังไม่ถูก ก็ต้องรอเวลา
หุ้นเกรดA ปกติราคาอยู่ในช่วงpremiumมาก เวลาถือเป็นช่วงที่ดี
เป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย โอกาสที่นานๆมาหนึ่งครั้ง
ลงแรงทั้งตลาด กลายเป็นโอกาสเก็บหุ้นคุณค่า
หุ้นเหล่านี้ไม่เหมาะในการtrading ตอนนี้น่าจะเป็นช่วงถือหุ้นข้ามไปเลย
อาจทยอยซื้อได้ในช่วงเวลาลงแรงๆ และถือข้ามไปให้ได้
ราคานี้สะท้อนอะไรหลายอย่างในอนาคต
บางตัวถูกมาก บางตัวถูกกลางๆ
ราคาหุ้นบางตัวสะท้อนในอนาคตไปแล้ว แต่มีโจทย์หนึ่งที่ต้องตอบตัวเอง
เหตุที่ทำให้หุ้นลงแรง เกิดแล้วจบไหม ถ้าโรคระบาดควบคุมได้
ตลาดหุ้นจะฟื้นไหม ถ้าทุกอย่างเกิดมาดีขึ้น ทุกคนเริ่มมีวัคซีนในอีก1-2ปี
การท่องเที่ยวเริ่มกลับมา เราเริ่มออกมาข้างนอก ราคาหุ้นตอนนี้จะไม่ได้เห็นอีก
ดังนั้นถ้าจะซื้อก็ต้องซื้อในช่วงนี้ ถือเป็นมุมมองของเพจ ซั่มหุ้น

เงื่อนไขในการเลือกหุ้น
1.ความแข็งแกร่งในงบการเงิน เพื่ออยู่รอดได้
2. roe สูง สะท้อนถึงความเก่ง และทำให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงด้วย
เป็นหุ้นที่กลุ่มสถาบันลงทุน ยิ่งลงระยะยาวยิ่งได้returnสูง
ปกติหุ้นพื้นฐานดี จะถือกันยาว
ไล่จาก ROE สูง ไป ต่ำ
ตอนนี้เป็นตอนที่2 แล้ว คราวที่แล้ว พูดถึง อันดับที่ 6-10 คราวนี้จะเป็นอันดับ 1-5

1. NETbay
สท 600 ลบ หนี้สิน147 ลบ
รายได้ 422 ลบ เติบโตต่อเนื่อง
ROE 36% บนหนี้ที่น้อย สมัยก่อนจะมีหุ้นเครื่องสำอาง
PE 30 เท่ายังไม่ถูก
Digital Disruption / Transformation
WFH ทำให้เกิด disruption อาจไม่จำเป็นต้องทำที่ทำงาน conference จากบ้านหรือที่ไหนก็ได้
บางบริษัทอาจปลดlock ทำที่บ้านได้
การสั่งอาหาร ตอนนี้สั่งจากหลายร้านมากินที่บ้าน เช่น S&P
วันนึงที่ Covid จบลง อาจไปซื้อ S&P ต่อได้ ไม่ย้อนกลับไปที่ห้างแล้ว อาจมีโอกาสเพิ่มขึ้น

NETbay เกี่ยวข้องอย่างไร
ทุกคนเริ่มonlineมากขึ้น
NETbay เค้าไปdisrupt ช่วยหลายอุตสาหกรรมให้ง่ายขึ้น ลดเรื่องกระดาษลง ทำบนplatform online
ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายถูกลง การแลกเปลี่ยนเอกสารขึ้นเป็น online หมด
กิจการที่เคยใช้บริการ ก็ไม่กลับไปใช้บนกระดาษอีกแล้ว

โครงสร้างรายได้
1.Digital disrupt 98% ถือเป็นรายได้หลัก

งบการเงิน
สท 600 ลบ หนี้สิน 150 ลบ
เงินสด เงินลงทุน 300 ลบ เรารู้ว่า เป็นกิจการ Net cash company
ลูกหนี้การค้า 65 ลบ
สินค้าคงเหลือ 209,000 บาท
สท ไม่หมุนเวียน ก้อนใหญ่ คือเงินลงทุนระยะยาว 198 ลบ คิดเป็น 30.6%
ที่ดิน อาคาร 31 ลบ
ไม่มีการค้างstock ถ้าปิดกิจการ

หนี้สินมีน้อย
หนี้สินระยะสั้น ไม่มีเงินกู้ยืมระยะสั้น และ ระยะยาว
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 51 ลบ และ รายได้รับล่วงหน้า 46 ลบ

งบการเงินแข็งแกร่งมาก
ส่วนผู้ถือหุ้นเติบโตขึ้น ทส และ หนี้สิน ก็เติบโต
รายได้กิจการ และ ยอดขาย ใกล้เคียงกัน แสดงว่าไม่มีกำไรพิเศษ
ยอดขายโตตลอด ประมาณ 15%
Trade war ทำให้นำเข้า ส่งออกลดลง แต่ Q3 , Q4 โต 15% บ่งบอกว่า
Scale transform ยังโตอยู่ และโดนกระทบนิดหน่อย 3%

GP 80% ปกติเป็นหุ้นเครื่องสำอาง ที่ได้เยอะ เพราะทำเป็น platform
SG&A โตขึ้น 12.9% แต่รายได้โตกว่า ประมาณ 15%
ทำให้ SG&A to Sale ลดลง จาก 44.5% ลงมาที่ 38.9%
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2016 32% ถึง 2019 40%

ราคาหุ้น แข็งแกร่งกว่าตลาด ลงมานิดหน่อยและเด้งขึ้น

มุมมองส่วนตัว
Trend Digital Transformation , Business Model เอื้อต่อการเติบโต , งบการเงินแข็งแกร่ง Net cash company
แต่ราคาแพงไป อยากให้ราคาลงมา





2. Makro
สาขา 141 สาขา ในไทย 134 สาขา ซึ่งมีหลายสเกล เช่น Food service, Eco plus , Food shop,Siam Fozen
รายได้อาจไม่ลง และ ขึ้นด้วยซ้ำ
DE 2 เท่า สูง แต่ค่อนข้างใกล้เคียง 7-11

สท 62,000 ลบ หนี้สิน 40,000 ลบ เป็นหนี้ที่ดี
Margin บางหน่อย ขาย scale ใหญ่ PE 27 เท่า เพราะกิจการดี ถือว่าเป็นหุ้นที่ไม่ลงเลย
เป็นหุ้นที่มีฟรีโพสตน้อย

สท เงินสด 4800 ลบ
สท ไม่หมุนเวียน เป็น อาคาร 50%
หนี้สิน เงินกู้ระยะสั้น 800 ลบ เจ้าหนี้การค้าอื่น 24,493 ลบ คล้ายกับ 7-11
สรุปหนี้สินจริง 8,000 ลบ

หนี้ระยะยาว ก็ไม่มีประเด็นอะไร

วงจรเงินสด
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 10,269 ลบ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน -3130 ลบ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน -7,402ลบ
เงินสดสุทธิ -262 ลบ

หนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุน 0.8 เท่า

รายได้ โต 5-9% จากการโตของการเปิดสาขา และ SSS ของสาขาเดิม
SG&A 8% ดีกว่า CPALL 19.5% เพราะกระจายสาขา ค่าใช้จ่ายสูงกว่าแมคโคร
NP 3% เทียบกับ CPALL 3.9%
งบระเบิดจาก NP ขยับเพิ่มขึ้น

ระยะเวลาเก็บหนี้ 1.6 วัน
ระยะเวลาขาย 27 วัน
คืนเงิน supplier 47 วัน modelใกล้กับ Cpall 63.9 วัน

ราคาหุ้น ลงแล้วเด้งในรอบล่าสุด

มุมมอง
1.หุ้นคุณค่า
2.วงจรเงินสดติดลบ
3.กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง
4.Interest Coverage Ratio สูง
5.สามารถเติบโตในต่างประเทศ



3. CPALL
สัดส่วนรายได้ 7-11 59% , Makro 34%
สาขา 7-11 117,00 สาขาตอนสิ้นปี62
DE 2.8 เท่า และมีการ take Lotus และ ซื้อหุ้นคืนอีก
DE ขนาดนี้จะกู้ไหวหรือเปล่า เรามาเช็คกัน
รายได้ 7-11 ปีนี้ลดลงแต่ไม่มาก แต่ดีการตลาดหุ้นรวม
สท 370,000 ลบ หนี้สิน 260,000 ลบ
รายได้ 570,000 ลบ SSS ดีจากการเพิ่มสาขา
กำไร โต 10%
ROE 25% แต่มีหนี้พอสมควร
แต่ไม่น่าจะสูงจากการใช้หนี้ ต้องไปดูรายละเอียด
PE 25 เท่า ไม่แพงแล้ว
ปันผล 2%

งบการเงิน

เงินสด 30,000 ลบ จาก สท 370,000 ลบ หนี้สิน 260,000 ลบ
ลูกหนี้การค้า 1,700 ลบ ลูกหนี้หมุนเวียนอื่น 7,700 ลบ
สินค้าคงเหลือ 31,537 ลบ
ที่ดินอาคาร 116,000 ลบ ค่าความนิยม 128,000 ลบ จากการtake over กิจกรรม
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ 51,383 ลบ

หนี้สินระยะสั้น 3,000 ลบ
เจ้าหนี้การค้า 78,000 ลบ ถือว่าเยอะมาก เทียบกับ หนี้ระยะสั้น แต่เจ้าหนี้การค้ายิ่งเยอะถือเป็นข้อดี
บ่งบอก ถึงประสิทธิภาพของกิจการ เอาของมาก่อน แล้วจ่ายทีหลัง ถือเป็นหนี้ดี
แต่เวลาเก็บเงินลูกค้า เป็นเงินสด เจ้าหนี้ติดไว้ก่อน ถือเป็นสภาพคล่องของกิจการ
กลายเป็นว่า เจ้าหนี้การค้า ยิ่งมีเยอะ
หุ้นกู้ชำระภายใน 1 ปี 12,289 ลบ ซึ่งกองทุนไหนก็อยากซื้อ

หนี้สินไม่หมุนเวียน
หุ้นกู้ 120,000 ลบ ไม่มีประเด็น เป็นหุ้นกู้ที่ออกมาล๊อกดอกเบี้ยไว้
เงินกู้ยืมระยะยาว 8,599 ลบ

กระแสเงินสด จะดูเฉพาะกิจการที่ค้าขายได้ช่วงนี้เท่านั้น แต่หลายบริษัทดูไม่ได้ เพราะปิดกิจการ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 40,476 ลบ เทียบกับกำไร 22,343 ลบ เพราะมีค่าเสื่อมที่บวกกลับเข้ามา
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน -16,583 ลบ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน -27,938 ลบ
เงินสดสุทธิ -4,045 ลบ

ดังนั้น DE 2.8 เท่า ไม่มีปัญหา ถ้า รายได้หายไป 30% PE ก็ยังไม่แพง
กำไรสุทธิหายไป 30% เหลือ = 15,400 ลบ ดังนั้น PE 36 เท่า
เริ่มแพงบนปีที่ไม่ปกติ แต่ไม่แย่ตลอดเวลา
ปีที่ 3,4,5 กำไรก็กลับมา PE จะตกลงมา เพราะกำไรเพิ่มขึ้น

สรุป
1. มีความแข็งแกร่งเชิง การบริหารจัดการสู.
2. วงจรเงินสดติดลบ
3. กระแสเงินสดดำเนินงาน กว่า 2 เท่าของกำไรสุทธิ
4. หุ้นคุณค่าเป็นผู้นำ Sector ค้าปลีก
5. ดีลซื้อ Tesco ไม่เพิ่มทุน อาจกระทบกำไรใน 1-2 ปีแรก
6. ซื้อหุ้นคืน 1.3 หมื่นล้านบาท หรือ 2% ของหุ้น





4. SPA ที่น่าสนใจ รายได้อิงกับนักท่องเที่ยวพอสมควร
ตอนนี้ไม่ได้ดำเนินงาน โดนกระทบเต็มๆ
งบ Q1,2,3 ก็แย่ แต่มีบางอย่างน่าสนใจ
ตัวเลขนักท่องเที่ยว หายไปแทบเหลือ 0 ตอนนี้ปิดสนามบิน
สิ่งที่เกิดขึ้น รายได้dropไปพอสมควร และฟื้นตัวเมื่อเปิดเมือง
รายได้ฟื้นตัว แต่ไม่เร็วมาก กำไรจากการลงทุนอีก 9-12 เดือน เป็นการทำการบ้าน
คาดหวังการเติบโตในอนาคต

งบการเงิน
ดูROE , ROA ไม่มีประโยชน์เพราะร้านปิด
ดูสินทรัพย์ 1500 ลบ หนี้สิน 380 ลบ
DE ratio 0.3 เท่า ถือว่าหนี้น้อย

ดูรายละเอียดหนี้
เงินสด และ เงินลงทุนชั่วคราว 120 ลบ
สินค้าคงเหลือค่อนข้างน้อย
สินทรัพย์ระยะยาว คือ ที่ดินและอาคาร 1,082 ลบ เป็นถึง 70% ของสท

หนี้สินระยะสั้น 240 ลบมาจาก เงินเบิก กู้ยืม 4ลบ
เจ้าหนี้การค้า 90 ลบ เงินกู้ยืมระยะยาวใน1 ปี คือ 80 ลบ
สภาพคล่องดี เงินสด 120 ลบ คิดว่า DE ต่ำ ไม่น่ากังวล
หนี้ระยะยาว เงินกู้ 80 ลบ

ร้านปิดถึงสิ้นเดือน เมษายน ส่วนค่าเช่าไม่ต้องรับภาระ เช่น CPN ช่วยเหลือ รวมถึงค่าใช้จ่ายพนักงานไม่ได้จ่ายรายได้
พนักงาน เรียกร้องจาก ประกันสังคมแทน
สรุป รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ไม่มี ต่อให้ปิดยาวๆ ก็กลับมาได้

ราคาหุ้นลงจาก 16 บาท เหลือ 8 บาท ยิ่งถ้าเทียบจากราคาสูงสุด
PE 18 เท่า
ถือเป็นหุ้นเติบโต โครงสร้างประชากร คนเริ่มสูงอายุ รายได้เติบโตจากการเปิดสาขาเพิ่มขึ้น
เทรนเรื่องสุขภาพ เรื่องปวดเมื่อยของคนสูงอายุ หรือคนอายุ30ปีขึ้นไปก็มาใช้บริการ

เราทำการบ้านรอไว้ ถ้าการท่องเที่ยวกลับมา จะมาช่วงท้ายๆหลังเปิดเมือง คนเริ่มเชื่อมั่นว่าหายแล้ว คนออกมาใช้ชีวิต
ถ้าตอนกลับมา ราคาหุ้นยังไม่ขึ้น

5. BDMS ตอนแรกเลือก SVH แต่ดูข้อมูลพบว่า BDMS ถือ SVH หนี้สินกับทุนใกล้เคียงกัน เลยเลือกตัวนี้แทน
รพ ในเครือ เช่น รพ กรุงเทพดุสิต สมิติเวช BNH รพ ประสิทธิพัฒนา (PYT) เปาโล เป็นหลัก 5 รพ
การบริหารแบบกระจายศูนย์ ซึ่งต่างจาก BH ซึ่งรวมศูนย์
งบการเงิน
สท 130,000 ลบ หนี้สิน 46,000 ลบ ผู้ถือหุ้น 83,000 ลบ
รายได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ ปีที่แล้ว Q1 2019 มีขายเงินลงทุนของ รพ รามคำแหง ขึ้นมา
ROE 20% จากเมื่อก่อน 13-15% PE 20 เท่า เหมือนจะถูก แต่มีกำไรพิเศษเข้ามา
จริงๆไม่ได้ถูกขนาดนี้ ต้องถอดกำไรพิเศษออกมา

สท หมุนเวียน 16,325 ลบ เงินสด 4,600 ลบ (3%)
ลูกหนี้การค้า 8,850 ลบ แต่ไม่น่ากลัว เช่น ประกันสังคม
สินค้าคงเหลือ 1,843 ลบ ไม่ล้าสมัย

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินลงทุนในบริษัทร่วม 17,000 ( 10% )
ที่ดิน อาคาร 78,439 ลบ ถือเป็นส่วนใหญ่ เหมือน BH

หนี้สิน ระยะสั้น ใช้ใน1ปี เช่น
เจ้าหนี้การค้า 5,900 (4%)
เงินกู้ธนาคาร 20 ลบเอง ถือว่าน้อยมาก
หุ้นกู้ 4,900 ลบ ถามว่า น่ากลัวไหม ต้องไปดู DE Ratio ปกติที่น่ากลัว คือบริษัทที่มีหนี้เยอะ
DE ต่ำมาก ประมาณ 0.55 เท่า (BH DE 0.30 เท่า )
Quick ration คือ ความสามารถในการจ่ายหนี้ โดยเอา กำไรก่อนหักภาษีมาเทียบดอกเบี้ยจ่าย ยิ่งสูงยิ่งดี
BDMS = 20 เท่า ก็ถือว่าดี ตัดความกังวลได้ (BH 30 เท่า)

หนี้ระยะยาว จากสถาบันการเงิน 4,500 ลบ หุ้นกู้ 14,000 ลบ
ซึ่งดูแล้วไม่มีประเด็น พอใกล้ครบกำหนด ก็จะทำ Roll over


ROA 12% (BH 15%)
ROE 22% (BH 20%) BDMS ปกติ 15% ปีที่แล้วมีกำไรพิเศษ

ยอดขาย เติบโตขึ้นทั้งคู่
การเติบโตของรายได้

BDMS เติบโต 10กว่า% (BH 1-2%)
อัตรากำไรขั้นต้น BH ดีกว่า
ทำให้เราได้ข้อมูลว่า BH การบริหารจัดการดีกว่า BDMS

BH GP 40% ดีกว่า BDMS 30% เพราะบริหาร แบบศูนย์กลาง

สุขภาพการเงิน BH แข็งแกร่งกว่า เพราะหนี้น้อยกว่า

BDMS มีส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน 5,464 ลบ
ถ้าหักออกจาก 15,892 ลบ แล้ว กำไรปกติ 10,000 ลบ
10,000/15,892 = 0.63 คูณกับราคา20.2บาท ถ้าคิด PE จะเท่ากับ 31 เท่า
ถามว่าแพงไหม ไม่แพง แต่ยังไม่ถูก ก็ต้องรอให้ราคาลงมากกว่านี้ มากกว่าไปไล่ราคา
ถ้า PE 20ต้นๆถึงกลาง ก็น่าสนใจเลย
:twisted:
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 165

โพสต์

มองวิกฤตในมุมVI
เราต้องรอด กับ คุณฮง สถาพร งามเรืองพงศ์

สรุปจากความเข้าใจของ เพจ Seminar Knowledge

คุณฮง ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในภาวะวิกฤต Covid-19 ว่า
ปกติ ธรรมชาติของตลาดหุ้น ยกตัวอย่าง
ตลาดหุ้นสหรัฐ ตอนที่อยู่วิกฤตซึ่งเกิดจากภาค Financial sector ตลาดหุ้นจะลงอย่างรวดเร็ว
ถ้าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ซึ่งใช้เวลานาน กว่าการจ้างงานจะกลับมา ดัชนีของตลาดหุ้นจะขึ้นไปแล้ว30%
ดังนั้นควรลงทุนตอนช่วงอยู่ในวิกฤต เพราะตลาดหุ้นจะสะท้อนในอนาคต(6-12เดือน)
ตัวอย่างเช่น วิกฤตเศรษฐกิจช่วงปี 1973 ที่สหรัฐ เศรษฐกิจซึ่งอยู่ในช่วง Stagflation
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ได้ลงทุนในวอชิงตัน โพสต์ 10ล้าน$ และมูลค่าหุ้นเพิ่มเป็น 1500 ล้านเหรียญในอีก 30 ปีต่อมา
ดังนั้น การลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนเร็วๆ ก็ไม่เหมาะกับการลงทุนในหุ้น เพราะตอบไม่ได้ว่า
อีก 3-6 เดือนจะกำไรไหม แต่ถ้าถือลงทุนในระยะยาว มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูง
คุณฮง ถือหุ้นเต็มพอร์ตตั้งแต่ช่วงก่อนหุ้นลง ดังนั้นได้ผลกระทบพอสมควร
แต่ก็ไม่ท้อถอย หมั่นทำการบ้าน ศึกษาหุ้นอย่างน้อยวันละ 4ชม ซึ่งถ้าเทียบกับตอนช่วงไฟแรงๆ
วันละศึกษาหุ้นไม่ต่ำกว่า 8-9 ชม แต่เนื่องจาก ประสบการณ์การลงทุนเพิ่มขึ้น
หุ้นบางตัว พอเห็นข้อมูลบางอย่างก็สามารถตัดสินใจเลิกศึกษาต่อได้
และช่วงนี้ก็หมั่นทบทวนงบการเงินปัจจุบันเทียบกับในอดีตว่าแตกต่างกันอย่างไร

คุณฮงบอกว่า ช่วงก่อนวิกฤต หลายๆคนก็ตั้งเป้าว่า จะทำกำไรมากๆ ในช่วงวิกฤต
ให้เหมือน กูรูที่ประสบความสำเร็จ เช่น ดร นิเวศน์ หรือ คุณ โจ ลูกอีสาน
แต่พออยู่ในวิกฤต โดนกระทบจากหุ้นลดลงมามากๆ หลายๆคนก็ท้อ และหยุดลงทุน
เปรียบเหมือน เราผลัดกันชกกับเพื่อน ซึ่งเราถูกชกมารอบแรก พอถึงรอบที่เราจะชกกลับ
ปรากฏว่าเราถอดใจ และเลิกชกกลับเพื่อนไป

ภาวะหุ้นในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่ถูกมาก แต่ด้วยDividend Yield 4%กว่า ซึ่งไม่เห็นมาหลายปีแล้ว
ก็ยังดูน่าสนใจ แต่ไม่ได้บอกว่ากลุ่มไหนน่าสนใจ แนะนำให้ศึกษาหุ้นเป็นรายตัวดีกว่า เพราะ
ในแต่ละอุตสาหกรรมถึงแม้อยู่ในอุตสาหกรรมที่ดี ก็จะมีบริษัทที่แข็งแกร่ง ผ่านประสบการณ์วิกฤตมาแล้ว
และ บริษัทที่ไม่เคยเจอวิกฤต มีหนี้เยอะ ไม่เผื่อถ้าเกิดพลาดเลย ดังนั้น การศึกษาหุ้นเป็นรายตัวจะเหมาะสมกว่า
เช่น กลุ่มสายการบินและโรงแรม ที่โดนกระทบโดยตรง บางบริษัทอาจถูกกระทบจนเกือบล้มละลาย
แต่บางบริษัทยังมีโอกาสรอด เราอาจดูจากหนี้สินต่อทุน ดูจากปีที่แล้วและมาเทียบกับปีนี้
กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ว่าพอจ่ายดอกเบี้ยหรือเปล่า ถ้าไม่พออาจมีการเพิ่มทุน
ซึ่งกระทบกับผู้ถือหุ้น
คุณฮงศึกษาหุ้นที่โดนกระทบจากวิกฤตที่ผ่านมา และมีความแข็งแกร่ง หลังวิกฤตก็ฟื้นตัวมาหลายเท่า
ในช่วงแค่3-4ปี แต่หุ้นบางตัวขึ้นมาเท่าเดียว และกลับลงไปใหม่
ดังนั้นอย่าพึ่งไปเหมากลุ่มไหนดี ให้เจาะเป็นรายตัวดีกว่าว่า สร้างกำไรได้เท่าไหร่จะได้ประเมินราคาได้ถูก

หลักการเลือกหุ้นในภาวะวิกฤต
เลือกหุ้นที่เก่งกว่าหุ้นตัวอื่นในกลุ่ม โดย
ดูหุ้นที่มี ROE สูงๆเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่ม เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
หุ้นที่ฟื้นตัวเร็วในภาวะวิกฤตจะมีROEสูง
ราคาหุ้นก็ดูว่าฟื้นตัวไปมากหรือยัง แต่ก็ตอบยาก และขึ้นกับการมองสั้นหรือมองยาว
บางตัวก็ฟื้นเร็วเกินไป ถ้าเทียบกับกำไรที่ประมาณการได้ในปีนี้ ตลาดอาจมองไปถึงปี 64-65 หรือไป
บางตัวกำไรลดลงบ้าง แต่กำไรมีประสิทธิภาพ ราคายังไม่ฟื้นตัว
ดังนั้นเราต้องดูเรื่องหุ้นที่น่าสนใจ นำมาศึกษาเป็นอันแรกก่อน

คุณฮง แนะนำว่า เลือกหุ้นต้องมองระยะยาวแบบว่า เกษียณได้ในอีก10ปีข้างหน้า
การนั่งทำสมาธิ สวดมนต์ เดินจงกลม ทำให้เรามีสติ ควบคุมอารมณ์ได้ดีมาก
เปรียบกับ การรัดเข็มขัดตอนขับรถ จะใช้ตอนเกิดอุบัติเหตุ
พอร์ตตอนช่วงจุดต่ำสุด ลงเกือบ40%จากจุดสูงสุด แต่เคยเจอรอบหนักกว่านี้โดนไป 50%
ช่วงนั้นมีความตึงเครียดมาก และไปอยู่สถานปฏิบัติธรรม 7วัน
แต่รอบนี้ เริ่มชิน เพราะโดนไปหลายรอบแล้ว
เคยฟัง หลวงพ่อไพศาล เล่าเรื่องเด็กโดนมิจฉาชีพมาหลอกครั้งแรกกลัว แต่โดนอีกครั้งเริ่ม
ชินแล้ว ผมก็เลยเชื่อว่าเราน่าจะทำได้ดีกว่าเด็ก
วิกฤตรอบนี้ เราก็เรียนรู้มาแล้ว
หุ้นตกแรงๆก็ไม่ใช่รอบแรก และ รอบสุดท้าย
อยู่กับมันเหมือนเป็นส่วนนึงในชีวิตการลงทุน

แนะนำคนที่เคยผ่านครั้งแรก อย่าซีเรียส วันนึงก็ผ่านไป และ กลับมาใหม่
หลังที่คุณเจอ กลับไปnew highได้ อย่ากู้ลงทุนเยอะเกินไป

คุณ เฟิร์นได้สรุปหลังสัมภาษณ์ให้เราฟังว่า
1. ตลาดหุ้นนำเศรษฐกิจ ดังนั้นไม่มีประโยชน์ที่จะคาดการณ์เศรษฐกิจ
2. ให้ระวัง ว่าถอดใจผิดจังหวะ หุ้นอาจต่ำสุดไปแล้วถ้าไม่มีอะไรมากระทบ
3. ความรู้ ทำให้ มั่นใจลงทุน ถ้าลงทุนได้นานสิบปี ก็สามารถรวยได้
4. หลักการเลือกหุ้น ดูหุ้นคุณภาพ ROE สูงสม่ำเสมอ และ ราคาเหมาะสม
5. ความผันผวน กับ การลงทุน คู่กันเสมอ การทำสมาธิใช้กับตลาดช่วงนี้ได้

ขอบคุณ คุณ ฮง และ น้องเฟิร์น ศิรัถยา มากๆครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 166

โพสต์

CSI Seminar กับ คุณจิตรา รองกรรมการผู้จัดการ บล ฟินันเซีย
สรุปจากความเข้าใจของเพจ Seminar Knowledge
เมื่อวานได้มีโอกาสฟังคุณจิตรา นักวิเคราะห์ที่มาออกในรายการของ CSI ผ่าน Zoom
พอดีออกกำลังกายตอนเย็น เลยเข้าฟังช้าไปหน่อย แต่ก็ได้สาระมาฝากเพื่อนในเพจครับ
คุณจิตรา พูดถึงประมาณกำไรของตลาดSETปีนี้ว่าจะอยู่ที่ 75บาท ดังนั้นคิดจากPE 16 เท่า
ดัชนีควรอยู่ที่ 800 จุด แต่ที่ดัชนีลงไม่ถึงและขึ้นมาที่ 1250 จุด ได้เพราะ มีliquidity จากสถาบัน
เช่น กองทุนรวม ช่วงนี้มีกอง SSFextra ซึ่งสามารถซื้อได้สูงสุด 200,000 บาทเพิ่มเข้ามา
ทำให้ดัชนีไม่ลงไปที่ 800 จุด
แต่ต้องระวังเรื่องผลประกอบการในไตรมาสหนึ่งที่จะประกาศในช่วงนี้
บวกกับ guidance ที่บริษัทแต่ละที่จะบอกออกมา ซึ่งจะกำหนดราคาหุ้นของแต่ละกลุ่มและ แต่ละตัว

ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารที่ประกาศออกมา overstated เนื่องจากมาตราของรัฐ ที่ยังไม่ต้อง
ลงNPL สำหรับหนี้ที่ค้างชำระ รวมถึงมาตรการอื่นที่ช่วยให้SME และบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เรื่องตราสารหนี้
ทำให้ชะลอการการเพิ่มขึ้นของNPL
ผลประกอบการที่แท้จริงของกลุ่มนี้ จะออกมาจริงในQ2-Q3

กลุ่มโรงกลั่นผลประกอบการไม่ดี ถึงแม้ราคาน้ำมันที่นำมากลั่นจะถูก แต่demandน้ำมันลดลงด้วย
เนื่องจาก กิจกรรมธุรกิจหยุดไป คนอยู่บ้าน สายการบินก็หยุด และ ค่าการกลั่นยังไม่ฟื้นตั้งแต่ Q4 2019

ธุรกิจปลายน้ำของกลุ่มนี้ดี เช่น IVL เพราะซื้อน้ำมันถูกแต่เอามาผลิตพลาสติกทางการแพทย์สำหรับทำหน้ากากอนามัย
และชุด PPE
หุ้นอื่น เช่น TASCO วัตถุที่นำมาผลิต คือน้ำมัน ต้นทุนถูก แต่เสียดายที่ลูกค้าหลักอยู่ที่จีน ปิดทำธุรกรรมไป
ส่วนธุรกิจที่เป็นห้างสรรพสินค้า คุณจิตราได้สัมภาษณ์และพบว่า ช่วงแรกที่ห้างเริ่มกลับมาเปิดกิจการก็ลดค่าเช่า50%
ไปสามเดือน ช่วงต่อมาก็จะลดส่วนลดลงจนถึงปลายปีนี้ จึงมองว่าธุรกิจฟื้น ซึ่งจะกระทบกับ REITsที่เกี่ยวข้องกับห้าง
เช่น CPNREIT รวมถึง officeด้วย แต่ถ้าเป็น Infrastructure fund ที่ขายไฟฟ้าอาจโดนกระทบไม่มาก กองที่กระทบ
ก็จะเป็นกองที่มีลูกค้าที่เป็นธุรกิจเยอะ แต่บางกองขายไฟให้การไฟฟ้าก็ไม่ได้ผลกระทบ
ซึ่งกลุ่มนี้ราคาขึ้นมาพอสมควรแล้ว

ดังนั้นกลุ่มที่จะฟื้นตัวช้าสุด ได้แก่ กลุ่มโรงแรม ท่องเที่ยว และ กลุ่มธนาคร

ส่วนเงินที่ลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยขึ้นกับส่งออกและการท่องเที่ยว
ตอนนี้ทั้งสองส่วนโดนกระทบ ที่ยังดี ก็มีส่งออกอาหาร ดังนั้น เงินที่ไหลมาที่ Emerging Market
จะไหลไปที่ เกาหลีและไต้หวัน ยิ่งถ้าเงินบาทยิ่งอ่อน เงินต่างชาติจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินจะไหลเข้ายาก
ต้องให้เงินบาทแข็ง จึงมีโอกาสที่เงินต่างชาติไหลเข้า ซึ่งปีที่แล้ว เงินบาทแข็ง จะเห็นว่าเงินไหลเข้ามาเยอะช่วงกลางปี
คุณจิตรามองว่า เงินบาทปีนี้น่าจะอยู่ในช่วง 33-34 บาท

คำถาม กลุ่มFood เช่น TU น่าสนใจมั้ย
ตอบ เนื่องจาก รายได้ของTU ประกอบด้วยสองกลุ่ม คือ อาหารกระป๋อง เช่น ทูน่า และ กลุ่มอาหารแช่แข็งที่ขาย ที่ภัตตาคารและ ร้านอาหาร Reb Lobster
กลุ่มแรก ขายดี รายได้เพิ่มขึ้น แต่รายได้ในส่วนร้านอาหาร ภัตตาคาร และ สายการบินจะหายไป เนื่องจากปิดตัวในช่วงCovid-19 ทำให้รายได้โตไม่มากใน Q1 (จากบทวิเคราะห์โบรคอื่นหลายที่ บอกว่า รายได้ลดลง)

คำถาม Deal ที่กลุ่มCP Take Lotus เป็นอย่างไร
ตอบ เนื่องจากกลุ่ม CP ประกอบด้วยสามบริษัท ที่เข้าไปลงทุน ทำให้ CPALL , CPF ไม่น่าจะเพิ่มทุน
แต่รายได้จาก Makro ที่ขายจากช่วงก่อนหน้าที่มีการซื้ออาหารไปเยอะ ถ้าเปิดให้คนออกมา ก็จะมีการซื้อของน้อยลง
เพราะได้ซื้อไปล่วงหน้าแล้ว
ช่วงที่ก่อนประกาศ Work from Home และ ปิดห้าง COM7 ขายสินค้า Notebook,Monitor ดีมาก
ในวันก่อนปิดห้าง และ มีการเสนอให้เช่าอุปกรณ์คอมเพื่อทำงานที่บ้านด้วย แต่ถ้าเปิดห้างใหม่
รายได้อาจไม่โต เพราะมีการซื้อไปล่วงหน้าแล้ว

คำถาม กลุ่ม Electronic น่าสนใจไหม
ตอบ 2บริษัทที่น่าสนใจคือ Hana , Delta
Hana ผลิตชิ้นส่วนในเครื่องคอมและมือถือ ส่วน Delta ผลิต Power supply ในคอมและอุปกรณ์การแพทย์
ตอนนี้เริ่มมีorderจากทางจีนแล้ว

ขอขอบคุณ คุณจิตรา และ ทางCSI มากๆนะครับที่จัดสัมมนาให้ครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 167

โพสต์

นายตลาด & อารมณ์ และ การลงทุนที่ดีขึ้น
โดย เพจซั่มหุ้น

อารมณ์ของตลาดหุ้นเดือนที่แล้ว และ เดือนนี้แตกต่างกันสิ้นเชิง
(เดือนมีค ดัชนีลดลงอย่างรุนแรง ต่ำสุด969จุด และ reboundมาสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ1,270จุด )

การลงทุนที่ดีขึ้น

1.การเข้าใจตลาดจะนำมาสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ตัวแปร มีทั้งควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

นายตลาดเป็นตัวแทนของมวลชน และ ความคาดหวังของทั้ง4กลุ่ม
(ได้แก่ ต่างชาติ ,prop trade,สถาบัน และ รายย่อย)
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขึ้น

พอตลาดมีการแปรเปลี่ยนไปทุกขณะ เดือนที่แล้วเป็นขาลงแรงที่สุดในรอบ10ปี
เดือนนี้reboundของหุ้นแต่ละตัวตั้งแต่20%-70%

2.ผัสสะ (กระทบ)
พอตลาดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกับผัสสะ เป็นปัจจัยระหว่างภายนอกและภายใน

3.ตัวเรา ( ยึดมั่น ถือมั่น )
ทำให้กลายเป็นเรื่องยึดติด เป็นของตัวเรา ยึดมั่น ถือมั่น
และเป็นตัวขวางให้เราไม่ประสบความสำเร็จ และไม่สามารถสร้างพอร์ตให้ประสบความสำเร็จได้เลย
เราไม่สามารถอยู่กับสภาวะนี้ได้ยาว และ ไม่สามารถใช้วิกฤตแปรเป็นโอกาสได้

เหมือนคุณสถาพร(ฮง)ให้สัมภาษณ์ว่า การศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน
หลังวิกฤต แล้วพอร์ตโตขึ้นเยอะ
แต่หลายคนบอกว่าไม่เก่งหรอก ถ้าเขาได้รับโอกาสแบบนี้ ก็จะรวยบ้าง

แต่ตลาดหุ้น ก็มีกฎว่า มีแค่ 10-20% เท่านั้นที่รวยได้
เราสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้เพื่อทำให้พอร์ตโตได้ไหม
ปัจจุบัน มีบทวิเคราะห์มากมาย แต่เราอาจได้กำไรแค่2-3%ก็ขายไปแล้ว

ดังนั้น ตลาดแปรเปลี่ยน เกิดการกระทบ และ ตัวเราก็ยึดมั่น ถือมั่น
แต่ก็มีคนส่วนน้อยที่ได้กำไร.

ถ้าเราactionเหมือนตลาด เราก็คือคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้กำไรมาก เราไปเล่นตามสิ่งเร้า
อารมณ์ถูกโน้มเอียงไปตามสิ่งเร้า

เข้าใจตลาด

นายตลาดมีการแปรเปลี่ยนตามปัจจัยในระยะสั้นที่มากระทบ

1.หุ้นขึ้น เพราะอะไร

บางคนบอกว่า มีคนไปไล่ราคา แต่จริงๆคนมองว่า กำไรในอนาคตจะดีขึ้นมากกว่าปัจจุบัน
ดังนั้นปัจจุบัน กำไรอาจแย่ แต่อนาคตกำไรดี ก็ทำให้ราคาหุ้นขึ้นได้

หุ้นส่วนใหญ่ที่มีพื้นฐาน กำไรไม่ขึ้นกับcommodity ทำให้ต้นทุนบางตัวติดตามได้
เราก็สามารถคาดการณ์ต้นทุน และ กำไรได้
ดังนั้นพอเห็นปัจจัยดังกล่าว ก็จะไปซื้อทันที

แต่คนปกติจะไปซื้อเมื่อกำไรดีแล้ว
ซึ่งกลุ่มแรกที่เข้าไปซื้อก่อน ก็ขายให้

2.หุ้นลง เพราะ กำไรในอนาคตแย่ลง

3.หุ้นไม่ขึ้น ไม่ลงเพราะ กำไรไม่เปลี่ยนแปลงกว่าปัจจุบัน กำลังรอปัจจัยในอนาคต


เหตุที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคา และเกิดผลลัพธ์ขึ้น

เหตุ มาจาก Fundamental (VI)
ศึกษาเหตุจาก กิจการที่ดี ความเสี่ยงต่ำ ในราคาตลาด
ทำให้ ไม่ถูกเอาเปรียบ

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคา

ผลลัพธ์ Technical Analysis
ศึกษารูปแบบของผลลัพธ์ ให้เกิดความได้เปรียบในการเข้าลงทุน

ส่วนที่อยู่ตรงกลางระหว่างFundamental & Technical คือ
Hybrid Investing 70/30
และTrend Following 30/70

เมื่อเข้าใจนายตลาดแล้ว
ในทางพุทธศาสนา ผัสสะ ปัจจัยภายนอกและภายในมาเจอกัน + เกิดความไม่รู้
ทำให้เกิดการยึดมั่น ถือมั่น


ทำให้เกิดโทษ ได้แก่
1.การเปลี่ยนแปลงของราคา ทำให้เกิดความทุกข์ จาก กำไร (ขายหมู) หรือ ขาดทุน
ทำให้เกิดอารมณ์ไม่อยากมีความทุกข์

เป็นความกลัว ไม่อยากทุกข์
ขาดทุน เท่ากับ ทุกข์
กำไร (ขายหมู) เท่ากับทุกข์
กำไร (หายไป). เท่ากับทุกข์ หมายถึง เคยกำไรมาก แล้วดัชนีลดลง ทำให้กำไรเริ่มหายไป

คุณออฟ ก็มีความทุกข์ จาก การขายหมู มากกว่า ขาดทุน
ปีที่แล้ว ได้ตามหุ้นตัวนึง ทำการบ้านมาอย่างดี แต่ปรากฏว่าซื้อไม่ทัน เลยไม่ซื้อ และหุ้นขึ้นไป 30-40%
มีความทุกข์มาก แต่ถ้าเราคิดว่า เราไม่ได้ลงทุนอะไร และ ได้ความรู้เพื่อนำไปซื้อหุ้นตัวต่อไปได้

เกิดโทษอย่างที่สอง
2.ทำให้ไม่สามารถลงทุนได้เป็นปกติ
2.1 ไม่ทำตามแผน เวลาหุ้นผ่านแนวต้าน คราวที่แล้วหุ้นไม่ไป เลยไม่ซื้อตามแผนรอบนี้ ปรากฏว่าหุ้นขึ้นต่อ
2.2 ซื้อในจุดที่ไม่ควรซื้อ / ขายในจุดที่ไม่ควรขาย /รอไม่เป็น

ตอนนี้เราอยู่ในวิกฤต ดังนั้นหุ้นไม่แพง ถ้าวิกฤตจบลง หุ้นก็ไม่สามารถอยู่ที่ราคานี้ได้
ถ้าเราไม่กล้าซื้อ ราคาขึ้นตอนเหตุยังไม่จบ ถ้าเราไม่กล้าซื้อ ก็จะซื้อไม่ทัน


หุ้นขึ้น. กลัวตกรถ ไล่ราคา
ไล่ราคา. ก็คือซื้อราคาสูง
ซื้อสูง. ขายเอากำไรสั้นๆ ก่อนดีกว่า
ขาย. หุ้นลง / หุ้นไปต่อ



สาระสำคัญของการลงทุน

นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ จะไม่เดาตลาด เพราะไม่รู้ตลาดหุ้นเป็นอย่างไร
แต่จะรู้ในสิ่งที่เขาลงทุนเป็นอย่างดี ระหว่างทางขึ้นกับสภาวะจิตใจ
ไม่ใช่ความบังเอิญ เช่น ช่วงSubprime ขึ้นจาก 400 ไป 800จุด และ ขึ้นสูงสุดที่ 1850 จุดในปี2018
ดังนั้นการขึ้นมาแค่30% ยังสามารถขึ้นได้อีก
เรายืนอยู่บนวิกฤต ดังนั้นควรได้รับผลตอบแทนที่สูงหลังผ่านวิกฤต

ซึ่งเปรียบเทียบกับรายย่อย ซึ่งอยากรู้ว่า แนวรับ แนวต้าน อยู่ที่ไหน ซื้อแนวรับ ขายแนวต้าน
และลงทุนระยะสั้น คาดเดาตลอดเวลา เวลาตลาดเป็นขาขึ้น เราจะพลาด
เพราะเราไม่เข้าใจตลาดหุ้น

การลงทุนที่ปราศจาก Bias
1. นักลงทุนจะไม่เดาหรือคาดการณ์ตลาด แต่ทำการบ้านให้มาก
2. ถ้าเราทำเหมือนตลาด แสดงว่าเราคือคนส่วนใหญ่ของตลาด
3. ไม่เอาอารมณ์ มาแย่งความสามารถในการตัดสินใจไปจากเรา
4. ความหวัง ไม่จำเป็นในการเล่นหุ้น ถ้าเราทำเหตุที่ดี หวัง หรือ ไม่หวัง ผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดขึ้น

สุดท้ายขอบคุณน้องAof เพจซั่มหุ้น ที่มาให้ความรู้นะครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 168

โพสต์

MoneyTalk Special หุ้นไทย จะรุ่งหรือร่วง 21พค 2020 กับ ดร ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
ผู้ดำเนินรายการ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์

ดร นิเวศน์ สอบถาม ว่าวิกฤตCovid-19 เทียบกับ วิกฤตที่ผ่านมา เป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า วิกฤตคราวนี้หนักกว่า ครั้งก่อนๆมาก เช่น
ตอนต้มยำกุ้ง โรงแรมยังมีรายได้ดี เพราะรับรายได้เป็นเงิน$ซึ่งตอนนั้น 50กว่าบาทต่อ$
แต่ตอนนี้ รร ขาดรายได้ เพราะนักท่องเที่ยวหายไปหมด
ไทย ศก โตช้า ปีที่แล้วก็เติบโตแค่ 2%กว่า ก่อนหน้าก็ 4%
ไทยไม่มีอุตสาหกรรมใหม่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ไม่เหมือนกับ US ที่มีกลุ่มเทคโนโลยีใหม่
ไทย ไม่มี บริษัทที่ขนาดรายได้ขนาด Unicorn ( 1,000 ล้าน US )
ดัชนีNasdaq(หุ้นIT) เพิ่มขึ้น 7% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งตลาดหุ้นทั่วโลกยังติดลบอยู่รวมทั้งไทยด้วย

ดร ก้องเกียรติ แนะนำว่าตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนไม่ถึง 0.5%ของโลก และ เติบโตต่ำ
อัตราการเติบโตเริ่มชะลอตัว ไม่มีธุรกิจไอทีที่ทำให้เติบโตต่อ ถ้าเราไปลงในหุ้นไอที
โดยให้แบ่งเงินส่วนนึงลงทุนในบริษัทไอทีในต่างประเทศ
ลงทุนทางตรง หรือ ลงทุนผ่านกองทุนรวมก็ได้ การกระจายมากน้อยขึ้นกับแต่ละคน
การลงทุนตรง จะต้องระวังเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หรือ ค่าเงิน
แต่ถ้าลงผ่านกองทุนรวม เขาจะดูแลเรื่องค่าเงินให้
คนไทยต้องกระจายความเสี่ยง ธุรกิจไทยก็ลงในต่างประเทศเยอะ
บางบริษัทเป็นอันดับหนึ่งของโลก
การลงทุนส่วนบุคคล ก็มีลงในต่างประเทศ แต่ยังไม่ใช่ก้อนใหญ่
ฐานลูกค้าของบริษัทมีความสนใจ ลงมา10ปีแล้ว
การติดตามข่าวสารตอนนี้ง่ายกว่าเมื่อก่อนเยอะ

ส่วนตลาดหุ้นไทยหลังCovid-19 มองเห็นภาพอย่างไร
ดร ก้องเกียรติตอบว่า ที่ตอนนี้อยู่ที่ 1,3xx จุด ความท้าทายรอบต่อไป
อยู่ที่งบไตรมาสสอง ซึ่งไม่น่าจะดี แย่กว่าไตรมาสหนึ่ง
หลังจากนั้น สถาบันไทย ก็ยังประคองตัว และลงทุนในหุ้นไทย ซื้อและขาย
หุ้นขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการดี ยังไปได้ ก็ยังพอพยุงกันอยู่ ส่วนหุ้นที่ผลประกอบการไม่ดี ก็ไม่มีคนลงทุน
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น พลังงาน สื่อสาร ตอนนี้เริ่มตีบตันแล้ว
ธุรกิจก็มีระยะวงจรสั้นลงเยอะ ยกตัวอย่าง ธุรกิจเสริมสวย ความงาม ที่มีLife Cycleสั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ดี
พอขาลง ทุกคนก็เลยหนีหมดเลย
เชื่อว่า ตลาดหุ้นปีนี้คงประคองตัวผ่านไปได้ สิ่งที่กระตุ้นได้มีสองอย่างคือ
1.ธุรกิจขนาดใหญ่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ชาวไร่ ชาวนา ได้อย่างไร
2.ขึ้นกับรัฐบาล นอกจากการอัดฉีด ซึ่งใช้หมดไม่นาน เช่น โครงการต่างๆที่ค้างคา
และมีโครงการอนุมัติไปเยอะ แต่อยากให้เพิ่มสาธาณูโภคมากขึ้น

ณ วันนี้ ยังไว้ใจ ศก ไม่ได้ ยังตามบริษัทยาอยู่ว่า จะได้อนุมัติวัคซีนเมื่อไหร่
ศก โลก ถ้าไม่ดี ไทยก็ไปยาก เพราะรายได้ส่วนใหญ่จากท่องเที่ยว รพ หรือ รถยนต์
ส่วน อุตสาหกรรม มือถือ อิเลคทรอนิคส์ ที่ย้ายฐานจากจีน ไทยก็ไม่ได้ประโยชน์สักเท่าไหร่
เพราะส่วนใหญ่ก็ย้ายไปอินเดีย และ เวียดนาม
ดังนั้น ดร เป็นห่วงเรื่อง Soft skill มากกว่า
Us ยังมีโรคระบาดอยู่เยอะ คนก็ไม่มาเที่ยวไทย

ดร ไพบูลย์ ถามว่า เรายังต้องระมัดระวังมาก แต่เปรียบเทียบกับ ต้มยำกุ้ง
ลงจาก 1700 มาถึง 200 จะลงมา400-500 จุดไหม

ดร ก้องเกียรติ บอกว่า ธุรกิจในตลาดหุ้นตอนนี้ต่างกับตอนต้มยำกุ้งเยอะ
ธุรกิจยังใช้ได้ และ กระจายไปเยอะ แต่ดัชนียังไม่พ้นจุดสูงสุด เหมือนกับญี่ปุ่น
เราไม่แย่เท่าญี่ปุ่น แต่ขนาดน้องๆ ซึ่งไม่ค่อยดี

ดร ไพบูลย์ถามต่อว่า กลุ่มที่โดนกระทบ ต้องระมัดระวัง และ กลุ่มไหนที่ดี
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า กลุ่มที่จับจ่ายใช้สอย เช่น ค้าปลีก ยังไปได้ ต้องดูเป็นรายตัว
ธุรกิจธนาคารไม่ค่อยดี แต่ธุรกิจเก็บหนี้ ยังดีในขาลง
ธุรกิจ โรงแรม อาจยังน่าสนใจ หลังลงสุดๆ ถ้า รร ไหน ไม่มีท่าทีล้ม แข็งแรงมาก
มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่ช่วยเหลือ อาจรอดได้
บริษัทน้ำมันที่ราคาหุ้นตกลงมาเยอะๆ ก็น่าสนใจ
เมืองนอก โบอิ้งก็น่าสนใจ รวมถึง บริษัทเดินเรือที่ตกหนัก ก็น่าสนใจ
ซึ่งในเมืองไทยไม่เห็นในลักษณะนี้

ตอนต้มยำกุ้ง บริษัทอสังหา ถูกมาก แต่ตอนนี้ หุ้นรอบนี้ตกหนัก แต่เด้งเร็วมาก ไม่ถูกเหมือนตอนต้มยำกุ้ง

ดร นิเวศน์ ถามว่า ธนาคารของไทยราคาตกมาเยอะ เมืองนอกเป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า ธนาคาร เช่น Citi, JP Morgan ก็ตกเยอะ แต่ถ้าเทียบกับวิกฤตคราวก่อน ยังไม่เยอะ แค่ 30-40%
ไม่ต่างจากไทย แต่ ดร ก้องเกียรติ ขายออกไปแล้ว
สถาบัน ต่างประเทศ เช่น ซาอุ ก็เริ่มซื้อ โบอิ้ง Citi หรือ เรือสำราญ เข้าPort
เวลาหุ้นขึ้นเป็น V shape แต่กำไรของบริษัท จะฟื้นช้าๆ เป็นรูป U shape

ดร นิเวศน์ สอบถามว่า การท่องเที่ยว ที่มีหนี้เยอะ เช่น โรงแรม จะเป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า ส่วนใหญ่ ก็มีการแก้ไขคือ
1. ถ้าได้ปรับโครงสร้างหนี้ได้ ก็ไม่กระทบ
2.ขายกิจการบางประเภท เพื่อลดหนี้
3 ถ้าโอกาสเปิด ก็ออกหุ้นกู้
4.การเพิ่มทุน
ถ้าทำทุกอย่างแล้ว ไม่พอ ก็ต้องยอม หรือ ขายกิจการให้คนที่มีเงิน
บริษัทอสังหา บางบริษัท ขายทรัพย์สินบางอย่างทิ้ง บางบริษัทขายช้า ก็ขายราคาถูก ก็ต้องยอม

สุดท้ายขอขอบคุณ ดร ก้องเกียรติ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์ มากๆครับ
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 169

โพสต์

เล่าเท่าที่รู้ ในช่วง Covid-19
EP 14 ตอน แกะหุ้น VCOM by ซั่มหุ้น

VCOM มีบริษัทลูก 4บริษัท ซึ่งมีสองบริษัทที่กำลังเติบโต และ มีmarginสูง

1.I-secure ทำระบบITอยู่ในองค์กร
เติบโตดี ทำระบบความปลอดภัยด้านIT ทำเป็นoutsource มีโปรแกรมสำเร็จรูป
เพื่อลดต้นทุน รวมถึงhardware ,software
ให้ลูกค้าใช้ ซึ่งลูกค้าไม่ต้องจ้างวิศวกร ให้คนนอกทำแทน

2.VCOM Singapore

3.VCOM เมียนมา

4.V serve Plus ซึ่งดูน่าสนใจ มีสินค้าXiaomiรวมอยู่ด้วย
บริการ IT ครบวงจร รวมสินค้า Lenovo , Acer , HP
ซึ่งงานจะมี Maintenance service, Installation service
โดย VCOM เอาสินค้าจากต่างประเทศมาขายผ่านpartner แบบB2B

หุ้น67% อยู่ในมือผู้ก่อตั้ง. และ รายย่อยถือเพียง 18%

โครงสร้างรายได้

1. รายได้จากการขาย 63%
2. รายได้จากการบริการ 36%
3. รายได้อื่นๆ 0.45%

Financial Ratio

1. Asset 1,295 ลบ,Equity 420 ลบ แต่โชว์หุ้นทั้งหมด 460 ลบ
2. Margin ปรับเพิ่มจาก 3.75% to 4.21% on Q1 2020
3. ROE อยู่ระหว่าง 15-20% Q1 = 20.24%
4. ROA 10% , PE 12 เท่า
5. ปันผล 4.71%, payout ration 60-70%
6. กำไรปกติต่อปี ประมาณ 50-60 ลบ q1 กำไรทำได้ 26.5 ลบ ดูดีมาก
7. ต้องดูBacklogของงานว่ายังมีจะรับรู้รายได้ในปีนี้อีกเท่าไหร่
8. DE1.94 เท่า โดยasset 1295 ลบ50% เป็น ลูกหนี้การค้าจากภาครัฐและเอกชน
ซึ่งจะชำระหนี้ประมาณ 122วันและ ได้รับcreditจากsupplier ใกล้เคียงกัน
หนี้ที่มีดอกเบี้ยคิดเป็น10%เท่านั้น

สรุป งบดุลไม่มีอะไรน่ากังวล

ความเก่งของกิจการ

1.รายได้ปี 2017-2018 เติบโตเยอะ
Q1 2020 startค่อนข้างดี โต 68% จากproject
2. Margin 2019 ปรับตัวดีขึ้น เป็น 21.6% แต่ q1 = 16.2%
3. SG&A 2019 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็น 16.4%
4. Margin 4%
5. กำไรQ1เติบโต 213% ต้องไปดู Business Model ซึ่งเป็น project base
ต้องเช็ค Backlog ของงาน
6.งบกระแสเงินสด แกว่งตัวค่อนข้างมาก
จากการดำเนินงาน มี กำไรพิเศษ ซึ่งไม่ใช่เงินสดจริง
และ การเปลี่ยนแปลงของ Working capital ซึ่งมาจากสามส่วนคือ
ลูกหนี้การค้า. สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
ลูกหนี้การค้า ติดลบ เพราะ ขายของไปแล้ว แต่ยังเก็บเงินไม่ได้ ให้เครดิตกับลูกค้า
สัดส่วนรายได้ ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับ projectที่ส่งมอบ

Busines Model

1.B2B
2.Project 60-70%
3.ลูกค้ามีทั้งภาครัฐและเอกชน

อุตสาหกรรม กำลังเติบโต และได้ประโยชน์จากCovid

สุขภาพทางการเงิน

• DE 1.9 เท่า
• ลูกหนี้การค้าเยอะ
• เจ้าหนี้การค้าเยอะ
• เงินกู้ยืมน้อย ประมาณ 10%
• Net margin บางมาก เพราะเป็นคนกลางจัดหาให้partner
• กระแสเงินสดอิงกับลูกหนี้การค้า

สรุป

• อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตอยู่ เราดูการเติบโตจากอุตสาหกรรมคล้าย SIS
• ลูกค้าภาครัฐ
• DE1.9 เท่า หนี้ส่วนใหญ่คือลูกหนี้การค้า
• ความได้เปรียบไม่โดดเด่น
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 170

โพสต์

RS GROUP จัดงาน “Open House 2020”

อาร์เอส กรุ๊ป ประกาศรีแบรนด์องค์กรอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ที่ยั่งยืนของบริษัทฯ ในการปรับองค์กรครั้งใหญ่ที่สุด โดยมีเป้าหมายหลัก ( Core Purpose ) สร้างแรงบันดาลใจ เติมเต็มชีวิตผู้คนด้วยความบันเทิง สินค้า และบริการที่สร้างสรรค์และมีคุณค่า
ผ่านอัตลักษณ์และวิถีใหม่ ภายใต้คติประจำองค์กร คือ
Passion to Win พร้อมเปิดเส้นทางแห่งความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจจากสื่อและบันเทิงสู่ธุรกิจพาณิชย์ ในงาน “RS GROUP Open House 2020” ที่จัดขึ้น ณ บ้านหลังใหม่ RS GROUP Headquarter บนถนนประเสริฐมนูกิจ โดยเปิดอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ กพ 2563

ภายในงาน คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำงานตลอด 40 ปีที่ผ่านมา จนถึงก้าวใหม่ของ อาร์เอส กรุ๊ป ในวันนี้ และบทบาทของโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ซึ่งมาจาก Entertainment + Commerce เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่สนับสนุนให้บริษัทฯ เติบโตอย่างยั่งยืน ขณะที่ผู้บริหารจากธุรกิจคอมเมิร์ซและธุรกิจสื่อและบันเทิงได้เปิดเผยถึงความสำเร็จและกลยุทธ์ใหม่ที่เน้นการ Synergy ระหว่างกลุ่มธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการเติบโตระหว่างกันภายใต้โมเดลธุรกิจ Entertainmerce

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า “ปี 2563 เป็นอีกหนึ่งปีที่สำคัญมาก เพราะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นของ อาร์เอส กรุ๊ป ยุคใหม่ ที่ได้พิสูจน์แล้วว่าการทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วยโมเดลธุรกิจที่แตกต่างไม่เหมือนใครนั้นเป็นไปได้ และเป็นก้าวใหม่ที่ยั่งยืน ทำให้ถึงเวลาแล้วที่ อาร์เอส จะประกาศรีแบรนด์องค์กรอย่างเป็นทางการ เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ใหม่ และส่งต่อพันธกิจใหม่ของเราไปสู่ผู้คน ไม่เพียงแต่เปลี่ยน โลโก้เท่านั้น ( ซึ่งได้ขออนุมัติผู้ถือหุ้นเมื่อปลายเดือน กค ที่ผ่านมา )

เรายังปรับโครงสร้างองค์กร โดยใช้แนวคิดการทำงานแบบ Agile มุ่งทำงานเป็นทีม ลดโครงสร้างและขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพื่อให้การทำงานรวดเร็วขึ้นและสื่อสารกันได้โดยตรง ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือ สร้างแรงบันดาลใจ เติมเต็มชีวิตผู้คนด้วยความบันเทิง สินค้า และบริการที่สร้างสรรค์และมีคุณค่า โดยทุกคนใน อาร์เอส กรุ๊ป ต้องมีค่านิยม 4 ประการ ฝังอยู่ในดีเอ็นเอ ได้แก่

Inspiring (แรงบันดาลใจ)
Passionate (แรงผลักดัน)
Inquisitive (ใฝ่เรียนใฝ่รู้)
Goal-Oriented (แน่วแน่ที่เป้าหมาย)

ภายใต้โมเดลธุรกิจ Entertainmerce (Entertainment + Commerce)
ซึ่งเป็นการดึงศักยภาพ ความเชี่ยวชาญจากธุรกิจสื่อและธุรกิจบันเทิงในมือออกมาใช้ให้มากที่สุด สร้างคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ เพื่อเปลี่ยนผู้ชมและผู้ฟังเป็นผู้ซื้อ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ Synergy กันระหว่างกลุ่มธุรกิจในเครือ ที่สามารถควบคุมและบริหารงานได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”

ปัจจุบัน อาร์เอส กรุ๊ป แบ่งกลุ่มธุรกิจ ออกเป็น

-ธุรกิจคอมเมิร์ซ ประกอบด้วย อาร์เอส มอลล์ จำกัด ถือหุ้น99.99% ดำเนินธุรกิจพาณิชย์
และ บริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด ถือหุ้น99.99% ดำเนินธุรกิจพาณิชย์

-ธุรกิจสื่อและบันเทิง ประกอบด้วย สถานีโทรทัศน์ช่อง 8, วิทยุ คูลลิซึ่ม และ อาร์เอส มิวสิค

ธุรกิจคอมเมิร์ช

อาร์เอส มอลล์ (RS Mall)
นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ กล่าวว่า

เส้นทางของธุรกิจคอมเมิร์ช
การเปลี่ยนหมวดธุรกิจการซื้อขายในตลทจากหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ มาสู่หมวดพาณิชย์
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมสื่อ ประเทศไทยมีฟรีทีวีจาก 4ช่อง
มาเป็น 24ช่อง ในขณะที่คนดูอยู่เพียง 60กว่าล้านคู่เท่าเดิม บริษัทจึงได้กำหนดกลยุทธ์
ที่แตกต่างจากผู้เล่นอื่นในตลาดด้วยการเลือกเวลาโฆษณาครึ่งหนึ่งที่มีอยู่มาสร้างธุรกิจใหม่ที่มีสายตาของคนดูเป็นต้นทุน

ดังนั้น อาร์เอส มอลล์ คือ การผนวกการช้อปปิ้งเข้ากับความบันเทิง ผ่านการเล่าเรื่องราวที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ การนำเสนอแนวทางแก้ปัญหารวมถึงเรื่องราวจากผู้ใช้จริง และข้อมูลเชิงลึกเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า

โดยมีทีมงานคอลเซ็นเตอร์คอยตอบปัญหาและให้คำปรึกษาเรื่องสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง และส่งมอบผลิตภัณฑ์ถึงมือลูกค้าด้วยความสะดวกสบาย ซึ่งลูกค้าไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง อาร์เอส มอลล์ เป็นธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้าน แต่อยู่ทุกที่ที่สะดวกสำหรับลูกค้า ลูกค้าสามารถพบเจอเราได้ทางช่องดิจิทัลทีวีต่างๆ เทเลเซลล์ และบนช่องทางออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน”

อาร์เอส มอลล์ ได้ดำเนินธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว และเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยความสำเร็จของ อาร์เอส มอลล์ เกิดจาก Value Chain ที่แตกต่าง ดังนี้

1.มีเดีย เราเป็นเจ้าของสื่อสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ที่มีสายตาคนดูที่พร้อมให้ความสนใจกับสินค้าที่นำเสนอ ผ่านการเล่าเรื่องราวที่แตกต่าง และยังมีพันธมิตรเป็นช่องดิจิทัลทีวีจากหลากหลายช่องชั้นนำ

2.สินค้าที่มีคุณภาพ อาร์เอส มอลล์ มีทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ผ่านการดำเนินงานของบริษัท ไลฟ์สตาร์ โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยชั้นนำ เพื่อนำนวัตกรรมที่มีการจดสิทธิบัตรในระดับโลกมาผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งมอบสินค้าคุณภาพที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้จริง นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในหลากหลายประเภทสินค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าได้ทันท่วงที

3.ระบบ Fulfillment ที่เติมเต็มทุกความต้องการอย่างครบถ้วน มีเทเลเซลล์ กว่า 500 คน
แบ่งเป็น 150 คนสำหรับรับสายลูกค้าเพื่อปิดยอดขาย และอีก 350 คนสำหรับโทรหาลูกค้า
ที่เคยซื้อสินค้าเพื่อเสนอสินค้าเพิ่มเติม หรือ ซื้อซ้ำ
เพื่อให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บและบริหารสินค้าด้วยระบบที่มีมาตรฐาน รวมถึงสามารถส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

4.Data and Voice Analytics อาร์เอส มอลล์ จะนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และสร้างแคมเปญ CRM ที่หลากหลาย ปัจจุบันเรามีฐานข้อมูลลูกค้าActiveกว่า 1.4 ล้านรายที่มีการซื้อซ้ำมากกว่า 2 ครั้งต่อปี

ด้วยความแตกต่างและจุดแข็งข้างต้น ทำให้ในปี 2563 อาร์เอส มอลล์ สามารถสร้างยอดขายทุบสถิติเดิมตั้งแต่ไตรมาส 2 ด้วยรายได้ 586.2 ล้านบาท และเชื่อมั่นว่าจะเติบโตต่อไปในทุกไตรมาส ด้วยอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด และยังมียอดรายได้onlineเติบโตกว่า 80%

วงจรการขายเดิม

Product -> Media&Channel -> Fulfillment -> Analytics

เปลี่ยนเป็น

Life + Partners. -> 8+Workpoint+Amarin TV+ RS Mall
—> 500 Telesales + WMS + PDS —> Data Analytics + Voice Analystics

บริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด
โดย ดร.ชาคริต พิชญางกูร

จุดเริ่มต้นของแบรนด์ไลฟ์สตาร์
ห้าปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่า เราคือหนึ่งในผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพและความงามระดับโลก ส่งตรงสู่ผู้บริโภคคนไทย ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพและความงาม เพื่อตอบโจทย์ที่หลากหลายของผู้บริโภคในยุคนี้ ด้วยสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในราคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพผลิตภัณฑ์เทียบเท่ามาตรฐานสากล

ดร.ชาคริต พิชญางกูร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจไลฟ์สตาร์ เผยว่า “ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ยอดขายบนแพลตฟอร์มของอาร์เอส มอลล์ มาจากสินค้าของไลฟ์สตาร์ สูงถึง 60% และมีโปรดักส์แชมป์เปี้ยนที่ทำยอดขายสูงสุด 3 ผลิตภัณฑ์ได้แก่
S.O.M. Cordy Tibet & Bhutan, S.O.M. I-Kare และ S.O.M. CMAX
ซึ่งแผนธุรกิจของไลฟ์สตาร์ ในครึ่งปีหลังนี้ก้าวไปไกลกว่าการขายผ่านช่องทางของ อาร์เอส มอลล์ โดยจะขยายไปสู่จุดขายต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ออนไลน์มาร์เก็ตเพลส โมเดิร์นเทรด ร้านขายส่ง ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ และไดเร็คเซลล์ ซึ่งเราได้วางกลยุทธ์ร่วมกับพันธมิตรสื่อที่แข็งแกร่ง โดยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของอาร์เอส กรุ๊ป ผสานพลังกับกลยุทธ์ที่เป็นหัวใจสำคัญมากที่สุดของไลฟ์สตาร์ คือการร่วมพัฒนาสินค้ากับสถาบันวิจัยระดับโลก เพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ และตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำนวัตกรรมระดับสากลมาสู่ผู้บริโภคคนไทย

ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากกลยุทธ์ในปีนี้ของไลฟ์สตาร์ ได้แก่

1) S.O.M. Probio – 10 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ร่วมค้นคว้าและวิจัยกับ Danisco บริษัทในเครือของ Dupont สหรัฐอเมริกา ยักษ์ใหญ่ในวงการอาหารของโลก จนมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลิขสิทธิ์เฉพาะ ที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตถึง 10 สายพันธุ์ จำนวน 5 หมื่นล้านเซลล์ในเม็ดเดียว ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันพร้อมปรับสมดุลการขับถ่ายไปพร้อมๆ กัน

2) Functional Ready–to-Drink การต่อยอดความสำเร็จของกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไลฟ์สตาร์ ที่สามารถขยายช่องทางไปยังร้านสะดวกซื้อต่างๆ ได้ มาในรูปแบบเครื่องดื่มปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม สะดวก อร่อย ให้คุณค่า เหมาะกับไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบัน ได้แก่ รังนก และเครื่องดื่มน้ำผลไม้และสมุนไพรสกัดเข้มข้น

3) ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร (Meal replacement) ในรูปแบบผงชงดื่ม ใน 1 ซอง ให้สารอาหารเทียบเท่าที่ร่างกายต้องการในครึ่งวัน อิ่ม อยู่ท้อง รสชาติอร่อย ลดความอยากในการทานอาหารมื้อหนัก และช่วยลดการบริโภคอาหารขยะในมื้อที่เร่งรีบอีกด้วย

4) อาหารสุนัขและอาหารแมว มีมูลค่าตลาดที่สูงถึงกว่า 4 หมื่นล้านบาท และเติบโตต่อเนื่องทุกปี ปีละ 10% ไลฟ์สตาร์จึงเห็นโอกาสที่จะนำผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์มานำเสนอขายผ่านช่องทางทีวีดิจิทัล

5) ผลิตภัณฑ์คอสเมติกส์ การนำศิลปินดาราชื่อดัง มาร่วมคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มแฟนคลับ ภายใต้กลยุทธ์ Star Commerce Model เริ่มต้นที่ใบเตย อาร์สยาม กับแบรนด์ BT Cosmetics Color Collection ที่ประกอบไปด้วยแป้ง Color Palette และ Lipstick โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้ผลิตรายใหญ่จากประเทศเกาหลีที่ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์เครื่องสำอางค์ระดับโลกมากมาย ขายผ่านช่องทางออนไลน์และขนาดพิเศษในร้านสะดวกซื้อ

ธุรกิจสื่อและบันเทิง

นางสาวนงลักษณ์ งามโรจน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 บอกว่า
ดิจิทัลทีวีที่โดนใจผู้ชมทั่วประเทศ ด้วยคอนเทนต์รายการที่มอบอรรถรสอันหลากหลายและน่าติดตาม ทั้งละคร ข่าว และรายการมวยไทยที่เป็นอันดับหนึ่งในใจคนไทย ดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ เก้าอี้ 4 ขา กระจายรายได้มาจาก 4 ช่องทาง ซึ่งได้แก่

มีเดียสปอนเซอร์ 40%
การจัดอีเวนท์ 10%
การขายลิขสิทธิ์ 15%
Entertainmerce 35%

นางสาวนงลักษณ์ งามโรจน์ กล่าวว่า “ในครึ่งปีหลัง ช่อง 8 พร้อมจัดเต็มความบันเทิง เพื่อธุรกิจพาณิชย์ กับรายการ “นายจ๋าทาสมาแล้ว” ที่จะช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ บริษัท ไลฟ์สตาร์ ผลิตขึ้น และรายการ “ราคาพารวย” ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นำเวลาไพร์มไทม์ของช่องมาทำรายการเพื่อสนับสนุนโมเดลธุรกิจ Entertainmerce และเป็นครั้งแรกในการซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนผู้ชมให้กลายเป็นผู้ซื้อสินค้า”

คูลลิซึ่ม (COOLISM)

นายปริญญ์ หมื่นสุกแสง หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจวิทยุคูลลิซึ่ม กล่าวว่า “COOLfahrenheit เป็นสถานีเพลงอันดับหนึ่ง มาเกือบ 2 ทศวรรษ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ฟังเติบโตมาตลอด ถึงแม้มีกระแสว่าคนฟังวิทยุลดลง แต่ COOLfahrenheit ยังคงเติบโตส่วนกระแส และทำสถิติใหม่นิวไฮบนเอฟเอ็ม ด้วยยอดผู้ฟังสูงสุดทะลุ 2 ล้านคน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ขณะนี้เราเดินหน้ากลยุทธ์แม่น้ำ 3 สาย เพื่อขยายรายได้หลักออกเป็น 3 ทาง ลดการพึ่งพารายได้ช่องทางใดช่องทางหนึ่งมากเกินไป ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์นี้จะสามารถสร้างการเติบโตครั้งใหม่แบบก้าวกระโดด หวังเป็น นิว เอส เคิร์ฟ ในรอบ 15 ปีของคูลลิซึ่ม”

สัดส่วนรายได้จากกลยุทธ์แม่น้ำ 3 สาย เป็นดังนี้

– Coolfahrenheit สัดส่วนรายได้ 40% ด้วยจำนวนเรตติ้งและคนฟังคลื่นคูลฟาเรนไฮต์ที่ยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง

– COOLive สัดส่วนรายได้ 30% ด้วยการยกระดับการทำงานด้านคอนเสิร์ตและอีเวนท์ ให้เป็นหน่วยธุรกิจอิสระ สร้างสรรค์คอนเสิร์ต และมิวสิค เฟสติวัล โดยในปี 2564 เตรียมจัดงานทั้งหมด 10 งาน ที่มีทั้งศิลปินชั้นนำระดับประเทศและต่างประเทศ โดยตั้งเป้าเข้าถึงผู้ชมคอนเสิร์ตทั้งหมดกว่าหนึ่งแสนคน

– COOLanything สัดส่วนรายได้ 30% เป็นส่วนหนึ่งของโมเดล Entertainmerce ที่เปลี่ยนผู้ฟังให้เป็นลูกค้า สร้างประสบการณ์ที่ดีในการช้อปปิ้ง ด้วยสินค้าคุณภาพที่รู้ใจและการบริการที่เข้าใจ ผ่านแอปพลิเคชันคูลลิซึ่ม ซึ่งเป็นต้นน้ำแหล่งใหม่ สำหรับยุคที่การช้อปปิ้งออนไลน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘ฟังเพลงได้ ช้อปเพลิน ในแอปเดียว’

อาร์เอส มิวสิค (RS Music)

นายสุกฤช สุขสกุลวัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจเพลง กล่าวว่า “ความท้าทายครั้งสำคัญของธุรกิจเพลง คือ การปรับตัวเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่แตกต่าง เพลงเป็นแค่เครื่องมือหนึ่ง แต่สิ่งที่จะสร้างและต่อยอดธุรกิจได้คือ สตาร์ ที่มีตัวตน มีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน และมีฐานแฟนคลับ ซึ่งทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงกับโมเดลธุรกิจใหม่ ‘Music Star Commerce’ จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ศิลปิน และสอดคล้องกับธุรกิจของอาร์เอส กรุ๊ป”

ในเดือนตุลาคม 2563 นี้พบกับศิลปินใหม่ ผ่าน 3 ค่ายเพลง ได้แก่

– RSIAM การยกระดับของ Rsiam

– Kamikaze การกลับมาของ Kamikaze

– Rose Sound การฟื้นคืนชีพของไอคอนทางดนตรีของRose Sound

ซึ่งการมาของ อาร์เอส มิวสิค ในครั้งนี้ จะสร้างปรากฏการณ์ให้วงการเพลงของไทยอีกครั้ง เพื่อเติมเต็มความรู้สึกให้คนไทยได้หายคิดถึงเพลงในแบบฉบับของ อาร์เอส อย่างแน่นอน และเป็นก้าวใหม่ที่ท้าทายของ อาร์เอส มิวสิค ด้วย

ทั้งหมดนี้คือความมหัศจรรย์ที่เกิดจาก Passion ของผู้บริหารและทีมงานทุกคนของ อาร์เอส กรุ๊ป ภายใต้ โมเดลธุรกิจ Entertainmerce ที่แตกต่าง ซึ่งยึดโยงกันอย่างแข็งแกร่ง และทรงพลัง ซึ่งทีมงานทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน และทั้งหมดนี้คือ New Legacy ของ อาร์เอส กรุ๊ป

หลังจากที่ผู้บริหารพูดจบ ก็มีการนำผู้เข้าร่วมงานเข้าชมส่วนงานต่างๆของ RS
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 171

โพสต์

" สรุปแก่นการลงทุนแนวพื้นฐานของพี่โจ ลูกอิสาน "

แนวทางของพื้นฐาน <VI> คือ เราไปซื้อของต่ำกว่ามูลค่าแล้วมาขายในราคาเต็มมูลค่า ส่วนต่างคือกำไร ยิ่งซื้อได้ในราคาต่ำเท่าไรก็ได้กำไรมากเท่านั้น VI ตัวจริงจึงไม่สนใจเรื่องราคาหุ้น แต่ให้ความสำคัญกับ “พื้นฐานธุรกิจ” และ “มูลค่าของบริษัท” ที่จะซื้อมากกว่า ซึ่งการลงทุนนี้สมเหตุสมผล

.

โดยพี่โจยังได้แบ่งหัวใจหรือแก่นของVI สั้นๆแต่ครอบคลุมไว้ 4ประการ

.

1. ต้องคิดว่าหุ้นเป็นธุรกิจ ถ้าบริษัทที่มีพื้นฐานดี มีกำไรดี ราคาหุ้นก็จะดีตามไปเอง เพราะฉะนั้นถ้านักลงทุนสามารถทำนายกำไรของบริษัทได้ ก็ย่อมคาดการณ์ราคาหุ้นได้ <ราคาหุ้นจะแปรผันตามกำไรที่เติบโตของบริษัท>

2. หามูลค่าที่จริงของกิจการให้ได้ โดยต้องเตือนตัวเองเสมอว่า ราคาหุ้นบนกระดานไม่ได้บอกมูลค่าที่หุ้นนั้นๆว่าถูกหรือแพง <หุ้น2บาทไม่ได้แปลว่าถูกและหุ้น50บาทไม่ได้แพงกว่าหุ้น2บาท>

3. ซื้อในราคาที่มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย หรือ Margin of Safety
อย่างน้อย 30% <หากเจอหุ้น9บาท แต่คิดว่าหุ้นจะไป10บาทมีUpside12% แต่ถ้าผิดพลาดกลับมีDownside50% แบบนี้ก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน>

4. เราต้องแยกตัวออกจาก “อารมณ์ของตลาด” ให้ได้แล้วเอาชนะตลาดด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ซึ่งในโอกาสเช่นนี้ บ่อยครั้งเป็นโอกาสให้ซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาตก <หากเราเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ตลาดที่พอตลาดดีเราก็ซื้อ พอตลาดตกแรงกลัวก็ขายก็ไม่มีทางจะประสบความสำเร็จ>

.

สำหรับหลักเกณฑ์ในการขายหุ้น คือ

.

1. เราเจอหุ้นที่ดีกว่า ในขณะที่หุ้นในมือมีUpsideน้อยกว่า ก็พิจารณาขายเพื่อเข้าลงทุนหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่า

2. หุ้นที่ถืออยู่หรือกิจการนั้นมีพื้นฐานที่เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงอย่างถาวร ซึ่งแม้จะขาดทุนเราก็ต้องยอม การหาเรือใหม่ง่ายกว่าการอุดรอยเรือที่รั่วเสมอ

3. หุ้นขึ้นจนถึงราคาสมเหตุสมผล หรือมูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณไว้ ซึ่งบ่อยครั้งหุ้นก็วิ่งต่อจากที่ขาย ก็คิดให้คิดว่าแบ่งให้คนอื่นกำไรบ้างก็จะได้สบายใจ

.

เมื่อเริ่มสู้นั้น มันมืดยิ่งกว่ามืด…
ครั้นยืนหยัดยาวยืด มืดค่อยหาย…
พอมองเห็นลางลาง อยู่ทางปลาย…
ชัยชนะ ขั้นสุดท้าย ไม่เกินรอ…

.

สุดท้ายพี่โจอยากให้อดทนลงทุนให้สมการการทบต้นทำงาน อย่าพึ่งดึงกำไรออกมาใช้ "ผมได้นั่งอยู่ใต้ร่มไม้ในวันนี้ เพราะผมได้ปลูกต้นไม้ไว้เมื่อ10ปีที่แล้ว "

.

#นักลงทุนหมายเลข6
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 172

โพสต์

สวัสดีทุกท่านครับ ตอนนี้ผมสรุป Oppday ของรอบไตรมาส 2/20 เรียบร้อยแล้ว เลยจัดรวม Pack สรุป Oppday ฉบับ Pocket 40 ตอน 40 บริษัท เผื่อใครอยากกลับไปอ่านทบทวน หรือท่านไหนที่เราเพิ่งรู้จักกันไม่นาน ลองกลับไปอ่านได้นะครับ สามารถกดอ่านบริษัทที่ท่านสนใจได้ตาม LInk เลยครับ
.
รอบงบการเงินประจำปี 2019
ตอนที่ 1 MINT https://bit.ly/2Y0Ujpr
ตอนที่ 2 CENTEL https://bit.ly/2Xxoy8H
ตอนที่ 3 SEAFCO https://bit.ly/3cwdP2x
ตอนที่ 4 AU https://bit.ly/3mIN6oV
ตอนที่ 5 CRC https://bit.ly/2TITDU5
ตอนที่ 6 BCH https://bit.ly/2zQYkoI
ตอนที่ 7 GLOBAL https://bit.ly/2BxvBWk
ตอนที่ 8 JAS https://bit.ly/2Xu0mE1
ตอนที่ 9 COM7 https://bit.ly/3dxPaM5
ตอนที่ 10 BGRIM https://bit.ly/3gLGDHw
ตอนที่ 11 TM https://bit.ly/2Mvov6O
ตอนที่ 12 HMPRO https://bit.ly/2MuRGH6
ตอนที่ 13 SAPPE https://bit.ly/2XWU2UA
.
รอบงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2020
ตอนที่ 14 ADVANC https://bit.ly/2U9mv8E
ตอนที่ 15 OSP https://bit.ly/306wEqv
ตอนที่ 16 SABINA https://bit.ly/2MpmPMi
ตอนที่ 17 CPALL https://bit.ly/3gUzAw7
ตอนที่ 18 PSH https://bit.ly/2AzHMBA
ตอนที่ 19 RBF https://bit.ly/2Mug9N2
ตอนที่ 20 BAFS https://bit.ly/2z6Bvgi
ตอนที่ 21 TQM https://bit.ly/2ZXTss2
ตอนที่ 22 ORI https://bit.ly/2HRqZh1
ตอนที่ 23 PTG https://bit.ly/30Hluak
ตอนที่ 24 EA https://bit.ly/3g0EhUl
ตอนที่ 25 WHAUP https://bit.ly/3jGv6La
ตอนที่ 26 NWR https://bit.ly/300ADV9
ตอนที่ 27 RS https://bit.ly/3jF1uxz
ตอนที่ 28 ILM https://bit.ly/2P2yku9
.
รอบงบการเงินไตรมาส 2 ปี 2020
ตอนที่ 29 DELTA https://bit.ly/35QkMdm
ตอนที่ 30 ZEN https://bit.ly/3jPOa8u
ตอนที่ 31 PTTEP https://bit.ly/2HJhwsr
ตอนที่ 32 DOHOME https://bit.ly/32j741V
ตอนที่ 33 XO https://bit.ly/3encEFe
ตอนที่ 34 TEAMG https://bit.ly/3mF9nUz
ตอนที่ 35 STGT https://bit.ly/3jPOnZk
ตอนที่ 36 APP https://bit.ly/380BNV2
ตอนที่ 37 KTC https://bit.ly/386jGx3
ตอนที่ 38 TNP https://bit.ly/35QSxvb
ตอนที่ 39 TTW https://bit.ly/383MJ46
ตอนที่ 40 HTC https://bit.ly/3mK1OvE
.
ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่เริ่มเขียนสรุป Oppday ก็ได้รับการตอบรับที่ดีตลอดมา ต้องขอบคุณทุกท่านจริงๆที่ติดตามอ่านมาตลอดนะครับ ดีใจที่หลายๆคนชอบ ถ้ายังได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่องผมก็คงจะเขียนไปเรื่อยๆครับ เอาให้ครบ 100 ตอนไปเลย! 555+
.
ตอนนี้งบไตรมาส 3 เริ่มทยอยออกมาแล้ว เดือนนี้บริษัทต่างๆก็จะกลับมา Oppday อีกครั้งครับ เดี๋ยวผมจะกลับมาสรุปให้อ่านเหมือนเดิมน้า หรือถ้าเพื่อนๆสนใจอยากให้สรุปบริษัทไหน สามารถ comment มาบอกกันได้เลย ฝากติดตามนะครับ : )
.
และอย่างที่บอกทุกๆท้าย Content ว่าการเขียน Oppday เป็นการสรุปข้อมูลให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมธุรกิจตามที่บริษัทนำเสนอเท่านั้น + มุมมองส่วนตัวของผมเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนต้องศึกษาเพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเองครับ
Pocket investor
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 173

โพสต์

เล่าเท่าที่รู้ในช่วง Covid-19
REITs & Property fund ซื้อได้หรือยัง

เห็นช่วงนี้เริ่มจะมีผู้ติดเชื้อcovidทาวภาคเหนือ เพิ่มขึ้น
เลยเริ่มกลับมาเขียนบทความใหม่อีกครั้ง

ช่วงcovid กองReits , Property fund ถูกขายออกมาเยอะมาก
ถ้าดูจากperformanceรายเดือน เปรียบเทียบระหว่าง ไทยและสิงคโปร์ (SG)

พบว่า ช่วงเกิดCovid มีค-เมษายน -20% พอๆกัน

แต่พอเริ่มจาก พค เป็นต้นมา SG outperform REITs ทั่วโลกรวมทั้งไทย

ขณะที่ REITs ไทยติดลบมาตลอดตั้งแต่ มิย ถึง ตค 63

สาเหตุมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1.SG งดจ่ายเงินปันผลกองREITsได้ ทำให้มีสำรองเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน

2.Interest coverage ratio (ICR) หมายถึงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย

กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 2.5เท่า ตอนนี้ได้รับการปรับลด เพื่อให้มีสภาพคล่อง

3.มีการrebate คืนภาษีให้กับผู้เช่า เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง

4.SG มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ

นี่คือสาเหตุที่ทำให้ REITs SG ทรงตัว เป็นบวกในช่วง มิย ถึง ตค

ช่วงเดือน ตค สินทรัพย์เสี่ยง รวมถึง Bond , High yield bond โดนขายหมด

แต่พอ เข้าเดือน พย มีข่าววัคซีนมีความคืบหน้า และ ประธานาธิบดีคนใหม่คือ โจ ไบเดน

ทำให้ REITsปรับตัวขึ้นทั้งไทยและSG

ส่วนกลางเดือน พย RCEP ซึ่งเป็นห่วงโซ่ทางฝั่งเอเชีย ได้บรรลุข้อตกลงกัน โดย อินเดียถอนตัวไป



เรามาดูเป็นรายSectorทั้งฝั่งไทยและสิงคโปร์

1.Industrail

ไทย ค่อนข้างยืดหยุ่น

Covid ทำให้โรงงานต้องdiversify ส่วนของsupply chain

โดย ส่วน modern logistic ,Vacancy เพิ่มขึ้นเป็น 15%

ส่วน Ready Build ,Vacancy ปรับตัวลดลงเหลือ 20%

แต่ REITs ของ SG ไม่ค่อยโดนกระทบจากCovidมากนัก และ ค่า PMIปรับตัวสูงขึ้นหลังCovid



2.Retail

ไทย เริ่มจากดีขึ้นหลังรัฐบาลเริ่มคลาย lock down คนเริ่มออกไปจับจ่ายใช้สอย แต่ห้างที่พึ่งพานักท่องเที่ยวยังโดนกระทบอยู่

SG ห้างปรับตัวค่อนข้างดี โดยเฉพาะurban ตอนนี้มีกิจกรรมจัดในห้างแล้ว และ มีการลดค่าเช่าลานกิจกรรมช่วยด้วย

ส่วนE-commerceจะกระทบห้างไหม ตอบว่า จะโตขนานกันไป โดย จะมีการตั้งstoreในห้างเพื่อให้คนซื้อผ่านonlineมั่นใจมากขึ้น

(Omni-channel)



3.Office

ไทย demandยังต้องการเพิ่มไม่มาก ขณะที่supplyเพิ่มมากกว่า

Q2 occupancy 92% และคาดการณ์ว่าปี2023 จะปรับลดเหลือ 85%

SG มองว่าดีขึ้น เพราะพื้นที่จำกัด ถึงมีWFH แต่จำเป็นต้องมีoffice อยู่

รวมถึง Regional office จากฮ่องกงเริ่มเพิ่มสาขามาสิงคโปร์

และ Technology hub ก็เริ่มมาตั้งที่ สิงคโปร์ด้วย



การคิดมูลค่า

: Search for yield ยังคงมีต่อเนื่องเพราะ อัตราดอกเบี้ยของ US,TH,EU = 0.13% , 0.5% , 0% ตามลำดับ

พันธบัตรรัฐบาลเริ่มไม่น่าสนใจ คนก็จะหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้น High yield น่าสนใจมากขึ้น รวมถึงตราสารหนี้

ที่เป็น investment grade ด้วย การลงทุนในREITsยิ่งน่าสนใจ

US ปริมาณเงิน M2 ปรับเพิ่มจาก 4 ล้านล้าน เป็น 7 ล้านล้าน$

สภาพคล่องจะเข้ามาฝั่งเอเชีย ทำให้ผลักดัน หุ้นและREITsที่ยังตามหลังอยู่



สรุป

TH REITs , Property fund

เริ่มน่าสนใจ เพราะปันผลที่ได้รับย้อนหลัง12 เดือน = 5.8% ตอนนี้ได้ 6.5%

Yield spread ปรับจาก 4.5% เป็น 5.2%

SG ใกล้เคียงกับผลตอบแทนเดิม

ปันผลที่ได้รับย้อนหลัง12 เดือน = 4.2% ตอนนี้ได้ 4.9%

Yield spread ปรับจาก 3.3% เป็น 4.0%

แต่ก็ดูภาพรวมแล้ว ตลาดที่SG น่าสนใจกว่า เพราะมีโอกาสโตและได้รับผลกระทบน้อยกว่า

จะเห็นว่าสัดส่วนในการถือ SG มากกว่า ไทย



Sector ที่น่าสนใจ

ไทย ได้แก่ Industrial, Retail ที่มีความสามารถในการปรับตัวกับtrendการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

SG ได้แก่ Suburban Retail Mall , Industrial ที่มีมูลค่าสมเหตุผล
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 174

โพสต์

ต่างชาติลุยหุ้นไทยเพิ่มขึ้น รายย่อยควรทำอย่างไร

จะเห็นได้ว่าต่างชาติลุยหุ้นไทยซื้อเพิ่ม40,000กว่าล้านบาท
และคนที่ขายคือรายย่อย

ดัชนีวันนี้แตะ1,500จุดแล้วย่อลง

ในฐานะนักลงทุนควรทำอย่างไร
สังเกตอย่างนึงไหมว่าอะไรวิ่งตามการซื้อของต่างชาติ
ค่าเงินบาทรับ

เงินบาทตอนนี้แข็งมาก เพราะเวลาต่างชาติซื้อต้องแลก$เป็นเงินบาท
ทำให้มีความต้องการเงินบาทเพิ่มขั้น
ตามหลักDemand ,Supply
ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจนต่ำกว่า30บาทต่อ$

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าต่างชาติจะออก
ก็มาดูค่าเงินว่าจะอ่อนลงเมื่อไหร่ก็เตรียมตัว
เพราต่างชาติได้กำไรจากค่าเงินสัก10%รวมถึงกำไรจากตลาดหุ้นสัก10%
กองต่างประเทศที่มาลงทุนแบบฉาบฉวยก็คงขายออกแล้วครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 175

โพสต์

สายไปไหมที่จะลงทุนหุ้นไทยตอนใกล้1500จุด



ดัชนีSET ณ วันที่ 9 ธค 2563 อยู่ที่ 1,482.67 จุด

ประเด็นสำคัญ

1.ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพย หลังจากมีข่าววัคซีนมา และ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ

จบลง โจ ไบเดนชนะการเลือกตั้ง ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดเกิดใหม่รวมไทยที่มีเงินไหลเข้ามาลงทุน

เนื่องจากมีสภาพคล่องท่วมโลกจากการทำQEของสหรัฐ ยุโรป และ ญี่ปุ่น

2.หุ้นไทยหลายๆตัวปรับขึ้นนับจากช่วงCovid-19ในเดือนมีนาคม เพราะได้รับประโยชน์จาก

เหตุการณ์Covid

เช่น กลุ่มแรกที่ประชาชนยังต้องใช้ ถึงแม้จะเกิดCovidก็ตาม เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์

ส่วนกลุ่มที่สอง คือได้รับประโยชน์หลังจากรัฐคลายLock down เช่น ห้างสรรพสินค้า ทางด่วน และ ห้างสรรพสินค้า

กลุ่มต่อมา คือ มีโอกาสเปิด แต่ต้องให้เวลา เช่น โรงแรมที่มีลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ซึ่งตอนนี้ หุ้นกลุ่มที่หนึ่งและสองขยับขึ้นมาแล้ว ส่วนกลุ่มสาม บางตัวก็เริ่มขยับขึ้นมาแม้ลูกค้ายังไม่มาก็ตาม

3.ยังมีหุ้นอีกหลายตัว ที่ดัชนีเพิ่มมากว่า 200 จุด แต่ราคากลับลดลง ถ้าเราไปลงทุนก็ขาดทุนได้

แล้วเราจะหาหุ้นที่โอกาสเด้งได้อย่างไรในช่วงที่ตลาดหุ้นสูงมาก PE 29 เท่า????



จึงเป็นที่มาของบทความอันนี้ครับ ว่า สายไปไหมที่จะลงทุนหุ้นไทยตอนใกล้1500จุด

คุณรู้ไหมว่า

SET ตอนนี้ ถ้าเทียบกับตอนต้นปี ยังติดลบอยู่ 9% แต่ถ้าเทียบกับช่วงก่อนCovid วันที่ 6 มีนาคม ยังเป็นบวกอยู่ 6%

ถ้าเราหาหุ้นที่เก่งกว่าSET ในช่วงCovid ได้ แต่ยังติดลบมากกว่าSETนับจากต้นปี 2563

เราใช้Criteriaนี้ มาเป็นตะแกรงร่อนหุ้นในSET100 มา แล้ว ค่อยมาคัดอีกที ก็อาจมีโอกาสเจอหุ้นดีๆในช่วงนี้ก็ได้

เริ่มกันเลยครับ SET ( -9% / 6% )

1. ธนาคาร หลังจากร่อนด้วย Criteria ว่า ราคาเทียบกับตอนต้นปี ยังติดลบมากกว่า 9% แต่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
จากวันที่ 6 มีนาคม ยังเป็นบวกมากกว่า 6% พบ สองตัวคือ SCB ( -25% / 11.6% )
TMB ( -27.4% / 14% )
2. กลุ่ม วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี การแพทย์ รับเหมา ท่องเที่ยว ขนส่ง และ พาณิชย์ ไม่เจอตัวใดอยู่ในCriteria
3. กลุ่ม เงินทุน หลักทรัพย์ เจอ 1 ตัว คือ อิออน ( -12.6% / 19% )
4. กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจอ 2 ตัว คือ AMATA ( -16.9% / 14.4% ) , WHA ( -19.6% / 7.8% )
5. กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ เจอ 1 ตัว คือ PLANB ( -9.9% / 40.4% )
6. กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค เจอ 4 ตัว คือ BANPU ( -24.8% / 25% ) , GPSC ( -16.6% / 8.3% )
TOP ( -20.4% / 32.9% ) , SPRC ( -18.7% / 31.8% )

หลังจากเราได้หุ้นทั้ง 10 ตัว ที่แข็งแกร่งกว่าตลาดในช่วงcovid แต่ยังแพ้ตลาดนับจากต้นปี

เราก็มาดูพื้นฐานหุ้นแต่ละตัวว่า มีหุ้นตัวไหนที่มีพื้นฐานดี และ จะฟื้นในปีหน้า หรือ ได้รับประโยชน์จาก Megatrend

นโยบายภาครัฐ เป็นต้น ก็ต้องปล่อยให้เพื่อนทำการบ้านต่อ อาจจะเจอหุ้นที่ทำกำไรเป็นเด้งให้กับportได้ครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 176

โพสต์

ลงทุนก่อน ระหว่าง หรือหลังวิกฤตดีกว่า?
CR:
Monsicha Hoonsuwan

? ไฮไลท์

คนที่จับจังหวะตลาดได้แม่นยำ สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าคนที่จับจังหวะตลาดไม่เก่ง และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าคนที่ไม่ได้จับจังหวะตลาด
แต่น้อยคนในโลกนี้จะจับจังหวะตลาดได้แม่นยำ สำหรับคนเหล่านี้ การจับจังหวะตลาดจะทำให้ผลตอบแทนลดลงมากกว่าเพิ่มขึ้น
ยิ่งคุณขายหุ้น ออกจากตลาดไปรอจังหวะลงทุนนานเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็มีสิทธิจะลดลงมากขึ้นเท่านั้น
สำหรับคุณ Covid-19 คือโอกาส 10 ปีมีครั้ง ที่ต้องฉกฉวย

คุณตื่นเต้นที่จะได้ซื้อหุ้นดีราคาถูก

คุณมุ่งมั่นวางรากฐานให้พอร์ตเติบโต 10 เด้ง 20 เด้ง ในอีก 10 ปีข้างหน้า

คุณขะมักเขม้นกับการอ่านงบการเงิน ศึกษาธุรกิจ เพื่อเฟ้นหาหุ้นที่จะพาพอร์ตคุณพิชิตเป้าหมายนั้นให้ได้

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคลางแคลงใจ…

จังหวะนี้ซื้อหุ้นได้หรือยัง?

แม้แต่นักลงทุนเก่งๆ อย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือดร. นิเวศน์ ก็ฟันธงขนาดนั้นไม่ได้

อดีตที่ผ่านมา จึงเป็นครูที่ดีที่สุด

และอดีตก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เซียนที่จับจังหวะตลาดหุ้นได้แม่นยำ สามารถสร้างผลตอบแทนสูงกว่าคนที่จับจังหวะไม่แม่น…แน่นอนอยู่แล้ว

แถมในบางกรณี ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าคนที่ไม่ได้จับจังหวะตลาด หรือคนที่ถือหุ้นผ่านวิกฤตไปโดยไม่ทำอะไรเลยด้วย

แต่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไม่ใช่เซียนที่จับจังหวะตลาดได้แม่นยำ
สถิติที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ จะแสดงให้คุณเห็นว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับพอร์ตของคุณ…หากคุณไม่ใช่เซียนที่จับจังหวะได้แม่นยำ แต่พยายามจะจับจังหวะตลาดยามวิกฤต

เปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนช่วงวิกฤตและหลังวิกฤต

แผนภูมิด้านล่างคือผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาด SET ที่รวมเงินปันผลแล้ว หรือ SET Total Return Index ในช่วงวิกฤต Subprime และหลังจากนั้นประมาณ 10 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้แก่

นาย ก ไม่ cut loss ลงทุนฝ่าวิกฤตเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เริ่มลงทุนในปี 2551 และถือต่อไป 10 ปี จนถึงปี 2560
ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น 10 ปี 11.61%
นาง ข เริ่มต้นลงทุนหลังวิกฤต ตลาดยังซบเซา ไม่ชัดว่าจะฟื้นตัวหรือลงต่อ
เริ่มลงทุนในปี 2552 และถือต่อไป 10 ปี จนถึงปี 2561
ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น 10 ปี 17.51%
นางสาว ค รอจนแน่ใจว่าตลาดฟื้นตัวเป็นขาขึ้นแล้วจึงเริ่มลงทุน
เริ่มลงทุนในปี 2553 และถือต่อไป 10 ปี จนถึงปี 2562
ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น 10 ปี 11.82%
นาย ง cut loss ตอนเกิดวิกฤต รอจนแน่ใจว่าตลาดฟื้นตัวแล้วจึงลงทุนใหม่
ขายหุ้นทิ้งในปี 2551 และกลับมาลงทุนใหม่ในปี 2553
ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้น 10 ปี 4.87%

นาง ข สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด ด้วยการลงทุนหลังวิกฤต ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดซบเซาเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังเข็ดขยาดหวาดกลัว แต่เพราะเข้าใจธรรมชาติของตลาดเป็นอย่างดี นาง ข จึงลงทุนด้วยความมั่นใจ ไม่จำเป็นต้องรอดูสัญญาณการฟื้นตัวใดๆ ทั้งสิ้น
ส่วนคนที่ได้ผลตอบแทนรองลงมาคือ นางสาว ค ที่พยายามติดตามข่าวสาร จนแน่ใจว่าตลาดฟื้นตัวแล้วค่อยลงทุน แต่ความพยายามของนางสาว ค กลับให้ผลตอบแทนสูงกว่านาย ก แค่หลักทศนิยม ทั้งๆ ที่นาย ก ไม่ได้ทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ ปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านพ้นไป

ที่แย่ที่สุดคือนาย ง ที่พยายามมากกว่าใครเพื่อน ทั้ง cut loss ทั้ง จับจังหวะตลาดฟื้นตัว แต่กลับทำผลตอบแทนได้น้อยกว่านาย ก เสียอีก!

นั่นก็เพราะว่า นาย ง พลาดจังหวะซื้อหุ้นตอนที่หุ้นถูกมากๆ แต่กลับมาลงทุนในปี 2553 ช่วงที่ตลาดขึ้นมาแล้ว จึงได้กำไรไม่เยอะเท่ากับคนอื่นๆ บวกกับที่ขาดทุนตอน cut loss ในปี 2551 ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นเหลือประมาณ​ 5% เท่านั้น

เห็นได้ชัดเจนว่า ผลตอบแทน ไม่ได้แปรผันตามความพยายามของนักลงทุน

การที่คุณพยายามทำเยอะขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผลตอบแทนดีขึ้น หากคุณไม่ใช่เซียนที่จับจังหวะตลาดได้แม่นจริงๆ โอกาสที่คุณจะสูญเสียเหมือนนาย ง สูงกว่าโอกาสที่คุณจะทำกำไรดีๆ แบบนาง ข

CEO ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ แห่ง Jitta Wealth เองก็เคยให้แง่คิดไว้ว่า ถ้าคุณจับจังหวะตลาดไม่เป็นก็ไม่ต้องไปจับมัน ถือไปยาวๆ ดีกว่า ยิ่งยาวยิ่งดี ยิ่งถ้าคุณสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่ดีและราคาถูกได้ คุณก็จะลดความเสี่ยงพอร์ตคุณได้มากขึ้น และเพิ่มกำไรในพอร์ตให้สูงขึ้นอีก

ยิ่งรอจังหวะนานเท่าไหร่ ยิ่งสูญเสีย

ไม่ใช่แค่จับจังหวะผิดเท่านั้นที่ทำให้คุณสูญเสียผลตอบแทน

แต่ทุกวินาทีที่คุณไม่ลงทุนในหุ้น คือผลตอบแทนที่ลดลงไปเรื่อยๆ

ทางสำนักข่าว CNBC ได้ลองเปรียบเทียบข้อมูลดัชนี S&P500 ดูเพื่อหาคำตอบว่า หากคุณไม่ขายตัดขาดทุนช่วงวิกฤต แต่ถือยาวเหมือนนาย ก หลังผ่านไป 1-3 ปี ผลตอบแทนของคุณจะเป็นอย่างไร

ออกมาเป็นที่ชัดเจนว่า หากคุณถือ S&P500 ฝ่าวิกฤตไปแบบไม่สนใจอะไรเหมือนนาย ก ผ่านไป 1 ปี ผลตอบแทนที่คุณได้ ก็สูงกว่าเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับคนที่พลาดช่วง 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนแรกที่ตลาดฟื้นตัว

และเมื่อผ่านไป 3 ปี ผลตอบแทนก็ทิ้งคนที่ออกจากตลาดชั่วคราวแบบไม่เห็นฝุ่น

แสดงให้เห็นว่า การลงทุนในช่วงวิกฤตจะชี้ชะตาพอร์ตของคุณในระยะยาว ว่าจะทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหน ขอแค่คุณลงทุนต่อเนื่อง เลือกหุ้นที่พื้นฐานดีๆ เผื่อ margin of safety เอาไว้เยอะๆ ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสกำไรมากขึ้นเท่านั้น เท่านี้ วิกฤตก็จะกลายเป็นเพื่อนที่คุณพร้อมอ้าแขนต้อนรับด้วยความยินดี

แต่จะทำเช่นนั้นได้ คุณต้องมีสติ พิจารณาข่าวสารอย่างถ้วนถี่ด้วยเหตุผล ป้องกันตนเองไม่ให้หลงระเริงไปกับข่าวดีหรือหมกมุ่นกับข่าวร้ายจนมากเกินไป นอกจากนี้ ก็ควรใช้เวลานี้ศึกษาหุ้นและเปรียบเทียบบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ลงทุนในสิ่งที่คุณรู้เพื่อลดความเสี่ยง สุดท้ายคุณก็จะผ่านทุกวิกฤตไปได้แบบไร้รอยขีดข่วน

ที่สำคัญ พยายามนำเงินเย็นที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในอนาคตอันใกล้มาลงทุน เพราะหากเกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ แล้วคุณโดนบังคับขายหลักทรัพย์เนื่องจากใช้ margin จะทำให้คุณไม่มีเงินมาลงทุนหลังวิกฤต และพลาดโอกาสที่พอร์ตจะเติบโตไปทั้งหมดถ้าโดนบังคับให้ออกจากตลาด

นั่นคือพลาดโอกาสทองไปหมดสิ้น
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 177

โพสต์

Investment Trend 2021 โลกลงทุน หลังโควิด โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ฉายภาพรวมเศรษฐกิจโลกว่าระยะสั้น สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นแน่นอนเพราะโควิด-19ยังระบาดรุนแรงที่สหรัฐและยุโรป
และน่าจะต่อเนื่องไปถึงเดือนก.พ.2564เพราะหมดช่วงฤดหนาว ทำใหเ้ศรษฐกิจในครึ่งปีแรกยังเดินหน้า กระท่อนกระแท่น
ก่อนจะเริ่มเข้าสู่โหมดขับเคลื่อนอย่างมั่นคงในครึ่งปีหลังแทน

อีกทั้โลกยังเผชิญกับผลกระทบการขับเคลื่อนโยบายการคลังของสหรัฐที่เป็นช่วงผลเปลี่ยนถ่ายอำนาจหลัง ทรัมป์ไม่ยอมรับผลการแพ้การเลือกตั้ง
ของโจไบเดนส่งผลกระทบให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าและค่าเงินบาทจะแข็งค่า
ยิ่งเป็นลมต้านของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างเปราะบางตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกไว้
แต่ยังเห็นสัญญาณจากธนาคารกลางประเทศต่างๆประกาศพร้อมใช้นโยบายการเงินเข้ามาเสริมระหว่างที่มีสูญญากาศทางการเมือง ของสหรัฐ

สิ่งที่ต้องติดตาม

1.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยากลำบากและคาดว่าจะกลับมาสู่สู่ถานการณ์ดีขึ้นในช่วงปลายปี2564
แม้วัคซีนจะเริ่มออกมาใช้ภายในครึ่งปีหลังปีหน้า

2. การปรับโครงสร้างหนี้แลละการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศ
จะเป็นอย่างไรต่อหลังธปท.ครบกาหนดให้สถาบันการเงินผ่อนปรนลูกหน้ีทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง
และส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ.

ส่วนตลาดแรงงาน. ปัญหาคนตกงานหรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ซึ่งกระทบต่อกำลังซื้อโดยรวม ขณะที่รัฐบาลกำลังหามาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ
และกระตุ้นการบริโภคซึ่งยังไม่เห็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ชัดเจน

3. นโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ระหว่างประเทศ โดยมี 2 เรื่องหลักคือ รอผลสรุป
เรื่อง RCEP ซึ่งคาดว่าจะผลประกาศในกลางปี2564 ทางด้าน CPTPP
ที่สหรัฐสนใจจะเข้าร่วมหลังไบเดนรับตำแหน่งประธานาธิบดี



ท่องเที่ยวไทยไม่เหมือนเดิมต้องเน้น Wellness Economy / Health Medical Tourism

หลังโควิด-19การท่องเที่ยวไทยจะไม่เหมือนเดิม จะกลับมาเหมือนปีที่แล้วยาก
คาดว่าปีหน้ามีนักท่องเที่ยวเพียงหกล้านคน
ดังนั้นต้องพยายามกระตุ้นการใช้จ่ายให้มากขึ้น เช่น health medical tourism,
Wellness economy


5 เรื่องที่ไทยควรปรับแก้

1. การท่องเที่ยวไทยตอ้ งเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณภาพ Wellness Economy / Health Medical Tourism

2. ควรรีบประยุกต์เรื่องการใกล้เป็นสังคมผู้สูงอายุให้สอดคล้องไปกับเศรษฐกิจWellness Economy เช่น ทำอย่างไร
ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น หรือ ประชาสัมพันธ์ว่าถ้าต้องการมีสุขภาพดีขึ้น ให้อยู่ที่ไทย

3. การนำเรื่องเกษตรให้เกิดกลยุทธ์3เรื่องคือ
เกษตรเพื่อสุขภาพ
Smart Farming
การทำให้โลกมีความสะอาดมากขึ้น

4. อุตสาหกรรมรถยนต์ประเทศไทยควรปรับเข้าสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น(EV)

5.ปรับเรื่องนโยบายพลังงานจากปัจจุบันพึ่งพาก๊าซธรรมชาต
จากเมียนมาและพลังงานนำ้ไปผลิตกระแสไฟฟ้าจากลาว
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร

โพสต์ที่ 178

โพสต์

ทฤษฎีลงทุน 10 เด้ง 'สถาพร งามเรืองพงศ์' เซียนหุ้นวัย 25 ปี

เจาะลึกเทคนิคลงทุน 'เซียนหุ้นวัยเบญจเพส' เจ้าของพอร์ตหลายสิบล้านบาท 'ฮง' สถาพร งามเรืองพงศ์ เล่นหุ้นให้ 'รวย' ต้องดูพื้นฐาน 70% เทคนิค 30%
ฮงคุยว่าเงินลงทุนของเขาเพิ่มขึ้นราวๆ 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี (2552-2553) ขณะที่พอร์ตลงทุนขยายตัวประมาณ 40-50 เท่า ภายในเวลา 7 ปี (2547-2553) หลังประสบความสำเร็จอย่างแรงฮงพัฒนาตัวเองไปเป็น "วิทยากร" เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุน มีนักลงทุน "รุ่นพี่-รุ่นอา" จองที่นั่งเข้าฟังจำนวนมาก อีกทั้งนามแฝง Hongvalue ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างดีใน "เว็บบอร์ด" แวลูอินเวสเตอร์
แม้ฮงแฝงตัวกลมกลืนกับแวลูอินเวสเตอร์ (VI) แต่เขาก็นิยามตัวเองเป็น "ลูกครึ่ง Value Investor"
"ผมจะลงทุนกึ่งแวลู จะผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งต่างจากนักลงทุน Value ทั่วไป แต่วันนี้มีนักลงทุน VI รุ่นใหม่ยึดแนวทางนี้เพิ่มขึ้น เพราะพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลดีมาก"
ฮงกล่าวว่า การจะซื้อหุ้นสักหนึ่งตัว นักลงทุนควรต้องดูทั้งปัจจัยพื้นฐานและกราฟเทคนิคควบคู่กันไป เพราะการดูกราฟย้อนหลังจะทำให้เห็น Demand และ Supply ของหุ้นในอดีต ที่สำคัญจะเห็นจุด "นิวไฮ" ของหุ้นด้วย
"สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เหมือนนักลงทุนหุ้นคุณค่าทั่วไปคือ ผมยอมรับการขาดทุนได้บ้าง แต่ถ้าเป็นนักลงทุน VI แท้ๆ ต้องไม่มีคำว่า Cut Loss (ตัดขาดทุน) แต่ผมคิดแบบนั้นไม่ได้ตราบใดที่ยังชื่นชอบการเล่นหุ้นคอมมูนิตี้ (สินค้าโภคภัณฑ์) ที่สำคัญนักลงทุน VI จะไม่ดูกราฟดูปัจจัยพื้นฐานอย่างเดียว เขามองว่าดูกราฟเหมือนมองกระจกหลัง มันเกิดขึ้นไปแล้ว ไม่สามารถสะท้อนธุรกิจในปัจจุบันหรือในอนาคตได้"
สำหรับเทคนิคการลงทุนฮงจะเน้นดูปัจจัยพื้นฐาน 70% อีก 30% จะดูเทคนิเคิล และกราฟหุ้นย้อนหลัง หลายครั้งเขาบอกว่ากราฟหุ้น "ช่วยชีวิต" ไว้ ทำให้ไม่ต้อง "ขายหมู" (ขายถูก) ให้คนอื่น โดยเขายอมลงทุนเสียเงินปีละ 20,000 บาท ติดตั้งโปรแกรม APEX เพื่อดูกราฟราคาหุ้นโดยเฉพาะ
ยกตัวอย่างผลดีจากการดูกราฟ เช่น ราคาหุ้นทำนิวไฮ 10 บาท อยู่ดีๆ ลงมา 8-9 บาท แล้วซื้อขาย 8-9 บาทนานพอสมควร อยู่ๆ ก็วิ่งขึ้นไป 10 บาท โดยมีวอลุ่มเข้ามาเยอะมาก เหตุการณ์ลักษณะนี้ทำให้คิดได้ว่าบริษัทนี้ต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง "ผมก็จะเริ่มตรวจสอบข้อมูลทันที" บางครั้งฮงเริ่มแกะรอยจากหุ้นที่มี "วอลุ่มผิดสังเกต" จากนั้นก็จะคัดเลือกหุ้นที่ "สวย" (ผลประกอบการดีที่สุด) เข้าพอร์ต
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเลือกหุ้นที่ "เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของกำไร" และต้องอ่านเกมต่อไปว่า "ไตรมาสที่เหลือ" ของปีนั้นๆ ต้องสามารถรักษากำไรสุทธิระดับนี้(ดี) ได้ต่อเนื่อง ขั้นตอนจากนั้น ต้องเลือกหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 6-7% ต่อปี และข้อสุดท้าย ต้องเลือกหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่า P/E ของกลุ่ม...เหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นของหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้สูงจากการลงทุน
เมื่อได้หุ้นที่เข้าข่ายกำไรสุทธิทำจุดสูงสุดใหม่ จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และค่า P/E ไม่สูง (ราคาหุ้นยังไม่แพง) ได้แล้ว ฮงก็จะเริ่มปฏิบัติการวิเคราะห์เจาะลึก "งบการเงิน" ทันที โดยเน้นหนักไปที่ "กระแสเงินสด" ของกิจการ พยายามดูย้อนหลังให้ได้มากที่สุด
โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของกิจการ (EBITDA) ต้องมีตัวเลขใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ต้องไม่เกิน 1 เท่า และควรเป็นหนี้สิน (หมุนเวียน) ที่ไม่มีดอกเบี้ย
เท่านั้นยังวางใจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ฮงจะทำการวิเคราะห์ "โครงสร้างธุรกิจ" ผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ทำกำไรให้บริษัท รวมทั้งอ่านบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เขียนถึงหุ้นตัวนี้ รวมทั้งค้นหาบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารมาอ่านเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นที่จะวางเดิมพันราคาต้อง "วิ่ง" ชัวร์!
"ผมจะอ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่โบรกเกอร์ส่งมาในอีเมล์ทุกเช้า รวมถึงอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อให้เห็นทิศทางของบริษัท ส่วนใหญ่จะใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเพียง 2 วัน"
เมื่อหาข้อมูลครบถ้วนแล้วก็จะเริ่มทำ "ประมาณการผลประกอบการล่วงหน้า" เพื่อประเมินราคาที่เหมาะสมในอนาคต สำหรับวิธีการเข้าเก็บหุ้นจะใช้สูตร 30:30:30:10 ซื้อแล้วหุ้นขึ้นถึงซื้อ "สเต็ปที่สอง" "สเต็ปที่สาม" และ "สเต็ปที่สี่"
หมายความว่าซื้อครั้งแรก 30% สเต็ปที่สอง (อีก 30%) จะซื้อเพิ่มก็ต่อเมื่อราคาหุ้นขยับตัวเพิ่มขึ้น 7-8% ถ้าซื้อ 30% แรกแล้วราคาไม่ขึ้นก็จะรอไปก่อน "ยังไม่ซื้อ" ตรงกันข้ามถ้าซื้อแล้ว 30% ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 8% ก็จะ Cut Loss (ตัดขายขาดทุน) ทิ้งทันที ถ้าทิ้งไว้นานเดี๋ยว "ออก(ของ)ไม่ได้"
เทคนิคที่ทำให้พอร์ตโตเร็ว 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี (2552-2553) เวลาตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ "กระทิง" หรือ "ขาขึ้นใหญ่" และมั่นใจหุ้นสุดๆ เขาจะใช้ "เงินกู้มาร์จิน" เพิ่มพลังบวกให้กับพอร์ต
ทุกวันนี้ศูนย์บัญชาการของฮงอยู่ที่บ้านแล้วสั่งซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ที่บ้านย่านพระราม 2 จะกั้นห้องไว้สำหรับนั่งดูหุ้นโดยเฉพาะภายในมีทีวี LCD 60 นิ้วตั้งอยู่กลางห้อง กิจวัตรประจำวันฮงจะตื่นนอนมานั่งในห้องนี้ตั้งแต่ 9 โมงเช้าแล้วอ่านข้อมูลทุกอย่างเริ่มตั้งแต่บทวิเคราะห์ หนังสือพิมพ์ เข้าเว็บบอร์ด Thaivi.org เหตุที่ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะเสียค่าคอมมิชชั่นเพียง 0.1% ถ้าโทรศัพท์สั่งผ่านมาร์เก็ตติ้งต้องจ่าย 0.15% (รายย่อยต้องจ่าย 0.25%)
"โดยปกติผมจะปรับพอร์ตลงทุนทุกไตรมาส (3 เดือน) เพราะสถานการณ์มักมีการเปลี่ยนแปลง ทุกครั้งที่งบการเงินประจำไตรมาสออก ผมจะนำข้อมูลที่ผู้บริหารบอกผ่านสื่อกับบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์มานั่งคำนวณตัวเลขผลประกอบการในไตรมาสถัดไป"
อีกหนึ่งปัจจัยความสำเร็จฮงจะ "เล่นหุ้นเป็นกลุ่ม" ประมาณ 7-8 คน เทคนิคการเล่นจะคล้ายๆ กัน พวกเขานัดเจอกันที่ "สโมสรทหารบก" ทุกๆ 2 สัปดาห์ ไม่วันเสาร์ก็วันอาทิตย์ เว้นว่าช่วงไหนตลาดหุ้นดีๆ ก็จะเจอกันสัปดาห์ละครั้ง กิจกรรมที่ทำจะเช่าห้องฉายโปรเจ็คเตอร์เพื่อแชร์ข้อมูลกัน คนไหนถนัดดูกราฟก็จะมาบอกว่าเส้นกราฟเทคนิคหุ้นตัวไหนสวย ใครถนัดพื้นฐานก็จะนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง
ส่วนการซื้อขายแต่ละคนจะตัดสินใจเอาเองไม่ค่อยบอกกัน ถ้ามีหุ้นตัวไหนเข้าตาฮงชอบสั่งซื้อหุ้นวันจันทร์ ซื้อเสร็จไม่เคยกำหนดว่าต้องถือยาวหรือสั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์จะเป็นตัวบอก แต่เขาจะเตือนตัวเองเสมอว่า "เล่นหุ้นต้องเล่นแบบ "ไร้ใจ" ถ้าใช้อารมณ์เล่นหุ้น (รัก-โลภ-โกรธ-หลง) มีโอกาสขาดทุนสูง ผมจะพยายามคิดเสมอว่าหุ้นตัวนี้ไม่ใช่ญาติเรา ไม่รัก ไม่เกลียด"
ในยามที่ตลาดหุ้นไม่น่าไว้วางใจฮงจะเล่นหุ้นด้วยบัญชีเงินสด ปัจจุบันซื้อขายประจำอยู่ที่ บล.เคทีซีมิโก้ ตามมาร์เก็ตติ้งคู่ใจย้ายมาจาก บล.พัฒนสิน
ล่าสุดในพอร์ตมีหุ้นอยู่ 3 ตัว ได้แก่ BCP ต้นทุน 21 บาท มองว่าหุ้นบางจากราคายังต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก ถ้าผลประกอบการไตรมาส 2 ออกมาสวยเหมือนไตรมาสแรก ก็อาจปรับราคาเป้าหมายขึ้นไปอีก บางจากถือเป็นหุ้นโรงกลั่นตัวเดียวที่มีค่า P/BV ต่ำที่สุด
อีกตัวที่ลงทุนอยู่คือหุ้น HEMRAJ ซื้อมาได้เดือนกว่าๆ แล้ว ต้นทุนแถว 2.10 บาท ชอบเพราะปี 2555 จะมีรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าทำให้บริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น และหลังเกิดสึนามิทำให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตมาเมืองไทย เหมราชก็จะได้ประโยชน์
ตัวสุดท้ายที่ลงทุนคือหุ้น CENTEL ตัวนี้ต้นทุน 7.30 บาท เก็บเพราะเห็นว่าผลประกอบการในไตรมาส 1 ปีนี้พลิกจากปี 2553 ขาดทุน 51 ล้านบาท มาเป็นกำไรสุทธิ 400 ล้านบาท ถือเป็นการทำนิวไฮในรอบ 5 ปี เพราะธุรกิจอาหารเติบโตมากขึ้น ธุรกิจโรงแรมก็ยังขยายตัวได้ดีอัตราการเข้าพักเพิ่มจาก 50-60% เป็น 70%
นอกจากหุ้นทั้ง 3 ตัวนี้แล้ว หุ้นตัวอื่นๆ ฮงบอกว่า ตอบตรงๆ ตอนนี้ยังหาตัวที่ถูกใจไม่เจอเลย วันนี้ยอมรับว่าสนใจลงทุนหุ้นต่างประเทศ แต่ยัง "เล่นยาก" เคยถามคนที่ลงทุน "หุ้นจีน" เขาบอกว่า "น่ากลัวมาก" บริษัทจีนมีการลงบัญชีไม่ค่อยโปร่งใสถ้าสุ่มสี่สุ่มห้ามีหวังขาดทุน ถ้ามีประสบการณ์แล้วเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังอีกครั้ง
ถามว่าเคยคิดอยากเป็นเจ้าของบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ เด็กหนุ่ม ตอบว่า แม้การซื้อหุ้นคือ "การซื้อธุรกิจ" แต่ไม่ได้หมายความว่าอยากเข้ามาบริหาร "ผมไม่คิดที่จะ “ผูกพัน” กับหุ้นตัวไหน แค่ต้องการเข้ามา “เสพสุข” (จากกำไร) เท่านั้น ได้ตามเป้าหมายแล้วก็จะไป"
ฮงเล่าว่า ตลาดหุ้นสมัยนี้คนอายุ 22-23 ปีขึ้นไป เข้ามาเล่นหุ้นกันค่อนข้างมาก จบปริญญาโทมาเล่นหุ้นก็มีเยอะ ส่วนตัวอยากแนะนำ "มือใหม่ที่เพิ่งหัดคลาน" ว่า ควรเริ่มลงทุนด้วยเงิน "ก้อนเล็กๆ" ก่อนสัก 100,000 บาท หากยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วหุ้นที่ใช้ "ฝึกมือ" ควรเป็นพวกหุ้น "โรงไฟฟ้า-ค้าปลีก" เพราะธุรกิจเข้าใจง่าย ราคาหุ้นไม่ผันผวนมาก เมื่อมีประสบการณ์แล้วก็ค่อยขยับมาเล่นหุ้นยากๆ อย่างกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งหุ้นพวกนี้ถ้าจับจังหวะถูกจะได้กำไรเยอะ (รวยเร็ว)
"หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ผมจะถนัดกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทแผ่นฟิล์ม สินค้าเกษตร กลุ่มอื่นๆ ยอมรับว่ายังไม่ค่อยชำนาญ"
ฮงย้ำว่า ข้อผิดพลาดของนักลงทุนจำนวนมากชอบซื้อหุ้นตามคำแนะนำของเพื่อน หรือซื้อตามโบรกเกอร์โดยที่คุณไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย เท่าที่พบ 90% จะขาดทุน คนที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้น (ยุคนี้) ต้องศึกษาหาความรู้ รู้ทุกซอกทุกมุมของหุ้น
"ผมโชคดีที่เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนปี 1 ม.กรุงเทพ กว่าจะจับจุดได้ (รู้ความลับตลาดหุ้น) ใช้เวลานาน 2-3 ปี ผมจะยึดอาชีพนักลงทุนเลี้ยงตัวเองไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เรียนจบก็ไม่เคยไปทำงานบริษัท ทุกวันนี้ผมมีเงินทำอะไรได้หลายๆ อย่าง อย่างที่เพื่อนๆ ไม่มี" เซียนหุ้นวัยเบญจเพส กล่าวทิ้งท้าย
เครดิต : เนชั่นกรุ๊ป
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้