ซีรีย์บทความ THAI VI GO CHINA by นายมานะ
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ซีรีย์บทความ THAI VI GO CHINA by นายมานะ
โพสต์ที่ 2
ตอนที่ 1 จีนกำลังกระโดด(ข้ามสหรัฐ) + Luckin coffee
เนื่องจากมีเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมทริป สรุปกันไปแบบจัดเต็มกันเยอะแล้ว ผมขอสรุปเฉพาะประเด็นที่ผมมีไอเดียบางอย่างแตกต่างออกไปจากคนอื่นๆ นะครับ (มีหลายประเด็นที่น่าเขียนถึง แต่ยังไม่รู้จะมีอารมณ์เขียนไปกี่ตอน เอาเป็นเขียนไปทีละตอนก่อนละกันนะครับ)
ถ้าถามว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มครองความยิ่งใหญ่ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ คงต้องมองย้อนกลับไปประมาณ 100 ปี หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในขณะที่เศรษฐกิจจีน เพิ่งจะเริ่มโตใน 40 ปีที่ผ่านมา ในยุคของเติ้งเสี่ยวผิง
และในช่วง 40 ปีมานี้เองที่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจ นั่นทำให้จีนสามารถที่จะข้าม infrastructure เรื่องหนึ่งที่สหรัฐใช้เวลาในการสร้างมาอย่างยาวนานคือ "ระบบบัตรเครดิต"
ทุกวันนี้จีนกลายเป็นสังคมไร้เงินสดได้ สาเหตุใหญ่คือเรื่องอินเตอร์เน็ต และการที่จีนไม่มีบัตรเครดิตนี่เอง
เรื่องนี้ดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไรพิเศษ แต่ถ้ามองให้ลึกก็เป็นประเด็นที่สำคัญมาก ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งคือบ. Luckin Coffee หรือ LK
LK เป็นร้านกาแฟอันดับ 2 มีสาขาประมาณ 3,700 สาขา ในขณะทีอันดับ 1 คือ Sbuck มีสาขาในจีนมากกว่า 4,000 สาขา
แต่ Sbuck ดำเนินการในจีนมานานถึง 20 ปีแล้ว ในขณะที่ LK เพิ่งก่อตั้งไม่ถึง 2 ปี!!
กลยุทธ์ของ LK คือการจับมือกับ Wechat ให้บริการสั่งกาแฟผ่านแอพ และส่งแบบ delivery โดยในช่วงแรกมีลูกค้าถึง 70% ที่สั่งกาแฟให้ไปส่ง ในขณะที่ Sbuck มีอัตราการสั่งแบบนี้น้อยกว่า 5%
มองเผินๆ LK ดูไม่ฉลาด เพราะนอกจากขายถูกกว่าแล้ว ยังต้องเสียค่าจัดส่งอีก แต่ LK ใช้ Big data ในการเก็บ location ที่ลูกค้าสั่งสินค้าเป็นประจำ แล้ววิเคราะห์ออกมาเป็น Heat map เพื่อหาความหนาแน่นของลูกค้า และเลือกเปิดสาขาได้แบบตรงใจลูกค้า
หลังจากเริ่มมีสาขาครอบคลุม ลูกค้าที่เคยสั่งกาแฟไปส่ง ก็เปลี่ยนไปเป็น pick-up ทำให้เรทการส่งลดลงจาก 70% เหลือประมาณ 25% เท่านั้น
นี่เป็นเหตุผลให้ LK ใช้เวลาแค่ประมาณ 2 ปี ในการสร้างจำนวนสาขาที่ Sbuck ใช้เวลาถึง 20 ปี
LK ยังไม่ต้องมี..
1. พนักงานรับออเดอร์และเก็บเงิน
2. ทำเลหัวมุมสวยๆ เด่นๆ แบบ Sbuck (เพราะลูกค้าหาร้านจากในแอพ ไม่ใช่จากการมองบนถนน)
3. บางสาขาที่เน้น pick-up ไม่จำเป็นต้องมีโต๊ะให้นั่ง หรือถ้ามีก็น้อยมาก
แม้ Sbuck จะพยายามกลับมาแก้เกมด้วยการหันมาจับมือกับ Baba ลุยด้าน delivery แต่ก็ดูยังไม่เวิร์คสักเท่าไหร่
นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของการกระโดดข้าม เราจะเห็นได้ว่า LK ได้ข้าม infrastructure ที่ Sbuck ต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาไปหลายอย่างเลยทีเดียว
(หมายเหตุขอยก LK มาเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพ แต่ใครสนใจลงทุนศึกษาให้ดีก่อนนะครับ valuation ของหุ้นแพงมากก)
จีนยังจะมีอีกหลายอย่างที่โดดข้ามสหรัฐ เช่น เรื่อง sharing economy ที่โตแบบก้าวกระโดด คนจีนแต่ละคนไม่ต้องพก power bank ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของจักรยาน หรือแม้กระทั่งลูกบาส นั่นเพราะของพวกนี้สามารถเช่าได้ในราคาถูกมากๆ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่ประหยัด และกลายเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม
นอกจากนี้การกระโดดข้ามลักษณะนี้ยังทำให้ธุรกรรมแทบทุกอย่างในจีนเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ทำให้ Big data ของจีนทั้งใหญ่และเติบโตได้เร็วกว่าของสหรัฐฯ มาก
ประเด็นเรื่องบริษัท Tech ที่น่าสนใจอีกหลายบริษัท ผมจะเขียนแบบลงรายละเอียดต่อไปในตอนที่ 2 ครับ
สุดท้ายนี้ขอบคุณพี่โบ้และคุณทีน่า สำหรับข้อมูลในรายละเอียดระหว่างการแข่งขันของ LK และ Sbuck ไว้ ณ ทีนี้ด้วยครับ ใครสนใจ LK ติดตามต่อได้ที่ Invescope นะครับ
เนื่องจากมีเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมทริป สรุปกันไปแบบจัดเต็มกันเยอะแล้ว ผมขอสรุปเฉพาะประเด็นที่ผมมีไอเดียบางอย่างแตกต่างออกไปจากคนอื่นๆ นะครับ (มีหลายประเด็นที่น่าเขียนถึง แต่ยังไม่รู้จะมีอารมณ์เขียนไปกี่ตอน เอาเป็นเขียนไปทีละตอนก่อนละกันนะครับ)
ถ้าถามว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มครองความยิ่งใหญ่ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ คงต้องมองย้อนกลับไปประมาณ 100 ปี หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในขณะที่เศรษฐกิจจีน เพิ่งจะเริ่มโตใน 40 ปีที่ผ่านมา ในยุคของเติ้งเสี่ยวผิง
และในช่วง 40 ปีมานี้เองที่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจ นั่นทำให้จีนสามารถที่จะข้าม infrastructure เรื่องหนึ่งที่สหรัฐใช้เวลาในการสร้างมาอย่างยาวนานคือ "ระบบบัตรเครดิต"
ทุกวันนี้จีนกลายเป็นสังคมไร้เงินสดได้ สาเหตุใหญ่คือเรื่องอินเตอร์เน็ต และการที่จีนไม่มีบัตรเครดิตนี่เอง
เรื่องนี้ดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไรพิเศษ แต่ถ้ามองให้ลึกก็เป็นประเด็นที่สำคัญมาก ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งคือบ. Luckin Coffee หรือ LK
LK เป็นร้านกาแฟอันดับ 2 มีสาขาประมาณ 3,700 สาขา ในขณะทีอันดับ 1 คือ Sbuck มีสาขาในจีนมากกว่า 4,000 สาขา
แต่ Sbuck ดำเนินการในจีนมานานถึง 20 ปีแล้ว ในขณะที่ LK เพิ่งก่อตั้งไม่ถึง 2 ปี!!
กลยุทธ์ของ LK คือการจับมือกับ Wechat ให้บริการสั่งกาแฟผ่านแอพ และส่งแบบ delivery โดยในช่วงแรกมีลูกค้าถึง 70% ที่สั่งกาแฟให้ไปส่ง ในขณะที่ Sbuck มีอัตราการสั่งแบบนี้น้อยกว่า 5%
มองเผินๆ LK ดูไม่ฉลาด เพราะนอกจากขายถูกกว่าแล้ว ยังต้องเสียค่าจัดส่งอีก แต่ LK ใช้ Big data ในการเก็บ location ที่ลูกค้าสั่งสินค้าเป็นประจำ แล้ววิเคราะห์ออกมาเป็น Heat map เพื่อหาความหนาแน่นของลูกค้า และเลือกเปิดสาขาได้แบบตรงใจลูกค้า
หลังจากเริ่มมีสาขาครอบคลุม ลูกค้าที่เคยสั่งกาแฟไปส่ง ก็เปลี่ยนไปเป็น pick-up ทำให้เรทการส่งลดลงจาก 70% เหลือประมาณ 25% เท่านั้น
นี่เป็นเหตุผลให้ LK ใช้เวลาแค่ประมาณ 2 ปี ในการสร้างจำนวนสาขาที่ Sbuck ใช้เวลาถึง 20 ปี
LK ยังไม่ต้องมี..
1. พนักงานรับออเดอร์และเก็บเงิน
2. ทำเลหัวมุมสวยๆ เด่นๆ แบบ Sbuck (เพราะลูกค้าหาร้านจากในแอพ ไม่ใช่จากการมองบนถนน)
3. บางสาขาที่เน้น pick-up ไม่จำเป็นต้องมีโต๊ะให้นั่ง หรือถ้ามีก็น้อยมาก
แม้ Sbuck จะพยายามกลับมาแก้เกมด้วยการหันมาจับมือกับ Baba ลุยด้าน delivery แต่ก็ดูยังไม่เวิร์คสักเท่าไหร่
นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของการกระโดดข้าม เราจะเห็นได้ว่า LK ได้ข้าม infrastructure ที่ Sbuck ต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาไปหลายอย่างเลยทีเดียว
(หมายเหตุขอยก LK มาเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพ แต่ใครสนใจลงทุนศึกษาให้ดีก่อนนะครับ valuation ของหุ้นแพงมากก)
จีนยังจะมีอีกหลายอย่างที่โดดข้ามสหรัฐ เช่น เรื่อง sharing economy ที่โตแบบก้าวกระโดด คนจีนแต่ละคนไม่ต้องพก power bank ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของจักรยาน หรือแม้กระทั่งลูกบาส นั่นเพราะของพวกนี้สามารถเช่าได้ในราคาถูกมากๆ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่ประหยัด และกลายเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม
นอกจากนี้การกระโดดข้ามลักษณะนี้ยังทำให้ธุรกรรมแทบทุกอย่างในจีนเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ทำให้ Big data ของจีนทั้งใหญ่และเติบโตได้เร็วกว่าของสหรัฐฯ มาก
ประเด็นเรื่องบริษัท Tech ที่น่าสนใจอีกหลายบริษัท ผมจะเขียนแบบลงรายละเอียดต่อไปในตอนที่ 2 ครับ
สุดท้ายนี้ขอบคุณพี่โบ้และคุณทีน่า สำหรับข้อมูลในรายละเอียดระหว่างการแข่งขันของ LK และ Sbuck ไว้ ณ ทีนี้ด้วยครับ ใครสนใจ LK ติดตามต่อได้ที่ Invescope นะครับ
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ซีรีย์บทความ THAI VI GO CHINA by นายมานะ
โพสต์ที่ 3
ตอนที่ 2 Alibaba vs Tencent
เรามักได้ยินว่าจีนมี Big Tech 3 แห่งคือ Baidu, Alibaba และ Tencent รวมเรียกว่า BAT
แต่ในปัจจุบัน Baidu เป็นบริษัทขนาดแค่ 40 billion เล็กกว่า Baba และ Tencent 10 เท่า
บริษัทที่น่าจะมาแทน Baidu ควรจะเป็น ByteDance เจ้าของ TikTok ซึ่งเป็น App ที่ไม่ใช่เกมเพียงแอพเดียวที่ success ในตลาดสหรัฐฯ โดยคาดว่า ByteDance น่าจะมีมูลค่าประมาณ 80 billion
แต่ถ้าไม่สนใจตัวย่อว่าต้องเป็น BAT แล้ว เราก็ยังมีผู้ท้าชิงอีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็น..
Meituan – App ที่เป็นเหมือน Wongnai+Lineman แล้วเอา 100 คูณ คือมีรีวิวสินค้าและบริการทุกประเภทเท่าที่จะคิดออก รวมถึงสามารถสั่งสินค้าและบริการเหล่านั้นให้ delivery ถึงบ้านได้ มี Back คือ Tencent เจ้าของ WeChat และมี valuation ที่ประมาณ 70 billion
Didi – App เรียกรถแบบ Grab หรือ Uber ที่เคยชนะ Uber China มาแล้ว แต่ก็เริ่มกลับมาโดนท้าทายโดยคู่แข่ง คือ Meituan มี valuation ที่ประมาณ 55-60 billion (ลดลงจากการประมาณการณ์เมื่อปี 2018 ที่ประมาณ 80 billion)
Ant Finance – บริษัทลูกของ Alibaba โดยนอกจากมีแอพจ่ายเงินยอดฮิตอย่าง Alipay แล้ว Ant Finance ยังมีโปรดัคด้านการเงินในระดับน้องๆ ธนาคารเลย โดยมี valuation ที่ประมาณ 150 billion สูงกว่า Baidu 3-4 เท่า
Huawei – บริษัทมือถือที่มี market share อันดับ 1 ของจีน และอันดับ 2 ของโลก ที่หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าถูก Control โดยรัฐบาล
ในจำนวน 4-5 บริษัทที่ว่านี้ Huawei เป็นบริษัทที่แปลกกว่าเพื่อน ตรงที่ผมหา valuation ของ Huawei ไม่ได้เลย บริษัทคงไม่มีความจำเป็นต้อง raise fund ด้วยเหตุผลบางอย่าง
และแม้ว่าทั้ง Huawei, รัฐบาลจีน และประชาชนจีนจะพูดตรงกันว่า Huawei ไม่ใช่ของรัฐบาล แต่ก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดตรงที่คนจีนเชื่อกันว่าการใช้ Huawei คือการแสดงออกถึงความรักชาติ
รวมไปผู้ก่อตั้งของ Huawei คุณเหรินเจิ้งเฟย เองก็เคยเป็นทหารมาก่อน และทั้งเขาและพ่อก็เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาอย่างยาวนาน
ก่อนจะกลายเป็นกระทู้ Huawei ขอกลับมาที่ 2 พี่ใหญ่ Baba และ Tencent
คำถามยอดฮิตของนลท.คือ “บริษัทไหนดี!”
เพื่อตอบคำถามนี้ ผมขอเล่าโอกาสและความเสี่ยงเท่าที่ผมประเมินได้ครับ
เรารู้จักกันดีว่า Baba คือธุรกิจ E-commerce และ E-wallet แต่ Baba ยังมีอีกอย่างน้อย 2 ธุรกิจที่น่าสนใจ นั่นคือ Logistic และ Cloud computing
Baba จึงไม่ใช่แค่ Amazon+Ebay แต่เป็น Amazon(+AWS)+Ebay+Paypal+DHL+UPS
โอกาสการเติบโตของ Baba จึงไม่ใช่แค่จาก E-commerce แต่ยังมาจากธุรกิจ FinTech และ Cloud
แต่ถึงโฟกัสแค่เฉพาะธุรกิจค้าปลีก Baba ก็ยังน่าสนใจในแง่ความเป็น “ห้างค้าส่งของโลก”
ในทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนกลายเป็นโรงงานของโลกไปแล้ว ธุรกิจ Hardware ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือ กล้องวงจรปิด และ Drone เรียกได้ว่าบริษัทจีนชนะไปหมดแล้ว ตั้งแต่สินค้าล้าสมัยไปจนถึงล้ำสมัย
Baba ไม่ได้ขายแค่ในประเทศจีน และไม่ใช่แค่ส่งของมาขายที่ Shopee, Lazada ในบ้านเรา แต่ยังรวมไปถึง Amazon ด้วย
Top seller ของ Amazon มี base อยู่ใน US เพียงแค่ 47% เท่านั้น และมีที่ base อยู่ใน China ถึง 38% (นี่ยังไม่นับว่าใน 47% ที่ base ใน US นี่ Ship ของมาจากจีนเองอีกเท่าไหร่..)
Baba จึงไม่ใช่แค่ห้างค้าปลีกของจีน แต่น่าจะเป็นห้างค้าส่งของโลกด้วย
แต่ความเสี่ยงก็อย่างที่รู้กันว่า Tencent ไม่ยอมอยู่เฉย เล่น Proxy War ด้วยการส่งคู่แข่งอย่าง JD และ Pinduoduo มาเตะตัดขารัวๆ
ความน่าสนใจอีกอย่างคือ Baba เป็นบริษัทที่มีความ Centralized สูงมาก ตรงจุดนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือบริษัทมี Focus สูงมากในธุรกิจหลัก แต่ข้อเสียก็คือบริษัททำได้ไม่ดีในแง่การลงทุนในบริษัทลูก
Tencent เป็นบริษัทที่มีความ Decentralized มากกว่ามาก ทำให้บริษัทลูกมีอิสระ และเติบโตได้เร็ว โดย Meituan, Didi, LK, Sea(Shopee), JD และ Pinduoduo ต่างก็มี back หลักคือ Tencent
Tencent ใช้ประโยชน์จากการเป็น Investment Firm พัฒนาให้ WeChat กลายเป็น Super App ที่มีทุกบริการของบริษัทลูก และทำให้ WeChat Pay ขึ้นมาตีคู่ Ant Finance ในแง่ของ E-Wallet ได้
Tencent จึงกลายเป็น Platform ที่บริษัทไหนอยากสร้าง App ขายสินค้าหรือบริการมาให้คนจีนใช้ ก็ต้องยอมมาสวามิภักดิ์ (ถ้าไม่เลือก Tencent ก็ต้องไปเลือก Baba ที่ให้อิสระในการทำงานน้อยกว่า)
กลายเป็น Berkshire of China ที่แกร่งกว่าต้นฉบับ เพราะมี WeChat เป็นอาวุธหนัก
แต่ Tencent ก็มีความเสี่ยงในแง่ที่ ธุรกิจโฆษณาของบริษัทกำลังถูกรุกคืบจาก ByteDance ซึ่งเป็นเสือตัวที่ 3 (ไม่ยอมให้ทั้ง Baba และ Tencent) ในขณะที่ธุรกิจเกมส์ก็ดูเหมือนจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนที่จะยาวไปกว่านี้ผมขอจบสั้นสั้น
เสือสองตัวไม่อาจอยู่ในถ้ำเดียวกันได้ Baba และ Tencent จึงไม่มีใครยอมใคร ในทุกธุรกิจที่เป็น megatrend
แต่เราเป็นนลท.เราเลือกเสือหลายตัวมาเข้าพอร์ตพร้อมกันได้ครับ
ใครสนใจหุ้นหลายๆ ตัวในนี้ ไม่ว่าจะเป็น Meituan, Tencent, LK และอีกหลายๆ บริษัทที่น่าสนใจในจีน ก็อย่าลืมติดตาม Invescope เหมือนเดิมนะค้าบ
เรามักได้ยินว่าจีนมี Big Tech 3 แห่งคือ Baidu, Alibaba และ Tencent รวมเรียกว่า BAT
แต่ในปัจจุบัน Baidu เป็นบริษัทขนาดแค่ 40 billion เล็กกว่า Baba และ Tencent 10 เท่า
บริษัทที่น่าจะมาแทน Baidu ควรจะเป็น ByteDance เจ้าของ TikTok ซึ่งเป็น App ที่ไม่ใช่เกมเพียงแอพเดียวที่ success ในตลาดสหรัฐฯ โดยคาดว่า ByteDance น่าจะมีมูลค่าประมาณ 80 billion
แต่ถ้าไม่สนใจตัวย่อว่าต้องเป็น BAT แล้ว เราก็ยังมีผู้ท้าชิงอีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็น..
Meituan – App ที่เป็นเหมือน Wongnai+Lineman แล้วเอา 100 คูณ คือมีรีวิวสินค้าและบริการทุกประเภทเท่าที่จะคิดออก รวมถึงสามารถสั่งสินค้าและบริการเหล่านั้นให้ delivery ถึงบ้านได้ มี Back คือ Tencent เจ้าของ WeChat และมี valuation ที่ประมาณ 70 billion
Didi – App เรียกรถแบบ Grab หรือ Uber ที่เคยชนะ Uber China มาแล้ว แต่ก็เริ่มกลับมาโดนท้าทายโดยคู่แข่ง คือ Meituan มี valuation ที่ประมาณ 55-60 billion (ลดลงจากการประมาณการณ์เมื่อปี 2018 ที่ประมาณ 80 billion)
Ant Finance – บริษัทลูกของ Alibaba โดยนอกจากมีแอพจ่ายเงินยอดฮิตอย่าง Alipay แล้ว Ant Finance ยังมีโปรดัคด้านการเงินในระดับน้องๆ ธนาคารเลย โดยมี valuation ที่ประมาณ 150 billion สูงกว่า Baidu 3-4 เท่า
Huawei – บริษัทมือถือที่มี market share อันดับ 1 ของจีน และอันดับ 2 ของโลก ที่หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าถูก Control โดยรัฐบาล
ในจำนวน 4-5 บริษัทที่ว่านี้ Huawei เป็นบริษัทที่แปลกกว่าเพื่อน ตรงที่ผมหา valuation ของ Huawei ไม่ได้เลย บริษัทคงไม่มีความจำเป็นต้อง raise fund ด้วยเหตุผลบางอย่าง
และแม้ว่าทั้ง Huawei, รัฐบาลจีน และประชาชนจีนจะพูดตรงกันว่า Huawei ไม่ใช่ของรัฐบาล แต่ก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดตรงที่คนจีนเชื่อกันว่าการใช้ Huawei คือการแสดงออกถึงความรักชาติ
รวมไปผู้ก่อตั้งของ Huawei คุณเหรินเจิ้งเฟย เองก็เคยเป็นทหารมาก่อน และทั้งเขาและพ่อก็เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาอย่างยาวนาน
ก่อนจะกลายเป็นกระทู้ Huawei ขอกลับมาที่ 2 พี่ใหญ่ Baba และ Tencent
คำถามยอดฮิตของนลท.คือ “บริษัทไหนดี!”
เพื่อตอบคำถามนี้ ผมขอเล่าโอกาสและความเสี่ยงเท่าที่ผมประเมินได้ครับ
เรารู้จักกันดีว่า Baba คือธุรกิจ E-commerce และ E-wallet แต่ Baba ยังมีอีกอย่างน้อย 2 ธุรกิจที่น่าสนใจ นั่นคือ Logistic และ Cloud computing
Baba จึงไม่ใช่แค่ Amazon+Ebay แต่เป็น Amazon(+AWS)+Ebay+Paypal+DHL+UPS
โอกาสการเติบโตของ Baba จึงไม่ใช่แค่จาก E-commerce แต่ยังมาจากธุรกิจ FinTech และ Cloud
แต่ถึงโฟกัสแค่เฉพาะธุรกิจค้าปลีก Baba ก็ยังน่าสนใจในแง่ความเป็น “ห้างค้าส่งของโลก”
ในทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจีนกลายเป็นโรงงานของโลกไปแล้ว ธุรกิจ Hardware ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือ กล้องวงจรปิด และ Drone เรียกได้ว่าบริษัทจีนชนะไปหมดแล้ว ตั้งแต่สินค้าล้าสมัยไปจนถึงล้ำสมัย
Baba ไม่ได้ขายแค่ในประเทศจีน และไม่ใช่แค่ส่งของมาขายที่ Shopee, Lazada ในบ้านเรา แต่ยังรวมไปถึง Amazon ด้วย
Top seller ของ Amazon มี base อยู่ใน US เพียงแค่ 47% เท่านั้น และมีที่ base อยู่ใน China ถึง 38% (นี่ยังไม่นับว่าใน 47% ที่ base ใน US นี่ Ship ของมาจากจีนเองอีกเท่าไหร่..)
Baba จึงไม่ใช่แค่ห้างค้าปลีกของจีน แต่น่าจะเป็นห้างค้าส่งของโลกด้วย
แต่ความเสี่ยงก็อย่างที่รู้กันว่า Tencent ไม่ยอมอยู่เฉย เล่น Proxy War ด้วยการส่งคู่แข่งอย่าง JD และ Pinduoduo มาเตะตัดขารัวๆ
ความน่าสนใจอีกอย่างคือ Baba เป็นบริษัทที่มีความ Centralized สูงมาก ตรงจุดนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือบริษัทมี Focus สูงมากในธุรกิจหลัก แต่ข้อเสียก็คือบริษัททำได้ไม่ดีในแง่การลงทุนในบริษัทลูก
Tencent เป็นบริษัทที่มีความ Decentralized มากกว่ามาก ทำให้บริษัทลูกมีอิสระ และเติบโตได้เร็ว โดย Meituan, Didi, LK, Sea(Shopee), JD และ Pinduoduo ต่างก็มี back หลักคือ Tencent
Tencent ใช้ประโยชน์จากการเป็น Investment Firm พัฒนาให้ WeChat กลายเป็น Super App ที่มีทุกบริการของบริษัทลูก และทำให้ WeChat Pay ขึ้นมาตีคู่ Ant Finance ในแง่ของ E-Wallet ได้
Tencent จึงกลายเป็น Platform ที่บริษัทไหนอยากสร้าง App ขายสินค้าหรือบริการมาให้คนจีนใช้ ก็ต้องยอมมาสวามิภักดิ์ (ถ้าไม่เลือก Tencent ก็ต้องไปเลือก Baba ที่ให้อิสระในการทำงานน้อยกว่า)
กลายเป็น Berkshire of China ที่แกร่งกว่าต้นฉบับ เพราะมี WeChat เป็นอาวุธหนัก
แต่ Tencent ก็มีความเสี่ยงในแง่ที่ ธุรกิจโฆษณาของบริษัทกำลังถูกรุกคืบจาก ByteDance ซึ่งเป็นเสือตัวที่ 3 (ไม่ยอมให้ทั้ง Baba และ Tencent) ในขณะที่ธุรกิจเกมส์ก็ดูเหมือนจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนที่จะยาวไปกว่านี้ผมขอจบสั้นสั้น
เสือสองตัวไม่อาจอยู่ในถ้ำเดียวกันได้ Baba และ Tencent จึงไม่มีใครยอมใคร ในทุกธุรกิจที่เป็น megatrend
แต่เราเป็นนลท.เราเลือกเสือหลายตัวมาเข้าพอร์ตพร้อมกันได้ครับ
ใครสนใจหุ้นหลายๆ ตัวในนี้ ไม่ว่าจะเป็น Meituan, Tencent, LK และอีกหลายๆ บริษัทที่น่าสนใจในจีน ก็อย่าลืมติดตาม Invescope เหมือนเดิมนะค้าบ
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ซีรีย์บทความ THAI VI GO CHINA by นายมานะ
โพสต์ที่ 4
ตอนที่ 3 Robot, AI และรถยนต์ไฟฟ้า
เทคโนโลยีกำลังกลายมาเป็น megatrend ในประเทศจีน
เราเห็นหุ่นยนต์ต้อนรับที่สนามบิน เห็นกล้องวงจรปิดที่มีระบบ face recognition โดยใช้ AI ประมวลผลอยู่เบื้องหลัง
หลังเดินทางออกจากสนามบิน บนท้องถนน เราจะเห็นรถยนต์ป้ายทะเบียนสีฟ้าและสีเขียว
สีฟ้าคือรถยนต์ทั่วไป ในขณะที่สีเขียวคือรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV
ในทริปจีนครั้งนี้ น่าตื่นเต้นมากที่ผมเห็นรถป้ายสีเขียวอยู่เรื่อยๆ ตลอดทาง
เมื่อพูดถึง EV สัญชาติจีน เชื่อว่าหลายๆ คนคงคิดถึง BYD กับ Nio
BYD ผมพอเห็นบนถนนอยู่บ้าง แต่ Nio ไม่ค่อยเห็นเลย ผมเลยทำการบ้านเพิ่มเติมเพื่อเขียนโพสนี้ครับ
...
ในปี 2018 ที่ผ่านมา ยอดขาย EV ในจีนอยู่ที่ 1.1 ล้านคัน คิดเป็นประมาณ 4% ของยอดขายรถยนต์ในจีนทั้งหมด
ฟังดูอาจเป็นตัวเลขที่ไม่มาก แต่เมื่อเทียบกับยอดขาย EV ของทั้งโลกที่ 2 ล้านคัน และยอดขาย EV ในสหรัฐที่ 3.6 แสนคัน แล้ว ก็นับได้ว่าจีนเป็นพี่บิ๊กในวงการ EV ของโลกเลยทีเดียว
(หมายเหตุ ตัวเลขด้านบนนี้รวมรถยนต์ไฮบริดหรือ PHEV เข้าไปด้วยนะครับ)
ในกรณีของสหรัฐนั้น Tesla ครองส่วนแบ่งตลาด 50-60%
แต่ในกรณีของจีนนั้น มีผู้ท้าชิงอยู่หลายรายด้วยกัน
1. BYD ผู้นำตลาด มี mkt share 20-25%
2. BIAC เป็นของรัฐบาลปักกิ่ง mkt share 10-12%
3. SIAC เป็นของรัฐบาลเซียงไฮ้ mkt share 7-8%
ในขณะที่ Nio ซึ่งเรียกตัวเองว่า Tesla Killer ดูจะยังไปได้ไม่สวยเท่าไหร่ มียอดขายประมาณ 1% และยังขาดทุนตั้งแต่บรรทัดกำไรขั้นต้น
ภาพรวมของตลาด EV จีนยังแข่งขันกันสูง โดยคาดการณ์ว่ามีบริษัท EV และ startup ด้านนี้ประมาณ 400-500 แห่ง
ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจ คือ EV เป็นธุรกิจที่ใช้งบ R&D สูงมาก จนน่าสนใจว่า startup จะขึ้นมาแข่งขันกับเจ้าตลาดได้อย่างไร
ในปีที่ผ่านมา Tesla ใช้งบ R&D ไปประมาณ 1.5 billion (45,000 ล้านบาท) ตัวเลขนี้พอๆ กันกับยอดขายรถยนต์ของ BYD ทั้งปีเลยทีเดียว
ผมให้น้ำหนักกับเรื่อง R&D เพราะเชื่อว่า software ของรถยนต์จะกลายมาเป็นจุดชี้ขาดของอุตสาหกรรมในอีก 5-10 ปีข้างหน้าครับ
...
Tesla สามารถที่จะ update software ของรถยนต์ทุกคันแบบ over the air ได้ในทุกๆ วัน
การอัพเดทแต่ละครั้งทำให้รถมีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ขับได้เร็วขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น หรือการทำงานของระบบ Autopilot ดีขึ้น
เมื่อถึงจุดที่เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับหรือ Robo-taxi ใช้งานได้จริง บริษัทผู้ชนะจะไม่ใช่บริษัทที่ผลิตรถได้สวยที่สุด หรือมีงานประกอบที่ดีที่สุด แต่เป็นบริษัทที่ AI ขับรถได้เก่งที่สุด
ถ้ามองเรื่อง hardware บริษัทในสหรัฐคงสู้จีนซึ่งเป็นโรงงานของโลกได้ยาก
แต่เมื่อความสำคัญของ product มาอยู่ที่ software แล้ว Tesla และบริษัทแห่งอื่นของสหรัฐดูจะทำได้ดีกว่า
แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า Tesla จะขึ้นมาเป็นผู้ชนะในช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งเทคโนโลยีของคู่แข่งตามขึ้นมาทัน (คล้ายมือถือจีนที่สุดท้ายจะตาม iPhone จนทัน) และสุดท้ายตลาดนี้อาจกลายเป็นไม่มีผู้ชนะแท้จริงครับ
...
มีประเด็นคล้ายกันในธุรกิจหุ่นยนต์และ AI
หุ่นยนต์นั้น ดูภายนอก เรามักคิดว่าความยากคือเรื่อง hardware
แต่การเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เข้าใจโลก ยากกว่าปัญหาเรื่องวัสดุหรือส่วนประกอบภายนอก
(ไม่ได้หมายความว่าการทำให้หุ่นยนต์เครื่องไหวได้ดีไม่ยากนะครับ เพียงแต่ผมมั่นใจว่าการสร้างสิ่งประดิษฐ์เลียนแบบร่างกายมนุษย์ น่าจะง่ายกว่าการเลียนแบบสมองของพวกเรามาก)
เราจะทำยังไงให้หุ่นยนต์แยกหมา กับตุ๊กตาหมาออกจากกันได้?
เราจะทำยังไงให้หุ่นยนต์แม่บ้าน ไม่เผลอล้มทับเราตอนที่แบตเตอร์รีของมันหมด?
เราจะทำยังไงเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลจีนหรือสหรัฐแอบดูสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้าน ผ่านหุ่นยนต์แม่บ้าน?
ปัญหาจากเรื่องที่มองไม่เห็นด้วยตาเหล่านี้ ล้วนยากกว่าปัญหาที่เห็นชัดเจนภายนอก
ผมมั่นใจว่าบริษัทสัญชาติสหรัฐจะทำได้ดีกว่าจีน ในการแก้ปัญหาเรื่อง software ในระดับที่ซับซ้อน
บางคนอาจให้ความเห็นว่า software เลียนแบบได้ง่ายกว่า hardware รึเปล่า?
ประเด็นนี้ผมไม่เห็นด้วย
ถ้าเป็น software ง่ายๆ อย่างแอพมือถือ การเลียนแบบอาจไม่ยาก แต่เมื่อเป็น software ระดับสูงอย่าง General AI แล้ว การเลียนแบบอาจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
...
ขอลองยกตัวอย่างระบบ search ของ Google
เราใช้ search engine ของ google แต่เราไม่เคยรู้ว่า google เขียน code ขึ้นมายังไง
มี search engine มากกว่า 250 แห่งที่ยังให้บริการอยู่ และน่าจะมีอีกมากกว่านั้นที่เจ๊งไปแล้ว แต่ก็ไม่มีระบบ search ของบริษัทไหนจะแทนที่ Google ได้
เมื่อวิศวกรหลายพันคนเขียน code ซ้อนทับกันนานหลายสิบปี รวมเข้ากับ data ของ user นับพันล้านคน
ถึงจุดหนึ่ง Google search จะเป็นบริการที่ดีที่สุด จนยากจะหาคู่แข่ง
นี่คือลักษณะเฉพาะของธุรกิจ software ที่ทำให้เกิดสภาวะ winner takes all
ผมเชื่อว่าสิ่งเดียวกันนี้น่าจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ AI
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเรื่องของ Robot, AI และ EV ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับบริษัทในจีนอยู่ครับ
อนึ่ง AI ที่กล่าวถึงในบทความนี้หมายถึง AI ระดับสูง เช่น Robo-Taxi หรือ General AI นะครับ สำหรับ Narrow AI อย่างง่าย ที่ใช้ในการ recommend สินค้าหรือหนังที่เราชอบ คิดว่าจีนและสหรัฐทำได้ดีไม่ต่างกัน และด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และ data ที่หลากหลายกว่า จีนเองก็มีโอกาสจะชนะสหรัฐในธุรกิจ Narrow AI ประเภทนี้อยู่ครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลของบริษัท Nio และตลาดรถยนต์ในประเทศจีน จาก Invescope นะครับ ใครติดตามหุ้นจีน ก็อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดซับตะไคร้กันนะค้าบบ
เทคโนโลยีกำลังกลายมาเป็น megatrend ในประเทศจีน
เราเห็นหุ่นยนต์ต้อนรับที่สนามบิน เห็นกล้องวงจรปิดที่มีระบบ face recognition โดยใช้ AI ประมวลผลอยู่เบื้องหลัง
หลังเดินทางออกจากสนามบิน บนท้องถนน เราจะเห็นรถยนต์ป้ายทะเบียนสีฟ้าและสีเขียว
สีฟ้าคือรถยนต์ทั่วไป ในขณะที่สีเขียวคือรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV
ในทริปจีนครั้งนี้ น่าตื่นเต้นมากที่ผมเห็นรถป้ายสีเขียวอยู่เรื่อยๆ ตลอดทาง
เมื่อพูดถึง EV สัญชาติจีน เชื่อว่าหลายๆ คนคงคิดถึง BYD กับ Nio
BYD ผมพอเห็นบนถนนอยู่บ้าง แต่ Nio ไม่ค่อยเห็นเลย ผมเลยทำการบ้านเพิ่มเติมเพื่อเขียนโพสนี้ครับ
...
ในปี 2018 ที่ผ่านมา ยอดขาย EV ในจีนอยู่ที่ 1.1 ล้านคัน คิดเป็นประมาณ 4% ของยอดขายรถยนต์ในจีนทั้งหมด
ฟังดูอาจเป็นตัวเลขที่ไม่มาก แต่เมื่อเทียบกับยอดขาย EV ของทั้งโลกที่ 2 ล้านคัน และยอดขาย EV ในสหรัฐที่ 3.6 แสนคัน แล้ว ก็นับได้ว่าจีนเป็นพี่บิ๊กในวงการ EV ของโลกเลยทีเดียว
(หมายเหตุ ตัวเลขด้านบนนี้รวมรถยนต์ไฮบริดหรือ PHEV เข้าไปด้วยนะครับ)
ในกรณีของสหรัฐนั้น Tesla ครองส่วนแบ่งตลาด 50-60%
แต่ในกรณีของจีนนั้น มีผู้ท้าชิงอยู่หลายรายด้วยกัน
1. BYD ผู้นำตลาด มี mkt share 20-25%
2. BIAC เป็นของรัฐบาลปักกิ่ง mkt share 10-12%
3. SIAC เป็นของรัฐบาลเซียงไฮ้ mkt share 7-8%
ในขณะที่ Nio ซึ่งเรียกตัวเองว่า Tesla Killer ดูจะยังไปได้ไม่สวยเท่าไหร่ มียอดขายประมาณ 1% และยังขาดทุนตั้งแต่บรรทัดกำไรขั้นต้น
ภาพรวมของตลาด EV จีนยังแข่งขันกันสูง โดยคาดการณ์ว่ามีบริษัท EV และ startup ด้านนี้ประมาณ 400-500 แห่ง
ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจ คือ EV เป็นธุรกิจที่ใช้งบ R&D สูงมาก จนน่าสนใจว่า startup จะขึ้นมาแข่งขันกับเจ้าตลาดได้อย่างไร
ในปีที่ผ่านมา Tesla ใช้งบ R&D ไปประมาณ 1.5 billion (45,000 ล้านบาท) ตัวเลขนี้พอๆ กันกับยอดขายรถยนต์ของ BYD ทั้งปีเลยทีเดียว
ผมให้น้ำหนักกับเรื่อง R&D เพราะเชื่อว่า software ของรถยนต์จะกลายมาเป็นจุดชี้ขาดของอุตสาหกรรมในอีก 5-10 ปีข้างหน้าครับ
...
Tesla สามารถที่จะ update software ของรถยนต์ทุกคันแบบ over the air ได้ในทุกๆ วัน
การอัพเดทแต่ละครั้งทำให้รถมีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ขับได้เร็วขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น หรือการทำงานของระบบ Autopilot ดีขึ้น
เมื่อถึงจุดที่เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับหรือ Robo-taxi ใช้งานได้จริง บริษัทผู้ชนะจะไม่ใช่บริษัทที่ผลิตรถได้สวยที่สุด หรือมีงานประกอบที่ดีที่สุด แต่เป็นบริษัทที่ AI ขับรถได้เก่งที่สุด
ถ้ามองเรื่อง hardware บริษัทในสหรัฐคงสู้จีนซึ่งเป็นโรงงานของโลกได้ยาก
แต่เมื่อความสำคัญของ product มาอยู่ที่ software แล้ว Tesla และบริษัทแห่งอื่นของสหรัฐดูจะทำได้ดีกว่า
แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า Tesla จะขึ้นมาเป็นผู้ชนะในช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งเทคโนโลยีของคู่แข่งตามขึ้นมาทัน (คล้ายมือถือจีนที่สุดท้ายจะตาม iPhone จนทัน) และสุดท้ายตลาดนี้อาจกลายเป็นไม่มีผู้ชนะแท้จริงครับ
...
มีประเด็นคล้ายกันในธุรกิจหุ่นยนต์และ AI
หุ่นยนต์นั้น ดูภายนอก เรามักคิดว่าความยากคือเรื่อง hardware
แต่การเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เข้าใจโลก ยากกว่าปัญหาเรื่องวัสดุหรือส่วนประกอบภายนอก
(ไม่ได้หมายความว่าการทำให้หุ่นยนต์เครื่องไหวได้ดีไม่ยากนะครับ เพียงแต่ผมมั่นใจว่าการสร้างสิ่งประดิษฐ์เลียนแบบร่างกายมนุษย์ น่าจะง่ายกว่าการเลียนแบบสมองของพวกเรามาก)
เราจะทำยังไงให้หุ่นยนต์แยกหมา กับตุ๊กตาหมาออกจากกันได้?
เราจะทำยังไงให้หุ่นยนต์แม่บ้าน ไม่เผลอล้มทับเราตอนที่แบตเตอร์รีของมันหมด?
เราจะทำยังไงเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลจีนหรือสหรัฐแอบดูสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้าน ผ่านหุ่นยนต์แม่บ้าน?
ปัญหาจากเรื่องที่มองไม่เห็นด้วยตาเหล่านี้ ล้วนยากกว่าปัญหาที่เห็นชัดเจนภายนอก
ผมมั่นใจว่าบริษัทสัญชาติสหรัฐจะทำได้ดีกว่าจีน ในการแก้ปัญหาเรื่อง software ในระดับที่ซับซ้อน
บางคนอาจให้ความเห็นว่า software เลียนแบบได้ง่ายกว่า hardware รึเปล่า?
ประเด็นนี้ผมไม่เห็นด้วย
ถ้าเป็น software ง่ายๆ อย่างแอพมือถือ การเลียนแบบอาจไม่ยาก แต่เมื่อเป็น software ระดับสูงอย่าง General AI แล้ว การเลียนแบบอาจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
...
ขอลองยกตัวอย่างระบบ search ของ Google
เราใช้ search engine ของ google แต่เราไม่เคยรู้ว่า google เขียน code ขึ้นมายังไง
มี search engine มากกว่า 250 แห่งที่ยังให้บริการอยู่ และน่าจะมีอีกมากกว่านั้นที่เจ๊งไปแล้ว แต่ก็ไม่มีระบบ search ของบริษัทไหนจะแทนที่ Google ได้
เมื่อวิศวกรหลายพันคนเขียน code ซ้อนทับกันนานหลายสิบปี รวมเข้ากับ data ของ user นับพันล้านคน
ถึงจุดหนึ่ง Google search จะเป็นบริการที่ดีที่สุด จนยากจะหาคู่แข่ง
นี่คือลักษณะเฉพาะของธุรกิจ software ที่ทำให้เกิดสภาวะ winner takes all
ผมเชื่อว่าสิ่งเดียวกันนี้น่าจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ AI
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเรื่องของ Robot, AI และ EV ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับบริษัทในจีนอยู่ครับ
อนึ่ง AI ที่กล่าวถึงในบทความนี้หมายถึง AI ระดับสูง เช่น Robo-Taxi หรือ General AI นะครับ สำหรับ Narrow AI อย่างง่าย ที่ใช้ในการ recommend สินค้าหรือหนังที่เราชอบ คิดว่าจีนและสหรัฐทำได้ดีไม่ต่างกัน และด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และ data ที่หลากหลายกว่า จีนเองก็มีโอกาสจะชนะสหรัฐในธุรกิจ Narrow AI ประเภทนี้อยู่ครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลของบริษัท Nio และตลาดรถยนต์ในประเทศจีน จาก Invescope นะครับ ใครติดตามหุ้นจีน ก็อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดซับตะไคร้กันนะค้าบบ
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ซีรีย์บทความ THAI VI GO CHINA by นายมานะ
โพสต์ที่ 5
ตอนจบ เมื่อ Shenzhen ไม่เซินเจิ้น
ตอนที่ 2 กับ 3 ประเด็นเครียดและบทความยาวมาก ตอนจบนี้ผมอยากเขียนแบบชิวๆ บ้างครับ
ผมเข้าใจว่าเวลาคนไทยเราพูดถึงของก็อป เราจะนึกถึงสถานที่ 2 แห่ง คือโรงเกลือ กับเซินเจิ้น ถึงขนาดว่านักลงทุนที่ชอบลอกหุ้นเพื่อนถูกล้อด้วยชื่อเล่นเซินเจิ้น จะบอกว่าคำนี้เป็น nickname ของคำว่า copy ก็ได้
แต่ทุกวันนี้เซินเจิ้นเลิกเซินเจิ้นแล้วครับ ถ้าคุณได้ไปงาน Tech Fair ก็น่าจะคิดเหมือนผม
แม้ว่าจะไปเดินแบบมึนๆ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง แต่ก็มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ ที่ผมสัมผัสได้จากงานนี้ครับ
1. Tech จีนตอนนี้ว้าวแบบสุดๆ และไม่ใช่แค่ Tencent กับ Alibaba แต่มีบริษัทอะไรไม่รู้ที่มีเทคโนโลยีเจ๋งๆ อยู่เยอะมาก เอาแค่ Face Recognition ก็น่าจะมีบริษัทที่ทำเรื่องนี้ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัทแล้ว
2. รัฐบาลจีนมีอิทธิพลอย่างมากกับทิศทางของบริษัทจีนแต่ละแห่ง และ Tech ภาพรวม
มี 2 บูธที่ผมประทับใจในงาน Tech Fair นี้ครับ
บูธแรกคือ “เครื่องทำอาหาร” ใช่ครับอ่านไม่ผิด มันเป็นตู้อบเครื่องใหญ่ๆ หน้าตาคล้ายไมโครเวฟยักษ์
หลักการทำงานของไอ้เครื่องนี้ก็ง่ายๆ ครับ ใส่วัตถุดิบและเครื่องปรุงลงไป เลือกสูตรอาหาร และรอ จบปึ้ง!
ที่เจ๋งมากๆ คือเพื่อนที่ไปลองชิมบอกว่าหน้าตาและรสชาติโอเคเลย
เผอิญบูธนี้คนเยอะ และผมมีเวลาไม่พอ(+ฟังเค้าไม่รู้เรื่อง) เลยไม่ได้ลงลึกครับ ใครสนใจเรื่องนี้รอฟังใน Made in Tena นะครับ (ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะมีนะครับ แฮะๆ)
บูธที่สองคือ Huawei
เรารู้กันดีว่า Huawei ทำ 1. มือถือ 2. โครงข่าย 5G และ 3. เริ่มจะขยับมาทำ IOT
ถ้าจะมีสักบริษัทที่ represent พัฒนาการของ Shenzhen ได้ดีที่สุดก็คงเป็น Huawei เริ่มต้นจากนักก็อป สู่ Leader ทั้งธุรกิจมือถือ และ 5G ที่แม้แต่สหรัฐก็ยังกลัว
จากงาน Tech Fair จะเห็นว่าก้าวต่อไปของบริษัทคือธุรกิจ Smart City ระดับสมบูรณ์แบบ ซึ่งประกอบไปด้วย Tech มากมายทั้ง Face(+Emotion) recognition, Self-driving car, Heat map, Voice Tech ฯลฯ
ซึ่งถ้า Huawei ทำได้ตามที่ต้องการ เราจะได้เมือง Smart City ที่ดูแลประชาชนได้แบบสุดยอดมาก(ในหลายๆ ความหมาย)
ถ้าเราเกิดหกล้มในห้องน้ำ แล้วไม่มีใครอยู่แถวนั้น Huawei ที่มี AI จับ Heat map ของเราอยู่จะพบว่าเรามีพฤติกรรมแปลกไป และส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเราทันที
In case ว่าถ้าคุณเป็นคนรักชาตินะครับ..
ในบทความตอนแรกผมมีพูดถึงความเชื่อของคนจีนที่ว่า ใช้มือถือ Huawei = เป็นคนรักชาติ
กล่าวคือผมเห็นด้วยที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่า Huawei เป็น SOE สายพันธ์ใหม่ (State Owned Enterprise)
ที่ว่าสายพันธ์ใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้ถือหุ้น Huawei ตรงๆ และโครงสร้างการถือหุ้นของ Huawei ก็เป็นอะไรที่ลึกลับซับซ้อน Huawei ถูกถือหุ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “trade union committee” ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่าคอมมิตตีนี้มันมีโครงสร้างยังไง (ถ้าผมเข้าใจผิด หรือมีใครรู้ข้อเท็จจริงที่ละเอียดกว่านี้วานแชร์ด้วยนะครับ)
สรุปคือใน Smart City นี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร อยู่กี่คน พูดอะไรบ้าง แสดงสีหน้ายังไง กระทั่งคุณรักหรือไม่รัก Huawei บริษัทก็จะรู้ข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมด
ไม่รู้บังเอิญรึเปล่า แต่ก้าวต่อไปของ Huawei ดูจะเข้ากันได้ดีกับก้าวต่อไปของรัฐบาลจีน
ทีนี้นลท.บางคนอาจว่าแล้วไง? เพราะยังไง Huawei ก็ไม่ได้ Listed อยู่แล้ว (แต่ถ้าคุณถือหุ้น Xiaomi ก็คงติดใจนิดนึงเนอะ)
แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าไม่ใช่แค่ Huawei หรอกครับที่ต้องภักดีต่อรัฐบาล ผมเชื่อว่ารัฐจีนมี power มากพอจะกำหนดทิศทางของบริษัทหรืออุตสาหกรรมใดๆ ในจีนก็ได้ทั้งนั้น
ไม่แน่นะครับ นี่อาจเป็นเหตุผลให้ Jack Ma ก้าวลงจากตำแหน่ง CEO และหันมามีส่วนร่วมในพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้นก็ได้
(เป็นคนจีน อย่าเด่นดังกว่าท่านผู้นำจะดีที่สุดแหละครับ พูดถึง Jack Ma ไม่ใช่พี่ตูนนะครับ)
ใครสนใจอยากลงทุนหุ้นจีน เลือกแค่เรืออย่างเดียวคงไม่พอ คงต้องแหงนหน้ามองฟ้า ดูโองการสวรรค์กันด้วยครับ
ผมจำไม่ได้ว่าใครพูดเอาไว้ แต่ชอบประโยคนี้มาก เลยจะขอจบซีรีย์บทความ 4 ตอนด้วยประโยคนี้ครับ
Who cares democracy when you have data.
ขอบคุณที่ติดตามครับ
นายมานะ
ตอนที่ 2 กับ 3 ประเด็นเครียดและบทความยาวมาก ตอนจบนี้ผมอยากเขียนแบบชิวๆ บ้างครับ
ผมเข้าใจว่าเวลาคนไทยเราพูดถึงของก็อป เราจะนึกถึงสถานที่ 2 แห่ง คือโรงเกลือ กับเซินเจิ้น ถึงขนาดว่านักลงทุนที่ชอบลอกหุ้นเพื่อนถูกล้อด้วยชื่อเล่นเซินเจิ้น จะบอกว่าคำนี้เป็น nickname ของคำว่า copy ก็ได้
แต่ทุกวันนี้เซินเจิ้นเลิกเซินเจิ้นแล้วครับ ถ้าคุณได้ไปงาน Tech Fair ก็น่าจะคิดเหมือนผม
แม้ว่าจะไปเดินแบบมึนๆ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง แต่ก็มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ ที่ผมสัมผัสได้จากงานนี้ครับ
1. Tech จีนตอนนี้ว้าวแบบสุดๆ และไม่ใช่แค่ Tencent กับ Alibaba แต่มีบริษัทอะไรไม่รู้ที่มีเทคโนโลยีเจ๋งๆ อยู่เยอะมาก เอาแค่ Face Recognition ก็น่าจะมีบริษัทที่ทำเรื่องนี้ไม่ต่ำกว่า 10 บริษัทแล้ว
2. รัฐบาลจีนมีอิทธิพลอย่างมากกับทิศทางของบริษัทจีนแต่ละแห่ง และ Tech ภาพรวม
มี 2 บูธที่ผมประทับใจในงาน Tech Fair นี้ครับ
บูธแรกคือ “เครื่องทำอาหาร” ใช่ครับอ่านไม่ผิด มันเป็นตู้อบเครื่องใหญ่ๆ หน้าตาคล้ายไมโครเวฟยักษ์
หลักการทำงานของไอ้เครื่องนี้ก็ง่ายๆ ครับ ใส่วัตถุดิบและเครื่องปรุงลงไป เลือกสูตรอาหาร และรอ จบปึ้ง!
ที่เจ๋งมากๆ คือเพื่อนที่ไปลองชิมบอกว่าหน้าตาและรสชาติโอเคเลย
เผอิญบูธนี้คนเยอะ และผมมีเวลาไม่พอ(+ฟังเค้าไม่รู้เรื่อง) เลยไม่ได้ลงลึกครับ ใครสนใจเรื่องนี้รอฟังใน Made in Tena นะครับ (ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะมีนะครับ แฮะๆ)
บูธที่สองคือ Huawei
เรารู้กันดีว่า Huawei ทำ 1. มือถือ 2. โครงข่าย 5G และ 3. เริ่มจะขยับมาทำ IOT
ถ้าจะมีสักบริษัทที่ represent พัฒนาการของ Shenzhen ได้ดีที่สุดก็คงเป็น Huawei เริ่มต้นจากนักก็อป สู่ Leader ทั้งธุรกิจมือถือ และ 5G ที่แม้แต่สหรัฐก็ยังกลัว
จากงาน Tech Fair จะเห็นว่าก้าวต่อไปของบริษัทคือธุรกิจ Smart City ระดับสมบูรณ์แบบ ซึ่งประกอบไปด้วย Tech มากมายทั้ง Face(+Emotion) recognition, Self-driving car, Heat map, Voice Tech ฯลฯ
ซึ่งถ้า Huawei ทำได้ตามที่ต้องการ เราจะได้เมือง Smart City ที่ดูแลประชาชนได้แบบสุดยอดมาก(ในหลายๆ ความหมาย)
ถ้าเราเกิดหกล้มในห้องน้ำ แล้วไม่มีใครอยู่แถวนั้น Huawei ที่มี AI จับ Heat map ของเราอยู่จะพบว่าเรามีพฤติกรรมแปลกไป และส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเราทันที
In case ว่าถ้าคุณเป็นคนรักชาตินะครับ..
ในบทความตอนแรกผมมีพูดถึงความเชื่อของคนจีนที่ว่า ใช้มือถือ Huawei = เป็นคนรักชาติ
กล่าวคือผมเห็นด้วยที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่า Huawei เป็น SOE สายพันธ์ใหม่ (State Owned Enterprise)
ที่ว่าสายพันธ์ใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้ถือหุ้น Huawei ตรงๆ และโครงสร้างการถือหุ้นของ Huawei ก็เป็นอะไรที่ลึกลับซับซ้อน Huawei ถูกถือหุ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “trade union committee” ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่าคอมมิตตีนี้มันมีโครงสร้างยังไง (ถ้าผมเข้าใจผิด หรือมีใครรู้ข้อเท็จจริงที่ละเอียดกว่านี้วานแชร์ด้วยนะครับ)
สรุปคือใน Smart City นี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร อยู่กี่คน พูดอะไรบ้าง แสดงสีหน้ายังไง กระทั่งคุณรักหรือไม่รัก Huawei บริษัทก็จะรู้ข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมด
ไม่รู้บังเอิญรึเปล่า แต่ก้าวต่อไปของ Huawei ดูจะเข้ากันได้ดีกับก้าวต่อไปของรัฐบาลจีน
ทีนี้นลท.บางคนอาจว่าแล้วไง? เพราะยังไง Huawei ก็ไม่ได้ Listed อยู่แล้ว (แต่ถ้าคุณถือหุ้น Xiaomi ก็คงติดใจนิดนึงเนอะ)
แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าไม่ใช่แค่ Huawei หรอกครับที่ต้องภักดีต่อรัฐบาล ผมเชื่อว่ารัฐจีนมี power มากพอจะกำหนดทิศทางของบริษัทหรืออุตสาหกรรมใดๆ ในจีนก็ได้ทั้งนั้น
ไม่แน่นะครับ นี่อาจเป็นเหตุผลให้ Jack Ma ก้าวลงจากตำแหน่ง CEO และหันมามีส่วนร่วมในพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้นก็ได้
(เป็นคนจีน อย่าเด่นดังกว่าท่านผู้นำจะดีที่สุดแหละครับ พูดถึง Jack Ma ไม่ใช่พี่ตูนนะครับ)
ใครสนใจอยากลงทุนหุ้นจีน เลือกแค่เรืออย่างเดียวคงไม่พอ คงต้องแหงนหน้ามองฟ้า ดูโองการสวรรค์กันด้วยครับ
ผมจำไม่ได้ว่าใครพูดเอาไว้ แต่ชอบประโยคนี้มาก เลยจะขอจบซีรีย์บทความ 4 ตอนด้วยประโยคนี้ครับ
Who cares democracy when you have data.
ขอบคุณที่ติดตามครับ
นายมานะ