BAC

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

BAC

โพสต์ที่ 1

โพสต์

BAC : บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ประกอบกิจการสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ บริการ / บริการเฉพาะกิจ
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
จำนวนไม่เกิน 90,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ประกอบด้วย
1.หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 60,000,000 หุ้น
2.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม จำนวนไม่เกิน 30,000,000 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
1.00 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ข้อมูล Filing
www.ba.ac.th
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 2

โพสต์

*"บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์"ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 90 ล้านหุ้น เข้า SET พัฒนาสถาบันฝึกนักบิน
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)

Thursday, May 02, 2019 10:27


สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 พ.ค. 62)--บมจ.บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ฉบับแรกต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 29 เม.ย.62 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 60 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม 30 ล้านหุ้น โดย PP Aviation Limited จะขายหุ้นสามัญเดิม 22,500,000 หุ้น และ Pecunia Holding Limited จะขายหุ้น 7,500,000 หุ้น มี บล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
บริษัทมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนา และ/หรือ ซื้อเครื่องบิน และ/หรือ เครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) เพื่อรองรับจำนวนศิษย์การบินที่เพิ่มขึ้น หรือทดแทนเครื่องบินที่ปลดประจำการ, ใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน รวมทั้งใช้ชำระคืนภาระหนี้อื่นที่บริษัทอาจมีขึ้นในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯ
บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ ประกอบกิจการสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน โดยเปิดอบรมหลักสูตรสำหรับการบิน การซ่อมบำรุงเครื่องบิน และให้บริการศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษในการสื่อสารการบิน โดย ณ วันที่ 31 ธ.ค.61 บริษัทมีศูนย์ฝึกอบรม 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนการบินกรุงเทพ องครักษ์ (ศูนย์ฝึกการบิน คลอง 15) และศูนย์ฝึกปฏิบัติการบินอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (ศูนย์ฝึกการบิน นครราชสีมา)
สถาบันฝึกอบรมด้านการบินของบริษัทจัดเป็นโรงเรียนนอกระบบประเภทวิชาชีพภายใต้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 เปิดอบรมหลักสูตรการบิน 5 หลักสูตรหลัก ได้แก่ หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License:CPL), หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License:PPL), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Rating:IR), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ (Multi-Engine Rating:MR), หลักสูตรครูการบิน (Instructor Pilot:IP)
นอกจากนี้ บริษัทเปิดอบรมหลักสูตรช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Mechanic:AM) และประกอบกิจการศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษในการสื่อสารการบิน (BAC Proficiency of Aviation Communication Test:BACPACT) โดยให้บริการทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษของผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศยาน ได้แก่ นักบิน และพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ ตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กำหนด (English Proficiency Test)
บริษัทมีโครงการในอนาคตที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ ได้แก่ โครงการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎีระดับนักบินพาณิชย์เอก (Frozen Airline Transport Pilot License:Frozen ATPL) กำหนดเปิดดำเนินการเมื่อได้รับอนุมัติหลักสูตรจาก CAAT, โครงการอบรมหลักสูตรใบอนุญาตนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน (Multi-Crew Pilot License:MPL) กำหนดเปิดดำเนินการเมื่อบริษัทลงนามร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ผลิตเครื่องจำลองการฝึกบินเต็มรูปแบบและได้รับอนุมัติหลักสูตร
รวมทั้ง โครงการเปลี่ยนเครื่องบินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกบินของศิษย์การบินจากเครื่องยนต์เดี่ยวจากรุ่นที่ใช้น้ำมัน AVGAS เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน Jet A-1, โครงการเช่าซื้อเครื่องบินแบบเครื่องยนต์เดี่ยว และ/หรือ เครื่องบินแบบหลายเครื่องยนต์จากเจ้าของเครื่องบินที่มีการใช้งานเครื่องบินไม่เป็นประจำ
และ โครงการบริการเที่ยวบินเพื่อการท่องเที่ยวในบริเวณที่ไม่มีสายการบินพาณิชย์ให้บริการเป็นประจำ (Air taxi) เช่น เกาะที่เข้าถึงยาก เป็นต้น โดยจะใช้เครื่องบินรุ่น Cessna Caravan Amphibian ขนาดบรรทุกผู้โดยสาร 12 รายต่อเที่ยวบิน มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท
ณ วันที่ 19 เม.ย.62 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เป็นทุนฯ เรียกชำระแล้ว 240,00,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท ภายหลังจากการเสนอขายหุ้น IPO แล้วบริษัทจะมีทุนชำระแล้วไม่เกิน 300 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 300 ล้านหุ้น
ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ประกอบด้วย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ถือหุ้น 112,500,000 หุ้นคิดเป็น 46.9% หลังเสนอขายหุ้น IPO แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 37.5%, นาวาอากาศเอก สุรัตน์ สุขเจริญไกรศรี ถือหุ้น 39,137,200 หุ้น คิดเป็น 16.3% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 13% ขณะที่ PP Aviation Limited ถือหุ้น 22,500,000 หุ้น คิดเป็น 9.4% และ Pecunia Holding Limited ถือหุ้น 7,500,000 หุ้น คิดเป็น 3.1% หลังเสนอขายหุ้น IPO แล้วจะไม่ถือหุ้นในบริษัทอีกต่อไป
ผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงปี 59-61 บริษัทมีรายได้จากการให้บริการรวม 520.9 ล้านบาท, 563.8 ล้านบาท และ 743.3 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ปี 59 บริษัทมีขาดทุนสุทธิ 302.9 ล้านบาท แต่หากไม่รวมการบันทึกค่าสำรองจ่ายหุ้นเป็นเกณฑ์ บริษัทจะมีกำไรสุทธิ 85.3 ล้านบาท ส่วนปี60 และ 61 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 55.6 ล้านบาท และ 123.9 ล้านบาทตามลำดับ
ณ วันที่ 31 ธ.ค.61 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 828.1 ล้านบาท หนี้สินรวม 449.5 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 378.6 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามกฎหมายและบริษัทกำหนดไว้ในแต่ละปี

--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 3

โพสต์

'ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์' เข็น 'บางกอกเอวิชั่น' ขายไอพีโอ
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (Th)

Thursday, May 02, 2019 11:21

"บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์" ที่มี "ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์" ถือหุ้นใหญ่ ยื่นไฟลิ่งขายไอพีโอ 90 ล้านหุ้น
บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ฉบับแรกต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2562 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 60 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม 30 ล้านหุ้น โดย PP Aviation Limitedจะขายหุ้นสามัญเดิม 22,500,000 หุ้น และ Pecunia Holding Limited จะขายหุ้น 7,500,000 หุ้น มี บล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
โดยบริษัทประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนา และ/หรือ ซื้อเครื่องบิน และ/หรือ เครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) เพื่อรองรับจำนวนศิษย์การบินที่เพิ่มขึ้น หรือทดแทนเครื่องบินที่ปลดประจำการ, ใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน รวมทั้งใช้ชำระคืนภาระหนี้อื่นที่บริษัทอาจมีขึ้นในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯ
บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ ประกอบกิจการสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน โดยเปิดอบรมหลักสูตรสำหรับการบิน การซ่อมบำรุงเครื่องบิน และให้บริการศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษในการสื่อสารการบิน โดย ณ วันที่ 31 ธ.ค.61 บริษัทมีศูนย์ฝึกอบรม 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนการบินกรุงเทพ องครักษ์ (ศูนย์ฝึกการบิน คลอง 15) และศูนย์ฝึกปฏิบัติการบินอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (ศูนย์ฝึกการบิน นครราชสีมา)
สถาบันฝึกอบรมด้านการบินของบริษัทจัดเป็นโรงเรียนนอกระบบประเภทวิชาชีพภายใต้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 เปิดอบรมหลักสูตรการบิน 5 หลักสูตรหลัก ได้แก่ หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License:CPL), หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License:PPL), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Rating:IR), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ (Multi-Engine Rating:MR), หลักสูตรครูการบิน (Instructor Pilot:IP)
นอกจากนี้ บริษัทเปิดอบรมหลักสูตรช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน และประกอบกิจการศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษในการสื่อสารการบิน โดยให้บริการทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษของผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศยาน ได้แก่ นักบิน และพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ ตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด
บริษัทมีโครงการในอนาคตที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ ได้แก่ โครงการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎีระดับนักบินพาณิชย์เอก กำหนดเปิดดำเนินการเมื่อได้รับอนุมัติหลักสูตรจาก CAAT, โครงการอบรมหลักสูตรใบอนุญาตนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน กำหนดเปิดดำเนินการเมื่อบริษัทลงนามร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ผลิตเครื่องจำลองการฝึกบินเต็มรูปแบบและได้รับอนุมัติหลักสูตร
รวมทั้งโครงการเปลี่ยนเครื่องบินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกบินของศิษย์การบินจากเครื่องยนต์เดี่ยวจากรุ่นที่ใช้น้ำมัน AVGAS เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน Jet A-1, โครงการเช่าซื้อเครื่องบินแบบเครื่องยนต์เดี่ยว และ/หรือ เครื่องบินแบบหลายเครื่องยนต์จากเจ้าของเครื่องบินที่มีการใช้งานเครื่องบินไม่เป็นประจำ
ณ วันที่ 19 เม.ย.2562 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เป็นทุนฯ เรียกชำระแล้ว 240,00,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท ภายหลังจากการเสนอขายหุ้น IPO แล้วบริษัทจะมีทุนชำระแล้วไม่เกิน 300 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 300 ล้านหุ้น
ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ประกอบด้วย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ถือหุ้น 112,500,000 หุ้นคิดเป็น 46.9% หลังเสนอขายหุ้น IPO แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 37.5%, นาวาอากาศเอก สุรัตน์ สุขเจริญไกรศรี ถือหุ้น 39,137,200 หุ้น คิดเป็น 16.3% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 13% ขณะที่ PP Aviation Limited ถือหุ้น 22,500,000 หุ้น คิดเป็น 9.4% และ Pecunia Holding Limitedถือหุ้น 7,500,000 หุ้น คิดเป็น 3.1% หลังเสนอขายหุ้น IPO แล้วจะไม่ถือหุ้นในบริษัทอีกต่อไป
ผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงปี 2559-2561 บริษัทมีรายได้จากการให้บริการรวม 520.9 ล้านบาท, 563.8 ล้านบาท และ 743.3 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ปี 2559 บริษัทมีขาดทุนสุทธิ 302.9 ล้านบาท แต่หากไม่รวมการบันทึกค่าสำรองจ่ายหุ้นเป็นเกณฑ์ บริษัทจะมีกำไรสุทธิ 85.3 ล้านบาท ส่วนปี2560 และ 2561 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 55.6 ล้านบาท และ 123.9 ล้านบาทตามลำดับ
ณ วันที่ 31 ธ.ค.61 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 828.1 ล้านบาท หนี้สินรวม 449.5 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 378.6 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามกฎหมายและบริษัทกำหนดไว้ในแต่ละปี
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE @Bangkokbiznews ที่นี่

ที่มา: www.bangkokbiznews.com
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 4

โพสต์

https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... sID=248451

หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : 29/04/2562
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : บริษัท หลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / นาย ทินพันธุ์ หวั่งหลี
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 5

โพสต์

“โรงเรียนการบินกรุงเทพ” ยื่นไฟลิ่งขายไอพีโอ 90 ล้านหุ้น เทรด SET ลุยพัฒนาสถาบันฝึกนักบิน

บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า บริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (Filing) ฉบับแรกต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 29 เม.ย.62 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุนใหม่ไม่เกิน 60 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม 30 ล้านหุ้น โดย PP Aviation Limited จะขายหุ้นสามัญเดิม 22,500,000 หุ้น และ Pecunia Holding Limited จะขายหุ้น 7,500,000 หุ้น มี บล.กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

โดยบริษัทมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนา และ/หรือ ซื้อเครื่องบิน และ/หรือ เครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) เพื่อรองรับจำนวนศิษย์การบินที่เพิ่มขึ้น หรือทดแทนเครื่องบินที่ปลดประจำการ, ใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน รวมทั้งใช้ชำระคืนภาระหนี้อื่นที่บริษัทอาจมีขึ้นในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯ

สำหรับบางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ ประกอบกิจการสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน โดยเปิดอบรมหลักสูตรสำหรับการบิน การซ่อมบำรุงเครื่องบิน และให้บริการศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษในการสื่อสารการบิน โดย ณ วันที่ 31 ธ.ค.61 บริษัทมีศูนย์ฝึกอบรม 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนการบินกรุงเทพ องครักษ์ (ศูนย์ฝึกการบิน คลอง 15) และศูนย์ฝึกปฏิบัติการบินอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (ศูนย์ฝึกการบิน นครราชสีมา)

โดยสถาบันฝึกอบรมด้านการบินของบริษัทจัดเป็นโรงเรียนนอกระบบประเภทวิชาชีพภายใต้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 เปิดอบรมหลักสูตรการบิน 5 หลักสูตรหลัก ได้แก่ หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License:CPL), หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License:PPL), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Rating:IR), หลักสูตรการบินด้วยเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ (Multi-Engine Rating:MR), หลักสูตรครูการบิน (Instructor Pilot:IP)

นอกจากนี้ บริษัทเปิดอบรมหลักสูตรช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน (Aircraft Mechanic:AM) และประกอบกิจการศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษในการสื่อสารการบิน (BAC Proficiency of Aviation Communication Test:BACPACT) โดยให้บริการทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษของผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเดินอากาศยาน ได้แก่ นักบิน และพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ ตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กำหนด (English Proficiency Test)

ทั้งนี้บริษัทมีโครงการในอนาคตที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ ได้แก่ โครงการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎีระดับนักบินพาณิชย์เอก (Frozen Airline Transport Pilot License:Frozen ATPL) กำหนดเปิดดำเนินการเมื่อได้รับอนุมัติหลักสูตรจาก CAAT, โครงการอบรมหลักสูตรใบอนุญาตนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน (Multi-Crew Pilot License:MPL) กำหนดเปิดดำเนินการเมื่อบริษัทลงนามร่วมมือทางธุรกิจกับผู้ผลิตเครื่องจำลองการฝึกบินเต็มรูปแบบและได้รับอนุมัติหลักสูตร

รวมทั้ง โครงการเปลี่ยนเครื่องบินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกบินของศิษย์การบินจากเครื่องยนต์เดี่ยวจากรุ่นที่ใช้น้ำมัน AVGAS เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน Jet A-1, โครงการเช่าซื้อเครื่องบินแบบเครื่องยนต์เดี่ยว และ/หรือ เครื่องบินแบบหลายเครื่องยนต์จากเจ้าของเครื่องบินที่มีการใช้งานเครื่องบินไม่เป็นประจำ

อีกทั้งโครงการบริการเที่ยวบินเพื่อการท่องเที่ยวในบริเวณที่ไม่มีสายการบินพาณิชย์ให้บริการเป็นประจำ (Air taxi) เช่น เกาะที่เข้าถึงยาก เป็นต้น โดยจะใช้เครื่องบินรุ่น Cessna Caravan Amphibian ขนาดบรรทุกผู้โดยสาร 12 รายต่อเที่ยวบิน มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 70 ล้านบาท

โดย ณ วันที่ 19 เม.ย.62 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เป็นทุนฯ เรียกชำระแล้ว 240,00,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.0 บาท ภายหลังจากการเสนอขายหุ้น IPO แล้วบริษัทจะมีทุนชำระแล้วไม่เกิน 300 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 300 ล้านหุ้น

สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ประกอบด้วย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ถือหุ้น 112,500,000 หุ้นคิดเป็น 46.9% หลังเสนอขายหุ้น IPO แล้วจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 37.5%, นาวาอากาศเอก สุรัตน์ สุขเจริญไกรศรี ถือหุ้น 39,137,200 หุ้น คิดเป็น 16.3% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 13% ขณะที่ PP Aviation Limited ถือหุ้น 22,500,000 หุ้น คิดเป็น 9.4% และ Pecunia Holding Limited ถือหุ้น 7,500,000 หุ้น คิดเป็น 3.1% หลังเสนอขายหุ้น IPO แล้วจะไม่ถือหุ้นในบริษัทอีกต่อไป

ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงปี 59-61 บริษัทมีรายได้จากการให้บริการรวม 520.9 ล้านบาท, 563.8 ล้านบาท และ 743.3 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ปี 59 บริษัทมีขาดทุนสุทธิ 302.9 ล้านบาท แต่หากไม่รวมการบันทึกค่าสำรองจ่ายหุ้นเป็นเกณฑ์ บริษัทจะมีกำไรสุทธิ 85.3 ล้านบาท ส่วนปี60 และ 61 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 55.6 ล้านบาท และ 123.9 ล้านบาทตามลำดับ

โดย ณ วันที่ 31 ธ.ค.61 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 828.1 ล้านบาท หนี้สินรวม 449.5 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 378.6 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามกฎหมายและบริษัทกำหนดไว้ในแต่ละปี
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 6

โพสต์

VL-ARIN ลุ้นวันแรกหืดขึ้นคอ “อรินสิริฯ” กำไรวูบ พี/อีพุ่งกระฉูด

20/05/2019ARIN, Exclusive News, IPO, vl
HoonSmart.com>> เหนื่อย! 2 หุ้นน้องใหม่ mai เข้าซื้อขายในสัปดาห์นี้ ภาวะตลาดกดดัน ปัจจัยพื้นฐานไม่โดดเด่น VL เจอรุ่นพี่ PRM-AMA น่าสนใจกว่า ส่วน ARIN อาการหนัก ไตรมาสแรกกำไรดิ่ง เหลือแค่ 2 ล้านบาท ปีก่อนทำได้เกิน 10 ล้านบาท พี/อีพุ่งกระฉูด ส่วนไอพีโอที่เข้ามาซื้อขายในปี 2562 ก่อนหน้านี้ 6 บริษัท ปัจจุบันมีเพียง ZEN เหนือจอง ส่วนบริษัทที่ได้รับอนุมัติไฟลิ่งแล้วหลายแห่งยังไม่ขายหุ้น



ในสัปดาห์นี้ ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ(mai) มีหุ้นน้องใหม่จำนวน 2 บริษัทเข้ามาจดทะเบียน ได้แก่ บริษัท วี.แอล.เอ็นเตอร์ไพรส์ (VL)ประกอบธุรกิจขนส่ง ปิโตรเลียม-เคมีภัณฑ์ทางเรือ จะเข้าซื้อขายในวันที่ 21 พ.ค. 2562 และบริษัท อรินสิริ แลนด์ (ARIN)พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในภาคตะวันออก จะเข้าซื้อขายในวันที่ 23 พ.ค. 2562 ต้องยอมรับว่าภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวย และปัจจัยพื้นฐานไม่โดดเด่น มีโอกาสสูงที่ราคาวันแรกต่ำกว่าไอพีโอ

VL เคยนำเสนอข้อได้เปรียบเรื่องราคาขายที่หุ้นละ 1.75 บาท พี/อีอยู่ที่ 21.88 เท่า ต่ำกว่าหุ้นที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันในตลาดหลักทรัพย์ แต่ปัจจุบันหุ้น บริษัท พริมา มารีน (PRM) ราคาปรับตัวลงมาอยู่ที่ 6.10 บาท เทรดที่ พี/อี 19.27 เท่า หลังจากผลงานไตรมาส 1/2562 มีกำไรสุทธิถึง 221 ล้านบาท พุ่งขึ้น 57% และบริษัท อาม่า มารีน (AMA) เทรดที่ 21.73 เท่า ราคาอยู่ที่ 4.14 บาท มีกำไรสุทธิ 12 ล้านบาท พุ่งขึ้น 278% ส่วน VL งบเฉพาะกิจการ มีกำไรสุทธิ 23 ล้านบาท พุ่งขึ้น 63%

สำหรับ บริษัท อรินสิริ แลนด์ (ARIN) ปัจจัยพื้นฐานอ่อนแอลงมาก ในไฟลิ่ง เปิดตัวเลขกำไรสุทธิไตรมาส 1/2562 เพียง 2.86 ล้านบาท ทรุดลง 73.83% เทียบกับกำไรสุทธิ 10.93 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อน ผลักดันให้ราคาไอพีโอที่ 3.10 บาทซื้อขายที่พี/อีสูงเป็น100 เท่า และธุรกิจยังอยู่ในช่วงขาลง รวมถึงมีหุ้นอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หลายตัวมีจุดเด่น และน่าสนใจมากกว่า ARIN

ขณะเดียวกัน หุ้นเข้าใหม่ในปี 2562 ก่อนหน้านี้จำนวน 6 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 2 บริษัท คือ บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป (ZEN) และบริษัท วีรันดา รีสอร์ท(VRANDA) และบริษัทใน mai 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอสเอเอเอ็ม เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ (SAAM) บริษัท ซี เอ แซด (ประเทศไทย) หรือ CAZ บริษัท โกลบอล เซอร์วิส เซ็นเตอร์ (GSC) บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์( ALL) ราคาหุ้นล่าสุด ณ วันที่ 17 พ.ค. ทุกตัวปรับตัวลงต่ำกว่าไอพีโอ ยกเว้น ZEN ราคาหุ้นอยู่ที่ 14.40 บาท ยังคงสูงกว่าราคาไอพีโอที่ 13 บาท

” หุ้นเข้าใหม่ในปีนี้ หลายตัวสอบผ่านในวันแรก แต่เมื่อเจอภาวะตลาดหุ้นอ่อนแอจากปัญหาสงครามการค้า ก็กดดันให้ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวลงแรงกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะหุ้นใหม่ที่ผลงานย่ำแย่ในไตรมาส 1/2562 VRANDA แจ้งกำไรสุทธิรูดลง 51.99% เหลือจำนวน 58 ล้านบาท และ SAAM กำไรสุทธิเพียง 4.59 ล้านบาท ร่วงลง 23.37% ซึ่งนักลงทุนควรจะหลีกเลี่ยง เพราะมีหุ้นชั้นดีให้เลือกลงทุนแทนหลายตัว”มาร์เก็ตติงกล่าว

ปัจจุบันมีหุ้นไอพีโอที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4 บริษัทได้รับการอนุมัติไฟลิ่งแล้ว แต่ยังไม่เสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก ได้แก่ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ (ACE) ประกอบธุรกิจโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ เสนอขายไอพีโอไม่เกิน 1,818 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้(พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท

บริษัทดู โฮม (DO) ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง และให้บริการด้านวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านครบวงจร เสนอขาย 524.16 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 1 บาท บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ (ILM) ธุรกิจร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เสนอขาย 105 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 5 บาท และบริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ (BAC)กิจการสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน เสนอขาย 90 ล้านหุ้น พาร์ 2 บาท

ส่วนบริษัทที่จะเข้า mai ที่ได้รับอนุมัติแล้ว บริษัท ออโตคอร์ป โฮลดิ้ง (ACG)โฮลดิ้งถือหุ้นบริษัทแกน คือ ฮอนด้ามะลิวัลย์ ผู้จำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์”ฮอนด้า” เสนอขาย 156 ล้านหุ้น พาร์ 0.50 บาท และ บริษัท มิตรสิบ ลิสซิ่ง (MITSIB) ธุรกิจจำหน่ายและบริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เน้นรถแท็กซี่ เสนอขาย 167 ล้านหุ้น พาร์ 0.50 บาท ทั้งนี้มิตรสิบฯคาดจะเข้าซื้อขายใน mai เดือนมิ.ย.นี้
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 7

โพสต์

หุ้นไอพีโอเข้าคิวเทรดคึกคัก “เจ้าสัวเจริญ” ร่วมวงระดมทุนหมื่นล้าน

วันที่ 29 July 2019 - 11:20 น.

ตลท.ชี้ครึ่งปีหลัง “หุ้นไอพีโอ” ตบเท้าเข้าระดมทุน “SET-mai” คึกคัก มั่นใจมูลค่าไอพีโอสูงกว่าครึ่งปีแรก จับตาหุ้นใหญ่เครือเสี่ยเจริญเข้าเทรด นักวิเคราะห์แจงสภาพคล่องตลาดสูงขึ้นเฉลี่ยซื้อขายวันละ 6 หมื่นล้าน หนุนหุ้นไอพีโอกลับมาฮอต “บลจ.กสิกรไทย” เข็น 3 หุ้นใหญ่ “DOHOME-AWC-BAC” เข้า SET

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากภาวะตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ดี ทำให้คาดว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) ช่วงครึ่งหลังปี 2562 จะคึกคักกว่าครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการขายหุ้น IPO ส่วนใหญ่การจะเข้าระดมทุนจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของ บจ. และความต้องการใช้เงิน

“ปัจจุบันภาวะตลาดยังไม่มีสัญญาณลบรุนแรง หรือความกังวลที่ยังไม่เคลียร์ที่จะส่งผลกระทบให้ตลาดชะลอตัวลง ก็เชื่อว่าบริษัทที่ยื่นไอพีโอมาเรียบร้อย ก็พร้อมจะเข้าระดมทุนตามแผน ไม่หยุดหรือเลื่อนการระดมทุน โดยมูลค่าระดมทุนอาจยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะบางบริษัทยังไม่ได้กำหนดราคา แต่คาดว่ามูลค่าจะสูงกว่าในครึ่งปีแรก”

นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้อำนวยการอาวุโส บลจ.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันหุ้น IPO กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดสูงขึ้น ทั้งจากปริมาณการซื้อขาย (วอลุ่ม) เฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มขึ้นจาก 4 หมื่นล้านบาท เป็น 6 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ราคาหุ้นในตลาดยังปรับขึ้นมาค่อนข้างสูงมากแล้ว ดังนั้น เชื่อว่านักลงทุนที่ถือเงินสดอยู่ในมือจะมีความต้องการหุ้นใหม่มากขึ้น

นายพงศ์ศักดิ์ พฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า บริษัทมีหุ้น IPO เตรียมเข้าจดทะเบียนปลายปีนี้ 3 บริษัท คือ 1.บมจ.ดูโฮม (DOHOME) ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เปิดจองซื้อ 25-30 ก.ค.นี้ 2.บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) เป็นบริษัทโฮลดิ้ง (กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งมีแผนเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 8,000 ล้านหุ้น คิดเป็น 25% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO และ 3.บมจ.บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ (BAC) กิจการสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน IPO ไม่เกิน 90 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 30% ของทุนจดทะเบียนหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน

“เรามองว่าทิศทางของตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ ตลาดเริ่มเพอร์ฟอร์มดี จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวขึ้นมา และเชื่อว่าตลาดจะรักษาโมเมนตัมที่ดีต่อไปได้ ส่งผลให้หุ้น IPO ช่วงนี้ยังน่าสนใจ”

นางสาวพัชพร สรรคบุรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท หลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) ที่ปรึกษาทางการเงิน บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ที่ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษา และจำหน่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อ 24 ก.ค. เพื่อขอเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 80 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 0.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 28.57% ของหุ้นสามัญที่จดทะเบียนแล้ว โดยคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาด mai ได้ในช่วงปลายปีนี้

“การระดมทุนครั้งนี้เพื่อนำเงินไปใช้ในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย และศูนย์ข้อมูลเพื่อแสดงระบบรักษาความปลอดภัยและระบบสื่อสารครบวงจร (DEMO data center, security & collaboration) รวมทั้งชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน จากการลงทุนซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเดือน ก.ค. มี บจ.เข้าระดมทุนไปแล้ว 3 ราย ประกอบด้วย ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอไอเอ็ม คอมเมอร์เชียล โกรท (AIMCG), บมจ.อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ (ILM) ส่วน บจ.ที่เข้า mai มี 1 ราย คือ บมจ.อรินสิริ แลนด์ (ARIN) และในเดือน ส.ค.นี้ จะมี บจ.เข้าจดทะเบียนอีกราว 3 บริษัท คือ บมจ.ดูโฮม (DOHOME) เข้าเทรด 6 ส.ค.นี้ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (SUPERFIF) กำหนดเข้าเทรดปลายเดือน ส.ค. และ บมจ.คัมเวล คอร์ปอเรชั่น (KUMWEL) ที่จะเข้าเทรดในตลาด mai 1 ส.ค.นี้

นอกจากนี้ยังมี บจ.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียนใน SET ปลายปีนี้อีกหลายบริษัท โดยนอกจาก AWC ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ที่คาดว่าจะระดมทุนราว 1 หมื่นล้านบาท และมีมูลค่าทรัพย์สินเกือบแสนล้านบาท และ BAC แล้ว ยังมี บมจ.แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ (ACE), บมจ.คอปเปอร์ ไวร์ด (CPW ), บมจ.อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย (RBF), บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY), บมจ.ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ (SCM), บมจ.สตาร์เฟล็กซ์ (SFLEX) และ บมจ.เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (SHR)

ก่อนหน้านี้ ในช่วงครึ่งแรกปี 2562 ก็ได้มี บจ.เข้าจดทะเบียนทั้งหมด 9 บริษัท กับ 1 กองทุน โดยเข้าจดทะเบียนใน SET จำนวน 2 บริษัท และเข้าจดทะเบียนใน mai 7 บริษัท และทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท (SPRIME) รวมมูลค่าระดมทุนไอพีโอ 8,528.64 ล้านบาท
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 8

โพสต์

มหา'ลัยรื้อหลักสูตรการบิน แก้เกมนักศึกษาแห่ย้ายสาขา
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 19, 2020 04:08

พิษโควิดลามไม่หยุด สบพ.มึน สมัครฝึกนักบินวูบ 50% เบรกลงทุนป้อนคนโปรเจ็กต์อู่ตะเภา เผยสถาบันด้านการบินเอกชนแห่ปิดตัว มหา'ลัยเปิดทางให้ย้ายสาขา ลดค่าเทอม ผ่อนยาว 4 งวด ม.สุรนารี ยกเครื่องหลักสูตรใหม่ ม.รังสิตลดค่าฝึกบิน การันตีจบแล้วเข้าทำงานแอร์เอเชียได้ทันที

สมัครเรียนวูบ 50%

นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย รองผู้ว่า การฝ่ายบริหาร รักษาการผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์โควิดส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน ทำให้โรงเรียนการบินมีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโท ลดลงกว่า 50%

โดย สบพ.ได้ปรับรูปแบบการรับสมัครจากเดิมรับตรงปีละครั้ง แต่ปีการศึกษา 2564 จะเปิดรับสมัคร 3 รอบ เพื่อให้ได้นักเรียนตามจำนวนที่ตั้งไว้ 550 คน/ปี ได้แก่ รอบที่ 1 portfolio ปิดรับสมัครแล้ว รอบที่ 2 โควตา รับสมัครวันที่ 18 ม.ค.-25 ก.พ. 2564 และรอบที่ 3 รับตรงวันที่ 16 ธ.ค. 2563-1 เม.ย. 2564

"เมื่อก่อนมีสมัครเรียน 4,000 คน การแข่งขันสอบคัดเลือกสูง จะได้คนเก่ง แต่พอยอดสมัครลดเหลือ 1,000 คน รับได้ 550 คน ก็เหมือนเราโกยคนเข้ามาเรียน ขณะที่มาตรฐานยังสูง ทำให้มีนักเรียนทยอยลาออกกลางคัน เหลืออยู่ในระบบน้อย ไม่ค่อยมีคุณภาพ ซึ่งใช้ทุนส่วนตัวเรียน"

หลักสูตรไม่มีคนเรียน

นางสาวภัคณัฏฐ์กล่าวอีกว่า สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนยังเปิดเรียนทุกหลักสูตร ได้แก่ ภาควิชาภาคพื้น ภาคอากาศ และฝิกอบรม แต่ที่ไม่มีคนเรียนเลย คือ หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี นับจากปลายปี 2562 เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี สถานการณ์โควิด มีการปิดน่านฟ้า รวมถึง บมจ.การบินไทยเข้าแผนฟี้นฟูกิจการ ทำให้นักบินตกงาน สายการบินปิดตัว คนจึงขาดความเชื่อมั่น ซึ่ง สบพ.พยายามคิดหลักสูตรอบรมเพิ่มความรู้ให้กับคนที่มีอาชีพอยู่แล้ว

ซึ่งสวนทางกับกระแสก่อนหน้านี้ที่ว่านักบินขาดแคลน หลังประเทศไทยถูกปักธงแดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เมื่อปี 2558 ทำให้มีผู้สนใจเรียนจำนวนมาก ขณะที่โรงเรียนการบินก็เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด จนล้นตลาดถึง 500-600 คน หลังเกิดสถานการณ์โควิดเพียง 1 ปี

"ลูกค้าหลักเราคือการบินไทย จะส่งมาฝิกอบรมปีละ 60-80 คน และส่งฝิกที่โรงเรียนเอกชนด้วย ทำให้เหลือฝิกที่นี่ ไม่ถึง 30 คน เมื่อปี 2562 หลังเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องก็หยุดส่งคนมา จนเกิดโควิดในเดือน มี.ค. 2563 จึงเรียกพนักงานที่กำลังฝิกกลับทันที และยังค้างชำระอีก 10 ล้านบาท ซึ่งได้ยื่นให้ชำระแล้วในแผนฟี้นฟู"

รายได้เหลือ 150 ล้าน

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรนักบินเป็นรายได้หลักของ สบพ. เพราะค่าเรียนสูงอยู่ที่ 2.3 ล้านบาท/คน ใช้เวลาเรียน 1 ปี เมื่อไม่มีคนเรียน ทำให้ขาดรายได้ จากเดิมผลิตนักบินออกสู่ตลาดปีละ 100 คน มีรายได้รวมปีละ 400 ล้านบาท ปีนี้เหลือ 150 ล้านบาท แต่ไม่ได้ยุบองค์กร จะเปิดเรียนเมื่อมีนักเรียนเข้ามาในจำนวนที่เพียงพอ ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรนักบินส่วนบุคคล มีเรียน 4 คน ค่าเรียน 300,000-400,000 บาท/คน

จากผลกระทบทำให้ สบพ.เสียศูนย์ และต้องรอให้อุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวกลับมาเป็นปกติอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งส่งผลต่อโครงการลงทุนศูนย์พัฒนาบุคลากรการบินและอวกาศที่เมืองการบินอู่ตะเภาด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันโรงเรียนการบินของเอกชนได้รับผลกระทบเช่นกัน เช่น โรงเรียนการบินกรุงเทพ (BAC) ที่ผลิตนักบินป้อนให้กับสายการบินแอร์เอเชีย, ศูนย์ฝิกการบินที่สุโขทัยของบางกอกแอร์ เอวิเอชั่น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ ในเครือบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งเปิดช่วงโควิดพอดี และมีบางมหาวิทยาลัยที่ปิดการสอนไปแล้ว เช่น วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม, โรงเรียนการบิน ของ บจ.ศรีราชา เอวิเอชั่น

ม.สุรนารีปรับตัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชโลธร ธรรมแท้ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบถึงความสนใจของนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาที่อยู่ในระหว่างเรียนหลักสูตร ทั้งขอย้ายสาขาเรียน หรือลาออกเพื่อไปศึกษาสถาบันอื่น ๆ

ต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันการเรียนในระดับปริญญาตรีการแข่งขันค่อนข้างสูง และไม่ได้แข่งขันกันแต่เฉพาะระดับมหาวิทยาลัยสำหรับสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบินเท่านั้น ยังมีการเปิดสอนในสาขาซ่อมแซมอากาศยานในระดับ ปวช.และ ปวส.เข้ามาเป็นคู่แข่งด้วย และเมื่อเจอวิกฤตโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก ยิ่งทำให้การแข่งขันสูงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังมีสถาบันที่สอนด้านการบินโดยเฉพาะ มากขึ้น จากเดิมก่อนหน้านี้มีเพียง 5-6 แห่ง ปัจจุบันเพิ่มเป็น 7-8 แห่ง ซึ่งความซบเซาของอุตสาหกรรมการบินต้องใช้เวลาในการฟี้นตัวอีกสักระยะ ฉะนั้นเพื่อดึงดูดนักศึกษาใหม่ ในปี 2564 จึงเตรียมเปิดสาขาวิชาวิศวกรรมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพราะในอนาคตก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น

สจล.ลุยศึกษาโรบอตนักบิน

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ระบุว่า สำหรับสาขาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ของ สจล.ยังคงได้รับความนิยมจากนักศึกษา และมองว่าภายใต้วิกฤตการระบาดของโควิด-19 สถาบันการศึกษากลับมองเป็นโอกาสที่จะใช้ช่วงเวลานี้บ่มเพาะบัณฑิตวิศวกรรมด้านการบินให้มีความสามารถเทียบเท่ามาตรฐานสากล ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการบินฟี้นตัวเต็มที่ ในประเทศของเราจะมีบุคลากรทางด้านการบินรองรับความต้องการของตลาดงานทันที แต่อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี นอกจากนี้ สจล.ยังมองว่าในอนาคตจะต้องเตรียม ความพร้อมในสาขาวิศวกรรมการบินที่จะมีการพัฒนาเครื่องบินหุ่นยนต์และระบบซอฟต์แวร์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้แน่นอน ทั้งนี้ในปัจจุบัน สจล.รับนักศึกษาในสาขาวิศวกรรมการบินอยู่ที่ 100 คน/ปี เนื่องจากข้อจำกัดด้านครูฝิกบินที่ค่อนข้างน้อย เพราะหลักสูตรของ สจล.ระบุคุณสมบัติของครูผู้สอนจากชั่วโมงบินด้วย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากมืออาชีพอย่างแท้จริง

ในช่วงที่อุตสาหกรรมการบินได้รับความนิยมทำให้มีสายการบินโลว์คอสต์เกิดขึ้นอย่างมากมาย จึงทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลหลายแห่งแห่เปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบินมากขึ้น แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกหยุดชะงักลง นักศึกษาที่สนใจอยากสมัครเรียนในสาขาการบินน้อยลงมาก ผลตรงนี้อาจทำให้ต้องมาทบทวนอีกครั้งว่าจะปิดหลักสูตรหรือไม่

"ทุกสถาบันต้องตั้งรับกับภาวะความเสี่ยงครั้งนี้ เพราะผ่านมาเราได้เรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปต์ธุรกิจการบินมาแล้ว แต่สำหรับครั้งนี้ใหญ่กว่ามาก เพราะเป็นเรื่องของมหันตภัยไวรัสที่เข้ามากระทบกับธุรกิจการบิน และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับภาคการบินด้วย ดังนั้นมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ไม่มีนักศึกษาสมัครเรียนก็ควรปิดหลักสูตร หรือปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบินด้วย"

ม.รังสิตลดค่าเทอม-ผ่อนชำระ

ขณะที่พลอากาศเอกคธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา คณบดีสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า จากการระบาดของโควิด-19 ยอมรับว่าส่งผล กระทบต่อการเลือกเรียนสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบิน ไปจนถึงพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่างมาก และอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี เพื่อกลับมาฟี้นตัว หรือราวปี 2565 อาจจะเริ่มฟี้นตัว สำหรับสถาบันการบินของมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น เปิดหลักสูตรการบินมากว่า 15 ปี จากเดิมรับนักศึกษามากที่สุดอยู่ที่ 150 คน/ปี โดยการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ปี 2563 มีนักศึกษาสมัครเรียนเพียง 20 คนเท่านั้น และล่าสุดการเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ปี 2564 ที่เริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 มีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียนเพียง 4 คนเท่านั้น

จากจำนวนนักศึกษาที่มีจำนวนลดลงค่อนข้างมากนั้น สถาบันการบินจึงดำเนินการ 2 เรื่อง คือลดค่าฝิกบินตลอดหลักสูตร 4 ปี จากเดิม 2.8 ล้านบาท มาอยู่ที่ 2.7 ล้านบาท และนักศึกษายังสามารถผ่อนชำระค่าเทอมได้จากเดิมต้องผ่อนชำระ 2 งวด ให้เพิ่ม เป็น 4 งวด

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 - 23 ธ.ค. 2563
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 40089
ผู้ติดตาม: 1

Re: BAC

โพสต์ที่ 9

โพสต์

น.ท.ปิยะ ตรีกาลนนท์ : ‘ไข่ 3 ตะกร้า’ และภาวะ ‘จำศีล’ การปรับตัวพา BAC ฝ่าวิกฤติโควิด-19
เผยแพร่: 21 เม.ย. 2564 14:21 ปรับปรุง: 21 เม.ย. 2564 14:21 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบใหญ่หลวงไปทั่วทุกภาคส่วน รวมถึงธุรกิจแขนงต่าง ๆ ของโลก ส่งผลเสียหายต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปทั้งระบบ ไม่เว้นแม้แต่ บริษัทบางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด ( Bangkok Aviation Center หรือ BAC หรือโรงเรียนการบินกรุงเทพ ซึ่งเปิดมาแล้ว 18 ปี ผลิตนักบินมาแล้ว 2,800 คน ปฏิบัติหน้าที่กระจายอยู่ตามสายการบินต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 1,180 คน ที่ต้องปรับตัวขนานใหญ่ นับแต่เกิดวิกฤติโควิด


ประธานกรรมการบริหาร บริษัทบางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (Bangkok Aviation Center หรือ BAC หรือโรงเรียนการบินกรุงเทพ) อดีตข้าราชการทหารอากาศ อดีตนักบิน และครูฝึกเครื่องบิน C 130 รวมทั้งเคยเป็นอดีตนักบินพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เมื่ออิ่มตัวกับงานราชการ ได้ตัดสินใจมาเปิดโรงเรียนการบินกรุงเทพฯ ให้สัมภาษณ์ผู้จัดการออนไลน์ในหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งวิสัยทัศน์ในการนำพา BAC ปรับตัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 รวมถึงความเป็นมาของการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการ หน้าที่ครูฝึกบิน กระทั่งตัดสินใจเปิดโรงเรียนการบินกรุงเทพขึ้นเมื่อ 18 ปีที่ผ่านมา


‘ไข่สามตะกร้า’ ปัจจัยสำคัญฝ่าวิกฤติ ไข่ตะกร้าแรก-นักเรียนทุนจากสายการบิน

กัปตันปิยะเล่าว่าสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ BAC มีต่างจากโรงเรียนการบินแห่งอื่น ๆ ก็คือการมีนักเรียนอยู่ สามกลุ่ม ซึ่งเปรียบเสมือนไข่สามตะกร้า โดยแต่ละตะกร้ามีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ซึ่งตะกร้าที่สามนี่เอง ที่เรียกได้ว่าช่วยประคับประคอง BAC ให้อยู่รอดได้ ในช่วงวิกฤติโควิด

“เราโชคดีที่เราแบ่งไข่ไว้สามตะกร้า นักเรียนเรา มีอยู่สามรูปแบบ” กัปตันปิยะระบุ

ไข่ตะกร้าแรก เป็นนักเรียนที่สายการบินส่งเข้ามา การบินไทยส่งเข้ามาทุกปี ปีละ 80 คน แอร์เอเชีย ไทยสไมล์ส่งมา 20 คน 30 คนบ้าง อันนี้มีแน่ๆ เขาคัดคนมาให้เราเลย แล้วมาจ้างเราฝึก แต่เจอโควิดเข้าไป การบินไทย ที่ส่งเข้ามาเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว 30 คน เขาบอกว่าหยุดฝึกเลยนะ ไม่ต้องรอต่อเลย เพราะการบินไทยบอกว่า ผมไม่มีตังค์ให้คุณอยู่แล้ว ฝึกไปผมก็ไม่มีตังค์ให้ ส่วนแอร์เอเชีย ฝึกต่อจนจบ แต่แผนที่จะรับคนใหม่ แอร์เอเชีย งดหมด ไทยสไมล์ งดหมด ดังนั้น ไข่ตะกร้าแรกที่มาจากสายการบิน ปีที่แล้วเป็นศูนย์เลย” กัปตันปิยะระบุ ก่อนจะเล่าเพิ่มเติมว่า BAC ทำ MOU คือบันทึกความเข้าใจกับสายการบินเหล่านี้ เนื้อหาสำคัญคือ ไทยสไมล์ แอร์เอเชีย จะเลือกส่งเฉพาะโรงเรียนการบินที่เขามาตรวจสอบแล้วได้มาตรฐานของเขาซึ่ง BAC ผ่านมาตรฐาน ขณะที่การบินไทย BAC ได้รับความน่าเชื่อถือมา 15 ปีแล้ว

ไข่ตะกร้าที่ 2-นักเรียนวอล์คอิน

“เมื่อไข่ตะกร้าแรกแตกไปหมด เราเหลืออยู่ 2 ตะกร้า ไข่ตะกร้าที่ 2 คือ เด็กที่ใช้ทุนส่วนตัว ที่ วอล์คอินเข้ามา อยากจะเป็นนักบิน ก็มาเรียนกับเรา 15 เดือนจบ แล้วถึงจะเดินไปสมัครงานกับสายการบินต่าง ๆ ซึ่งการบินไทยก็มีส่วนที่รับเด็กที่จบจากเรา แล้วเข้าไปสอบคัดเลือก แล้วก็รับเข้าไปเป็นพนักงาน

ถ้าเป็นไทยเวียตเจ็ต ไทยไลออนแอร์ ไม่มีเด็กทุน เพราะฉะนั้น เด็กที่จบจากผม จะเดินไปสมัครไทยเวียตเจ็ต ไทยไลออนแอร์” กัปตันปิยะระบุ และกล่าวว่า ไข่ตะกร้าที่สอง เดิมเคยมีประมาณ 100 กว่าคน ยังมีเดินเข้ามาอยู่บ้าง แต่ปี 2563 แทบจะไม่มีเลย เพราะเด็กที่จะจบการศึกษามาแล้วมาเรียนต่อเป็นนักบินเขากลัวว่า เป็นนักบินแล้วตกงาน แต่ปี 2564 นักเรียนกลุ่มนี้เริ่มมีกลับมาแล้ว เพราะเขาเริ่มมองเห็นแล้วว่า เขาเรียนวันนี้ อีกปีครึ่งเขาถึงจะจบ เมื่อถึงเวลานั้น ดีมานด์ ความต้องการนักบินน่าจะกลับมาแล้ว

ปี 2564 มีเด็กที่จ่ายเงินแล้ว ปฐมนิเทศแล้ว เดือนละ 2 คน ตอนนี้ก็รวมเป็น 8 คน ขณะที่ปี 2562 มี 120 คน เฉลี่ยเดือนละ 10 คน เฉพาะที่วอล์คอินเข้ามา ตอนนี้เหลือเดือนละ 2 คน คิดว่าตอนนี้มีแนวโน้มดีขึ้น ดีมากขึ้นแล้ว

ไข่ตะกร้าที่ 3 นักศึกษาจาก ม.รังสิต-เอแบค

กัปตันปิยะกล่าวว่า “ไข่ตะกร้าที่ 3 ทำให้ผมอยู่ได้ ใน 2 ปีนี้ แล้ว ซึ่งโรงเรียนการบินอื่น ไม่มีตะกร้านี้

ไข่ตะกร้านี้กลายเป็นยั่งยืนที่สุด คือผมจับมือกับ มหาวิทยาลัยรังสิต และ มหาวิทยาลัยเอแบค ทั้งสองมหาวิทยาลัย นี้ มีคณะนักบิน เพราะเขามีวิสัยทัศน์ว่าต้องโฟกัสไปที่วิชาชีพที่ชัดเจน เจาะจงไปเลยว่า จะไปทำอะไร อธิการบดีท่านให้ความสนใจ บราเดอร์บัญชา ( แสงหิรัญ ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอแบคนี่มาลองขึ้นเครื่องบินเราเลย แล้วก็คณะนี้เปิดมา 10 ปีแล้ว เพราะอธิการบดีเล็งเห็นว่าวิชาชีพนี้ น่าจะเปิดเป็นคณะขึ้นมา ก็ต้องเรียน 4 ปี เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 ปี เรียนที่เอแบค รังสิต แต่พอปีที่ 4 มาอยู่กับเรา 1 ปี” กัปตันปิยะระบุ

บางส่วน ทาง BAC ก็ไปสอนนักศึกษาบ้างแล้ว ใน ปี 1 ปี 2 ปี 3 เมื่อจบการศึกษา นักศึกษาก็ได้หน่วยกิตครบและมีคุณสมบัติที่จะถือใบอนุญาตนักบิน

“กลายเป็นว่า คุณเรียน 4 ปี ได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ได้ใบขับขี่นักบินพาณิชย์ตรีด้วย ในขณะที่เด็กที่วอล์คอิน ในไข่ตะกร้าที่สอง ต้องจบ ปริญญาตรีมาก่อน จึงมาเรียนกับเราอีกปีครึ่ง”

กัปตันปิยะกล่าวว่า ตนโชคดี เพราะปี 2563 BAC รับเด็ก ปี 4 ของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาแล้ว เด็กกลุ่มนี้ทำให้เรามีรายได้เลี้ยงตัวเองในปี 2563, 2564 และ 2565

เมื่อถามว่าทำข้อตกลงดังกล่าวกับทั้งสองมหาวิทยาลัยนี้ มากี่ปีแล้ว กัปตันปิยะกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยรังสิต อยู่กับเรา มา 14 ปี เอแบค 11 ปี เป็นพันธมิตรที่ดี และเราเป็นโรงเรียนเดียวที่อยู่ ในกรุงเทพฯ เขาไป-กลับได้”

ส่วนไข่ตะกร้าอื่น ๆ เช่นไข่ตะกร้าแรก คือนักเรียนทุนจากสายการบินต่าง ๆ กัปตันปิยะกล่าวว่า การบินไทย คงต้องรออีกระยะหนึ่ง ขณะที่ไทยแอร์เอเชีย จะส่งนักเรียนมาเรียนที่ BAC โดยลง MOU ด้วยว่าจะรับนักบินที่แอร์เอเชียให้มาตรฐาน “ซึ่งเขาให้มาตรฐานเราเพียงแห่งเดียว ดังนั้น แอร์เอเชียจะรับนักบิน ที่จะจบจากเราเท่านั้น ซึ่งนักเรียนในตะกร้าที่สองที่วอล์คอินเข้ามา ก็สามารถไปสมัครที่แอร์เอเชียได้เช่นกัน” กัปตันปิยะระบุ



ภาวะ ‘จำศีล’ และการตกจากสวรรค์สู่พื้นดิน ถอนตัวจาก IPO

BAC เปิดทำการมา 18 ปี ผลิตนักบินมา 2,800 คน จากจำนวนนักบินในไทยที่มีทั้งสิ้น 4,000 คน จึงนับว่านักบินเกินกว่าครึ่งจบการศึกษาจาก BAC

เมื่อถามว่า ช่วงวิกฤติโควิด-19 เกิดปัญหาอะไรกับ BAC บ้าง กัปตันปิยะตอบอย่างเห็นภาพว่า

“เราเหมือนกำลังจะเอามือเอื้อมไปแตะสวรรค์ แล้วตกเหวลงมาที่พื้นดิน มันขนาดนั้นจริงๆ เพราะว่า BAC เมื่อปีที่แล้ว เราเพิ่งจะแปรสภาพจาก บริษัท จำกัด เป็น บริษัท จำกัด (มหาชน) แล้วเราก็ได้รับ approved จากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ให้นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อย คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตรวจสอบแล้วเราผ่านทุกโดเมนการตรวจสอบ ให้เรานำเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว คือเป็น IPO”กัปตันปิยะระบุ

กัปตันปิยะเล่าว่า การที่จะได้รับ approved จากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ จะมีอยู่ สามโดเมนหลักๆ ซึ่งสิ่งสำคัญคือความโปร่งใสในการตรวจสอบ

1. external audit คือ ผู้ตรวจสอบภายนอก คือเรื่องของบัญชี
“BAC เลือกบริษัทตรวจสอบบัญชีในระดับสากลด้วย นอกเหนือจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ เราเลือกใช้ PWC ( Price waterhouse Coopers ) นี่คือโดเมนแรก ที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อยากเห็น”

2.intrenal audit การตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน เช่น HR การพิจารณาเงินเดือนของลูกจ้าง ธรรมาภิบาล นี่คือ อินเทอนอล ออดิท เราใช้บริษัทกฎหมายในไทยเป็นผู้ตรวจสอบให้เราคือบริษัทกฎหมายธรรมนิติ

3.กฎหมายภาษี BAC ใช้ Baker & Mckenzie บริษัทระดับโลกที่เข้ามาดูแลหลายๆ บริษัทในเมืองไทย เขาก็จะดูเรื่องใบอนุญาตต่าง ๆ “เช่น สนามบินที่เรามีเป็นของตัวเองที่คลอง 15 นครนายก ได้รับการตรวจสอบจากผู้กำกับดูแลไหม ใบอนุญาตครบถ้วนไหม หนังสือรับรองจากกระทรวงศึกษา จากการบินพลเรือน รวมถึงเรื่องภาษีย้อนหลังไป 3 ปี 5 ปี มีปัญหากับสรรพากรไหม ซึ่งเราผ่านการตรวจสอบทั้งหมด ทั้งสามโดเมน วันรุ่งขึ้นเรา IPO ได้เลย แต่สถานการณ์มันไม่เอื้อ” กัปตันปิยะระบุให้เห็นภาพของการเปรียบเปรยที่ว่าเหมือนตกสวรรค์

เนื่องจากในช่วงที่ BAC กำลังจะ IPO วิกฤติโควิด-19 มันเข้ามาแล้ว เมื่อต้นปี 2563 ในที่สุดจึงตัดสินใจชะลอไว้ก่อนยังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปรากฏว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดยาวนานกว่าที่คิด

ลีนไขมัน เข้าสู่ช่วง ‘จำศีล’

“เราจึงเลื่อน IPO ออกไป ตอนต้นปี 2563 เพราะเราเริ่มมองเห็นสถานการณ์ตอนเดือน ก.พ. ผมเริ่มเห็นว่ามันไม่ใช่แค่ไข้หวัดนกแล้ว มันยิ่งกว่านั้น มันกลายเป็นว่าเราต้องใช้พนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 321 คน เพื่อฝึกนักบินได้เท่าเดิม กลายเป็นเรามีแบ็คออฟฟิศเยอะมาก ที่ต้องคอยตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ เพื่อรองรับการเข้าตลาดหลักทรัพย์”

กัปตันปิยะกล่าวว่า ขณะนั้น BAC มีบุคลากร เพิ่มมาเป็น 321 คน ต้นเดือน ก.พ. 2563 แต่ปลายเดือน ก.พ. 2563 เราเชิญคนทั้ง 321 คนมานั่งในห้องประชุมเลย แล้วเราก็ทำความเข้าใจกันว่าเราไม่สามารถที่จะแบกรับเงินเดือนของ 321 คนได้แน่ ๆ เพราะเรามองเห็นแล้วว่า อีก 3 เดือนข้างหน้า เราจะพบกับวิกฤติ แต่ข้อดีของเรา คือขณะนั้น เรามีเด็กที่จะอยู่กับเรา 15 เดือน เราจึงยังรับรู้รายได้ที่ชัดเจนได้ เรายังมีแรงส่ง

“ทั้ง 321 คน เราเชิญออกทันที ในปี 2563 สิ่งที่เราต้องรีบทำคือ เราต้องเอาไขมันออกให้หมดเลย เราต้องรีบลีนตัวเองเลย เอาไขมันออกให้หมด เหลือพนักงาน 108 คน ลดลงไป 2 ใน 3 ส่วนการเข้าตลาดหลักทรัพย์เราถอนออกไปเลย เราถอนออกมาก่อน แล้วถ้าเมื่อไหร่เราจะเข้าตลาดลักทรัพย์ เราจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ ดังนั้น เมื่อเราไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว เราก็ไม่ต้องคงสภาพในระดับ 100% นั่นหมายความว่า แบ็คออฟฟิศของเรา มีหลายส่วนที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ในส่วนนี้ เราพยายามลดบทบาทของบริษัทมหาชนเป็นบริษัทจำกัดเหมือนเดิม

ผมใช้คำว่าเรากลับมาอยู่ใน Hibernate โหมด คือจำศีล เหมือนคางคกจำศีลที่ไม่ต้องทานอาหารเลย หนึ่งปี นอนนิ่งๆ อยู่เฉยๆ การที่จะตัดสินใจแบบนี้ได้ ต้องอ่านให้ขาด ต้องมีวิสัยทัศน์ว่าสถานการณ์มันไม่กลับมาเร็วแน่” กัปตันปิยะระบุ



จากข้าราชการทหารอากาศ สู่นักบินพระที่นั่ง ก่อนจะเป็น BAC

กัปตันปิยะเล่าย้อนความทรงจำช่วงชีวิตก่อนที่จะเปิดโรงเรียนการบินว่า “ชีวิตผมเริ่มมาจากการเป็นข้าราชการทหารอากาศ ผมเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จบโรงเรียนนายเรืออากาศ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักบินโรงเรียนการบินกำแพงแสน ซึ่งเขาไม่ได้ฝึกนักบินพาณิชย์ เขาไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานการบินพลเรือน CAAT ดังนั้นผมจบแล้วก็ไม่ได้ใบอนุญาตบินพาณิชย์จากกำแพงแสน”


X


หลังจบจากโรงเรียนการบินกำแพงแสน จบมาทั้งหมด 80 คน กัปตันปิยะในเวลานั้นได้สิทธิ์ในการเลือกเครื่องบินก่อนเขา เพราะคะแนนเป็นอันดับ 1 ได้ตัดสินใจเลือกที่จะไปบินทำฝนหลวงที่พิษณุโลก ทำฝนหลวงอยู่ 1 ปี ก็ได้รับการเสนอให้มาบินที่สนามบินดอนเมือง เป็นเครื่องบินขนส่งของกองทัพ C 130

“ผมบินจนกระทั่งเป็นครูการบินของ C 130 จากนั้นผมก็ได้รับการโปรโมทให้เป็นนักบินพระที่นั่ง ตอนนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีเครื่องบินพระที่นั่งเป็น โบอิ้ง 737 มีอยู่ 3 ลำ นักบินพระที่นั่งมีอยู่ 12 คน พอใครที่อายุเกิดแล้ว พอเกษียณขึ้นไป เขาก็จะไปดึงนักบิน C 130 ขึ้นมา ผมจากที่เป็นครูการบินแล้ว ก็ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ กับการเป็นนักบินพระที่นั่งในการขับโบอิ้ง 737 เป็นนักบินผู้ช่วย แล้วก็ค่อยๆ เป็นกัปตัน แล้วก็เป็นครูนักบินพระที่นั่ง อยู่ในฝูงบินพระที่นั่ง 8 ปี” กัปตันปิยะระบุ

ในช่วงเวลา 8 ปี นี้ กว่าจะมีชั่วโมงบินได้นั้นไม่ง่าย เนื่องจากเครื่องบิน โบอิ้ง 737 ของเครื่องบินพระที่นั่งใหม่มาก เปรียบเสมือนเหมือนโรลส์ลอยซ์คันใหม่ ๆ กองทัพอากาศจึงส่งนักบินพระที่นั่งไปเป็นนักบินยืมตัวของการบินไทย จึงไปเป็นนักบินยืมตัวของการบินไทย เก็บชั่วโมงบินให้ได้มาก ๆ แล้วค่อยกลับมาเป็นนักบินพระที่นั่ง เพราะฉะนั้น ในช่วง 8 ปี ของการเป็นนักบินพระที่นั่ง กัปตันปิยะไปอยู่การบินไทยก่อน 2 ปีแรก แล้วจึงมาบินนักบินพระที่นั่งได้ แล้วก็เป็นนักบินการบินไทยควบคู่กันไป

“เป็นชั่วโมงบิน 90% ที่สะสมมาจากการบินไทย แต่ตำแหน่งจริงๆ คือนักบินพระที่นั่ง ทำแบบนี้อยู่ 8 ปี ตำแหน่งสุดท้าย คือ เป็นครูการบินพระที่นั่ง ตำแหน่งในกองทัพอากาศ คือนายทหารตรวจสอบมาตรฐานนักบินของกองทัพหรือ Inspector

หลังจากเป็นอินสเปคเตอร์ ในปีสุดท้ายก็ลาออกจากกองทัพ ตั้งใจมาเปิดโรงเรียนการบิน ตั้งใจไว้ว่า เมื่อวันหนึ่งเราอายุมากเกินกว่าจะเป็นนักบินพระที่นั่ง เราก็ยังอยากวนเวียนอยู่กับการบิน ไม่อยากทำงานธุรการ ในช่วงนั้นก็เลยคิดว่า กอปรกับเล็งเห็นแล้วว่าประเทศไทยมีการเติบโตของนักบินน้อยมากเลย

“ตอนนั้น ไม่มีโรงเรียนการบินเลยนะครับ ตอนนั้นมีแค่สถาบันการบินพลเรือนที่หัวหิน บ่อฝ้าย แค่โรงเรียนเดียว แล้วไม่มีอีกเลย จนกระทั่งเปิดเป็นโรงเรียนได้ แต่เราก็ต้องหารายได้ด้วย ว่า จะหาทุนจากที่ไหน ก็เลยไปเป็นนักบินแอร์ไลน์เต็มตัว ตอนนั้นไทยแอร์เอเชีย เพิ่งเปิดมาได้ 6 เดือน เมื่อ 18 ปี ที่แล้ว แต่ในช่วง 6 เดือนนั้น เขาไม่มีนักบินไทยเลยแม้แต่คนเดียว เขาเอานักบินมาเลเซียมาทั้งหมดเลย เวลานั้น เขาก็เริ่มประกาศรับสมัครนักบินคนไทย ก็เลยมีนักบินพระที่นั่ง ที่ลาออกมา 3 คน ไปเป็นนักบินสายการบิน ไทยแอร์เอเชียล็อตแรก หนึ่งในสามคือผม อีกสองท่านตอนนี้ เป็นผู้บริหาร ไทยแอร์เอเชีย นั่นคือความเป็นมาของผม ที่เคยเป็นนักบินยืมตัวการบินไทย”

ตลอด 18 ปีที่ผ่านมา BAC ผลิตนักบินมาแล้ว 2,800 คน เป็นนักบินพาณิชย์ 1,180 คน แต่โดยรวมกล่าวได้ว่ามีนักบินประมาณ 2,000 คน เนื่องจากมีนักบินที่ไม่ใช่เพื่อเป็นการพาณิชย์ด้วย

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียน 15-18 เดือน ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาทต่อคน



ผลิตนักบินต่อปี มากเป็นอันดับ 2 ของโลก

กัปตันปิยะกล่าวว่า BAC เป็นอันดับ 2 ของโลก หากดูจากจำนวนศิษย์การบินที่จบภายใน 1 ปี BAC มีกำลังการผลิต 300 คน ใน 1 ปี

“เราเป็นรองอยู่แห่งเดียวคือ Embry Riddle อยู่ที่ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา นักบินสายการบินต่าง ๆ ในอเมริกา เกินครึ่งจบที่ Embry Riddle ในขณะเดียวกัน นักบินครึ่งนึงของไทย จบที่ BAC เราจึงเป็นอันดับสองของโลก เพราะเพื่อนบ้านเราทั้งหมด ไม่มีโรงเรียนการบิน ญี่ปุ่น ไม่มี โรงเรียนการบิน ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเกาะทั้งหมดไม่มีโรงเรียนการบิน เพื่อนบ้านเรา รวมทั้งคนไทย ก็เลยมาเรียนที่เราเสียเยอะ”

ขณะที่ออสเตรเลียมีโรงเรียนการบินเป็นร้อยแห่ง จึงไม่มีโรงเรียนไหน ที่มีนักเรียนจบ 300 คนต่อปี เพราะเฉลี่ยกันไป

กัปตันปิยะกล่าวว่า Embry Riddle มีเครื่องบิน 60 ลำ ส่วน BAC มี เครื่องบิน 47 ลำ

“เราจะไม่เป็น อันดับ 2 ได้อย่างไร เครื่องบินของเราเป็น cessna 172 ซึ่งก็เป็นรุ่นเดียวกับที่ เอมบรี ริดเดิลใช้ เป็นเครื่องที่ผลิตในอเมริกา มีความพิเศษคือเป็นเครื่องที่โรงเรียนการบินยอมรับว่าเหมาะกับการเอาไว้ฝึกบินที่สุด มันบินง่าย แก้ไขปัญหาได้ง่าย ซ่อมบำรุงได้ง่าย คงทน ปลอดภัย โรงเรียนการบินจึงเลือกใช้กันเยอะ”

คือคำกล่าวทิ้งท้ายของกัปตันปิยะเกี่ยวกับหนึ่งในหัวใจสำคัญของ BAC คือเครื่องฝึกบิน นอกเหนือไปจากวิสัยทัศน์ และเส้นทางชีวิต ความเป็นมาอันมากประสบการณ์ก่อนจะก่อกำเนิดโรงเรียนการบินที่ผลิตนักบินมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งต้องปรับตัวขนานใหญ่เพื่อให้ฟันฝ่าและผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ไปได้อย่างสวยงาม

https://mgronline.com/onlinesection/det ... 0000037826
โพสต์โพสต์