"กาลิเลโอ” กับการลงทุน/เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
-
- Verified User
- โพสต์: 820
- ผู้ติดตาม: 0
"กาลิเลโอ” กับการลงทุน/เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
โพสต์ที่ 1
"กาลิเลโอ” กับการลงทุน
คอลัมน์ จัตุรัสนักลงทุน/โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ/วันที่ 28 กรกฎาคม 2560
Galileo Galilei เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1564 ในเมือง Pisa ประเทศอิตาลี เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นไว้จำนวนมาก ที่โดดเด่นที่สุดคงเป็นผู้คิดทฤษฎี Velocity หรือ Law of Free Fall
ตอนสมัยเรียนชั้นประถม หลายคนคงเคยทดลองปล่อยหินสองก้อนที่มีน้ำหนักต่างกันจากที่สูง ผลปรากฏว่าหินทั้งสองกลับตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอเป็นคนคิดทฤษฎีดังกล่าวและได้ทำการทดสอบจริง ๆ ที่หอเอนแห่งเมืองปิซ่า บ้านเกิดของกาลิเลโอ
นอกจากนี้ สิ่งที่กาลิเลโอประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกอย่าง คือความสามารถในทางดาราศาสตร์ เขาเป็นคนแรกในโลกที่พิสูจน์ได้ว่าโลกโครจรรอบดวงอาทิตย์โดยการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวในระบบสุริยะเทียบกับดวงอาทิตย์ ซึ่งในตอนนั้นคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง แต่การค้นพบดังกล่าวกลับทำให้เขาโดนลงโทษจำคุกในปี ค.ศ. 1633 เนื่องจากการกล่าวอ้างดังกล่าวขัดกับคำสอนของศาสนจักรที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง
ชะตากรรมของกาลิเลโอให้บทเรียนสำคัญแก่คนรุ่นหลังโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่บนความเชื่อ มากกว่าความจริง บางครั้งการที่เราพูดความจริงบางอย่าง อาจส่งผลเสียแก่เราหากความรู้นั้น ๆ ขัดต่อความเชื่อของคนส่วนใหญ่
สิ่งที่เราทำได้คือพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะนั้นให้ได้ สำหรับคนที่เติบโตในสังคมแห่งความเชื่อที่เข้มข้น วิธีหนึ่งที่ทำให้เราตาสว่างขึ้นมาได้ด้วยตนเองคือ พยายามเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ รอบโลกโดยเฉพาะประเทศที่ค่อนข้างต่างจากเรามาก ๆ ท่านจะพบว่าความเชื่อแปลก ๆ ที่คนไทยเกือบทั้งหมดเชื่อ คนอีกซีกโลกแทบไม่มีใครเชื่อเช่นนั้น หากเราเห็นแนวคิดที่แตกต่าง แล้วคิดวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นกลาง จะส่งผลให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น คนไทยเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ฝรั่งเชื่อว่าคนเรามีชีวิตเดียว ผลคือฝรั่งมักทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตที่ค่อนข้างคุ้มค่า เห็นว่าเวลามีค่า แต่คนไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ ไม่รีบ ไม่ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง เกิด แก่ มีลูก แล้วตาย หลายอย่างที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ ก็รอไว้ชาติหน้าค่อยทำ
อีกตัวอย่างคือ คนไทยเชื่อว่าคนเราเกิดมาไม่เท่ากัน เนื่องจากวาสนาต่างกัน มีบุญไม่เท่ากัน คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย ในตระกูลที่สูงศักดิ์เป็นผู้มีบุญญาธิการ ในขณะที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เคยพูดว่าเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยคือ Lucky Sperms
แน่นอนว่าหากวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนไทย คงโดนจับไปปรับทัศนคติเสียใหม่ เราในฐานะนักลงทุนคงทำได้แค่เรียนรู้ให้มาก เข้าใจโลกให้มาก เข้าใจพฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและต่างประเทศให้มาก
สุดท้าย องค์ความรู้ต่าง ๆ หลายแขนงอาจช่วยให้เรามีแนวคิดที่เป็นอิสระจากคนส่วนใหญ่ สามารถตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น คุ้มค่ากับเวลาอันแสนสั้นที่เราทุกคนมีในโลกนี้
เพราะเรื่องน่าเศร้าที่สุดของมนุษย์ก็คือ คนเราส่วนใหญ่แก่เร็วเกินไป แต่มีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันชีวิตช้าไป
Happy Investing
คอลัมน์ จัตุรัสนักลงทุน/โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ/วันที่ 28 กรกฎาคม 2560
Galileo Galilei เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1564 ในเมือง Pisa ประเทศอิตาลี เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ที่สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นไว้จำนวนมาก ที่โดดเด่นที่สุดคงเป็นผู้คิดทฤษฎี Velocity หรือ Law of Free Fall
ตอนสมัยเรียนชั้นประถม หลายคนคงเคยทดลองปล่อยหินสองก้อนที่มีน้ำหนักต่างกันจากที่สูง ผลปรากฏว่าหินทั้งสองกลับตกถึงพื้นพร้อมกัน กาลิเลโอเป็นคนคิดทฤษฎีดังกล่าวและได้ทำการทดสอบจริง ๆ ที่หอเอนแห่งเมืองปิซ่า บ้านเกิดของกาลิเลโอ
นอกจากนี้ สิ่งที่กาลิเลโอประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกอย่าง คือความสามารถในทางดาราศาสตร์ เขาเป็นคนแรกในโลกที่พิสูจน์ได้ว่าโลกโครจรรอบดวงอาทิตย์โดยการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวในระบบสุริยะเทียบกับดวงอาทิตย์ ซึ่งในตอนนั้นคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง แต่การค้นพบดังกล่าวกลับทำให้เขาโดนลงโทษจำคุกในปี ค.ศ. 1633 เนื่องจากการกล่าวอ้างดังกล่าวขัดกับคำสอนของศาสนจักรที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง
ชะตากรรมของกาลิเลโอให้บทเรียนสำคัญแก่คนรุ่นหลังโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่บนความเชื่อ มากกว่าความจริง บางครั้งการที่เราพูดความจริงบางอย่าง อาจส่งผลเสียแก่เราหากความรู้นั้น ๆ ขัดต่อความเชื่อของคนส่วนใหญ่
สิ่งที่เราทำได้คือพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะนั้นให้ได้ สำหรับคนที่เติบโตในสังคมแห่งความเชื่อที่เข้มข้น วิธีหนึ่งที่ทำให้เราตาสว่างขึ้นมาได้ด้วยตนเองคือ พยายามเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ รอบโลกโดยเฉพาะประเทศที่ค่อนข้างต่างจากเรามาก ๆ ท่านจะพบว่าความเชื่อแปลก ๆ ที่คนไทยเกือบทั้งหมดเชื่อ คนอีกซีกโลกแทบไม่มีใครเชื่อเช่นนั้น หากเราเห็นแนวคิดที่แตกต่าง แล้วคิดวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นกลาง จะส่งผลให้เราเข้าใจโลกมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น คนไทยเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ฝรั่งเชื่อว่าคนเรามีชีวิตเดียว ผลคือฝรั่งมักทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตที่ค่อนข้างคุ้มค่า เห็นว่าเวลามีค่า แต่คนไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ ไม่รีบ ไม่ทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง เกิด แก่ มีลูก แล้วตาย หลายอย่างที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ ก็รอไว้ชาติหน้าค่อยทำ
อีกตัวอย่างคือ คนไทยเชื่อว่าคนเราเกิดมาไม่เท่ากัน เนื่องจากวาสนาต่างกัน มีบุญไม่เท่ากัน คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย ในตระกูลที่สูงศักดิ์เป็นผู้มีบุญญาธิการ ในขณะที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เคยพูดว่าเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยคือ Lucky Sperms
แน่นอนว่าหากวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนไทย คงโดนจับไปปรับทัศนคติเสียใหม่ เราในฐานะนักลงทุนคงทำได้แค่เรียนรู้ให้มาก เข้าใจโลกให้มาก เข้าใจพฤติกรรมของเพื่อนมนุษย์ทั้งในไทยและต่างประเทศให้มาก
สุดท้าย องค์ความรู้ต่าง ๆ หลายแขนงอาจช่วยให้เรามีแนวคิดที่เป็นอิสระจากคนส่วนใหญ่ สามารถตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น คุ้มค่ากับเวลาอันแสนสั้นที่เราทุกคนมีในโลกนี้
เพราะเรื่องน่าเศร้าที่สุดของมนุษย์ก็คือ คนเราส่วนใหญ่แก่เร็วเกินไป แต่มีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันชีวิตช้าไป
Happy Investing
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: กาลิเลโอ” กับการลงทุน
โพสต์ที่ 2
พี่เชาว์เขียนเกี่ยวกับความเชื่อออกมาแบบนี้ ผมรู้สึกว่าในฐานะคนไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน และเป็นผู้ที่ได้ออกไปท่องเที่ยวศึกษาโลกอยู่เป็นประจำ ก็อยากจะแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างหน่อยนะครับ
ผมคิดว่าการเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราขี้เกียจนะครับ แต่คนขี้เกียจ ถ้าเป็นคนขี้เกียจอยู่แล้วก็สามารถจะหาเหตุผลร้อยแปดมาสนับสนุนความขี้เกียจของเขาได้ อย่างในเคสนี้เขาก็แค่หยิบเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมาสนับสนุนความขี้เกียจของเขา ก็แค่นั้น
และถึงแม้เขาจะเชื่อว่าชีวิตนี้มีหนเดียว เค้าก็อาจจะใช้ชีวิตอย่างหมดอาลัยตายอยากก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะเลือกใช้ชีวิตอย่างมัวเมาอย่างเต็มที่ ทำทุกอย่างที่เขาอยากทำโดยไม่สนใจผลลัพธ์ที่จะไปเบียดเบียนคนอื่น เมื่อถึงจุดที่จนมุม ก็เลือกที่จะฆ่าตัวตายไปเลยก็ได้ เพราะ เขาเชื่อว่าชาติหน้ายังไงก็ไม่มี สุดท้ายก็ตาย ไปต่อไม่ได้ ก็จบเกมส์มันซะตรงนี้เลยแล้วกัน
ย้อนกลับมาที่เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จริงๆ แล้ว พระพุทธเจ้ามักจะยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อสอนให้เห็นถึงทุกข์โทษ ให้เห็นถึงภัยจากการสังสารวัฎ ให้เห็นว่าถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะมีความสามารถ มีชีวิตที่เป็นสุขแล้ว แต่อีกหน่อยเราก็จะเจ็บปวดจากโรค จากความแก่ชรา และจากความตาย จากความทุกข์ที่เราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก และการประจวบเหมาะกับสิ่งที่ไม่รัก และเมื่อตายไปก็มีต้องทนทุกข์กับการต้องกลับมาเกิดมาอีก ต้องลืมองค์ความรู้ที่เราสั่งสมมาในชาตินี้ทั้งหมด ต้องมาเรียนรู้โลกกันใหม่อีก ต้องมาสู้ชีวิตกันใหม่อีกรอบ แล้วก็ทนทุกข์กับวงจรชีวิตที่ประกอบด้วยสุขที่เจือไปด้วยทุกข์ และโดยส่วนใหญ่แล้วหากพิจารณาตามความเป็นจริงก็จะเห็นว่าหนักไปทางทุกข์มากกว่าสุข ไม่จบไม่สิ้น
ผมเข้าใจว่าเป้าหมายของคำสอนเหล่านี้ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องเร้า เคื่องเร่งให้สาวกมองไปที่ทางออกที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบ ยังมีทางเลือกที่จะออกไปจากวงจรแห่งทุกข์อยู่ แต่จะออกไปได้ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ถึงจะหลุดพ้นออกไปจากวงจรอุบาทว์เหล่านี้ไปได้ ไม่ใช่ทอดหุ้ยรอความตาย เก็บสิ่งที่ควรทำเอาไว้ทำต่อชาติหน้า เพราะ เมื่อเราตายไป เราก็ลืมองค์ความรู้ที่เรามีในชาตินี้ไปทั้งหมด ต้องมาเรียนรู้ใหม่หมด แล้วชาติหน้าจะมีองค์ความรู้นี้หลงเหลืออยู่ไหม ก็ไม่รู้ เพราะ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสเอาไว้ว่า การได้เกิดมาเจอองค์ความรู้แบบนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ชาติหน้าการที่เราจะโชคดีมาเจอองค์ความรู้นี้อีกนี่เป็นไปได้น้อยมาก
ดังนั้นเราจึงควรทำปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะใช้โอกาสที่หาได้ยากอย่างนี้ ที่ยังมีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่หลงเหลืออยู่นี้ มาฝึกฝน สร้างความพร้อมที่จะรับกับความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ พัฒนาขีดความสามารถในการจัดการเหตุแห่งทุกข์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่ตัวเราในชาตินี้จะได้ทุกข์น้อยลง เป็นสุขได้มากขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ดับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการต้องกลับมาเกิดอีกไปซะ
แต่ถ้าเรายังไม่มีขีดความสามารถที่จะไม่เกิด เรายังจำเป็นต้องเกิดอีก หรือมีความปรารถนาที่จะเกิดอยู่ พระพุทธเจ้าก็ได้อธิบายความเป็นไปได้ในการเกิดในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเหตุที่จะทำให้เราได้ไปเกิดในรูปแบบต่างๆ ด้วย ซึ่งหากเราหวังว่าเราจะได้ไปเกิดในที่ๆ ดีๆ เราก็ต้องเพียรสร้างเหตุที่ดี เราถึงจะได้ไปเกิดในที่ดีๆ ไม่ใช่มามัวแต่ขี้เกียจ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่พยายามใช้ชีวิตให้คุ้มค่า คุ้มเวลา การสั่งสมความขี้เกียจแบบนี้มีโอกาสที่ทำให้ได้ไปเกิดเป็นสภาพที่ไม่ดีสูงมาก
จะเห็นได้ว่า เรื่องการเวียนว่ายตายหากมองอย่างคนขี้เกียจ มันก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะขี้เกียจ แต่ถ้ามองอย่างคนมีปัญญา คนที่มีความขัยน ก็จะใช้ความจริงข้อนี้ เป็นเครื่องเร้า เครื่องเร่งความพยายาม ทำตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
ส่วนในเรื่อง Lucky Sperm ในทางพุทธ พุทธแท้ๆ ไม่เชื่อเรื่องโชค พุทธแท้ๆ เชื่อว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยที่สืบทอดต่อเนื่อง คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ดี ที่ร่ำรวย ที่มีพ่อแม่เอาใจใส่ เค้าเหล่านั้นได้สร้างเหตุที่ดีมาแล้ว จึงได้รับผลลัพธ์ที่ดี และถ้าหากชาติหน้าเราอยากที่จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ กับเค้าบ้าง เราก็ต้องเพียรพยายามสร้างเหตุที่ดี อยากเป็นคนมั่งมี ก็ต้องรู้จักเสียสละให้มาก ตระหนี่ให้น้อย อยากเป็นคนสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค ภัย ความวิบัติต่างๆ ก็ต้องระมัดระวังการที่จะทำอะไรสักอย่างแล้วไปเบียดเบียนคน หรือสัตว์อื่นๆ อยากเป็นคนที่ฉลาดมีปัญญามาก ก็ต้องรู้จักที่จะศึกษา แบ่งปัน องค์ความรู้ให้กับคนอื่น เป็นต้น และเรื่องเหล่านี้ต้องฝึกทำบ่อยๆ ด้วยความเพียร เหตุเหล่านี้จึงจะมีกำลังมากเพียงพอที่จะส่งผลให้เราได้ไปเกิดในที่ดีๆ ในชาติหน้ากับเขาบ้าง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องโชคช่วยเหลือแม้แต่นิด ตัวเราในวันนี้เป็นผลจากความเพียรที่ได้ใส่เอาไว้ในอดีต ตัวเราเองในอนาคตก็เกิดจากความเพียรของเราที่ใส่ลงไปในวันนี้
ผมคิดว่าการเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราขี้เกียจนะครับ แต่คนขี้เกียจ ถ้าเป็นคนขี้เกียจอยู่แล้วก็สามารถจะหาเหตุผลร้อยแปดมาสนับสนุนความขี้เกียจของเขาได้ อย่างในเคสนี้เขาก็แค่หยิบเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมาสนับสนุนความขี้เกียจของเขา ก็แค่นั้น
และถึงแม้เขาจะเชื่อว่าชีวิตนี้มีหนเดียว เค้าก็อาจจะใช้ชีวิตอย่างหมดอาลัยตายอยากก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะเลือกใช้ชีวิตอย่างมัวเมาอย่างเต็มที่ ทำทุกอย่างที่เขาอยากทำโดยไม่สนใจผลลัพธ์ที่จะไปเบียดเบียนคนอื่น เมื่อถึงจุดที่จนมุม ก็เลือกที่จะฆ่าตัวตายไปเลยก็ได้ เพราะ เขาเชื่อว่าชาติหน้ายังไงก็ไม่มี สุดท้ายก็ตาย ไปต่อไม่ได้ ก็จบเกมส์มันซะตรงนี้เลยแล้วกัน
ย้อนกลับมาที่เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จริงๆ แล้ว พระพุทธเจ้ามักจะยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อสอนให้เห็นถึงทุกข์โทษ ให้เห็นถึงภัยจากการสังสารวัฎ ให้เห็นว่าถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะมีความสามารถ มีชีวิตที่เป็นสุขแล้ว แต่อีกหน่อยเราก็จะเจ็บปวดจากโรค จากความแก่ชรา และจากความตาย จากความทุกข์ที่เราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก และการประจวบเหมาะกับสิ่งที่ไม่รัก และเมื่อตายไปก็มีต้องทนทุกข์กับการต้องกลับมาเกิดมาอีก ต้องลืมองค์ความรู้ที่เราสั่งสมมาในชาตินี้ทั้งหมด ต้องมาเรียนรู้โลกกันใหม่อีก ต้องมาสู้ชีวิตกันใหม่อีกรอบ แล้วก็ทนทุกข์กับวงจรชีวิตที่ประกอบด้วยสุขที่เจือไปด้วยทุกข์ และโดยส่วนใหญ่แล้วหากพิจารณาตามความเป็นจริงก็จะเห็นว่าหนักไปทางทุกข์มากกว่าสุข ไม่จบไม่สิ้น
ผมเข้าใจว่าเป้าหมายของคำสอนเหล่านี้ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องเร้า เคื่องเร่งให้สาวกมองไปที่ทางออกที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบ ยังมีทางเลือกที่จะออกไปจากวงจรแห่งทุกข์อยู่ แต่จะออกไปได้ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ถึงจะหลุดพ้นออกไปจากวงจรอุบาทว์เหล่านี้ไปได้ ไม่ใช่ทอดหุ้ยรอความตาย เก็บสิ่งที่ควรทำเอาไว้ทำต่อชาติหน้า เพราะ เมื่อเราตายไป เราก็ลืมองค์ความรู้ที่เรามีในชาตินี้ไปทั้งหมด ต้องมาเรียนรู้ใหม่หมด แล้วชาติหน้าจะมีองค์ความรู้นี้หลงเหลืออยู่ไหม ก็ไม่รู้ เพราะ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสเอาไว้ว่า การได้เกิดมาเจอองค์ความรู้แบบนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ชาติหน้าการที่เราจะโชคดีมาเจอองค์ความรู้นี้อีกนี่เป็นไปได้น้อยมาก
ดังนั้นเราจึงควรทำปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะใช้โอกาสที่หาได้ยากอย่างนี้ ที่ยังมีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่หลงเหลืออยู่นี้ มาฝึกฝน สร้างความพร้อมที่จะรับกับความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ พัฒนาขีดความสามารถในการจัดการเหตุแห่งทุกข์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่ตัวเราในชาตินี้จะได้ทุกข์น้อยลง เป็นสุขได้มากขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ดับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการต้องกลับมาเกิดอีกไปซะ
แต่ถ้าเรายังไม่มีขีดความสามารถที่จะไม่เกิด เรายังจำเป็นต้องเกิดอีก หรือมีความปรารถนาที่จะเกิดอยู่ พระพุทธเจ้าก็ได้อธิบายความเป็นไปได้ในการเกิดในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเหตุที่จะทำให้เราได้ไปเกิดในรูปแบบต่างๆ ด้วย ซึ่งหากเราหวังว่าเราจะได้ไปเกิดในที่ๆ ดีๆ เราก็ต้องเพียรสร้างเหตุที่ดี เราถึงจะได้ไปเกิดในที่ดีๆ ไม่ใช่มามัวแต่ขี้เกียจ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่พยายามใช้ชีวิตให้คุ้มค่า คุ้มเวลา การสั่งสมความขี้เกียจแบบนี้มีโอกาสที่ทำให้ได้ไปเกิดเป็นสภาพที่ไม่ดีสูงมาก
จะเห็นได้ว่า เรื่องการเวียนว่ายตายหากมองอย่างคนขี้เกียจ มันก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะขี้เกียจ แต่ถ้ามองอย่างคนมีปัญญา คนที่มีความขัยน ก็จะใช้ความจริงข้อนี้ เป็นเครื่องเร้า เครื่องเร่งความพยายาม ทำตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
ส่วนในเรื่อง Lucky Sperm ในทางพุทธ พุทธแท้ๆ ไม่เชื่อเรื่องโชค พุทธแท้ๆ เชื่อว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยที่สืบทอดต่อเนื่อง คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ดี ที่ร่ำรวย ที่มีพ่อแม่เอาใจใส่ เค้าเหล่านั้นได้สร้างเหตุที่ดีมาแล้ว จึงได้รับผลลัพธ์ที่ดี และถ้าหากชาติหน้าเราอยากที่จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ กับเค้าบ้าง เราก็ต้องเพียรพยายามสร้างเหตุที่ดี อยากเป็นคนมั่งมี ก็ต้องรู้จักเสียสละให้มาก ตระหนี่ให้น้อย อยากเป็นคนสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค ภัย ความวิบัติต่างๆ ก็ต้องระมัดระวังการที่จะทำอะไรสักอย่างแล้วไปเบียดเบียนคน หรือสัตว์อื่นๆ อยากเป็นคนที่ฉลาดมีปัญญามาก ก็ต้องรู้จักที่จะศึกษา แบ่งปัน องค์ความรู้ให้กับคนอื่น เป็นต้น และเรื่องเหล่านี้ต้องฝึกทำบ่อยๆ ด้วยความเพียร เหตุเหล่านี้จึงจะมีกำลังมากเพียงพอที่จะส่งผลให้เราได้ไปเกิดในที่ดีๆ ในชาติหน้ากับเขาบ้าง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องโชคช่วยเหลือแม้แต่นิด ตัวเราในวันนี้เป็นผลจากความเพียรที่ได้ใส่เอาไว้ในอดีต ตัวเราเองในอนาคตก็เกิดจากความเพียรของเราที่ใส่ลงไปในวันนี้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กาลิเลโอ” กับการลงทุน
โพสต์ที่ 4
picatos เขียน:พี่เชาว์เขียนเกี่ยวกับความเชื่อออกมาแบบนี้ ผมรู้สึกว่าในฐานะคนไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชน และเป็นผู้ที่ได้ออกไปท่องเที่ยวศึกษาโลกอยู่เป็นประจำ ก็อยากจะแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างหน่อยนะครับ
ผมคิดว่าการเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราขี้เกียจนะครับ แต่คนขี้เกียจ ถ้าเป็นคนขี้เกียจอยู่แล้วก็สามารถจะหาเหตุผลร้อยแปดมาสนับสนุนความขี้เกียจของเขาได้ อย่างในเคสนี้เขาก็แค่หยิบเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมาสนับสนุนความขี้เกียจของเขา ก็แค่นั้น
และถึงแม้เขาจะเชื่อว่าชีวิตนี้มีหนเดียว เค้าก็อาจจะใช้ชีวิตอย่างหมดอาลัยตายอยากก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะเลือกใช้ชีวิตอย่างมัวเมาอย่างเต็มที่ ทำทุกอย่างที่เขาอยากทำโดยไม่สนใจผลลัพธ์ที่จะไปเบียดเบียนคนอื่น เมื่อถึงจุดที่จนมุม ก็เลือกที่จะฆ่าตัวตายไปเลยก็ได้ เพราะ เขาเชื่อว่าชาติหน้ายังไงก็ไม่มี สุดท้ายก็ตาย ไปต่อไม่ได้ ก็จบเกมส์มันซะตรงนี้เลยแล้วกัน
ย้อนกลับมาที่เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จริงๆ แล้ว พระพุทธเจ้ามักจะยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อสอนให้เห็นถึงทุกข์โทษ ให้เห็นถึงภัยจากการสังสารวัฎ ให้เห็นว่าถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะมีความสามารถ มีชีวิตที่เป็นสุขแล้ว แต่อีกหน่อยเราก็จะเจ็บปวดจากโรค จากความแก่ชรา และจากความตาย จากความทุกข์ที่เราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก และการประจวบเหมาะกับสิ่งที่ไม่รัก และเมื่อตายไปก็มีต้องทนทุกข์กับการต้องกลับมาเกิดมาอีก ต้องลืมองค์ความรู้ที่เราสั่งสมมาในชาตินี้ทั้งหมด ต้องมาเรียนรู้โลกกันใหม่อีก ต้องมาสู้ชีวิตกันใหม่อีกรอบ แล้วก็ทนทุกข์กับวงจรชีวิตที่ประกอบด้วยสุขที่เจือไปด้วยทุกข์ และโดยส่วนใหญ่แล้วหากพิจารณาตามความเป็นจริงก็จะเห็นว่าหนักไปทางทุกข์มากกว่าสุข ไม่จบไม่สิ้น
ผมเข้าใจว่าเป้าหมายของคำสอนเหล่านี้ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องเร้า เคื่องเร่งให้สาวกมองไปที่ทางออกที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบ ยังมีทางเลือกที่จะออกไปจากวงจรแห่งทุกข์อยู่ แต่จะออกไปได้ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ถึงจะหลุดพ้นออกไปจากวงจรอุบาทว์เหล่านี้ไปได้ ไม่ใช่ทอดหุ้ยรอความตาย เก็บสิ่งที่ควรทำเอาไว้ทำต่อชาติหน้า เพราะ เมื่อเราตายไป เราก็ลืมองค์ความรู้ที่เรามีในชาตินี้ไปทั้งหมด ต้องมาเรียนรู้ใหม่หมด แล้วชาติหน้าจะมีองค์ความรู้นี้หลงเหลืออยู่ไหม ก็ไม่รู้ เพราะ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสเอาไว้ว่า การได้เกิดมาเจอองค์ความรู้แบบนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ชาติหน้าการที่เราจะโชคดีมาเจอองค์ความรู้นี้อีกนี่เป็นไปได้น้อยมาก
ดังนั้นเราจึงควรทำปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะใช้โอกาสที่หาได้ยากอย่างนี้ ที่ยังมีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่หลงเหลืออยู่นี้ มาฝึกฝน สร้างความพร้อมที่จะรับกับความทุกข์ในรูปแบบต่างๆ พัฒนาขีดความสามารถในการจัดการเหตุแห่งทุกข์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่ตัวเราในชาตินี้จะได้ทุกข์น้อยลง เป็นสุขได้มากขึ้น และถ้าเป็นไปได้ก็ดับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการต้องกลับมาเกิดอีกไปซะ
แต่ถ้าเรายังไม่มีขีดความสามารถที่จะไม่เกิด เรายังจำเป็นต้องเกิดอีก หรือมีความปรารถนาที่จะเกิดอยู่ พระพุทธเจ้าก็ได้อธิบายความเป็นไปได้ในการเกิดในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเหตุที่จะทำให้เราได้ไปเกิดในรูปแบบต่างๆ ด้วย ซึ่งหากเราหวังว่าเราจะได้ไปเกิดในที่ๆ ดีๆ เราก็ต้องเพียรสร้างเหตุที่ดี เราถึงจะได้ไปเกิดในที่ดีๆ ไม่ใช่มามัวแต่ขี้เกียจ ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่พยายามใช้ชีวิตให้คุ้มค่า คุ้มเวลา การสั่งสมความขี้เกียจแบบนี้มีโอกาสที่ทำให้ได้ไปเกิดเป็นสภาพที่ไม่ดีสูงมาก
จะเห็นได้ว่า เรื่องการเวียนว่ายตายหากมองอย่างคนขี้เกียจ มันก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะขี้เกียจ แต่ถ้ามองอย่างคนมีปัญญา คนที่มีความขัยน ก็จะใช้ความจริงข้อนี้ เป็นเครื่องเร้า เครื่องเร่งความพยายาม ทำตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
ส่วนในเรื่อง Lucky Sperm ในทางพุทธ พุทธแท้ๆ ไม่เชื่อเรื่องโชค พุทธแท้ๆ เชื่อว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยที่สืบทอดต่อเนื่อง คนที่เกิดมาในครอบครัวที่ดี ที่ร่ำรวย ที่มีพ่อแม่เอาใจใส่ เค้าเหล่านั้นได้สร้างเหตุที่ดีมาแล้ว จึงได้รับผลลัพธ์ที่ดี และถ้าหากชาติหน้าเราอยากที่จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ กับเค้าบ้าง เราก็ต้องเพียรพยายามสร้างเหตุที่ดี อยากเป็นคนมั่งมี ก็ต้องรู้จักเสียสละให้มาก ตระหนี่ให้น้อย อยากเป็นคนสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค ภัย ความวิบัติต่างๆ ก็ต้องระมัดระวังการที่จะทำอะไรสักอย่างแล้วไปเบียดเบียนคน หรือสัตว์อื่นๆ อยากเป็นคนที่ฉลาดมีปัญญามาก ก็ต้องรู้จักที่จะศึกษา แบ่งปัน องค์ความรู้ให้กับคนอื่น เป็นต้น และเรื่องเหล่านี้ต้องฝึกทำบ่อยๆ ด้วยความเพียร เหตุเหล่านี้จึงจะมีกำลังมากเพียงพอที่จะส่งผลให้เราได้ไปเกิดในที่ดีๆ ในชาติหน้ากับเขาบ้าง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องโชคช่วยเหลือแม้แต่นิด ตัวเราในวันนี้เป็นผลจากความเพียรที่ได้ใส่เอาไว้ในอดีต ตัวเราเองในอนาคตก็เกิดจากความเพียรของเราที่ใส่ลงไปในวันนี้