MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุนVI

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
Verified User
โพสต์: 293
ผู้ติดตาม: 0

MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุนVI

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk@SET 16/7/60
ช่วงที่ 1 สัมมนาหัวข้อ “4 หุ้นเด่นครึ่งปีหลัง”
1. คุณสมศักดิ์ บริสุทธนะกุล / กรรมการผู้จัดการ TPBI
2. คุณปิยะ พงษ์อัชฌา / กรรมการผู้จัดการ JMT
3. คุณณัฐนัย อนันตรัมพร / กรรมการผู้จัดการ ITEL
4. คุณภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ / รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ TPIPP
ผู้ดำเนินรายการ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช

Intro
บริษัทจดทะเบียนทั้ง 4 แห่งที่เชิญมาเพื่อให้ข้อมูล
การตัดสินใจลงทุน ผลตอบแทนได้กำไรหรือขาดทุนขึ้นกับตัวท่านเอง

การประกอบธุรกิจ
TPBI
ผลิตบรรจุภัณฑ์ครบวงจรและเป็น Total solution เริ่มจากออกแบบให้ลูกค้า,
มีสูตรการผลิตของตัวเองที่สอดคล้องกับคุณสมบัติการใช้งาน รวมถึงจัดซื้อ/จัดหาให้ด้วย
เป็นผู้ผลิตถุงพลาสติครายใหญ่สุด จากข้อมูลสรรพากร ยอดขายเราสูงกว่าอันดับสอง 60-70%
กำลังผลิต 6 หมื่นกว่าตันต่อปี

บริษัท ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง เป็นการผลิตตามสั่ง
สินค้าแบ่งเป็น 4 หมวดใหญ่ๆ
1) ถุงพลาสติก ได้แก่ ถุงหูหิ้ว ถุงขยะ ถุงม้วนๆที่ใช้ห่อผักผลไม้ เป็นสัดส่วนรายได้หลัก 50-60%
2) Multi layer blown film ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน packaging
มีตั้งแต่ 3-7 ชั้น เป็นต้นน้ำ flexible packaging
3) Flexible packaging มีใช้หลากหลาย ตั้งแต่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม, ขนมขบเคี้ยว
โดยเราเน้นบรรจุภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน
4) อื่นๆ เช่น เม็ด compound ปรับปรุงวัตถุดิบให้ดีก่อนใช้, ทำถ้วนกระดาษ, ซื้อมาขายไป
สินค้าหมวดที่ 1 ส่วนใหญ่ขายต่างประเทศ แต่หมวดที่ 2-3 ส่วนใหญ่ขายในประเทศ

การขาย 90% ส่งออกไป ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างประเทศ เช่น อเมริกา ห้างวูลเวิร์ธ, ห้างโครเกอร์,
อังกฤษ – เทสโก้, ออสเตรเลีย วูลเวิร์ธ, ญี่ปุ่น ตามห้างทั่วไปและรวมถึงเข้า 7-11 ทางอ้อมผ่านผู้ผลิตอาหาร
เนื่องจากลูกค้ารายใหญ่ จึงต้องการผู้ผลิตที่มี Capacity สูง ถ้าเปิดห้างมาแล้วไม่มีถุงใช้งานไม่ได้
ซึ่งประวัติที่ผ่านมาเราสามารถส่งมอบได้ตรงเวลา, มีกำลังผลิตสูง และมีคุณภาพดี
เราสามารถแข่งขันกับจีนที่แม้ราคาอาจถูกว่าได้ เพราะ
ราคาไม่จำเป็นต้องถูกที่สุดเสมอไป ถ้าถูกแต่มีปัญหาคุณภาพ หรือส่งมอบไม่ตรงเวลา ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน

กระแสรักษ์โลก ใช้ถุงผ้าเป็นสิ่งที่มีมานานเป็น 10-20 ปีแล้ว ซึ่งเราก็มีการเตรียมพร้อมไว้
ที่ชี้แจงใน Opp day เราทำ Transformation ถุงหูหิ้วจะมีความเสี่ยงมากสุด
เราจึงเอากำลังผลิตไปหาสินค้าอื่นที่มีความมั่นคงและ margin ดีกว่า
ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับปรุงเครื่องจักรระยะหนึ่ง
ผลประกอบการใน Q160 สัดส่วนอื่นๆจะเพิ่มจาก 10 กว่า% เป็น 20% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเม็ด compound


TPIPP

เป็นผู้ผลิต waste energy ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
1) 15% รายได้ เป็นธุรกิจสถานีบริการน้ำมันและแก๊ส ธรรมธรรมชาติ 12 แห่ง
เป็น สถานีน้ำมัน 8 แห่ง, สถานีน้ำมันและNGV 3 แห่ง, สถานี NGV 1 แห่ง
ไม่ได้เป็นธุรกิจหลัก และไม่มีแผนขยาย
2) 85% รายได้ เป็นธุรกิจโรงไฟฟ้า มีอยู่ 3 แบบ (ปัจจุบันมีใช้งานอยู่ 2 แบบ และกำลังสร้างแบบที่ 3)
แบบ 1 โรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนทิ้ง (Waste Heat Power Plant )
แบบ 2 โรงไฟฟ้า พลังงาน ”เชื้อเพลิง”จากขยะ (RDF Power plant)
แบบ 3 โรงไฟฟ้า พลังงาน ถ่านหิน

กำลังผลิต มีทั้งหมด 150 MW โรงไฟฟ้า 1-5
โรงไฟฟ้า 1 20 MW เป็น Waste Heat Power Plant
โรงไฟฟ้า 2 20 M เป็น Waste Heat Power Plant
โรงไฟฟ้า 3 20 MW เป็น RDF Power plant
โรงไฟฟ้า 4 30 MW เป็น Waste Heat Power Plant
โรงไฟฟ้า 5 60 MW เป็น RDF Power plant

ผู้ซื้อ TPIPL, EGAT
1)ขายให้ TPIPL โรง 1,2,4 รวมเป็น 70 MW
เอาความร้อนทิ้งจากผลิตปูนซีเมนต์ ส่งให้ TPIPP 0.6 บาท/หน่วย
แล้วผลิตไฟฟ้าขายคืนให้ TPIPL ราคาเดียวกับที่ขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เฉลี่ย 3 บาทต้นๆ/หน่วย
2) ขายให้ EGAT โรงไฟฟ้า 3,5
โรงไฟฟ้า 3 ขาย under PPA 18 MW เหลือ 2 MW ไว้หมุนเวียนในโรงไฟฟ้าเอง
โรงไฟฟ้า 5 ขาย under PPA 55 MW อีก 10 MW ไว้หมุนเวียนเหมือนกัน
ขายในราคาฐาน +3.5 adder เช่น ฐาน 3 บาท จะขายได้ +3.5 = 6.5 บาท/หน่วย
เพราะเราใช้ขยะ เป็นการส่งเสริมเพื่อช่วยให้กำจัดขยะให้ประเทศไทย

แผนในอนาคต
COD อีก 3 โรงไฟฟ้า ในไตรมาส 4 ปี 60
โรงไฟฟ้า 6 70 MW เป็น RDF Power plant
โรงไฟฟ้า 7 70 MW เป็น โรงไฟฟ้าถ่านหิน และ RDF
โรงไฟฟ้า 8 150 MW เป็น โรงไฟฟ้าถ่านหิน


โรงไฟฟ้า 6 70 MW เป็น RDF Power plant จะนำไปรวมกับโรงไฟฟ้าที่ 4 30 MW
ขายให้ EGAT Under PPA 90 MW ได้ราคาเดียวกับโรงไฟฟ้า 3 และ 5 คือค่าไฟฟ้าฐาน + Adder 3.5 บาท
จะมีคนชอบถามว่า โรงไฟฟ้าที่ 4 เป็น Waste Heat Power plant ขายให้การไฟฟ้าได้หรือ?
คำตอบคือ ได้ ในเงือนไข PPA ระบุไว้ว่าจะต้องใช้ RDF ไม่ต่ำกว่า 75%
และพลังงานเสริมไม่เกิน 25% ซึ่งถ้าโรงไฟฟ้าที่ 6 สร้างเสร็จจะมี RDF 70 MW
ขาย Under PPA 90 MW ซึ่งเกิน 75%

โรงไฟฟ้า 7 70 MW เป็น ถ่านหิน และ RDF
สมมติว่า โรงไฟฟ้า 5 หรือ 6 มีปัญหา ต้องสั่งของจากต่างประเทศใช้เวลา 6 เดือน ติดตั้ง 1 เดือน
เสียเวลา Adder ไป 7 เดือน จึงสร้างอีก 1 โรงไฟฟ้าเผื่อเอาไว้
ถ้าโรงไฟฟ้า 5 มีปัญหาถอดท่อไปต่อเสียเวลาแค่ 1 อาทิตย์
แต่ถ้าตั้งโรงไฟฟ้าอยู่เฉยๆ เรามีตัวปั่นและหม้อต้มน้ำ ก็เลยจับท่อต่อกันขายให้กับ TPIPL
ทำให้ต้องมีทั้งถ่านหินและ RDF

โรงไฟฟ้า 8 150 MW ถ่านหิน เมื่อเสร็จจะขายให้กับ TPIPL

ทำให้รวมแล้วสิ้นปีนี้จะมีรวมเป็น 440 MW

สิ่งที่แตกต่างจากเจ้าอื่น
1) ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าขนาด 80 MW => 180 MW ในปีนี้
เมื่อเทียบ Fix cost เช่น ผู้จัดการโรงงาน 1 คน บริหาร 180 MW กับ ที่อื่นที่มีไม่ถึง 10 MW
2) RDF Plant ไม่ใช่นำขยะโยนเข้าหม้อ แต่ต้องนำขยะเข้าเครื่องคัดแยกออกมาเป็น RDF
แล้วนำเข้า RDF Power plant ออกมาเป็นกระแสไฟฟ้า
เวลาไป ญี่ปุ่น จะเห็นถังขยะ 4 ช่อง ขยะทั่วไป, รีไซเคิล, กระป๋อง, พลาสติค เวลาเก็บขยะไปใช้ ได้ความร้อนสูงมาก
บ้านเรามี 4 ช่องเหมือนกัน แต่เก็บขยะไปรวมกันหมด ปัญหาถัดมา ขยะบ้านเรามีความชื้นสูง
เช่น พวกแกง พวกน้ำต่างๆ จากงานวิจัยขยะญี่ปุ่นค่าความร้อน 4,000 Kcal ต่อตัน แต่ไทยอยู่ที่ 900 Kcal ต่อตัน
โดยสิ่งที่เราทำการคัดแยก จึงปรับปรุงให้มีค่าความร้อนสูง ปัจจุบันอยู่ที่ 4300-4400 Kcal ต่อตันได้แล้ว


ITEL
เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ทำการเชื่อมต่อข้อมูล จะเป็นออฟฟิศ สำนักงาน บ้าน เชื่อมต่อผ่าน Fiber optic
ซึ่งข้อมูลจะนำไปเก็บที่ Data center
70% รายได้มาก ธุรกิจให้บริการโครงข่าย Fiber optic และ Data center
30% รายได้ นำทีมงานไปรับจ้างติดตั้ง fiber optic
เป็นธุรกิจคมนาคม ครบวงจร

จุดแข่งขันของเรา แตกต่าง และต้นทุนแข่งขันได้
สิ่งแรกที่ทำให้ลูกค้าให้เราเข้าไปขายได้ คือ ความเชื่อใจ
เพราะลูกค้าต้องการเปลี่ยนเทคโนโลยี 90% ปัญหาลูกค้าอยากได้ช่องสัญญาณ หรือเชื่อมต่อความเร็วสูง
ปัญหาในอดีตคือ ผู้ให้บริการรายเดิมลงทุนสายทองแดง ที่ความเร็วต่ำ
ความเร็วมากสุดคือ 4 MB ซึ่งสาย Fiber optic เร็วกว่านั้น
ผู้บริการรายเดิมถ้าอยากแข่งขันก็ต้องลงทุนใหม่
ซึ่งเราเป็นคนติดตั้งเอง ต้นทุนเราถูกกว่าคนอื่น
ข้อดีของเราที่เป็นรายเล็ก คือ สามารถเข้าถึงข้อมูล ดูแลลูกค้าได้ดีกว่า
ทุกคนลากสายไปตามเสาไฟฟ้า แต่เราลากสายไปตามทางรถไฟ และมีเสาไฟฟ้า เป็นสำรอง
ซึ่งที่อื่นถ้ารถชนเสาไฟฟ้าหักก็จะมีปัญหา ก็จะไม่มีสำรอง เป็นเสถียรภาพในการใช้บริการ

เราเดินสายตามแนวรถไฟ ข้อดีคือ รถไฟมีพื้นที่ครอบคลุม 55 จังหวัด
ส่วนที่ลงทุนถนนเพื่อเชื่อมจังหวัดที่เหลือ และเชื่อมไปหาลูกค้า
อย่างถ้าไปหัวหินจะเห็นเสาโทรเลข เราก็ไปขอใช้พาดสาย
เป็น win win ที่การรถไฟได้ค่าเช่า เราก็นำมาใช้ทำธุรกิจ
เสาโทรเลขส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากรางรถไฟ และเราไม่ต้องลงทุนไปซ่อมเสาให้เขา
ยิ่งลงทุนน้อย ปรับปรุงน้อย ก็เป็นต้นทุนที่ไม่ต้องออกจากกระเป๋า

จำนวนเครือข่ายครอบคลุมจังหวัดในไทย
เริ่มต้นก่อนเข้าตลาด 44 จังหวัด =>ช่วงเข้าตลาดราว 62 จังหวัด=> ปัจจุบัน75 จังหวัด
ขาด 2 จังหวัด คือ ระนอง กับ แม่ฮ่องสอน ยังมีเงินลงทุนไม่พอ และอาจจะยังขายไม่คุ้ม
ซึ่งเราสามารถให้บริการได้โดย ซื้อจากเจ้าอื่นมาให้ลูกค้า


JMT
ช่วงเข้าตลาดปี 2555 มีมูลค่าหนี้ในมือ 1 หมื่นล้าน ปัจจุบันมี 1.15 แสนล้านบาท
ธุรกิจบริหารหนี้ หรือเร่งรัดติดตามหนี้ โมเดลธุรกิจ มี 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 สถาบันการเงินส่งหนี้มาให้ช่วยทวง 5 แสนราย ส่งมา 2.5 หมื่นล้าน
โดยได้รายได้เป็นส่วนแบ่ง commission เช่น เก็บหนี้ 100 บาท ได้ส่วนแบ่งมา 25 บาท
ส่วนที่ 2 รับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหาร สินเชื่อบุคคล,เครดิต, บ้าน มีในลูกค้ามือ 3 ล้านคน เป็นหนี้ในระบบ
ธุรกิจส่วนนี้คิดเป็นรายได้ 90% ของบริษัท

วิธีการติดตามหนี้ ใช้ call center มีพนักงานตามหนี้ราว 2 พันคน
ใช้เงินซื้อหนี้ ราว 5% ของมูลค่าหนี้ เก็บได้ไปแล้ว ราว 3 พันกว่าล้าน
มี 100 ชุด ที่ซื้อเข้ามา ยังไม่มีชุดไหนที่ขาดทุน
ซื้อมา 5 % เก็บไปราว 20% ทำให้ GPM เราสูง

การเก็บหนี้เป็นเรื่องประสบการณ์
หนี้กองแรกซื้อมา 30 ล้านบาท เราเก็บหนี้ได้เกินกว่าเงินลงทุนไปเกิน 400%

ลูกหนี้คือลูกค้า
ลูกค้าเราสิบกว่าปีก่อนมีหนี้ 1 หมื่นบาท วันนี้ก็ยังมีหนี้ 1 หมื่นล้าน เราไม่ได้เก็บดอกเบี้ย
ลูกหนี้ JMT วันแรกอายุ 25 ปี ผ่านไป 11 ปี อาชีพ, สถานะครอบครัวเปลี่ยน ก็เริ่มกลับมาจ่ายเงิน
สมัยหนึ่งบัตรเครดิตให้จ่ายขั้นต่ำได้ 5% เป็น 10% ลูกค้าจ่ายไม่ไหว
ลูกค้าก็ต้องไปหมุนเวียนใช้บัตรเครดิตใบอื่น เป็นหนี้หลายก่อน
JMT ซื้อหนี้จากหลายราย แล้วจับหนี้หลายๆรายมา Restructure
แล้วพิจารณาเงินเดือน ภาระครอบครัวของลูกค้า ต่างๆ จัด Package ให้
เช่น 3 ปีแรกจ่ายได้เท่าไร? ตัดหนี้ให้ได้เท่าไร? หรือเคลียร์เลยเท่าไร ตามความเหมาะสม

จากลูกค้า 3 ล้านคน มีลูกหนี้เสียชีวิตไปแล้วเป็นหมื่นคน บางทีเราก็ลดให้ครอบครัวไป 70% ให้ชำระ 30% ที่เหลือ
เรามีการประนอมหนี้ ช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า ไม่ได้เน้นใช้อำนาจตามกฏหมายไปบังคับคดีหรือยึดทรัพย์
กระแสเงินสดที่เราเก็บได้ก็เพิ่มขึ้นตลอด จากไม่กี่ร้อยล้านจนปีล่าสุดเป็นหลักพันกว่าล้านบาท

ภาพรวมธุรกิจในช่วงปีนี้ไปจนถึงสิ้นปี หนี้ครัวเรือนสูงขึ้น และระบบบัญชีใหม่ ต้องตั้งสำรองหนี้ด้วยกฏของ IFRS9
ทำให้สถาบันการเงินต้องตั้งสำรอง แล้วบันทึกรายได้กลับ จากเงินที่ JMT เข้าไปซื้อหนี้
แต่ JMT กลับกัน เวลาไปซื้อหนี้ จะทำกำไรโดย Projection รายได้ตามประวัติที่มี
เราทำธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 40 ก็ตั้ง Projection ได้ 10 ปี
ถ้าปีถัดไปก็ได้เป็น 11 ปีก็ไปทบทวนกับ auditor
โดยเวลาไปซื้อหนี้เรามี benchmark ผลตอบแทนต้องได้ขั้นต่ำ 12% ใครซื้อสูงกว่าเราอาจจะขาดทุนได้
เพราะเรามี Market share กว่า 90% และเรามีประสบการณ์ในการ projection หนี้มากกว่า


ผลดำเนินการ และแนวโน้มในอนาคต
TPBI
ผลดำเนินการไตรมาส 1 60 กระทบมาจาก พ.ย. 59 ทางอเมริกา Vote ไม่ใช้ ถุงบาง/ถุงหูหิ้ว ทำให้มีความต้องการลดลง
และ Brexit ทำให้อังกฤษค่าเงินปอนด์ อ่อนลงไปมาก จึงซื้อในประเทศหรือในภูมิภาคถูกกว่า
ทำให้รายได้กลุ่มถุงหูหิ้วที่มีสัดส่วน 30% ลดลง
ซึ่งเราเอากำลังผลิต ไปผลิตอย่างอื่น เช่น ทำถุงอีคอมเมอร์ซ คือถุงที่ไว้ใส่ของซื้อขายตาม internet
และธุรกิจอาหารมองว่าจะดี โดยเฉพาะไก่ ทำถุงที่ปลอดภัยในการใส่อาหาร
รวมถึงบางส่วนต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ด้วย ซึ่งระยะยาว จะทำให้เรามั่นคงขึ้น
ถุงขยะ เติบโตขึ้น เพราะถุงหูหิ้วก็ทำหน้าที่ถุงขยะอยู่ พอลดการใช้ ก็ทำให้คนซื้อถุงขยะเพิ่ม
Flexible packaging เติบโตขึ้น พวกที่ใส่อาหารพร้อมรับประทานก็เข้ากับยุคสมัย
ลูกค้า คือ ผู้ผลิตอาหาร และผู้ค้าปลีก เช่น ซีฟีเอฟ, เบทาโกร
ใน Q2 มีเดือนที่ทำลายสถิติ และกำลังขยายโรงงาน มีกำลังผลิต 100 ล้านเมตรต่อปี
และกำลังขยายกำลังผลิตอีกเท่าตัว คาดเสร็จ พ.ค. 61
M&A ในปี 60 น่าจะมีจบราว 2 ราย มีเซ็น MOU แล้ว 1 รายกำลังจบใน 1-2 เดือนนี้
Cap เรา 5-6 พันตันต่อเดือน เขามี 300 ตัน ต่อเดือน แต่เติบโต 10% มาตลอด

เรื่องเงินทุนไม่น่ามี ตั้งแต่ IPO มาก็ใช้กำไรสะสม แต่ส่วน M&A น่าจะต้องใช้


TPIPP
ปี 59 รายได้ 4.3 พันล้าน กำไร 1.8 พันล้าน
ปี 60 ไตรมาส 1 รายได้ 1.2 พันล้าน กำไร 700 ล้าน
EBITDA Margin ปี 59 55% ปี 60 ไตรมาส 1 70%
สาเหตุ
Waste Heat Power Plant IRR 55-60% เพราะต้นทุนซื้อความร้อนทิ้งมาถูกมาก
RDF Power Plant IRR 45-50% ต้นทุนจะสูงกว่าพลังงานความร้อนทิ้ง
พลังงานถ่านหิน IRR 13-17% ถ้าเทียบกับ 2 อย่างแรกจะต่ำ ซึ่งเป็น low return, low risk
เพราะบริษัทแม่รอซื้อจาก TPIPP อยู่

มองไปปี 61 จะรับรู้ 440 MW ได้เต็มปี

ปกติเรา run โรงไฟฟ้าได้ราว 180 ล้านหน่วย ไตรมาส 1 ได้ 197 ล้านหน่วย
เราค้นพบวิธีใหม่ให้ RDF ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่คาดว่าไตรมาส 2 น่าจะได้ 205-210 ล้านหน่วย
การไฟฟ้าขึ้นราคา 12.5 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อต้น พ.ค. 60 ซึ่งเราก็จะได้อาณิสงค์ด้วย
โดยรอบก.ย. ค่าไฟฟ้าจะขึ้นอีก 8.87 สตางค์ต่อหน่วย

คำถามเกี่ยวกับ EIA –TPIPL ในอดีตเราทำผ่านแล้วเกือบ 30 โครงการ ส่วนใหญ่จะผ่านในรอบที่ 2
โรง 6,7,8 ล่าสุดโรง 7 ผ่านแล้ว ส่วนโรง 6 ยื่นครั้งที่ 2 แล้ว ส่วนโรง 8 กำลังแก้ไข และจะยื่นในรอบ 2


ITEL
ไตรมาส 1 รายได้กำไร เติบโต 20% อาจไม่สูงมาก แต่จะเป็นฐานที่จะโตของการเติบโต
เช่น เมื่องไทยลีซซิ่ง มี 1700 สาขา เราติดตั้งให้ไป 400 สาขา ซึ่งจะมีรับรู้ต่อเนื่องไปไตรมาส 2-3
เราเซ็นสัญญากับ 10 ปี ซึ่งแผนธุรกิจเขาวางแผนจะเติบโตไปอีก 4000 สาขา เราก็จะเติบโตกับเขาไปด้วย
นอกจากนี้ เรายังมีลูกค้าอื่นอีก เช่น Kbank มีตู้ atm 1 หมื่นตู้ เป็นของเรา 30%
หรือ 7-11 มี 6 พันสาขา ซึ่งส่วนที่เขาจะจ้างคนอื่นนอกจาก true อย่าง true เขาให้เวาลาทำงาน 15 วัน แล้วยังทำไม่ทัน
ถ้าเราตอบไปโจทย์เขาได้เช่นทำเสร็จได้ใน 3 วัน เรา ก็จะได้ order
เวลาเข้าไป 1 ลูกค้า เราได้ความเชื่อมั่นจากธุรกิจกลุ่มนั้นแล้ว เช่น เราทำให้เมืองไทยลีซซิ่งแล้ว
ก็ไปเสนอให้ศรีสวัสดิ์ได้เหมือนกันก็ได้สัญญาแล้ว ยังไม่เริ่มติดตั้ง
เราพยายามรักษามาตรฐานการเติบโต 20% ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเน้นที่จะเห็นกำไรโตมากกว่า 20% CAGR

ปัจจัยที่กังวล คือ ประเด็นราคา คือ สิ่งที่น่ากังวลสุด จะทำให้คืนทุนได้ช้า
จุดที่เราได้เปรียบคือเราเป็นต้นน้ำ เป็นผู้ขายสายมาก่อน
ถ้าใครขายถูกกว่าเรา ก็อาจจะทำกำไรได้ยากกว่า
ถ้าจะต้องแข่งราคากันจริงๆ เราน่าจะยังได้เปรียบที่ขายได้แล้วมีกำไร
ลูกค้าไม่ได้มองแค่กำไรอย่างเดียว ถ้าประหยัดเงินไปได้นิดหน่อย แต่ระบบล่มก็ไม่คุ้มกัน
ซึ่งเราเอาจุดแข็งของเราไปเสนอให้เขา

ภาพใหญ่ การลงทุนถนนใหญ่ของเราตัดเสร็จหมดแล้ว 1800 ล้านลงทุนจบไปแล้ว 3-4 ปีที่ผ่านมา
เหลือที่ต้องลงทุนคือตัดถนนย่อย ไปหาลูกค้า ถ้าจะเอารายได้ 300-400 ล้าน ก็ลงทุน 30-40 ล้าน
ถ้ามีลูกค้าก็จ่ายเงินลงทุน ไม่มีลูกค้าก็ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม


JMT
ไตรมาสแรก เติบโตมากกว่า 40% ส่วนไตรมาสสอง ยังน่าเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เพราะปีก่อนซื้อหนี้มา 6.5 พันล้าน (ใช้เงิน 300 กว่าล้าน)
ยอด cash collect ส่วนหนึ่งตัด amortize หนี้ อีกส่วนเป็นรายได้ ซึ่งไตรมาสสองก็จะเป็นจุดสูงสุดใหม่
100 กว่ากอง ตัดต้นทุนหมดไป 40 กว่ากอง ยิ่งซื้อมากจะสะสมไปเรื่อย
และด้วย synergy ในกลุ่ม JMART เช่น JMART ลูกค้าซื้อมือถือ ล้านเครื่อง , JMT มีลูกหนี้ 3 ล้านคน,
SINGER 6 แสนคน เราผนึกกำลังจะเปิดศูนย์สินเชื่อ(ตรวจสอบเครดิต) โดยรายได้จะเข้าที่ฝั่ง JMT
อีกส่วน จดบริษัทที่กัมพูชา เริ่มรับตามหนี้ได้ต้นเดือนหน้า ไมโครไฟแนนซ์, ลีซซิ่ง และ non-bank
ได้ไปสำรวจตลาดที่กัมพูชาด้วยตัวเองมา บรรยากาศเหมือนเมืองไทยเมื่อ 25 ปีก่อน ถนนเป็นลูกรัง บ้านเป็นทุ่งนา
ซึ่งการติดตามต้องทำบ่อยๆ วันหนึ่งเขาคืนหนี้ให้เราเพราะวันที่เขาล้มไม่ไปกระทืบซ้ำ
ภาพอีก 3 ปี จะเห็นซื้อหนี้ปีละ 3 หมื่นล้าน จะมีมูลหนี้ 2 แสน คิดเป็นการเติบโตราว 30% ต่อปี



ช่วงที่ 2 สัมมนาหัวข้อ “วิถีชีวิตวิธีลงทุนของคนวีไอ”
1. คุณธันวา เลาหศิริวงศ์ / อดีตนายกสมาคมไทยวีไอ
2. คุณชาย มโนภาส / นายกสมาคมไทยวีไอ
3. นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช / หมอนักลงทุนวีไอ
4. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / กูรูวีไอ
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

Intro
อ.เสน่ห์ เล่ากลอนเปิด
คน VI เขามีวิธีคิด ใช้ชีวิตอย่างไร ใคร่ทราบหนอ
ให้มันผ่านไปวันๆ เท่านั้นพอ หรือเกิดก่อคุณค่าน่าทำตาม
เขาเลือกหุ้นอย่างไรก็ใคร่รู้ เป็นกูรูรู้จังหวะใคร่จะถาม
จัดการพอร์ตแบบใดกำไรงาม เมื่อถึงยามวิกฤติคิดอย่างไร
คุณธันวานายกเก่าเขาสบาย ส่วนคุณชายคนปัจจุบันท่านสดใส
คุณหมอเคคนหนุ่มทุ่มหัวใจ ดร.นิเวศน์รุ่นใหญ่ ใจยังเยาว์
จะเฉลยเผยกันให้มันรู้ เหมือนบทเรียนจากคุณครูผู้ไม่เขลา
ดร.ไพบูลย์ พร้อมเสน่ห์เท่ไม่เบา จะเร่งเร้าเผยตัวตนคน VI


ประวัติและการใช้ชีวิต
คุณธันวา
เป็นมนุษย์เงินเดือนมาก่อน มองเห็นว่าการมีรายได้ขึ้นกับเงินเดือนมีความไม่แน่นอน
แม้ว่าบริษัทที่จะทำมั่นคงและสวัสดิการดี (เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ.IBM ประเทศไทย)
แต่ก็คิดว่าต้องมีแผนสำรอง
เริ่มลงทุนตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ(ราวปี 1991) แต่ก็ผิดพลาดมาตลอดเพราะไม่มีหลักการลงทุนที่แน่นอน
จึงหาหลักการลงทุนที่เป็นระบบ และลดความเสี่ยงให้มากที่สุด และได้พบกับแนวทาง VI
และอยู่ในช่วงเวลาหลังจากเกิดวิกฤติ จึงมีกิจการที่ราคาถูกลงมา มี margin of safety
ซึ่งจากที่ลงทุนไปด้วยและทำงานไปด้วย จนมีเงินเพียงพอจึงตัดสินใจเกษียณ
เคยคิดว่าจะเกษียณปี 45 ถือว่าโชคดีที่เจอ wave ที่ทำให้สร้างผลตอบแทนที่ดีได้ จึงสามารถทำได้ตามเป้า

อยากเป็นกำลังใจสำหรับคนจบใหม่ และคนที่กำลังทำงาน อย่าเพิ่งรีบเกษียณเร็ว ประเทศไทยยังต้องการทรัพยากรที่มีคุณค่า
ในระยะหลังจึงพยายาม low profile เรื่องการลงทุน แล้วไปช่วยเหลือหน่วยงานในด้านที่เรา
มีความสามารถจากการทำงานที่ผ่านมา
ตอนนี้เกษียณแล้วในแง่งานประจำ แต่ใช้เวลา Part time ไปช่วยรัฐวิสาหกิจอยู่ 1 แห่ง และบริษัทเอกชน 2-3 แห่ง

จากที่เคยทำงานบริษัทเอกชนระดับโลกมา ตอนนี้เราได้เข้าไปเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้ว่าราชการ รัฐวิสาหกิจทำงานอย่างไร
และได้นำความรู้ ประสบการณ์มาแนะนำ อย่างตรงไปตรงมาเพื่อช่วยพัฒนาองค์กร ซึ่งก็มีพนักงานที่รับรู้ได้และให้กำลังใจ

ปัจจุบันยังลงทุนเต็มที่อยู่ แต่เริ่มมีการบริหารพอร์ตฟอลิโออีกแบบหนึ่ง


คุณชาย
คล้ายๆกับคุณธันวา ทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง อยู่ราว 16 ปี จึงออกมาเป็นนักลงทุนเต็มตัว
ได้เรียนรู้เรื่องการทำธุรกิจ การบริหารงานองค์กร มันทำให้เราเห็นภาพที่กว้างกว่า
การทำธุรกิจจริงๆ ขายของจริงๆเป็นอย่างไร
ตอนเป็นนักลงทุนอยากให้บริษัทตั้งเป้าโต 50-100% ลองเป็นไปพนักงานขายดูว่าตั้งเป้าแบบนั้นได้ไหม
เวลาที่ไปฟังผู้บริหารให้ข้อมูลจะได้มีมุมมองในการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล

เมื่อลาออกมาได้มาช่วยงานสมาคมนักลงทุนแห่งประเทศไทย
ซึ่งช่วงที่ผ่านมารู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณของเวบบอร์ดมาก เป็นแหล่งชุมนุม ที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน
จึงเป็นเหตุที่ทำให้มาช่วยงงาน และอีกเหตุผลหนึ่ง อยากบอกน้องๆนักลงทุนว่าการมั่งคั่งขึ้นมามันไม่ใช่ปลายทาง
หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย เป็นแค่ครึ่งทาง
อย่าคิดว่ารวยแล้ว จะไม่มีความทุกข์

อยากส่งเสริมให้ทุกคนมีความมั่งคั่ง
สังคมไทยมีปัญหามาก ได้มีโอกาสช่วยมูลนิธิบ้านปันรัก
เห็นได้ว่า คนที่อยู่ในวัยเกษียณประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการออมการลงทุนมาก
อ่านข้อมูลจาก Money&wealth มีผู้สูงอายุมีเพียงไม่กี่ % ที่เลี้ยงตัวเองจากเงินเก็บ
แต่ส่วนใหญ่อยู่ได้จากเงินสนับสนุนลูกหลาน

ถ้าลองอ่านประวัติศาสตร์ของคนที่มีความมั่งคั่ง
เช่น อเล็กซานเดอร์ มหาราช ตีตั้งแต่มาซีโดเนีย ถึงอินเดีย มีความสุขกับชีวิตไหม?
หรือ จักรพรรดิ ออรังเซพ เป็นลูกชายของ มัมทัสมาฮาล และ กษัตริย์ชาห์ชะฮัน
ออรังเซพ เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของอินเดีย เหมืองเพชรโลกมีแห่งเดียวที่อินเดีย ร่ำรวยมาก
แต่วันที่เขาเสียชีวิต เขารู้สึกเขามาและไปเหมือนคนแปลกหน้า เขาไม่รู้ว่ามาเพื่ออะไร และจากไปเพราะอะไร รู้สึกชีวิตว่างเปล่า
มีความมั่งคั่ง รวยมาก แต่ขังพ่อตัวเองในคุก
คนที่มีความมั่งคั่งขนาดนี้ แต่ไม่มีความสุข

จะสอนน้องๆเสมอว่า การสร้างความมั่งคั่งเป็นสิ่งจำเป็น จะได้ไม่เป็นภาระลูกหลาน
แต่อย่าคิดว่าเป็นที่สุดของชีวิต แต่ก็ยังมีความทุกข์
ถ้าอยากมีความสุขจริงๆ ต้องพัฒนาจิตใจ พัฒนาตัวเองไปมากกว่านั้น
เคยฟังพระพยอม พูดคำหนึ่งซึ่งจำได้ “ต้นไม้ต้นเล็กๆ ยังให้อ็อกซิเจนแก่โลก แล้วเราเป็นคนได้ทำอะไรให้โลกใบนี้”
ตอนนี้ก็พยายามทำงานที่ทำได้ ตอบแทนประเทศไทย ตอบแทนสังคม บรรยายให้ส่วนรวม
คิดว่าการได้ทำงานออกจากพนักงานประจำมาเป็นนักลงทุนแล้วได้เผยแพร่ความรู้
นักลงทุนเห็นแก่สังคมมาก ได้ระดมทุนไปสร้างระบบประปา นำน้ำจากตาน้ำมาให้ที่หมู่บ้าน
และชาวบ้านทำป้ายให้ VI ให้น้ำให้ชีวิต และคืนผืนที่แผ่นดินกลับไปให้ทำป่า
23 ก.ค. จะทำ CSL ประกอบ wheel chair ให้น้องหมาพิการ ซึ่งนักลงทุนก็สมัครมาร่วมกันเต็มอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชม.
อ.ไพบูลย์ เสริมว่า เจ้าของโครงการที่ประกอบ wheel chair นี้ ไม่ได้เป็นนักลงทุน แต่น่าชื่นชม มีจิตใจดี
เขาเอาเวลาว่างที่เขามีมาทำ ค่าใช้จ่าย 480 บาท ต่อหมา 1 ตัว ถ้าใครไม่มีเงินเขาทำให้ฟรีด้วย


หมอเค
เป็นคนที่ไม่ได้มีเป้าหมาย แต่รู้สึกว่าอยากเป็นหมออยากช่วยคน
ช่วง ม.ต้นม.ปลาย ก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ
ช่วงทำงานหมอ ก็เคยคิดทำธุรกิจเปิดร้านอาหารแล้วไม่รอด
ก็ไปรู้จักการลงทุนจากคุณโยโย่ (สันติ สิงหวังชา) หลังจากนั้นก็รู้จัก ดร.นิเวศน์
โชคดีที่มีโอกาสได้รู้จักคนเก่งๆ แล้วเราพยายามเรียนรู้จากคนเก่งๆ มาใช้กับตัวเราเอง
คิดว่านักลงทุนที่ดีต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งที่ผ่านมาได้เรียนรู้จากวิทยากรทุกท่านบนเวที
จึงแต่งเป็นกลอนมาเล่าให้ฟัง

“เจอพี่ชาย supply chain พาท่องเที่ยว”
ตอนที่พี่ชายเป็นวิทยากร thaivi ช่วงแรก จำได้ว่าเรียนรู้ที่อธิบายให้ศึกษาต้นน้ำ ปลายน้ำ เข้าใจเป็นโครงสร้างธุรกิจ
ส่วนท่องเที่ยว สมัยคนแฟนใหม่ๆ เที่ยวธรรมชาติ ขึ้นป่า ลงเขา
พอรู้จักพี่ชายก็แนะนำให้เรียนรู้ท่องเที่ยวต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ต่างๆมากขึ้น
ช่วงคบแฟนใหม่ๆปีแรกก็พาไปเที่ยวประเทศไม่เจริญก่อน ก็ไปเที่ยวปากีสถาน
หลังๆก็ไปเที่ยวประเทศเจริญ บ้าง ไปอเมริกา ไปเยอรมันไปเรียนรู้ตามรอยพี่ชาย

“พี่ธันวาเคี่ยวเชี่ยวงาน สานประสา”
ตอนทำงาน Thaivi ช่วงแรก ที่ยังไม่มีสมาคมฯ ก็ผลักดัน
เคี่ยว ก็คือ ทำงานเก่งเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชน

“อ.นิเวศน์ role ดี ชี้ภรรยา” เป็นคนเป็นต้นแบบที่ดี สืบว่าอ.นิเวศน์ไปวิ่งที่สวนใกล้บ้านประจำ
พาไปทานข้าว และได้พาไปเจอสาว และเป็นภรรยาในปัจจุบัน

“ทุ่มสุดตัว คนธรรมดา อ.ไพบูลย์” ปกติคนเห็น อ.ไพบูลย์ บนเวทีไม่รู้ว่าเป็นคนอย่างไร
ที่จริงออกกำลังกายหนักมาก เวลาวิ่งจน heart rate ขึ้นสูงแล้วทำมาตลอด เป็นคนจริงจังกับทุกเรื่อง
อย่างก่อนขึ้นเวทีจะเป็นโรคกระเพราะ เป็นคนเครียด และอยากทำให้ดีที่สุด
และทุกคนก็ทราบว่า อ.ไพบูลย์เป็นนักลงทุนที่พอร์ตใหญ่ และจะทำให้ดูรู้น้อย
เป็นการลด ego ตัวเองลงมา และคอยเตือนสติคนมากกว่า จะมีเวทีไหนที่พูดเรื่องเตรียมตัวตายบ้าง?
อ.ไพบูลย์ เสริม รายการเรามีจุดประสงค์ ให้ความรู้คน ถ้าไม่ได้ความรู้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ และต้องเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
แนวทางธรรมะ ไม่ได้สร้างให้คนมีแต่ความโลภ ไม่คำนึงถึงคนฟัง รวมถึงคนมาพูดก็ต้องให้เกียรติคนที่มาฟัง
พูดแล้วต้องได้ประโยชน์ จะเจอวิทยากรอายุเท่าไรก็ยกมือไว้หมด
ส่วนที่จริงจังกับหมอเค เพราะเป็นคนใกล้ชิด เหมือนเป็นลูกชาย
นึกถึงอ.ที่ปรึกษาตอนเรียนต่างประเทศ ไม่เคยชมเลย มีแต่ตำหนิ จนถึงวันที่เรียนจบ เพื่อให้เราได้พัฒนา

“Money talk มีไม่ได้ ไร้เสน่ห์ เปย์ความรู้ เปย์ความสุข คู่เมืองไทย”
ทำงานก็เรียนรู้จากทุกท่าน รายการก็ฟังอยู่ไม่กี่รายการที่มาดูย้อนหลัง
หนึ่งในนั้นคือ money talk อย่างรายการของเราก็ย่อยสิ่งที่ผู้บริหารพูดให้ง่าย
เช่น อ.เสน่ห์ก็สามารถสรุป เรื่องโรงไฟฟ้าขยะ ให้ฟังได้ง่าย
หรือ อ.นิเวศน์ เวลาให้สัมภาษณ์ก็ไม่ได้แคร์บริษัทมาก พูดในมุมนักลงทุนจริงๆ
อ.ไพบูลย์ก็สรุปให้เข้าใจได้ง่าย, อ.เปียเป็นเรื่องวัฒนธรรมบริษัท, อ.ถาวรก็เป็นแนวธรรมะ

อ.เสน่ห์ ถามว่าจะอยู่บนเส้นทางหมอต่อไปใช่ไหม?
หมอเค ตอบยังทำอยู่
อ.ไพบูลย์ เสริมว่า ความเป็นหมอ ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลก็ได้
ถ้าเราใช้ความรู้ความสามารถที่แผ่นดินให้มา จะเป็น full time เป็น Part time ก็ได้
จะลงทุนไปด้วยก็ได้ ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ แต่อย่าทิ้งอาชีพ


อ.นิเวศน์
ที่ผ่านมาก็เคยพูดมาเยอะแล้ว อยากเสริมว่า ถ้าเห็นตอนสมัยวัยรุ่นจะเห็นอีกภาพหนึ่ง
มีความคิดต่างจากสมัยนี้เยอะ
ตอนนั้น เป็นคนซีเรียส จริงจัง ทำงานหนักจนแทบโดนหามเข้าโรงพยาบาล
ความคิดตรงไปตรงมา ตามแบบแผนประเพณี
พอเปลี่ยนเป็นนักลงทุน ความคิดค่อยๆเปลี่ยนไป
เพราะตอนที่ยึดตามแบบแผนแล้วเครียด เป็นนักสู้ยิ่งทำก็ยิ่งแย่
รู้สึกว่าบางทีเราเกิดมาไม่เหมาะ เหมือนถูกพระเจ้าให้มาแบบนี้
ให้เราเป็นนักสู้ แต่ไม่ได้ให้อาวุธมา พยายามสู้ในสิ่งที่สู้ไม่ได้
จนค้นพบว่ามีวิธีการที่ดีกว่า โดยเลือกเอา ตลาดหลักทรัพย์เหมือนเป็นพระเจ้าองค์ใหม่
ถ้าอยากได้อะไร ให้เลือกเอา ไม่จำเป็นต้องไปสู้ ไม่ต้องทำเอง
ถ้าเจอใครเก่ง ก็ขอไปร่วมเป็นเจ้าของกับเขา ไม่ต้องไปสู้

ทุกวันนี้ ปกตินอนเที่ยงคืน ตื่น 8 โมงครึ่ง เหมือนคนหนุ่มสาว
ตื่นมาก็กิน แล้วถ้ามีงานก็ทำ ไม่มีก็เปิดคอมพิวเตอร์เปิดจอดูหุ้น อ่านหนังสือ (เล่มๆ)
ถ้าเป็นข่าวสารจะดูจากเวบไซต์ เข้า thaivi.org นิดหน่อย
ตอนเย็นก็ออกกำลังกาย กินอาหาร ทั่วไป ข้างทางบ้าง
ตอนสองทุ่มกว่าก็ดูละคร แต่ระยะหลังรู้สึกละครไม่ค่อยสนุก
ละครจบก็บางทีดูช่องพวกสืบสวนสอบสวนบ้าง
ภารกิจประจำคือแบบนี้ แต่บางทีก็มีกิจกรรมกับครอบครัวด้วย ทำด้วยกัน
เช่น ดูทีวีก็เครื่องเดียวด้วยกัน, ขึ้นเครื่องบินก็ไปด้วยกัน ไปค้างคืนที่อื่นก็ต้องไปด้วยกัน

มองย้อนไป ชีวิตดีขึ้นเกือบทุกปี แม้กระทั่งตกงานยังดีขึ้นทุกปี
สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำให้ทุกปีดีขึ้น และอย่าให้หยุด ถ้าหยุดเมื่อไรก็ต้องเปลี่ยนงาน
เราไปข้างหน้าเรื่อยๆ ข้างหลังก็ต้องตายไป

อ.เสน่ห์ สรุปให้ว่า ดร.นิเวศน์ มาถึงจุดที่เป็น 4.0
ดร.นิเวศน์ 1.0 ทำงานหนักแต่ยังไม่ค้นพบ แล้วพบวิกฤติยกระดับมาเป็น 2.0 เรียนรู้การลงทุน เอาความรู้มาใช้
จนกระทั่งมาเป็น 3.0 เป็นผู้ให้คนอื่นแล้ว เป็นปรมาจารย์พลิกชีวิต
และจนวันนี้เป็น ดร.นิเวศน์ 4.0 เต็มพร้อมได้อย่างที่ตัวเองต้องการ
เช่นการเปลี่ยนจาก ตา มาเป็น ปาปา เปลี่ยน ยาย มาเป็น นานา ได้ใช้เทคโนโลยี
ดร.นิเวศน์ร่วมกับเราตั้งแต่ 1.0 จนมาถึงวันนี้ไม่ธรรมดา (อ.ไพบูลย์ ทำพิธีมอบไมค์ทองคำให้ อ.นิเวศน์)


วิธีการลงทุน
คุณธันวา
การจัดพอร์ตเมื่อก่อนลงทุนประเทศไทย และลงทุนด้วยตัวเองเป็นหลัก
ปัจจุบันลดการลงทุนในไทยลง และลดสัดส่วนหุ้นที่ถือลง มองว่าผลตอบแทนไทยอาจจะผ่านช่วงที่ดีสุดไปแล้ว
และการเติบโตสูงอย่างอดีตคงไม่ได้หลาย สิ่งที่ทำคือ
1) การลงทุนต่างประเทศด้วยตัวเอง มีความเชื่อใน mega trend, super stock เป็นโอกาสเติบโต
อาศัยเงินบาทค่อนข้างแข็ง อาจจะได้ประโยชน์ด้วย
2) การลงทุนเวียดนาม น่าสนใจ แต่เวลาที่จะศึกษาและเยี่ยมเยียนกิจการมีไม่มาก
จึงใช้บริการพวก private fund ที่ไปลงทุนตลาดเวียดนาม
ซึ่งต้อง trade off กับ annual fee และ profit sharing ซึ่งผลตอบแทนที่ได้น่าพอใจระดับหนึ่ง
3) ศึกษาวิธีลงทุน hedge fund เป็นเพื่อนที่รู้จักกัน ซึ่งผลตอบแทนก็ดีทีเดียว
4) Private equity เราเห็นกิจการเริ่มจาก startup และรอดมาผลประกอบการใช้ได้
ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ถ้ามีโอกาสก็ลงทุนในส่วนนี้
อีกส่วนที่คิดว่าสำคัญคือ ลงทุนกับลูก ในแง่ความมั่งคั่งคงอยู่ได้
แต่อยากให้ลูกประสบผลสำเร็จ หวังว่าจะทำให้เขาไปต่อยอดได้เองในอนาคต


คุณชาย
ยิ่งลงทุนมานาน แล้วไม่ได้มีกฏเกณฑ์ตายตัว
หลักสำคัญคือ เราเข้าใจธุรกิจเขาหรือเปล่า
ในภาวะต่อจากนี้ ควรเลือกหุ้นที่มีหนี้น้อย ไม่ว่าจะลงทุนในไทยหรือต่างประเทศ
ถ้าเราเลือกบริษัทที่มีหนี้น้อย ความปลอดภัยในการผ่านวิกฤติอะไรจะมากกว่า
แต่บางบริษัทหนี้มาก แต่เป็นหนี้ทางการค้า
นักลงทุนบางทีเฉือนกันที่รายละเอียด
ส่วนตัวใช้ทั้ง top down/bottom up สิ่งสำคัญคือ visibility of income
คือเราสามารถคาดการณ์ผลดำเนินการบริษัทนั้นได้ ถึงจะมั่นใจในการถือบริษัทได้ในระยะยาว
ซึ่งแรกผลักดันมี 2 ตัว ถ้ากำไรยังโตอย่างต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้ถือได้ยาวนาน
และอีกอย่าง คือ เงินปันผล ที่ยังเติบโตและจ่ายปันผลได้เติบโตต่อเนื่อง

ถ้าอยากลงทุนได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางครั้งมันจะโดดเดี่ยว
ถ้าทุกคนเดินทางไปทิศตะวันตก แต่ท่านเดินทางไปทิศตะวันออก
สิ่งที่จะทำให้มั่นใจได้ คือ ความเข้าใจ โอกาสทำกำไรจะมีอยู่เสมอ

การจัดพอร์ต บางทีก็ถือ 6 ตัว บางทีก็ถือเป็น 10 กว่าตัว
ขึ้นกับความมั่นใจในตลาด และ ในบริษัทนั้น ถ้าไม่มั่นใจก็จะกระจายตัวมาก


หมอเค
จะยึดหลัก ไม่มีสูตรสำเร็จรูปในการลงทุน แต่จะมีคำถาม 3 ข้อ
1) เรารู้จักและเข้าใจบริษัทนั้นดีไหม
2) เราคาดาการณ์ผลประกอบการณ์ในอนาคตได้ไหม
3) เราทำ valuation แล้วมันแพงไหม

แต่ละปีมาจะมีไอเดียหรือทฤษฏีใหม่ๆมาพูด
2 ปีก่อนเคยมาพูดว่า อยากได้บริษัทที่ธุรกิจขยายโดยไม่โตมาก แต่ต้นทุนลดลงแบบ exponential ทำให้กำไรโตมาก
ปีถัดมามาพูดชอบบริษัทที่ผู้บริหารพายเรือ นำบริษัทไปสู่ความสำเร็จ
ปีนี้ นั่งดูต้นไม้ แล้วคิดว่าระหว่างต้นไม้โตกับต้นไม้เล็กๆ ต่างกันอย่างไร
สิ่งที่มาช่วยให้ต้นไม้โต คือ ปุ๋ยดี ดินดี ต้นไม้จะดี
ถัดมาพอต้นไม้จะโตเยอะจะมีนก แมลงมากิน และทำให้เม็ดพันธ์ แพร่กระจายไปที่อื่น
และน้ำ แสงแดดที่เข้ามามาช่วยให้ต้นไม้เติบโต
ปุ๋ย ดิน คือ Supplier ถ้าบริษัทขายของบางอย่างแล้วได้ประโยชน์จาก supplier ก็น่าจะดี
เช่น ทีพีไอ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ได้ความร้อนจากโรงปูน ทำให้ต้นทุนเผาขยะต่ำลง จึงมีกำไรดี
หรือ ไอเทล ที่ซื้อสัญญาณจากตัวแม่ ทำให้ช่วยขยายธุรกิจได้ดี
นก แมลง คือ ลูกค้า ธุรกิจที่ดี ต้องการคนมาซื้อซ้ำ ช่วยให้ขายสินค้าได้ดีขึ้น
อย่าง บิวตี้ ที่ใช้ค่าพรีเซนเตอร์ที่ไม่แพงมาก และให้ลูกค้าช่วยโฆษณาให้ ช่วยรีวิว ทำให้ค่าการตลาดต่ำ
น้ำ แดด คือ สิ่งแวดล้อม หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ร้านค้าปลีกขายหนังสือ
พอเทรนด์เปลี่ยนก็ต้องแบกค่าเช่าที่ ค่าจ้างพนักงาน ก็ต้องหาวิธีการแก้ไข
หรือ การประมูลทีวีดิจิตอลเหมือน 3 ปีก่อน บริษัทเกิดค่าใช้จ่ายสัมปทานและดอกเบี้ย
เช่น เวิร์คพอยต์ ถ้าไปแข่งทำละคร แบบช่อง 3 ช่อง 7 ต้องลงทุนหนัก
แต่ไม่ประสบความสำเร็จก็อาจจะแย่ได้ จุดแข็งเขาคือเกมโชว์ ต้นทุนต่ำ
ถ้าคนไม่ชอบก็เปลี่ยนรายการ จนถึงวันนี้เรทติ้งเขาแซงช่อง 3 กับช่อง 7 ได้ในบางช่วงเวลา

เวลาลงทุนต้องรู้จักบริษัทนั้นจริงๆ ว่าทำอะไร เกาะกับเทรนด์ได้ดีขนาดไหน
แล้วมันคาดการณ์กำไรได้ไหม ต้นทุนหลักขึ้นกับอะไร
และสุดท้าย valuation ดูว่ากำไรโตกี่ % PE มันสมเหตุสมผลกับการเติบโตไหม สม่ำเสมอไหม
ถ้าลองศึกษาแล้ว รู้สึกว่ายากเกินไปแล้ว ก็ให้ซื้อกองทุนดีกว่า
หลักการ VI ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เคยลองแนะนำกับหลายคนแล้วยังไม่ค่อยมีใครมาลงทุนจริงๆเลย
บัฟเฟตต์ บอกว่า “คนที่ประสบความสำเร็จลงทุนไม่ใช่คนฉลาดที่สุด
แต่คือคนที่มีความสามารถเหนือกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย แล้วทำให้ต่อเนื่อง ศึกษาและทำทุกปีให้ดีขึ้น”


ดร.นิเวศน์
สิ่งที่น่ากลัวสุดคือเราไปผิดที่ เราอ่านสถานการณ์ผิด แล้วไม่ได้ตระหนัก
พอผิดแบบนี้ทำอย่างไรก็ไปไม่รอด พอคลื่นมหาชนมาเราก็ฝืนไม่ไหว
คิดมาตลอดว่าที่ผ่านมาโชคดี ส่วนสำคัญอยู่ที่โชคชะตาเยอะ
ถ้าเราอ่านผิด แล้วยังไปสู้กับกระแสนี้ จะเอาชนะยาก
เช่น ลงทุนที่ญี่ปุ่น 20 ปีที่ผ่านมา ต่อให้เป็นเซียนก็รอดยาก เพราะคนญี่ปุ่นแก่ตัวลงเยอะ
ความแก่เป็นเรื่องใหญ่ อีกสิบปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
คนจะใช้ผลิตภัณฑ์อะไร บริษัทอะไรจะอยู่รอด
แนะนำหนังสือ โฮโมซาเปี้ยน อัตชีวะประวัติของมนุษยชาติ
และ โฮโมดีอุส เขาทำนายไปข้างหน้าว่ามนุษย์จะเป็นอย่างไร

พยายามตีความออกมาประเทศไทยจะเป็นอย่างไร หุ้นจะเป็นอย่างไร
หุ้นวันนี้อยู่พอๆกับ 4 ปีก่อน ขึ้นๆลงๆแคบมาก
ก็ต้องคิดต่อว่า 4 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

คนอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มอย่างรวดเร็ว
เป็นเหตุให้ยุคคนแก่ครองเมือง ผู้นำต่างๆก็อายุ 60
สมัยก่อนผู้นำอายุหนุ่มๆทั้งนั้น สมัยนี้เป็นคนแก่
แต่ถึงจุดหนึ่งคนเหล่านี้จะหายไป ไม่มีบทบาท
คนจำนวนมาก แรงงานจำนวนมากจะหายไปเยอะ แล้วประเทศจะเป็นอย่างไร
ไว้คราวหน้าค่อยพูดต่อ
อ.ไพบูลย์ เสริมว่าถ้าไม่รู้เวลาเหลือเท่าไร โฮโมซาเปี้ยน,โฮโมดีอุส ไม่ต้องอ่าน อ่านเล่มเดียว คู่มือมนุษย์

ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ หมอเค พี่ธันวา พี่ชาย และผู้บริหารบริษัททุกท่าน
ขอบคุณสปอนเซอร์และผู้ช่วยจัดงาน money talk ทุกท่านครับ
หากผิดพลาด ตกหล่นอย่างไรขออภัยด้วยนะครับ สามารถดูรายละเอียดย้อนหลังได้ทางทีวีและสื่อออนไลน์ครับ

กิจกรรมสัมมนาครั้งถัดไป
เสาร์ 19 ส.ค.60 มีทั้งเช้า และบ่าย (เปิดจองแยกกัน)
สัมมนาช่วงเช้า 9.30-12.00 เจาะหุ้นเด่น กองทุนดัง โค้งสุดท้าย ครึ่งปีหลัง
แขกรับเชิญและผู้ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
คุณ กุลฉัตร จันทวิมลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส,ที่ปรึกษาการลงทุน CIMB, คุณวิน พรมแพทย์, คุณณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์

สัมมนาช่วงบ่าย Money talk@SET (เปิดจองที่นั่ง 12 ส.ค.60)
หัวข้อ 1 เปิดประตู MBA 4.0 คุณวรวุฒิ อุ่นใจ, คุณยงยุทธ ฟูฟงศ์ศิริพันธ์, ดร.วิพุธ อ่องสกุล
หัวข้อ 2 New mega trend กับ อุตสาหกรรม 4.0 ผลกระทบหุ้น
ดร.นิเวศน์ , เจน นําชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรม, คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ,
คุณต่อศักดิ์ โชติมงคล (ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ), อ.ไพบูลย์ (เป็นผู้ร่วมพูด)

เดือน ต.ค.60 : เปลี่ยนวัน Moneytalk@SET จาก 14 ต.ค.60 เปลี่ยนเป็น 7 ต.ค.60 แทน
Go against and stay alive.
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากเลยจ้าน้องบิ๊ก ^^

สรุปเสร็จเร็วขึ้นเรื่อยๆ เลยนะเนี่ย...เยี่ยม ^^
JuttiR
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณที่จดสรุปให้อย่างไวเลยครับ เหมือนที่ไปนั่งฟังเลย(มิน่าคนข้างๆไม่เห็นมีใครจดเลยครับ)^_^
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณบิ๊กครับ สรุปเร็วมากเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
ไพลิน
Verified User
โพสต์: 919
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
restart
Verified User
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
absolute.japan
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET16/7/604หุ้นเด่นครึ่งหลัง&วิถีชีวิตวิถีลงทุ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์