สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
dojii
Verified User
โพสต์: 338
ผู้ติดตาม: 0

สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีบริษัทหนึ่งในตลาดอเมริกา เค้าบอกว่าเป็น The Hospitalist Company
อยากสอบถามผู้รู้ครับว่า Hospitalist มันเหมือนหรือแตกต่างกับธุรกิจโรงพยาบาลอย่างไรครับ

รบกวนด้วยครับ
lukton2000
Verified User
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คำนี้ไม่ได้มีความหมายถึงธุรกิจโรงพยาบาลครับ แต่หมายโรงแรมและการท่องเที่ยวครับ
ง่ายๆใน set ก็คือธุรกิจแบบ Mint ครับ
zanac
Verified User
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 3

โพสต์

E ด้วยครับอีก 1 ตัว
dojii
Verified User
โพสต์: 338
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 4

โพสต์

มันคือบริษัทนี้อ่ะครับ ผมอ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยกระจ่างครับ

http://www.hospitalist.com/

แต่ไม่น่าจะใช่แบบ mint น่ะครับ
ผมเห็นตัวเลขทางการเงินน่าสนใจ เลยอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมดูครับ
dojii
Verified User
โพสต์: 338
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 5

โพสต์

วันนี้มีโอกาสถามเพื่อนที่เป็นหมอ เค้าบอกไม่รู้จักคำว่า hospitalist ครับ
ก็เลยเพิ่มความสงสัยเข้าไปอีก
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 6

โพสต์

About Hospitalists:
The fastest-growing medical specialty in the country, hospitalists are acute-care specialists who focus on a patient’s hospital care from time of admission to discharge. These doctors work in close consultation with primary care physicians and other referring physicians to drive the delivery system and manage the entire inpatient episode of care. Hospitalist medicine has been shown to increase quality of care and reduce healthcare costs while providing patients the added comfort and security of having a physician on-site to oversee care, answer questions and assure the smooth coordination of all hospital services. Today, there are approximately 40,000 practicing hospitalists nationwide.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เท่าที่ผมเข้าใจคือ เป็นหมอผู้เชี่ยวชาญอีกประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กับผู้ป่วยในกับหมอที่โรงพยาบาลปฐมภูมิ (primary healthcare) และหมอที่เป็นคนแนะนำ

ในเมืองไทยสำหรับชนชั้นกลางจะไม่ค่อยเห็นแบบนี้ ระบบนี้จะเห็นตามเมืองนอกที่รัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนตามระบบประกันสังคมของประเทศนั้นๆ

อย่างที่ออสเตรเลียที่ผมเคยสัมผัสมา เวลาเราเจ็บป่วย ถ้าไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน ไปโรงพยาบาลไม่ได้นะครับ การไปหาหมอที่โรงพยาบาลต้องมีจดหมายนัดจากหมอที่คลินิกก่อน (เป็นระบบการ refer) จึงเป็นโอกาสให้มีคนกลางทำหน้าที่เชื่อมกับทุกๆฝ่าย
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
dojii
Verified User
โพสต์: 338
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 8

โพสต์

พอจะคล้ายๆ กับ โพลีคลีนิกในประเทศไทยได้รึเปล่าครับ
คือมีเตียงพักฟื้นด้วย แต่ถ้าอาการหนักก็ส่งต่อโรงพยาบาลอีกที
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมคิดว่าไม่ใช่ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
dojii
Verified User
โพสต์: 338
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 10

โพสต์

offshore-engineer เขียน: อย่างที่ออสเตรเลียที่ผมเคยสัมผัสมา เวลาเราเจ็บป่วย ถ้าไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน ไปโรงพยาบาลไม่ได้นะครับ การไปหาหมอที่โรงพยาบาลต้องมีจดหมายนัดจากหมอที่คลินิกก่อน (เป็นระบบการ refer) จึงเป็นโอกาสให้มีคนกลางทำหน้าที่เชื่อมกับทุกๆฝ่าย
ถ้าเช่นนั้น คลีนิก หรือ hospitalist ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบอย่างออสเตรเลีย ใช่มั๊ยครับ

ผมพอจะตีความได้รึเปล่าครับว่า คู่แข่งของ hospitalist ก็คือ คลีนิกทั่วไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2748
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เป็นเทรนด์ของฝั่งอเมริกาครับ คือผมเข้าใจว่า hospitalist เป็นหมอที่ทำหน้าที่ดูแลในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดเวลาการที่ผู้ป่วยต้องอยุ่ในโรงพยาบาล จัดคิวหมอให้พอดีกับปริมาณคนไข้ ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลลง เทรนด์นี้โตมาได้เพราะโรงพยาบาลจะต้องควบคุมรายจ่ายให้อยู่รอดจากนโยบายสุขภาพของรัฐ (Obamacare)

ผลกระทบคือ โรงพยาบาลมีรายจ่ายต่อครั้งในการรับคนไข้น้อยลง แต่ผลเสียคือคนไข้อาจต้องกลับไปหาหมอบ่อยขึ้น เพราะไม่ได้ใช้เวลาคุยกับหมอมากอย่างที่เคย ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าอาชีพนี้มันดีกับคนไข้จริงๆหรือเปล่า

ในไทยเองไม่รุ้จะเอามาใช้หรือเปล่า เพราะมีระบบคล้ายๆกัน (30 บาท/บัตรทอง) แต่ถ้าจะเอามาใช้ก็หวังว่าเขาจะศึกษากันให้ดีก่อน เพราะเป็นระบบที่นานาชาติยังไม่ค่อยยอมรับ

ในประเทศอื่นๆที่ไม่ได้ใช้โมเดลโรงพยาบาล เช่น เยอรมันก็ใช้โมเดลคลินิค (คล้ายๆในออสเตรเลียจากที่อ่านจากที่พี่ offshore เขียน) คนไข้จะต้องไปคลินิคใกล้บ้านก่อน ถ้าอาการหนักจริงๆหมอจะส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลอีกทีนึง ประเทศพวกนี้ไม่น่าจะต้องการ hospitalist ครับ น่าจะเป็นอาชีพอื่นๆมาประสานมากกว่า เช่นพยาบาล หรือนักเทคนิค

แต่ที่เยอรมันทำอย่างนี้ได้ เพราะระบบประกันสังคมค่อนข้างเข้มแข็งทางการเงินครับ มีการแปรรูปประกันสังคมให้บริษัทเอกชนรับประกันสังคมได้ แล้วพนักงานทุกคนต้องจ่าย 8-15% ของเงินเดือนเข้าแก่ประกันสังคมทุกๆเดือน ซึ่งบริษัทประกันก็ต้องบริหารจัดการเงินตรงนี้เพื่อไปจ่ายแก่คลินิค/โรงพยาบาลทีหลังอีกทีนึง คนไข้ไม่ต้องเสียอะไรเลย ซึ่งในไทยเราไม่มีการแปรรูปตรงนี้ แถมเงินประกันสังคมบางทีก็เพิ่มบ้างลดบ้าง ทำให้บริหารจัดการลำบาก
Vi IMrovised
dojii
Verified User
โพสต์: 338
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณข้อมูลจากทุกท่านมากครับ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณคุณ VIM กับ คุณ Off-shore Engineer มากๆเลยครับ

ระบบการรักษาของต่างประเทศ กับบ้านเราต่างกันพอสมควรครับ
อย่างที่อเมริกาเวลาคุณเจ็บป่วย คุณจะไปหาหมอเฉพาะทางทันทีแบบที่เมืองไทยไม่ได้ คุณต้องไปหา Family Doctor ก่อน(ทำหน้าที่เป็น Gate Keeperครับ)
แล้วถ้าเค้าเห็นว่าจำเป็นต้องส่งต่อ(refer) ถึงจะส่งไปหา specialist ได้ครับ

ที่อเมริกา ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะสูฃพอสมควร เพราะเค้ากลัวการฟ้องร้อง ดังนั้นหากคุณปวดศีรษะมากๆ(อาจเกิดจากการดู The Mask Singer Season 1ทุกตอนติดต่อกัน) คุณอาจต้องไปทำ CT Scan Brain หรือตรวจ MRI Brain
พอค่าใช้จ่ายสูงๆ ระบบประกันสุขภาพ และบริษัทประกันก็จะเข้ามา
ดังนั้น บริษัทประกันจะมีอำนาจในการควบคุมการใช้จ่าย(แต่บริษัทประกันเองก็ต้องมีความรู้ทางการแพทย์ด้วย >>บริษัทมักจะมีหมอที่ปรึกษา(Medical Advisor)อยู่ในบริษัท)

ที่สิงคโปร์เองก็มีการ กลัวถูกฟ้อง ค่อนข้างมาก
ผมเคยไปดูงานที่ รพ.ตันต๊อกเส็ง
คนไข้ที่มาตรวจ เค้าใช้แพทย์(ไม่ใช่พยาบาล) มาวัดความดัน จับชีพจร(บ้านเราใช้ผู้ช่วยพยาบาล>>เรียนกันไม่ถึง1ปี)

Staff ER (อาจารย์แพทย์ห้องฉุกเฉิน)ที่สิงคโปร์บอกผมว่า คนนี้มาด้วยปวดศีรษะมาก เราแร่สอบถามประวัติ ให้ยาแก้ปวดเบื้องต้น แล้วก็ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง...จบ ...ไม่ต้องไปทำอะไรอีก เดี๋ยวเสี่ยงโดนฟ้อง
...แล้วก็ไปนั่งดื่มกาแฟ ท่องเนท(ตอนนั้นรู้สึกแย่มาก ต่อมาเริ่มเข้าใจเค้ามากขึ้น...แต่ก็รู้สึกว่าเค้าแคร์คนไข้น้อยกว่าบ้านเรา)

เป็นบ้านเรา ยิ่งถ้าเป็นต่างจังหวัด หมอๆทั้งหลายไม่สามารถบอกกับคนไข้ได้ว่า ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางแล้วหนีไปพักแบบบ้านเค้าได้ครับ
(ผมว่าทุกระบบมีข้อดี ข้อเสียของตัวเค้านะครับ - การรักษาพยาบาลของบ้านเราถึงดูอบอุ่นกว่าอีกหลายๆประเทศ)

จริงๆที่ต่างประเทศ ธุรกิจบริการอื่นๆ อย่างโรงแรม หรือสถานที่ท่องเที่ยว เวลาผมไปติดต่อด้วย ก็ดูไม่อบอุ่น และมีใจในการให้บริการเหมือนบ้านเราครับ

ปล.หมอที่ทำงานที่อเมริกาเองก็มักต้องปรึกษาหรือติดต่อกับทนาย
แม้นว่าจะไม่ได้มีคดีฟ้องร้อง
อย่างเพื่อนภรรยาผม เป็นหมอหัวใจ จบการสวนหัวใจ และจบการรักษาลิ้นหัวใจมา
เวลาจะย้ายไปรักษาคนไข้ก็ต้องปรึกษาทนายเพราะมันต้องมีการติดต่อดำเนินการตามขั้นตอน

บางทีทนายคนนี่เปลี่ยนไปทำงานที่รัฐอื่นแล้ว เราก็ยังต้องใช้ทนายคนนี้ เพราะเค้ารู้เรื่อง และรู้จักเราแล้ว

จะไปเริ่มต้นใหม่ก็เสียเวลาครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: สอบถามเกี่ยวกับธุรกิจ Hospitalist

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ถ้าเอาตามพี่ off shore ไทยกะมีคับ

แต่เป็นในระบบ 30 บาท
ใช้กับ คนที่มีรายชื่อ อยู่กับ รพ รัฐใหญ่ๆที่แออัด
คนไข้จะต้องไป primary clinicก่อน แล้ว ค่อยให้ clinic ส่งตัวไป รพ ที่มีชื่อสังกัด

เช่น คนบ้านอยู่คันนายาว ชื่อ อยู่ นพรัตน์ จะไป นพรัตน์เลยไม่ได้
ต้องผ่าน คลินิค ปฐมภุมิ สาขาก่อน
show me money.
โพสต์โพสต์