POMPUI
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
POMPUI
โพสต์ที่ 1
"สุรินทร์ โตทับเที่ยง" แจงกระแสข่าวขัดแย้งในตระกูล ไม่กระทบความเชื่อมั่น "ปุ้มปุ้ย"
Source - มติชนออนไลน์ (Th)
Monday, June 08, 2015 21:03
กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--มติชนออนไลน์
นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน บริษัทได้มีการประชุมคณะกรรมการของบริษัท โดยที่ประชุมมีมติที่จะจัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ในวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2558 เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 ของบริษัท สำนักงานกรุงเทพฯ โดยจะมีการขออนุมัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร โดยการแปลงหนี้เป็นทุน ต่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ จากการที่บริษัทได้ถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม SP และ Non Performing Group (NPG) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ มาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้ไม่สามารถเข้ากระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่ได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นของบริษัทเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้น ได้มีมติอนุมัติโครงการปรับโครงสร้างหนี้ โดยแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวก และเมื่อผนวกกับผลประกอบการของบริษัทที่จะมีกำไรถึง 4 ไตรมาสติดต่อกัน รอเพียงผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ซึ่งจะทำให้บริษัทมีปัจจัยเพียงพอตามเงื่อนไขที่จะขอออกจากกลุ่ม NPG ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ อันจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทสามารถกลับเข้าไปในกระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อีกครั้ง
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2557 ที่ทีมผู้บริหารชุดใหม่ได้เข้ามาบริหารงาน ทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 จนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 โดยเฉพาะไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 7.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ (10.03) ล้านบาท และคาดว่าตลอดปี 2558 บริษัทจะมียอดขายและผลประกอบการที่ดีขึ้น ดังนั้น จากผลประกอบการที่ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า ปัญหาความขัดแย้งที่มีข่าวมาก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องภายในของครอบครัว ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการดำเนินงาน แนวทางการบริหาร รวมถึงการสร้างยอดขาย และผลกำไรของบริษัท นอกจากนี้ พนักงานของบริษัทยังมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการทำงานร่วมกับบริษัท เพื่อสร้างความเจริญเติบโตร่วมกันต่อไป--จบ--
Source - มติชนออนไลน์ (Th)
Monday, June 08, 2015 21:03
กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--มติชนออนไลน์
นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน บริษัทได้มีการประชุมคณะกรรมการของบริษัท โดยที่ประชุมมีมติที่จะจัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ในวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2558 เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 ของบริษัท สำนักงานกรุงเทพฯ โดยจะมีการขออนุมัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร โดยการแปลงหนี้เป็นทุน ต่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ จากการที่บริษัทได้ถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม SP และ Non Performing Group (NPG) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ มาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้ไม่สามารถเข้ากระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่ได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นของบริษัทเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้น ได้มีมติอนุมัติโครงการปรับโครงสร้างหนี้ โดยแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวก และเมื่อผนวกกับผลประกอบการของบริษัทที่จะมีกำไรถึง 4 ไตรมาสติดต่อกัน รอเพียงผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ซึ่งจะทำให้บริษัทมีปัจจัยเพียงพอตามเงื่อนไขที่จะขอออกจากกลุ่ม NPG ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ อันจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทสามารถกลับเข้าไปในกระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อีกครั้ง
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2557 ที่ทีมผู้บริหารชุดใหม่ได้เข้ามาบริหารงาน ทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 จนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 โดยเฉพาะไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 7.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ (10.03) ล้านบาท และคาดว่าตลอดปี 2558 บริษัทจะมียอดขายและผลประกอบการที่ดีขึ้น ดังนั้น จากผลประกอบการที่ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า ปัญหาความขัดแย้งที่มีข่าวมาก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องภายในของครอบครัว ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการดำเนินงาน แนวทางการบริหาร รวมถึงการสร้างยอดขาย และผลกำไรของบริษัท นอกจากนี้ พนักงานของบริษัทยังมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการทำงานร่วมกับบริษัท เพื่อสร้างความเจริญเติบโตร่วมกันต่อไป--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 2
เดือด! "โตทับเที่ยง" แถลงเหตุขับ "สุรินทร์" พ้นสกุล
Source - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (Th)
Sunday, June 21, 2015 14:27
"สุธรรม โตทับเที่ยง" แถลงเหตุผลขับ "สุรินทร์" พ้นสกุล ระบุมีการปลดพี่น้องออกจากผู้บริหารเครือปุ้มปุ้ย พยายามกระทำทุจริต
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. นายสุธรรม โตทับเที่ยง พี่ใหญ่สกุล "โตทับเที่ยง" แถลงว่าในฐานะตัวแทนของฝ่ายพี่น้อง 9 คน ของสกุลโตทับเที่ยง ที่ไม่ให้ นายสุรินทร์ ใช้นามสกุล มีสาเหตุมาจากการที่ นายสุรินทร์ กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อพี่น้องร่วมท้องร่วมสายโลหิต โดยนายสุรินทร์ได้ปลดพี่น้องในตระกูลทุกคนออกจากการเป็นกรรมการของ บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทกงสีของพี่น้อง ที่ถือหุ้นในบริษัทผลิตภัณฑ์อาการ กว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในนามปุ้มปุ้ย ซึ่งการปลดดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมิชอบเพราะมีการปลอมรายงานการประชุมเพื่อแจ้งเท็จต่อนายทะเบียนพาณิชย์รวมทั้งมีการแต่งตั้งบุตรชายเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทน ซึ่งเรื่องนี้ศาลได้ประทับรับฟ้องเป็นคดีทางแพ่งและอาญาแล้ว
นายสุธรรม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้นายสุรินทร์ได้สั่งปลดและเลิกจ้างพี่สาว, น้องสาว, น้องสะใภ้และหลานๆ ที่เป็นผู้บริหารเดิม รวมทั้งปรับเปลี่ยนลดตำแหน่งน้องสะใภ้และหลานอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งมีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับในเรื่องการกูสหกรณ์ออมทรัพย์กว้างไพศาลทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
"ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ทั้ง นายสุรินทร์ และบุตรชาย ยังได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้ใหญ่ในตระกูลทั้งตนเองและพี่น้อง ถึงขนาดเอ่ยอ้างว่านามสกุลโตทับเที่ยงนั้นเป็นผู้ขอมาเอง ทำให้พี่น้องทุกคนรับไม่ได้กับพฤติกรรมดังกล่าว รวมทั้งในช่วงที่ผ่านมา นางสุภัทรา สินสุข พี่สาวคนรอง และเป็นผู้เลี้ยงดูนายสุรินทร์ได้เสียชีวิตลง นายสุรินทร์กลับไม่เคยไปร่วมเคารพศพแม้แต่คืนเดียว แต่กลับมีการนำภาพนายสุรินทร์ไปวัดที่ไหนซักแห่งโดยอ้างว่าเป็นการบำเพ็ญกุศลให้นางสุภัทรา"นายสุธรรมกล่าว
นายสุธรรมกล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พี่น้องทั้งหมดเห็นว่า ครอบครัวนายสุรินทร์ขาดซึ่งความกตัญญู กระทำการทุจริตโดยไม่คำนึงถึงพี่น้องร่วมสายโลหิต และบุตรชายก็ไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่ในตระกูล และกำลังมีความพยายามที่จะกระทำการทุจริตอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากในกงสีแล้ว ยังไปสู่มหาชนอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยงรับไม่ได้ ตนและพี่น้องจึงไม่ให้นายสุรินทร์และครอบครัวใช้นามสกุลโตทับเที่ยงอีกต่อไป
"นามสกุลโตทับเที่ยง ผมเป็นคนดำเนินการขอ รวมไปถึงธุรกิจของตระกูลที่รู้จักกันดีภายใต้แบรนด์ปุ้มปุ้ยและอื่นๆ ผมก็เป็นคนเริ่มดำเนินการ และทำงานอยู่เบื้องหลังมาตั้งแต่เริ่มจนถึงทุกวันนี้ ขณะที่นายสุรินทร์นั้น ทางพี่น้องมอบหมายให้ออกหน้าเป็นตัวแทนในการสร้างสัมพันธ์อันดีออกสู่สาธารณะ แต่กลับมาทำเช่นนี้ ผมรู้สึกเสียใจที่ตระกูลโตทับเที่ยง ต้องมาแปดเปื้อนจากน้องชายที่ผมส่งเสริมมาโดยตลอด"นายสุธรรมกล่าว
ที่มา: www.posttoday.com
Source - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (Th)
Sunday, June 21, 2015 14:27
"สุธรรม โตทับเที่ยง" แถลงเหตุผลขับ "สุรินทร์" พ้นสกุล ระบุมีการปลดพี่น้องออกจากผู้บริหารเครือปุ้มปุ้ย พยายามกระทำทุจริต
เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. นายสุธรรม โตทับเที่ยง พี่ใหญ่สกุล "โตทับเที่ยง" แถลงว่าในฐานะตัวแทนของฝ่ายพี่น้อง 9 คน ของสกุลโตทับเที่ยง ที่ไม่ให้ นายสุรินทร์ ใช้นามสกุล มีสาเหตุมาจากการที่ นายสุรินทร์ กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อพี่น้องร่วมท้องร่วมสายโลหิต โดยนายสุรินทร์ได้ปลดพี่น้องในตระกูลทุกคนออกจากการเป็นกรรมการของ บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทกงสีของพี่น้อง ที่ถือหุ้นในบริษัทผลิตภัณฑ์อาการ กว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในนามปุ้มปุ้ย ซึ่งการปลดดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมิชอบเพราะมีการปลอมรายงานการประชุมเพื่อแจ้งเท็จต่อนายทะเบียนพาณิชย์รวมทั้งมีการแต่งตั้งบุตรชายเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทน ซึ่งเรื่องนี้ศาลได้ประทับรับฟ้องเป็นคดีทางแพ่งและอาญาแล้ว
นายสุธรรม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้นายสุรินทร์ได้สั่งปลดและเลิกจ้างพี่สาว, น้องสาว, น้องสะใภ้และหลานๆ ที่เป็นผู้บริหารเดิม รวมทั้งปรับเปลี่ยนลดตำแหน่งน้องสะใภ้และหลานอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งมีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับในเรื่องการกูสหกรณ์ออมทรัพย์กว้างไพศาลทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
"ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ทั้ง นายสุรินทร์ และบุตรชาย ยังได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้ใหญ่ในตระกูลทั้งตนเองและพี่น้อง ถึงขนาดเอ่ยอ้างว่านามสกุลโตทับเที่ยงนั้นเป็นผู้ขอมาเอง ทำให้พี่น้องทุกคนรับไม่ได้กับพฤติกรรมดังกล่าว รวมทั้งในช่วงที่ผ่านมา นางสุภัทรา สินสุข พี่สาวคนรอง และเป็นผู้เลี้ยงดูนายสุรินทร์ได้เสียชีวิตลง นายสุรินทร์กลับไม่เคยไปร่วมเคารพศพแม้แต่คืนเดียว แต่กลับมีการนำภาพนายสุรินทร์ไปวัดที่ไหนซักแห่งโดยอ้างว่าเป็นการบำเพ็ญกุศลให้นางสุภัทรา"นายสุธรรมกล่าว
นายสุธรรมกล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พี่น้องทั้งหมดเห็นว่า ครอบครัวนายสุรินทร์ขาดซึ่งความกตัญญู กระทำการทุจริตโดยไม่คำนึงถึงพี่น้องร่วมสายโลหิต และบุตรชายก็ไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่ในตระกูล และกำลังมีความพยายามที่จะกระทำการทุจริตอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากในกงสีแล้ว ยังไปสู่มหาชนอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยงรับไม่ได้ ตนและพี่น้องจึงไม่ให้นายสุรินทร์และครอบครัวใช้นามสกุลโตทับเที่ยงอีกต่อไป
"นามสกุลโตทับเที่ยง ผมเป็นคนดำเนินการขอ รวมไปถึงธุรกิจของตระกูลที่รู้จักกันดีภายใต้แบรนด์ปุ้มปุ้ยและอื่นๆ ผมก็เป็นคนเริ่มดำเนินการ และทำงานอยู่เบื้องหลังมาตั้งแต่เริ่มจนถึงทุกวันนี้ ขณะที่นายสุรินทร์นั้น ทางพี่น้องมอบหมายให้ออกหน้าเป็นตัวแทนในการสร้างสัมพันธ์อันดีออกสู่สาธารณะ แต่กลับมาทำเช่นนี้ ผมรู้สึกเสียใจที่ตระกูลโตทับเที่ยง ต้องมาแปดเปื้อนจากน้องชายที่ผมส่งเสริมมาโดยตลอด"นายสุธรรมกล่าว
ที่มา: www.posttoday.com
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 3
ศึกสายเลือด "โตทับเที่ยง" ชิง"สกุล"ฮุบ"ขุมทรัพย์กงสี"!?
Source - ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ (Th)
Saturday, June 13, 2015 04:40
หากเปรียบข่าวเกรียวกราวเกี่ยวกับศึกสายเลือดในตระกูล "โตทับเที่ยง" แห่งเมืองตรังเป็นเหมือนภาพยนตร์ ต้องเป็นหนังบู๊ ที่มากท่วงท่ากำลังภายใน แม้จะไม่มีเลือดท่วมจอ แต่ก็เร้าอารมณ์ชวนให้ติดตามชมอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเป็นซีรีส์ยาวแสนยาว ซึ่งยังคาดเดาไม่ได้ว่าฉากจบ จะลงเอยกันแบบผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ หรือหันมากอดรัดฟัดเหวี่ยงกันได้ในสไตล์พี่ๆ น้องๆ
ถือเป็นหนังแนวดรามาที่แค่ฉากเปิดเรื่องก็ตื่นตาตื่นใจเลยทันที เพราะจู่ๆ 28 พ.ค.2558 ที่ผ่านมาก็เกิดข่าวใหญ่ว่า สุธรรม โตทับเที่ยง พี่ชายคนโตของตระกูลมีหนังสือถึงน้องชายคนที่ 3 สุรินทร์ โตทับเที่ยง ห้ามมิให้เขาและครอบครัวใช้นามสกุลนี้อีกต่อไป เนื้อหาในหนังสือมีสาระสำคัญคือ
"ด้วยข้าพเจ้า นายสุธรรม โตทับเที่ยง เจ้าของนามสกุล โตทับเที่ยง และพี่น้องลูกหลานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุล โตทับเที่ยง มาตั้งแต่ พ.ศ.2514 ที่ผ่านมา พี่น้องผู้ร่วมใช้นามสกุลมีความสุขความเจริญมาจนมีลูกหลาน 3 ช่วงอายุคนมาแล้ว.
"จวบจนประมาณปี 2556 นายสุรินทร์กับพวกได้กระทำการอันเป็นปรปักษ์กับการที่พี่น้องผู้เกิดร่วมท้องร่วมใช้นามสกุล โตทับเที่ยง ทำให้พี่น้องเดือดร้อน ถูกดูถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้รู้เห็นปัญหาที่นายสุรินทร์กับพวกได้ก่อให้เกิดขึ้น ความรักและความปรองดองในหมู่พี่น้องต้องถูกทำลายมากมาย...
"ด้วยเหตุและผลดังได้แถลงมาแล้ว ข้าพเจ้าและเครือญาติทุกคน จึงมีมติห้ามมิให้นายสุรินทร์และครอบครัวสายตรงของนายสุรินทร์ใช้นามสกุล โตทับเที่ยง นับแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป และข้าพเจ้าจะได้ดำเนินการตามสิทธิเพื่อเพิกถอนการใช้นามสกุล โตทับเที่ยง ของนายสุรินทร์และครอบครัวสายตรงของนายสุรินทร์ ต่อไป"
นอกจากนี้สุธรรมยังได้ยื่นคำขาดให้สุรินทร์และครอบ ครัวเปลี่ยนนามสกุลภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ ในตอนท้ายมีการลงชื่อ สุธรรม โตทับเที่ยง ประกาศเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2558
จากนั้นก็กลายเป็นข่าวบานปลายขยายวงต่อเนื่องมา โดย 28 พ.ค.2558 สุธี ผ่องไพบูลย์ ทนายความที่ได้รับมอบหมายจากสุรินทร์ได้ทำหนังสือตอบกลับถึงสุธรรมเรื่องการใช้สิทธิ์ไม่สุจริตว่า
"ตามที่ท่านได้มีหนังสือถึง คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ระบุว่า คุณสุรินทร์ได้ทำการเป็นปรปักษ์กับท่านและพี่น้องร่วมใช้นามสกุลโตทับเที่ยง ท่านและพี่น้องร่วมสายโลหิตจึงได้มีมติร่วมกันว่า ไม่ประสงค์ให้คุณสุรินทร์และครอบครัวสายตรงใช้นามสกุล โตทับเที่ยง อีกต่อไป ขอให้เปลี่ยนการใช้นามสกุลโตทับเที่ยงภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ที่ได้รับหนังสือ ดังรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของท่านที่อ้างถึงนั้น...
"ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับผิดชอบอำนาจจากคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ขอเรียนให้ทราบว่า คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ขอปฏิเสธข้อกล่าวอ้างตามหนังสือของท่านที่ระบุว่า คุณสุรินทร์กระทำการเป็นปรปักษ์กับท่านและพี่น้องร่วมใช้นามสกุล ทั้งนี้คุณสุรินทร์ขอเรียนยืนยันมายังท่านและพี่น้องร่วมใช้นามสกุลทุกคนว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณสุรินทร์ได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อปกป้องธุรกิจที่ครอบครัวโตทับเที่ยงมีส่วนเกี่ยวข้อง กับทั้งให้เกียรติและเคารพรักพี่น้องร่วมสายโลหิตทุกคนมาโดยตลอด ดังนั้นคุณสุรินทร์จึงไม่อาจยอมรับต่อข้อร้องเรียนของท่าน.
"อนึ่ง คุณสุรินทร์ทราบมาว่า ได้มีการนำจดหมายฉบับที่อ้างถึงเผยแพร่ต่อพนักงานของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) และบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งเป็นการเผยแพร่โดยใช้เอกสาร และเป็นการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ในประการที่ทำให้คุณสุรินทร์และครอบครัวเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง คุณสุรินทร์จึงขอให้ท่านและผู้เกี่ยวข้องยุติการดำเนินการในทันที มิฉะนั้นข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญากับท่านและผู้เกี่ยวข้องต่อไป"
ไม่เพียงเท่านั้น สุธียังชี้แจงกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า 29 พ.ค.2558 สุรินทร์ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับสุธรรมและพวก ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาไว้ที่ สน.สมเด็จเจ้าพระยา ที่กรุงเทพฯ แล้ว
จากนั้นเป็นต้นมาสังคมก็ได้รับรู้ว่า แท้จริงแล้วรอยร้าวลึกที่นำมาสู่การเปิดศึกสายเลือด เรื่องการห้ามใช้ชื่อสกุลเป็นประเด็นประกอบเท่านั้น แต่แก่นแกนความขัดแย้งแบ่งขั้วคนในตระกูลจริงๆ เกิดจากการแย่งชิง "สมบัติกงสี"
หลังเปิดศึกชิงสกุลก็ตามด้วยการห้ำหั่นในชั้นเชิงการแสดงตัวเป็นเจ้าของเพื่อครอบครองธุรกิจต่างๆ ในกงสี มีการหักเหลี่ยมเฉือนคมแทบไม่ต่างจากฉากในหนังจีนฮ่องกง
ฝ่ายสุรินทร์กล่าวหาว่าฝ่ายสุธรรมกับพี่น้องคนอื่นๆ บริหารธุรกิจไม่โปร่งใส จนนำไปสู่การขาดทุน โดยเฉพาะ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาลเคยรุ่งเรืองอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลายสิบปีมานี้กลับถูกแขวนป้าย SP และ Non Performing Group (NPG) ซึ่งเขาและลูกๆ ต้องเสียสละเข้าไปฟื้นฟูเรียกความเชื่อมั่นคืน และสามารถทำจนกำลังจะได้นำหุ้นกลับไปซื้อขายในตลาดได้อีกครั้งแล้ว
ขณะที่ฝ่ายสุธรรมและพี่น้องคนอื่นๆ กล่าวหาฝ่ายสุรินทร์ว่ากำลังร่วมมือกับลูกๆ เดินเกมฮุบธุรกิจกงสี โดยเฉพาะ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล เครือโรงแรมธรรมรินทร์ รวมทั้งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้สร้างความปั่นป่วนไม่เฉพาะในกลุ่มพี่น้องและครอบครัวเท่านั้น ยังรวมถึงพนักงานบริษัทในกงสี ถึงขั้นฟ้องร้องในศาลแล้วก็มี
ต่อมา 4 มิ.ย.2558 สุธรรมกับ สลิล โตทับเที่ยง น้องชาย พร้อมด้วยฝ่ายเขยและคนในตระกูลที่มีส่วนได้เสียในธุรกิจกงสีบุกขึ้นที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง เพื่อเดินเรื่องให้ถอนสิทธิการใช้นามสกุลโตทับเที่ยงของสุรินทร์และครอบครัว ซึ่งทางนันธวัช เจริญวรรณ นายอำเภอชี้แจงว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจนายทะเบียนยกเลิกการใช้นามสกุลใครได้ จึงได้แต่รับเรื่องและมีเอกสารรับรองให้ ซึ่งสามารถนำไปประกอบหลักฐานอื่นๆ ฟ้องร้องต่อศาลได้
ไม่เพียงเท่านั้น หลังลงจากอำเภอยังได้ให้สลิลนำคณะผู้สื่อข่าวไปแถลงโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา ธุรกิจกงสีกลางเมืองตรัง แต่กลับถูกนายภิญโญ เต็งรัง ผู้จัดการโรงแรมห้ามใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งของสุรินทร์ไม่ให้พี่น้องหรือลูกหลานฝ่ายสุธรรมไปวุ่นวายหรือทำกิจกรรมใดๆ นอกจากเข้าไปใช้บริการในฐานะลูกค้าได้เท่านั้น
ล่าสุด 8 มิ.ย.2558 สุรินทร์จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล แล้วมีมติให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 อังคารที่ 14 ก.ค.2558 เวลา 11.00 น. ที่สำนักงานในกรุงเทพฯ โดยให้มีวาระสำคัญคือ การขออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อธนาคาร โดยแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้พ้นจากการแขวนป้าย SP และ NPG ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้หุ้นบริษัทกลับไปเทรดได้อีกหน
ทั้งนี้ทั้งนั้น การแจ้งความที่นำไปสู่คดีในศาลของคน ในตระกูลโตทับเที่ยง อันเนื่องจากการออกหนังสือห้ามใช้สกุลเดียวกันในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการค้าคดีความกันหนแรก เพราะมีคนในตระกูลออกมายอมรับแล้วว่า ที่ผ่านมาทั้ง 2 ฝ่ายเคยฟ้องร้องกันมาก่อนทั้งคดีแพร่งและอาญารวมแล้ว กว่า 10 คดี
อีกทั้งความขัดแย้งระหว่างพี่น้องก็ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แม้ไม่ปรากฏเป็นข่าวมาก่อน แต่คนตรังระแคะระคายเรื่องนี้มานานปี ก่อนเป็นข่าวครึกโครมก็มีเหตุการณ์ที่ชี้ว่าน่าจะถึงเวลาแตกหักของคนในตระกูลโตทับเที่ยงเสียทีก็คือ การที่สลิลผู้ซึ่งเป็นน้องชายที่สุรินทร์เองผลักดันให้นั่งประธานหอการค้าจังหวัดตรังมาตั้งแต่ปี 2546 ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งช่วงเดือน ก.พ.2558 แบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
แล้วตามด้วยเหตุการณ์ที่สลิล จัดให้มีการส่งผ่านตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดตรังไปให้แก่ พิชัยมานะสุทธิ์ ผู้บริหารบริษัท โตโยต้าเมืองตรัง จำกัด ผู้มีฐานะเป็นน้องเขยตนเอง เมื่อครั้งประชุมใหญ่สามัญประจำปีหอการค้า 26 มี.ค.2558 แม้พิชัยจะเป็นน้องเขยของสุรินทร์ด้วย แต่ถือว่ายืนอยู่ฝ่ายตรงข้าม
สำหรับ "โตทับเที่ยง" นับเป็นตระกูลเจ้าสัวมากบารมีแห่งเมืองตรัง ต้นกำเนิดสาแหรกคือ "โต๋ว ง่วน เตียง" กับ "ยิ่ง แซ่โต๋ว" ชาวจีนแต้จิ๋วที่ต่างอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ แล้วสวรรค์จัดสรรให้พบปะแต่งงานกัน เริ่มอาชีพค้าขายของชำในตลาดทับเที่ยง ขายทุกสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างข้าวสาร ปลาเค็ม ตะปูยันลวดหนาม และยังค้าส่งข้ามจังหวัดถึงสตูล กระบี่ และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ทั้งคู่มีลูกด้วยกันถึง 10 คนคือ 1.สุธรรม 2.สุพัตรา สินสุข (โตทับเที่ยง) เสียชีวิตแล้ว 3.สุรินทร์ 4.จุรีย์ สัม-พันธวรบุตร (โตทับเที่ยง) 5.สวัสดิ์ โตทับเที่ยง เสียชีวิตแล้ว 6.จุฬา หวังศิริเลิศ (โตทับเที่ยง) 7.เลอลักษณ์ หรือ จุรัตน์ มะนะสุทธิ์ (โตทับเที่ยง) 8.สลิล 9.น.ส.สุนีย์ โตทับเที่ยง และ 10.น.ส.สิริพร โตทับเที่ยง
ชื่อสกุล "โตทับเที่ยง" ก็มีเบื้องหลังและมากความหมาย ซึ่งสลิลเคยบอกเล่าไว้ว่า คำว่า "โต" มาจาก "โต๋ว" ชื่อของพ่อและชื่อแซ่ของแม่ แต่กร่อนเสียงให้เข้ากับภาษาไทย ในอีกความหมายคือ เติบโต ซึ่งก็รับกับคำว่า "ทับเที่ยง" อันเป็นสถานที่ใช้เรียกขานชื่อเมืองสมัยก่อน ซึ่งก็คือที่ตั้งของเมืองตรังปัจจุบัน
ที่มีการอ้างเป็นเจ้าของนามสกุลก็เนื่องจาก สุธรรม แซ่โต๋ว เป็นคนเดินเรื่องที่อำเภอเมืองตรังขอใช้ชื่อสกุล "โตทับเที่ยง" มีผลเมื่อ 18 ก.พ.2514 และมีประกาศไว้ในหนังสือของอำเภอฉบับที่ 3 เล่มที่ 240/2514 ส่วน สุรินทร์ แซ่โต๋ว ได้ตามไปทำเรื่องขอใช้ชื่อสกุลนี้หลังจากนั้นกว่าเดือน โดยเป็นผลเมื่อ 26 มี.ค.2514
สำหรับธุรกิจกงสีโตทับเที่ยง ประกอบด้วย บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล เจ้าของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยและปลายิ้ม, บริษัท ตรังชัวร์ จำกัด ผู้ผลิตปลาบดและอาหารทะเลแช่แข็ง, บริษัท ตรังแคนเนอร์รี่ จำกัด ผลิตและจำหน่ายกระป๋อง, บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด เจ้าของโรงแรมหลายแห่ง, บริษัท ตรังทราเวล จำกัด ธุรกิจท่องเที่ยว, บริษัท โตโยต้าเมืองตรัง จำกัด, บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท กว้างไพศาลโฮลดิ้ง จำกัด และมีบริษัทธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการเอสวัน เอวินิว, หมู่บ้านธนากาเดนส์, หมู่บ้านไทยทอง และอีกหลายโครงการ รวมถึงธุรกิจตลาดสดยิ่งดี สวนยางอีกหลายร้อยไร่ และอื่นๆ อีกมากมาย
ความจริงแล้ว บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ถือเป็นต้นธารสายหลักที่หล่อเลี้ยงให้ก่อเกิดธุรกิจอื่นๆ มีจุดกำเนิดจากคน 2 คน ซึ่งจากคำบอกเล่าของ ไกรเสริม โตทับเที่ยง บุตรชายคนที่ 2 ของสุธรรมระบุว่า สุธรรมกับอาเขยคือ สมศักดิ์ สินสุข ผู้เป็นทั้งเพื่อนและน้องเขยในฐานะสามีสุพัตราน้องสาวคนที่ 2 ได้ร่วมกันปลุกปั้นขึ้นเมื่อ 1 พ.ย.2522
สุรินทร์เข้าร่วมบริหารบริษัทนี้ก็ช่วงที่รุ่งเรืองแล้ว หลังจากสมศักดิ์เสียชีวิตจึงได้ไปเสริมกำลัง ซึ่งก็ทำได้ดีในด้านประชาสัมพันธ์และตลาด เพราะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อ โดยเฉพาะกับช่อง 7 สีที่สมัยนั้นอยู่ยอดของคลื่นทีวี จึงหนุนส่งแบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" และ "ปลายิ้ม" ให้ยิ่งเป็นที่รู้จักกว้างขวาง อีกทั้งมีการเพิ่มประเภทสินค้าและแบรนด์ จากปลากระป๋องสู่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "กุ๊งกิ๊ง" และ "ยูมี" เป็นต้น
จากทุนจดทะเบียนเริ่มต้นแค่ 2 ล้านบาท ได้ปะแป้งแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2538 พร้อมเพิ่มทุนเป็น 135 ล้านบาท แต่พอช่วงหลังเศรษฐกิจตกต่ำทั้งระบบ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาลก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เป็นผลให้หุ้นในตลาดถูกแขวนต่อเนื่องมานับ 10 ปี ซึ่งสุรินทร์ก็คือกำลังหลักที่เข้ากอบกู้และฟื้นฟูกิจการ
ด้านเครือโรงแรมธรรมรินทร์ก็เป็นการปลุกปั้นร่วมกันของสุธรรมกับสุรินทร์ สังเกตได้จากชื่อหลังของคนทั้ง 2 ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อโรงแรม แต่ก็ต้องยอมรับว่าดังติดตลาดได้ก็อาศัยคอนเนกชันของสุรินทร์ โดยเฉพาะบทบาทในสภาหอการค้าไทยและประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ซึ่งได้จัดกิจกรรมบูมท่องเที่ยวมากมาย เช่น เทศกาลหอยตะเภา หมูย่าง เค้กตรัง ประเพณีกินเจ วิวาห์ใต้สมุทร หรือแม้กระทั่งผักดันให้ใช้เมืองตรังเป็นสถานที่เก็บตัวผู้ประกวดนางสาวไทยได้ถึง 3 ปีซ้อน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าภายหลังเศรษฐกิจซบเซา หลายธุรกิจในเครือกงสีโตทับเที่ยงก็กระทบด้วย สุรินทร์ยังคือคีย์หลักที่ช่วยดูแลฟื้นฟูกิจการเรื่อยมา
ทว่าตั้งแต่ปี 2556 เริ่มมีภาพที่ชัดว่าสุรินทร์และลูกอีก 4 คน ได้แก่ ขิมพริ้ง ซอง ไกรสิน โตทับเที่ยง กรพินธุ์ โตทับเที่ยง และ ไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ได้แทรกซึมเข้าถือหุ้นใหญ่และเข้าบริหารบริษัทต่างๆ ของกงสีเกือบทั้งหมด จากนั้นก็มีการปลด จุรีย์ น้องสาวคนที่ 4 พ้นผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ปลด สลิล น้องชายคนที่ 8 พ้นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมทั้งปลดหลานๆ และสุดท้ายยังปลด สุธรรม พี่ชายคนโตของตระกูลด้วย
ว่ากันว่า นั่นถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้พี่ๆ น้องๆ อีก 9 ครอบครัวภายใต้การนำของสุธรรมต้องลุกขึ้นปฏิบัติการตอบโต้ จนนำมาสู่การฟ้องร้องระหว่างกันนับ 10 คดี แล้วประกาศห้ามสุรินทร์และครอบครัวใช้ชื่อสกุลเดียวกันดังกล่าว
กล่าวสำหรับสุรินทร์เวลานี้ยังนั่งเป็นประธานกรรมการบริหารหลายบริษัทในเครือกงสี ซึ่งก็ค่อยๆ ผ่องถ่ายให้แก่ลูกทั้ง 4 และยังเป็นประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดตรัง มีบทบาทในหอการค้าไทย เขาคือนักธุรกิจที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนตรัง เคยหนุนเนื่องพรรคประชาธิปัตย์ แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นแท่นการเมืองไทย เขาก็ไม่รีรอที่จะส่ง ไกรสิน ลูกชายหัวแก้หัวแหวนลงสมัคร ส.ส.ตรังภายใต้ปีกโอบของระบอบทักษิณ ส่วนหนึ่งอาจวาดหวังเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งการเมืองไว้ช่วยเกื้อหนุนธุรกิจ แต่ลูกเขาก็สอบตกทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องจับตาไปที่อังคารที่ 14 ก.ค.2558 ที่จะมีประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ของ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ซึ่งไม่ใช่แค่พิสูจน์ว่าสุรินทร์จะผลักดันให้ปลดป้าย SP และ NPG ของตลาด หลักทรัพย์ลงได้สำเร็จหรือไม่ แต่ยังจะเป็นการพิสูจน์พลังฝ่ายเขาและลูกๆ ทั้ง 4 ว่าจะครอบครองธุรกิจกงสีของตระกูลได้หรือไม่ด้วย
แท้จริงแล้ว 14 ก.ค.2558 นี้น่าจะเป็น "จุดไคลแม็กซ์" ในภาคแรกของหนังยาวเรื่อง "ศึกสายเลือด..โตทับเที่ยง" ก็ว่าได้ ซึ่งก็จะมีตอนต่อๆ ไปตามมาอีกยาวเหยียดแน่ นอน!?
บรรยายใต้ภาพ
สุธรรม โตทับเที่ยง พี่ชายคนโตของตระกูล
สุธรรม โตทับเที่ยงขณะเข้าพบนายอำเภอเมือง
สุรินทร์ โตทับเที่ยงในวันชี้แจง
โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา ธุรกิจกงสีกลางเมืองตรัง
ไกรเสริม โตทับเที่ยง บุตรชายคนที่ 2 ของสุธรรม
วิวาห์ใต้สมุทรซึ่งโด่งดังไปทั่วประเทศและทั่วโลก โดยฝีมือการผลักดันของสองพี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 มิ.ย. 2558--
Source - ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ (Th)
Saturday, June 13, 2015 04:40
หากเปรียบข่าวเกรียวกราวเกี่ยวกับศึกสายเลือดในตระกูล "โตทับเที่ยง" แห่งเมืองตรังเป็นเหมือนภาพยนตร์ ต้องเป็นหนังบู๊ ที่มากท่วงท่ากำลังภายใน แม้จะไม่มีเลือดท่วมจอ แต่ก็เร้าอารมณ์ชวนให้ติดตามชมอย่างต่อเนื่อง และน่าจะเป็นซีรีส์ยาวแสนยาว ซึ่งยังคาดเดาไม่ได้ว่าฉากจบ จะลงเอยกันแบบผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ หรือหันมากอดรัดฟัดเหวี่ยงกันได้ในสไตล์พี่ๆ น้องๆ
ถือเป็นหนังแนวดรามาที่แค่ฉากเปิดเรื่องก็ตื่นตาตื่นใจเลยทันที เพราะจู่ๆ 28 พ.ค.2558 ที่ผ่านมาก็เกิดข่าวใหญ่ว่า สุธรรม โตทับเที่ยง พี่ชายคนโตของตระกูลมีหนังสือถึงน้องชายคนที่ 3 สุรินทร์ โตทับเที่ยง ห้ามมิให้เขาและครอบครัวใช้นามสกุลนี้อีกต่อไป เนื้อหาในหนังสือมีสาระสำคัญคือ
"ด้วยข้าพเจ้า นายสุธรรม โตทับเที่ยง เจ้าของนามสกุล โตทับเที่ยง และพี่น้องลูกหลานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุล โตทับเที่ยง มาตั้งแต่ พ.ศ.2514 ที่ผ่านมา พี่น้องผู้ร่วมใช้นามสกุลมีความสุขความเจริญมาจนมีลูกหลาน 3 ช่วงอายุคนมาแล้ว.
"จวบจนประมาณปี 2556 นายสุรินทร์กับพวกได้กระทำการอันเป็นปรปักษ์กับการที่พี่น้องผู้เกิดร่วมท้องร่วมใช้นามสกุล โตทับเที่ยง ทำให้พี่น้องเดือดร้อน ถูกดูถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้รู้เห็นปัญหาที่นายสุรินทร์กับพวกได้ก่อให้เกิดขึ้น ความรักและความปรองดองในหมู่พี่น้องต้องถูกทำลายมากมาย...
"ด้วยเหตุและผลดังได้แถลงมาแล้ว ข้าพเจ้าและเครือญาติทุกคน จึงมีมติห้ามมิให้นายสุรินทร์และครอบครัวสายตรงของนายสุรินทร์ใช้นามสกุล โตทับเที่ยง นับแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป และข้าพเจ้าจะได้ดำเนินการตามสิทธิเพื่อเพิกถอนการใช้นามสกุล โตทับเที่ยง ของนายสุรินทร์และครอบครัวสายตรงของนายสุรินทร์ ต่อไป"
นอกจากนี้สุธรรมยังได้ยื่นคำขาดให้สุรินทร์และครอบ ครัวเปลี่ยนนามสกุลภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ ในตอนท้ายมีการลงชื่อ สุธรรม โตทับเที่ยง ประกาศเมื่อวันที่ 25 พ.ค.2558
จากนั้นก็กลายเป็นข่าวบานปลายขยายวงต่อเนื่องมา โดย 28 พ.ค.2558 สุธี ผ่องไพบูลย์ ทนายความที่ได้รับมอบหมายจากสุรินทร์ได้ทำหนังสือตอบกลับถึงสุธรรมเรื่องการใช้สิทธิ์ไม่สุจริตว่า
"ตามที่ท่านได้มีหนังสือถึง คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ระบุว่า คุณสุรินทร์ได้ทำการเป็นปรปักษ์กับท่านและพี่น้องร่วมใช้นามสกุลโตทับเที่ยง ท่านและพี่น้องร่วมสายโลหิตจึงได้มีมติร่วมกันว่า ไม่ประสงค์ให้คุณสุรินทร์และครอบครัวสายตรงใช้นามสกุล โตทับเที่ยง อีกต่อไป ขอให้เปลี่ยนการใช้นามสกุลโตทับเที่ยงภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ที่ได้รับหนังสือ ดังรายละเอียดปรากฏตามหนังสือของท่านที่อ้างถึงนั้น...
"ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับผิดชอบอำนาจจากคุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ขอเรียนให้ทราบว่า คุณสุรินทร์ โตทับเที่ยง ขอปฏิเสธข้อกล่าวอ้างตามหนังสือของท่านที่ระบุว่า คุณสุรินทร์กระทำการเป็นปรปักษ์กับท่านและพี่น้องร่วมใช้นามสกุล ทั้งนี้คุณสุรินทร์ขอเรียนยืนยันมายังท่านและพี่น้องร่วมใช้นามสกุลทุกคนว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณสุรินทร์ได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อปกป้องธุรกิจที่ครอบครัวโตทับเที่ยงมีส่วนเกี่ยวข้อง กับทั้งให้เกียรติและเคารพรักพี่น้องร่วมสายโลหิตทุกคนมาโดยตลอด ดังนั้นคุณสุรินทร์จึงไม่อาจยอมรับต่อข้อร้องเรียนของท่าน.
"อนึ่ง คุณสุรินทร์ทราบมาว่า ได้มีการนำจดหมายฉบับที่อ้างถึงเผยแพร่ต่อพนักงานของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) และบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งเป็นการเผยแพร่โดยใช้เอกสาร และเป็นการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ในประการที่ทำให้คุณสุรินทร์และครอบครัวเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง คุณสุรินทร์จึงขอให้ท่านและผู้เกี่ยวข้องยุติการดำเนินการในทันที มิฉะนั้นข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญากับท่านและผู้เกี่ยวข้องต่อไป"
ไม่เพียงเท่านั้น สุธียังชี้แจงกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า 29 พ.ค.2558 สุรินทร์ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับสุธรรมและพวก ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาไว้ที่ สน.สมเด็จเจ้าพระยา ที่กรุงเทพฯ แล้ว
จากนั้นเป็นต้นมาสังคมก็ได้รับรู้ว่า แท้จริงแล้วรอยร้าวลึกที่นำมาสู่การเปิดศึกสายเลือด เรื่องการห้ามใช้ชื่อสกุลเป็นประเด็นประกอบเท่านั้น แต่แก่นแกนความขัดแย้งแบ่งขั้วคนในตระกูลจริงๆ เกิดจากการแย่งชิง "สมบัติกงสี"
หลังเปิดศึกชิงสกุลก็ตามด้วยการห้ำหั่นในชั้นเชิงการแสดงตัวเป็นเจ้าของเพื่อครอบครองธุรกิจต่างๆ ในกงสี มีการหักเหลี่ยมเฉือนคมแทบไม่ต่างจากฉากในหนังจีนฮ่องกง
ฝ่ายสุรินทร์กล่าวหาว่าฝ่ายสุธรรมกับพี่น้องคนอื่นๆ บริหารธุรกิจไม่โปร่งใส จนนำไปสู่การขาดทุน โดยเฉพาะ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาลเคยรุ่งเรืองอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่หลายสิบปีมานี้กลับถูกแขวนป้าย SP และ Non Performing Group (NPG) ซึ่งเขาและลูกๆ ต้องเสียสละเข้าไปฟื้นฟูเรียกความเชื่อมั่นคืน และสามารถทำจนกำลังจะได้นำหุ้นกลับไปซื้อขายในตลาดได้อีกครั้งแล้ว
ขณะที่ฝ่ายสุธรรมและพี่น้องคนอื่นๆ กล่าวหาฝ่ายสุรินทร์ว่ากำลังร่วมมือกับลูกๆ เดินเกมฮุบธุรกิจกงสี โดยเฉพาะ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล เครือโรงแรมธรรมรินทร์ รวมทั้งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้สร้างความปั่นป่วนไม่เฉพาะในกลุ่มพี่น้องและครอบครัวเท่านั้น ยังรวมถึงพนักงานบริษัทในกงสี ถึงขั้นฟ้องร้องในศาลแล้วก็มี
ต่อมา 4 มิ.ย.2558 สุธรรมกับ สลิล โตทับเที่ยง น้องชาย พร้อมด้วยฝ่ายเขยและคนในตระกูลที่มีส่วนได้เสียในธุรกิจกงสีบุกขึ้นที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง เพื่อเดินเรื่องให้ถอนสิทธิการใช้นามสกุลโตทับเที่ยงของสุรินทร์และครอบครัว ซึ่งทางนันธวัช เจริญวรรณ นายอำเภอชี้แจงว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจนายทะเบียนยกเลิกการใช้นามสกุลใครได้ จึงได้แต่รับเรื่องและมีเอกสารรับรองให้ ซึ่งสามารถนำไปประกอบหลักฐานอื่นๆ ฟ้องร้องต่อศาลได้
ไม่เพียงเท่านั้น หลังลงจากอำเภอยังได้ให้สลิลนำคณะผู้สื่อข่าวไปแถลงโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา ธุรกิจกงสีกลางเมืองตรัง แต่กลับถูกนายภิญโญ เต็งรัง ผู้จัดการโรงแรมห้ามใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งของสุรินทร์ไม่ให้พี่น้องหรือลูกหลานฝ่ายสุธรรมไปวุ่นวายหรือทำกิจกรรมใดๆ นอกจากเข้าไปใช้บริการในฐานะลูกค้าได้เท่านั้น
ล่าสุด 8 มิ.ย.2558 สุรินทร์จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล แล้วมีมติให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 อังคารที่ 14 ก.ค.2558 เวลา 11.00 น. ที่สำนักงานในกรุงเทพฯ โดยให้มีวาระสำคัญคือ การขออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อธนาคาร โดยแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้พ้นจากการแขวนป้าย SP และ NPG ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้หุ้นบริษัทกลับไปเทรดได้อีกหน
ทั้งนี้ทั้งนั้น การแจ้งความที่นำไปสู่คดีในศาลของคน ในตระกูลโตทับเที่ยง อันเนื่องจากการออกหนังสือห้ามใช้สกุลเดียวกันในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการค้าคดีความกันหนแรก เพราะมีคนในตระกูลออกมายอมรับแล้วว่า ที่ผ่านมาทั้ง 2 ฝ่ายเคยฟ้องร้องกันมาก่อนทั้งคดีแพร่งและอาญารวมแล้ว กว่า 10 คดี
อีกทั้งความขัดแย้งระหว่างพี่น้องก็ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แม้ไม่ปรากฏเป็นข่าวมาก่อน แต่คนตรังระแคะระคายเรื่องนี้มานานปี ก่อนเป็นข่าวครึกโครมก็มีเหตุการณ์ที่ชี้ว่าน่าจะถึงเวลาแตกหักของคนในตระกูลโตทับเที่ยงเสียทีก็คือ การที่สลิลผู้ซึ่งเป็นน้องชายที่สุรินทร์เองผลักดันให้นั่งประธานหอการค้าจังหวัดตรังมาตั้งแต่ปี 2546 ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งช่วงเดือน ก.พ.2558 แบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
แล้วตามด้วยเหตุการณ์ที่สลิล จัดให้มีการส่งผ่านตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดตรังไปให้แก่ พิชัยมานะสุทธิ์ ผู้บริหารบริษัท โตโยต้าเมืองตรัง จำกัด ผู้มีฐานะเป็นน้องเขยตนเอง เมื่อครั้งประชุมใหญ่สามัญประจำปีหอการค้า 26 มี.ค.2558 แม้พิชัยจะเป็นน้องเขยของสุรินทร์ด้วย แต่ถือว่ายืนอยู่ฝ่ายตรงข้าม
สำหรับ "โตทับเที่ยง" นับเป็นตระกูลเจ้าสัวมากบารมีแห่งเมืองตรัง ต้นกำเนิดสาแหรกคือ "โต๋ว ง่วน เตียง" กับ "ยิ่ง แซ่โต๋ว" ชาวจีนแต้จิ๋วที่ต่างอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ แล้วสวรรค์จัดสรรให้พบปะแต่งงานกัน เริ่มอาชีพค้าขายของชำในตลาดทับเที่ยง ขายทุกสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอย่างข้าวสาร ปลาเค็ม ตะปูยันลวดหนาม และยังค้าส่งข้ามจังหวัดถึงสตูล กระบี่ และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ทั้งคู่มีลูกด้วยกันถึง 10 คนคือ 1.สุธรรม 2.สุพัตรา สินสุข (โตทับเที่ยง) เสียชีวิตแล้ว 3.สุรินทร์ 4.จุรีย์ สัม-พันธวรบุตร (โตทับเที่ยง) 5.สวัสดิ์ โตทับเที่ยง เสียชีวิตแล้ว 6.จุฬา หวังศิริเลิศ (โตทับเที่ยง) 7.เลอลักษณ์ หรือ จุรัตน์ มะนะสุทธิ์ (โตทับเที่ยง) 8.สลิล 9.น.ส.สุนีย์ โตทับเที่ยง และ 10.น.ส.สิริพร โตทับเที่ยง
ชื่อสกุล "โตทับเที่ยง" ก็มีเบื้องหลังและมากความหมาย ซึ่งสลิลเคยบอกเล่าไว้ว่า คำว่า "โต" มาจาก "โต๋ว" ชื่อของพ่อและชื่อแซ่ของแม่ แต่กร่อนเสียงให้เข้ากับภาษาไทย ในอีกความหมายคือ เติบโต ซึ่งก็รับกับคำว่า "ทับเที่ยง" อันเป็นสถานที่ใช้เรียกขานชื่อเมืองสมัยก่อน ซึ่งก็คือที่ตั้งของเมืองตรังปัจจุบัน
ที่มีการอ้างเป็นเจ้าของนามสกุลก็เนื่องจาก สุธรรม แซ่โต๋ว เป็นคนเดินเรื่องที่อำเภอเมืองตรังขอใช้ชื่อสกุล "โตทับเที่ยง" มีผลเมื่อ 18 ก.พ.2514 และมีประกาศไว้ในหนังสือของอำเภอฉบับที่ 3 เล่มที่ 240/2514 ส่วน สุรินทร์ แซ่โต๋ว ได้ตามไปทำเรื่องขอใช้ชื่อสกุลนี้หลังจากนั้นกว่าเดือน โดยเป็นผลเมื่อ 26 มี.ค.2514
สำหรับธุรกิจกงสีโตทับเที่ยง ประกอบด้วย บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล เจ้าของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยและปลายิ้ม, บริษัท ตรังชัวร์ จำกัด ผู้ผลิตปลาบดและอาหารทะเลแช่แข็ง, บริษัท ตรังแคนเนอร์รี่ จำกัด ผลิตและจำหน่ายกระป๋อง, บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด เจ้าของโรงแรมหลายแห่ง, บริษัท ตรังทราเวล จำกัด ธุรกิจท่องเที่ยว, บริษัท โตโยต้าเมืองตรัง จำกัด, บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท กว้างไพศาลโฮลดิ้ง จำกัด และมีบริษัทธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการเอสวัน เอวินิว, หมู่บ้านธนากาเดนส์, หมู่บ้านไทยทอง และอีกหลายโครงการ รวมถึงธุรกิจตลาดสดยิ่งดี สวนยางอีกหลายร้อยไร่ และอื่นๆ อีกมากมาย
ความจริงแล้ว บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ถือเป็นต้นธารสายหลักที่หล่อเลี้ยงให้ก่อเกิดธุรกิจอื่นๆ มีจุดกำเนิดจากคน 2 คน ซึ่งจากคำบอกเล่าของ ไกรเสริม โตทับเที่ยง บุตรชายคนที่ 2 ของสุธรรมระบุว่า สุธรรมกับอาเขยคือ สมศักดิ์ สินสุข ผู้เป็นทั้งเพื่อนและน้องเขยในฐานะสามีสุพัตราน้องสาวคนที่ 2 ได้ร่วมกันปลุกปั้นขึ้นเมื่อ 1 พ.ย.2522
สุรินทร์เข้าร่วมบริหารบริษัทนี้ก็ช่วงที่รุ่งเรืองแล้ว หลังจากสมศักดิ์เสียชีวิตจึงได้ไปเสริมกำลัง ซึ่งก็ทำได้ดีในด้านประชาสัมพันธ์และตลาด เพราะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อ โดยเฉพาะกับช่อง 7 สีที่สมัยนั้นอยู่ยอดของคลื่นทีวี จึงหนุนส่งแบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" และ "ปลายิ้ม" ให้ยิ่งเป็นที่รู้จักกว้างขวาง อีกทั้งมีการเพิ่มประเภทสินค้าและแบรนด์ จากปลากระป๋องสู่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "กุ๊งกิ๊ง" และ "ยูมี" เป็นต้น
จากทุนจดทะเบียนเริ่มต้นแค่ 2 ล้านบาท ได้ปะแป้งแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2538 พร้อมเพิ่มทุนเป็น 135 ล้านบาท แต่พอช่วงหลังเศรษฐกิจตกต่ำทั้งระบบ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาลก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เป็นผลให้หุ้นในตลาดถูกแขวนต่อเนื่องมานับ 10 ปี ซึ่งสุรินทร์ก็คือกำลังหลักที่เข้ากอบกู้และฟื้นฟูกิจการ
ด้านเครือโรงแรมธรรมรินทร์ก็เป็นการปลุกปั้นร่วมกันของสุธรรมกับสุรินทร์ สังเกตได้จากชื่อหลังของคนทั้ง 2 ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อโรงแรม แต่ก็ต้องยอมรับว่าดังติดตลาดได้ก็อาศัยคอนเนกชันของสุรินทร์ โดยเฉพาะบทบาทในสภาหอการค้าไทยและประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ซึ่งได้จัดกิจกรรมบูมท่องเที่ยวมากมาย เช่น เทศกาลหอยตะเภา หมูย่าง เค้กตรัง ประเพณีกินเจ วิวาห์ใต้สมุทร หรือแม้กระทั่งผักดันให้ใช้เมืองตรังเป็นสถานที่เก็บตัวผู้ประกวดนางสาวไทยได้ถึง 3 ปีซ้อน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าภายหลังเศรษฐกิจซบเซา หลายธุรกิจในเครือกงสีโตทับเที่ยงก็กระทบด้วย สุรินทร์ยังคือคีย์หลักที่ช่วยดูแลฟื้นฟูกิจการเรื่อยมา
ทว่าตั้งแต่ปี 2556 เริ่มมีภาพที่ชัดว่าสุรินทร์และลูกอีก 4 คน ได้แก่ ขิมพริ้ง ซอง ไกรสิน โตทับเที่ยง กรพินธุ์ โตทับเที่ยง และ ไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ได้แทรกซึมเข้าถือหุ้นใหญ่และเข้าบริหารบริษัทต่างๆ ของกงสีเกือบทั้งหมด จากนั้นก็มีการปลด จุรีย์ น้องสาวคนที่ 4 พ้นผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน ปลด สลิล น้องชายคนที่ 8 พ้นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมทั้งปลดหลานๆ และสุดท้ายยังปลด สุธรรม พี่ชายคนโตของตระกูลด้วย
ว่ากันว่า นั่นถือเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้พี่ๆ น้องๆ อีก 9 ครอบครัวภายใต้การนำของสุธรรมต้องลุกขึ้นปฏิบัติการตอบโต้ จนนำมาสู่การฟ้องร้องระหว่างกันนับ 10 คดี แล้วประกาศห้ามสุรินทร์และครอบครัวใช้ชื่อสกุลเดียวกันดังกล่าว
กล่าวสำหรับสุรินทร์เวลานี้ยังนั่งเป็นประธานกรรมการบริหารหลายบริษัทในเครือกงสี ซึ่งก็ค่อยๆ ผ่องถ่ายให้แก่ลูกทั้ง 4 และยังเป็นประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดตรัง มีบทบาทในหอการค้าไทย เขาคือนักธุรกิจที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนตรัง เคยหนุนเนื่องพรรคประชาธิปัตย์ แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นแท่นการเมืองไทย เขาก็ไม่รีรอที่จะส่ง ไกรสิน ลูกชายหัวแก้หัวแหวนลงสมัคร ส.ส.ตรังภายใต้ปีกโอบของระบอบทักษิณ ส่วนหนึ่งอาจวาดหวังเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งการเมืองไว้ช่วยเกื้อหนุนธุรกิจ แต่ลูกเขาก็สอบตกทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องจับตาไปที่อังคารที่ 14 ก.ค.2558 ที่จะมีประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ของ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ซึ่งไม่ใช่แค่พิสูจน์ว่าสุรินทร์จะผลักดันให้ปลดป้าย SP และ NPG ของตลาด หลักทรัพย์ลงได้สำเร็จหรือไม่ แต่ยังจะเป็นการพิสูจน์พลังฝ่ายเขาและลูกๆ ทั้ง 4 ว่าจะครอบครองธุรกิจกงสีของตระกูลได้หรือไม่ด้วย
แท้จริงแล้ว 14 ก.ค.2558 นี้น่าจะเป็น "จุดไคลแม็กซ์" ในภาคแรกของหนังยาวเรื่อง "ศึกสายเลือด..โตทับเที่ยง" ก็ว่าได้ ซึ่งก็จะมีตอนต่อๆ ไปตามมาอีกยาวเหยียดแน่ นอน!?
บรรยายใต้ภาพ
สุธรรม โตทับเที่ยง พี่ชายคนโตของตระกูล
สุธรรม โตทับเที่ยงขณะเข้าพบนายอำเภอเมือง
สุรินทร์ โตทับเที่ยงในวันชี้แจง
โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา ธุรกิจกงสีกลางเมืองตรัง
ไกรเสริม โตทับเที่ยง บุตรชายคนที่ 2 ของสุธรรม
วิวาห์ใต้สมุทรซึ่งโด่งดังไปทั่วประเทศและทั่วโลก โดยฝีมือการผลักดันของสองพี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 มิ.ย. 2558--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 4
แจงขัดแย้งไม่กระทบปุ้มปุ้ย 'สุรินทร์'เล็งปรับโครงสร้างหนี้หวังเข้าระดมทุนตลาดหุ้นอีกครั้ง
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Tuesday, June 09, 2015 03:38
โพสต์ทูเดย์ "สุรินทร์" แจงขัดแย้งในตระกูล "โตทับเที่ยง" ไม่กระทบธุรกิจปุ้มปุ้ย
นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม เปิดเผยว่า ความ ขัดแย้งในตระกูลโตทับเที่ยงไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของกิจการต่างๆ ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา จะจัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 ก.ค.ที่บริษัทสำนักงานกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการขออนุมัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร และการแปลงหนี้เป็นทุนต่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ผู้ถือหุ้น
นายสุรินทร์ กล่าวว่า จากการที่บริษัทได้ถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม เอสพี และ นอน เพอร์ฟอร์มิง กรุ๊ป (เอ็นพีจี) ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้ไม่สามารถเข้ากระดานซื้อขายของตลาด หลักทรัพย์ฯ ได้เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่ได้รับประโยชน์จากการ ถือหุ้นของบริษัทเป็นระยะเวลาที่ยาวนานยาวนาน
อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทในครั้งนี้จะทำให้บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวก เมื่อผนวกกับผลประกอบการบริษัทจะมีกำไรถึง 4 ไตรมาสติดต่อกันรอเพียงผลประกอบการของไตรมาส 2 ของปีนี้ซึ่ง จะทำให้บริษัทมีปัจจัยเพียงพอ ตามเงื่อนไขที่จะขอออกจากกลุ่ม เอ็นพีจีตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จะ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนได้รับประโยชน์ที่บริษัทสามารถกลับเข้าไปใน กระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อีกครั้ง
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค. 2557 ทีม ผู้บริหารชุดใหม่ได้เข้ามาบริหารงาน ทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จากข้อมูลที่ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2557 จนถึงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะไตรมาสแรกของปีนี้มีผลกำไรสุทธิ 7.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2557 มีผลขาดทุนสุทธิรวม 10.03 ล้านบาท และคาดว่าตลอดปีนี้บริษัทจะมียอดขายและผลประกอบการที่ดีขึ้น
"ผลประกอบการที่ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าปัญหาความต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าปัญหาความขัดแย้งในตระกูลโตทับเที่ยงไม่ได้มีผลต่อการบริหาร รวมถึงการสร้างยอดขายและผลกำไรของบริษัท พนักงานบริษัทยังมีขวัญและกำลังใจทำงานร่วมกับบริษัทเพื่อสร้างความเจริญเติบโตร่วมกันต่อไป" นายสุรินทร์ กล่าว--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Tuesday, June 09, 2015 03:38
โพสต์ทูเดย์ "สุรินทร์" แจงขัดแย้งในตระกูล "โตทับเที่ยง" ไม่กระทบธุรกิจปุ้มปุ้ย
นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม เปิดเผยว่า ความ ขัดแย้งในตระกูลโตทับเที่ยงไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของกิจการต่างๆ ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา จะจัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 ก.ค.ที่บริษัทสำนักงานกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการขออนุมัติโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร และการแปลงหนี้เป็นทุนต่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ผู้ถือหุ้น
นายสุรินทร์ กล่าวว่า จากการที่บริษัทได้ถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม เอสพี และ นอน เพอร์ฟอร์มิง กรุ๊ป (เอ็นพีจี) ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้ไม่สามารถเข้ากระดานซื้อขายของตลาด หลักทรัพย์ฯ ได้เป็นผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่ได้รับประโยชน์จากการ ถือหุ้นของบริษัทเป็นระยะเวลาที่ยาวนานยาวนาน
อย่างไรก็ตาม หากที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทในครั้งนี้จะทำให้บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวก เมื่อผนวกกับผลประกอบการบริษัทจะมีกำไรถึง 4 ไตรมาสติดต่อกันรอเพียงผลประกอบการของไตรมาส 2 ของปีนี้ซึ่ง จะทำให้บริษัทมีปัจจัยเพียงพอ ตามเงื่อนไขที่จะขอออกจากกลุ่ม เอ็นพีจีตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จะ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นทุกคนได้รับประโยชน์ที่บริษัทสามารถกลับเข้าไปใน กระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อีกครั้ง
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค. 2557 ทีม ผู้บริหารชุดใหม่ได้เข้ามาบริหารงาน ทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จากข้อมูลที่ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2557 จนถึงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยเฉพาะไตรมาสแรกของปีนี้มีผลกำไรสุทธิ 7.6 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2557 มีผลขาดทุนสุทธิรวม 10.03 ล้านบาท และคาดว่าตลอดปีนี้บริษัทจะมียอดขายและผลประกอบการที่ดีขึ้น
"ผลประกอบการที่ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าปัญหาความต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าปัญหาความขัดแย้งในตระกูลโตทับเที่ยงไม่ได้มีผลต่อการบริหาร รวมถึงการสร้างยอดขายและผลกำไรของบริษัท พนักงานบริษัทยังมีขวัญและกำลังใจทำงานร่วมกับบริษัทเพื่อสร้างความเจริญเติบโตร่วมกันต่อไป" นายสุรินทร์ กล่าว--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 5
"ปุ้มปุ้ย" ชงแผนใหม่แปลงหนี้เป็นทุน เตรียมกลับเข้าเทรดในตลาดเอ็มเอไอ
Source - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th)
Tuesday, June 09, 2015 12:55
กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติกำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ โดยกำหนดวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ การรายงานเพื่อพิจารณาให้สัตยาบรรณเรื่องการลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับ KTB จากเดิมที่บริษัทได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กับ KTB ฉบับวันที่ 22 ธ.ค.49 บันทึกต่อท้ายสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครั้งที่ 1-6 นั้น บัดนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครั้งที่ 7 ฉบับลงวันที่ 21 พ.ค.58
โดยสาระสำคัญ คือ เงินต้นที่เหลือทั้งหมดประมาณ 488 ล้านบาท ให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 7 ปี , เงินต้นที่เหลือประมาณ 129 ล้านบาท ชำระให้เสร็จสิ้นภายในปีที่ 7 ,ดอกเบี้ยค้างชำระเดิมและเบี้ยปรับผิดนัดประมาณ 369,230,000 บาท ให้ดำเนินการแปลงดอกเบี้ยค้างชำระ 310,725,000 บาท เป็นหุ้นสามัญ ราคาหุ้นละ 25 บาท คิดเป็นจำนวนหุ้น 12,429,000 หุ้น และดอกเบี้ยค้างชำระที่เหลือ 58,505,000 บาท ให้ชำระในปีที่ 8
สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ KTB ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สถาบันการเงินรายเดียวของบริษัท ยินยอมตกลงให้นำดอกเบี้ยค้างชำระเดิมและเบี้ยปรับผิดนัดมาแปลงเป็นหุ้นสามัญ เพื่อทำให้บริษัทมีส่วนทุนเมื่อหักจากส่วนทุนที่ติดลบของบริษัทจำนวน 275 ล้านบาท ณ ไตรมาส 1/58 แล้วกลับมามีส่วนทุนเป็นบวกประมาณ 35.73 ล้านบาท เข้าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะขอนำหุ้นกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดทุนได้
นอกจากนี้การประชุมผู้ถือหุ้น ยังจะเสนอให้พิจารณาอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนเดิมที่ยังไม่ชำระจำนวน 13,380,001 หุ้น พร้อมกันนี้เห็นชอบอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 12,429,043 หุ้น เพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุนของ KTB
สำหรับประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการเพิ่มทุนนั้น บริษัทจะสามารถยื่นขอออกจากกลุ่ม NPG ของตลาดหลักทรัพย์ฯได้ พร้อมผลประกอบการที่มีกำไร 4 ไตรมาสติดต่อกันได้ทันที และเมื่อบริษัทสามารถนำหุ้นกลับเข้ากระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ แม้จะเป็นเบื้องต้นที่ตลาด mai แต่ทำให้การลงทุนของกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกคนกลับมามีมูลค่า สามารถซื่อขายได้ในตลาดทุนต่อไป และหากสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีขั้น ก็สามารถนำบริษัทกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้ต่อไป
โดยตามขั้นตอนคาดว่าการขออนุญาติจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการนำหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะประมาณภายในไตรมาส 4/58 หรือแล้วแต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาอนุมัติ
ทั้งนี้ POMPUI เป็นบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนระยะที่ 3 อันเนื่องมาจากปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงาน ต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานให้พ้นเหตุเพิกถอน--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th)
Tuesday, June 09, 2015 12:55
กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติกำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ โดยกำหนดวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ การรายงานเพื่อพิจารณาให้สัตยาบรรณเรื่องการลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับ KTB จากเดิมที่บริษัทได้ลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กับ KTB ฉบับวันที่ 22 ธ.ค.49 บันทึกต่อท้ายสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครั้งที่ 1-6 นั้น บัดนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครั้งที่ 7 ฉบับลงวันที่ 21 พ.ค.58
โดยสาระสำคัญ คือ เงินต้นที่เหลือทั้งหมดประมาณ 488 ล้านบาท ให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 7 ปี , เงินต้นที่เหลือประมาณ 129 ล้านบาท ชำระให้เสร็จสิ้นภายในปีที่ 7 ,ดอกเบี้ยค้างชำระเดิมและเบี้ยปรับผิดนัดประมาณ 369,230,000 บาท ให้ดำเนินการแปลงดอกเบี้ยค้างชำระ 310,725,000 บาท เป็นหุ้นสามัญ ราคาหุ้นละ 25 บาท คิดเป็นจำนวนหุ้น 12,429,000 หุ้น และดอกเบี้ยค้างชำระที่เหลือ 58,505,000 บาท ให้ชำระในปีที่ 8
สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ KTB ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สถาบันการเงินรายเดียวของบริษัท ยินยอมตกลงให้นำดอกเบี้ยค้างชำระเดิมและเบี้ยปรับผิดนัดมาแปลงเป็นหุ้นสามัญ เพื่อทำให้บริษัทมีส่วนทุนเมื่อหักจากส่วนทุนที่ติดลบของบริษัทจำนวน 275 ล้านบาท ณ ไตรมาส 1/58 แล้วกลับมามีส่วนทุนเป็นบวกประมาณ 35.73 ล้านบาท เข้าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะขอนำหุ้นกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดทุนได้
นอกจากนี้การประชุมผู้ถือหุ้น ยังจะเสนอให้พิจารณาอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนเดิมที่ยังไม่ชำระจำนวน 13,380,001 หุ้น พร้อมกันนี้เห็นชอบอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 12,429,043 หุ้น เพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุนของ KTB
สำหรับประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการเพิ่มทุนนั้น บริษัทจะสามารถยื่นขอออกจากกลุ่ม NPG ของตลาดหลักทรัพย์ฯได้ พร้อมผลประกอบการที่มีกำไร 4 ไตรมาสติดต่อกันได้ทันที และเมื่อบริษัทสามารถนำหุ้นกลับเข้ากระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ แม้จะเป็นเบื้องต้นที่ตลาด mai แต่ทำให้การลงทุนของกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกคนกลับมามีมูลค่า สามารถซื่อขายได้ในตลาดทุนต่อไป และหากสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีขั้น ก็สามารถนำบริษัทกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้ต่อไป
โดยตามขั้นตอนคาดว่าการขออนุญาติจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการนำหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะประมาณภายในไตรมาส 4/58 หรือแล้วแต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาอนุมัติ
ทั้งนี้ POMPUI เป็นบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนระยะที่ 3 อันเนื่องมาจากปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงาน ต้องปรับปรุงฐานะการเงินและการดำเนินงานให้พ้นเหตุเพิกถอน--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 6
"สุรินทร์" ลั่นเข้ามากู้วิกฤตปุ้มปุ้ยลั่นเดินหน้าธุรกิจไม่สนขัดแย้ง
Source - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (Th)
Monday, June 22, 2015 21:30
"สุรินทร์ โตทับเที่ยง" แถลงยืนยันเข้ามาดูแลธุรกิจ "ปุ้มปุ้ย" ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นจนสร้างกำไร ชี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่กระทบ
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม แถลงว่า บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล หรือ "ปุ้มปุ้ย" ก่อกำเนิดเป็นบริษัทจำกัดเมื่อปี 2521 และในปี 2537 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ต่อมาเมื่อปี 2538 ได้นำกิจการเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของกิจการนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ทั้งนี้ กิจการของปุ้มปุ้ย หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการมาได้ด้วยดีระดับหนึ่ง จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ปุ้มปุ้ยก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้หนี้สินจากการกู้ยืมเงินต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในชั่วข้ามคืน ตนและฝ่ายบริหาร ตัดสินใจนำกิจการเข้าปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นคนกลาง ซึ่งเจ้าหนี้ 17 สถาบันการเงินยอมผ่อนปรนใช้เครื่องมือทางการเงินโดยขยายการชำระหนี้ มีการแปลงหนี้เป็นทุนบางส่วน และตั้งหนี้ไว้ในอนาคต โดยในช่วงเวลา 6 ปีภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ตนและฝ่ายบริหาร สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ ทำให้หุ้นของปุ้มปุ้ยที่อยู่ในกลุ่ม SPมาตั้งแต่ปี 2540 จึงได้กลับมาซื้อขายอีกครั้งในปี 2546
นายสุรินทร์ แถลงว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทในเครือปุ้มปุ้ย เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แต่ยังมีการใช้จ่ายในงบประมาณที่สูงไม่ได้สัดส่วนกับรายได้ บริษัทจึงมีผลขาดทุน และถูกตั้งสำรองหนี้ ทำให้หุ้นของบริษัทถูกระงับการซื้อขายอีกครั้งในปี 2548 โดยถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม SP และ Non Performing Group (NPG) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จนสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ตนและฝ่ายบริหารจึงเริ่มเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารอีกครั้ง
"เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่บริษัทไม่สามารถมีผลประกอบการที่เป็นกำไรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากบริษัทยังอยู่ในสถานะการณ์เช่นนี้ อาจจะส่งผลให้ถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ภายในปี 2558 ซึ่งจะเป็นความเสียหายใหญ่หลวงต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อยอีกทั้งยังปรากฎว่า ตั้งแต่ต้นปี 2557 ฝ่ายบริหารชุดเดิมมีการกระทำที่เข้าข่ายต่อการกระทำผิดธรรมาภิบาล โดยให้การสนับสนุนธุรกรรมกับบริษัทการค้าแห่งหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพียง 600,000 บาท นำธุรกรรมการค้าเงินสด บุคลากร และอุปกรณ์ รถยนต์ฝ่ายขายของปุ้มปุ้ยไปใช้ดำเนินการ ซึ่งฝ่ายตรวจสอบพบว่ามีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางกฎหมย และก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ธุรกรรมการค้าของบริษัท ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทเสียงส่วนใหญ่ จึงต้องมีมติให้หยุดธุรกรรมที่มีปัญหาทั้งหมด และมีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง เป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจนปัจจุบัน"นายสุรินทร์กล่าว
นายสุรินทร์ แถลงอีกว่า คณะผู้บริหารชุดใหม่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อเดือนก.ค. 2557 ได้พยายามปรับปรุงการบริหารงาน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มยอดขาย ทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตรงตามเกณฑ์ที่จะขอกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง ปรากฏดังนี้ ไตรมาสที่ 3/2557 ขาดทุน 17.60 ล้านบาท ไตรมาสที่ 4/2557 กำไร 10.82 ล้านบาท ไตรมาสที่ 1/2558 กำไร 7.6 ล้านบาท ไตรมาสที่ 2/2558 (ยอดยังไม่ได้ตรวจสอบ เม.ย.-พ.ค.) กำไร 9.71 ล้านบาท รวมกำไร 10.54 ล้านบาท
"บริษัทในเครือปุ้มปุ้ยขอยืนยันว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่เป็นผลต่อการบริหารกิจการแต่อย่างใด บริษัทยังคงมียอดจำหน่ายสินค้าที่สูงขึ้น มีผลประกอบการที่ดีขึ้น และมีแผนงานที่จะขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออกไปอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ปุมปุ้ย คำนึงถึงประโยชน์ของมหาชนเป็นที่ตั้ง และกำลังดำเนินการนำบริษัทกลับเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ"นายสุรินทร์กล่าว
นายสุรินทร์กล่าวว่า ขอเชิญชวนผู้ถือหุ้นเข้าร่วมสนับสนุนการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 ก.ค.นี้เวลา 11:00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 ของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ
ที่มา: www.posttoday.com
Source - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ (Th)
Monday, June 22, 2015 21:30
"สุรินทร์ โตทับเที่ยง" แถลงยืนยันเข้ามาดูแลธุรกิจ "ปุ้มปุ้ย" ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นจนสร้างกำไร ชี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่กระทบ
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ยปลายิ้ม แถลงว่า บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล หรือ "ปุ้มปุ้ย" ก่อกำเนิดเป็นบริษัทจำกัดเมื่อปี 2521 และในปี 2537 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ต่อมาเมื่อปี 2538 ได้นำกิจการเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของกิจการนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ทั้งนี้ กิจการของปุ้มปุ้ย หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการมาได้ด้วยดีระดับหนึ่ง จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ปุ้มปุ้ยก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้หนี้สินจากการกู้ยืมเงินต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในชั่วข้ามคืน ตนและฝ่ายบริหาร ตัดสินใจนำกิจการเข้าปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นคนกลาง ซึ่งเจ้าหนี้ 17 สถาบันการเงินยอมผ่อนปรนใช้เครื่องมือทางการเงินโดยขยายการชำระหนี้ มีการแปลงหนี้เป็นทุนบางส่วน และตั้งหนี้ไว้ในอนาคต โดยในช่วงเวลา 6 ปีภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ตนและฝ่ายบริหาร สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ ทำให้หุ้นของปุ้มปุ้ยที่อยู่ในกลุ่ม SPมาตั้งแต่ปี 2540 จึงได้กลับมาซื้อขายอีกครั้งในปี 2546
นายสุรินทร์ แถลงว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทในเครือปุ้มปุ้ย เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แต่ยังมีการใช้จ่ายในงบประมาณที่สูงไม่ได้สัดส่วนกับรายได้ บริษัทจึงมีผลขาดทุน และถูกตั้งสำรองหนี้ ทำให้หุ้นของบริษัทถูกระงับการซื้อขายอีกครั้งในปี 2548 โดยถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม SP และ Non Performing Group (NPG) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จนสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ตนและฝ่ายบริหารจึงเริ่มเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารอีกครั้ง
"เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่บริษัทไม่สามารถมีผลประกอบการที่เป็นกำไรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากบริษัทยังอยู่ในสถานะการณ์เช่นนี้ อาจจะส่งผลให้ถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ภายในปี 2558 ซึ่งจะเป็นความเสียหายใหญ่หลวงต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อยอีกทั้งยังปรากฎว่า ตั้งแต่ต้นปี 2557 ฝ่ายบริหารชุดเดิมมีการกระทำที่เข้าข่ายต่อการกระทำผิดธรรมาภิบาล โดยให้การสนับสนุนธุรกรรมกับบริษัทการค้าแห่งหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพียง 600,000 บาท นำธุรกรรมการค้าเงินสด บุคลากร และอุปกรณ์ รถยนต์ฝ่ายขายของปุ้มปุ้ยไปใช้ดำเนินการ ซึ่งฝ่ายตรวจสอบพบว่ามีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางกฎหมย และก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ธุรกรรมการค้าของบริษัท ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทเสียงส่วนใหญ่ จึงต้องมีมติให้หยุดธุรกรรมที่มีปัญหาทั้งหมด และมีการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง เป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจนปัจจุบัน"นายสุรินทร์กล่าว
นายสุรินทร์ แถลงอีกว่า คณะผู้บริหารชุดใหม่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อเดือนก.ค. 2557 ได้พยายามปรับปรุงการบริหารงาน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มยอดขาย ทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตรงตามเกณฑ์ที่จะขอกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง ปรากฏดังนี้ ไตรมาสที่ 3/2557 ขาดทุน 17.60 ล้านบาท ไตรมาสที่ 4/2557 กำไร 10.82 ล้านบาท ไตรมาสที่ 1/2558 กำไร 7.6 ล้านบาท ไตรมาสที่ 2/2558 (ยอดยังไม่ได้ตรวจสอบ เม.ย.-พ.ค.) กำไร 9.71 ล้านบาท รวมกำไร 10.54 ล้านบาท
"บริษัทในเครือปุ้มปุ้ยขอยืนยันว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่เป็นผลต่อการบริหารกิจการแต่อย่างใด บริษัทยังคงมียอดจำหน่ายสินค้าที่สูงขึ้น มีผลประกอบการที่ดีขึ้น และมีแผนงานที่จะขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออกไปอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ปุมปุ้ย คำนึงถึงประโยชน์ของมหาชนเป็นที่ตั้ง และกำลังดำเนินการนำบริษัทกลับเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ"นายสุรินทร์กล่าว
นายสุรินทร์กล่าวว่า ขอเชิญชวนผู้ถือหุ้นเข้าร่วมสนับสนุนการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 ก.ค.นี้เวลา 11:00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 ของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ
ที่มา: www.posttoday.com
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 7
ลูกชาย'สุรินทร์'ยันเคารพผู้ใหญ่ มุ่งสร้างชื่อ'โตทับเที่ยง-ปุ้มปุ้ย'
Source - มติชน (Th)
Tuesday, June 23, 2015 02:39
กรณีที่ นายสุธรรม โตทับเที่ยง พี่ใหญ่ตระกูล "โตทับเที่ยง" เจ้าของกิจการบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ "ปุ้มปุ้ย" และโรงแรมธรรมรินทร์ โรงแรมชื่อดังจังหวัดตรัง พร้อมพี่น้อง อาทิ นายสลิล โตทับเที่ยง อดีตประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ร่วมกันแถลงข่าว กรณีตัวแทนฝ่ายพี่น้อง 9 คน สกุลโตทับเที่ยง ประกาศไม่ให้ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง (น้องชายนายสุธรรม) พร้อมทายาทสายตรงของนายสุรินทร์ ใช้นามสกุล "โตทับเที่ยง" เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน นายไกรสิน โตทับเที่ยง บุตรชายของ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง กล่าวว่า ยังยืนยันตลอดเวลา ว่าให้ความเคารพต่อญาติ ผู้ใหญ่ ทุกท่านในตระกูลโตทับเที่ยง และอาจมีหลายเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะมองคนละมุม คนละมิติ แต่อย่างไรก็พร้อมที่จะมีการพูดคุย และที่ผ่านมาก็มีการพูดคุยกันมาตลอด
นายไกรสินกล่าวว่า สำหรับเรื่องนามสกุลนั้น ในฐานะคนที่ใช้นามสกุล ก็มีความรัก ความผูกพัน และต้องการสร้างชื่อเสียงให้กับวงศ์ตระกูล ตลอดเวลาที่ผ่านก็พยายามที่จะต่อสู้เพื่อเกียรติของครอบครัว แบรนด์ปุ้มปุ้ย เข้าตลาดหลักทรัพย์ และถูกแขวนมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ส่งผลต่อผู้ถือหุ้นทุกระดับ การเข้ามาบริหารอยู่บนความตั้งใจที่จะให้ผู้ถือหุ้น รวมทั้งชื่อเสียงของปุ้มปุ้ยกลับคืนมา โดยตนถูกชักจูงให้เข้ามาบริหารโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัท เนื่องจากเห็นว่ามีความสามารถจากการที่สามารถปรับโครงสร้างของโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จนพลิกฟื้นกลับมาได้
นายไกรสินกล่าวอีกว่า สาธารณชนทั่วไปต่างก็รับรู้ว่า ครอบครัว ตระกูลไหน ที่เป็นผู้บริหาร แบรนด์ปุ้มปุ้ย ตนมีความตั้งใจที่นำปุ้มปุ้ยกลับไปสู่จุดที่มีชื่อเสียง และความยอมรับ รวมทั้งนำชื่อเสียงกลับมาให้กับวงศ์ตระกูล เมื่อมีข่าวว่าได้มีการปลดพี่น้องออกจากการบริหารนั้น หลายคนที่ไปร่วมแถลงข่าวด้วยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา ก็ยังคงทำงานอยู่ในบริษัท รวมทั้งหลายคนก็มีคดีความอยู่ในบริษัท แต่เรื่องเหล่านี้ก็จะดำเนินไปตามกระบวนการของกฎหมาย--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
Source - มติชน (Th)
Tuesday, June 23, 2015 02:39
กรณีที่ นายสุธรรม โตทับเที่ยง พี่ใหญ่ตระกูล "โตทับเที่ยง" เจ้าของกิจการบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ "ปุ้มปุ้ย" และโรงแรมธรรมรินทร์ โรงแรมชื่อดังจังหวัดตรัง พร้อมพี่น้อง อาทิ นายสลิล โตทับเที่ยง อดีตประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ร่วมกันแถลงข่าว กรณีตัวแทนฝ่ายพี่น้อง 9 คน สกุลโตทับเที่ยง ประกาศไม่ให้ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง (น้องชายนายสุธรรม) พร้อมทายาทสายตรงของนายสุรินทร์ ใช้นามสกุล "โตทับเที่ยง" เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน นายไกรสิน โตทับเที่ยง บุตรชายของ นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง กล่าวว่า ยังยืนยันตลอดเวลา ว่าให้ความเคารพต่อญาติ ผู้ใหญ่ ทุกท่านในตระกูลโตทับเที่ยง และอาจมีหลายเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะมองคนละมุม คนละมิติ แต่อย่างไรก็พร้อมที่จะมีการพูดคุย และที่ผ่านมาก็มีการพูดคุยกันมาตลอด
นายไกรสินกล่าวว่า สำหรับเรื่องนามสกุลนั้น ในฐานะคนที่ใช้นามสกุล ก็มีความรัก ความผูกพัน และต้องการสร้างชื่อเสียงให้กับวงศ์ตระกูล ตลอดเวลาที่ผ่านก็พยายามที่จะต่อสู้เพื่อเกียรติของครอบครัว แบรนด์ปุ้มปุ้ย เข้าตลาดหลักทรัพย์ และถูกแขวนมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ส่งผลต่อผู้ถือหุ้นทุกระดับ การเข้ามาบริหารอยู่บนความตั้งใจที่จะให้ผู้ถือหุ้น รวมทั้งชื่อเสียงของปุ้มปุ้ยกลับคืนมา โดยตนถูกชักจูงให้เข้ามาบริหารโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัท เนื่องจากเห็นว่ามีความสามารถจากการที่สามารถปรับโครงสร้างของโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จนพลิกฟื้นกลับมาได้
นายไกรสินกล่าวอีกว่า สาธารณชนทั่วไปต่างก็รับรู้ว่า ครอบครัว ตระกูลไหน ที่เป็นผู้บริหาร แบรนด์ปุ้มปุ้ย ตนมีความตั้งใจที่นำปุ้มปุ้ยกลับไปสู่จุดที่มีชื่อเสียง และความยอมรับ รวมทั้งนำชื่อเสียงกลับมาให้กับวงศ์ตระกูล เมื่อมีข่าวว่าได้มีการปลดพี่น้องออกจากการบริหารนั้น หลายคนที่ไปร่วมแถลงข่าวด้วยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา ก็ยังคงทำงานอยู่ในบริษัท รวมทั้งหลายคนก็มีคดีความอยู่ในบริษัท แต่เรื่องเหล่านี้ก็จะดำเนินไปตามกระบวนการของกฎหมาย--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 8
หน้าแรก
เมนูข่าว
ค้นหา
"ปุ้มปุ้ย" ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น มีมติเห็นชอบแปลงหนี้เป็นทุน เดินหน้ากลับสู่ตลาดหลักทรัพย์
updated: 14 ก.ค. 2558 เวลา 16:12:59 น.
ก ก ก
วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 รายงานข่าวจากบริษัทปุ้มปุ้ย ระบุว่า ปุ้มปุ้ยประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น มีมติเห็นชอบแปลงหนี้เป็นทุน เดินหน้ากลับสู่ตลาดหลักทรัพย์
นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) ได้ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม บริษัทฯ ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ณ ห้องประชุมชั้น5 ของบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ อาคารธนสาร เลขที่ 43 ถนนเชียงใหม่ เขตคลองสาน กรุงเทพ โดยผู้ถือหุ้นและผู้มอบฉันทะเข้าร่วมประชุมรวมจำนวน 188 ท่าน นับจำนวนหุ้นได้ 30,217,477 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 80.32% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดถือเป็นครบองค์ประชุม
การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย โดยสาระสำคัญของการประชุมคือ ที่ประชุมมีมติสนับสนุนเสียงส่วนใหญ่ตามมติพิเศษในการเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่ เพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุนของสถาบันการเงิน อันจะทำให้บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวก ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ บริษัทจะได้ดำเนินการเพื่อนำบริษัทกลับเข้าไปซื้อขายในกระดานหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
รายงานข่าวจากบริษัทปุ้มปุ้ย ระบุว่า สำหรับบรรยากาศการประชุม ผู้ถือหุ้นได้ให้การสนับสนุนในการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้และมีความยินดีที่ได้เห็นบริษัทฯ มีทิศทางในการเติบโตที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นได้มีการสอบถามเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการทำธุรกรรมที่มีปัญหากับบริษัท จ้าว จำกัด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้ชี้แจงว่า บริษัทได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส และได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษไปแล้ว ซึ่งหากมีความคืบหน้าจะได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบต่อไป
นายสุรินทร์ ได้กล่าวต่อว่า ข่าวความขัดแย้งในครอบครัวนั้น ตนเองไม่ได้มีความกังวลหรือกดดันกับข่าวแต่ประการใด ที่ผ่านมาเป็นเพียงการเข้าใจผิด อย่างไรก็ตามคงต้องแยกเรื่องงานกับเรื่องความขัดแย้งออกจากกัน เมื่อบริษัทสามารถนำหุ้นกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว ตนเองจะขอเป็นผู้ที่ไปเจราจาไกล่เกลี่ย อยากจะให้พี่น้องในครอบครัวได้หันหน้ามาพูดคุยกันด้วยเหตุผล ทั้งนี้ ตนเองพร้อมเป็นผู้นำที่จะสร้างปุ้มปุ้ยให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้นกว่าเดิม และก้าวไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนอย่างสมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อยต่อไป
เมนูข่าว
ค้นหา
"ปุ้มปุ้ย" ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น มีมติเห็นชอบแปลงหนี้เป็นทุน เดินหน้ากลับสู่ตลาดหลักทรัพย์
updated: 14 ก.ค. 2558 เวลา 16:12:59 น.
ก ก ก
วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 รายงานข่าวจากบริษัทปุ้มปุ้ย ระบุว่า ปุ้มปุ้ยประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น มีมติเห็นชอบแปลงหนี้เป็นทุน เดินหน้ากลับสู่ตลาดหลักทรัพย์
นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) ได้ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม บริษัทฯ ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 ณ ห้องประชุมชั้น5 ของบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ อาคารธนสาร เลขที่ 43 ถนนเชียงใหม่ เขตคลองสาน กรุงเทพ โดยผู้ถือหุ้นและผู้มอบฉันทะเข้าร่วมประชุมรวมจำนวน 188 ท่าน นับจำนวนหุ้นได้ 30,217,477 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 80.32% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดถือเป็นครบองค์ประชุม
การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย โดยสาระสำคัญของการประชุมคือ ที่ประชุมมีมติสนับสนุนเสียงส่วนใหญ่ตามมติพิเศษในการเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่ เพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุนของสถาบันการเงิน อันจะทำให้บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวก ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ บริษัทจะได้ดำเนินการเพื่อนำบริษัทกลับเข้าไปซื้อขายในกระดานหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
รายงานข่าวจากบริษัทปุ้มปุ้ย ระบุว่า สำหรับบรรยากาศการประชุม ผู้ถือหุ้นได้ให้การสนับสนุนในการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้และมีความยินดีที่ได้เห็นบริษัทฯ มีทิศทางในการเติบโตที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นได้มีการสอบถามเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการทำธุรกรรมที่มีปัญหากับบริษัท จ้าว จำกัด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้ชี้แจงว่า บริษัทได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส และได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษไปแล้ว ซึ่งหากมีความคืบหน้าจะได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบต่อไป
นายสุรินทร์ ได้กล่าวต่อว่า ข่าวความขัดแย้งในครอบครัวนั้น ตนเองไม่ได้มีความกังวลหรือกดดันกับข่าวแต่ประการใด ที่ผ่านมาเป็นเพียงการเข้าใจผิด อย่างไรก็ตามคงต้องแยกเรื่องงานกับเรื่องความขัดแย้งออกจากกัน เมื่อบริษัทสามารถนำหุ้นกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว ตนเองจะขอเป็นผู้ที่ไปเจราจาไกล่เกลี่ย อยากจะให้พี่น้องในครอบครัวได้หันหน้ามาพูดคุยกันด้วยเหตุผล ทั้งนี้ ตนเองพร้อมเป็นผู้นำที่จะสร้างปุ้มปุ้ยให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้นกว่าเดิม และก้าวไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนอย่างสมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อยต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 9
ปุ้มปุ้ย กำไรไตรมาส 3 พุ่ง เตรียมกลับเข้าตลาดฯ ปี 60 จ่ายโบนัส 2 เดือน
นายไกรสิน โตทับเที่ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลประกอบการของปุ้มปุ้ย ไตรมาสที่ 3/2559 บริษัท มีรายได้รวม 376 ล้านบาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ถึง 10.6% มียอดกำไรสุทธิ 22.37 ล้านบาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ถึง 39% รวมถึงมีกำไรรวม 3 ไตรมาสติดต่อกัน 35 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทสามารถปรับส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) กลับมาเป็นบวกได้ จากผลการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก จำนวน 82.79 ล้านบาท และบริษัทมีภาระหนี้ลดลง 339 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่บริษัทกลับรายการส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงินเป็นบวกได้ในไตรมาสนี้ และยังปรากฏว่าบริษัทมีแนวโน้มในผลประกอบการกำไรสุทธิเป็นบวกสูงสุดต่อเนื่องสองปีติดต่อกัน มียอดขายที่เติบโตจากการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มผู้บริหารปัจจุบัน ที่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลและประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายเป็นบรรทัดฐาน และจากผลการประกอบการที่ปรากฏ บริษัทคาดว่าในปี 2560 บริษัทจะสามารถขอดำเนินการกลับเข้าไปซื้อขายหุ้นปุ้มปุ้ยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ฝ่ายบริหารจึงได้ขอนำเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาขออนุมัติให้บริษัทสามารถจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานที่ช่วยบริษัทในการทำงานอย่างทุ่มเท ในอัตราเฉลี่ย 2 เดือนของเงินเดือนพนักงานในปี 2559 นี้ด้วย
นายไกรสิน โตทับเที่ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลประกอบการของปุ้มปุ้ย ไตรมาสที่ 3/2559 บริษัท มีรายได้รวม 376 ล้านบาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ถึง 10.6% มียอดกำไรสุทธิ 22.37 ล้านบาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ถึง 39% รวมถึงมีกำไรรวม 3 ไตรมาสติดต่อกัน 35 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทสามารถปรับส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) กลับมาเป็นบวกได้ จากผลการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก จำนวน 82.79 ล้านบาท และบริษัทมีภาระหนี้ลดลง 339 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่บริษัทกลับรายการส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงินเป็นบวกได้ในไตรมาสนี้ และยังปรากฏว่าบริษัทมีแนวโน้มในผลประกอบการกำไรสุทธิเป็นบวกสูงสุดต่อเนื่องสองปีติดต่อกัน มียอดขายที่เติบโตจากการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มผู้บริหารปัจจุบัน ที่คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลและประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายเป็นบรรทัดฐาน และจากผลการประกอบการที่ปรากฏ บริษัทคาดว่าในปี 2560 บริษัทจะสามารถขอดำเนินการกลับเข้าไปซื้อขายหุ้นปุ้มปุ้ยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
จากผลประกอบการที่เติบโตอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ฝ่ายบริหารจึงได้ขอนำเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาขออนุมัติให้บริษัทสามารถจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานที่ช่วยบริษัทในการทำงานอย่างทุ่มเท ในอัตราเฉลี่ย 2 เดือนของเงินเดือนพนักงานในปี 2559 นี้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 11
POMPUI ไตรมาส 3/59 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 22.37 ลบ.
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Friday, November 11, 2016 17:04
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 พ.ย. 59)--ปุ้มปุ้ย ไตรมาส 3/59 มีกำไรสุทธิ 22.37 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.48 บาท
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 16.12 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.43 บาท
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ
งวดไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 สรุปได้ดังนี้
สอบทาน/ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาส 3 งวด 9 เดือน
ปี 2559 2558 2559 2558
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 22,368 16,116 35,007 38,648
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.48 0.43 0.86 1.03
--อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Friday, November 11, 2016 17:04
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 พ.ย. 59)--ปุ้มปุ้ย ไตรมาส 3/59 มีกำไรสุทธิ 22.37 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.48 บาท
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 16.12 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.43 บาท
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ
งวดไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 สรุปได้ดังนี้
สอบทาน/ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาส 3 งวด 9 เดือน
ปี 2559 2558 2559 2558
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 22,368 16,116 35,007 38,648
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.48 0.43 0.86 1.03
--อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 12
คอลัมน์แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น : POMPUI กับ เจ้าหนี้ใจบุญ
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Wednesday, September 07, 2016 04:07
กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--ข่าวหุ้น
ตอนแรกสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา ใครก็เข้าใจไปว่า การที่ธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ได้มาซึ่งหุ้นของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI เป็นผลพลอยได้ระดับ “ตาอยู่” จากความขัดแย้งอันยาวนานร่วม 2 ทศวรรษของพี่น้องตระกูล โตทับเที่ยงของจังหวัดตรังที่ร่วมถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว
เอาเข้าจริงกลับไม่ใช่ เพราะเวลาผ่านไปแค่ยังไม่ถึงเดือน หุ้นที่ KTB ได้มาครึ่งหนึ่งฟรี จากการปรับโครงสร้างหนี้ของ POMPUI ก็ถูกขายกลับไปให้กับคนของตระกูลโตทับเที่ยงเสียแล้วด้วยราคาที่ต่ำกว่าการตีราคาที่ได้มาชนิด....ขาดทุนป่นปี้
โดยอ้างว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของการปรับโครงสร้างหนี้ที่ทำไว้ก่อนแล้ว
มองย้อนกลับไปในอดีต POMPUI เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลกระป๋อง ที่ชื่อเสียงเคยโด่งดังจากจังหวัดตรัง และ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น
เมื่อแรกเข้าตลาด POMPUI ถือเป็นบริษัทดาวรุ่ง ที่มาจากภูธรภาคใต้ ราคาหุ้นเคยพุ่งสู่จุดสูงสุดถึง 64.00 บาท แต่หลังจากเผชิญมรสุมสำคัญครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ราคาหุ้นก็วิ่งต่ำลงไปที่ระดับ 3.00 บาท ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาครั้งที่สองในช่วงปี 2546 ที่ตลาดหุ้นไทยกลับมาฟื้นตัวรุนแรง ราคาวิ่งขึ้นมาถึง 17.60 บาท ทั้งที่ฐานะการเงินเปราะบาง เนื่องจากฐานะการเงินเลวร้ายเรื้อรัง มีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบเรื้อรัง และยังตามมาด้วย “ศึกสายเลือด” ระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง อันยืดเยื้อ ยังมีขาดทุนสะสมบานเบอะ จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ จนถึงขั้นยื่นมอบตัวเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในปลายปี 2548
ราคาปิดสุดท้ายตอนที่หยุดซื้อขายคือ 2.16 บาท
แม้จะหยุดการซื้อขายนานกว่าเกือบ 11 ปี แต่ POMPUI ก็ยังคงรายงานงบการเงินต่อตลาดและนักลงทุนต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากผลประกอบการ ระหว่างปีละ 1,200-1,500 ล้านบาท แต่ละปีมีกำไรสลับขาดทุน แต่ผลประกอบการงวดไตรมาสแรกของปีนี้ มีรายได้ลดฮวบแค่ 279.03 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.37 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท
ปมปัญหาทางการเงินใหญ่สุดของ POMPUI อยู่ที่ยังมีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบอยู่เล็กน้อย 257.57 ล้านบาท ทำให้ยากที่จะมีคำตอบว่าจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งเมื่อใด โดยไม่ต้องพูดถึงการจ่ายปันผล เพราะตัวเลขขาดทุนสะสมยังมีอยู่ 725.15 ล้านบาท
การฟื้นตัวที่ล่าช้า และยังมีหนี้สินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้อีก 784.45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภายในครอบครัวที่ “ยุ่งเป็นยุงตีกัน” เนื่องจากข้อพิพาท ระหว่างกลุ่มนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ POMPUI กับคนอื่นๆ ที่ร่วมถือหุ้นใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็น “กงสี” ของครอบครัว และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ POMPUI ถึงขั้น ไม่เผาผีกัน
ข้อพิพาท “ศึกสายเลือด” ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะแต่ละฝ่ายของคู่กรณีก็นำเหตุผลมาโจมตีอีกฝ่าย และ ป้องกันตัวเองเต็มที่ เป็นที่โด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดตรัง ที่เป็นรากฐานของธุรกิจตระกูลนี้มายาวนาน 2 ชั่วอายุคน นับแต่ยุคผู้ก่อตั้ง นายโต๋ว ง่วนเตียว และนางยิ่ง โตทับเที่ยง ผู้วางรากฐานให้แบรนด์ปลากระป๋อง ปลายิ้ม ที่นายสุรินทร์เสมือนหนึ่งเป็น “ตัวเปิด” ของคนในตระกูล
ข้อพิพาทที่จบไม่ลงระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง ที่ถือหุ้นร่วมใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นนิติบุคคลที่ถือหุ้นใหญ่สุดในของ POMPUI นับแต่เริ่มต้นจดทะเบียนในตลาดฯมาตั้งแต่ปี 2538 เป็นข่าวออกมาไม่ต่อเนื่อง แต่ก็เกิดขึ้นยาวนาน และเป็นที่ทราบกันดี
ต้นเดือนสิงหาคม KTB แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่าได้เข้าถือหุ้นสามัญของ POMPUI จำนวน 12,429,000 หุ้น หรือ 24.83% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยไม่ได้ใช้เงินสด แต่เกิดจากการตีราคามูลค่าของบริษัทต่อหุ้น เพื่อแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัท ในราคาหุ้นละ 25.00 บาท สูงกว่าราคาพาร์หุ้นละ 10.00 บาท
แล้วก็จะแพงขึ้นไปอีก หากเทียบกับข้อเท็จจริงที่ว่า มูลค่าตามบุ๊คแวลู ของ POMPUI ล่าสุด ติดลบถึงหุ้นละ 6.85 บาท …เป็นเจ้าหนี้ที่ใจบุญอย่างยิ่งยวด
นั่นยังไม่พอ เพราะล่าสุด วันที่ 1 กันยายน โดยนางวลัยรัตน์ เลิสพรอำไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ได้จำหน่าย หุ้นสามัญจำนวน 6.214 ล้านหุ้นหรือ 12.42% คืนให้กับนายไกรสิน โตทับเที่ยง กรรมการ และผู้ถือหุ้นอันดับที่ 3 ของก POMPUI ในมูลค่ารวม 31.00 ล้านบาท
คิดคำนวณแล้ว ขายไปในราคา 4..988 บาท ต่อหุ้น ..หรือคิดง่ายๆ ก็คือ 5.00 บาท
เหลือหุ้นที่ KTB จะต้องถือต่อไปที่ 6,214,500 หุ้น หรือ 12.42% ซึ่งส่วนที่เหลือนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าจะขายต่อไปใหใคร
ประเด็นสำคัญคือ KTB ได้เงินคืน จากหนี้เรียบร้อยแล้ว 31.00 ล้านบาท
การได้มาในราคาที่แพงเกินมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะไม่ได้จ่ายเงินสด แต่กกลับขายออกๆ ไปเพื่อได้เงินสดกลับมาเพียงน้อยนิด ถือเป็นความเมตตากรุณาอย่างยิ่งยวด
หาไม่ได้ง่ายๆ อีกแล้ว
งานนี้ คนบางคนในตระกูล โตทับเที่ยง คงจะลืมชื่อ KTB ไม่ได้เลย
“อิ อิ อิ”--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Wednesday, September 07, 2016 04:07
กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--ข่าวหุ้น
ตอนแรกสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา ใครก็เข้าใจไปว่า การที่ธนาคากรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ได้มาซึ่งหุ้นของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI เป็นผลพลอยได้ระดับ “ตาอยู่” จากความขัดแย้งอันยาวนานร่วม 2 ทศวรรษของพี่น้องตระกูล โตทับเที่ยงของจังหวัดตรังที่ร่วมถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว
เอาเข้าจริงกลับไม่ใช่ เพราะเวลาผ่านไปแค่ยังไม่ถึงเดือน หุ้นที่ KTB ได้มาครึ่งหนึ่งฟรี จากการปรับโครงสร้างหนี้ของ POMPUI ก็ถูกขายกลับไปให้กับคนของตระกูลโตทับเที่ยงเสียแล้วด้วยราคาที่ต่ำกว่าการตีราคาที่ได้มาชนิด....ขาดทุนป่นปี้
โดยอ้างว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของการปรับโครงสร้างหนี้ที่ทำไว้ก่อนแล้ว
มองย้อนกลับไปในอดีต POMPUI เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลกระป๋อง ที่ชื่อเสียงเคยโด่งดังจากจังหวัดตรัง และ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น
เมื่อแรกเข้าตลาด POMPUI ถือเป็นบริษัทดาวรุ่ง ที่มาจากภูธรภาคใต้ ราคาหุ้นเคยพุ่งสู่จุดสูงสุดถึง 64.00 บาท แต่หลังจากเผชิญมรสุมสำคัญครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ราคาหุ้นก็วิ่งต่ำลงไปที่ระดับ 3.00 บาท ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาครั้งที่สองในช่วงปี 2546 ที่ตลาดหุ้นไทยกลับมาฟื้นตัวรุนแรง ราคาวิ่งขึ้นมาถึง 17.60 บาท ทั้งที่ฐานะการเงินเปราะบาง เนื่องจากฐานะการเงินเลวร้ายเรื้อรัง มีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบเรื้อรัง และยังตามมาด้วย “ศึกสายเลือด” ระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง อันยืดเยื้อ ยังมีขาดทุนสะสมบานเบอะ จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ จนถึงขั้นยื่นมอบตัวเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในปลายปี 2548
ราคาปิดสุดท้ายตอนที่หยุดซื้อขายคือ 2.16 บาท
แม้จะหยุดการซื้อขายนานกว่าเกือบ 11 ปี แต่ POMPUI ก็ยังคงรายงานงบการเงินต่อตลาดและนักลงทุนต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากผลประกอบการ ระหว่างปีละ 1,200-1,500 ล้านบาท แต่ละปีมีกำไรสลับขาดทุน แต่ผลประกอบการงวดไตรมาสแรกของปีนี้ มีรายได้ลดฮวบแค่ 279.03 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.37 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท
ปมปัญหาทางการเงินใหญ่สุดของ POMPUI อยู่ที่ยังมีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบอยู่เล็กน้อย 257.57 ล้านบาท ทำให้ยากที่จะมีคำตอบว่าจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งเมื่อใด โดยไม่ต้องพูดถึงการจ่ายปันผล เพราะตัวเลขขาดทุนสะสมยังมีอยู่ 725.15 ล้านบาท
การฟื้นตัวที่ล่าช้า และยังมีหนี้สินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้อีก 784.45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภายในครอบครัวที่ “ยุ่งเป็นยุงตีกัน” เนื่องจากข้อพิพาท ระหว่างกลุ่มนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ POMPUI กับคนอื่นๆ ที่ร่วมถือหุ้นใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็น “กงสี” ของครอบครัว และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ POMPUI ถึงขั้น ไม่เผาผีกัน
ข้อพิพาท “ศึกสายเลือด” ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะแต่ละฝ่ายของคู่กรณีก็นำเหตุผลมาโจมตีอีกฝ่าย และ ป้องกันตัวเองเต็มที่ เป็นที่โด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดตรัง ที่เป็นรากฐานของธุรกิจตระกูลนี้มายาวนาน 2 ชั่วอายุคน นับแต่ยุคผู้ก่อตั้ง นายโต๋ว ง่วนเตียว และนางยิ่ง โตทับเที่ยง ผู้วางรากฐานให้แบรนด์ปลากระป๋อง ปลายิ้ม ที่นายสุรินทร์เสมือนหนึ่งเป็น “ตัวเปิด” ของคนในตระกูล
ข้อพิพาทที่จบไม่ลงระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง ที่ถือหุ้นร่วมใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นนิติบุคคลที่ถือหุ้นใหญ่สุดในของ POMPUI นับแต่เริ่มต้นจดทะเบียนในตลาดฯมาตั้งแต่ปี 2538 เป็นข่าวออกมาไม่ต่อเนื่อง แต่ก็เกิดขึ้นยาวนาน และเป็นที่ทราบกันดี
ต้นเดือนสิงหาคม KTB แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่าได้เข้าถือหุ้นสามัญของ POMPUI จำนวน 12,429,000 หุ้น หรือ 24.83% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยไม่ได้ใช้เงินสด แต่เกิดจากการตีราคามูลค่าของบริษัทต่อหุ้น เพื่อแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัท ในราคาหุ้นละ 25.00 บาท สูงกว่าราคาพาร์หุ้นละ 10.00 บาท
แล้วก็จะแพงขึ้นไปอีก หากเทียบกับข้อเท็จจริงที่ว่า มูลค่าตามบุ๊คแวลู ของ POMPUI ล่าสุด ติดลบถึงหุ้นละ 6.85 บาท …เป็นเจ้าหนี้ที่ใจบุญอย่างยิ่งยวด
นั่นยังไม่พอ เพราะล่าสุด วันที่ 1 กันยายน โดยนางวลัยรัตน์ เลิสพรอำไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ได้จำหน่าย หุ้นสามัญจำนวน 6.214 ล้านหุ้นหรือ 12.42% คืนให้กับนายไกรสิน โตทับเที่ยง กรรมการ และผู้ถือหุ้นอันดับที่ 3 ของก POMPUI ในมูลค่ารวม 31.00 ล้านบาท
คิดคำนวณแล้ว ขายไปในราคา 4..988 บาท ต่อหุ้น ..หรือคิดง่ายๆ ก็คือ 5.00 บาท
เหลือหุ้นที่ KTB จะต้องถือต่อไปที่ 6,214,500 หุ้น หรือ 12.42% ซึ่งส่วนที่เหลือนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าจะขายต่อไปใหใคร
ประเด็นสำคัญคือ KTB ได้เงินคืน จากหนี้เรียบร้อยแล้ว 31.00 ล้านบาท
การได้มาในราคาที่แพงเกินมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะไม่ได้จ่ายเงินสด แต่กกลับขายออกๆ ไปเพื่อได้เงินสดกลับมาเพียงน้อยนิด ถือเป็นความเมตตากรุณาอย่างยิ่งยวด
หาไม่ได้ง่ายๆ อีกแล้ว
งานนี้ คนบางคนในตระกูล โตทับเที่ยง คงจะลืมชื่อ KTB ไม่ได้เลย
“อิ อิ อิ”--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 13
คอลัมน์แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น : POMPUI กับ นิทานเรื่อง ตาอยู่
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Friday, August 05, 2016 04:08
กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--ข่าวหุ้น
นานจนเกือบลืมไปแล้วว่า บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลกระป๋อง ที่ชื่อเสียงเคยโด่งดังจากจังหวัดตรัง บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น
เหตุผลก็คือ หุ้นถูกคำสั่งหยุดซื้อขายไปนานเกือบ 11 ปี เนื่องจากฐานะการเงินเลวร้ายเรื้อรัง มีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบเรื้อรัง และยังตามมาด้วย “ศึกสายเลือด” ระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง อันยืดเยื้อ
ว่าไปแล้ว หากปราศจากความขัดแย้งที่ปะทุถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล หรือ เป็นขาวอื้อฉาวนานๆ ครั้ง คนก็คงลืมไปแล้วว่า บริษัทนี้ยังมีตัวตนอยู่
ข่าวล่าสุด สัปดาห์นี้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกรณีการเข้าถือหุ้นสามัญของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) (POMPUI) จำนวน 12,429,000 หุ้น หรือเท่ากับร้อยละ 24.83 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
การถือหุ้นดังกล่าว ไม่ได้ใช้เงินสด แต่เกิดจากการตีราคามูลค่าของบริษัทต่อหุ้น เพื่อแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัท ในราคาหุ้นละ 25.00 บาท สูงกว่าราคาพาร์หุ้นละ 10.00 บาท
หุ้น 12.42 ล้านหุ้นที่ KTB เข้าถือ 24.83% ใน POMPUI นั้นคิดเป็นสัดส่วน ไม่เข้าข่ายที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามหลักเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และไม่เข้าข่ายต้องทำ เทนเดอร์ ออฟเฟอร์
เนื่องจากการเข้าถือหุ้นของ KTB ปรากฏอยู่ในรายงานของ POMPUI ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ที่มีการเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าวเพื่อให้ KTB ถือโดยเฉพาะเจาะจง จนทำให้ POMPUI มีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 50,048,999 หุ้น หรือ 500.49 ล้านบาท
การซื้อหุ้น..แม้จะไม่จ่ายเงินสด...ก็ถือได้ว่าเป็นการได้มาในราคาที่แพงเกินมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีข้อเท็จจริงว่า มูลค่าตามบุ๊คแวลู ของ POMPUI ล่าสุด ติดลบมากถึงหุ้นละ 6.85 บาท
เท่ากับเป็นการซื้อที่แพงกว่ามูลค่าจริงมากถึง 5 เท่า...แสนจะเป็นเจ้าหนี้ที่เปี่ยมด้วยมุทิตาจิตอย่างยิ่งยวด
แม้จะไม่รู้รายละเอียดอะไรมากนัก แต่หากคนภายนอก จะมีมุมมองว่าการซื้อหุ้นของ KTB ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา...ก็ไม่น่าจะผิดพลาด
อย่างที่รู้กัน POMPUI มีปัญหา 2 ระดับที่ซับซ้อนยุ่งยากต่อการแก้ไข ระดับแรกคือ ฐานะทางการเงินที่เลวร้ายมานานกว่า 11 ปี จนถึงต้องหยุดทำการซื้อขายหุ้น ในระหว่างเข้าสู่กระบวนการรับโครงสร้างหนี้ตามเงื่อนไขของศาลล้มละลายกลาง
ส่วนระดับสองคือ ข้อพิพาทที่จบไม่ลงระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง ที่ถือหุ้นร่วมใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นนิติบุคคลที่ถือหุ้นใหญ่สุดของ POMPUI นับแต่เริ่มต้นจดทะเบียนในตลาดมาตั้งแต่ปี 2538
POMPUI เมื่อแรกเข้าตลาด ถือเป็นบริษัทดาวรุ่ง ที่มาจากภาคใต้เลยทีเดียว ราคาหุ้นเคยพุ่งสู่จุดสูงสุดถึง 64.00 บาท แต่หลังจากเผชิญมรสุมสำคัญครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ราคาหุ้นก็วิ่งต่ำลงไปที่ระดับ 3.00 บาท ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาครั้งที่สองในช่วงปี 2546 ที่ตลาดหุน้ไทยกลับมาฟื้นตัวรุนแรง ขึ้นมาถึง 17.60 บาท ทั้งที่ฐานะการเงินเปราะบาง ยังมีขาดทุนสะสมบานเบอะ จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ จนถึงขั้นยื่นมอบตัวเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในปลายปี 2548
ราคาปิดสุดท้ายตอนที่หยุดซื้อขายคือ 2.16 บาท
แม้จะหยุดการซื้อขายนานกว่าเกือบ 11 ปี แต่ POMPUI ก็ยังคงรายงานงบการเงินต่อตลาดและนักลงทุนต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากผลประกอบการ ระหว่างปีละ 1,200-1,500 ล้านบาท แต่ละปีมีกำไรสลับขาดทุน แต่ผลประกอบการงวดไตรมาสแรกของปีนี้ มีรายได้ลดฮวบแค่ 279.03 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.37 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท แต่ยังมีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบอยู่เล็กน้อย 257.57 ล้านบาท ทำให้ยากที่จะมีคำตอบว่าจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งเมื่อใด โดยไม่ต้องพูดถึงการจ่ายปันผล เพราะตัวเลขขาดทุนสะสมยังมีอยู่ 725.15 ล้านบาท
การฟื้นตัวที่ล่าช้า และยังมีหนี้สินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้อีก 784.45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภายในครอบครัวที่ “ยุ่งเป็นยุงตีกัน” เนื่องจากข้อพิพาท ระหว่างกลุ่มนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ POMPUI กับคนอื่นๆ ที่ร่วมถือหุ้นใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ถึงขั้น ไม่เผาผีกัน
ข้อพิพาท “ศึกสายเลือด” ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยเป็นข่าวใหญ่ในสื่อจำนวนมาก แต่ละฝ่ายของคู่กรณีก็นำเหตุผลมาโจมตีอีกฝ่าย และ ป้องกันตัวเองเต็มที่ เป็นที่โด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดตรัง ที่เป็นรากฐานของธุรกิจตระกูลนี้มายาวนาน 2 ชั่วอายุคน นับแต่ยุคผู้ก่อตั้ง นายโต๋ว ง่วนเตียว และนางยิ่ง โตทับเที่ยง ผู้วางรากฐานให้แบรนด์ปลากระป๋อง ปลายิ้ม ที่นายสุรินทร์เสมือนหนึ่งเป็น “ตัวเปิด” ของคนในตระกูล
การเข้าถือหุ้นใน POMPUI ของ KTB นี้ จะมีส่วนทำให้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นถูกลดทอนลงอย่างมีนัยสำคัญ คำถามคือ จะทำให้ศึกสายเลือดยุติลง หรือ เร่งให้ระอุบานปลายมากขึ้น...ยังไม่มีคำตอบ
เอาเป็นว่างานนี้ “...ยังไม่จบง่าย...ละกัน”
ความหวังจะกลับมาเทรด ที่ดูง่ายๆ จากแค่วิศวกรรมการเงิน... ก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป
“...อิ อิ อิ...”--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Friday, August 05, 2016 04:08
กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--ข่าวหุ้น
นานจนเกือบลืมไปแล้วว่า บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลกระป๋อง ที่ชื่อเสียงเคยโด่งดังจากจังหวัดตรัง บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น
เหตุผลก็คือ หุ้นถูกคำสั่งหยุดซื้อขายไปนานเกือบ 11 ปี เนื่องจากฐานะการเงินเลวร้ายเรื้อรัง มีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบเรื้อรัง และยังตามมาด้วย “ศึกสายเลือด” ระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง อันยืดเยื้อ
ว่าไปแล้ว หากปราศจากความขัดแย้งที่ปะทุถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล หรือ เป็นขาวอื้อฉาวนานๆ ครั้ง คนก็คงลืมไปแล้วว่า บริษัทนี้ยังมีตัวตนอยู่
ข่าวล่าสุด สัปดาห์นี้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกรณีการเข้าถือหุ้นสามัญของบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) (POMPUI) จำนวน 12,429,000 หุ้น หรือเท่ากับร้อยละ 24.83 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
การถือหุ้นดังกล่าว ไม่ได้ใช้เงินสด แต่เกิดจากการตีราคามูลค่าของบริษัทต่อหุ้น เพื่อแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัท ในราคาหุ้นละ 25.00 บาท สูงกว่าราคาพาร์หุ้นละ 10.00 บาท
หุ้น 12.42 ล้านหุ้นที่ KTB เข้าถือ 24.83% ใน POMPUI นั้นคิดเป็นสัดส่วน ไม่เข้าข่ายที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามหลักเกณฑ์การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และไม่เข้าข่ายต้องทำ เทนเดอร์ ออฟเฟอร์
เนื่องจากการเข้าถือหุ้นของ KTB ปรากฏอยู่ในรายงานของ POMPUI ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ที่มีการเพิ่มทุนจำนวนดังกล่าวเพื่อให้ KTB ถือโดยเฉพาะเจาะจง จนทำให้ POMPUI มีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 50,048,999 หุ้น หรือ 500.49 ล้านบาท
การซื้อหุ้น..แม้จะไม่จ่ายเงินสด...ก็ถือได้ว่าเป็นการได้มาในราคาที่แพงเกินมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีข้อเท็จจริงว่า มูลค่าตามบุ๊คแวลู ของ POMPUI ล่าสุด ติดลบมากถึงหุ้นละ 6.85 บาท
เท่ากับเป็นการซื้อที่แพงกว่ามูลค่าจริงมากถึง 5 เท่า...แสนจะเป็นเจ้าหนี้ที่เปี่ยมด้วยมุทิตาจิตอย่างยิ่งยวด
แม้จะไม่รู้รายละเอียดอะไรมากนัก แต่หากคนภายนอก จะมีมุมมองว่าการซื้อหุ้นของ KTB ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา...ก็ไม่น่าจะผิดพลาด
อย่างที่รู้กัน POMPUI มีปัญหา 2 ระดับที่ซับซ้อนยุ่งยากต่อการแก้ไข ระดับแรกคือ ฐานะทางการเงินที่เลวร้ายมานานกว่า 11 ปี จนถึงต้องหยุดทำการซื้อขายหุ้น ในระหว่างเข้าสู่กระบวนการรับโครงสร้างหนี้ตามเงื่อนไขของศาลล้มละลายกลาง
ส่วนระดับสองคือ ข้อพิพาทที่จบไม่ลงระหว่างคนในตระกูลโตทับเที่ยง ที่ถือหุ้นร่วมใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นนิติบุคคลที่ถือหุ้นใหญ่สุดของ POMPUI นับแต่เริ่มต้นจดทะเบียนในตลาดมาตั้งแต่ปี 2538
POMPUI เมื่อแรกเข้าตลาด ถือเป็นบริษัทดาวรุ่ง ที่มาจากภาคใต้เลยทีเดียว ราคาหุ้นเคยพุ่งสู่จุดสูงสุดถึง 64.00 บาท แต่หลังจากเผชิญมรสุมสำคัญครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ราคาหุ้นก็วิ่งต่ำลงไปที่ระดับ 3.00 บาท ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาครั้งที่สองในช่วงปี 2546 ที่ตลาดหุน้ไทยกลับมาฟื้นตัวรุนแรง ขึ้นมาถึง 17.60 บาท ทั้งที่ฐานะการเงินเปราะบาง ยังมีขาดทุนสะสมบานเบอะ จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ จนถึงขั้นยื่นมอบตัวเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในปลายปี 2548
ราคาปิดสุดท้ายตอนที่หยุดซื้อขายคือ 2.16 บาท
แม้จะหยุดการซื้อขายนานกว่าเกือบ 11 ปี แต่ POMPUI ก็ยังคงรายงานงบการเงินต่อตลาดและนักลงทุนต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากผลประกอบการ ระหว่างปีละ 1,200-1,500 ล้านบาท แต่ละปีมีกำไรสลับขาดทุน แต่ผลประกอบการงวดไตรมาสแรกของปีนี้ มีรายได้ลดฮวบแค่ 279.03 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5.37 ล้านบาท หรือกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท แต่ยังมีส่วนผู้ถือหุ้นติดลบอยู่เล็กน้อย 257.57 ล้านบาท ทำให้ยากที่จะมีคำตอบว่าจะกลับมาซื้อขายอีกครั้งเมื่อใด โดยไม่ต้องพูดถึงการจ่ายปันผล เพราะตัวเลขขาดทุนสะสมยังมีอยู่ 725.15 ล้านบาท
การฟื้นตัวที่ล่าช้า และยังมีหนี้สินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้อีก 784.45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาภายในครอบครัวที่ “ยุ่งเป็นยุงตีกัน” เนื่องจากข้อพิพาท ระหว่างกลุ่มนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ POMPUI กับคนอื่นๆ ที่ร่วมถือหุ้นใน บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด ถึงขั้น ไม่เผาผีกัน
ข้อพิพาท “ศึกสายเลือด” ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเคยเป็นข่าวใหญ่ในสื่อจำนวนมาก แต่ละฝ่ายของคู่กรณีก็นำเหตุผลมาโจมตีอีกฝ่าย และ ป้องกันตัวเองเต็มที่ เป็นที่โด่งดังไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดตรัง ที่เป็นรากฐานของธุรกิจตระกูลนี้มายาวนาน 2 ชั่วอายุคน นับแต่ยุคผู้ก่อตั้ง นายโต๋ว ง่วนเตียว และนางยิ่ง โตทับเที่ยง ผู้วางรากฐานให้แบรนด์ปลากระป๋อง ปลายิ้ม ที่นายสุรินทร์เสมือนหนึ่งเป็น “ตัวเปิด” ของคนในตระกูล
การเข้าถือหุ้นใน POMPUI ของ KTB นี้ จะมีส่วนทำให้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นถูกลดทอนลงอย่างมีนัยสำคัญ คำถามคือ จะทำให้ศึกสายเลือดยุติลง หรือ เร่งให้ระอุบานปลายมากขึ้น...ยังไม่มีคำตอบ
เอาเป็นว่างานนี้ “...ยังไม่จบง่าย...ละกัน”
ความหวังจะกลับมาเทรด ที่ดูง่ายๆ จากแค่วิศวกรรมการเงิน... ก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป
“...อิ อิ อิ...”--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 14
พลิกปูมศึกสายเลือด'โตทับเที่ยง'
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Wednesday, June 03, 2015 04:54
ความแตกร้าวในตระกูล "โตทับเที่ยง" คหบดีชื่อดังแห่งเมืองตรัง สร้างความฉงนและน่าสนใจให้กับชาวตรัง และคนทั่วประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องเพราะ มิใช่ความแตกร้าวธรรมดา หากแต่เป็นความแตกร้าวที่ดูเหมือนจะยากต่อการประสานจากกรณีที่ "นายสุธรรม โตทับเที่ยง" ในฐานะพี่ชายคนโต ประกาศมิให้ "นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง" กรรมการบริหาร บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือเสี่ยปุ้มปุ้ย และเจ้าของโรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง และครอบครัวสายตรงนายสุรินทร์ ใช้นามสกุลโตทับเที่ยงอีกต่อไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นในตระกูลที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างชื่อเสียงและคุณูปการให้กับจังหวัดตรังอย่างมากมาย จากตรังเมืองผ่าน กลายมาเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวระดับแนวหน้าของภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ย้อนถึงตระกูล "โตทับเที่ยง" เติบโตมาจากผู้เป็นพ่อ-แม่ คือนายโต๋ว ง่วนเตียว และนางยิ่ง โตทับเที่ยง ซึ่งเป็นคนจีนมาจากแผ่นดินใหญ่ มาตั้งรกรากที่ จ.ตรังเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว เป็นพ่อค้าคนจีนเริ่มแรกของจังหวัด ประกอบธุรกิจขายของชำ ที่ชาวบ้านคุ้นหูกับชื่อร้านโต๋วง่วนเตียว
จากการบอกเล่าของคนเก่าแก่เมืองตรังบอกว่า ต่อมาธุรกิจขายของชำของนายโต๋วประสบปัญหาจนต้องเลิกกิจการ ส่งผล ให้ลูก ๆ ที่มีด้วยกัน 9 คน ต้องแยกย้ายกันไปทำธุรกิจส่วนตัว ประกอบด้วย 1.นายสุธรรม 2.นางเอง 3.นายสุรินทร์ 4.นางจุรี 5.นายสวัสดิ์ 6.นางจุฬา 7.นางเซียว 8.นายสลิล (อดีตประธานหอการค้าจังหวัดตรัง) และ 9.นางจุรัตน์
โดยนายสุธรรม พี่ชายคนโต ได้มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ ส่วนพี่น้องที่เหลือทำธุรกิจอยู่ที่ จ.ตรัง โดยช่วยกันทำธุรกิจจำหน่าย
สินค้าหลายอย่าง ที่มีชื่อเสียงคือ ธุรกิจ เส้นบะหมี่ จำหน่ายผงชูรสยี่ห้อบีไทย ธุรกิจขายข้าวสาร เครื่องดื่มยี่ห้อแฮปปี้ เป็นต้น
ขณะที่นายสุรินทร์ได้รู้จักกับนายห้างประจวบ จำปาทอง เจ้าของกวนอิมครีมประหยัด นักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทยในยุคนั้น ประชาสัมพันธ์ธุรกิจกระทั่งธุรกิจขยายตัว เริ่มมีฐานะดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายสุรินทร์เป็นผู้ดูแลธุรกิจช่วยเหลือพี่น้องมาโดยตลอด และมีนายสุธรรมอยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จดังกล่าว
เมื่อมีฐานะนายสุรินทร์ก็เริ่มบุกเบิกธุรกิจโรงแรมเมืองตรังในนามธรรมรินทร์ และก่อตั้งบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด ต่อด้วยโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา และบริษัทในเครืออีกหลายสิบบริษัท ซึ่งก็ประสบ ความสำเร็จ ขยายตัวคู่ขนานไปพร้อม ๆ กับความเจริญเติบโตของจังหวัดตรัง
กระทั่งประเทศไทยเกิดฟองสบู่แตก เครือธรรมรินทร์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจที่เคยทำกำไรกลับขาดทุนและเริ่มเป็นหนี้เป็นสิน โดยรวมมากกว่า 1,600 ล้านบาท แต่มีทรัพย์สิน 900 กว่าล้านบาท จึงทำให้เจ้าหนี้คือสถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องเข้ามาดูแลกิจการ แต่ก็ผ่อนผันให้มีการ
ฟื้นฟูกิจการ และสุรินทร์ โตทับเที่ยง ก็ต่อสู้กระทั่งสามารถนำธุรกิจให้ผงาดอยู่ได้มาจนปัจจุบัน
รายงานข่าวกล่าวว่า ในช่วงที่กลุ่มธรรมรินทร์เป็นหนี้ นายสุรินทร์ก็พยายามประคับประคองกิจการมาได้ในระดับหนึ่งในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของธุรกิจในเครือ ต่อมานายสุรินทร์ได้ผ่องถ่าย อำนาจการบริหารให้ "นายไกรสิน โตทับเที่ยง" บุตรชายคนโตเข้ามาทำหน้าที่แทน เพียงไม่กี่ปีก็สามารถลดหนี้ กลุ่มธรรมรินทร์ได้กว่า 1,300 ล้านบาท เริ่มผ่อนใหม่เพียง 280 ล้านบาท กระทั่งล่าสุดเหลือประมาณ 180 ล้านบาท และสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 ล้านบาทในเวลาต่อมา
"หลังจากที่นายไกรสินประสบความสำเร็จในการบริหารโรงแรมธรรมรินทร์ ปลดหนี้ได้ในระดับที่ดีแล้ว ก็เข้าไปดูแลธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ย ที่ทำธุรกิจมากว่า 14 ปีไม่มีผลกำไรเลย จากพี่ ๆ น้อง ๆ รุ่นพ่อ ลุง อาร่วมกันทำมา และหลังจากที่นายสลิลจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้เข้ามาดูแลกิจการในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล แต่ก็ยังไม่มีผลกำไร ล่าสุดยังเป็นหนี้อยู่" แหล่งข่าวระบุ
จากนั้นนายไกรสิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ได้รับการโอนหุ้นจากผู้เป็นพ่อ (นายสุรินทร์) ก็ได้เข้ามาบริหารปุ้มปุ้ยแทนนายสลิล และได้พบกับปัญหาการดำเนินธุรกิจของผู้บริหารที่เป็นหุ้นส่วน ซึ่งก็คือญาติ ๆ นั่นเอง กระทั่งเกิดความบาดหมางของพี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยง รวมทั้งมีการฟ้องร้องกันอีกหลายคดี
ศึกสายเลือดตระกูล "โตทับเที่ยง" เป็นมหากาพย์ที่ยาวนานอย่างแน่นอน
บรรยายใต้ภาพ
สุรินทร์ โตทับเที่ยง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 7 มิ.ย. 2558--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Wednesday, June 03, 2015 04:54
ความแตกร้าวในตระกูล "โตทับเที่ยง" คหบดีชื่อดังแห่งเมืองตรัง สร้างความฉงนและน่าสนใจให้กับชาวตรัง และคนทั่วประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องเพราะ มิใช่ความแตกร้าวธรรมดา หากแต่เป็นความแตกร้าวที่ดูเหมือนจะยากต่อการประสานจากกรณีที่ "นายสุธรรม โตทับเที่ยง" ในฐานะพี่ชายคนโต ประกาศมิให้ "นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง" กรรมการบริหาร บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือเสี่ยปุ้มปุ้ย และเจ้าของโรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง และครอบครัวสายตรงนายสุรินทร์ ใช้นามสกุลโตทับเที่ยงอีกต่อไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นในตระกูลที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างชื่อเสียงและคุณูปการให้กับจังหวัดตรังอย่างมากมาย จากตรังเมืองผ่าน กลายมาเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวระดับแนวหน้าของภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ย้อนถึงตระกูล "โตทับเที่ยง" เติบโตมาจากผู้เป็นพ่อ-แม่ คือนายโต๋ว ง่วนเตียว และนางยิ่ง โตทับเที่ยง ซึ่งเป็นคนจีนมาจากแผ่นดินใหญ่ มาตั้งรกรากที่ จ.ตรังเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว เป็นพ่อค้าคนจีนเริ่มแรกของจังหวัด ประกอบธุรกิจขายของชำ ที่ชาวบ้านคุ้นหูกับชื่อร้านโต๋วง่วนเตียว
จากการบอกเล่าของคนเก่าแก่เมืองตรังบอกว่า ต่อมาธุรกิจขายของชำของนายโต๋วประสบปัญหาจนต้องเลิกกิจการ ส่งผล ให้ลูก ๆ ที่มีด้วยกัน 9 คน ต้องแยกย้ายกันไปทำธุรกิจส่วนตัว ประกอบด้วย 1.นายสุธรรม 2.นางเอง 3.นายสุรินทร์ 4.นางจุรี 5.นายสวัสดิ์ 6.นางจุฬา 7.นางเซียว 8.นายสลิล (อดีตประธานหอการค้าจังหวัดตรัง) และ 9.นางจุรัตน์
โดยนายสุธรรม พี่ชายคนโต ได้มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ ส่วนพี่น้องที่เหลือทำธุรกิจอยู่ที่ จ.ตรัง โดยช่วยกันทำธุรกิจจำหน่าย
สินค้าหลายอย่าง ที่มีชื่อเสียงคือ ธุรกิจ เส้นบะหมี่ จำหน่ายผงชูรสยี่ห้อบีไทย ธุรกิจขายข้าวสาร เครื่องดื่มยี่ห้อแฮปปี้ เป็นต้น
ขณะที่นายสุรินทร์ได้รู้จักกับนายห้างประจวบ จำปาทอง เจ้าของกวนอิมครีมประหยัด นักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทยในยุคนั้น ประชาสัมพันธ์ธุรกิจกระทั่งธุรกิจขยายตัว เริ่มมีฐานะดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายสุรินทร์เป็นผู้ดูแลธุรกิจช่วยเหลือพี่น้องมาโดยตลอด และมีนายสุธรรมอยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จดังกล่าว
เมื่อมีฐานะนายสุรินทร์ก็เริ่มบุกเบิกธุรกิจโรงแรมเมืองตรังในนามธรรมรินทร์ และก่อตั้งบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด ต่อด้วยโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา และบริษัทในเครืออีกหลายสิบบริษัท ซึ่งก็ประสบ ความสำเร็จ ขยายตัวคู่ขนานไปพร้อม ๆ กับความเจริญเติบโตของจังหวัดตรัง
กระทั่งประเทศไทยเกิดฟองสบู่แตก เครือธรรมรินทร์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจที่เคยทำกำไรกลับขาดทุนและเริ่มเป็นหนี้เป็นสิน โดยรวมมากกว่า 1,600 ล้านบาท แต่มีทรัพย์สิน 900 กว่าล้านบาท จึงทำให้เจ้าหนี้คือสถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องเข้ามาดูแลกิจการ แต่ก็ผ่อนผันให้มีการ
ฟื้นฟูกิจการ และสุรินทร์ โตทับเที่ยง ก็ต่อสู้กระทั่งสามารถนำธุรกิจให้ผงาดอยู่ได้มาจนปัจจุบัน
รายงานข่าวกล่าวว่า ในช่วงที่กลุ่มธรรมรินทร์เป็นหนี้ นายสุรินทร์ก็พยายามประคับประคองกิจการมาได้ในระดับหนึ่งในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของธุรกิจในเครือ ต่อมานายสุรินทร์ได้ผ่องถ่าย อำนาจการบริหารให้ "นายไกรสิน โตทับเที่ยง" บุตรชายคนโตเข้ามาทำหน้าที่แทน เพียงไม่กี่ปีก็สามารถลดหนี้ กลุ่มธรรมรินทร์ได้กว่า 1,300 ล้านบาท เริ่มผ่อนใหม่เพียง 280 ล้านบาท กระทั่งล่าสุดเหลือประมาณ 180 ล้านบาท และสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 ล้านบาทในเวลาต่อมา
"หลังจากที่นายไกรสินประสบความสำเร็จในการบริหารโรงแรมธรรมรินทร์ ปลดหนี้ได้ในระดับที่ดีแล้ว ก็เข้าไปดูแลธุรกิจในเครือปุ้มปุ้ย ที่ทำธุรกิจมากว่า 14 ปีไม่มีผลกำไรเลย จากพี่ ๆ น้อง ๆ รุ่นพ่อ ลุง อาร่วมกันทำมา และหลังจากที่นายสลิลจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้เข้ามาดูแลกิจการในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล แต่ก็ยังไม่มีผลกำไร ล่าสุดยังเป็นหนี้อยู่" แหล่งข่าวระบุ
จากนั้นนายไกรสิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ได้รับการโอนหุ้นจากผู้เป็นพ่อ (นายสุรินทร์) ก็ได้เข้ามาบริหารปุ้มปุ้ยแทนนายสลิล และได้พบกับปัญหาการดำเนินธุรกิจของผู้บริหารที่เป็นหุ้นส่วน ซึ่งก็คือญาติ ๆ นั่นเอง กระทั่งเกิดความบาดหมางของพี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยง รวมทั้งมีการฟ้องร้องกันอีกหลายคดี
ศึกสายเลือดตระกูล "โตทับเที่ยง" เป็นมหากาพย์ที่ยาวนานอย่างแน่นอน
บรรยายใต้ภาพ
สุรินทร์ โตทับเที่ยง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 7 มิ.ย. 2558--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 15
ปม"โตทับเที่ยง"ร้าว พี่สั่งน้องเลิกใช้สกุล ได้หรือไม่
Source - มติชนออนไลน์ (Th)
Saturday, May 30, 2015 18:04
กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--มติชนออนไลน์
กลายเป็นข่าวโด่งดังหลัง "นายสุธรรม โตทับเที่ยง" พี่ชายคนโตตระกูล "โตทับเที่ยง" มีหนังสือประกาศให้ "นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง" และครอบครัวสายตรง ห้ามใช้นามสกุลร่วม ด้วยเหตุผลว่า ได้กระทำการเป็นปรปักษ์กับพี่น้องร่วมสายโลหิต ทำให้พี่น้องได้รับความเดือดร้อน ดูถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้รับรู้เห็นปัญหาที่นายสุรินทร์กับพวกได้ก่อให้เกิดขึ้น และทำให้ความรักความปรองดองในหมู่พี่น้องต้องถูกทำลาย
หากเป็นตระกูลคนธรรมดาคงไม่มีใครสนใจ แต่นามสกุล "โตทับเที่ยง" เจ้าของโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา และบริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ "ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย" ที่ดังระดับต้นๆ ของเมืองไทย
ทั้งนี้ นามสกุล "โตทับเที่ยง" เริ่มจากการขอเปลี่ยนนามสกุลของนายสุธรรม โตทับเที่ยง ที่เข้าขอจดทะเบียนเปลี่ยนนามสกุล แบบ ช.2 เมื่อปี 2514 ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง มีชื่อผู้ขอ นายสุธรรม
แซ่โต๋ว บิดาชื่อ นายโต๋ว ง่วนเตียง มารดาชื่อ นางยิ่ง อยู่บ้านเลขที่ 121 ถนนตลาด อ.เมือง จ.ตรัง โดยขอจดทะเบียนชื่อสกุลว่า "โตทับเที่ยง" ซึ่งนายทะเบียนกลางอนุมัติตามหนังสือที่ มท.0313/3998 ลงวันที่ 22 มกราคม 2514 ต่อมานายสุรินทร์ จดทะเบียนขอใช้ชื่อสกุลร่วม ตามหนังสือร่วมชื่อสกุล เล่มที่ 7 ฉบับที่ 729/2514 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2514 ตามหนังสืออนุญาตที่ 9/2514 วันที่ 2 มีนาคม 2514
สำหรับตระกูลโตทับเที่ยง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต จำนวน 10 คน ประกอบด้วย นายสุธรรม โตทับเที่ยง มีบุตร 3 คน นางสุภัทรา สินสุข มีบุตร 3 คน นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง มีบุตร 4 คน นางจุรี สัมพันธวร
บุตร มีบุตร 1 คน นายสวัสดิ์ โตทับเที่ยง มีบุตร 4 คน นางจุฬา หวังศิริเลิศ มีบุตร 2 คน นางเลอลักษณ์ มะนะสุทธิ์ มีบุตร 3 คน นายสลิล โตทับเที่ยง มีบุตร 3 คน นางสุนีย์ โตทับเที่ยง และนางศิริพร โตทับเที่ยง
จากกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย ซึ่งสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่า กรณีที่พี่น้อง ร่วมชื่อสกุล ไม่ให้ร่วมชื่อสกุล มีข้อต้องพิจารณาหลายประการ เพราะในกรณีที่บิดาเป็นผู้จดชื่อสกุล และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ บิดาสามารถที่จะร้องเพิกถอนได้ หากมีการนำสืบว่าเป็นการกระทำที่เกิดการเสื่อมเสียต่อชื่อสกุลจริง กรณีที่บิดาเสียชีวิต สิทธิการใช้สกุลจะอยู่ที่ลูกคนโต และลูกคนรองจะร้องเพิกถอนการใช้สกุลไม่ได้ เว้นเสียแต่เป็นการจดตั้งเอง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าวยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่าผู้ร้องนั้นเป็นเจ้าของนามสกุลหรือไม่ หรือเป็นลูกคนโต หรือเป็นผู้จดตั้งชื่อสกุล ทั้งนี้ ในบางกรณีที่ไม่มีกฎหมายว่าไว้ว่าต้องทำอย่างไร ผู้ที่ต้องการจะเพิกถอนผู้ร่วมสกุลต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างไรและอยู่ที่ศาลว่าจะรับฟ้องหรือไม่
มีกรณีตัวอย่างที่สำนักบริหารการทำทะเบียนยึดเป็นตัวอย่างคือกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งยกฟ้องกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีคำพิพากษาว่า "เมื่อโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลไว้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอนุญาตให้จำเลยใช้ชื่อสกุลร่วมด้วยได้โดยดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคลพ.ศ.2505มาตรา11แต่เมื่ออนุญาตแล้ว จำเลยผู้ได้รับอนุญาตย่อมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลร่วมกับโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นเจ้าของชื่อนั้นเอง
กล่าวคือหากจำเลยสมรสกับหญิงหญิงผู้เป็นภริยารวมทั้งบุตรก็มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ด้วยและการอนุญาตให้ใช้ชื่อสกุลร่วมด้วยเช่นนี้หาใช่เรื่องที่อาจจะเพิกถอนการอนุญาตเสียเมื่อใดก็ได้ตามอำเภอใจของโจทก์ไม่ดังที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้ชื่อสกุลของโจทก์ไปในทางที่เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือแก่ชื่อเสียงของชื่อสกุลของโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อสกุลร่วมกับโจทก์ศาลจึงสั่งยกฟ้อง"
โดยคำร้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์จดตั้งชื่อสกุลเมื่อปี 2499 และนายทะเบียนได้อนุญาตและจดทะเบียนชื่อสกุลของโจทก์ไว้โดยชอบ จำเลยเป็นหลานของโจทก์ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อสกุลดังกล่าว ต่อมาเมื่อประมาณ 1 ปีเศษ ก่อนฟ้อง จำเลยไม่ให้ความเคารพนับถือโจทก์ โจทก์จึงไม่ประสงค์ให้จำเลยใช้ชื่อสกุลของโจทก์ต่อไป โจทก์แจ้งจำเลยให้เปลี่ยนชื่อสกุลแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยให้เลิกใช้ชื่อสกุลโจทก์อีกต่อไป หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาให้นายทะเบียนลบชื่อสกุลของจำเลย
ทั้งนี้ศาลฎีกา(เมื่อปี2542)พิจารณาตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ชื่อบุคคล พ.ศ.2505 มาตรา 11 ที่ระบุว่า ผู้จดทะเบียนชื่อสกุลให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนก็ได้ โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร การอนุญาตตามมาตรานี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้ใช้ชื่อสกุลแก่ผู้ที่จะใช้ชื่อสกุลนั้น
ในกรณีที่ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลตายแล้วให้ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้นมีสิทธิอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
อย่างไรก็ตามในพ.ร.บ.ชื่อบุคคลไม่มีการกำหนดการเพิกถอนชื่อสกุลแต่อย่างใด
มีเพียงมาตรา 13 ที่ระบุว่า เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตายให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้สกุลของอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นได้ต่อไปแต่เมื่อสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
ดังนั้นศาลจึงพิเคราะห์ว่ากรณีดังกล่าวไม่เข้าข่ายละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ว่าด้วยผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับ "นายสรวิศ ลิมปรังษี" รองโฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะนักกฎหมาย มีมุมมองว่า กรณีดังกล่าวหากดูจากข้อกฎหมายแล้วไม่น่าจะสามารถทำได้ เนื่องจากเป็นลูกพ่อแม่เดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะใช้นามสกุลนี้ด้วยกันได้ หากจะมีการแจ้งนายทะเบียนให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น ก็คงต้องไปดูข้อกฎหมายก่อนว่าจะทำได้หรือไม่ ยิ่งหากเป็นการแจ้งเปลี่ยนนามสกุลผู้อื่นด้วยแล้วคิดว่าคงไม่น่าจะทำได้ หรือหากจะมีการฟ้องร้องต่อศาลก็ยังไม่เห็นมูลว่าเข้ากฎหมายข้อใด
คงต้องจับตาดูว่าศึก "ปุ้มปุ้ย" ครั้งนี้จะจบลงอย่างไร...
มติชนรายวัน
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558--จบ--
Source - มติชนออนไลน์ (Th)
Saturday, May 30, 2015 18:04
กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--มติชนออนไลน์
กลายเป็นข่าวโด่งดังหลัง "นายสุธรรม โตทับเที่ยง" พี่ชายคนโตตระกูล "โตทับเที่ยง" มีหนังสือประกาศให้ "นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง" และครอบครัวสายตรง ห้ามใช้นามสกุลร่วม ด้วยเหตุผลว่า ได้กระทำการเป็นปรปักษ์กับพี่น้องร่วมสายโลหิต ทำให้พี่น้องได้รับความเดือดร้อน ดูถูกเกลียดชังจากผู้ที่ได้รับรู้เห็นปัญหาที่นายสุรินทร์กับพวกได้ก่อให้เกิดขึ้น และทำให้ความรักความปรองดองในหมู่พี่น้องต้องถูกทำลาย
หากเป็นตระกูลคนธรรมดาคงไม่มีใครสนใจ แต่นามสกุล "โตทับเที่ยง" เจ้าของโรงแรมธรรมรินทร์ ธนา และบริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ "ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย" ที่ดังระดับต้นๆ ของเมืองไทย
ทั้งนี้ นามสกุล "โตทับเที่ยง" เริ่มจากการขอเปลี่ยนนามสกุลของนายสุธรรม โตทับเที่ยง ที่เข้าขอจดทะเบียนเปลี่ยนนามสกุล แบบ ช.2 เมื่อปี 2514 ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง มีชื่อผู้ขอ นายสุธรรม
แซ่โต๋ว บิดาชื่อ นายโต๋ว ง่วนเตียง มารดาชื่อ นางยิ่ง อยู่บ้านเลขที่ 121 ถนนตลาด อ.เมือง จ.ตรัง โดยขอจดทะเบียนชื่อสกุลว่า "โตทับเที่ยง" ซึ่งนายทะเบียนกลางอนุมัติตามหนังสือที่ มท.0313/3998 ลงวันที่ 22 มกราคม 2514 ต่อมานายสุรินทร์ จดทะเบียนขอใช้ชื่อสกุลร่วม ตามหนังสือร่วมชื่อสกุล เล่มที่ 7 ฉบับที่ 729/2514 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2514 ตามหนังสืออนุญาตที่ 9/2514 วันที่ 2 มีนาคม 2514
สำหรับตระกูลโตทับเที่ยง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต จำนวน 10 คน ประกอบด้วย นายสุธรรม โตทับเที่ยง มีบุตร 3 คน นางสุภัทรา สินสุข มีบุตร 3 คน นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง มีบุตร 4 คน นางจุรี สัมพันธวร
บุตร มีบุตร 1 คน นายสวัสดิ์ โตทับเที่ยง มีบุตร 4 คน นางจุฬา หวังศิริเลิศ มีบุตร 2 คน นางเลอลักษณ์ มะนะสุทธิ์ มีบุตร 3 คน นายสลิล โตทับเที่ยง มีบุตร 3 คน นางสุนีย์ โตทับเที่ยง และนางศิริพร โตทับเที่ยง
จากกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย ซึ่งสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่า กรณีที่พี่น้อง ร่วมชื่อสกุล ไม่ให้ร่วมชื่อสกุล มีข้อต้องพิจารณาหลายประการ เพราะในกรณีที่บิดาเป็นผู้จดชื่อสกุล และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ บิดาสามารถที่จะร้องเพิกถอนได้ หากมีการนำสืบว่าเป็นการกระทำที่เกิดการเสื่อมเสียต่อชื่อสกุลจริง กรณีที่บิดาเสียชีวิต สิทธิการใช้สกุลจะอยู่ที่ลูกคนโต และลูกคนรองจะร้องเพิกถอนการใช้สกุลไม่ได้ เว้นเสียแต่เป็นการจดตั้งเอง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าวยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่าผู้ร้องนั้นเป็นเจ้าของนามสกุลหรือไม่ หรือเป็นลูกคนโต หรือเป็นผู้จดตั้งชื่อสกุล ทั้งนี้ ในบางกรณีที่ไม่มีกฎหมายว่าไว้ว่าต้องทำอย่างไร ผู้ที่ต้องการจะเพิกถอนผู้ร่วมสกุลต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างไรและอยู่ที่ศาลว่าจะรับฟ้องหรือไม่
มีกรณีตัวอย่างที่สำนักบริหารการทำทะเบียนยึดเป็นตัวอย่างคือกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งยกฟ้องกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีคำพิพากษาว่า "เมื่อโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลไว้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอนุญาตให้จำเลยใช้ชื่อสกุลร่วมด้วยได้โดยดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคลพ.ศ.2505มาตรา11แต่เมื่ออนุญาตแล้ว จำเลยผู้ได้รับอนุญาตย่อมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลร่วมกับโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นเจ้าของชื่อนั้นเอง
กล่าวคือหากจำเลยสมรสกับหญิงหญิงผู้เป็นภริยารวมทั้งบุตรก็มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของโจทก์ด้วยและการอนุญาตให้ใช้ชื่อสกุลร่วมด้วยเช่นนี้หาใช่เรื่องที่อาจจะเพิกถอนการอนุญาตเสียเมื่อใดก็ได้ตามอำเภอใจของโจทก์ไม่ดังที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้ชื่อสกุลของโจทก์ไปในทางที่เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือแก่ชื่อเสียงของชื่อสกุลของโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อสกุลร่วมกับโจทก์ศาลจึงสั่งยกฟ้อง"
โดยคำร้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์จดตั้งชื่อสกุลเมื่อปี 2499 และนายทะเบียนได้อนุญาตและจดทะเบียนชื่อสกุลของโจทก์ไว้โดยชอบ จำเลยเป็นหลานของโจทก์ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อสกุลดังกล่าว ต่อมาเมื่อประมาณ 1 ปีเศษ ก่อนฟ้อง จำเลยไม่ให้ความเคารพนับถือโจทก์ โจทก์จึงไม่ประสงค์ให้จำเลยใช้ชื่อสกุลของโจทก์ต่อไป โจทก์แจ้งจำเลยให้เปลี่ยนชื่อสกุลแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยให้เลิกใช้ชื่อสกุลโจทก์อีกต่อไป หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาให้นายทะเบียนลบชื่อสกุลของจำเลย
ทั้งนี้ศาลฎีกา(เมื่อปี2542)พิจารณาตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ชื่อบุคคล พ.ศ.2505 มาตรา 11 ที่ระบุว่า ผู้จดทะเบียนชื่อสกุลให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ชื่อสกุลของตนก็ได้ โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร การอนุญาตตามมาตรานี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้ใช้ชื่อสกุลแก่ผู้ที่จะใช้ชื่อสกุลนั้น
ในกรณีที่ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลตายแล้วให้ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลนั้นมีสิทธิอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
อย่างไรก็ตามในพ.ร.บ.ชื่อบุคคลไม่มีการกำหนดการเพิกถอนชื่อสกุลแต่อย่างใด
มีเพียงมาตรา 13 ที่ระบุว่า เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตายให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้สกุลของอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นได้ต่อไปแต่เมื่อสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
ดังนั้นศาลจึงพิเคราะห์ว่ากรณีดังกล่าวไม่เข้าข่ายละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ว่าด้วยผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับ "นายสรวิศ ลิมปรังษี" รองโฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะนักกฎหมาย มีมุมมองว่า กรณีดังกล่าวหากดูจากข้อกฎหมายแล้วไม่น่าจะสามารถทำได้ เนื่องจากเป็นลูกพ่อแม่เดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะใช้นามสกุลนี้ด้วยกันได้ หากจะมีการแจ้งนายทะเบียนให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น ก็คงต้องไปดูข้อกฎหมายก่อนว่าจะทำได้หรือไม่ ยิ่งหากเป็นการแจ้งเปลี่ยนนามสกุลผู้อื่นด้วยแล้วคิดว่าคงไม่น่าจะทำได้ หรือหากจะมีการฟ้องร้องต่อศาลก็ยังไม่เห็นมูลว่าเข้ากฎหมายข้อใด
คงต้องจับตาดูว่าศึก "ปุ้มปุ้ย" ครั้งนี้จะจบลงอย่างไร...
มติชนรายวัน
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 16
ตลท.ให้ POMPUI เปลี่ยนแปลงพาร์ จาก 10 บ.เหลือ 1 บาท มีผล 16 ต.ค.60
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -10 ต.ค. 60 17:21 น.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท มีผลตั้งแต่ 16 ต.ค.60
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงถูกสั่งพักการซื้อขาย และจะสามารถซื้อขายตามมูลค่าหุ้นใหม่ เมื่อได้รับอนุญาตให้ซื้อขายใหม่อีกครั้ง
ลักษณะธุรกิจของ POMPUI
ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องและอาหารในภาชนะปิดผนึกสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า ปุ้มปุ้ย และ ปลายิ้ม
เรียบเรียง จารุวรรณ เอี่ยมยิ่งพานิช
อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -10 ต.ค. 60 17:21 น.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท มีผลตั้งแต่ 16 ต.ค.60
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงถูกสั่งพักการซื้อขาย และจะสามารถซื้อขายตามมูลค่าหุ้นใหม่ เมื่อได้รับอนุญาตให้ซื้อขายใหม่อีกครั้ง
ลักษณะธุรกิจของ POMPUI
ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องและอาหารในภาชนะปิดผนึกสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า ปุ้มปุ้ย และ ปลายิ้ม
เรียบเรียง จารุวรรณ เอี่ยมยิ่งพานิช
อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 17
ปุ้มปุ้ยแถลงผลประกอบการไตรมาสแรกปี 60 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
Source - Local Press Release (Th/Eng)
Wednesday, June 28, 2017 15:40
กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) –ปุ้มปุ้ย เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง กำไรสุทธิโต 200%
นายไกรสิน โตทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) "ปุ้มปุ้ย" เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯ ในไตรมาสแรกของปี 2560 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมาย โดยมีรายได้รวม 352.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73.54 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 โดยมีผลกำไรสุทธิ 16.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.26 จากปีก่อน ยอดขายจากกลุ่มกระป๋องยังมีสัดส่วนสูงที่สุด สำหรับกลุ่มปุ้มปุ้ยพร้อมทานซึ่งออกมาช่วงกลางปีที่ผ่านมา มียอดขายเป็นที่น่าพอใจ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนธุรกิจที่วางไว้ โดยเฉพาะการรุกตลาดกลุ่มประเทศ CLMV ให้เข้มข้นขึ้น ซึ่งมีผลตอบรับที่ดีในหลายประเทศ สำหรับด้านผลิตภัณฑ์ บริษัทได้มีการออกผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้ออกกลุ่มเครื่องแกงสำเร็จรูป 5 รสชาติ ได้แก่ เครื่องปรุงผัดไทย ,พริกแกงมัสมั่น ,เครื่องปรุงต้มยำ ,พริกแกงกะหรี่ และพริกแกงเขียวหวาน โดยเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน THAIFEX 2017 ที่ผ่านมา แต่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
บริษัท เชื่อมั่นว่าด้วยแผนงานและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ผนวกกับการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้บริษัทเติบโตอย่างแข็งแกร่งตามเป้าหมายที่วางไว้
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
Source - Local Press Release (Th/Eng)
Wednesday, June 28, 2017 15:40
กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) –ปุ้มปุ้ย เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง กำไรสุทธิโต 200%
นายไกรสิน โตทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด(มหาชน) "ปุ้มปุ้ย" เปิดเผยว่า ผลประกอบการของบริษัทฯ ในไตรมาสแรกของปี 2560 ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมาย โดยมีรายได้รวม 352.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73.54 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 โดยมีผลกำไรสุทธิ 16.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.26 จากปีก่อน ยอดขายจากกลุ่มกระป๋องยังมีสัดส่วนสูงที่สุด สำหรับกลุ่มปุ้มปุ้ยพร้อมทานซึ่งออกมาช่วงกลางปีที่ผ่านมา มียอดขายเป็นที่น่าพอใจ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 บริษัทยังคงเดินหน้าตามแผนธุรกิจที่วางไว้ โดยเฉพาะการรุกตลาดกลุ่มประเทศ CLMV ให้เข้มข้นขึ้น ซึ่งมีผลตอบรับที่ดีในหลายประเทศ สำหรับด้านผลิตภัณฑ์ บริษัทได้มีการออกผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้ออกกลุ่มเครื่องแกงสำเร็จรูป 5 รสชาติ ได้แก่ เครื่องปรุงผัดไทย ,พริกแกงมัสมั่น ,เครื่องปรุงต้มยำ ,พริกแกงกะหรี่ และพริกแกงเขียวหวาน โดยเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน THAIFEX 2017 ที่ผ่านมา แต่เน้นการส่งออกเป็นหลัก
บริษัท เชื่อมั่นว่าด้วยแผนงานและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ผนวกกับการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้บริษัทเติบโตอย่างแข็งแกร่งตามเป้าหมายที่วางไว้
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 18
'สุรินทร์'แพ้คดีฮุบกงสีปุ้มปุ้ย ศาลโอนหุ้น-ที่ดินคืนพี่น้องโตทับเที่ยง
ศาลแพ่งธนบุรี ตัดสินให้ “สุรินทร์ โตทับเที่ยง-ทายาท” แพ้คดีฮุบสินทรัพย์ตระกูล “โตทับเที่ยง” พร้อมมีคำสั่งโอนหุ้น 21 บริษัท-ที่ดิน 31แปลง คืน 9 พี่น้องกงสีโตทับเที่ยง
วานนี้ (20มี.ค.) เวลา 9.00น. ศาลแพ่งธนบุรี ได้นัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่พ.2264/2559 ที่พี่น้องโตทับเที่ยง 9 คน นำโดยนายสุธรรม โตทับเที่ยง ยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง และพวกรวม 6 คน ที่ถือแทนสินทรัพย์ของครอบครัว เพื่อขอขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัว ที่ทำมาหากินร่วมกัน ในนามผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง
ศาลแพ่งธนบุรี ได้พิพากษา ให้นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 และพวกคือจำเลยที่ 2-6 ที่ถือแทนสินทรัพย์ของครอบครัว ประกอบด้วย หุ้นใน 21 บริษัท และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ถือแทนพี่น้องทั้ง 10 คน รวมจำเลยที่ 1 ด้วย นำแบ่งให้โจทก์ทั้ง 9 และให้จำเลย 1 ส่วน
สำหรับหุ้นทั้ง 21 บริษัท ประกอบด้วย 1. บริษัท กว้างไพศาล จำกัด 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท สยามกว้าง จำกัด) 4. บริษัท เอส.ตรัง คอมเพล็กซ์ จำกัด5. บริษัท เอส.ตรัง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ส่งสะดวก จำกัด) 6. บริษัท เอส.ตรัง เอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า อะเมซิ่งฟู้ด โปรดักซ์จำกัด) 7. บริษัท ตรังแคนเนอรี่ จำกัด 8. บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด 9. บริษัท อะเมซิ่ง ไอเดีย จำกัด 10. บริษัท ตรัง กว้างไพศาล จำกัด
11.บริษัท กว้างไพศาล โฮลดิ้ง จำกัด 12. บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด 13. บริษัท ตรังโฮลดิ้ง จำกัด 14. บริษัท ไกรตะวัน จำกัด 15. บริษัท ตรังชัวร์ จำกัด 16. บริษัท ดิสทริค ดิเวอลอปเม้นท์ 2000 จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท โตทับเที่ยง จำกัด) 17. บริษัท ล้านรอยยิ้ม จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า 1.บริษัท โตพัฒนา จำกัด 2.บริษัท ธรรมรินทร์ เพลนเนอร์ จำกัด) 18. บริษัท เอส.ตรัง ทราเวิล จำกัด 19. บริษัท คอนสแตนท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด 20. บริษัท ตรังทราเวิล แอนด์ อะเมซิ่ง ทราเวิล จำกัด 21. บริษัท เอส.ที.แมเนจเม้นท์(2013) จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ตรัง คลีนนิ่ง จำกัด) ส่วนที่ดินมีจำนวน 31 แปลง ประกอบด้วย โฉนดที่ดินในกรุงเทพฯ 1 แปลง
คดีนี้นายสุธรรม เป็นโจทย์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2560 ฝั่งโจทย์ประกอบด้วยนายสุธรรม โตทับเที่ยง และพี่น้องอีก 8 คนประกอบด้วย นางจุรีย์ โตทับเที่ยง นางจุฬา หวังศิริเลศ นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์ นายสลิล โตทับเที่ยง นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง นางบุษราคัม สินสุข รับมอบอำนาจจาก นางสุภัทรา สินสุข (เสียชีวิตแล้ว) และนายไกลลาภ โตทับเที่ยง
ส่วนจำเลยนำโดยนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ได้แก่ นางอุทัยวรรณ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 นางสาวขิมพริ้ง โตทับเที่ย งจำเลยที่ 2 นายไกรสิน โตทับเที่ยง จำเลยที่ 3 นางสาวกรพินธุ์ โตทับเที่ยงจำเลยที่ 4 นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 5 และนางธัญยาธร โตทับเที่ยงจำเลยที่ 6 โดยโจทก์ทั้ง 9 ได้ยื่นฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัว ที่ทำมาหากินร่วมกัน
ศาลแพ่งธนบุรี ตัดสินให้ “สุรินทร์ โตทับเที่ยง-ทายาท” แพ้คดีฮุบสินทรัพย์ตระกูล “โตทับเที่ยง” พร้อมมีคำสั่งโอนหุ้น 21 บริษัท-ที่ดิน 31แปลง คืน 9 พี่น้องกงสีโตทับเที่ยง
วานนี้ (20มี.ค.) เวลา 9.00น. ศาลแพ่งธนบุรี ได้นัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่พ.2264/2559 ที่พี่น้องโตทับเที่ยง 9 คน นำโดยนายสุธรรม โตทับเที่ยง ยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง และพวกรวม 6 คน ที่ถือแทนสินทรัพย์ของครอบครัว เพื่อขอขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัว ที่ทำมาหากินร่วมกัน ในนามผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง
ศาลแพ่งธนบุรี ได้พิพากษา ให้นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 และพวกคือจำเลยที่ 2-6 ที่ถือแทนสินทรัพย์ของครอบครัว ประกอบด้วย หุ้นใน 21 บริษัท และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ถือแทนพี่น้องทั้ง 10 คน รวมจำเลยที่ 1 ด้วย นำแบ่งให้โจทก์ทั้ง 9 และให้จำเลย 1 ส่วน
สำหรับหุ้นทั้ง 21 บริษัท ประกอบด้วย 1. บริษัท กว้างไพศาล จำกัด 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท สยามกว้าง จำกัด) 4. บริษัท เอส.ตรัง คอมเพล็กซ์ จำกัด5. บริษัท เอส.ตรัง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ส่งสะดวก จำกัด) 6. บริษัท เอส.ตรัง เอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า อะเมซิ่งฟู้ด โปรดักซ์จำกัด) 7. บริษัท ตรังแคนเนอรี่ จำกัด 8. บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด 9. บริษัท อะเมซิ่ง ไอเดีย จำกัด 10. บริษัท ตรัง กว้างไพศาล จำกัด
11.บริษัท กว้างไพศาล โฮลดิ้ง จำกัด 12. บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด 13. บริษัท ตรังโฮลดิ้ง จำกัด 14. บริษัท ไกรตะวัน จำกัด 15. บริษัท ตรังชัวร์ จำกัด 16. บริษัท ดิสทริค ดิเวอลอปเม้นท์ 2000 จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท โตทับเที่ยง จำกัด) 17. บริษัท ล้านรอยยิ้ม จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า 1.บริษัท โตพัฒนา จำกัด 2.บริษัท ธรรมรินทร์ เพลนเนอร์ จำกัด) 18. บริษัท เอส.ตรัง ทราเวิล จำกัด 19. บริษัท คอนสแตนท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด 20. บริษัท ตรังทราเวิล แอนด์ อะเมซิ่ง ทราเวิล จำกัด 21. บริษัท เอส.ที.แมเนจเม้นท์(2013) จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ตรัง คลีนนิ่ง จำกัด) ส่วนที่ดินมีจำนวน 31 แปลง ประกอบด้วย โฉนดที่ดินในกรุงเทพฯ 1 แปลง
คดีนี้นายสุธรรม เป็นโจทย์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2560 ฝั่งโจทย์ประกอบด้วยนายสุธรรม โตทับเที่ยง และพี่น้องอีก 8 คนประกอบด้วย นางจุรีย์ โตทับเที่ยง นางจุฬา หวังศิริเลศ นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์ นายสลิล โตทับเที่ยง นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง นางบุษราคัม สินสุข รับมอบอำนาจจาก นางสุภัทรา สินสุข (เสียชีวิตแล้ว) และนายไกลลาภ โตทับเที่ยง
ส่วนจำเลยนำโดยนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ได้แก่ นางอุทัยวรรณ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 นางสาวขิมพริ้ง โตทับเที่ย งจำเลยที่ 2 นายไกรสิน โตทับเที่ยง จำเลยที่ 3 นางสาวกรพินธุ์ โตทับเที่ยงจำเลยที่ 4 นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 5 และนางธัญยาธร โตทับเที่ยงจำเลยที่ 6 โดยโจทก์ทั้ง 9 ได้ยื่นฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัว ที่ทำมาหากินร่วมกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 19
“สุรินทร์ โตทับเที่ยง” แพ้คดีฮุบ “กงสีปุ้มปุ้ย” ศาลสั่งแบ่งหุ้น 21 บริษัท-ที่ดิน 31 แปลงคืนพี่น้อง 9 คน
เผยแพร่: 21 มี.ค. 2561 11:45: โดย: MGR Online
ศาลแพ่งธนบุรี ตัดสินให้ “สุรินทร์ โตทับเที่ยง-ทายาท” แพ้คดี ฮุบสินทรัพย์ตระกูลโตทับเที่ยง พร้อมมีคำสั่งต้องโอนหุ้น 21 บริษัท-ที่ดิน 31 แปลงที่ถือแทนกงสีทั้งหมดนำมาแบ่งคืนให้ 9 พี่น้องโตทับเที่ยง
วานนี้ (20 มี.ค.) เวลา 9.00 น. ศาลแพ่งธนบุรี ได้นัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ พ.2264/2559 เนื่องจากเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา โจทก์ทั้ง 9 ซึ่งนำโดยนายสุธรรม โตทับเที่ยง และพี่น้องอีก 8 คน ประกอบด้วย นางจุรีย์ โตทับเที่ยง, นางจุฬา หวังศิริเลศ, นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์, นายสลิล โตทับเที่ยง, นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง, นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง, นางบุษราคัม สินสุข รับมอบอำนาจจากนางสุภัทรา สินสุข (เสียชีวิตแล้ว) และนายไกลลาภ โตทับเที่ยง
ทั้งนี้ ได้ทำการยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ได้แก่ นางอุทัยวรรณ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 นางสาวขิมพริ้ง โตทับเที่ยง จำเลยที่ 2 นายไกรสิน โตทับเที่ยง จำเลยที่ 3 นางสาวกรพินธุ์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 4 นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 5 และนางธัญยาธร โตทับเที่ยง จำเลยที่ 6 โดยโจทก์ทั้ง 9 ได้ยื่นฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัว ที่ทำมาหากินร่วมกัน
ศาลแพ่งธนบุรี ได้พิพากษาตัดสินให้นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 และพวก คือ จำเลยที่ 2-6 ที่ถือแทนสินทรัพย์ของครอบครัว ประกอบด้วย หุ้นใน 21 บริษัท และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ถือแทนพี่น้องทั้ง 10 คน รวมจำเลยที่ 1 ด้วย นำแบ่งให้โจทก์ทั้ง 9 และให้จำเลย 1 ส่วน
สำหรับหุ้นทั้ง 21 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทดังต่อไปนี้ 1. บริษัท กว้างไพศาล จำกัด 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด ( มหาชน ) หรือปุ้มปุ้ย 3. บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท สยามกว้าง จำกัด) 4. บริษัท เอส.ตรัง คอมเพล็กซ์ จำกัด 5. บริษัท เอส.ตรัง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ส่งสะดวก จำกัด) 6. บริษัท เอส.ตรัง เอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า อะเมซิ่งฟู้ด โปรดักซ์ จำกัด) 7. บริษัท ตรังแคนเนอรี่ จำกัด 8. บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด 9. บริษัท อะเมซิ่ง ไอเดีย จำกัด 10. บริษัท ตรัง กว้างไพศาล จำกัด 11. บริษัท กว้างไพศาล โฮลดิ้ง จำกัด 12. บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด 13. บริษัท ตรังโฮลดิ้ง จำกัด 14. บริษัท ไกรตะวัน จำกัด 15. บริษัท ตรังชัวร์ จำกัด 16. บริษัท ดิสทริค ดิเวอลอปเม้นท์ 2000 จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท โตทับเที่ยง จำกัด) 17. บริษัท ล้านรอยยิ้ม จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า 1. บริษัท โตพัฒนา จำกัด 2. บริษัท ธรรมรินทร์ เพลนเนอร์ จำกัด) 18. บริษัท เอส.ตรัง ทราเวิล จำกัด 19. บริษัท คอนสแตนท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด 20. บริษัท ตรังทราเวิล แอนด์ อะเมซิ่ง ทราเวิล จำกัด 21. บริษัท เอส.ที.แมเนจเม้นท์(2013) จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ตรัง คลีนนิ่ง จำกัด)
ส่วนที่ดินมีจำนวน 31 แปลง ประกอบด้วย โฉนดที่ดินในกรุงเทพฯ 1 แปลง และโฉนดที่ดินที่ตรัง 30 แปลง ได้แก่ โฉนดที่ดินเลขที่ 1027* บางลำพูล่าง กรุงเทพฯ
ส่วนโฉนดในจังหวัดตรัง ประกอบด้วย โฉนดที่ดินเลขที่ 568, โฉนดที่ดินเลขที่ 6922*, โฉนดที่ดินเลขที่ 9658*, โฉนดที่ดินเลขที่ 11815*, โฉนดที่ดินเลขที่ 11816*, โฉนดที่ดินเลขที่ 11817*, โฉนดที่ดินเลขที่ 19941*, โฉนดที่ดินเลขที่ 19943*, โฉนดที่ดินเลขที่ 20765, โฉนดที่ดินเลขที่ 22701, โฉนดที่ดินเลขที่ 24123*, โฉนดที่ดินเลขที่ 24377, โฉนดที่ดินเลขที่ 25439
โฉนดที่ดินเลขที่ 25454*, โฉนดที่ดินเลขที่ 25657, โฉนดที่ดินเลขที่ 25927*, โฉนดที่ดินเลขที่ 26340, โฉนดที่ดินเลขที่ 26361, โฉนดที่ดินเลขที่ 26365, โฉนดที่ดินเลขที่ 26631*, โฉนดที่ดินเลขที่ 28273*, โฉนดที่ดินเลขที่ 28775*, โฉนดที่ดินเลขที่ 32087, โฉนดที่ดินเลขที่ 41309, โฉนดที่ดินเลขที่ 41310, โฉนดที่ดินเลขที่ 41311, โฉนดที่ดินเลขที่ 41312, โฉนดที่ดินเลขที่ 41313, โฉนดที่ดินเลขที่ 41327 และโฉนดที่ดินเลขที่ 41328
เผยแพร่: 21 มี.ค. 2561 11:45: โดย: MGR Online
ศาลแพ่งธนบุรี ตัดสินให้ “สุรินทร์ โตทับเที่ยง-ทายาท” แพ้คดี ฮุบสินทรัพย์ตระกูลโตทับเที่ยง พร้อมมีคำสั่งต้องโอนหุ้น 21 บริษัท-ที่ดิน 31 แปลงที่ถือแทนกงสีทั้งหมดนำมาแบ่งคืนให้ 9 พี่น้องโตทับเที่ยง
วานนี้ (20 มี.ค.) เวลา 9.00 น. ศาลแพ่งธนบุรี ได้นัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ พ.2264/2559 เนื่องจากเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา โจทก์ทั้ง 9 ซึ่งนำโดยนายสุธรรม โตทับเที่ยง และพี่น้องอีก 8 คน ประกอบด้วย นางจุรีย์ โตทับเที่ยง, นางจุฬา หวังศิริเลศ, นางจุรัตน์ มะนะสุทธิ์, นายสลิล โตทับเที่ยง, นางสาวสุนีย์ โตทับเที่ยง, นางสาวศิริพร โตทับเที่ยง, นางบุษราคัม สินสุข รับมอบอำนาจจากนางสุภัทรา สินสุข (เสียชีวิตแล้ว) และนายไกลลาภ โตทับเที่ยง
ทั้งนี้ ได้ทำการยื่นฟ้องนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ได้แก่ นางอุทัยวรรณ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 นางสาวขิมพริ้ง โตทับเที่ยง จำเลยที่ 2 นายไกรสิน โตทับเที่ยง จำเลยที่ 3 นางสาวกรพินธุ์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 4 นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 5 และนางธัญยาธร โตทับเที่ยง จำเลยที่ 6 โดยโจทก์ทั้ง 9 ได้ยื่นฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในกงสี หรือทรัพย์ของครอบครัว ที่ทำมาหากินร่วมกัน
ศาลแพ่งธนบุรี ได้พิพากษาตัดสินให้นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง จำเลยที่ 1 และพวก คือ จำเลยที่ 2-6 ที่ถือแทนสินทรัพย์ของครอบครัว ประกอบด้วย หุ้นใน 21 บริษัท และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ถือแทนพี่น้องทั้ง 10 คน รวมจำเลยที่ 1 ด้วย นำแบ่งให้โจทก์ทั้ง 9 และให้จำเลย 1 ส่วน
สำหรับหุ้นทั้ง 21 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทดังต่อไปนี้ 1. บริษัท กว้างไพศาล จำกัด 2. บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด ( มหาชน ) หรือปุ้มปุ้ย 3. บริษัท กว้างโฮลดิ้ง จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท สยามกว้าง จำกัด) 4. บริษัท เอส.ตรัง คอมเพล็กซ์ จำกัด 5. บริษัท เอส.ตรัง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ส่งสะดวก จำกัด) 6. บริษัท เอส.ตรัง เอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า อะเมซิ่งฟู้ด โปรดักซ์ จำกัด) 7. บริษัท ตรังแคนเนอรี่ จำกัด 8. บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำกัด 9. บริษัท อะเมซิ่ง ไอเดีย จำกัด 10. บริษัท ตรัง กว้างไพศาล จำกัด 11. บริษัท กว้างไพศาล โฮลดิ้ง จำกัด 12. บริษัท โตโฮลดิ้ง จำกัด 13. บริษัท ตรังโฮลดิ้ง จำกัด 14. บริษัท ไกรตะวัน จำกัด 15. บริษัท ตรังชัวร์ จำกัด 16. บริษัท ดิสทริค ดิเวอลอปเม้นท์ 2000 จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท โตทับเที่ยง จำกัด) 17. บริษัท ล้านรอยยิ้ม จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า 1. บริษัท โตพัฒนา จำกัด 2. บริษัท ธรรมรินทร์ เพลนเนอร์ จำกัด) 18. บริษัท เอส.ตรัง ทราเวิล จำกัด 19. บริษัท คอนสแตนท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด 20. บริษัท ตรังทราเวิล แอนด์ อะเมซิ่ง ทราเวิล จำกัด 21. บริษัท เอส.ที.แมเนจเม้นท์(2013) จำกัด (เดิมใช้ชื่อว่า บริษัท ตรัง คลีนนิ่ง จำกัด)
ส่วนที่ดินมีจำนวน 31 แปลง ประกอบด้วย โฉนดที่ดินในกรุงเทพฯ 1 แปลง และโฉนดที่ดินที่ตรัง 30 แปลง ได้แก่ โฉนดที่ดินเลขที่ 1027* บางลำพูล่าง กรุงเทพฯ
ส่วนโฉนดในจังหวัดตรัง ประกอบด้วย โฉนดที่ดินเลขที่ 568, โฉนดที่ดินเลขที่ 6922*, โฉนดที่ดินเลขที่ 9658*, โฉนดที่ดินเลขที่ 11815*, โฉนดที่ดินเลขที่ 11816*, โฉนดที่ดินเลขที่ 11817*, โฉนดที่ดินเลขที่ 19941*, โฉนดที่ดินเลขที่ 19943*, โฉนดที่ดินเลขที่ 20765, โฉนดที่ดินเลขที่ 22701, โฉนดที่ดินเลขที่ 24123*, โฉนดที่ดินเลขที่ 24377, โฉนดที่ดินเลขที่ 25439
โฉนดที่ดินเลขที่ 25454*, โฉนดที่ดินเลขที่ 25657, โฉนดที่ดินเลขที่ 25927*, โฉนดที่ดินเลขที่ 26340, โฉนดที่ดินเลขที่ 26361, โฉนดที่ดินเลขที่ 26365, โฉนดที่ดินเลขที่ 26631*, โฉนดที่ดินเลขที่ 28273*, โฉนดที่ดินเลขที่ 28775*, โฉนดที่ดินเลขที่ 32087, โฉนดที่ดินเลขที่ 41309, โฉนดที่ดินเลขที่ 41310, โฉนดที่ดินเลขที่ 41311, โฉนดที่ดินเลขที่ 41312, โฉนดที่ดินเลขที่ 41313, โฉนดที่ดินเลขที่ 41327 และโฉนดที่ดินเลขที่ 41328
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 20
POMPUI ปี 60 กำไรที่ 70.9 ลบ. เทียบกับปี 59 กำไรที่ 57.72 ลบ.
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Monday, February 26, 2018 17:04
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 ก.พ. 61)--ปุ้มปุ้ยกำไรปี 60 เท่ากับ 70.9 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.14 บาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไร 57.72 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.13 บาท
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ
งวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
สอบทาน/ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม (หน่วย : พันบาท)
งวด 1 ปี
ปี 2560 2559
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 70,899 57,721
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.14 0.13
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Monday, February 26, 2018 17:04
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 ก.พ. 61)--ปุ้มปุ้ยกำไรปี 60 เท่ากับ 70.9 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.14 บาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไร 57.72 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.13 บาท
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ
งวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
สอบทาน/ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม (หน่วย : พันบาท)
งวด 1 ปี
ปี 2560 2559
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 70,899 57,721
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.14 0.13
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 21
คอลัมน์: หุ้นแช่แข็ง20Freeze Stcok: ปุ้มปุ้ย กำไรพุ่ง ลุ้นกลับมาเทรด
Source - มิติหุ้น (Th)
Thursday, March 15, 2018 08:14
ผู้ผลิตอาหารบรรจุกระป๋องตราปุ้มปุ้ย
POMPUI อีกหนึ่งในตำนานของวงการตลาดหุ้นไทย เชื่อว่านักลงทุนยังพอจดจำหุ้น POMPUI หรือชื่อเต็มว่า บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศกระป๋องภายใต้แบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" และ "ปลายิ้ม" โดย POMPUI ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2537 และได้เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2538 ซึ่งราคาหุ้นได้ทำจุดสูงสุดในการซื้อขายระหว่างวันที่ระดับ 64.00 บาท
กลุ่มผู้ถือห้นใหญ่ขัดแย้งจนบริษัทล่ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีจุดสูงสุดก็ต้องมีจุดต่ำสุด โดยในปี 2548 ราคาหุ้น POMPUI ได้เริ่มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ และปัญหาทางการเงิน จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ ได้ส่งผลให้หุ้น POMPUI ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนที่จะหยุดซื้อขายเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2548 โดยราคาปิดสุดท้ายอยู่ที่ระดับ 2.16 บาท
หลังจากนั้น แม้หุ้น POMPUI จะหยุดการซื้อขายในตลาดหุ้น แต่ก็ยังคงมีการส่งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ ซึ่งนับจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 10 ปีที่หุ้น POMPUI ได้หยุดการซื้อขายไป แต่ในส่วนของธุรกิจก็ยังมีการเติบโตได้ในระดับที่เรียกว่าน่าพอใจ และในปี 2559 คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารได้มีนโยบายให้มีการจัดทำแผนธุรกิจ Business Plan เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ของบริษัทในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อกลับมาเติบโต
โดยประเด็นสำคัญของแผนธุรกิจระยะ 3-5 ปีของ POMPUI ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือการสร้างยอดขายให้มีการเติบโตเฉลี่ย 8% และรักษาการเพิ่มขึ้นของผลกำไรอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ รวมถึงช่องทางด้านออนไลน์ และรุกขยายตลาดกลุ่มประเทศ CLMV การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องของอัตราผลกำไร
ส่วนเพิ่มของต้นทุนผลิตภัณฑ์ประมาณ 25-30% ของต้นทุนยื่นเรื่องต่อ ตลท. หวังกลับมาเทรด
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าทางผู้บริหารของ POMPUI ได้มีการยื่นเรื่องต่อตลท.เพื่อขอให้หุ้น POMPUI กลับมาซื้อขายได้อีกครั้ง โดยได้ดำเนินการไปตั้งแต่เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา และตั้งความหวังว่าหุ้น POMPUI จะสามารถกลับมาซื้อขายได้ในเร็วๆนี้ เนื่องจากผลประกอบการก็สามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีกำไรสุทธิ 57.72 ล้านบาท และในปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 70.90 ล้านบาท ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จในปี 2559 และ 2560
ขณะที่ในด้านการเงินนั้น ทาง POMPUI ยังมีเป้าหมายที่ล้างขาดทุนสะสมที่เหลืออยู่อีกราว 415.47 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการสร้างผลประกอบการให้มีกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ POMPUI ได้มีการล้างขาดทุนสะสมไปแล้วกว่า 250 ล้านบาท ด้วยการลดพาร์จากหุ้นละ 10 บาท มาเหลือหุ้นละ 1 บาท และหักด้วยกำไรสุทธิปี 2560 อีก 70.90 ล้านบาท
บรรยายใต้ภาพ
สุรินทร์ โตทับเที่ยง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มิติหุ้น
Source - มิติหุ้น (Th)
Thursday, March 15, 2018 08:14
ผู้ผลิตอาหารบรรจุกระป๋องตราปุ้มปุ้ย
POMPUI อีกหนึ่งในตำนานของวงการตลาดหุ้นไทย เชื่อว่านักลงทุนยังพอจดจำหุ้น POMPUI หรือชื่อเต็มว่า บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศกระป๋องภายใต้แบรนด์ "ปุ้มปุ้ย" และ "ปลายิ้ม" โดย POMPUI ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2537 และได้เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2538 ซึ่งราคาหุ้นได้ทำจุดสูงสุดในการซื้อขายระหว่างวันที่ระดับ 64.00 บาท
กลุ่มผู้ถือห้นใหญ่ขัดแย้งจนบริษัทล่ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีจุดสูงสุดก็ต้องมีจุดต่ำสุด โดยในปี 2548 ราคาหุ้น POMPUI ได้เริ่มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ และปัญหาทางการเงิน จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ ได้ส่งผลให้หุ้น POMPUI ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนที่จะหยุดซื้อขายเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2548 โดยราคาปิดสุดท้ายอยู่ที่ระดับ 2.16 บาท
หลังจากนั้น แม้หุ้น POMPUI จะหยุดการซื้อขายในตลาดหุ้น แต่ก็ยังคงมีการส่งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ ซึ่งนับจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 10 ปีที่หุ้น POMPUI ได้หยุดการซื้อขายไป แต่ในส่วนของธุรกิจก็ยังมีการเติบโตได้ในระดับที่เรียกว่าน่าพอใจ และในปี 2559 คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารได้มีนโยบายให้มีการจัดทำแผนธุรกิจ Business Plan เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ของบริษัทในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อกลับมาเติบโต
โดยประเด็นสำคัญของแผนธุรกิจระยะ 3-5 ปีของ POMPUI ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือการสร้างยอดขายให้มีการเติบโตเฉลี่ย 8% และรักษาการเพิ่มขึ้นของผลกำไรอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ รวมถึงช่องทางด้านออนไลน์ และรุกขยายตลาดกลุ่มประเทศ CLMV การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องของอัตราผลกำไร
ส่วนเพิ่มของต้นทุนผลิตภัณฑ์ประมาณ 25-30% ของต้นทุนยื่นเรื่องต่อ ตลท. หวังกลับมาเทรด
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าทางผู้บริหารของ POMPUI ได้มีการยื่นเรื่องต่อตลท.เพื่อขอให้หุ้น POMPUI กลับมาซื้อขายได้อีกครั้ง โดยได้ดำเนินการไปตั้งแต่เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา และตั้งความหวังว่าหุ้น POMPUI จะสามารถกลับมาซื้อขายได้ในเร็วๆนี้ เนื่องจากผลประกอบการก็สามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีกำไรสุทธิ 57.72 ล้านบาท และในปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 70.90 ล้านบาท ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จในปี 2559 และ 2560
ขณะที่ในด้านการเงินนั้น ทาง POMPUI ยังมีเป้าหมายที่ล้างขาดทุนสะสมที่เหลืออยู่อีกราว 415.47 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการสร้างผลประกอบการให้มีกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ POMPUI ได้มีการล้างขาดทุนสะสมไปแล้วกว่า 250 ล้านบาท ด้วยการลดพาร์จากหุ้นละ 10 บาท มาเหลือหุ้นละ 1 บาท และหักด้วยกำไรสุทธิปี 2560 อีก 70.90 ล้านบาท
บรรยายใต้ภาพ
สุรินทร์ โตทับเที่ยง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์มิติหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 22
ปุ้มปุ้ย กำไรพุ่ง ลุ้นกลับมาเทรด
Source - มิติหุ้นออนไลน์ (Th)
Thursday, March 15, 2018 08:49
ผู้ผลิตอาหารบรรจุกระป๋องตราปุ้มปุ้ย
POMPUIอีกหนึ่งในตำนานของวงการตลาดหุ้นไทย เชื่อว่านักลงทุนยังพอจดจำหุ้น POMPUI หรือชื่อเต็มว่า บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศกระป๋องภายใต้แบรนด์ “ปุ้มปุ้ย” และ “ปลายิ้ม” โดย POMPUI ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2537 และได้เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2538 ซึ่งราคาหุ้นได้ทำจุดสูงสุดในการซื้อขายระหว่างวันที่ระดับ 64.00 บาท
กลุ่มผู้ถือห้นใหญ่ขัดแย้งจนบริษัทล่ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีจุดสูงสุดก็ต้องมีจุดต่ำสุด โดยในปี 2548 ราคาหุ้น POMPUI ได้เริ่มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ และปัญหาทางการเงิน จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ ได้ส่งผลให้หุ้น POMPUI ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนที่จะหยุดซื้อขายเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2548 โดยราคาปิดสุดท้ายอยู่ที่ระดับ 2.16 บาท
หลังจากนั้น แม้หุ้น POMPUI จะหยุดการซื้อขายในตลาดหุ้น แต่ก็ยังคงมีการส่งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ ซึ่งนับจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 10 ปีที่หุ้น POMPUI ได้หยุดการซื้อขายไป แต่ในส่วนของธุรกิจก็ยังมีการเติบโตได้ในระดับที่เรียกว่าน่าพอใจ และในปี 2559 คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารได้มีนโยบายให้มีการจัดทำแผนธุรกิจBusiness Planเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ของบริษัทในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อกลับมาเติบโต
โดยประเด็นสำคัญของแผนธุรกิจระยะ 3-5 ปีของ POMPUI ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือการสร้างยอดขายให้มีการเติบโตเฉลี่ย 8% และรักษาการเพิ่มขึ้นของผลกำไรอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ รวมถึงช่องทางด้านออนไลน์ และรุกขยายตลาดกลุ่มประเทศCLMV การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องของอัตราผลกำไรส่วนเพิ่มของต้นทุนผลิตภัณฑ์ประมาณ 25-30% ของต้นทุน
ยื่นเรื่องต่อ ตลท. หวังกลับมาเทรด
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าทางผู้บริหารของ POMPUI ได้มีการยื่นเรื่องต่อตลท.เพื่อขอให้หุ้น POMPUI กลับมาซื้อขายได้อีกครั้ง โดยได้ดำเนินการไปตั้งแต่เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา และตั้งความหวังว่าหุ้น POMPUI จะสามารถกลับมาซื้อขายได้ในเร็วๆนี้ เนื่องจากผลประกอบการก็สามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีกำไรสุทธิ 57.72 ล้านบาท และในปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 70.90 ล้านบาท ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จในปี 2559 และ 2560
ขณะที่ในด้านการเงินนั้น ทาง POMPUI ยังมีเป้าหมายที่ล้างขาดทุนสะสมที่เหลืออยู่อีกราว 415.47 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการสร้างผลประกอบการให้มีกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ POMPUI ได้มีการล้างขาดทุนสะสมไปแล้วกว่า 250 ล้านบาท ด้วยการลดพาร์จากหุ้นละ 10 บาท มาเหลือหุ้นละ 1 บาท และหักด้วยกำไรสุทธิปี 2560อีก 70.90 ล้านบาท
งบการเงินย่อ
งบการเงิน 60
งบการเงิน59
งบการเงิน58
รายได้
1,483
1,403
1,316
กำไรสุทธิ
70
57
58
สินทรัพย์
856
811
790
หนี้สิน
680
705
1,050
ส่วนทุน
176
105
-260
พาร์ (บ)
1
1
1
ราคาปิด (บ)
2.16
2.16
2.16
PBV (เท่า)
na
na
na
รายชื่อกรรมการล่าสุด
รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง
นาย สุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ
นาย สุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
นาย ทวีศักดิ์ นารายณ์ประทาน กรรมการ
นาย ไกรสิน โตทับเที่ยง กรรมการ
https://www.smilingfish.com/
ที่มา: http://www.mitihoon.com
Source - มิติหุ้นออนไลน์ (Th)
Thursday, March 15, 2018 08:49
ผู้ผลิตอาหารบรรจุกระป๋องตราปุ้มปุ้ย
POMPUIอีกหนึ่งในตำนานของวงการตลาดหุ้นไทย เชื่อว่านักลงทุนยังพอจดจำหุ้น POMPUI หรือชื่อเต็มว่า บมจ.ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศกระป๋องภายใต้แบรนด์ “ปุ้มปุ้ย” และ “ปลายิ้ม” โดย POMPUI ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2537 และได้เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2538 ซึ่งราคาหุ้นได้ทำจุดสูงสุดในการซื้อขายระหว่างวันที่ระดับ 64.00 บาท
กลุ่มผู้ถือห้นใหญ่ขัดแย้งจนบริษัทล่ม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีจุดสูงสุดก็ต้องมีจุดต่ำสุด โดยในปี 2548 ราคาหุ้น POMPUI ได้เริ่มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ และปัญหาทางการเงิน จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ ได้ส่งผลให้หุ้น POMPUI ต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนที่จะหยุดซื้อขายเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2548 โดยราคาปิดสุดท้ายอยู่ที่ระดับ 2.16 บาท
หลังจากนั้น แม้หุ้น POMPUI จะหยุดการซื้อขายในตลาดหุ้น แต่ก็ยังคงมีการส่งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ ซึ่งนับจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 10 ปีที่หุ้น POMPUI ได้หยุดการซื้อขายไป แต่ในส่วนของธุรกิจก็ยังมีการเติบโตได้ในระดับที่เรียกว่าน่าพอใจ และในปี 2559 คณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารได้มีนโยบายให้มีการจัดทำแผนธุรกิจBusiness Planเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกลยุทธ์ของบริษัทในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อกลับมาเติบโต
โดยประเด็นสำคัญของแผนธุรกิจระยะ 3-5 ปีของ POMPUI ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือการสร้างยอดขายให้มีการเติบโตเฉลี่ย 8% และรักษาการเพิ่มขึ้นของผลกำไรอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ รวมถึงช่องทางด้านออนไลน์ และรุกขยายตลาดกลุ่มประเทศCLMV การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องของอัตราผลกำไรส่วนเพิ่มของต้นทุนผลิตภัณฑ์ประมาณ 25-30% ของต้นทุน
ยื่นเรื่องต่อ ตลท. หวังกลับมาเทรด
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าทางผู้บริหารของ POMPUI ได้มีการยื่นเรื่องต่อตลท.เพื่อขอให้หุ้น POMPUI กลับมาซื้อขายได้อีกครั้ง โดยได้ดำเนินการไปตั้งแต่เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา และตั้งความหวังว่าหุ้น POMPUI จะสามารถกลับมาซื้อขายได้ในเร็วๆนี้ เนื่องจากผลประกอบการก็สามารถสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีกำไรสุทธิ 57.72 ล้านบาท และในปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 70.90 ล้านบาท ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวกได้สำเร็จในปี 2559 และ 2560
ขณะที่ในด้านการเงินนั้น ทาง POMPUI ยังมีเป้าหมายที่ล้างขาดทุนสะสมที่เหลืออยู่อีกราว 415.47 ล้านบาท ซึ่งมีแผนการสร้างผลประกอบการให้มีกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ POMPUI ได้มีการล้างขาดทุนสะสมไปแล้วกว่า 250 ล้านบาท ด้วยการลดพาร์จากหุ้นละ 10 บาท มาเหลือหุ้นละ 1 บาท และหักด้วยกำไรสุทธิปี 2560อีก 70.90 ล้านบาท
งบการเงินย่อ
งบการเงิน 60
งบการเงิน59
งบการเงิน58
รายได้
1,483
1,403
1,316
กำไรสุทธิ
70
57
58
สินทรัพย์
856
811
790
หนี้สิน
680
705
1,050
ส่วนทุน
176
105
-260
พาร์ (บ)
1
1
1
ราคาปิด (บ)
2.16
2.16
2.16
PBV (เท่า)
na
na
na
รายชื่อกรรมการล่าสุด
รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง
นาย สุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ
นาย สุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
นาย ทวีศักดิ์ นารายณ์ประทาน กรรมการ
นาย ไกรสิน โตทับเที่ยง กรรมการ
https://www.smilingfish.com/
ที่มา: http://www.mitihoon.com
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 23
รอยร้าวโตทับเที่ยง! 'วิษณุ'เปิดที่ทำการอาคารใหม่'ปุ้มปุ้ย'
Source - เว็บไซต์แนวหน้า (Th)
Saturday, March 24, 2018 14:54
“วิษณุ”เปิดอาคารสุรินทร์ ที่ทำการใหม่ “ปุ้มปุ้ย” ย่านคลองสาน ไร้เงาพี่น้องโตทับเที่ยงร่วมยินดี หลังศาลแพ่งพิพากษาให้ “สุรินทร์” คืนหุ้นให้พี่น้อง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
24 มี.ค. 61 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารที่ทำการ อาคารสุรินทร์ ถ.เชียงใหม่ เขตคลองสาน ในวันพฤหัสที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตรา ปุ้มปุ้ย พร้อมคณะผู้บริหารและแขกที่มาร่วมงาน ให้การต้อนรับ
รายงานข่าวแจ้งว่า อาคารแห่งนี้จะใช่เป็นที่ทำการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือปุ้มปุ้ย แห่งใหม่ โดยเป็นที่น่าสังเกตการเปิดอาคารครั้งนี้ มีเพียงบุคคลในครอบครัวของนายสุรินทร์เข้าร่วม แต่ไม่มีพี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงรายอื่น เหมือนเป็นการตอกย้ำความร้าวลึกในครอบครัวที่คงไม่จบลงง่ายๆ ภายหลังจากวันอังคารที่ 20 มี.ค.ทางศาลแพ่งธนบุรี ได้อ่านคำพิพากษาให้นายสุรินทร์ คืนหุ้น 21 บริษัท และที่ดินรวม 31 แปลง แบ่งสรรปันส่วนเท่าๆกันให้แก่พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง จำนวน 9 คน
"อาคารสุรินทร์หลังใหม่นี้ ก็ตั้งอยู่ในที่ดินในคำพิพากษาของศาลด้วย อนึ่ง คดีขอคืนสินทรัพย์ในกงสีครอบครัว โตทับเที่ยง คดีนี้พี่น้อง 9 คนได้ยื่นฟ้องนายสุรินทร์และพวกรวม 6 คน ซึ่งถือแทนสินทรัพย์ครอบครัว ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 2560 จนศาลมีคำสั่งให้แบ่งทรัพย์สินแก่พี่น้องทุกคนดังกล่าว" รายงานข่าว ระบุ
ที่มา: http://www.naewna.com
Source - เว็บไซต์แนวหน้า (Th)
Saturday, March 24, 2018 14:54
“วิษณุ”เปิดอาคารสุรินทร์ ที่ทำการใหม่ “ปุ้มปุ้ย” ย่านคลองสาน ไร้เงาพี่น้องโตทับเที่ยงร่วมยินดี หลังศาลแพ่งพิพากษาให้ “สุรินทร์” คืนหุ้นให้พี่น้อง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
24 มี.ค. 61 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารที่ทำการ อาคารสุรินทร์ ถ.เชียงใหม่ เขตคลองสาน ในวันพฤหัสที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตรา ปุ้มปุ้ย พร้อมคณะผู้บริหารและแขกที่มาร่วมงาน ให้การต้อนรับ
รายงานข่าวแจ้งว่า อาคารแห่งนี้จะใช่เป็นที่ทำการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือปุ้มปุ้ย แห่งใหม่ โดยเป็นที่น่าสังเกตการเปิดอาคารครั้งนี้ มีเพียงบุคคลในครอบครัวของนายสุรินทร์เข้าร่วม แต่ไม่มีพี่น้องในตระกูลโตทับเที่ยงรายอื่น เหมือนเป็นการตอกย้ำความร้าวลึกในครอบครัวที่คงไม่จบลงง่ายๆ ภายหลังจากวันอังคารที่ 20 มี.ค.ทางศาลแพ่งธนบุรี ได้อ่านคำพิพากษาให้นายสุรินทร์ คืนหุ้น 21 บริษัท และที่ดินรวม 31 แปลง แบ่งสรรปันส่วนเท่าๆกันให้แก่พี่น้องตระกูลโตทับเที่ยง จำนวน 9 คน
"อาคารสุรินทร์หลังใหม่นี้ ก็ตั้งอยู่ในที่ดินในคำพิพากษาของศาลด้วย อนึ่ง คดีขอคืนสินทรัพย์ในกงสีครอบครัว โตทับเที่ยง คดีนี้พี่น้อง 9 คนได้ยื่นฟ้องนายสุรินทร์และพวกรวม 6 คน ซึ่งถือแทนสินทรัพย์ครอบครัว ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 2560 จนศาลมีคำสั่งให้แบ่งทรัพย์สินแก่พี่น้องทุกคนดังกล่าว" รายงานข่าว ระบุ
ที่มา: http://www.naewna.com
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 24
มาแล้วๆ !! หุ้นฟื้นฟูตระกูลดังจ่อเปิดเทรด
โดย The Bangkok Insight Editorial Team 15 มิถุนายน 2561
การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศรายชื่อบริษัทในกลุ่มฟื้นฟูกิจการ ซึ่งสามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนได้แล้ว และมีคุณสมบัติกลับมา ซื้อขาย(Resume Stage) จำนวน 16 บริษัท แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มฐานะการเงิน กรณีส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าศูนย์ ปัจจุบันมีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกแล้วให้เวลาจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 ได้แก่ หุ้นADAMและให้เวลาจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ได้แก่ หุ้น KTECH หุ้น NFC หุ้น POMPUI หุ้น PRO หุ้น SAFARI หุ้น STHAI หุ้น THL หุ้น VI หุ้น WORLD หุ้น WR และหุ้น YCI
2.กลุ่มเป็นบริษัทที่ไม่ส่งงบการเงินภายในกำหนด ปัจจุบันส่งงบการเงินที่ล่าช้า และครบกำหนดเวลาดำเนินการได้ครบถ้วน ให้เวลาจนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2562 ได้แก่ หุ้น AI หุ้น AIE หุ้น BLISS และหุ้น BUI
ขณะนี้มีบริษัทจดทะเบียนได้ยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนแล้ว ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างพิจารณาให้เปิดซื้อขายได้ตามปกติ ประกอบด้วย
บริษัท เอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ NFC
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI
บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAFARI
บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน)หรือ BLISS
บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)หรือ BUI
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้หุ้นของบริษัท เอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ NFC พ้นเหตุอาจถูกเพิกถอน โดยปลดเครื่องหมายห้ามการซื้อขาย ( SP) และให้เริ่มทำการซื้อขายหุ้น NFC ในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 2561 ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทแรกในกลุ่มนี้
จากการสำรวจข้อมูลของหุ้นกลุ่มฟื้นฟูกิจการดังกล่าว จะพบว่า บรรดาผู้ถือหุ้นใหญ่จะอยู่ในกลุ่มตระกูลดัง ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และสำหรับที่มาของการเข้ามาถือหุ้นในครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละบริษัท จะเลือกทำ ซึ่งอาจจะมาจากการรับซื้อหุ้นเพิ่มทุนในระหว่างที่บริษัทฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ฐานะการเงินเป็นไปตามคุณสมบัติที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ สามารถทำให้หุ้นกลับมาซื้อได้ตามปกติ หรืออาจใช้วิธีการซื้อกิจการ(เทคโอเวอร์)จากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด เพื่อเข้ามาปรับโครงสร้างทางการเงิน โครงสร้างธุรกิจ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หุ้น NFC ปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจ นำเข้าและจำหน่ายแอมโมเนีย แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และกรดกำมะถัน รวมทั้งให้บริการคลังสินค้า โลจิสติกส์ และท่าเทียบเรือ และมีผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง คือ ณัฐภพ รัตนสุวรรณทวี จำนวน 607.41 ล้านหุ้น คิดเป็น 55.84%
ขณะที่่ วิชัย ทองแตง ทนายความและนักเทคโอเวอร์ชื่อดัง ถือหุ้นจำนวน 25.60 ล้านหุ้นคิดเป็น 2.35% ทั้งนี้ บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวกแล้วอยู่ที่ 986.53 ล้านบาท ส่วนราคาหุ้นที่ซื้อขายครั้งสุดท้ายอยู่ที่ 1.36 บาทต่อหุ้น มูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 0.91 บาทต่อหุ้น
หุ้น POMPUI บริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องและอาหารในภาชนะปิดผนึกสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า ปุ้มปุ้ย และ ปลายิ้ม โดยมีกลุ่มตระกูล “โตทับเที่ยง“ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ล่าสุดจะเห็นว่า สมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด ถือหุ้น 9.73 ล้านหุ้นคิดเป็น 1.94% ขณะที่ล่าสุดบริษัทมีส่วนทุนเป็นบวกอยู่ที่178.34 ล้านบาท ราคาหุ้นล่าสุดที่ปิดซื้อขายอยู่ที่ 2.16 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นตามบัญชี อยู่ที่ 0.36 บาทต่อหุ้น
หุ้น SAFARI บริษัทประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและนันทนาการในรูปสวนสัตว์เปิด สวนน้ำ และ Theme Park โดยมีกลุ่มตระกูล “คิ้วคชา” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งและยังพบว่า ทวีฉัตร จุฬางกูร นักลงทุนรายใหญ่ ถือหุ้นเป็นอันดับ 2 มีจำนวน 220 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.90% ขณะที่บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวกอยู่ที่ 3,042.12 ล้านบาท ราคาหุ้นปิดซื้อขายอยู่ที่ 2.40 บาทต่อหุ้น และราคามูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 1.37 บาทต่อหุ้น
หุ้น BLISS ดำเนินธุรกิจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ทั้งทางด้าน Software และ Hardware โดยเน้นลักษณะการทำตลาดโครงการสารสนเทศ โดยมีกลุ่มตระกูล “ทองแตง” ถือหุ้นใหญ่ ผ่านบุตรของของวิชัย ทองแตง เช่น อัฐ ทองแตง ถือหุ้น 340 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.95% อิทธิ ทองแตง ถือหุ้น 295 ล้านหุ้น คิดเป็น 4.30%
ขณะที่กลุ่มตระกูล “ภัทรประสิทธิ์” ถือผ่าน วีณา ภัทรประสิทธิ์ 280 ล้านหุ้น คิดเป็น 4.07% และบริษัทมีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกอยู่ที่ 1,669.15 ล้านบาท ราคาหุ้นปิดซื้อขาย 0.03 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นตามบัญชีอยู่ที่ 0.24 บาทต่อหุ้น
หุ้น BUI ดำเนินธุรกิจรับประกันวินาศภัยตามกรมธรรม์ประเภทต่าง ๆ เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยเบ็ดเตล็ด นอกจากนี้ยังมีรายได้เสริมจากการให้เช่าอาคารสำนักงานสูงอีกด้วย บริษัทมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นกลุ่มตระกูล “เลี่ยวไพรัตน์” โดยถือผ่านบริษัท เลียวไพรัตนวิสาหกิจ จำกัด 4.62 ล้านหุ้นคิดเป็น15.40% บริษัท เลี่ยวไพรัตน์วิสาหกิจ จํากัด 4.15 ล้านหุ้นคิดเป็น13.84%
ขณะที่ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ถือหุ้น 1.21 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.05% มีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกอยู่ที่ 709.53 ล้านบาท ราคาหุ้นปิดซื้อขายที่ 13.47 บาท มูลค่าหุ้นตามบัญชีอยู่ที่ 23.65 บาทต่อหุ้น
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า หุ้นของตระกูลดังกำลังจะกลับมาเปิดซื้อขายได้อีกครั้ง หลังจากถูกห้ามซื้อขายมาเป็นระยะยาวนานมากกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าติดตามว่า หลังจากที่บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จแล้ว ปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไป และฐานะการเงินมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในอดีต
ปัจจัยเหล่านั้น จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นและหันมาให้ความสนใจซื้อขายหุ้นหรือไม่นั้น คงต้องรอดูกันต่อไป
โดย The Bangkok Insight Editorial Team 15 มิถุนายน 2561
การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศรายชื่อบริษัทในกลุ่มฟื้นฟูกิจการ ซึ่งสามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนได้แล้ว และมีคุณสมบัติกลับมา ซื้อขาย(Resume Stage) จำนวน 16 บริษัท แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มฐานะการเงิน กรณีส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าศูนย์ ปัจจุบันมีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกแล้วให้เวลาจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 ได้แก่ หุ้นADAMและให้เวลาจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ได้แก่ หุ้น KTECH หุ้น NFC หุ้น POMPUI หุ้น PRO หุ้น SAFARI หุ้น STHAI หุ้น THL หุ้น VI หุ้น WORLD หุ้น WR และหุ้น YCI
2.กลุ่มเป็นบริษัทที่ไม่ส่งงบการเงินภายในกำหนด ปัจจุบันส่งงบการเงินที่ล่าช้า และครบกำหนดเวลาดำเนินการได้ครบถ้วน ให้เวลาจนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2562 ได้แก่ หุ้น AI หุ้น AIE หุ้น BLISS และหุ้น BUI
ขณะนี้มีบริษัทจดทะเบียนได้ยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนแล้ว ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างพิจารณาให้เปิดซื้อขายได้ตามปกติ ประกอบด้วย
บริษัท เอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ NFC
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) หรือ POMPUI
บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAFARI
บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน)หรือ BLISS
บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)หรือ BUI
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้หุ้นของบริษัท เอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ NFC พ้นเหตุอาจถูกเพิกถอน โดยปลดเครื่องหมายห้ามการซื้อขาย ( SP) และให้เริ่มทำการซื้อขายหุ้น NFC ในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. 2561 ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทแรกในกลุ่มนี้
จากการสำรวจข้อมูลของหุ้นกลุ่มฟื้นฟูกิจการดังกล่าว จะพบว่า บรรดาผู้ถือหุ้นใหญ่จะอยู่ในกลุ่มตระกูลดัง ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และสำหรับที่มาของการเข้ามาถือหุ้นในครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละบริษัท จะเลือกทำ ซึ่งอาจจะมาจากการรับซื้อหุ้นเพิ่มทุนในระหว่างที่บริษัทฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ฐานะการเงินเป็นไปตามคุณสมบัติที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ สามารถทำให้หุ้นกลับมาซื้อได้ตามปกติ หรืออาจใช้วิธีการซื้อกิจการ(เทคโอเวอร์)จากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด เพื่อเข้ามาปรับโครงสร้างทางการเงิน โครงสร้างธุรกิจ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หุ้น NFC ปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจ นำเข้าและจำหน่ายแอมโมเนีย แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และกรดกำมะถัน รวมทั้งให้บริการคลังสินค้า โลจิสติกส์ และท่าเทียบเรือ และมีผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง คือ ณัฐภพ รัตนสุวรรณทวี จำนวน 607.41 ล้านหุ้น คิดเป็น 55.84%
ขณะที่่ วิชัย ทองแตง ทนายความและนักเทคโอเวอร์ชื่อดัง ถือหุ้นจำนวน 25.60 ล้านหุ้นคิดเป็น 2.35% ทั้งนี้ บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวกแล้วอยู่ที่ 986.53 ล้านบาท ส่วนราคาหุ้นที่ซื้อขายครั้งสุดท้ายอยู่ที่ 1.36 บาทต่อหุ้น มูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 0.91 บาทต่อหุ้น
หุ้น POMPUI บริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องและอาหารในภาชนะปิดผนึกสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า ปุ้มปุ้ย และ ปลายิ้ม โดยมีกลุ่มตระกูล “โตทับเที่ยง“ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ล่าสุดจะเห็นว่า สมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด ถือหุ้น 9.73 ล้านหุ้นคิดเป็น 1.94% ขณะที่ล่าสุดบริษัทมีส่วนทุนเป็นบวกอยู่ที่178.34 ล้านบาท ราคาหุ้นล่าสุดที่ปิดซื้อขายอยู่ที่ 2.16 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นตามบัญชี อยู่ที่ 0.36 บาทต่อหุ้น
หุ้น SAFARI บริษัทประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและนันทนาการในรูปสวนสัตว์เปิด สวนน้ำ และ Theme Park โดยมีกลุ่มตระกูล “คิ้วคชา” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งและยังพบว่า ทวีฉัตร จุฬางกูร นักลงทุนรายใหญ่ ถือหุ้นเป็นอันดับ 2 มีจำนวน 220 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.90% ขณะที่บริษัทมีส่วนทุนเป็นบวกอยู่ที่ 3,042.12 ล้านบาท ราคาหุ้นปิดซื้อขายอยู่ที่ 2.40 บาทต่อหุ้น และราคามูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 1.37 บาทต่อหุ้น
หุ้น BLISS ดำเนินธุรกิจ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ทั้งทางด้าน Software และ Hardware โดยเน้นลักษณะการทำตลาดโครงการสารสนเทศ โดยมีกลุ่มตระกูล “ทองแตง” ถือหุ้นใหญ่ ผ่านบุตรของของวิชัย ทองแตง เช่น อัฐ ทองแตง ถือหุ้น 340 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.95% อิทธิ ทองแตง ถือหุ้น 295 ล้านหุ้น คิดเป็น 4.30%
ขณะที่กลุ่มตระกูล “ภัทรประสิทธิ์” ถือผ่าน วีณา ภัทรประสิทธิ์ 280 ล้านหุ้น คิดเป็น 4.07% และบริษัทมีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกอยู่ที่ 1,669.15 ล้านบาท ราคาหุ้นปิดซื้อขาย 0.03 บาทต่อหุ้น มูลค่าหุ้นตามบัญชีอยู่ที่ 0.24 บาทต่อหุ้น
หุ้น BUI ดำเนินธุรกิจรับประกันวินาศภัยตามกรมธรรม์ประเภทต่าง ๆ เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยเบ็ดเตล็ด นอกจากนี้ยังมีรายได้เสริมจากการให้เช่าอาคารสำนักงานสูงอีกด้วย บริษัทมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นกลุ่มตระกูล “เลี่ยวไพรัตน์” โดยถือผ่านบริษัท เลียวไพรัตนวิสาหกิจ จำกัด 4.62 ล้านหุ้นคิดเป็น15.40% บริษัท เลี่ยวไพรัตน์วิสาหกิจ จํากัด 4.15 ล้านหุ้นคิดเป็น13.84%
ขณะที่ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ถือหุ้น 1.21 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.05% มีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกอยู่ที่ 709.53 ล้านบาท ราคาหุ้นปิดซื้อขายที่ 13.47 บาท มูลค่าหุ้นตามบัญชีอยู่ที่ 23.65 บาทต่อหุ้น
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า หุ้นของตระกูลดังกำลังจะกลับมาเปิดซื้อขายได้อีกครั้ง หลังจากถูกห้ามซื้อขายมาเป็นระยะยาวนานมากกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าติดตามว่า หลังจากที่บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จแล้ว ปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไป และฐานะการเงินมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในอดีต
ปัจจัยเหล่านั้น จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นและหันมาให้ความสนใจซื้อขายหุ้นหรือไม่นั้น คงต้องรอดูกันต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 25
“ปลากระป๋อง” ดิ้นสู้ตลาดซบ บิ๊กแบรนด์แห่รุกอาหารพร้อมทานปั๊มยอด
วันที่ 8 July 2019 - 19:07 น.
ตลาดปลากระป๋องเฉาต่อเนื่อง พิษเศรษฐกิจทุบกำลังซื้อบวกผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ แบรนด์ดังแห่เพิ่มพอร์ตฯสินค้า ขยับตัวแตกไลน์ ส่งอาหารพร้อมทานสแน็ก เพิ่มช่องทางขายบุกออนไลน์ ปั้นรายได้เสริม “โรซ่า” เตรียมบุกอาหารเพื่อสุขภาพ-สปอร์ตฟู้ด ด้าน “สามแม่ครัว” ประกาศเพิ่มเมนูใหม่ ขณะที่ “ซูเปอร์ซีเชฟ” ลุยอาหารพร้อมทาน ส่วน “ปุ้มปุ้ย” เปิดตลาดใหม่ ส่งออกเครื่องแกงเจาะต่างประเทศ
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดปลากระป๋อง จากมูลค่าตลาดรวมประมาณ 8-9 พันล้านบาท ตัวเลขค่อย ๆ ลดลง หรือแทบจะไม่เติบโตขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภค ขณะที่ภาวะการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการรายใหม่ที่กระโดดเข้ามาในตลาดเป็นระยะ ๆ และส่วนใหญ่เน้นการแข่งขันด้วยโปรโมชั่นราคา และอีก
ปัจจัยที่สำคัญ คือ แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและหันไปรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่เข้ามาทดแทนในตลาดมากขึ้น จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้แบรนด์หลักในตลาดต่างเร่งปรับตัว โดยหันไปพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามาเติมพอร์ตโฟลิโอ เพื่อสร้างรายได้เสริมจากยอดขายปลากระป๋องที่ถดถอยลง
“โรซ่า” เล็งรุกสปอร์ตฟู้ด
นางสาวเมย์ วังพัฒนมงคล กรรมการบริหาร บริษัท ไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องภายใต้แบรนด์ “โรซ่า” เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันภาพรวมตลาดปลากระป๋อง ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 8-9 พันล้านบาท พบว่าตัวเลขลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนไปรับประทานอาหารกลุ่มอื่นทดแทน อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารพร้อมทานต่าง ๆ ทำให้บริษัทต้องปรับตัวด้วยการแตกไลน์สินค้าอาหารพร้อมทานแบรนด์โรซ่า ที่ผสมผสานนวัตกรรม และสามารถเก็บได้ไม่ต้องแช่เย็น มีประมาณ 25 เมนู อาทิ เมนูไก่ เมนูทูน่า และอาหารเจ ราคาเริ่มต้น 28 บาท
นอกจากนี้ ล่าสุดยังได้ออกสินค้าใหม่ “โรซ่า เชฟ แอท โฮม” เป็นซีรีส์ซอสปรุงอาหารสำเร็จรูป เบื้องต้นมี 4 รายการ ได้แก่ ซอสพริกไทยดำ ซอสหอยนางรมผสมกระเทียม ซอสผัดผงกะหรี่ และน้ำจิ้มไก่ เบื้องต้นวางขายเฉพาะช่องทางออนไลน์ ช็อปปี้ และอีคอมเมิร์ซของบริษัททั้งทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายไลน์ไปยังสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารที่เกี่ยวกับกีฬา หรือสปอร์ตฟู้ด ที่ตลาดยังมีช่องว่างและมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ปัจจุบัน บริษัท ไฮคิว มียอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาท มาจากปลากระป๋อง 45% ซอสมะเขือเทศ 30% และอาหารพร้อมทาน ซอสปรุงอาหารสำเร็จ 25%
สามแม่ครัว เพิ่มเมนูพิเศษ
นายเกรียงสิน เต็มสุนทร ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตอาหารกระป๋อง “สามแม่ครัว” เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดปลากระป๋องในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว ซึ่งได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่หายาก ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อสต๊อกไว้ทำตลาดได้จำนวนมาก และผลจากวัตถุดิบที่หายากก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่บริษัทยังไม่มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด เนื่องจากยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อยู่ แต่หากต้นทุนสูงขึ้นกว่านี้บริษัทก็อาจจะมีการปรับแผนงานใหม่
สำหรับแนวทางการทำตลาดจากนี้ไปบริษัทจะให้ความสำคัญการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องในกลุ่มเมนูพิเศษมากขึ้น เช่น ปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศ สูตรยำ และห่อหมกปลาแมกเคอเรล เพื่อขยายฐานผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบจากเดิมที่มีกว่า 10 เมนู อาทิ ฉู่ฉี่ คั่วกลิ้ง มัสมั่น และน้ำพริก เป็นต้น รวมถึงการหันมาให้ความสำคัญการขายผ่านทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น
“ปีนี้บริษัทตั้งเป้าสร้างการเติบโตกว่า 10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เติบโตทรงตัว โดยปัจจุบันสามแม่ครัวยังเป็นผู้นำในตลาดปลากระป๋องด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 40% และมียอดขายมาจากในประเทศ 80% และต่างประเทศ 20%” นายเกรียงสินกล่าว
“ซูเปอร์ซีเชฟ” ลุยพร้อมทาน
นายอาชวิน โรจน์ชัยนินทร์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ซีแวลู จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องภายใต้แบรนด์ “ซูเปอร์ซีเชฟ” กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของซูเปอร์ซีเชฟในไตรมาสแรกของปีถือว่าเติบโตขึ้น จากความได้เปรียบทางวัตถุดิบ ตรงข้ามกับหลายแบรนด์ที่ประสบปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เพียงพอ เนื่องจากปลาซาร์ดีนแท้หายากขึ้น ผู้ผลิตหลายรายต้องเปลี่ยนไปใช้ปลาแมกเคอเรลแทน จนเกิดช่องว่างในตลาด ทำให้บริษัทสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจากเดิมอันดับ 4 ขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 2
ปัจจุบันตลาดปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศที่มีมูลค่าประมาณ 8-9 พันล้านบาทอยู่ในช่วงชะลอตัว โดยมีอัตราการเติบโตเพียง 1-2% ซึ่งเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ลดลง ล่าสุด “ซูเปอร์ซีเชฟ” ได้ลอนช์ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มอาหารพร้อมทาน แบรนด์ซูเปอร์ซีเชฟ อาทิ ไข่พะโล้ ปูผัดผงกะหรี่ จำหน่ายผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ และเตรียมลอนช์เมนูใหม่ ๆ เพิ่มอีก 2-3 เมนู ควบคู่กับการจัดกิจกรรม ณ จุดขาย จัดโรดโชว์และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย เริ่มตั้งแต่โมเดิร์นเทรด ร้านค้าส่งและยี่ปั๊ว เพื่อกระตุ้นการรับรู้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
“ปุ้มปุ้ย” เครื่องแกงบุก ตปท.
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” เมื่อก่อนหน้านี้ว่า บริษัทมุ่งปรับกลยุทธ์ เน้นคุณภาพ ราคามาตรฐาน และเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องแกงสำเร็จรูป ได้แก่ พริกแกงมัสมั่น พริกแกงกะหรี่ พริกแกงเขียวหวาน เครื่องปรุงผัดไทย เครื่องต้มยำ เพื่อส่งออกไปตลาดต่างประเทศ
โดยเฉพาะตลาดในแถบยุโรปที่มีความชื่นชอบอาหารไทย ล่าสุดได้นำผลิตภัณฑ์ไปประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในงาน Anuga 2019 ที่ประเทศเยอรมนีจากที่ผ่านมาได้เริ่มทำตลาดผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานสำเร็จรูปตราปุ้มปุ้ย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Smiling Meal” ให้ทุกมื้ออาหารเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ทั้งหมด 8 เมนู อาทิ คั่วกลิ้งไก่ ผัดกะเพราไก่ แกงมัสมั่นไก่ เป็นต้น เจาะกลุ่มแม่บ้านยุคใหม่ที่ใช้เวลาเร่งรีบ รวมทั้งสแน็กแบรนด์ “Smiling Fish” ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น วางจำหน่ายผ่านช่องทางร้าน
ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ ควบคู่กับจัดกิจกรรมตามจุดขาย และจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการขายตามร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
วันที่ 8 July 2019 - 19:07 น.
ตลาดปลากระป๋องเฉาต่อเนื่อง พิษเศรษฐกิจทุบกำลังซื้อบวกผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ แบรนด์ดังแห่เพิ่มพอร์ตฯสินค้า ขยับตัวแตกไลน์ ส่งอาหารพร้อมทานสแน็ก เพิ่มช่องทางขายบุกออนไลน์ ปั้นรายได้เสริม “โรซ่า” เตรียมบุกอาหารเพื่อสุขภาพ-สปอร์ตฟู้ด ด้าน “สามแม่ครัว” ประกาศเพิ่มเมนูใหม่ ขณะที่ “ซูเปอร์ซีเชฟ” ลุยอาหารพร้อมทาน ส่วน “ปุ้มปุ้ย” เปิดตลาดใหม่ ส่งออกเครื่องแกงเจาะต่างประเทศ
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดปลากระป๋อง จากมูลค่าตลาดรวมประมาณ 8-9 พันล้านบาท ตัวเลขค่อย ๆ ลดลง หรือแทบจะไม่เติบโตขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภค ขณะที่ภาวะการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ทั้งจากผู้ประกอบการรายใหม่ที่กระโดดเข้ามาในตลาดเป็นระยะ ๆ และส่วนใหญ่เน้นการแข่งขันด้วยโปรโมชั่นราคา และอีก
ปัจจัยที่สำคัญ คือ แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและหันไปรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่เข้ามาทดแทนในตลาดมากขึ้น จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้แบรนด์หลักในตลาดต่างเร่งปรับตัว โดยหันไปพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามาเติมพอร์ตโฟลิโอ เพื่อสร้างรายได้เสริมจากยอดขายปลากระป๋องที่ถดถอยลง
“โรซ่า” เล็งรุกสปอร์ตฟู้ด
นางสาวเมย์ วังพัฒนมงคล กรรมการบริหาร บริษัท ไฮคิว ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องภายใต้แบรนด์ “โรซ่า” เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันภาพรวมตลาดปลากระป๋อง ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 8-9 พันล้านบาท พบว่าตัวเลขลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนไปรับประทานอาหารกลุ่มอื่นทดแทน อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารพร้อมทานต่าง ๆ ทำให้บริษัทต้องปรับตัวด้วยการแตกไลน์สินค้าอาหารพร้อมทานแบรนด์โรซ่า ที่ผสมผสานนวัตกรรม และสามารถเก็บได้ไม่ต้องแช่เย็น มีประมาณ 25 เมนู อาทิ เมนูไก่ เมนูทูน่า และอาหารเจ ราคาเริ่มต้น 28 บาท
นอกจากนี้ ล่าสุดยังได้ออกสินค้าใหม่ “โรซ่า เชฟ แอท โฮม” เป็นซีรีส์ซอสปรุงอาหารสำเร็จรูป เบื้องต้นมี 4 รายการ ได้แก่ ซอสพริกไทยดำ ซอสหอยนางรมผสมกระเทียม ซอสผัดผงกะหรี่ และน้ำจิ้มไก่ เบื้องต้นวางขายเฉพาะช่องทางออนไลน์ ช็อปปี้ และอีคอมเมิร์ซของบริษัททั้งทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายไลน์ไปยังสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารที่เกี่ยวกับกีฬา หรือสปอร์ตฟู้ด ที่ตลาดยังมีช่องว่างและมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ปัจจุบัน บริษัท ไฮคิว มียอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาท มาจากปลากระป๋อง 45% ซอสมะเขือเทศ 30% และอาหารพร้อมทาน ซอสปรุงอาหารสำเร็จ 25%
สามแม่ครัว เพิ่มเมนูพิเศษ
นายเกรียงสิน เต็มสุนทร ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตอาหารกระป๋อง “สามแม่ครัว” เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดปลากระป๋องในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว ซึ่งได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่หายาก ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อสต๊อกไว้ทำตลาดได้จำนวนมาก และผลจากวัตถุดิบที่หายากก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่บริษัทยังไม่มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด เนื่องจากยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อยู่ แต่หากต้นทุนสูงขึ้นกว่านี้บริษัทก็อาจจะมีการปรับแผนงานใหม่
สำหรับแนวทางการทำตลาดจากนี้ไปบริษัทจะให้ความสำคัญการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องในกลุ่มเมนูพิเศษมากขึ้น เช่น ปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศ สูตรยำ และห่อหมกปลาแมกเคอเรล เพื่อขยายฐานผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบจากเดิมที่มีกว่า 10 เมนู อาทิ ฉู่ฉี่ คั่วกลิ้ง มัสมั่น และน้ำพริก เป็นต้น รวมถึงการหันมาให้ความสำคัญการขายผ่านทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น
“ปีนี้บริษัทตั้งเป้าสร้างการเติบโตกว่า 10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เติบโตทรงตัว โดยปัจจุบันสามแม่ครัวยังเป็นผู้นำในตลาดปลากระป๋องด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 40% และมียอดขายมาจากในประเทศ 80% และต่างประเทศ 20%” นายเกรียงสินกล่าว
“ซูเปอร์ซีเชฟ” ลุยพร้อมทาน
นายอาชวิน โรจน์ชัยนินทร์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ซีแวลู จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องภายใต้แบรนด์ “ซูเปอร์ซีเชฟ” กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของซูเปอร์ซีเชฟในไตรมาสแรกของปีถือว่าเติบโตขึ้น จากความได้เปรียบทางวัตถุดิบ ตรงข้ามกับหลายแบรนด์ที่ประสบปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เพียงพอ เนื่องจากปลาซาร์ดีนแท้หายากขึ้น ผู้ผลิตหลายรายต้องเปลี่ยนไปใช้ปลาแมกเคอเรลแทน จนเกิดช่องว่างในตลาด ทำให้บริษัทสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจากเดิมอันดับ 4 ขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 2
ปัจจุบันตลาดปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศที่มีมูลค่าประมาณ 8-9 พันล้านบาทอยู่ในช่วงชะลอตัว โดยมีอัตราการเติบโตเพียง 1-2% ซึ่งเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ลดลง ล่าสุด “ซูเปอร์ซีเชฟ” ได้ลอนช์ผลิตภัณฑ์ใหม่กลุ่มอาหารพร้อมทาน แบรนด์ซูเปอร์ซีเชฟ อาทิ ไข่พะโล้ ปูผัดผงกะหรี่ จำหน่ายผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ และเตรียมลอนช์เมนูใหม่ ๆ เพิ่มอีก 2-3 เมนู ควบคู่กับการจัดกิจกรรม ณ จุดขาย จัดโรดโชว์และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย เริ่มตั้งแต่โมเดิร์นเทรด ร้านค้าส่งและยี่ปั๊ว เพื่อกระตุ้นการรับรู้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
“ปุ้มปุ้ย” เครื่องแกงบุก ตปท.
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” เมื่อก่อนหน้านี้ว่า บริษัทมุ่งปรับกลยุทธ์ เน้นคุณภาพ ราคามาตรฐาน และเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องแกงสำเร็จรูป ได้แก่ พริกแกงมัสมั่น พริกแกงกะหรี่ พริกแกงเขียวหวาน เครื่องปรุงผัดไทย เครื่องต้มยำ เพื่อส่งออกไปตลาดต่างประเทศ
โดยเฉพาะตลาดในแถบยุโรปที่มีความชื่นชอบอาหารไทย ล่าสุดได้นำผลิตภัณฑ์ไปประชาสัมพันธ์ในงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในงาน Anuga 2019 ที่ประเทศเยอรมนีจากที่ผ่านมาได้เริ่มทำตลาดผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานสำเร็จรูปตราปุ้มปุ้ย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Smiling Meal” ให้ทุกมื้ออาหารเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ทั้งหมด 8 เมนู อาทิ คั่วกลิ้งไก่ ผัดกะเพราไก่ แกงมัสมั่นไก่ เป็นต้น เจาะกลุ่มแม่บ้านยุคใหม่ที่ใช้เวลาเร่งรีบ รวมทั้งสแน็กแบรนด์ “Smiling Fish” ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น วางจำหน่ายผ่านช่องทางร้าน
ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ ควบคู่กับจัดกิจกรรมตามจุดขาย และจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการขายตามร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 26
“มาม่า-ปุ้มปุ้ย”ปรับสูตรอุตลุด ลดโซเดียมหนีภาษีความเค็ม
วันที่ 8 November 2019 - 17:11 น.
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป-ปลากระป๋อง ตื่นภาษีความเค็ม หลังสรรพสามิตปิ๊งไอเดียรีดภาษีเพิ่ม พร้อมทยอยเรียกผู้ประกอบการรับทราบอัตราโซเดียมใหม่ ด้าน “มาม่า” อยู่ระหว่างปรับสูตร แต่ถ้ารสชาติไม่ได้ก็ต้องยอมเสียภาษี ส่วน “ปุ้มปุ้ย” ก็เร่งปรับสูตรปลากระป๋องรับมือลดความเค็มตามเกณฑ์ที่กำหนด
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีความเค็มว่า กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนขณะนี้ กรมกำลังหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะมีการเก็บภาษีตามสัดส่วนของ”ความเค็ม” หรือตามปริมาณ “โซเดียม” หากเค็มมากก็จะเสียภาษีในอัตราสูง การเก็บภาษีจะต้องบังคับใช้ทั้งกับสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้
สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายจะต้องเสียภาษีความเค็ม ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อาหารแช่แข็ง, อาหารกระป๋อง, ขนมขบเคี้ยว, ผงปรุงรส ส่วนน้ำปลา-ซีอิ๊วยังไม่ถูกจัดเก็บภาษี เนื่องจากจัดอยู่ในประเภทผงปรุงรส รวมถึง ร้านขายอาหารตามสั่ง-ก๋วยเตี๋ยว-ร้านข้าวแกง หรือสินค้าชุมชน ก็ยังไม่เข้าข่ายที่จะเสียภาษีเช่นกัน “เมื่อภาษีความเค็มเริ่มบังคับใช้แล้ว เราก็จะต้องให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัวเหมือนกับภาษีความหวานในสินค้าเครื่องดื่มก่อนหน้านี้ที่เริ่มเก็บจากอัตราต่ำ ๆ ในปีแรกก่อน ซึ่งแทบไม่มีผลกระทบ พอปีต่อ ๆ ไปก็ว่ากันไป หากผู้ผลิตในประเทศปรับสูตรผลิตสามารถลดความเค็มลงได้ก็จะเสียภาษีถูกลง ส่วนสินค้านำเข้าจะมีโอกาสเสียภาษีมากกว่าเพราะส่วนใหญ่ค่าความเค็มจะสูง” นายณัฐกรกล่าว
ก่อนหน้านี้ทางกรมสรรพสามิตระบุว่าภาษีความเค็มจะพิจารณาเก็บภาษีจาก “ค่าโซเดียมบนฉลากอาหาร” ซึ่งยังพิจารณากันอยู่ว่า จะกำหนดค่ามาตรฐานความเค็มที่ปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือ 2,400 มิลลิกรัม/วัน ขณะที่มาตรฐานความเค็มที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ปัจจุบันอยู่ที่ 2,000 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยส่วนใหญ่ 60% มีปริมาณความเค็ม “เกินกว่า”ค่ามาตรฐานของ WHO ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทของขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นรสแซ่บจะมีค่าความเค็มเกินกว่ามาตรฐาน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่มีส่วนผสมของโซเดียมด้วย
ทั้งนี้ โซเดียมในอาหารจะมีอยู่ 2 ประเภทคือโซเดียมที่เป็นสารช่วยยืดระยะเวลาของอายุอาหารมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 20% ในส่วนนี้กรมสรรพสามิตจะไม่เก็บภาษีเพราะถือว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ยืดอายุอาหาร ส่วนโซเดียมที่ใส่ในอาหารแล้วทำให้รสชาติดีขึ้นซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 80% ในส่วนนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้และกรมสรรพสามิตจะเรียกเก็บภาษีความเค็มในโซเดียมส่วนนี้
“มาม่า-ปุ้มปุ้ย” เร่งปรับสูตร
นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทสหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มาม่าได้ส่งทีมงานเข้าไปประสานงานกับกรมสรรพสามิตเพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีความเค็มและหากมีการบังคับใช้จริง “มาม่า” ก็พร้อมให้ความร่วมมือ โดยก่อนหน้านี้มาม่าได้ปรับสูตรเพื่อลดปริมาณโซเดียมลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายอยู่พอสมควร เนื่องจากโซเดียมหาสารทดแทนได้ยากไม่เหมือนกับ “ความหวาน” ที่มีสารทดแทนหลากหลาย
ในปัจจุบันมาม่าทั้งชนิดน้ำและชนิดแห้งมีโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งอยู่ในระดับมาตรฐานการบริโภค แต่ก็ยังมีบางสินค้าที่มีโซเดียมสูงกว่า เช่น มาม่ารสซุปเข้มข้นมีโซเดียมสูงกว่า 2,000 มิลลิกรัม เนื่องจากเป็นน้ำซุปที่เอามาละลายในน้ำและหากมีกฎหมายภาษีความเค็มออกมากำหนดปริมาณโซเดียมแล้ว ทางบริษัทก็จะพยายามปรับลดปริมาณโซเดียมลงให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากปรับสูตรแล้วรสชาติไม่อร่อยหรือไม่ถูกปากผู้บริโภค ทางบริษัทก็ต้องยอมเสียภาษีเพื่อพัฒนาสินค้าให้ได้รสชาติที่ถูกปากผู้บริโภค
“ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลมีนโยบายออกมากำหนดภาษีความเค็ม ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณโซเดียมผสมในอาหารลงเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ถ้าจะให้ดีต้องกำหนดทุก กลุ่มธุรกิจอาหาร ไม่เฉพาะเพียงกลุ่มบะหมี่สำเร็จรูปหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าเจาะจงเฉพาะกลุ่มจะทำให้สินค้ากลุ่มนี้ขายไม่ได้” นายเวทิตกล่าว
ด้านนายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” กับ “ปลายิ้ม” กล่าวว่า บริษัทได้รับทราบการจัดเก็บภาษีความเค็มของกรมสรรพสามิตแล้ว คาดว่ามาตรการเก็บภาษีจะถูกบังคับใช้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยสินค้าของบริษัทที่เข้าข่ายจะถูกเก็บภาษีมีทั้งกลุ่มปลากระป๋องและอาหารพร้อมทาน จึงต้องเตรียมรับมือเพื่อพัฒนาทดลองปรับเปลี่ยนสูตรด้วยการลดเกลือและซีอิ๊วลง “ตอนนี้เราอยู่ระหว่างการทดลองภายในยังต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพัก เพราะการหาสารอื่นมาทดแทนโซเดียมเป็นเรื่องยาก เราอาจต้องปรับเปลี่ยนรสชาติใหม่ไปเลยเพื่อให้ความเค็มอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและที่สำคัญการปรับลดโซเดียมลงต้องคำนึงถึงรสชาติให้อร่อยถูกปากผู้บริโภคด้วย” นายไกรฤทธิ์กล่าว
7 เมนู CPF โซเดียมต่ำ
นางสาวชลิตา กลัดนิ่ม รองกรรมการผู้จัดการ สำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ปรับตัวรับกับแนวโน้มของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้นจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมกับร่างกายต่อวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม
“เราใช้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร(CPF Food Research and Development Center) ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบรนด์ “CP Balance” ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่ให้คุณค่าโภชนาการครบ 5 หมู่ ไม่ หวาน มันเค็ม แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหาร (ไฟเบอร์) สูง ปริมาณโซเดียมและไขมันอิ่มตัวต่ำ ขณะนี้พัฒนาออกมาแล้ว 7 เมนู ได้แก่ ข้าวกล้องแกงส้มปลาแพนกาเซียสดอร์รี่,ข้าวกล้องปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ผัดพริก, ราเมนโฮลวีตผัดขี้เมาอกไก่, ข้าวกะเพราอกไก่นุ่ม มีปริมาณโซเดียม 620 มิลลิกรัม รวมถึงข้าวน้ำพริกอกไก่, ข้าวกล้องต้มทรงเครื่อง และข้าวอบธัญพืชและไก่ มีปริมาณโซเดียมเพียง 470 มิลลิกรัมเท่านั้น”
และ CPF ยังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดทำโครงการมาตรการการปรับลดปริมาณเกลือ/โซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยร่วมกันรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงการลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้หลักปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น หรือ CPF Healthier Choice Principles
ส.อาหารแนะให้ความรู้
ขณะที่นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรเรียกเก็บภาษีความเค็ม “แต่ควรที่จะให้ความรู้แก่ผู้บริโภคมากกว่า” เพราะหากมีการเรียกเก็บจริงอาจจะมีผลต่อต้นทุนของผู้ส่งออกและเป็นการลดขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยประกอบกับผู้ประกอบการอาหารหลายรายเริ่มมีการผลิตอาหารในกลุ่มที่ลดปริมาณโซเดียมมากขึ้นไม่เพียงเฉพาะในกลุ่มอาหาร แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ เครื่องดื่มนอกจากนี้ผู้ประกอบการยังเพิ่มข้อมูลฉลากข้างกล่องหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีการตรวจสอบชิ้นส่วนผสม ว่ามีอะไรบ้างก่อนการตัดสินใจซื้อ
วันที่ 8 November 2019 - 17:11 น.
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป-ปลากระป๋อง ตื่นภาษีความเค็ม หลังสรรพสามิตปิ๊งไอเดียรีดภาษีเพิ่ม พร้อมทยอยเรียกผู้ประกอบการรับทราบอัตราโซเดียมใหม่ ด้าน “มาม่า” อยู่ระหว่างปรับสูตร แต่ถ้ารสชาติไม่ได้ก็ต้องยอมเสียภาษี ส่วน “ปุ้มปุ้ย” ก็เร่งปรับสูตรปลากระป๋องรับมือลดความเค็มตามเกณฑ์ที่กำหนด
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีความเค็มว่า กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนขณะนี้ กรมกำลังหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะมีการเก็บภาษีตามสัดส่วนของ”ความเค็ม” หรือตามปริมาณ “โซเดียม” หากเค็มมากก็จะเสียภาษีในอัตราสูง การเก็บภาษีจะต้องบังคับใช้ทั้งกับสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้
สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายจะต้องเสียภาษีความเค็ม ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อาหารแช่แข็ง, อาหารกระป๋อง, ขนมขบเคี้ยว, ผงปรุงรส ส่วนน้ำปลา-ซีอิ๊วยังไม่ถูกจัดเก็บภาษี เนื่องจากจัดอยู่ในประเภทผงปรุงรส รวมถึง ร้านขายอาหารตามสั่ง-ก๋วยเตี๋ยว-ร้านข้าวแกง หรือสินค้าชุมชน ก็ยังไม่เข้าข่ายที่จะเสียภาษีเช่นกัน “เมื่อภาษีความเค็มเริ่มบังคับใช้แล้ว เราก็จะต้องให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัวเหมือนกับภาษีความหวานในสินค้าเครื่องดื่มก่อนหน้านี้ที่เริ่มเก็บจากอัตราต่ำ ๆ ในปีแรกก่อน ซึ่งแทบไม่มีผลกระทบ พอปีต่อ ๆ ไปก็ว่ากันไป หากผู้ผลิตในประเทศปรับสูตรผลิตสามารถลดความเค็มลงได้ก็จะเสียภาษีถูกลง ส่วนสินค้านำเข้าจะมีโอกาสเสียภาษีมากกว่าเพราะส่วนใหญ่ค่าความเค็มจะสูง” นายณัฐกรกล่าว
ก่อนหน้านี้ทางกรมสรรพสามิตระบุว่าภาษีความเค็มจะพิจารณาเก็บภาษีจาก “ค่าโซเดียมบนฉลากอาหาร” ซึ่งยังพิจารณากันอยู่ว่า จะกำหนดค่ามาตรฐานความเค็มที่ปริมาณ 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือ 2,400 มิลลิกรัม/วัน ขณะที่มาตรฐานความเค็มที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ปัจจุบันอยู่ที่ 2,000 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยส่วนใหญ่ 60% มีปริมาณความเค็ม “เกินกว่า”ค่ามาตรฐานของ WHO ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทของขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นรสแซ่บจะมีค่าความเค็มเกินกว่ามาตรฐาน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่มีส่วนผสมของโซเดียมด้วย
ทั้งนี้ โซเดียมในอาหารจะมีอยู่ 2 ประเภทคือโซเดียมที่เป็นสารช่วยยืดระยะเวลาของอายุอาหารมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 20% ในส่วนนี้กรมสรรพสามิตจะไม่เก็บภาษีเพราะถือว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ยืดอายุอาหาร ส่วนโซเดียมที่ใส่ในอาหารแล้วทำให้รสชาติดีขึ้นซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 80% ในส่วนนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้และกรมสรรพสามิตจะเรียกเก็บภาษีความเค็มในโซเดียมส่วนนี้
“มาม่า-ปุ้มปุ้ย” เร่งปรับสูตร
นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทสหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มาม่าได้ส่งทีมงานเข้าไปประสานงานกับกรมสรรพสามิตเพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีความเค็มและหากมีการบังคับใช้จริง “มาม่า” ก็พร้อมให้ความร่วมมือ โดยก่อนหน้านี้มาม่าได้ปรับสูตรเพื่อลดปริมาณโซเดียมลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายอยู่พอสมควร เนื่องจากโซเดียมหาสารทดแทนได้ยากไม่เหมือนกับ “ความหวาน” ที่มีสารทดแทนหลากหลาย
ในปัจจุบันมาม่าทั้งชนิดน้ำและชนิดแห้งมีโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งอยู่ในระดับมาตรฐานการบริโภค แต่ก็ยังมีบางสินค้าที่มีโซเดียมสูงกว่า เช่น มาม่ารสซุปเข้มข้นมีโซเดียมสูงกว่า 2,000 มิลลิกรัม เนื่องจากเป็นน้ำซุปที่เอามาละลายในน้ำและหากมีกฎหมายภาษีความเค็มออกมากำหนดปริมาณโซเดียมแล้ว ทางบริษัทก็จะพยายามปรับลดปริมาณโซเดียมลงให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากปรับสูตรแล้วรสชาติไม่อร่อยหรือไม่ถูกปากผู้บริโภค ทางบริษัทก็ต้องยอมเสียภาษีเพื่อพัฒนาสินค้าให้ได้รสชาติที่ถูกปากผู้บริโภค
“ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลมีนโยบายออกมากำหนดภาษีความเค็ม ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณโซเดียมผสมในอาหารลงเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ถ้าจะให้ดีต้องกำหนดทุก กลุ่มธุรกิจอาหาร ไม่เฉพาะเพียงกลุ่มบะหมี่สำเร็จรูปหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าเจาะจงเฉพาะกลุ่มจะทำให้สินค้ากลุ่มนี้ขายไม่ได้” นายเวทิตกล่าว
ด้านนายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” กับ “ปลายิ้ม” กล่าวว่า บริษัทได้รับทราบการจัดเก็บภาษีความเค็มของกรมสรรพสามิตแล้ว คาดว่ามาตรการเก็บภาษีจะถูกบังคับใช้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยสินค้าของบริษัทที่เข้าข่ายจะถูกเก็บภาษีมีทั้งกลุ่มปลากระป๋องและอาหารพร้อมทาน จึงต้องเตรียมรับมือเพื่อพัฒนาทดลองปรับเปลี่ยนสูตรด้วยการลดเกลือและซีอิ๊วลง “ตอนนี้เราอยู่ระหว่างการทดลองภายในยังต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพัก เพราะการหาสารอื่นมาทดแทนโซเดียมเป็นเรื่องยาก เราอาจต้องปรับเปลี่ยนรสชาติใหม่ไปเลยเพื่อให้ความเค็มอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดและที่สำคัญการปรับลดโซเดียมลงต้องคำนึงถึงรสชาติให้อร่อยถูกปากผู้บริโภคด้วย” นายไกรฤทธิ์กล่าว
7 เมนู CPF โซเดียมต่ำ
นางสาวชลิตา กลัดนิ่ม รองกรรมการผู้จัดการ สำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ปรับตัวรับกับแนวโน้มของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้นจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมกับร่างกายต่อวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม
“เราใช้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร(CPF Food Research and Development Center) ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบรนด์ “CP Balance” ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่ให้คุณค่าโภชนาการครบ 5 หมู่ ไม่ หวาน มันเค็ม แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหาร (ไฟเบอร์) สูง ปริมาณโซเดียมและไขมันอิ่มตัวต่ำ ขณะนี้พัฒนาออกมาแล้ว 7 เมนู ได้แก่ ข้าวกล้องแกงส้มปลาแพนกาเซียสดอร์รี่,ข้าวกล้องปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ผัดพริก, ราเมนโฮลวีตผัดขี้เมาอกไก่, ข้าวกะเพราอกไก่นุ่ม มีปริมาณโซเดียม 620 มิลลิกรัม รวมถึงข้าวน้ำพริกอกไก่, ข้าวกล้องต้มทรงเครื่อง และข้าวอบธัญพืชและไก่ มีปริมาณโซเดียมเพียง 470 มิลลิกรัมเท่านั้น”
และ CPF ยังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดทำโครงการมาตรการการปรับลดปริมาณเกลือ/โซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยร่วมกันรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงการลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้หลักปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น หรือ CPF Healthier Choice Principles
ส.อาหารแนะให้ความรู้
ขณะที่นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรเรียกเก็บภาษีความเค็ม “แต่ควรที่จะให้ความรู้แก่ผู้บริโภคมากกว่า” เพราะหากมีการเรียกเก็บจริงอาจจะมีผลต่อต้นทุนของผู้ส่งออกและเป็นการลดขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยประกอบกับผู้ประกอบการอาหารหลายรายเริ่มมีการผลิตอาหารในกลุ่มที่ลดปริมาณโซเดียมมากขึ้นไม่เพียงเฉพาะในกลุ่มอาหาร แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ เครื่องดื่มนอกจากนี้ผู้ประกอบการยังเพิ่มข้อมูลฉลากข้างกล่องหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีการตรวจสอบชิ้นส่วนผสม ว่ามีอะไรบ้างก่อนการตัดสินใจซื้อ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 27
แบบสรุปผลการดำเนินงาน (F45)
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
ไตรมาสที่ 1
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ปี 2563 2562
กำไร (ขาดทุน) 12,910 9,290
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นข
องบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.0258 0.0186
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไข
หมายเหตุ
*สำหรับงบการเงินรวม
โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสิินใจลงทุน
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นายทวีศักดิ์ นารายณ์ประทาน )
ผู้อำนวยการสำนักเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
ไตรมาสที่ 1
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ปี 2563 2562
กำไร (ขาดทุน) 12,910 9,290
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นข
องบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.0258 0.0186
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไข
หมายเหตุ
*สำหรับงบการเงินรวม
โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสิินใจลงทุน
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นายทวีศักดิ์ นารายณ์ประทาน )
ผู้อำนวยการสำนักเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 28
ตลาดปลากระป๋องซึมยาว “ปุ้มปุ้ย” เพิ่มดีกรีลุยส่งออก
วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 - 18:06 น.
รุกออนไลน์ - ปุ้มปุ้ย เพิ่มน้ำหนักขายออนไลน์ ร่วมกับลาซาด้า ช้อปปี้ เจดีเซ็นทรัล เพื่อสอดรับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เน้นความสะดวก
เศรษฐกิจ-กำลังซื้อ ไม่แจ่ม ทุบตลาดปลากระป๋อง 9 พันล้านชะลอตัวต่อเนื่อง “ปุ้มปุ้ย” กางแผนครึ่งปีหลังเน้นเพิ่มสัดส่วนอาหารพร้อมทาน-เครื่องแกง เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ เพิ่มช่องทางขายออนไลน์ ผนึกแพลตฟอร์มใหญ่ “ลาซาด้า-ช้อปปี้-เจดี เซ็นทรัล” เดินหน้าจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่อเนื่อง ด้านตลาดต่างประเทศสดใสออร์เดอร์เพิ่ม เล็งขยายลูกค้าไปญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันตลาดปลากระป๋องประเภทซอสมีมูลค่ากว่า 8,000-9,000 ล้านบาท อยู่ในภาวะชะลอตัว หรือตัวเลขแทบจะไม่เติบโตตลอดช่วง 2-3 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่กระทบต่อกำลังซื้อ ผู้บริโภคระมัดระวังในการจับจ่าย ตลอดจนทางเลือกในกลุ่มอาหารที่มีมากขึ้น อีกทั้งตลาดยังมีการแข่งขันสูง มีทั้งแบรนด์เจ้าตลาดและแบรนด์โลคอลของผู้ประกอบการรายย่อย
นายไกรฤทธิ์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา ตลาดได้อานิสงส์จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จากการซื้อสินค้ากักตุนของผู้บริโภค ทำให้สินค้ากลุ่มปลากระป๋องมีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายตัวเลขยอดขายก็ลดลง
สำหรับทิศทางการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง เน้นให้ความสำคัญทั้งการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ จากนี้มีแผนจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ของสินค้ากลุ่มอาหารพร้อมทานและเครื่องแกงให้เป็น 20% จากเดิมมีเพียง 10% ปัจจุบันสัดส่วนรายได้หลักมาจากปลา
กระป๋องกว่า 90% ควบคู่กับการเน้นเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ชูจุดแข็งด้านวัตถุดิบ รสชาติและบรรจุภัณฑ์หลัก ๆ แบ่งเป็นกลุ่มปลาในซอสมะเขือเทศ ปลาปรุงรส เช่น ปลาแมกเคอเรลทอดราดพริก ตามด้วยกลุ่มหอยปรุงรส และอาหารพร้อมทาน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการตั้งราคาให้สามารถแข่งขันได้ แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบ ซึ่งปัจจุบันวัตถุดิบหลักเพียงพอต่อการผลิตในทุก ๆ ปี จากการสั่งจองปลาล่วงหน้าจากซัพพลายเออร์ ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น เพื่อทดแทนปริมาณวัตถุดิบในประเทศที่ลดลง
ส่วนแนวทางในการทำตลาด เนื่องจากช่วงนี้ยังไม่สามารถจัดโรดโชว์ชวนชิมได้ จากมาตรการความปลอดภัยของภาครัฐ ทำให้บริษัทต้องเน้นจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส เป็นต้น ส่วนในต่างจังหวัดจะทำการตลาดร่วมกับร้านค้า ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่กับการเพิ่มช่องทางออนไลน์ โดยได้เข้าร่วมกับแพลตฟอร์ม อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดี เซ็นทรัล เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกและรูปแบบการชําระเงินที่สามารถเก็บเงินปลายทางได้ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้การจับจ่ายเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าขณะนี้มีปริมาณการสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเข้ามามากขึ้น อาทิ กลุ่มปลาในซอสมะเขือเทศ ปลาปรุงรส หอยปรุงรส อาหารทะเลสำหรับทานเล่น อาหารพร้อมปรุง และสแน็กที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดี โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรปและซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ลาว และจากนี้มีแผนจะขยายตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ
ล่าสุดเตรียมส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ผ่านตัวแทนจำหน่าย และมีตลาดที่น่าสนใจ คือ ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันออก
“การแข่งขันในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี จะมีแบรนด์ที่ครองตลาดอยู่ แต่ยังมีช่องว่างทำให้ผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจ จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโดยผู้ประกอบการบางรายได้จัดโปรโมชั่นอย่างหนัก เพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาด ส่วนบริษัทเองจะเน้นเรื่องการวางตำแหน่งสินค้าให้โดดเด่น ควบคู่กับชูจุดขายด้านวัตถุดิบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค”
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในไตรมาส 1/63 บริษัทมีรายได้ 390.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปีก่อนที่มีรายได้ 329.02 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการจําหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุภาชนะและการให้บริการอาหาร โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยปัจจุบันสัดส่วนรายได้รวมแบ่งเป็นการทำตลาดภายในประเทศ 80% และต่างประเทศอีก 20%
วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 - 18:06 น.
รุกออนไลน์ - ปุ้มปุ้ย เพิ่มน้ำหนักขายออนไลน์ ร่วมกับลาซาด้า ช้อปปี้ เจดีเซ็นทรัล เพื่อสอดรับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เน้นความสะดวก
เศรษฐกิจ-กำลังซื้อ ไม่แจ่ม ทุบตลาดปลากระป๋อง 9 พันล้านชะลอตัวต่อเนื่อง “ปุ้มปุ้ย” กางแผนครึ่งปีหลังเน้นเพิ่มสัดส่วนอาหารพร้อมทาน-เครื่องแกง เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ เพิ่มช่องทางขายออนไลน์ ผนึกแพลตฟอร์มใหญ่ “ลาซาด้า-ช้อปปี้-เจดี เซ็นทรัล” เดินหน้าจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่อเนื่อง ด้านตลาดต่างประเทศสดใสออร์เดอร์เพิ่ม เล็งขยายลูกค้าไปญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันตลาดปลากระป๋องประเภทซอสมีมูลค่ากว่า 8,000-9,000 ล้านบาท อยู่ในภาวะชะลอตัว หรือตัวเลขแทบจะไม่เติบโตตลอดช่วง 2-3 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่กระทบต่อกำลังซื้อ ผู้บริโภคระมัดระวังในการจับจ่าย ตลอดจนทางเลือกในกลุ่มอาหารที่มีมากขึ้น อีกทั้งตลาดยังมีการแข่งขันสูง มีทั้งแบรนด์เจ้าตลาดและแบรนด์โลคอลของผู้ประกอบการรายย่อย
นายไกรฤทธิ์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา ตลาดได้อานิสงส์จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จากการซื้อสินค้ากักตุนของผู้บริโภค ทำให้สินค้ากลุ่มปลากระป๋องมีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายตัวเลขยอดขายก็ลดลง
สำหรับทิศทางการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง เน้นให้ความสำคัญทั้งการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ จากนี้มีแผนจะเพิ่มสัดส่วนรายได้ของสินค้ากลุ่มอาหารพร้อมทานและเครื่องแกงให้เป็น 20% จากเดิมมีเพียง 10% ปัจจุบันสัดส่วนรายได้หลักมาจากปลา
กระป๋องกว่า 90% ควบคู่กับการเน้นเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ชูจุดแข็งด้านวัตถุดิบ รสชาติและบรรจุภัณฑ์หลัก ๆ แบ่งเป็นกลุ่มปลาในซอสมะเขือเทศ ปลาปรุงรส เช่น ปลาแมกเคอเรลทอดราดพริก ตามด้วยกลุ่มหอยปรุงรส และอาหารพร้อมทาน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการตั้งราคาให้สามารถแข่งขันได้ แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบ ซึ่งปัจจุบันวัตถุดิบหลักเพียงพอต่อการผลิตในทุก ๆ ปี จากการสั่งจองปลาล่วงหน้าจากซัพพลายเออร์ ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น เพื่อทดแทนปริมาณวัตถุดิบในประเทศที่ลดลง
ส่วนแนวทางในการทำตลาด เนื่องจากช่วงนี้ยังไม่สามารถจัดโรดโชว์ชวนชิมได้ จากมาตรการความปลอดภัยของภาครัฐ ทำให้บริษัทต้องเน้นจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส เป็นต้น ส่วนในต่างจังหวัดจะทำการตลาดร่วมกับร้านค้า ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่กับการเพิ่มช่องทางออนไลน์ โดยได้เข้าร่วมกับแพลตฟอร์ม อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดี เซ็นทรัล เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกและรูปแบบการชําระเงินที่สามารถเก็บเงินปลายทางได้ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้การจับจ่ายเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าขณะนี้มีปริมาณการสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเข้ามามากขึ้น อาทิ กลุ่มปลาในซอสมะเขือเทศ ปลาปรุงรส หอยปรุงรส อาหารทะเลสำหรับทานเล่น อาหารพร้อมปรุง และสแน็กที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดี โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรปและซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ลาว และจากนี้มีแผนจะขยายตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ
ล่าสุดเตรียมส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ผ่านตัวแทนจำหน่าย และมีตลาดที่น่าสนใจ คือ ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันออก
“การแข่งขันในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี จะมีแบรนด์ที่ครองตลาดอยู่ แต่ยังมีช่องว่างทำให้ผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจ จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโดยผู้ประกอบการบางรายได้จัดโปรโมชั่นอย่างหนัก เพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาด ส่วนบริษัทเองจะเน้นเรื่องการวางตำแหน่งสินค้าให้โดดเด่น ควบคู่กับชูจุดขายด้านวัตถุดิบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค”
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในไตรมาส 1/63 บริษัทมีรายได้ 390.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปีก่อนที่มีรายได้ 329.02 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการจําหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุภาชนะและการให้บริการอาหาร โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยปัจจุบันสัดส่วนรายได้รวมแบ่งเป็นการทำตลาดภายในประเทศ 80% และต่างประเทศอีก 20%
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 29
ตลาดปลากระป๋องซึมยาว “ปุ้มปุ้ย” รุกออนไลน์สู้วิกฤต
วันที่ 7 มกราคม 2564 - 15:03 น.
ตลาดปลากระป๋อง 9 พันล้านยังไม่ฟื้นจากพิษเศรษฐกิจ-แข่งขันสูง “ปุ้มปุ้ย” บุกหนักเตรียมเพิ่มไลน์อัพสินค้า นวัตกรรม ชูจุดขายรสชาติอร่อย-ราคาเข้าถึงง่าย เดินหน้าระดมสินค้าขายออนไลน์ พร้อมทำการตลาด ตั้งบูทลดแลกแจกแถม ปูพรมซูเปอร์มาร์เก็ต ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เข้าถึงผู้บริโภคทุกช่องทางขาย ด้านต่างประเทศ ผลพวงโควิด ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนทำส่งออกล่าช้า ลั่นปีนี้มุ่งรักษายอดขาย ผลกำไรทะลุเป้า
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” และ “Smiling Fish” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมตลาดปลากระป๋องประเภทซอสมีมูลค่ากว่า 8,000-9,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าในปี 2564 ยังคงทรงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ผู้บริโภคระมัดระวังในการจับจ่าย รวมถึงยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกปี ทั้งในแง่ของการจัดโปรโมชั่นลดราคา ทั้งแบรนด์ใหญ่ที่อยู่ในตลาดและแบรนด์โลคอลของผู้ประกอบการรายย่อย
สำหรับภาพรวมของบริษัทในปี 2563 ที่ผ่านมา ในช่วงไตรมาส 2-3 บริษัทได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จากการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้ากักตุน ทำให้สินค้ากลุ่มปลากระป๋องมียอดขายเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ตัวเลขยอดขายลดลง แต่ยังมีการจับจ่ายต่อเนื่อง โดยในทางกลับกันต้องยอมรับว่าปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจปลากระป๋องค่อนข้างสูง สำหรับปุ้มปุ้ย ปัจจุบันได้ครองตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปรุงรส ซึ่งมีกว่า 30 รสชาติ และปลาราดพริกเป็นผลิตภัณฑ์ขายดีสุด โดยปีที่ผ่านมาได้ลอนช์รสชาติใหม่ 1-2 รสชาติ เพื่อสร้างความหลากหลายให้สินค้าและความแปลกใหม่ในตลาดอยู่เป็นระยะ ๆ
นายไกรฤทธิ์กล่าวต่อถึงกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงานในปี 2564 ยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและรสชาติใหม่ ๆ โดยการจะเปิดตัวสินค้าใหม่แต่ละครั้งจะไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มปลากระป๋องเท่านั้น แต่จะมีทั้งกลุ่มปลาปรุงรส หอยปรุงรส อาหารพร้อมทาน และเครื่องแกงสำเร็จรูป หลัก ๆ จะมาจากการวิจัยความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการคัดสรรวัตถุดิบและการควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการผลิตให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการวางราคาให้เหมาะสม โดยให้ความสำคัญในเรื่องของต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่มีประมาณ 25-30% ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับราคาวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูกาล
นอกจากนี้ บริษัทยังคงบริหารช่องทางจำหน่ายไม่ให้สินค้าขาดสต๊อก โดยปัจจุบันมี 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีสัดส่วนยอดขาย 42% ตามด้วยช่องทางเทรดิชั่นนอลเทรด มีสัดส่วนยอดขาย 36% ช่องทางการจัดงานออกบูท 13% และช่องทางอีคอมเมิร์ซ ยังคิดเป็นสัดส่วนที่ยังไม่มากนัก โดยทุก ๆ ช่องทางจะมีการทำตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
โดยช่วงนี้ยังไม่สามารถจัดโรดโชว์ชวนชิมได้ จากมาตรการความปลอดภัยของภาครัฐ จึงหันมาเน้นการตั้งบูทโชว์สินค้าพร้อมจัดโปรโมชั่น และมีพนักงานเชียร์ขายในซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส เป็นต้น ส่วนในต่างจังหวัดจะทำการตลาดร่วมกับร้านค้า ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
“ทุก ๆ ช่องทางจะครอบคลุมหมดแล้ว ปีนี้จะหันมาเพิ่มน้ำหนักช่องทางออนไลน์ จากปัจจุบันจะเน้นนำผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องไปขายผ่านแพลตฟอร์ม อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดี เซ็นทรัล แต่หลังจากนี้จะเพิ่มสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ในพอร์ตเข้าไปเพิ่มความหลากหลาย เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ถือว่าเป็นโอกาสขาย โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส
โควิดที่มีอัตราการสั่งซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้น”
ด้านตลาดต่างประเทศ ปีที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมการตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายเพื่อสื่อสารแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยปัจจุบันยอดขายหลักมาจากกลุ่มประเทศ CLMV โดยมาจากกัมพูชาถึง 72% รองลงมาได้แก่ เมียนมา เวียดนาม และลาว โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากสุด ยังคงเป็นกลุ่มปลาในซอสเข้มข้น ราดพริก และปลาทอด เป็นต้น
ส่วนแผนงานขยายตลาดจากนี้ จะมุ่งนำสินค้าเข้าไปเปิดตลาดทางฝั่งยุโรป แต่ยังถือว่าท้าทายอยู่มาก เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีแบรนด์ที่ทำตลาดมานาน ดังนั้น สินค้าที่ส่งไปจำหน่าย จะต้องตอบโจทย์ทั้งเรื่องคุณภาพ รสชาติที่ถูกปาก และราคาที่เข้าถึงง่าย ซึ่งปัจจุบันการส่งออกหลัก ๆ จะเน้นกลุ่มกระป๋องและพร้อมทาน โดยจากนี้จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น โดยปีที่ผ่านมาได้ส่งสินค้าน้ำแกงพร้อมทานรสชาติต่าง ๆ และปลาซาบะในน้ำเกลือ ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน แม้ว่าจะมีออร์เดอร์เข้ามาต่อเนื่อง
แต่ขณะนี้ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อใช้ในการบรรจุสินค้าไม่เพียงพอกับจำนวนสินค้า ทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งออก ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในไตรมาส 3/63 บริษัทมีรายได้ 300.68 ล้านบาท ลดลง 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปีก่อนที่มีรายได้ 363.24 ล้านบาท ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดขายลดลง โดยปี 2563 จะมุ่งเน้นรักษายอดขายและผลกำไรให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
วันที่ 7 มกราคม 2564 - 15:03 น.
ตลาดปลากระป๋อง 9 พันล้านยังไม่ฟื้นจากพิษเศรษฐกิจ-แข่งขันสูง “ปุ้มปุ้ย” บุกหนักเตรียมเพิ่มไลน์อัพสินค้า นวัตกรรม ชูจุดขายรสชาติอร่อย-ราคาเข้าถึงง่าย เดินหน้าระดมสินค้าขายออนไลน์ พร้อมทำการตลาด ตั้งบูทลดแลกแจกแถม ปูพรมซูเปอร์มาร์เก็ต ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เข้าถึงผู้บริโภคทุกช่องทางขาย ด้านต่างประเทศ ผลพวงโควิด ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนทำส่งออกล่าช้า ลั่นปีนี้มุ่งรักษายอดขาย ผลกำไรทะลุเป้า
นายไกรฤทธิ์ โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปลากระป๋อง “ปุ้มปุ้ย” และ “Smiling Fish” เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมตลาดปลากระป๋องประเภทซอสมีมูลค่ากว่า 8,000-9,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าในปี 2564 ยังคงทรงตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ผู้บริโภคระมัดระวังในการจับจ่าย รวมถึงยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกปี ทั้งในแง่ของการจัดโปรโมชั่นลดราคา ทั้งแบรนด์ใหญ่ที่อยู่ในตลาดและแบรนด์โลคอลของผู้ประกอบการรายย่อย
สำหรับภาพรวมของบริษัทในปี 2563 ที่ผ่านมา ในช่วงไตรมาส 2-3 บริษัทได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จากการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้ากักตุน ทำให้สินค้ากลุ่มปลากระป๋องมียอดขายเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ตัวเลขยอดขายลดลง แต่ยังมีการจับจ่ายต่อเนื่อง โดยในทางกลับกันต้องยอมรับว่าปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจปลากระป๋องค่อนข้างสูง สำหรับปุ้มปุ้ย ปัจจุบันได้ครองตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปรุงรส ซึ่งมีกว่า 30 รสชาติ และปลาราดพริกเป็นผลิตภัณฑ์ขายดีสุด โดยปีที่ผ่านมาได้ลอนช์รสชาติใหม่ 1-2 รสชาติ เพื่อสร้างความหลากหลายให้สินค้าและความแปลกใหม่ในตลาดอยู่เป็นระยะ ๆ
นายไกรฤทธิ์กล่าวต่อถึงกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงานในปี 2564 ยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและรสชาติใหม่ ๆ โดยการจะเปิดตัวสินค้าใหม่แต่ละครั้งจะไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มปลากระป๋องเท่านั้น แต่จะมีทั้งกลุ่มปลาปรุงรส หอยปรุงรส อาหารพร้อมทาน และเครื่องแกงสำเร็จรูป หลัก ๆ จะมาจากการวิจัยความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการคัดสรรวัตถุดิบและการควบคุมคุณภาพในขั้นตอนการผลิตให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการวางราคาให้เหมาะสม โดยให้ความสำคัญในเรื่องของต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่มีประมาณ 25-30% ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับราคาวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูกาล
นอกจากนี้ บริษัทยังคงบริหารช่องทางจำหน่ายไม่ให้สินค้าขาดสต๊อก โดยปัจจุบันมี 4 ช่องทางหลัก ได้แก่ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีสัดส่วนยอดขาย 42% ตามด้วยช่องทางเทรดิชั่นนอลเทรด มีสัดส่วนยอดขาย 36% ช่องทางการจัดงานออกบูท 13% และช่องทางอีคอมเมิร์ซ ยังคิดเป็นสัดส่วนที่ยังไม่มากนัก โดยทุก ๆ ช่องทางจะมีการทำตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
โดยช่วงนี้ยังไม่สามารถจัดโรดโชว์ชวนชิมได้ จากมาตรการความปลอดภัยของภาครัฐ จึงหันมาเน้นการตั้งบูทโชว์สินค้าพร้อมจัดโปรโมชั่น และมีพนักงานเชียร์ขายในซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส เป็นต้น ส่วนในต่างจังหวัดจะทำการตลาดร่วมกับร้านค้า ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพื่อกระตุ้นยอดขายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
“ทุก ๆ ช่องทางจะครอบคลุมหมดแล้ว ปีนี้จะหันมาเพิ่มน้ำหนักช่องทางออนไลน์ จากปัจจุบันจะเน้นนำผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องไปขายผ่านแพลตฟอร์ม อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดี เซ็นทรัล แต่หลังจากนี้จะเพิ่มสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ในพอร์ตเข้าไปเพิ่มความหลากหลาย เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ถือว่าเป็นโอกาสขาย โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส
โควิดที่มีอัตราการสั่งซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้น”
ด้านตลาดต่างประเทศ ปีที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมการตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายเพื่อสื่อสารแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยปัจจุบันยอดขายหลักมาจากกลุ่มประเทศ CLMV โดยมาจากกัมพูชาถึง 72% รองลงมาได้แก่ เมียนมา เวียดนาม และลาว โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากสุด ยังคงเป็นกลุ่มปลาในซอสเข้มข้น ราดพริก และปลาทอด เป็นต้น
ส่วนแผนงานขยายตลาดจากนี้ จะมุ่งนำสินค้าเข้าไปเปิดตลาดทางฝั่งยุโรป แต่ยังถือว่าท้าทายอยู่มาก เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีแบรนด์ที่ทำตลาดมานาน ดังนั้น สินค้าที่ส่งไปจำหน่าย จะต้องตอบโจทย์ทั้งเรื่องคุณภาพ รสชาติที่ถูกปาก และราคาที่เข้าถึงง่าย ซึ่งปัจจุบันการส่งออกหลัก ๆ จะเน้นกลุ่มกระป๋องและพร้อมทาน โดยจากนี้จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น โดยปีที่ผ่านมาได้ส่งสินค้าน้ำแกงพร้อมทานรสชาติต่าง ๆ และปลาซาบะในน้ำเกลือ ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน แม้ว่าจะมีออร์เดอร์เข้ามาต่อเนื่อง
แต่ขณะนี้ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อใช้ในการบรรจุสินค้าไม่เพียงพอกับจำนวนสินค้า ทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งออก ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการในไตรมาส 3/63 บริษัทมีรายได้ 300.68 ล้านบาท ลดลง 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปีก่อนที่มีรายได้ 363.24 ล้านบาท ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดขายลดลง โดยปี 2563 จะมุ่งเน้นรักษายอดขายและผลกำไรให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: POMPUI
โพสต์ที่ 30
แบบสรุปผลการดำเนินงาน (F45)
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
ไตรมาสที่ 1
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ปี 2564 2563
กำไร (ขาดทุน) 18,932 12,910
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นข
องบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.0378 0.0258
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต/เรื่องอื่น
หมายเหตุ
*สำหรับงบการเงินรวม
โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสินใจลงทุน
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นายทวีศักดิ์ นารายณ์ประทาน )
ผู้อำนวยการสำนักเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงิน
ไตรมาสที่ 1
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ปี 2564 2563
กำไร (ขาดทุน) 18,932 12,910
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นข
องบริษัทใหญ่ *
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.0378 0.0258
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต/เรื่องอื่น
หมายเหตุ
*สำหรับงบการเงินรวม
โปรดดูงบการเงินฉบับเต็มประกอบ ก่อนการตัดสินใจลงทุน
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นายทวีศักดิ์ นารายณ์ประทาน )
ผู้อำนวยการสำนักเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ