เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 631

โพสต์

Pekko เขียน: อะไรที่ POST ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ ก็เก็บไว้ ถ้าไม่มีประโยชน์ก็โยนทิ้งเสีย และอย่าเพิ่งเชื่อ ตามหลักกาลามาสูตร 10 ครับ

ขอบคุณเช่นกันครับ

เห็นด้วยครับ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น รู้ได้เฉพาะตน ทำแทนกันไม่ได้ ใครทำ ผู้นั้นย่อมได้ผลเอง

ข้อมูลต่างๆที่ได้มาก็ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณา เปรียบดังบัว 4 เหล่า ม้า 4 จำพวก
ดังสมัยพุทธกาลที่มีคนมาฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระสารีบุตร ไม่เชื่อคำสอนของพระองค์ เมื่อได้ทรงมีพุทธดำรัสตรัสถาม
พระสารีบุตร ก็ยืนยันว่า หากยังไม่ได้ลองปฏิบัติจนเห็นผลจริง ก็ไม่เชื่อ พระศาสดาจึงทรงรับรองพระสารีบุตร ด้วยสาธุการ
แต่เราจะเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีปัญญามากอย่างท่านพระสารีบุตรก็หาได้ไม่
เพียงแต่พอเป็นอุบายให้รู้จักใช้ปัญญาในการพิจารณาสภาวะธรรมะของตน

การฝึกสมาธิ ฝึกจิตก็เหมือนกัน บางคนฝึกแล้ว จิตไม่สว่างไสว ไม่รู้ไม่เห็นอะไรเหมือนคนอื่นเขา
ได้แต่ความสงบของจิตเป็นบางครั้งบางคราว ก็อย่าคิดว่าทำแล้วสูญเปล่า ทำแล้วไม่สัมฤทธิ์ผล ทำแล้วไม่ได้อะไร
แต่ความเป็นจริงแล้ว การฝึกจิตนั้น มีแต่จะเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ไม่มีถอยหลัง
กล่าวคือ จิตที่ถูกฝึกให้พัฒนาแล้ว สะสมไว้วันละเล็กวันละน้อย จะสะสมกันไปทุกภพทุกชาติ
จนสุดท้ายก็จะลดทอนการเกิดให้เหลือน้อยลง จนไปนิพพานในที่สุด

บางครั้งตอน ยืน เดิน นั่งเล่น ไม่ได้ทำสมาธิหรือนั่งสมาธิแต่อย่างใดเลย
อยู่ดีๆ จิตก็รวมลง นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ในขณะที่กำลังเดินเล่น นั่งเล่น
ก็เพราะผลจากการฝึกจิตอย่างต่อเนื่องที่สะสมมา ได้ส่งผลให้เกิดสมาธิโดยฉับพลันนั่นเอง

ผิดกับ ศีล และทาน ที่หากทำในชาตินี้ ก็จะได้เสวยผลในชาติถัดไป แต่หากไม่ทำ หรือ หยุดทำ
เมื่อผลของบุญนั้นหมด ก็จะไม่ได้รับผลของบุญนั้นเลย
ผิดกับการฝึกจิต ย่อมได้รับผลเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ไม่มีหมดหรือเสื่อมถอยเลย ด้วยประการ ฉะนี้แล
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 632

โพสต์

โดยธรรมชาติแล้ว ผมเป็นพวกชอบหลงประเด็น คุยไปคุยมาแล้วก็จะหลุด หลงไปในประเด็นอะไรบางอย่างที่ไกลออกไปจากเนื้อหา หัวข้อหลัก ที่เริ่มต้นพูดคุย ดังนั้นเมื่อรู้ตัวเมื่อไร รู้ตัวทีไร ก็จะพยายามดึงกลับมาที่แก่น กลับมาที่หัวข้อหลักของบทสนทนา เพื่อที่จะว่าจะได้ให้แก่นสาร สาระ ของเน้นหามันกลับมาอยู่ในที่ในทางที่ควรจะเป็น

หากย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของการเปิดบทสนทนาในหัวข้อนี้ คุณเด็กใหม่ไฟแรง ตั้งหัวข้อนี้ขึ้นครั้งแรกด้วยปัญหาในการใช้ชีวิตทางธรรมกับการลงทุน ที่เกิดความขัดแย้ง และอยู่ในจุดที่เป็นทางแยกว่าจะเลือก ปรับ balance ชีวิตในการลงทุนและการปฏิบัติธรรมอย่างไร และนี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผมอยากจะคุย อยากจะเล่าเกี่ยวกับปัญหา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง ระหว่างการปฏิบัติธรรม และการลงทุน ในช่วงหลังๆ ตลอดจนแนวทางในการจัดการแก้ไข เผื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม ผมคิดว่าปัญหาของการปฏิบัติธรรมและการลงทุนของผมเอง เกิดขึ้นจากความเคยชิน นิสัย กิเลสเดิมๆ ที่นอนเนื่องมาอยู่ในสันดานของตัวเอง เกิดปฏิกิริยาขัดแย้งขึ้นกับ เป้าหมายในการปฏิบัติธรรม คือ การขัดเกลากิเลส

หลังๆ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นระหว่างการลงทุนของผม จะเกิดขึ้น เมื่อเราเห็นคนอื่นเค้าเดินไกลออกไปๆ ในขณะที่เราก็เดินของเราไปช้าๆ เหมือนย่ำอยู่ที่เดิม เราจะได้เห็นเพื่อนของเรามีพอร์ตโตวันโตคืน ร่ำรวยวันร่ำรวยคืน เห็นเพื่อนบางคนที่พอร์ตเคยเล็กกว่าเราวิ่งแซงหน้าเราไป คนแล้ว คนเล่า คนแล้ว คนเล่า

เห็นเพื่อนๆ ของเราได้รับเกียรติ ได้รับการนับหน้าถือตา ได้ออกหนังสือ ได้มีตำแหน่ง ได้คำยกย่อง มีรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะอยู่ข้างๆ เขา ทั้งๆ ที่เราเงียบเหงา ห่างจากโลก ใช้ชีวิตสงบ ปฏิบัติธรรมอยู่เพียงลำพัง

สภาพธรรมแล้วโดยย่อ คือ การที่คนอื่นๆ ได้รับสภาพอันปราณีตบางอย่างที่เรายังติดใจยินดี และเมื่อมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ก็เกิดการเทียบเขา เทียบเรา ด้วยอำนาจของ มานะทิฎฐิ จนกลายเป็นเหตุแห่งทุกข์

กิเลส 2 ตัวที่ยึดให้ผมเป็นทุกข์มี 2 อยู่ คือ ตัณหาที่ยึดในสถานะอันปราณีต (โลภะ) และ ความหลงผิดในตัวตน (โมหะ)

ทุกข์ แม้เกิดขึ้นในจิต เพียงไม่กี่ขณะ ก็เรียกว่าทุกข์ ความทุกข์ของผมไม่ได้ทรงอยู่นาน แต่ถ้ามันเกิดขึ้นในจิตอยู่ เราก็ต้องยอมรับมันไปตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้ได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว

โดยส่วนตัวแล้ว การจัดการกับทุกข์ประเภทนี้ผมจัดการโดยใช้ สมถะ และ วิปัสสนา เมื่อไหร่ที่ได้รับข้อมูลบางอย่างที่ทำให้จิตของผมปรุงแต่งไป จนเกิดทุกข์ขึ้น ขั้นแรกผมยอมรับความเป็นจริงก่อนว่าทุกข์ได้เกิดขึ้นแล้ว และจะใช้เทคนิคทางสมถะตัดอารมณ์ โดยกำหนดอยู่กับฐานกายจนเกิดสมาธิขึ้นระดับหนึ่งก่อน แล้วค่อยพิจารณาถึงเหตุปัจจัยต่างๆ เพื่อที่จะทำใจยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น การตัดอารมณ์ด้วยสมถะ แต่ละคนคงจะมีเทคนิคแตกต่างกันไป แต่การพิจารณาด้วยปัญญา เพื่อจะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ผมมีเทคนิค แนวความคิดที่ใช้บ่อยๆ ดังต่อไปนี้

- ยอมรับก่อนว่า การปรุงแต่งทางความคิดที่ไปเปรียบเทียบเขาเทียบเรา นำมาซึ่งความทุกข์ และทุกข์นี้ก็กำลังเกิดขึ้นกับเราอยู่

- พิจารณาถึงเหตุปัจจัย ว่าเราใส่ความเพียรในการลงทุน ใส่ความเพียรในทางโลกเข้าไปมากเท่าไร สิ่งที่เราได้รับสมควรแก่ที่เราได้รับอยู่หรือไม่

- พิจารณาว่าสภาพอันปราณีตของเพื่อนๆ หรือคนรู้จักที่เกิดขึ้นอยู่ เขาต้องสร้างเหตุ ทำเหตุที่เหมาะสม แก่ผลที่เขาได้รับอยู่

- พิจารณาว่าถ้าหากเราต้องเอาเวลา เอาทรัพยากรของเราไปใช้แบบเขา ในการสร้างเหตุ เพื่อให้ได้ผลแบบนั้น เราคิดว่ามันคุ้มค่า คุ้มที่เราจะทำหรือไม่

- เมื่อพิจารณาถึงตรงนี้ ก็จะพิจารณาย้อนกลับมาที่เป้าหมายของชีวิต เป้าหมายของการท่องไปในสังสารวัฎ แล้วก็จะเห็นสภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นในชาติภพนี้ว่าปัจจัยปรุงแต่ง ที่เมื่อตายจากชาตินี้ไป ก็ดับสูญ จบกันไป เงิน เกียรติ คนรัก ก็เอาไปด้วยไม่ได้ เมื่อเกิดมาชาติใหม่ก็ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่อีก

- จากนั้นก็จะพิจารณาถึงสิ่งที่เป็นสาระที่เราควรกระทำอย่างแท้จริงในการท่องไปในสังสารวัฎ สิ่งใดเป็นปัจจัยรองๆ สิ่งใดที่เรายังติดใจยินดี สถานะภาพใดที่เราควรเป็น ควรตั้งเป้า และควรมุ่งไป

- จากนั้นก็จะย้อนกลับมาที่ระดับของการกระทำในเรื่องของทางโลก และทางธรรม ว่าระดับของการแสวงหาเท่าไหร่ของเราจึงจะพอเหมาะ ระดับของทางธรรมเท่าไหร่จึงจะพอเหมาะ

เมื่อได้พิจารณาและได้ข้อสรุปซ้ำๆ ในวาระต่างๆ บ่อยครั้งเข้าๆ จิตจะตัดกระแสการปรุงแต่งที่นำไปสู่ทุกข์ได้เร็วขึ้น เคล้าคลึงน้อยลง ทุกข์ที่เกิดขึ้นจะสั้นลงๆ เข้าใจตัวเองมากขึ้นๆ และสามารถอยู่ระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างทางธรรมและทางโลกได้ดีขึ้นครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 633

โพสต์

https://archive.org/details/unset0000unse_w5c3

ไปเจอ ebook archive หนังสือดีๆ
เล่มนี้ เลยนำ link มาบันทึกไว้

พอขยาย ebook กด ตรง ตัว i ที่มุมขวาบน
จะมีหน้าต่าง ให้เลือก ถ้าต้องการ จะ save เป็น pdf

https://archive.org/download/unset0000u ... e_w5c3.pdf

"มงคลสูตรแปลโดยพิสดาร สำนวนเทศนา
by พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน)"

... หนังสือดีมาก
ดีใจ ที่ มี คน scan เป็น digital เก็บไว้
..
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานรับพระราชทานเพลิงศพ พระยศสุนทร (น้อม ยศสุนทร) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง พระนคร วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2511


Publisher โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
Pages 638
Language Thai
Digitizing sponsor Thammasat University
Book contributor Thammasat University
Collection thaicremationcopy; thammasat_university; globallibraries
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 634

โพสต์

picatos เขียน:หากย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของการเปิดบทสนทนาในหัวข้อนี้ คุณเด็กใหม่ไฟแรง ตั้งหัวข้อนี้ขึ้นครั้งแรกด้วยปัญหาในการใช้ชีวิตทางธรรมกับการลงทุน
ที่จริงหลังๆมาเนี่ย ผมไม่ค่อยได้พูดถึงการลงทุนเอาเสียเลย

คงเป็นเพราะว่าเมื่อเทียบผลการลงทุนกับการฝึกหัดปฏิบัติหลักใจ ผมพบว่าอย่างหลังนี้ จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
(โดยผมวัดจากความสงบสุขของใจนะครับ) ส่วนการลงทุนในหุ้นก็ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ พอเลี้ยงตัวเองได้

ต่างจากอดีตเป็นอย่างมาก ที่เป้าหมายในการลงทุนไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนพี่ picatos กล่าวไว้ ว่า
เห็นคนอื่นแซงหน้าแล้วมันก็รู้สึกแบบนั้นจริงๆ เพราะคอยเอาไปเปรียบเทียบและวิ่งตามคนอื่นเขา
แต่พอเข้าหาทางธรรม ความคิดเหล่านั้นเริ่มเปลี่ยน จนหลังๆมา เริ่มที่จะพยายามลดการลงทุนในหุ้น
แล้วโยกเงินไปลงทุนในอย่างอื่นบ้าง

บางครั้งนั่งคิดว่า เราควรจะเลิกลงทุนไปเลย จะได้ไม่ต้องมาคอยหาข้อมูล พะวงในเรื่องการลงทุน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า
หากเราไม่ลงทุน เราจะเอาที่ไหนมาใช้จ่าย เพราะไม่มีความสามารถที่จะไปหาธุรกิจในการสร้างรายได้ให้ดีกว่านี้
ซึ่งพูดง่ายๆก็คือไม่อยากทำงาน แต่ยังอยากมีเงินใช้อยู่นั่นเอง

เมื่อก่อนลงหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็เริ่มกระจายความเสี่ยง มาอยู่ในรูปแบบเงินฝากประจำบ้าง และประกันชีวิตบ้าง
เพื่อที่จะได้มีรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล สำรองไว้กรณีที่หุ้นให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่อาจต่ำกว่าคาดหมาย
อีกทั้งหากออกจากงาน เรื่องค่ารักษาพยาบาล ก็ต้องหาประกันสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยง ในกรณีที่อาจเจอโรคที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลสูง

ผมอ่านบทความของ ดร.นิเวศ เกี่ยวกับการลงทุนแนว MF รู้สึกว่า ตอนนี้ตนเองใช้แนวนี้ไปแล้ว เพราะตอนนี้รู้ว่า
ตัวเองเริ่มมีความจำกัดในการรับความเสี่ยงมากขึ้นและอยากใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการปฏิบัติธรรม
จึงเน้นรูปแบบของความมั่นคงแทน เพราะหากเราออกจากงานแล้ว รายได้จะมาจากการลงทุนคือปันผลอย่างเดียว
ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก คงเป็นเพราะอายุและความคิดที่เปลี่ยนไป ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไปแล้วครับ

ความสงบของจิต จากการได้น้อมธรรมเข้ามาในใจ มันทำให้ผมตัดความอยากรวยมากๆ ออกไปจากใจตนได้
หากมี ร้อยล้าน พันล้าน เราอาจจะไม่สนใจหรือติดในทรัพย์นั้น แต่บางทีอาจสร้างทุกข์ให้กับคนรอบข้างของเราแทนก็ได้
สุดท้ายเลยแค่ขอพอมีพอใช้ พอมีให้ทำทาน รักษาตัวและครอบครัว ให้อยู่อย่างไม่ลำบากกายมากนัก
ก็รู้สึกว่ามีความสุขอย่างบอกไม่ถูกแล้วครับ

สิ่งที่เราคิด กับความเป็นจริงนั้น ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นจากเพื่อนๆหลายคนในที่นี้
ก็จะพบว่า หากเราเริ่มลงมือทำ แล้วค่อยๆทำอย่างต่อเนื่องโดยใช้สติปัญญากำกับ
เป้าหมายก็อยู่ไม่ไกลเกินกว่าที่เราจะคว้ามาได้จริงๆครับ

สรุปว่า ธรรมะ ที่เราฝึกปฏิบัติอยู่ ช่วยน้อมให้เรารู้จักพอในการลงทุนครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 635

โพสต์

อนุโมทนา กับคำแนะนำของ คุณ Picatos และ คุณ Tum ด้วยครับ

ปล. ผมน่าจะเป็น broker นะ เพราะนิยมขอ com กับ อานิสงค์ของคนอื่นเรื่อยเลย
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 636

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:อนุโมทนา กับคำแนะนำของ คุณ Picatos และ คุณ Tum ด้วยครับ

ปล. ผมน่าจะเป็น broker นะ เพราะนิยมขอ com กับ อานิสงค์ของคนอื่นเรื่อยเลย
ที่จริง คุณพี่เด็กใหม่ไฟแรง เป็นผู้ที่เหมาะสมกับหัวข้อนี้มากที่สุดเลยนะครับ เพราะสามารถสำเร็จได้ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ทำในสิ่งที่พึงกระทำทำได้อย่างยากยิ่ง

หากพอมีเวลารบกวนช่วยแนะนำแนวทางในการฝึกตนด้วยนะครับ
ขอบพระคุณครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
cobain_vi
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 637

โพสต์

คนที่รักการปฏิบัติมักจะไม่ค่อยสนใจอะไรนอกๆ ส่วนใหญ่จะคิดเสมอว่าทำอย่างไรจะย่นภพย่นชาติหรือทำให้ถึงที่สุดก่อนที่ความตายจะมาถึง วันๆก็ไม่ค่อยสนใจงานภายนอกสนใจแต่งานภายในนั่นคือการภาวนาอย่างเดียว
จริงๆแล้วความรวยความจนไม่ได้เกี่ยวกับงานภาวนาเลยแม้แต่น้อยถ้าเรารู้หลักและมีความเพียรมากพอ แท้จริงแล้วความรวยนี่แหละเป็นตัวทำให้เราประมาทล่าช้าหลงโลกเสียด้วยซ้ำ อาจจะดีในด้านการใช้ชีวิตอยู่กับโลกๆให้สะดวกสะบายผมไม่ได้หมายความว่ารวยไม่ดีนะครับ ถ้ามีโอกาศที่จะรวยก็รวยไปไม่เป็นปัญหาอะไรแต่ส่วนใหญ่จะรวยกันเพลินแล้วก็พอใจติดใจจนไม่สนใจจะภาวนากัน.
ในชีวิตผมไม่ค่อยได้เห็นคนที่รวยๆแล้วภาวนาดีๆเก่งๆแทบจะไม่เห็นเลยส่วนใหญ่คนที่ภาวนาดีๆมักจะเป็นคนที่เกิดในชนชั้นกลางที่เคยเจอบางคนก็เป็นคนธรรมดามนุษย์เงินเดือน บางคนก็บ้านจนๆ หน้าตาก็พื้นๆไม่ได้สวยหล่ออะไร แต่พอเล่าเรื่องการปฏิบัติแล้วก็รู้สึกทึ่งไม่น่าเชื่อเลย
พอมาพิจารณาแล้วน่าจะเป็นเพราะว่ามันคงทุกข์มากทุกข์จนหนีไปไหนไม่ได้จนต้องหันมาสู้ด้วยการภาวนา ส่วนคนที่รวยมักมีเรื่องฟุ้งซ่านทำโน่นทำนี่ (ร้อนหน่อยก็เปิดแอร์ )ก็มีเงินอยู่แล้วนี่จะคิดอะไรทำอะไรก็ทำได้ทั้งนั้น บางทีดีชั่วไม่รู้แหละขอให้ได้สนองกิเลสก็ทำหมด บางทีก็มีเมียน้อยบางทีก็กินไวน์ขวดละหลายๆหมื่น ฯลฯ
ศีลสมาธิปัญญามันจำเป็นต้องเพิ่งพาเงินตรงไหน (ใครที่ไม่ได้ร่ำรวยไม่ต้องเสียใจนะครับ การภาวนาไม่ได้ใช้เงินเลยแม้แต่นิดเดียว) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินหรือฐานะอะไรเลยแม้แต่น้อย เป็นของภายในทั้งสิ้น
เคยอ่านตามเวปเพจบางเวปเค้าบอกว่ารีบๆเก็บเงินอย่าเพิ่งไปใช้เอามาลงทุน5ปีได้เท่านี้อีกสิบปีเงินเพิ่มเป็นเท่านี้อายุเท่านี้มีอิสระภาพทางการเงินฯลฯผมคิดไม่เหมือนเค้า(ผมเชื่อว่าคงมีหลายๆคนก็คิดไม่เหมือนกัน) สำหรับผมไม่ได้สนใจว่าจะมีเงินเท่านั้นเท่านี้มีอิสระภาพทางการเงินเมื่อไร คิดว่า"ถ้าจำเป็นเมื่อไรก็ใช้" อะไรที่เกินความจำเป็นก็ไม่ใช้ เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราจะประสบผลสำเร็จจริงๆตามแผน(บุญทำกรรมแต่ง ถ้าทำบุญมาดีพยายามนิดๆหน่อยก็รวยไม่รู้เรื่องแล้ว ถ้าทำมาไม่ดีเหนื่อยแทบตายก็มีแต่เรื่องมารผจญเสียเงินเสียทอง ลำบากแทบตายกว่าจะหามาได้แต่ละบาท) รู้ได้อย่างไรว่าเราจะไม่ตายก่อน(ไม่กี่เดือนมานี้มีน้องวีไอคนนึงเสียไป อีกไม่กี่เดือนเดี๋ยวจะมีคนดังหายไปจากโลกนี้อีก) ชีวิตนี้มีค่าไม่ได้อยู่ที่เงิน เกิดมาทั้งทีต้องฝึกนิสัยดีๆ(ขยันประหยัดรักการอ่านฯลฯ) ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง(ศีล) ฝึกสมาธิ ฝึกความเห็นถูก(ทิฐิ)
ถ้าเรามีอิสระภาพทางการเงินแล้วเราจะทำอะไรเราจะทำได้อย่างที่เคยตั้งเป้าไว้จริงๆเหรอ ใจคนเรามันเปลี่ยนได้ตอนยังไม่มีก็คิดอีกอย่าง ตอนมีก็คิดอีกอย่าง ไม่มีอะไรปลิ้นปล้อนหลวงลวงเท่ากิเลสในใจเราเลยแม้แต่นิดเดียว เอาที่ผ่านมาของผม ตอนอยู่บ้านก็คิดว่าเดี๋ยวไปวัดจะภาวนาให้เต็มที่เลยจะนอนวันละน้อยๆนั่งสมาธิต้องโต้รุ่งกินน้อยๆ เราจะเร่งความเพียรให้เต็มที่เลยพอไปอยู่วัดแค่ไม่กี่วันงานนี้ยังไม่ได้ทำเดี๋ยวกลับบ้านก่อนเริ่มปวดหลังต้องไปหาหมอ ภาวนาอยู่บ้านก็ได้ นี่แค่ไม่กี่วันความคิดก็เปลี่ยนแล้วครับ อะไรจะมาร้ายกลับกลอกเท่ากิเลสไม่มีอีกแล้วในโลกนี้
ชีวิตคนเราไม่แน่นอน เผลอเเว้บเดียวอายุเท่าไรกันแล้ว วันๆก็ทำเรื่องซ้ำๆโดนกิเลสหลอกให้ทำโน่นทำนี่(ผมด้วย)ไปวันๆ ปีก่อนก่อนก็เหมือนแบบนี้อีกสิบปีก็ไม่ต่างจากนี้เท่าไร ชีวิตไม่เห็นมีอะไรที่เป็นสาระแก่นสารเลย

บอกว่ามีเท่านั้นมีเงินเท่านี้ตอนนั้นตอนนี้จะภาวนาลองแอบๆดูสิว่าจริงหรือป่าวกี่ปีแล้วที่ยังไม่ได้เริ่ม กี่ปีแล้วที่เหลาะแหละ แก่ไปทุกปีๆไม่เห็นได้อะไรที่เป็นสาระแก่นสารเลยแม้แต่น้อย



-ภาวนามาถึงจุดนึงจะมีผู้รู้แยกออกตลอดเวลา รูปธรรมนามธรรมออกอยู่ห่างๆเหมือนมีอีกคนเป็นผู้รู้ผู้มองผู้เห็นแทบจะตลอดเวลา กิเลสก็ส่วนกิเลสเห็นมันทำงานตลอดแต่ปัญญาไม่แก่กล้าพอที่จะทำลายมัน มันจะทำให้เราเผลอออกนอก มันจะคอยสั่งเราให้เราคิดตลอด มันจะเสียดแทงให้เรารำคาญใจ มันจะทำให้เราทุกข์ ทำให้เราฟุ้งซ่าน ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมบ้าง
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 638

โพสต์

ผมว่าคนที่สนใจปฏิบัติจริงๆ คนที่เบื่อหน่ายทางโลกจริงๆ คงจะไม่เห็นสาระของการแสวงหาทางโลก มีเงินมากขนาดไหน มีตำแหน่งสูงขนาดไหน ก็คงจะสละมันทิ้งถ้าเจอทาง อย่างสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล ที่แต่ละคนไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีร่ำรวย เป็นพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ เป็นเจ้าชาย ปุโรหิต ไม่ว่าจะมีคุณสมบัติทางโลกสูงขนาดไหน เมื่อเจอทาง เมื่อเห็นทางก็พร้อมที่จะสละมันทิ้งทันที เพราะ ได้เคยเสวยผลบุญเหล่านี้ในอดีตชาติมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว และก็ไม่เห็นสาระในการแสวงหา ในการรักษามันเอาไว้ ซึ่งถ้าเขาเหล่านั้นมีคุณสมบัติที่สูงมากเพียงพอ ก็คงจะไม่เข้ามานั่งเล่นใน webboard ของ ThaiVI คงจะออกบวชเป็นสมณะ ทำความเพียรให้ถึงพร้อม

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ก็ยังมีคนอีกหลายๆ คน และคนเป็นจำนวนมาก ที่ยังมีความติดใจยินดีทางโลกบางอย่าง ยังไม่เห็นว่าสิ่งที่ตัวเองปรารถนานั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ เลยยังเลือกที่จะจมอยู่กับกองทุกข์ จึงเป็นเหตุที่เขาเหล่านั้นยังใส่ความเพียรในการแสวงหาทางโลกอยู่ แต่ก็มีความเห็นว่าการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งควรทำ ดังนั้นถึงแม้จะยังละทางโลกไม่ได้ แต่ก็เลือกที่จะทำทางธรรมคู่ขนานกันไป เลยเป็นที่มาของการพูดคุยกันในกระทู้นี้

โดยส่วนตัวผมก็ยังมีความติดใจยินดีทางโลกอยู่ ซึ่งผมก็รู้ชัดและก็ยอมรับว่ายังมีตัณหาบางอย่างที่ทำให้ยังไม่สามารถสละโลก ออกบวชเป็นสมณะได้อย่างสมบูรณ์ ยังมีภาระทางโลกบางประการที่ผมจำเป็นต้องทำ เมื่อมีสถานะทางโลกที่จำเป็นต้องดำรงอยู่ ผมก็ยังจำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพแบบฆราวาสอยู่

และในบรรดาอาชีพทั้งหมดที่ผมได้พิจารณา ผมคิดว่าการลงทุนเป็นอาชีพที่ใช้เวลาน้อยแต่ได้ผลมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ซึ่งหากเราสามารถลงทุนได้จนมีอิสระภาพทางการเงิน และถ้าเรารู้ว่าจะลงทุนอย่างไรให้ใช้เวลาน้อย ถ้าเรารู้ว่าเราจะจัดการใจของเราอย่างไรให้เป็นอิสระจากการลงทุน เป็นอิสระจากภาระและสิ่งต่างๆ เมื่อนั้นเราก็จะได้อิสรภาพทางเวลามา ซึ่งอิสรภาพทางเวลานี้เราก็สามารถเอาเวลาไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นที่เราให้ความสำคัญมากกว่า อย่างการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นได้ ซึ่งถึงแม้ว่าหนทางนี้จะเป็นหนทางที่มีขวากหนาม และยาวไกลกว่าการออกบวช แต่ก็ยังถือว่าเป็นทางที่มีโอกาสทางเวลามากกว่าการหาเลี้ยงชีพด้วยวิธีการอื่นๆ

อย่างไรก็ตามในระหว่างทางที่เดินไปก่อนที่จะถึงจุดหมาย ที่มีอิสระทางเวลาในการที่จะทุ่มเทเวลาทางธรรมได้อย่างเต็มที่ ผมคิดว่าการศึกษากายใจตัวเองควบคู่ไปกับการลงทุน จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งช่วยให้ลงทุนในปัจจุบันได้ดีขึ้น ช่วยให้ใช้ชีวิตในปัจจุบันได้มีความสุขมากขึ้น มีทุกข์น้อยลงแล้ว แถมยังเป็นการสะสมหน่วยกิจ เตรียมความพร้อมสำหรับการขัดเกลาในขั้นละเอียดในอนาคต

มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเห็นของละเอียดได้โดย ไม่ผ่านการศึกษาของหยาบมาก่อน การที่จะเข้าไปเห็นการปรุงแต่งของจิต ของความคิดนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากเรายังไม่สามารถที่จะฝึกที่จะศึกษา ที่จะเห็นของหยาบๆ อย่างการปรุงแต่งทางกาย และเวทนาได้

และเราก็คงยังไม่สามารถมองเห็นการปรุงแต่งทางกายและเวทนาได้ละเอียด หากเรายังวุ่นวายไปกับเรื่องทางโลกมากๆ ยังเบียดเบียนกันทางกาย ทางวาจา อย่างหยาบๆ ในระดับของศีล ผมคิดว่าทุกอย่างมีขั้นมีตอนของมัน จากหยาบไปละเอียด ซึ่งเราสามารถเลือกกลยุทธ์ของเราได้ว่า เราจะค่อยๆ ทำ หรือจะหักดิบ ลุยแหลก แลกชีวิต

สำหรับคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง หากสามารถหักดิบได้ มีศรัทธาที่มากพอ ลุยเลยครับ ผมขอเชียร์ เป็นกำลังใจให้ แต่สำหรับผมแล้ว ผมเป็นพวกสุขปฏิปทา ไม่ใช่ทุกขปฏิปทา ดังนั้นผมจึงเลือกวิธีการค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ สั่งสม

ผมยังคงเป็นผู้ศึกษาอยู่ ผมยังเป็นคนที่ติดใจยินดีอยู่กับทางโลกอยู่ ผมยังไม่พร้อมที่สละทุกอย่าง เพื่อเข้าสู่ทางธรรม แม้ว่าผมจะเดินช้า แต่ผมพยายามไม่ประมาทครับ ผมรู้ว่าทุกวันผมพยายามที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น ตามกำลัง ตามความสามารถ โดยไม่ฝืนตัวเองมากจนเกินไป ผมแค่เลือกเป้าที่จะไม่สูงส่งเกินความสามารถตัวเองเกินไป พยายามฝืนนิดๆ ให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน และฝืนนิดๆ ให้พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ ผมขอแค่วันนี้ได้เดินให้มากที่สุดเท่าที่ตัวเองเดินวันนี้ไหว และไม่ฝืนตัวเองมากเกินไปจนพรุ่งนี้หมดแรงแล้วไม่ได้เดิน เพราะ การเดินทางครั้งนี้ไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร แต่เป็นเดินทางไกลเพื่อก้าวข้ามผ่านสังสารวัฎ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 639

โพสต์

พูดถึงเรื่องความรวยความจน ผมคิดว่า ความรวยความจนเป็นเรื่องของทัศนคติภายใน และทัศนคติภายนอก คือตัวเรามองว่าตัวเราเอง และคนอื่นมองตัวเรา ว่า เรารวยหรือจน ซึ่งทัศนคติที่สำคัญ คือ ทัศนคติภายใน เพราะ ตราบใดที่เรายังไม่รู้สึกว่าเรามีมากเพียงพอ เราก็จะไม่หยุดหา และเราก็จะไม่มีวันถึงอิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพทางเวลาได้

ถ้าใจของเรารู้สึกว่าพอ รู้สึกว่าเรามีอยู่มากเกินพอ มากเกินกว่าที่เราจะใช้ เราก็อาจจะถือว่าเราเป็นคนรวยได้ ถึงแม้ว่าคนภายนอกจะว่าเรายังไม่รวย ยังมีไม่มากพอสำหรับเขาก็ตาม ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่าความสันโดษ (ความพอเพียง) เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่เมื่อยังเจริญสติไม่มากพอ มักจะใช้ทัศนคติจากภายนอกในการตัดสินสิ่งต่างๆ เพราะ โมหะที่ยังปกคลุมการรับรู้ต่างๆ ทั้งทางกายและทางใจ ทำให้ยังไม่มีมาตรวัดจากภายในที่แข็งแรงพอ ที่สามารถจะยืนอยู่ในโลกได้โดยฝืนกระแสกิเลส และการฝึกเจริญสตินี่แหละที่จะทำให้มาตรวัดจากภายในของเราเข้มแข็งและแข็งแรงขึ้นพอที่จะทำให้เราเข้าใจจริงๆ ว่าความรวยความจนจากภายในนั้นคืออะไรกันแน่

มาตรวัดอะไรเกิดขึ้น ถูกพัฒนาขึ้นจากการเจริญสติ?

ชีวิตของมนุษย์โดยส่วนใหญ่ เป็นไปเพื่อแสวงหาความสุข และหลีกหนีความทุกข์ การฝึกเจริญสติ ในมุมหนึ่ง มันคือกระบวนการศึกษาสภาวะสุขและสภาวะทุกข์ และศึกษาเหตุให้เกิดสุขและทุกข์ เมื่อเราเห็นการเกิดขึ้นของสุขและทุกข์บ่อยๆ เข้า และถ้าเรายังเป็นสุขเป็นทุกข์จากความรวยความจน เราก็จะได้โอกาสในการศึกษา และมีความเข้าใจในเรื่องความรวยความจนมากยิ่งขึ้นๆ เราก็จะได้เห็นทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นในความรวยความจน ได้เห็นทุกข์ที่เกิดจากการแสวงหาทรัพย์ทางโลก และเห็นสุขที่สงบจากการหยุดแสวงหาทรัพย์ทางโลก

และเมื่อเห็นบ่อยๆ เข้า มากๆ เข้าถึงจุดหนึ่ง ก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ที่เกิดจากความยึด เมื่อเบื่อหน่ายจึงอยากที่จะปล่อย อยากที่จะคลายจากการยึด เมื่อพยายามปล่อย จึงพยายามฝึกที่จะดับกิเลส ดับความอยาก ความเคยชินที่จะไปยึด พยายามฝึกที่จะปล่อยแทน เมื่อฝึกมากๆ ขึ้นจึงเกิดนิสัยใหม่ สันดานใหม่ จึงสละความยึดนั้นได้สำเร็จ เมื่อสละได้สำเร็จจึงรู้ว่าได้หลุดพ้นแล้วจนจากการยึดอันนั้น ทุกข์อันนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก เพราะ เราได้ละเหตุแห่งทุกข์อันนั้นได้แล้ว

ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ก็จะมีมากขึ้นๆ ความยึดมั่นถือมั่นในสถานะความแตกต่างของการมีเงินมากมีเงินน้อยก็จะเบาคลายลงๆ ในระหว่างกระบวนการฝึกเจริญสติไปกับการลงทุน มีเงินมากก็สักแต่ว่ามีเงินมาก มีเงินน้อยก็สักแต่ว่ามีเงินน้อย ใช้ชีวิตและใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่มี ตามเหตุปัจจัยที่ได้ทำมา และเมื่อเลือกที่จะสร้างเหตุใหม่ก็เลือกอย่างรู้ชัดว่า การเลือกของเรามีต้นทุน มีประโยชน์ มีโทษอย่างไร

ในระหว่างทางของชีวิตในการปฏิบัติธรรมที่ควบคู่ไปกับการลงทุนของผม ผมรู้สึกว่ามีความสุขมากขึ้น มีทุกข์น้อยลง เป้าที่ตัวเองเคยคิดว่าไกล มันขยับเข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ ของมันเอง โดยที่เราก็ไม่คิดว่าจะขยับเป้า ตั้งเป้าอะไรให้มันไกลขึ้น ใหญ่โตอะไรมากขึ้น ความกระวนกระวายใจ ความทุกข์ร้อนใจ จากการลงทุนไม่ได้ดังใจสงบระงับลงมากยิ่งขึ้นๆ พร้อมที่จะยอมรับความเป็นไปได้ต่างๆ มากยิ่งขึ้นๆ เมื่อสร้างเหตุในการลงทุนที่ถูก และรู้ว่าจะวางจิตอย่างไรในการลงทุน เมื่อเวลาผ่านไป ผลก็ออกของมันเอง รู้ตัวอีกทีเราก็เดินเลยเป้าที่เราเคยตั้งเอาไว้มาไกลแล้ว

สภาวะในการปฏิบัติธรรมก็เฉกเช่นเดียวกับการลงทุน นิโรธตัณหา ก็จัดว่าเป็นตัณหาประเภทหนึ่ง ผมคิดว่าไม่ว่าสภาวะที่ปรากฎขึ้นกับกายใจของเราจะเป็นอย่างไร หากเรายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง พอใจในสภาวะที่เกิดขึ้น ไม่ไปเทียบเราเทียบเขา เราก็จะค่อยๆ เดินของเราไปเรื่อยๆ ในเส้นทางธรรมของเรา รู้ตัวอีกทีเรา เราก็เห็นกิเลสแต่ละตัวสงบลง กิเลสแต่ละตัวดับลง ความยึดมั่นถือมั่นลดลง ค่อยๆ เดินทางเพื่อเข้าสู่อิสรภาพทางจิตใจอย่างแท้จริง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 640

โพสต์

cobain_vi เขียน: -ภาวนามาถึงจุดนึงจะมีผู้รู้แยกออกตลอดเวลา รูปธรรมนามธรรมออกอยู่ห่างๆเหมือนมีอีกคนเป็นผู้รู้ผู้มองผู้เห็นแทบจะตลอดเวลา กิเลสก็ส่วนกิเลสเห็นมันทำงานตลอดแต่ปัญญาไม่แก่กล้าพอที่จะทำลายมัน มันจะทำให้เราเผลอออกนอก มันจะคอยสั่งเราให้เราคิดตลอด มันจะเสียดแทงให้เรารำคาญใจ มันจะทำให้เราทุกข์ ทำให้เราฟุ้งซ่าน ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมบ้าง
ผมอ่าน ที่พี่ cobain เขียนครั้งนี้หลายรอบเลย ธรรมที่พุ่งออกมาอย่างกับน้ำพุเป็นแบบนี้จริงๆ ถึงใจดีแท้ อนุโมทนาด้วยครับ

ตอนนี้เห็นทั้งสุขและทุกข์ ยังล้มบ้าง พลาดบ้าง แต่ก็เห็นปลายทาง ทางสายนี้ขวากหนามเยอะ
แต่จิตที่ถูกฝึกจะค่อยๆพัฒนาไปเรื่อย เมื่อตาในคือตัวรู้เกิดขึ้น คุณวิเศษบังเกิด ความรู้ตาม จนรู้แจ้ง จิตสว่างไสวเพราะได้รู้ธรรมเห็นธรรมแล้ว
ก็จะสิ้นภพสิ้นชาติกันเสียที แต่อย่างที่หลวงปู่มั่นท่านว่าไว้ “ฐีติภูตัง” การจะเอาชนะจิตดั้งเดิม ไม่ใช่ของง่าย
เพราะครอบงำเรามานับภพนับชาติไม่ได้ หากอยากหลุดพ้นก็ต้องลงมือทำ ความเพียรมาก ความเพียรน้อยต่างกันไปตามนิสัยวาสนา
เหมือนพระอรหันต์ 4 ประเภท ดับกิเลสได้เหมือนกัน แต่นิสัยวาสนาไม่เหมือนกัน แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง
ก็ยังบำเพ็ญเพียรได้ถึง 3 ระดับ แล้วแต่ความวิริยะและการสั่งสมบุญ แต่ไม่ว่าแบบใด ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน

สมัยพุทธกาล อุบาสิกา ผู้อุปถัมภ์พระสงฆ์ 500 รูปจนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
เพราะอาศัยคุณธรรมขั้นสูงของตน คือความเป็นพระอนาคามี สอดส่องดูจิตของพระสงฆ์
และทำการอุปถากตามที่ท่านต้องการ จนท่านเหล่านั้นมีกำลังใจเต็ม สามารถบำเพ็ญเพียรจนดับกิเลสให้ขาดสะบั้นได้

แม้แต่หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ก็ยังได้อาศัยการอุปถากจากตาปะขาว ที่สำเร็จคุณธรรมขั้นสูงคือความเป็นพระอนาคามี
ที่รู้วาระจิตและมารอรับท่าน เพื่ออุปถาก จนหลวงปู่ชอบท่านเกิดความสลดสังเวชใจ
ที่ผู้ห่มผ้ากาสายะ ยังไม่ได้คุณธรรมขั้นใดเลย อาศัยตาปะขาว เป็นเครื่องเร่งความเพียร
จนสามารถตัดภพชาติเหลือการเกิดอีกแค่ 7 ชาติได้ ในครั้งนั้น

หลวงพ่อพุธ ท่านกล่าวไว้ว่า จุดยืนของชาวพุทธ บทสวดมนต์อยู่ที่พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เมตตาพรหมวิหาร อย่าไปไขว่คว้าอะไรให้มันมากนัก

และหลวงตามหาบัวท่านกล่าวว่า ท่านผู้ใดสำคัญตน ว่าเป็นพระโสดาบัน คนนั้นไม่ใช่
ท่านผู้ใดสำคัญตนว่าเป็นพระสกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ คนนั้นไม่ใช่
เพราะความเป็นพระอรหันต์ มันอยู่เหนือสมมุติบัญญัติ ผู้สำเร็จแล้ว จะรู้สึกเพียงแค่ว่าตัวหมดกิเลสแล้วเท่านั้นแล
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
cobain_vi
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 641

โพสต์

ควรพิจารณา เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ให้ได้ทุกๆวัน ไม่สำคัญที่จะต้องทำสมาธิให้ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ก่อน (ตามตำราถ้าจะทำให้ได้อย่างเพอร์เฟค ต้องทำฌาณให้ถึงอัปปณาสมาธิ จากนั้นถอยออกมาพิจารณาในอุปจารสมาธิ) ความจริงเราไม่ต้องทำตามตำราก็ได้ เพราะถ้าเราทำอัปปณาสมาธิไม่ได้แล้วจะทำให้เราล้มเลิกท้อแท้ไปเสียก่อน ผมทำอัปปณาสมาธิได้ แต่ไม่เคยทำสมาธิก่อนแล้วพิจารณาในสมาธิเพราะว่ามันไม่ทันใจ เราพิจารณาไปเลยดีกว่า เดี๋ยวจิตมันเข้าไปพักในสมาธิเอง ถ้าจะทำสมาธิก่อนบางทีก็ทำไม่ได้ คือมันไม่ชำนาญเหมือนเมื่อก่อน (เมื่อก่อนตอนบวชชำนาญมาก เพราะทำสมาธิทุกวันเสียดายที่ไม่มีครูบาอาจารย์คอยสอน เลยได้แค่สมถะคือพุทโธๆลูกเดียว บางทีแค่ท่องพุทโธ 4 5ครั้ง จิตก็เข้าไปพักในอัปปณาสมาธิเเล้ว ชำนาญขนาดนั้นเลย อันนี้ไม่ได้อวดนะครับ เป็นอย่างนั้นจริงๆ

ท่านว่าตอนว่างๆตอนไหนก็ได้ ให้พิจารณาไม่ใช่แค่เกสา -ตโจเท่านั้น พิจารณาอาการ32 หรือพิจารณาอะไรก็ได้ในร่างกายเรา อย่าให้เกินกายออกไป การพิจารณาเค้าพิจารณากันอย่างนี้คือ(เผื่อคนที่ไม่ทราบนะครับ)

-เกสา พิจารณาผมของเรา(ตอนแรกก็จะต้องคิดก่อน)ดูสิว่า เรากินอาหารไปแล้วมันเอาไปเลี้ยงผม เราจะเอาไปเลี้ยงอย่างอื่นที่ไม่ใช่ผมก็ไม่ได้ มันขึ้นของมันเอง เราจะให้มันยาวเร็วๆก็ไม่ได้ จะให้ยาวช้าๆก็ไม่ได้ มันยาวมันเอง มันร่วงของมันเอง เราจะบังคับไม่ให้มันร่วงก็ไม่ได้ จะบังคับไม่ให้มันหงอกก็ไม่ได้ ฯลฯ จี้(หมายถึงคิดตรงไปที่ผมของเรา)อยู่ที่ผมนั่นแหละ ค้นคิดพิจารณาอาการให้อยู่ในไตรลักษณ์(บังคับมันก่อน ตอนนี้ยังไม่ใช่วิปัสสนานะครับ เวลามันขึ้นวิปัสสนา เราจะไม่ได้คิดแล้ว แต่จิตจะเข้าไปเห็นเอง พ้นการจงใจ ถ้ายังจงใจ หรือคิดยังไม่ใช่วิปัสสนานะครับ)

-โลมา ขน เราจะบังคับให้ขึ้นเฉพาะที่ก็ไม่ได้ จะให้ไม่หยิกก็ไม่ได้ จะบังคับไม่ให้มันร่วงก็ไม่ได้ มันขึ้นมันเอง มันร่วงมันเอง ร่วงแล้วนานๆไปมันก็กลายเป็นธาตุดิน (บางทีพิจารณาถึงตรงนี้ อาจจะได้ของดีเลยก็ได้) แต่ถ้าไม่พอก็พิจารณาอีก

-นขา เล็บ มันมาจากไหน อยู่ๆก็โผล่มาจากนิ้ว มีลักษณะแข็งๆ รูปร่างไม่เห็นสวยงาม แต่พอทาเล็บแล้วทำไมถึงดูสวย เวลาเล็บฉีกเราก็เจ็บเป็นแผล เจ็บปวด แสดงว่ามันไม่ใช่ของดีนี่

-ทันตา ฟัน บางทีสีก็ขาว บางทีสีก็เหลือง ถ้าไม่แปรงฟันทำความสะอาด โห เหม็นจะตาย แข็งๆมันคือกระดูกที่มาโผล่ในปากเรานี่ เค้าว่าแข็งที่สุดแล้วมันทนจริงๆไหม ไม่เห็นทน ก็เห็นผุได้ เดี๋ยวก็ปวดฟัน ปวดทีนึงทรมานจะตาย

-ตโจ หนัง เป็นเเผ่นๆขึ้นปกคลุมร่างกายเรา เดี๋ยวมันก็ลอก เวลาลอกดูเหมือนตัวประหลาด ถ้าไม่มีมันก็ดูไม่สวยงาม บางคนก็ผิวขาว บางคนก็ผิวดำ

ตอนพิจารณาพิจารณาอย่างเดียว อย่างใดอย่างนึงก็ได้ หรือจะไล่ดูเกสาก่อน แล้วไปโลมา นขาไปเรื่อยๆวนไปมา หรือจะไปพิจารณา เลือด น้ำปัสสวะ ตับไตใส้กระเพาะ อุจจาระ ก็ได้ อะไรก็ได้ทั้งนั้น
ท่านว่าทำบ่อยๆให้คลายยึดถือ พิจารณาบ่อยๆเดี๋ยวจิตมันตัดสินความรู้เอง ไม่ต้องรีบ ทำให้ได้ทุกวัน ไม่เกินปัญญาของเรา มันทนปัญญาเราไปไม่ได้ ขอให้อดทนพากเพียร ทำทุกวัน วันละหลายๆครั้งยิ่งดี
อันนี้คือการพิจารณากายนะครับ

ส่วนการดูจิตก็ทำเหมือนเดิมนี่แหละ ผมก็เริ่ม่จากการดูจิต หลวงพ่อครูบาอาจารย์บางท่านพิจารณากายแต่สุดท้ายก็มาทำงานกันที่จิต
เมื่อถึงตอนสำคัญๆสมาธิจะเข้าลึกมาก ที่เข้าสมาธิมันก็จะทำมันเองอัตโนมัติพ้นการจงใจ เพราะธรรมชาติของมันเป็นอย่างนั้น ถ้าจิตไม่เข้าสมาธิจะไม่มีทางที่จะเกิดปัญญาได้ ถ้าเป็นปัญญาก็เป็นปัญญาที่ไม่เพียงพอ เป็นปัญญาอ่อนๆไม่สามารถขุดรากถอนโคนกิเลสได้

การพิจารณาท่านบอกว่าทำเหมือนเดิมทุกขั้นๆ โสดา สกิทา อนาคา ก็ทำแบบนี้แหละ แต่ความรู้ความเข้าใจมันจะไม่เหมือนเดิม มันจะละเอียดขึ้นๆจนหลุดพ้นไปเอง
เหมือนตัดไม้ ก็ฟันไปเรื่อยๆ ฟันทะลุเปลือกไปเราก็รู้ว่าฟันถึงเปลือกแล้ว ฟันไปอีกฟันไปร้อยครั้งพันครั้ง ฟันไปเรื่อยๆพอถึงกะพี้เราก็รู้ว่ามันถึงกะพี้แล้ว ก็ฟันๆไปอีกจนถึงเนื้อไม้เราก็รู้ว่าตอนนี้เราตัดถึงเนิ้อไม้แล้ว ฟันไปเรื่อยๆ สุดท้ายไม้ซุงนั้นก็ขาด เราก็รู้ว่าไม้นั้นขาดแล้ว

กิเลสก็เหมือนกันเราก็ซักฟอกไปเรื่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ ต้นไม้นี้ใหญ่ฟันตั้งนานเปลื่อกยังไม่ขาดพอขาดแล้ว เค้าก็เรียกว่าโสดา พอถึงกระพี้ก็เรียกว่าอย่างนี้ๆ (อันนี้อุปมานะครับ) พอถึงขั้นนึงก็รู้แล้วว่าเราฟันมาถึงตรงไหน

เหมือนเดืนทาง เราจะไปที่นึงวัดระยะทางได้สี่กิโล เราก็เดินไปเรื่อยๆ สองก้าว สามก้าว ใกล้เข้ามาๆ พอถึงกิโลแรกเราก็รู้แล้วว่าถึงกิโลเมตรแรก ไม่ใช่เดินก้าวเดียวได้1กิโลเลย เดิน10ก้าว ได้สิบกิโล มันไม่ใช่อย่างนั้น พอถึงกิโลเมตรแรกมันจะมีเครื่องหมายบอก คืออริยมรรค มีการตัดสิน ไม่ใช่ทึกทักเอาเอง
พอผ่านกิโลเมตรแรกแล้วเราก็เดินต่อ ไอ้อาการเดินนี่แหละที่เราต้องทำทุกวัน เหมือนการภาวนาก็ต้องทำทุกวัน ทำเหมือนกันทุกวัน พอจะถึงที่หมายเค้าจะมีอาการบอกเอง รู้ได้เอง ไม่ได้ทึกทักเอง เดินมาร้อยก้าวแล้วน่าจะถึงกิโลเมตรแรกแล้วมั้ง มันจะไม่คิดอย่างนั้น มันต้องมีการบอกที่เค้าเรียกว่าอริยมรรค (ผมอธิบายแบบนี้ไม่รู้ว่าจะเข้าใจกันหรือป่าวนะครับ)

บางคนเดืนไม่กี่ก้าว แป็บเดียวก็ถึงกิโลเมตรแรกแล้ว บางคนเดินมาเป็นสิบปี ยี่สิบปี บางคนก็ไม่ยอมเดิน บางคนเดินออกนอกเส้นทางก็มี อันนี้ก็แล้วแต่วาสนาแหละครับ

เมื่อเราเข้าใจแล้ว มันก็เข้าใจถ่องแท้ จะไปบอกคนอื่นก็ไม่ได้ เพราะคำพูดมันไม่ละเอียดพอที่จะเอามาอธิบายได้เลย เคยเอาไปเล่าให้ครูบาอาจารย์ฟัง บอกท่านว่าโห อัศจรรย์แท้ ท่านบอกว่าเป็นของเฉพาะตัว เอาไปเล่าให้คนอื่นฟังก็ไม่ได้ ไม่รู้จะเล่าอย่างไร พูดเสร็จท่านก็หัวเราะ
ผมก็หัวเราะตาม ท่านบอกว่ามันยังมีอัศจรรย์กว่านี้อีก ภาวนาไปเถิด มันไม่หายไปไหนกรอก มันติดตัวข้ามภพชาติ ไม่เหมือนเงินทองหรือเมียบางทียังไม่ทันตายมันก็พลัดพรากจากเราเเล้ว(ฮา)

ส่วนของเล่น บางคนก็มีแถมมาด้วย ผมเองก็ได้ของแถม รู้ว่าต้องทำอย่างไร เคยทำได้ แต่ความชำนาญยังไม่ชำนาญ เคยไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านบอกให้ทำให้ได้บ่อยๆให้ชำนาญ ผมว่ามันยากนะ ยากมากๆ แต่ก็ยังง่ายกว่าตอนเกิดปัญญา ตอนไม่มีศาสนาพุทธ พวกฤษีเค้าก็ทำกันได้ ไม่ได้วิเศษอะไร เป็นของธรรมดา

โพสอันนี้แล้วคงไม่ค่อยได้เข้ามาคุยด้วยแล้วครับ คงอีกนาน ไม่รู้จะคุยอะไร เรื่องพวกนี้หาอ่านได้ในหนังสือครูบาอาจารย์อยู่แล้ว
ผมแค่จำๆมาอีกที พิมพ์ทีนึงเหนื่อยมาก ต้องมานั่งตรวจทาน บางทีคิดๆไว้พอจะพิมพ์มันก็หายไปแล้ว คนที่เขียนหนังสือได้นี่เก่งจริงๆเลย
ขอให้ทุกๆท่านแคล้วคลาดปลอดภัย รักษาเนื่อรักษาตัว ภาวนาอย่าท้อถอย ขอให้สู้สุดตัว ทำให้เต็มกำลัง ทาน ศีล ภาวนา(สมาธิและปัญญา) เกิดมาครั้งเดียวไม่รู้อนาคต(ชาติต่อๆไป)จะได้เจอศาสนาที่เป็นสัมมาทิฐิแบบนี้อีกหรือปล่าว ถึงตอนนั้นถ้าไม่เจอค่อยหาเงินกัน เป็นเศรษฐีกันให้สมใจ แต่ตอนนี้ชาตินี้เจอของดีแล้วรีบภาวนากันนะครับ ถ้าไม่รีบไขว่คว้่าก็เรียกว่าประมาทที่สุด

(หลวงปู่ท่านให้กำลังใจเก่งมาก ยามที่ท้อถอย โดนกิเลสต่อยจนเข้ามุม ท่านบอกว่า
เกิดมาทั้งที อะไรที่เป็นสิ่งที่ดีๆรีบทำกัน ทำให้เต็มที่ทำให้สุดกำลังไปเลย ผมได้ฟังแค่นี้ คำพูดแค่นี้ แหม มันเหมือนติดเทอร์โบ ง่วงๆนี่หายเลย ดีดผึง เหมือนจะเหาะ )

ผมเขียนอาจจะเข้าใจยากนิดต้องขอโทษด้วยเพราะใช้มือถือพิมพ์ครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 642

โพสต์

ขอบคุณ และขออนุโมทนากับพี่ cobain_vi และพี่ tum_H ด้วยนะครับ สำหรับความรู้ ความแบ่งปัน และความปรารถนาดี
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 643

โพสต์

cobain_vi เขียน: ท่านว่าตอนว่างๆตอนไหนก็ได้ ให้พิจารณาไม่ใช่แค่เกสา -ตโจเท่านั้น พิจารณาอาการ32 หรือพิจารณาอะไรก็ได้ในร่างกายเรา อย่าให้เกินกายออกไป การพิจารณาเค้าพิจารณากันอย่างนี้คือ(เผื่อคนที่ไม่ทราบนะครับ)
ขออนุโมทนากับพี่ cobain ด้วยนะครับ

ตั้งแต่ผมติดตามอ่านมา ธรรมของพี่ cobain ละเอียดและลึกซึ้งขึ้นมาก
เป็นธรรมที่นุ่มนวลและละเมียดละไมยิ่งขึ้น แสดงถึงภูมิจิต ภูมิธรรมของผู้ที่หวังซึ่งคุณเบื้องสูง ได้อย่างชัดแจ้ง
แม้จะไม่ค่อยได้มาโพสล์ แต่นานๆถี่ได้ ยิ่งดีนะครับ

ผมสงสัยเรื่องการพิจารณาอาการ 32 มานานล่ะ อยากจะถามพระอาจารย์ ก็กระดากปาก
ครั้งนี้ได้รับอนุเคราะห์จากพี่ พอทำให้ได้เห็นวิธีการและหลักวิธีขึ้นมาให้กระจ่างกับใจตน
เนื่องจากปัจจุบันผมใช้ความเจ็บป่วยของร่างกาย หยิบมาพิจารณาแทน ไม่ได้ลงลึกถึงรากเหง้าของอาการ 32
เช่น เท้าเป็นแผล เจ็บท้อง ผื่นคัน ปวดฟัน ก็เอาอาการนั้นมาพิจารณา ให้เห็นความไม่เที่ยง ลดความยึดมั่นถือมั่นในกาย
พอให้มีสติระลึกรู้ถึงโทษของการเกิด ครั้งหน้าคงได้ใช้วิธีนี้ เหมือนการพิจารณารากเหง้าของอาหารเช่นกันครับ


picatos เขียน: ขอบคุณ และขออนุโมทนากับพี่ cobain_vi และพี่ tum_H ด้วยนะครับ สำหรับความรู้ ความแบ่งปัน และความปรารถนาดี
หามิได้ครับ ผมเองก็ได้อาศัยจากพี่ทั้งสอง เพื่อเอามาฝึกตนเช่นกันครับ
การได้รับฟังจากผู้ที่ปฏิบัติมาแล้ว จะทำให้เรามีกำลังใจฮึกเหิม
บางทีเริ่มท้อ มาอ่านการฝึกของคนอื่น กำลังก็เกิด
ไปนั่งสมาธิก็รู้สึกว่าเบิกบานใจ ที่ได้เห็นผู้คนรอบข้างหวังคุณเบื้องสูงเหมือนกับเรา

การมีสหมิกธรรม ในฝ่ายของคฤหัสถ์นั้น เป็นสิ่งประเสริฐโดยแท้
เพราะสามารถปรึกษาหารือกันได้ง่ายและคล่องตัวกว่า การจะไปถามอาจารย์บางทีก็ไม่กล้า
นอกจากหนักจริงๆ แต่กับสหมิกธรรมนั้น ง่ายๆกว่ามากๆ เพราะสภาวธรรมใกล้เคียงกัน
ยังคงเสพกามเหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ใครหยาบหรือละเอียดกว่า

ผู้ที่หวังซึ่งคุณเบื้องสูง ย่อมถอยตัวออกห่าง จากการเป็นนายช่างผูกเรือนครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
happymom
Verified User
โพสต์: 104
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 644

โพสต์

ขออนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยค่ะ
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 645

โพสต์

คุณ cobian_vi ไปไกลมาก อนุโมทนาด้วยครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 646

โพสต์

เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ คือ กรรมฐาน 5 ครับ พระอุปัชฌาย์ทุกรูปมีหน้าที่ให้กรรมฐานนี้เป็นพื้นฐานแก่พระบวชใหม่ทุกรูปครับ พิจารณาอนุโลมและปฎิโลมควบคู่กันไปครับ

เห็นด้วยกับคุณ cobian_vi ตรงที่ปัญญาเกิดยากมากๆๆๆๆๆๆๆๆที่สุด.

ถ้าปฎิบัติมาพอสมควรและถูกทาง ก็สามารถใช้ปัญญาอบรมสมาธิได้ในบางครั้งครับ ควบคู่กับการทำสมาธิเพื่อเจริญปัญญาวิปัสสนา ซึ่งจะตอบโจทย์สำหรับคนที่ไม่สามารถทำฌาณ(อัปปนาสมาธิ)ว่ามีโอกาสก้าวหน้าในธรรมได้เหมือนกัน

ส่วนมีผู้รู้แยกออกมาอีกหนึ่งนั้น ผมคิดว่าผมเองก็เป็นเช่นกันครับ มันมีความว่างเกิดตามขึ้นด้วยเป็นมาหลายปีแล้วครับ
แต่ช่วงระยะ 4 เดือนหลังมานี้ มันดันมีคำถามผุดขึ้นมาว่า "จะแบกผู้รู้อีกนานมั้ย" ซึ่งผมกำลังหาคำตอบสำหรับคำถามข้อนี้อยู่ครับ....
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 647

โพสต์

“การปล่อยวาง” ความจริงมันหมายความอย่างนี้ อุปมาเหมือนเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้แต่แบกอยู่นั่นแหละ พอมีใครบอกว่าให้โยนมันทิ้งเสียซิ ก็มาคิดอีกแหละว่า เอ๊ะ ! ถ้าเราโยนมันทิ้งเสียแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง

ถึงจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งไปเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละเพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มทีจนแบกไม่ไหวแล้ว ก็เลยปล่อยมันตกลง

ตอนที่ปล่อยมันตกลงนี่แหละ ก็จะเกิดความรู้เรื่องการปล่อยวางขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกสบาย แล้วก็รู้สึกได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้น เราไม่รู้หรอกว่า การปล่อยวาง มันมีประโยชน์เพียงใด

...หลวงพ่อชา สุภัทโท...
-----------------------------------------------------

มองให้เห็นชัด แบกไปให้เหนื่อยเต็มที่ ไม่ละไม่วาง จนเห็นมันดับไป ก็จบ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 648

โพสต์

ตราบลมหายใจสุดท้าย (อสุภกรรมฐาน) - Official MV

[youtube]https://youtu.be/Oo4hXkdLlV4[/youtube]

https://youtu.be/Oo4hXkdLlV4
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 649

โพสต์

ดีใจที่ยังมีห้องนี้อยู่ ไม่รู้จะหาที่สนทนาธรรมที่ไหน ผมห่างจากบอร์ดนี้ไม่ค่อยได้เล่น คราวก่อนมาร่ำลาเพื่อนๆพี่ๆในห้องนั่งเล่น แต่ก็ยังไม่ได้ไปบวชเสียที เห็นที่พี่picatosอนุโมทนาไว้ก็ละอายใจอยู่เหมือนกัน แต่ก็เชื่อว่าถึงวันนี้จะยังทำสัจจะที่ว่าไว้ให้เป็นจริงขึ้นมาไม่ได้ แต่ตั้งใจจะทำเหตุให้ดีที่สุด เพื่อผลที่ตามมา จะได้ทำให้เป็นจริงได้ในภายหลัง
ไหนๆก็ไหนๆแล้วก็ดีเหมือนกัน ถือโอกาสได้มานั่งคุยธรรมะที่นี่

ผมไล่ตามอ่าน2-3หน้าสุดท้าย น่าสนใจมากๆครับ เลยอยากจะแชร์สิ่งที่พบเจอในการปฏิบัติรวมถึงอยากถามคำถามบางอย่างกับพี่ pekko และพี่ cobain vi นะครับ

....ผมได้พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจอย่างมากเมื่อต้นปี ผลคือ หลังจากนั้น ผมปฏิบัติภาวนาอย่างหนัก เนื่องจากมีความอยากหลุดพ้นเป็นแรงผลักดันอย่างยิ่งยวด มีช่วงหนึ่งที่ทำตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน โดยไม่ออกไปไหนเลยนอกจากกินข้าว นับเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดนี้กินเวลาประมาณ10วันครับ
- ผมทำอานาปานสติ อย่างเดียวรวดเลยครับ คือไม่ได้มีปริยัติในหัวเลย ดูลมแบบอุกฤษณ์อย่างเดียว จิตเกิดวิปัสสนาเองโดยไม่ต้องเอาความคิดมาปรุงแต่ง เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านว่านั่นเป็นวิปัสสนาแท้ อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแรงผลักดันที่เป็นในส่วนของปัญญา คือความเห็นแต่ทุกข์ อยากหลุดพ้นอยู่แล้วในตัว พอเติมสมาธิมากๆเข้าไป จึงเห็นผลในที่สุด
- สภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น จิตเกิดความเบื่อหน่ายอย่างหนัก เบื่อแบบเหมือนจะตาย แล้วจิตจะเกิดวิปัสสนาเอง เราจะรู้ได้เองเช่น จิตจับที่ร่างกาย มีครั้งนึงอยู่ๆไปจับที่แข้งรู้สึกถึงกระดูกข้างใน มีหลายครั้งสำหรับตัวผมที่ได้กลิ่นจากในตัว เหม็นอย่างมาก ยิ่งกว่าส้วมแตก หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ากายหายไปเลยชั่วแวบหนึ่ง เป็นต้น
- ถึงจุดหนึ่งจะเจอผู้รู้ ธาตุรู้ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นเหมือนเป็นอิสระจากขันธ์ 5 หลังจากนั้นกิเลสไม่ขึ้นเท่าเดิมอีกเลย ถึงแม้ว่าสมาธิจะเสื่อมเพราะเริ่มคลายการปฏิบัติ แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่ เยอะด้วย
- ฌาณก็กดกิเลสได้ ถ้าอยากรู้ว่า ที่กิเลสลดๆไปนี่ เป็นโลกุตตระหรือแค่ฌาณกด ก็ต้องลองคลายสมาธิหรือหาเรื่องกระตุ้นกิเลสดู ผมใช้วิธีนี้สำรวจเหมือนกันตอนแรกๆที่ตกใจ แปลกใจจากผลการปฏิบัติ
- พลังสมาธิเหลือเชื่อมาก ช่วงที่มีสมาธิดีๆนี่ เกิดสิ่งที่เอาไปเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า เรื่องอิทธิฤทธิ์หรือญาณต่างๆของพระอรหันต์เลยเป็นเรื่องปกติไปเฉยซะงั้น ไม่แปลกเลย ขนาดสมาธิระดับขี้กากก็ยังทำอะไรแปลกๆเล็กๆน้อยๆได้



อยากถามพี่ pekko และพี่ cobain vi ต่อนะครับ รวมถึงพี่ๆท่านอื่นๆด้วยหากปฏิบัติถึงแล้ว อ่านเจอตรงที่ว่าแบกผู้รู้อยู่ อย่างนี้ก็หมดกามราคะ กับโทสะ แล้ว ใช่มั้ยครับ ปฏิบัตินานมั้ยครับกว่าจะถึงตรงนั้น
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 650

โพสต์

ลืมบอกไป มีเพจคำสอนพระอรหันต์ในเฟซบุค สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ หรือรู้แนวทางแล้ว อ่านเพื่อเสริมกำลังใจก็ตาม เพื่อเตือนตนในทุกๆวันก็ตาม

ชื่อเพจ ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 651

โพสต์

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเผื่อจะเป็นประโยชน์ เห็นคุณ sakkaphan พูดถึงเรื่องฌาน อย่างไรก็ตามความคิดเห็นนี้เป็นประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ที่รู้น้อย ปฏิบัติน้อย ซึ่งต้องมีความผิดพลาดเป็นธรรมดาอย่างแน่นอน ก็ขอให้อ่านด้วยโยนิโสมนสิการ และขออภัยในความผิดพลาดจากความไม่รู้แต่ดันคิดว่าตัวเองรู้นี้ด้วยนะครับ

จากที่ผมได้ศึกษามา การเดินสมถะกับวิปัสสนา จริงๆ แล้วมันมีกลยุทธในการเลือกใช้ได้แตกต่างกันตามจริตนิสัย ซึ่งพระอานนท์ได้อธิบายเอาไว้ ใน ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ซึ่งถ้าได้มีโอกาสอ่าน เนตติปกรณ์ ของพระมหากัจจายนะ ก็จะพบว่าจริตและอินทรีย์เป็นตัวแบ่งแยก ลักษณะการเลือกใช้ การเดินฌานควบคู่กับวิปัสสนา

เราจึงเห็นหลวงพ่อบางรูปให้เน้นทำวิปัสสนาไม่ต้องทำสมถะเลย หลวงพ่อบางรูปให้ทำสมถะก่อนค่อยเดินวิปัสสนา ซึ่งในเลือกในการเดินสมถะวิปัสสนานี้ เป็นของสั่งสมที่เคยทำมา มันไม่มีวิธีที่ถูกวิธีที่ผิด มันมีแต่วิธีที่เหมาะกับตัวเอง และไม่เหมาะกับตัวเอง

ด้วยเหตุนี้สภาวะธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปตามจริตและวิธีปฏิบัติ คนที่ให้น้ำหนักสมถะมากกว่าวิปัสสนาจึงมีสภาวะธรรมแบบหนึ่ง ในขณะที่คนที่ให้น้ำหนักวิปัสสนาจึงมีสภาวะธรรมอีกแบบหนึ่ง แต่ประเด็นสำคัญ คือ การเข้าไปเรียนรู้ ไตรลักษณ์ และ อริยสัจ 4

ในบรรดาทางเลือกในการเดิน ที่ถูกจริตกับผม คือ การเดินสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน เราจะใช้ ฌาน เป็นตัวปรับ tempo ของจิต เอาจิตเข้าอัปปณาแค่ไม่กี่ขณะจิต แล้วก็ถอยออกมาอยู่ที่อุปจาระ จิตที่ออกจากอัปปณาจะมีความสงบและใสที่เห็นสภาพธรรม องค์ฌาน ตลอดจนเจตสิกแต่ละตัวที่เราจะพิจารณาได้ชัดเจนมากขึ้น ฌานแต่ละระดับตั้งแต่ 1-8 มีลักษณะ และผลต่อจิตแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าเราจะเลือกมาใช้ในการพิจารณาสภาพธรรมอะไร

อย่างฌาน 3 ผมว่ามันเป็นฌานที่ stable พอที่จะใช้ในการอยู่กับการพิจารณารูป ในพุทธพจน์ จึงมีคำกล่าวว่า "พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ"

และเมื่อเบื่อหน่ายและเห็นทุกข์โทษในรูปจริงๆ เราก็จะทิ้งรูปฌาน ขึ้นไปอรูป เพื่อพิจารณาการปรุงแต่งจิตอย่างละเอียด ที่ฌานที่ 6 โดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็น ฌานที่ stable พอที่จะพิจารณานามธรรมอย่างละเอียด ซึ่งพระพุทธองค์ก็นับฌาน 6 เป็นอเณญชสมาบัติ แต่เรียกฌาน 7 ว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติเลย และที่ฌาน 6 นี้เองความปรากฎของวิญญานขันธ์จะชัดเจนที่สุด จึงเป็นฌานที่ผมคิดว่าเหมาะแก่การเอามาใช้เป็น tempo ที่การเดินวิปัสสนา

คำว่า stable ที่ผมยกขึ้นมา เพราะ ความเป็นอนิจจลักษณะของฌาน ที่อาจขึ้นลง เหมือนกับก็อกไม้ขวดไวน์ที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ ยิ่งลักษณะการเข้าอัปปณาแค่ไม่กี่ขณะจิต ไม่ทรงอยู่นานๆ บางครั้งจิตก็เคลื่อนออกจาก ฌานเป้าหมาย บวกหนึ่ง หรือ ลบหนึ่ง ฌาน 1 ไม่ stable เลยเพราะใกล้นิวรณ์มาก ฌาน 2 สภาพของกายที่มีปีติมากเกินไป ก็วุ่นวายมากไปหน่อย สงบไม่มากพอ ฌาน 3 เลย stable หน่อย ในขณะที่ ฌาน 4 บางทีอาการของรูปมันหายไปบ้าง จากจิตที่ทิ้งกาย เป็นต้น

ทีนี้ในความเห็นของผม ที่จุดนี้ คุณ sakkaphan จะเริ่มเห็นถึงทางเลือกในการโน้มจิตไปในสมาธิ หรือ โน้มจิตในทางปัญญา องค์ความรู้ในเรื่องนี้ จำเป็นต้องทดลอง ต้องฝึกฝนเพื่อดูว่าจริงๆ แล้วจริตของเราเหมาะกับทางไหน แล้วก็ฝึกให้เชี่ยวชาญซะ อย่างพระโมคคัลลานะ กับ พระสารีบุตร จริตต่างกัน ความสามารถต่างกัน ก็ด้วยวิธีการในการโน้มจิตไปที่สมาธิหรือปัญญานี่แหละ อย่างพระสารีบุตรโดนยักษ์เอาไม้ทุบหัว พระสารีบุตรยังมองไม่เห็น ไม่รู้เลยว่าโดนยักษ์ทุบ แค่รู้สึกเจ็บๆ หัว งงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น ในขณะที่พระโมคคัลลานะเห็นเปรตบางประเภทที่มีแค่ไม่กี่คนเท่านั้นที่เห็น

โดยส่วนตัว ประเด็นสำคัญ คือ เมื่อเราได้ความสงบแล้ว การสังเกตไตรลักษณ์ ให้สังเกตที่จุดเปลี่ยน จากความสงบไปเป็นความเกิดของสภาพปรุงแต่งต่างๆ อันนั้นแหละ จะทำให้เรียนรู้อะไรได้มาก ไม่ใช่ความสามารถพิเศษในการที่รู้อะไรพิสดารกว่าที่ปกติเคยรู้ หรือที่คนอื่นรู้

สมาธิที่จะนำความสงบมาให้ และจุดที่เกิดการปรุงแต่งของสิ่งต่างๆ นั้นแหละ ที่ทำให้เราได้เห็นตัณหา และได้เห็นวงจรแห่งทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งใดๆ ในที่เกิดขึ้นในจิต ตราบใดที่ยังมีการปรุงแต่งอยู่ มันก็ยังมีภัยอยู่ ยังมีอันตรายอยู่ และการที่จะเข้าถึงความสงบที่สมบูรณ์ได้ เราจำเป็นต้องรู้แจ้งการปรุงแต่งเหล่านี้

ในเรื่องของการเบื่อหน่าย วิญญาณขันธ์ (ผู้รู้) ในความเข้าใจของผม เมื่อเบื่อหน่ายมากๆ ขึ้น เหล่านี้จะเป็นเหตุที่อยากที่จะดับวิญญาณ จึงเป็นที่มาของความเพียรในการฝึกที่จะเข้านิโรธสมาบัติ แต่ถ้าหากยังมีกามราคะและโทสะหลงเหลืออยู่ ความปรุงแต่งของจิตที่เป็นไปในกามราคะจะทำให้จิตกระเพื่อม ไม่สงบพอที่จะดับสัญญาและเวทนาได้ ดังนั้นโดยขั้นตอนผมเข้าใจว่าต้องประหารกามราคะและโทสะให้สำเร็จก่อน จึงฝึกที่จะดับวิญญาณ เราจึงเห็นในสมัยพุทธกาล พระอนาคามีบุคคล จึงชอบพูดคุยกับพระอรหันต์ ถึงวิธีการเข้านิโรธสมาบัติ อย่างที่นายวิสาขาคุยกับนางธรรมทินนา ใน จูฬเวทัลลสูตร
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 652

โพสต์

ขออภัย ขออโหสิ ที่ พิมพ์คำว่า "ธรรมทินนาภิกษุณี" กลายเป็น "นาง" ด้วยครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 653

โพสต์

พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นันทโก ป.ธ.๙)
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
หนังสือเรื่อง จิตตภาวนาตามแนวพระสูตร

พระเทพวิสุทธิญาณ : ๒๓) รากเหง้าของวิปัสสนา, ตัววิปัสสนาที่ ๑
http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 27/entry-1

พระเทพวิสุทธิญาณ : ๔๐) เจริญอานาปานสติ ๑๖ ชั้น
http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 01/entry-3

พระเทพวิสุทธิญาณ : ๓๕) สักกายะ และสักกายทิฏฐิ
http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... 31/entry-2
ข้อนี้อธิบายเรื่อง จูฬเวทัลลสูตร

หัวข้ออื่นๆ ในเล่มครับ

http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... ry/l/page3
http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... ry/l/page2
http://www.oknation.net/blog/Aug-sarapo ... ry/l/page1
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 654

โพสต์

โอ้ ขอบคุณพี่ picatos มากครับสำหรับความรู้ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรพวกนี้เท่าไร เน้นแต่ทำอานาปานสติไปเรื่อยๆ แล้วก็พิจารณาความไม่สวยไม่งาม (ถึงจะยังชอบในกามราคะอยู่มากโดยเฉพาะสาวๆนี่ชอบนัก555) พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็พิจารณาความตายบ่อยๆ ผมว่ามันทำให้เห็นความไม่มีแก่นสารของการมีชีวิต การเกิดตาย ได้ดีทีเดียว มันเบื่ออยู่เรื่อยๆ แต่เบื่อเพราะโมหะหรือเบื่อเพราะปัญญานี่ แรกๆแยกไม่ออกเลยครับ หลังๆมาก็รู้ตัวมั่งไม่รู้ตัวมั่งตามประสา แต่ก็ได้เห็นจริงๆว่าโมหะนี่มันตัวร้ายเลย กว่าจะรู้ตัวนี่บางทีนานมาก ต่างจากโลภ หรือ โกรธ ที่เห็นง่ายรู้ง่าย
ส่วนเรื่องฌาณสมาธินี่ ผมปล่อยไปตามยถากรรมเลยครับ ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้จิตรวม จิตรวมมั่งไม่รวมมั่งช่างหัวมัน บางทีผมยังไม่รู้เลยว่านี่เรียกว่าฌาณอะไร แค่รู้ว่ามันมีสมาธิ หรือไม่มีสมาธิ เท่านั้น

คงเรียกได้ว่า แนวทางของผมตอนนี้ คงเบื่อที่จะคิดมาก เพราะคิดเยอะไปมันก็เป็นแต่สัญญา สังขาร เอาแน่เอานอนไม่ได้ วันนี้สัญญามันว่างี้ มันก็ปรุงไปอย่างงี้ อีกวันนึงสัญญามันเป็นอีกแบบนึง คิดเรื่องเดียวกันก็ปรุงไปอีกทางนึงได้ เบื่อสัญญา เบื่อสังขาร ได้แต่ ทำแม่งไปเถอะ ทำๆไปเหอะ ประมาณนั้น 55

:?: แต่เอ๊ะพี่ picatos ครับ ขออนุญาตินิดนึงตรงที่ วิญญานขันธ์ เห็นพี่วงเล็บไว้ว่า ผู้รู้ ไม่แน่ใจว่าพี่picatosเข้าใจหรือสื่ออย่างไร แต่ ผู้รู้ ที่ผมหมายถึงนี่ ไม่รวมอยู่ในขันธ์ 5 เลยนะครับ ไม่ใช่วิญญานขันธ์ด้วย มันเป็นอีกตัวนึงเลย มันรู้อยู่เฉยๆ เหมือนเป็น observer ผู้สังเกตุการณ์ มันไม่ไปรู้สึกรู้สาอะไรกับขันธ์ 5 เหมือนแค่มองดูเฉยๆ ขันธ์มันแยกออกไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่ตัวเราเลยครับ ผมเกิดภาวะนี้ไม่นาน ไม่กี่วินาทีหรอก แต่มันอัศจรรย์จริงๆ มันรู้อยู่เฉยๆโดยไม่ยึดถืออะไรทั้งนั้น มันเห็นขันธ์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ น่ะครับ จะบอกว่าภาวะตอนนั้นเป็นภาวะที่ แทบไม่มีทุกข์ เลย ก็เกือบๆจะใช่ ผมไม่แน่ใจว่าตัวนี้ใช่ ตัวรู้ แบบที่พระอรหันต์ท่านบอกกันรึปล่าว แต่ถ้าใช่ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา เมื่อถึงอนาคามีตัวรู้นี้จะเด่นจ้า เหลือแบกแต่ตัวรู้นี่เท่านั้น ปล่อยเมื่อไรก็หลุดพ้น ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก

เข้าใจว่าตัวรู้นี้แหละ คือ จิต จิตแท้(หรือไม่แท้มั้ง) ที่พาเวียนตายเวียนเกิด ครูบาอาจารย์บางท่านก็ใช้คำว่าจิต ผมเข้าใจว่านี่เป็นเหตุผลที่คำว่า ดูจิต จึงเป็นคำที่ฟังดูเกิดความขัดแย้ง เพราะจิตตัวนี้ คนทั่วไปไม่มีทางเห็นเลย เข้าใจว่าจิตจะตั้งเด่นจริงๆตอนอนาคามี เพราะตอนอานาคามี จิตไม่ยึดถือในกายตนแล้ว เหลือแต่ยึดถือในผู้รู้ หรือก็คือ จิตยึดถือในตัวจิตเอง ปล่อยได้เมื่อไรหลุดพ้นเมื่อนั้น

ดังนั้นคำว่า ดูจิต นี่ พระอาจารย์บางท่าน จึงใช้คำว่า ดูอารมณ์ น่ะครับ ไม่งั้นมันจะไปสับสนกับ ตัว จิต จริงๆ

ผมเข้าใจประมาณนี้นะครับ ถ้าผิดตรงไหนอย่างไรแก้ได้เลยครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
cobain_vi
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 655

โพสต์

sakkaphan เขียน:ดีใจที่ยังมีห้องนี้อยู่ ไม่รู้จะหาที่สนทนาธรรมที่ไหน ผมห่างจากบอร์ดนี้ไม่ค่อยได้เล่น คราวก่อนมาร่ำลาเพื่อนๆพี่ๆในห้องนั่งเล่น แต่ก็ยังไม่ได้ไปบวชเสียที เห็นที่พี่picatosอนุโมทนาไว้ก็ละอายใจอยู่เหมือนกัน แต่ก็เชื่อว่าถึงวันนี้จะยังทำสัจจะที่ว่าไว้ให้เป็นจริงขึ้นมาไม่ได้ แต่ตั้งใจจะทำเหตุให้ดีที่สุด เพื่อผลที่ตามมา จะได้ทำให้เป็นจริงได้ในภายหลัง
ไหนๆก็ไหนๆแล้วก็ดีเหมือนกัน ถือโอกาสได้มานั่งคุยธรรมะที่นี่

ผมไล่ตามอ่าน2-3หน้าสุดท้าย น่าสนใจมากๆครับ เลยอยากจะแชร์สิ่งที่พบเจอในการปฏิบัติรวมถึงอยากถามคำถามบางอย่างกับพี่ pekko และพี่ cobain vi นะครับ

....ผมได้พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจอย่างมากเมื่อต้นปี ผลคือ หลังจากนั้น ผมปฏิบัติภาวนาอย่างหนัก เนื่องจากมีความอยากหลุดพ้นเป็นแรงผลักดันอย่างยิ่งยวด มีช่วงหนึ่งที่ทำตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน โดยไม่ออกไปไหนเลยนอกจากกินข้าว นับเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดนี้กินเวลาประมาณ10วันครับ
- ผมทำอานาปานสติ อย่างเดียวรวดเลยครับ คือไม่ได้มีปริยัติในหัวเลย ดูลมแบบอุกฤษณ์อย่างเดียว จิตเกิดวิปัสสนาเองโดยไม่ต้องเอาความคิดมาปรุงแต่ง เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านว่านั่นเป็นวิปัสสนาแท้ อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแรงผลักดันที่เป็นในส่วนของปัญญา คือความเห็นแต่ทุกข์ อยากหลุดพ้นอยู่แล้วในตัว พอเติมสมาธิมากๆเข้าไป จึงเห็นผลในที่สุด
- สภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น จิตเกิดความเบื่อหน่ายอย่างหนัก เบื่อแบบเหมือนจะตาย แล้วจิตจะเกิดวิปัสสนาเอง เราจะรู้ได้เองเช่น จิตจับที่ร่างกาย มีครั้งนึงอยู่ๆไปจับที่แข้งรู้สึกถึงกระดูกข้างใน มีหลายครั้งสำหรับตัวผมที่ได้กลิ่นจากในตัว เหม็นอย่างมาก ยิ่งกว่าส้วมแตก หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ากายหายไปเลยชั่วแวบหนึ่ง เป็นต้น
- ถึงจุดหนึ่งจะเจอผู้รู้ ธาตุรู้ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นเหมือนเป็นอิสระจากขันธ์ 5 หลังจากนั้นกิเลสไม่ขึ้นเท่าเดิมอีกเลย ถึงแม้ว่าสมาธิจะเสื่อมเพราะเริ่มคลายการปฏิบัติ แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่ เยอะด้วย
- ฌาณก็กดกิเลสได้ ถ้าอยากรู้ว่า ที่กิเลสลดๆไปนี่ เป็นโลกุตตระหรือแค่ฌาณกด ก็ต้องลองคลายสมาธิหรือหาเรื่องกระตุ้นกิเลสดู ผมใช้วิธีนี้สำรวจเหมือนกันตอนแรกๆที่ตกใจ แปลกใจจากผลการปฏิบัติ
- พลังสมาธิเหลือเชื่อมาก ช่วงที่มีสมาธิดีๆนี่ เกิดสิ่งที่เอาไปเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า เรื่องอิทธิฤทธิ์หรือญาณต่างๆของพระอรหันต์เลยเป็นเรื่องปกติไปเฉยซะงั้น ไม่แปลกเลย ขนาดสมาธิระดับขี้กากก็ยังทำอะไรแปลกๆเล็กๆน้อยๆได้



อยากถามพี่ pekko และพี่ cobain vi ต่อนะครับ รวมถึงพี่ๆท่านอื่นๆด้วยหากปฏิบัติถึงแล้ว อ่านเจอตรงที่ว่าแบกผู้รู้อยู่ อย่างนี้ก็หมดกามราคะ กับโทสะ แล้ว ใช่มั้ยครับ ปฏิบัตินานมั้ยครับกว่าจะถึงตรงนั้น



ที่คุณเล่ามาไม่มีตรงไหนที่เป็นวิปัสสนาแท้เลยครับ มีแต่อาการของสมถะ
(ได้ยินแล้วก็อย่าท้อนะครับให้สู้ต่อไป อย่าล้มเลิก ) ความเพียรที่เล่ามาใช้ได้ครับ ขอให้อดทนทำไปเรื่อย
ส่วนเรื่องที่ถามมาตอนท้ายขออนุญาติไม่ตอบนะครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 656

โพสต์

cobain_vi เขียน:
sakkaphan เขียน:ดีใจที่ยังมีห้องนี้อยู่ ไม่รู้จะหาที่สนทนาธรรมที่ไหน ผมห่างจากบอร์ดนี้ไม่ค่อยได้เล่น คราวก่อนมาร่ำลาเพื่อนๆพี่ๆในห้องนั่งเล่น แต่ก็ยังไม่ได้ไปบวชเสียที เห็นที่พี่picatosอนุโมทนาไว้ก็ละอายใจอยู่เหมือนกัน แต่ก็เชื่อว่าถึงวันนี้จะยังทำสัจจะที่ว่าไว้ให้เป็นจริงขึ้นมาไม่ได้ แต่ตั้งใจจะทำเหตุให้ดีที่สุด เพื่อผลที่ตามมา จะได้ทำให้เป็นจริงได้ในภายหลัง
ไหนๆก็ไหนๆแล้วก็ดีเหมือนกัน ถือโอกาสได้มานั่งคุยธรรมะที่นี่

ผมไล่ตามอ่าน2-3หน้าสุดท้าย น่าสนใจมากๆครับ เลยอยากจะแชร์สิ่งที่พบเจอในการปฏิบัติรวมถึงอยากถามคำถามบางอย่างกับพี่ pekko และพี่ cobain vi นะครับ

....ผมได้พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจอย่างมากเมื่อต้นปี ผลคือ หลังจากนั้น ผมปฏิบัติภาวนาอย่างหนัก เนื่องจากมีความอยากหลุดพ้นเป็นแรงผลักดันอย่างยิ่งยวด มีช่วงหนึ่งที่ทำตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน โดยไม่ออกไปไหนเลยนอกจากกินข้าว นับเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดนี้กินเวลาประมาณ10วันครับ
- ผมทำอานาปานสติ อย่างเดียวรวดเลยครับ คือไม่ได้มีปริยัติในหัวเลย ดูลมแบบอุกฤษณ์อย่างเดียว จิตเกิดวิปัสสนาเองโดยไม่ต้องเอาความคิดมาปรุงแต่ง เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านว่านั่นเป็นวิปัสสนาแท้ อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแรงผลักดันที่เป็นในส่วนของปัญญา คือความเห็นแต่ทุกข์ อยากหลุดพ้นอยู่แล้วในตัว พอเติมสมาธิมากๆเข้าไป จึงเห็นผลในที่สุด
- สภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น จิตเกิดความเบื่อหน่ายอย่างหนัก เบื่อแบบเหมือนจะตาย แล้วจิตจะเกิดวิปัสสนาเอง เราจะรู้ได้เองเช่น จิตจับที่ร่างกาย มีครั้งนึงอยู่ๆไปจับที่แข้งรู้สึกถึงกระดูกข้างใน มีหลายครั้งสำหรับตัวผมที่ได้กลิ่นจากในตัว เหม็นอย่างมาก ยิ่งกว่าส้วมแตก หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ากายหายไปเลยชั่วแวบหนึ่ง เป็นต้น
- ถึงจุดหนึ่งจะเจอผู้รู้ ธาตุรู้ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นเหมือนเป็นอิสระจากขันธ์ 5 หลังจากนั้นกิเลสไม่ขึ้นเท่าเดิมอีกเลย ถึงแม้ว่าสมาธิจะเสื่อมเพราะเริ่มคลายการปฏิบัติ แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่ เยอะด้วย
- ฌาณก็กดกิเลสได้ ถ้าอยากรู้ว่า ที่กิเลสลดๆไปนี่ เป็นโลกุตตระหรือแค่ฌาณกด ก็ต้องลองคลายสมาธิหรือหาเรื่องกระตุ้นกิเลสดู ผมใช้วิธีนี้สำรวจเหมือนกันตอนแรกๆที่ตกใจ แปลกใจจากผลการปฏิบัติ
- พลังสมาธิเหลือเชื่อมาก ช่วงที่มีสมาธิดีๆนี่ เกิดสิ่งที่เอาไปเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า เรื่องอิทธิฤทธิ์หรือญาณต่างๆของพระอรหันต์เลยเป็นเรื่องปกติไปเฉยซะงั้น ไม่แปลกเลย ขนาดสมาธิระดับขี้กากก็ยังทำอะไรแปลกๆเล็กๆน้อยๆได้



อยากถามพี่ pekko และพี่ cobain vi ต่อนะครับ รวมถึงพี่ๆท่านอื่นๆด้วยหากปฏิบัติถึงแล้ว อ่านเจอตรงที่ว่าแบกผู้รู้อยู่ อย่างนี้ก็หมดกามราคะ กับโทสะ แล้ว ใช่มั้ยครับ ปฏิบัตินานมั้ยครับกว่าจะถึงตรงนั้น



ที่คุณเล่ามาไม่มีตรงไหนที่เป็นวิปัสสนาแท้เลยครับ มีแต่อาการของสมถะ
(ได้ยินแล้วก็อย่าท้อนะครับให้สู้ต่อไป อย่าล้มเลิก ) ความเพียรที่เล่ามาใช้ได้ครับ ขอให้อดทนทำไปเรื่อย
ส่วนเรื่องที่ถามมาตอนท้ายขออนุญาติไม่ตอบนะครับ
อ้าวจริงเหรอครับ ขอบคุณมากครับ ไม่ท้อหรอกครับ ขี้เกียจจะท้อแล้ว ถ้าท้อทั้งฮึดมาหลายครั้ง ก็ยังคงงูๆปลาๆไปเรื่อยๆ ได้แต่รู้ว่าต้องทำไปเท่านั้น
แต่ถ้าอย่างนี้ วิปัสสนาแท้เป็นอย่างไรครับ รบกวนช่วยชี้แนะด้วย
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 657

โพสต์

ีอีกคำถามครับ สภาวะธรรมตอนเจอผู้รู้นี่ ยังไม่ใช่โลกุตตระ รึป่าวครับ ยังต้องทำต่อรึป่าวครับ
ผมเสียดายที่ไม่เคยได้ถามครูบาอาจารย์ ขอคุณ cobain vi ชี้แนะด้วย
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
tanoppan
Verified User
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 658

โพสต์

:!:วันนี้อยากจะแนะนำสถานที่ศึกษาธรรมะที่กรุงเทพ โดยไม่ต้องออกบวช
:arrow: :idea: face book หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives
และได้มีโอกาศเข้าฟัง "ธรรมโฆษณ์ศึกษา 101 + 102" ที่สวนโมกข์กรุงเทพ

รายละเอียด
:arrow: :idea: ศึกษาชีวิตจากพุ​ทธดำรัส (ธรรมโฆษณ์ ๑๐๑)
เรียนรู้ ทำความเข้าใจชีวิ​ตในแง่มุมต่างๆ ผ่านความรู้อันลึ​กซึ้งของพระพุทธ​องค์ ทำให้ชีวิตมีควา​มสุขได้ง่ายขึ้น และชีวิตสุขเย็น​มีได้ทันทีเมื่อ​เข้าถึงใจ (ธรรมโฆษณ์ ๑๐๒)
สนทนาแลกเปลี่ยน การนำธรรมะที่เรี​ยนรู้ไปทดลองใช้​ในชีวิตจนเห็นคว​าม จริงว่า อวิชชา คือต้นเหตุของชี​วิตที่มีความทุก​ข์ เกิดความสุขได้ย​าก :arrow: :idea:
cobain_vi
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 659

โพสต์

sakkaphan เขียน:ีอีกคำถามครับ สภาวะธรรมตอนเจอผู้รู้นี่ ยังไม่ใช่โลกุตตระ รึป่าวครับ ยังต้องทำต่อรึป่าวครับ
ผมเสียดายที่ไม่เคยได้ถามครูบาอาจารย์ ขอคุณ cobain vi ชี้แนะด้วย

การแยกผู้รู้นี่เป็นปัญญาเบี้องต้นครับ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโลกุตระเลย

แยกได้แล้วก็ถือว่าใช้ได้แต่ต้องเดินทางอีกไกลครับ ภาวนากันอีกเยอะ
ผมขอตอบเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ ถ้าถามแล้วให้ผมตอบไปเรื่อยๆ เดี๋ยวคุณก็ถามไปเรื่อยๆ ผมไม่ค่อยมีเวลาเข้ามา
ขอให้ตั้งใจสู้นะครับ มันไม่ได้กันง่ายๆหรอก ไม่เหมือนลงทุนฟลุ๊คๆ5เด้ง สักสองครั้งก็สบายแล้ว
แต่การภาวนาไม่มีคำว่าฟลุ๊คครับ สู้กันเจียนตาย สู้กันสุดชีวิต ทำกันหลายๆปี บางคนทำทั้งชีวิตยังไม่ได้อะไรเลย
แต่ถ้าเคยภาวนามาชาติก่อนๆ(หมายถึงต้องทำถูกด้วยนะ)ชาตินี้มันง่ายเองแหละ
อีกอย่างอย่าไปถามมาก การถามมากๆมันฟุ้งซ่าน บางทีเอาไปถามครูบาอาจารย์ท่านอาจจะไม่ตอบ(อย่าคิดว่าท่านจะตอบทุกครั้งนะครับ ผมเคยเห็นหลายครั้งหลายครูบาอาจารย์เลย ถามกันไม่เป็นเรื่อง บางเรื่องไม่ทันไรก็เอาไปถาม ดีไม่ดีโดนดุเอา บางครั้งท่านก็ลุกหนีไปเฉยๆเลยก็มี) คุยธรรมะมากๆก็ไม่ดี มันฟุ้งซ่าน (ลองสังเกตุดูครับ) ขนาดเอาไปเล่าให้ครูบาอาจารย์ฟังยังฟุ้งเลย ตั้งหน้าตั้งตาทำไป อยู่เงี่ยบๆ สันโดษ
ถ้าเราภาวนาดีๆแล้วติดขัดจริงๆท่านจะเมตตาตอบให้เอง
อาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
คำถามแต่ละคำถามที่เราถามมันบ่งบอกอยู่แล้วว่าเราภาวนาจริงๆจังๆแค่ไหน หรือว่าอ่านมา ฟังคนอื่นๆมา หรือว่าคิดเอา
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 660

โพสต์

อ่านข้อสงสัยของคุณ sakkaphan แล้วก็ขออนุญาต ถือวิสาสะเขียนตอบแบบองค์รวม ตามที่ผมเข้าใจเลยแล้วกันนะครับ ซึ่งความคิดเห็นผมนี้คงจะมีความผิดอะไรบางอย่างอยู่อย่างแน่นอน เพราะ ผมยังเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ความเข้าใจนี้เป็นเพียงผลของการศึกษา ตามระดับปัญญาอันน้อยนิดที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ หากเข้าใจถูกมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ภาพใหญ่ โลกุตรธรรม ถ้าคุณ sakkaphan ได้มีโอกาสศึกษาดู ความหมายเป็นภาษาไทย นั่นน่าจะหมายถึง พ้นจากโลก ซึ่งธรรมอันพ้นจากโลกหากมองในมุมของอภิธรรม ในมุมของจิต นั่นก็คือ มรรคจิต 4 ผลจิต 4 (สภาวะ)นิพพาน 1

ถ้าว่ากันโดยเป้าหมายของผู้เห็นภัยของโลก ของวัฏสงสาร การถึงซึ่งพระนิพพานนั้นเป็นเป้าหมาย เพราะ อะไร เพราะ นิพพานเป็นอสังขตธรรม เป็นธรรมที่ไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อไม่มีการปรุงแต่งก็ไม่มีเหตุต้องเกิด ไม่ต้องมาผจญกับทุกข์จากการปรุงแต่งอีก ดังนั้นเป้าหมายของการถึงพระนิพพาน จึงแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ตามระดับของอริยบุคคล

ในขั้นต้น นี่ก็จะได้เสวยอารมณ์พระนิพพานแบบแว่บๆ แต่ไม่สามารถทรงอยู่กับอารมณ์พระนิพพานได้

ในขั้นกลาง จะสามารถทรงอยู่ในอารมณ์พระนิพพานได้ในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะ มีความสามารถทางจิตที่สมบูรณ์เพียงพอแล้ว ในการดับวิญญาณ ส่งผลให้ไม่มีการปรุงแต่งของจิต แต่ยังไม่หลุดพ้นโดยสมบูรณ์ เมื่อผ่านไประดับหนึ่งจิตที่ดับไปตามกำลังของการอธิษฐานก็จะกลับมาทำงานตามเดิม

ในขั้นสุดท้าย เมื่อปัญญาแก่กล้าถึงขีดสุด ก็ไม่เห็นประโยชน์ของการยึดอะไรเอาไว้อีก จึงเข้าสู่นิพพานได้อย่างสมบูรณ์ แม้แต่จิตก็ไม่ยึดเอาไว้อีก

ทีนี้ มาตอบคำถามเกี่ยวกับ ผู้รู้ กับ วิญญาณขันธ์ จริงๆ แล้วสิ่งๆ หนึ่ง อาจจะมีชื่อได้หลายๆ ชื่อ ตามเจตนาของการใช้ หรือ ตามสภาวะที่แต่ละคนประสบ ในความเข้าใจของผม วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์ หากจิตมีความตั้งมั่นอยู่ในระดับฌาน 4 ความบริสุทธิ์ของสติ ที่เกิดขึ้น จะทำให้ มโนวิญญาณธาตุ ปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัด

อันที่จริงแล้ว ทุกๆ การรับรู้ทางอายตนะต่างๆ สุดท้ายจะมารวมกันที่มโนวิญญาณธาตุ และที่จุดที่สติบริสุทธิ์มากเพียงพอ มโนวิญญาณธาตุ ก็จะปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัด ผู้ปฏิบัติบางคนจะรู้สึกเหมือนกับว่ามี ตัวรู้ ผู้รู้ ที่แยกออกมาต่างหาก จากสิ่งอื่นๆ ที่ปรากฎขึ้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยชอบใช้ความว่า "ตัว" หรือ "ผู้" เพราะ ผมรู้สึกว่าคำดังกล่าวมันแฝงด้วยอัตตาอยู่ อีกทั้งสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีจริตแตกต่างกัน สภาพการปรากฎขึ้นของ มโนวิญญาณธาตุ นี้ก็จะปรากฎขึ้นแตกต่างกัน บางคนก็เกิดขึ้นด้วยสภาพที่มีนิมิต บางคนก็ไม่มี บางคนมีที่ตั้ง บางคนก็ไม่มี สภาพความรู้แจ้งนี้ จึงรับรู้โดยอาการที่แตกต่างกันไป ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว จิตของผมจะเห็นธรรมต่างๆ โน้มไปในทางอนัตตา สภาพธรรมที่ผมเข้าไปรู้นั้นเป็นแค่สภาพธรรมหนึ่งๆ ที่ปรากฎขึ้นแล้วก็ดับไป ต่อเนื่องๆ กันไป จึงทำให้ผมไม่ค่อยชอบใช้คำพูดที่เชื่อมโยงไปที่ตัว ที่ตน ที่บุคคล เหล่าเขา จึงไม่ค่อยอยากใช้คำว่า "ตัวรู้" หรือ "ผู้รู้" จึงเลือกที่จะใช้คำว่า "วิญญาณขันธ์" แทน

ที่นี้ จริงๆ แล้ว ผมควรที่จะใช้คำว่า มโนวิญญาณธาตุ แทนคำว่า ผู้รู้ อย่างไรก็ตาม มโนวิญญาณธาตุ ถือว่าเป็น subset ของ วิญญาณขันธ์ มันเป็นลักษณะจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งในการเบื่อหน่าย เห็นทุกข์โทษของจิต จนนำไปสู่ความพยายามในการดับการปรุงแต่งของจิต จริงๆ มันก็คือ การดับวิญญาณ(ขันธ์) นั่นเอง เพราะ จริงๆ แล้ว จิต วิญญาณ มโน ก็คือสิ่งเดียวกัน และผมเข้าใจว่าคำว่า "แบกผู้รู้" หมายถึงการเบื่อหน่ายการมีอยู่ของจิต ซึ่งก็คือ วิญญาณขันธ์ นั่นเอง

ส่วนการที่คุณ sakkaphan บอกว่า ผู้รู้ นี่ไม่ร่วมอยู่ในขันธ์ 5 น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนะครับ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ธรรมชาตินั้นเรียกว่าวิญญาณ ลองอ่านมหาเวทัลลสูตร ดูนะครับ เผื่อจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของ วิญญาณ ปัญญา สัญญา และเวทนามากยิ่งขึ้น

ทีนี้ในการปฏิบัติจนได้ความบริสุทธิ์ของสติมากจนเกิด "ตัวรู้" ขึ้น มันก็จะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้สภาพธรรมต่างๆ ที่ปรากฎขึ้น ทั้งทางกายและทางใจ ซึ่งหากฝึกจนมีความเชี่ยวชาญ การที่อยู่กับตัวรู้นี้จะทำให้เรียนรู้ธรรมะได้ตลอดเวลา ซึ่งก็เหมาะสมกับการที่จะเดินวิปัสสนาอย่างยิ่ง เพราะ จิตเบาบางจากกิเลสมากเพียงพอที่จะเห็นความจริงต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

ส่วนคำที่ว่า วิปัสสนาแท้ วิปัสสนาเทียม นี่ ผมเข้าใจว่ารากฐานน่าจะมาจาก ญาณกถา ในปฏิสัมภิทามรรค ของพระสารีบุตร ซึ่งท่านก็ไม่ได้แบ่งว่าอะไรเป็นวิปัสสนาแท้ วิปัสสนาเทียม เป็นคัมภีร์รุ่นหลังๆ ที่มาแบ่งแยกว่า โดยแบ่งญาณต่างๆ ที่พระสารีบุตรได้อธิบายเอาไว้ ซอยย่อยออกเป็น วิปัสสนาญาณ 9 และญาณ 16 โดยวิปัสสนาแท้ เค้าจะนับ ญานที่ 4 ที่ชื่อ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ เป็นต้นไป

ในขณะที่ ญานที่ 3 ซึ่งก็เป็น ญานที่สำคัญเช่นกัน ที่ชื่อว่า สัมมสนญาณ เป็นปัญญาในการสรุปธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยความเป็นไตรลักษณ์ และโดยความเป็นปัจจัย อันนี้นี่แหละที่เค้าว่ากันว่ายังไม่ใช่วิปัสสนาแท้ๆ เพราะ ยังเป็นปัญญาในระดับจินตามยปัญญา

ในขณะที่ ญานที่ 4 ที่เข้าไปใส่ใจสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ โดยเห็นความเกิดดับที่เกิดขึ้นของสภาวะต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ต่อหน้าต่อตา นั่นแหละ ถึงจะเริ่มนับเป็นวิปัสสนาญาณแท้

และเมื่อจิตได้เห็นการเกิดดับของสภาวะธรรมต่างๆ จิตอีกดวงหนึ่งก็เข้าไปเห็นการแตกไปของจิตที่เกิดขึ้นก่อนหน้า จึงเป็น ญาณต่อมา ซึ่งพระสารีบุตร เรียก ญาณนี้ว่า วิปัสสนาญาณ

และเมื่อเห็นความเกิดดับของสภาพธรรมต่างๆ และการแตกไปของจิตบ่อยๆ เข้า ก็จะเกิดปัญญาที่เข้าไปเห็นว่าสังขารธรรมที่กำหนดรู้นั้นๆ ว่าเป็นภัย ว่าเป็นทุกข์โทษ เมื่อเห็นภัย เห็นทุกข์โทษ ก็จึงเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนด เมื่อคลายกำหนดก็อยากที่จะสลัด เมื่ออยากจะสลัดจึงหาทาง เมื่อหาทาง จึงฝึกฝน ทำให้มรรคเจริญขึ้น

อย่างไรก็ตามการน้อมใจสั่งสมทั้ง สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เกิดภาวนมยปัญญาขึ้น เปรียบเทียบตามที่ผมเข้าใจ เหมือนกับการตัดสินโทษนักโทษ ในการตัดสินโทษนักโทษ จะต้องดำเนินการสอบสวนอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินโทษ สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา ก็เหมือนกับกระบวนการสอบสวนคดี ก่อนที่ได้ข้อมูล เหตุผลมากเพียงพอ เมื่อข้อมูลเหตุผลมากเพียงพอ เราจึงตัดสินประหารกิเลส ด้วย ภาวนมยปัญญา

ทีนี้หากเราเอาแต่สอบสวน ไตร่สวน กันไม่จบไม่สิ้น ไม่ตัดสินคดีความซะที คดีความก็คาราคาซัง ท่านเลยอยากให้เราขึ้น วิปัสสนาแท้ เพื่อที่จะได้ขึ้นไปประหารกิเลสกันสักที ไม่ใช่มัวแต่หาข้อมูล หาหลักฐานไม่จบไม่สิ้น อย่างพระสารีบุตรพอขึ้นเป็นพระอนาคามีแล้วก็ใช้เวลาไปกับสัมมสนญาณนานอยู่กว่าที่จะพิจารณาธรรมเสร็จสิ้น จึงใช้เวลาในการบรรลุพระอรหันต์ช้ากว่าพระโมคคัลานะ

เขียนไปเขียนมาทั้งยาว และนอกเรื่อง สรุปเลยละกัน ผมว่าคุณ sakkaphan ลุยไปเรื่อยๆ เลยครับ ศึกษาธรรมชาติต่างๆ ของกายใจให้มากๆ เข้า ลุย ไถ ดะ แบบนี้แหละครับ ดีแล้ว พอเจอสภาพจิตที่หลากหลายแบบ บ่อยๆ เข้า มันก็จะสะสมเป็นองค์ความรู้มากขึ้นๆ ถ้ายังไม่รู้จักขันธ์ 5 มากเพียงพอ ยังไม่รู้จักสภาพจิตในแต่ละแบบมากพอ ยังไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ มันก็ยังไปได้ไม่สุดอยู่แล้ว และการฝึกแบบลุยดะ ไม่ต้องคิดมากแบบนี้แหละครับดีแล้ว มันจะวิปัสสนาเทียม วิปัสสนาแท้ อะไรก็ช่างมัน ขอให้เป้าของเราถูก คือ การออกจากกาม การไม่พยาบาท และไม่เบียดเบียน ทุ่มเทกายใจ ศึกษาให้มาก ปฏิบัติให้มากๆ พูดให้น้อยๆ อ่าน และถามผู้รู้ให้มาก ศีล สมาธิ ปัญญา จะค่อยๆ สมบูรณ์ขึ้นเอง

ขออนุโมทนากับคุณ sakkaphan และกราบขออภัยด้วย หากเขียนยาวเกินไป
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?