บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 1
บทบาท สมาคมธุรกิจ การเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์ จับตา สนธิ ลิ้มทองกุล
โดย ดวงตา วรรณศิลป์
คอลัมน์ ดังได้สดับมา ประชาชาติธุรกิจ 9/2/49
ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของคณาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การออกมาแสดงบทบาทของกลุ่ม "นักธุรกิจ" น่าจับตามองเป็นพิเศษ
เพราะเป็นการออกมาของนายชาติศิริ โสภณพนิช ประธานสมาคมธนาคารไทย นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุน นายลิขิต ฟ้าปโยชนม์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และตัวแทนจากสภาที่อยู่อาศัยไทย
น่าจับตามองเพราะว่าบรรดาคณาจารย์อาจออกมาเคลื่อนไหวล่าลายเซ็นในฐานะเป็นปัจเจก เพียงแต่เป็นปัจเจกซึ่งสอนหนังสืออยู่คณะรัฐศาสตร์ สอนหนังสืออยู่คณะเศรษฐศาสตร์ สอนหนังสืออยู่คณะครุศาสตร์
หากแต่บรรดา "นักธุรกิจ" ที่ออกมาแถลงต้องการเห็นความต่อเนื่องในการพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องการเห็นบรรยากาศที่น่าลงทุน กระทำในนามสมาคม ในนามสภาและในนามหอการค้าไทย อันเป็นเรื่องของ "สถาบัน" โดยตรง
บรรยากาศเช่นนี้ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นอย่างยิ่ง
จะแตกต่างก็เพียงแต่ว่าบรรยากาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย ออกมาแถลงเพื่อให้รัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร พิจารณาว่าสมควรจะหาทางออกอย่างไร
ขณะที่บรรยากาศในเดือนกุมภาพันธ์ สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย ออกมาแถลงสนับสนุนรัฐบาล
เมื่อสนับสนุนรัฐบาลก็เท่ากับเตือนการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายไปโดยปริยาย
ขณะเดียวกัน ที่น่าสนใจก็คือ สถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 มีเพียงสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย เท่านั้นที่ออกมากดดันรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร
หากสถานการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นอกเหนือจากสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย แล้วยังมีสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สภาที่อยู่อาศัยไทย ยังออกมาสมทบในการสนับสนุนรัฐบาลอีกด้วย
การแสดงออกเช่นนี้ ประการ 1 แสดงให้เห็นถึงการขยายตัว เติบใหญ่ของเศรษฐกิจในสังคมประเทศไทย
ประการ 1 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจยังเห็นด้วยกับรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
มีข้อน่าสังเกตต่อการเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ว่ามีความแตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวเมื่อเดือนตุลาคม 2516 และการเคลื่อนไหวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535
การเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516 กำลังหลักคือ นิสิตนักศึกษา
การเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม 2535 กำลังหลักคือ คนชั้นกลาง
แต่การเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 กำลังหลักเป็นองค์กรครูจากต่างจังหวัดกับปัญญาชนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ประสานเข้ากับ ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ว.จำนวนหนึ่งและองค์กรประชาชน
กำลังที่ขาดหายไปคือกำลังของนิสิตนักศึกษา และกำลังของคนชั้นกลางอย่างที่เรียกกันว่า "ม็อบมือถือ"
ประชาชนในกรุงเทพมหานครหากวัดจากจำนวนผู้เข้าร่วมที่อยู่ระหว่าง 50,000-100,000 คน ตามความคาดหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งในจำนวนนี้มีคนจากต่างจังหวัดเข้ามาร่วมเป็นจำนวนไม่น้อยก็ถือว่าคนกรุงเทพมหานครเข้าร่วมไม่มากเท่าใดนัก
กระนั้นการชุมนุมครั้งนี้ก็เป็นจำนวนมากอย่างเพียงพอที่รัฐบาลจะทำเป็นหูทวนลมมิได้ จำเป็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะต้องให้ความสนใจ
ประการสำคัญก็คือ จากสถานการณ์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 จะเกิดผลสะเทือนและความต่อเนื่องไปอย่างไร
จากนี้เป็นต้นไปสถานะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่น่าจะเหมือนเดิมอีกแล้ว อย่างน้อยที่สุดกรณีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ได้สร้างแบบอย่างใหม่ขึ้นในทางการเมือง
นั่นก็คือแบบอย่างของการชุมนุมอย่างสันติเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี
ประเด็นอยู่ที่ว่าระหว่างกลุ่มของนายสนธิ ลิ้มทองกุล จะประสานและเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มพลังอื่นๆ ได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น
หากเชื่อมต่อได้อย่างเป็นเอกภาพก็จะส่งผลสะเทือนได้อย่างน่าจับตาทีเดียว
โดย ดวงตา วรรณศิลป์
คอลัมน์ ดังได้สดับมา ประชาชาติธุรกิจ 9/2/49
ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของคณาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การออกมาแสดงบทบาทของกลุ่ม "นักธุรกิจ" น่าจับตามองเป็นพิเศษ
เพราะเป็นการออกมาของนายชาติศิริ โสภณพนิช ประธานสมาคมธนาคารไทย นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุน นายลิขิต ฟ้าปโยชนม์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และตัวแทนจากสภาที่อยู่อาศัยไทย
น่าจับตามองเพราะว่าบรรดาคณาจารย์อาจออกมาเคลื่อนไหวล่าลายเซ็นในฐานะเป็นปัจเจก เพียงแต่เป็นปัจเจกซึ่งสอนหนังสืออยู่คณะรัฐศาสตร์ สอนหนังสืออยู่คณะเศรษฐศาสตร์ สอนหนังสืออยู่คณะครุศาสตร์
หากแต่บรรดา "นักธุรกิจ" ที่ออกมาแถลงต้องการเห็นความต่อเนื่องในการพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องการเห็นบรรยากาศที่น่าลงทุน กระทำในนามสมาคม ในนามสภาและในนามหอการค้าไทย อันเป็นเรื่องของ "สถาบัน" โดยตรง
บรรยากาศเช่นนี้ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นอย่างยิ่ง
จะแตกต่างก็เพียงแต่ว่าบรรยากาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย ออกมาแถลงเพื่อให้รัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร พิจารณาว่าสมควรจะหาทางออกอย่างไร
ขณะที่บรรยากาศในเดือนกุมภาพันธ์ สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย ออกมาแถลงสนับสนุนรัฐบาล
เมื่อสนับสนุนรัฐบาลก็เท่ากับเตือนการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายไปโดยปริยาย
ขณะเดียวกัน ที่น่าสนใจก็คือ สถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 มีเพียงสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย เท่านั้นที่ออกมากดดันรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร
หากสถานการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นอกเหนือจากสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย แล้วยังมีสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สภาที่อยู่อาศัยไทย ยังออกมาสมทบในการสนับสนุนรัฐบาลอีกด้วย
การแสดงออกเช่นนี้ ประการ 1 แสดงให้เห็นถึงการขยายตัว เติบใหญ่ของเศรษฐกิจในสังคมประเทศไทย
ประการ 1 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจยังเห็นด้วยกับรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
มีข้อน่าสังเกตต่อการเคลื่อนไหวของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ว่ามีความแตกต่างไปจากการเคลื่อนไหวเมื่อเดือนตุลาคม 2516 และการเคลื่อนไหวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535
การเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516 กำลังหลักคือ นิสิตนักศึกษา
การเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม 2535 กำลังหลักคือ คนชั้นกลาง
แต่การเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 กำลังหลักเป็นองค์กรครูจากต่างจังหวัดกับปัญญาชนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ประสานเข้ากับ ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ว.จำนวนหนึ่งและองค์กรประชาชน
กำลังที่ขาดหายไปคือกำลังของนิสิตนักศึกษา และกำลังของคนชั้นกลางอย่างที่เรียกกันว่า "ม็อบมือถือ"
ประชาชนในกรุงเทพมหานครหากวัดจากจำนวนผู้เข้าร่วมที่อยู่ระหว่าง 50,000-100,000 คน ตามความคาดหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งในจำนวนนี้มีคนจากต่างจังหวัดเข้ามาร่วมเป็นจำนวนไม่น้อยก็ถือว่าคนกรุงเทพมหานครเข้าร่วมไม่มากเท่าใดนัก
กระนั้นการชุมนุมครั้งนี้ก็เป็นจำนวนมากอย่างเพียงพอที่รัฐบาลจะทำเป็นหูทวนลมมิได้ จำเป็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะต้องให้ความสนใจ
ประการสำคัญก็คือ จากสถานการณ์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 จะเกิดผลสะเทือนและความต่อเนื่องไปอย่างไร
จากนี้เป็นต้นไปสถานะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่น่าจะเหมือนเดิมอีกแล้ว อย่างน้อยที่สุดกรณีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ได้สร้างแบบอย่างใหม่ขึ้นในทางการเมือง
นั่นก็คือแบบอย่างของการชุมนุมอย่างสันติเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี
ประเด็นอยู่ที่ว่าระหว่างกลุ่มของนายสนธิ ลิ้มทองกุล จะประสานและเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มพลังอื่นๆ ได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น
หากเชื่อมต่อได้อย่างเป็นเอกภาพก็จะส่งผลสะเทือนได้อย่างน่าจับตาทีเดียว
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 2
บทบาทนักธุรกิจเพื่อสังคมกับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
กรุงเทพธุรกิจ 5/2/49
กรุงเทพธุรกิจ 5/2/49
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 3
กลุ่มนักธุรกิจสนับสนุน นายก ก็มีครับ ถ้าได้ดูข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวาน
กลุ่มอาจารย์ ที่สนับสนุน นายก ก็มีครับ (บางมหาลัย กลุ่มอาจารย์ขัดแย้งกันเองเสียอีก)
กลุ่มประชาชน ก็มีสนับสนุน นายกครับ
กลุ่มอาจารย์ ที่สนับสนุน นายก ก็มีครับ (บางมหาลัย กลุ่มอาจารย์ขัดแย้งกันเองเสียอีก)
กลุ่มประชาชน ก็มีสนับสนุน นายกครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 4
ศึกคราวนี้ยาก ตรงที่ว่า กลุ่มไหนๆๆก็แตกเป็น 2 ฝ่าย ไม่ไปในทางเดียวกัน
ถ้าเหตุการบานปลาย ได้เห็น 2 ม็อบ ชนกันแน่
ในที่สุดจะเห็นคนไทยฆ่ากัน :roll: (คงสมดังใจหมายปอง)
ถ้าเหตุการบานปลาย ได้เห็น 2 ม็อบ ชนกันแน่
ในที่สุดจะเห็นคนไทยฆ่ากัน :roll: (คงสมดังใจหมายปอง)
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 5
ใช่คับท่าน..กลุ่มทุนขนาดใหญ่ สมาคมธุรกิจทั้งหลายโป้ง เขียน:กลุ่มนักธุรกิจสนับสนุน นายก ก็มีครับ ถ้าได้ดูข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวาน
กลุ่มอาจารย์ ที่สนับสนุน นายก ก็มีครับ (บางมหาลัย กลุ่มอาจารย์ขัดแย้งกันเองเสียอีก)
กลุ่มประชาชน ก็มีสนับสนุน นายกครับ
กลุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม...
ว่ากันถึงกลุ่มหลังซึ่งค่อนข้างใกล้ตัวกว่า เพราะเคยลงทุนในหุ้นของท่านเหล่านั้นในห้วงช่วงหนึ่ง
ทราบว่ากลุ่มนี้จะมีการพบปะ พูดคุยปัญหาบ้านเมือง สังคมกันเป็นระยะๆ
นอกจากที่ปรากฏชื่อข้างบนแล้ว
กลุ่มนี้ยังประกอบด้วย และแลกเปลี่ยนแนวคิดกับบุคคลเหล่านี้เป็นประจำ ได้แก่ อานันท์ ปันยารชุน, ส. ศิวรักษ์ ,จรัล ดิษฐาอภิชัย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ชนะ รุ่งแสง ,สมภพ มานะรังสรรค์ ขาประจำอย่าง ธีรยุทธ บุญมี ,สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ทีดีอาร์ไอ
สุรพงษ์ ชัยนาม ,อนุสรณ์ ธรรมใจ ,วุฒิพงศ์ เพรียบจริยวัฒน์ ผู้เขียนคู่มือทรราช ,กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ , สุเทพ บูลกุล กลุ่มสตาร์บล็อค เป็นต้น
ก็ติดตามกันต่อไปว่า กลุ่มนี้จะมีแนวทาง หรือการเคลื่อนไหวอย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 857
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 6
อย่างน้อยต้องปรบมือให้กับความกล้าของคนที่ออกมาสวนกระแสตอนนี้ล่ะครับ อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากก็ไม่เห็นด้วยกับพวกที่ออกมาใช้ชื่อมหาลัยในการต่อต้าน แต่ตอนนี้จะมีซักกี่คนที่จะยอมเปลืองตัวออกมาต่อต้านฝ่ายสนับสนุนสนธิ
ตอนนี้ใครไม่เห็นด้วยกับสนธิ -> พวกชเลียร์หรือรับเงินหรืออยู่ในอาณัติหรือได้ผลประโยชน์
ใครเห็นด้วย -> คนรักชาติ หรือ คนกล้า หรือ คนรู้ทัน
อ่านผู้จัดการออนไลน์หน้าหนึ่งทุกวันนี่มันส์จริง ๆ กับสารพัดฉายาที่สรรหามาตั้งให้ทั้งสองฝ่าย ที่แน่ ๆ ตอนนี้ manager.co.th ติด top 3 เวปเมืองไทยไปแล้วในขณะที่สื่ออื่น ๆ ก็หลับกันต่อไป :evil:
ตอนนี้ใครไม่เห็นด้วยกับสนธิ -> พวกชเลียร์หรือรับเงินหรืออยู่ในอาณัติหรือได้ผลประโยชน์
ใครเห็นด้วย -> คนรักชาติ หรือ คนกล้า หรือ คนรู้ทัน
อ่านผู้จัดการออนไลน์หน้าหนึ่งทุกวันนี่มันส์จริง ๆ กับสารพัดฉายาที่สรรหามาตั้งให้ทั้งสองฝ่าย ที่แน่ ๆ ตอนนี้ manager.co.th ติด top 3 เวปเมืองไทยไปแล้วในขณะที่สื่ออื่น ๆ ก็หลับกันต่อไป :evil:
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 7
เขาด่านายก ก็เพื่อให้ธุรกิจเวบเขาอยู่รอดขายดีขึ้น
ยิ่งเขาแหย่ แล้วนายกตอบ เขาก็ยิ่งแหย่ สนุกเขาทุกวัน
ยิ่งเขาแหย่ แล้วนายกตอบ เขาก็ยิ่งแหย่ สนุกเขาทุกวัน
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- tummeng
- Verified User
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 8
แรกๆๆผมก็เห็นแต่ข่าวของ web manager ที่ด่าหรือเน้นมากๆๆนะครับ แต่พักหลังๆๆเริ่มสังเกตเห็น web กรุงเทพธุรกิจ เริ่มด่าบ้างเหมือนกันแล้ว (คงเห็น web managerเรตติ้ง ดี เลยขอด่าบ้างเผื่อจะเรตติ้งดีด้วย :lol: )
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 9
พลวัตเศรษฐกิจ:ธัมมิกสังคมนิยมกับเศรษฐกิจการเมือง
9 กุมภาพันธ์ 2549 17:08 น.
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ
หลายคนอาจจะเห็นว่า ผมเพ้อฝันที่มาเขียนเรื่อง ธัมมิกสังคมนิยม ท่ามกลางกระแสอันเชี่ยวกรากของทุนนิยมสุดโต่ง และสังคมนับถือเงินและศีลธรรมเสื่อมถอย
ธัมมิกสังคมนิยมเป็นแนวคิดที่เกิดจากผลึกความคิดในการมองเศรษฐกิจ การเมือง สังคมด้วยหลักศาสนธรรม เป็นแนวคิดที่พัฒนาจากกระบวนการ "สิกขา" อันยาวนานของท่านพุทธทาสภิกขุ การศึกษาพุทธธรรมอย่างลึกซึ้งพร้อมกับศาสนธรรมอื่นๆ รวมทั้งวิทยาการความรู้ด้านต่างๆ เมื่อผสมผสานกับประสบการณ์ในการเข้าถึงหลักธรรมจากการปฏิบัติ สัมผัสกับชุมชนอย่างใกล้ชิด จึงได้ "ธัมมิกสังคมนิยม" มาอธิบายการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อย่างแหลมคม และแตกต่างจากแนวคิดลัทธิการเมืองเศรษฐกิจแนวโลกียวิสัย (Secularization)
พุทธทาสชี้ชัดว่า การเมืองคือศีลธรรม และนักการเมืองต้องมีธรรมะ ผมขอเติมอีกหน่อยว่า ต้องมีระดับคุณธรรมสูงกว่าประชาชนโดยทั่วไปด้วยประเทศจึงเจริญก้าวหน้า
พระสันติกโรภิกขุ สรุปแนวคิด ธัมมิกสังคมนิยม ของท่านพุทธทาสภิกขุเรียบเรียงออกมาเป็นสี่หมวด ได้แก่
หมวดที่หนึ่งว่าด้วยการก่อรูปอุดมคติทางการเมือง ซึ่งประกอบไปด้วย การเมืองตามแนวศาสนา การเมืองต้องไปตามกฎธรรมชาติ ความหมายของศีลธรรม
หมวดที่สอง ธัมมิกสังคมนิยมและเจตนารมณ์สังคมนิยมในพุทธศาสนา ซึ่งประกอบไปด้วย เจตนารมณ์ของสังคมนิยมในพุทธศาสนา ส่วนเกินและระบบสังคมนิยมแบบธรรมราชา ธรรมสัจจะของธรรมชาติ
หมวดที่สาม สังคมนิยม ความหมายและรากฐาน ประกอบด้วย สังคมนิยมตามหลักแห่งศาสนา จุดตั้งต้นของอุดมการณ์ และการพิจารณาสังคมนิยมของคาร์ล มากซ์
หมวดที่สี่ แนวทางสู่ธัมมิกสังคมนิยม ประกอบด้วย ธัมมิกสังคมนิยมแบบธรรมชาติต้องกลับมา และการแก้ไขปัญหาสันติภาพสองระดับ (บุคคลและสังคม)
แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และจัดการธุรกิจในบางยุคบางสมัยยึดโยงและใช้ปรัชญาพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ทฤษฎีนี้กล่าวถึงกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติบนหลักการผู้ที่อยู่รอดคือผู้ที่แข็งแรงที่สุดและปรับตัวได้ดีที่สุด เมื่อนำมาใช้อธิบายสังคมมนุษย์ เรียกว่า ลัทธิโซเชียลดาร์วิน (Social Darwinism)
การอธิบายโลกและอธิบายสังคมเช่นนี้สอดคล้องกับลัทธิทุนนิยม และส่งเสริมการแข่งขันดิ้นรนต่อสู้กันในระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ ใครแข็งแรงที่สุด ใครมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้นั้นคือผู้อยู่รอด ผมถือว่ายังเป็นการอธิบายโลกที่คับแคบ การแข่งขันกลายเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตทางธุรกิจ
ระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือความคิดนี้เป็นความคิดหลัก จะทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมแสวงหากำไรสูงสุดโดยไม่สนใจต่อหลักศีลธรรมและไม่รับผิดชอบต่อสังคม ทั้งที่การบริหารกิจการควรทำให้เกิดการสร้างความมั่งคั่งอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว สำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกคน
ธัมมิกสังคมนิยมนั้นเข้าใจความเป็นจริงของลัทธิดาร์วินที่เป็นปรัชญาพื้นฐานของทุนนิยมดั้งเดิมเป็นอย่างดีลุ่มลึกและลึกซึ้งกว่า เพราะสอดคล้องกับธรรมชาติมากกว่า ไม่ฝืนธรรมชาติ
พุทธทาส บรรยายถึงหลักธรรมที่ใช้อธิบายระบบเศรษฐกิจการเมืองได้เป็นอย่างดีว่า "ตัวแท้จริงของธรรมชาตินั้นก็เป็นสังคมนิยม คือว่ามันไม่มีอะไรที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ มันต้องอาศัยกันและกัน ไม่มีแผ่นดิน ต้นไม้จะอยู่ได้อย่างไร ไม่มีต้นไม้ แผ่นดินจะอยู่ได้อย่างไร"
ธัมมิกสังคมนิยมสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ใหม่ สอดคล้องกับหลักคิดเรื่องธรรมาภิบาลของระบบทุนนิยม วิทยาศาสตร์ใหม่มองโลกแตกต่างไปจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ แนวคิดเศรษฐกิจการเมืองแบบดั้งเดิม
แนวคิดใหม่มองว่า โลกอยู่ได้ด้วยสายใยแห่งสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกัน ทุกชีวิตในโลกใบนี้จึงเชื่อมโยงกัน เกื้อกูลกัน ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เสือล่ากวาง ก็เพียงให้อยู่รอด เราไม่เห็นปลาใหญ่กินปลาเล็ก เสือล่ากวางด้วยความละโมบโลภมาก ไม่ได้สะสมเป็นสมบัติส่วนตัว ล่าให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การล่าจึงไม่ถึงขั้นทำให้เกิดทำลายล้างอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง แตกต่างจากความคิดเก่าของสังคมมนุษย์
เราสามารถนำพุทธธรรมมาประยุกต์กับเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน อย่างที่กำลังเห่อตามฝรั่งเรื่อง Good Governance นั้น เศรษฐศาสตร์แนวพุทธให้คำตอบเรื่องนี้เป็นอย่างดี เราสามารถสร้างความพอใจสูงสุดทั้งในระดับปัจเจกบุคคล กิจการและสังคมได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับศานติสุขได้
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธเป็นเศรษฐศาสตร์มัชฌิมา ยึดถือทางสายกลาง มุ่งไปที่คุณภาพชีวิตและความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ เศรษฐศาสตร์นั้นสอนให้ตระหนักถึง "ความจำกัด" ของสรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเวลา แรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และเงินทองทรัพย์สิน
ดังนั้น ต้องใช้สรรพสิ่งเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณค่ามากที่สุดด้วยความต้องการที่ไม่จำกัดของผู้คน ความจำกัดของทรัพยากรก็เลยเป็นปัญหาที่ต้องจัดการ แต่ต้องไม่ใช่วิถีแห่งสงครามแย่งชิงทรัพยากรเหมือนที่ทำกันอยู่ การบริโภค การลงทุน การแสวงหาความมั่งคั่งอย่างไม่มีขอบเขต นำมาสู่แย่งชิงและสงคราม สุดจากกระบวนการต่อสู้แข่งขันเพื่อความอยู่รอด
สิ่งเหล่านี้ ทำให้สังคมไม่สงบ การเมืองวุ่นวาย เศรษฐกิจผันผวน และช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนจะมากขึ้น สังคมดีและสงบสุขต้องเป็นสังคมที่ไม่ทิ้งธรรมะ ไม่ทิ้งพระพุทธเจ้า ไม่ทิ้งพระเจ้า ไม่ทิ้งศาสนธรรม ครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 10
พลวัตเศรษฐกิจ : การเสียภาษี การบริหารภาษี ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
การเสียภาษีถูกต้องเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีทุกคน เราทุกคนก็มีสิทธิอย่างสมบูรณ์ในการบริหารจัดการภาษีภายใต้กรอบของกฎหมายและถูกต้องตามหลักจริยธรรม เพื่อให้มีภาระน้อยลง จะได้นำเงินไปใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวม
หากกฎหมายระบุว่า ให้ต้องเสียภาษีก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้ระบุเอาไว้ว่า ไม่ต้องเสียภาษีก็ไม่มีเหตุอันใดที่ต้องเสีย ยกเว้นว่าเป็นบุคคลสาธารณะที่ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างในทุกเรื่อง ต้องไม่เอาเปรียบสังคม หากไม่ได้มีพฤติกรรมเอาเปรียบสังคม ก็ชี้แจงให้ชัดเจนเพื่อเกิดความเข้าใจอันดี
หากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม การกระทำเป็นเครื่องส่อเจตนา จะชี้แจงอย่างไรก็อาจไม่ได้เกิดประโยชน์มากนักสังคมหลายประเทศมีปัญหาธรรมาภิบาลไล่เรียงมาตั้งแต่ระดับสังคมการเมืองยันสังคมของผู้คนในภาคธุรกิจ หรือแม้กระทั่งองค์กรภาคประชาชนโดยเฉพาะพวกค้าความจนและมักอ้างประชาชนทั้งหลาย
สังคมลักษณะดังกล่าวจะเคารพยำเกรง "เงินตรา" และ "อำนาจ" ทุกคนก็แสวงหาสองสิ่งนี้ โดยไม่สนใจวิธีการว่าได้มาด้วยวิธีการใด จนกระทั่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นทัศนคติ บรรทัดฐานและความเชื่อ พร้อมแสวงหาความมั่งคั่งอำนาจ โดยไม่สนใจจริยธรรม เอาเปรียบผู้ที่อ่อนด้อยกว่าด้วยความฉลาดแกมโกง
เมื่อความคิดนี้แก่กล้าและเติบโตในสังคม คนดีจะกลายเป็นคนโง่ ในขณะที่คนฉ้อฉลได้รับการยกย่องว่า มีชั้นเชิงที่เหนือชั้นเป็นคนฉลาด
คนที่ประกอบกิจการตรงไปตรงมา ไม่มีค่าน้ำร้อนน้ำชา ไม่มีใต้โต๊ะ ไม่มีเส้นสาย ไม่เคยได้งานและไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ตามความสามารถ ก็จะทำให้คนดีๆ องค์กรดีๆ ขาดกำลังใจในที่สุด
การสร้างธรรมาภิบาลไม่สามารถสร้างด้วยคำพูดแต่ต้องทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ด้วยการกระทำตรงนี้แหละครับที่หนักแน่นกว่าคำพูดมาก ต้องส่งสัญญาณอย่างชัดเจนจากชนชั้นนำในสังคมไทย และต้องอย่าลืมว่า จริยธรรมและคุณธรรมนั้นเป็นนามธรรมที่มองไม่เห็น แต่มีพลานุภาพที่พลิกประเทศได้ดีที่สุดครับ
ประเทศไหนมีภาคธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลเข้มแข็งแล้ว ในระยะยาวแล้วก็จะมีต้นทุนทางการเงินและต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำลง เพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันในตลาดโลก มีโอกาสในการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจและเข้าสู่ตลาดทุนโลกได้ง่ายกว่า
ในช่วงที่ผ่านมา รัฐได้มีมาตรการหรือนโยบายในการเปิดโอกาสให้ประชาชนลดหย่อนภาษีได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น หักลดหย่อนกรณีกู้เงินซื้อบ้าน (เป้าประสงค์ของมาตรการส่งเสริมให้ผู้คนมีโอกาสซื้อบ้านและกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโต) หักลดหย่อนกรณีซื้อหน่วยลงทุน (ส่งเสริมให้มีการออมเงินระยะยาวผ่านกองทุนรวมและยังทำให้เกิดการพัฒนาตลาดเงินตลาดทุน) หักลดหย่อนกรณีซื้อประกันชีวิต (ส่งเสริมการออมเงินผ่านระบบประกันชีวิตและช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมประกันเติบโต) หรืออย่างการยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับบุคคลผู้มีรายได้น้อยก็ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
ดูรายละเอียดให้ดีก็จะพบว่า การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีรายได้สุทธิไม่เกิน 80,000 บาทต่อปีนั้น ความจริงแล้วสามารถครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีรายได้ต่อปีสูงถึง 170,000 บาทต่อปีด้วย ไม่ต้องจ่ายภาษี 5% เนื่องจากว่าเงินได้ประจำ 170,000 บาทต่อปี คิดเป็นต่อเดือนประมาณ 14,167 บาทต่อเดือน เนื่องจากผู้มีเงินได้ดังกล่าวสามารถหักรายจ่ายไม่เกิน 60,000 บาท และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ 30,000 บาท ก็ทำให้รายได้ตกปีละ 170,000 บาทเป็นรายได้สุทธิไม่เกิน 80,000 บาทต่อปีก็ได้รับการยกเว้นภาษี การที่ไม่ต้องเสียภาษีย่อมเท่ากับ มีรายได้คืนมาในกระเป๋าประชาชนเหล่านี้เดือนละ 3,056 บาท หรือปีละ 63,667 บาท
การที่รัฐจะมีรายรับภาษีลดลงจากการลดหย่อนตรงนี้ก็มิได้เป็นเรื่องเสียหายแต่อย่างใด เพราะค่าใช้จ่ายที่นำไปลดหย่อนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไปเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของประชาชน และเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมรวมทั้งสร้างระบบการออมระยะยาว
พิจารณาฐานภาษีของภาษีรายได้บุคคลธรรมดาจะพบว่า ยังค่อนข้างแคบ แคบเพราะคนจำนวนไม่น้อยอาจจะยังเลี่ยงภาษีกันอยู่ แคบเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมายังไม่กระจายไปยังคนส่วนใหญ่ของประเทศ แคบเพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีฐานรายได้ที่ไม่สูงนัก
มีจำนวนผู้เสียภาษีในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 6 ล้านรายเท่านั้น บุคคลที่มีรายได้ต่ำกว่า 80,000 บาทต่อปีมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของระบบผู้เสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลทั้งหมด มีคนที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาท มีเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของทั้งระบบ
ชนชั้นกลาง คือ กลุ่มคนที่แบกรับภาษีหนักที่สุด เรื่องนี้ควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นปัญหาความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมาและเวลานี้
ชั้นชนเศรษฐีจำนวนหนึ่งยังคงเอาเปรียบสังคมด้วยการมีพฤติกรรมล้มบนฟูก ขอลดหนี้โกงธนาคาร และหนีภาษี ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
ในส่วนของภาษีที่ดินนั้น กระบวนการดำเนินการใช้ภาษีที่ดินให้เกิดการกระจายปัจจัยการผลิตประเภทที่ดินต้องโปร่งใส รัดกุมและมีประสิทธิภาพ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การทำให้เกิดผลนั้นไม่ใช่เรื่องหลักการ แต่เป็นเรื่องที่ยากด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ชนชั้นไหนเป็นผู้ออกกฎหมาย ย่อมเป็นไปเพื่อชนชั้นนั้น ที่สำคัญ ใครจะยอมทุบหม้อข้าวตัวเอง และใครล่ะที่จะมีความกล้าหาญทางการเมืองขนาดนั้นครับ
อนุสรณ์ ธรรมใจ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 11
มุมม็อบ... วิลิต เตชะไพบูลย์ ร่วมเวทีกู้ชาติ 4 กุมภาฯ
โดย ชมพูนุท นำภา
ใครที่มีโอกาสไปร่วมการชุมนุมกู้ชาติที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คงจะเกิดความรู้สึกและมีอุดมการณ์ร่วมหลายอย่าง แม้จะแตกต่างกันในวิธีการที่บางคนอาจนั่งฟังอย่างสงบ บางคนอาจตะโกน "ออกไปๆๆๆ" หรือบางคนขอแค่ปรบมือเชียร์ก็พอนั้น สิ่งที่ไม่แตกต่างกันเลยก็คือ ความรักชาติ และร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวที่อยากให้ชาติบ้านเมืองไม่ล่มจม พังพินาศ
ในวันนั้นขบวนการกู้ชาติต่างขึ้นเวทีปราศรัยสลับกับการแสดงของศิลปิน วงดนตรี
จังหวะหนึ่ง เสียงทำนองแปลกหูดังขึ้นจากขลุ่ยหน้าตาประหลาดท่ามกลางเครื่องดนตรีหลายชิ้น เสียงแว่วดังลอดมาคั่นจังหวะปราศรัย คลายความร้อนแรงในฝูงชนกว่าครึ่งแสน
เป็นการคั่นรายการ การปราศรัยที่หนักหน่วงของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำในวันนั้น
หากใครที่เพิ่งได้เข้าร่วมการชุมนุมเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ที่เกิดไม่ทันพฤษภาทมิฬ อาจพบกับความประหลาดใจกับหลายสิ่งหลายอย่าง หลายคนไม่คุ้นกับศิลปินที่มาร่วมบรรเลงเพลง เล่นดนตรี และหลายคนเพิ่งเคยสัมผัสกับบรรยากาศเช่นนี้
ในบรรดาศิลปินที่มาช่วยเวทีกู้ชาติวันนั้น มีเจ้าของเสียงขลุ่ยประหลาด "วิลิต เตชะไพบูลย์" รวมอยู่ด้วย คุ้นชื่อและนามสกุล แต่หลายคนไม่คุ้นกับการขึ้นเวทีปราศรัยของชายหนุ่มผู้นี้
อายุ 40 ปี เป็นคนร่างสันทัด หน้าตี๋ เหมือนเป็นคนแปลกหน้ากับองค์กร และการชุมนุมที่มาร่วม แต่ความจริงแล้ว วิลิตไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับการชุมนุม หรือม็อบกลุ่มต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเลย ใครที่เป็นขาประจำม็อบต่างรู้จักเขาดี แต่เพียงเพราะวิลิตไม่ใช่ศิลปินออกเทปตามค่ายเพลงใหญ่เท่านั้น
ชื่อเสียงของวิลิตเคยปรากฏตามนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ ว่าเป็นไฮโซที่สลัดคราบมาเป็นชาวนา อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี
จนทุกวันนี้วิลิตก็ยังยืนยันว่าตัวเองเป็นชาวนา เลิกงานก็ร่วมวงร้องรำทำเพลงกับเพื่อนๆ ซ้อมกันสนุกๆ มีม็อบที ก็มาเล่นดนตรีกันที แต่มีเงื่อนไขว่าม็อบนั้นจะต้องเป็นม็อบที่พวกเขาเห็นด้วยในหลักการของการชุมนุม
เวทีกู้ชาติ 4 กุมภาพันธ์ วิลิตยืนยันเข้าร่วมเพราะเห็นด้วยกับหลักการ และยืนหยัดกับอีกหลายคนช่วยการปราศรัยบนเวที เหตุผลเขาคือ
"อึดอัดกับนโยบายและการกระทำที่ไร้จริยธรรมของผู้นำประเทศ"
ทุกวันนี้นอกจากจะทำนาแล้ว ถ้ามีเวลาว่างชาวนาผู้นี้จะเล่นดนตรีในแบบที่ชอบ ช่วงว่างเว้นกับการแสดงบนเวทีกู้ชาติ วิลิตมีโอกาสสนทนาถึงความเป็นเขา
"ยังทำนาครับ ถ้ามีน้ำก็ทำปีละ 2 ครั้ง ถ้าแล้งก็ทำปีละครั้ง ที่นาของผมเองมี 7-8 ไร่ ใช้แรงงานคนประมาณ 7-8 คน ทำไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ได้ข้าวมา 4 เกวียน ว่างก็เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ก็มีเดินทางไปเมืองนอกบ้าง ที่ไปเพราะพาพ่อแม่ไปเที่ยว เนื่องจากพี่ๆ แต่งงานกันไปแล้ว อยู่คนละบ้าน ผมก็ทำหน้าที่ลูกบ้างเท่าที่ผมทำได้ เวลานี้ผมว่าผมมีความสุขของผมในระดับที่ดีแล้ว เรื่องเงินทองไม่เดือดร้อน และไม่ต้องไปหาให้พ่อ-แม่ เพราะพ่อแม่เราก็มีหมดแล้ว สิ่งที่ให้ได้อย่างเดียวคือเวลา ไปร่วมกับพวกเขาบ้างเพื่อไม่เหงา ตอนนี้ผมแต่งงานมา 3 ปีแล้ว ยังไม่มีลูกเลย"
ขณะที่วิลิตเล่าเรื่องราวของชีวิต เขาหยิบขลุ่ยคู่ใจขึ้นมาคลายความสงสัยของคนถาม
"ขลุ่ยเลานี้เรียกขลุ่ยน้ำเต้า ไปเรียนการเป่ามาจากเมืองจีน พร้อมกับเรียนกู่เจิ้งเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ก่อนจะไปทำนา ตอนไปเรียนที่จีนได้ลาออกจากงานประจำก่อน ไปเรียนกู่เจิ้งกับขลุ่ย 3 เดือน"
วิลิตบอกว่า ขลุ่ยน้ำเต้ามีอยู่ที่เดียวที่จีน คือที่มณฑลยูนนาน เป็นเอกลักษณ์ของมณฑลนี้ ซึ่งตอนหลังเครื่องดนตรีชนิดนี้ในเมืองจีนดังมาก เพราะเสียงไพเราะมาก คนจีนนิยมหัดกันเยอะ ขลุ่ยชนิดนี้มีลิ้นขลุ่ยเป็นโลหะ ถ้าขลุ่ยธรรมดาจะเป็นไม้ แล้วก็มีกล่องเสียงเป็นน้ำเต้า ช่วยทำให้ห้องเสียงเป็นเอกลักษณ์ คือเสียงจะกังวาน นุ่ม เหมือนลอดออกจากภูเขา
"เพลงแรกที่เล่นเมื่อม็อบวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นเพลงของยูนนาน ผู้แต่งอายุ 74 ปี ชื่ออาจารย์หยางเฟย ผมเห็นว่าเพลงทำนองสวยดี แล้วมาให้อีกคนใส่เนื้อ ก่อนเล่นก็เขียนจดหมายขออนุญาตอาจารย์ ส่งเดโมเสียงไปให้ แกเขียนกลับมาโน้ตผิดตัวเดียว คือผมหลบโน้ตเพราะขลุ่ยมีปัญหา" (หัวเราะ)
วิลิตบอกว่า เมื่อต้นปี 2548 ไปเรียนดนตรีอีกอย่างหนึ่งที่มองโกเลีย คือ ซอม้า ซึ่งคงจะหัดเป็นจริงจังชิ้นสุดท้าย เขาว่า "เพราะอายุมากแล้ว แม้ไม่แก่เกินเรียนก็จริง แต่เครื่องดนตรีก็มีข้อจำกัดอยู่"
วิลิตอธิบายว่า ซอม้า เป็นซอที่เสียงคล้ายเชลโล่ แต่สามารถเล่นเพลงพื้นบ้านของมองโกเลียได้ เวลาเล่นเพลงพื้นบ้านเสียงจะคล้ายซอสามสาย ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้เขาใช้ระบบโน้ตเพลง เขาสามารถจะปรับเล่นเพลงสากลได้ ซึ่งเครื่องดนตรีชิ้นนี้เด็กที่นั่นนิยมเรียนมาก จะสะพายซอม้าขึ้นรถเมล์ เห็นแล้วรู้สึกดี
"ตอนอยู่มองโกเลีย ผมกับภรรยาไปเช่าอพาร์ตเม้นต์เล็กๆ อยู่ ตกเย็นก็ไปตลาดทำกับข้าวกินกัน เช้าผมไปเรียนซอ ส่วนภรรยาเรียนปักผ้า ต่างคนต่างเรียน พอกลับมาก็ทำการบ้าน เสาร์-อาทิตย์ก็ออกไปเที่ยวทะเลทราย"
วิลิตบอกว่า เครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นนี้ มันเหมือนชีวิตจิตใจของเขา ไปเรียนอะไรจะซื้อติดกลับมาด้วยทุกครั้ง
"ถ้าสนใจก็เจอผมได้ตามม็อบตลอดแหละ" เสียงหัวเราะชอบใจ
วิลิตเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก กระทั่งเกิดความรู้สึกว่าดนตรี ศิลปวัฒนธรรม ช่วยเหลือสังคมได้ จึงเริ่มฟังเพลงเพื่อชีวิตเมื่อปี 2538 เห็นว่าเพลงมีเนื้อหาที่รับใช้สังคม ไม่ได้ใช้ไปทางมอมเมาอย่างเดียว
"ตอนผมทำงานอยู่ที่โรงแรม มีโอกาสเจอหงา-สุรชัย หว่อง-มงคล อุทก จากวงคาราวาน พวกพี่เขาชวนเล่นดนตรีด้วย เลยยึดดนตรีแนวนี้ เพราะเป็นดนตรีที่หวังว่าอาจจะมีส่วนขับเคลื่อน ช่วยเป็นกำลังใจให้คนหันมาสนใจเรื่องราวของสังคม ปัญหาของสังคม และนำไปสู่การทำอะไรให้สังคมได้"
สำหรับงานดนตรีที่เคยเล่นมา ไล่ตั้งแต่ช่วงแรกคือ คอนเสิร์ตวงดอกหญ้าไหว เป็นที่รวมของนักดนตรีพื้นบ้านเพื่อชีวิต นักดนตรีหลายส่วนจากจังหวัดเพชรบุรี โดยมี หว่อง คาราวาน เป็นหลัก
จากนั้นปี 2539 วิลิตมีโอกาสเจอ "ตี้-กรรมาชน" ภายหลังมีโอกาสร่วมวงกันในงาน 20 ปี 6 ตุลา ซึ่งงานนั้นกลายเป็นงานที่ทำให้วิลิตมีโอกาสเจอกับมิตรสหายที่มีความคิดคล้ายๆ กัน มีความถนัดทางดนตรี และต้องการใช้ดนตรีให้เป็นประโยชน์กับสังคมคล้ายกัน จากนั้นกลุ่มศิลปินเหล่านี้ก็มีโอกาสพบกันตามงานเล็กบ้างใหญ่บ้าง โดยมากจะเป็นงานครบรอบต่างๆ ทั้งครบรอบ 14 ตุลา และ 6 ตุลา
วิลิตมีโอกาสตั้งวงกับรุ่นน้อง ชื่อ "วงกำลังใจ" ซึ่งมี ตือ-กงล้อ และตี้-กรรมาชน เข้ามาช่วยวงด้วย
"ช่วงนั้นเป็นเรื่องการเรียกร้องเขื่อนปากมูล ต่อมาก็ บ่อนอก-บ้านกูด สมัชชาคนจน สำหรับผมเองไม่ได้แต่งเพลง ไม่ได้ร้อง ทั้งหมดเป็นผลงานของพี่ตี้ ผมแค่ติดสอยห้อยตามเขาไป หลายคนอาจไม่รู้"
จากการที่ติดสอยห้อยตามบรรดาพี่ๆ ไปเล่นดนตรีในม็อบต่างๆ วิลิตได้ซึมซับสิ่งเหล่านั้นมาโดยไม่รู้ตัว เขาได้เห็นอะไรที่หลากหลาย จากที่เห็นเรื่องสังคมการเมืองเคยเป็นเรื่องไกลตัว ก็เริ่มรู้ว่าเป็นเรื่องของหน้าที่ ของการทำงานเพื่อคนอื่น โดยเฉพาะสังคม ชาติบ้านเมือง
"เริ่มจะเห็นว่าการรักชาติเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับลัทธิ แต่เป็นเรื่องของความจำเป็น เรื่องของเหตุของผล ที่ว่าคนเราบางทีก็ต้องปกป้องในส่วนที่เราอาศัยอยู่ ดังนั้น ผมจึงไปร่วมม็อบต่างๆ ที่ผมเห็นด้วย ไปเล่นดนตรี
ตามคนที่ทำงานเพื่อสังคม หรือตามม็อบ ที่เราเห็นด้วยในหลักการ เห็นใจ เห็นประเด็นที่เขาพูดว่ามีประโยชน์ต่อสังคม"
วลิตเห็นว่าสังคมทุกวันนี้ถูกทำให้มองเป็นเรื่องของการแข่งขัน ทุนนิยม คนเริ่มมองสิ่งรอบตัวแคบลงเรื่อยๆ จากสังคมก็มองแค่ครอบครัวตัวเอง แล้วลดลงมาเหลือแค่มองตัวเอง ขณะที่สำนึกเพื่อสังคมลดน้อยลง หรือแทบไม่มีเลย
"ผมว่าตอนนี้ทุกคนถูกหลอกให้ขยัน ถูกหลอกให้เข้าสู่กระบวนการแข่งขันของความโลภ ไม่ใช่สัมมาอาชีพ ถ้าเราเป็นฝูงวัวให้เขาต้อน สู้เราเป็นคนขี้เกียจดีกว่า มันจะเข้าเรื่องของคุณทักษิณ เขากำลังต้อนเราเข้าสู่โรงเชือด สู้เราขี้เกียจ นอนเฉยๆ ไม่ไปเบียดกับคนอื่นก็จะตายช้าลง คนก็ว่าโง่ที่ไม่ตามคนอื่นไป และที่ผมพูดได้ว่าผมไม่เอาตามคนอื่นนั้น ไม่ใช่พูดเพราะผมรวย แต่สันดานผมเป็นแบบนี้ ผมยอมโดนดูถูกก็ได้ ไม่ต้องมีเงินมากก็ได้ ไม่เห็นเป็นไร"
กลับมาเรื่องอาชีพทำนาของเขา วิลิตบอกว่า ไม่ได้รีบร้อนอะไร กำลังทำเรื่องร้านค้ากลุ่มอยู่
"ผมไม่ได้ทำคนเดียว มีคนที่ทำกับผมอีก 10 คน เรื่องผลิตภัณฑ์ การแปรรูป ให้พออยู่ได้ ขายข้าวอย่างเดียวมันอยู่ไม่ได้หรอก อีกอย่างข้าวผมมีไว้กินอย่างเดียว ไม่ได้ขายตั้งแต่แรก ข้าวผมประมาณ 3 ครอบครัว กินได้ 1 ปี อนาคตคือเลี้ยงตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้"
การร่วมเวทีกู้ชาติของวิลิตครั้งนี้ เพราะเขาเห็นว่าคนเราถ้ามัวเกี่ยงงอนกันอยู่ ก็ไม่เกิดประโยชน์
"ที่เราร่วมเพราะเราสนใจเรื่องเหล่านี้มานานแล้ว ใครคดโกง ใครไม่ดี โดยธรรมชาติเราพร้อมที่จะเอาดนตรีเราไปคัดค้าน"
วิลิตมองปัญหาของชาติที่เกิดขึ้น ในฐานะที่เคยเป็นนักธุรกิจ ว่ามีคำพูดที่แยกนักธุรกิจออกเป็น 2 ส่วน ในเวลาที่ประเทศชาติประสบปัญหา โดยเฉพาะจากการรุกรานของต่างชาติ หนึ่ง-คือพวกที่จับมือกับฝ่ายตรงข้าม และได้ความร่ำรวยที่ร่วมมือกับเขา อีกหนึ่ง-คือพวกที่ยืนอยู่ข้างเอกราชของแผ่นดินตัวเอง ทุกประเทศจะมีแบบนี้ และแน่นอนว่ากลุ่มที่จับมือกับฝ่ายตรงข้าม เขาไม่ได้บอกว่าเขาขายชาติ แต่เขาจะอ้างทฤษฎีว่า "ทุนนี้มันดี ถ้าไหลเข้ามาเราดีคุณก็ดีด้วย" แต่ว่าไปแล้วดูเถอะว่าไม่มีประเทศไหนทำได้จริง
"ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะล้มใคร แต่เป็นนิมิตที่ดีที่มีคนจุดแสงเทียน ถ้าเขาทำจริงอย่างที่พูดมันก็ถูกต้อง ผมคิดว่าการชุมนุม การตื่นตัวของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะนำไปสู่ผลระยะยาว นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี จะทำให้คนในสังคมทำหน้าที่ได้อย่างทั่วถึง ทำให้ต่อไปใครขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วจะไปมุบมิบเซ็นอะไรกับใครแล้วเอาชะตากรรมของคนในประเทศไปแลก แล้วมาพูดคำเดียวว่า "ให้เชื่อฉันเถอะ ฉันหวังดีคนเดียว" คงไม่สามารถทำได้...
"เพราะบ้านเมืองยังมีประชาชน"
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 12
พอดีเห็นกล่าวถึงดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ก็จึงนำมาบทความมาลงให้อ่านกันต่อคับ...
ปฏิวัติจิตสำนึก คือ ปฏิรูปเศรษฐกิจการเมือง
พลวัตเศรษฐกิจ:ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ [email protected]
ความแปรปรวนของธรรมชาติ ภาวะโลกร้อนอันส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจ ล้วนมีพื้นฐานจากค่านิยมความคิดที่ไม่ถูกต้องเป็นเบื้องต้น ความคิดค่านิยมหรือจิตสำนึกของการไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม ละเมิดสิ่งแวดล้อมของธุรกิจอุตสาหกรรมและวิถีชีวิตของผู้คน ทำให้เราเห็นปรากฏการณ์ผลกระทบอย่างที่เห็นกันอยู่
นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้แบบจำลองคาดการณ์สภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศโลกที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2100 และพบข้อเท็จจริงดังนี้ ครับ
ระดับน้ำทะเลและมหาสมุทรจะสูงขึ้นประมาณ 13-20 ฟุต และโลกจะร้อนขึ้นอีก 4 องศา
แบบจำลองชี้ว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 4 องศา สอดคล้องกับรายงานทางวิทยาศาสตร์ทุกสำนักศึกษาถึงการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกจากภาวะโลกร้อน อันเกิดจากปฏิกิริยาเรือนกระจก หมายความว่า อีกไม่นานเกินรอพื้นที่ชายฝั่งทะเลในหลายภูมิภาคมีโอกาสจมใต้ทะเล หากไม่มีการแก้ไขเรื่องการปล่อยควันพิษสู่ชั้นบรรยากาศโลก
หากไม่ปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองหรือหากไม่ปฏิวัติจิตสำนึกทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างเอาจริงเอาจังกันตั้งแต่บัดนี้ เห็นทีความรุนแรงผันผวนของธรรมชาติจะดุเดือดขึ้นทุกปี และแน่นอนย่อมก่อให้เกิดความผันผวนวุ่นวายทางเศรษฐกิจการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ การกระจายรายได้ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจังในระดับเข้มข้น จะทำให้ผู้คนมีปัจจัยสี่ มีบ้าน มีสุขภาพ มีความกินดีอยู่ดีขึ้น การบุกรุกทำลายป่า การละเมิดธรรมชาติเพื่อแสวงหารายได้เพื่อการยังชีพลดลง ย่อมช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และเป็นแนวทางของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนกว่า
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจย่อมหมายถึง การเรียกร้องให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมรับผิดชอบให้กระบวนการผลิตมีกลไกดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนในระบบเศรษฐกิจมีพฤติกรรมการบริโภค การลงทุนและการดำรงชีวิตที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
ประเด็นเรื่องจิตสำนึก ต้องเป็นจิตสำนึกขอบเขตสากล ไม่ใช่ขอบเขตเพียงแค่รัฐชาติ ปัญหาหลายเรื่อง มันเป็นเรื่องของมนุษยชาติหรือเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคน การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันเป็นผลจากกระแสวิตกกังวลสงครามระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกา ล้วนมีพื้นฐานจากความคิดและค่านิยมที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
ราคาน้ำมันแพงและความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ จะเป็นปัญหาสำคัญที่ใหญ่สุดของเศรษฐกิจและการเมืองโลกเวลานี้ แม้เราเสียหายอย่างใหญ่หลวงจากสงครามโลกครั้งที่สอง มีผู้คนล้มตายนับล้านล้านคน หลังจากนั้น เราก็มีสงครามลัทธิเกิดขึ้นทั่วโลก สงครามอิรักกับสหรัฐอเมริกาแปลงสภาพเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างขบวนการต่อต้านการยึดครองของสหรัฐอเมริกากับกองทัพสหรัฐและรัฐบาลใหม่อิรัก
สงครามเก่ายังไม่จบ สงครามใหม่ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ก็กำลังมีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นอีกแล้ว เวลานี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีหัวรบนิวเคลียร์ 50,000-60,000 ลูกจำนวนดังกล่าวมากพอที่จะทำลายล้างโลกได้หลายครั้ง ค่าใช้จ่ายทางการทหารเพื่อเอามาทำร้ายกันมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ทั้งที่มีคนอดอาหารตายปีละ 15 ล้านคน หรือ 32 คนต่อนาที (ปัญหารุนแรงกว่านี้กรณีเศรษฐกิจโลกตกต่ำ และมีปัญหาการเมืองขัดแย้งรุนแรงจนก่อสงคราม)
สภาพดังกล่าวล้วนเกิดจากความคิดและจิตสำนึกที่ผิดทั้งสิ้น การปฏิรูปทางการเมืองเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือภายในประเทศไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยค่านิยมที่ผิด
หากมนุษย์มีเมตตาธรรมต่อกันปัญหาเหล่านี้คงไม่เกิด หากมนุษย์เผื่อแผ่ต่อกันแทนที่จะช่วงชิงแข่งขัน หากมนุษย์สามารถอยู่ด้วยกันอย่างสันติด้วยความเชื่อศรัทธาที่แตกต่างหลากหลาย ความรุนแรงทางศาสนาและลัทธิความเชื่อคงไม่เกิด หากผู้นำประเทศต่างๆ ละจากการมุ่งแสวงเงินและอำนาจหันมาใส่ใจต่อสันติสุขของประชาชน สงครามย่อมไม่เกิดขึ้น แต่เราอาจจะฝันไปว่าสิ่งเหล่านี้มันจะเกิด เนื่องจากวิวัฒนาการของมนุษย์ยังไม่อาจทำให้ "สัตว์ในตัวมนุษย์" ลดน้อยลงเลยแม้แต่น้อย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 13
พลวัตเศรษฐกิจ :อัตราเงินเฟ้อ น้ำมันแพง บาทแข็ง และเศรษฐกิจ
4 พฤษภาคม 2549
อนุสรณ์ ธรรมใจ
ดัชนีราคาผู้บริโภคภายในประเทศหรืออัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนเมษายนขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 114.3 เพิ่มขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่มจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.2 ราคาค่าขนส่งปรับสูงขึ้นมากที่สุด
ดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 2 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง เพราะปกติสินค้าหมวดนี้จะไม่ค่อยปรับเพิ่มขึ้นเท่าไรนัก
อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะยังอยู่กับเศรษฐกิจไทยไปอีกระยะหนึ่ง หากพิจารณาตัวเลขยังไม่ถึงกับน่าตกใจ เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศแล้วก็ยังถือว่าต่ำในสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงขนาดนี้ กระนั้นก็ดี ไม่ควรประมาทเลย เพราะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกนั้นพุ่งไม่หยุดจริงๆ
คุณโอภาส ใจเครือคำ นักวิจัยของสำนักวิจัย ธนาคารไทยธนาคาร ประเมินว่าภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับสูงขึ้นของราคาน้ำมันมากที่สุด คือ ธุรกิจทางด้านการขนส่งและการประมง หากราคาน้ำมันดูไบขึ้นไปแตะระดับ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะทำให้น้ำมันดีเซลในประเทศขึ้นไปอีก 1.50-2.00 บาท/ลิตร โดยต้นทุนรวมของธุรกิจขนส่งทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.93-22.57 ต้นทุนการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9-10 ราคาที่เพิ่มขึ้นนี้เปรียบเทียบกับช่วงก่อนน้ำมันลอยตัว
มีความเคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ประการ ที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ความตึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกาไม่น่าจะจบลงง่ายนัก และเป็นสาเหตุใหญ่ของน้ำมันแพง
ประการแรก รัฐบาลอิหร่านตอบโต้สหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรงทางคำพูดและการกระทำ มีการปลุกระดมประชาชน และซ้อมรบในอ่าวเปอร์เซีย
ประการที่สอง ผู้นำสหรัฐอเมริกาออกมายืนยันว่า มีการเตรียมแผนสำรองส่งกำลังโจมตี แต่ยังไม่คิดโจมตีเป็นเพียงการเตรียมแค่รับมือล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าว (ไม่ยืนยันว่าเท็จจริงแค่ไหน) ว่า ซีไอเอสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่านให้ก่อการร้ายตามเมืองต่างๆ
มีทีท่าว่าความรุนแรงจะมากขึ้น แต่สงครามเต็มรูปจะยังไม่เกิด เป็นเรื่องของการฮึ่มๆเผชิญหน้ากันมากกว่า ลักษณะแบบนี้จะก่อเชื้ออย่างดีในการทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงต่อเนื่อง
ในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ มีอย่างน้อยสองชาติล่ะ ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อหามีโรงงานปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และเราพอจะคาดการณ์ได้ว่า หากเกิดสงครามระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันจะแพงขึ้นอีกมาก
นอกจากนี้ วันนี้ยังมีเรื่องความวุ่นวายเกี่ยวเนื่องกับกิจการน้ำมันต่างชาติในแดนละตินอเมริกากันอีก ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นอีก ขณะนี้ ราคาน้ำมันแพงย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และดุลการค้า
สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการแข็งค่าเงินบาทในรอบนี้ คือ การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน เงินบาทแข็ง จึงช่วยบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงได้ระดับหนึ่ง ทิศทางขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกาน่าจะใกล้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในไทยมีโอกาสที่จะปรับขึ้นไปอีกไม่มาก การปรับแข็งค่าของเงินอันเป็นผลมาจากเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น และการอ่อนตัวของดอลลาร์
สิ่งที่น่าติดตามเวลานี้ คือ แรงกดดันที่เกิดขึ้นกับค่าเงินหยวนของจีน แรงกดดันจากตลาดการเงินระหว่างประเทศ ให้จีนปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวน ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
เสียงเรียกร้องดังกล่าวย่อมอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าเกินจริงอาจส่งผลทำให้เกิดการเสียสมดุลของเศรษฐกิจจีน เศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก
ปัจจัยเงินหยวนจะมีผลทำให้ค่าเงินภูมิภาคและเงินบาทแข็ง แต่ผมมองว่าในระยะต่อมาเงินบาทน่าจะอ่อนจากแรงกดดันของราคาน้ำมัน และทางการเองก็ไม่อยากเห็นบาทแข็งมากจนเกินไป จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการส่งออก และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ตัวเลขการส่งออกโดยภาพรวมก็ยังไปได้ด้วยดี อันเป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและประเทศเอเชียอื่นๆ กระแสเงินทุนระยะสั้นยังคงไหลเข้าเอเชียอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นภูมิภาคที่น่าจะมีความสดใสกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ
อย่างไรก็ตาม ไม่จำต้องแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเกินความจำเป็น การปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดน่าจะดีที่สุดในเวลานี้ เมื่อมีความผันผวนจึงค่อยเข้ามาจัดการตามสมควร
เรื่องของนโยบายสาธารณะที่จะมาจัดการปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ลดผลกระทบน้ำมันแพง หรือสถานการณ์บาทแข็งก็ดี ต้องอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและข้อมูล ไม่ควรทำตามกระแสหรือมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะในที่สุดแล้ว จะสร้างปัญหาในระยะยาวได้
กรณีผลกระทบน้ำมันแพง สิ่งที่จะดูกันอย่างเต็มที่ คือ ผลกระทบที่มีต่อค่าครองชีพของประชาชน การใช้มาตรการคุมราคาหรือแทรกแซงราคาควรใช้เท่าที่จำเป็น เพราะจะส่งผลต่อปัญหาการขาดแคลนขึ้นได้ และอาจก่อให้เกิดการบิดเบือนตลาด บิดเบือนการใช้ทรัพยากร
การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งมวลชน และระบบรางอย่างครบวงจรต้องเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ มันเป็นทางเดียวที่ดีที่สุดในการลดการบริโภคพลังงานในภาคขนส่ง และลดการใช้น้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของระบบเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นด้วย
แต่วันนี้ ก็คงทำอะไรมากไม่ได้ เพราะเรายังมีรัฐบาลรักษาการ รัฐบาลที่ยังไม่สามารถตัดสินเรื่องสำคัญๆ ทางนโยบายได้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 14
พลวัตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจละตินอเมริกา กับ การเติบโตของสังคมนิยมชาตินิยม (2)
18 พฤษภาคม 2549 16:54 น.
อนุสรณ์ ธรรมใจ [email protected]
หากย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์อันยาวนานของละตินอเมริกา เราจะไม่ประหลาดใจว่า ทำไมละตินอเมริกาจึงเกิดวิกฤตการณ์ซ้ำซาก หลายทศวรรษที่ผ่านมาวิกฤตการณ์ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
ตลอดประวัติศาสตร์หลายร้อยปีของละตินอเมริกา ภูมิภาคนี้ถูกปกครองโดยจักรวรรดินิยมตะวันตก และถูกกดขี่ขูดรีดทรัพยากรจากจักรวรรดินิยมตะวันตกไล่เรียงตั้งแต่เจ้าอาณานิคมดั้งเดิมอย่างสเปน โปรตุเกส จนมาถึงสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
โชคร้ายที่ทศวรรษหลังๆ ของที่นี่ ได้ผู้นำความรู้ความสามารถต่ำและเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ และเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันในทุกระดับ หาก โฮเซ่ เดอ ซาน มาร์ติน และซิมอน โบลิวาร์ สองรัฐบุรุษผู้ปลดปล่อยดินแดนอเมริกาใต้จากการปกครองของจักรวรรดิตะวันตก ยังคงมีชีวิตอยู่จนถึงเวลานี้คงจะผิดหวังและเศร้าใจกับความไม่สามารถในการหลุดพ้นจากวังวนของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างสุดขั้วจากความมั่งคั่งร่ำรวยที่กระจุกตัวจนถึงความยากจนแร้นแค้นของประชาชนโดยทั่วไป
ล่าสุดก็มีความเคลื่อนไหวของโบลิเวียยึดกิจการของเอกชนต่างชาติมาเป็นของรัฐ สร้างความปั่นป่วนสับสนพอสมควร แต่เป็นทางเลือกที่โบลิเวียอาจถูกบังคับให้เลือกเดินเหมือนเวเนซุเอลาและประเทศอื่นๆ เพื่อลดปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนหรือไม่
การถกเถียงแนวทางที่พวกเขาทำอยู่เหมาะสมหรือไม่ เป็นการดำเนินนโยบายที่ฉลาดหรือไม่ อาจต้องรอเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ชะตากรรมของประชาชนและประเทศเหล่านี้ คงต้องผูกกับนโยบายผู้นำหัวสังคมนิยมผสมชาตินิยม ซึ่ง เราก็หวังแต่เพียงว่า จะไม่เกิดสภาพ เหลือบฝูงเก่าในคราบทุนนิยมโลกาภิวัตน์จากไป เหลือบฝูงใหม่ในคราบของความรักชาติและสังคมนิยมจะมาเกาะกินผลประโยชน์ของชาติและทิ้งวิกฤตการณ์ไว้ดูต่างหน้าเหมือนเช่นเคยครับ
หากพิจารณาจะเห็นได้ว่า ฝ่ายซ้ายละตินอเมริกาไม่ได้ยึดแนวทางการต่อสู้ด้วยกำลังแต่มุ่งเอาชนะในระบบรัฐสภา นำเอาชาตินิยมมาสร้างความเป็นธรรมให้แก่คนยากจน สร้างแนวร่วมอันแข็งแกร่งกับทุนชาติและต่อต้านทุนข้ามชาติ
ความสำเร็จของแนวทางนี้ต้องรอการพิสูจน์
เมื่อหลายปีก่อน หลายประเทศในละตินอเมริกาเผชิญวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ บราซิลประสบความยุ่งยากอย่างรุนแรงกับการจัดการปัญหาหนี้สาธารณะและภาระหนี้ต่างประเทศ อาร์เจนตินากำลังลากเอาบราซิลและเพื่อนบ้านละตินอเมริกาอื่นๆ เข้ามาอยู่ในวังวนของวิกฤติเช่นเดียวกับวิกฤติต้มยำกุ้งของไทยเคยลากเอาประเทศต่างๆ ในเอเชีย เข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วยเมื่อ 9 ปีที่แล้ว
เมื่อหลายปีก่อน การอ่อนตัวของค่าเงินรีอัลอย่างหนัก พร้อมทั้งภาระหนี้สินต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อภาระหนี้สินสาธารณะพุ่งแตะระดับ 55% ต่อจีดีพี การไหลลงของค่าเงินรีอัลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมาย
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในบราซิลเวลานั้น ก็ยังดีกว่าที่อาร์เจนตินามาก เนื่องจากเศรษฐกิจอาร์เจนตินานอกจากจะขยายตัวติดลบหลายปีติดต่อกันแล้ว ยังมีปัญหาความไม่สงบทางการเมืองและสังคมจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจความอดอยากแร้นแค้นของประชาชน
เมื่อหลายปีก่อนช่วงที่เกิดวิกฤติ ที่ตลาดกลาง นอกกรุงบูเอโนไอเรส แห่งหนึ่ง ทุกวัน ชาวบ้านหลายพันคนมาอออยู่หน้าประตู เพื่อร้องขอผักผลไม้ที่มีการโยนทิ้ง คนเหล่านี้จำนวนหนึ่งนำผักผลไม้ไปที่ตลาดนัดแลกเปลี่ยน (Barter Market) เพื่อแลกนมและผ้าอ้อมให้ลูก
รายการเกมโชว์ มีรางวัลใหญ่เป็นตำแหน่งงาน ซึ่งเป็นของหายากและขาดแคลนในอาร์เจนตินา ตามร้านอาหารใหญ่ๆ เด็กๆ ที่อดอยากไม่มีจะกินต้องไปรอรับเศษอาหารจากคนรวย ละตินอเมริกาทรุดในเวลานั้นมีผลต่อสหรัฐไม่น้อย เนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแนบแน่นที่มีต่อกัน
ประเทศละตินอเมริกาสูญเสียโอกาสในการยกระดับการพัฒนาประเทศพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองให้สูงขึ้น เพราะการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ชนชั้นนำทางการเมืองช่วงชิงอำนาจกันโดยไม่สนใจไยดีต่อผลกระทบที่มีต่อประเทศ แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพิง และไม่สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมภายใน
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีให้เกิดสถานการณ์ยึดกิจการพลังงานของต่างชาติไล่เรียงตั้งแต่เวเนซุเอลา โบลิเวีย และกำลังจะตามมาติดๆ หากนักการเมืองฝ่ายซ้ายชนะเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็น โอยันต้า อูมาล่า แห่งเปรู หรืออาเรียล ออร์เตก้า แห่งนิการากัว
เวลานี้ อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยหล่นลงมามากถึง 5 อันดับจากอันดับที่ 27 มาเป็น 32 ปัจจัยที่กดดันต่อความสามารถในการแข่งขันให้อ่อนแอลง คือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัญหาการจ่ายเงินใต้โต๊ะและการทุจริตคอร์รัปชัน
ส่วนประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศนั้น ไอเอ็มดีซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของโลก คงไม่มีใครอยากไปจัดอันดับ
หากเปรียบเทียบแบบนี้แล้วก็คงจะสบายใจได้ว่า เราดีกว่าหลายประเทศในละตินอเมริกาแน่นอน แม้เราจะเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยและประเทศไทย แต่ก็อย่าได้ประมาท
เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอนครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 15
เศรษฐกิจละตินอเมริกากับการเติบโตของสังคมนิยมชาตินิยม (1)
พลวัตเศรษฐกิจ : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
"การปล้นสะดมของบริษัทต่างชาติยุติลงแล้ว การยึดภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเข้าเป็นสมบัติของรัฐ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพราะพรุ่งนี้จะมีการยึดเหมือง ทรัพยากรป่าไม้ และที่ดิน"
นั่นคือ คำประกาศก้องของประธานาธิบดี อีโว โมราเลส แห่งโบลิเวีย และมันมาพร้อมกับความเคลื่อนไหว ยึดกิจการของบริษัทต่างชาติ โดยให้เวลาบริษัทต่างชาติ 6 เดือนในการทำข้อตกลงใหม่กับรัฐบาล
บริษัทที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่เท่านั้นจึงจะทำธุรกิจต่อได้ และบริษัทต่างชาติต้องนำกำไรกว่า 80% มอบให้รัฐวิสาหกิจน้ำมันของโบลิเวีย
บริษัทเปโตรบราสของบราซิล เอ็กซอนโมบิลของสหรัฐ บริติช แก๊ส ของอังกฤษ เรปโซของสเปน โทเทลของฝรั่งเศส จะทำธุรกิจได้ยากลำบากขึ้น และสามารถทำกำไรได้ตามปกติเท่านั้น คงกอบโกยเอาประโยชน์จากความมั่งคั่ง จากละตินอเมริกาได้น้อยลง เพราะเงื่อนไขของสัมปทานเข้มงวด
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้กระแสการลงทุนของต่างชาติอาจชะลอตัวลง พร้อมกับความลังเล ในการขยายการลงทุนในละตินอเมริกา ย่อมก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุนมายังประเทศเอเชียมากขึ้น เพราะมีการเปิดประเทศมากกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นในโบลิเวียส่งผลกระทบต่อระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกพอสมควร แน่นอนที่สุดว่า การตัดสินใจของประธานาธิบดี ย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างไรที่มาที่ไป หรือเกิดขึ้นเพียงลำพัง
การดำเนินการดังกล่าว เป็นผลมาจากการชนะการเลือกตั้ง และได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา สะท้อนว่า กระแสสังคมตอบรับแนวทางชาตินิยมและสังคมนิยม
สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่โบลิเวียเท่านั้น หากเกิดขึ้นในหลายประเทศในละตินอเมริกาในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เวเนซุเอลาภายใต้การนำของประธานาธิบดี ฮูโก ซาเวช บราซิลภายใต้การนำของประธานาธิบดีหลุยส์ โอนาซาโอ ลูลาดาซิลวา
และ มีแนวโน้มสูงที่กระแสสังคมนิยมบวกชาตินิยมนี้จะลามไปทั่วละตินอเมริกา ล่าสุด คิวบา เวเนซุเอลา โบลิเวีย ได้เกาะกลุ่มกันจัดตั้ง "กลุ่มการค้าประชาชน" เพื่อคานอำนาจกับข้อตกลงการค้าเสรีทวีปอเมริกา นำโดยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
หากเราศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองของละตินอเมริกาโดยละเอียด เราจะเข้าใจทันทีถึงปรากฏการณ์ในปัจจุบัน
ยังมีการถกเถียงกันไม่จบสิ้นในแวดวงวิชาการ ว่า ตกลงที่ประเทศในละตินอเมริกาเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจซ้ำซากไม่จบสิ้น เกิดจากการไม่ปฏิรูปตัวเองหรือทำตามฉันทามติวอชิงตัน (เป็นข้อตกลงและแนวคิดที่สนับสนุนการเปิดเสรี การผ่อนคลายกฎระเบียบ โลกาภิวัตน์และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) แบบไม่ลืมหูลืมตากันแน่
คนที่เปิดประเด็นเรื่องนี้ได้อย่างแหลมคม ก็คือ อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก ศาสตราจารย์ ดร. โจเซฟ อี สติกลิทซ์ ซึ่งปัจจุบันย้ายสถานภาพไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้วิพากษ์วิจารณ์ได้สะดวกปากมากกว่าเดิม เขาได้วิพากษ์ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
ศาสตราจารย์สติกลิทซ์ ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับ ข้อตกลงวอชิงตัน (Washington Consensus) ที่นำมาใช้แก้ปัญหา และนำมาเป็นนโยบายพัฒนาในประเทศเอเชียและละตินอเมริกา แนวคิดดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการนำมาแก้ปัญหา และใช้ในนโยบายพัฒนา และมีความสับสนในการนำวิธีการ มาเป็นเป้าหมายในการพัฒนา
สิ่งที่ไอเอ็มเอฟทำดูเหมือนว่าได้นำเอาการเปิดเสรี การผ่อนคลายกฎระเบียบ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มาเป็นเป้าหมายมากกว่าวิธีการในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจในละตินอเมริกา และเอเชีย มาตรการของไอเอ็มเอฟ ให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพราคา มากกว่าการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
แต่กลับให้ความสนใจต่อการสร้างสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง หรือพัฒนาโครงสร้างทางสถาบันที่ช่วยทำให้กลไกตลาด ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพน้อยเกินไปในช่วงก่อนวิกฤติ ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาก็มองเป็นเพียงปัญหาทางเทคนิค เชื่อว่ากฎของเศรษฐศาสตร์เป็นสากลวางแผนโดยสมการทางคณิตศาสตร์ ทำให้ขาดมิติอื่นๆ โดยเฉพาะความลึกในความเป็นจริงทางสังคมแต่ละพื้นที่
ช่วงวิกฤตการณ์ละตินอเมริกาหลายปีก่อน ไอเอ็มเอฟได้ปล่อยกู้หลายหมื่นล้านดอลลาร์ให้ละตินอเมริกา พร้อมเงื่อนไขมาตรการมากมาย จนคนจำนวนไม่น้อยอดสงสัยไม่ได้ว่ามาตรการช่วยเหลือ มีวาระซ่อนเร้น ที่ต้องการทำให้เกิดความมั่นใจว่า จะได้รับชำระหนี้คืนให้มากที่สุด จนลืมไปว่า มาตรการเข้มงวด แม้จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อตลาด และนักลงทุน แต่ก็สร้างผลกระทบทางสังคม ทำให้เกิดการว่างงาน การปิดกิจการและการสูญเสียกิจการให้ต่างชาติ
อันที่จริงแล้ว บรรดาลูกหนี้ละตินอเมริกามีสิทธิอันชอบธรรม ที่จะลากเอาบรรดาเจ้าหนี้สถาบันการเงินต่างชาติทั้งหลาย มาร่วมรับผิดชอบการปล่อยกู้ที่สุ่มเสี่ยงเกินไป และขาดให้คำแนะนำที่ดีต่อลูกหนี้
ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ปัญหาวิกฤติละตินอเมริกานั้นเกิดจากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของประเทศเหล่านี้ และความไม่เอาจริงเอาจังกับการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ทำไมละตินจึงไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ของความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความวุ่นวายทางการเมืองไปได้ การแสวงหาความรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ แต่การถกเถียงดังกล่าวคงไม่สำคัญเท่ากับการทำให้คนในชาติมีจิตสำนึก เพื่อส่วนรวมแทนที่พฤติกรรมเอาตัวรอด ไม่สำคัญเท่ากับการสร้างวัฒนธรรมแห่งการพึ่งพิงตัวเอง และการทำงานหนักแทนที่การพึ่งพิง และร้องขอความช่วยเหลือ
ไม่สำคัญเท่าการแสวงหาการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยสันติวิธีแทนที่การประท้วงปล้นสะดม เพื่อประทังชีวิตอันแร้นแค้น ที่สำคัญ ต้องมีวินัย แทนที่ความหละหลวม ปล่อยปละละเลย โปร่งใส ทดแทน การคอร์รัปชันฉ้อฉล
ผู้นำต้องมองผลระยะยาวที่มีต่อประเทศ มากกว่าผลทางการเมืองในระยะสั้น ละตินอเมริกาสวิงจากสุดขั้วหนึ่ง ไปยังอีกสุดขั้วหนึ่ง ก็ไม่อาจทำให้ปัญหาหมดลงได้ และ ผมไม่แน่ใจว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ วิกฤติซ้ำซากอย่างที่เกิดในละตินอเมริกา มีรากฐานมาจากความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากความพิการ ของระบบทุนนิยม ความไม่เป็นประชาธิปไตย และการทุจริตคอร์รัปชันที่แพร่หลายในทุกวงการครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 16
พลวัตเศรษฐกิจ:อยู่อย่างขบถบนเส้นทางปฏิรูป
25 พฤษภาคม 2549 18:02 น.
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ www.ThailandReform.org
การมีสำนึกทางศีลธรรมจริยธรรมที่มั่นคง มีความหวั่นไหวต่อโลกภายนอกน้อย บุคคลเช่นนี้ย่อมมีกลไกทางจิตในการทำให้เกิดความสุขทางใจ แม้จะดำรงอยู่อย่างแปลกแยกจากสังคมก็ตาม หรือ แม้กระทั่งจะมีชีวิตอัตคัดขัดสนในทางโลก อย่างไรก็ตาม เขาจึงอยู่อย่างขบถเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อคนส่วนใหญ่ได้
การขบถนี้ ต้องทำเป็นขบวนการ เพราะหากไม่ทำเป็นขบวนการ ความมุ่งมั่นในการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ดีงามจะจบลงพร้อมผู้นำ แม้เขาคนนั้นจะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่ส่งผลสะเทือนต่อรากฐานของระบบอันฉ้อฉลของสังคมอย่างลึกซึ้งก็ตาม
นักปฏิรูปที่แท้จริงย่อมไม่แสวงหาวิธีการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยยุทธวิธีของนักฉวยโอกาส ระยะเวลาและกลไกทางสังคมที่รู้เท่าทันจะเป็นตัวคัดกรอง ระหว่าง "ของจริง" กับ "ของเทียม" (นักฉวยโอกาส)
ความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่องย่อมสร้างสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างขบวนการปฏิรูปสังคมกับมวลชนอันไพศาล
การเป็นขบถของเจ้าชายสิทธัตถะต่อสังคมแบ่งชั้นวรรณะของอินเดีย ตลอดจนถึงการเป็นขบถต่อจักรวรรดินิยมอังกฤษของมหาตมะ คานธี การขบถเพื่อการปฏิรูปสังคมจะอ่อนล้าลงหากไม่มีการสืบทอดอุดมการณ์ ผู้ที่สืบทอดหลักธรรมะของพระพุทธเจ้าก็ดี ผู้สืบทอดอุดมการณ์ทางการเมืองของคานธีก็ดี บรรดาสาวกเหล่านี้บางท่านก็ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวคิดของผู้ที่เป็นต้นแบบอย่างจริงจัง
บรรดาผู้ที่อ้างพระพุทธเจ้า อ้างท่านคานธี มักจะอ้างเพื่อให้ตัวเองดูดี แต่หาได้มีวิถีปฏิบัติที่น่าเคารพศรัทธาไม่ ท่านคานธีได้กล่าวไว้ในวาระสุดท้ายของชีวิต ว่า "คองเกรสจะได้อิสรภาพทางการเมืองสำหรับอินเดีย แต่ก็ยังไม่มีอิสรภาพทางเศรษฐกิจ และยังไร้อิสรภาพทางสังคมและทางศีลธรรม อิสรภาพประเภทหลังๆ นี้ เป็นสิ่งที่ได้มายากกว่า เพียงเพราะว่ามันเป็นงานสร้างสรรค์ที่ตื่นเต้นน้อยกว่า และไม่หวือหวานั่นเอง"
โครงการปฏิรูปประเทศไทยที่ผมและคณะดำเนินการอยู่ จึงตระหนักดีว่าการปฏิรูปต้องกระทำอย่างรอบด้านต่อเนื่อง เราไม่อาจมีประชาธิปไตยทางการเมืองที่แท้จริงได้ หากเราไม่มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ
ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน ยังคงขยายห่างออกไปมากขึ้นกว่าเดิม โลกใบนี้มีเด็กอดอาหารและกำลังจะตายหลายสิบล้านคนในแอฟริกาและเอเชียใต้ ยังมีคนไร้บ้านอยู่จำนวนมากในหลายภูมิภาคของโลก
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก ก็คือ ความไม่เสมอภาค ไร้สมดุลในระบบเศรษฐกิจ และปัญหาความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กระแสบริโภคนิยมอันรุนแรงก็กระตุ้นให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง
วิถีชีวิตแบบบริโภคนิยมและการผลิตแบบ Mass Production ในช่วงเวลาเป็นร้อยๆ ปีของระบบทุนนิยมโลกได้ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมขนานใหญ่ จนสภาวะธรรมชาติเสียสมดุล
ช่วง 20-50 ปีที่แล้ว มีคนจำนวนหนึ่งเชื่อว่าสังคมนิยม คือ ทางออก เนื่องจากพลังของชนชั้นกรรมาชีพยังเข้มแข็งมาก พวกเขาลุกขึ้นมาสร้างแรงเสียดทานต่อระบบทุนนิยมสุดโต่งที่ครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ เกิดการเผชิญหน้าของทั้งสองพลัง จนเกิดดุลยภาพทางสังคมและดุลอำนาจใหม่ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตยแบบรัฐสวัสดิการ รวมทั้งทุนนิยมที่ต้องมีจริยธรรมกำกับมากขึ้น
แต่ภาวะดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากกระบวนการผลิตสมัยใหม่มีพัฒนาการเรื่อยๆ โดยมีการใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานคน นำไปสู่การลดจำนวนคน มีการใช้หุ่นยนต์ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ฐานอำนาจของผู้ใช้แรงงานอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถออกมาท้าทายทุนนิยมยุคใหม่ได้
ศาสตราจารย์เดวิด ซี คอร์เตน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนหนังสือ The Post-Corporate World : Life after Capitalism ได้ศึกษาเรื่องโลกทุนนิยมยุคใหม่และพบว่า ทุนนิยมยุคใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากโลกาภิวัตน์นั้น เป็นทุนนิยมที่ไม่ได้เพียงแต่จะทำการผลิตตามปกติเท่านั้น แต่กลับมีธุรกรรมเก็งกำไรไร้พรมแดนจำนวนมากในตลาดเงินตลาดทุน เกิดการเล่นเงินและปั่นหุ้น ปั่นราคาทองคำ ปั่นราคาน้ำมัน เป็นขบวนการในการปั่นราคาสร้างราคาในตลาดการเงินที่ไม่เชื่อมโยงกับมูลค่าเศรษฐกิจที่แท้จริง
สิ่งเหล่านี้ สร้างความร่ำรวยมหาศาลให้กับคนจำนวนหนึ่ง เกิดชนชั้นที่เรียกว่า Super Super Rich ขึ้นมา คนเหล่านี้ก็เอาเงินมาลงทุนในตลาดปริวรรตเงินตรา ตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุนหรือตลาดหุ้นทั่วโลกผ่านกองทุนและเฮดจ์ฟันด์ต่างๆ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนระยะสั้นมากมายจึงเกิดขึ้น ยิ่งภาวะไร้พรมแดนเกิดมากขึ้นเท่าไร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากเท่าไร เราก็จะเห็นปรากฏการณ์เหล่านี้มากขึ้น ความผันผวนของค่าเงินและตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นประจักษ์พยานอย่างดี
การจัดระเบียบการเงินโลกใหม่เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ในภาวะไร้ระเบียบเช่นนี้
ศาสตราจารย์คอร์เตนพยายามเอากระบวนทัศน์ใหม่มาอธิบาย และมาจินตนาการภาพสังคมหลังยุคทุนนิยมว่าจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เราจะเห็นแน่ๆ น่าจะเป็นสภาพโกลาหลของการเมืองและเศรษฐกิจโลก หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สอง ซึ่งพอจะหลับตานึกภาพเห็นความวุ่นวายของการก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลก
หากเราต้องการเห็นโลกเปลี่ยนแปลง เห็นประเทศเปลี่ยนแปลง รวมทั้งอยากเห็นระบบทุนนิยมเปลี่ยนแปลง เราต้องยอมอยู่อย่างขบถ ไม่จำเป็นต้องทำตามกระแส สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดกระแสการปฏิรูป
ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงธันวาคมศกนี้ สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะและเครือข่ายจะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการปฏิรูปประเทศไทย และเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ
ผมก็หวังว่า โครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการจุดกระแสสังคมให้ตื่นตัวกับการลุกขึ้นมาเป็นขบถกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของทุกคนครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
บทบาท สมาคมธุรกิจ กับการเคลื่อนไหว 4 กุมภาพันธ์
โพสต์ที่ 17
พลวัตเศรษฐกิจ :นโยบายเศรษฐกิจสหรัฐ ภายใต้ขุนคลังคนใหม่
8 มิถุนายน 2549 17:53 น.
อนุสรณ์ ธรรมใจ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ในที่สุด ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ได้ตัดสินใจเลือกคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีคลังคนใหม่ที่มาจากภาคการเงินแทนรัฐมนตรีคนเก่าอย่างจอห์น สโนว์ ที่มาจากภาคอุตสาหกรรม
หากมองจากภูมิหลังการทำงานในวอลล์สตรีทอย่างยาวนาน จนขึ้นแท่นเป็น ซีอีโอของโกลด์แมน แซคส์ ก่อนเข้าสู่วงการเมืองก็นับว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ที่ต้องรับมือกับภาวะความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์ การปรับลงอย่างแรงของตลาดหุ้นและความผันผวนรุนแรงของตลาดตราสารอนุพันธ์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ของเศรษฐกิจจีนต่อระบบเศรษฐกิจโลก พร้อมกันนี้ จีนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากกว่าคนอเมริกันเสียอีก
ต้องหาใครสักคนที่มีอิทธิพลต่อนักลงทุนสถาบันสัญชาติจีน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนและเข้าใจเศรษฐกิจจีนและการไหลเวียนของกระแสเงินลงทุนอย่างลึกซึ้ง ครับ
เฮนรี พอลสัน จูเนียร์ เดินทางเข้าออกเมืองจีน 70 ครั้ง เพื่อเจรจาดีลทางธุรกิจการลงทุน เฮนรี พอลสัน จูเนียร์ น่าจะรับมือกับความปั่นป่วนของตลาดเงินตลาดทุนของโลกได้ดีพอควร หากดูจากประสบการณ์ในการทำงานที่เข้าไปแก้สภาพวิกฤติหลายครั้งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในช่วงที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชน
โกลด์แมน แซคส์ รวมทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเงินอื่นๆ มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการส่งคนของตัวเองเข้ามาอยู่ในแวดวงบริหารเศรษฐกิจของประเทศ
อดีตรัฐมนตรีคลังโรเบิร์ต รูบิน ปัจจุบันเป็นประธานบริหารของซิตี้กรุ๊ปก็เคยเป็นผู้บริหารโกลด์แมน แซคส์ ก่อนเข้ามากุมชะตาเศรษฐกิจของสหรัฐและโลกในสมัยรัฐบาลคลินตัน
อย่าได้แปลกใจว่า นโยบายเศรษฐกิจสำคัญที่มีผลต่อโลกล้วนได้รับอิทธิพลจากผู้บริหารจากสถาบันการเงินในวอลล์สตรีทเหล่านี้
เฮนรี พอลสัน น่าจะทำงานเข้าขาได้ดีกับผู้นำรัฐบาล เขาเป็นคริสเตียนที่เคร่งครัดเหมือนประธานาธิบดีบุช ขณะที่ไม่ดื่มสุรายาเมา ไม่ค่อยสนใจเข้าคลับชั้นสูงของบรรดานักธุรกิจใหญ่ๆ แต่มักใช้เวลาว่างท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ เป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีความเป็นตัวของตัวเองสูงแตกต่างจากรัฐมนตรีคลังคนเก่าที่เป็นเพียงเซลส์แมนขายนโยบายเศรษฐกิจตามที่มีคนคิดให้
เราพอจะคาดการณ์ได้ว่า น่าจะเห็นนโยบายเศรษฐกิจใหม่ๆ ออกมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐเผชิญอยู่ หากอ่านจากความคิด บทสัมภาษณ์ ประวัติการทำงาน น่าพอเห็นเค้าลางแนวทางเศรษฐกิจหลายประการที่น่าจะส่งผลกระทบทั้งบวกและลบต่อเรา
แน่นอนที่สุด เราน่าจะได้เห็นนโยบายดอลลาร์แข็งที่มากกว่าเดิม เราน่าจะได้เห็นการสนับสนุนให้ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐยังไม่น่าจะจบ จะเป็นผลทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐถ่างขึ้น หากเราไม่ขึ้นดอกเบี้ยตาม สิ่งนี้จะมีผลการเคลื่อนย้ายทุนระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยตามก็อาจไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมนักในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอลงค่อนข้างมากในเวลานี้ สิ่งที่เราจะได้เห็นจากนโยบายของเฮนรี พอลสัน จูเนียร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐคนใหม่อีกเรื่องหนึ่ง คือ การเร่งรัดให้มีการเปิดเสรีโดยเฉพาะการเปิดเสรีภาคการเงิน เพราะเชื่อได้ว่าเขาจะเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ภาคการเงินของสหรัฐอย่างไม่ต้องสงสัย ครับ
ศาสตราจารย์ Obstfeld และ Taylor ทำการศึกษาสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ถือครองโดยชาวต่างชาติเทียบกับ GDP ของชาติต่างๆ ปรากฏว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอย่างก้าวกระโดด
การกล่าวอ้างนี้แสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นในอัตราเร่งที่สูงมาก โดยเฉพาะในภาคการเงิน ในความเห็นของผมแล้วสภาพที่เศรษฐกิจของแต่ละประเทศต้องพึ่งพิงซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้
กลุ่มนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิของกลุ่มประเทศ Emerging Markets ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิฟอร์ดเพื่อรวบรวมความคิดเห็นที่สำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงินโลกขึ้นมา มีข้อเสนอที่น่าสนใจหลายประเด็นทีเดียว กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า The Emerging Markets Eminent Persons Groups (EMEPG)
เริ่มต้นจาก การบริหารการเปิดเสรีของดุลการชำระเงิน ประเด็นนี้ กลุ่ม EMEPG ได้แนะนำให้ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่เลือกระยะเวลาและขอบเขตของการเปิดเสรีการเงินอย่างระมัดระวัง เรื่องที่สำคัญครับ ในความเห็นของผม มีหลายประเทศครับ ที่หลงประเด็นเห็นการเปิดเสรีดุลการชำระเงินเป็นเป้าหมายแทนที่จะเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน
EMEPG ยังเสนอต่อไปว่า ประเทศที่มีการค้าขายกับต่างประเทศในระดับสูง และต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดเงินของโลก ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่อยู่กลางๆ ระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่กับระบบลอยตัวค่าเงินน่าจะเหมาะสมที่สุด และคงต้องมีกฎระเบียบคอยดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นและธุรกรรมเก็งกำไรด้วย นอกจากนี้ ก็ควรมีกฎระเบียบกำกับการซื้อขายอนุพันธ์ต่างๆ ให้ดี แม้สิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเสถียรภาพขึ้นมาได้
รัฐมนตรีคลังคนใหม่เคยให้สัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ 2 ปีก่อนเข้ามารับตำแหน่งว่า ห่วงใยการขาดดุลคู่ขนาน (Twin Deficits) คือ ขาดดุลการค้าและขาดดุลงบประมาณ
ฉะนั้นพอจะมองออกว่าเขาน่าจะเอาจริงเอาจังกับการจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งน่าจะเป็นผลดีให้เศรษฐกิจโลกมีความสมดุลมากขึ้น มีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ที่มาที่ไปของรัฐมนตรีคลังคนใหม่ ตอกย้ำชัดเจนครับว่า บรรษัทข้ามชาติกำลังยึดครองโลกทุนนิยมอย่างเบ็ดเสร็จ ตอกย้ำกระแสอันเชี่ยวกรากของความเป็นทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ครับ