ดร. นิเวศน์ ครับ IRC ปันผล 3.20 บาท แตกพาร์ 1 บาท

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

ดร. นิเวศน์ ครับ IRC ปันผล 3.20 บาท แตกพาร์ 1 บาท

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ขอแสดงความยินดี ด้วยครับ สำหรับ ท่าน ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ท่าน ดร. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และผู้ถือหุ้น IRC ทั้งหลาย



IRC :มติกรรมการเสนอแตกพาร์ ,จ่ายเงินปันผล , กำหนดประชุมผู้ถือหุ้น


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2546

เรื่อง แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 6/2546

เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2546 เมื่อ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 ได้มีมติดังนี้
1. คณะกรรมการมีมติเสนอจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 3.20 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1
ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 ให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของ
บริษัทณ.วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 12.00 น. โดยกำหนดจ่ายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547
การจ่ายเงินปันผลในในอัตราหุ้นละ 3.20 บาท คำนวณจากการจ่ายที่มูลค่าหุ้น (Par Value) หุ้นละ 10
บาท (ซึ่งหากคำนวณจากจำนวนหุ้นของบริษัทภายหลังการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นเป็นหุ้นละ 1 บาท จะเป็น
อัตรา 1 หุ้นสามัญเดิมต่อ 10 หุ้นสามัญใหม่ หรือคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.32 บาท)

2. เสนอให้บริษัทเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท โดยทุนจดทะเบียนคงเดิม
คือ 200,000,000.- บาท (สองร้อยล้านบาท) แต่หุ้นสามัญเพิ่มขึ้นเป็น 200,000,000.- หุ้น

3. แก้ไขข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น เป็นข้อความ
ดังนี้
ข้อ 4 ทุนจดทะเบียนจำนวน 200,000,000.- บาท (สองร้อยล้านบาท)
แบ่งออกเป็น 200,000,000.- บาท (สองร้อยล้านหุ้น)
มูลค่าหุ้นละ 1.- บาท (หนึ่งบาท)
โดยแยกออกเป็น
หุ้นสามัญ 200,000,000.- หุ้น (สองร้อยล้านหุ้น)
หุ้นบุริมสิทธิ - หุ้น (ไม่มี)

4. อนุมัติเสนอแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบที่หมดวาระเข้าดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง โดยมีรายชื่อกรรมการ
ตรวจสอบดังนี้
1. นายปรีดา กาลวันตวานิช ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
2. นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช ตำแหน่ง กรรมการตรวจสอบ
3. นางสาวชวนา วิวัฒน์พนชาติ ตำแหน่ง กรรมการตรวจสอบ






5. อนุมัติเปลี่ยนผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยเปลี่ยนผู้สอบบัญชีสำหรับปี 2547 รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป
ผู้สอบบัญชีเดิม บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด
ผู้สอบบัญชีใหม่ บริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด โดยมีรายละเอียดผู้สอบบัญชี
ดังนี้
1. นายรุทร เชาวนะกวี ผู้สอบบัญชีอนุญาติเลขที่ 3247 หรือ
2. นางสาวสายฝน อินทร์แก้ว ผู้สอบบัญชีอนุญาติเลขที่ 4434 หรือ
3. นางยุพา วิจิตรไกรสร ผู้สอบบัญชีอนุญาติเลขที่ 3248 หรือ
4. นางสาวสรินดา ธุมชัย ผู้สอบบัญชีอนุญาติเลขที่ 3247
กำหนดค่าตอบแทนปี 2547 เท่ากับ 650,000.- บาท

6. อนุมัติเสนอแต่งตั้งกรรมการที่หมดวาระเข้าดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง
กรรมการที่ครบกำหนดวาระ
1. นายทนง ลี้อิสสระนุกูล 4. นายนฤทัย บู่ทอง
2. นายมาซาอากิ ซึย่า 5. นายปรีดา กาลวันตวานิช
3. นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช 6. นางสาวชวนา วิวัฒน์พนชาติ
กรรมการที่ครบกำหนดวาระ และแต่งตั้งเข้าอีกวาระ
1. นายทนง ลี้อิสสระนุกูล 4. นายนฤทัย บู่ทอง
2. นายมาซาอากิ ซึย่า 5. นายปรีดา กาลวันตวานิช
3. นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช 6. นางสาวชวนา วิวัฒน์พนชาติ

7. กำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 1/2547 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2547 เวลา 14.00
นาฬิกา ณ.ห้องวีนัส โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เลขที่ 99 ถ.วิภาวดี-รังสิต แขวง หลักสี่ เขต ดอน
เมือง กรุงเทพ 10210 โดยมีระเบียบวาระการประชุมดังนี้
วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2546 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546
วาระที่ 2 พิจารณารับรองรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯในรอบปีที่ผ่านมา
วาระที่ 3 พิจารณาอนุมัติงบดุล งบกำไรขาดทุนและรายงานผู้สอบบัญชีประจำปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546
วาระที่ 4 พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล
วาระที่ 5 พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของหุ้นสามัญของบริษัทฯ และแก้ไขหนังสือ
บริคณห์
สนธิและข้อบังคับให้สอดคล้องกับการอนุมัติดังกล่าว
วาระที่ 6 พิจารณาเลือกตั้งกรรมการ แทนกรรมการที่ออกตามวาระ
วาระที่ 7 พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่กรรมการ
วาระที่ 8 พิจารณาเปลี่ยน และแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี 2547 พร้อมกำหนดค่าตอบแทน
วาระที่ 9 พิจารณาเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)


8. กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 8 มกราคม
2547 เวลา 12.00 น. จนกว่าการประชุมจะแล้วเสร็จ

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ


.
(นางพิมพ์ใจ เหล่าจินดา) (นายเทสึชิ ซาโต้)
รองประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร
และกรรมการผู้จัดการ




NAME งวดบัญชี ผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น %
IRC 7/2/2546 บริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด 6860000 34.30
IRC 7/2/2546 บริษัท โสภา กนก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 5066600 25.33
IRC 7/2/2546 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 818850 4.09
IRC 7/2/2546 SALOMON BROTHERS INTERNATIONAL LIMITED-C 623500 3.12
IRC 7/2/2546 นาง เพาพิลาส เหมวชิรวรากร 500000 2.50
IRC 7/2/2546 นาง วราณี เสรีวิวัฒนา 400600 2.00
IRC 7/2/2546 นาย วิริยะ ตรังอดิศัยกุล 349300 1.75
IRC 7/2/2546 น.ส. วนิดา โคมทองสถิตย์ 338500 1.69
IRC 7/2/2546 นาย วิทยา ลี้อิสสระนุกูล 330000 1.65
IRC 7/2/2546 นาง พรดี ลี้อิสสระนุกูล 320000 1.60
IRC 7/2/2546 นาง พิมพ์ใจ เหล่าจินดา 280000 1.40
IRC 7/2/2546 นาย วรชัย โรจนวรกุล 247875 1.24
IRC 7/2/2546 นาง พรทิพย์ เศรษฐีวรรณ 220000 1.10
IRC 7/2/2546 นาย อภิชาต ลี้อิสสระนุกูล 220000 1.10
IRC 7/2/2546 นาย ทนง ลี้อิสสระนุกูล 220000 1.10
IRC 7/2/2546 นาย สุทัศน์ อาทิตย์เรืองสิริ 200000 1.00
IRC 7/2/2546 นางสาว วัชรี พรรณเชษฐ์ 150100 0.75
IRC 7/2/2546 นาย วิบูลย์ ศิริมณีธรรม 105000 0.53


NAME ราคา18/9/03 LAST28/11/03 +/-(%) (%)วันนี้ EPS P/E P/BV D/P%
IRC 153.00 188.00 22.88 1.62 10.22 18.40 4.96 1.70

หนี้สิน ผู้ถือหุ้น หนี้/EQ ทุน ROA(%) ROE(%) PM(%) PAR
1,005.11 758.56 1.33 200 10.17 23.64 8.27 10

เติบโต% EPS03 EPS02 EPS01 EPS00 EPS99 วันXD ปันผล วันจ่าย หมวด
17.20 10.22 8.72 2.00 5.14 1.21 4/2/2003 3.20 VEHICLE


2.1 ประวัติความเป็นมา

บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บุกเบิกตลาดยางนอก-ยางในรถจักรยายนต์เป็นรายแรกในประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2512 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนกับบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการการผลิตยางนอก-ยางในรถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยางอุตสาหกรรม และได้เซ็นต์สัญญาช่วยเหลือทางเทคนิคกับบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 บริษัทฯได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด จนกระทั่งในปี 2539 บริษัทฯได้พิจารณาเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท และในปีเดียวกันนี้ได้ร่วมทุนกับ The Asian Inoue Rubber Pte.Ltd. (Singapore) และ Sao Vang Rubber Co. (Vietnam) โดยจัดตั้งบริษัทใหม่ในประเทศเวียตนาม ชื่อ The Inoue Rubber Vietnam Co.,Ltd. หรือในนาม CONG TY TNHH CAO SU INOUE VIETNAM CO.,LTD. เพื่อผลิตยางนอก-ยางใน (รถจักรยายนต์,รถเข็น Barrow ,Hand Cart และรถจักรยาน) ทุนจดทะเบียน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัทฯได้ร่วมทุน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (10%)

ในปี 2544 เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ยางในบิวทิวชนิดไม่รั่ว (Tuff-Up Tube หรือ Non-puncture Tube) ซึ่งเป็นสายการผลิตในลิขสิทธิ์ของ IRC เป็นแห่งเดียวในโลก

และในปี 2544 ได้จัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ คือบริษัท คินโนะ โฮชิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โดยถือหุ้นในอัตรา 99.99% ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม

สำหรับทางด้านการบริหารนับตั้งแต่บริษัทฯได้จัดตั้งขึ้น จนกระทั่งจดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทจำกัดมหาชนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การบริหารงานยังคงอยู่ภายใต้ผู้บริหารชุดเดิม และนโยบายการบริหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ


2.2 ภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจการผลิต ผลิตภัณฑ์ยางนอก-ยางในรถจักรยานยนต์รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม โดยในปัจจุบันจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น , อาเชี่ยน , ยุโรป , แอฟริกา และอเมริกา
บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีบริษัทย่อย 3 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท ไออาร์ซี (เอเชีย) รีเสิร์ช จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาโดยให้บริการแก่ บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นหลักและขยายไปในบริษัทในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
2. บริษัท ไอ.อาร์.ซี.ระยอง จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2539 มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อรองรับแผนการเจริญเติบโตของลูกค้าและตลาดในประเทศ แต่เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวทางเศษฐกิจบริษัทจึงไม่พร้อมที่จะเปิดดำเนินการ
3. บริษัท คินโนะ โฮชิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์โลหะ ขึ้นรูปโลหะ

นอกจากนี้บริษัทฯยังได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่นเพื่อลงทุนในบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (เวียดนาม) จำกัด เพื่อรองรับตลาดในประเทศเวียดนาม มีสัดส่วนการถือหุ้น 10% เนื่องจากบริษัทฯมองเห็นศักยภาพของการเจริญเติบโตในตลาดรถจักรยานยนต์ซึ่งมีผลต่อตลาดยางรถจักรยานยนต์ในประเทศเวียดนาม

โดยพื้นฐานการประกอบธุรกิจบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ผลิตผลิตภัณฑ์ยางเป็นหลัก และได้แตกกลุ่มไปในอุตสาหกรรมอื่นๆอันได้แก่ กลุ่มพลาสติก กลุ่มยูรีเทน กลุ่มเครื่องสำอาง กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มอีเลคทรอนิค และกลุ่มผลิตภัณฑ์กีฬา ซึ่งบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เน้นในอุตสาหกรรมยางนอก-ยางในรถจักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยางในอุตสาหกรรมต่างๆ (Elastomer parts for Industrial) ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ,อุตสาหกรรมอีเลคทรอนิคส์ ,อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอื่นๆ โดยมีบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ประสานงานทั้งทางด้านการตลาดต่างประเทศ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี


แผนภูมิการถือหุ้นบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ



34.30% 25.33% 40.37%


บริษัทย่อย


2.3 โครงสร้างรายได้


งวดสิ้นสุด
30 ก.ย. 2543 งวดสิ้นสุด
30 ก.ย. 2544 งวดสิ้นสุด
30 ก.ย. 2545
ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
มูลค่าการจำหน่ายในประเทศ
จำแนกตามผลิตภัณฑ์
1. ยางนอกรถจักรยานยนต์ 459.86 29.05 434.03 24.89 412.49 20.04
2. ยางในรถจักรยานยนต์ 142.47 9.00 149.21 8.56 163.20 7.93
3. ผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม 808.94 51.12 884.20 50.71 1,116.90 54.27

รวมมูลค่าการจำหน่ายในประเทศ
1,421.27 89.79 1,467.44 84.17 1,692.59 82.24
มูลค่าการจำหน่ายต่างประเทศ
จำแนกตามผลิตภัณฑ์
1. ยางนอกรถจักรยานยนต์ 121.32 7.66 193.42 11.10 220.29 10.71
2. ยางในรถจักรยานยนต์ 39.51 2.49 69.75 4.00 132.25 6.43
3. ผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม 0.69 0.04 12.88 0.74 12.78 0.62
รวมมูลค่าการจำหน่ายต่างประเทศ
161.52 10.20 276.05 15.83 365.32 17.76
มูลค่าการจำหน่ายในประเทศ
และ ต่างประเทศจำแนกตามผลิตภัณฑ์


1. ยางนอกรถจักรยานยนต์ 581.18 36.71 627.45 35.99 632.78 30.75
2. ยางในรถจักรยานยนต์ 181.98 11.50 218.96 12.56 295.45 14.36
3. ผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม 819.63 51.78 897.08 51.45 1,129.68 54.89
รวมมูลค่าการจำหน่ายในประเทศ และ
ต่างประเทศ
1,582.79 100.00 1,743.49 100.00 2,057.91 100.00
อัตราการเพิ่ม(ลด)ของมูลค่าการจำหน่าย (%) 30.40 - 10.15 - 18.03 -


ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯย่อย
บริษัท ไออาร์ซี (เอเชีย)รีเสิร์ช จำกัด
บริษัท ไออาร์ซี (เอเชีย) รีเสิร์ช จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 โดยบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 99.99% เปิดดำเนินการเพื่อบริการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยางธรรมชาติอื่นๆ โดยในตอนแรกจะเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์ยางนอก-ยางในรถจักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่างๆของบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงผลิตภัณฑ์อันที่มีส่วนประกอบจากสารโพลีเมอร์ และยางธรรมชาติจากลูกค้ารายอื่นๆ
จากการที่บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมลงทุนระหว่างบริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ทำให้บริษัท ไออาร์ซี (เอเชีย) รีเสิร์ช จำกัด ในฐานะบริษัทย่อยจึงได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนาโดยตรง โดยจะเห็นได้จากการมีโครงการให้บุคลากรภายในบริษัทฯได้รับการฝึกอบรมและฝึกงานในบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างสม่ำเสมอส่งผลทำให้บุคคลากรได้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถตลอดเวลาและพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและให้ลูกค้ามีความพอใจสูงสุดทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานและราคาที่เหมาะสม ในด้านการตลาดในช่วงแรกนั้นการบริการจะให้บริการกับบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพียงบริษัทเดียว แต่ในอนาคตบริษัท ไออาร์ซี (เอเชีย) รีเสิร์ช จำกัด จะให้บริการการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่บริษัทอื่นต่อไป

บริษัท ไออาร์ซี (เอเชีย) รีเสิร์ช จำกัด ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน 1 ฉบับดังนี้
บัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 1884/2539 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2539 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเลขที่ 5157/2542 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ประเภท 7.28 ในกิจการวิจัยและพัฒนา
โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ที่สำคัญดังนี้
1. ตามมาตรา 29 ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้ากึ่งหนึ่งเฉพาะเครื่องจักรที่ไม่อยู่ในรายการปรับลดอากรขาเข้าตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศฏ.13/2533 เว้นแต่รายการเครื่องจักรที่มีอากรขาเข้าต่ำกว่าร้อยละสิบจะไม่ได้รับการลดหย่อน
2. ตามมาตรา 31 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาแปดปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้นๆ
รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากขบวนการผลิต
ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้นโดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้
3. ตามมาตรา 34 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
4. ตามมาตรา 37 ให้ได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้

บริษัท ไอ.อาร์.ซี ระยอง จำกัด
บริษัท ไอ.อาร์.ซี.ระยอง จำกัด ดำเนินการจัดตั้งบริษัทในปี 2538 ด้วยทุนจดทะเบียน 100,000 บาท และได้ทำการเพิ่มทุนเป็น 250 ล้านบาท และในปี 2539 ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(B.O.I)ในการผลิตยางผสม โดยมีที่ตั้งของบริษัทอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมสยามอิสเทิร์น อินดัสเตรียลพาร์ค ตำบลมาบยางพร อำเภอ ปลวกแดง จังหวัด ระยอง มีพื้นที่ 28 ไร่ 54 ตารางวา และมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ 63/3 หมู่ 6 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบล ประชาธิปัตย์ อำเภอ ธัญบุรี จังหวัด ปทุมธานี 12130
ขณะนี้บริษัทยังไม่ได้เปิดดำเนินการ

บริษัท คินโนะ โฮชิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
บริษัทคินโนะ โฮชิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2544 ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ชำระเต็มจำนวนแล้ว ประกอบกิจการเป็นผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์แม่พิมพ์โลหะ ขึ้นรูปโลหะ โดยบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในอัตรา 99.99% มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ 157 หมู่ 5 ถนน พหลโยธิน ตำบล ลำไทร อำเภอ วังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 13170
บริษัท คินโนะ โฮชิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้รับบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 1 ฉบับ ดังนี้

บัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 1758(1)/2544 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเลขที่ 4286/2545 (2-1758(1)/2544) ประเภท 4.2 ในกิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์
โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ที่สำคัญดังนี้
1. ตามมาตรา 25 ให้ได้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการคู่สมรส และบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของบุคคลทั้งสองประเภทนี้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามจำนวน และกำหนดระยะเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรเท่าที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
2. ตามมาตรา 26 ให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 25 ได้รับอนุญาตทำงานเฉพาะตำแหน่งหน้าที่การทำงานที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาเท่าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
3. ตามมาตรา 27 ให้ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
4. ตามมาตรา 28 ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ
5. ตามมาตรา 31 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาแปดปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น
รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากขบวนการผลิต
ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้นโดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้
6 . ตามมาตรา 34 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
7. ตามมาตรา 36 ( 1) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่นำเข้าครั้งแรก
8. ตามาตรา 36 (2) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเข้าเพื่อส่งกลับออกไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่นำเข้าครั้งแรก
9. ตามมาตรา 37 ให้ได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้

บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (เวียดนาม) จำกัด
เกิดจากทำการร่วมลงทุนกับกลุ่ม บริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เพื่อการลงทุนในบริษัท อีโนเว รับเบอร์ (เวียดนาม) จำกัด เพื่อรองรับตลาดในประเทศเวียดนามเนื่องจากบริษัทมองเห็นศักยภาพของการเจริญเติบโตในตลาดรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีผลต่อตลาดยางรถจักรยานยนต์ในเวียดนามเพื่อทำการผลิตยางนอก ยางใน (รถจักรยานยนต์, รถเข็นBarrow, Hand Cart, รถจักรยาน) และยางชิ้นส่วนอุตสาหกรรม


2.4 เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
เนื่องจากการที่กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีคู่แข่งค่อนข้างมาก บริษัทฯจึงเน้นทำการคิดค้นวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอโดยเน้นคุณภาพสินค้าเป็นหลัก รวมถึงการบริการหลังการขาย
แก้ไขล่าสุดโดย ครรชิต ไพศาล เมื่อ จันทร์ ธ.ค. 01, 2003 9:32 am, แก้ไขไปแล้ว 3 ครั้ง.
คนผ่านมา
ผู้ติดตาม: 0

ดร. นิเวศน์ ครับ IRC ปันผล 3.20 บาท แตกพาร์ 1 บาท

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดึใจด้วยคนครับ แต่จ่ายปันผลน้อยไปนิดนะครับ

แหม.. ท่าน ดร.นิเวศน์ ถือตั้ง 500,000 หุ้น
อ่านขาดจริงๆ ไม่รู้จะเอาเงินไปเก็บไว้ไหนหมดนะนี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
warrennaja
Verified User
โพสต์: 56
ผู้ติดตาม: 0

ดร. นิเวศน์ ครับ IRC ปันผล 3.20 บาท แตกพาร์ 1 บาท

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ดีใจด้วยคนครับ :D
แต่กำไร Q4 ลดลงเยอะจัง
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ดร. นิเวศน์ ครับ IRC ปันผล 3.20 บาท แตกพาร์ 1 บาท

โพสต์ที่ 4

โพสต์

น่าจะชื่อ Nemo นะ
Golffy
ผู้ติดตาม: 0

ดร. นิเวศน์ ครับ IRC ปันผล 3.20 บาท แตกพาร์ 1 บาท

โพสต์ที่ 5

โพสต์

:o
ไม่ทราบว่า พี่ๆ ท่านอื่นๆมีความคิดเห็นยังไงบ้างเกี่ยวกับ
บ.ฮั้วฟง ที่ผลิตยางรถ DUNLOP เริ่มเน้นตลาดยางรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ IRC มีจำนวนลดลง ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้างครับ
ล็อคหัวข้อ