การปรับดอกเบี้ยนโยบายมีผลย้งไงกับตลาดหุ้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
การปรับดอกเบี้ยนโยบายมีผลย้งไงกับตลาดหุ้นครับ
โพสต์ที่ 1
การปรับดอกเบี้ยนโยบายทำให้บาทอ่อนค่าสุดในรอบ5กีมีผลย้งไงกับตลาดหุ้นครับ. ที่มาฐานเศรษฐกิจ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การปรับดอกเบี้ยนโยบายมีผลย้งไงกับตลาดหุ้นครับ
โพสต์ที่ 2
ขอตอบ แบบคนไม่ได้เรียนการเงิน (คือ ตอบ แบบความเข้าใจของตนเอง ถ้าผิดหรือมั่ว ก็ขออภัยจากใจจริงครับ)
ลดดอกเบี้ยนโยบาย ****ถ้า กรณีดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้ของธนาคารเอกชน ลดตาม ด้วย
ทำให้เกิด Cost of Fund ในประเทศ ต่ำลง ครับ
1) ภาคธุรกิจที่กู้ในประเทศดอกของหนี้ลด>กำไรเพิ่มเองออโต้เมื่อเทียบกับภาวะดอกของหนี้สูง>EPSสูงขึ้นเอง(ปล ขอไม่พูดถึงอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง)>หุ้น?ขึ้นลงไม่ทราบเพราะมีปัจจัยSentimentตลาดด้วย
2) นักลงทุนในประเทศที่คิดว่าเงินฝากได้ดอกน้อย ก็จะแสวงหาความเสี่ยงที่มีผลตอบแทนที่สูงกว่า
Risk Appetite สูงขึ้น>การกระจายความเสี่ยงก็จะแบ่งมาในตลาดหุ้นด้วย>เพิ่มขา>หุ้น?ขึ้นลงไม่ทราบเพราะมีปัจจัยSentimentตลาดด้วย
3) อื่นๆกระทบชิ่งกันไปมาพวกปัจจัย เช่น กองทุนในประเทศ ต่างประเทศ ค่าเงินบาท นำเข้า ส่งออก ภาครัฐ ภาคเอกชน การบริโภคภายใน เงินสำรอง การแข่งขันธุรกิจ หนี้NPL บลาๆครับ อีกมากมายครับ
ปล พวกสายการเงิน น่ามีคำตอบที่มีรายละเอียดดีกว่าผมครับ
ลดดอกเบี้ยนโยบาย ****ถ้า กรณีดอกเบี้ยทั้งฝากและกู้ของธนาคารเอกชน ลดตาม ด้วย
ทำให้เกิด Cost of Fund ในประเทศ ต่ำลง ครับ
1) ภาคธุรกิจที่กู้ในประเทศดอกของหนี้ลด>กำไรเพิ่มเองออโต้เมื่อเทียบกับภาวะดอกของหนี้สูง>EPSสูงขึ้นเอง(ปล ขอไม่พูดถึงอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง)>หุ้น?ขึ้นลงไม่ทราบเพราะมีปัจจัยSentimentตลาดด้วย
2) นักลงทุนในประเทศที่คิดว่าเงินฝากได้ดอกน้อย ก็จะแสวงหาความเสี่ยงที่มีผลตอบแทนที่สูงกว่า
Risk Appetite สูงขึ้น>การกระจายความเสี่ยงก็จะแบ่งมาในตลาดหุ้นด้วย>เพิ่มขา>หุ้น?ขึ้นลงไม่ทราบเพราะมีปัจจัยSentimentตลาดด้วย
3) อื่นๆกระทบชิ่งกันไปมาพวกปัจจัย เช่น กองทุนในประเทศ ต่างประเทศ ค่าเงินบาท นำเข้า ส่งออก ภาครัฐ ภาคเอกชน การบริโภคภายใน เงินสำรอง การแข่งขันธุรกิจ หนี้NPL บลาๆครับ อีกมากมายครับ
ปล พวกสายการเงิน น่ามีคำตอบที่มีรายละเอียดดีกว่าผมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การปรับดอกเบี้ยนโยบายมีผลย้งไงกับตลาดหุ้นครับ
โพสต์ที่ 3
ตอบตามที่เข้าใจ ถ้าผิดขออภัยด้วยครับ
เวลาอัตราดอกเบี้ยนโยบายลด อัตราดอกเบี้ยจะลดทั้งระบบ ทั้งเงินกู้และเงินฝาก ผลที่เกิดกับตลาดหุ้นคือ
1. ภาระดอกเบี้ยของบริษัทลดน้อยลง ตามที่คุณ @bangkok บอก บริษัทที่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยเยอะๆ ก็จะได้ประโยชน์ไป (+)
2. ฝั่งเงินฝาก Saving ในประเทศ เนื่องจากผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินออมที่ลดลง ก็จะเป็นการกระตุ้นให้นำเงินออมออกมาลงทุนในตลาดทุนมากขึ้น (+)
3. ด้านการลงทุนในประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ก็จะเป็นการกระตุ้นให้มีการกู้ยืมเพื่อไปลงทุนมากขึ้น (+)
4. ด้าน Fund Flow เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นการสะท้อน "ความเสี่ยง" ของประเทศนั้นๆ ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงก็ควรที่จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงตามด้วย ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ย (ผลตอบแทน) ของไทยลด ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ (ความเสี่ยง) ยังคงที่ ก็ย่อมทำให้ การลงทุนในไทยมีความน่าสนใจ "น้อยลง" ตรงนี้จะทำให้ต่างชาติเทขายหน่วยลงทุนของไทยแล้วออกนอกประเทศกันครับ (-)
5. ผลที่ตามต่อมาคือ เมื่อ Fund Flow ไหลออกเยอะๆ ก็เท่ากับว่า นักลงทุนก็จะแลกเงิน ฿ กลับไปเป็น $ (เอาเงินออกนอกประเทศ) เมื่อความต้องการเงิน ฿ น้อยลง ก็ทำให้ค่าของเงิน ฿ ถูกลง (ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง) เมื่อค่าเงินบาทอ่อน ธุรกิจด้านการส่งออกก็จะได้ประโยชน์ครับ (+)
โดยสรุปก็จะมีทั้งปัจจัย + แล้วก็ - เกิดขึ้นพร้อมๆกัน แต่เท่าที่ผมสังเกต 2-3 ปีมานี่เวลามีนโยบายอะไรระดับ Macro ขึ้นมาทีไร ตลาดหุ้นไทยตกแรงทุกทีครับ
เวลาอัตราดอกเบี้ยนโยบายลด อัตราดอกเบี้ยจะลดทั้งระบบ ทั้งเงินกู้และเงินฝาก ผลที่เกิดกับตลาดหุ้นคือ
1. ภาระดอกเบี้ยของบริษัทลดน้อยลง ตามที่คุณ @bangkok บอก บริษัทที่มีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยเยอะๆ ก็จะได้ประโยชน์ไป (+)
2. ฝั่งเงินฝาก Saving ในประเทศ เนื่องจากผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินออมที่ลดลง ก็จะเป็นการกระตุ้นให้นำเงินออมออกมาลงทุนในตลาดทุนมากขึ้น (+)
3. ด้านการลงทุนในประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ก็จะเป็นการกระตุ้นให้มีการกู้ยืมเพื่อไปลงทุนมากขึ้น (+)
4. ด้าน Fund Flow เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นการสะท้อน "ความเสี่ยง" ของประเทศนั้นๆ ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงก็ควรที่จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงตามด้วย ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ย (ผลตอบแทน) ของไทยลด ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ (ความเสี่ยง) ยังคงที่ ก็ย่อมทำให้ การลงทุนในไทยมีความน่าสนใจ "น้อยลง" ตรงนี้จะทำให้ต่างชาติเทขายหน่วยลงทุนของไทยแล้วออกนอกประเทศกันครับ (-)
5. ผลที่ตามต่อมาคือ เมื่อ Fund Flow ไหลออกเยอะๆ ก็เท่ากับว่า นักลงทุนก็จะแลกเงิน ฿ กลับไปเป็น $ (เอาเงินออกนอกประเทศ) เมื่อความต้องการเงิน ฿ น้อยลง ก็ทำให้ค่าของเงิน ฿ ถูกลง (ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง) เมื่อค่าเงินบาทอ่อน ธุรกิจด้านการส่งออกก็จะได้ประโยชน์ครับ (+)
โดยสรุปก็จะมีทั้งปัจจัย + แล้วก็ - เกิดขึ้นพร้อมๆกัน แต่เท่าที่ผมสังเกต 2-3 ปีมานี่เวลามีนโยบายอะไรระดับ Macro ขึ้นมาทีไร ตลาดหุ้นไทยตกแรงทุกทีครับ
การลงทุนมีความเสี่ยง #การลงพุงก็เช่นกัน