หมูชนบังตอ / คนขายของ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
หมูชนบังตอ / คนขายของ
โพสต์ที่ 1
หมูชนบังตอ / คนขายของ
ร้านทอง “กิมกิม เฮงเฮง” ขายทองกันมาสามชั่วอายุเป็นที่รู้จักกันดีทั่วประเทศ ต้องการเปิดธุรกิจใหม่เป็นธุรกิจทำร้านขายข้าวขาหมู เจ้าของบอกว่าการออกมาทำร้านข้าวขาหมูนั้นเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจค้าทองคำ ถ้าคุณเป็นผู้ถือหุ้นร้านทองนี้อยู่ คุณจะรู้สึกอย่างไร? คุณว่าร้านทองนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจข้าวขาหมูไหม? เรื่องการกระจายความเสี่ยง (Diversification) เป็นเรื่องที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเพื่อที่ลดความพันผวนจากการลงทุน แต่มีหลายครั้งที่การกระจายความเสี่ยงกลับทำให้ความเสี่ยงแทนที่จะลดลงกลับเพิ่มมากขึ้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? มีรายละเอียดตรงไหนที่เราควรจะพิจารณาบ้าง? เราจะมาลองดูเหรียญทั้งสองด้านของการกระจายความเสี่ยงกัน
ปรมจารย์ทางด้านลงทุนเน้นคุณค่า Ben Graham ได้กล่าวถึงการกระจายความเสี่ยงไว้ในหนังสือ The Intelligent Investor ว่าการกระจายความเสี่ยงเป็นเสมือนเพื่อนของ “ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย” (Margin of Safety) มีหลายบริษัทชั้นนำในโลก ได้ขยายกิจการออกไปจากธุรกิจหลักเดิมของบริษัท ซึ่งนอกจากเป็นการลดการพึ่งพาสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ประเทศใดประเทศหนึ่งในการทำธุรกิจแล้ว ผลกำไรก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างเช่น APPLE ผันตัวเองจากการเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เข้ามาสู่กิจการ Consumer Electronics และ โทรศัพท์มือถือ หลังเปิดตัว IPHONE ในช่วงปี 2005 กำไรของ APPLE เพิ่มขึ้นมาตลอดจนเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน ในช่วงวิกฤต Hamburger ในปี 2008 ราคาหุ้นของ McDonalds และ Coca-Cola ได้รับผลกระทบน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าบริษัททั้งสองมีรายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ เมื่อสกุลเงิน USD อ่อนค่าลง กลับกลายเป็นแรงส่งให้กำไรของบริษัททั้งสองเพิ่มสูงขึ้นแม้ในวิกฤต
แต่กระนั้น ใช่ว่าการกระจายความเสี่ยงจะมีแค่ด้านดีด้านเดียว Warren Buffet เคยพูดถึงการกระจายความเสี่ยงว่า การกระจายความเสี่ยงออกไปในหลายกิจการนั้น เป็นเรื่องจำเป็นก็ต่อเมื่อนักลงทุนไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ และการกระจายความเสี่ยงนั้นก็สามารถสร้างปัญหาให้กับกิจการได้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท PEPSI มีความคิดที่จะเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหาร โดยทำการเข้าซื้อหุ้นของร้านอาหารอย่าง Pizza Hut ในปี 1977 และ KFC ในปี 1986 ถึงแม้ว่าในตอนแรกที่บริษัทประกาศซื้อหุ้น KFC นักลงทุนต่างเห็นด้วย และราคาหุ้นได้โดดขึ้นราวๆ 5% แต่หลังจากนั้น PEPSI ต้องเผชิญกับแรงต้านทานจากร้านอาหารอื่นๆ เพราะร้านเหล่านั้นมองว่าในตอนนี้ PEPSI ได้เปลี่ยนจากคู่ค้าของตน กลายมาเป็นคู่แข่งไปซะแล้ว ถึงแม้ธุรกิจอาหารจะทำให้ PEPSI แข็งแกร่งขึ้น แต่ PEPSI ก็เสี่ยงต่อการหดตัวของธุรกิจเครื่องดื่ม ในที่สุด PEPSI จึงต้องตัดสินใจ แยกธุรกิจอาหารออกมาให้ชัดเจน ด้วยการก่อตั้ง YUM Brand Inc ในปี 1997
การกระจายความเสี่ยงนั้นหากนักลงทุนนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถลดความเสี่ยง ซ้ำยังช่วยสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นให้กับตัวเองได้ แต่ในทางกลับกันก็อาจสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนได้หากเป็นการกระจายความเสี่ยงไปสู่ธุรกิจหรือสินทรัพย์ที่นักลงทุนไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ถ้าว่ากันตามจริงการกระทำเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยง แต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้นไปอีก เช่น นักลงทุนเห็นเพื่อนไปลงทุนหุ้นอินเดียได้กำไรมากมาย ก็เลยอยากกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพิงตลาดหุ้นไทยไปลงทุนในอินเดียบ้าง แต่เขาไม่ได้พิจารณาความสามารถในการแข่งขันของตัวเอง เพื่อนของเขาทำธุรกิจส่งออกสินค้าการเกษตรไปอินเดีย มีความรู้ความเข้าใจในตลาดนั้นเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีเพื่อนฝูงมากมายที่คอยให้ข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของอินเดีย แต่ตัวเขาเองเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชนทำธุรกิจเกียวกับตลาดในประเทศไทยเป็นหลัก ความรู้เกี่ยวกับอินเดียแทบไม่มี เมืองหลวงชื่ออะไรยังไม่รู้จักเลย แบบนี้ถ้าตัดสินใจไปลงทุนหุ้นอินเดียเขาไม่เรียกว่ากระจายความเสี่ยง แต่เป็นการเดินเข้าหาความเสี่ยงเหมือนกับหมูวิ่งไปชนบังตอซึ่งคงได้รับบาดเจ็บกลับมา
ร้านทอง “กิมกิม เฮงเฮง” ขายทองกันมาสามชั่วอายุเป็นที่รู้จักกันดีทั่วประเทศ ต้องการเปิดธุรกิจใหม่เป็นธุรกิจทำร้านขายข้าวขาหมู เจ้าของบอกว่าการออกมาทำร้านข้าวขาหมูนั้นเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจค้าทองคำ ถ้าคุณเป็นผู้ถือหุ้นร้านทองนี้อยู่ คุณจะรู้สึกอย่างไร? คุณว่าร้านทองนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจข้าวขาหมูไหม? เรื่องการกระจายความเสี่ยง (Diversification) เป็นเรื่องที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเพื่อที่ลดความพันผวนจากการลงทุน แต่มีหลายครั้งที่การกระจายความเสี่ยงกลับทำให้ความเสี่ยงแทนที่จะลดลงกลับเพิ่มมากขึ้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? มีรายละเอียดตรงไหนที่เราควรจะพิจารณาบ้าง? เราจะมาลองดูเหรียญทั้งสองด้านของการกระจายความเสี่ยงกัน
ปรมจารย์ทางด้านลงทุนเน้นคุณค่า Ben Graham ได้กล่าวถึงการกระจายความเสี่ยงไว้ในหนังสือ The Intelligent Investor ว่าการกระจายความเสี่ยงเป็นเสมือนเพื่อนของ “ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย” (Margin of Safety) มีหลายบริษัทชั้นนำในโลก ได้ขยายกิจการออกไปจากธุรกิจหลักเดิมของบริษัท ซึ่งนอกจากเป็นการลดการพึ่งพาสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ประเทศใดประเทศหนึ่งในการทำธุรกิจแล้ว ผลกำไรก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างเช่น APPLE ผันตัวเองจากการเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เข้ามาสู่กิจการ Consumer Electronics และ โทรศัพท์มือถือ หลังเปิดตัว IPHONE ในช่วงปี 2005 กำไรของ APPLE เพิ่มขึ้นมาตลอดจนเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน ในช่วงวิกฤต Hamburger ในปี 2008 ราคาหุ้นของ McDonalds และ Coca-Cola ได้รับผลกระทบน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าบริษัททั้งสองมีรายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ เมื่อสกุลเงิน USD อ่อนค่าลง กลับกลายเป็นแรงส่งให้กำไรของบริษัททั้งสองเพิ่มสูงขึ้นแม้ในวิกฤต
แต่กระนั้น ใช่ว่าการกระจายความเสี่ยงจะมีแค่ด้านดีด้านเดียว Warren Buffet เคยพูดถึงการกระจายความเสี่ยงว่า การกระจายความเสี่ยงออกไปในหลายกิจการนั้น เป็นเรื่องจำเป็นก็ต่อเมื่อนักลงทุนไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ และการกระจายความเสี่ยงนั้นก็สามารถสร้างปัญหาให้กับกิจการได้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท PEPSI มีความคิดที่จะเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหาร โดยทำการเข้าซื้อหุ้นของร้านอาหารอย่าง Pizza Hut ในปี 1977 และ KFC ในปี 1986 ถึงแม้ว่าในตอนแรกที่บริษัทประกาศซื้อหุ้น KFC นักลงทุนต่างเห็นด้วย และราคาหุ้นได้โดดขึ้นราวๆ 5% แต่หลังจากนั้น PEPSI ต้องเผชิญกับแรงต้านทานจากร้านอาหารอื่นๆ เพราะร้านเหล่านั้นมองว่าในตอนนี้ PEPSI ได้เปลี่ยนจากคู่ค้าของตน กลายมาเป็นคู่แข่งไปซะแล้ว ถึงแม้ธุรกิจอาหารจะทำให้ PEPSI แข็งแกร่งขึ้น แต่ PEPSI ก็เสี่ยงต่อการหดตัวของธุรกิจเครื่องดื่ม ในที่สุด PEPSI จึงต้องตัดสินใจ แยกธุรกิจอาหารออกมาให้ชัดเจน ด้วยการก่อตั้ง YUM Brand Inc ในปี 1997
การกระจายความเสี่ยงนั้นหากนักลงทุนนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถลดความเสี่ยง ซ้ำยังช่วยสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นให้กับตัวเองได้ แต่ในทางกลับกันก็อาจสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนได้หากเป็นการกระจายความเสี่ยงไปสู่ธุรกิจหรือสินทรัพย์ที่นักลงทุนไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน ถ้าว่ากันตามจริงการกระทำเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยง แต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้นไปอีก เช่น นักลงทุนเห็นเพื่อนไปลงทุนหุ้นอินเดียได้กำไรมากมาย ก็เลยอยากกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพิงตลาดหุ้นไทยไปลงทุนในอินเดียบ้าง แต่เขาไม่ได้พิจารณาความสามารถในการแข่งขันของตัวเอง เพื่อนของเขาทำธุรกิจส่งออกสินค้าการเกษตรไปอินเดีย มีความรู้ความเข้าใจในตลาดนั้นเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีเพื่อนฝูงมากมายที่คอยให้ข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของอินเดีย แต่ตัวเขาเองเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชนทำธุรกิจเกียวกับตลาดในประเทศไทยเป็นหลัก ความรู้เกี่ยวกับอินเดียแทบไม่มี เมืองหลวงชื่ออะไรยังไม่รู้จักเลย แบบนี้ถ้าตัดสินใจไปลงทุนหุ้นอินเดียเขาไม่เรียกว่ากระจายความเสี่ยง แต่เป็นการเดินเข้าหาความเสี่ยงเหมือนกับหมูวิ่งไปชนบังตอซึ่งคงได้รับบาดเจ็บกลับมา
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมูชนบังตอ / คนขายของ
โพสต์ที่ 3
มันมี 2 คำ ที่อ่านคล้ายกัน
Diworsification กับ Diversification
แบบแรกยิ่งกระจายยิ่งเสี่ยงสูงขึ้น เพราะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยงที่ไปในทางที่ผลตอบแทนต่ำลงและไปด้วยกัน
แบบสอง มีการ trade off ความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ โดยสามารถลดความเสี่ยงลงได้จากการกระจายทรัพย์สินที่ลงทุนมีความเสี่ยงและผลตอบแทนต่างกัน และยังสามารถรักษาผลตอบแทนที่คาดหวังได้ตามเป้าหมาย อันเกิดจากความสัมพันธ์ของ asset ที่ช่วยเกื้อกูลกันในภาวะการณ์ไม่แน่นอน
แต่ทั้งสองก็ยังไม่สามารถเลี่ยง systematic risk ได้ เพราะกระทบกับทุก asset ที่ลงทุน มากน้อยต่างกันไป เพียงแต่เราสามารถบริหารให้ได้รับผลกระทบน้อยสุดได้ หวังว่าจะไม่เกิดนะครับ 555
ขอบคุณสำหรับข้อเขียนที่ดีที่ช่วยเตือนสติครับ
Diworsification กับ Diversification
แบบแรกยิ่งกระจายยิ่งเสี่ยงสูงขึ้น เพราะเป็นการลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยงที่ไปในทางที่ผลตอบแทนต่ำลงและไปด้วยกัน
แบบสอง มีการ trade off ความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ โดยสามารถลดความเสี่ยงลงได้จากการกระจายทรัพย์สินที่ลงทุนมีความเสี่ยงและผลตอบแทนต่างกัน และยังสามารถรักษาผลตอบแทนที่คาดหวังได้ตามเป้าหมาย อันเกิดจากความสัมพันธ์ของ asset ที่ช่วยเกื้อกูลกันในภาวะการณ์ไม่แน่นอน
แต่ทั้งสองก็ยังไม่สามารถเลี่ยง systematic risk ได้ เพราะกระทบกับทุก asset ที่ลงทุน มากน้อยต่างกันไป เพียงแต่เราสามารถบริหารให้ได้รับผลกระทบน้อยสุดได้ หวังว่าจะไม่เกิดนะครับ 555
ขอบคุณสำหรับข้อเขียนที่ดีที่ช่วยเตือนสติครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger