พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออกมาลง
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 31
ถ้าผมมีเงินเดือน 50,000 บาท
ผมหวัง passive income ที่ 50,000 บาท/เดือน
ดดยผมจะใช้จ่ายเหมือนเดิม เป็นปกติ
ดังนั้น นิยาม อิสระภาพการเงินของผม คือ มี passive income ที่เทียบเท่ามาทดแทนเงินเดือนปัจจุบันครับ นั่นแปลว่าเราไม่ต้องทำงาน แต่มีเงินใช้ เก็บ เอาไปลงทุนเพิ่มทุกเดือนเหมือนเดิม
แต่ผมต้องพยายามทำให้ passive income เพิ่มขึ้นทุกปี เช่ย โดยเอา passive income บางส่วนลงทุนเพิ่มในหุ้น ในธุรกิจ ในอสังหา ฯลฯ ดังนั้น จะเท่ากับเราได้เงินเดือนขึ้นทุกปีเช่นกัน
ผมหวัง passive income ที่ 50,000 บาท/เดือน
ดดยผมจะใช้จ่ายเหมือนเดิม เป็นปกติ
ดังนั้น นิยาม อิสระภาพการเงินของผม คือ มี passive income ที่เทียบเท่ามาทดแทนเงินเดือนปัจจุบันครับ นั่นแปลว่าเราไม่ต้องทำงาน แต่มีเงินใช้ เก็บ เอาไปลงทุนเพิ่มทุกเดือนเหมือนเดิม
แต่ผมต้องพยายามทำให้ passive income เพิ่มขึ้นทุกปี เช่ย โดยเอา passive income บางส่วนลงทุนเพิ่มในหุ้น ในธุรกิจ ในอสังหา ฯลฯ ดังนั้น จะเท่ากับเราได้เงินเดือนขึ้นทุกปีเช่นกัน
.. รักเมีย อยากให้เมียสบาย ต้องลงทุนให้ได้ผลดี ..
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 32
YouTube เขียน:ถ้าผมมีเงินเดือน 50,000 บาท
ผมหวัง passive income ที่ 50,000 บาท/เดือน
ดดยผมจะใช้จ่ายเหมือนเดิม เป็นปกติ
ดังนั้น นิยาม อิสระภาพการเงินของผม คือ มี passive income ที่เทียบเท่ามาทดแทนเงินเดือนปัจจุบันครับ นั่นแปลว่าเราไม่ต้องทำงาน แต่มีเงินใช้ เก็บ เอาไปลงทุนเพิ่มทุกเดือนเหมือนเดิม
แต่ผมต้องพยายามทำให้ passive income เพิ่มขึ้นทุกปี เช่ย โดยเอา passive income บางส่วนลงทุนเพิ่มในหุ้น ในธุรกิจ ในอสังหา ฯลฯ ดังนั้น จะเท่ากับเราได้เงินเดือนขึ้นทุกปีเช่นกัน
งั้น Port ก็ 12 ลบ 5% ต่อปี ก็ตามเป้าครับ Key ยิ่ง รายจ่ายคงที่ น้อยเท่าไหร่ และ บริโภคในสัดส่วนที่ อยู่สบายไม่อึดอัด เกินไป ก็ ยิ่งมีอิสรภาพ ง่ายขึ้นครับ บางคนมีบ้าน รถ ครบ แล้ว ตัวคนเดียว อาจจะ 5-6 ลบ ก็ อยู่ได้ ถ้าไม่มีภาระไรมาก ตจว วันละ150 ค่า อาหาร สบายๆ ซื้อ กับข้าว มา หุงข้าวเอง
อย่าตามคนอื่น ยิ่งตามยิ่งเหนื่อย ยิ่งไม่มีความสุข ตามใจและ Lifestyle ตนเอง ดีสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 204
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 33
ืผมมีทั้งเป้าหมาย และ เหตุผล เหมือนคุณ picatos เเถบจะเป๊ะๆเลย ต่างกันที่ความสามารถอย่างเดียวครับpicatos เขียน:ของผมตอนเริ่มลงทุนตั้งเป้าว่า 20 ล้านบาท ผมจะออกจากงานประจำครับmiracle57 เขียน:คราวนี้จึงอยากจะถามเพื่อนๆจากประสบการณ์ตรงครับว่า คนที่รู้สึกได้ว่าท่านมีอิสระภาพทางการเงินแล้ว ท่านมีพอร์ตประมาณเท่าไร แล้ววันที่ท่านออกจากงานมาลงทุนเต็มตัว ท่านมีปันผลต่อปีประมาณเท่าไรครับ ถ้าจะแจ้งข้อมูลอื่นเช่นสถานภาพว่าเลี้ยงตัวคนเดียว หรือต้องดูแลพ่อแม่ทุกเดือน หรือมีภรรยาและลูกด้วย ก็ได้นะครับ
ผมคิดว่าผมน่าจะได้ผลตอบแทนอย่างต่ำ 10% ต่อปี กรณี Worst Case น่าจะทำได้สัก 5% เลยคิดว่า 5% ของพอร์ตน่าจะพอใช้จ่าย สำหรับผมกับภรรยา โดยที่ตั้งใจกันว่าจะไม่มีลูก แถมพ่อแม่ท่านก็มีของท่านเพียงพอ ไม่ได้มีภาระอะไรต้องดูแลท่านเป็นพิเศษ
5% ของ 20 ล้านนี่ ใช้ได้เดือนละ 8 หมื่นกว่าบาท สำหรับผมกับภรรยา ผมว่าสบายๆ ในมาตรฐานของชนชั้นกลางครับ
ส่วนเรื่องปันผล ผมไม่คิดครับ เพราะ การที่เราไปติดกับคำว่าปันผลมันจะเป็นกับดักทางความคิด ปิดโอกาส จำกัดขอบเขตในการลงทุนของเรา ของผมจะวัดเป็นผลตอบแทนที่ทำได้ต่อปี โดยไม่สนใจว่าจะมีปันผล หรือไม่มี
พอถึงเป้ากว่าจะเคลียร์อะไรต่างๆ ได้เรียบร้อยจนออกมาได้จริงๆ ก็ต้องใช้เวลาไปอีกเกือบ 2 ปี ระหว่างนั้นพอร์ตก็โตขึ้นในระดับที่เกษียณได้สบายๆ ไม่ต้องห่วงอะไรมาก
ออกมาแล้วก็ดีครับ ได้ใช้ชีวิตที่เป็นสาระอย่างแท้จริงของการได้เกิดเป็นมนุษย์ที่ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ใช้เวลาไปกับการเรียนรู้กายใจตัวเอง ได้ศึกษาและทำความเข้าใจธรรมชาติของจิตในระดับที่ละเอียดๆ โดยไม่ต้องไปพะวงอะไรกับการที่ต้องหาเงินมาเลี้ยงชีพ
การมีอิสรภาพทางการเงินทำให้ผมไม่จำเป็นต้องไปเสียเวลากับสังคม กับคน เพียงเพื่อเราจะได้มีมากกว่านี้ เราจะได้มากกว่านี้ ทำให้มีอิสรภาพในการที่จะเลือกที่จะอยู่ห่างไกลความวุ่นวาย เลือกที่จะใช้เวลาอย่างที่เราอยากใช้จริงๆ ที่จุดที่เราจำเป็นต้องหาเงินเลี้ยงชีพอยู่ไม่สามารถเลือกได้
หากการมีอิสรภาพทางการเงินและเกษียณออกมาลงทุนเต็มตัว แล้วเราได้ทำอะไรที่เป็นสาระสำคัญจริงๆ ของชีวิต ผมว่าดีครับ แต่ถ้าออกมาแล้วกลับกลายเป็นว่ายิ่งต้องมัวเมาไปกับการต้องการให้ได้มากยิ่งกว่านี้ มีให้ได้มากยิ่งกว่านี้ วันเวลาของชีวิตแต่ละวัน แต่ละนาที หมดไปกับการยิ่งต้องหาให้มากขึ้นไปอีก ผมว่าบางทีแล้วการที่เราทำงานประจำ อาจจะทำให้เราสามารถพบความสงบสุขของจิตใจที่มากกว่าการออกมาลงทุนเต็มตัว
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 34
sci เขียน:อยู่บ้านนอกครับ : 8 ล้าน ซื้อบ้านแต่งบ้าน 2 ล้านกว่า เคลียร์หนี้รถ หนี้ต่างๆ เหลือ ประมาณ 5 ล้าน
ปันผลประมาณ 1 แสนกว่า
วันๆใช้ไม่ถึง 200 บาทครับ ค่าใช้จ่ายอื่นๆก็ตาม อัตภาพ
กิจวัตร ก็ปลูกต้นไม้ ออกกำลัง อ่านข่าว สัมมนาตลาดหลักทรัพย์ ดู opp day
สิ่งที่ได้ สุขภาพดีขึ้นขึ้นครับ ไม่ค่อยป่วยได้พักผ่อนมากขึ้น ความคิดเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
แต่เรื่องการใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ก็ต้องคิดและระวังมากขึ้นครับ
พอทโตแค่ประมาณ 10 % เพราะต้องเอามาใช้จ่าย
หรือถ้าอยากให้โตกว่านี้ก็ต้องไปหางานทำเพิ่ม
ไม่รู้ว่าอิสระรึเปล่าครับ อยากแชร์ประสบการณ์
ผมว่าคุณsciโคตรอิสระเลยครับ อาจจะไม่ได้อิสระด้านการเงินซะทีเดียว แต่อิสระด้านการใช้ชีวิตและความคิดครับ ยกย่องมากๆครับ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินทางสายนี้คือ จิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่.....ส่วนความรู้เป็นสิ่งที่สามารถไขว่คว้าเพื่อตามให้ทันผู้อื่นได้ สู้ต่อไป...
-
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 36
ขอเสริมอีกนิด ในความเห็นผม ในเรื่องการเงิน แม้ว่าเราจะคำนวณค่าใช้จ่ายที่คิดว่าจะต้องใช้จริง
แล้วสามารถมีรายรับเกินกว่านั้นได้โดยไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเรามีอิสระภาพอย่างแท้จริง
หากในใจลึกสุดใจของเรารู้สึกว่า "ยังไม่พอ" มันก็คงต้องเรียกว่าเรานี้ "ยังไม่มีอิสระภาพ" ใช่ไหมครับ
แล้วสามารถมีรายรับเกินกว่านั้นได้โดยไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเรามีอิสระภาพอย่างแท้จริง
หากในใจลึกสุดใจของเรารู้สึกว่า "ยังไม่พอ" มันก็คงต้องเรียกว่าเรานี้ "ยังไม่มีอิสระภาพ" ใช่ไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 37
นักลงทุน “ผู้มุ่งมั่น” ที่ประสบความสำเร็จในช่วงประมาณเกือบ 10 ปีที่ผ่านมานั้น รวมถึงนักลงทุนหน้าใหม่ที่กำลัง “อิน” หรือสนใจและศึกษาการลงทุนอย่างจริงจังในช่วงเร็ว ๆ นี้ ต่างก็มักจะมีเป้าหมายที่จะสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุนในหุ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องยาวนานจนถึงจุดที่ตนเอง “มีอิสรภาพทางการเงิน” และสามารถลาออกจากงานประจำในฐานะ “คนกินเงินเดือน” หรือการเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่ “อิสรภาพทางการเงิน” ในความหมายที่เป็นที่ยอมรับก็คือ การที่เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติโดยอาศัยแต่รายได้จากการลงทุนและเงินลงทุนเพียงอย่างเดียวไปตลอดชีวิตโดยที่มีความเสี่ยงที่จะผิดพลาดน้อย ผมเองเคยให้นิยามว่าเราควรจะต้องมีเงินอย่างน้อยเท่ากับ 200 เท่าของรายจ่ายประจำเดือนโดยเฉลี่ยและเงินนั้นจะต้องถูกลงทุนในจุดที่ถูกต้องซึ่งรวมถึงการที่จะมักจะต้องลงทุนในหุ้นเป็นหลักตลอดไป พูดง่าย ๆ ถ้าเราต้องการใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท เราต้องมีพอร์ตหุ้นหรือพอร์ตลงทุนอย่างน้อย 4 ล้านบาท ถ้าต้องการเดือนละ 100,000 บาท ก็ต้องมีเงิน 20 ล้านบาทขึ้นไป
ความเป็นอิสรภาพทางการเงินนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็น “ความฝัน” ของคนก็เพราะว่าเราอยากมีชีวิตที่มี “อิสระ” ไม่ต้องถูก “สั่ง” หรือถูก “จำกัด” อิสรภาพในเรื่องของเวลาที่เราจะทำอะไรหรือไม่ต้องถูก “วัด” ผลงานหรือความสามารถโดย “เจ้านาย” ซึ่งทั้งหมดนั้นมักก่อให้เกิดความคับข้องใจและทำให้เราเกิดความเครียด เป็นทุกข์ เราอยากทำอะไรที่เราอยากทำ เราอาจจะทำงานต่อไปก็ได้ถ้าเรามีความสุขที่จะทำ เราอาจจะอยากเป็น “ผู้ให้” ที่จะก่อให้เกิดความสุขทางใจมากกว่า หรือถ้าเราไม่อยากจะทำอะไรเลย เราก็สามารถใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ “กระดิกเท้า” ไปวัน ๆ ก็ไม่มีใครมาว่าหรือมายุ่งกับเราได้ นอกจากนั้น เขาก็อาจจะ “ฝัน” ต่อไปอีกว่า หลังจากมีเงินพอเลี้ยงชีพแล้ว ด้วยการลงทุนต่อไป เขาก็อาจจะ “ร่ำรวย” กลายเป็นเศรษฐีและสามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างฟุ่มเฟือยมากขึ้น มีบ้าน รถยนต์ และสิ่งของหรูหรา สามารถเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก และชีวิตมีแต่ “ความสุข”
ผมเอง “ผ่าน” ประสบการณ์ดังกล่าวมาหมดแล้ว ว่าที่จริงผมผ่านประสบการณ์ “ก่อนหน้า” นั้นด้วย ความหมายก็คือ ผมผ่านประสบการณ์ที่ต้อง “เอาตัวรอด” ซึ่งก็หมายความว่าจะรักษา “มาตรฐานชีวิตเดิม” ได้หรือไม่ผลจากการที่เศรษฐกิจไทยเกิดวิกฤติในปี 2540 และกลายเป็นวิกฤติของชีวิตที่ต้อง “ตกงาน” และหางานที่จะจ่ายเงินเท่าเดิมยาก การเริ่มลงทุน “อย่างมุ่งมั่น” ในตลาดหุ้นของ
ผมจึงเป็นการทำเพื่อ “เอาตัวรอด” ไม่ได้เป็นการลงทุนเพื่อความเป็นอิสรภาพทางการเงินไม่ต้องพูดว่าจะรวยเป็นเศรษฐี ถ้าจะว่าไป ในยามนั้น คำว่า “อิสรภาพทางการเงิน” ยังไม่มีอยู่ใน “พจนานุกรม” ของผมหรือของใครด้วยซ้ำ สำหรับผมแล้ว “ความมั่นคงทางการเงิน” และแน่นอนว่ามันคือความมั่นคงในชีวิต เป็นสิ่งสูงสุดที่ผมพยายามไขว่คว้า ด้วยอายุ 44 ปี ภรรยาที่มีอาชีพหลักเป็นแม่บ้านและลูกที่ยังเล็กและอนาคตการงานที่คงจะแย่ลงอย่างแน่นอนนั้น มันเตือนผมตลอดเวลาว่า สิ่งสำคัญของการลงทุนก็คือสิ่งที่วอเร็น บัฟเฟตต์ พูด นั่นคือ “อย่าขาดทุน”
เจ็ดปีต่อมาในปี 2547 ด้วยอายุ 51 ปี ผมก็ลาออกจากงานประจำ มันเป็นการลาออกแบบ “กระทันหัน” ที่ผมไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแม้ว่าลึก ๆ แล้วผมคิดว่าผมมีพอร์ตหรือมีเงินมาก “เกินพอ” ที่จะใช้ชีวิตต่อไปได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องมีเงินเดือน อย่างไรก็ตาม เงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 7 ปีนั้น ผมเองก็ไม่มั่นใจว่ามันจะดำรงไว้ได้แค่ไหน ในช่วงปี 2547 พอร์ตผมเองก็ลดลงไปเกือบ 30% ในเวลาเพียงครึ่งปี แต่เงินเดือนนั้น ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรผมก็ยังได้รับมันทุกเดือน มันเป็น “ความมั่นคง” ที่จิตใจผมเองแสวงหามาตั้งแต่ยังเป็นเด็กที่จำความได้ เพราะในสมัยก่อนที่สังคมไทยยังจนอยู่และผมเองก็เกิดในครอบครัวที่ต้อง “หาเช้ากินค่ำ” นั้น บางทีเราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีวันไหนไหมที่เราจะต้อง “อดกิน” เนื่องจากวันนั้นเราไม่มีเงิน ดังนั้น วันที่ผมลาออกจากงาน ผม “ใจหาย” แม้ว่าจะมีพอร์ตหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเฉพาะจากเงินปันผลประมาณ 3 เท่าของเงินเดือน
คนไทยรุ่นใหม่ที่เกิดมาในช่วงที่สังคมไทยรวยขึ้นและการ “อดอยาก” เป็นเรื่องที่ไกลตัวมักจะไม่รู้สึกมากถึง “ความมั่นคงทางการเงิน” ว่ามันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขที่สำคัญเท่ากับคนรุ่นผม พวกเขาคิดว่าการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นนั้น เป้าหมายสูงสุดก็คือมีเงินพอและมากพอที่จะใช้ชีวิตที่มีอิสระและมีความสุขอย่างที่ตนเองต้องการ หลายคนลาออกจากงานประจำทันทีที่มีเงินมากพอที่จะ “มีอิสระทางการเงิน” โดยอิงกับตัวเลขการใช้จ่ายในปัจจุบัน บางคนก็ลาออกเร็วกว่านั้น พวกเขา “ตามฝัน” ที่จะทำอะไรที่เป็น “อิสระ” ซึ่งบางทีก็คือการไม่ต้องทำงานออฟฟิสที่น่าเบื่อและไป “ลงทุน” ซึ่งก็คือการซื้อขายหุ้นและลุ้นกับการขึ้นลงของหุ้นและของพอร์ตที่น่าสนุก การได้ไปเยี่ยมชมหรือไปฟังข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นเองก็เป็นเรื่องที่น่ารื่นรมย์กว่าการเป็นลูกจ้างเป็นไหน ๆ หลายคนประสบความสำเร็จอย่างงดงามอานิสงค์จากการที่ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่สูงอย่าง “มโหฬาร” แก่นักลงทุนโดยเฉพาะคนที่สังคมเรียกว่าเป็น “Value Investor” ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
ในฐานะที่ผ่านประสบการณ์ตั้งแต่ศูนย์จนมีความมั่งคั่งผ่านการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ผมมีความรู้สึกว่าคนจำนวนมาก “Overestimate” หรือคาดหวังสูงเกินไปกับการที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินและความสุขที่จะตามมาจากการนั้น ประการแรกก็คือ การที่จะมีอิสรภาพทางการเงินโดยที่ตนเองไม่มี “ต้นทุน” หรือต้นทุนน้อยจากครอบครัวหรือคนอื่นนั้น และหวังจะลงทุนจนได้อิสรภาพทาง
การเงินไม่ใช่เรื่องง่าย ปกติมันต้องใช้เวลาน่าจะเกือบทั้งชีวิต การตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเกษียณตั้งแต่อายุ 40-50 ปี นั้น ไม่ใช่เรื่องผิดหรือเสียหายแต่ก็อย่าหมกมุ่นจนเกินไป ควรหางานและทำงานที่ไม่ได้ทำให้เราเครียดมากและมีความสุขตามอัตภาพ ทำงานไปเรื่อย ๆ จนกว่าเกษียณ ในขณะเดียวกัน ลงทุนในหุ้นที่ปลอดภัยและมีการเติบโตพอประมาณไปในระยะยาวหลาย ๆ ตัวและหลาย ๆ อุตสาหกรรมเพื่อกระจายหรือลดความเสี่ยงการลงทุนลง เสร็จแล้วก็รอดูพอร์ตหุ้นเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับเงินเดือนที่โตขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งที่จะได้ก็คือความมั่นคงทางการเงินที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งที่เรามั่นใจว่ามีเงินในพอร์ตมากพอและรายได้จากเงินปันผลสูงกว่าเงินเดือนมาก อย่างน้อยเป็น 2 เท่า เราก็อาจจะออกจากงานประจำเพื่อใช้ชีวิตที่เป็น “อิสระจริง ๆ” ไม่ห่วงว่าพอร์ตจะลดลงจนมีปัญหาแม้ในยามที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ
สำหรับ “ความสุข” ที่เราแสวงหานั้น ผมคิดและเชื่อว่ามันเป็นเรื่องของร่างกายเราเองที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิดว่าเราจะมีความสุขอยู่ในระดับไหนถึงไหน คนบางคนอาจจะมีความสุขตั้งแต่ 70-100 หน่วย เงินนั้นอาจจะช่วยเราได้บ้างในแง่ที่จะช่วยซื้อ “ความทุกข์” บางอย่างทิ้งไป แต่ไม่สามารถสร้างความสุขของเราเกินร้อย ในขณะที่คนอีกคนหนึ่งนั้นอาจจะโชคดีที่เกิดมาก็มีความสุขระดับ 80-110 หน่วยโดยที่ใช้เงินน้อยมาก ดังนั้น สำหรับผมแล้ว สิ่งที่เราควรจะทำก็คือ พยายามทำตัวเองให้มีความสุขเต็มศักยภาพของเราโดยที่ใช้เงินเป็น “ตัวช่วย” เท่าที่มันจะทำได้ อย่าไปหวังว่าถ้าเรามีเงินมากแล้วจะมีความสุขตามมาตามสัดส่วน มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย
ความเป็นอิสรภาพทางการเงินนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็น “ความฝัน” ของคนก็เพราะว่าเราอยากมีชีวิตที่มี “อิสระ” ไม่ต้องถูก “สั่ง” หรือถูก “จำกัด” อิสรภาพในเรื่องของเวลาที่เราจะทำอะไรหรือไม่ต้องถูก “วัด” ผลงานหรือความสามารถโดย “เจ้านาย” ซึ่งทั้งหมดนั้นมักก่อให้เกิดความคับข้องใจและทำให้เราเกิดความเครียด เป็นทุกข์ เราอยากทำอะไรที่เราอยากทำ เราอาจจะทำงานต่อไปก็ได้ถ้าเรามีความสุขที่จะทำ เราอาจจะอยากเป็น “ผู้ให้” ที่จะก่อให้เกิดความสุขทางใจมากกว่า หรือถ้าเราไม่อยากจะทำอะไรเลย เราก็สามารถใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ “กระดิกเท้า” ไปวัน ๆ ก็ไม่มีใครมาว่าหรือมายุ่งกับเราได้ นอกจากนั้น เขาก็อาจจะ “ฝัน” ต่อไปอีกว่า หลังจากมีเงินพอเลี้ยงชีพแล้ว ด้วยการลงทุนต่อไป เขาก็อาจจะ “ร่ำรวย” กลายเป็นเศรษฐีและสามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างฟุ่มเฟือยมากขึ้น มีบ้าน รถยนต์ และสิ่งของหรูหรา สามารถเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก และชีวิตมีแต่ “ความสุข”
ผมเอง “ผ่าน” ประสบการณ์ดังกล่าวมาหมดแล้ว ว่าที่จริงผมผ่านประสบการณ์ “ก่อนหน้า” นั้นด้วย ความหมายก็คือ ผมผ่านประสบการณ์ที่ต้อง “เอาตัวรอด” ซึ่งก็หมายความว่าจะรักษา “มาตรฐานชีวิตเดิม” ได้หรือไม่ผลจากการที่เศรษฐกิจไทยเกิดวิกฤติในปี 2540 และกลายเป็นวิกฤติของชีวิตที่ต้อง “ตกงาน” และหางานที่จะจ่ายเงินเท่าเดิมยาก การเริ่มลงทุน “อย่างมุ่งมั่น” ในตลาดหุ้นของ
ผมจึงเป็นการทำเพื่อ “เอาตัวรอด” ไม่ได้เป็นการลงทุนเพื่อความเป็นอิสรภาพทางการเงินไม่ต้องพูดว่าจะรวยเป็นเศรษฐี ถ้าจะว่าไป ในยามนั้น คำว่า “อิสรภาพทางการเงิน” ยังไม่มีอยู่ใน “พจนานุกรม” ของผมหรือของใครด้วยซ้ำ สำหรับผมแล้ว “ความมั่นคงทางการเงิน” และแน่นอนว่ามันคือความมั่นคงในชีวิต เป็นสิ่งสูงสุดที่ผมพยายามไขว่คว้า ด้วยอายุ 44 ปี ภรรยาที่มีอาชีพหลักเป็นแม่บ้านและลูกที่ยังเล็กและอนาคตการงานที่คงจะแย่ลงอย่างแน่นอนนั้น มันเตือนผมตลอดเวลาว่า สิ่งสำคัญของการลงทุนก็คือสิ่งที่วอเร็น บัฟเฟตต์ พูด นั่นคือ “อย่าขาดทุน”
เจ็ดปีต่อมาในปี 2547 ด้วยอายุ 51 ปี ผมก็ลาออกจากงานประจำ มันเป็นการลาออกแบบ “กระทันหัน” ที่ผมไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแม้ว่าลึก ๆ แล้วผมคิดว่าผมมีพอร์ตหรือมีเงินมาก “เกินพอ” ที่จะใช้ชีวิตต่อไปได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องมีเงินเดือน อย่างไรก็ตาม เงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 7 ปีนั้น ผมเองก็ไม่มั่นใจว่ามันจะดำรงไว้ได้แค่ไหน ในช่วงปี 2547 พอร์ตผมเองก็ลดลงไปเกือบ 30% ในเวลาเพียงครึ่งปี แต่เงินเดือนนั้น ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรผมก็ยังได้รับมันทุกเดือน มันเป็น “ความมั่นคง” ที่จิตใจผมเองแสวงหามาตั้งแต่ยังเป็นเด็กที่จำความได้ เพราะในสมัยก่อนที่สังคมไทยยังจนอยู่และผมเองก็เกิดในครอบครัวที่ต้อง “หาเช้ากินค่ำ” นั้น บางทีเราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีวันไหนไหมที่เราจะต้อง “อดกิน” เนื่องจากวันนั้นเราไม่มีเงิน ดังนั้น วันที่ผมลาออกจากงาน ผม “ใจหาย” แม้ว่าจะมีพอร์ตหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเฉพาะจากเงินปันผลประมาณ 3 เท่าของเงินเดือน
คนไทยรุ่นใหม่ที่เกิดมาในช่วงที่สังคมไทยรวยขึ้นและการ “อดอยาก” เป็นเรื่องที่ไกลตัวมักจะไม่รู้สึกมากถึง “ความมั่นคงทางการเงิน” ว่ามันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขที่สำคัญเท่ากับคนรุ่นผม พวกเขาคิดว่าการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นนั้น เป้าหมายสูงสุดก็คือมีเงินพอและมากพอที่จะใช้ชีวิตที่มีอิสระและมีความสุขอย่างที่ตนเองต้องการ หลายคนลาออกจากงานประจำทันทีที่มีเงินมากพอที่จะ “มีอิสระทางการเงิน” โดยอิงกับตัวเลขการใช้จ่ายในปัจจุบัน บางคนก็ลาออกเร็วกว่านั้น พวกเขา “ตามฝัน” ที่จะทำอะไรที่เป็น “อิสระ” ซึ่งบางทีก็คือการไม่ต้องทำงานออฟฟิสที่น่าเบื่อและไป “ลงทุน” ซึ่งก็คือการซื้อขายหุ้นและลุ้นกับการขึ้นลงของหุ้นและของพอร์ตที่น่าสนุก การได้ไปเยี่ยมชมหรือไปฟังข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นเองก็เป็นเรื่องที่น่ารื่นรมย์กว่าการเป็นลูกจ้างเป็นไหน ๆ หลายคนประสบความสำเร็จอย่างงดงามอานิสงค์จากการที่ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่สูงอย่าง “มโหฬาร” แก่นักลงทุนโดยเฉพาะคนที่สังคมเรียกว่าเป็น “Value Investor” ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา
ในฐานะที่ผ่านประสบการณ์ตั้งแต่ศูนย์จนมีความมั่งคั่งผ่านการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ผมมีความรู้สึกว่าคนจำนวนมาก “Overestimate” หรือคาดหวังสูงเกินไปกับการที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงินและความสุขที่จะตามมาจากการนั้น ประการแรกก็คือ การที่จะมีอิสรภาพทางการเงินโดยที่ตนเองไม่มี “ต้นทุน” หรือต้นทุนน้อยจากครอบครัวหรือคนอื่นนั้น และหวังจะลงทุนจนได้อิสรภาพทาง
การเงินไม่ใช่เรื่องง่าย ปกติมันต้องใช้เวลาน่าจะเกือบทั้งชีวิต การตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเกษียณตั้งแต่อายุ 40-50 ปี นั้น ไม่ใช่เรื่องผิดหรือเสียหายแต่ก็อย่าหมกมุ่นจนเกินไป ควรหางานและทำงานที่ไม่ได้ทำให้เราเครียดมากและมีความสุขตามอัตภาพ ทำงานไปเรื่อย ๆ จนกว่าเกษียณ ในขณะเดียวกัน ลงทุนในหุ้นที่ปลอดภัยและมีการเติบโตพอประมาณไปในระยะยาวหลาย ๆ ตัวและหลาย ๆ อุตสาหกรรมเพื่อกระจายหรือลดความเสี่ยงการลงทุนลง เสร็จแล้วก็รอดูพอร์ตหุ้นเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับเงินเดือนที่โตขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งที่จะได้ก็คือความมั่นคงทางการเงินที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งที่เรามั่นใจว่ามีเงินในพอร์ตมากพอและรายได้จากเงินปันผลสูงกว่าเงินเดือนมาก อย่างน้อยเป็น 2 เท่า เราก็อาจจะออกจากงานประจำเพื่อใช้ชีวิตที่เป็น “อิสระจริง ๆ” ไม่ห่วงว่าพอร์ตจะลดลงจนมีปัญหาแม้ในยามที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ
สำหรับ “ความสุข” ที่เราแสวงหานั้น ผมคิดและเชื่อว่ามันเป็นเรื่องของร่างกายเราเองที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิดว่าเราจะมีความสุขอยู่ในระดับไหนถึงไหน คนบางคนอาจจะมีความสุขตั้งแต่ 70-100 หน่วย เงินนั้นอาจจะช่วยเราได้บ้างในแง่ที่จะช่วยซื้อ “ความทุกข์” บางอย่างทิ้งไป แต่ไม่สามารถสร้างความสุขของเราเกินร้อย ในขณะที่คนอีกคนหนึ่งนั้นอาจจะโชคดีที่เกิดมาก็มีความสุขระดับ 80-110 หน่วยโดยที่ใช้เงินน้อยมาก ดังนั้น สำหรับผมแล้ว สิ่งที่เราควรจะทำก็คือ พยายามทำตัวเองให้มีความสุขเต็มศักยภาพของเราโดยที่ใช้เงินเป็น “ตัวช่วย” เท่าที่มันจะทำได้ อย่าไปหวังว่าถ้าเรามีเงินมากแล้วจะมีความสุขตามมาตามสัดส่วน มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 381
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 38
ผมเป็นคนหนึ่งที่ลาออกจากงานประจำ และยังชีพทุกวันนี้ด้วยเงินจากตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียว
อยากขอร่วมแสดงความคิดเห็น
1.ผมมองว่าถ้ารายได้จากการลงทุนมากกว่าค่าใช้จ่ายครอบครัวอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีอิสรภาพที่จะเลือกทำหรือไม่ทำงานทั้งงานประจำและพาร์ทไทม์ ผมถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินแล้ว
2.คนที่มีแนวคิดแบบวีไอ มักจะพยายามจำกัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด จึงให้คิดว่าถ้าเงินปันผลพอเลี้ยงครอบครัวถือว่ามีอิสรภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วcapital gainที่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานมันมากกว่าเงินปันผลหลายเท่า และความรวยที่แท้จริงมาจากผลกำไรส่วนต่างราคามากกว่าเงินปันผล
3.เอาเข้าจริงๆแล้ววีไอพันธุ์แท้ไม่ได้ต้องการเงินมากมายเท่าไหร่ในการดำเนินชีวิต ผมไม่ค่อยเห็นวีไอใช้ของฟุ่มเฟือยราคาแพง หรือพยายามแสดงสถานะความร่ารวย ผมมองไม่เห็นประโยชน์ในการที่คนอื่นคิดว่าเรารวย ผมกลับมองว่าอันตรายต่อตัวเองและคนในครอบครัวด้วยซ้า และสำหรับคนมีความคิดแบบวีไอ รถสปอร์ทราคาสิบล้านมันคือเงินร้อยล้านที่หายไปในอนาคต
4.เงินทองอาจซื้อความสุขและสะดวกสบายได้ถึงระดับหนึ่ง พ้นกว่านั้นมันอาจมีความหมายน้อยมาก สมมติคุณอายุ40ปี
พอร์ทหุ้นคุณ60ล้าน คุณใช้ปีละ1ล้านอยู่ได้พอเพียง ถ้าไม่มีรายได้เพิ่มเงินคุณจะหมดตอนอายุ100ปี ต่อมาพอร์ทหุ้นคุณใหญ่ขึ้นเป็น80ล้าน เงินคุณจะหมดตอนอายุ120ปี มันแตกต่างกันมากแค่ไหน ในเมื่ออายุเฉลี่ยคนเราแค่80กว่าปี
5.ถ้าคุณมีเงินมากพอแล้วและคุณมีเหตุผลและคุณธรรมในจิตใจเพียงพอ คุณย่อมเข้าใจได้ว่า คุณได้จากคนอื่น จากสังคม จากประเทศชาติ รวมทั้งจากพระเจ้ามามากมายแล้ว ถึงเวลาที่จะตอบแทนคนอื่นบ้าง ความสุขที่เราทำสิ่งต่างๆเพื่อตัวเองนั้นเทียบไม่ได้กับความสุขที่เราได้ทำเพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ทำไมมหาเศรษฐีระดับโลก เช่น Carnegie Buffett Bill Gates จึงบริจาคทรัพย์สินมากกว่า90%ให้กับการกุศล ทั้งๆที่ต้องเหนื่อยยากหามาทั้งชีวิต บางทีเพราะเขาอยากให้มีคนรักและคิดถึงเมื่อเขาจากไป หรือถ้าเขาทำดีมากพอประวัติศาสตร์จะบันทึกชื่อเขาไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษา แทนที่จะเป็นแค่คนรวยเห็นแก่ตัวคนหนึ่งที่ได้ตายจากไป
ขอบคุณจขกท สำหรับกระทู้สนุกๆ และต้องขอโทษถ้านอกเรื่องไปไกล ถือเสียว่าฟังคนแก่บ่นเพ้อตามวัย
อยากขอร่วมแสดงความคิดเห็น
1.ผมมองว่าถ้ารายได้จากการลงทุนมากกว่าค่าใช้จ่ายครอบครัวอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีอิสรภาพที่จะเลือกทำหรือไม่ทำงานทั้งงานประจำและพาร์ทไทม์ ผมถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินแล้ว
2.คนที่มีแนวคิดแบบวีไอ มักจะพยายามจำกัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด จึงให้คิดว่าถ้าเงินปันผลพอเลี้ยงครอบครัวถือว่ามีอิสรภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วcapital gainที่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานมันมากกว่าเงินปันผลหลายเท่า และความรวยที่แท้จริงมาจากผลกำไรส่วนต่างราคามากกว่าเงินปันผล
3.เอาเข้าจริงๆแล้ววีไอพันธุ์แท้ไม่ได้ต้องการเงินมากมายเท่าไหร่ในการดำเนินชีวิต ผมไม่ค่อยเห็นวีไอใช้ของฟุ่มเฟือยราคาแพง หรือพยายามแสดงสถานะความร่ารวย ผมมองไม่เห็นประโยชน์ในการที่คนอื่นคิดว่าเรารวย ผมกลับมองว่าอันตรายต่อตัวเองและคนในครอบครัวด้วยซ้า และสำหรับคนมีความคิดแบบวีไอ รถสปอร์ทราคาสิบล้านมันคือเงินร้อยล้านที่หายไปในอนาคต
4.เงินทองอาจซื้อความสุขและสะดวกสบายได้ถึงระดับหนึ่ง พ้นกว่านั้นมันอาจมีความหมายน้อยมาก สมมติคุณอายุ40ปี
พอร์ทหุ้นคุณ60ล้าน คุณใช้ปีละ1ล้านอยู่ได้พอเพียง ถ้าไม่มีรายได้เพิ่มเงินคุณจะหมดตอนอายุ100ปี ต่อมาพอร์ทหุ้นคุณใหญ่ขึ้นเป็น80ล้าน เงินคุณจะหมดตอนอายุ120ปี มันแตกต่างกันมากแค่ไหน ในเมื่ออายุเฉลี่ยคนเราแค่80กว่าปี
5.ถ้าคุณมีเงินมากพอแล้วและคุณมีเหตุผลและคุณธรรมในจิตใจเพียงพอ คุณย่อมเข้าใจได้ว่า คุณได้จากคนอื่น จากสังคม จากประเทศชาติ รวมทั้งจากพระเจ้ามามากมายแล้ว ถึงเวลาที่จะตอบแทนคนอื่นบ้าง ความสุขที่เราทำสิ่งต่างๆเพื่อตัวเองนั้นเทียบไม่ได้กับความสุขที่เราได้ทำเพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ทำไมมหาเศรษฐีระดับโลก เช่น Carnegie Buffett Bill Gates จึงบริจาคทรัพย์สินมากกว่า90%ให้กับการกุศล ทั้งๆที่ต้องเหนื่อยยากหามาทั้งชีวิต บางทีเพราะเขาอยากให้มีคนรักและคิดถึงเมื่อเขาจากไป หรือถ้าเขาทำดีมากพอประวัติศาสตร์จะบันทึกชื่อเขาไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษา แทนที่จะเป็นแค่คนรวยเห็นแก่ตัวคนหนึ่งที่ได้ตายจากไป
ขอบคุณจขกท สำหรับกระทู้สนุกๆ และต้องขอโทษถ้านอกเรื่องไปไกล ถือเสียว่าฟังคนแก่บ่นเพ้อตามวัย
- ginvestor
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พอร์ตเท่าไรเรียกมีอิสระภาพทางการเงิน ปันผลต่อปีเท่าไรออก
โพสต์ที่ 39
เอาบ้าง เพราะวางแผนไว้เหมือนกันอีก3ปีข้างหน้า
ตอนเริ่มลงทุนปี 50 เริ่มจากเงินลงทุนประมาณ400,000บและเพิ่มเงินลงทุนในPORT อีกปีละประมาณ 250,000 บ โดยตั้งเป้าผลตอบแทนที่ 13-15% ต่อปีคาดอีก20ปี คือปี 2570จะมีเงินลงทุน25ล้าน แล้วค่อยคิดลาออก
มาถึงตอนนี้ผลตอบแทน ได้ดีเกินเป้าหมายมาก จึงคิดลาออก 3 ปีข้างหน้าคือปี 63 ซึ่งผมมีครอบครัวจึงต้องคิดให้รอบคอบก่อนออกจากงาน โดยวางให้เป้าหมายภรรยาทำงานจนกว่าลูกเรียนจบจึงออก(ให้เป้าภรรยายาวไว้ก่อน555)
4 ปีที่เหลือนี้เป็นการ ทดสอบเตรียมความพร้อม ก่อนออกจากงานตั้งแต่ปี2560-2563
ส่วนที่1 เริ่มจากเงินเดือนและโบนัสทั้งหมดไม่ใช้นำไปฝากเข้าเป็นหุ้นสหกรณ์ที่ทำงานอยู่ เริ่มทำตั้งแต่ต้นปี60 เพื่อทดสอบการไม่มีเงินเดือน โดยใช้เงินจากการลงทุนเพียงอย่างเดียว
ทดสอบ 2 ปรับการลงทุนนำเงินบางส่วนมาฝากและถือหุ้นใน
สหกรณ์จำนวน 4 แห่งเพื่อกระจายความเสี่ยงเลือกสหกรณ์ที่ค่อนข้างมั่นคงเช่น สหกรณ์สาธารณสุข สหกรณ์ครู และสหกรณ์ที่ทำงานเนื่องจากดอกเบี้ยและปันผลดี 3.5-5% ต่อปี เงินดอกเบี้ยและปันผลต้องมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับและมากกว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ปัจจุบันได้ทำแล้วและมีผลตอบแทนมากกว่าเงินเดือนและมากกว่าคชจแต่ละเดือน และเงินส่วนนี้ก็ไม่ใช้นำไปฝากเพิ่มทบต้นเงินเรื่อยๆ
มองว่าหากลาออกจากงาน แล้วการลงทุนถึงขั้นหมดตัวก็ยังใช้ส่วนที่ 2 ได้อย่างไม่เดือดร้อน
เงินที่ใช้ปัจจุบันเป็นส่วนที่ 3 ใช้เงินผลตอบแทนจาก การลงทุนเพียงอย่างเดียว โดยคาดหวังผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีแล้วยังเติบโตได้ 10 %
ซึ่งที่ผ่านมาลงทุนแบบถือตัวเดียว ระดับ80%-100% ของPORT มาโดยตลอดแต่ละตัวถือ1-2ปี ช่วงขยายPORTบางปีถือwarrant ก็มี ผลตอบแทน จึงค่อนข้างแกว่งมาก บางปี PORT ผลตอบแทนลบ20% ก็เคยมี ปีโตสุดผลตอบกว่า500% ปัจจุบันกระจายการลงทุนหุ้น4 ตัวต่างอุตสาหกรรมกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของการลงทุน
การลงทุน แม้ผลตอบแทนจะดีหากแต่ความผันผวนมีมากจึงต้องกระจายความเสี่ยงก่อนออกงาน ส่วนตัวแล้วหากออกงาน ก็จะไม่ทำงานเพื่อต้องการผลตอบแทนรูปตัวเงินอีก แต่จะทำเพราะอยากทำช่วยคนอื่น หรือทำในสิ่งที่ชอบโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือท่องเที่ยว ทำบุญ ให้กับผู้ที่ขาดโอกาส แต่การลงทุนก็ยังคงทำต่อไป
หากส่วนที่ 3 ยังเติบโตได้ตามคาดถึงปี 63 ก็คงพร้อมจะลาออกจากงาน
ท่านใดมีแผนอย่างไรบ้าง ในการเตรียมตัว ออกจากการทำงานประจำหรือเพิ่มเติมอะไรก็มาแชร์กันครับเผื่อจะได้ทำเพิ่มเติม
ตอนเริ่มลงทุนปี 50 เริ่มจากเงินลงทุนประมาณ400,000บและเพิ่มเงินลงทุนในPORT อีกปีละประมาณ 250,000 บ โดยตั้งเป้าผลตอบแทนที่ 13-15% ต่อปีคาดอีก20ปี คือปี 2570จะมีเงินลงทุน25ล้าน แล้วค่อยคิดลาออก
มาถึงตอนนี้ผลตอบแทน ได้ดีเกินเป้าหมายมาก จึงคิดลาออก 3 ปีข้างหน้าคือปี 63 ซึ่งผมมีครอบครัวจึงต้องคิดให้รอบคอบก่อนออกจากงาน โดยวางให้เป้าหมายภรรยาทำงานจนกว่าลูกเรียนจบจึงออก(ให้เป้าภรรยายาวไว้ก่อน555)
4 ปีที่เหลือนี้เป็นการ ทดสอบเตรียมความพร้อม ก่อนออกจากงานตั้งแต่ปี2560-2563
ส่วนที่1 เริ่มจากเงินเดือนและโบนัสทั้งหมดไม่ใช้นำไปฝากเข้าเป็นหุ้นสหกรณ์ที่ทำงานอยู่ เริ่มทำตั้งแต่ต้นปี60 เพื่อทดสอบการไม่มีเงินเดือน โดยใช้เงินจากการลงทุนเพียงอย่างเดียว
ทดสอบ 2 ปรับการลงทุนนำเงินบางส่วนมาฝากและถือหุ้นใน
สหกรณ์จำนวน 4 แห่งเพื่อกระจายความเสี่ยงเลือกสหกรณ์ที่ค่อนข้างมั่นคงเช่น สหกรณ์สาธารณสุข สหกรณ์ครู และสหกรณ์ที่ทำงานเนื่องจากดอกเบี้ยและปันผลดี 3.5-5% ต่อปี เงินดอกเบี้ยและปันผลต้องมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับและมากกว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ปัจจุบันได้ทำแล้วและมีผลตอบแทนมากกว่าเงินเดือนและมากกว่าคชจแต่ละเดือน และเงินส่วนนี้ก็ไม่ใช้นำไปฝากเพิ่มทบต้นเงินเรื่อยๆ
มองว่าหากลาออกจากงาน แล้วการลงทุนถึงขั้นหมดตัวก็ยังใช้ส่วนที่ 2 ได้อย่างไม่เดือดร้อน
เงินที่ใช้ปัจจุบันเป็นส่วนที่ 3 ใช้เงินผลตอบแทนจาก การลงทุนเพียงอย่างเดียว โดยคาดหวังผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีแล้วยังเติบโตได้ 10 %
ซึ่งที่ผ่านมาลงทุนแบบถือตัวเดียว ระดับ80%-100% ของPORT มาโดยตลอดแต่ละตัวถือ1-2ปี ช่วงขยายPORTบางปีถือwarrant ก็มี ผลตอบแทน จึงค่อนข้างแกว่งมาก บางปี PORT ผลตอบแทนลบ20% ก็เคยมี ปีโตสุดผลตอบกว่า500% ปัจจุบันกระจายการลงทุนหุ้น4 ตัวต่างอุตสาหกรรมกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของการลงทุน
การลงทุน แม้ผลตอบแทนจะดีหากแต่ความผันผวนมีมากจึงต้องกระจายความเสี่ยงก่อนออกงาน ส่วนตัวแล้วหากออกงาน ก็จะไม่ทำงานเพื่อต้องการผลตอบแทนรูปตัวเงินอีก แต่จะทำเพราะอยากทำช่วยคนอื่น หรือทำในสิ่งที่ชอบโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หรือท่องเที่ยว ทำบุญ ให้กับผู้ที่ขาดโอกาส แต่การลงทุนก็ยังคงทำต่อไป
หากส่วนที่ 3 ยังเติบโตได้ตามคาดถึงปี 63 ก็คงพร้อมจะลาออกจากงาน
ท่านใดมีแผนอย่างไรบ้าง ในการเตรียมตัว ออกจากการทำงานประจำหรือเพิ่มเติมอะไรก็มาแชร์กันครับเผื่อจะได้ทำเพิ่มเติม
ทุกคนมีความฝัน แต่ต่างกันที่ ใครจะแค่ฝันหรือลงมือทำ