ดอกเบี้ย ? ?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ข่าวด่วน

สภาพัฒน์ ส่งสัญญาณ ธปท. ลดดอกเบี้ยกระตุ้น ศก. เชื่อหนุนจีดีพีปี 58 โตได้มากกว่า 3.5-4.5%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -16 ก.พ. 58 11:29 น.


   นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีที่ระดับ 3.5-4.5% ในปี 2558 ยืนยันว่ายังเป็นในระดับที่ต่ำกว่าปกติ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ และเข้าใกล้ศูนย์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับต่ำไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นมาตรการที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวได้รวมไปถึงเกิดการลงทุน น่าจะได้รับการสนับสนุนนโยบายทางการเงิน โดยเฉพาะด้านอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังมีช่องว่างที่จะสามารถทำนโยบายทางการเงินได้   

"หากลดอัตราดอกเบี้ยลงคงจะช่วยเพิ่มให้ภาคธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ต้นทุนทางการงินก็จะต่ำลงไปด้วย ซึ่งส่งผลให้ภาคธุรกิจมีการกู้เงินเพื่อขยายรธุรกิจเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในปีนี้"นายอาคม กล่าว  

ทั้งนี้ที่ผ่านมาสภาพัฒน์ ได้เคยส่งสัญญาณถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว แต่ธปท.ยังยันยันว่าอัตราดอกเบี้ยยังมีความเหมาะสม และต้องการเก็บกระสุนทางการเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น


รายงาน โดย ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ส.อ.ท. แนะ กนง.ลดดอกเบี้ย อีก 0.25-0.50% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -16 ก.พ. 58 13:28 น.


นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกีรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ส.อ.ท.มองว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% ยังเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันกับเพื่อนบ้าน และส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆในภูมิภาค ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.น่าจะมีการประชุมพิเศษ และลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.25-0.5% เพื่อให้ไทยสามารถกลับมาแข่งขันได้

"จริงๆคือเราก็อยากให้ดำเนินการเร็ว เรื่องแบบนี้มันรอเวลาไม่ได้ รอประชุม 3 เดือนครั้ง มันจะเสียหายคงไม่ทัน หากลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าและส่งผลดีขึ้น"นายสุพันธ์ กล่าว


รายงาน โดย ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

http://www.thairath.co.th/content/481860


ธปท.ยันยังไม่ใช้นโยบายการเงิน สกัดเงินเฟ้อติดลบ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 17 ก.พ. 2558 20:05


ธปท.ยันยังไม่ใช้นโยบายการเงิน สกัดเงินเฟ้อติดลบ ประเมินจีดีพีใกล้เคียงสภาพัฒน์ที่ 0.8% แต่มองบริโภคเอกชนชะลอตัวมากกว่าคาดการณ์ เชื่อต้องใช้เวลาอีกระยะจับจ่ายจะเพิ่มขึ้น ไม่กังวลเงินทุนไหลออก ชี้ค่าบาทยังมีเสถียรภาพ...

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ขณะนี้จะยังไม่ใช้นโยบายการเงินเพื่อสกัดปัญหาอัตราเงินเฟ้อติดลบ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง หลังจากที่ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของไทยในเดือน ม.ค.58 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.4% ดังนั้น ในส่วนของนโยบายการเงินคงไม่ต้องดำเนินการอะไรเป็นพิเศษ โดยธปท.ยังเชื่อว่าทั้งปีอัตราเงินเฟ้อจะยังขยายตัวเป็นบวก

ขณะที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP ในปี 57 ว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.7% นั้น ถือว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ ธปท.ประเมินไว้ที่ 0.8% แต่ทั้งนี้มองว่าการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งมีสาเหตุจากรายได้ภาคการเกษตรตกต่ำติดต่อกันเป็นปีที่ 3 และคาดว่ารายได้ภาคเกษตรในปีนี้จะยังชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลต่อการบริโภค เพราะรายได้ภาคเกษตรคิดเป็น 11% ของรายได้รวมของประเทศ อันจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย

ส่วนความเชื่อมั่นในการบริโภคช่วงไตรมาส 4/57 ลดลงจากไตรมาส 3/57 ซึ่งจากที่ ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์ก็พบว่าความเชื่อมั่นในการบริโภคเดือน ม.ค.57 ยังคงทรงตัว รวมทั้งหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 84.7% ของ GDP

อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ดีจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีเงินเหลือสำหรับการจับจ่ายใช้สอยในด้านอื่นๆ แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะจึงจะเห็นว่ามีการจับจ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนใด ซึ่งการบริโภคที่ฟื้นตัวนั้นจะต้องดูจากสินค้าคงทน เพราะหากเริ่มมีการซื้อสินค้าคงทนก็เท่ากับเห็นสัญญาณการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น

ขณะที่การส่งออกในปี 58 นั้น ธปท.ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงในเรื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดต่ำลง โดยสินค้าโภคภัณฑ์มีสัดส่วน 18% ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม ทำให้ ธปท.คาดว่าการส่งออกในปีนี้คงจะอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งต่ำกว่าที่ สศช.ประเมินไว้ที่ 3.5%

พร้อมย้ำ ธปท.ไม่ได้กังวลต่อสถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วงนี้ เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 58 ที่ผ่านมา ยังไม่พบความผิดปกติของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยรวมแล้วเงินลงทุนในหลักทรัพย์ไหลออกสุทธิตามการไหลออกของเงินทุนจากตลาดพันธบัตร (ม.ค.-5 ก.พ.58 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 418 ล้านดอลลาร์) แม้จะมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นไทย (ม.ค.-13 ก.พ.58 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 108 ล้านดอลลาร์)

“เดือน ม.ค.58 เงินทุน ไหลออกจากทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรรวมกว่า 300 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นการไหลออกจากตลาดพันธบัตร ขณะเดือน ก.พ.58 เงินทุนในหลักทรัพย์ไหลเข้าสุทธิตามการไหลเข้าของเงินทุนในตลาดหุ้นไทยกว่า 200 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินทุนยังคงไหลออกจากตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีมีเงินทุนไหลออก 310 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเงินทุนที่ไหลออกนั้นเป็นการปรับตัวตามตลาดสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ธปท.จะติดตามสถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และเข้าใจดีว่าที่หลายฝ่ายแสดงความกังวลเพราะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจมหภาค”

ส่วนการติดตามผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น พบว่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ แม้จะมีการไหลออกในหลักทรัพย์ แต่ในส่วนของการลงทุนโดยตรง (FDI) ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดย ณ สิ้น ธ.ค.57 มูลค่า FDI อยู่ที่ 560 ล้านดอลลาร์

สำหรับประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น จากหารือกับผู้ประกอบการในขณะนี้ยังไม่ได้เป็นประเด็นที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ ซึ่งการจะกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ธปท.มองว่าต้องผสมผสานร่วมกันระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง และมองว่าการใช้นโยบายการคลังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วกว่าการใช้นโยบายการเงิน เช่น การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นมากขึ้น.
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 1424394210

ผู้ว่าฯธปท.โต้แนวคิดบีบให้ลดดอกเบี้ย บอกเงินล้นวันละ 9 แสนล้าน รอเอกชนกู้ไปลงทุน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 08:00:12 น.

รูปภาพ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสภาพคล่องในระบบการเงินของไทยขณะนี้ว่ามีเพียงพอสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวขึ้นได้ หากพิจารณาเฉพาะสภาพคล่องรายวันส่วนที่เกินกว่าการใช้ในระบบมีประมาณ 700,000-900,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งเป็นเงินของธนาคารพาณิชย์ที่เหลือจากการปล่อยสินเชื่อหรือทำธุรกิจอื่นๆ ในแต่ละวัน และเมื่อสิ้นวันยังไม่สามารถเอาไปทำอะไรได้ ก็จะนำมาฝากไว้ที่ ธปท. โดยได้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน พอรุ่งเช้า ธปท.ก็โอนเงินส่วนนี้กลับเข้าไปในระบบ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ไปปล่อยสินเชื่อหรือทำธุรกิจใหม่ แต่ความต้องการสินเชื่อในขณะนี้ยังไม่มาก ทำให้ทุกสิ้นวันมีเงินกลับมาฝากที่ ธปท. 700,000-900,000 ล้านบาททุกวัน

ทั้งนี้ เงินที่ ธปท.ดูดกลับอยู่นี้ไม่ได้มีแค่เงินอายุ 1 วันอย่างเดียว แต่มีเงินฝาก 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือนอีก แสดงให้เห็นว่าในภาพใหญ่ของประเทศยังมีเงินที่จะใช้ในการลงทุน หรือหมุนเวียนไปยังภาคต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งเงินส่วนนี้หากประเทศมีการลงทุนขนาดใหญ่ หรือภาคธุรกิจมีความมั่นใจที่จะขยายธุรกิจ หรือลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติมสามารถมากู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ไปลงทุนได้ นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ก็อยู่ในระดับต่ำ ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว 10 ปีอยู่ที่ 2.6% เท่านั้น ซึ่งเอื้อต่อการลงทุนของรัฐบาลและภาคธุรกิจค่อนข้างมาก
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ธปท. ย้ำ ดบ.นโยบายของไทยยังค่อนข้างต่ำ เชื่อลดดบ. ไม่กระตุ้นการกู้ยืมมาก

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -24 ก.พ. 58 12:20 น.

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ด้านบริหารธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในขณะนี้ ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่สภาพคล่องยังมีเพียงพอที่จะสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ

" หากมีการปรับลดดอกเบี้ยลง ก็คงช่วยกระตุ้นการกู้ยืมได้ไม่มากนัก" นายไพบูลย์ กล่าว

ทั้งนี้ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือน ม.ค. มีมติด้วยเสียง 5 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% เป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน แต่การประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ มีการคาดการณ์ว่า กนง. น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลง


เรียบเรียง โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน อีเมล์. [email protected]
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ส.นักวิเคราะห์ แนะแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย เหตุระดับปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -25 ก.พ. 58 17:21 น.



  นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพราะระดับปัจจุบันถือว่าไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ โดยดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ระดับ 2.4% สูงสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งไม่เหมาะกับเศรษฐกิจไทยขณะนี้ที่ต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจ   

ขณะที่หนี้ครัวเรือนก็ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดหนี้ครัวเรือนมากกว่าจีดีพีของประเทศ 84.7% หนี้ภาครัฐมากกว่าจีดีพี 73.0% และหนี้ภาคเอกชนก็สูงกว่าจีดีพี 46.2%  

ด้านเงินบาทก็จะยังไม่ใช่การแข็งค่าที่ยั่งยืนเพราะไม่ได้เกิดจากเศรษฐกิจที่แข็งแรงขึ้น  

"หากต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจจริงๆ ต้องปรับลดดอกเบี้ยลงอีก เพราะตอนนี้ไม่สะท้อนกับเศรษฐกิจ ซึ่งพอดอกเบี้ยยังสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็นแต่หนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลายเป้นว่าความสามารถในการชำระหนี้จะลดลงในทุกๆ วัน" นายไพบูลย์ กล่าว


รายงาน โดย ศราพงค์ นันติวงค์
เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอนำข่าวส่วนนี้ มาไว้เสริม ในห้องนี้
เพื่อเทียบเคียงกับ การประมาณการณ์ต่างๆ ที่มีมาก่อน

จากตามข่าวด้านบน (ช่องที่ 3 นับจากข้างบนลงมา)
ธปท. ได้ประมาณผลการส่งออกในปีนี้ไว้
ธปท.คาดว่าการส่งออกในปีนี้คงจะอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งต่ำกว่าที่ สศช.ประเมินไว้ที่ 3.5%



ราคาสินค้าเกษตร-น้ำมันร่วง ฉุดส่งออก ม.ค. หด 3.46%
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 25 ก.พ. 2558 16:02
http://www.thairath.co.th/content/483483

รูปภาพ
พณ.เผยส่งออกเดือน ม.ค. หดลง 3.46% เช่นเดียวกับนำเข้าลดลง 13.33% ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 457 ล้านเหรียญสหรัฐ จากราคาน้ำมันโลกร่วง ค่าเงินประเทศคู่แข่ง...

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยการส่งออกเดือน ม.ค.58 ว่า หดตัวลดลง 3.46% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่า 17,249 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าหดตัวลดลง 13.33% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน โดยมีมูลค่า 17,705 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 457 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกหดตัวสูง กดดันให้ราคาส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหดตัวและราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ กระทบมูลค่าส่งออก โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเดือน ม.ค.58 อยู่ที่ 47.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ลดลงถึง 53.6% (YoY) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งนับเป็นระดับราคาที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี(ก.พ.52) เนื่องจากผลผลิตน้ำมันดิบมีมากเกินความต้องการในตลาดโลก ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยเดือน ม.ค.58 ปรับตัวลดลง 14.2% กระทบต่อมูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปลดลง 28.1%

ขณะที่ปริมาณส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น 21.8% เช่นเดียวกับสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันดิบ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากอุตสาหกรรม การกลั่นปิโตรเลียมค่อนข้างสูง โดยดัชนีราคาส่งออกเดือน ม.ค.58 เคมีภัณฑ์ลดลง 9.1% และเม็ดพลาสติกลดลง 5.0% ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว 21.9% และ 14.6% ตามลำดับ ส่วนราคาส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารายังคงทรงตัว จากแรงกดดันของราคายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมมีต้นทุนต่ำลง นอกจากนี้ยังส่งผลถึงความต้องการใช้พลังงานทดแทนอย่างไบโอดีเซลลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลลดลงตามไปด้วย

ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสำคัญบางตลาดกลับมาหดตัวในเดือน ม.ค.58 ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศ CLMV ยังมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง โดยตลาดหลักที่กลับมาหดตัว ได้แก่ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป(15) กลับมาหดตัว 7.5% และ 5.0% ตามลำดับ จากการที่เศรษฐกิจทั้งสองฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ประกอบกับการดำเนิน นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE) ส่งผลให้ค่าเงินเยน และค่าเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดคำสั่งซื้อชะลอตัว ขณะที่การส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา มีสัญญาณการฟื้นตัวดีต่อเนื่องขยายตัวที่ 6.0% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันจากปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตามทิศทางการจ้างงานที่ดีขึ้น ส่งผลให้การบริโภคสินค้าคงทน และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ คือ ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าเกษตร และค่าเงินของทั้งประเทศคู่ค้าและประเทศคู่แข่ง แม้การส่งออกในเดือนแรกของปีนี้จะติดลบ 3.46% ก็จะยังไม่มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ 4% เพราะสถานการณ์เพิ่งจะผ่านไปเพียงเดือนเดียว แต่จะต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งราคาน้ำมันและค่าเงินอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ในวันที่ 16 มี.ค. จะมีการประชุมทูตพาณิชย์ ซึ่งจะมีการทบทวนสถานการณ์การส่งออกสินค้าในรายตลาด และจะมีการปรับแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น.
entity
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 8

โพสต์

pakhakorn เขียน:ส.นักวิเคราะห์ แนะแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย เหตุระดับปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -25 ก.พ. 58 17:21 น.



  นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพราะระดับปัจจุบันถือว่าไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ โดยดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ระดับ 2.4% สูงสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งไม่เหมาะกับเศรษฐกิจไทยขณะนี้ที่ต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจ   

ขณะที่หนี้ครัวเรือนก็ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดหนี้ครัวเรือนมากกว่าจีดีพีของประเทศ 84.7% หนี้ภาครัฐมากกว่าจีดีพี 73.0% และหนี้ภาคเอกชนก็สูงกว่าจีดีพี 46.2%  

ด้านเงินบาทก็จะยังไม่ใช่การแข็งค่าที่ยั่งยืนเพราะไม่ได้เกิดจากเศรษฐกิจที่แข็งแรงขึ้น  

"หากต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจจริงๆ ต้องปรับลดดอกเบี้ยลงอีก เพราะตอนนี้ไม่สะท้อนกับเศรษฐกิจ ซึ่งพอดอกเบี้ยยังสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็นแต่หนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลายเป้นว่าความสามารถในการชำระหนี้จะลดลงในทุกๆ วัน" นายไพบูลย์ กล่าว


รายงาน โดย ศราพงค์ นันติวงค์
เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
ข่าวรายงานเรื่องหนี้ในแต่ละ sector ผิดหรือเปล่า ตัวเลขร้อยละดังกล่าวคือสัดส่วนที่เทียบกับ GDP ไม่ใช่ส่วนเกิน(มากกว่า) GDP
kraikria
Verified User
โพสต์: 1161
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ลดดอกเบี้ยลงอีกตอนนี้อาจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ เนื่องจากแบงค์เองเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เข้าทำนองว่าเงินหน่ะมีให้กู้แต่ผู้กู้คุณสมบัตรไม่ผ่าน ดังนั้นหากจะกระตุ้นเงินเข้าระบบรัฐบาลต้องมีการใช้จ่ายมากขึ้น บริษัทเอกชนก็ต้องใช้จ่ายหรือลงทุนมากขึ้น เงินก็จะหมุน เศรษฐกิจก็กระเตื้องเอง
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1766
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ตอนนี้ไม่ได้อยู่ในสภาวะปกติที่จะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดได้ ผมคิดว่าธปท.สมควรลดดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้
ค่าเงินบาทแข็งมากเกินไปไม่งั้นไทยจะเสียเปรียบด้านการส่งออกกับต่างชาติได้
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 11

โพสต์

การใช้ ดอกเบี้ย นั้นมีเหตุ และเป้าหมาย ต่างกันได้

ลองดูบางส่วนในบทความข้างล่าง
- กรีซกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ โดย วีรพงษ์ รามางกูร
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=58604
- แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=58608

แต่ก่อนจะเขียนหรือแสดงความเห็นอื่นต่อไป
ซึ่งอาจจะเป็นประเด็น มีผู้ถูกพลาดพิงหรือเสียหายได้
จึงขอแจ้ง ขอการยอมรับเรื่องต่อไปนี้ก่อน เพื่อลดการเข้าใจผิด ลดความขัดแย้ง หรือก่อประเด็นเรื่องตัวบุคคล เพื่อมุ่งหาแนวทางเลือกต่างๆที่มี หรือที่เห็นว่ามี

1. การเลือกแนวทางของ ธปท. หรือ กนง. มีอำนาจและมีสิทธิการใช้ มีกฏหมายรับรอง ดังนั้นส่วนตัวผมยอมรับได้ตามที่สิทธิและอำนาจที่ท่านมี จึงไม่ได้ตั้งกระทู้หรือกล่าวหา ท่านผู้เกี่ยวข้องจะทำผิดกฏหมายอะไร ครับ

2. ผมยอมรับฟัง การอ้างเหตุ ต่างๆ ตามข้อข่าว ที่ธปท.หรือผู้มีหน้าเกี่ยวข้อง ออกมาให้ข่าว เช่น หัวข่าวที่ผมนำมาโพสต์ข้างบน หากคิดตามกรอบหรือโจทย์ที่ท่านตั้งหรืออ้างอิง คำตอบ ก็คงจะเป็นไปตามแบบที่ท่านได้เสนอตามข่าวที่ปรากฏ แต่หากกรอบหรือโจทย์ถูกตั้งใหม่เปลี่ยนไปจากของเดิมนั้น คำตอบ ที่ท่านจะตอบอาจจะเปลี่ยนจากเดิมก็ได้ ฉะนั้นตัวผมก็ยอมรับได้ตามข่าวและหลักที่ท่านใช้อ้างอิง

3. ไม่มี ความสงสัย ในความสามารถ ประสพการณ์ เก่ง ฉลาด รอบรู้ ของท่านผู้มีสิทธิและอำนาจในเรื่องนี้ ที่อาจจะเกี่ยวข้องทั้ง ธปท. หรือ กนง. แต่ก็เชื่อว่าถึงมีพร้อมด้วยเหตุเหล่านี้ ถ้าการเลือกแนวทางที่ต่างกัน ผลที่ได้หรือผลกระทบก็อาจจะแสดงต่างกันได้อีก

4. ส่วนตัวผมไม่ได้เรียนจบ เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ การเงิน หรือการธนาคาร แต่อย่างไร แต่ด้วยเหตุเหล่านี้ ส่วนตัวผมก็คิดว่า ผมคงจะคล้ายกับประชาชนที่เหลืออีกมากกว่า90% ของประเทศนี้ ที่ก็ไม่ได้เรียนจบเกี่ยวกับด้านนี้มา และจะไม่ยอมรับการหมดสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือเพียงนั่งรอรับผลการเลือกแนวทางของท่านทั้งหลายเท่านั้น ยกเว้น จะออกกฏหมายมาห้ามเรื่องนี้. เช่น เรื่องการสร้างบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้จบเกี่ยวกับด้านนี้มา แต่แจ้งความต้องการของตนกับผู้มีความชำนาญในด้านนี้ไปหาวิธี ออกแบบ ขั้นตอน วิธีการสร้างต่างๆ

สุดท้ายต้องขออภัย สมาชิกทุกท่าน และท่านผู้อาสาดูแลเว็บนี้
หากเห็นว่า ไม่เหมาะ ไม่ควร หรือหลุดกรอบของเว็บนี้ ขอให้ช่วยลบด้วย ครับ
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอแสดงความเห็นและมุมมองส่วนตัว

" หากพิจารณาเฉพาะสภาพคล่องรายวันส่วนที่เกินกว่าการใช้ในระบบมีประมาณ 700,000-900,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งเป็นเงินของธนาคารพาณิชย์ที่เหลือจากการปล่อยสินเชื่อหรือทำธุรกิจอื่นๆ ในแต่ละวัน และเมื่อสิ้นวันยังไม่สามารถเอาไปทำอะไรได้ ก็จะนำมาฝากไว้ที่ ธปท. โดยได้อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน พอรุ่งเช้า ธปท.ก็โอนเงินส่วนนี้กลับเข้าไปในระบบ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ไปปล่อยสินเชื่อหรือทำธุรกิจใหม่ "

" หากมีการปรับลดดอกเบี้ยลง ก็คงช่วยกระตุ้นการกู้ยืมได้ไม่มากนัก"

ดอกเบี้ย

- โดยตัวมันเองก็เป็นต้นทุนตัวหนึ่งในการลงทุนของแทบทุกๆกิจการ ส่วนดอกเบี้ยลดลงแล้ว จะกระตุ้นการลงทุนเพิ่มหรือกระตุ้นการกู้ยืมได้มากไหม? ผลยังตอบยาก ยังมีทั้งขั้นตอนหรือองค์ประกอบอื่นๆด้วย แต่ตอบได้ทันทีในแทบทุกกิจการที่กู้เงินเพื่อการลงทุนอยู่ก่อนแล้ว ต้นทุนทางการเงินที่ลดลงน่าจะส่งผลความสามารถในการทำกำไรหรือการแข่งขันที่ดีขึ้น ยกเว้นส่วนขอผู้ฝากเงินเพื่อรอกินดอกเบี้ยจะมีรายได้จากดอกเบี้ยลดลง(แต่กิจการส่วนอื่นๆรายได้อาจไม่ลดลงตามก็ได้) น่าจะคล้ายๆกับที่ธปท.กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ลดลง เงินในกระเป้าประชาชนจะเหลือมากขึ้น อาจจะทำให้มีอำนาจการใช้จ่ายได้มากขึ้น

- การลด ดอกเบี้ย อาจจะไม่กระตุ้นการกู้ยืมได้มาก อาจจะจริงเพราะผู้กู้ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำนั้น แต่คนกู้ที่มีคุณสมบัติถึงก็ควรจะได้ดอกเบี้ยต่ำลง(มันน่าจะดีขึ้น นะ?) ส่วนผู้กู้ที่คุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ อาจต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นเพี่อจะได้รับการปล่อยกู้ จะเห็นได้ง่ายๆ ตื้นๆเลย การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แบงค์ไม่ให้กู้ >> เงินทุน, หลักทรัพย์, สหกรณ์, กองทุนต่างๆ>> บัตรเดรดิตต่างๆ , อิออน , sawad ,mtls , gcap, ifs ,lit >> ต่อไปจะมี นาโนไฟแนนซ์ อีก>>>> ฯลฯ จนถึงการออกไปกู้ยืมนอกระบบทั้งที่ดอกเบี้ยมหาโหดก็ตาม

- ส่วนการใช้งาน ดอกเบี้ย โดยเล่นท่ายาก ท่าพิสดาล พลิกแพลง จนไปมีผล หรือส่งผลร่วม กับเรื่อง "ค่าเงิน" ที่หลายๆประเทศกำลังคิดค้นหรือกำลังทำกันอยู่นั้น เกินกำลังความรู้ส่วนผมที่ไปเข้าใจ กลไก ขั้นตอน วิธีการหรือเทคนิค แต่ก็อยากเห็นผู้มีหน้าที่และผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง ช่วยแสดงฝีมือให้เห็นว่า จะสามารถนำพา " ค่าเงินบาท " ให้การแข็งค่าหรืออ่อนค่า เกาะอยู่แถวกลางๆกลุ่มของกลุ่มคู่ค้าและคู่แข่งด้วย แบบว่า เป็นกวางก็วิ่งแถวกลางๆฝูงเข้าไว้ อย่าออกขอบนอกหรือรั้งท้ายเดี๋ยวจะเป็นเหยื่อตัวแรกๆที่ถูกล่าก่อน

- ส่วน ธปท. มักรายงานข่าวว่า ไม่พบความผิดปกติ ของการเข้าออก หรือแลกเปลีี่ยน หรือการถูกการเกร็งกำไรค่าเงินที่ผิดปกติ ส่วนตัวผมก็ติงไว้ว่า อย่านิ่งนอนใจนัก แบบนี้มันเหตุซึ่งหน้าออกรบแล้ว มันน่าจะเกิดเหตุแบบนี้เมื่อสถานะการณ์สุกงอม ซึ่งเมื่อไรผมก็ไม่รู้ แต่การชนะหรือการได้เปรียบการค้าในระดับประเทศ สมัยนี้อาจจะยังใช้กลยุทธโบราณอยู่ก็ได้ ชนะตั้งแต่ยังไม่ออกรบ แค่ตั้งค่ายหรือสร้างเขื่อนที่เหมาะสม ความสามารถในการแข่งขัน การไหลของทรัพยากรต่างๆ ก็เปลี่ยนทิศทางไปทางแนวโน้มของผู้ชนะแล้ว ผู้มีแนวโน้มจะแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกรบก็คงจะค่อยๆเฉาลงหรือสามารถในการแข่งขันลดลงไปเรื่อยๆเอง

- เรื่องสุดท้าย ประเทศไทย จะก็ยังคงอยู่ต่อไปแน่นอน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ตามทั้งในและนอกประเทศ ยืนยันได้ ดูจากวิกฤติปี 40 เหตุการเมืองต่างๆ หรือระดับโลก ดูประเทศผู้แพ้และผู้ชนะสงครามโลก ก็ยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน เพียงผู้คนในแต่ละกลุ่มในยุคนั้นๆมีราคาที่ต้องจ่ายหรือได้รับที่ต่างๆกันไป ทั้งในฝั่งผู้ชนะและผู้แพ้ เท่านั้นเอง

ผมยังอยากมีความรู้และมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น ถือคติ ด้าน-ได้ อาย-อด
จึงขอแลกเปลี่ยนมุมมอง หากเห็นเป็นข้อเขียนแบบว่า สอนจระเข้ว่ายน้ำ หรือ สอนหนังสือสังฆราช
ก็ต้อง ขอกราบ ขออภัย ทุกๆท่าน ที่ถูกพลาดพิงถึง และรวมถึงสมาชิกเว็บนี้ด้วย
หากจะมีคำติเตียน เห็นข้อผิดพลาด ในความเห็นเหล่านี้ ก็ขอกรุณา ช่วยแนะนำ หรือ ขัดเกลา ด้วย ครับ
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ทฤษฎี ‘ม้า..กินน้ำ’ กับนโยบายการเงิน!
โดย : ศรัณย์ กิจวศิน วันที่ 03 มีนาคม 2558, 03:30
http://bit.ly/1ChzkjG

รูปภาพ

ช่วงนี้กระแสเรียกร้องให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ “แบงก์ชาติ” ปรับ “ลด” ดอกเบี้ยนโยบายลงมีมากเหลือเกิน

แต่ละท่านที่ออกมาเรียกร้องล้วนเป็น “ผู้อาวุโส” ในวงการเศรษฐกิจทั้งสิ้น

ข้อเรียกร้องที่ให้ “ลดดอกเบี้ย” สรุปได้ 3 ประเด็น คือ 1.เพื่อลดแรงจูงใจของเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งจะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อการส่งออกที่หดตัว 2.ลดความเสี่ยงภาวะเงินฝืด หลังจากที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่มติดลบ และ 3.เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ

ที่ผ่านมา “แบงก์ชาติ” ตอบคำถามที่มีต่อข้อเรียกร้องเหล่านี้ไว้ค่อนข้างชัด โดยเฉพาะประเด็นที่หนึ่งและที่สอง

กล่าวคือข้อเรียกร้องที่ให้ “ลดดอกเบี้ย” เพื่อ “ลดแรงจูงใจ” ของ “เงินทุนเคลื่อนย้าย” ..เรื่องนี้แบงก์ชาติยืนยันมาตลอดว่า “ดอกเบี้ย” เป็นแค่ “ส่วนประกอบรอง” เพราะ “องค์ประกอบหลัก” ที่ดึงดูดเงินทุนเคลื่อนย้าย คือ “พื้นฐานเศรษฐกิจ” โดยเฉพาะเวลานี้ประเทศไทยมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างมากด้วย

ส่วนข้อเรียกร้องการลดดอกเบี้ยเพื่อลดความเสี่ยงภาวะ “เงินฝืด” นั้น ..แบงก์ชาติอธิบายถึงสาเหตุที่เงินเฟ้อทั่วไปติดลบอยู่บ่อยครั้งว่า เป็นผลจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลง โดยราคาน้ำมันโลกที่ปรับลงมาเกิดจากการค้นพบเทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันแบบใหม่ ทำให้สามารถดึงน้ำมันที่อยู่ภายใต้ชั้นหินดินดานที่เรียกว่า “เชลล์ออยล์” ขึ้นมาได้ เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาในเชิงของ “อุปทาน” ซึ่งนโยบายการเงินไม่สามารถควบคุมได้

แต่ประเด็นที่น่าติดตาม คือ ข้อเสนอที่ให้ “ลดดอกเบี้ย” เพื่อ “กระตุ้น” การเติบโตของ “เศรษฐกิจ” ที่มากขึ้น ซึ่งข้อเสนอนี้แบงก์ชาติตอบรับ โดยยื่นเงื่อนไขว่า พร้อมจะผ่อนปรนนโยบายการเงินเพิ่มเติม ถ้าเห็นว่าเศรษฐกิจ “อ่อนแรง” กว่าที่ประเมินไว้



ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา “ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส” ผู้อำนวยการอาวุโส สายเศรษฐกิจการเงิน ของแบงก์ชาติ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนแรกของปี 2558 ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ แม้ตัวเลขโดยรวมจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ แต่มีตัวที่ “เซอร์ไพร์ส” เพราะต่ำกว่าคาดการณ์อยู่บ้าง คือ “การบริโภคภาคเอกชน” ซึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ตกต่ำ

นอกจากนี้ “การลงทุนภาคเอกชน” ก็ยังทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ และการก่อสร้าง สอดคล้องกับ “การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม” ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ด้วยปัจจัยเหล่านี้เอง ทำให้ตลาดเงินเริ่มตีความว่า การประชุม “กนง.” ครั้งถัดไปในวันที่ 11 มี.ค.นี้ มีโอกาสที่ กนง. อาจตัดสินใจ “ลด” ดอกเบี้ยนโยบายลงมาได้ ...แต่ในเวลาเดียวกันก็มี “คำถาม” ตามมาเช่นกันว่า “การลดดอกเบี้ย” ในระดับที่ “ต่ำอยู่แล้ว” (ปัจจุบัน 2%) ประสิทธิผลมีมากน้อยแค่ไหน


ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ เคยบอกว่า ถ้าดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับสูง แล้วปรับลดลงมา ประสิทธิผลของการปรับลดจะส่งผ่านค่อนข้างง่าย แต่ถ้าดอกเบี้ยอยู่ระดับที่ต่ำอยู่แล้ว และไปปรับลดลงอีก ประสิทธิผลที่ได้อาจไม่เท่ากัน ซึ่งเวลานี้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ 2% ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ

ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ยังให้ความเห็นว่า ประสิทธิผลของ “นโยบายการเงิน” ในการ “กระตุ้นเศรษฐกิจ” มีน้อยกว่า “นโยบายการคลัง” เพราะนโยบายการเงินทำได้เพียงการ “สร้างบรรยากาศ” ที่เอื้ออำนวยต่อการบริโภคและการลงทุนเท่านั้น ส่วนคนจะบริโภคและลงทุนหรือไม่ นโยบายการเงินบังคับไม่ได้

หากเปรียบกับการ “เลี้ยงม้า” นโยบายการเงินก็เหมือนกับการ “จูงม้า” ไปที่ “บ่อน้ำ” ช่วยสร้างบรรยากาศให้ม้ารู้สึกว่า “อยากกินน้ำ” แต่นโยบายการเงินไม่สามารถไปบังคับให้ม้ากินน้ำได้


การประชุม กนง. วันที่ 11 มี.ค.นี้ คงต้องติดตามดูว่า ด้วย “บรรยากาศ” เศรษฐกิจที่เป็นแบบนี้ กนง. ทั้ง 7 ท่าน มีความเห็นอย่างไร จะสร้างบรรยากาศให้ “ม้า” รู้สึก “อยากกินน้ำ” เพิ่มหรือไม่? ..จับตาดูกันครับ!


- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/deta ... 0LwrA.dpuf
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ธปท. ชี้เศรษฐกิจเดือนม.ค. ฟื้นตัวช้ากว่าคาด รัฐไม่เร่งเบิกจ่าย ฉุดบริโภคเอกชนดิ่ง
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 17:43:11 น.
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 1425119621

รูปภาพ

นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผย ภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2558 ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ พบว่า การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนทรงตัว เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงทำให้มีการระมัดระวังการใช้จ่าย และความกังวลต่อรายได้ในอนาคต ทั้งนี้ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำทำให้กระทบต่ออำนาจในการจับจ่าย อย่างไรก็ตามสำหรับราคาน้ำมันที่ลดลงยังไม่ค่อยมีผลต่อการบริโภคมากนักเช่นเดียวกันกับ การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่เบิกจ่ายได้ช้ากว่าที่ธปท.คาดไว้ โดย 4 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2558 อัตราการเบิกจ่ายอยู่ที่ 13.1% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งปกติอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีก่อนๆ จะอยู่ที่เฉลี่ย 20% ของงบประมาณทั้งหมด

"ภาครัฐเบิกจ่ายงบประมาณมีข้อจำกัด ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคธุรกิจยังรอความชัดเจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การลงทุนทรงตัวทั้งในกลุ่มเครื่องจักรและการก่อสร้าง" นางรุ่งกล่าว

รวมทั้ง พบว่า มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 1.72 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.5% จากเดือนธันวาคม 2557 ที่ 1.87 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว เช่น จีน ญี่ปุ่น และประเทศอาเซียน และราคาสินค้าปรับลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยเฉพาะปิโตรเลียม ยางพารา และเคมีภัณฑ์ รวมทั้งการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (จีเอสพี) ในทุกสินค้าที่ส่งไปกลุ่มประเทศยุโรป อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศที่การส่งออกยังขยายตัวได้คือสหรัฐและกลุ่มซีแอลเอ็มวี

ในแง่การทบทวนตัวเลขการส่งออกของปีนี้นั้น ธปท. ติดตามใกล้ชิด และมีการนำปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้ามาประกอบ ซึ่งขณะนี้เร็วเกินไปที่จะประเมิน ส่วนการนำเข้าสินค้ามีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก

นางรุ่งกล่าวว่า ทิศทางของเศรษฐกิจเป็นไปตามที่ธปท. คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามในส่วนนโยบายการเงินจะมีส่วนช่วยเหลือหรือกระตุ้นอย่างไรหรือไม่ขึ้นกับการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของราคาสินค้าเกษตรขึ้นมาบ้างแล้ว และการจ้างงานของภาคเกษตรยังขยายตัวได้ ปัจจัยเหล่านี้อาจช่วยการบริโภคเอกชนให้ฟื้นตัวได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม สำหรับแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวเอเชีย อาทิ จีนและมาเลเซีย เพราะไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ประกอบกับทางการจีนผ่อนคลายมาตรการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นลำดับ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนมากนัก ทั้งนี้ ประเมินว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน

"เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงมากส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ แต่ไม่ใช่สัญญาณของภาวะเงินฝืด และช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง ส่วนดุลเงินทุนเคลื่อนย้านขาดดุล เนื่องจากการเคลื่อนย้านเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติตามทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐ" นางรุ่งกล่าว

_________________________________

ความเห็นส่วนตัว.
- นโยบายการคลัง ผ่านมา 4 เดือนแรก (1 ใน 3 ของปี) ก็ตามข่าว
- ส่วนนโยบายการเงิน ก็ตามข่าว แบบ ธปท. ให้ข่าวเรื่อยๆมา
- ส่วน เอกชน สงสัยคงต้องหาหนทางเดินเองต่อไป........(ถ้ายังไม่ล้มเสียก่อน)
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอเก็บข้อมูล ค่าเงินบาท เชิงเปรียบเทียบ
ไว้เป็นข้อมูลประกอบ


6 เดือน ย้อนหลัง
USDTHB(ไทย)USDJPY(ญี่ปุ่น)USDMYR(มาเลเซีย)USDSGD(สิงคโปร์)_6M.PNG
USDTHB(ไทย)USDKRW(เกาหลี)USDAUD(ออสเตเรีย)USDIDR(อินโดนีเซีย)_6M.PNG
USDTHB(ไทย)USDPHP(ฟิลิปปินส์)USDINR(อินเดีย)USDTWD(ไต้หวัน)_6M.PNG

3 ปี ย้อนหลัง
USDTHB(ไทย)USDJPY(ญี่ปุ่น)USDMYR(มาเลเซีย)USDSGD(สิงคโปร์)_3Y.PNG
USDTHB(ไทย)USDKRW(เกาหลี)USDAUD(ออสเตเรีย)USDIDR(อินโดนีเซีย)_3Y.PNG
USDTHB(ไทย)USDPHP(ฟิลิปปินส์)USDINR(อินเดีย)USDTWD(ไต้หวัน)_3Y.PNG
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สำหรับ กราฟเชิงเปรียบเทียบ ค่าเงินบาท ตัวอย่าง เช่น ช่วง 6 เดือน , 3 ปี
กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือคู่ค้า หรือคู่แข่ง
ส่วนตัวเห็นแล้ว ไม่สงสัยมากนักกับ การส่งออก ที่มีปัญหาต่ำกว่าเป้ามาตลอด

1. ถ้าคุณขายสินค้า ในราคาเท่าเดิมหรือในจำนวน USD ดอลล่าร์เท่าเดิม และประเทศเหล่านั้นเป็นลูกค้า เขาต้องต้องจ่ายแพงขึ้น%เท่ากับการอ่อนค่าของค่าเงินพื้นบ้านของเขาที่มากขึ้นนั้น ดูแล้วน่าตกใจไหม ตามช่วงเวลาดังกล่าว

2. ถ้าคุณขายสินค้า ในราคาเท่าเดิมหรือในจำนวน USD ดอลล่าร์เท่าเดิม และประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งของไทย ที่ผลิตสินค้ากลุ่มเดียวกันหรือคล้ายกัน ถ้าขาย ในราคาดอลล่าร์เท่ากัน เขาจะได้เป็นเงินพื้นบ้านเขามากขึ้นตาม%นั้น หรือสามารถลดราคาตัดราคาขายได้มากขึ้นถ้าคิดราคาตามเงินพื้นบ้านของเขา แล้วดู % กับ ช่วงเวลา มันแรงดี นะ

3. ปัญหาค่าเงิน จะมีผลไม่มากนักต่อการสั่งซื้อของคู่ค้า ถ้าประเทศนั้น มีหรือครอบครอง สินค้าที่โดดเด่นมากๆ ที่คู่ค้าจะขาดสินค้านั้นไปไม่ได้ หรือคู่แข่งยังไม่สามารถผลิตได้ใกล้เคียง แล้วกลุ่มแบบนี้ของไทยมีจำนวนเท่าไรกันแน่ ?

ต้นทุนการส่งออกด้านอื่นๆ ก็ยังมีอยู่จริงๆ แต่การเพิ่มขึ้นในด้านนั้นๆคิดเป็น%เฉพาะด้านอาจสูงมากจริง แต่พอคิดเป็นต้นทุนรวม %สูงขึ้นโดยรวมนั้นจะลดลง แต่เรื่อง ค่าเงิน มันมีโดยตรงกับสินค้าทั่งชิ้นนั้นเลย โดย % จะเปลี่ยนกระทบตรงๆเท่ากันกับสินค้าทั้งชิ้นนั้นทันที




วรรคข้างนี้ ให้ถือเป็น คำบ่น เพี้ยนๆ เตือนตัวเอง จากมุมมองส่วนตัวผม ครับ

ทุกๆทางเลือก ก็มีราคาที่จะต้องจ่าย
ในผู้คนทั้งหมด แต่ละกลุ่มๆ ก็จะมีราคาจะต้องจ่าย หรือได้รับ แตกต่างกันไป
ผู้เข้มแข็ง แข็งแรง รวมถึงผู้ได้รับเลือกหรือปกป้องให้อยู่รอด ก็มักจะอยู่รอด เติบโต ต่อไป.
ผู้ไม่ได้รับเลือกหรือปกป้อง ก็ต้องหาหนทาง อยู่รอด กันเอง ต่อไป ครับ
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ข่าวด่วน

กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.75%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -11 มี.ค. 58 14:41 น.


นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ 3 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญในการตัดสินนโยบาย มีดังนี้     

" เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2557 และเดือนมกราคม 2558 ยังฟื้นตัวค่อนข้างช้า โดยมีแรงส่งทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง เศรษฐกิจในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราต่ำกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับการส่งออกสินค้าคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่คาด แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ขณะที่การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศได้บางส่วน" นายเมธี กล่าว

ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงและติดลบตามราคาน้ำมันโลกที่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ยังปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นบวก มองไปข้างหน้า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อคาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับที่คณะกรรมการฯ ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน

สำหรับเสถียรภาพระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงกว่าที่ประเมินไว้ โดยแรงกระตุ้นจากภาคการคลังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลชัดเจน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง ภายใต้ภาวะดังกล่าว กรรมการ 4 คนเห็นว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจ และช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน

อย่างไรก็ดีกรรมการ 3 คนประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินไว้สำหรับเวลาที่จำเป็นและมีประสิทธิผลมากกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบันควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ    

ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว


รายงาน โดย ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
syj
Verified User
โพสต์: 4241
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เห็นแล้วหนาวววว ....

ของเราต่ำสุดๆๆ ในกลุ่มประเทศระดับเดียวกัน

(ไม่ต้องเทียบกัน สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ นะครับ คนละลีก)
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 19

โพสต์

syj เขียน:เห็นแล้วหนาวววว ....

ของเราต่ำสุดๆๆ ในกลุ่มประเทศระดับเดียวกัน

(ไม่ต้องเทียบกัน สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ นะครับ คนละลีก)
เป็นเรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้น
ใช่เลย. มันน่าจะต่ำมากอยู่ ส่วนอนาคตอาจจะขึ้นหรือจะลง ก็ได้

ขอบคุณมาก ครับ พี่ syj
ที่เข้าเจิมในกระทู้นี้ ด้วย :D



ให้ถือว่า แลกเปลี่ยนมุมมองกัน นะ ครับ

แต่ก็กลัวกระทู้เลยเถิดไปอีก จะถูกล็อคอีก
ก่อนอื่น ผมขอการยอมรับ ตามที่ผมได้โพสต์ไว้ข้างบน
เพื่อลดการพาดพิง เรื่องส่วนตัวของตัวบุคคล
คุยกัน เฉพาะ มุมมอง ทางเลือก ที่มี หรือที่เห็นว่ามี นะ ครับ

ส่วนผลการตอบรับนั้น ให้ทำใจ แต่ละคนอาจจะมีมุมมองหรือเห็นต่างกันได้ ครับ
แต่ที่สุดให้เป็นไป ตามผู้ที่มีอำนาจและที่มีสิทธิในการเลือกหรือตัดสินใจ เขาจะว่าอย่างไร ก็ตามนั้น.

ขอบคุณมาก ครับ :D
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ในมุมมองผม เรื่อง ดอกเบี้ย
เป็นแค่เปลือก หรือเครื่องมืออันหนึ่ง ที่ใช้รับมือ

ปัญหาที่มันเกิดขึ้น
- ส่วนหนึ่งแน่นอน เกิดจากปัญหาภายในเราเอง
- อีกส่วน ค่อนข้างแรงมาก น่าจะผลของ บรรดา QE ต่างๆที่ออกมา

QE มันเกิดจาก คนแพ้ในกติกาเดิม
พยายามสร้างสิ่งใหม่ ที่อยู่นอกเหนือกติกาเดิม เพื่อจะกลับมาเป็น ผู้ชนะอีกครั้ง
การพยายามปรับตัวสู้ กับผลกระทบ ของแต่ละประเทศแตกต่างกัน สารพัดรูปแบบ
จึงกระทบกันไปกระทบกันมา มั่วไปหมด

ปัญหา คือ มองออกมารูปแบบทำนองนี้ เมื่อ 2-3 ปี ที่แล้ว หรือ เปล่า?
แล้วมีการวางแผนบริหารจัดการ ถูกวางต่อเนื่อง มาเช่นไร

วันนี้ แค่แสดงผล การจัดในอดีตที่ผ่านมา
การเลือกวันนี้ จะแสดงผลในอนาคต

ซึ่งเห็นภายนอกแสดงแล้ว ส่วนหนึ่ง คือ ดอกเบี้ย
แต่ก็ยังไม่แน่ใจถึง หัวใจหรือเป้าหมาย ของ กนง. หรือ ธปท. นั้นมองหรือมุ่งภาพใหญ่เรื่องนี้อย่างไร ?
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 21

โพสต์

QE ของ ยุโรป , ญี่ปุ่น และ อื่นๆ

มุมมองผม
คาดคะเน ผลยากมาก
ผลอาจต้อง ดิ้นรน หนักกว่าของอเมริกามากๆ
หลายๆประเทศ เริ่มปรับ ตั้งรับ ด้วยรูปแบบ ต่างๆ
เริ่มไม่เป็นไป ตามปกติ ในกติกาเดิม แล้ว
ลองสังเกตุ หัวข่าวให้ดีๆ นะ

ใกล้ตัวสุด ผมสงสัย สิงคโปร์
ดูเหมือนเขา เขากำลังคิด จะพลิกเกมส์ อีกมุมเลย ต่างจากQEครั้งก่อน นะ
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ผู้ว่า ธปท.ชี้ลด"ดอกเบี้ย"แค่ยาบรรเทาอาการป่วยของ ศก.แต่รักษาต้นเหตุต้องอาศัยบทบาทภาครัฐ -มองปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตเป็น “วาระแห่งชาติ”

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -13 มี.ค. 58 16:59 น.


  ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2558 ที่สำนักงานภาคเหนือ ธปท.หัวข้อ "ความท้าทายของนโยบายการเงิน กับการก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทย" สรุปใจความว่า ปีที่ผ่านมาจีดีพีของไทยโตเพียง 0.7% หรือเรียกได้ว่าแทบไม่เติบโต เพราะหลากหลายปัจจัยรุมเร้าทั้งภายในและภายนอก สภาพเศรษฐกิจไทยจึงเหมือน "คนป่วย"ที่มีอาการซ้ำซ้อนหลายด้าน เศรษฐกิจไทยป่วยจากการเผชิญกับโรค 3ชนิด ดังนี้  

1.โรคไข้หวัดใหญ่ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและทิศทางนโยบายการเงินของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันและมีความไม่แน่นอนสูงนี้ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าไทยมีไม่มากและตลาดเงินโลกผันผวน ซึ่งไทยย่อมได้รับผลกระทบอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะกระทบด้านการส่งออกของไทย ดังนั้น ความหวังที่จะดันให้การส่งออกของไทยก้าวขึ้นมาเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เศรษฐกิจอาจมีไม่มากนัก  

2. โรคข้อเข่าเสื่อม จากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย เพราะยังขาดแคลนการลงทุนหรือพัฒนาเทคโนโลยีให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ไม่มีแรงงานทักษะเพียงพอสำหรับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อเข่าที่พยุงเศรษฐกิจได้มานาน ได้เสื่อมสมรรถภาพลงจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง และทำให้ไทยติด “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap)  

3.โรคขาดความมั่นใจ ที่ซ้ำเติมทำให้โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพราะผู้ประกอบการไม่มั่นใจว่า ภาครัฐจะจัดการปัญหาเชิงโครงสร้างได้หรือไม่   

ภายใต้โรคที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยทั้ง 3 ชนิดนี้ บทบาทที่ ธปท. สามารถเข้ามาช่วยรักษาได้ คือการใช้เครื่องมือนโยบายการเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนการจ่าย “ยารักษาโรค” สู่ระบบเศรษฐกิจ เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และควบคุมเงินทุนไหลเข้าไหลออกซึ่งช่วยดูแเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพทางการเงินให้เกิดบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมและเอื้อต่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน  

"แต่เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคทั้ง 3 นี้และสามารถช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเศรษฐกิจและเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้บางส่วนเท่านั้น การจะรักษาที่ต้นเหตุของโรคนั้น จำเป็นต้องอาศัยบทบาทภาครัฐในการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจังเพื่อเรียกความเชื่อมั่นในส่วนที่เหลือกลับมา"   

ด้านโอกาสการก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทยนั้น ดร.ประสาร กล่าวว่า จากปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตไทยนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น และไม่ใช่เป็นความรับผิดชอบของเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ถือเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ต้องได้รับความสนใจและร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน และทุกฝ่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องรับบทบาทที่แตกต่างกันเพื่อให้เราก้าวเดินต่อไปได้   

ภาครัฐมีบทบาทในการเข้าไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และพัฒนาแรงงานรวมถึงการศึกษาที่จะเป็นทุนติดตัวให้ภาคเอกชนทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม   

ธปท.มีบทบาทผ่านการใช้นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ในขณะที่ภาคเอกชนเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะต้องลงทุนและปรับปรุงจุดไหนจึงจะทำให้กิจการของตนเองรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนต่อไป   

นอกจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนแล้ว ไทยยังได้รับโอกาสใหม่ๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยในการพัฒนาผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันทั้ง 3 ด้าน ได้แก่  

1.การเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเนื่องจากไทยมีทำเลทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ทำให้ไทยสามารถเชื่อมโยงกับฐานตลาด ทรัพยากรและการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นในระดับภูมิภาค   

2.โอกาสจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการผ่าตัดที่จะรักษาโรคของไทยโดยตรง ทั้งนี้ การผ่าตัดคือกระบวนการที่ต้องเจ็บปวดบ้าง และอาจต้องใช้เวลาในการพักฟื้นระยะหนึ่งก่อนจะกลับมาเดินได้เต็มที่ แต่ก็เพื่อสุขภาพที่ดีของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน,แผนการปฏิรูปการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ,การปรับเกณฑ์สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน (BOI)  

3.โอกาสในการพัฒนาภาคการเงิน เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของ ธปท. ซึ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการทางการเงินและระบบชำระเงินให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการ ทำธุรกรรมในปริมาณมากขึ้น


เรียบเรียง โดย ชัชชญา อังคุลี อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ข่าวด่วน

เซอร์ไพรซ์! กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.5% เตรียมออกมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกพรุ่งนี้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -29 เม.ย. 58 14:44 น.



นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จาก 1.75% เหลือ 1.50% ต่อปี โดยมีผลทันที ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในการประชุมครั้งก่อน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

“สำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ยอมรับว่าส่งผลดีต่ออัตราแลกเปลี่ยน และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกด้วย แต่ยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยคงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการส่งออกทั้งหมด”นายเมธี กล่าว

ทั้งนี้ ในวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ธปท.จะแถลงตัวเลขการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ลงจากปัจจุบันที่ 3.9% และปรับตัวเลขการส่งออกที่ปัจจุบันคาดการณ์ที่ 0.8% นอกจากนี้ยังจะปรับตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ลงด้วย

อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า มองว่าภาคการส่งออกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และโครงสร้างการค้าโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนอปลงโดยคู่ค้าหลักมีการพึ่งพาการนำเข้าลดลง รวมทั้งจากแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกอาจส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือนอ่อนแอลงตามกำลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง

ส่วนสถานการณ์เงินเฟ้อลดต่ำลงสอดคล้องกับอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่มีน้อยกว่าคาด ขณะที่ต้นทุนโดยเฉพาะราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเพิ่มสูงขึ้น ตามการคาดการณ์เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้คณะกรรมการเริ่มเห็นความเสี่ยงของภาวะเงินฝืด เนื่องจากเห็นการชะลอตัวของราคาสินค้าเริ่มกระจายตัวมากขึ้น นอกเหนือจากราคาน้ำมันตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งกนง.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

นายเมธี กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.จะประกาศมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ในวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) ธปท.จะแถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออก ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ ธปท.มีอยู่แล้ว แต่จะเป็นการผ่อนคลายเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่มีอยู่


อนึ่ง ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสาคัญในการตัดสินนโยบาย มีดังนี้

เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ต่ากว่าที่เคยประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ทาได้เพิ่มขึ้นและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่องช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแรงกว่าคาดมากในไตรมาสที่ 1 นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้าภาคการส่งออกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และโครงสร้างการค้าโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงโดยคู่ค้าหลักมีการพึ่งพาการนาเข้าลดลง รวมทั้งจากแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกอาจส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือนอ่อนแอลงตามกาลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง

แรงกดดันเงินเฟ้อลดต่าลงสอดคล้องกับอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่มีน้อยกว่าคาด ขณะที่ต้นทุนโดยเฉพาะราคาน้ามันอยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง ซึ่งทาให้ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเพิ่มสูงขึ้นและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลง

ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ เสียงส่วนใหญ่ประเมินว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาวะที่มีความเสี่ยงด้านต่าเพิ่มขึ้น ตลอดจนดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คณะกรรมการฯ เสียงส่วนน้อยเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากการดาเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมามีส่วนช่วยให้ภาวะการเงินผ่อนคลายมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับขีดความสามารถในการดาเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติมมีจากัด ขณะที่แรงขับเคลื่อนด้านการคลังที่มากขึ้นจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ส่วนหนึ่ง จึงเห็นควรให้รอประเมินผลต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินก่อนที่จะดาเนินนโยบายเพิ่มเติม

ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะดาเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้ภาวะการเงินอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเงินของไทยและใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสมต่อไป


รายงาน โดย ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ไม่เซอร์ไพส์ซักหน่อยข่าวออกเวอร์ไปละ
:)
:)
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ข่าวด่วน

ธปท.ให้สถาบันการเงินปล่อยสภาพคล่องเงินบาท ให้ non-resident วงเงินไม่เกิน 600 ลบ. เพิ่มวงเงินซื้ออสังหาฯตปท.เป็น 50 ล้านดอลล์

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -30 เม.ย. 58 12:13 น.


นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า ธปท.ประกาศแนวทางผ่อนคลายเพิ่มเติม ภายใต้แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากรมว.คลังแล้ว นอกจากนี้ธปท.ยังได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ซึ่งประกอบด้วย

มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อให้บัญชีของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไทย หรือ non resident หรือ NR ทำธุรกรรมกู้เงินบาทกับสถาบันการเงินได้คล่องตัวยิ่งขึ้น โดยขยายวงเงินให้ NR กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศไทยรองรับเป็นไม่เกิน 600 ล้านบาท จากเดิมไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR แต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค. นี้

นอกจากนี้ยังให้สถาบันการเงินปล่อยกู้เงินบาทโดยตรงให้แก่ NR เพื่อประโยชน์ทางการค้าการลงทุนในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน แต่ยกเว้นเพื่ออสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์ในประเทศ นอกจากนี้ยังผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยตรง เพื่อประโยชน์ในการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

อย่างไรก็ตาม ธปท.จะเร่งเสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนของการผ่อนคลายเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ และวงเงินฝากบัญชีเงินฝากเงินตราค่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศ


นางจันทวรรณ กล่าวว่า ธปท.ยืนยันว่าในช่วงที่ผ่านมามีการติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาท และพร้อมที่จะดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่เหมาะสมกับพื้นฐาน นอกจากนี้ยังยืนยันว่าธปท.จะยังไม่มรกาตออกมาตรการเพื่อควบคุมเงินไหลเข้า-ออกต่างประเทศ หรือ แคปปิตอล คอนโทรลอย่างแน่นอน เนื่องจากมาตรการดังกล่าวสามารถที่จะช่วยส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังมีมาตรการผ่อนคลายเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลในประเทศสามารถถือครองสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศได้มากขึ้น และขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารให้คล่องตัว ประกอบด้วย ฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศ โดยขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากกับสถาบันการเงินในประเทศได้อย่างเสรี โดยมียอดคงค้างไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ 500,000 ดอลลาร์

นอกจากนี้ยังขยายวงเงินให้บุคคลในประเทศ โอนเงินออกเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ และสิทธิในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ได้ไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ 10 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นทางเลือกในการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศ และกระจายความเสี่ยงการลงทุน

ด้านของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้น ในปี 2559 ยังเตรียมอนุญาตให้ Broker ใน TFEX รายใหม่ๆ เป็นนายหน้าซื้อขายดอลลาร์ล่วงหน้าใน TFEX ได้ เพื่อเพิ่มผู้ให้บริการ และให้ลูกค้ามีทางเลือกในการใช้บริการได้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ บล.ซื้อขาย FX กับลุกค้า ภายใต้ขอบเขตธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ จากเดิมยังไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขาย FX กับลูกค้า โดยบล.ต้องติดต่อกับธนาคารพาณิชย์เท่านั้น เพื่อให้บล.สามารถให้บริการด้านชำระราคาหลักทรัพย์แก่ลูกค้าไทยและต่างชาติได้คล่องตัวมากขึ้น

นางจันทวรรณ กล่าวว่า ส่วนมาตรการดังกล่าวจะช่วยส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในทันทีหรือไม่นั้น มองว่า จะช่วยได้บ้าง แต่คงไม่ใช่ปัจจัยหลัก เนื่องจากค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ


รายงาน โดย ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน
เรียบเรียง โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร อีเมล์. [email protected]
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ดอกเบี้ย ? ?

โพสต์ที่ 26

โพสต์

แบงค์กสิกรไทย ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ "บัณฑูร" จวก อย่าตายด้าน ต้องช่วยพยุงเศรษฐกิจ

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 17:10:56 น.

รูปภาพ

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในภาวะลำบาก ซึ่งรัฐบาลก็ได้เร่งแก้ไขอย่างเต็มที่ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยเองที่ได้ใช้มาตรการทางการเงิน โดยการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเช่นกัน ซึ่งมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงลดต้นทุนของผู้ประกอบการ มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ระบบการเงินก็ต้องตามด้วย ต้องลดดอกเบี้ยลงบ้าง ไม่ใช่ทำเป็นตายด้าน ไม่รู้ร้อนรู้หนาว บรรยากาศทางเศรษฐกิจตอนนี้ตึงเครียดอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาขัดแย้งกัน แม้การลดดอกเบี้ยจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เสียประโยชน์ แต่ก็ควรจะทำเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจโดยรวมพังเสียหาย

ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.13 ถึง 0.25 มีผลพรุ่งนี้

โพสต์โพสต์