แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้ดูละครหลังข่าวเรื่องใหม่ชื่อ  “แอบรักออนไลน์”  เพียงหนึ่งหรือสองตอนผมก็รู้สึกว่าละครเรื่องนี้น่าจะ “ฮิต” พอสมควรโดดเฉพาะสำหรับ  “คนเมือง”  หรือคนที่อยู่ในเมือง  มีการศึกษาและฐานะค่อนไปทางดี  ไม่ใช่ตลาด  “Mass” หรือผู้ชมที่อยู่ในชนบทซึ่งจะเป็นอีกตลาดหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม  ก่อนที่จะพูดถึงละครเรื่องนี้  เราก็ควรจะทำความเข้าใจเสียก่อนว่าตลาดละครหรือรายการต่าง ๆ  ในทีวีที่เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่นั้น  น่าจะมีอยู่ซัก 2-3 ตลาดนั่นก็คือ  ตลาดกลุ่ม “รากหญ้า”  นี่คือรายการที่เป็นที่นิยมของคนในชนบทเป็นส่วนใหญ่  รายการจะเน้นไปที่ความสนุกสนานแบบ “ตรงไปตรงมา”  เป็นเรื่องชีวิตและความฝันของ  “ชาวบ้าน”  นักแสดงและดาราที่นำเสนอก็จะมีความเป็น  “ชาวบ้าน”  ที่ผู้ชมสัมผัสได้เพราะไม่ได้มี  “ตระกูลรุนชาติ”  เนื้อหาก็มักจะมีเรื่องของความ  “ตลกโปกฮา” ปะปนอยู่เสมอ  หรือไม่ก็เป็นการ “ขายฝัน” ว่าจะร่ำรวยและมีฐานะดีขึ้นในชั่วข้ามคืนจากอะไรบางอย่างที่เป็นไปได้แต่โอกาสเกิดน้อย เช่น  การ “ถูกหวย” หรือการได้แต่งงานกับเศรษฐีหรือ  “คุณชาย” ที่มีตระกูลสูง

    ตลาดใหญ่อีกตลาดหนึ่งก็คือตลาด  “คนเมือง”  หรือคนที่อาศัยอยู่ในเมือง  คนกลุ่มนี้มักจะเป็นคนชั้นกลางขึ้นไปที่มีการศึกษาและฐานะดีกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของคนในประเทศ  ละครหรือรายการที่พวกเขาชอบดูนั้น  จะเป็นเรื่องที่  “ซับซ้อน” ขึ้นมาบ้าง  จะต้องมีการคิดคาดการณ์ปฏิกิริยาและความคิดของตัวละครหรือเรื่องราวต่าง ๆ  แม้ว่าจะเดาไม่ยากนัก  เนื้อเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องของ  “คนเมือง”  เช่น  เป็นชีวิตในสำนักงาน  ชีวิตของคนที่มีอาชีพที่มีคนรู้จักและเกี่ยวข้องกันมาก เช่น เป็นหมอ  เป็นแอร์โฮสเตส  ข้าราชการ   คนบันเทิงอะไรต่าง ๆ  เหล่านี้  ดาราหรือผู้นำเสนอรายการเองนั้น  ก็จะต้องเป็นคนที่ดู  “ไฮโซ”  หน้าตาจะต้อง  “อินเทรนด์”  ออกแนว “ลูกครึ่ง” หรือแบบ  “เกาหลี”  การแต่งหน้าแต่งตัวนั้นจะต้องออกแนว  “เป๊ะเวอร์” บ้านจะต้อง  “อลังการ” แม้ว่าตามเรื่องเจ้าของจะเป็น  “คนจน”  ส่วนเนื้อเรื่องหรือสาระนั้นก็จะออกแนว  “ชิงรักหักสวาท” หรือแนว  “โรแมนติกคอมเมดี้” ที่เน้นความน่ารัก  ซาบซึ้งและความตลกที่ “ไม่ได้ตั้งใจแสดง”

    ส่วนอีกตลาดหนึ่งที่น่าจะมีขนาดใหญ่ก็คือ  ตลาด  “ทั้งหมด”  นั่นก็คือ  เป็นรายการที่ดูกันได้ทุกกลุ่มทุกชนชั้น  แนวก็จะพยายามครอบคลุมเรื่องที่เป็น  “กลาง ๆ”  เช่น  เรื่องราวประวัติศาสตร์ย้อนยุคที่มีการ “ดัดแปลง” ให้  “ดูดี” ในสายตาของคนยุคปัจจุบัน  เช่น  ดารานำแสดงอาจจะเป็น “ลูกครึ่ง”  ที่ดูสวยหล่อ  ธรรมเนียมประเพณีที่ล้าสมัยและไม่มีใครเขาทำกันแล้วก็จะต้องมีดัดแปลงให้สมจริงขึ้น  ถ้าเป็นรายการวาไรตี้หรือทอล์คโชว์ก็จะต้องเป็นเรื่องที่กลาง ๆ  และคนส่วนใหญ่สนใจ เช่น  เป็นเรื่องแปลก  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน  ดาราหรือแขกรับเชิญนั้นก็จะต้องไม่จำกัดเฉพาะที่เป็น  “ไฮโซ” แต่จะต้องไม่ใช่  “ชาวบ้าน” จากชนบทที่จะทำให้รายการเปลี่ยนไปทันทีเป็นแบบ Mass  ถ้าเป็นเรื่องของละครก็จะออกแนวยุค “ซิกตี้” หรือประมาณซัก 40-50 ปี ที่คนไทยเริ่มพัฒนาประเทศเป็นแบบสมัยใหม่ที่ยังมี  “คุณชายรุ่นสุดท้าย” ที่หล่อเหลาขับรถหรูเป็นชายในฝันของหญิงทุกคนแต่ยังมี  “ท่านแม่” ที่อาจจะคอยกีดกันความรักที่มีกับ “สามัญชน”  อะไรทำนองนี้

    ผมพูดออกนอกเรื่องไปไกลก็เพื่อจะให้ภาพตลาดของสื่อซึ่งนอกจากจะสะท้อนถึงธุรกิจด้านของทีวีและอีกหลาย ๆ  เรื่องแต่นี่ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ผมจะพูดถึง  สิ่งที่ผมต้องการวิเคราะห์จริง ๆ ก็คือ Content หรือเนื้อหาต่าง  ๆ ที่ถูกนำเสนอโดยเฉพาะที่ผ่านทางทีวีซึ่งยังเป็นช่องทางหลักของไทยนั้น  แท้ที่จริงมันเป็นสิ่งที่  “สะท้อนภาพของสังคม”  กล่าวคือ  ถ้าสังคมกำลังเป็นอย่างไรหรือคนกำลังนิยมอะไร  ละครในทีวีก็จะแสดงออกอย่างนั้น  ทีวีนั้น  ผมคิดว่าไม่ใช่ “ผู้นำ” แต่เป็น “ผู้ตาม”  แต่ในขณะเดียวกัน  เมื่อทีวีมีการนำเสนอ มันก็จะส่งผลให้คนอื่น ๆ  ทำตามหรือคิดตามด้วย  ซึ่งก็จะช่วย “กระพือ”  ให้สิ่งนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นจนกลายเป็น “กระแส”  หรือมีคนทำกันมากขึ้นนิยมกันมากขึ้นจนกว่ามันจะเป็นกระแสหลัก  หรือไม่อย่างนั้น  ความนิยมก็จะค่อย ๆ  หายไปเมื่อสิ่งนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่คนหรือสังคมต้องการให้มันคงอยู่อย่างถาวรจริง ๆ  แต่เป็นเพียง  “แฟชั่น” ที่ขึ้นอยู่กับ  “ช่วงเวลา”  อันสั้นนั่นก็คือ  “ดัง” ถึงขีดสุดแล้วก็ค่อย ๆ  “ดับ” ไป

    ละครเรื่องแอบรักออนไลน์นั้น  ผมคิดว่าสะท้อน “สังคมยุคใหม่” อย่างน้อย 2 เรื่องที่ผมไม่ใคร่ได้เห็นในละครหลังข่าวเรื่องอื่นมากนักนั่นก็คือ  เรื่องแรก  สังคมไทยตอนนี้เป็นสังคมที่น่าจะ  “ออนไลน์” กันอย่างมีนัยสำคัญและละครหลังข่าวเริ่ม “สะท้อน” มันออกมา   คนที่อ่านบทความนี้อาจจะมีความรู้สึกเหมือนว่าสังคมไทยนั้นติดต่อและพูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตมานานแล้วเนื่องจากตนเองทำมานานและเพื่อน ๆ  ก็ออนไลน์มาตั้งนานแล้ว  แต่ถ้าไปถาม  “ชาวบ้าน” ทั่ว ๆ ไป  ผมคิดว่าเราจะได้คำตอบมาอีกอย่างหนึ่ง  เนื้อเรื่องของละครนั้น  จะเดินผ่านข้อความออนไลน์ที่นักแสดงส่งถึงกันเป็นจำนวนมาก  แม้แต่คนที่อยู่ในที่ทำงานเดียวกันและอาจจะนั่งใกล้ ๆ  กันก็อาจจะส่งข้อความกันแทนที่จะพูดกัน  และผมเชื่อว่า  การออนไลน์นั้นก็อาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และอยู่กับเราอย่างถาวรได้

    เรื่องที่สองที่ละครสะท้อนมันออกมาและผมเห็นว่าน่าสนใจมากก็คือ “หุ้น”   ในอดีตนั้น  เรื่องของหุ้นที่จะปรากฏออกมาทางละครหลังข่าวนั้น  อย่างมากก็เป็นแค่ว่าตัวแสดงนั้นประกอบอาชีพเกี่ยวกับหุ้นและไปทำอะไรบางอย่างที่ทำให้กระทบกับตัวแสดงคนอื่น  เช่น  ไปเทคโอเวอร์ธุรกิจที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนอะไรทำนองนี้  แต่ในกรณีของแอบรักออนไลน์นั้น  ดาราตัวเอกทั้งหมดอยู่ในบริษัทโบรกเกอร์ซึ่งให้บริการในการซื้อขายหุ้นให้กับลูกค้า  ฉากหลักของเรื่องนั้นอยู่ในออฟฟิสที่มีหน้าจอคอมพิวเตอร์ซื้อขายหุ้น  ว่าที่จริงมีแม้กระทั่งฉากการแสดงการวิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟและตัวเลขที่ใช้ในการตัดสินใจเรื่องการซื้อขายหุ้นด้วย

    ตัวเอกของเรื่องเองนั้น  ก็เป็นการบอกว่าเรื่องหุ้นนั้น  เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ที่เป็นชนชั้นนำของสังคม  โดยที่พระเอกอันดับหนึ่งเรียนจบจากคณะวิศวชั้นนำระดับประเทศ  แต่ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือ นางเอกซึ่งจบจากบอสตันที่ถือว่าเป็นสถานที่ศึกษาของคนชั้นสูงของไทย  นี่ก็หมายความว่าอาชีพหรืองานทางการเงินโดยเฉพาะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหุ้นนั้น  เป็นความเท่  เป็นงานที่มีเกียรติ  และเป็นงานที่คนใฝ่ฝันอยากทำ  ในอีกมุมหนึ่ง  การที่ให้นางเอกเรียนจบมหาวิทยาลัยดังจากเมืองนอกแทนที่จะเป็นพระเอก  ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของสังคมไทยที่ผู้ชายไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้นำหรือผู้ที่เหนือกว่าอย่างในละครรุ่นเก่าอีกแล้วที่ผู้ชายต้องเป็นคุณชายและนางเอกเป็นคนธรรมดา

    ยังมีฉากและเรื่องราวอีกมากที่บ่งบอกให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคมมาเป็นสังคมยุคใหม่ในละครเรื่องนี้    ในอเมริกานั้น  เราเห็นหนังเกี่ยวกับเรื่องของหุ้นมาตลอดเวลานานแล้ว  เรื่องล่าสุดที่ผมดูมาก็คือ  The Wolf of Wall Street ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ  “ความโลภและมุมมืด” ในตลาดหุ้น  หุ้นและตลาดหุ้นในอเมริกาอาจจะถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ในระดับ Mass ในสังคมมานานแล้ว  เรื่องราวเกี่ยวกับหุ้นถ้าจะทำเป็นหนังจะต้องมีจุดเฉพาะเช่น  ความโลภอย่างหนัก เป็นต้น    แต่ในตลาดหุ้นไทยนั้น  หุ้นคงกำลัง “ไต่ระดับ” ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยบางกลุ่มมากขึ้นเรื่อยแต่ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่  ละครเรื่องแอบรักออนไลน์นั้น  เป็นจุดที่บอกว่า  ตอนนี้หุ้นกำลัง  “มาแรง” และมีคนเกี่ยวข้องสนใจมากพอที่จะนำเสนอในละครได้แล้ว  ดังนั้น  เราคงต้องระวังและจับตาดู  เพราะอะไรที่มาแรงเกินไปนั้น  แม้ว่าในระยะยาวมันก็ยังไปต่อได้  แต่ในระยะสั้น  มันก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงแรงเช่นกัน    สำหรับผม  การเปิดตัวของละครเรื่องนี้ทำให้ผมกังวลเกี่ยวกับหุ้นเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้    อย่างไรก็ตาม  ในด้านของความบันเทิงแล้ว  ผมก็ขอ  “แอบรัก”  ผลงานของคุณ แอน ทองประสม  ที่ผมคิดว่าทำได้ดีมาก  ทั้งการแสดงและการทำละครเรื่องนี้
[/size]
Note1310
Verified User
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 0

Re: แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ อาจารย์

ผมเองไม่ได้ดูละครหรอก แต่เห็นเพื่อนโพสในเฟสบุ๊คประมาณว่า

"ดูแอบรักออนไลน์ แล้วอยากเล่นหุ้นเลย"
"อยากเพราะพระเอกหรือบอสพระเอก"
"เพราะอยากรวยค่ะ 5555"
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
worrapong.n
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
Month
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ลูกเนียง
Verified User
โพสต์: 51
ผู้ติดตาม: 0

Re: แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

“ในการลงสู่สนามแห่งการลงทุน .. สิ่งที่นักลงทุนต้องเจอ คือ การเคลื่อนไหวของอารมณ์ .. ความสุขเมื่อหุ้นขึ้น .. และความทุกข์ ความกังวล เมื่อหุ้นตก”
“ถ้าเราปล่อยให้จิตใจขึ้นลงตามอารมณ์ ก็ไม่ต่างจากตารางหุ้นที่วิ่งสวิงเดี๋ยวแด­ง เดี๋ยวเขียว ไม่หยุดนิ่ง..และภาวะอารมณ์เหวี่ยงนี่เองท­ี่ทำให้การตัดสินใจในการลงทุนผิดพลาด”
“นักลงทุนมืออาชีพต้องทำใจให้นิ่ง .. ไม่ดีใจผลีผลามเมื่อหุ้นขึ้น และไม่กังวล หวั่นไหว เมื่อหุ้นร่วงกรูด .. ความนิ่งจะทำให้การตัดสินใจมีพลัง และผิดพลาดน้อยที่สุด”
“เหมือนที่เบนจามิน เกรแฮม ผู้บุกเบิกการลงทุนสมัยใหม่ เคยกล่าวไว้ว่า ... ไม่ว่าสถานการณ์ในการลงทุนจะดีหรือร้าย .. แต่ท้ายที่สุด “มันก็จะผ่านพ้นไป” ... “This Too, Shall Pass”....แล้วมันก็จะผ่านไป”

Don’t let the mood swings of Mr. Market coax you into speculating,selling in panic or trying to time the market.


https://www.youtube.com/watch?v=culxz7WgZs4
จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้
imaker
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: แอบรักออนไลน์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

พออ่านเสร็จ ผมไปเปิดดู เริ่มติดละครแล้วครับอาจารย์ หลังจากไม่ได้ดูมาเกือบ5ปี 555
โพสต์โพสต์