มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
IndyVI
Verified User
โพสต์: 3530
ผู้ติดตาม: 0

มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผู้ใหญ่หลายท่านออกมาตะโกนก้องร้องว่า เราส่งออกไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ผมขอแย้งสักนิดเถิด ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ดี ดัชนีศักยภาพการส่งออกของไทยกับคู่แข่งในอาเซียนก็จะต้องร่วงลงไปคล้ายกัน แต่นี่ การประเมินดัชนีศักยภาพการส่งออกของไทยต่ำกว่าทุกประเทศ ตอนนี้อยู่ในระดับ 180 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของอาเซียนอยู่ที่ 205

มูลค่าการส่งออกของไทยเติบโตต่ำที่สุดในช่วง 5 ปี

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยใน พ.ศ.2557 ยังไม่กระไรนัก ทุกวันนี้ เรายังส่งออกกุ้งสดและกุ้งแช่แข็งไปตลาดสหภาพยุโรปได้ โดยเสียภาษี 4.2%

แต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ชาติรัฐในสหภาพยุโรป 28 ประเทศจะไม่ให้จีเอสพีกับคุณอีกต่อไปแล้ว นั่นหมายความว่า กุ้งสดและกุ้งแช่แข็งของไทยจะต้องโดนภาษีสูงถึง 12% กุ้งปรุงแต่งของไทยที่ส่งไปขายในตลาดสหภาพยุโรปตอนนี้โดนภาษีแค่ 7% หลังจาก 1 มกราคม 2558 กุ้งปรุงแต่งของไทยจะโดนภาษีที่สูงถึง 20%

ไม่ใช่แค่กุ้งอย่างเดียวเท่านั้น ตั้งแต่ 00.01 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ชาติรัฐในสหภาพยุโรป 28 ประเทศจะตัดภาษีสินค้าไทย 6,200 รายการ

ผู้ใหญ่หลายคนใจดำ ท่านออกมาโกหกประชาชนว่า อย่าไปตกใจเลย การใช้สิทธิประโยชน์ทางอัตราภาษีศุลกากรที่ยุโรปให้ไทยนั้น จิ๊บจ๊อย เพียงไม่กี่หมื่นล้านบาท


ท่านพูดออกมาได้ยังไง นี่ท่านฝังประชาชนทั้งเป็นแล้วนะครับ มหันตภัยรออยู่ข้างหน้า แต่ท่านกลับไม่บอกความจริงกับประชาชนให้เตรียมตัว ผมขอยกสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) มารับใช้ เอาแค่สถิติ พ.ศ.2556 เพียงปีเดียวก็ได้ มีมูลค่าถึง 9,052.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนในวันนี้คือ 32.9496 บาท/ดอลลาร์ นั่นหมายถึงเป็นเงิน 298,267.35 ล้านบาท เป็นเงินเกือบ 3 แสนล้านบาทนะครับ

พ.ศ.2558 คนไทยจะอยู่กันอย่างไร?

รัฐบาลไทยเจรจาการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ไม่ทัน เรื่องนี้จะสร้างความหิวโหยให้กับปากท้องของคนไทยมากเหลือเกิน พี่ออยบ้านอยู่ท้ายซอยร้อยสี่ มีลูก 3 คน อยู่ในวัยกำลังเรียน กำลังกิน กระทบมากที่สุด เพราะโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มที่ปทุมธานีเลิกจ้าง โดยผู้ส่งออกบอกเจ้าของโรงงานว่า คุณส่งของไปขายใน 28 ประเทศในสหภาพยุโรปไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

“ปีก่อนๆ ผมยังพอส่งสินค้าของคุณไปแข่งกับเครื่องนุ่งห่มจากประเทศอื่นไหว เพราะเรายังได้จีเอสพี เขาจึงเก็บภาษีแค่ 10% แต่เพราะรัฐบาลปัจจุบันเจรจาการค้าอะไรสักอย่างไม่ทันนี่แหละ ทำให้ไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในสหภาพยุโรปสูงถึง 20%”

“จะแก้ไขยังไงครับนาย?” เดิมเจ้าของโรงงานเรียกคุณสมชายผู้ส่งออกคนนี้ว่าคุณสมชายบ้าง เฮียสมชายบ้าง ทว่าวันนี้ คุณสมชายคือพระเจ้า ยิ่งใหญ่ขนาดสามารถบันดาลให้โรงงานของตนเองอยู่หรือตายก็ได้ คุณสมศักดิ์จึงเปลี่ยนสรรพนามของคุณสมชายเป็น ‘นาย’

“คุณต้องย้ายโรงงานไปตั้งที่ญวน หรือประเทศรอบไทย รัฐบาลประเทศพวกนั้นเขายังเจรจากับสหภาพยุโรปได้อยู่ อย่างญวนนี่ รัฐบาลเขาเก่ง ก็เลยยังคงได้สิทธิพิเศษจีเอสพี เอ้อ พม่าก็ได้ ลาวก็ได้ เขมรก็ยังได้อยู่นะ”

“ถ้าส่งสินค้าโรงงานของผมไปขายยุโรปไม่ได้ ผมและครอบครัวจะขอความเมตตากรุณาอนุเคราะห์จากนาย ขอนายช่วยส่งไปขายที่ตลาดสหรัฐฯให้หน่อย ผมจะตายจริงๆครับนาย ผมมีภาระต้องส่งธนาคารทุกเดือน เดือนละเป็นล้านบาท นึกว่าสงสารลูกๆผมเถอะ”

“คุณไม่รู้ดอกหรือ ว่าเดี๋ยวนี้ เครื่องนุ่งห่มของไทยที่จะส่งไปขายที่ตลาดสหรัฐฯ จะต้องโดนโขกภาษีนำเข้าถึง 30% ในขณะที่รัฐบาลญวนไปเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ และได้รับการต่ออายุจีเอสพี เสียภาษีนำเข้า 10% ไปอีก 3 ปี นี่ผมจะบอกเอาบุญนะ ถ้าญวนเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก หรือ TPP กับสหรัฐฯ ได้สำเร็จ ก็จะได้ลดภาษีนำเข้าเครื่องนุ่งห่มไปยังสหรัฐฯลงเหลือ 0% เฮ้ย คุณสมศักดิ์ คุณจะเอาอะไรไปสู้กับเขา เพราะคุณต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง 30% อนาคตโรงงานของคุณมันจบไปแล้ว คุณไม่ใช่เถ้าแก่อีกต่อไปแล้ว”

“ใครทำให้ประเทศไทยเป็นอย่างนี้ครับนาย?”

“ก็คุณนั่นแหละ ปีที่แล้ว ผมจำได้ว่าคุณออกไปทำร้ายประเทศของคุณทุกคืน คุณทุบหม้อข้าวของตัวคุณเอง และของคนไทยทั้ง 67 ล้าน คุณนั่นแหละ คุณ....”

คุณนิติ นวรัตน์

ที่มา:
http://www.thairath.co.th/content/469525
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
ภาพประจำตัวสมาชิก
draco
Verified User
โพสต์: 230
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อันนี้เกี่ยวกับการเมืองมั๊ยครับ
pokshisha
Verified User
โพสต์: 290
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ไม่รู้จะเกี่ยวกันรึเปล่า ช่วงนี้เริ่มรู้สึกว่า model ประเทศเรา ที่จะพยายามเป็น manufacturing base economy ที่ทำมาหลายสิบปี มันเริ่มตันละ เพราะเรารับจ้างผลิตมากกว่าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม value add ของสินค้า แรงงานราคาถูกก็ไม่มีทางไปแข่งกับชาติเล็กๆ ได้ ผมมีความเชื่อว่าเรากำลังอยู่ในช่วง transition ที่จะไปยัง service base economy มากกว่า อุตสาหกรรมทั้งหลายที่ทำแข่งกับประเทศอื่น (อาจจะยกเว้น auto sector ให้อุตสาหกรรมนึง แต่มองยาวๆ ก็ไม่แน่เหมือนกัน) เราแทบไม่มีอะไรได้เปรียบชาวบ้านเค้าเลย แม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร ประเทศรอบด้านเราบางประเทศอย่างเวียดนาม สักวันคงไล่เราขึ้นมาเรื่อยๆ

มันเป็นการ selection by default เพราะเรามี comparative advantage มากกว่าในตรงนั้นเช่นพวก healthcare, tourism, hospitality และโดยเฉพาะ logistic hub นี่น่าจะเป็น trend ของเราในอนาคต หากการลงทุนปฎิรูปโครงสร้างพื้นฐานที่คิดจะทำอยู่ในปัจจุบันมีความสอดคล้องกับการพัฒนาของ AEC + จีนตอนใต้

สรุปไม่รู้เกี่ยวกับหัวข้อรึเปล่า แต่รู้สึกแบบนั้นจริงๆ ครับ
หมูน้อย
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

draco เขียน:อันนี้เกี่ยวกับการเมืองมั๊ยครับ
อาจจะเกี่ยว หรือ ไม่เกี่ยว ก็ได้นะครับ แต่ไม่ควรฟังความข้างเดียวครับ เพราะทุกอย่างย่อมมี 2 ด้านเสมอ
มงคลชีวิต 38 ประการ

คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

INT-INV เขียน:คุณนิติ นวรัตน์
คุณ INT-INV ก็ย้ำตรงชื่อคนเขียนให้แล้วนะครับ ผมเห็นชื่อแล้วอยากอ่านเรื่องรัสเซียของท่านมากกว่า
chowbe76
Verified User
โพสต์: 1980
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ถ้าไม่เอ่ยเรื่องการเมือง เศรษฐกิจระดับมหภาคก็เอ่ยถึงได้ยาก เพราะการเมืองมันขับเคลื่อนอยู่
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
ampmie152
Verified User
โพสต์: 139
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมอ่านจบแล้ว รู้สึกว่าคนเขียนบทความจะไม่ค่อยอธิบายถึงที่มาที่ไปของสิทธิ GSP เลยนะครับ
แต่ก็ช่างเขาเถอะ... :mrgreen:

บริษัทที่เสียประโยชน์ก็ที่ทำกุ้งส่งออกตรงๆนี่แหละครับ
แต่เรื่องนี้ค่อนข้างเก่าแล้ว มีการประมาณการไว้แล้วและมาตรการรับมือของแต่ละบริษัทก็มีแล้ว
แนะนำให้ไปอ่านต่อในร้อยคนร้อยหุ้นเลยครับ :)

ส่วนที่ได้ประโยชน์ยังนึกไม่ออกครับ.
chali119
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ก็ยังงงๆอยู่ดีค่ะว่าทำไมมีแต่คนพูดถึงอาหารทะเลแช่แข็ง หรือว่าเพราะสมาคมเข้มแข็งถึงออกมาร้องเสียงดังกว่าคนอื่น

ถ้าดูจากข้อมูลกรมเจรจาการค้า สินค้าไทยที่ส่งออกไปยุโรป 2012 ตามมูลค่า

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2. อัญมณีและเครื่องประดับ
3. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
4. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ
5. ผลิตภัณฑ์ยาง
6. ไก่แปรรูป
7. เครื่องนุ่งห่ม
8. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
9. ยางพารา
10. แผงวงจรไฟฟ้า

ที่มา http://www.thaifta.com/thaifta/Home/tab ... fault.aspx

เมื่อสามสี่ปีก่อนสมัยทำงานเรือ พวก flat screen tv, ยางรถยนต์, auto part สามกลุ่มนี้เป็นลูกค้าสุดรักของเรือเลยค่ะ โวลุ่มเยอะและของเบา เวลาทำ global bidding ทีคนที่เป็น key account ต้องบินมาไทยก่อน

ส่วนตัวแล้วคิดว่าประเทศเราตอนนี้แบ่งรายได้จากเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ ค่อนข้างเฉลี่ยๆกันไป กำลังรอดูอยู่ว่า ดิจิตอลอีโคโนมี ซึ่งเป็นก้าวต่อไปในระดับนโยบายจะเข้ามามีบทบาทยังไง
ภาพประจำตัวสมาชิก
draco
Verified User
โพสต์: 230
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

สงสัยทำไมคำถามผมถูก hidden ผมรู้สึกว่าบทความนี้ไม่ได้อยากให้ความรู้ทางเศรษฐกิจ แต่เป็นการเสียดสีทางการเมืองครับ นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึก และคิดว่าอุดมการณ์ของเวปนี้คือพยายามไม่นำเสนอข้อความที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด หรือเพื่อนๆไม่รู้สึกว่าบทความนี้ต้องการสื่อสารการประชดประชันทางการเมืองครับ
ampmie152
Verified User
โพสต์: 139
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

draco เขียน:สงสัยทำไมคำถามผมถูก hidden ผมรู้สึกว่าบทความนี้ไม่ได้อยากให้ความรู้ทางเศรษฐกิจ แต่เป็นการเสียดสีทางการเมืองครับ นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึก และคิดว่าอุดมการณ์ของเวปนี้คือพยายามไม่นำเสนอข้อความที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด หรือเพื่อนๆไม่รู้สึกว่าบทความนี้ต้องการสื่อสารการประชดประชันทางการเมืองครับ
แต่ผมเห็นข้อความคุณ draco นะ พอดีผมตั้งค่าให้มันแสดงข้อความติดลบได้เยอะๆ อิอิ
รู้สึกแบบเดียวกันครับ เรียนตรงๆว่าผมอ่านยังไม่ทันจบก็รู้เลยว่าคนเขียนบทความพยายามสื่ออะไร
เลยไม่สนใจเรื่องบทความ แต่สนใจตอบหัวข้อของจขกท.มากกว่า

อันที่จริงถ้าใครมีข้อมูลแน่นๆเรื่องเกณฑ์การตัดสินได้หรือไม่ได้ GSP มาแชร์กันจะได้ประโยชน์มาก
ผมเคยเห็นผ่านๆนานแล้ว แต่จำไม่ได้จริงๆว่าอยู่ที่ไหน รบกวนด้วยครับ :mrgreen:
chali119
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ข่าวอันนี้น่าจะเป็นข้อมูลที่ดีกว่า
--------------------------------------------------------------
หายวับแสนล.1ม.ค.ตัด GSP ส่งออกไป 'อียู' (Dec 22,2014)


นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มคู่ค้าในแถบสหภาพยุโรป(อียู) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี)สินค้าไทยทุกรายการที่ส่งออกไปอียู จาก 2 เหตุผลคือ 1.สินค้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 17.5% ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพีจะถูกตัดสิทธิ์ และ 2. จากการที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับจากธนาคารโลกให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูง(Upper-Middle Income Countries) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ทำให้ไทยต้องเสียภาษีในอัตราปกติ(อัตรา MFN) ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก

ด้วยเหตุนี้"ฐานเศรษฐกิจ"จึงทำการสำรวจผู้ส่งออกในหลายกลุ่มสินค้าที่ไทยส่งออกไปอียู(28 ประเทศ)ในโค้งสุดท้ายของปีนี้ ก่อนถูกตัดสิทธิจีเอสพีในปีหน้า ส่วนใหญ่ระบุไปในทิศทางเดียวกันว่าได้รับผลกระทบแน่แต่มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ก็ยืนยันตรงกันว่าได้เตรียม/ปรับแผนกลยุทธ์ เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแล้ว

โดยในประเด็นข้างต้นนี้นายประชัย กองวารี นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออกไปอียูสัดส่วนกว่า 80% เป็นถุงมือยาง การถูกตัดจีเอสพีครั้งนี้จะได้รับผลกระทบแน่นอน โดยทำให้การส่งออกถุงมือยางไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันสำคัญอย่างมาเลเซียมากขึ้น จากเดิมมาเลเซียไม่ได้จีเอสพีจากอียู แต่ไทยได้จีเอสพียังแข่งขันลำบาก เพราะมาเลเซียมีต้นทุนที่ถูกกว่า มีเครื่องจักรในการผลิตที่ทันสมัยกว่าสามารถผลิตได้ถึง 20 ล้านชิ้นต่อเครื่องต่อเดือน

ขณะที่เครื่องจักรไทยล้าสมัยผลิตได้ประมาณ 6 ล้านชิ้นต่อเครื่องต่อเดือน แม้ขณะนี้รัฐบาลไทยได้อนุมัติสินเชื่อให้กับโรงงานแปรรูปยางเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรือขยายกำลังการผลิต 1.5 หมื่นล้านบาทแล้วแต่ยังมีความล่าช้าในทางปฏิบัติ

"อียูถือเป็นตลาดใหญ่สุดของถุงมือยางไทย รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา การถูกตัดสิทธิจีเอสพีได้รับผลกระทบแน่นอน ทางออกคือทุกรายคงต้องเร่งหาตลาดใหม่ๆ ชดเชย เพราะนอกจากคู่แข่งมาเลเซียแล้ว เวลานี้ในเวียดนามก็มีการตั้งโรงงานผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออกแล้วหลายโรง และเวียดนามก็ยังได้จีเอสพีจากอียูจะทำให้เราได้รับกระทบมากขึ้น"

เช่นเดียวกับคำตอกย้ำของนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวว่า จากการถูกอียูตัดจีเอสพี ที่จะทำให้การนำเข้ารถยนต์ของอียูจากไทยต้องเสียภาษีในอัตราปกติที่ 10% จากที่เคยได้จีเอสพีเสียที่ 6.5% จะทำให้ราคาสินค้ารถยนต์จากไทยสูงขึ้นกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามเพื่อรองรับผลกระทบ ทางผู้ประกอบการเร่งขยายตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง อเมริกาใต้

ส่วนในปีนี้มูลค่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปอียูช่วง 11 เดือนแรกมีมูลค่า 3.71 หมื่นล้านบาท ขยายตัวสูงถึง 48% มองว่าเป็นผลจากอียูเร่งนำเข้าก่อนที่ไทยจะถูกตัดจีเอสพี คาดถึงสิ้นปีนี้จะส่งออกรถยนต์ไปตลาดอียูได้ราว 1 แสนคัน ส่วนในปีหน้าคาดจะลดลงเหลือประมาณ 9 หมื่นคัน

อย่างไรก็ตามแรงกดดันนี้นายสุกิจ คงปิยาจารย์ กรรมการ และอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่าในสินค้าเครื่องนุ่งห่ม หรือการ์เมนต์ส่งออกไปอียูคงได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะจากเดิมได้สิทธิจีเอสพีเสียภาษีนำเข้าที่ 9.6% ต้องกลับไปเสียภาษีในอัตราปกติที่ 12% ขณะที่เวียดนามคู่แข่งสำคัญยังได้สิทธิจีเอสพี คงเสียภาษีที่ 9.6% มองว่าไม่กระทบมาก เพราะภาษีต่างกันไม่มาก ทางออกผู้ประกอบการการ์เมนต์เวลานี้ หลายกลุ่มได้ขยายฐานการผลิตไปยัง CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม)ที่ยังได้จีเอสพีจากอียูเพื่อใช้เป็นฐานผลิตและส่งออก

"ผู้ประกอบการต้องไปลงทุนในประเทศที่ได้รับจีเอสพี หรือลงทุนในประเทศที่จะได้เอฟทีเอกับอียู และหลังจากที่ไทยมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่แล้วต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับอียูให้เร็วที่สุดเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ภาษี 0% ชดเชยจีเอสพีที่ถูกตัดไป"

ไม่แตกต่างไปจากกลุ่มสินค้ากุ้ง โดยที่นางอำไพ หาญไกรวิไลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยรอแยลฟรอเซนฟู๊ด จำกัด กล่าวว่าในปี 2557 การส่งออกกุ้งได้รับผลกระทบจากผลผลิตที่ยังไม่เพิ่มขึ้นจากความกังวลของผู้เลี้ยงในเรื่องโรคตายด่วน(EMS) และคาดหวังในปีหน้าผลผลิตจะปรับตัวดีขึ้นจากปีนี้ 20% แต่การถูกอียูตัดจีเอสพีส่งผลกระทบแน่นอน ทางออกเวลานี้โรงงานแปรรูปอาหารทะเล(ห้องเย็น) หลายรายได้พยายามขยายตลาดไปยังจีนและรัสเซีย ที่เป็นตลาดการบริโภคขนาดใหญ่

ขณะที่นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ ประธานคณะกรรมการความยั่งยืนทางธุรกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกไปอียู 6.7 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ใช้สิทธิส่งออกภายใต้จีเอสพีประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งการถูกตัดจีเอสพีสินค้าทุกรายการในปี 2558 คาดจะมีผลทำให้การส่งออกของไทยไปอียูลดลงไปมากกว่า 1 แสนล้านบาท จากเสียตลาดไปให้คู่แข่งขัน

ต่อเรื่องนี้ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค่าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ข้อเสนอแนะว่าเพื่อลดผลกระทบจากการถูกอียูตัดจีเอสพี และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งใน 4 แนวทางคือ 1.กลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพควรย้ายฐานไป CLMV ที่ยังคงได้สิทธิจีเอสพีจากอียู เพื่อใช้เป็นฐานผลิตส่งออก 2.เร่งหาตลาดอื่นที่มีศักยภาพเพื่อชดเชย เช่นตลาดเอเชีย แอฟริกา และกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้) 3.การเร่งใช้สิทธิภาษี 0% ในเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)หลายกรอบที่ไทยได้ลงนามและมีผลบังคับใช้แล้วให้เต็มที่ เช่นในกรอบอาเซียนที่จากผลสำรวจผู้ประกอบการไทยยังใช้สิทธิส่งออกเพียง 37% ของรายการสินค้าที่อาเซียนได้ลดภาษีเท่านั้น และ 4.การบริหารจัดการต้นทุนเพื่อให้แข่งขันได้ดีขึ้น

ด้านนายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออกวิเคราะห์ว่า จากที่ไทยจะถูกอียูตัดสิทธิจีเอสพี คาดในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2558 การส่งออกไทยไปอียูน่าจะติดลบ และจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 ส่วนไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ที่อียูได้เร่งนำเข้าสินค้าจากไทยมากก่อนที่ไทยจะถูกตัดจีเอสพีทำให้ตัวเลขเป็นบวกมาก คาดไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 คงขยายตัวไม่เท่าช่วงเดียวกันของปีนี้ และจะส่งผลให้การส่งออกทั้งปี ของไทยไปอียูในปี 2558 ติดลบ

นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าการถูกอียูตัดจีเอสพีในปีหน้านั้น เป็นเรื่องที่ทั้งภาคเอกชนและกระทรวงพาณิชย์ตั้งหลักรับมือมานานแล้ว สินค้าหลายรายการก็เริ่มเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติแล้ว แต่สิ่งที่กรมจะช่วยเอกชน คือสร้างมูลค่าให้กับสินค้าโดยใช้นวัตกรรมมากขึ้น การรักษาตลาดเก่าและหาตลาดใหม่ ทั้งนี้กรมได้เตรียมแนวทางในการรับมือโดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันไปส่งออกตลาดอื่นทดแทน เช่น จีน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอาเซียนให้มากขึ้นผ่านกิจกรรมส่งเสริมการทำตลาดต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีเพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งออก

อนึ่ง จากข้อมูลของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยถึงการใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกสินค้าไทยไปอียูในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า 6,724 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2556 ที่มีมูลค่า 6,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกสินค้าไทยไปอียูภายใต้สิทธิจีเอสพีปี 2556 มีมูลค่า 9,052 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสำหรับสินค้าที่มีการใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกไปอียูอันดับต้นๆ ในปีนี้ได้แก่ ยานยนต์ขนส่ง เครื่องปรับอากาศชนิดติดผนังและหน้าต่าง เลนส์แว่นตา ยางนอกรถยนต์ ถุงมือยาง เครื่องปรับอากาศแบบไม่มีหน่วยทำความเย็น วาล์ว เป็นต้น

Source : ฐานเศรษฐกิจ
comrade
Verified User
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ถ้าจำไม่ผิดเรื่อง GSP นี่ ทาง EU ประกาศตั้งแต่ปี 2012 แล้ว
ทางผู้ส่งออกทางตลาด EU น่าจะทราบมานานแล้วครับ
แต่เรื่องภาครัฐพยายามเจรจาหรือไม่ หรือเจรจาแล้วไม่สำเร็จ อันนี้ไม่รู้ :?:
SURE I AM OF THIS
THAT YOU HAVE ONLY TO ENDURE
TO CONQUER
NUU_GO
Verified User
โพสต์: 106
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

KCE ไม่ได้เสียประโยชน์ถึงจะโดนตัดสิทธิ์ GSP ครับ เพราะว่าแผ่นอุปกรณ์ PCB นั้นเสียภาษี 0% อยู่แล้ว
syj
Verified User
โพสต์: 4241
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

โดยในประเด็นข้างต้นนี้นายประชัย กองวารี นายกสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออกไปอียูสัดส่วนกว่า 80% เป็นถุงมือยาง การถูกตัดจีเอสพีครั้งนี้จะได้รับผลกระทบแน่นอน โดยทำให้การส่งออกถุงมือยางไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันสำคัญอย่างมาเลเซียมากขึ้น จากเดิมมาเลเซียไม่ได้จีเอสพีจากอียู แต่ไทยได้จีเอสพียังแข่งขันลำบาก เพราะมาเลเซียมีต้นทุนที่ถูกกว่า มีเครื่องจักรในการผลิตที่ทันสมัยกว่าสามารถผลิตได้ถึง 20 ล้านชิ้นต่อเครื่องต่อเดือน

ขณะที่เครื่องจักรไทยล้าสมัยผลิตได้ประมาณ 6 ล้านชิ้นต่อเครื่องต่อเดือน แม้ขณะนี้รัฐบาลไทยได้อนุมัติสินเชื่อให้กับโรงงานแปรรูปยางเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรือขยายกำลังการผลิต 1.5 หมื่นล้านบาทแล้วแต่ยังมีความล่าช้าในทางปฏิบัติ

"อียูถือเป็นตลาดใหญ่สุดของถุงมือยางไทย รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา การถูกตัดสิทธิจีเอสพีได้รับผลกระทบแน่นอน ทางออกคือทุกรายคงต้องเร่งหาตลาดใหม่ๆ ชดเชย เพราะนอกจากคู่แข่งมาเลเซียแล้ว เวลานี้ในเวียดนามก็มีการตั้งโรงงานผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออกแล้วหลายโรง และเวียดนามก็ยังได้จีเอสพีจากอียูจะทำให้เราได้รับกระทบมากขึ้น"
จะเอาอะไรไปสู้เค้า .... ค่าแรง 300.- ทั่วไทย ทำไทยชลอและชงักงัน...
เพราะการปรับนี้ ทำให้ค่าแรงขั้นต่ำไทยเท่ากับมาเลเซีย ที่แต่เดิม
มีระยะห่างพอสมควร นอกจากกนี้ค่าพลังงาน (น้ำมัน/ไฟฟ้า) ของ
มาเลเซียยังถูกกว่าไทย แถมแรงกดดันจากข้างล่าง คือ CLMV
โดยเฉพาะเวียตนาม ที่ค่าแรงก็ถูกกว่า คนก็ขยันกว่า อีกอย่างมาเลเซีย
เค้ามีการวางแผนระยะยาว เนื่องจากแรงงานบ้านเค้ามีน้อย และแพง
เค้าเลือกที่จะไปพัฒนาการปลูกปาล์ม และทิ้งการปลูกยาง ที่ใช้แรงงานมากกว่า
และเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนเค้าออกโฆษณาทีวีให้ประชาชนเติมน้ำมันเอง
(เหมือนที่ US) แต่ออกเป็นโฆษณารณรงค์ให้คนเค้าเติมน้ำมันเอง เพราะ
แรงงานจะขาดแคลนและแพง บ้านเรา ทำอะไรบ้าง แรงงานขาดแคลนและแพง
แต่ยังงอมืองอเท้า เติมน้ำมันเองไม่เป็น (หรูกว่าคนประเทศที่เจริญแล้วอย่าง
US อีก)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
otakung
Verified User
โพสต์: 928
ผู้ติดตาม: 0

Re: มี บ.ใดเสียหรือได้ประโยชน์ จากที่ EU จะตัด GSP ไทยบ้างคร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1419428211

กุ้งไทยระทึก "ใบเหลือง-เลิกจีเอสพี" ชะตากรรมที่หนักกว่าโรคตายด่วน
โพสต์โพสต์