การเปิดบัญชีตรงกับ local brokerage กับผ่านบัญชีโบรก ดี/เสีย
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
การเปิดบัญชีตรงกับ local brokerage กับผ่านบัญชีโบรก ดี/เสีย
โพสต์ที่ 1
ผมปัจจุบัน ลงทุนผ่านโบรกเช่น ฟิลลิป และถือในนามของโบรก
ข้อดี
1 ไม่ยุ่งยากมากเรื่องโอนเงิน
2 ไม่ต้องจัดการปัญหาภาษี
3 ไม่ต้องจัดการเอกสาร ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ การแตกพาร์ การซื้อวอร์ ฯลฯ
อยากทราบว่าหากเราเปิด โบรกตรงกับ local brokerage เลย จะมี ข้อดี/เสีย อย่างไรบ้างครับ?
รบกวนท่านผู้รู้ รวมถึงน้องที่เป็นมาร์ มาช่วยตอบก็ได้นะครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
ข้อดี
1 ไม่ยุ่งยากมากเรื่องโอนเงิน
2 ไม่ต้องจัดการปัญหาภาษี
3 ไม่ต้องจัดการเอกสาร ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ การแตกพาร์ การซื้อวอร์ ฯลฯ
อยากทราบว่าหากเราเปิด โบรกตรงกับ local brokerage เลย จะมี ข้อดี/เสีย อย่างไรบ้างครับ?
รบกวนท่านผู้รู้ รวมถึงน้องที่เป็นมาร์ มาช่วยตอบก็ได้นะครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 62
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปิดบัญชีตรงกับ local brokerage กับผ่านบัญชีโบรก ดี/เ
โพสต์ที่ 2
วันนี้ผมติดต่อมาร์เพื่อเปิดบ/ช ผ่านโบรกสำหรับลงทุนในลาว สรุปว่า ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วคับ โดยเค้าบอกว่าตลาดลาวอนุญาติให้เฉพาะ local brokergae ครับ (ส่วนที่ผ่านมาแล้วไม่เป็นไรคัญ) ส่วนตัวหากต้องเปิดกับ local brokerage คงยังไม่สนใจคับ รู้สึกเหมือนฝากตังกะคนไม่รู้จัก -Nevercry.boy เขียน:ผมปัจจุบัน ลงทุนผ่านโบรกเช่น ฟิลลิป และถือในนามของโบรก
ข้อดี
1 ไม่ยุ่งยากมากเรื่องโอนเงิน
2 ไม่ต้องจัดการปัญหาภาษี
3 ไม่ต้องจัดการเอกสาร ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับ การแตกพาร์ การซื้อวอร์ ฯลฯ
อยากทราบว่าหากเราเปิด โบรกตรงกับ local brokerage เลย จะมี ข้อดี/เสีย อย่างไรบ้างครับ?
รบกวนท่านผู้รู้ รวมถึงน้องที่เป็นมาร์ มาช่วยตอบก็ได้นะครับ
ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปิดบัญชีตรงกับ local brokerage กับผ่านบัญชีโบรก ดี/เ
โพสต์ที่ 3
น่าจะมีปัญหา ตอนโอนเงินหรือป่าวครับ เหมือน ธปท ไม่น่าอนุญาต ให้โอนเงิน ไปตปท ได้ง่ายๆ
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2748
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปิดบัญชีตรงกับ local brokerage กับผ่านบัญชีโบรก ดี/เ
โพสต์ที่ 4
จากประสบการณ์ผม ผมใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศ แต่มีบัญชีหุ้นในไทยกับโบรคเกอร์ไทย อาจจะตรงกันข้ามกับกรณีที่พี่ nb เอ่ยมา แต่อาจมีประโยชน์ครับ ปัญหาน่าจะคล้ายๆกัน
1. เรื่องการส่งเอกสาร โบรคเกอร์และศูนย์ฝากหลักทรัพย์ในไทยจะส่งเอกสารไปให้ที่อยู่ที่เมืองไทย เอกสารนี้มีตั้งแต่ปันผล จดหมายเชิญเข้าร่วมประชุม จนถึงเอกสารเพิ่มทุน ซึ่งค่อนข้างสำคัญมากถ้าลงทุนในระยะยาว สำหรับคนที่อยู่ต่างประเทศ ข้อจำกัดด้านการสื่อสารค่อนข้างใหญ่ บางทีมีประชุมเพิ่มทุนด่วน เราเตรียมตัวเดินทางไปใช้สิทธิ์ไม่ทัน ต้องขายหุ้นสถานเดียว
2. ค่าคอมมิชชั่น local ถูกกว่ามาก แต่การโอนเงินมีข้อจำกัด เพราะต้องผ่านด่านตรวจหลายด่าน หลายหน่วยงาน เพราะหลายๆฝ่ายกลัวการฟอกเงิน
(EU มีข้อกำหนดว่าถ้าเกิน 10,000 EUR จะต้อง declare ของ AEC นี่ผมไม่รู้ตัวเลขครับ)
3. ภาษี Capital Gain + Withholding Tax ของประเทศที่จะไปลงทุน อันนี้สำคัญมาก เพราะโบรคเกอร์ local มักจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เหมือนกับเราเป็นคนท้องถิ่น ถ้าเราเป็นคนต่างชาติ อาจเสียภาษีในอีกเรตนึง ซึ่งต้องคุยกับโบรคเกอร์ว่าเขาทำเอกสารภาษีให้เราด้วยไหม บางทีเราอาจจะได้เรตที่ดีกว่าหรือแย่กว่า ถ้าโดนสรรพากรของแต่ละประเทศมาตรวจสอบภายหลังแล้วจะวุ่น
4. ภาษีในไทยจะแปลกกว่าชาวบ้านอยู่หน่อยนึง ในปัจจุบันสรรพากรใช้ cash basis คือเมื่อเงินเข้าประเทศเมื่อไหร่ค่อยเก็บภาษี (ขณะที่มาตรฐานคือ accrual basis) ทำให้มีช่องโหว่โดยนำรายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายให้ ไปขอเสียภาษีมาเกิดที่เมืองไทยตามหลักถิ่นที่พักอาศัย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีส่วนนี้ในประเทศที่ไปลงทุน
พอขึ้นปีใหม่ นักลงทุนก็นำเงินก้อนนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีใหม่นี้ เงินก้อนนี้จะไม่เสียภาษี capital gain ในฝั่งไทยด้วยเพราะถือว่าเป็นเงินของปีก่อน กลายเป็นว่าสุดท้ายแล้วนักลงทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีเลยสักประเทศ
ตรงนี้มันเป็นอะไรที่เทาๆ ถ้าไปทำที่ยุโรปนี่อาจโดนคุกหลายปีแบบประธานทีมฟุตบอลทีมนึง แต่การตีความภาษีแบบนี้ทำกันมาในไทยหลายรุ่นแล้ว ไม่รู้จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า โดยเฉพาะเมื่อคนไปลงทุนต่างประเทศกันมากๆ
5. ในไทย ภาษีบุคคลธรรมดาที่ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะได้เปรียบกว่าการลงทุนในชื่อนิติบุคคลเพราะได้ยกเว้นภาษี capital gain tax แต่หลายๆประเทศนั้นไม่เหมือนกัน บางทีในบางประเทศเราไปเปิดบัญชีในนามนิติบุคคลจะคุ้มกว่า
(ในเยอรมันลงทุนในชื่อนิติบุคคล ได้เปรียบกว่าบุคคลธรรมดา เพราะขอ withholding tax (ปันผล) คืนได้ ถือเป็นภาษีซ้ำซ้อน)
6. นอกจากภาษี ก็มีเรื่องของภาษา โบรคเกอร์ผมในต่างประเทศไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ (ซักวันคงเปลี่ยนโบรค ห่วยมาก) ผมคิดว่าโบรคเกอร์ในเวียดนามก็อาจไม่ชอบที่จะพูดอังกฤษหรือไทย ถ้าพูดได้ก็อาจจะมีปัญหาในการสื่อสารอยู่บ้าง
1. เรื่องการส่งเอกสาร โบรคเกอร์และศูนย์ฝากหลักทรัพย์ในไทยจะส่งเอกสารไปให้ที่อยู่ที่เมืองไทย เอกสารนี้มีตั้งแต่ปันผล จดหมายเชิญเข้าร่วมประชุม จนถึงเอกสารเพิ่มทุน ซึ่งค่อนข้างสำคัญมากถ้าลงทุนในระยะยาว สำหรับคนที่อยู่ต่างประเทศ ข้อจำกัดด้านการสื่อสารค่อนข้างใหญ่ บางทีมีประชุมเพิ่มทุนด่วน เราเตรียมตัวเดินทางไปใช้สิทธิ์ไม่ทัน ต้องขายหุ้นสถานเดียว
2. ค่าคอมมิชชั่น local ถูกกว่ามาก แต่การโอนเงินมีข้อจำกัด เพราะต้องผ่านด่านตรวจหลายด่าน หลายหน่วยงาน เพราะหลายๆฝ่ายกลัวการฟอกเงิน
(EU มีข้อกำหนดว่าถ้าเกิน 10,000 EUR จะต้อง declare ของ AEC นี่ผมไม่รู้ตัวเลขครับ)
3. ภาษี Capital Gain + Withholding Tax ของประเทศที่จะไปลงทุน อันนี้สำคัญมาก เพราะโบรคเกอร์ local มักจะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เหมือนกับเราเป็นคนท้องถิ่น ถ้าเราเป็นคนต่างชาติ อาจเสียภาษีในอีกเรตนึง ซึ่งต้องคุยกับโบรคเกอร์ว่าเขาทำเอกสารภาษีให้เราด้วยไหม บางทีเราอาจจะได้เรตที่ดีกว่าหรือแย่กว่า ถ้าโดนสรรพากรของแต่ละประเทศมาตรวจสอบภายหลังแล้วจะวุ่น
4. ภาษีในไทยจะแปลกกว่าชาวบ้านอยู่หน่อยนึง ในปัจจุบันสรรพากรใช้ cash basis คือเมื่อเงินเข้าประเทศเมื่อไหร่ค่อยเก็บภาษี (ขณะที่มาตรฐานคือ accrual basis) ทำให้มีช่องโหว่โดยนำรายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายให้ ไปขอเสียภาษีมาเกิดที่เมืองไทยตามหลักถิ่นที่พักอาศัย ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีส่วนนี้ในประเทศที่ไปลงทุน
พอขึ้นปีใหม่ นักลงทุนก็นำเงินก้อนนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีใหม่นี้ เงินก้อนนี้จะไม่เสียภาษี capital gain ในฝั่งไทยด้วยเพราะถือว่าเป็นเงินของปีก่อน กลายเป็นว่าสุดท้ายแล้วนักลงทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีเลยสักประเทศ
ตรงนี้มันเป็นอะไรที่เทาๆ ถ้าไปทำที่ยุโรปนี่อาจโดนคุกหลายปีแบบประธานทีมฟุตบอลทีมนึง แต่การตีความภาษีแบบนี้ทำกันมาในไทยหลายรุ่นแล้ว ไม่รู้จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า โดยเฉพาะเมื่อคนไปลงทุนต่างประเทศกันมากๆ
5. ในไทย ภาษีบุคคลธรรมดาที่ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะได้เปรียบกว่าการลงทุนในชื่อนิติบุคคลเพราะได้ยกเว้นภาษี capital gain tax แต่หลายๆประเทศนั้นไม่เหมือนกัน บางทีในบางประเทศเราไปเปิดบัญชีในนามนิติบุคคลจะคุ้มกว่า
(ในเยอรมันลงทุนในชื่อนิติบุคคล ได้เปรียบกว่าบุคคลธรรมดา เพราะขอ withholding tax (ปันผล) คืนได้ ถือเป็นภาษีซ้ำซ้อน)
6. นอกจากภาษี ก็มีเรื่องของภาษา โบรคเกอร์ผมในต่างประเทศไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ (ซักวันคงเปลี่ยนโบรค ห่วยมาก) ผมคิดว่าโบรคเกอร์ในเวียดนามก็อาจไม่ชอบที่จะพูดอังกฤษหรือไทย ถ้าพูดได้ก็อาจจะมีปัญหาในการสื่อสารอยู่บ้าง
Vi IMrovised
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การเปิดบัญชีตรงกับ local brokerage กับผ่านบัญชีโบรก ดี/เ
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณ ดร.วิม มากครับ
มาร์ในเวียด บางคนภาษาอังกฤษดีขั้น เนทิฟว เลยครับ แต่บางคนก็บ้าน ๆ ครับ
มาร์ในเวียด บางคนภาษาอังกฤษดีขั้น เนทิฟว เลยครับ แต่บางคนก็บ้าน ๆ ครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/