"ระมัดระวัง" หัวใจเล่นหุ้น "ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
"ระมัดระวัง" หัวใจเล่นหุ้น "ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"
โพสต์ที่ 1
"ระมัดระวัง" หัวใจเล่นหุ้น "ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กว่าจะเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้น “หลักร้อยล้าน”
“ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” MD“ซัสโก้” เคยถูก “วิกฤติต้มยำกุ้ง” พ่นพิษ จน “ขาดทุนหนัก” จาก “หุ้นไฟแนนซ์"
“เจ็บแต่ไม่เข็ด”
ใครจะรู้!! ช่วงชีวิตหนึ่ง “ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซัสโก้ หรือ SUSCO เคยมีโอกาส “ลิ้มลอง” วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 “พิษร้ายแรง” ในครานั้นไม่ได้ซึมเข้าทำร้าย “กระเป๋าตังค์ของครอบครัว” เท่านั้น หลัง “ซัสโก้” ต้องแบกภาระหนี้มากถึง 500-600 ล้านเหรียญ
แต่ “ความหายนะ” ในครั้งนั้น ได้ส่งผลให้ “คลังส่วนตัว” ติดลบ โดยเฉพาะเงินจากการลงทุนในตลาดหุ้น หลัง “หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์” ที่เขาครอบครองปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง หุ้นหลายตัวซื้อมา 10 บาท หลังรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทไม่นาน ราคาหุ้นเริ่มส่งสัญญาณ “ความด้อยค่า” สุดท้ายหลงเหลือค่าเพียง “ศูนย์บาท”
โดยเฉพาะ หุ้น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือ FIN1 ของ “ปิ่น จักกะพาก” เจ้าของฉายา “ราชาเทคโอเวอร์” ที่เพิ่งเดินทางกลับเมืองไทยเมื่อปีก่อน หลังต้องลี้ภัยจากคดีความไปอยู่ประเทศอังกฤษเป็นเวลาเกือบ 20 ปี
ตกอยู่ในอาการ “ซึมเศร้า” ไม่นาน “ชัยฤทธิ์“ รีบถอนตัวออกจาก “หลุมดำ” ด้วยการปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ยกแผง “ความระมัดระวัง” คือ วิถีแห่งการลงทุนที่เขาเลือกใช้ในช่วงนั้น วันเวลาผ่านมา 20 ปี เขาพิสูจน์ได้แล้วว่า แนวทางนี้ใช้ได้ผลจริง ปัจจุบัน “ชายวัย 48 ปี” เป็นเจ้าของพอร์ตลงทุน “หลักร้อยล้านบาท”
“หากจะขอนิยามตัวเองเป็น “นักลงทุนรายใหญ่” คงไม่ผิด พอร์ตผมใหญ่พอควร หลายๆครั้งที่มีนักลงทุนเดินมาบอกว่า เขาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ เพราะมูลค่าการลงทุนมากถึง 50 ล้านบาท ฉะนั้นถ้าผมจะพูดแบบนี้บ้างคงได้เหมือนกัน” “ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” บุรุษที่โกยผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยปีละ 6-7 เปอร์เซ็นต์ บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week”
เขาเลือกห้องทำงานติดแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านราษฎร์บูรณะ เป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องการลงทุนส่วนตัว “ผมจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) University of Indianapolis,Indiana, U.S.A. และได้ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 9 (วตท.9)
หลังเรียนจบปริญญาโท ตัดสินใจกลับเมืองไทยทันที “จุดเริ่มต้น” การลงทุนเกิดช่วงนั้นแหละ อาจเป็นเพราะเห็น “คุณอา” มงคล สิมะโรจน์ ในฐานะประธานกรรมการ “ซัสโก้” ลงทุนในตลาดหุ้นมาตลอดทำให้ซึมซับ
เมื่อ 20 ปีก่อน ใครเล่นหุ้นมัน “เท่ห์มาก” (หัวเราะ) เหตุการณ์จะออกแนวคล้ายๆเมื่อช่วงต้นปี 2555 ที่เริ่มมีนักศึกษาจบใหม่ไม่ยอมทำงาน แต่หันมาเล่นหุ้น เพราะได้ “เงินเร็วกำไรดี” คุณเชื่อหรือไม่ เด็กเหล่านั้นยังไม่เคยขาดทุน หากพอร์ตติบลบเมื่อไรคงจะเข็ดไปอีกนาน
ช่วงแรกยังใส่เงินลงทุนไม่มากเท่าไร เพราะไม่ค่อยมีตังค์ หลังๆเริ่มเล่นหุ้นแบบ “เก็งกำไร” ออกแนวอยากได้เงินกลับมาเยอะๆ ตอนนั้นใส่เงินร้อยเปอร์เซ็นต์ มีเท่าไรทุ่มหมดตัว ชนิดไม่ดูพื้นฐาน ไม่สนใจธุรกิจ ผลประกอบการจะดีหรือขาดทุนไม่เคยเหลียวแล ออกแนวเล่นหุ้นตามสตอรี่ ใครบอกว่า หุ้นตัวไหนดีซื้อหมด
สนุกสนานอยู่ได้ไม่นาน รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ราคาหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ที่อยู่ในพอร์ตหลงเหลือค่าแค่ “ศูนย์” พอร์ตขาดทุนเป็น “ล้านบาท” ขายหุ้นหมดทุกตัวยังได้เงินกลับมาไม่พอจ่ายหนี้เลย จำไม่ค่อยได้มีหุ้นอะไรบ้าง ฝังใจแค่ตัวเดียว นั่นคือ หุ้น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือ FIN1 มีสาขามากมาย ไม่นานเชื่อว่าจะแย่ได้ขนาดนี้
“ซื้อหุ้นไฟแนนซ์หลายๆตัวมา 10 บาท รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทไม่นาน มูลค่าเหลือแค่ “ศูนย์บาท”
“ผมไม่เข็ด” ยังคงเดินหน้าลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป คราวนี้ค่อยๆเก็บสะสมใหม่เน้นลงทุนด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เริ่มหันกลับมาศึกษาพื้นฐานหุ้นที่เราสนใจ เน้นหุ้นเติบโตดีเป็นหลัก หลังช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ถือเป็นโอกาส “ทอง” ของการลงทุน เพราะมีหุ้นพื้นฐานดีๆหลายตัวราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เรียกว่า หากเลือกถูกตัวคุณสามารถทำกำไรหุ้นได้เกือบทุกตัว
ปัจจุบันมีหุ้นในพอร์ตกี่ตัว? เขาตอบว่า น่าจะประมาณ 10 กว่าตัว ถือว่าเยอะพอควร กำลังดูว่า ณ เวลานี้สามารถขายทำกำไรตัวไหนได้บ้าง ในจำนวนหุ้น 10 ตัว แบ่งเป็น “หุ้นพื้นฐาน” ประมาณ 4 ตัว ที่เหลือวางให้เป็น “หุ้นเก็งกำไร” ส่วนใหญ่เงินจะหมดไปกับการลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์
เขา เล่าถึง “หุ้นพื้นฐาน” ตัวแรกให้ฟังว่า “ผมมีต้นทุน หุ้น ปตท.หรือ PTT 350 บาท เลือกซื้อตัวนี้ เพราะทำธุรกิจน้ำมันเหมือน “ซัสโก้” แม้วันนี้จะขาดทุนจากมูลค่าหุ้น แต่ยังถืออยู่ อย่างน้อยยังได้เงินปันผลทุกปี ผมได้มาหลายรอบแล้ว”
ตัวต่อไป คือ หุ้น บ้านปู หรือ BANPU ช้อนเพราะ “ความเชื่อ” มีคนบอกว่า อนาคตธุรกิจถ่านหินจะดีมาก ความต้องการของประเทศจีนยังมีสูง ธุรกิจถ่านหินจะขึ้นมาเป็นพลังงานอันดับ 1 เข้าไปซื้อช่วงราคาดิ่งหัวลงจาก 800 บาท เหลือ 400 บาท (พาร์ 10 บาท) กะว่าจะถือต่อไปเรื่อยๆ แม้วันนี้ราคาหุ้น บ้านปู พาร์ใหม่ 1 บาท จะลดลงจากต้นทุน แต่บริษัทจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ถือว่า “โอเค”
หุ้น ธนาคารกรุงศรี หรือ BAY ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะต้องการรอนำไปขายช่วงธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ หุ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในราคา 39 บาทต่อหุ้น ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ เขาไม่ยอมบอกต้นทุนหุ้นตัวนี้
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ต้นทุน 8 บาท วันนี้ยังติดหุ้นอยู่เลย (หัวเราะ) ไม่รู้ราคา 8 บาท เป็นราคาในช่วง 3 ปีข้างหน้าหรือเปล่า เขาพูดติดตลก จริงๆค่อนข้างมั่นใจอนาคตบริษัทแห่งนี้ว่า จะมีการเติบโตที่ดี “นักลงทุนไซด์บิ๊ก” พยายามให้กำลังตัวเอง
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน? เขาบอกว่า ก่อนจะลงทุนหุ้นสักตัวจะต้องดูธุรกิจว่าอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จากนั้นค่อยมาดูผลประกอบการทั้งในอดีตและปัจจุบันขาดทุนหรือกำไร บางบริษัทมีผลขาดทุน แต่นักลงทุนเลือกลงทุนจนหุ้นกลายเป็นตัว “ฮอตฮิต” หุ้นพื้นฐานดีแม้ราคาหุ้นจะไม่ไปไหน แต่เรายังเก็บกินเงินปันผลได้ตลอด อย่างน้อยก็มีตัวคอยปลอบใจ
ปัจจุบันมีการการกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในกองทุนหุ้นสัดส่วน 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ เช่น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ที่ผ่านมาหลายคนบอกว่า ลงทุนกองทุนหุ้นเป็นสิ่งที่ดี มีความปลอดภัย แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ อารมณ์อยากเล่นหุ้นเองมีมากกว่า คิดเองซื้อเอง “มันส์และสนุก” กว่าเยอะ
“อยากลงทุนหุ้นรายตัว แต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับบริษัทนั้น เปรียบเหมือน “กำลังเล่นเกมส์ การปาลูกดอก” มันเสี่ยงเกินไป
ในฐานะ “เอ็มดีใหญ่” แห่ง “ซัสโก้” เขาถือโอกาสพูดถึงผู้ถือหุ้นคนใหม่ “กึ้ง-เฉลิมชัย มหากิจศิริ” ลูกชาย “ประยุทธ มหากิจศิริ” ผู้ถือหุ้นโรงงานผลิตกาแฟเนสกาแฟ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยว่า แม้ “ตระกูลมหากิจศิริ” จะมีหุ้น ซัสโก้ สูงถึง 12.21 เปอร์เซ็นต์ จนขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง แต่ “กลุ่มสิมะโรจน์” ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เหมือนเดิมในสัดส่วน 19.58 เปอร์เซ็นต์
“เฉลิมชัย” น่าจะเข้าไปไล่ซื้อหุ้น ซัสโก้ ในกระดานหลัก ไม่ได้ซื้อหุ้นจาก “ตระกูลสิมะโรจน์” เราไม่มีนโยบายขายหุ้นตัวเองออกมา หุ้นรายใหม่คงถือหุ้นเราระยะยาว เพราะเราเป็นหุ้นพื้นฐานที่ดี เขาคงรอรับเงินปันผลอย่างเดียว
จริงๆก่อน “เฉลิมชัย” จะเข้ามาซื้อหุ้นได้มีการพูดคุยกันในระดับผู้ใหญ่แล้ว เพราะ “ประยุทธ มหากิจศิริ” รู้จักเป็นการส่วนตัวกับ “มงคล สิมะโรจน์” ตั้งแต่เขาถือหุ้น 12.21 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่เคยเข้ามาขอบริหารงาน มีเพียงการนำเสนอเรื่องแผนธุรกิจเท่านั้น
“เพื่อนใหม่” เขาอยากทำธุรกิจร้านค้าในสถานีบริการน้ำมัน หลังเห็นเราซื้อกิจการ บริษัท ปิโตรนาส รีเทล ไทยแลนด์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเครื่องหมายการค้า PETRONAS สัญชาติมาเลเซียในเมืองไทย “ตระกูลมหากิจศิริ” เขามีบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด แต่บังเอิญไม่มีประสบการณ์ด้านร้านค้า เขามองว่า เราน่าจะต่อยอดธุรกิจให้เขาได้
สำหรับเป้าหมายในการทำธุรกิจในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า “ชัยฤทธิ์” บอกว่า อยากเห็นบริษัทเป็น “สถานีบริการน้ำมันขนาดกลาง” ที่มียอดขายประมาณ 30,000 ล้านบาท และเป็นบริษัทที่มี “กำไรเติบโตต่อเนื่อง” สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้สม่ำเสมอ”
เขาแจกแจงแผนธุรกิจให้ฟังว่า“ระยะสั้น” เราจะปฎิบัติการณ์ปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาส ก่อนหน้าที่เราจะซื้อแบรนด์นี้มาครอบครอง เคยมีความคิดจะปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน SUSCO ที่มีอยู่แล้ว 100 กว่าแห่ง แต่เมื่อมีปิโตรนาสคงต้องชะลอแผนออกไปก่อน
ส่วนแผน “ระยะกลาง” อยากยกระดับสถานีบริการน้ำมัน SUSCO ให้ได้มาตราฐานทุกแห่ง สำหรับแผน “ระยะยาว” คงลงทุนใน “ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์” หรือ โซล่าร์รูฟ ล่าสุดบริษัทเพิ่งประมูลมาได้ 6 แห่ง กำลังการผลิตประมาณ 1 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนเฉลี่ย 60-70 ล้านบาท อนาคตธุรกิจนี้จะทำหน้าที่เป็นรายได้เสริมให้กับเรา
“ผู้บริหาร” ยอมรับว่า รายได้ในปี 2556 คงไม่ถึงเป้าหมาย 28,000 ล้านบาท เต็มที่น่าจะทำได้ 25,000-26,000 ล้านบาท ผ่านมาครึ่งปีแรกเรามีรายได้รวมแล้ว 12,000 ล้านบาท ส่วน 6 เดือนหลัง เศรษฐกิจมีการชะลอตัว คาดว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกน่าจะทรงตัวอยู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล นั่นแหละเหตุผลที่ทำให้รายได้ไปไม่ถึงเป้าหมาย
หลังซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาส ทำให้เรามีสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 136 แห่ง เป็น 235 แห่ง ขณะที่เรายังขยายสถานีบริการน้ำมัน NGV เพิ่มเติม อย่างในปี 2556 เราเปิดเพิ่มอีก 3 แห่ง ในย่านสุขาภิบาล ย่านวิภาวดี และลาซาน ทำให้เรามีสถานีบริการน้ำมัน NGV เพิ่มขึ้นเป็น 13 แห่ง ส่วนปีหน้าจะเปิดเพิ่มอีกเท่าไร คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของปตท.เพราะเรารับจ้างบริหารให้เขาอยู่
ปี 2557 รายได้คงเติบโตจากปีนี้ หลังปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน SUSCO แถมเรายังดึงดูดคนด้วยการเปิดร้านสะดวกซื้อ และดึงร้านกาแฟแบรนด์ “คาเฟ่ ดิโอโร่” เข้ามาเสริมทัพ ฉะนั้น “กำไรสุทธิ” น่าจะขยายตัวมากกว่านี้ ที่ผ่านมาเราได้ทยอยคืนหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่กู้มาซื้อปิโตรนาสตลอด ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดล
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กว่าจะเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้น “หลักร้อยล้าน”
“ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” MD“ซัสโก้” เคยถูก “วิกฤติต้มยำกุ้ง” พ่นพิษ จน “ขาดทุนหนัก” จาก “หุ้นไฟแนนซ์"
“เจ็บแต่ไม่เข็ด”
ใครจะรู้!! ช่วงชีวิตหนึ่ง “ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซัสโก้ หรือ SUSCO เคยมีโอกาส “ลิ้มลอง” วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 “พิษร้ายแรง” ในครานั้นไม่ได้ซึมเข้าทำร้าย “กระเป๋าตังค์ของครอบครัว” เท่านั้น หลัง “ซัสโก้” ต้องแบกภาระหนี้มากถึง 500-600 ล้านเหรียญ
แต่ “ความหายนะ” ในครั้งนั้น ได้ส่งผลให้ “คลังส่วนตัว” ติดลบ โดยเฉพาะเงินจากการลงทุนในตลาดหุ้น หลัง “หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์” ที่เขาครอบครองปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง หุ้นหลายตัวซื้อมา 10 บาท หลังรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทไม่นาน ราคาหุ้นเริ่มส่งสัญญาณ “ความด้อยค่า” สุดท้ายหลงเหลือค่าเพียง “ศูนย์บาท”
โดยเฉพาะ หุ้น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือ FIN1 ของ “ปิ่น จักกะพาก” เจ้าของฉายา “ราชาเทคโอเวอร์” ที่เพิ่งเดินทางกลับเมืองไทยเมื่อปีก่อน หลังต้องลี้ภัยจากคดีความไปอยู่ประเทศอังกฤษเป็นเวลาเกือบ 20 ปี
ตกอยู่ในอาการ “ซึมเศร้า” ไม่นาน “ชัยฤทธิ์“ รีบถอนตัวออกจาก “หลุมดำ” ด้วยการปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ยกแผง “ความระมัดระวัง” คือ วิถีแห่งการลงทุนที่เขาเลือกใช้ในช่วงนั้น วันเวลาผ่านมา 20 ปี เขาพิสูจน์ได้แล้วว่า แนวทางนี้ใช้ได้ผลจริง ปัจจุบัน “ชายวัย 48 ปี” เป็นเจ้าของพอร์ตลงทุน “หลักร้อยล้านบาท”
“หากจะขอนิยามตัวเองเป็น “นักลงทุนรายใหญ่” คงไม่ผิด พอร์ตผมใหญ่พอควร หลายๆครั้งที่มีนักลงทุนเดินมาบอกว่า เขาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ เพราะมูลค่าการลงทุนมากถึง 50 ล้านบาท ฉะนั้นถ้าผมจะพูดแบบนี้บ้างคงได้เหมือนกัน” “ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์” บุรุษที่โกยผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยปีละ 6-7 เปอร์เซ็นต์ บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week”
เขาเลือกห้องทำงานติดแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านราษฎร์บูรณะ เป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องการลงทุนส่วนตัว “ผมจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) University of Indianapolis,Indiana, U.S.A. และได้ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 9 (วตท.9)
หลังเรียนจบปริญญาโท ตัดสินใจกลับเมืองไทยทันที “จุดเริ่มต้น” การลงทุนเกิดช่วงนั้นแหละ อาจเป็นเพราะเห็น “คุณอา” มงคล สิมะโรจน์ ในฐานะประธานกรรมการ “ซัสโก้” ลงทุนในตลาดหุ้นมาตลอดทำให้ซึมซับ
เมื่อ 20 ปีก่อน ใครเล่นหุ้นมัน “เท่ห์มาก” (หัวเราะ) เหตุการณ์จะออกแนวคล้ายๆเมื่อช่วงต้นปี 2555 ที่เริ่มมีนักศึกษาจบใหม่ไม่ยอมทำงาน แต่หันมาเล่นหุ้น เพราะได้ “เงินเร็วกำไรดี” คุณเชื่อหรือไม่ เด็กเหล่านั้นยังไม่เคยขาดทุน หากพอร์ตติบลบเมื่อไรคงจะเข็ดไปอีกนาน
ช่วงแรกยังใส่เงินลงทุนไม่มากเท่าไร เพราะไม่ค่อยมีตังค์ หลังๆเริ่มเล่นหุ้นแบบ “เก็งกำไร” ออกแนวอยากได้เงินกลับมาเยอะๆ ตอนนั้นใส่เงินร้อยเปอร์เซ็นต์ มีเท่าไรทุ่มหมดตัว ชนิดไม่ดูพื้นฐาน ไม่สนใจธุรกิจ ผลประกอบการจะดีหรือขาดทุนไม่เคยเหลียวแล ออกแนวเล่นหุ้นตามสตอรี่ ใครบอกว่า หุ้นตัวไหนดีซื้อหมด
สนุกสนานอยู่ได้ไม่นาน รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ราคาหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ที่อยู่ในพอร์ตหลงเหลือค่าแค่ “ศูนย์” พอร์ตขาดทุนเป็น “ล้านบาท” ขายหุ้นหมดทุกตัวยังได้เงินกลับมาไม่พอจ่ายหนี้เลย จำไม่ค่อยได้มีหุ้นอะไรบ้าง ฝังใจแค่ตัวเดียว นั่นคือ หุ้น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือ FIN1 มีสาขามากมาย ไม่นานเชื่อว่าจะแย่ได้ขนาดนี้
“ซื้อหุ้นไฟแนนซ์หลายๆตัวมา 10 บาท รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทไม่นาน มูลค่าเหลือแค่ “ศูนย์บาท”
“ผมไม่เข็ด” ยังคงเดินหน้าลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป คราวนี้ค่อยๆเก็บสะสมใหม่เน้นลงทุนด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เริ่มหันกลับมาศึกษาพื้นฐานหุ้นที่เราสนใจ เน้นหุ้นเติบโตดีเป็นหลัก หลังช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ถือเป็นโอกาส “ทอง” ของการลงทุน เพราะมีหุ้นพื้นฐานดีๆหลายตัวราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เรียกว่า หากเลือกถูกตัวคุณสามารถทำกำไรหุ้นได้เกือบทุกตัว
ปัจจุบันมีหุ้นในพอร์ตกี่ตัว? เขาตอบว่า น่าจะประมาณ 10 กว่าตัว ถือว่าเยอะพอควร กำลังดูว่า ณ เวลานี้สามารถขายทำกำไรตัวไหนได้บ้าง ในจำนวนหุ้น 10 ตัว แบ่งเป็น “หุ้นพื้นฐาน” ประมาณ 4 ตัว ที่เหลือวางให้เป็น “หุ้นเก็งกำไร” ส่วนใหญ่เงินจะหมดไปกับการลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์
เขา เล่าถึง “หุ้นพื้นฐาน” ตัวแรกให้ฟังว่า “ผมมีต้นทุน หุ้น ปตท.หรือ PTT 350 บาท เลือกซื้อตัวนี้ เพราะทำธุรกิจน้ำมันเหมือน “ซัสโก้” แม้วันนี้จะขาดทุนจากมูลค่าหุ้น แต่ยังถืออยู่ อย่างน้อยยังได้เงินปันผลทุกปี ผมได้มาหลายรอบแล้ว”
ตัวต่อไป คือ หุ้น บ้านปู หรือ BANPU ช้อนเพราะ “ความเชื่อ” มีคนบอกว่า อนาคตธุรกิจถ่านหินจะดีมาก ความต้องการของประเทศจีนยังมีสูง ธุรกิจถ่านหินจะขึ้นมาเป็นพลังงานอันดับ 1 เข้าไปซื้อช่วงราคาดิ่งหัวลงจาก 800 บาท เหลือ 400 บาท (พาร์ 10 บาท) กะว่าจะถือต่อไปเรื่อยๆ แม้วันนี้ราคาหุ้น บ้านปู พาร์ใหม่ 1 บาท จะลดลงจากต้นทุน แต่บริษัทจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ถือว่า “โอเค”
หุ้น ธนาคารกรุงศรี หรือ BAY ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะต้องการรอนำไปขายช่วงธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ หุ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ในราคา 39 บาทต่อหุ้น ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ เขาไม่ยอมบอกต้นทุนหุ้นตัวนี้
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ต้นทุน 8 บาท วันนี้ยังติดหุ้นอยู่เลย (หัวเราะ) ไม่รู้ราคา 8 บาท เป็นราคาในช่วง 3 ปีข้างหน้าหรือเปล่า เขาพูดติดตลก จริงๆค่อนข้างมั่นใจอนาคตบริษัทแห่งนี้ว่า จะมีการเติบโตที่ดี “นักลงทุนไซด์บิ๊ก” พยายามให้กำลังตัวเอง
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน? เขาบอกว่า ก่อนจะลงทุนหุ้นสักตัวจะต้องดูธุรกิจว่าอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จากนั้นค่อยมาดูผลประกอบการทั้งในอดีตและปัจจุบันขาดทุนหรือกำไร บางบริษัทมีผลขาดทุน แต่นักลงทุนเลือกลงทุนจนหุ้นกลายเป็นตัว “ฮอตฮิต” หุ้นพื้นฐานดีแม้ราคาหุ้นจะไม่ไปไหน แต่เรายังเก็บกินเงินปันผลได้ตลอด อย่างน้อยก็มีตัวคอยปลอบใจ
ปัจจุบันมีการการกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในกองทุนหุ้นสัดส่วน 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ เช่น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ที่ผ่านมาหลายคนบอกว่า ลงทุนกองทุนหุ้นเป็นสิ่งที่ดี มีความปลอดภัย แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ อารมณ์อยากเล่นหุ้นเองมีมากกว่า คิดเองซื้อเอง “มันส์และสนุก” กว่าเยอะ
“อยากลงทุนหุ้นรายตัว แต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับบริษัทนั้น เปรียบเหมือน “กำลังเล่นเกมส์ การปาลูกดอก” มันเสี่ยงเกินไป
ในฐานะ “เอ็มดีใหญ่” แห่ง “ซัสโก้” เขาถือโอกาสพูดถึงผู้ถือหุ้นคนใหม่ “กึ้ง-เฉลิมชัย มหากิจศิริ” ลูกชาย “ประยุทธ มหากิจศิริ” ผู้ถือหุ้นโรงงานผลิตกาแฟเนสกาแฟ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยว่า แม้ “ตระกูลมหากิจศิริ” จะมีหุ้น ซัสโก้ สูงถึง 12.21 เปอร์เซ็นต์ จนขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง แต่ “กลุ่มสิมะโรจน์” ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เหมือนเดิมในสัดส่วน 19.58 เปอร์เซ็นต์
“เฉลิมชัย” น่าจะเข้าไปไล่ซื้อหุ้น ซัสโก้ ในกระดานหลัก ไม่ได้ซื้อหุ้นจาก “ตระกูลสิมะโรจน์” เราไม่มีนโยบายขายหุ้นตัวเองออกมา หุ้นรายใหม่คงถือหุ้นเราระยะยาว เพราะเราเป็นหุ้นพื้นฐานที่ดี เขาคงรอรับเงินปันผลอย่างเดียว
จริงๆก่อน “เฉลิมชัย” จะเข้ามาซื้อหุ้นได้มีการพูดคุยกันในระดับผู้ใหญ่แล้ว เพราะ “ประยุทธ มหากิจศิริ” รู้จักเป็นการส่วนตัวกับ “มงคล สิมะโรจน์” ตั้งแต่เขาถือหุ้น 12.21 เปอร์เซ็นต์ ยังไม่เคยเข้ามาขอบริหารงาน มีเพียงการนำเสนอเรื่องแผนธุรกิจเท่านั้น
“เพื่อนใหม่” เขาอยากทำธุรกิจร้านค้าในสถานีบริการน้ำมัน หลังเห็นเราซื้อกิจการ บริษัท ปิโตรนาส รีเทล ไทยแลนด์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจปั๊มน้ำมันเครื่องหมายการค้า PETRONAS สัญชาติมาเลเซียในเมืองไทย “ตระกูลมหากิจศิริ” เขามีบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด แต่บังเอิญไม่มีประสบการณ์ด้านร้านค้า เขามองว่า เราน่าจะต่อยอดธุรกิจให้เขาได้
สำหรับเป้าหมายในการทำธุรกิจในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า “ชัยฤทธิ์” บอกว่า อยากเห็นบริษัทเป็น “สถานีบริการน้ำมันขนาดกลาง” ที่มียอดขายประมาณ 30,000 ล้านบาท และเป็นบริษัทที่มี “กำไรเติบโตต่อเนื่อง” สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้สม่ำเสมอ”
เขาแจกแจงแผนธุรกิจให้ฟังว่า“ระยะสั้น” เราจะปฎิบัติการณ์ปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาส ก่อนหน้าที่เราจะซื้อแบรนด์นี้มาครอบครอง เคยมีความคิดจะปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน SUSCO ที่มีอยู่แล้ว 100 กว่าแห่ง แต่เมื่อมีปิโตรนาสคงต้องชะลอแผนออกไปก่อน
ส่วนแผน “ระยะกลาง” อยากยกระดับสถานีบริการน้ำมัน SUSCO ให้ได้มาตราฐานทุกแห่ง สำหรับแผน “ระยะยาว” คงลงทุนใน “ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์” หรือ โซล่าร์รูฟ ล่าสุดบริษัทเพิ่งประมูลมาได้ 6 แห่ง กำลังการผลิตประมาณ 1 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนเฉลี่ย 60-70 ล้านบาท อนาคตธุรกิจนี้จะทำหน้าที่เป็นรายได้เสริมให้กับเรา
“ผู้บริหาร” ยอมรับว่า รายได้ในปี 2556 คงไม่ถึงเป้าหมาย 28,000 ล้านบาท เต็มที่น่าจะทำได้ 25,000-26,000 ล้านบาท ผ่านมาครึ่งปีแรกเรามีรายได้รวมแล้ว 12,000 ล้านบาท ส่วน 6 เดือนหลัง เศรษฐกิจมีการชะลอตัว คาดว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกน่าจะทรงตัวอยู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล นั่นแหละเหตุผลที่ทำให้รายได้ไปไม่ถึงเป้าหมาย
หลังซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมันปิโตรนาส ทำให้เรามีสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 136 แห่ง เป็น 235 แห่ง ขณะที่เรายังขยายสถานีบริการน้ำมัน NGV เพิ่มเติม อย่างในปี 2556 เราเปิดเพิ่มอีก 3 แห่ง ในย่านสุขาภิบาล ย่านวิภาวดี และลาซาน ทำให้เรามีสถานีบริการน้ำมัน NGV เพิ่มขึ้นเป็น 13 แห่ง ส่วนปีหน้าจะเปิดเพิ่มอีกเท่าไร คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของปตท.เพราะเรารับจ้างบริหารให้เขาอยู่
ปี 2557 รายได้คงเติบโตจากปีนี้ หลังปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน SUSCO แถมเรายังดึงดูดคนด้วยการเปิดร้านสะดวกซื้อ และดึงร้านกาแฟแบรนด์ “คาเฟ่ ดิโอโร่” เข้ามาเสริมทัพ ฉะนั้น “กำไรสุทธิ” น่าจะขยายตัวมากกว่านี้ ที่ผ่านมาเราได้ทยอยคืนหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่กู้มาซื้อปิโตรนาสตลอด ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดล
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ระมัดระวัง" หัวใจเล่นหุ้น "ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"
โพสต์ที่ 2
คิดได้หลายแง่นะ เป็นMDของบริษัทหนึ่ง แต่ไปซื้อหุ้นของบริษัทคู่แข่ง(และเปิดเผยว่าทำเช่นนั้น)
น่าสนใจตรงจุดนี้มาก ผมเคยคอมเม้นเรื่องผู้บริหารซื้อหุ้นบริษัทอื่นไปแล้ว แต่ยังไม่น่าสงสัยเท่าซื้อหุ้นของคู่แข่งแบบนี้
น่าสนใจตรงจุดนี้มาก ผมเคยคอมเม้นเรื่องผู้บริหารซื้อหุ้นบริษัทอื่นไปแล้ว แต่ยังไม่น่าสงสัยเท่าซื้อหุ้นของคู่แข่งแบบนี้
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ระมัดระวัง" หัวใจเล่นหุ้น "ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"
โพสต์ที่ 5
เนื้อหาของ กรุงเทพธุรกิจ บางฉบับ ก็เบาโหวง แต่ออกแนวเชียร์จนเกินงามครับ