ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8 พันล
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8 พันล
โพสต์ที่ 1
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8 พันล้าน (ตอนที่ 1)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2556 19:36 น.
วันนี้มีคำตอบ...ทำไม? ธุรกิจกวดวิชาจึงทำแล้วรวย!
ธุรกิจกวดวิชา ถูกจัดเป็นธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนมหาศาล ผู้ลงทุนมีแต่ “รวย-รวย-รวย” และไม่ต้องเสียภาษี ขณะเดียวกันไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ธุรกิจนี้ก็ไม่มีวันซบเซา แถมเติบโตปีละ 5.4% แค่ระดับ ม.ปลายธุรกิจกวดวิชามีมูลค่ากว่า 8 พันล้านบาท “นักการศึกษา-นักลงทุน” แห่เปิดเป็นดอกเห็ด ไม่เว้นแม้กระทั่งนักการเมืองก็เริ่มโดดเข้าสู่ธุรกิจนี้
ส่วนต้นเหตุที่ทำให้ธุรกิจกวดวิชาเฟื่อง ก็เพราะระบบการศึกษาห่วยและมีผลประโยชน์แอบแฝง “เอาหูไปนาเอาตาไปไร่” ขณะที่ธุรกิจกวดวิชาก็แข่งเดือด พลิกกลยุทธ์ เปิดขายแฟรนไชส์การศึกษากันทั่วหน้า
ทีม special scoop จะนำเสนอในเรื่อง “ธุรกิจกวดวิชา พากันรวย” ในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะผู้คุมกฎอย่างกระทรวงศึกษาฯ คิดอย่างไรกับธุรกิจกวดวิชา โดยเฉพาะด้านคุณภาพ และราคา
ขณะเดียวกัน การทำธุรกิจการศึกษาโดยเปิดขายแฟรนไชส์และซื้อแฟรนไชส์ มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร นักลงทุนหน้าใหม่ มีโอกาสประสบความสำเร็จจริงหรือไม่?
ที่สำคัญ ผู้เชี่ยวชาญในระบบการศึกษาจะมาไขคำตอบทั้งหมดว่า ระบบการศึกษาไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร
เพื่อให้ผู้ปกครองและบุตรหลาน ได้เตรียมพร้อม...รวมทั้งหมด 4 ตอน
ไม่เพียงแต่ผลการจัดอันดับ “ระดับการศึกษา” ของไทย ที่เป็นอันดับสุดท้ายในอาเซียน ที่เป็นตัวบ่งบอกว่าระบบการศึกษาของไทยมีปัญหา แต่ที่รู้กันมานานว่าผลผลิตหนึ่งของปัญหาระบบการศึกษาของไทยก็คือ โรงเรียนกวดวิชาที่โตวันโตคืน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาไทยนั้นเป็นจุดอ่อน
เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชานั้น เป็นธุรกิจที่ทำเงินจำนวนมหาศาลให้กับเจ้าของ ขณะเดียวกันมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชายังมีจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ที่เป็นธุรกิจที่ไม่มีวันล้มหายตายจากไปจากสังคมไทย ตราบใดที่ระบบการศึกษาของไทยในระบบปกติยังเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่มีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องหลายกลุ่ม
ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรื้อโครงสร้างระบบการศึกษาไทย
ทั้งๆ ที่งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการต่อปีสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท โดยในงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2557 มีจำนวน 481,337 ล้านบาท แยกเป็น งบสำนักการศึกษาขั้นพื้นฐาน 304,362 ล้าน คิดเป็น 63.23%, งบอาชีวศึกษา 20,715 ล้าน คิดเป็น 4.30%, งบอุดมศึกษา 96,238 ล้าน คิดเป็น 19.99%, งบสำนักงานปลัด 56,027 ล้าน คิดเป็น 11.64% สูงกว่าปี พ.ศ. 2556 ที่กระทรวงศึกษาฯ ได้รับงบประมาณ 460,075 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2555 ได้งบประมาณ 460,411.64 ล้านบาท
โดยกระทรวงศึกษาธิการนั้น ถือว่าได้งบประมาณมากที่สุดในทุกกระทรวง โดยคิดเป็นร้อยละ 20 ของวงเงินงบประมาณประจำปีแต่ละปีเสียอีก และงบที่ทุ่มไปมากที่สุดก็ยังเป็นงบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ใช้เงินงบประมาณมากที่สุด แต่ผลออกมาห่วยสุดในอาเซียน?
โดยล่าสุด World Economic Forum (WEF) ก็รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยชี้วัดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ปรากฏว่าคุณภาพทางการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 8 รั้งท้ายกลุ่มประเทศอาเซียน น้อยกว่ากัมพูชาที่อยู่อันดับ 6 และเวียดนามที่อยู่อันดับ 7 เสียอีก
ผลประโยชน์ ก.ศึกษา-ขวางปฏิรูป
การลงทุนและผลลัพธ์ที่ออกมาที่แตกต่างราวฟ้ากับเหว นี่เป็นช่องว่างที่ทำให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทยกลายเป็นธุรกิจที่ “จำเป็น” สำหรับพ่อแม่ที่ต้องทุ่มสุดตัวเพื่อให้บุตรหลานสุดที่รักได้เข้าเรียนโรงเรียนชื่อดัง และเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้ นี่เป็นหลักประกันว่าธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะเป็นธุรกิจที่ไม่มีวันล้มหายตายจาก
เพราะการเรียนการสอนในระบบมันห่วยเสียจนหวังพึ่งพิงไม่ได้?
“ประเทศไทยมันยากที่จะรื้อระบบการศึกษาขึ้นมาใหม่ เพราะว่าในระบบการจัดการการศึกษาของไทย มีผลประโยชน์ทับซ้อนหลายระดับและเป็นตัวหลักในการขัดขวางการปฏิรูปการศึกษา” พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และนายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ กล่าว
แค่ผลประโยชน์ในด้านการผลิตตำราเรียน ก็เป็นผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลที่ผูกติดยึดโยงกับกระทรวงศึกษาธิการมานาน และเวลานี้มีนักการเมืองเริ่มไปลงทุนในโรงเรียนกวดวิชาซึ่ง พท.พญ.กมลพรรณ บอกว่ากำลังติดตามหาข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอยู่
ด้วยเหตุนี้ทำให้ระบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทย ต้องเป็นการศึกษาที่อาศัยตำราเรียนจำนวนมาก ดังนั้นเด็กนักเรียนจึงต้องเรียนแบบอัดเนื้อหาเข้าไป 8 สาระวิชา
“เนื้อหาที่เยอะเกินไปในการเรียน กลับเป็นตัวทำลายศักยภาพของเด็กไทย เพราะการเรียนทุกวิชาแบบอัดเนื้อหา ไม่ได้สร้างทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการนำมาประกอบวิชาชีพเลย”
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการวางระบบการศึกษาเป็นแบบการแข่งขัน ทุกคนมุ่งเข้าสู่การแข่งขันเพื่อให้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาที่เป็นของรัฐให้ได้ ดังนั้นธุรกิจกวดวิชาจึงมีความสำคัญขึ้นมา เพราะโรงเรียนกวดวิชามีจุดเด่นคือการสอนเทคนิคเพื่อให้เด็กไป “ชนะ” ในการแข่งขันในระบบการศึกษาไทยเท่านั้น
โรงเรียนกวดวิชาจึงตอบโจทย์ทั้ง “เด็ก” และ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ถูกกำหนดเส้นทางไว้เบ็ดเสร็จจากการออกระบบการศึกษาที่มีจุดอ่อนนี้
“เราจัดการศึกษากันไม่เป็น หรือไม่ก็คือไม่รู้จะจัดกันยังไงหรือเปล่า อย่างสิงคโปร์มีวัดแววความถนัดให้เด็กตั้งแต่ประถม วัดแววว่าถนัดด้านไหน แล้วก็มีการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมต้น มัธยมปลายให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น เด็กเล่นกีฬาแบดมินตันเก่ง ก็มีโรงเรียนเฉพาะทางแต่ละจังหวัด หรือคิดกลับกันโรงเรียนผลิตนักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างมหิดลวิทยานุสรณ์ทำไมไม่ให้มีทุกจังหวัด ขยายโอกาสให้เด็กต่างจังหวัดที่มีความสามารถเข้าเรียนได้มีโอกาสเข้าเรียนได้มากขึ้น”
เด็กจะได้เรียนในสิ่งที่เด็กอยากเรียน อยากทำงาน และสามารถเรียนรู้ได้กว้างไกลกว่าการเรียนแบบหว่านแห ท่องจำทุกวิชาอย่างในปัจจุบัน
การแก้ปัญหาด้านการศึกษาจึงจะต้องเริ่มจากนโยบายรัฐ!
ภาพ : Brand's summer camps
การศึกษาขาลง-กวดวิชาขาขึ้น
ไม่เช่นนั้น พ่อแม่ก็ต้องหาเงินมาให้ลูกเรียนกวดวิชาอยู่ต่อไป เพราะกลัวว่าลูกจะแข่งกับใครเขาไม่ได้
ที่สำคัญ เมื่อระบบการศึกษาไทยยังเรียนเพื่อไปสอบแข่งขันก็พบว่าธุรกิจโรงเรียนกวดวิชากลับมีการพัฒนาและเปลี่ยนรูปแบบอยู่ตลอด เพื่อให้ตอบโจทย์ระบบการศึกษาไทย และปรับตัวให้เป็นธุรกิจที่เป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
ระบบการศึกษาไทยจึงขาลง แต่โรงเรียนกวดวิชากลับยังเป็นธุรกิจที่ยังขาขึ้น
ทุกวันนี้โรงเรียนกวดวิชาเลยผุดเป็นดอกเห็ด มีหลากหลายรูปแบบ แต่โรงเรียนที่จดทะเบียนถูกต้องในปีการศึกษา พ.ศ. 2555 เพียง 2,005 โรงเรียนที่จดทะเบียนถูกต้อง แยกเป็นในกรุงเทพฯ 460 โรงเรียน ต่างจังหวัด 1,545 โรงเรียน ขณะที่โรงเรียนที่การจัดตั้งอย่างไม่ถูกต้องนั้นกลับมีจำนวนมากกว่า มีทุกรูปแบบตั้งแต่ครูเปิดบ้านเป็นโรงเรียน กระทั่งมีการโฆษณาอย่างเปิดเผย และโดยเฉพาะโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ก็มักจะตั้งในบริเวณใกล้กับโรงเรียนดังที่มีการแข่งขันสูง
ตัวอย่างเช่น ใครอยากให้ลูกเข้า ม.1 โรงเรียนดังๆ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ต้องไปที่สถาบันกวดวิชาเอี่ยมจิตร ที่อยู่ใกล้ๆ หรือใครอยากให้เข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ก็ต้องไปที่โรงเรียนกวดวิชาศูนย์วิชาการโฟกัส หรือโรงเรียนกวดวิชาเมืองทองพัฒนาการ ส่วนใครอยากเข้าเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ก็ต้องไปที่โรงเรียนกวดวิชาที่หมู่บ้านศรีประจักษ์
สำหรับจุดขายของโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ก็คือ เป็นคณาจารย์ของโรงเรียนที่บุตรหลานต้องการจะเข้าเป็นผู้ติวหรือสอนเองทั้งหมด
ดังนั้นผู้ปกครองและเด็กจะใช้วิธีใครอยากเข้าโรงเรียนไหน ก็จะไปหาโรงเรียนกวดวิชาที่อยู่รอบๆ โรงเรียนนั้นๆ โดยจะมีครูในโรงเรียนดังเหล่านั้นมาเป็นครูสอนเอง แม้จะไม่ใช่เจ้าของโรงเรียน ผลก็คือ เด็กที่อยากเข้าโรงเรียนดังก็ต้องแห่กันมาเรียน เพราะเชื่อมั่นว่าจะมีการติวแบบพิเศษเพื่อให้เข้าโรงเรียนดังๆ เหล่านั้นได้ง่าย
“เมื่อเด็กเข้าได้แล้ว ก็จะเรียนพิเศษกับโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้อีก เพราะต้องการทำเกรดในห้องเรียน เด็กเชื่อว่า ครูต้องเอาข้อสอบมาบอก ซึ่งผลที่ออกมาเด็กเหล่านี้มักจะได้คะแนนเก็บที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษ ส่งผลให้คะแนน GPA แต่ละวิชาเด็กดีไปด้วย” ผู้ปกครองนักเรียนระดับมัธยมต้น-ปลาย เล่าให้ฟัง
ขณะที่เด็กบางกลุ่มที่ไม่เลือกโรงเรียนกวดวิชาใกล้โรงเรียน ก็จะหันไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียง เพราะสถาบันเหล่านี้มีเทคนิคการสอนที่ดีกว่า ใช้ผู้สอนที่มีวัยใกล้เคียงกับเด็ก เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำให้เด็กรู้สึกใกล้ชิด เป็นเพื่อน เป็นพี่ ดีกว่า และรู้สึกสนุก อยากไปเรียน
“เด็กจะเบื่อการสอนของอาจารย์ที่โรงเรียน บอกสอนไม่ค่อยรู้เรื่อง เป็นครูแก่ขี้บ่น หากไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาของอาจารย์เหล่านี้เด็กเชื่อว่าไม่ได้อะไร มีแต่ความน่าเบื่อ ผู้ปกครองบางคนที่มีสตางค์อยากให้ลูกได้เกรดดี ก็ให้ไปลงทิ้งไว้ แต่ไม่ต้องไปเรียน เพื่อจะได้รู้ว่าควรอ่านตรงไหน คือจะรู้ว่าข้อสอบจะออกตรงไหนแค่นั้นก็พอ และให้เด็กไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังตามที่ลูกต้องการ”
ดังนั้นโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ต่างก็มีการปรับกลยุทธ์ตลอด ในขณะนี้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำธุรกิจร่วมกันด้วยเหตุผลของการ “ดูดเด็กให้เข้ามาในกลุ่มธุรกิจเครือข่ายมากที่สุด” เช่น ตึกวรรณสรณ์ พญาไท เป็นต้น
ประกอบกับเงื่อนไขการสอบที่จะมีตั้งแต่ระดับเอเน็ต โอเน็ต GAT การสอบความถนัดทั่วไป (GAT: General Aptitude Test) และ PAT ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT: Professional and Academic Aptitude Test) ก็เป็นการสอบที่เน้นการสอบทุกวิชา ทำให้เด็ก 1 คน ไม่สามารถเรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาแค่วิชาเดียวได้ หรือคอร์สเดียว ก็ต้องเรียนไปให้ได้มากที่สุด เก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุด
ติวคอร์ส Gat-Pat จ่าย 5 หมื่นต่อหัว
ที่สำคัญการสอบในระดับ GAT PAT ที่เป็นการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเองนั้น ก็เป็นการสอบแบบวิเคราะห์ เชื่อมโยง ซึ่งการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้มีการสอนในเรื่องเหล่านี้
เด็กคนไหนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์ในการสอบเข้าได้มากกว่าคนอื่นๆ ก็ต้องเสริมการเรียนในหมวดการเตรียมตัวสอบ ทั้งวิชาหลัก เช่น สายวิทย์ ก็จะเรียนคอร์สฟิสิกส์ คอร์สเคมี คอร์สชีวะ และจะต้องเรียน GAT รวมไปถึง PAT คือวิชาเฉพาะที่ตัวเองจะสอบเข้าคณะที่ต้องการเข้าไปด้วย ซึ่งราคาไม่ถูกนัก
ระดับ 10,000-50,000 บาทต่อเทอม เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องหาเงินมาเตรียมให้ลูกเรียนพิเศษ!
“โรงเรียนกวดวิชาจะมีการจัดคอร์สการติว ตามระบบการศึกษาที่กระทรวงศึกษาฯ กำหนดหลักสูตรมา ตรงนี้จึงเป็นช่องว่างที่โรงเรียนกวดวิชาหาประโยชน์ได้ง่ายด้วยการแบ่งย่อยหลักสูตรการติวมากขึ้น ปีนี้ลูกเรียน ม.6 จะสอบGat-Pat ต้องจ่ายค่าเรียน 5 วิชาเป็นเงิน 54,500 บาท”
อย่างไรก็ดี เมื่อผู้ปกครองต้องจ่ายค่าติวเพื่อให้เด็กใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งคอร์สนี้ใช้เวลาติวประมาณ3-4 เดือน เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ รวม 5 วิชา เป็นเงิน 54,000 บาทต่อ1 คน และมีเด็กเข้าติวกว่า 200 คน หลักสูตรนี้โรงเรียนกวดวิชารับไปแล้วกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่มีหลักสูตรอื่นๆ อีกมากมาย
“โรงเรียนกวดวิชาไม่ต้องเสียภาษี รายได้ทั้งหมดเป็นกอบเป็นกำ สอน 5 วิชาใช้คนสอนเพียง 5 คน แต่บางคนสอน 2 วิชา สถานที่ก็ไม่ต้องเช่า ใช้บ้านที่พักอยู่เป็นที่กวดวิชา ถึงได้บอกว่าคนทำโรงเรียนกวดวิชารวยทั้งนั้น แค่หลักสูตรเดียวรับไปเลย 10 ล้านบาท” ผู้ปกครอง ระบุ
กวดวิชาพลิกกลยุทธ์-ดูดเด็กเพิ่ม
ในยุคปัจจุบัน ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาดังๆ นอกจากจะเปิดโรงเรียนกวดวิชาของตัวเองแล้ว ยังมีการขายแฟรนไชส์ที่มีมูลค่าแต่ละคอร์สสูงมาก และต้องมีการใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อสร้างจุดเด่นของโรงเรียนกวดวิชาของตัวเอง ส่งผลให้ค่าเรียนของเด็กทุกวันนี้แพงขึ้น และต้องเรียนหลายวิชามากขึ้น
ที่เห็นได้ชัดที่มีการขายแฟรนไชส์นั้น ก็จะมีโรงเรียนกวดวิชารุ่นเก่าตั้งแต่ MAC หรือสถาบันกวดวิชาแม็ค ที่มีการคิดราคาค่าแฟรนไชส์ แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า จ่ายครั้งเดียว 50,000 บาท ค่าใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า/บริการ ตลอดอายุสัญญา 3 ปี (พื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.) 150,000 บาท และค่าธรรมเนียมที่มีเงื่อนไขที่จะคิดจากรายได้รวมทั้งหมดของแต่ละคอร์ส 7.5%
นี่ถือว่าเป็นระดับกลางๆ
แต่ระดับที่ได้รับความนิยมอย่างแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาของครูบุ๋ม Hi-Speed Maths Center เป็นโรงเรียนสอนคณิต ฟิสิกส์ และพื้นฐานทางวิศวกรรม สอนตั้งแต่ชั้น ป.6-ม.6 ขณะนี้มีสาขาทั่วประเทศแล้ว 20 สาขา ซึ่งมีการเปิดขายแฟรนไชส์เป็นหลักสูตรๆ ไป โดยมีสัญญาต่อปีเก็บ 1 ครั้งตอนเซ็นสัญญา มีราคาแต่ละคอร์สต่างกันเช่น คณิต ม.ต้น 499,000 บาทต่อปี, คณิต ม.ปลาย 559,000 บาทต่อปี, ฟิสิกส์ ม.ต้น 299,000 บาทต่อปี, ฟิสิกส์ ม.ปลาย 459,000 บาทต่อปี, คอร์สตะลุยโจทย์ GAT, PAT2+PAT3 ราคา 259,000 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนแบบ on demand ที่เด็กสามารถเลือกลงทะเบียนออนไลน์ เรียนออนไลน์ แถมยังกรอเทปการเรียนการสอนกลับไปกลับมาได้อีกต่างหาก
อันนี้คือแบบแฟรนไชส์ แต่ก็มีโรงเรียนกวดวิชาอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นมาหลายปี และได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน คือการเรียนกวดวิชาที่ตราสินค้าต่างๆ ต่างจัดขึ้น เช่น Brand’s summer camp, โครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับมาม่า, เปปทีน,clickforclever.com โดย บ๊อบ-ณัฐธีร์ (บดินทร์ โกศลพิศิษฐ์) ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนยักษ์ใหญ่อย่าง AIS, ปตท., SCB เป็นต้น
การกวดวิชาแบบนี้จะเป็นการกวดวิชาแบบนักเรียนไม่เสียเงิน มีการเชิญอาจารย์กวดวิชาชื่อดังมาสอน เป็นการทำโครงการคล้ายๆ กับการทำ CSR ของบริษัทต่างๆ แต่ก็มีวัตถุประสงค์มุ่งสร้าง Brand loyalty ให้เกิดขึ้นกับเด็กยุคใหม่ด้วยเช่นกัน
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้โรงเรียนกวดวิชายังไม่ได้สำเร็จรูปอยู่แค่หลักสูตรการเรียนการสอนแบบกระทรวงศึกษาธิการเพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดเป็นโรงเรียนสอนทักษะเฉพาะทางขึ้นมาเพื่อรองรับกับตลาดของพ่อแม่ยุคใหม่ที่อยากพัฒนาลูกทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนฝึกสมาธิ โรงเรียนสอนโยคะ โรงเรียนสอนเทควันโด โรงเรียนสอนฟุตบอล โรงเรียนศิลปะ โรงเรียนสอนทำอาหาร ฯลฯ
รวมถึงโรงเรียนเทคนิคการเรียนรู้พิเศษ อย่างโรงเรียนสอนเทคนิคการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเกาหลี หรือ แบบสิงคโปร์ ที่เน้นเด็กเล็ก 3-7 ขวบ ก็เป็นโรงเรียนที่ได้รับความนิยมจากพ่อแม่ที่ต้องการปูพื้นฐานให้ลูกก่อนไปเรียนกวดวิชาอื่นๆ ต่อไป เพื่อเน้นการแข่งขันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังในอนาคต
ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเสริมทักษะด้านไหน พ่อแม่ล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ “ลูก” ไปถึงฝั่งฝัน คือเข้ารั้วมหาวิทยาลัยดังๆ ได้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีจำนวนที่นั่งจำกัด
รวมกับการที่ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในรูปแบบต่างๆ ที่ขยันออกมาพลิกแพลงกลยุทธ์ที่ถือเป็นการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผลก็คือ วันนี้ผู้ปกครองคนหนึ่งต้องเตรียมเงินไว้เพื่อให้ลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาตั้งแต่ระดับประถม ที่ว่ากันว่า ประถม 3 ก็เริ่มต้นได้แล้ว ไม่อย่างนั้นจะสายเกินไปในการเตรียมการเพื่อสอบเข้า ม.1 โรงเรียนดังๆ หรือโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งจะเข้าโรงเรียนแบบไหน ก็ต้องมีการไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่เน้นสอบเข้าในแต่ละโรงเรียนเฉพาะเข้าไปอีก อย่างจะสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบ พ่อแม่ต้องหาแล้วว่าโรงเรียนกวดวิชาที่เน้นการสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบอยู่ที่ไหน และที่ไหนมีคนนิยมให้ลูกหลานไปเรียนมากที่สุด เป็นต้น
ดังนั้นการจะสร้างเด็กคนหนึ่งเพื่อเข้ารั้วมหาวิทยาลัย จะต้องเสียเงินในการกวดวิชากว่าแสนบาทต่อเด็ก 1 คน
ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจึงเติบโต และมีมูลค่ามหาศาล
ศูนย์วิจัยกสิกรฯชี้กวดวิชาขยายตัวปีละ 5.4%
น.ส.กัญญารัตน์ ชิระวานิชผล เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค 2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ได้ทำการวิจัยในเรื่องธุรกิจกวดวิชาในระดับ ม.ปลาย ตั้งแต่ ม.4-ม.6 พบว่าทิศทางธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะเติบโตไปได้อีกจากตัวเลขประมาณการการเติบโตเป็นร้อยละ 5.4 ต่อปี เมื่อดูจากจำนวนโรงเรียนที่สูงขึ้นต่อปี และค่าเรียนที่สูงขึ้นในทุกปี โดยค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียนจะมีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยแยกเป็น 2 กรณีได้แก่ 1.โรงเรียนกวดวิชาในสถาบันที่มีชื่อเสียง ในปี 2556 มีการประมาณการค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 16,800 บาทต่อคน และ 2.โรงเรียนกวดวิชาที่เป็นกลุ่มติวเตอร์อิสระ อยู่ที่ 12,000 บาทต่อคน ตรงนี้เป็นการประมาณการแค่กลุ่มเด็ก ม.ปลายที่จะมุ่งเข้ามหาวิทยาลัย ทำให้เม็ดเงินในตลาดโรงเรียนกวดวิชาเฉพาะแค่ ม.ปลายนี้อยู่ที่ 7,160 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลขเด็กนักเรียนในระบบกวดวิชาประมาณ 453,881 คน
โดยนักเรียนส่วนใหญ่นิยมไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่า ซึ่งเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของสถาบันกวดวิชาเหล่านั้น และกลยุทธ์ของโรงเรียนกวดวิชาที่มีการรวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์แบบ one stop service รวมหลายๆ โรงเรียนกวดวิชาไว้ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวก และการนำเทคโนโลยีมาใช้ดึงดูดนักเรียน ทั้ง แอปพลิเคชันการศึกษา และแท็บเล็ตแบบทดสอบที่ทำในห้องเรียนได้เลย เป็นต้น
ขณะที่นักเรียนที่ไปเรียนกับกลุ่มติวเตอร์อิสระเป็นการเรียนที่นักเรียนรวมกลุ่มกันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นติวเตอร์ที่เป็นเด็กในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงประมาณการไว้ว่านักเรียนที่เลือกไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาจะมีร้อยละ 80 ขณะที่อีกร้อยละ 20 ไปเรียนกับติวเตอร์อิสระ
“โอกาสธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาน่าจะเติบโตไปได้อีก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองรอง ที่เป็นตลาดที่ยังรองรับการขยายตัวของธุรกิจนี้ได้ เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านระยะทาง ที่พ่อแม่ไม่ต้องส่งบุตรหลานไปเรียนไกลๆ”
อย่างไรก็ดีการจะคิดว่าการเรียนในระบบการศึกษาชั้น ม.4-ม.6 จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับค่าเทอมโรงเรียนเด็กแต่ละคน และรวมเพิ่มเข้าไปในค่าเฉลี่ยของการเรียนกวดวิชาคือ 16,800 บาท ซึ่งเด็กที่เรียนในโรงเรียนเอกชนจะทำให้พ่อแม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียนสูงกว่าเด็กที่เรียนในโรงเรียนรัฐ
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่จะใช้เพื่อเรียนในโรงเรียนกวดวิชาจะสูงขึ้น เนื่องเพราะแนวโน้มการศึกษานานาชาติที่จะทำให้เด็กต้องฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และเสริมทักษะด้านอื่นที่ไม่ใช่วิชาการ จะทำให้ผู้ปกครองต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้นไปอีก
“ธุรกิจกวดวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา หรือ คอร์สภาษาอังกฤษ จะเข้ามามีบทบาทในตลาดกวดวิชามากขึ้นจากนี้ไป”
ดังนั้นแม้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะเป็นธุรกิจที่หลายคนยังมองเขาในแง่ร้าย แต่ระบบการศึกษาไทยที่ห่วยแตก และเน้นไปเพื่อทำให้เด็กต้องสอบแข่งขันกันให้เป็นผู้ชนะ ก็ยังส่งเสริมให้โรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้เป็นธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ขายได้ แต่ยังขายดีอย่างที่สุด
แถมเม็ดเงินมหาศาลที่ลงไปกับโรงเรียนกวดวิชา ที่เป็นธุรกิจด้านการศึกษายังมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
อย่าแปลกใจถ้าคนเปิดโรงเรียนกวดวิชาจะกลายเป็นเศรษฐีไปตามๆ กัน!
แต่ที่น่าประหลาดใจ กระทรวงศึกษาธิการ ตะลึง ธุรกิจกวดวิชาในประเทศไทย มีระบบแฟรนไชส์ ติดตามในตอนที่ 2
http://www.manager.co.th/lite/ViewNews. ... 0000114746
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2556 19:36 น.
วันนี้มีคำตอบ...ทำไม? ธุรกิจกวดวิชาจึงทำแล้วรวย!
ธุรกิจกวดวิชา ถูกจัดเป็นธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนมหาศาล ผู้ลงทุนมีแต่ “รวย-รวย-รวย” และไม่ต้องเสียภาษี ขณะเดียวกันไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ธุรกิจนี้ก็ไม่มีวันซบเซา แถมเติบโตปีละ 5.4% แค่ระดับ ม.ปลายธุรกิจกวดวิชามีมูลค่ากว่า 8 พันล้านบาท “นักการศึกษา-นักลงทุน” แห่เปิดเป็นดอกเห็ด ไม่เว้นแม้กระทั่งนักการเมืองก็เริ่มโดดเข้าสู่ธุรกิจนี้
ส่วนต้นเหตุที่ทำให้ธุรกิจกวดวิชาเฟื่อง ก็เพราะระบบการศึกษาห่วยและมีผลประโยชน์แอบแฝง “เอาหูไปนาเอาตาไปไร่” ขณะที่ธุรกิจกวดวิชาก็แข่งเดือด พลิกกลยุทธ์ เปิดขายแฟรนไชส์การศึกษากันทั่วหน้า
ทีม special scoop จะนำเสนอในเรื่อง “ธุรกิจกวดวิชา พากันรวย” ในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะผู้คุมกฎอย่างกระทรวงศึกษาฯ คิดอย่างไรกับธุรกิจกวดวิชา โดยเฉพาะด้านคุณภาพ และราคา
ขณะเดียวกัน การทำธุรกิจการศึกษาโดยเปิดขายแฟรนไชส์และซื้อแฟรนไชส์ มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร นักลงทุนหน้าใหม่ มีโอกาสประสบความสำเร็จจริงหรือไม่?
ที่สำคัญ ผู้เชี่ยวชาญในระบบการศึกษาจะมาไขคำตอบทั้งหมดว่า ระบบการศึกษาไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร
เพื่อให้ผู้ปกครองและบุตรหลาน ได้เตรียมพร้อม...รวมทั้งหมด 4 ตอน
ไม่เพียงแต่ผลการจัดอันดับ “ระดับการศึกษา” ของไทย ที่เป็นอันดับสุดท้ายในอาเซียน ที่เป็นตัวบ่งบอกว่าระบบการศึกษาของไทยมีปัญหา แต่ที่รู้กันมานานว่าผลผลิตหนึ่งของปัญหาระบบการศึกษาของไทยก็คือ โรงเรียนกวดวิชาที่โตวันโตคืน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาไทยนั้นเป็นจุดอ่อน
เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชานั้น เป็นธุรกิจที่ทำเงินจำนวนมหาศาลให้กับเจ้าของ ขณะเดียวกันมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชายังมีจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ที่เป็นธุรกิจที่ไม่มีวันล้มหายตายจากไปจากสังคมไทย ตราบใดที่ระบบการศึกษาของไทยในระบบปกติยังเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่มีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องหลายกลุ่ม
ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรื้อโครงสร้างระบบการศึกษาไทย
ทั้งๆ ที่งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการต่อปีสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท โดยในงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2557 มีจำนวน 481,337 ล้านบาท แยกเป็น งบสำนักการศึกษาขั้นพื้นฐาน 304,362 ล้าน คิดเป็น 63.23%, งบอาชีวศึกษา 20,715 ล้าน คิดเป็น 4.30%, งบอุดมศึกษา 96,238 ล้าน คิดเป็น 19.99%, งบสำนักงานปลัด 56,027 ล้าน คิดเป็น 11.64% สูงกว่าปี พ.ศ. 2556 ที่กระทรวงศึกษาฯ ได้รับงบประมาณ 460,075 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2555 ได้งบประมาณ 460,411.64 ล้านบาท
โดยกระทรวงศึกษาธิการนั้น ถือว่าได้งบประมาณมากที่สุดในทุกกระทรวง โดยคิดเป็นร้อยละ 20 ของวงเงินงบประมาณประจำปีแต่ละปีเสียอีก และงบที่ทุ่มไปมากที่สุดก็ยังเป็นงบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ใช้เงินงบประมาณมากที่สุด แต่ผลออกมาห่วยสุดในอาเซียน?
โดยล่าสุด World Economic Forum (WEF) ก็รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยชี้วัดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ปรากฏว่าคุณภาพทางการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 8 รั้งท้ายกลุ่มประเทศอาเซียน น้อยกว่ากัมพูชาที่อยู่อันดับ 6 และเวียดนามที่อยู่อันดับ 7 เสียอีก
ผลประโยชน์ ก.ศึกษา-ขวางปฏิรูป
การลงทุนและผลลัพธ์ที่ออกมาที่แตกต่างราวฟ้ากับเหว นี่เป็นช่องว่างที่ทำให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทยกลายเป็นธุรกิจที่ “จำเป็น” สำหรับพ่อแม่ที่ต้องทุ่มสุดตัวเพื่อให้บุตรหลานสุดที่รักได้เข้าเรียนโรงเรียนชื่อดัง และเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้ นี่เป็นหลักประกันว่าธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะเป็นธุรกิจที่ไม่มีวันล้มหายตายจาก
เพราะการเรียนการสอนในระบบมันห่วยเสียจนหวังพึ่งพิงไม่ได้?
“ประเทศไทยมันยากที่จะรื้อระบบการศึกษาขึ้นมาใหม่ เพราะว่าในระบบการจัดการการศึกษาของไทย มีผลประโยชน์ทับซ้อนหลายระดับและเป็นตัวหลักในการขัดขวางการปฏิรูปการศึกษา” พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา และนายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ กล่าว
แค่ผลประโยชน์ในด้านการผลิตตำราเรียน ก็เป็นผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลที่ผูกติดยึดโยงกับกระทรวงศึกษาธิการมานาน และเวลานี้มีนักการเมืองเริ่มไปลงทุนในโรงเรียนกวดวิชาซึ่ง พท.พญ.กมลพรรณ บอกว่ากำลังติดตามหาข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอยู่
ด้วยเหตุนี้ทำให้ระบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทย ต้องเป็นการศึกษาที่อาศัยตำราเรียนจำนวนมาก ดังนั้นเด็กนักเรียนจึงต้องเรียนแบบอัดเนื้อหาเข้าไป 8 สาระวิชา
“เนื้อหาที่เยอะเกินไปในการเรียน กลับเป็นตัวทำลายศักยภาพของเด็กไทย เพราะการเรียนทุกวิชาแบบอัดเนื้อหา ไม่ได้สร้างทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการนำมาประกอบวิชาชีพเลย”
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการวางระบบการศึกษาเป็นแบบการแข่งขัน ทุกคนมุ่งเข้าสู่การแข่งขันเพื่อให้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาที่เป็นของรัฐให้ได้ ดังนั้นธุรกิจกวดวิชาจึงมีความสำคัญขึ้นมา เพราะโรงเรียนกวดวิชามีจุดเด่นคือการสอนเทคนิคเพื่อให้เด็กไป “ชนะ” ในการแข่งขันในระบบการศึกษาไทยเท่านั้น
โรงเรียนกวดวิชาจึงตอบโจทย์ทั้ง “เด็ก” และ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ถูกกำหนดเส้นทางไว้เบ็ดเสร็จจากการออกระบบการศึกษาที่มีจุดอ่อนนี้
“เราจัดการศึกษากันไม่เป็น หรือไม่ก็คือไม่รู้จะจัดกันยังไงหรือเปล่า อย่างสิงคโปร์มีวัดแววความถนัดให้เด็กตั้งแต่ประถม วัดแววว่าถนัดด้านไหน แล้วก็มีการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมต้น มัธยมปลายให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น เด็กเล่นกีฬาแบดมินตันเก่ง ก็มีโรงเรียนเฉพาะทางแต่ละจังหวัด หรือคิดกลับกันโรงเรียนผลิตนักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างมหิดลวิทยานุสรณ์ทำไมไม่ให้มีทุกจังหวัด ขยายโอกาสให้เด็กต่างจังหวัดที่มีความสามารถเข้าเรียนได้มีโอกาสเข้าเรียนได้มากขึ้น”
เด็กจะได้เรียนในสิ่งที่เด็กอยากเรียน อยากทำงาน และสามารถเรียนรู้ได้กว้างไกลกว่าการเรียนแบบหว่านแห ท่องจำทุกวิชาอย่างในปัจจุบัน
การแก้ปัญหาด้านการศึกษาจึงจะต้องเริ่มจากนโยบายรัฐ!
ภาพ : Brand's summer camps
การศึกษาขาลง-กวดวิชาขาขึ้น
ไม่เช่นนั้น พ่อแม่ก็ต้องหาเงินมาให้ลูกเรียนกวดวิชาอยู่ต่อไป เพราะกลัวว่าลูกจะแข่งกับใครเขาไม่ได้
ที่สำคัญ เมื่อระบบการศึกษาไทยยังเรียนเพื่อไปสอบแข่งขันก็พบว่าธุรกิจโรงเรียนกวดวิชากลับมีการพัฒนาและเปลี่ยนรูปแบบอยู่ตลอด เพื่อให้ตอบโจทย์ระบบการศึกษาไทย และปรับตัวให้เป็นธุรกิจที่เป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
ระบบการศึกษาไทยจึงขาลง แต่โรงเรียนกวดวิชากลับยังเป็นธุรกิจที่ยังขาขึ้น
ทุกวันนี้โรงเรียนกวดวิชาเลยผุดเป็นดอกเห็ด มีหลากหลายรูปแบบ แต่โรงเรียนที่จดทะเบียนถูกต้องในปีการศึกษา พ.ศ. 2555 เพียง 2,005 โรงเรียนที่จดทะเบียนถูกต้อง แยกเป็นในกรุงเทพฯ 460 โรงเรียน ต่างจังหวัด 1,545 โรงเรียน ขณะที่โรงเรียนที่การจัดตั้งอย่างไม่ถูกต้องนั้นกลับมีจำนวนมากกว่า มีทุกรูปแบบตั้งแต่ครูเปิดบ้านเป็นโรงเรียน กระทั่งมีการโฆษณาอย่างเปิดเผย และโดยเฉพาะโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ก็มักจะตั้งในบริเวณใกล้กับโรงเรียนดังที่มีการแข่งขันสูง
ตัวอย่างเช่น ใครอยากให้ลูกเข้า ม.1 โรงเรียนดังๆ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ต้องไปที่สถาบันกวดวิชาเอี่ยมจิตร ที่อยู่ใกล้ๆ หรือใครอยากให้เข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ก็ต้องไปที่โรงเรียนกวดวิชาศูนย์วิชาการโฟกัส หรือโรงเรียนกวดวิชาเมืองทองพัฒนาการ ส่วนใครอยากเข้าเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ก็ต้องไปที่โรงเรียนกวดวิชาที่หมู่บ้านศรีประจักษ์
สำหรับจุดขายของโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ก็คือ เป็นคณาจารย์ของโรงเรียนที่บุตรหลานต้องการจะเข้าเป็นผู้ติวหรือสอนเองทั้งหมด
ดังนั้นผู้ปกครองและเด็กจะใช้วิธีใครอยากเข้าโรงเรียนไหน ก็จะไปหาโรงเรียนกวดวิชาที่อยู่รอบๆ โรงเรียนนั้นๆ โดยจะมีครูในโรงเรียนดังเหล่านั้นมาเป็นครูสอนเอง แม้จะไม่ใช่เจ้าของโรงเรียน ผลก็คือ เด็กที่อยากเข้าโรงเรียนดังก็ต้องแห่กันมาเรียน เพราะเชื่อมั่นว่าจะมีการติวแบบพิเศษเพื่อให้เข้าโรงเรียนดังๆ เหล่านั้นได้ง่าย
“เมื่อเด็กเข้าได้แล้ว ก็จะเรียนพิเศษกับโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้อีก เพราะต้องการทำเกรดในห้องเรียน เด็กเชื่อว่า ครูต้องเอาข้อสอบมาบอก ซึ่งผลที่ออกมาเด็กเหล่านี้มักจะได้คะแนนเก็บที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษ ส่งผลให้คะแนน GPA แต่ละวิชาเด็กดีไปด้วย” ผู้ปกครองนักเรียนระดับมัธยมต้น-ปลาย เล่าให้ฟัง
ขณะที่เด็กบางกลุ่มที่ไม่เลือกโรงเรียนกวดวิชาใกล้โรงเรียน ก็จะหันไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียง เพราะสถาบันเหล่านี้มีเทคนิคการสอนที่ดีกว่า ใช้ผู้สอนที่มีวัยใกล้เคียงกับเด็ก เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำให้เด็กรู้สึกใกล้ชิด เป็นเพื่อน เป็นพี่ ดีกว่า และรู้สึกสนุก อยากไปเรียน
“เด็กจะเบื่อการสอนของอาจารย์ที่โรงเรียน บอกสอนไม่ค่อยรู้เรื่อง เป็นครูแก่ขี้บ่น หากไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาของอาจารย์เหล่านี้เด็กเชื่อว่าไม่ได้อะไร มีแต่ความน่าเบื่อ ผู้ปกครองบางคนที่มีสตางค์อยากให้ลูกได้เกรดดี ก็ให้ไปลงทิ้งไว้ แต่ไม่ต้องไปเรียน เพื่อจะได้รู้ว่าควรอ่านตรงไหน คือจะรู้ว่าข้อสอบจะออกตรงไหนแค่นั้นก็พอ และให้เด็กไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังตามที่ลูกต้องการ”
ดังนั้นโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ต่างก็มีการปรับกลยุทธ์ตลอด ในขณะนี้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำธุรกิจร่วมกันด้วยเหตุผลของการ “ดูดเด็กให้เข้ามาในกลุ่มธุรกิจเครือข่ายมากที่สุด” เช่น ตึกวรรณสรณ์ พญาไท เป็นต้น
ประกอบกับเงื่อนไขการสอบที่จะมีตั้งแต่ระดับเอเน็ต โอเน็ต GAT การสอบความถนัดทั่วไป (GAT: General Aptitude Test) และ PAT ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT: Professional and Academic Aptitude Test) ก็เป็นการสอบที่เน้นการสอบทุกวิชา ทำให้เด็ก 1 คน ไม่สามารถเรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาแค่วิชาเดียวได้ หรือคอร์สเดียว ก็ต้องเรียนไปให้ได้มากที่สุด เก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุด
ติวคอร์ส Gat-Pat จ่าย 5 หมื่นต่อหัว
ที่สำคัญการสอบในระดับ GAT PAT ที่เป็นการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเองนั้น ก็เป็นการสอบแบบวิเคราะห์ เชื่อมโยง ซึ่งการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนปัจจุบันไม่ได้มีการสอนในเรื่องเหล่านี้
เด็กคนไหนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์ในการสอบเข้าได้มากกว่าคนอื่นๆ ก็ต้องเสริมการเรียนในหมวดการเตรียมตัวสอบ ทั้งวิชาหลัก เช่น สายวิทย์ ก็จะเรียนคอร์สฟิสิกส์ คอร์สเคมี คอร์สชีวะ และจะต้องเรียน GAT รวมไปถึง PAT คือวิชาเฉพาะที่ตัวเองจะสอบเข้าคณะที่ต้องการเข้าไปด้วย ซึ่งราคาไม่ถูกนัก
ระดับ 10,000-50,000 บาทต่อเทอม เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องหาเงินมาเตรียมให้ลูกเรียนพิเศษ!
“โรงเรียนกวดวิชาจะมีการจัดคอร์สการติว ตามระบบการศึกษาที่กระทรวงศึกษาฯ กำหนดหลักสูตรมา ตรงนี้จึงเป็นช่องว่างที่โรงเรียนกวดวิชาหาประโยชน์ได้ง่ายด้วยการแบ่งย่อยหลักสูตรการติวมากขึ้น ปีนี้ลูกเรียน ม.6 จะสอบGat-Pat ต้องจ่ายค่าเรียน 5 วิชาเป็นเงิน 54,500 บาท”
อย่างไรก็ดี เมื่อผู้ปกครองต้องจ่ายค่าติวเพื่อให้เด็กใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งคอร์สนี้ใช้เวลาติวประมาณ3-4 เดือน เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ รวม 5 วิชา เป็นเงิน 54,000 บาทต่อ1 คน และมีเด็กเข้าติวกว่า 200 คน หลักสูตรนี้โรงเรียนกวดวิชารับไปแล้วกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่มีหลักสูตรอื่นๆ อีกมากมาย
“โรงเรียนกวดวิชาไม่ต้องเสียภาษี รายได้ทั้งหมดเป็นกอบเป็นกำ สอน 5 วิชาใช้คนสอนเพียง 5 คน แต่บางคนสอน 2 วิชา สถานที่ก็ไม่ต้องเช่า ใช้บ้านที่พักอยู่เป็นที่กวดวิชา ถึงได้บอกว่าคนทำโรงเรียนกวดวิชารวยทั้งนั้น แค่หลักสูตรเดียวรับไปเลย 10 ล้านบาท” ผู้ปกครอง ระบุ
กวดวิชาพลิกกลยุทธ์-ดูดเด็กเพิ่ม
ในยุคปัจจุบัน ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาดังๆ นอกจากจะเปิดโรงเรียนกวดวิชาของตัวเองแล้ว ยังมีการขายแฟรนไชส์ที่มีมูลค่าแต่ละคอร์สสูงมาก และต้องมีการใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อสร้างจุดเด่นของโรงเรียนกวดวิชาของตัวเอง ส่งผลให้ค่าเรียนของเด็กทุกวันนี้แพงขึ้น และต้องเรียนหลายวิชามากขึ้น
ที่เห็นได้ชัดที่มีการขายแฟรนไชส์นั้น ก็จะมีโรงเรียนกวดวิชารุ่นเก่าตั้งแต่ MAC หรือสถาบันกวดวิชาแม็ค ที่มีการคิดราคาค่าแฟรนไชส์ แบ่งเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า จ่ายครั้งเดียว 50,000 บาท ค่าใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า/บริการ ตลอดอายุสัญญา 3 ปี (พื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.) 150,000 บาท และค่าธรรมเนียมที่มีเงื่อนไขที่จะคิดจากรายได้รวมทั้งหมดของแต่ละคอร์ส 7.5%
นี่ถือว่าเป็นระดับกลางๆ
แต่ระดับที่ได้รับความนิยมอย่างแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาของครูบุ๋ม Hi-Speed Maths Center เป็นโรงเรียนสอนคณิต ฟิสิกส์ และพื้นฐานทางวิศวกรรม สอนตั้งแต่ชั้น ป.6-ม.6 ขณะนี้มีสาขาทั่วประเทศแล้ว 20 สาขา ซึ่งมีการเปิดขายแฟรนไชส์เป็นหลักสูตรๆ ไป โดยมีสัญญาต่อปีเก็บ 1 ครั้งตอนเซ็นสัญญา มีราคาแต่ละคอร์สต่างกันเช่น คณิต ม.ต้น 499,000 บาทต่อปี, คณิต ม.ปลาย 559,000 บาทต่อปี, ฟิสิกส์ ม.ต้น 299,000 บาทต่อปี, ฟิสิกส์ ม.ปลาย 459,000 บาทต่อปี, คอร์สตะลุยโจทย์ GAT, PAT2+PAT3 ราคา 259,000 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนแบบ on demand ที่เด็กสามารถเลือกลงทะเบียนออนไลน์ เรียนออนไลน์ แถมยังกรอเทปการเรียนการสอนกลับไปกลับมาได้อีกต่างหาก
อันนี้คือแบบแฟรนไชส์ แต่ก็มีโรงเรียนกวดวิชาอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นมาหลายปี และได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน คือการเรียนกวดวิชาที่ตราสินค้าต่างๆ ต่างจัดขึ้น เช่น Brand’s summer camp, โครงการทบทวนความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับมาม่า, เปปทีน,clickforclever.com โดย บ๊อบ-ณัฐธีร์ (บดินทร์ โกศลพิศิษฐ์) ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนยักษ์ใหญ่อย่าง AIS, ปตท., SCB เป็นต้น
การกวดวิชาแบบนี้จะเป็นการกวดวิชาแบบนักเรียนไม่เสียเงิน มีการเชิญอาจารย์กวดวิชาชื่อดังมาสอน เป็นการทำโครงการคล้ายๆ กับการทำ CSR ของบริษัทต่างๆ แต่ก็มีวัตถุประสงค์มุ่งสร้าง Brand loyalty ให้เกิดขึ้นกับเด็กยุคใหม่ด้วยเช่นกัน
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้โรงเรียนกวดวิชายังไม่ได้สำเร็จรูปอยู่แค่หลักสูตรการเรียนการสอนแบบกระทรวงศึกษาธิการเพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดเป็นโรงเรียนสอนทักษะเฉพาะทางขึ้นมาเพื่อรองรับกับตลาดของพ่อแม่ยุคใหม่ที่อยากพัฒนาลูกทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนฝึกสมาธิ โรงเรียนสอนโยคะ โรงเรียนสอนเทควันโด โรงเรียนสอนฟุตบอล โรงเรียนศิลปะ โรงเรียนสอนทำอาหาร ฯลฯ
รวมถึงโรงเรียนเทคนิคการเรียนรู้พิเศษ อย่างโรงเรียนสอนเทคนิคการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเกาหลี หรือ แบบสิงคโปร์ ที่เน้นเด็กเล็ก 3-7 ขวบ ก็เป็นโรงเรียนที่ได้รับความนิยมจากพ่อแม่ที่ต้องการปูพื้นฐานให้ลูกก่อนไปเรียนกวดวิชาอื่นๆ ต่อไป เพื่อเน้นการแข่งขันในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังในอนาคต
ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเสริมทักษะด้านไหน พ่อแม่ล้วนมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ “ลูก” ไปถึงฝั่งฝัน คือเข้ารั้วมหาวิทยาลัยดังๆ ได้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีจำนวนที่นั่งจำกัด
รวมกับการที่ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในรูปแบบต่างๆ ที่ขยันออกมาพลิกแพลงกลยุทธ์ที่ถือเป็นการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผลก็คือ วันนี้ผู้ปกครองคนหนึ่งต้องเตรียมเงินไว้เพื่อให้ลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาตั้งแต่ระดับประถม ที่ว่ากันว่า ประถม 3 ก็เริ่มต้นได้แล้ว ไม่อย่างนั้นจะสายเกินไปในการเตรียมการเพื่อสอบเข้า ม.1 โรงเรียนดังๆ หรือโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งจะเข้าโรงเรียนแบบไหน ก็ต้องมีการไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่เน้นสอบเข้าในแต่ละโรงเรียนเฉพาะเข้าไปอีก อย่างจะสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบ พ่อแม่ต้องหาแล้วว่าโรงเรียนกวดวิชาที่เน้นการสอบเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบอยู่ที่ไหน และที่ไหนมีคนนิยมให้ลูกหลานไปเรียนมากที่สุด เป็นต้น
ดังนั้นการจะสร้างเด็กคนหนึ่งเพื่อเข้ารั้วมหาวิทยาลัย จะต้องเสียเงินในการกวดวิชากว่าแสนบาทต่อเด็ก 1 คน
ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจึงเติบโต และมีมูลค่ามหาศาล
ศูนย์วิจัยกสิกรฯชี้กวดวิชาขยายตัวปีละ 5.4%
น.ส.กัญญารัตน์ ชิระวานิชผล เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค 2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ได้ทำการวิจัยในเรื่องธุรกิจกวดวิชาในระดับ ม.ปลาย ตั้งแต่ ม.4-ม.6 พบว่าทิศทางธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะเติบโตไปได้อีกจากตัวเลขประมาณการการเติบโตเป็นร้อยละ 5.4 ต่อปี เมื่อดูจากจำนวนโรงเรียนที่สูงขึ้นต่อปี และค่าเรียนที่สูงขึ้นในทุกปี โดยค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียนจะมีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยแยกเป็น 2 กรณีได้แก่ 1.โรงเรียนกวดวิชาในสถาบันที่มีชื่อเสียง ในปี 2556 มีการประมาณการค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 16,800 บาทต่อคน และ 2.โรงเรียนกวดวิชาที่เป็นกลุ่มติวเตอร์อิสระ อยู่ที่ 12,000 บาทต่อคน ตรงนี้เป็นการประมาณการแค่กลุ่มเด็ก ม.ปลายที่จะมุ่งเข้ามหาวิทยาลัย ทำให้เม็ดเงินในตลาดโรงเรียนกวดวิชาเฉพาะแค่ ม.ปลายนี้อยู่ที่ 7,160 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลขเด็กนักเรียนในระบบกวดวิชาประมาณ 453,881 คน
โดยนักเรียนส่วนใหญ่นิยมไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่า ซึ่งเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของสถาบันกวดวิชาเหล่านั้น และกลยุทธ์ของโรงเรียนกวดวิชาที่มีการรวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์แบบ one stop service รวมหลายๆ โรงเรียนกวดวิชาไว้ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวก และการนำเทคโนโลยีมาใช้ดึงดูดนักเรียน ทั้ง แอปพลิเคชันการศึกษา และแท็บเล็ตแบบทดสอบที่ทำในห้องเรียนได้เลย เป็นต้น
ขณะที่นักเรียนที่ไปเรียนกับกลุ่มติวเตอร์อิสระเป็นการเรียนที่นักเรียนรวมกลุ่มกันอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นติวเตอร์ที่เป็นเด็กในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงประมาณการไว้ว่านักเรียนที่เลือกไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชาจะมีร้อยละ 80 ขณะที่อีกร้อยละ 20 ไปเรียนกับติวเตอร์อิสระ
“โอกาสธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาน่าจะเติบโตไปได้อีก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองรอง ที่เป็นตลาดที่ยังรองรับการขยายตัวของธุรกิจนี้ได้ เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านระยะทาง ที่พ่อแม่ไม่ต้องส่งบุตรหลานไปเรียนไกลๆ”
อย่างไรก็ดีการจะคิดว่าการเรียนในระบบการศึกษาชั้น ม.4-ม.6 จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับค่าเทอมโรงเรียนเด็กแต่ละคน และรวมเพิ่มเข้าไปในค่าเฉลี่ยของการเรียนกวดวิชาคือ 16,800 บาท ซึ่งเด็กที่เรียนในโรงเรียนเอกชนจะทำให้พ่อแม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียนสูงกว่าเด็กที่เรียนในโรงเรียนรัฐ
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่จะใช้เพื่อเรียนในโรงเรียนกวดวิชาจะสูงขึ้น เนื่องเพราะแนวโน้มการศึกษานานาชาติที่จะทำให้เด็กต้องฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และเสริมทักษะด้านอื่นที่ไม่ใช่วิชาการ จะทำให้ผู้ปกครองต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้นไปอีก
“ธุรกิจกวดวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา หรือ คอร์สภาษาอังกฤษ จะเข้ามามีบทบาทในตลาดกวดวิชามากขึ้นจากนี้ไป”
ดังนั้นแม้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะเป็นธุรกิจที่หลายคนยังมองเขาในแง่ร้าย แต่ระบบการศึกษาไทยที่ห่วยแตก และเน้นไปเพื่อทำให้เด็กต้องสอบแข่งขันกันให้เป็นผู้ชนะ ก็ยังส่งเสริมให้โรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้เป็นธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ขายได้ แต่ยังขายดีอย่างที่สุด
แถมเม็ดเงินมหาศาลที่ลงไปกับโรงเรียนกวดวิชา ที่เป็นธุรกิจด้านการศึกษายังมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
อย่าแปลกใจถ้าคนเปิดโรงเรียนกวดวิชาจะกลายเป็นเศรษฐีไปตามๆ กัน!
แต่ที่น่าประหลาดใจ กระทรวงศึกษาธิการ ตะลึง ธุรกิจกวดวิชาในประเทศไทย มีระบบแฟรนไชส์ ติดตามในตอนที่ 2
http://www.manager.co.th/lite/ViewNews. ... 0000114746
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 2
รวยไม่รวย ก็ดู ตึกแถวสี่แยกกลางกรุงแห่งหนึ่ง ใกล้ ร.พ.ดังซิครับ
เป็นตึกของ เจ้าของกวดวิชาแห่งหนึ่ง ซื้อเอง ไม่ใช่เช่านะครับ
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
เป็นตึกของ เจ้าของกวดวิชาแห่งหนึ่ง ซื้อเอง ไม่ใช่เช่านะครับ
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 4
สงสัยว่าทำไม ไม่ตั้งใจเรียนในชั้นให้ดี ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเงินมากวดวิชา สมัยตอนผมเรียนไม่เห็นต้องกวดวิชาอะไรนี่ ก็เห็นเอนท์ติดนี่ ได้วิศวะด้วย คณะยอดนิยม
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 5
เปิดโรงเรียนกวดวิชา ความสำคัญอยู่ที่ชื่อเสียงของอาจารย์ผู้สอน
บางแห่งเจ้าของสถาบันไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน เมื่ออาจารย์ผู้สอนชื่อดังไปเปิดโรงเรียนเอง สถาบันนั้นก็เงียบเหงาทันที
บางแห่งเจ้าของสถาบันไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน เมื่ออาจารย์ผู้สอนชื่อดังไปเปิดโรงเรียนเอง สถาบันนั้นก็เงียบเหงาทันที
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 6
แต่ตอนนี้สำหรับพวกกวดวิชาเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศเงียบมากคะ ปกติช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. ของทุก ๆ ปีจะแย่หน่อยเนื่องจากนักเรียนที่ไปศึกษาต่อ จะออกเดินทางไปหมดแล้ว แต่ก็จะมีพวกที่ต้องกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยช่วงต้นปีกันอยู่ดี
แต่ปีนี้ค่อนข้างแย่กว่าปีก่อน ๆ เยอะมาก ปรืมาณผู้เรียนน้อยมากคะ แทบจะทุกสถาบันเลยก็ว่าได้
Ouchenfong ^^
แต่ปีนี้ค่อนข้างแย่กว่าปีก่อน ๆ เยอะมาก ปรืมาณผู้เรียนน้อยมากคะ แทบจะทุกสถาบันเลยก็ว่าได้
Ouchenfong ^^
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 7
โดยประสพการณ์ อาจารย์ผู้สอนไม่สนใจสอนtodsapon เขียน:สงสัยว่าทำไม ไม่ตั้งใจเรียนในชั้นให้ดี ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเงินมากวดวิชา สมัยตอนผมเรียนไม่เห็นต้องกวดวิชาอะไรนี่ ก็เห็นเอนท์ติดนี่ ได้วิศวะด้วย คณะยอดนิยม
นักเรียนในห้องเกเร เข้าไม่ครบ อาจารย์เลยไม่สอน
อาจารย์หลายๆคนในชั้นมัธยมปลาย ไม่สนใจสอนที่โรงเรียน
กั๊กไว้มาสอนพิเศษที่ตัวเองเปิดติว (แถวบ้านผมเช่าอาคารเดือนละ15000บาทสอนพิเศษ)
ใครมาเรียนพิเศษกับอาจารย์ ได้คะแนนมิตรภาพหรือคะแนนเอื้ออาธร
ยิ่งอาจารย์ผู้สอน เป็นคนออกข้อสอบประจำชั้น เปิดสอนพิเศษ
จะมีการเอาข้อสอบมาให้เด็กทดลองทำฯ
สั้นๆง่ายๆ
ไม่เรียนพิเศษ กับเรียนพิเศษ เกรดออกมาต่างกัน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 8
เราคงเคยได้ยินข่าว นักเรียนไทยได้เหรียญทองโอลิมปิควิชาการ กันมาบ้าง
นักเรียนเหล่านั้น เป็นผลจากการเตรียมการเด็กตั้งแต่ประถมต้นๆ
ปัจจุบันนี้ มีการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หลายรายการ เช่น สสวท. สพฐ. เพชรยอดมงกุฎ สมาคมคณิตศาสตร์ เพื่อคัดเลือกเด็กเก่งๆไปเข้าค่ายเรียนเพิ่มเติม ฝึกไปสอบระดับนานาชาติ
บางรายการ แบ่งระดับ เริ่มจากประถมปีที่ 3 และประถมปีที่ 6
รวมถึงการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมชื่อดัง
เนื้อหาการเรียนปัจจุบันนี้ จะแบ่งเป็นช่วงชั้น ประถม 1-3 ประถม 4-6 มัธยม 1-3
แต่ละช่วงชั้น จะเรียนหัวข้อเหมือนกัน แต่ความละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น คณิตศาสตร์ เนื้อหา เศษส่วน เปอร์เซ็นต์ร้อยละ เรขาคณิต สมการเชิงเส้น วิทยาศาสตร์ก็เหมือนกัน เรียน ร่างกาย พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม การเคลื่อนที่ แรง รอก ไฟฟ้า แสง เสียง กรด เบส ตารางธาตุ สารประกอบ สารละลาย โครงสร้างอะตอม ดิน หิน แร่ ชั้นบรรยากาศ ระบบสุริยะจักรวาล
การสอบแข่งขันเกือบทุกแห่ง จะนำโจทย์เกินระดับมาสอบ เช่น เด็กเรียนชั้นประถม 6 ก็นำโจทย์เนื้อหาที่สอนในระดับมัธยมมาออกสอบ
ครูที่โรงเรียนก็สอนเพียงแค่ตามระดับ ไม่ได้สอนเกินระดับ เนื่องจากในห้องเรียนมาเด็กหลายระดับ ทั้งเก่ง และไม่เก่ง มีเวลาสอนน้อย เพราะต้องสอนหลายวิชา
ดังนั้นเด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษเพิ่มเติมก็จะทำข้อสอบแข่งขัน หรือ สอบเข้าโรงเรียนที่แข่งขันสูงไม่ได้ เพราะเสียเปรียบที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ไม่เคยทำแบบฝึกหัดยากๆมาก่อน
พ่อแม่จะทำอย่างไร ก็ต้องส่งลูกเรียนให้ทันคนอื่น เด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียนก็อยากจะสอบได้คะแนนดีๆเหมือนเพื่อนๆก็ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม
ทุกวันนี้ก็เหมือนวิ่งไล่จับกัน ผู้ออกข้อสอบก็ต้องออกข้อสอบให้ยากๆ ครูสอนพิเศษก็ต้องสอนเด็กให้ทันเพื่อจะได้โปรโมทชื่อเสียงโรงเรียนของตัวเองว่าเด็กที่มาเรียนสอบได้มากมายหลายคน เด็กก็ต้องเรียนมากขึ้น มากขึ้น ไปเรื่อยๆ
ตราบใดที่คนไทยยังชื่นชมเมื่อเด็กไทยได้รางวัลการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ถือว่าการได้รางวัลเป็นผลงานของตน ทุกอย่างก็พุ่งตรงมาที่เด็ก
นักเรียนเหล่านั้น เป็นผลจากการเตรียมการเด็กตั้งแต่ประถมต้นๆ
ปัจจุบันนี้ มีการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หลายรายการ เช่น สสวท. สพฐ. เพชรยอดมงกุฎ สมาคมคณิตศาสตร์ เพื่อคัดเลือกเด็กเก่งๆไปเข้าค่ายเรียนเพิ่มเติม ฝึกไปสอบระดับนานาชาติ
บางรายการ แบ่งระดับ เริ่มจากประถมปีที่ 3 และประถมปีที่ 6
รวมถึงการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมชื่อดัง
เนื้อหาการเรียนปัจจุบันนี้ จะแบ่งเป็นช่วงชั้น ประถม 1-3 ประถม 4-6 มัธยม 1-3
แต่ละช่วงชั้น จะเรียนหัวข้อเหมือนกัน แต่ความละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น คณิตศาสตร์ เนื้อหา เศษส่วน เปอร์เซ็นต์ร้อยละ เรขาคณิต สมการเชิงเส้น วิทยาศาสตร์ก็เหมือนกัน เรียน ร่างกาย พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม การเคลื่อนที่ แรง รอก ไฟฟ้า แสง เสียง กรด เบส ตารางธาตุ สารประกอบ สารละลาย โครงสร้างอะตอม ดิน หิน แร่ ชั้นบรรยากาศ ระบบสุริยะจักรวาล
การสอบแข่งขันเกือบทุกแห่ง จะนำโจทย์เกินระดับมาสอบ เช่น เด็กเรียนชั้นประถม 6 ก็นำโจทย์เนื้อหาที่สอนในระดับมัธยมมาออกสอบ
ครูที่โรงเรียนก็สอนเพียงแค่ตามระดับ ไม่ได้สอนเกินระดับ เนื่องจากในห้องเรียนมาเด็กหลายระดับ ทั้งเก่ง และไม่เก่ง มีเวลาสอนน้อย เพราะต้องสอนหลายวิชา
ดังนั้นเด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษเพิ่มเติมก็จะทำข้อสอบแข่งขัน หรือ สอบเข้าโรงเรียนที่แข่งขันสูงไม่ได้ เพราะเสียเปรียบที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ไม่เคยทำแบบฝึกหัดยากๆมาก่อน
พ่อแม่จะทำอย่างไร ก็ต้องส่งลูกเรียนให้ทันคนอื่น เด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียนก็อยากจะสอบได้คะแนนดีๆเหมือนเพื่อนๆก็ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม
ทุกวันนี้ก็เหมือนวิ่งไล่จับกัน ผู้ออกข้อสอบก็ต้องออกข้อสอบให้ยากๆ ครูสอนพิเศษก็ต้องสอนเด็กให้ทันเพื่อจะได้โปรโมทชื่อเสียงโรงเรียนของตัวเองว่าเด็กที่มาเรียนสอบได้มากมายหลายคน เด็กก็ต้องเรียนมากขึ้น มากขึ้น ไปเรื่อยๆ
ตราบใดที่คนไทยยังชื่นชมเมื่อเด็กไทยได้รางวัลการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ถือว่าการได้รางวัลเป็นผลงานของตน ทุกอย่างก็พุ่งตรงมาที่เด็ก
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 10
ระบบการศึกษาของบ้านเรา น่าจะเรียกได้ว่าเป็นแบบแพ้คัดออก
สังคมมุ่งเน้นไปที่คะแนนสอบ แต่ไม่เน้นไปที่การพัฒนา สร้างสรรค์ เรียนรู้ และแบ่งปัน
เราเน้นที่เรียนแบบรัดสั้น แต่ไม่เน้นที่จะเรียนแบบเรียนรู้
การกวดวิชาก็มีข้อดี คือความสามารถหาเทคนิคใหม่ นอกห้องเรียน แต่หากการพึ่งการกวดวิชาเป็นแกนหลัก เด็กก็จะขาดการเรียนรู้ และมุ่งเน้นแต่การทำคะแนนสอบเท่านั้น
และหากจุดมุ่งหมายเพื่อทำคะแนนสอบเป็นหลัก การพัฒนา สร้างสรรค์ แบ่งปัน ก็คงขาดหายไป เราจะมุ่งเน้นที่ตัวเองและตัวเองเป็นหลัก และสังคมก็อาจจะผลิตหุ่นยนต์คล้ายกันมากขึ้น เพราะเดินในแบบเดียวกันเป๊ะ และสังคมในอนาคตก็คงจะแห้งแล้งมากๆ
แตกต่างจากเด็กฝรั่งที่เรียนค่อนข้างน้อยกว่า แต่เน้นการพัฒนา สร้างสรรค์ และการอยู่กับสิ่งรอบข้าง เขาชอบที่จะถามคำถาม ความสงสัยเป็นเรื่องปกติ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ (*.*)
สังคมมุ่งเน้นไปที่คะแนนสอบ แต่ไม่เน้นไปที่การพัฒนา สร้างสรรค์ เรียนรู้ และแบ่งปัน
เราเน้นที่เรียนแบบรัดสั้น แต่ไม่เน้นที่จะเรียนแบบเรียนรู้
การกวดวิชาก็มีข้อดี คือความสามารถหาเทคนิคใหม่ นอกห้องเรียน แต่หากการพึ่งการกวดวิชาเป็นแกนหลัก เด็กก็จะขาดการเรียนรู้ และมุ่งเน้นแต่การทำคะแนนสอบเท่านั้น
และหากจุดมุ่งหมายเพื่อทำคะแนนสอบเป็นหลัก การพัฒนา สร้างสรรค์ แบ่งปัน ก็คงขาดหายไป เราจะมุ่งเน้นที่ตัวเองและตัวเองเป็นหลัก และสังคมก็อาจจะผลิตหุ่นยนต์คล้ายกันมากขึ้น เพราะเดินในแบบเดียวกันเป๊ะ และสังคมในอนาคตก็คงจะแห้งแล้งมากๆ
แตกต่างจากเด็กฝรั่งที่เรียนค่อนข้างน้อยกว่า แต่เน้นการพัฒนา สร้างสรรค์ และการอยู่กับสิ่งรอบข้าง เขาชอบที่จะถามคำถาม ความสงสัยเป็นเรื่องปกติ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ (*.*)
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 11
ผมก็อยากจะถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรเนื้อหาที่เรียน คิดว่าเนื้อหาบางเรื่องเด็กจำเป็นต้องรู้หรือครับ อัดยัดเนื้อหามามากมายให้เด็กเรียน ให้ครูสอน ผมว่าเนื้อหามากมายเกินไปครับ ทำให้ครูต้องรีบสอน เด็กต้องรีบเรียน
วิชาชีววิทยา เด็กๆระดับประถม มัธยมต้น ต้องเรียนรู้ลึกระดับเซลหรือครับ ถ้าอนาคตเด็กเหล่านั้นไม่ได้เรียนต่อสายแพทย์จะมีประโยชน์หรือครับ
เด็กยุคนี้ถูกยัดเยียมมากมาย นอกจากวิชาการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์แล้ว ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ศิลปะ ดนตรี กีฬา คอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์ก็เรียนมาก หลากหลาย ทั้ง ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนปัจจุบัน ภูมิศาสตร์เรียนรู้เกือบจะทั้งโลก เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง ศาสนา
เคยเห็นเรื่องที่แซวเล่นไหมครับ
เด็กถามว่าทำไมครูประจำชั้นถึงไม่สอนคนเดียวทุกวิชา
ครูตอบว่า ครูไม่รู้ทุกวิชา จำไม่ได้ทุกเรื่อง
เด็กเลยตอบว่า ถ้าครูยังจำไม่ได้ แล้วทำไมคิดว่าเด็กจะเรียนได้ทุกวิชา จำได้ทุกเรื่อง ละครับ
วิชาชีววิทยา เด็กๆระดับประถม มัธยมต้น ต้องเรียนรู้ลึกระดับเซลหรือครับ ถ้าอนาคตเด็กเหล่านั้นไม่ได้เรียนต่อสายแพทย์จะมีประโยชน์หรือครับ
เด็กยุคนี้ถูกยัดเยียมมากมาย นอกจากวิชาการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์แล้ว ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ศิลปะ ดนตรี กีฬา คอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์ก็เรียนมาก หลากหลาย ทั้ง ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนปัจจุบัน ภูมิศาสตร์เรียนรู้เกือบจะทั้งโลก เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง ศาสนา
เคยเห็นเรื่องที่แซวเล่นไหมครับ
เด็กถามว่าทำไมครูประจำชั้นถึงไม่สอนคนเดียวทุกวิชา
ครูตอบว่า ครูไม่รู้ทุกวิชา จำไม่ได้ทุกเรื่อง
เด็กเลยตอบว่า ถ้าครูยังจำไม่ได้ แล้วทำไมคิดว่าเด็กจะเรียนได้ทุกวิชา จำได้ทุกเรื่อง ละครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 12
สังเกตไหมว่าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ที่นิยมกัน ส่วนใหญ่จะมีชื่อด้านการสอบเข้าเรียนในระดับที่สูงกว่า เช่น สอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลายดังๆ สอบเข้าเรียนแพทย์ได้มาก
หน้าโรงเรียนมากมายจะติดภาพเด็กที่สอบติดมหาวิทยาลัย เด็กที่สอบได้รางวัลจากการแข่งขันต่างๆ หรือเด็กที่เป็นตัวแทนไปแข่งโอลิมปิค
ทำให้มีแนวโน้มที่โรงเรียนจะใส่ใจเด็กที่เก่งขั้นเทพ เพื่อไปแข่งขันสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน มากกว่าที่จะสนใจ ใส่ใจ เด็กที่เรียนไม่ทัน หรือเด็กทั่วๆไป
เราเคยสอบถามไหมว่า โรงเรียนดังๆทั้งหลายมีสัดส่วนเด็กเก่งกับเด็กแย่มากน้อยแค่ไหน บางโรงเรียนอาจมีเด็กเก่งเพียงแค่ 10% อีก 90% แย่มากๆก็ได้
เราจะทำอย่างไรให้ระบบการเรียน การสอน ไม่ทิ้งเด็กที่เรียนไม่ทัน อุ้มแต่เด็กเก่ง
หน้าโรงเรียนมากมายจะติดภาพเด็กที่สอบติดมหาวิทยาลัย เด็กที่สอบได้รางวัลจากการแข่งขันต่างๆ หรือเด็กที่เป็นตัวแทนไปแข่งโอลิมปิค
ทำให้มีแนวโน้มที่โรงเรียนจะใส่ใจเด็กที่เก่งขั้นเทพ เพื่อไปแข่งขันสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน มากกว่าที่จะสนใจ ใส่ใจ เด็กที่เรียนไม่ทัน หรือเด็กทั่วๆไป
เราเคยสอบถามไหมว่า โรงเรียนดังๆทั้งหลายมีสัดส่วนเด็กเก่งกับเด็กแย่มากน้อยแค่ไหน บางโรงเรียนอาจมีเด็กเก่งเพียงแค่ 10% อีก 90% แย่มากๆก็ได้
เราจะทำอย่างไรให้ระบบการเรียน การสอน ไม่ทิ้งเด็กที่เรียนไม่ทัน อุ้มแต่เด็กเก่ง
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 13
คิดว่าเพราะระบบการศึกษาที่ไม่ดีของเรา
แบบการเรียนหรือวิธีเรียนเองก็เป็นแบบเก่ามากๆย้อนไป พ.ศ. ไหนก็ไม่รู้ (เก่ามากๆค่ะ)
เพราะวัตถุนิยม เราชื่นชมคนบริโภคเก่งๆ
จะบริโภคเก่งๆ ก็ต้องหาเงินได้เยอะๆ
จะหาเงินได้เยอะๆ ก็ต้องหางานดีๆ
จะหางานดีๆ ก็ต้องจบมาจากโรงเรียนดีๆ
จะจบจากโรงเรียนดีๆ ก็ต้องเข้าโรงเรียนดีๆ (มหาวิทยาลัย...มัธยม...ประถม..และอนุบาล)
เอ....มันก็จุดเริ่มต้นของวงจรนี้
ส่วนตัวมองว่า มันต้องทั้งมีวิชาการ จิตนาการ สร้างสรรค์ เรียนรู้ และสุดท้ายก็แบ่งปัน.....
ลองคิดเล่นๆว่า 8000 ล้านต่อปี เอามาสร้างโรงเรียนดี จะได้กี่โรงเรียน??? ให้เด็กได้มีที่เรียนรู้มีมหาศาล
เปลี่ยนค่านิยมให้คนเก่งเป็นครู ครูควรต้องมีเงินเดือนเยอะกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะอาชีพนี้แหละสร้างคน คนดีๆสู่สังคม
ท่านพุทธทาสยังเคยกล่าวไว้ว่า การศึกษาของเราเป็นการศึกษาหมาหางด้วน.....สิ่งที่ด้วนหรือหายไปคือการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น หรือเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ เอาแต่เรียนวิชาที่ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น ศีลธรรมจึงเสื่อมเสียมากขึ้นๆ เพราะการศึกษาลักษณะเช่นนี้
อีกครั้ง...เป็นความเห็นส่วนตัวค่ะ
แบบการเรียนหรือวิธีเรียนเองก็เป็นแบบเก่ามากๆย้อนไป พ.ศ. ไหนก็ไม่รู้ (เก่ามากๆค่ะ)
เพราะวัตถุนิยม เราชื่นชมคนบริโภคเก่งๆ
จะบริโภคเก่งๆ ก็ต้องหาเงินได้เยอะๆ
จะหาเงินได้เยอะๆ ก็ต้องหางานดีๆ
จะหางานดีๆ ก็ต้องจบมาจากโรงเรียนดีๆ
จะจบจากโรงเรียนดีๆ ก็ต้องเข้าโรงเรียนดีๆ (มหาวิทยาลัย...มัธยม...ประถม..และอนุบาล)
เอ....มันก็จุดเริ่มต้นของวงจรนี้
ส่วนตัวมองว่า มันต้องทั้งมีวิชาการ จิตนาการ สร้างสรรค์ เรียนรู้ และสุดท้ายก็แบ่งปัน.....
ลองคิดเล่นๆว่า 8000 ล้านต่อปี เอามาสร้างโรงเรียนดี จะได้กี่โรงเรียน??? ให้เด็กได้มีที่เรียนรู้มีมหาศาล
เปลี่ยนค่านิยมให้คนเก่งเป็นครู ครูควรต้องมีเงินเดือนเยอะกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะอาชีพนี้แหละสร้างคน คนดีๆสู่สังคม
ท่านพุทธทาสยังเคยกล่าวไว้ว่า การศึกษาของเราเป็นการศึกษาหมาหางด้วน.....สิ่งที่ด้วนหรือหายไปคือการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น หรือเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ เอาแต่เรียนวิชาที่ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น ศีลธรรมจึงเสื่อมเสียมากขึ้นๆ เพราะการศึกษาลักษณะเช่นนี้
อีกครั้ง...เป็นความเห็นส่วนตัวค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 14
เคยอ่านเจอจากที่ไหนจำไม่ได้ แต่รู้สึกเห็นด้วย
ว่าโรงเรียนไทยสอนคณิตศาสาตร์ คล้ายๆ จะให้ไปเป็นเครื่องคิดเลข
แต่ต่างประเทศสอนให้เข้าใจหลักการอย่างแท้จริง
ถ้าตัวเลขมากๆ ก็ใช้เครื่องคิดเลขสิ....เค้าอุตส่าห์ประดิษฐ์มาให้ใช้แล้ว
เคยใช้หนังสือของต่างประเทศสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกเอง
พบว่าบางบทโจทย์กำหนดแค่ให้เขียนประโยคสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง
อย่างเดียวเลย ไม่ต้องคิดผลลัพท์ออกมา
และบางบทก็เค้าจะเน้นเรื่องการประมาณค่า...ให้ใกลเคียงผลลัพท์มากที่สุดด้วย
เคยเจอเด็กที่เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ประเภทคิดเลขเร็ว
เห็นประโยคสัญลักษณ์ปุ๊บ ทำได้ปั๊บ
แต่ลองเอาโจทย์ประเภทคณิตศาสาตร์เหตุผล
โจทย์ซับซ้อนหน่อยให้ทำ....บางคนทำไม่ได้
ที่เคยเจอกับตัวเองในช่วงที่ทำงานแล้วก็มี เช่น
มีคนมาขอความช่วยเหลือ....เค้ามีตัวเลขข้อมูลดิบที่แจกแจงมาเองกับมือ
แถมเพิ่งอบรมการใช้ excel ในการคำนวณขั้นสูงไปไม่นาน
แต่ไม่สามารถเอาข้อมูลดิบนั้น....มาจัดกระทำให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการได้
จำได้ว่าเป็นเรื่องของสถิติ พอค่อยไล่เลียงวิธีที่เค้าทำ
พบว่าไม่นำ "ความถี่สะสม" มาคำนวณด้วย...ตกม้าตายเรื่องง่ายๆ เลย
มีความเห็นว่า...ในกรณีที่เด็กมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเรียนเอง
ในกรณีนี้ โรงเรียนกวดวิชาสามารถตอบโจทย์ได้
จ่ายเงินเพิ่มเท่าไหร่ก็คุ้ม และเด็กก็ไม่เบื่อไม่ทุกข์
แต่กรณีที่เด็กไม่ได้อยากเรียน (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) มันอาจให้ผลในทางกลับกัน
และพาลเบื่อการเรียนทั้งในโรงเรียนและในโรงเรียนกวดวิชาไปเลย....ได้ไม่คุ้มเสีย
ในเรื่องพฤติกรรม ก็ส่งผลให้กลายเป็นคนชอบแข่งขันมากเกินไป
เพราะพ่อแม่บางบ้านกระตุ้นลูกด้วยการเปียบเทียบกับลูกคนอื่น
กลายเป็นเด็กคบเพื่อนได้ไม่สนิทใจ คบไปแข่งไป
คงจะคบกันยากพอสมควร คือคงอดเปรียบเทียบอยู่ในทีไม่ได้
เมื่อจบไปทำงานก็ติดนิสัยไปใช้ในที่ทำงาน....นิสัยชอบแข่งขันเกินเหตุ
เห็นใครดีกว่าไม่ได้จิตใจร้อนรุ่ม บางคนเป็นคนเก่งมาก
แต่ชื่นชมยินดีกับใครไม่เป็นเลย ขี้อิจฉา ใช้การเปรียบเทียบ
เป็นเครื่องตัดสินอย่างหยาบๆ ว่าตัวเองดีหรือด้อยกว่าคนรอบข้าง
และบางครั้งต้องการสูงกว่า...แต่แทนที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมา
กลับ "กดผู้อื่นให้จมลง" ด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ ก็มีให้เห็น
แทนที่จะมีความสุข....กลายเป็นทำการทำงานและใช้ชีวิตด้วยความทรมานไปเสีย
เวลาของเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน....แทนที่หลังเลิกเรียนหรือวันหยุด...
เด็กจะได้ใช้เวลาร่วมกับพ่อแม่หรือครอบครัว...กลับต้องไปอยู่ในโรงเรียนกวดวิชา
แล้วพ่อแม่จะเอาเวลาไหนสอนให้ลูกรู้จักโลก สอนให้รู้จักค่าของเงิน
สอนคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็ก
สามารถใช้ชีวิตหลังวัยเรียน....ที่แสนยาวนาน....ได้อย่างมีความสุขและสมดุล
และสุดท้าย...เชื่อว่า...ความผูกพันในครอบครัวเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กไฝ่ดี
ถ้าเด็กไฝ่ดี...เดี๋ยวสิ่งดีๆ จะค่อยๆ ตามมา ...ถ้าเค้ารู้สึกว่าเค้ามีคุณค่า
เค้าจะพยายามทำสิ่งที่สมกับคุณค่าของตนเอง...รวมทั้งเรื่องเรียนด้วย
ดึงลูกกลับมาอยู่ในอ้อมกอดของพ่อแม่...
หรือจะผลักลูกไปสู่อ้อมกอดของโรงเรียนกวดวิชาดีหนอ ?
ว่าโรงเรียนไทยสอนคณิตศาสาตร์ คล้ายๆ จะให้ไปเป็นเครื่องคิดเลข
แต่ต่างประเทศสอนให้เข้าใจหลักการอย่างแท้จริง
ถ้าตัวเลขมากๆ ก็ใช้เครื่องคิดเลขสิ....เค้าอุตส่าห์ประดิษฐ์มาให้ใช้แล้ว
เคยใช้หนังสือของต่างประเทศสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกเอง
พบว่าบางบทโจทย์กำหนดแค่ให้เขียนประโยคสัญลักษณ์ให้ถูกต้อง
อย่างเดียวเลย ไม่ต้องคิดผลลัพท์ออกมา
และบางบทก็เค้าจะเน้นเรื่องการประมาณค่า...ให้ใกลเคียงผลลัพท์มากที่สุดด้วย
เคยเจอเด็กที่เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ประเภทคิดเลขเร็ว
เห็นประโยคสัญลักษณ์ปุ๊บ ทำได้ปั๊บ
แต่ลองเอาโจทย์ประเภทคณิตศาสาตร์เหตุผล
โจทย์ซับซ้อนหน่อยให้ทำ....บางคนทำไม่ได้
ที่เคยเจอกับตัวเองในช่วงที่ทำงานแล้วก็มี เช่น
มีคนมาขอความช่วยเหลือ....เค้ามีตัวเลขข้อมูลดิบที่แจกแจงมาเองกับมือ
แถมเพิ่งอบรมการใช้ excel ในการคำนวณขั้นสูงไปไม่นาน
แต่ไม่สามารถเอาข้อมูลดิบนั้น....มาจัดกระทำให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการได้
จำได้ว่าเป็นเรื่องของสถิติ พอค่อยไล่เลียงวิธีที่เค้าทำ
พบว่าไม่นำ "ความถี่สะสม" มาคำนวณด้วย...ตกม้าตายเรื่องง่ายๆ เลย
มีความเห็นว่า...ในกรณีที่เด็กมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเรียนเอง
ในกรณีนี้ โรงเรียนกวดวิชาสามารถตอบโจทย์ได้
จ่ายเงินเพิ่มเท่าไหร่ก็คุ้ม และเด็กก็ไม่เบื่อไม่ทุกข์
แต่กรณีที่เด็กไม่ได้อยากเรียน (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) มันอาจให้ผลในทางกลับกัน
และพาลเบื่อการเรียนทั้งในโรงเรียนและในโรงเรียนกวดวิชาไปเลย....ได้ไม่คุ้มเสีย
ในเรื่องพฤติกรรม ก็ส่งผลให้กลายเป็นคนชอบแข่งขันมากเกินไป
เพราะพ่อแม่บางบ้านกระตุ้นลูกด้วยการเปียบเทียบกับลูกคนอื่น
กลายเป็นเด็กคบเพื่อนได้ไม่สนิทใจ คบไปแข่งไป
คงจะคบกันยากพอสมควร คือคงอดเปรียบเทียบอยู่ในทีไม่ได้
เมื่อจบไปทำงานก็ติดนิสัยไปใช้ในที่ทำงาน....นิสัยชอบแข่งขันเกินเหตุ
เห็นใครดีกว่าไม่ได้จิตใจร้อนรุ่ม บางคนเป็นคนเก่งมาก
แต่ชื่นชมยินดีกับใครไม่เป็นเลย ขี้อิจฉา ใช้การเปรียบเทียบ
เป็นเครื่องตัดสินอย่างหยาบๆ ว่าตัวเองดีหรือด้อยกว่าคนรอบข้าง
และบางครั้งต้องการสูงกว่า...แต่แทนที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมา
กลับ "กดผู้อื่นให้จมลง" ด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ ก็มีให้เห็น
แทนที่จะมีความสุข....กลายเป็นทำการทำงานและใช้ชีวิตด้วยความทรมานไปเสีย
เวลาของเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน....แทนที่หลังเลิกเรียนหรือวันหยุด...
เด็กจะได้ใช้เวลาร่วมกับพ่อแม่หรือครอบครัว...กลับต้องไปอยู่ในโรงเรียนกวดวิชา
แล้วพ่อแม่จะเอาเวลาไหนสอนให้ลูกรู้จักโลก สอนให้รู้จักค่าของเงิน
สอนคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็ก
สามารถใช้ชีวิตหลังวัยเรียน....ที่แสนยาวนาน....ได้อย่างมีความสุขและสมดุล
และสุดท้าย...เชื่อว่า...ความผูกพันในครอบครัวเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กไฝ่ดี
ถ้าเด็กไฝ่ดี...เดี๋ยวสิ่งดีๆ จะค่อยๆ ตามมา ...ถ้าเค้ารู้สึกว่าเค้ามีคุณค่า
เค้าจะพยายามทำสิ่งที่สมกับคุณค่าของตนเอง...รวมทั้งเรื่องเรียนด้วย
ดึงลูกกลับมาอยู่ในอ้อมกอดของพ่อแม่...
หรือจะผลักลูกไปสู่อ้อมกอดของโรงเรียนกวดวิชาดีหนอ ?
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 15
ถ้าเปิดบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง เราต้องการคนแบบไหนไปทำงาน
คนแบบไหนถึงจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ
คนแบบไหนถึงจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 223
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 16
ผมว่า น่าจะเกิดจากการที่สังคมไทยให้มูลค่ากับคะแนนสอบสูงเกินไป เนื่องจากมันเป็นอะไรที่วัดได้ง่ายที่สุด แค่ให้เด็กเข้าไปนั่งทำข้อสอบแล้วก็ตรวจออกมาเป็นคะแนน
ซึ่งมันทำให้วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ผิดไป เด็กๆจะทำได้แต่สิ่งที่เคยอ่านมา ท่องมา ทำโจทย์เตรียมสอบมา แล้วก็ไม่ค่อยอยากที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือคิดอะไรแตกต่างจากที่ท่องๆอ่านๆมา แถมบางทีไม่รู้อีกต่างหากว่าตัวเองชอบอะไรอยากทำอะไร
อันนี้ คหสต.นะครับ แต่ผมเองกว่าจะเริ่มเข้าใจว่าชีวิตจริงๆ มันคืออะไร ก็หลังจากจบมหาลัยแล้วเริ่มทำงานไปได้ปีสองปีแล้วครับ
ซึ่งมันทำให้วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ผิดไป เด็กๆจะทำได้แต่สิ่งที่เคยอ่านมา ท่องมา ทำโจทย์เตรียมสอบมา แล้วก็ไม่ค่อยอยากที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือคิดอะไรแตกต่างจากที่ท่องๆอ่านๆมา แถมบางทีไม่รู้อีกต่างหากว่าตัวเองชอบอะไรอยากทำอะไร
อันนี้ คหสต.นะครับ แต่ผมเองกว่าจะเริ่มเข้าใจว่าชีวิตจริงๆ มันคืออะไร ก็หลังจากจบมหาลัยแล้วเริ่มทำงานไปได้ปีสองปีแล้วครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 17
เห็นด้วยกับพี่ปรัชญาและพี่ฉัตรชัยอย่างยิ่งปรัชญา เขียน:โดยประสพการณ์ อาจารย์ผู้สอนไม่สนใจสอนtodsapon เขียน:สงสัยว่าทำไม ไม่ตั้งใจเรียนในชั้นให้ดี ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเงินมากวดวิชา สมัยตอนผมเรียนไม่เห็นต้องกวดวิชาอะไรนี่ ก็เห็นเอนท์ติดนี่ ได้วิศวะด้วย คณะยอดนิยม
นักเรียนในห้องเกเร เข้าไม่ครบ อาจารย์เลยไม่สอน
อาจารย์หลายๆคนในชั้นมัธยมปลาย ไม่สนใจสอนที่โรงเรียน
กั๊กไว้มาสอนพิเศษที่ตัวเองเปิดติว (แถวบ้านผมเช่าอาคารเดือนละ15000บาทสอนพิเศษ)
ใครมาเรียนพิเศษกับอาจารย์ ได้คะแนนมิตรภาพหรือคะแนนเอื้ออาธร
ยิ่งอาจารย์ผู้สอน เป็นคนออกข้อสอบประจำชั้น เปิดสอนพิเศษ
จะมีการเอาข้อสอบมาให้เด็กทดลองทำฯ
สั้นๆง่ายๆ
ไม่เรียนพิเศษ กับเรียนพิเศษ เกรดออกมาต่างกัน
มาพิจารณาให้ดีๆ พบว่าการที่ผู้ปกครองต้องส่งลูกเรียนพิเศษ
เสียทั้งเงิน ทั้งเวลาคุณภาพที่จะได้อยู่ร่วมกันทั้งตรอบครัว
และในที่สุดเด็กเองก็ต้องถูกหล่อมหลอมให้มีสัญชาตญาณ
แห่งการแข่งขันและเปรียบเทียบอยู่ในสายเลือด จนส่งผลอื่นๆตามมามากมายนั้น
เหตุก็เป็นเพราะต้องอยู่ในวังวนของปัญหาที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้สร้าง
ต้องตกอยู่ในฐานะของผู้ที่ต้องวิ่งตามกระแส....อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะการจะเลือกใช้ชีวิตทวนกระแสนั้น
ในหลายกรณีถ้าไม่ได้แข็งแกร่งพอจะเสี่ยงต่อการ "ถูกคัดออก" เป็นลำดับต้นๆ
สู้ตามกระแสไปน่าจะปลอดภัยกว่า ถ้าในที่สุดจะต้องถูกคัดออกก็ถือว่าได้พยายามสู้เต็มที่แล้ว
การแก้ปัญหานี้ก็คงต้องกลับไปพิจารณาที่ระดับนโยบายการศึกษาของชาติ
จะจึงเหมาะสม เป็นการแก้ที่เหตุ ซึ่งถ้าทำเหตุให้ดีผลจะดีตามทั้งหมดค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 18
ดูรายละเอียดเรื่องนี้ แบบที่ทำวิจัยมาแล้ว น่าจะได้ข้อมูลนะครับ
โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
อดีตนักเรียนที่สอบเข้ามหา'ลัย ได้คะแนนสูงสุดของประเทศ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ
แต่ไม่ได้เรียนครับ เพราะว่าเรียน ระบบ ม. (รุ่นแรก) แต่สอบเทียบระบบ ม.ศ. (รุ่นสุดท้าย)
(กระทรวงฯ เขาว่าไม่ได้ ตลกดี) ปีต่อมาจึงสอบเข้าเรียนวิศวกรรมศาสตร์แทน
จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง และยังเป็นอดีตนายกสโมสร
นิสิตจุฬาฯ ครบทั้งวิชาการและกิจกรรม
http://tdri.or.th/multimedia/thinkx2-15/
ถ้าไม่มีเวลาดู VDO (Youtube) ของการนำเสนอ ดูแค่สไลด์ภาพไม่กี่ภาพ
ข้างล่างก็พอจะรู้แล้วครับว่าอะไรคืออะไร ข้อเท็จจริงคืออะไร
(หมายเหตุ ที่จริงนึกว่า มาโพสใน ThaiVI จะออกไปในแนวธุรกิจ เพราะมี
บมจ. ที่ทำเกี่ยวกับสอนพิเศษกวดวิชา เหมือนกัน)
โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
อดีตนักเรียนที่สอบเข้ามหา'ลัย ได้คะแนนสูงสุดของประเทศ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ
แต่ไม่ได้เรียนครับ เพราะว่าเรียน ระบบ ม. (รุ่นแรก) แต่สอบเทียบระบบ ม.ศ. (รุ่นสุดท้าย)
(กระทรวงฯ เขาว่าไม่ได้ ตลกดี) ปีต่อมาจึงสอบเข้าเรียนวิศวกรรมศาสตร์แทน
จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง และยังเป็นอดีตนายกสโมสร
นิสิตจุฬาฯ ครบทั้งวิชาการและกิจกรรม
http://tdri.or.th/multimedia/thinkx2-15/
ถ้าไม่มีเวลาดู VDO (Youtube) ของการนำเสนอ ดูแค่สไลด์ภาพไม่กี่ภาพ
ข้างล่างก็พอจะรู้แล้วครับว่าอะไรคืออะไร ข้อเท็จจริงคืออะไร
(หมายเหตุ ที่จริงนึกว่า มาโพสใน ThaiVI จะออกไปในแนวธุรกิจ เพราะมี
บมจ. ที่ทำเกี่ยวกับสอนพิเศษกวดวิชา เหมือนกัน)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 158
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 20
ขอแชร์มุมมองส่วนตัวนะครับ พอดีก่อนหน้านี้ผมรับจ๊อบสอนพิเศษอยู่พอดี เท่าที่สอนมาและคุยกับกลุ่มติวเตอร์ด้วยกันรู้สึกว่าเด็ก ร.ร.อินเตอร์ จะเก่งกว่าเด็กทั่วไปเฉพาะเรื่องภาษาอย่างเดียวครับ แต่ว่าความรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะต่างกันค่อนข้างมาก อย่างที่ผมเคยสอนฟิสิกส์หลักสูตร igcse เนื้อหาก็จะค่อนข้างเยอะแต่จะไม่เจาะลึกเหมือนจะตั้งใจแค่ให้เห็นว่ามันมีอะไรบ้าง แตกต่างกับฟิสิกส์ของไทยในระดับ ม.ปลายที่เรียนแต่ละเรื่องก็จะเจาะเข้าไปในเรื่องนั้นอย่างจริงจังคำนวณโดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดที่เรียนในระดับนั้น ฉะนั้นถ้าถ้านำมาวัดกันตอนสอบเข้ามหาลัยรัฐโดยทั่วไปเด็ก ร.ร.รัฐบาลจะได้เปรียบมากกว่าครับwyn เขียน:ส่งลูกเรียนอินเตอร์ช่วยได้ไหมครับ
คำแนะนำในการเลือก ร.ร. ผมก็เลยอยากแนะนำเป็น ร.ร.รัฐบาล ที่มีชื่อเสียงมากกว่า ร.ร. อินเตอร์ ครับ
ขอกลับมาที่เรื่องกวดวิชา
ผมขอเสนอทางเลือกอื่นนอกจากการส่งลูกไปเรียนกวดวิชาให้สำหรับพี่ๆ จะได้เอาไปให้ลูกลองศึกษาดูด้วยตัวเองนะครับ
1. http://www.clipvidva.com/
จะมีสอนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ในระดับ ม.ปลาย สอนโดยน้องๆ จากวิศว ฬ ทำออกมาได้ค่อนข้างดีเลยครับถ้าดูและฝึกฝนตามก็พอเพียงที่จะใช้สอบเข้ามหาลัยต่อได้
2.http://krookook.com/index.php/home/8-Broadcast.html
อันนี้เป็นวิชาเคมีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 21
> หลักสูตร igcse
เทียบเท่า ม.4 ประเทศไทยนะครับ แต่ คณะอินเตอร์ฯ มหาลัยต่างๆ ในไทย กลับให้
เข้าเรียนได้ ของอังกฤษ ต้อง A-Level นะครับถึงจะเข้าเรียน มหาลัยได้
ดังนั้นมี ผู้ปกครองจำนวนมาก ส่งลูกไปเรียนเพื่อสอบ GCSE ให้ได้ แล้วกลับมาเรียน
ป.ตรี ภาคอินเตอร์ ที่ไทย ประหยัดเวลาไปได้สองปี
เทียบเท่า ม.4 ประเทศไทยนะครับ แต่ คณะอินเตอร์ฯ มหาลัยต่างๆ ในไทย กลับให้
เข้าเรียนได้ ของอังกฤษ ต้อง A-Level นะครับถึงจะเข้าเรียน มหาลัยได้
ดังนั้นมี ผู้ปกครองจำนวนมาก ส่งลูกไปเรียนเพื่อสอบ GCSE ให้ได้ แล้วกลับมาเรียน
ป.ตรี ภาคอินเตอร์ ที่ไทย ประหยัดเวลาไปได้สองปี
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 23
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! ศธ.แจ้งสรรพากรเก็บภาษีโรงเรียนเถื่อน- “รีด” ค่าเรียนแพงเวอร์ (ตอนที่ 2)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2556 21:27 น.
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย ตอนที่ 2 จะเป็นภาพสะท้อนระบบการศึกษาไทยและอนาคตธุรกิจกวดวิชาได้เป็นอย่างดี โดย นายธีระพันธ์ พุทธิสวัสดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้กำกับ ดูแล โรงเรียนกวดวิชา เปิดใจกับทีม Special Scoop ยอมรับว่าการกวดวิชามีทั้งข้อดี-เสีย แต่ยังเป็นธุรกิจที่จำเป็นโดยเฉพาะกวดวิชาแบบ on demand-ออนไลน์ จะได้รับความนิยมมากขึ้น เตรียมแจ้งสรรพากรเก็บภาษีสถานกวดวิชาเถื่อนทั่วประเทศ แจงพวก “รีด” ค่าเรียนแพงๆ แนะผู้ปกครองแจ้ง สช.จัดการ
กฎใหม่คุมเข้มสถานกวดวิชาเกิดใหม่
การจัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา เราจะมีระเบียบกำหนดมาตรฐานของครูผู้สอน และกำหนดในเรื่องของขนาดห้อง ความจุ วิธีการสอน มีการสอนสด สอนผ่านทีวี และสอนโดยผ่านคอมพิวเตอร์ และจะมีวิธีกำหนดรอบ ซึ่งเรามีฐานความคิดเรื่องค่าธรรมเนียมการศึกษา มีสูตรที่เป็นอัตราในการคิดว่ามีการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร บวกผลตอบแทนเท่าไร ซึ่งเราล้อตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ที่มีข้อกำหนดไว้ว่า ในมาตรา 32 ให้ค่าตอบแทนเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดซึ่งเป็นในระบบ เราก็เลยเอามาล้อกับนอกระบบว่าให้บวกผลตอบแทนจากต้นทุนได้ไม่เกิน 20% จากฐานวิธีคิดได้แก่ เขาคิดค่าเช่าเท่าไร ค่าอุปกรณ์เท่าไร ซึ่งเราใช้วิธีคิดตามระบบบัญชีทั่วไปคือมีค่าเสื่อมบวกค่าลงทุน และเอามาเฉลี่ยหารด้วยจำนวนนักเรียน และเมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยต้นทุนแล้ว ก็มาคิดค่าบริการที่เมื่อคิดต่อหัวแล้วไม่เกิน 20% ของต้นทุน
อย่างไรก็ดี ตามกฎกระทรวงใหม่คือกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. 2555 ระบุว่าอาคารที่จะมาใช้เปิดเป็นโรงเรียนกวดวิชานั้นต้องเป็นอาคารวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ดังนั้นใครมีอาคารที่อยู่อาศัยแต่จะเปิดเป็นโรงเรียนกวดวิชานั้น ไม่สามารถทำได้แล้ว จะต้องเป็นอาคารที่เปิดโดยวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาด้วย แต่อาคารที่ขอเปิดเพื่อทำที่อยู่อาศัยที่มีแต่เดิม ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ไข คือสามารถไปขอเทศบาล หรือใน กทม.ก็ไปขอตามเขตต่างๆ ว่าจะขอเพิ่มวัตถุประสงค์ของอาคารเป็นอาคารเพื่อการศึกษาก็ได้เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมองว่าเป็นการเพิ่มความยุ่งยาก แต่ก็เป็นเรื่องความปลอดภัยในความมั่นคงด้านอาคารที่จะมีผลกระทบต่อเด็ก ก็ต้องให้ความสำคัญ โดยก่อนอนุญาตเจ้าหน้าที่จะมีการไปดูสถานที่ว่ามีความพร้อมหรือไม่ ทั้งเรื่องขนาดห้อง ห้องน้ำ ที่ให้เด็กพักผ่อน ฯลฯ ถ้าผ่านถึงอนุญาตให้จัดตั้ง
“คิดว่าอาจจะมีคนร้องเรียนเพราะความยุ่งยากเรื่องอาคาร เพราะมีคนที่มีอาคารอยู่แล้วแล้วไม่อยากยุ่งยาก ก็เข้าใจว่าเวลาเปลี่ยนวัตถุประสงค์อาคารมันยุ่งยากจริงๆ แต่เจตนาของเรื่องนี้คือถ้าอาคารเดิมแล้วมาใช้ทำเป็นโรงเรียนกวดวิชาแล้วไม่ได้มีย้อนหลัง แต่คนที่ทำโรงเรียนกวดวิชาใหม่จะต้องทำตามกฎใหม่นี้”
สถานที่กวดวิชาเถื่อนเต็มเมือง
สำหรับจำนวนโรงเรียนกวดวิชาในปีการศึกษา 2555 ที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องนั้น มีทั้งหมด 2,005 โรงเรียน ในจำนวนนี้มีโรงเรียนกวดวิชาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ 460 โรงเรียน และตั้งที่ต่างจังหวัด 1,545 โรงเรียน แล้วก็จะมีโรงเรียนกวดวิชาในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นการสอนเฉพาะวิชาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่โรงเรียนสอนศาสนา, ศิลปะและกีฬา, วิชาชีพ และเสริมสร้างทักษะชีวิต รวมอีกประมาณ 3,216 โรงเรียน รวมโรงเรียนกวดวิชาอีก 2,005 โรงเรียน รวมตอนนี้ทั้งประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชาประเภทต่างๆ 5,221 แห่งทั่วประเทศ
มีโรงเรียนกวดวิชาอีกมากที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง แต่ทางราชการไม่ได้ไปตรวจสอบจับกุม เพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ เว้นแต่เป็นโรงเรียนกวดวิชาเถื่อน (ไม่ได้จดทะเบียนกับ สช.) แล้วยังมีการหลอกนักเรียนว่าเป็นครูจากสถาบันมีชื่อเสียง เช่น หลอกว่าใช้อาจารย์จากจุฬาฯ คิดค่าใช้จ่ายสูงเกินไป แล้วมีเด็กหรือผู้ปกครองมาร้องเรียน ก็จะมีการเข้าไปตรวจสอบดำเนินคดี เราจะปรับ แล้วภายหลังหากมีคนชื่อนี้มาขอจัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา เพราะเราถือว่าไม่มีจิตวิญญาณของคนที่ทำงานด้านการศึกษา
“บางโรงเรียนเคยพบว่ามีการประจานเด็ก ครูประพฤติไม่เรียบร้อย ไม่เหมาะสม เรียกว่าบกพร่องในศีลธรรมอันดี เราก็ไม่ให้ ถือว่ามีความประพฤติไม่เรียบร้อย บางเคสเราก็ถูกฟ้องกลับ ก็สู้คดีชนะ เขาฟ้องว่าไม่อนุญาตให้เขาไม่ถูกต้อง เราก็สู้ว่าคนที่จะทำธุรกิจการศึกษา ต้องมีจิตที่เป็นการกุศล ไม่ใช่ว่าไปเอาเปรียบเด็ก เราก็ชนะ โรงเรียนนั้นก็เปิดไม่ได้”
ในส่วนของโรงเรียนกวดวิชาเถื่อนนี้ ยังมีอยู่อีกมากมาย แต่บริเวณที่นิยมไปเรียนกันมากที่สุดอย่างสยามสแควร์จะไม่ค่อยพบแล้ว เพราะมีระบบการตรวจสอบจากเจ้าของที่ให้เช่าที่อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาช่วยตรวจสอบอีกทีหนึ่ง แต่ที่ตรวจสอบยากจะเป็นการสอนตามบ้านครู ที่เปิดอยู่รอบๆ โรงเรียนดัง หรือตามห้างสรรพสินค้า ที่เด็กและผู้ปกครองจะรู้กันว่าควรจะไปเรียนที่ไหน
“ใน กทม.พอจะไล่ได้ แต่ในต่างจังหวัดเป็นหน้าที่ของทางเขตพื้นที่ แต่ในบางพื้นที่ก็ลำบาก เช่นบ้านครู”
ลองไปดูที่ต่างจังหวัดมันเกิดขึ้นจากครู สพฐ.ทั้งนั้น ครูคนไหนเก่ง เด็กตามไปเอง เด็กกวดวิชาตามไปเรียน เด็กเดี๋ยวนี้ไม่ได้โง่นะ เขาเช็กแม้กระทั่งครูสอน จะไปบอกว่าอาจารย์คนนี้จากจุฬาฯ นะ เด็กไม่โง่นะ เขาไปเช็กได้หมด
ณ วันนี้ ทุกคนบอกว่ากวดวิชามันเลวมันไม่ดี ทำไมไม่บอกว่าในระบบมันเลวล่ะ ทำไมสมัยก่อนคนไม่กวดวิชา เพราะการเรียนการสอนในโรงเรียนมันเต็มที่ และครูก็ติวเด็ก มีจิตวิญญาณความเป็นครู แต่วันนี้เป็นครูเชิงพาณิชย์มากกว่า
ที่มา : สช.
สถานกวดวิชา ‘เลี่ยงบาลี’ พบติดคุก 1 ปี
การกวดวิชา ปกติแล้วก็จะเป็นการสอนตามช่วงชั้นต่างๆ ไล่มาตั้งแต่ ป.1 มา ป.6 เข้า ม.1 ม.4-5-6เพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นการสอนตามช่วงชั้น แล้วแต่ใครขออนุญาตว่าจะสอนช่วงชั้นไหน หลักสูตรไหน แต่ก็มีบ้างที่มีการเลี่ยงไปหาประโยชน์ เช่นในการเปิดคอร์สเรียนพิเศษ GAT/PAT ตามสถานที่กวดวิชานั้น ข้อเท็จจริงไม่ใช่หลักสูตร ม.ปลาย จึงถือว่าผิดกฎกระทรวง เพราะการควบคุมของเราจะคุมว่ามีการขอสอนในวิชาอะไร ระดับอะไร เช่น วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย ก็จะไปกวดวิชาอื่นที่ไม่ได้ขอไม่ได้ ต้องมาขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรการสอน เช่น สอนตามช่วงชั้นก็จะสอนภาษาไม่ได้ จะสอนครอบจักรวาลไม่ได้ ดังนั้นถ้าพบว่ามีการขอเปิดสอนช่วงชั้นไหน แล้วมีการไปเปิดสอนเพิ่มก็จะถือเป็นความผิด แต่ที่ผ่านมาหลายที่ก็ใช้วิธีเลี่ยง เช่น สอนระดับ ม.ปลาย โดยเฉพาะ Gat/Pat คือไม่ได้บอกว่าสอน Gat หรือ Pat โดยเฉพาะ บอกว่าสอน ม.ปลาย เป็นวิธีการเลี่ยงที่พบเห็นกันอยู่ในขณะนี้
“มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นคนออกข้อสอบ แล้วออกข้อสอบแบบที่เด็กไม่ได้เรียนในระดับ ม.ปลาย ตรงนี้เด็กก็เลยต้องแห่กันไปกวดวิชา ผมถามหน่อยถ้าเป็นอย่างนี้ใครเป็นคนผิด แล้วทำอย่างนี้ทำไม”
ดังนั้นหากพบว่ามีการเลี่ยงจะมีความผิด แต่เดิมโทษจับ 2,000 บาท จับไปจ่ายตังค์ เดี๋ยวก็เปิดใหม่ แต่ตอนนี้เพิ่มบทลงโทษแล้ว เป็นจับแล้วติดคุกไม่เกิน 1 ปี ก็ยังมีปัญหาการเลี่ยงบาลีอย่างที่บอกไป ทีนี้ตอนนี้เราเลยจะใช้มาตรการใหม่ คือแจ้งสรรพากรไปตรวจสอบรายได้ในโรงเรียนกวดวิชาที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้ง ก็ให้สรรพากรจับไป แต่ถ้าใครมาจดทะเบียนจัดตั้งให้ถูกต้อง ก็ไม่ต้องเสียภาษี เรื่องนี้ผู้ปกครองต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะการจดทะเบียนจัดตั้งให้ถูกต้องอย่างน้อยเราก็คุมได้เรื่องการคิดค่าการเรียนการสอนที่ต้องบวกไม่เกิน 20%
“ถ้าเป็นครู สพฐ. สพฐ.ก็ต้องตามเอาผิดทางวินัย แต่ผมพูดตรงๆ นะ มันตรวจสอบยาก เพราะบ้านก็สอนได้ และบางทีไปสอนในเคเอฟซี เยอะแยะไปหมด ตรงนี้ถ้ามันเหลืออดจริงๆ ถ้ามันดื้อด้านมากๆ เราใช้วิธีแจ้งสรรพากร เราจะแจ้งว่าโรงเรียนที่ถูกต้องของเรามีโรงเรียนนี้ๆ ถ้าไม่ถูกต้องให้ไปตรวจภาษีเลย เราทำอยู่แล้วตอนนี้”
ไล่เถื่อนไม่ได้ เราก็ประกาศของถูกต้อง ต่อไปจะประกาศเลยว่าโรงเรียนไหนถูกต้อง มีชื่อไหนบ้าง ที่เหลือก็ให้ผู้ปกครองตรวจสอบ
พวกโรงเรียนเถื่อนจะคิดค่าการเรียนการสอนที่แพงมาก คือเราก็ต้องตระหนักว่าการทำธุรกิจการศึกษาอย่าไปคิดแพงมาก อย่าทำแต่ในเชิงพาณิชย์ กำไรทางเศรษฐกิจไม่ใช่ว่าลงทุนวันนี้จะได้กำไรคืนวันหน้า ต้องค่อยๆ น้ำซึมบ่อทรายไป วันหนึ่งก็คุ้มทุน และควรทำกำไรในเชิงสังคมให้มากกว่า แต่ก็นั่นแหละมีคนบางส่วนคิดกำไรทางเศรษฐกิจอย่างเดียว สังคมไทยมันเป็นอย่างนี้
“หลอกลวงกันเยอะ สช.ประกาศให้ทราบว่า โรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพฯ ถ้าเจอที่ไหนเถื่อนให้แจ้งเรามา ที่เบอร์นี้ๆ ตรงนี้ถึงไปจับได้ เพราะถ้าไปตรวจเองไม่ค่อยเจอ แต่ผู้ปกครองก็ไม่ค่อยกล้าแจ้ง กลัวลูกไม่ได้เรียน ต่อไปนี้ขอให้แจ้งมาที่ สช.ได้เลย”
แม้กระทั่งโรงเรียนกวดวิชาที่ดี แต่ผิดกฎหมายก็ต้องแจ้ง เพราะเขาคิดราคาแพงมาก ไม่มีใครควบคุมเขาได้ เช่น คอร์สเข้ามหาวิทยาลัยราคา 50,000 บาท เป็นราคาที่สูงเกินไป ต้องแจ้ง เพราะโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ไม่ต้องเสียภาษี เมื่อมีคนแจ้ง สช.มา สช.ก็จะใช้มาตรการโดยการไปแจ้งสรรพากรเข้าไปตรวจสอบ
ธุรกิจกวดวิชาฟันกำไรเนื้อๆ
เด็กกวดวิชาตอนนี้มีประมาณ 4 แสนกว่าคน คิดต่ำสุดก็คิดว่ามีค่าใช้จ่ายคนละ 1,000 บาท วงเงินในธุรกิจกวดวิชาอย่างน้อยที่สุดตอนนี้คือ 400 ล้านบาท แต่ถ้าคิดว่าใช้จ่ายอย่างต่ำคนละ 5,000 บาท ก็ 2,000 ล้านบาท ตรงนี้คิดกำไรแค่ 10% ก็ 200 ล้านบาทเข้าไปแล้ว ส่วนใครจะกำไรเท่าไรก็แล้วแต่ต้นทุนของแต่ละโรงเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลดีก็ค่าเช่าสูง ต้นทุนค่อนข้างแพง
ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะระบบการศึกษาไทยเป็นการศึกษาเพื่อกระดาษ ต้องยอมรับในจุดนี้ก่อน จึงทำให้เด็กส่วนใหญ่มุ่งที่จะเรียนระดับปริญญาตรีเพื่อใบปริญญาบัตร
“ทุกวันนี้ ระบบโรงเรียนเรา กลัวเด็กสอบตก กลัวเด็กถูกตี จะไล่เด็กออกก็ไม่ได้ ในโรงเรียนจะเรียนไม่เรียนก็ช่างมัน ล้มเหลวทั้งระบบ แต่ถ้าปฏิรูปการศึกษาแล้วก็เชื่อว่ากวดวิชาจะน้อยลง”
แต่ก็ใช่ว่าการกวดวิชาจะไม่มีข้อดี การกวดวิชามีข้อดี คือช่วยดูแลลูกหลานให้เวลาที่พ่อแม่ไม่ว่าง และดีสำหรับเด็กที่เรียนอ่อนในโรงเรียน เพื่อมาเสริมความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น
“สำหรับผมแล้ว ผมไม่คิดว่ากวดวิชาไม่มีดี ไม่มีเลว แล้วแต่คนจะมอง ผู้ปกครองวันนี้เขาก็มองว่าถ้าไม่มีกวดวิชา ลูกฉันสอบเข้าไม่ได้ ก็โทษเขาไม่ได้ ถ้าระบบการศึกษาไม่ได้เปิดโอกาสให้เขา ก็ทำไม่ได้”
ที่สำคัญ คนที่จะมาเป็นครูโรงเรียนกวดวิชา ก็ต้องมีพรสวรรค์ในการอธิบาย หรือคิดเทคนิคการทำข้อสอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น นพ.ประกิตเผ่า, ครูลิลลี่, ครูอุ๊ ฯลฯ มองว่าน่าเสียดายที่ระบบการศึกษาไม่ได้ใช้คนเหล่านี้
“ในระบบมีแต่การบ้าตำแหน่ง แข่งขันกันให้ตำแหน่งสูงขึ้น แต่ไม่ได้พัฒนาเทคนิคการสอน คนที่สอนเก่งๆ ก็เข้าระบบมาสอนไม่ได้”
สช.คุมหลักสูตรไม่ได้คุมแฟรนไชส์กวดวิชา
นอกจากนี้บรรดาสถาบันกวดวิชาหลายแห่งมีการเปิดขายแฟรนไชส์การศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ยอมรับว่าไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการเปิดแฟรนไชส์ แต่ก็นั่นแหละ อาจจะเป็นเพราะเด็กต่างจังหวัดต้องนั่งรถบัสมาเรียนในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ เลยต้องมีการขยายสาขาออกไป แต่ข้อเท็จจริงการทำแฟรนไชส์ไม่ได้ทำง่ายๆ เพราะจุดเด่นของโรงเรียนกวดวิชาคือทำอย่างไรให้เด็กอยากมาเรียน และทำอย่างไรให้เด็กตอบข้อสอบให้เร็วที่สุด เพราะการเรียนกวดวิชาคือการสอนเทคนิคการทำข้อสอบให้เร็วที่สุด
“ระบบการศึกษาของเราเป็นระบบการศึกษาที่เน้นให้เด็กต้องแข่งขันสูงมาก ระบบการศึกษาของเราไปสร้างเงื่อนไข กลายเป็นการผลักดันให้เด็กไปเรียนกวดวิชา ดังนั้นโรงเรียนกวดวิชาจึงอยู่ได้ ระบบการศึกษาในระบบมันแย่ สมัยก่อนทำไมเด็กไม่ต้องกวดวิชา เพราะในระบบโรงเรียนครูสอนเต็มที่ มีการติวเสริมหลังเลิกเรียนให้เด็กด้วยซ้ำ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี”
ในการขายแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้จัดการเรียนการสอน เป็นการขายเทคนิคการเรียนการสอน สช.จะคุมเฉพาะที่ดำเนินการสอนเท่านั้น
“ต้องพูดให้ถูกนะการขายแฟรนไชส์ มันเป็นการขายแท็กติก คือสอนว่าจะทำข้อสอบอย่างไร ไม่ใช่หลักสูตรการสอน พวกทำคลังข้อสอบ ถ้าคุณเปิดโรงเรียนกวดวิชาคุณต้องไปหาคลังข้อสอบ แต่นี่มันมีอยู่แล้ว ขายแค่แท็กติก คือเมื่อเราขายแฟรนไชส์ไปให้นาย ก.แล้ว สช.ก็จะไปดูเรื่องของการจัดสถานที่ถูกต้องไหม มีความพร้อมตามกฎหมายไหม ความปลอดภัยในความมั่นคงเป็นอย่างไร แล้วการคิดค่าธรรมเนียมเป็นอย่างไร พออนุญาตกวดวิชาแล้วก็ต้องสอนแค่อนุญาตตรงนี้ สช.คุมด้วย เช่นเปิดหลักสูตรสอนภาษาต่างประเทศ แต่จะไปเปิดเพิ่มสอนวิชาภาษาไทยให้ต่างชาติ อย่างนี้ก็ไม่ได้
แต่มาตรฐานการสอนเราไม่ต้องคุมมาก เพราะใครไปเรียนแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ไม่มีคนมาเรียนอีก ก็เจ๊งเอง
ภาพ: คลิปการเรียนการสอนของอ.อุ๊ อาจารย์กวดวิชาเคมีชื่อดัง
กวดวิชาหน้าใหม่คิดใช้แฟรนไชส์การศึกษาไม่ง่าย
สำหรับนักธุรกิจรายใหม่ที่คิดจะโดดเข้าไปสู่ธุรกิจนี้ เพราะหวังรวยนั้น รองเลขาฯ สช.บอกว่า การทำธุรกิจกวดวิชาไม่ใช่ว่าใครทำแล้วจะรวย ต้องมีเทคนิค และกลยุทธ์การสอนที่มันได้ผล ดังนั้น การซื้อแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงไป ก็เป็นเพียงการซื้อในส่วนของการจ้างคนมาบริหารจัดการ
“การทำการตลาดที่สำคัญคือการดึงดูดให้คนมาเรียนให้ได้ เป็นสิ่งที่ต้องทำเอง ถ้าไม่มีคนเรียนก็เจ๊ง ยิ่งในต่างจังหวัดถ้าซื้อแฟรนไชส์ไปอาจจะยิ่งยาก เพราะในต่างจังหวัดส่วนใหญ่คนที่เปิดโรงเรียนกวดวิชาคือครูของ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ที่เด็กในระบบโรงเรียนจะรู้อยู่แล้วว่าครูคนไหนเก่ง เด็กก็จะแห่ตามกันไปเรียน เด็กเดี๋ยวนี้ไม่โง่ เขาเช็กแล้วใครเก่ง ไม่เก่ง ถ้าเราไม่รู้เรื่องการสอนเลย แล้วคิดว่าการซื้อแฟรนไชส์ของอาจารย์ดังๆ ไปอย่างเดียว ก็สำเร็จได้ รวยได้ เป็นเรื่องไม่จริง จะต้องใช้ความสามารถของตัวเองด้วย”
อย่าลืมว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่มีหลักสูตรเฉพาะ คนขายแฟรนไชส์เลยจะขายแค่เทคนิคการจัดการ คนส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองอยากง่าย เหมือนชาย 4 บะหมี่เกี๊ยว แต่ถ้าใครๆ ก็ตั้งได้ มาตรฐานอาจจะเป็นเรื่องยาก
“ผมถามคำเดียว ถ้าคุณทำโรงเรียนกวดวิชา เป็นผู้คิดค้นเทคนิคการสอนจนสำเร็จ เวลาคุณขายแฟรนไชส์คุณจะยกองค์ความรู้ให้คนซื้อทั้งหมดไหม มันเป็นไปไม่ได้ เขาให้แค่ส่วนเดียว คุณต้องมีความเป็นครูด้วย ต้องสอนเองได้ด้วยเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ตรงนี้ความเสี่ยงจะน้อยหน่อย”
นอกจากนี้การขอขึ้นค่าแฟรนไชส์ยังเป็นความเสี่ยงที่คนซื้ออาจจะประสบได้ เหมือนร้านขายอาหาร คุณขายดี ปีต่อไปเขาขอขึ้นค่าแฟรนไชส์ ก็ต้องยอม ดังนั้นคนที่ไม่รู้ ไม่มีความสามารถด้านนี้โดยตรง ไม่มีศักยภาพโดยตรงก็มีความเสี่ยงสูงมาก และที่เหนื่อยกว่านั้นคือต้องคิดพลิกแพลงวิธีการดึงคนมาเรียนอยู่ตลอด จึงไม่ใช่ของง่าย
“ผมเชื่อนะ ว่าการทำโรงเรียนกวดวิชาหนึ่งขึ้นมาจนประสบความสำเร็จได้ นอกจากเงินลงทุนแล้ว ยังมีต้นทุนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เทคนิคการเรียนการสอนไปตรงกับข้อสอบของมหาวิทยาลัยพอดี มันมีต้นทุนนะ ผมขอไม่พูดว่ายังไง แต่มันมีวิธีการของมัน ดังนั้นคนที่ทำโรงเรียนกวดวิชาไม่ใช่ว่าเปิดไปก่อน เดี๋ยวรวยเอง ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะรวยง่ายๆ ต้องฟิตอยู่เรื่อย ไม่ฟิตก็ตกหลังเสือ”
นอกจากนี้ คนที่สอนเก่ง พอทำแบบแฟรนไชส์อาจจะไม่เก่งเลยก็ได้ ต้องคิดด้วยว่าจะรอดไหม
“แล้วกว่าจะรวยต้องล้มลุกคลุกคลานมาก ต้องพัฒนาการสอนไปตามศักยภาพของเด็ก และต้องปรับตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดให้ทัน อย่างวันนี้มีการสอบ Gat Pat ก็คนละเรื่องกับการเรียนกวดวิชาสมัยก่อน และคนละเรื่องกับหลักสูตรที่ในโรงเรียนสอน เพราะมหาวิทยาลัยเป็นคนออกข้อสอบที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนในระดับ ม.ปลาย เป็นข้อสอบวิเคราะห์ สังเคราะห์ เด็กในระบบการศึกษาทำไม่เป็น ก็ต้องไปเรียนกวดวิชา โรงเรียนกวดวิชาก็ต้องปรับให้เป็นการสอนแบบวิเคราะห์ สังเคราะห์ จุดอ่อนของระบบการศึกษาไทยอยู่ตรงไหน ก็เป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชา แต่ก็ต้องปรับตัว ใครไม่ปรับตัวก็ตามคนที่ปรับตัวไม่ทัน ธุรกิจก็ไม่รอด”
เช่น ธุรกิจกวดวิชาที่ทำแบบที่เรียกว่า on demand ในขณะนี้ ใช้การเรียนการสอนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เด็กสามารถย้อนกลับไปเรียนตอนที่ไม่เข้าใจได้ใหม่ ตรงนี้ก็เป็นรูปแบบการเรียนกวดวิชาใหม่ที่เด็กชอบ
อนาคตธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา
ดังนั้นการกวดวิชาแบบออนไลน์ จะเป็นการกวดวิชาที่มีความนิยมอย่างมากในอนาคต แต่ก็ยอมรับว่าในระเบียบการควบคุมยังไม่มีประเภทการศึกษาออนไลน์ ซึ่งมองว่าอนาคตถ้ามีการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 แล้ว ธุรกิจนี้จะได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะการกวดวิชาที่เป็นลักษณะทักษะวิชาชีพ อย่างการเรียนทำอาหารไทย เป็นต้น
ความจริงการกวดวิชาก็มีส่วนที่ดี ในเมื่อระบบการศึกษาไทยยังมีปัญหา อย่างเช่นตอนนี้ทางคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนก็มีการทำโครงการโดยขอให้โรงเรียนกวดวิชาดังๆ ไปติวการสอนให้ครูที่อยู่ในภาคใต้ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยนายกสมาคมโรงเรียนกวดวิชาได้รับอาสาไปสอนให้ ในวันที่ 15 ก.ย.นี้ โดยจะไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
“ในเมื่อครูเหล่านี้เขาสอนเก่ง เรายังแก้ปัญหาระบบการศึกษาไทยเรายังไม่ได้ ก็ให้ครูกวดวิชาที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ไปถ่ายทอดเทคนิคการสอนให้ครูแทน เช่นการสอนกระตุ้นให้เด็กสนใจทำอย่างไร ทำอย่างไรให้เด็กสนใจเนื้อหาบทเรียนจนจบ ไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยได้ระดับหนึ่ง ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มจากภาคใต้ก่อน”
ปฏิรูปการศึกษาลดกวดวิชา
อย่างไรก็ดี แนวโน้มโรงเรียนกวดวิชาจะมีน้อยลงได้เช่นกัน หากมีการปฏิรูปการศึกษาแล้ว โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นทักษะการนำวิชาไปใช้ในการทำงาน
“รู้ไหมว่าบริษัทต่างๆ เดี๋ยวนี้เขาต้องการภาคปฏิบัติ ไม่ได้ต้องการปริญญา หลายที่ประกาศรับแต่ปวช. ปวส. และต่อไปยิ่งน่ากลัวเพราะเมื่อเปิด AEC ภาคแรงงานจะต้องการคนภาคปฏิบัติ ต่อไปคนไทยจะเป็นลูกน้องคนในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะระบบการศึกษาเขาสอนให้เขาเรียนรู้ทักษะ และคนเหล่านี้เรียนจนเก่ง หลายคนได้ทุนการศึกษา แต่บ้านเราเด็กเป็นแบบคาบช้อนเงินช้อนทองมา ไม่เคยลำบาก”
โดยปฏิรูปการศึกษาที่ต้องเกิดขึ้นคือต้องเน้นให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น สังเคราะห์เป็น เป็นคนหนักเอาเบาสู้ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น ตรงต่อเวลา และมีความสุข อย่างงานต่ำต้อยก็ต้องสอนเขา ไม่ให้เขารู้สึกว่าเป็นงานต่ำต้อย
“เดิมเราสอนมีทักษะอาชีพนะ ใครวาดรูปเก่งก็ไปเรียนเพาะช่าง เดี๋ยวนี้ลดน้อยลงแล้ว วันนี้ ป.ตรีๆๆ อย่างเดียว เวลานี้เลยขาดคนเรียนอาชีวะมหาศาล”
การศึกษาไทยจึงต้องปฏิรูป ให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น สังเคราะห์เป็น ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยเอกชนเริ่มปรับตัวแล้ว ด้วยการตั้งหลักสูตรใหม่ ให้เด็กที่เรียนจบ ป.ตรี ไปแล้ว มาเรียนในหลักสูตร ปวช. ปวส.ได้ เพราะในระบบแรงงานในประเทศไทย บริษัทใหญ่ๆ ต้องการคนที่มีทักษะวิชาชีพซึ่งตอบโจทย์สังคมไทยมากกว่า
ตรงนี้เป็นจุดที่น่าจับตามอง ว่าเอกชนกำลังทำให้การศึกษาตอบรับกับภาคแรงงาน ถ้าสำเร็จ ก็เรียกว่ามีการปฏิรูปการศึกษาไประดับหนึ่ง เรื่องกวดวิชาก็จะค่อยๆ ลดลงได้ เพราะต่อไปมันไม่จำเป็นต้องกวดวิชา
ดังนั้น ใครที่คิดจะมาทำธุรกิจกวดวิชาวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องปรับกลยุทธ์ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน
http://www.manager.co.th/Lite/ViewNews. ... 0000116931
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2556 21:27 น.
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย ตอนที่ 2 จะเป็นภาพสะท้อนระบบการศึกษาไทยและอนาคตธุรกิจกวดวิชาได้เป็นอย่างดี โดย นายธีระพันธ์ พุทธิสวัสดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้กำกับ ดูแล โรงเรียนกวดวิชา เปิดใจกับทีม Special Scoop ยอมรับว่าการกวดวิชามีทั้งข้อดี-เสีย แต่ยังเป็นธุรกิจที่จำเป็นโดยเฉพาะกวดวิชาแบบ on demand-ออนไลน์ จะได้รับความนิยมมากขึ้น เตรียมแจ้งสรรพากรเก็บภาษีสถานกวดวิชาเถื่อนทั่วประเทศ แจงพวก “รีด” ค่าเรียนแพงๆ แนะผู้ปกครองแจ้ง สช.จัดการ
กฎใหม่คุมเข้มสถานกวดวิชาเกิดใหม่
การจัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา เราจะมีระเบียบกำหนดมาตรฐานของครูผู้สอน และกำหนดในเรื่องของขนาดห้อง ความจุ วิธีการสอน มีการสอนสด สอนผ่านทีวี และสอนโดยผ่านคอมพิวเตอร์ และจะมีวิธีกำหนดรอบ ซึ่งเรามีฐานความคิดเรื่องค่าธรรมเนียมการศึกษา มีสูตรที่เป็นอัตราในการคิดว่ามีการคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร บวกผลตอบแทนเท่าไร ซึ่งเราล้อตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ที่มีข้อกำหนดไว้ว่า ในมาตรา 32 ให้ค่าตอบแทนเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดซึ่งเป็นในระบบ เราก็เลยเอามาล้อกับนอกระบบว่าให้บวกผลตอบแทนจากต้นทุนได้ไม่เกิน 20% จากฐานวิธีคิดได้แก่ เขาคิดค่าเช่าเท่าไร ค่าอุปกรณ์เท่าไร ซึ่งเราใช้วิธีคิดตามระบบบัญชีทั่วไปคือมีค่าเสื่อมบวกค่าลงทุน และเอามาเฉลี่ยหารด้วยจำนวนนักเรียน และเมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยต้นทุนแล้ว ก็มาคิดค่าบริการที่เมื่อคิดต่อหัวแล้วไม่เกิน 20% ของต้นทุน
อย่างไรก็ดี ตามกฎกระทรวงใหม่คือกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนนอกระบบ พ.ศ. 2555 ระบุว่าอาคารที่จะมาใช้เปิดเป็นโรงเรียนกวดวิชานั้นต้องเป็นอาคารวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ ดังนั้นใครมีอาคารที่อยู่อาศัยแต่จะเปิดเป็นโรงเรียนกวดวิชานั้น ไม่สามารถทำได้แล้ว จะต้องเป็นอาคารที่เปิดโดยวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาด้วย แต่อาคารที่ขอเปิดเพื่อทำที่อยู่อาศัยที่มีแต่เดิม ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ไข คือสามารถไปขอเทศบาล หรือใน กทม.ก็ไปขอตามเขตต่างๆ ว่าจะขอเพิ่มวัตถุประสงค์ของอาคารเป็นอาคารเพื่อการศึกษาก็ได้เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมองว่าเป็นการเพิ่มความยุ่งยาก แต่ก็เป็นเรื่องความปลอดภัยในความมั่นคงด้านอาคารที่จะมีผลกระทบต่อเด็ก ก็ต้องให้ความสำคัญ โดยก่อนอนุญาตเจ้าหน้าที่จะมีการไปดูสถานที่ว่ามีความพร้อมหรือไม่ ทั้งเรื่องขนาดห้อง ห้องน้ำ ที่ให้เด็กพักผ่อน ฯลฯ ถ้าผ่านถึงอนุญาตให้จัดตั้ง
“คิดว่าอาจจะมีคนร้องเรียนเพราะความยุ่งยากเรื่องอาคาร เพราะมีคนที่มีอาคารอยู่แล้วแล้วไม่อยากยุ่งยาก ก็เข้าใจว่าเวลาเปลี่ยนวัตถุประสงค์อาคารมันยุ่งยากจริงๆ แต่เจตนาของเรื่องนี้คือถ้าอาคารเดิมแล้วมาใช้ทำเป็นโรงเรียนกวดวิชาแล้วไม่ได้มีย้อนหลัง แต่คนที่ทำโรงเรียนกวดวิชาใหม่จะต้องทำตามกฎใหม่นี้”
สถานที่กวดวิชาเถื่อนเต็มเมือง
สำหรับจำนวนโรงเรียนกวดวิชาในปีการศึกษา 2555 ที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องนั้น มีทั้งหมด 2,005 โรงเรียน ในจำนวนนี้มีโรงเรียนกวดวิชาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ 460 โรงเรียน และตั้งที่ต่างจังหวัด 1,545 โรงเรียน แล้วก็จะมีโรงเรียนกวดวิชาในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นการสอนเฉพาะวิชาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่โรงเรียนสอนศาสนา, ศิลปะและกีฬา, วิชาชีพ และเสริมสร้างทักษะชีวิต รวมอีกประมาณ 3,216 โรงเรียน รวมโรงเรียนกวดวิชาอีก 2,005 โรงเรียน รวมตอนนี้ทั้งประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชาประเภทต่างๆ 5,221 แห่งทั่วประเทศ
มีโรงเรียนกวดวิชาอีกมากที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง แต่ทางราชการไม่ได้ไปตรวจสอบจับกุม เพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ เว้นแต่เป็นโรงเรียนกวดวิชาเถื่อน (ไม่ได้จดทะเบียนกับ สช.) แล้วยังมีการหลอกนักเรียนว่าเป็นครูจากสถาบันมีชื่อเสียง เช่น หลอกว่าใช้อาจารย์จากจุฬาฯ คิดค่าใช้จ่ายสูงเกินไป แล้วมีเด็กหรือผู้ปกครองมาร้องเรียน ก็จะมีการเข้าไปตรวจสอบดำเนินคดี เราจะปรับ แล้วภายหลังหากมีคนชื่อนี้มาขอจัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา เพราะเราถือว่าไม่มีจิตวิญญาณของคนที่ทำงานด้านการศึกษา
“บางโรงเรียนเคยพบว่ามีการประจานเด็ก ครูประพฤติไม่เรียบร้อย ไม่เหมาะสม เรียกว่าบกพร่องในศีลธรรมอันดี เราก็ไม่ให้ ถือว่ามีความประพฤติไม่เรียบร้อย บางเคสเราก็ถูกฟ้องกลับ ก็สู้คดีชนะ เขาฟ้องว่าไม่อนุญาตให้เขาไม่ถูกต้อง เราก็สู้ว่าคนที่จะทำธุรกิจการศึกษา ต้องมีจิตที่เป็นการกุศล ไม่ใช่ว่าไปเอาเปรียบเด็ก เราก็ชนะ โรงเรียนนั้นก็เปิดไม่ได้”
ในส่วนของโรงเรียนกวดวิชาเถื่อนนี้ ยังมีอยู่อีกมากมาย แต่บริเวณที่นิยมไปเรียนกันมากที่สุดอย่างสยามสแควร์จะไม่ค่อยพบแล้ว เพราะมีระบบการตรวจสอบจากเจ้าของที่ให้เช่าที่อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาช่วยตรวจสอบอีกทีหนึ่ง แต่ที่ตรวจสอบยากจะเป็นการสอนตามบ้านครู ที่เปิดอยู่รอบๆ โรงเรียนดัง หรือตามห้างสรรพสินค้า ที่เด็กและผู้ปกครองจะรู้กันว่าควรจะไปเรียนที่ไหน
“ใน กทม.พอจะไล่ได้ แต่ในต่างจังหวัดเป็นหน้าที่ของทางเขตพื้นที่ แต่ในบางพื้นที่ก็ลำบาก เช่นบ้านครู”
ลองไปดูที่ต่างจังหวัดมันเกิดขึ้นจากครู สพฐ.ทั้งนั้น ครูคนไหนเก่ง เด็กตามไปเอง เด็กกวดวิชาตามไปเรียน เด็กเดี๋ยวนี้ไม่ได้โง่นะ เขาเช็กแม้กระทั่งครูสอน จะไปบอกว่าอาจารย์คนนี้จากจุฬาฯ นะ เด็กไม่โง่นะ เขาไปเช็กได้หมด
ณ วันนี้ ทุกคนบอกว่ากวดวิชามันเลวมันไม่ดี ทำไมไม่บอกว่าในระบบมันเลวล่ะ ทำไมสมัยก่อนคนไม่กวดวิชา เพราะการเรียนการสอนในโรงเรียนมันเต็มที่ และครูก็ติวเด็ก มีจิตวิญญาณความเป็นครู แต่วันนี้เป็นครูเชิงพาณิชย์มากกว่า
ที่มา : สช.
สถานกวดวิชา ‘เลี่ยงบาลี’ พบติดคุก 1 ปี
การกวดวิชา ปกติแล้วก็จะเป็นการสอนตามช่วงชั้นต่างๆ ไล่มาตั้งแต่ ป.1 มา ป.6 เข้า ม.1 ม.4-5-6เพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นการสอนตามช่วงชั้น แล้วแต่ใครขออนุญาตว่าจะสอนช่วงชั้นไหน หลักสูตรไหน แต่ก็มีบ้างที่มีการเลี่ยงไปหาประโยชน์ เช่นในการเปิดคอร์สเรียนพิเศษ GAT/PAT ตามสถานที่กวดวิชานั้น ข้อเท็จจริงไม่ใช่หลักสูตร ม.ปลาย จึงถือว่าผิดกฎกระทรวง เพราะการควบคุมของเราจะคุมว่ามีการขอสอนในวิชาอะไร ระดับอะไร เช่น วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย ก็จะไปกวดวิชาอื่นที่ไม่ได้ขอไม่ได้ ต้องมาขออนุญาตเพิ่มหลักสูตรการสอน เช่น สอนตามช่วงชั้นก็จะสอนภาษาไม่ได้ จะสอนครอบจักรวาลไม่ได้ ดังนั้นถ้าพบว่ามีการขอเปิดสอนช่วงชั้นไหน แล้วมีการไปเปิดสอนเพิ่มก็จะถือเป็นความผิด แต่ที่ผ่านมาหลายที่ก็ใช้วิธีเลี่ยง เช่น สอนระดับ ม.ปลาย โดยเฉพาะ Gat/Pat คือไม่ได้บอกว่าสอน Gat หรือ Pat โดยเฉพาะ บอกว่าสอน ม.ปลาย เป็นวิธีการเลี่ยงที่พบเห็นกันอยู่ในขณะนี้
“มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นคนออกข้อสอบ แล้วออกข้อสอบแบบที่เด็กไม่ได้เรียนในระดับ ม.ปลาย ตรงนี้เด็กก็เลยต้องแห่กันไปกวดวิชา ผมถามหน่อยถ้าเป็นอย่างนี้ใครเป็นคนผิด แล้วทำอย่างนี้ทำไม”
ดังนั้นหากพบว่ามีการเลี่ยงจะมีความผิด แต่เดิมโทษจับ 2,000 บาท จับไปจ่ายตังค์ เดี๋ยวก็เปิดใหม่ แต่ตอนนี้เพิ่มบทลงโทษแล้ว เป็นจับแล้วติดคุกไม่เกิน 1 ปี ก็ยังมีปัญหาการเลี่ยงบาลีอย่างที่บอกไป ทีนี้ตอนนี้เราเลยจะใช้มาตรการใหม่ คือแจ้งสรรพากรไปตรวจสอบรายได้ในโรงเรียนกวดวิชาที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้ง ก็ให้สรรพากรจับไป แต่ถ้าใครมาจดทะเบียนจัดตั้งให้ถูกต้อง ก็ไม่ต้องเสียภาษี เรื่องนี้ผู้ปกครองต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะการจดทะเบียนจัดตั้งให้ถูกต้องอย่างน้อยเราก็คุมได้เรื่องการคิดค่าการเรียนการสอนที่ต้องบวกไม่เกิน 20%
“ถ้าเป็นครู สพฐ. สพฐ.ก็ต้องตามเอาผิดทางวินัย แต่ผมพูดตรงๆ นะ มันตรวจสอบยาก เพราะบ้านก็สอนได้ และบางทีไปสอนในเคเอฟซี เยอะแยะไปหมด ตรงนี้ถ้ามันเหลืออดจริงๆ ถ้ามันดื้อด้านมากๆ เราใช้วิธีแจ้งสรรพากร เราจะแจ้งว่าโรงเรียนที่ถูกต้องของเรามีโรงเรียนนี้ๆ ถ้าไม่ถูกต้องให้ไปตรวจภาษีเลย เราทำอยู่แล้วตอนนี้”
ไล่เถื่อนไม่ได้ เราก็ประกาศของถูกต้อง ต่อไปจะประกาศเลยว่าโรงเรียนไหนถูกต้อง มีชื่อไหนบ้าง ที่เหลือก็ให้ผู้ปกครองตรวจสอบ
พวกโรงเรียนเถื่อนจะคิดค่าการเรียนการสอนที่แพงมาก คือเราก็ต้องตระหนักว่าการทำธุรกิจการศึกษาอย่าไปคิดแพงมาก อย่าทำแต่ในเชิงพาณิชย์ กำไรทางเศรษฐกิจไม่ใช่ว่าลงทุนวันนี้จะได้กำไรคืนวันหน้า ต้องค่อยๆ น้ำซึมบ่อทรายไป วันหนึ่งก็คุ้มทุน และควรทำกำไรในเชิงสังคมให้มากกว่า แต่ก็นั่นแหละมีคนบางส่วนคิดกำไรทางเศรษฐกิจอย่างเดียว สังคมไทยมันเป็นอย่างนี้
“หลอกลวงกันเยอะ สช.ประกาศให้ทราบว่า โรงเรียนกวดวิชาในกรุงเทพฯ ถ้าเจอที่ไหนเถื่อนให้แจ้งเรามา ที่เบอร์นี้ๆ ตรงนี้ถึงไปจับได้ เพราะถ้าไปตรวจเองไม่ค่อยเจอ แต่ผู้ปกครองก็ไม่ค่อยกล้าแจ้ง กลัวลูกไม่ได้เรียน ต่อไปนี้ขอให้แจ้งมาที่ สช.ได้เลย”
แม้กระทั่งโรงเรียนกวดวิชาที่ดี แต่ผิดกฎหมายก็ต้องแจ้ง เพราะเขาคิดราคาแพงมาก ไม่มีใครควบคุมเขาได้ เช่น คอร์สเข้ามหาวิทยาลัยราคา 50,000 บาท เป็นราคาที่สูงเกินไป ต้องแจ้ง เพราะโรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้ไม่ต้องเสียภาษี เมื่อมีคนแจ้ง สช.มา สช.ก็จะใช้มาตรการโดยการไปแจ้งสรรพากรเข้าไปตรวจสอบ
ธุรกิจกวดวิชาฟันกำไรเนื้อๆ
เด็กกวดวิชาตอนนี้มีประมาณ 4 แสนกว่าคน คิดต่ำสุดก็คิดว่ามีค่าใช้จ่ายคนละ 1,000 บาท วงเงินในธุรกิจกวดวิชาอย่างน้อยที่สุดตอนนี้คือ 400 ล้านบาท แต่ถ้าคิดว่าใช้จ่ายอย่างต่ำคนละ 5,000 บาท ก็ 2,000 ล้านบาท ตรงนี้คิดกำไรแค่ 10% ก็ 200 ล้านบาทเข้าไปแล้ว ส่วนใครจะกำไรเท่าไรก็แล้วแต่ต้นทุนของแต่ละโรงเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลดีก็ค่าเช่าสูง ต้นทุนค่อนข้างแพง
ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะระบบการศึกษาไทยเป็นการศึกษาเพื่อกระดาษ ต้องยอมรับในจุดนี้ก่อน จึงทำให้เด็กส่วนใหญ่มุ่งที่จะเรียนระดับปริญญาตรีเพื่อใบปริญญาบัตร
“ทุกวันนี้ ระบบโรงเรียนเรา กลัวเด็กสอบตก กลัวเด็กถูกตี จะไล่เด็กออกก็ไม่ได้ ในโรงเรียนจะเรียนไม่เรียนก็ช่างมัน ล้มเหลวทั้งระบบ แต่ถ้าปฏิรูปการศึกษาแล้วก็เชื่อว่ากวดวิชาจะน้อยลง”
แต่ก็ใช่ว่าการกวดวิชาจะไม่มีข้อดี การกวดวิชามีข้อดี คือช่วยดูแลลูกหลานให้เวลาที่พ่อแม่ไม่ว่าง และดีสำหรับเด็กที่เรียนอ่อนในโรงเรียน เพื่อมาเสริมความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น
“สำหรับผมแล้ว ผมไม่คิดว่ากวดวิชาไม่มีดี ไม่มีเลว แล้วแต่คนจะมอง ผู้ปกครองวันนี้เขาก็มองว่าถ้าไม่มีกวดวิชา ลูกฉันสอบเข้าไม่ได้ ก็โทษเขาไม่ได้ ถ้าระบบการศึกษาไม่ได้เปิดโอกาสให้เขา ก็ทำไม่ได้”
ที่สำคัญ คนที่จะมาเป็นครูโรงเรียนกวดวิชา ก็ต้องมีพรสวรรค์ในการอธิบาย หรือคิดเทคนิคการทำข้อสอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น นพ.ประกิตเผ่า, ครูลิลลี่, ครูอุ๊ ฯลฯ มองว่าน่าเสียดายที่ระบบการศึกษาไม่ได้ใช้คนเหล่านี้
“ในระบบมีแต่การบ้าตำแหน่ง แข่งขันกันให้ตำแหน่งสูงขึ้น แต่ไม่ได้พัฒนาเทคนิคการสอน คนที่สอนเก่งๆ ก็เข้าระบบมาสอนไม่ได้”
สช.คุมหลักสูตรไม่ได้คุมแฟรนไชส์กวดวิชา
นอกจากนี้บรรดาสถาบันกวดวิชาหลายแห่งมีการเปิดขายแฟรนไชส์การศึกษา ซึ่งเรื่องนี้ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ยอมรับว่าไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการเปิดแฟรนไชส์ แต่ก็นั่นแหละ อาจจะเป็นเพราะเด็กต่างจังหวัดต้องนั่งรถบัสมาเรียนในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ เลยต้องมีการขยายสาขาออกไป แต่ข้อเท็จจริงการทำแฟรนไชส์ไม่ได้ทำง่ายๆ เพราะจุดเด่นของโรงเรียนกวดวิชาคือทำอย่างไรให้เด็กอยากมาเรียน และทำอย่างไรให้เด็กตอบข้อสอบให้เร็วที่สุด เพราะการเรียนกวดวิชาคือการสอนเทคนิคการทำข้อสอบให้เร็วที่สุด
“ระบบการศึกษาของเราเป็นระบบการศึกษาที่เน้นให้เด็กต้องแข่งขันสูงมาก ระบบการศึกษาของเราไปสร้างเงื่อนไข กลายเป็นการผลักดันให้เด็กไปเรียนกวดวิชา ดังนั้นโรงเรียนกวดวิชาจึงอยู่ได้ ระบบการศึกษาในระบบมันแย่ สมัยก่อนทำไมเด็กไม่ต้องกวดวิชา เพราะในระบบโรงเรียนครูสอนเต็มที่ มีการติวเสริมหลังเลิกเรียนให้เด็กด้วยซ้ำ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี”
ในการขายแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้จัดการเรียนการสอน เป็นการขายเทคนิคการเรียนการสอน สช.จะคุมเฉพาะที่ดำเนินการสอนเท่านั้น
“ต้องพูดให้ถูกนะการขายแฟรนไชส์ มันเป็นการขายแท็กติก คือสอนว่าจะทำข้อสอบอย่างไร ไม่ใช่หลักสูตรการสอน พวกทำคลังข้อสอบ ถ้าคุณเปิดโรงเรียนกวดวิชาคุณต้องไปหาคลังข้อสอบ แต่นี่มันมีอยู่แล้ว ขายแค่แท็กติก คือเมื่อเราขายแฟรนไชส์ไปให้นาย ก.แล้ว สช.ก็จะไปดูเรื่องของการจัดสถานที่ถูกต้องไหม มีความพร้อมตามกฎหมายไหม ความปลอดภัยในความมั่นคงเป็นอย่างไร แล้วการคิดค่าธรรมเนียมเป็นอย่างไร พออนุญาตกวดวิชาแล้วก็ต้องสอนแค่อนุญาตตรงนี้ สช.คุมด้วย เช่นเปิดหลักสูตรสอนภาษาต่างประเทศ แต่จะไปเปิดเพิ่มสอนวิชาภาษาไทยให้ต่างชาติ อย่างนี้ก็ไม่ได้
แต่มาตรฐานการสอนเราไม่ต้องคุมมาก เพราะใครไปเรียนแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ไม่มีคนมาเรียนอีก ก็เจ๊งเอง
ภาพ: คลิปการเรียนการสอนของอ.อุ๊ อาจารย์กวดวิชาเคมีชื่อดัง
กวดวิชาหน้าใหม่คิดใช้แฟรนไชส์การศึกษาไม่ง่าย
สำหรับนักธุรกิจรายใหม่ที่คิดจะโดดเข้าไปสู่ธุรกิจนี้ เพราะหวังรวยนั้น รองเลขาฯ สช.บอกว่า การทำธุรกิจกวดวิชาไม่ใช่ว่าใครทำแล้วจะรวย ต้องมีเทคนิค และกลยุทธ์การสอนที่มันได้ผล ดังนั้น การซื้อแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงไป ก็เป็นเพียงการซื้อในส่วนของการจ้างคนมาบริหารจัดการ
“การทำการตลาดที่สำคัญคือการดึงดูดให้คนมาเรียนให้ได้ เป็นสิ่งที่ต้องทำเอง ถ้าไม่มีคนเรียนก็เจ๊ง ยิ่งในต่างจังหวัดถ้าซื้อแฟรนไชส์ไปอาจจะยิ่งยาก เพราะในต่างจังหวัดส่วนใหญ่คนที่เปิดโรงเรียนกวดวิชาคือครูของ สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ที่เด็กในระบบโรงเรียนจะรู้อยู่แล้วว่าครูคนไหนเก่ง เด็กก็จะแห่ตามกันไปเรียน เด็กเดี๋ยวนี้ไม่โง่ เขาเช็กแล้วใครเก่ง ไม่เก่ง ถ้าเราไม่รู้เรื่องการสอนเลย แล้วคิดว่าการซื้อแฟรนไชส์ของอาจารย์ดังๆ ไปอย่างเดียว ก็สำเร็จได้ รวยได้ เป็นเรื่องไม่จริง จะต้องใช้ความสามารถของตัวเองด้วย”
อย่าลืมว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่มีหลักสูตรเฉพาะ คนขายแฟรนไชส์เลยจะขายแค่เทคนิคการจัดการ คนส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองอยากง่าย เหมือนชาย 4 บะหมี่เกี๊ยว แต่ถ้าใครๆ ก็ตั้งได้ มาตรฐานอาจจะเป็นเรื่องยาก
“ผมถามคำเดียว ถ้าคุณทำโรงเรียนกวดวิชา เป็นผู้คิดค้นเทคนิคการสอนจนสำเร็จ เวลาคุณขายแฟรนไชส์คุณจะยกองค์ความรู้ให้คนซื้อทั้งหมดไหม มันเป็นไปไม่ได้ เขาให้แค่ส่วนเดียว คุณต้องมีความเป็นครูด้วย ต้องสอนเองได้ด้วยเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ตรงนี้ความเสี่ยงจะน้อยหน่อย”
นอกจากนี้การขอขึ้นค่าแฟรนไชส์ยังเป็นความเสี่ยงที่คนซื้ออาจจะประสบได้ เหมือนร้านขายอาหาร คุณขายดี ปีต่อไปเขาขอขึ้นค่าแฟรนไชส์ ก็ต้องยอม ดังนั้นคนที่ไม่รู้ ไม่มีความสามารถด้านนี้โดยตรง ไม่มีศักยภาพโดยตรงก็มีความเสี่ยงสูงมาก และที่เหนื่อยกว่านั้นคือต้องคิดพลิกแพลงวิธีการดึงคนมาเรียนอยู่ตลอด จึงไม่ใช่ของง่าย
“ผมเชื่อนะ ว่าการทำโรงเรียนกวดวิชาหนึ่งขึ้นมาจนประสบความสำเร็จได้ นอกจากเงินลงทุนแล้ว ยังมีต้นทุนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เทคนิคการเรียนการสอนไปตรงกับข้อสอบของมหาวิทยาลัยพอดี มันมีต้นทุนนะ ผมขอไม่พูดว่ายังไง แต่มันมีวิธีการของมัน ดังนั้นคนที่ทำโรงเรียนกวดวิชาไม่ใช่ว่าเปิดไปก่อน เดี๋ยวรวยเอง ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะรวยง่ายๆ ต้องฟิตอยู่เรื่อย ไม่ฟิตก็ตกหลังเสือ”
นอกจากนี้ คนที่สอนเก่ง พอทำแบบแฟรนไชส์อาจจะไม่เก่งเลยก็ได้ ต้องคิดด้วยว่าจะรอดไหม
“แล้วกว่าจะรวยต้องล้มลุกคลุกคลานมาก ต้องพัฒนาการสอนไปตามศักยภาพของเด็ก และต้องปรับตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดให้ทัน อย่างวันนี้มีการสอบ Gat Pat ก็คนละเรื่องกับการเรียนกวดวิชาสมัยก่อน และคนละเรื่องกับหลักสูตรที่ในโรงเรียนสอน เพราะมหาวิทยาลัยเป็นคนออกข้อสอบที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนในระดับ ม.ปลาย เป็นข้อสอบวิเคราะห์ สังเคราะห์ เด็กในระบบการศึกษาทำไม่เป็น ก็ต้องไปเรียนกวดวิชา โรงเรียนกวดวิชาก็ต้องปรับให้เป็นการสอนแบบวิเคราะห์ สังเคราะห์ จุดอ่อนของระบบการศึกษาไทยอยู่ตรงไหน ก็เป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชา แต่ก็ต้องปรับตัว ใครไม่ปรับตัวก็ตามคนที่ปรับตัวไม่ทัน ธุรกิจก็ไม่รอด”
เช่น ธุรกิจกวดวิชาที่ทำแบบที่เรียกว่า on demand ในขณะนี้ ใช้การเรียนการสอนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เด็กสามารถย้อนกลับไปเรียนตอนที่ไม่เข้าใจได้ใหม่ ตรงนี้ก็เป็นรูปแบบการเรียนกวดวิชาใหม่ที่เด็กชอบ
อนาคตธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา
ดังนั้นการกวดวิชาแบบออนไลน์ จะเป็นการกวดวิชาที่มีความนิยมอย่างมากในอนาคต แต่ก็ยอมรับว่าในระเบียบการควบคุมยังไม่มีประเภทการศึกษาออนไลน์ ซึ่งมองว่าอนาคตถ้ามีการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 แล้ว ธุรกิจนี้จะได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะการกวดวิชาที่เป็นลักษณะทักษะวิชาชีพ อย่างการเรียนทำอาหารไทย เป็นต้น
ความจริงการกวดวิชาก็มีส่วนที่ดี ในเมื่อระบบการศึกษาไทยยังมีปัญหา อย่างเช่นตอนนี้ทางคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนก็มีการทำโครงการโดยขอให้โรงเรียนกวดวิชาดังๆ ไปติวการสอนให้ครูที่อยู่ในภาคใต้ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยนายกสมาคมโรงเรียนกวดวิชาได้รับอาสาไปสอนให้ ในวันที่ 15 ก.ย.นี้ โดยจะไปสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
“ในเมื่อครูเหล่านี้เขาสอนเก่ง เรายังแก้ปัญหาระบบการศึกษาไทยเรายังไม่ได้ ก็ให้ครูกวดวิชาที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ไปถ่ายทอดเทคนิคการสอนให้ครูแทน เช่นการสอนกระตุ้นให้เด็กสนใจทำอย่างไร ทำอย่างไรให้เด็กสนใจเนื้อหาบทเรียนจนจบ ไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยได้ระดับหนึ่ง ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มจากภาคใต้ก่อน”
ปฏิรูปการศึกษาลดกวดวิชา
อย่างไรก็ดี แนวโน้มโรงเรียนกวดวิชาจะมีน้อยลงได้เช่นกัน หากมีการปฏิรูปการศึกษาแล้ว โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นทักษะการนำวิชาไปใช้ในการทำงาน
“รู้ไหมว่าบริษัทต่างๆ เดี๋ยวนี้เขาต้องการภาคปฏิบัติ ไม่ได้ต้องการปริญญา หลายที่ประกาศรับแต่ปวช. ปวส. และต่อไปยิ่งน่ากลัวเพราะเมื่อเปิด AEC ภาคแรงงานจะต้องการคนภาคปฏิบัติ ต่อไปคนไทยจะเป็นลูกน้องคนในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะระบบการศึกษาเขาสอนให้เขาเรียนรู้ทักษะ และคนเหล่านี้เรียนจนเก่ง หลายคนได้ทุนการศึกษา แต่บ้านเราเด็กเป็นแบบคาบช้อนเงินช้อนทองมา ไม่เคยลำบาก”
โดยปฏิรูปการศึกษาที่ต้องเกิดขึ้นคือต้องเน้นให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น สังเคราะห์เป็น เป็นคนหนักเอาเบาสู้ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น ตรงต่อเวลา และมีความสุข อย่างงานต่ำต้อยก็ต้องสอนเขา ไม่ให้เขารู้สึกว่าเป็นงานต่ำต้อย
“เดิมเราสอนมีทักษะอาชีพนะ ใครวาดรูปเก่งก็ไปเรียนเพาะช่าง เดี๋ยวนี้ลดน้อยลงแล้ว วันนี้ ป.ตรีๆๆ อย่างเดียว เวลานี้เลยขาดคนเรียนอาชีวะมหาศาล”
การศึกษาไทยจึงต้องปฏิรูป ให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น สังเคราะห์เป็น ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยเอกชนเริ่มปรับตัวแล้ว ด้วยการตั้งหลักสูตรใหม่ ให้เด็กที่เรียนจบ ป.ตรี ไปแล้ว มาเรียนในหลักสูตร ปวช. ปวส.ได้ เพราะในระบบแรงงานในประเทศไทย บริษัทใหญ่ๆ ต้องการคนที่มีทักษะวิชาชีพซึ่งตอบโจทย์สังคมไทยมากกว่า
ตรงนี้เป็นจุดที่น่าจับตามอง ว่าเอกชนกำลังทำให้การศึกษาตอบรับกับภาคแรงงาน ถ้าสำเร็จ ก็เรียกว่ามีการปฏิรูปการศึกษาไประดับหนึ่ง เรื่องกวดวิชาก็จะค่อยๆ ลดลงได้ เพราะต่อไปมันไม่จำเป็นต้องกวดวิชา
ดังนั้น ใครที่คิดจะมาทำธุรกิจกวดวิชาวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องปรับกลยุทธ์ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน
http://www.manager.co.th/Lite/ViewNews. ... 0000116931
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2748
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 24
ผมขอเสริมในอีกมุมมองนะครับ ผมเคยผ่านตรงนี้มาในสมัยเด็กๆ สมัยที่เข้าค่ายโอลิมปิควิชาการของสสวท. นักเรียนส่วนใหญ่ที่เข้าค่ายนี้จะมีประสบการณ์เรียนพิเศษมาแล้วหลายที่ แต่มักจะไม่ติดกับที่ใดเลยเพราะมักจะพบว่าไม่มีที่ไหนสอนได้ดีเท่ากับการศึกษาด้วยตัวเองchatchai เขียน:เราคงเคยได้ยินข่าว นักเรียนไทยได้เหรียญทองโอลิมปิควิชาการ กันมาบ้าง
นักเรียนเหล่านั้น เป็นผลจากการเตรียมการเด็กตั้งแต่ประถมต้นๆ
ปัจจุบันนี้ มีการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หลายรายการ เช่น สสวท. สพฐ. เพชรยอดมงกุฎ สมาคมคณิตศาสตร์ เพื่อคัดเลือกเด็กเก่งๆไปเข้าค่ายเรียนเพิ่มเติม ฝึกไปสอบระดับนานาชาติ
บางรายการ แบ่งระดับ เริ่มจากประถมปีที่ 3 และประถมปีที่ 6
รวมถึงการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมชื่อดัง
เนื้อหาการเรียนปัจจุบันนี้ จะแบ่งเป็นช่วงชั้น ประถม 1-3 ประถม 4-6 มัธยม 1-3
แต่ละช่วงชั้น จะเรียนหัวข้อเหมือนกัน แต่ความละเอียดและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น คณิตศาสตร์ เนื้อหา เศษส่วน เปอร์เซ็นต์ร้อยละ เรขาคณิต สมการเชิงเส้น วิทยาศาสตร์ก็เหมือนกัน เรียน ร่างกาย พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม การเคลื่อนที่ แรง รอก ไฟฟ้า แสง เสียง กรด เบส ตารางธาตุ สารประกอบ สารละลาย โครงสร้างอะตอม ดิน หิน แร่ ชั้นบรรยากาศ ระบบสุริยะจักรวาล
การสอบแข่งขันเกือบทุกแห่ง จะนำโจทย์เกินระดับมาสอบ เช่น เด็กเรียนชั้นประถม 6 ก็นำโจทย์เนื้อหาที่สอนในระดับมัธยมมาออกสอบ
ครูที่โรงเรียนก็สอนเพียงแค่ตามระดับ ไม่ได้สอนเกินระดับ เนื่องจากในห้องเรียนมาเด็กหลายระดับ ทั้งเก่ง และไม่เก่ง มีเวลาสอนน้อย เพราะต้องสอนหลายวิชา
ดังนั้นเด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษเพิ่มเติมก็จะทำข้อสอบแข่งขัน หรือ สอบเข้าโรงเรียนที่แข่งขันสูงไม่ได้ เพราะเสียเปรียบที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ไม่เคยทำแบบฝึกหัดยากๆมาก่อน
พ่อแม่จะทำอย่างไร ก็ต้องส่งลูกเรียนให้ทันคนอื่น เด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียนก็อยากจะสอบได้คะแนนดีๆเหมือนเพื่อนๆก็ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม
ทุกวันนี้ก็เหมือนวิ่งไล่จับกัน ผู้ออกข้อสอบก็ต้องออกข้อสอบให้ยากๆ ครูสอนพิเศษก็ต้องสอนเด็กให้ทันเพื่อจะได้โปรโมทชื่อเสียงโรงเรียนของตัวเองว่าเด็กที่มาเรียนสอบได้มากมายหลายคน เด็กก็ต้องเรียนมากขึ้น มากขึ้น ไปเรื่อยๆ
ตราบใดที่คนไทยยังชื่นชมเมื่อเด็กไทยได้รางวัลการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ถือว่าการได้รางวัลเป็นผลงานของตน ทุกอย่างก็พุ่งตรงมาที่เด็ก
นักเรียนที่ได้ไปแข่งชิงเหรียญในต่างประเทศนั้น หลายคนรับจ๊อบมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้สถานกวดวิชาที่สมัยหนึ่งเคยเรียนอยู่ แค่อนุญาติให้ใช้ชื่อของตัวเองในโฆษณาก็ได้เงินหมื่นมากินขนมแล้ว
หากผู้ปกครองใกล้ชิดเด็กมากกว่านี้ ผู้ปกครองอาจเข้าใจว่าการศึกษาที่ดีนั้นต้องมาจากที่บ้าน การไปเรียนพิเศษนั้นก็เป็นแค่การติวหนังสทอสอบ มันไม่ทำให้การศึกษาและความคิดอ่านของเด็กดีขึ้นได้แค่ภายในห้องเรียน
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! แค่ ม.ปลายดูดเงินผู้ปกครองกว่า 8
โพสต์ที่ 25
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! ยุคแข่งเดือด-รายใหม่เกิดได้จริงหรือ? (ตอนที่ 3)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2556 13:39 น.
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
ธุรกิจแฟรนไชส์กับการศึกษา โอกาสการเติบโตยังไปได้ กวดวิชาดังปรับกลยุทธ์หนัก รุกคืบธุรกิจสู่ภูธร ผู้ประกอบการรายเล็กต่างจังหวัดต้องเร่งปรับตัว จากจุดแข็งทั้งด้านชื่อเสียงและเทคโนโลยีการสอนที่ทันสมัยกว่า ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะ รายใหม่ต้องมุ่งหัวเมืองรอง ศึกษากระบวนการทำธุรกิจให้ละเอียดก่อนเซ็นสัญญา
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย ทีม Special Scoop จะนำเสนอเป็นตอนที่ 3 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาที่ต้องค้นหากลยุทธ์ในการช่วงชิงลูกค้าซึ่งก็คือเด็กนักเรียนให้มาเรียนที่สถาบันของตัวเองให้มากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะเป็นปรมาจารย์ที่ตกยุคและถูกเด็กปฏิเสธในทันที
กวดวิชาดังเร่งปรับกลยุทธ์หนีคู่แข่ง
อย่างที่ทราบกันดี ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชานั้น มีพัฒนาการมาจากครู หรืออาจารย์ที่มีเทคนิคการสอนยอดเยี่ยม และประสบความสำเร็จได้จากเด็กที่มาเรียนด้วย เพราะประเทศไทยมีค่านิยมของการศึกษาว่าจะต้องส่งให้บุตรหลานเรียนในระดับมัธยมปลาย เพื่อไปต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลให้ได้ จบออกมาแล้วจะได้ทำงานดีๆ เป็นเจ้าคนนายคน พ่อแม่ก็จะสบาย
ดังนั้นอาจารย์คนใดที่เปิดสอนพิเศษให้เด็กเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ และมีเด็กที่มาเรียนสามารถเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก อาจารย์คนนั้นๆ ก็จะมีชื่อเสียงแบบบอกกันปากต่อปาก และหลายคนมีการเปิดทำธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ตั้งแต่สมัยที่มีการสอบเอนทรานซ์ จนปัจจุบันที่มีการใช้ GAT/PAT และเปลี่ยนระบบเป็นแบบสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย ค่านิยมแบบนี้ก็ยังมีอยู่
ทำให้อาจารย์สอนกวดวิชาหลายคนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น อาจารย์อุ๊ เคมี, อาจารย์บุ๋ม High-speed MATH CENTER, นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ Applied Physics, อาจารย์ปิง ดาว้องส์, อาจารย์ลิลลี่ ภาษาไทย ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่มีอยู่สูงในธุรกิจนี้ ทำให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะอาศัยแค่บุญเก่ากินไปวันๆ ไม่ได้ แม้แต่โรงเรียนชื่อดังติดลมบนเหล่านี้ ก็ต้องมีการปรับตัวในการทำธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเพื่อรักษาความเป็นเลิศหรือ ครองตลาดธุรกิจกวดวิชาต่อไปให้ได้
วันนี้กวดวิชาจึงเป็นธุรกิจที่กลายร่างไปในหลายรูปแบบ ตั้งแต่จากที่อาจารย์กวดวิชาจะสอนด้วยตัวเองตามบ้าน มาเปิดเป็นโรงเรียนกวดวิชาเป็นกิจจะลักษณะ กลายมาเป็นสอนด้วยเทป และปัจจุบันนี้ได้พัฒนากระทั่งมีการ จับมือระหว่างอาจารย์กวดวิชาที่มีชื่อเสียงมาสอนในสถานที่เดียวกันบ้าง อาคารเดียวกันบ้าง มีการพัฒนาการสอนในโลกออนไลน์แบบใหม่ที่เรียกว่า on-demand ที่สำคัญโรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งยังขยายไลน์ธุรกิจเปิดเป็นแฟรนไชส์ขาย และราคาไม่ใช่ว่าถูกๆ
อาจารย์กวดวิชาที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดคือ อาจารย์อุ๊ เคมี หรืออาจารย์อุไรวรรณ ศิวะกุล โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ Pure chem Center ซึ่งร่วมกับนายอนุสรณ์ ศิวะกุล สามีก่อสร้างอาคารวรรณสรณ์ พญาไท เพื่อเปิดเป็นอาคารที่ให้โรงเรียนกวดวิชาอื่นๆ เช่าพื้นที่ในอาคารนี้เปิดการเรียนการสอนไว้ในที่เดียวกันได้ด้วย
อาจารย์อุ๊ ถือว่าเป็นอาจารย์สอนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงมากว่าเป็นโรงเรียนกวดวิชาเคมีที่เด็กนิยมมาเรียนมากที่สุด หลายคนจับตามองว่า อ.อุ๊ จะขายแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาด้วยหรือไม่
“อาจารย์อุ๊ ไม่ได้เปิดแฟรนไชส์ แต่ไปเปิดเองตามหัวเมืองใหญ่ๆ แต่กลยุทธ์ที่อาจารย์อุ๊ใช้แล้วประสบความสำเร็จมาก จนกระทั่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาที่คิดว่าประสบความสำเร็จ คือการใช้กลยุทธ์คลัสเตอร์ หรือ one-stop service”
สำหรับโรงเรียนกวดวิชาของอาจารย์อุ๊ นอกจากทำในรูปแบบคลัสเตอร์แล้ว ยังมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสอน ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้เรียนอย่างมาก
ส่งผลให้โรงเรียนกวดวิชาของ อ.อุ๊ จึงเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อตลาดกวดวิชาในภาพรวม
การทำธุรกิจแบบคลัสเตอร์นั้น ยังมีการทำอีกหลายแห่งที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม ได้แก่ อาคารวิสุทธานี , อาคารสยามกิตตี, ซีคอนสแควร์, จามจุรีสแควร์ ฯลฯ
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
ขณะที่โรงเรียนกวดวิชาของ อ.บุ๋ม High-speed MATH CENTER ถือว่ามีการทำโรงเรียนกวดวิชาที่ค่อนข้างขยายไลน์ธุรกิจไปมากที่สุด เพราะมีเปิดสอนแบบธรรมดา สอนแบบ on-demand และมีการเปิดขายแฟรนไชส์ทั่วประเทศ โดยประกาศว่ามีจุดแข็งคือการรับประกันรายได้ โดยจะขายแฟรนไชส์ให้เฉพาะคนที่ซื้อหลักสูตรใน 1 จังหวัด จะขายให้เพียงคนเดียวเท่านั้น
โดย อ.บุ๋ม High-speed MATH CENTER ได้วางรูปแบบการขายแฟรนไชส์แบบจ่ายเหมาปีต่อปีแยกเป็นรายหลักสูตรละเอียดยิบ ทั้งคณิต ม.ต้น และสอบแข่งขันเข้า ม.4 ราคา 499,000 บาทต่อปี, คณิต ม.ปลาย 559,000 บาทต่อปี, ฟิสิกส์ ม.ต้น 229,000 บาทต่อปี เป็นต้น
ขณะที่กวดวิชา “อ.เจี๋ย” อาจารย์ชัยรัตน์ เจษฎารัตติกร หรือ JIA เป็นอีกสถาบันกวดวิชาที่มีชื่อทางด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจของสถาบันกวดวิชา JIA นี้ใช้กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยการเชิญอาจารย์กวดวิชาชื่อดังเข้ามาช่วยสอน เช่น อาจารย์ลิลลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทยชื่อดัง อาจารย์ชัย ติวเตอร์วิชาสังคม ดร.ป้อม ติวเตอร์ Physics และ อ.ป๊อป ติวเตอร์ Chemistry ฯลฯ
กวดวิชา อ.เจี๋ยนี้ เป็นสถาบันกวดวิชาดังอีกแห่งหนึ่งที่มีการเปิดขายแฟรนไชส์ ซึ่งมีการเปิดให้ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลดรายละเอียดได้ แต่ต้องโทรศัพท์เข้าไปขอ Password จากสถาบัน โดยลักษณะแล้วจะเป็นการขายแฟรนไชส์ในลักษณะร่วมทุนมากกว่าขายขาด และกวดวิชา JIA ยังเน้นหลักสูตรที่เรียกว่า J Bloc ซึ่งเป็นการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการเรียนการสอนแบบ E-learning โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้จากที่บ้าน มีการเปิดฟังซ้ำที่ไม่เข้าใจได้หลายรอบ โดยมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษากันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ทีม Special Scoop ยังสำรวจโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งอย่างสถาบัน MAC (Modern Acadamic Center) ที่ปัจจุบันยังเน้นการเรียนการสอนตามช่วงชั้น และเน้นการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 โรงเรียนดัง และมีการประกาศขายแฟรนไชส์เช่นเดียวกัน แต่เป็นลักษณะจ่ายค่าสัญญาแรก 3 ปี ราคา 50,000 บาท ค่าใช้ลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า 150,000 บาท (3 ปี) และค่าธรรมเนียมคิดจากรายได้รวมทั้งหมดของแต่ละคอร์ส 7.5% โดยราคาทั้งหมดยังไม่รวม VAT
อย่างไรก็ดี สำหรับ MAC ในระยะหลัง มีการขยายไลน์ธุรกิจไปที่การขายสื่อการเรียนการสอนแบบ Multimedia ให้โรงเรียนต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงให้ธุรกิจด้วย
ขณะที่สถาบันการศึกษาอีกแห่งคือ Se-ed Learning Center ของ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ขยายไลน์ธุรกิจมาจับธุรกิจสถาบันการศึกษาด้วย ซึ่ง Se-ed จะไม่ได้เน้นเป็นสถาบันกวดวิชาในวิชาหลักตามช่วงชั้น แต่จะเป็นลักษณะการเสริมทักษะให้เด็กเล็กกลุ่มอายุ 3-7 ขวบเป็นหลัก เช่นหลักสูตร Fun Math และ Active Englishขายแฟรนไชส์ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 350,000 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 1-3 ปี เป็นต้น
ขณะที่ The Brain สถาบันกวดวิชาเก่าแก่ที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2530 โดยอาจารย์พี่ช้าง-มนตรี นิรมิตศิริพงศ์ ก็เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่ได้รับความนิยมจากเด็กนักเรียนที่มาเรียนอย่างมาก ซึ่งสถาบันกวดวิชาแห่งนี้ยังเน้นการกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังด้วยคะแนนสูง
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้กวดวิชายังไปได้
ขณะที่ นางสาวกัญญารัตน์ ชิระวานิชผล เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค 2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า โอกาสธุรกิจกวดวิชาน่าจะเติบโตไปได้อีก เมื่อประเมินจากค่าเล่าเรียนที่เพิ่มขึ้น และจำนวนนักเรียน
ม.ปลายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังมองว่าค่านิยมเรียนระดับมัธยมปลายของนักเรียนและผู้ปกครองยังมีมากกว่าไปเรียนสายอาชีวะ ดังนั้นค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนในการเรียนกวดวิชาในโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงคิดเป็นต่อคนต่อปี จากคนละ 16,800 บาทต่อคนต่อปี ที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจไว้ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2556-2558 นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 5.4%
อย่างไรก็ดี ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยไม่ได้ทำการสำรวจไว้ว่ากวดวิชาสายวิทย์กับสายศิลป์ใครมีมากกว่ากัน แต่ก็พออนุมานได้โดยดูลักษณะการแข่งขันของผู้ประกอบการในวิชาฟิสิกส์ เคมี จะมีผู้ประกอบการมากกว่า แต่มีข้อเสียคือมีสถาบันกวดวิชาชื่อดังไม่กี่รายที่ติดตลาดมากกว่า เรียกว่าเป็นผู้ dominate ตลาด หรือมีอิทธิพลสูง เช่น ฟิสิกส์ของ Applied physics ของ นพ.ประกิตเผ่า และเคมี อ.อุ๊ แต่ในสายศิลป์นั้น จะมีลักษณะกระจายตัวของผู้ประกอบการหลายเจ้ามากกว่า
ดังนั้น มองธุรกิจแฟรนไชส์กวดวิชาว่า 3 ปีที่ผ่านมาเริ่มอิ่มตัวแล้ว แต่ยังมีโอกาสสำหรับรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดนี้ โดยรายใหม่ต้องเปิดในจังหวัดรอง เน้นดึงดูดคนในท้องถิ่น
“โอกาสการเติบโตของธุรกิจกวดวิชาในตลาดหัวเมืองใหญ่ค่อนข้างกระจุกตัว และอิ่มตัวแล้ว รวมถึงหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดด้วย แต่ในจังหวัดรองๆ ยังมีโอกาสเติบโตสูง จากจุดเด่นที่ทำให้เด็กไม่ต้องเดินทางไกล”
นอกจากนี้ยังมองว่า ธุรกิจกวดวิชามีโอกาสเติบโตได้สำหรับผู้ที่จะเข้าสู่ตลาดนี้ แต่ต้องเป็นการสอนในแบบการเรียนการสอนทักษะ โดยเฉพาะภาษาต่างชาติ และธุรกิจฝึกสมอง ดนตรี ฯลฯ
“คนที่จะมาทำธุรกิจต้องคิดให้ดี เพราะโรงเรียนดัง จะมีข้อได้เปรียบหลายอย่างที่จะแข่งขันได้ยาก เช่น ฐานนักเรียนของเขามีมากกว่า การคิดค่าเรียนจากหลักประหยัดต้นทุนได้ เช่น การอัดวิดีโอ หรือเฉลี่ยนักเรียนได้มากกว่าทำให้หลักสูตรของเขาสามารถคิดค่าเรียนได้ถูกกว่าได้”
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
รายเล็กต้องปรับตัวหนัก-หนีรายใหญ่รุกคืบลงภูธร
นางสาวกัญญารัตน์ ได้ประเมินสถานการณ์โรงเรียนกวดวิชาจากการทำวิจัยครั้งนี้ เชื่อว่ารายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดกวดวิชาต้องใช้กลยุทธ์ การแข่งขันจะต้องจัดทำเป็นชุมชน (community) ของนักเรียน ให้นักเรียนมาเรียนเป็นกลุ่ม แล้วค่อยๆ ขยายไป โดยไม่ได้ทำเฉพาะการเรียนแต่ต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนไปพร้อมกันด้วย ทำให้นักเรียนอยากมาเรียนมากขึ้น
“ผู้ประกอบการรายเล็กต้องปรับตัว ต้องเตรียมรับมือกับโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังที่กำลังจะเริ่มรุกไปในหัวเมืองรองมากขึ้น เพื่อความอยู่รอด”
รายใหม่ต้องหากลยุทธ์ดึงดูดนักเรียนได้มากจริงๆ
“ถ้าจะลงทุนเองต้องมีองค์ความรู้ในการสอน การลงทุนด้านอาคารสถานที่ และวางระบบต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงทุน แต่ถ้าจะเลือกลงทุนแฟรนไชส์จริงๆ ก็ต้องหาทำเลที่เหมาะสมให้ดี”
ไม่อย่างนั้นจะมีความเสี่ยงมาก
“รายใหม่ที่จะเข้าตลาด ต้องเข้าใจในเนื้อหา ต้องการความรู้ในการบริหารจัดการ อย่างน้อยต้องรู้ว่ากลุ่มเด็กต้องการอะไร ต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งกระบวนการ ไม่อย่างนั้นจะยาก”
แต่แม้การซื้อแฟรนไชส์จะมีข้อดีอยู่ตรงที่มีชื่อเสียงของอาจารย์กวดวิชาดังมาสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน แต่ว่ามีความเสี่ยงในเรื่องของสัญญาข้อตกลงที่จะต้องดูให้ละเอียดด้วยทั้ง 2 ฝ่าย
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่ที่ทางเลือกของนักเรียนที่มีมากขึ้น จากการที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ออกหลักสูตรมาเพิ่มมากมาย รวมถึงการยกระดับมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นมาอย่างมาก โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตรที่หลากหลาย
ทั้งหมดย่อมเป็นความเสี่ยงในอัตราที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาของธุรกิจกวดวิชา โดยเฉพาะรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดนี้!
ส่วนตอนที่ 4 นักธุรกิจกวดวิชา การันตี ธุรกิจนี้มีแต่รวย! ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจะบอกถึงอนาคตระบบการศึกษาไทยจะเดินไปทางไหน....ติดตามอ่านได้ เป็นตอนจบของธุรกิจกวดวิชาพากันรวย!
http://manager.co.th/Lite/ViewNews.aspx ... 0000119876
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2556 13:39 น.
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
ธุรกิจแฟรนไชส์กับการศึกษา โอกาสการเติบโตยังไปได้ กวดวิชาดังปรับกลยุทธ์หนัก รุกคืบธุรกิจสู่ภูธร ผู้ประกอบการรายเล็กต่างจังหวัดต้องเร่งปรับตัว จากจุดแข็งทั้งด้านชื่อเสียงและเทคโนโลยีการสอนที่ทันสมัยกว่า ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะ รายใหม่ต้องมุ่งหัวเมืองรอง ศึกษากระบวนการทำธุรกิจให้ละเอียดก่อนเซ็นสัญญา
ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย ทีม Special Scoop จะนำเสนอเป็นตอนที่ 3 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาที่ต้องค้นหากลยุทธ์ในการช่วงชิงลูกค้าซึ่งก็คือเด็กนักเรียนให้มาเรียนที่สถาบันของตัวเองให้มากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะเป็นปรมาจารย์ที่ตกยุคและถูกเด็กปฏิเสธในทันที
กวดวิชาดังเร่งปรับกลยุทธ์หนีคู่แข่ง
อย่างที่ทราบกันดี ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชานั้น มีพัฒนาการมาจากครู หรืออาจารย์ที่มีเทคนิคการสอนยอดเยี่ยม และประสบความสำเร็จได้จากเด็กที่มาเรียนด้วย เพราะประเทศไทยมีค่านิยมของการศึกษาว่าจะต้องส่งให้บุตรหลานเรียนในระดับมัธยมปลาย เพื่อไปต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลให้ได้ จบออกมาแล้วจะได้ทำงานดีๆ เป็นเจ้าคนนายคน พ่อแม่ก็จะสบาย
ดังนั้นอาจารย์คนใดที่เปิดสอนพิเศษให้เด็กเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ และมีเด็กที่มาเรียนสามารถเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก อาจารย์คนนั้นๆ ก็จะมีชื่อเสียงแบบบอกกันปากต่อปาก และหลายคนมีการเปิดทำธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ตั้งแต่สมัยที่มีการสอบเอนทรานซ์ จนปัจจุบันที่มีการใช้ GAT/PAT และเปลี่ยนระบบเป็นแบบสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย ค่านิยมแบบนี้ก็ยังมีอยู่
ทำให้อาจารย์สอนกวดวิชาหลายคนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ตัวอย่างเช่น อาจารย์อุ๊ เคมี, อาจารย์บุ๋ม High-speed MATH CENTER, นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ Applied Physics, อาจารย์ปิง ดาว้องส์, อาจารย์ลิลลี่ ภาษาไทย ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่มีอยู่สูงในธุรกิจนี้ ทำให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจะอาศัยแค่บุญเก่ากินไปวันๆ ไม่ได้ แม้แต่โรงเรียนชื่อดังติดลมบนเหล่านี้ ก็ต้องมีการปรับตัวในการทำธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเพื่อรักษาความเป็นเลิศหรือ ครองตลาดธุรกิจกวดวิชาต่อไปให้ได้
วันนี้กวดวิชาจึงเป็นธุรกิจที่กลายร่างไปในหลายรูปแบบ ตั้งแต่จากที่อาจารย์กวดวิชาจะสอนด้วยตัวเองตามบ้าน มาเปิดเป็นโรงเรียนกวดวิชาเป็นกิจจะลักษณะ กลายมาเป็นสอนด้วยเทป และปัจจุบันนี้ได้พัฒนากระทั่งมีการ จับมือระหว่างอาจารย์กวดวิชาที่มีชื่อเสียงมาสอนในสถานที่เดียวกันบ้าง อาคารเดียวกันบ้าง มีการพัฒนาการสอนในโลกออนไลน์แบบใหม่ที่เรียกว่า on-demand ที่สำคัญโรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งยังขยายไลน์ธุรกิจเปิดเป็นแฟรนไชส์ขาย และราคาไม่ใช่ว่าถูกๆ
อาจารย์กวดวิชาที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดคือ อาจารย์อุ๊ เคมี หรืออาจารย์อุไรวรรณ ศิวะกุล โรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ Pure chem Center ซึ่งร่วมกับนายอนุสรณ์ ศิวะกุล สามีก่อสร้างอาคารวรรณสรณ์ พญาไท เพื่อเปิดเป็นอาคารที่ให้โรงเรียนกวดวิชาอื่นๆ เช่าพื้นที่ในอาคารนี้เปิดการเรียนการสอนไว้ในที่เดียวกันได้ด้วย
อาจารย์อุ๊ ถือว่าเป็นอาจารย์สอนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงมากว่าเป็นโรงเรียนกวดวิชาเคมีที่เด็กนิยมมาเรียนมากที่สุด หลายคนจับตามองว่า อ.อุ๊ จะขายแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชาด้วยหรือไม่
“อาจารย์อุ๊ ไม่ได้เปิดแฟรนไชส์ แต่ไปเปิดเองตามหัวเมืองใหญ่ๆ แต่กลยุทธ์ที่อาจารย์อุ๊ใช้แล้วประสบความสำเร็จมาก จนกระทั่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาที่คิดว่าประสบความสำเร็จ คือการใช้กลยุทธ์คลัสเตอร์ หรือ one-stop service”
สำหรับโรงเรียนกวดวิชาของอาจารย์อุ๊ นอกจากทำในรูปแบบคลัสเตอร์แล้ว ยังมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสอน ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้เรียนอย่างมาก
ส่งผลให้โรงเรียนกวดวิชาของ อ.อุ๊ จึงเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อตลาดกวดวิชาในภาพรวม
การทำธุรกิจแบบคลัสเตอร์นั้น ยังมีการทำอีกหลายแห่งที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม ได้แก่ อาคารวิสุทธานี , อาคารสยามกิตตี, ซีคอนสแควร์, จามจุรีสแควร์ ฯลฯ
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
ขณะที่โรงเรียนกวดวิชาของ อ.บุ๋ม High-speed MATH CENTER ถือว่ามีการทำโรงเรียนกวดวิชาที่ค่อนข้างขยายไลน์ธุรกิจไปมากที่สุด เพราะมีเปิดสอนแบบธรรมดา สอนแบบ on-demand และมีการเปิดขายแฟรนไชส์ทั่วประเทศ โดยประกาศว่ามีจุดแข็งคือการรับประกันรายได้ โดยจะขายแฟรนไชส์ให้เฉพาะคนที่ซื้อหลักสูตรใน 1 จังหวัด จะขายให้เพียงคนเดียวเท่านั้น
โดย อ.บุ๋ม High-speed MATH CENTER ได้วางรูปแบบการขายแฟรนไชส์แบบจ่ายเหมาปีต่อปีแยกเป็นรายหลักสูตรละเอียดยิบ ทั้งคณิต ม.ต้น และสอบแข่งขันเข้า ม.4 ราคา 499,000 บาทต่อปี, คณิต ม.ปลาย 559,000 บาทต่อปี, ฟิสิกส์ ม.ต้น 229,000 บาทต่อปี เป็นต้น
ขณะที่กวดวิชา “อ.เจี๋ย” อาจารย์ชัยรัตน์ เจษฎารัตติกร หรือ JIA เป็นอีกสถาบันกวดวิชาที่มีชื่อทางด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจของสถาบันกวดวิชา JIA นี้ใช้กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยการเชิญอาจารย์กวดวิชาชื่อดังเข้ามาช่วยสอน เช่น อาจารย์ลิลลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทยชื่อดัง อาจารย์ชัย ติวเตอร์วิชาสังคม ดร.ป้อม ติวเตอร์ Physics และ อ.ป๊อป ติวเตอร์ Chemistry ฯลฯ
กวดวิชา อ.เจี๋ยนี้ เป็นสถาบันกวดวิชาดังอีกแห่งหนึ่งที่มีการเปิดขายแฟรนไชส์ ซึ่งมีการเปิดให้ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลดรายละเอียดได้ แต่ต้องโทรศัพท์เข้าไปขอ Password จากสถาบัน โดยลักษณะแล้วจะเป็นการขายแฟรนไชส์ในลักษณะร่วมทุนมากกว่าขายขาด และกวดวิชา JIA ยังเน้นหลักสูตรที่เรียกว่า J Bloc ซึ่งเป็นการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการเรียนการสอนแบบ E-learning โดยผู้เรียนสามารถเรียนได้จากที่บ้าน มีการเปิดฟังซ้ำที่ไม่เข้าใจได้หลายรอบ โดยมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษากันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ทีม Special Scoop ยังสำรวจโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งอย่างสถาบัน MAC (Modern Acadamic Center) ที่ปัจจุบันยังเน้นการเรียนการสอนตามช่วงชั้น และเน้นการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 โรงเรียนดัง และมีการประกาศขายแฟรนไชส์เช่นเดียวกัน แต่เป็นลักษณะจ่ายค่าสัญญาแรก 3 ปี ราคา 50,000 บาท ค่าใช้ลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า 150,000 บาท (3 ปี) และค่าธรรมเนียมคิดจากรายได้รวมทั้งหมดของแต่ละคอร์ส 7.5% โดยราคาทั้งหมดยังไม่รวม VAT
อย่างไรก็ดี สำหรับ MAC ในระยะหลัง มีการขยายไลน์ธุรกิจไปที่การขายสื่อการเรียนการสอนแบบ Multimedia ให้โรงเรียนต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงให้ธุรกิจด้วย
ขณะที่สถาบันการศึกษาอีกแห่งคือ Se-ed Learning Center ของ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ขยายไลน์ธุรกิจมาจับธุรกิจสถาบันการศึกษาด้วย ซึ่ง Se-ed จะไม่ได้เน้นเป็นสถาบันกวดวิชาในวิชาหลักตามช่วงชั้น แต่จะเป็นลักษณะการเสริมทักษะให้เด็กเล็กกลุ่มอายุ 3-7 ขวบเป็นหลัก เช่นหลักสูตร Fun Math และ Active Englishขายแฟรนไชส์ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 350,000 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 1-3 ปี เป็นต้น
ขณะที่ The Brain สถาบันกวดวิชาเก่าแก่ที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2530 โดยอาจารย์พี่ช้าง-มนตรี นิรมิตศิริพงศ์ ก็เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่ได้รับความนิยมจากเด็กนักเรียนที่มาเรียนอย่างมาก ซึ่งสถาบันกวดวิชาแห่งนี้ยังเน้นการกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังด้วยคะแนนสูง
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้กวดวิชายังไปได้
ขณะที่ นางสาวกัญญารัตน์ ชิระวานิชผล เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค 2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า โอกาสธุรกิจกวดวิชาน่าจะเติบโตไปได้อีก เมื่อประเมินจากค่าเล่าเรียนที่เพิ่มขึ้น และจำนวนนักเรียน
ม.ปลายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังมองว่าค่านิยมเรียนระดับมัธยมปลายของนักเรียนและผู้ปกครองยังมีมากกว่าไปเรียนสายอาชีวะ ดังนั้นค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนในการเรียนกวดวิชาในโรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อเสียงคิดเป็นต่อคนต่อปี จากคนละ 16,800 บาทต่อคนต่อปี ที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจไว้ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2556-2558 นี้มีอัตราเพิ่มขึ้น 5.4%
อย่างไรก็ดี ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยไม่ได้ทำการสำรวจไว้ว่ากวดวิชาสายวิทย์กับสายศิลป์ใครมีมากกว่ากัน แต่ก็พออนุมานได้โดยดูลักษณะการแข่งขันของผู้ประกอบการในวิชาฟิสิกส์ เคมี จะมีผู้ประกอบการมากกว่า แต่มีข้อเสียคือมีสถาบันกวดวิชาชื่อดังไม่กี่รายที่ติดตลาดมากกว่า เรียกว่าเป็นผู้ dominate ตลาด หรือมีอิทธิพลสูง เช่น ฟิสิกส์ของ Applied physics ของ นพ.ประกิตเผ่า และเคมี อ.อุ๊ แต่ในสายศิลป์นั้น จะมีลักษณะกระจายตัวของผู้ประกอบการหลายเจ้ามากกว่า
ดังนั้น มองธุรกิจแฟรนไชส์กวดวิชาว่า 3 ปีที่ผ่านมาเริ่มอิ่มตัวแล้ว แต่ยังมีโอกาสสำหรับรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดนี้ โดยรายใหม่ต้องเปิดในจังหวัดรอง เน้นดึงดูดคนในท้องถิ่น
“โอกาสการเติบโตของธุรกิจกวดวิชาในตลาดหัวเมืองใหญ่ค่อนข้างกระจุกตัว และอิ่มตัวแล้ว รวมถึงหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดด้วย แต่ในจังหวัดรองๆ ยังมีโอกาสเติบโตสูง จากจุดเด่นที่ทำให้เด็กไม่ต้องเดินทางไกล”
นอกจากนี้ยังมองว่า ธุรกิจกวดวิชามีโอกาสเติบโตได้สำหรับผู้ที่จะเข้าสู่ตลาดนี้ แต่ต้องเป็นการสอนในแบบการเรียนการสอนทักษะ โดยเฉพาะภาษาต่างชาติ และธุรกิจฝึกสมอง ดนตรี ฯลฯ
“คนที่จะมาทำธุรกิจต้องคิดให้ดี เพราะโรงเรียนดัง จะมีข้อได้เปรียบหลายอย่างที่จะแข่งขันได้ยาก เช่น ฐานนักเรียนของเขามีมากกว่า การคิดค่าเรียนจากหลักประหยัดต้นทุนได้ เช่น การอัดวิดีโอ หรือเฉลี่ยนักเรียนได้มากกว่าทำให้หลักสูตรของเขาสามารถคิดค่าเรียนได้ถูกกว่าได้”
ภาพ : อินเทอร์เน็ต
รายเล็กต้องปรับตัวหนัก-หนีรายใหญ่รุกคืบลงภูธร
นางสาวกัญญารัตน์ ได้ประเมินสถานการณ์โรงเรียนกวดวิชาจากการทำวิจัยครั้งนี้ เชื่อว่ารายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดกวดวิชาต้องใช้กลยุทธ์ การแข่งขันจะต้องจัดทำเป็นชุมชน (community) ของนักเรียน ให้นักเรียนมาเรียนเป็นกลุ่ม แล้วค่อยๆ ขยายไป โดยไม่ได้ทำเฉพาะการเรียนแต่ต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนไปพร้อมกันด้วย ทำให้นักเรียนอยากมาเรียนมากขึ้น
“ผู้ประกอบการรายเล็กต้องปรับตัว ต้องเตรียมรับมือกับโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังที่กำลังจะเริ่มรุกไปในหัวเมืองรองมากขึ้น เพื่อความอยู่รอด”
รายใหม่ต้องหากลยุทธ์ดึงดูดนักเรียนได้มากจริงๆ
“ถ้าจะลงทุนเองต้องมีองค์ความรู้ในการสอน การลงทุนด้านอาคารสถานที่ และวางระบบต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงทุน แต่ถ้าจะเลือกลงทุนแฟรนไชส์จริงๆ ก็ต้องหาทำเลที่เหมาะสมให้ดี”
ไม่อย่างนั้นจะมีความเสี่ยงมาก
“รายใหม่ที่จะเข้าตลาด ต้องเข้าใจในเนื้อหา ต้องการความรู้ในการบริหารจัดการ อย่างน้อยต้องรู้ว่ากลุ่มเด็กต้องการอะไร ต้องมีความรู้ความเข้าใจทั้งกระบวนการ ไม่อย่างนั้นจะยาก”
แต่แม้การซื้อแฟรนไชส์จะมีข้อดีอยู่ตรงที่มีชื่อเสียงของอาจารย์กวดวิชาดังมาสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน แต่ว่ามีความเสี่ยงในเรื่องของสัญญาข้อตกลงที่จะต้องดูให้ละเอียดด้วยทั้ง 2 ฝ่าย
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่ที่ทางเลือกของนักเรียนที่มีมากขึ้น จากการที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ออกหลักสูตรมาเพิ่มมากมาย รวมถึงการยกระดับมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นมาอย่างมาก โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตรที่หลากหลาย
ทั้งหมดย่อมเป็นความเสี่ยงในอัตราที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาของธุรกิจกวดวิชา โดยเฉพาะรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดนี้!
ส่วนตอนที่ 4 นักธุรกิจกวดวิชา การันตี ธุรกิจนี้มีแต่รวย! ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจะบอกถึงอนาคตระบบการศึกษาไทยจะเดินไปทางไหน....ติดตามอ่านได้ เป็นตอนจบของธุรกิจกวดวิชาพากันรวย!
http://manager.co.th/Lite/ViewNews.aspx ... 0000119876
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.