เสาร์ ก.ย. 07, 2013 12:57 am | 0 คอมเมนต์
marcus147 เขียน: ผมพึ่งได้ฟังที่คุณนุชไปออกรายการ money talk ครับ
สุดยอดจริงๆครับ
ผมว่าผมประหยัดระดับนึงแล้ว
ฟังเสร็จกลายเป็นคนฟุ่มเฟือยไปโดนพลัน
คนทำงานเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเก่งมาก
หาได้มาก ก็จ่ายมาก
เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆเลยครับ
เสียดายพูดคุยเรื่องการลงทุนน้อยไปหน่อย
แต่ก็เข้าใจว่า อาจารย์คงมีเรื่องคุยเยอะ
เพราะรายการนี้ส่วนมากมีแต่ ผู้ชายมาออก 555
ต้องไปตะล่อมให้แฟนมาดูบ้างละ
ขอบคุณ คุณ marcus147 ที่แวะมาทักทายบ่อยครั้ง และสำหรับคำชมค่ะ
ขอเล่าถึงเหตุที่ต้องละเอียดรอบคอบเรื่องเงินให้ฟังเพิ่ม
เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ที่แวะมาอ่านด้วย
(นอกจากฐานนิสัยเดิมที่ "งก เอ๊ย..ประหยัด" อยู่แล้ว...ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย)
.........................................................................
เมื่อวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ...(ยังไม่ได้ลงทุนในหุ้น)
แต่ได้รับผลกระจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่ปรับขึ้นในอัตราเร่ง
ดีที่เราเป็นคนใส่ใจเรื่องแนวโน้มของเศรษฐกิจ
จึงได้ไปขอ refinance เพื่อใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 9% ของ ธอส.
จำได้ว่าไปเข้าแถวรอแต่เช้าเพราะเค้าให้จำนวนจำกัดค่ะ
..........................................................................
หลังจากนั้นดอกเบี้ยก็ทยอยขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึง 17-18 % ประมาณนี้
ลองจินตนาการดูจะรู้เลยว่า คนที่ผ่อนบ้านอยู่
จะต้องถูกแบงค์เรียกให้ผ่อนชำระค่างวดบ้านเพิ่มแน่นอน
แถมจ่ายเพิ่มไปเท่าไหร่...ก็เป็นดอกเบี้ยเกือบหมด.....เงินต้นแทบไม่ลดลงเลย
เพื่อนบ้านทาวน์เฮาส์ (บ้านหลังแรกที่เล่าในเทป) หลายบ้านถึงกับกลายเป็น NPL เลย
.........................................................................
ดีที่เราผ่อนบ้านต่องวดมากกว่ากำหนดมาตลอด
และได้ดอกเบี้ย fix rate 9% ช่วยไว้ ไม่อย่างนั้นคงแย่เหมือนกันค่ะ
..........................................................................
ส่งผลให้ตั้งใจไว้เสมอว่า.......ต้องผ่อนบ้านให้หมดเร็วเท่าที่จะเร็วได้
และต้องใช้สิทธิ refinance ให้เกิดประโยชน์ที่สุด
ดอกเบี้ยที่ลดลงเล็กน้อย.....ของวงเงินกู้ที่มากและระยะเวลานานนั้น
มีผลทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดลงได้
ดอกเบี้ยที่ลดลงทุก 1 บาท (ของค่างวดผ่อนชำระ)
หมายถึงเงินต้นที่เพิ่มขึ้น 1 บาท เช่นกัน
ยิ่งถ้าเราผ่อนเยอะอยู่แล้วก็ยิ่งทำให้หมดหนี้เร็วค่ะ
.......................................................................
เคยแนะนำให้เพื่อนไป refinance หาข้อมูลให้อย่างละเอียด
บางทีก็จะเอามาพิมพ์เป็นสรุปไว้เลยค่ะ
ช่วงไหนมีดอกเบี้ยแบงค์ไหนน่าสนใจบ้าง
มีวิธีอย่างไรต้องเสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง
..........................................................................
แต่มีเพื่อนเราเองหลายคนมองดูผ่านๆ แล้วบอกว่า....ขี้เกียจคิดจุกจิกเรื่องเงินบ้าง
ที่ผ่อนอยู่ตอนนี้ก็โอเคแล้วบ้าง หักจากเงินเดือนอยู่แล้วสะดวกดี...เดี๋ยวครบสัญญาก็หมดไปเอง
(บางคนไม่ทราบด้วยซ้ำว่า...ถ้า “ดอกเบี้ยนโยบาย” ขึ้น...”ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน” จะขึ้นตาม
แล้วจำนวนเงินค่างวดที่ถูกคำนวณด้วย rate ดอกเบี้ย ณ วันที่ยื่นกู้จะเปลี่ยนตาม)
…………………………………………………………………..
อยากให้เพื่อนๆ และคนรอบตัวใส่ใจเรื่องเหล่านี้มากๆ
เรื่องอัตราดอกเบี้ย เรื่องภาษี การอ่านสัญญาใดๆ อย่างละเอียดก่อนลงนาม
และเรื่องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ของประกันชีวิต หรือประกันภัยต่างๆ
หรือแม้แต่สิทธิตาม พรบ.ผู้ประกันตน หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา
..........................................................................................
ยกตัวอย่างเช่น
การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เสียไปตอนขายบ้าน
หากเราซื้อบ้านหลังใหม่เพื่ออยู่อาศัยไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ขายบ้านอยู่อาศัยหลังเก่า
สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่เสียไปจากการขายบ้านคืนได้ ตาม link นี้ค่ะ
http://www.rd.go.th/publish/37814.0.html
(ดังนั้นอย่ารีบทิ้งใบเสร็จนะคะ....เก็บไว้ก่อน...อาจเป็นประโยชน์)
หรือ เรื่องการเอาใส่ชื่อไว้ในทะเบียนบ้านของคอนโดหรือบ้านที่เราซื้อไว้ให้เช่าและตั้งใจจะขายต่อ
หากมีชื่อผู้อยู่อาศัย ครบ 1 ปี แม้เราจะครอบครองอสังหานั้นไม่ครบ 5 ปี
ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3 % ตาม link นี้ค่ะ
http://www.rd.go.th/publish/683.0.html
........................................................................................
พวกประกันต่างๆ ควรอ่านกรมธรรม์อย่างละเอียด
แล้วเปลี่ยนภาษากฎหมายเชิงพรรณนาให้เป็นคณิตศาสตร์
เช่น ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต “ร้อยละ 180”
เมื่อใดก็ตามที่มี “ร้อยละ” มาเกี่ยวข้อง....ต้องทราบเสมอว่า “ร้อยละของจำนวนใด”
เช่น “ของเงินเอาประกัน” หรือ “ของเงินค่าเบี้ยที่ชำระ” แล้วคิดออกมาเป็นตัวเลขเลย
..........................................................................................
เบี้ยประกันภัยบ้าน และรถยนต์ สามารถขอเวนคืนได้ด้วยหากขายบ้านหรือรถยนต์ไปแล้ว
(ตามตารางที่อยู่ในกรมธรรม์) เราก็ต้องคำนวณออกมาเป็นตัวเลขเพื่อติดตามจำนวนเงินที่จะขอคืน
ยิ่งเราละเอียดมากเท่าใด...เวลาเราติดต่อขอคืนหรือทำธุรกรรมใดๆ เราจะไม่เสียเปรียบค่ะ
....................................................................................................
ไม่ได้สอนให้จ้องเอาเปรียบใครนะคะ (ภาพลักษณ์ยิ่งโหดๆ อยู่ (ฮา) )
แต่เราไม่ควรเสียสิทธิในส่วนที่เราพึงจะได้เท่านั้นเองค่ะ
ลองอ่านผ่านๆ ตาไว้นะคะ.....วันนี้เราอาจยังไม่ต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้
แต่วันข้างหน้าเราอาจต้องใช้...ก็สามารถย้อนกลับมาอ่านกระทู้นี้ได้ค่ะ
.......................................................................................
การลดรายจ่ายลงมากเท่าใด.....เหมือนเราหาเพิ่มได้มากเท่านั้นค่ะ