เชิญข่าว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

เชิญข่าว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ข่าวก็คือข่าว มุมมองและวิจารณญาณของผู้อ่านเป็นตัวกำหนดว่านั่นข่าวดีหรือนี่ข่าวร้าย


?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????


เตือนวิกฤตหุ้นโลกรอบใหม่ “ไทย-มาเลย์” เสี่ยงต่อคิว “อินเดีย-อินโดฯ” ชี้ “ศก.ชะลอ-ขาดดุลสูง” มีโอกาสโดนถล่ม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 08:48 น.


“บล.โนมูระ” เตือนสถานการณ์ตลาดหุ้นโลกขณะนี้คล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์เมื่อปี 1997-1998 เป็นอย่างมาก ยอมรับ “อินเดีย-อินโดฯ” ได้รับความเสียหายไปแล้ว คาดลำดับต่อไป คือ ประเทศที่มียอดขาดดุลงบสูง ศก.ชะลอตัว และต่างชาติครองสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นสูง ระบุ “ไทย-มาเลย์” มีคุณสมบัติเหล่านี้มากที่สุด “ธ.ยูบีเอส” ยอมรับหนี้สินในภาคครัวเรือน และภาครัฐบาลของมาเลเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูง ขณะที่การปฏิรูปการคลังในมาเลเซียหยุดชะงักลง แถมต่างชาติถือครองพันธบัตรเกินครึ่ง

นายประทีป โมฮินานี นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนี้ โดยมองว่ามีความคล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์ในปี 1997-1998 เป็นอย่างมาก โดยขณะนี้มี 2 ประเทศที่ได้รับความเสียหายแล้ว คือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความความเสียหายเป็นลำดับต่อไป คือ ประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณสูง มีเศรษฐกิจชะลอตัว และต่างชาติครองสัดส่วนในการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนั้นสูง ซึ่งไทยกับมาเลเซียมีคุณสมบัติเหล่านี้มากที่สุด

นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ หรือกลุ่มทิป ซึ่งมองว่าทั้ง 3 ประเทศนี้มีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งกว่าอินโดนีเซีย และอินเดียเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็ว และยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะปั่นป่วนในช่วงก่อนหน้านี้มากนัก อีกทั้งประเทศในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้สูงขึ้น และได้ลดหนี้สกุลเงินต่างประเทศลงมาก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997 เป็นต้นมา

ด้านนายเอ็ดเวิร์ด เทเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูบีเอส เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลของมาเลเซียจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้กำหนดนโยบายของมาเลเซียให้คุมเข้มนโยบายการเงิน และให้ปฏิรูปการคลัง แต่มาเลเซียเผชิญความเสี่ยงน้อยกว่าอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยอดเกินดุลการค้าของมาเลเซียเคยดิ่งลงในเดือน เม.ย. จนแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินปี 1997

นอกจากนี้ นักลงทุนยังมองว่า มาเลเซียเผชิญความเสี่ยงจากการที่ชาวต่างชาติถือครองตราสารหนี้เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนี้สินทั้งในภาคครัวเรือน และภาครัฐบาลของมาเลเซียพุ่งขึ้นสู่ระดับสูง ขณะที่การปฏิรูปการคลังในมาเลเซียหยุดชะงักลง

หลังจากผลการเลือกตั้งที่สูสีกันในเดือน พ.ค. ส่งผลให้สถานะของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียอ่อนแอลง สกุลเงินริงกิตของมาเลเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีที่ 3.3 ริงกิตต่อดอลลาร์ เมื่อวานนี้ และรูดลงมาแล้วกว่า 7% จากช่วงต้นปีนี้

กรณีดังกล่าว เทรดเดอร์ประเมินว่า ธนาคารกลางมาเลเซียได้ใช้เงินไปแล้วประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ในการปกป้องค่าเงินริงกิตในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แรงเทขายได้ลุกลามออกไปสู่ตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์เมื่อวานนี้ด้วย ส่งผลให้ดัชนีคอมโพสิตของตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์ดิ่งลง 1.85% ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วตลาดหุ้นแห่งนี้ถือเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยในภูมิภาคนี้

ส่วนนายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโอซีบีซี ยอมรับว่า ไทยมีดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดตกต่ำลง และคาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะเผชิญกับปัญหาแบบเดียวกัน อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้





ฝรั่งทิ้งแบงก์แถมชอร์ตเซล สินเชื่อก.ค.ชะลอตัว KBANK หนักสุึด ลบ 3.6%


วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2556 เวลา 11:12:39 น.
ผู้เข้าชม : 1315 คน ข่าวหุ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นกลุ่มแบงก์วันนี้ (22 ส.ค.) อ่อนตัวลงแรง หลังตัวเลขสินเชื่อขยายตัวลดลงอย่างมากในเดือนก.ค. และมีแรงเทขายหุ้นแบงก์ผ่าน NVDR ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ และมีการชอร์ตหุ้นกลุ่มนี้จำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยล่าสุด ณ เวลา 11.02 น. ราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK อยู่ที่ 159.50 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 3.63% มูลค่าการซื้อขาย 1.83 พันล้านบาท และเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดของวันนี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL อยู่ที่ 184.50 บาท ลดลง 4.50 บาท หรือ 2.38% มูลค่าการซื้อขาย 758 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อยู่ที่ 141.50 บาท ลดลง 5.50 บาท หรือ 3.74 % มูลค่าการซื้อขาย 942.33 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY อยู่ที่ 37.50 บาท บวก 0.25 บาท หรือ 0.66% มูลค่าการซื้อขาย 777 ล้านบาท

โดยวานนี้ (21 ส.ค.) มีแรงขาย KBANK SCB และ BBL ผ่าน NVDR ออกมาเป็นอันดับ 1, 3 และ5 ตามลำดับ มูลค่า 1.2 พันล้านบาท 388.55 ล้านบาท และ169.89 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการขายชอร์ตหุ้น KBANK ออกมา 367.53 ล้านบาท หรือ 11.32% ของปริมาณการซื้อขายแบบ Auto Matching BBL 139.80 ล้านบาท หรือ 10.96% และ SCB 193.33 ล้านบาท หรือ 8.37%

ขณะที่ข้อมูลจาก http://www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 10 แห่ง แนะนำ “ซื้อ” KBANK อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 232 บาท แนะนำ “ซื้อ” SCB จำนวน 11 แห่ง อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 205 บาท แนะนำ “ซื้อ” BBL จำนวน 12 แห่ง อีก 2 แห่ง แนะนำ “ถือ” และอีก 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 243 บาท แนะนำ “ซื้อ” BAY จำนวน 3 แห่ง อีก แห่ง 8แนะนำ “ถือ” และอีก 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 38.54 บาท


บล.ไทยพาณิชย์ระบุว่า การขยายสินเชื่อชะลอตัวลงในเดือน ก.ค. ธนาคารเกือบทุกแห่งมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อจากเดือนก่อนหน้าชะลอตัวลงอย่างมากในเดือน ก.ค. โดยการชะลอตัวเกิดจากสินเชื่อทั้ง 3 ประเภท คือ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายย่อย เดือน ก.ค.เป็นเดือนที่มีการชำระคืนสืนเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก ส่งผลทำให้ BBL BAY และ LHBANK มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อติดลบ

อัตราการขยายตัวของสินเชื่อรถยนต์ชะลอตัวลงอย่างมาก เพราะขาดปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการรถยนต์คันแรก การขยายตัวของสินเชื่อในเดือน ก.ค. ส่วนใหญ่เกิดจากสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายย่อย ทั้งนี้ KTB เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่ได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อเดือน ก.ค. KKP เป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวที่มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระดับทรงตัวในเดือน ก.ค. โดยส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ปรับราคาเป้าหมายลดลง; ยังคงเลือก BBL กับ KTB เป็น top picks; ปรับคำแนะนำสำหรับ TISCO ขึ้นสู่ “ซื้อ” เราปรับราคาเป้าหมายของธนาคารส่วนใหญ่ลดลงเฉลี่ย 4% เพื่อสะท้อนการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อลดลงและการปรับประมาณการต้นทุนสินเชื่อเพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรงในระยะหลังนี้สะท้อนความเสี่ยงที่จะขยายสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้าไปเรียบร้อยแล้ว

เรายังคงราคาเป้าหมายของ BAY กับ TMB ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากราคาเป้าหมายของธนาคารสองแห่งนี้ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากประเด็น M&A ทั้งนี้ ราคาเป้าหมายของ BAY มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้อีกจากการรวมกิจการกับสาขากรุงเทพฯ ของ Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ (BTMU) เรายังคงชอบธนาคารขนาดใหญ่ที่เน้นปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจมากกว่าธนาคารขนาดเล็กที่เน้นปล่อยสินเชื่อรายย่อย เรามีมุมมองเชิงบวกต่ออัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มากกว่าสินเชื่อภาคครัวเรือนโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์

เรามีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อภาคครัวเรือนมากกว่าสินเชื่อภาคธุรกิจ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงถึง 80% ของ GDP เรายังคงเลือก BBL กับ KTB เป็นtop picks ของกลุ่มธนาคาร เนื่องจากจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุน ในขณะที่ปรับคำแนะนำสำหรับ TISCO ขึ้นจาก “Neutral” สู่ “ซื้อ” เพราะราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานอย่างมากหลังจากราคาหุ้นปรับตัวลดลงแรงเมื่อไม่นานนี้

บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (22 ส.ค.) ว่า สินเชื่อเดือน ก.ค. ไม่โต ธนาคาร 8 แห่งยังไม่รวม KTB แสดงยอดสินเชื่อทรงตัว +0.1% จากเดือนก่อนหน้า ทำให้สินเชื่อสะสม 7M13 โตเพียง 5.34% YTD เป็น downside ต่อประมาณการสินเชื่อของเราที่คาดโต 11.7% เบื้องต้นเราอาจปรับลดการเติบโตของสินเชื่อปีนี้เป็น 7.2% ซึ่งอาจทำให้กำไรของกลุ่มแบงก์ลดลง 7% เหลือโตเพียง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดิมที่คาด +22% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2010




ธปท.ระบุบาทอ่อนค่าจากเงินไหลออก เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (22 ส.ค. 56) - - นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ เกิดจากเม็ดเงินที่ไหลออก ซึ่งถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่
ทั้งนี้ตามหลักการแล้วหากเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป ธปท.ก็จะเข้าไปดูแล
ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์


เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]

ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 22/08/13 เวลา 12:52:02




นายกฯถกด่วน! ครม.เศรษฐกิจ หลังค่าเงินบาทอ่อนค่าในรอบ 3 ปี ผวาเงินไหลออก เฟดจ่อลดขนาดคิวอี


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าความเคลื่อนไหวของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า เมื่อค่ำที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีเดินทางกลับจากการเดินทางเยือนประเทศทาจิกิสถานและปากีสถาน และเมื่อช่วงเช้า (22 ส.ค.) ที่ผ่านมาเวลา 09.00น. นายกฯเดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาล และเวลา 09.30 น.นายกฯเป็นประธานในการประชุมภาพรวมเศรษฐกิจ

ท่ามกลางแนวโน้มค่าเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี แตะ 32.12 บาท/ดอลลาร์ จากแนวโน้มเงินไหลออกภูมิภาค หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณลดขนาดคิวอี

ขณะที่ในเดือน เม.ย.ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดแตะที่ระดับ 28.55 บาท/ดอลลาร์

โดยมีรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจเข้าร่วมประชุม อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฯ พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ขณะที่เวลา 10.00 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่อาคารรัฐสภา แต่ยังไม่มีกำหนดการว่านายกฯจะเข้าร่วมประชุมหรือไม่



นายแบงก์มั่นใจ “เงินบาท” ไม่โดนถล่มร่วงหนักซ้ำรอย “รูปี-รูเปียห์” ครม.ถกด่วน! คาดรับมือพายุการเงินโลก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 13:18 น.


นายแบงก์มั่นใจ “เงินบาท” ไม่โดนถล่มร่วงหนักซ้ำรอย “รูปี-รูเปียห์” เพราะเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูง และเพิ่งเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ แตกต่างจากอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง ขณะที่นายกฯ ถกด่วน ครม.เศรษฐกิจ คาดรับมือเงินไหลออก บาทอ่อนสุดรอบ 3 ปี หลุดระดับ 32 บาท/ดอลลาร์

นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่นักวิเคราะห์ และนักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วงค่าเงินบาทจะอ่อนค่าหนักเหมือนกับเงินรูปี อินเดีย และ รูเปียห์ อินโดนีเซีย โดยมั่นใจว่า การอ่อนค่าของเงินบาทจะไม่รุนแรงเหมือนกับ 2 เงินสกุลดังกล่าว

ทั้งนี้ เนื่องจากมองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีอยู่สูง และไทยเพิ่งเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ แตกต่างจากอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรังมานาน ดังนั้น มั่นใจว่าสถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าไม่น่าห่วง

ส่วนแนวโน้มเงินบาทในระยะยี้ยังอ่อนค่าต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติลดขนาดการลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรของไทย และหันไปเก็งกำไรเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ยังไม่กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการชะลอมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE)

นักบริหารเงินยอมรับว่า เงินบาทเช้านี้ยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 32.02-32.04 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุเพราะเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับทุกสกุล โดยเป็นผลมาจากการประชุม FOMC ที่ยังไม่กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการชะลอ QE ประกอบกับมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง พร้อมคาดว่าแนวโน้มวันนี้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยมองกรอบการเคลื่อนไหวไว้ที่ 32-32.20 บาทต่อดอลลาร์

โดยเมื่อช่วงเช้าวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อหารือทิศทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับเป้าจีดีพีปีนี้เหลือร้อยละ 3.8-4.3 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.2-5.2 เนื่องจากการส่งออกในไตรมาส ที่ 2 ติดลบร้อยละ 1.9 และการบริโภคในประเทศชะลอตัว โดยรัฐบาลจะหาแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังให้เติบโตได้ใกล้เคียงร้อยละ 5 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้

พร้อมกันนี้ ยังคาดว่าจะมีการหารือสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี และอาจมีการหารือผลกระทบเงินทุนไหลออกต่อเนื่อง รวมถึงภาวะผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังผันผวน




ไขปริศนาหุ้นไทย-อินโดฯ ทรุดหนักกว่าเพื่อน เพราะมีสัญญาณเกิดวิกฤต ศก.ภายในประเทศ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 สิงหาคม 2556 10:28 น.


หุ้นไทยดิ่งต่อเนื่อง 3 วันซ้อน ดัชนีทรุดไปแล้ว 80 จุด คาดทิศทางยังผันผวน โบรกฯ ยอมรับตลาดยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ คาดในระยะสั้นยังเผชิญผลกระทบเงินทุนไหลออก พร้อมไขปริศนาหุ้นไทย-อินโดฯ ทรุดหนักกว่าเพื่อน เพราะมีสัญญาณเกิดวิกฤต ศก.ภายในประเทศตนเอง “ไพบูลย์” เชื่อดัชนีไม่ลงลึกไปถึง 1,200 จุด

รายงานข่าวบรรยากาศตลาดหุ้นไทยวันนี้ (21 ส.ค.) ดัชนีภาคเช้ายังปรับลงต่อเนื่อง และแกว่งตัวผันผวนในแดนลบ โดยเมื่อเวลา 10.12 น. ดัชนีปรับลงไปที่ 1,355.71 จุด ลดลง 15.15 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -1.11% มูลค่าการซื้อขาย 4,390.83 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับการปรับลง 2 วันก่อนหน้านี้ ดัชนีปรับลงไปกว่า 80 จุดแล้ว

นายจักรกริช เจริญเมธาชัย กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก ยอมรับว่า ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะอ่อนแอจากความกังวลเรื่องการถดถอยของเศรษฐกิจภายในประเทศ และมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 3 (คิวอี) ของสหรัฐฯ ที่ส่งผลให้เกิดกระแสเงินไหลออกจากภูมิภาค โดยกลยุทธ์การลงทุน พอร์ตลงทุนระยะ 6 เดือน แนะนำถือหุ้น 20% ส่วนพอร์ตระยะสั้นแนะนำเก็งกำไร จบในวันเดียว โดยประเมินแนวรับที่ 1,357 จุด

ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ ยอมรับว่า ตอนนี้ได้เกิดภาพใหญ่เงินทุนต่างชาติได้ไหลออกกลับเข้าไปลงทุนในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ตลอดระยะเวลา 3 เดือนตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่ (เอเมอร์จิน มาร์เกต) ปรับตัวลดลงมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าสถานการณ์เงินทุนไหลออกจากประเทศเกิดใหม่นั้นจะเป็นเพียงภาพระยะสั้น จนกว่าทิศทางเศรษฐกิจประเทศจีนจะมีเสถียรภาพ รวมถึงเศรษฐกิจไทยด้วย ซึ่งเชื่อว่าตัวเลขเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 2 ของปีนี้ที่ออกมา ถือว่าเป็นระดับต่ำที่สุดแล้ว

“คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 เศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัว และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของจีดีพีประเทศ และเป็นจังหวะที่ค่าเงินบาทอ่อนน่าจะทำให้การส่งออกในครึ่งหลังของปีดีขึ้น”

ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่านักลงทุนจะมีโอกาสเห็นภาพดัชนีหุ้นไทยจะฟื้นตัวภายในปีนี้ เพียงแต่ในระยะสั้นนี้อาจต้องเผชิญกับภาวะเงินทุนไหลออกก่อน แต่ไม่เชื่อว่าจะทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงต่ำทดสอบระดับ 1,200 จุด

ขณะที่นักวิเคราะห์บางแห่งมองว่า ตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงหนักกว่าภูมิภาค เนื่อจากได้ผลกระทบเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งประเทศไทยเจอกระแสข่าวเศรษฐกิจหดตัวต่อเนื่อง 2 ไตรมาส และเข้าสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจ ส่วนอินโดนีเซียมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง เนื่องจากใช้เงินจำนวนมหาศาลไปอุดหนุนราคาน้ำมัน ภาครัฐสั่งคุมเข้มธนาคารพาณิชย์

นอกจากภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงอย่างหนัก 2 วันติดต่อกันแล้ว ทิศทางของค่าเงินบาท ยังได้รับผลกระทบที่เกิดจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย 2 ไตรมาสติดต่อกัน หลังการแถลงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปี 2556 ลงเหลือ 3.8-4.3% จากเดิม 4.2-5.2%

ด้านเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (21 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 31.70 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.63/65 บาท/ดอลลาร์ ถือว่าอ่อนค่าสุดในรอบ 1 ปี

นักค้าเงินจาก ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ยอมรับว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง เป็นเพราะนักลงทุนมีความกังวลกับตัวเลขจีดีพี ในไตรมาส 2/56 ที่ขยายตัวเพียง 2.8% ซึ่งต่ำกว่าที่คาด ขณะเดียวกัน สภาพัฒน์ยังได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปี 56 ลงเหลือ 3.8-4.3% จากเดิม 4.2-5.2% และ ไตรมาส 2 โตแค่ 2.8% ทำให้เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ภูมิภาคค่อนข้างปรับแข็งค่า
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Goldman downgrades emerging Asia currencies


Published: Friday, 23 Aug 2013 | 1:15 AM ET
By: Rajeshni Naidu-Ghelani | Assistant Producer, CNBC


U.S. investment bank Goldman Sachs says it expects the rout in Asian emerging market currencies to continue, downgrading its forecasts for battered currencies in the region.

Goldman revised down its three, six and 12-month targets for the Malaysian ringgit, Thai Baht and Indonesian rupiah on Friday.

The currencies, together with their emerging-market peers, have taken a beating recently amid expectations for an unwinding of U.S. monetary stimulus.

(Read more: Emerging markets: dissecting the good from bad)

The rupiah should take the biggest hit as investors flee the volatile group of currencies for the safety of developed markets, according to Goldman.

It expects the rupiah to weaken to 11,800 per dollar in the next year, compared with a previous target of 10,500. That implies a fall of 9 percent from current levels of 10,830.

The rupiah hit its lowest level in more than four years on Friday, racking up losses of 12 percent in the year-to-date.

(Read more: Strategist who correctly called rupee, rupiah collapse)
"In particular, downside pressure on the rupiah could persist in the near term if we see elevated inflation prints over the next few months, and given the prospect of Fed tapering," Goldman said in a note.


Play Video
Why emerging market volatility could last
Hans Stoter, CIO of ING Investment Management, discusses the big moves in emerging markets' currencies and expects further weakness until Treasury yields stabilize.
Annual inflation in Indonesia, southeast Asia' biggest economy, surged to 8.61 percent in July -- its fastest pace in four-and-a-half years.

Indonesia's central bank has responded by lifting interest rates by 75 basis points this year to 6.5 percent, becoming the first Asian central bank to do so since June 2011.

(Read more: Rate hike a pre-emptive strike: Indonesian official)
But the monetary tightening appears to have done little to stem the rupiah's fall.

Goldman expects Bank Indonesia to hike interest rates in September in an attempt to prevent further declines in the currency, but says that may not be enough.

"A bigger rate hike would go further towards stabilizing the currency, but we think policymakers will continue to be restrained by the desire to prevent growth from slowing too sharply, especially since the country is approaching an election cycle," Goldman said. Parliamentary elections are set to take place in April next year with presidential elections due in June.

Going down

Goldman expects the Malaysian ringgit to weaken to 3.4 per dollar in the next three months, implying a fall of about 3 percent from current levels and compared with a previous forecast of 3.2.

Its new 12-month forecast for the Thai baht is 32 per dollar, a 4 percent downward revision from the previous forecast.

The ringgit fell to 3.31 per dollar on Thursday, its weakest level in more than three years. The Thai baht, trading at about 31.89 to the dollar, is down about 4 percent so far this year.

(Read more: Wonder why ringgit's getting crushed? Check out this chart)
Emerging Asian countries' weak current account balances will continue to weigh on their currencies as fears of the Federal Reserve unwinding its monetary stimulus highlights liquidity concerns in these markets, Goldman said.

"The market sell-off has its roots in deteriorating underlying fundamental flows, and in particular the weakening broad balance of payments led by current account deterioration in recent quarters," Goldman said.

— By CNBC.com's Rajeshni Naidu-Ghelani. Follow her on Twitter @RajeshniNaidu

http://www.cnbc.com/id/100982823
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

วันที่ 23 สิงหาคม 2556 13:40
เวิลด์แบงก์เชื่อเงินบาทไม่โดนถล่มเหมือนรูปี

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เวิลด์แบงก์เชื่อเงินบาทของไทยไม่โดนถล่มเหมือน "รูปี-รูเปียะห์" เหตุมีการบริหารจัดการค่าเงิน-พื้นฐานแกร่ง


นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกสำนักงานประจำประเทศไทย(เวิลด์แบงก์) กล่าวว่า เวิลด์แบงก์ อาจจะมีการปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้ แต่จะปรับเป็นเท่าไหร่นั้นต้องดูปัจจัยในครึ่งปีนี้เป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม ความเห็นส่วนตัว มองว่า เศรษฐกิจปีนี้เป็นไปได้ที่อาจจะขยายตัวประมาณ 4-4.5% ส่วนปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะดีกว่าปีนี้ เนื่องจากการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐจะมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

"เศรษฐกิจไทยปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวมากกว่าปีนี้เพราะฐานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาคือ 2554-2555 สูงมาก ตั้งแต่น้ำท่วมและการกระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคจากนโยบายรัฐบาลทำให้ปีนี้การขยายตัวลดลงแต่ในปีหน้าฐานจากปีนี้กลับสู่ภาวะปกติประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ทั้งการท่องเที่ยว การลงทุนภาครัฐ และเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว"

สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ นั้น เกิดจากนักลงทุนกังวลเรื่องที่สหรัฐจะชะลอมาตรการQE และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย จึงทำให้ค่าเงินบาทในช่วงนี้มีความผันผวนตามกระแสเงินทุนไหลเข้า-ออกของต่างชาติ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น คาดว่าการส่งออกไทยในครึ่งปีหลังจะขยายตัวดีขึ้น จากครึ่งปีแรกการส่งออกชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และสหรัฐไม่ชะลอ QE ลงมากอย่างที่หลายฝ่ายกังวล ก็จะทำให้นักลงทุนนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูงและให้ผลตอบแทนดี ซึ่งรวมถึงเอเชียและไทย เพราะมั่นใจว่าเอเซียจะเป็นศูนย์กลางการเติบโตของเศรษฐกิจในอีก 10 ปีข้างหน้า

"ในระยะยาวถือว่าภูมิภาคอาเซียนยังเป็นจุดสนใจของนักลงทุนแน่นอนดังนั้นการที่ในระยะนี้เงินทุนไหลออกจากตลาดทุนในภูมิภาคนี้หรือมีความผันผวนอยู่บ้างจึงถือเป็เรื่องปกติที่จะทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปบ้างแต่จะเป็นปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือความมั่นใจของนักลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและความชัดเจนในมาตรการ คิวอี ของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นประเทศไทยจะต้องปรับตัวรองรับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่จะมีมากขึ้นในอนาคต"

ส่วนข้อวิตกกังวลว่าอาจมีการโจมตีค่าเงินบาทในอ่อนค่าลงไปอีกเหมือนกับเงินรูเปียะห์ ของอินโดนีเซีย และรูปี ของอินเดียนั้น นางสาวกิริฎา มองว่า เป็นไปได้ยากเพราะปัจจุบันเงินบาทของไทยเคลื่อนไหวลอยตัวแบบมีการจัดการ ไม่ได้เป็นอัตราคงที่เหมือนในอดีต ดังนั้นการจะเข้ามาโจมตีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย รวมทั้งโอกาสในการทำกำไรยังมีไม่มาก และพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่งจึงไม่น่าเป็นห่วง แต่อย่างไรก็ตามมองว่าค่าเงินบาทควรเคลื่อนไหวไปตามภูมิภาคและประเทศคู่แข็ง เพื่อไม่ให้เสียเปรียบโอกาสด้านการส่งออก

ดังนั้น ความผันผวนในระยะนี้ก็จะอาจจะมีผลต่อการนำเข้าอยู่บ้างโดยเฉพาะการนำเข้าพลังงานน้ำมันที่มีผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นแต่ก็จะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออกทั้งนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าค่าเงินในประเทศคู่แข่งของไทยก็อ่อนค่าลงด้วยเช่นกันสำหรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยเชื่อว่าในครึ่งปีหลังจะไม่ลดลงไปจาก 2.5% เพราะมีเรื่องของความกังวลเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 4

โพสต์

พาณิชย์เผยก.ค.ส่งออกวูบ 1.48% นำเข้าโต 1.08% ขาดดุล 2.28 พันล้านดอลล์


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 12:00:24 น.
ผู้เข้าชม : 7 คน ข่าวหุ้น

นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ก.ค.56 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 19,064 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 21,345 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.08% ส่งผลให้ขาดดุลการค้าราว 2,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.56) การส่งออกมีมูลค่า 132,368 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.60% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 150,420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.85% ส่งผลให้ขาดดุลการค้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 18,052 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับสาเหตุที่ส่งออกลดลงเป็นผลจากเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญชะลอตัวลง เช่น เศรษฐกิจยูโรโซนที่อยู่ในภาวะถดถอย เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ชะลอตัวจากภาคธุรกิจที่ชะงักงัน และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ความต้องการนำเข้าชะลอตัวลงจากผลกระทบเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงของภาคธุรกิจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
CheNz
Verified User
โพสต์: 1612
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เพลินเลย :D
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 6

โพสต์

สภาพัฒน์ ระบุ Q2/56 จ้างงานลด ศก.ชะลอ
วันเผยแพร่ | พิมพ์ | อีเมล/ money channel

สภาพัฒน์ เผยยอดจ้างงาน Q2/56 เพิ่มขึ้นแค่ 0.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 1.5% ชี้เป็นไปตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) กล่าวถึงภาวะสังคมไทยในไตรมาส 2 ปี 2556 ว่า ไตรมาสที่สองปี 2556 มีผู้มีงานทำ 38.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบกับร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการชะลอตัวลงตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และเมื่อปรับฤดูกาลออกแล้วการจ้างงานลดลงร้อยละ 1.1 การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ขณะที่ภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.2 สาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ การก่อสร้างร้อยละ 5.6 การค้าส่งค้าปลีกร้อยละ 1.9 การขนส่งร้อยละ 7.0 และโรงแรมและร้านอาหารร้อยละ 6.9 ส่วนการจ้างงานในสาขาการผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.7 ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง

ส่วนอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 0.73 หรือมีผู้ว่างงาน 289,491 คน ต่ำกว่าร้อยละ 0.86 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 144,838 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ชั่วโมงการทำงานของแรงงานภาคเอกชนเฉลี่ยเท่ากับ 48.2 ชั่วโมงต่อคนต่อสัปดาห์ลดลงจาก 48.6 ชั่วโมงต่อคนต่อสัปดาห์ หรือลดลงร้อยละ 0.9 เป็นการลดลงในสาขาการผลิตอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และบริการอื่นๆ ร้อยละ 2.3 0.4 และ 1.0 ตามลำดับ

ขณะที่การทำงานในสาขาเกษตรกรรมมีชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ จากการปรับค่าจ้างแรงงาน 300 บาท และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้สถานประกอบการพยายามปรับการทำงานให้อยู่ในช่วงเวลาปกติมากขึ้น โดยแรงงานภาคเอกชนที่ทำงาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป มีจำนวนลดลงร้อยละ 6.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในช่วงเดียวกันปี 2555

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อคำสั่งซื้อสินค้าและทำให้การผลิตชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเนื่องถึงการจ้างงานโดยเฉพาะสาขาการผลิตที่มีผลิตภาพแรงงานต่ำ สาขาการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น และอุตสาหกรรมขนาดเล็กซึ่งมีแรงกดดันจากต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ธปท.ไม่กังวลเงินไหลออก มั่นใจมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอรองรับได้ ระบุจะเข้าแทรกแซงในกรณีที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (27 ส.ค. 56) - - ธปท.ไม่กังวลเงินไหลออก มั่นใจมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอรองรับได้ ระบุจะเข้าแทรกแซงในกรณีที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป พร้อมชี้ค่าบาทอ่อนค่าไม่ได้เพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ ระบุยังอยู่ในภาวะปกติ เผยอยู่ระหว่างศึกษาการนำทุนสำรองส่วนเกินไปลงทุนในหุ้น หรือตั้งกองทุนเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน (New Opportunity Fund )

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่กังวลในสถานการณ์เงินทุนไหลออก กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ส่งสัญญาณว่าชะลอมาตรการการเงินเชิงปริมาณ หรือ QE ตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา จนส่งผลให้เงินทุนไหลออกเป็นระยะ

ทั้งนี้ล่าสุดพบว่ามีเงินทุนไหลออกแล้ว 15% ของสัดส่วนที่ต่างชาติถือครองสินทรัพย์ เช่น พันธบัตร และหุ้น อย่างไรก็ดีเชื่อว่า ธปท. มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่อยู่ในบัญชีกิจการ ธปท. และบัญชีฐานะล่วงหน้าของธปท. มากเพียงพอต่อการรองรับการไหลออกของเงินทุน ซึ่งธปท.มีเงินทุนในบัญชีดังกล่าวอยู่ที่ 1.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และเชื่อว่ากระแสเงินทุนต่างชาติที่ไหลออกจากไทยจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ

"เราทำการประเมินไว้ว่าขณะนี้เงินทุนสำรองที่เรามีอยู่ยังเพียงพอจะ Cover Out Flow และดูจากสถานการณ์ที่ผ่านมาก็ไม่มากนัก เรายังคงรองรับได้ ซึ่งเราเห็นคลื่นของเงินไหลออกเป็นระยะ ซึ่งต้องติดตามว่าจะกระทบ Fundamental อย่างไร ซึ่งตอนนี้เรามองว่า Fundamental ยังค่อนข้างดี และในส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็ยังเป็นบวก ถ้าไม่นับรวมกับการนำเข้าทองคำ"นางผ่องเพ็ญ กล่าว

นางผ่องเพ็ญ กล่าวด้วยว่า ธปท.ไม่รู้สึกกังวลใจกับการอ่อนค่าของเงินบาทในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยอ่อนค่าจากต้นปีราว 4% และเชื่อว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการดูแลเงินทุนไหลออก เพราะถือเป็นเรื่องปกติของนักลงทุนในการเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนเพื่อทำกำไร

ทั้งนี้ยังคงยืนยันว่าจะบริหารให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นตามอุปสงค์ อุปทานในตลาดมากขึ้น และ ธปท. ก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่เกิดความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจนเกินไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการกำหนดราคาสินค้าในการส่งออก

"เราค่อยๆ ผ่อนนโยบายการบริหารค่าเงินให้เป็นไปตามกลไกมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เราไม่ได้ปล่อยทีเดียว ช่วงที่ยังอ่อนเร็วหรือแข็งค่าเร็ว เราก็ชะลออยู่ แต่ความถี่ที่จะเข้าไปดูแลแบบใกล้ๆ ก็จะลดลง เพราะเรารู้อยู่ว่าในด้านการค้า และการกำหนดราคาปรับตัวได้ยาก"นางผ่องเพ็ญ กล่าว

นอกจากนี้ มองว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในระยะนี้ยังไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำประมาณ 0.8% โดยการอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม เนื่องจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง

" แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และไม่ได้ทำให้เงินเฟ้อกลับมาเป็นประเด็นในเรื่องนี้"นางผ่องเพ็ญ กล่าว

นางผ่องเพ็ญ เปิดเผยด้วยว่า ธปท. อยู่ระหว่างศึกษาแผนเพิ่มผลตอบแทนในการบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศ ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลตอบแทนความเสี่ยงเป็นปัจจัยสำคัญ และล่าสุดกำลังศึกษาการนำเงินทุนสำรองส่วนเกินไปลงทุนในหุ้น (Equity) เป็นต้น ซึ่งแม้เป็นสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้รับการอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ธปท. ในปัจจุบัน แต่หากผลการศึกษาทั้งข้อดี ข้อเสีย ความเสี่ยงและผลตอบแทนออกมาอย่างไร ก็จะส่งผลต่อการประเมินแนวทางที่จำเป็นหากต้องแก้กฎหมายเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว

นอกจากนี้ ธปท.ยังอยู่ระหว่างการประเมินการจัดตั้งเป็นกองทุน New Opportunity Fund เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน ซึ่งต้องออกเป็นกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยจะนำสินทรัพย์ต่างประเทศในส่วนที่สูงกว่าระดับที่จำเป็นมาลงทุนในกองทุนดังกล่าว โดยหลังจากนี้หากมีการศึกษาเสร็จแล้วจะเสนอไปยังคณะกรรมการธปท. เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

"เราแค่ให้แนวคิดว่ามีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากที่เราเคยทำ ทั้งการไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนา พันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น และหุ้นกู้เอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้พ.ร.บ. ธปท. ปัจจุบัน แต่แนวทางเพิ่มเติมคือการใช้เงินทุนสำรองส่วนเกินไปทำอย่างอื่น อยู่ที่ผลการศึกษาข้อดี ข้อเสีย เป็นยังไง แล้วค่อยกลับมาตอบว่าเหมาะสมหรือไม่ จึงจะตอบได้ว่าต้องมีการแก้กฎหมายเพื่อรองรับเป็นกรณีหรือเปล่า ซึ่งก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่ากรอบเวลาจะเป็นอย่างไร" นางผ่องเพ็ญ กล่าว


รายงาน โดย ดลนภา บัญชรหัตถกิจ
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน

อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 27/08/13 เวลา 13:31:49
pat4310
Verified User
โพสต์: 732
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ตอนหุ้นขึ้นมีแต่ข่าวดี ตอนบทจะลงมีแต่ข่าวร้าย :shock:
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ทุกข่าวที่แปะ อ่านเองแล้ว ไม่เห็นสัญญาณอะไรร้ายแรง
ไม่มีวิกฤตใด ๆ แค่ภาวะเติบโตเศรษฐกิจไทยชะลอตัว
(โตในอัตราลดลง-ตัวเลขเป็นบวก) ภาพใหญ่เศรษฐกิจโลกค่อน
ไปทางสดใส จีน ยุโรป สหรัฐ อยู่ในแนวโน้มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อไทย
ดูเหมือนจะมีแต่เรื่องเงินไหลออก(ถอน qe) เท่านั้นที่เป็นปัญหา
ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวและไม่กระทบพื้นฐาน



เอดีบีเล็งปรับลดจีดีพีไทย-จี้รัฐเร่งเบิกจ่าย-ลุ้นศก.โลกฟื้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 สิงหาคม 2556 16:58 น.


เอดีบีเผยอยู่ระหว่างทบทวนประมาณเศรษฐกิจไทย ระบุมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดให้อยู่กรอบ 4-4.3% จากเดิม 4.9% แต่เชื่อปีหน้าดีขึ้นหลังเศรษฐกิจประเทศหลักกระเตื้อง แนะเร่งพัฒนาการศึกษายกระดับประเทศ ด้านอาร์บีเอสมั่นใจเศรษฐกิจไทยยังแกร่ง การถดถอยใกล้ต่ำสุด

นางสาวลัษมณ อรรถาพิช เศรษฐกร สำนักงานผู้แทนประจำประเทศไทย ธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี)เปิดเผยว่า เอดีบีอยู่ระหว่างทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งจะแล้วเสร็จและประกาศออกมาในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ของไทยลงเหลือกรอบ 4.0-4.3% จากเดิมที่ประมาณการไว้ 4.9% และการส่งออกเติบโตที่ 8% อย่างไรก็ตาม คงต้องรอตัวเลขที่ชัดเจนในช่วงเดือนตุลาคมอีกครั้ง

สำหรับเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี ก็ให้ความสำคัญที่การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐว่าจะสามารถทำได้ตามที่ตั้งไว้หรือไม่ รวมถึงภาคส่งออกไทยที่อาจกระเตื้องขึ้น หากเศรษฐกิจในประเทศหลักดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสูง ก็ยังเป็นตัวกดดันให้การใช้จ่ายภาคเอกชนถดถอยลง

"ตามภาพกว้างแล้ว เอดีบีก็มองภาพของเศรษฐกิจของประเทศที่เจริญแล้วในทิศทางที่ดีขึ้น และมองว่าอัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มประเทศดังกล่าวจะสูงกว่าในปีนี้ ซึ่งก็คงจะช่วยให้ภาคส่งออกของไทยดีขึ้นบ้าง และหากโครงการลงทุนขนาดภาครัฐที่มีวงเงินมากถึง 2.2 ล้านล้านบาท มีการเบิกจ่ายออกมาตามกำหนดก็จะช่วยดึงการลงทุนภาคเอกชนให้ดีขึ้นด้วย"

ส่วนกรณีการลดวงเงิน QE ของสหรัฐฯนั้น ทางเอดีบีก็ติดตามผลกระทบจากเงินทุนที่ไหลออกอยู่ แต่เท่าที่ดูก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก และไม่ได้ไหลออกครั้งละจำนวนมาก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีความแข่งแกร่งอยู่ อัตราการเติบโตที่ลดลงก็เป็นเพียงการปรับฐาน ขณะที่กรณีของอินโดนีเซียนั้น มีเงินไหลออกค่อนข้างมากและเร็ว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและภาคสถาบันการเงินยังมีความอ่อนไหวอยู่

แนะไทยพัฒนาระบบการศึกษายกระดับประเทศ

นอกจากนี้ เอดีบียังได้เสนอรายงานเรื่อง "Asia's Economic Transformation : Where to,How,and How Fast" โดยระบุว่า จากการศึกษาโครงสร้างของประเทศที่เจริญแล้ว จะพบว่ากลุ่มประเทศดังกล่าวมีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ สูงกว่าภาคเกษตรกรรม และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีรายได้ที่สูงกว่า ซึ่งหากพิจารณาถึงโครงสร้างของประเทศในกลุ่มเอเชียแล้ว พบว่ามีเพียง 50%ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานในลักษณะดังกล่าว

สำหรับประเทศไทยพบว่าแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ 40%ยังอยู่ในภาคเกษตรกร แต่สัดส่วนผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับ 18%ของจีดีพี ซึ่งถือว่าหลุดจากระดับล่างมาแล้ว แต่โจทย์สำคัญต่อไปคือจะทำอย่างไรให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรที่มีเป็นจำนวนมาก และบางส่วนแรงงานตามฤดูกาล มาสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคงในชีวิตและมีรายได้ที่มากกว่า

คำตอบหลักก็คือพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ซึ่งไม่ควรจะให้ความสำคัญแค่ระดับอุดมศึกษาเท่านั้น ในระดับประถมและมัธยมก็มีเป็นพื้นฐานสำคัญที่ก้าวต่อไปในระดับอุดมศึกษา ขณะเดียวกันในภาคอุตสาหกรรมก็ต้องมีการยกระดับขึ้นพื่อขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง

อาร์บีเอสคาดศก.ไทยใกล้ต่ำสุด

ด้านมร. เมดาน เมนอน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ร่วมด้านการตลาดและอินเตอร์เนชั่นแนลแบงกิ้ง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารเดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์(RBS)กล่าวว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในสองไตรมาสที่ผ่านมานั้น มีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นว่าการหดตัวทางเศรษฐกิจอาจใกล้ถึงจุดสิ้นสุด โดยมีการใช้สินค้าคงคลังอย่างเต็มที่ สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการผลิตในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2556 นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและตลาดต่างๆ ในโลก รวมทั้งการหารือเพื่อปรับลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ มีความเป็นไปได้มากกว่า

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการจ้างงานและสร้างการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ การบริโภคภายในประเทศมีการปรับตัว และมีเสถียรภาพ เช่นเดียวกับหนี้สินในครัวเรือน ทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างชาตินั้นมีการเติบโตอย่างเต็มที่ ดังนั้น ในครึ่งหลังของปี 2013 นี้ การส่งออกจะมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง

"เนื่องจากอุปสงค์ทางด้านการส่งออกของไทยกว่าครึ่งนั้นมาจากประเทศในกลุ่ม G3 และ จีน ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากความมีเสถียรภาพของเศรฐกิจจีน ซึ่งมีการเติบโตของ GDP ประมาณ 7.5% นอกจากนี้เศรษฐกิจในอเมริกาและยุโรปเริ่มส่งสัญญานที่ดีของการฟื้นตัว ดังนั้น เราจึงยังคงมั่นใจในทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังนี้"มร. เมนอน กล่าว
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 10

โพสต์

จรัมพรมองปัจจัยหลักตลาดหุ้นไทยยังเป็นเรื่อง fund flow ส่วนซีเรียกระทบไม่มาก

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 28 สิงหาคม 2556 10:23:21 น.

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)มองว่าปัจจัยหลักที่กดดันตลาดหุ้นไทยในขณะนี้คือกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากตลาดภูมิภาค ส่วนสถานการณ์ในซีเรียยังไม่ได้กระทบมากนัก แต่ก็จะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

"ตลาดหุ้นไทยตอบนี้ยังรับกระทบจาก fund flow ที่ไหลออก เพราะถ้าตัดเรื่องซีเรยออก นับจากพ.ค.ที่เริ่มกังวลว่าจะลด QE เม็ดเงินก็ยังไหลไม่หยุด และยังไม่รู้ว่าจะจบตรงไหน ยังบอกไม่ได้ เพราะเม็ดเงินเข้ามาจากทั่วโลก"นายจรัมพร กล่าว

นายจรัมพร กล่าวว่า จากต้นปีจนถึงขณะนี้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทยไปแล้ว 1.1 แสนล้านบาท ถือว่าสูงมากแล้ว จากนี้ก็คงจะไม่ได้ไหลออกไปมากแล้ว เพราะเมื่อนักลงทุนขายถึงระดับหนึ่งก็คงจะต้องหยุดขาย เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้เปลี่ยนไปมาก ผลกำไรบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในระดับที่ดี อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ในระดับเฉลี่ยกว่า 3% ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีในการลงทุน ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากหรือพันธบัตร อีกทั้งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ยังได้รับประโยชน์ด้านภาษีด้วย

ส่วนปัญหาซีเรีย อาจจะกระทบทางอ้อมจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนผลกระทบจะมากน้อยแค่ไหนคงต้องรอดูสถานการณ์

"ซีเรียไกลจากเรา เป็นปัญหานอกประเทศ และเชื่อว่าจะมีแนวทางแก้ไขได้"นายจรัมพร กล่าว

สำหรับการจัดงาน Thailand Focus 2013 ในครั้งนี้ นายจรัมพร กล่าวว่า สิ่งที่จะนำมาดึงดูดนักลงทนต่างชาติคือการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประทศ และทำให้บริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งขึ้น สามารถขยายธุรกิจไปครอบคลุมภูมิภาคได้ การเติบโตจะเร็วขึ้น ดังนั้น เชื่อว่าเมื่อนักลงทุนเลิกตกใจกับ QE แล้ว ก็จะหันกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะบริษัทจดทะเบียนของไทยผ่านวิกฤติมามาก และสามารถปรับตัวรองรับความผันผวนได้ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์มาแล้ว

อย่างไรก็ตาม มองว่าช่วงนี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่จะเลือกซื้อหุ้นเพื่อการลทุนในระยะยาว

อินโฟเควสท์ โดย จำเนียร พรทวีทรัพย์/ศศิธร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 11

โพสต์

“ประสาร” มองสถานการณ์เงินทุนม้วนตัวกลับ หลังผ่าน 5 ปีเม็ดเงินทะลักเข้าตลาดเกิดใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 สิงหาคม 2556 12:44 น.

ผู้ว่าการ ธปท. ยอมรับเม็ดเงินทุนยังไหลออก แต่มีโอกาสไหลกลับได้หากนักลงทุนคลายความตื่นตกใจ พร้อมยอมรับสถานการณ์เงินทุนม้วนตัวกลับ หลังจากเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้ามามากในตลาดเกิดใหม่

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินทุนไหลออกยังคงมีต่อเนื่องในระยะสั้น แต่เมื่อนักลงทุนหายตื่นตกใจแล้วก็เชื่อว่าจะดีขึ้น ขณะนี้เหมือนสถานการณ์เงินทุนม้วนตัวกลับหลังจากเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้ามามากในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ของสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่นเริ่มฟื้นขึ้นบ้าง เงินจึงไหลจากตลาดเกิดใหม่ออกไปบ้าง แต่เชื่อว่าเงินทุนที่ไหลออกคงไม่มาก ไม่เป็นปัญหาต่อภาพรวมเศรษฐกิจ

ขณะที่ ธปท.ยังดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่น และติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หากเห็นว่าอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หรือเคลื่อนไหวแตกต่างจากพื้นฐานของเศรษฐกิจ ธปท.ก็มีเครื่องมือเพียงพอที่จะดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ที่สำคัญขณะนี้ระดับเงินทุนสำรองยังอยู่ในระดับค่อนข้างมั่นคง สามารถดูแลได้แน่นอน

แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี แต่ในเชิงเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคทั้งประเทศคู่ค้า และคู่แข่ง ถือว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มากไม่น้อย ขณะเดียวกัน ธปท.ได้ติดตามตลาดการเงินว่ามีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วแค่ไหน

ตามปกติของโครงสร้างเศรษฐกิจไตรมาส 2 จะขยายตัวต่ำสุด และไตรมาส 3 จะขยายตัวดีขึ้น ส่วนไตรมาส 4 จะเป็นไตรมาสที่ขยายตัวสูงสุด เพราะเป็นฤดูกาลส่งออกพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญค่อนข้างมาก ดังนั้น หากโครงสร้างนี้ไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติการขยายตัวของไตรมาส 3/56 ก็จะออกดีกว่าไตรมาส 2/56 ซึ่งจากคาดการณ์นี้มองว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวขึ้นในครึ่งปีหลัง

ส่วนภาคการส่งออก คาดว่าทั้งปีคงขยายตัวไม่สูงนัก แต่ล่าสุด ที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมาค่อนไปในทางต่ำ ขณะเดียวกัน นำเข้าก็ต่ำด้วย นำเข้าทองก็ติดลบ แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีคาดว่าค่อนไปทางสมดุล หรือหากขาดดุลก็จะขาดดุลเพียงเล็กน้อย ไม่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนัก

นายประสาร กล่าวถึงสถานการณ์ในซีเรีย ว่า เหตุการณ์ในตะวันออกกลางไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันกระตุกขึ้นในระยะสั้น ซึ่งจะกระทบต่อการนำไปคำนวณตัวเลขเศรษฐกิจที่ ธปท.คาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 105-107 เหรียญ/บาร์เรล แต่ในระยะยาวมีการค้นพบแหล่งพลังงานใหม่ขนาดใหญ่ ขณะที่การสะสมพลังงานยังไม่เพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น ถ้ามีอะไรเข้ามากระตุกน่าจะส่งผลกระทบในระยะสั้นๆ เท่านั้น
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 12

โพสต์

MPA นิด้า ชี้อานิสงส์บาทอ่อนพยุงเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง เชื่อส่งออก-ท่องเที่ยวเป็นพระเอก หลังเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (28 ส.ค.56) - - ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ชี้บาทอ่อนหนุนส่งออกพยุงเศรษฐกิจครึ่งปีหลังเติบโตได้ดี หลังเศรษฐกิจคู่ค้าไทย ทั้งสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวดีกว่าที่คาด แถมได้ปัจจัยบวกจากงบประมาณปี 57 และงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (MPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า จากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ที่เติบโตในระดับ 2.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่เติบโต 5.4% ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์เชื่อว่า ยังไม่น่าเป็นกังวลมากนัก เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวด้านการส่งออกในครึ่งปีหลังให้กลับมาดีขึ้น โดยมีปัจจัยจากประเทศคู่ค้าของไทยทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีความต้องการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้โอกาสในการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าเหล่านี้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ค่าเงินบาทอ่อนยังจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ทำให้ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด โดยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้น หลังจากครึ่งปีแรกตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นมากกว่า 12 ล้านคน และทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยกว่า 25 ล้านคน

“ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวที่ดี และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ ถือเป็นจังหวะที่ดีที่ภาคการส่งออกของไทยจะเร่งผลิตสินค้าและส่งออกเพิ่มขึ้นเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อการจ้างงานภายในประเทศและประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนลดลงได้อีกทางหนึ่งด้วย” รศ.ดร.มนตรี กล่าว

ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA นิด้า กล่าวว่า ขณะเดียวกัน งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ที่รัฐบาลใช้นโยบายขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท ที่จะเริ่มมีเงินเข้าสู่ระบบในช่วงต้นเดือนตุลาคมและการเร่งผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งส่งผลดีต่อจิตวิทยาด้านบรรยากาศการลงทุนให้ภาคเอกชนกล้าลงทุนขยายกิจการและผลักดันตัวเลขเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ดียิ่งขึ้น

เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร

อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 28/08/13 เวลา 13:56:47
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: เชิญข่าว

โพสต์ที่ 13

โพสต์

สศค.คาดเศรษฐกิจไทย Q3/56 กลับมาขยายตัวเป็นบวก หลังสัญญาณการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2556 ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2556 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แม้ว่าในภาพรวมยังคงขยายตัวชะลอลง โดยการส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคม 2556 ถึงแม้จะยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี แต่เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 ต่อเดือน (m-o-m SA) โดยได้รับอานิสงส์จากสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเชื้อเพลิง ที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปที่ปรับตัวดีขึ้น

สำหรับเครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน พบว่า แม้ในภาพรวมยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกรกฎาคม 2556 จะหดตัวที่ร้อยละ -1.9 ต่อปี แต่หากพิจารณาในรายละเอียดของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคม 2556 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.0 ต่อปี เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างที่วัดจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกรกฎาคม 2556 กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 29.9 ต่อปี อย่างไรก็ดี แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนกรกฎาคม 2556 จะยังคงหดตัวร้อยละ -3.6 ต่อปี แต่เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า สามารถขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อเดือน (m-o-m SA)

“เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2556 บ่งชี้ เศรษฐกิจไทยในเดือนแรกของไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 จะสามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวก เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าได้ (q-o-q SA) นอกจากนี้ ข้อมูลเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศล่าสุด ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง จากอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.0 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 172.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดี ประกอบกับนโยบายการคลังจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพในช่วงที่เหลือของปี”

รายงาน โดย สันติภาพ เกตุสร้อย
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร

อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 29/08/13 เวลา 14:18:25


จบข่าว...
โพสต์โพสต์