ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า
smartpeter
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สะสมประสบการณ์ลงทุนต่างประเทศมาพอสมควร อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านสามชิกที่สนใจครับ
ตอนนี้กำลังเลือกว่าจะลงทุนในอุตสาหกรรมไหนก่อน
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมมือใหม่ครับ :)
ลงทุนเพื่อชีวิต
thian
Verified User
โพสต์: 85
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

แอบมารอฟังด้วยคนค่ะ :D
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สำหรับผมเริ่มลงทุนต่างประเทศมาประมาณ 3 ปีแล้วครับ โดยเป็นตลาดที่อเมริกาเป็นหลัก (มีฮ่องกงอยู่บ้าง) การที่เราสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศทำให้เรามีตัวเลือก (ที่ดีกว่าตลาดไทย) มากขึ้น ผมเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่คิดว่าน่าจะเติบโตได้ในระยะยาว (ไม่ต้องโตมาก) และบริษัทนั้นๆมีความสามารถในการขยายธุรกิจนั้นๆ ไปทั่วโลก (รวมถึงบริษัทไทยด้วย)

ผมวาง theme การลงทุนไว้อย่างหยาบๆอยู่ 5 themes ครับ

I) อาหาร - กลุ่มนี้รวมตั้งแต่ upstream (feed, farm, nursery, hatchery, plantation, etc) ไปจนถึง downstream อย่าง frozen food, ready-to-eat food, restaurants, QSR ยิ่งครบวงจรและมี footprint ครอบคลุมทั่วโลกยิ่งน่าสนใจ

II) Energy & Resources - ผมเลือกบริษัทปิโตรเลียมใหญ่ๆหรือไม่ก็บริษัทเหมืองแร่ใหญ่ๆ ด้วยความที่เป็นสินค้า commodity และมีความเป็น cyclical สูง บริษัทใหญ่ๆน่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า บริษัทวิศวกรรมหรือให้บริการก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน

III) Insurance - โดยเฉพาะประกันชีวิตผมสนใจมากๆครับ บริษัทที่เรารู้จักกันดีคือ Berkshire Hathaway ที่อาศัย float ไปลงทุน หรืออย่าง AIA บริษัทประกันชีวิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

IV) Healthcare - กลุ่มนี้ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณ ราคาหุ้นมักจะมี premium เสมอ ในพอร์ตของ BRK ก็ลงทุนใน DVA (DaVita Healthcare)

V) Services - กลุ่มนี้ในนิยามของผมจะเป็นกลุ่มที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลากหลาย เน้นในเรื่องของการบริการและบริโภค บริษัทที่ผมกำลังสนใจคือ Visa และ MasterCard ครับ Apple นี่ก็สนใจเหมือนกัน (คิดว่า hit the wall ชั่วคราว ก่อนจะมีนวัตกรรมใหม่ๆออกมา)

ปัจจุบันผมลงทุนใน AIA, Apple, Berkshire Hathaway, CB&I, MasterCard และ StatOil ครับ

ใน watch list ขณะนี้มี Visa, Domino Pizza และ BHP ครับ 

รอฟังความเห็นและประสบการณ์ของท่านอื่นๆครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ข้อผิดพลาดในอดีตในช่วงเริ่มลงทุนต่างประเทศของผม

ผมชอบบริษัทพลังงานโดยเฉพาะ oil&gas เมื่อ 2 ปีที่แล้วผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งพูดถึงแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่บราซิล ซึ่งเป็นแหล่งน้ำลึก มีบริษัทนานาชาติเข้าร่วมลงทุนกับ Petrobras ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของบราซิล (เหมือนกับ PTT) Petrobras มีแผนการลงทุนในอนาคตหลายโครงการโดยเงินลงทุนที่จะใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้าประมาณไว้ราวๆ แสนกว่าล้านเหรียญ ด้วยสองปัจจัยนี้ผมจึงเข้าลงทุนในบริษัท Petrobras ซึ่งมีโอกาสการเติบโตในอนาคตที่ดี (ลงทุนผ่าน ADR ในตลาด NYSE)

ด้วยความที่รัฐถือหุ้นใหญ่ ผลกระทบจากนโยบายทางการเมืองซึ่งผมมองข้าม ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ refinery และ retail กล่าวคือ ราคาน้ำมันหน้าปั๊มถูกตรึงไว้ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น บราซิลมีการบริโภคน้ำมันเกินกว่าที่จะผลิตได้ จึงต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น ข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับนโยบายนี้มีผลกับราคาหุ้นทุกครั้ง (ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม)

เมื่อกำไรกระทบ แผนการลงทุนอันมหาศาลก็ต้องนำกลับมาทบทวนใหม่ หลายๆโครงการต้องชะลออกไปเพื่อลดงบลงทุน

โครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมน้ำลึกต้องใช้เงินมหาศาลและมีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับแหล่งปกติ ดังนั้นหากราคาน้ำมันมีการปรับตัวลง กำไรจะกระทบค่อนข้างมากเช่นกัน

ด้วยเหตุผลข้างต้นผมจึงตัดสินใจ cut loss ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1495
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณพี่ offshore-engineer
รอฟังต่อครับ :D
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ด้วยความยินดีครับ :) รอฟังของคุณ kotaro เช่นกันครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
smartpeter
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ตอนนี้กำลังทยอยลงทุน ในธุรกิจ สามชนิดครับ
ตัวแรก เป็นธุรกิจเหมืองแร่ เน้นไปทาง Lithium ในออสเตรเลียครับ เนื่องจาก เชื่อว่าอเมริกา จะทุ่มเงินเข้ามาช่วยให้ธุรกิจที่ใช้พลังงานทางเลือกสามารถอยู่รอดและเติบโตได้เช่น บริษัท Tesla Motors, Inc. ราคาหุ้นกำลังไต่ระดับสูงไปเรื่อยๆเนื่องจากธุรกิจเริ่มทำกำไร และถ้าเทรนนี้ ขยายตัวแบบนี้ ความต้องการ Lithium เพื่อเอาไปทำแบตเตอรี่ น่าจะพุ่งสูงขึ้น ทั้งยานยนต์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถชาร์จไฟ และที่สำคัญคือ ตอนนี้ธุรกิจเหมืองแบบนี้ราคา ต่ำมากครับ

อีกหุ้นหนึ่ง Stereotaxis Inc เป็นบริษัทที่เน้นทาง การพัฒนาและผลิต อุปกรณ์เพื่อรักษาหรือบำบัดโรคเกี่ยวกับหัวใจครับ เนื่องจากแนวโน้มของคนที่เครียดสะสมน่าจะพิ่มขึ้น
เนื่องจากการกินอาหารไม่ดีเนื่องจากไม่มีตังต์ วิตกจริตกับเศรษฐกิจ และอื่นๆอีกเยอะครับ สิ่งที่ตามมาน่าจะเป็นความดัน กับโรคหัวใจ ดังนั้นความต้องการอุปกรณ์ชนิดดังกล่าวน่าจะมีมากขึ้น

ธุรกิจอีกตัวหนึ่งคือเหมือง ยูเรเนี่ยมครับ ตั้งแต่เกิดเหตการณ์ที่ญี่ปุ่น คราวก่อนทำไห้โรงไฟฟ้าปรมาณู ในญี่ปุ่นถูกสั่งปิดหมดเลย ราคายูเรเนี่ยมดิ่งเหวแบบสุดๆ
พอดีตามข่าวเจอ ว่าญี่ปุ่นกำลังจะเปิดเตาอุปรณ์ปรมาณูอีกครั้ง เลยเข้าไปเก็บใว้ยังได้ไม่มากพวกลากราคาไปหลายเท่าตัว กำลังรอไห้ย่อตัวมาเยอะกว่านี้จะซื้อเพิ่มอีกครับ

ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นเพิ่มเติมกรุณาแนะนำด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

offshore-engineer เขียน:ด้วยความยินดีครับ :) รอฟังของคุณ kotaro เช่นกันครับ
พี่่ออฟชอร์ครับ

ผมขออนุญาตถามความเห็นของพี่เกี่ยวกับ
Domino Pizza และธุรกิจอาหารน่ะครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ของผมลงทุนต่างประเทศมาได้ปีกว่าๆ

ไม่ได้ตั้งใจจะลงทุนต่างประเทศ หรือหาหุ้นอะไรเป็นพิเศษ แต่พอดีมีความชื่นชอบในกิจการ Google ติดตาม GOOG มานานเพราะผมเรียนจบมาทางวิศวฯ คอม เห็นแนวโน้ม Mega Trend ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิต แนวคิด วิธีการบริหารของ GOOG แล้วพอดีหุ้นไทยแพง เลยหลับหูหลับตา งูๆ ปลาๆ ซื้อ GOOG เข้ามาอยู่ในพอร์ต จนเป็นตัวหลักของพอร์ต

พอเริ่มลงทุนไปสักพัก เห็นแนวโน้มการใช้ FB ของคนก็สนใจ จดๆ จ้องๆ อยู่สักระยะ จนกระทั่งงบ Q4 ปี 2012 ออกมา Confirm ว่า Ad Model ใหม่ๆ เริ่มจะโอเค เลยซัดเข้าไปไม้หนึ่ง แม้ว่าราคาโดยรวมยังดูแพง เกินเกณฑ์ไปหน่อย แต่เดาๆ มั่วๆ ว่าถ้า Ad Model ใหม่ Contribute รายได้ เกิดการ Shift Ad Spending จาก TV มา Digital Media แล้ว FB น่าจะโตได้เยอะ เลยกัดฟันซื้อไปหน่อย แต่พองบ Q1 2013 ออกมา ทำได้ไม่ดีเท่าที่คาด แถมราคาโดนทุบลงมา เลยโดน Stop ของหลุดไปครึ่ง (ปกติเวลาหุ้นที่ไม่ได้ถูกจริงๆ หรือผมมั่นใจไม่มากจะต้องมี Stop เสมอ) แต่พองบ Q2 ออก กลับโตก้าวกระโดด ราคาวิ่งกระจาย ตอนงบออกผมไม่ได้อยู่ในตลาดอีกต่างหาก รู้ตัวอีกทีวิ่งไป 60% จะซื้อคืน เพิ่ม Position ก็ทำไม่ทัน ได้แต่น้ำตาตก เพราะมีน้อยไปกว่าที่ตั้งใจจะมีตอนแรกไปมาก >-< T.T

ข้อสังเกต เท่าที่ผมเห็นกิจการมาหลายอันแล้ว ในวันงบออกนี่ ควรที่จะรอดูงบ ฟัง Conference Call มากๆ เพราะ ราคาอาจจะวิ่งกระจายไม่รู้เรื่องได้ ขึ้นลงที รุนแรงเหลือเกิน ตลาดหุ้นที่ US นี่ Forward Looking สุดๆ ถ้าเราไม่มีมุมมองที่ยาว หรือ แตกต่างจากนักลงทุนคนอื่น บางครั้งอาจจะเจอกับดักราคาได้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

สรุป วิธีการลงทุนหุ้นต่างประเทศผมนี่จะ Bottom Up เต็มรูป ถ้าเป็นกิจการที่จับต้องไม่ได้ เราไม่ได้ใช้บริการอยู่เรื่อยๆ เนืองๆ นี่ตัดออกจาก List ก่อนเลย ติดตามพัฒนาการได้ยาก มองเห็นบริการได้ช้า ถ้าเป็นกิจการที่เราติดตามได้แล้ว ค่อยมาประเมินมูลค่า ดูราคาอีกที เวลาลงทุนต้องมี Investment Horizon 5 ปีเป็นอย่างต่ำ ถึงจะกล้าซื้อ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
smartpeter
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

kotaro เขียน:ขอบคุณพี่ offshore-engineer
รอฟังต่อครับ :D
ไม่ทราบว่าคุณ offshore-engineer อยู่ที่อเมริกาหรือเปล่าครับ
ขอรบกวนเรียนถามว่าเคยทดลองขับรถไฟฟ้า TESLA MODEL S
ไหมครับ พอดีที่นิวซีแลนด์ยังไม่มีขายเลย
อยากจะลงทุนหุ้นตัวนี้ แต่ไม่มั่นใจว่าสินค้าของเค้าจะดีหรือเปล่าครับดูจากแนวโน้มใหญ่แล้วปีหน้าบริษัทนี้คงเริ่มทำกำไรได้

ขอบคุณครับ
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

thaloengsak เขียน:
offshore-engineer เขียน:ด้วยความยินดีครับ :) รอฟังของคุณ kotaro เช่นกันครับ
พี่่ออฟชอร์ครับ

ผมขออนุญาตถามความเห็นของพี่เกี่ยวกับ
Domino Pizza และธุรกิจอาหารน่ะครับ
ยังไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียดครับ ที่เพิร์ธมีสาขาเยอะอยู่ และผู้รับ franchise ที่ออสเตรเลียก็จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ที่ออส ผมเลยสนใจครับ ดูผ่านๆเหมือนว่า ส่วนทุนจะติดลบต้องหาเวลาอ่าน 10K ก่อนครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

smartpeter เขียน: ไม่ทราบว่าคุณ offshore-engineer อยู่ที่อเมริกาหรือเปล่าครับ
ขอรบกวนเรียนถามว่าเคยทดลองขับรถไฟฟ้า TESLA MODEL S
ไหมครับ พอดีที่นิวซีแลนด์ยังไม่มีขายเลย
อยากจะลงทุนหุ้นตัวนี้ แต่ไม่มั่นใจว่าสินค้าของเค้าจะดีหรือเปล่าครับดูจากแนวโน้มใหญ่แล้วปีหน้าบริษัทนี้คงเริ่มทำกำไรได้

ขอบคุณครับ
ผมอยู่ที่เพิร์ธ ออสเตรเลีย ไม่ใกล้ไม่ไกลจาก NZ ครับ คุณ smartpeter อยู่เมืองไหนครับ

ไม่เคยลองขับรถไฟฟ้าครับ ที่ออสก็ยังไม่มี
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
smartpeter
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

offshore-engineer เขียน:
smartpeter เขียน: ไม่ทราบว่าคุณ offshore-engineer อยู่ที่อเมริกาหรือเปล่าครับ
ขอรบกวนเรียนถามว่าเคยทดลองขับรถไฟฟ้า TESLA MODEL S
ไหมครับ พอดีที่นิวซีแลนด์ยังไม่มีขายเลย
อยากจะลงทุนหุ้นตัวนี้ แต่ไม่มั่นใจว่าสินค้าของเค้าจะดีหรือเปล่าครับดูจากแนวโน้มใหญ่แล้วปีหน้าบริษัทนี้คงเริ่มทำกำไรได้

ขอบคุณครับ
ผมอยู่ที่เพิร์ธ ออสเตรเลีย ไม่ใกล้ไม่ไกลจาก NZ ครับ คุณ smartpeter อยู่เมืองไหนครับ

ไม่เคยลองขับรถไฟฟ้าครับ ที่ออสก็ยังไม่มี
อยู่โรโตรัว ครับ ตอนนี้ เทรนรายรับของบริษัทนี้กำลัง ขึ้นเรื่อยๆ สันนิษฐานว่าจุดเด่นหลักคือ เครื่องเดินเงียบ มาก ถ้ามีการขยายจุดชารฺ์จไฟและทำไห้ชาร์จได้เร็ว
บริษัทนี้น่าจะให้ผลตอบแทนในการลงทุนที่ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
neuhiran
Verified User
โพสต์: 815
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

smartpeter เขียน:ตอนนี้กำลังทยอยลงทุน ในธุรกิจ สามชนิดครับ
ตัวแรก เป็นธุรกิจเหมืองแร่ เน้นไปทาง Lithium ในออสเตรเลียครับ เนื่องจาก เชื่อว่าอเมริกา จะทุ่มเงินเข้ามาช่วยให้ธุรกิจที่ใช้พลังงานทางเลือกสามารถอยู่รอดและเติบโตได้เช่น บริษัท Tesla Motors, Inc. ราคาหุ้นกำลังไต่ระดับสูงไปเรื่อยๆเนื่องจากธุรกิจเริ่มทำกำไร และถ้าเทรนนี้ ขยายตัวแบบนี้ ความต้องการ Lithium เพื่อเอาไปทำแบตเตอรี่ น่าจะพุ่งสูงขึ้น ทั้งยานยนต์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถชาร์จไฟ และที่สำคัญคือ ตอนนี้ธุรกิจเหมืองแบบนี้ราคา ต่ำมากครับ

อีกหุ้นหนึ่ง Stereotaxis Inc เป็นบริษัทที่เน้นทาง การพัฒนาและผลิต อุปกรณ์เพื่อรักษาหรือบำบัดโรคเกี่ยวกับหัวใจครับ เนื่องจากแนวโน้มของคนที่เครียดสะสมน่าจะพิ่มขึ้น
เนื่องจากการกินอาหารไม่ดีเนื่องจากไม่มีตังต์ วิตกจริตกับเศรษฐกิจ และอื่นๆอีกเยอะครับ สิ่งที่ตามมาน่าจะเป็นความดัน กับโรคหัวใจ ดังนั้นความต้องการอุปกรณ์ชนิดดังกล่าวน่าจะมีมากขึ้น

ธุรกิจอีกตัวหนึ่งคือเหมือง ยูเรเนี่ยมครับ ตั้งแต่เกิดเหตการณ์ที่ญี่ปุ่น คราวก่อนทำไห้โรงไฟฟ้าปรมาณู ในญี่ปุ่นถูกสั่งปิดหมดเลย ราคายูเรเนี่ยมดิ่งเหวแบบสุดๆ
พอดีตามข่าวเจอ ว่าญี่ปุ่นกำลังจะเปิดเตาอุปรณ์ปรมาณูอีกครั้ง เลยเข้าไปเก็บใว้ยังได้ไม่มากพวกลากราคาไปหลายเท่าตัว กำลังรอไห้ย่อตัวมาเยอะกว่านี้จะซื้อเพิ่มอีกครับ

ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นเพิ่มเติมกรุณาแนะนำด้วยครับ
คุณ smartpeter เน้นไปทาง Lithium มันคือตัวไหนครับ :?:
smartpeter
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ลองอ่านที่นี่

http://www.australian-lithium.com/

กับที่นี่
http://www.dailymail.co.uk/home/moslive ... z2bQePKEH9

ครับตอนนี้กำลังเก็บสะสมอยู่ครับ

โอกาศที่ดีตอนนี้คือ ออสเตรเลียลดอัตราดอกเบี้ย จะทำไห้มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยน ออสซี่ ลดลง ทำไห้มีโอกาศกำไรอัตราแลกเปลี่ยนด้วยครับ
ตอนนี้มีกลุ่มนักลงทุนจีนเข้ามาไล่ซื้อ แหล่งที่มีแร่ธาตุตัวนี้ และทำการผลิตแบบขาดทุน ทำไห้ราคาหุ้นลดลงมากกว่าที่ควรเป็นอย่างมาก
เป็นการบีบเอาแหล่งผลิตเพื่อควบคุมการเข้าถึงสินแร่ตัวนี้
ลองศึกษาดูก่อนครับ

ข้อควรจำ ลงทุนอุตสากรรมนี้ต้องอดทนมากนะครับ ต้องเข้าใจเทคนิดการซื้อ ไม่ใช่การซื้อเฉลี่ยนะครับหุ้น แต่มีโอกาศกำไรหลายพันเปอร์เซนต์สูง
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1495
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

offshore-engineer เขียน:ด้วยความยินดีครับ :) รอฟังของคุณ kotaro เช่นกันครับ
ของผมพึ่งเริ่มลงทุนในตลาด US เป็นหลักพึ่งต้นปีนี้เองครับ
สาเหตุหลักๆ เพราะคิดว่าตลาดหุ้นในเมืองไทยขึ้นมาเยอะมากแล้ว จึงเป็นการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตครับ
ที่สนใจในตลาด US เพราะว่าบริษัทใหญ่ๆระดับโลก ส่วนใหญ่ก็ listed อยู่ใน US
จึงเป็นโอกาสให้เราเลือกและศึกษาเต็มไปหมด

คิดว่ายากกว่าการลงทุนในบ้านเรา ด้วยปัจจัยเรื่องภาษา กฏระเบียบต่างๆที่เราไม่คุ้น
แต่ก็ชดเชยด้วยข้อดีหลายๆอย่าง

ตัว Domino's pizza ผมก็แอบมองอยู่ใน watch list เหมือนกันเพราะสนใจ evolutional capital ที่ได้สิทธิ์ franchise จาก
DPZ และช่วง 2 ปีนี้ผมสนใจศึกษาธุรกิจพวก franchise ด้วยครับ franchise ในเมกานี่เป็นตันตำรับธุรกิจแนวนี้เลย จะเห็นว่า McDonald , Subway, KFC พวกนี้กำเนิดจาก เมกา ทั้งสิ้นเลย
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผม 2 ปีครับ ลงทุนในญี่ปุ่นและอังกฤษ

เหตุผลลงทุนในอังกฤษเพราะมีวิกฤต ยุโรป แลกตังค์ได้ถูก เลือกหุ้น โลตัส เพราะรู้จัก โลตัสในประเทศ แม่บ้านและตัวผมและลูกไปเดินบ่อย พอเข้าใจได้

ลงทุนในญี่ปุ่นเพราะเยนอ่อนแลกตังค์ได้ถูก เลือก หุ้น มามี่ โป๊ะโกะ เพราะ มีรายงานเป็นภาษาอังกฤษ และรู้จักโป๊ะโกะ เคยใช้ยี่ห้ออื่นก็รู้สึกว่า แถบกาวมันสู้ โป๊ะโกะ ไม่ได้ บริษัทมีแผนขยายงาน

ก็มั่ว ๆ นะครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
My House
Verified User
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ผม 2 ปีครับ ลงทุนในญี่ปุ่นและอังกฤษ

เหตุผลลงทุนในอังกฤษเพราะมีวิกฤต ยุโรป แลกตังค์ได้ถูก เลือกหุ้น โลตัส เพราะรู้จัก โลตัสในประเทศ แม่บ้านและตัวผมและลูกไปเดินบ่อย พอเข้าใจได้

ลงทุนในญี่ปุ่นเพราะเยนอ่อนแลกตังค์ได้ถูก เลือก หุ้น มามี่ โป๊ะโกะ เพราะ มีรายงานเป็นภาษาอังกฤษ และรู้จักโป๊ะโกะ เคยใช้ยี่ห้ออื่นก็รู้สึกว่า แถบกาวมันสู้ โป๊ะโกะ ไม่ได้ บริษัทมีแผนขยายงาน

ก็มั่ว ๆ นะครับ
จากประสบการณ์ ตอนนี้มีลูกเล็ก ไม่มียี่ห้อไหนที่ซึมซับได้ดีเท่า โป๊ะโกะ :D :D ยี่ห้ออื่นลูกขึ้นผื่นแดง แต่โป๊ะโกะนี่แห้งสนิท
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ช่วงนี้สนใจ Fast Retail เจ้าของแบรนด์ Uniqlo อยู่ แต่หุ้นมัน skyrocket เกิน แหงนคอ รอดู อยู่

จริง ๆ ก็สนตั้งแต่ตอนที่เค้ามาเปิดแบรนด์ในบ้านเราแล้วนะครับ ก็สนต่อไป
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

Unicharm เป็นเจ้าตลาดผ้าอ้อมแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับเด็กในหลายๆประเทศในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสุขอนามัยอื่นๆอีกมากมาย

สำหรับ Uniqlo ผมเพิ่งจะมีโอกาสได้ใช้บริการ (ภรรยาไปช้อปเสื้อผ้าให้ระหว่างที่ผมดูแลเจ้าตัวเล็กอยู่ที่บ้าน)

ขอเก็บทั้งสองบริษัทไว้ใน Watch list นะครับ ขอบคุณคุณ NB ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

Earlier, I mentioned that one of my mistakes is investing in Petrobras. Below is an article from Financial Times which sums up the problem plaguing the company quite nicely.

http://www.ft.com/intl/cms/s/0/290a359a ... z2i2qlHKOM
Petrobras: Unfulfilled potential
October 17, 2013 6:55 pm
By Samantha Pearson and Joe Leahy


Pharaoh’s motel in the industrial outskirts of São Paulo is typical of Brazil’s 5,000 secretive “love hotels” found in the suburbs of big cities. Just visible from the 10-lane highway that runs to the coast, rows of secluded, air-conditioned lodges offer the usual combination of round beds and thematic quirks – in this case, murals of Cleopatra and a selection of hieroglyphs. However, Pharaoh’s biggest, and perhaps dirtiest, secret is locked away in one of the back rooms: a diesel-guzzling generator.

Like other remote hotels cut off from the main gas system, it runs on a generator at peak times to avoid expensive electricity tariffs, taking advantage of diesel prices that are kept artificially low in Brazil.

“Is it environmentally friendly? No, but we’ve got to make a living,” says José Marchi, the motel’s manager.

Six years after an oil discovery that promised to transform Brazil, the nation’s energy policy is in disarray. And for investors who bought shares in Brazil’s state-controlled oil company Petrobras in 2010 as part of its $70bn equity offering – the world’s biggest share issue – Pharaoh’s is a telling example of where a big chunk of that cash has gone.

Since January 2011, Petrobras’s refining division has posted a total net loss of R$39.7bn ($18.3bn), equivalent to the gross domestic product of Honduras. It funds the country’s de-facto fuel subsidies enjoyed by motorists, industry and anyone with a generator.

It is the most toxic aspect of growing state intervention in the industry, which investors blame for destroying more than $200bn of Petrobras’s value since 2009, turning one of Brazil’s best hopes for future growth into a financial time bomb.

“The government has been strangling the capacity of the company at a time when it most needs cash,” says Adilson de Oliveira, a professor at the Federal University of Rio de Janeiro. “But for the government to admit it has made mistakes is not going to be easy.”

Investors, bewitched by the company’s vast offshore reserves, are still prepared to try their luck with Petrobras. Confident that Petrobras’s state controllers will not let it reach breaking point, shares have rebounded 20 per cent since an eight-year low in July.

However, as shown by the decision this month by Moody’s, the rating agency, to downgrade the company, time is running out for the government to change its course.

The next few months will prove crucial for Petrobras, which will be watched by emerging markets as a test of whether the state capitalist model embraced by many after the financial crisis is sustainable.

The game-changer for the company based in Rio de Janeiro came in 2007 with the first pre-salt discoveries. Lying in the seabed off Brazil’s southeast coast beneath a layer of salt up to 2km thick, the reserves were estimated to contain at least as much as the near-60bn barrels of oil found in the North Sea. “It’s a gift from God,” Luiz Inácio Lula da Silva, Brazil’s then president, exclaimed at the time. Brazil was now an oil power.

Emboldened by the financial crisis and a loss of confidence in market-based capitalism globally, the government set about the task of bringing Petrobras back under greater state control. In December 2010, Congress passed an onerous regulatory framework requiring Petrobras to be the sole operator of all new pre-salt blocks with a minimum 30 per cent stake. Strict national content rules were also introduced to limit the use of foreign equipment and services.

“The discovery of pre-salt suddenly changed the way the government viewed the company,” says Prof Oliveira. “They began to see that Petrobras could be a source of enormous revenue for the government and an instrument for industrial policy.”

As oil prices began to creep up towards $100 per barrel at the end of 2010, the government prevented Petrobras from passing on the higher prices to the domestic market to help contain inflation.

Since then Petrobras has been forced to import as much as 215,000 b/d of petrol and diesel to meet domestic demand, and sell it at a loss – currently about 20 per cent less than the total cost on an import parity basis, according to Brazil’s Itaú BBA bank.

Unlike fuel subsidies in countries such as Venezuela or India, the Brazilian practice is neither official nor, according to some, even legal. Instead it is the result of a private deal among politicians to run parts of the listed company at a loss for the good of the country.

“Each month the board meets and weighs up the short-term profitability of the company against the country’s needs,” says a former senior executive at the company.

The prospectus for Petrobras’s 2010 rights offer makes no explicit mention of the government pricing practices that would help wipe out the equivalent of about 30 per cent of the total capital raised.

According to a partner at one of Brazil’s biggest law firms, this omission could be grounds for a lawsuit. Petrobras declined to comment, as did Guido Mantega, Brazil’s finance minister and also Petrobras’s chairman. The country’s energy ministry responded by saying oil companies in Brazil are free to set their own prices.

Since Maria das Graças Foster, a technically-minded Petrobras veteran, took over as chief executive in February last year, the company has negotiated several moderate price increases. But with inflation still around 6 per cent, further rises are not guaranteed.

If there are no more fuel price increases by the end of 2014, Petrobras will need another capitalisation to reach its net debt to earnings target ratio of 2.5 times, which is crucial to maintaining its investment grade rating, says Itaú BBA’s Paula Kovarsky.

Based on the current exchange rate of R$2.20 to the dollar, Petrobras would need to raise R$75bn, but if the currency weakened to R$2.50 to the dollar it would need more than R$100m, she adds.

. . .

Petrobras might have avoided the quagmire by increasing production. But its output has been stagnant or in decline since early 2012, largely because the government held no oil auctions between 2008 and 2013 as it wrangled over the division of royalties.

In the second quarter last year, Petrobras posted its first quarterly loss in 13 years of R$1.35bn. A sharp depreciation in the Brazilian real swelled the value of its dollar-denominated debt, raising import costs.

Ms Graças Foster has sought to appease minority investors by hiring the company’s first genuinely independent director in April and introducing an aggressive cost-cutting plan that aims to save R$34bn by 2016.

However, such moves have done little to distract from the more than $200bn in shareholder value that Amec, Brazil’s investor association, recently estimated had been destroyed since Petrobras announced its share offering in August 2009.

For Petrobras’s investors, the discovery of pre-salt has been a curse, not a blessing.

Members of Brazil’s leftist ruling Workers’ party (PT) have developed a stock response to such complaints. “Our party serves Brazil, not speculators,” said Wellington Dias, the leader of the PT in the Senate, in March.

Owners of ethanol plants across the country disagree. Caps on the country’s petrol prices have made it harder to sell the biofuel to motorists, accelerating the demise of the industry.

Given the size of Petrobras, its profitability is also clearly in the country’s interests, analysts say. If it cannot stop bleeding cash it will be harder to raise capital for its $237bn five-year investment plan – a plan that will drive economic growth and create thousands of jobs.

“They have these enormous resources but they are in this transition period and there are a lot of questions about how they are going to get from here to there in delivering on production growth, rigs and local content,” says Thomas Coleman, an analyst at Moody’s.

Moody’s cut Petrobras’s foreign and local currency debt ratings from A3 to Baa1 this month, reflecting its increasing leverage.

The company’s total adjusted debt (debt including off-balance sheet items such as equipment leases) has grown from less than $40bn in 2008 to $185bn by the middle of this year, according to rating agencies, making it one of the world’s most heavily indebted oil companies in absolute terms.

. . .

However, it is places such as Caju in Rio de Janeiro, where the government’s interventionist policies face their strongest test. Three years ago, the working-class neighbourhood in the city’s derelict port region was known for two things: drugs gangs and being home to one of the country’s biggest cemeteries.

However, after Petrobras hired EEP, Brazil’s newly formed shipbuilder, in 2010 to renovate Caju’s Inhaúma shipyard, the region is now a hub for the country’s resurgent maritime industry.

By imposing strict national content regulations, Brazil plans to use the pre-salt discoveries to revive its shipbuilding industry, which has been in decline since the 1970s.

The contentious rules that cap foreign provision of equipment and services are responsible for increasing the costs of some gear by between 30 and 50 per cent, says Itaú BBA’s Ms Kovarsky.

Others complain of the regulations’ bureaucracy; it takes as long as three weeks to calculate the national content of one offshore drill.

But Fernando Barbosa, head of EEP, says Kawasaki, the company’s Japanese technology partner, would not have taken an equity stake in the group otherwise. The company plans to expand to Africa next year.

The industry’s rigorous pre-salt regulations are also regarded as a big obstacle and the reason why many international oil companies such as Exxon and BP have not come forward to bid for the country’s long-awaited Libra field. Only 11 companies have signed up for next week’s auction, mainly state-run groups from China and elsewhere in Asia.

“The poor turnout took the PT by surprise,” says Prof Oliveira. “They imagined international oil companies would be desperate to get into Brazil but the world has changed since 2008,” he says. The shale gas revolution in the US, combined with promising oil prospects in Mexico and west Africa, means Brazil will have to work harder to attract private sector companies.

As Libra has shown, if Brazil does not make itself more investor-friendly it risks simply becoming a pawn in the geopolitical strategies of Asian states rather than the great oil power it dreamt of back in 2007.

“Brazil cannot simply go ahead just selling oil blocks to the Chinese,” says Mr de Oliveira. “Something has to change.”

Ethanol: Sun sets on South America’s ‘biofuel Silicon Valley’

For the families of Sertãozinho, the towering neoclassical gates at the entrance to the small farming town are a painful reminder of its glorious past, writes Samantha Pearson.

In 2008 the community of 100,000 became the centre of Brazil’s booming ethanol industry – the country’s so-called “biofuel Silicon Valley”. Wedged between Brazil’s most fertile cane fields about four hours’ drive north of São Paulo, Sertãozinho attracted multibillion-dollar investments in ethanol plants and was enjoying China-like growth rates.

To celebrate its newfound status, the town splashed out R$300,000 on its grand new entrance and spent another R$2.5m on a 57m-high statue of Christ the Redeemer that easily dwarfed Rio de Janeiro’s.

The town did not know, however, that its fate had already been sealed more than 600 miles away with Petrobras’s discovery of vast offshore oil reserves.

Sertãozinho is now largely deserted. Brazil’s de facto petrol subsidies have made it difficult for ethanol producers to compete at the pump. In Brazil most cars are built with flex-fuel engines, allowing drivers to choose whether to fill up with petrol or ethanol.

While Brazil’s sugar and ethanol plants have also been hit hard by the global financial crisis, the government’s cap on petrol prices accelerated their demise.

More importantly, uncertainty over future petrol prices has dissuaded investment in the industry, says Adhemar Altieri, a director at Unica, the Brazilian sugar and ethanol association. “When the price of your competitor can be adjusted at a whim there is too much unpredictability. It becomes difficult to ask someone to pursue the industry with any passion,” he says. While 30 plants were built in 2008 in the centre-south region, there are no plans to construct any more mills.

Mr Altieri adds: “We’re not looking for guarantees but we need to know what the government wants. Where does ethanol fit in to their plans?”

After many of Sertãozinho’s ethanol factories shut down, the town’s unemployment rate surged. “I remember the day I lost my job as it was exactly six months after my wife gave birth to our second child,” says José Totoli, a former metalworker at an ethanol factory, as he leaves the town’s crowded jobcentre. He had just been interviewed for a part-time job as a security guard, he says.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เพิ่ม watch list มา 2 บริษัทครับ

บริษัทแรกคือ Priceline.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็ปจองโรงแรม และเป็นเจ้าของ booking.com และ agoda.com ที่เรารู้จักกันดี ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ผมใช้ booking.com ในการจองโรงแรมเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ผมคิดว่าเทรนด์ดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต อันเป็นผลมาจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต low cost airline และคนที่ขยับเข้ามาเป็น middle class เพิ่มมากขึ้น

บริษัทที่สองคือ Cerner Corp ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน IT กับโรงพยาบาลและ health care providers อื่นๆ มีmarket share อันดับ 1 ในอเมริกา (สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศยังน้อยอยู่) รายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 30ปีที่บริษัทเริ่มก่อตั้ง และคาดว่าจะเติบโตได้ดีในอนาคต

ทั้งสองจดทะเบียนในตลาด NASDAQ ราคาตอนนี้ไม่ถูกในความเห็นผมครับ แต่ยังไม่ได้ประเมินอย่างละเอียด
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

offshore-engineer เขียน:เพิ่ม watch list มา 2 บริษัทครับ

บริษัทแรกคือ Priceline.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็ปจองโรงแรม และเป็นเจ้าของ booking.com และ agoda.com ที่เรารู้จักกันดี ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ผมใช้ booking.com ในการจองโรงแรมเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ผมคิดว่าเทรนด์ดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต อันเป็นผลมาจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต low cost airline และคนที่ขยับเข้ามาเป็น middle class เพิ่มมากขึ้น

บริษัทที่สองคือ Cerner Corp ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน IT กับโรงพยาบาลและ health care providers อื่นๆ มีmarket share อันดับ 1 ในอเมริกา (สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศยังน้อยอยู่) รายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 30ปีที่บริษัทเริ่มก่อตั้ง และคาดว่าจะเติบโตได้ดีในอนาคต

ทั้งสองจดทะเบียนในตลาด NASDAQ ราคาตอนนี้ไม่ถูกในความเห็นผมครับ แต่ยังไม่ได้ประเมินอย่างละเอียด
รอครับ นั่นคือเวลาที่คนอื่นเกลียด ตลาดหมี พวกเรากลับชอบ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

offshore-engineer เขียน:เพิ่ม watch list มา 2 บริษัทครับ

บริษัทแรกคือ Priceline.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็ปจองโรงแรม และเป็นเจ้าของ booking.com และ agoda.com ที่เรารู้จักกันดี ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา ผมใช้ booking.com ในการจองโรงแรมเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ผมคิดว่าเทรนด์ดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต อันเป็นผลมาจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต low cost airline และคนที่ขยับเข้ามาเป็น middle class เพิ่มมากขึ้น

บริษัทที่สองคือ Cerner Corp ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน IT กับโรงพยาบาลและ health care providers อื่นๆ มีmarket share อันดับ 1 ในอเมริกา (สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศยังน้อยอยู่) รายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 30ปีที่บริษัทเริ่มก่อตั้ง และคาดว่าจะเติบโตได้ดีในอนาคต

ทั้งสองจดทะเบียนในตลาด NASDAQ ราคาตอนนี้ไม่ถูกในความเห็นผมครับ แต่ยังไม่ได้ประเมินอย่างละเอียด
Pcln นี่ผมก็พึ่งซัดเข้าไปเหมือนกัน รอดูงบสัปดาห์นี้อยู่ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

คุณ picatos ให้มูลค่ากิจการของ Priceline.com เท่าไหร่ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

offshore-engineer เขียน:คุณ picatos ให้มูลค่ากิจการของ Priceline.com เท่าไหร่ครับ
อืม... เวลาผมลงทุนใน Growth Stock ที่ Business Model แข็งแรงๆ แบบนี้... ถ้าปัจจัยเชิงคุณภาพผ่าน ราคารับได้ รู้สึกว่าไม่ได้ซื้อแพง ผมจะไม่ทำ Valuation ละเอียด ชอบแล้วซัดเลยอารมณ์เม่ามากๆ กะถือติดตามกิจการไปยาวๆ 3-5 ปีซะมากกว่า ซึ่งผมว่า Growth ที่ 30-40% ในราคา Forward P/E 20 เท่านี่ผมรับได้เลย

ถ้ามองไปในอนาคตของกิจการ Revenue ปี 2014 สัก 8 พันล้าน NPM สัก 30% ที่นักวิเคราะห์ประเมินคร่าวๆ นี่ผมเชื่อว่าเป็นไปได้เลย... จำนวนโรงแรมที่เข้ามาอยู่ในเครือข่ายของ Booking.com เพิ่มขึ้นสี่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์ International Booking โตระดับ 4x%... แล้วแผนธุรกิจที่จะบุกเข้าไปที่ US บริษัทเป็น Net Cash ตลาดการท่องเที่ยวโดยรวมโตจากเทคโนโลยี และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป Booking.com ที่อยู่ในสถานะที่จะขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของโลก จากฐานลูกค้า การครองตลาดในยุโรป Network Effect จากฐานโรงแรมเดิมที่ใหญ่ App หรือ เว็บ ที่เปลี่ยนเทียบราคาการจองโรงแรมอย่าง KAYAK ทำให้ราคาโรงแรมทุกๆ เว็บ Transparent และเท่าๆ กัน ทำให้คนที่ครองฐานลูกค้าเดิมจะได้ประโยชน์จาก Network Effect มากที่สุด... แถมประวัติในอดีตของ PCLN อาจจะทำให้นักลงทุนมี Perception ที่ไม่ดีกับกิจการ นี่ยิ่งชอบเลย

มองๆ ไปแล้วก็เลยเอามาติดพอร์ต รอลุ้นงบไตรมาสนี้... แล้วค่อยตัดสินใจอีกทีว่าจะเอาเพิ่มอีกไหม...

อารมณ์ที่ซื้อ PCLN ตอนนี้ ก็คิดแบบมักง่ายแบบตอนที่ซื้อ GOOG ที่ Forward P/E 12 เท่าอ่ะครับพี่ Offshore... ชอบคุณภาพกิจการ ราคารับได้ก็ซัดเลย... ไม่ได้วิเคราะห์ ทำงบอะไรเลย... อาศัยดูกิจการเทียบกับคู่แข่ง อย่าง Expedia, Orbits ใน yCharts แล้ว Confirm ว่า PCLN เป็น Outlier แล้วก็ซัดเลย

ขออภัยที่อาจจะไม่ได้ไอเดียในเรื่องมูลค่ากิจการนะครับ... พอดีหลังๆ เวลาลงทุนกิจการคุณภาพดีๆ ที่ชอบ ไม่เคยดูละเอียดเลยครับ... อ่าน 10-K, 10-Q ก็อ่านชิวๆ ขำๆ ฟัง Conference Call อ่าน Paper ก็สักแต่อ่านผ่านๆ ประดับความรู้เฉยๆ ไม่ค่อยได้ทำ Valuation ละเอียดๆ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
offshore-engineer
Verified User
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ขอบคุณมากครับคุณ picatos เป็นวิธีลงทุนที่ง่ายและเข้าใจง่ายครับ

ผมอ่าน 10Kในส่วนที่เกี่ยวกับความเสี่ยง ประเด็นนึงที่บริษัทหยิบยกขึ้นมาคือ โอกาสการเข้ามาแข่งขันใน sector นี้ของบริษัทที่ใหญ่กว่า มีทรัพยากรที่มากกว่า มีข้อมูลมากกว่า อย่าง Apple หรือ Google ด้วยความที่อุตสาหกรรมนี้มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก จำได้คร่าวๆว่า Apple จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า iTravel ไว้แล้ว ผมมาคิดดูว่าความได้เปรียบที่ priceline.com มีจะยั่งยืนแค่ไหนครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

offshore-engineer เขียน:ขอบคุณมากครับคุณ picatos เป็นวิธีลงทุนที่ง่ายและเข้าใจง่ายครับ

ผมอ่าน 10Kในส่วนที่เกี่ยวกับความเสี่ยง ประเด็นนึงที่บริษัทหยิบยกขึ้นมาคือ โอกาสการเข้ามาแข่งขันใน sector นี้ของบริษัทที่ใหญ่กว่า มีทรัพยากรที่มากกว่า มีข้อมูลมากกว่า อย่าง Apple หรือ Google ด้วยความที่อุตสาหกรรมนี้มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก จำได้คร่าวๆว่า Apple จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า iTravel ไว้แล้ว ผมมาคิดดูว่าความได้เปรียบที่ priceline.com มีจะยั่งยืนแค่ไหนครับ
ขออนุญาตหว่านแห เอาภาพให้ครบเลยนะครับพี่ Offshore

สำหรับผม หัวใจของ PCLN อยู่ที่ Booking.com และ DCA ของกิจการอย่าง Booking.com นี่อยู่ที่ Network Effect เหมือนกับกิจการอย่าง MA ที่พี่ Offshore ลงทุนอยู่... ซึ่ง Network ของ Booking.com ที่ลงหลักปักฐาน ยึดฐานโรงแรมที่ยุโรปได้นี่ เป็น Network Effect ที่สำคัญมาก เพราะ ลักษณะของธุรกิจโรงแรมในยุโรป จะเป็นโรงแรมเล็กๆ ที่กระจายตัวเต็มไปหมด การที่ Booking.com โตขึ้นมาได้นี้ ก็เกิดจากการที่ Access เข้าไปถึงโรงแรมเหล่านี้ได้ จนปัจจุบันฐานโรงแรมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีโรงแรมให้เลือกจากสามแสนกว่าโรง

เมื่อไหร่ที่ลูกค้าจะไปเที่ยวยุโรปแล้วจองโรงแรม จะพบว่า Booking.com ดีสุด... และด้วยระบบของ Booking.com ที่มีฐานข้อมูลของลูกค้าเดิมที่เข้ามา Review โรงแรมเอาไว้ มาตรฐานการกำหนดราคาที่โปร่งใส เห็นอะไรได้สิ่งนั้น ไม่ปวดหัววุ่นวาย แถมเป็น Free Cancellation และเมื่อเทียบราคากับคู่แข่งทั้งหมด ราคาก็เท่าๆ กัน (ซึ่งเกิดจากพวกระบบ Booking ใหญ่ๆ นี่จะมี Minimun Rate Gaurantee อยู่ ถ้าโรงแรมที่เข้ามาอยู่ในเครือข่ายไม่ให้ราคาเท่าๆ กัน โรงแรมเหล่านี้จะมีปัญหาแน่นอน สุดท้าย ทุกคนเลยได้ราคาเท่าๆ กัน Booking Agency ถ้าจะเล่นต้องไปเล่น Promotion พวกสะสมคะแนน หรือร่วมกับบัตรเครดิตอย่าง Agoda แทน)

ในขณะที่ผลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้คนเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากขึ้น เพราะ ง่ายขึ้น ถูกลง แถมถูกกระตุ้นให้เที่ยวจากไปดูรูปคนอื่นเค้าใน Social Network อย่าง IG หรือ FB ส่งผลให้แนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคตจะยังคงดีต่อไปเรื่อยๆ แต่พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว จะมีลักษณะ ไม่เที่ยวซ้ำที่ หรือพักซ้ำโรงแรม ความกลัวในการออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ มีน้อยลง... อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความกลัวของนักท่องเที่ยวจะน้อยลง แต่ก็ยังกลัวอยู่...​ นักท่องเที่ยวจะหาข้อมูล จองโรงแรม เตรียมแผนการเที่ยว กับเว็บไซต์ที่คุ้นเคย... ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดที่ Network Effect ของ Booking.com ทำงานได้เต็มที่ จากฐานลูกค้าทั้งโรงแรมและนักท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว... ซึ่งการยึดครองตลาดยุโรปได้ ทำให้เป็นนักท่องเที่ยวที่จะไปยุโรป จะต้องเคยใช้บริการของ Booking.com และอาจจะกลายเป็นมาฐานลูกค้าในอนาคตได้

ผมสังเกตพฤติกรรมในการท่องเที่ยวของตัวเอง...​ พบว่า พอใช้บริการของ Booking.com แล้วไม่มีปัญหาอะไร เราก็อยากจะกลับมาใช้บริการอีก... พอเราเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ เว็บแล้วพอๆ กัน ก็ตัดสินใจใช้ Booking.com เหมือนเดิม เพราะ คุ้นเคย มั่นใจ และชอบระบบ Free Cancellation... ซึ่งผลของ Network Effect จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาได้ยาก เหมือนๆ กับ V หรือ MA

การเข้ามาของ Google ผมคิดว่าจะมีผลกับการจองโรงแรมในวินาทีสุดท้าย สำหรับ Unexpected Travel มากกว่า... สำหรับคนที่วางแผนการเดินทางล่วงหน้า ซึ่งจะต้องมีการหาข้อมูล หาดีล หาโรงแรมที่เหมาะสมกับความต้องการที่สุด ระบบที่คุ้นเคยจะได้เปรียบเหนือกว่ามากๆ ซึ่ง Booking.com คงจะกินตรงนี้ไป... แต่การเดินทางที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้านี่ Google อาจจะได้ประโยชน์ ลงสนามบินปั๊บ Google Now ถ้าเห็นว่าเราไม่ได้จองโรงแรมเอาไว้ ก็จะนำเสนอโรงแรมที่น่าสนใจให้ หรือ Offer Deal ที่กำลังมีโปรโมชั่น หรือ Hotel Finder อาจจะเหมาะกับคนง่ายๆ ขี้เกียจดูข้อมูลเยอะ คุ้นเคยกับระบบการ Search ของ Google แล้วขี้เกียจอ่าน Reviews เลือกโรงแรมที่เหมาะสมที่สุดกับตัวเอง... ดังนั้นผมคิดว่า ตลาดน่าจะแบ่งออกจากกันอยู่พอสมควร

ด้วยความกลัวที่มีต่ออนาคต ความกลัวว่าจะเที่ยวไม่สนุก ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่อยากจะ Concentrate เวลาไปที่แผนการเที่ยว Activity ที่จะเกิดขึ้นในการเที่ยวเสียมากกว่า... ผมคิดว่า เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Network Effect ของ Booking.com มีมากกว่าที่บางคนคิด... เมื่อไหร่ที่เราเคยใช้บริการแล้วโอเค สบายใจ มีประสบการณ์ที่ดีแล้ว โอกาสที่จะกลับมาใช้บริการจะมีสูงมาก

พูดถึง Booking.com กับ Google ขอพูดถึงเรื่องการโฆษณาทาง Online นิดนึงนะครับ หากไปดูจะพบกว่า Booking.com เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ Google ซึ่ง Google รักมาก... ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาผ่านทาง Online เพิ่มขึ้นตลอดช่วงที่ผ่านมา จนทำให้ผมกังวลในประเด็นนี้เสียด้วยซ้ำ... สัดส่วนของ Online Advertise เมื่อเทียบกับ Revenue เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงที่ผ่านมา จนกด Margin ให้ลดลง... ซึ่งเท่าที่เข้าใจ Booking.com บอกว่าจำเป็นต้องเอา Traffic ตรงนี้เข้ามา เพราะ คนที่เข้ามาแล้ว Conversion Rate สูงมาก และคุ้มที่จะลงทุนที่สุดแล้ว... นอกจากนี้การที่ Booking.com จะไปเจาะตลาด US ก็ไม่รู้ว่า Ad Spending จากการเข้าไปเจาะตลาดใหม่ จะมีผลอะไรกับ Bottom Line มากน้อยขนาดไหน

ส่วน iTravel นี่ผมว่าน่าจะไปแข่งกับพวก TripAdvisor, Frommer, LonelyPlanet, Tripposo ซะมากกว่า ดูแล้วเป็น Service ที่ไม่ได้เฉพาะทางเหมือนกับ Booking.com... ซึ่ง Product พวกนี้น่าจะเป็นส่วนเติมเต็มให้กับ booking.com พอได้ข้อมูลจากพวกนี้เสร็จแล้ว เวลาจองก็จะมาจองผ่าน Booking.com อยู่ดี... อย่างเวลาผมดูโรงแรมที่ผมสนใจใน TripAdvisor โรงแรมหลายๆ แห่งในยุโรปก็ต้องจองผ่านเครือข่ายของ PCLN เท่านั้น
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
โพสต์โพสต์