ราคาเป้าหมาย
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 2
คอลัมน์พลวัต : เป้าหมายราคา
03-04-2013 04:07:16
http://itrading.bualuang.co.th/th/list- ... id=1595924
นักวิเคราะห์และนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย คุ้นเคยกับคำว่า “ราคาเป้าหมาย” กันมายาวนาน จนกระทั่งหลายคนไม่รู้เลยว่า ต้นเค้าของคำดังกล่าวคือ เป้าหมายราคา แต่ก็อนุโลมว่าไม่ได้ผิดความหมายแต่อย่างใด
เหตุผลก็คือว่า ทั้งสองความหมาย ต่างไม่เคยมีอยู่จริงในโลกนี้ มันเป็นเพียงแค่จินตนาการที่เกิดขึ้นมาของนักวิเคราะห์ และหลักสูตรการวิเคราะห์ เพื่อให้การเก็งกำไรเป็นวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณเท่านั้นเอง
โดยภาพรวมๆ เป้าหมายราคา มีใช้กันใน 3 บริบทคือ
ในตลาดหุ้น หมายถึงราคาเป้าหมายที่นักลงทุนส่วนใหญ่ตั้งใจว่าจะขาย
ราคาที่นักการตลาดสินค้ากำหนดว่าผู้ซื้อต้องการจะซื้อ
ราคาที่กลุ่มธุรกิจบริการกำหนดว่าควรจะซื้อจากผู้ขายหรือซัพพลายเออร์
ในกรณีของตลาดหุ้น ข้อเท็จจริงของเป้าหมายราคา ไม่ได้ถูกกำหนดเหมือนกับทฤษฎี แต่ถูกกำหนดโดยนักวิเคราะห์ ซึ่งทำตัวเป็น “กูรู” ที่เชื่อว่าตำราที่เรียนมา ทำให้มองเห็นหรือกำหนดราคาเป้าหมายได้ดีกว่าคนกลุ่มอื่น ทั้งที่ความจริงแล้ว เป้าหมายราคาที่ว่า ก็เกิดขึ้นในลักษณะ “คิดเอาเอง” โดยนักวิเคราะห์นั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายราคา หมายถึงราคาสูงสุดที่นักวิเคราะห์คาดว่าหุ้นของบริษัทนั้นจะไปถึงได้ภายในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า (บางกรณี 6 เดือนข้างหน้า) โดยกำหนดขึ้นมาจากองค์ประกอบสำคัญหลายประการได้แก่ การคาดเดาผลกำไรสุทธิ ศักยภาพในการทำกำไร ประวัติย้อนหลังการวิ่งของราคา และสัดส่วนราคาเปรียบเทียบ (โดยพิจารณาจากค่า พี/อี เป็นหลัก) แล้วก็กำหนดออกมาว่าเป็นราคาสูงสุดที่ต้องขายทิ้งออกไปสำหรับหุ้นที่ถือเอาไว้
ในทางปฏิบัติ เวลาที่ตลาดเป็นขาขึ้น หรือภาวะกระทิง เรามักจะพบว่า ราคาหุ้นบางตัวสามารถปรับตัวได้สูงเกินกว่าราคาเป้าหมาย แต่ราคาหุ้นก็ยังดันทุรังสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทั้งที่ในทางทฤษฎีถือว่าหุ้นเหล่านี้ไม่น่าลงทุนอีกแล้ว ซึ่งอาจทำให้นักวิเคราะห์ต้องปรับเป้าหมายกันใหม่อีกรอบหรือหลายรอบ โดยอ้างว่า สถานการณ์และพื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไป
ในทางกลับกัน หุ้นบางตัวมีเป้าหมายราคาเอาไว้งั้นๆ ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะราคานิ่งเงียบไร้คนสนใจ แม้นักวิเคราะห์บางรายจะขุดคุ้ยขึ้นมาเล่น ก็วิ่งไปได้แค่ “สงครามวันเดียว”
ความไม่ลงรอยกันเสมอไประหว่างเป้าหมายราคา กับราคาซื้อขายจริงในตลาด ก็ทำให้มักจะมีคำถามย้อนกลับมาบ่อยครั้งว่า เป้าหมายราคาสามารถ บอกอะไร ได้บ้าง และหากลงทุนตามนั้นไปแล้วจะให้ผลตอบแทนที่ดีหรือไม่
คำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ การตั้งเป้าหมายราคานั้น เกิดจากเหตุผลอะไรกันแน่ ระหว่างเหตุผลที่ปราศจากอคติ และเหตุผลแฝงเร้นของนักวิเคราะห์ เพื่อดันราคาหุ้นขึ้นไปให้สูงเกินจริงเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่ซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ดังกล่าว
การค้นหาคำตอบที่กระจ่างจึงต้องย้อนรอยกลับไปพิจารณาหาสาเหตุรากฐานว่าเหตุใด ชุดข้อมูลเดียวกัน จึงได้บทสรุปของนักวิเคราะห์ต่างกันในเป้าหมายราคา
แม้เป้าหมายราคาจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางจินตนาการที่ไม่มีอยู่จริง แต่ประโยชน์ของเป้าหมายเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า มีดีกว่าไม่มีอย่างแน่นอน เพราะมันได้ผ่านกระบวนการพิจารณาและประเมินตัวแปรต่างๆ เพื่อที่จะค้นหาความเป็นไปได้ของความเสี่ยงและผลตอบแทนของการลงทุนในหลักทรัพย์อย่างเป็นระบบ
จริงอยู่ นักลงทุนบางคน ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรเลยเกี่ยวกับเป้าหมายราคา ก็สามารถทำกำไรจากการลงทุนได้ แต่นั่นไม่ใช่ข้อสรุปสำหรับกรณีทั่วไป เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด ยังจำต้องพึ่งพาการวิเคราะห์ และเป้าหมายราคาต่อไป เพื่อให้รู้ว่าขีดจำกัดของความเสี่ยงนั้นอยู่ที่ตรงไหนบ้างของระดับราคา ไม่ใช่ปล่อยให้ตกอยู่ในสภาพ “ตาบอดคลำช้าง”
เข็มมุ่งของการวิเคราะห์เพื่อหาเป้าหมายราคา ตั้งบนรากฐานของหลักการประเมินกำไรสุทธิต่อหุ้น และสัดส่วนทางการเงินต่าง พร้อมกับสมมติฐานประกอบอย่างเป็นระบบ แต่รายละเอียดของการประเมินนั้น มีตัวแปรเชิงจิตวิทยาและภูมิปัญญาของนักวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมีข้อสังเกตว่า คุณภาพของการวิเคราะห์นั้น ขึ้นกับเงื่อนไขประจำตัวหรือบุคลิกภาพของนักวิเคราะห์แต่ละคนอย่างมีนัยสำคัญ
จุดเบี่ยงเบน หรือบกพร่องสำคัญที่นักลงทุนจะต้องรู้ว่า นักวิเคราะห์แต่ละคนมีข้อด้อยในการวิเคราะห์ประมาณ 5 อย่างที่พึงระวังเสมอประกอบด้วย
อคติส่วนตัวที่ไม่แยแสต่อข้อมูลและข้อเท็จจริง เช่นนักวิเคราะห์บางคนเชียร์แหลก บางคนก้าวร้าวเกินเหตุ บางคนเลือกผลประโยชน์เฉพาะตัว
นิสัยนักการพนันที่แฝงในตัวของนักวิเคราะห์ บางคนมองโลกเสมือนเกมพนัน ไม่ใช่เรื่องของส่วนได้เสียทางเศรษฐศาสตร์
การติดยึดกับผลประโยชน์ส่วนตัวและขององค์กรที่สังกัดเกินขนาด
จุดยืนของความคิด (รอบคอบหรือมักง่าย แห่ตามกระแส หรือชอบทวนกระแส)
เชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินขนาด
สาระที่กล่าวมาข้างต้น สะท้อนข้อเท็จจริงว่า บทวิเคราะห์เกี่ยวกับเป้าหมายราคานั้น ไม่ใช่และไม่สามารถเป็นคัมภีร์ชี้ทางสวรรค์หรือทางหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ เพราะมูลค่าที่เหมาะสมและเป้าหมายราคา ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้อง มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่เสมอ จึงใช้ในฐานะแนวทางหนึ่งในการชั่งน้ำหนักพิจารณาก่อนการลงทุนเท่านั้น ต้องการข้อมูลและความรู้ของนักลงทุนอีกส่วนหนึ่งประกอบด้วย
ท้ายที่สุด ความเสี่ยงและผลตอบแทนในการเชื่อเป้าหมายราคา ก็เป็นสัมภาระที่นักลงทุนต้องแบกรับเอง ไม่สามารถตีโพยตีพายอะไรได้
03-04-2013 04:07:16
http://itrading.bualuang.co.th/th/list- ... id=1595924
นักวิเคราะห์และนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย คุ้นเคยกับคำว่า “ราคาเป้าหมาย” กันมายาวนาน จนกระทั่งหลายคนไม่รู้เลยว่า ต้นเค้าของคำดังกล่าวคือ เป้าหมายราคา แต่ก็อนุโลมว่าไม่ได้ผิดความหมายแต่อย่างใด
เหตุผลก็คือว่า ทั้งสองความหมาย ต่างไม่เคยมีอยู่จริงในโลกนี้ มันเป็นเพียงแค่จินตนาการที่เกิดขึ้นมาของนักวิเคราะห์ และหลักสูตรการวิเคราะห์ เพื่อให้การเก็งกำไรเป็นวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณเท่านั้นเอง
โดยภาพรวมๆ เป้าหมายราคา มีใช้กันใน 3 บริบทคือ
ในตลาดหุ้น หมายถึงราคาเป้าหมายที่นักลงทุนส่วนใหญ่ตั้งใจว่าจะขาย
ราคาที่นักการตลาดสินค้ากำหนดว่าผู้ซื้อต้องการจะซื้อ
ราคาที่กลุ่มธุรกิจบริการกำหนดว่าควรจะซื้อจากผู้ขายหรือซัพพลายเออร์
ในกรณีของตลาดหุ้น ข้อเท็จจริงของเป้าหมายราคา ไม่ได้ถูกกำหนดเหมือนกับทฤษฎี แต่ถูกกำหนดโดยนักวิเคราะห์ ซึ่งทำตัวเป็น “กูรู” ที่เชื่อว่าตำราที่เรียนมา ทำให้มองเห็นหรือกำหนดราคาเป้าหมายได้ดีกว่าคนกลุ่มอื่น ทั้งที่ความจริงแล้ว เป้าหมายราคาที่ว่า ก็เกิดขึ้นในลักษณะ “คิดเอาเอง” โดยนักวิเคราะห์นั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายราคา หมายถึงราคาสูงสุดที่นักวิเคราะห์คาดว่าหุ้นของบริษัทนั้นจะไปถึงได้ภายในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า (บางกรณี 6 เดือนข้างหน้า) โดยกำหนดขึ้นมาจากองค์ประกอบสำคัญหลายประการได้แก่ การคาดเดาผลกำไรสุทธิ ศักยภาพในการทำกำไร ประวัติย้อนหลังการวิ่งของราคา และสัดส่วนราคาเปรียบเทียบ (โดยพิจารณาจากค่า พี/อี เป็นหลัก) แล้วก็กำหนดออกมาว่าเป็นราคาสูงสุดที่ต้องขายทิ้งออกไปสำหรับหุ้นที่ถือเอาไว้
ในทางปฏิบัติ เวลาที่ตลาดเป็นขาขึ้น หรือภาวะกระทิง เรามักจะพบว่า ราคาหุ้นบางตัวสามารถปรับตัวได้สูงเกินกว่าราคาเป้าหมาย แต่ราคาหุ้นก็ยังดันทุรังสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทั้งที่ในทางทฤษฎีถือว่าหุ้นเหล่านี้ไม่น่าลงทุนอีกแล้ว ซึ่งอาจทำให้นักวิเคราะห์ต้องปรับเป้าหมายกันใหม่อีกรอบหรือหลายรอบ โดยอ้างว่า สถานการณ์และพื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไป
ในทางกลับกัน หุ้นบางตัวมีเป้าหมายราคาเอาไว้งั้นๆ ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะราคานิ่งเงียบไร้คนสนใจ แม้นักวิเคราะห์บางรายจะขุดคุ้ยขึ้นมาเล่น ก็วิ่งไปได้แค่ “สงครามวันเดียว”
ความไม่ลงรอยกันเสมอไประหว่างเป้าหมายราคา กับราคาซื้อขายจริงในตลาด ก็ทำให้มักจะมีคำถามย้อนกลับมาบ่อยครั้งว่า เป้าหมายราคาสามารถ บอกอะไร ได้บ้าง และหากลงทุนตามนั้นไปแล้วจะให้ผลตอบแทนที่ดีหรือไม่
คำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ การตั้งเป้าหมายราคานั้น เกิดจากเหตุผลอะไรกันแน่ ระหว่างเหตุผลที่ปราศจากอคติ และเหตุผลแฝงเร้นของนักวิเคราะห์ เพื่อดันราคาหุ้นขึ้นไปให้สูงเกินจริงเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่ซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ดังกล่าว
การค้นหาคำตอบที่กระจ่างจึงต้องย้อนรอยกลับไปพิจารณาหาสาเหตุรากฐานว่าเหตุใด ชุดข้อมูลเดียวกัน จึงได้บทสรุปของนักวิเคราะห์ต่างกันในเป้าหมายราคา
แม้เป้าหมายราคาจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางจินตนาการที่ไม่มีอยู่จริง แต่ประโยชน์ของเป้าหมายเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า มีดีกว่าไม่มีอย่างแน่นอน เพราะมันได้ผ่านกระบวนการพิจารณาและประเมินตัวแปรต่างๆ เพื่อที่จะค้นหาความเป็นไปได้ของความเสี่ยงและผลตอบแทนของการลงทุนในหลักทรัพย์อย่างเป็นระบบ
จริงอยู่ นักลงทุนบางคน ไม่จำเป็นต้องรู้อะไรเลยเกี่ยวกับเป้าหมายราคา ก็สามารถทำกำไรจากการลงทุนได้ แต่นั่นไม่ใช่ข้อสรุปสำหรับกรณีทั่วไป เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด ยังจำต้องพึ่งพาการวิเคราะห์ และเป้าหมายราคาต่อไป เพื่อให้รู้ว่าขีดจำกัดของความเสี่ยงนั้นอยู่ที่ตรงไหนบ้างของระดับราคา ไม่ใช่ปล่อยให้ตกอยู่ในสภาพ “ตาบอดคลำช้าง”
เข็มมุ่งของการวิเคราะห์เพื่อหาเป้าหมายราคา ตั้งบนรากฐานของหลักการประเมินกำไรสุทธิต่อหุ้น และสัดส่วนทางการเงินต่าง พร้อมกับสมมติฐานประกอบอย่างเป็นระบบ แต่รายละเอียดของการประเมินนั้น มีตัวแปรเชิงจิตวิทยาและภูมิปัญญาของนักวิเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมีข้อสังเกตว่า คุณภาพของการวิเคราะห์นั้น ขึ้นกับเงื่อนไขประจำตัวหรือบุคลิกภาพของนักวิเคราะห์แต่ละคนอย่างมีนัยสำคัญ
จุดเบี่ยงเบน หรือบกพร่องสำคัญที่นักลงทุนจะต้องรู้ว่า นักวิเคราะห์แต่ละคนมีข้อด้อยในการวิเคราะห์ประมาณ 5 อย่างที่พึงระวังเสมอประกอบด้วย
อคติส่วนตัวที่ไม่แยแสต่อข้อมูลและข้อเท็จจริง เช่นนักวิเคราะห์บางคนเชียร์แหลก บางคนก้าวร้าวเกินเหตุ บางคนเลือกผลประโยชน์เฉพาะตัว
นิสัยนักการพนันที่แฝงในตัวของนักวิเคราะห์ บางคนมองโลกเสมือนเกมพนัน ไม่ใช่เรื่องของส่วนได้เสียทางเศรษฐศาสตร์
การติดยึดกับผลประโยชน์ส่วนตัวและขององค์กรที่สังกัดเกินขนาด
จุดยืนของความคิด (รอบคอบหรือมักง่าย แห่ตามกระแส หรือชอบทวนกระแส)
เชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินขนาด
สาระที่กล่าวมาข้างต้น สะท้อนข้อเท็จจริงว่า บทวิเคราะห์เกี่ยวกับเป้าหมายราคานั้น ไม่ใช่และไม่สามารถเป็นคัมภีร์ชี้ทางสวรรค์หรือทางหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ เพราะมูลค่าที่เหมาะสมและเป้าหมายราคา ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้อง มีวาระซ่อนเร้นแฝงอยู่เสมอ จึงใช้ในฐานะแนวทางหนึ่งในการชั่งน้ำหนักพิจารณาก่อนการลงทุนเท่านั้น ต้องการข้อมูลและความรู้ของนักลงทุนอีกส่วนหนึ่งประกอบด้วย
ท้ายที่สุด ความเสี่ยงและผลตอบแทนในการเชื่อเป้าหมายราคา ก็เป็นสัมภาระที่นักลงทุนต้องแบกรับเอง ไม่สามารถตีโพยตีพายอะไรได้
-
- Verified User
- โพสต์: 52
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 3
เวลาผมอ่านบทวิเคราะห์โบรกมักจะอ่านเอาเฉพาะ เนื้อหา เช่นปีนี้เปิดเพิ่มกี่สาขา ยอดขาย กำไร การเติบโตเทียบเป็นเปอร์เซ็น เหมือนเราอ่านบทสรุปการดำเนินงานกิจการ แต่ไม่เคยเอาราคาประเมินของ โบรกมาใช้ตรงๆเลยครับ การเอาราคาประเมินของโบรกเกอร์มาใช้โดยไม่พิจารณา ถือว่าอันตรายครับ อย่างแรกเลยคือ การประเมินมูลค่าธุรกิจของแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ เป็นศิลปะ บางคนอาจจะมองเห็นมูลค่าที่ซ่อนอยู่ แต่บางคนไม่เห็น ดังนั้นให้คนสองคนมาประเมินมูลค่า จะไม่มีทางเหมือนกัน
ผมยกตัวอย่างเช่น บางธุรกิจเค้ามีระบบ Logistic ที่เข้มแข็งกว่าคนอื่นมาก ซึ่งเป็นมูลค่าที่ไม่ได้อยู่ในงบการเงิน ถ้าคนมองเห็นก็ควรจะให้ค่าของธุรกิจนี้มากขึ้น หรือบางธุรกิจมีขนาดใหญ่กว่าคนอื่นมาก ได้เปรียบเจ้าอื่น ทั้งเรื่องการสั่งสินค้ามากกว่า สาขามากกว่า ทำเลดีกว่า แบบนี้ต้องให้มูลค่าเรื่องความแข็งแกร่งเพิ่มครับ
โดยส่วนตัวมองว่าการประเมินมูลค่าเป็นงานศิลปะที่มีฐานจากข้อมูลครับ ขึ้นอยู่กับว่าใครหาข้อมูลเชิงลึกถูกต้องได้มากกว่าแต่ว่าขั้นตอนการประเมินต้องใช้ศิลปะในการมองครับ ใครมองได้ถูก ตรงกับข้อเท็จจริงที่สุดคือคนที่จะได้รับรางวัลไปครับ
ผมยกตัวอย่างเช่น บางธุรกิจเค้ามีระบบ Logistic ที่เข้มแข็งกว่าคนอื่นมาก ซึ่งเป็นมูลค่าที่ไม่ได้อยู่ในงบการเงิน ถ้าคนมองเห็นก็ควรจะให้ค่าของธุรกิจนี้มากขึ้น หรือบางธุรกิจมีขนาดใหญ่กว่าคนอื่นมาก ได้เปรียบเจ้าอื่น ทั้งเรื่องการสั่งสินค้ามากกว่า สาขามากกว่า ทำเลดีกว่า แบบนี้ต้องให้มูลค่าเรื่องความแข็งแกร่งเพิ่มครับ
โดยส่วนตัวมองว่าการประเมินมูลค่าเป็นงานศิลปะที่มีฐานจากข้อมูลครับ ขึ้นอยู่กับว่าใครหาข้อมูลเชิงลึกถูกต้องได้มากกว่าแต่ว่าขั้นตอนการประเมินต้องใช้ศิลปะในการมองครับ ใครมองได้ถูก ตรงกับข้อเท็จจริงที่สุดคือคนที่จะได้รับรางวัลไปครับ
- KentaII
- Verified User
- โพสต์: 382
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 4
การประเมินมูลค่า เอาจริงๆแล้ว ไม่มีใครผิดใครถูกครับ เนื่องจากทุกคนต้อง "คาดการณ์" ทั้งนั้น ซึ่งแต่ละคนก็มีบริบทของการคาดการณ์ต่างๆกันไป
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2748
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 5
ราคาเป้าหมายทางพื้นฐานก็เช่น การคิด PE, PB, การคาดเดาการเติบโตของกำไร, DCF และอื่นๆ พวกนี้อาจเรียกได้ว่าใกล้เคียงกับมูลค่าที่แท้จริง (ซึ่งแต่ละคนประเมินไม่เท่ากัน)
ราคาเป้าหมายทางกราฟ เช่น หากกราฟเป็นรูป head-and-shoulder ราคาเป้าหมายก็จะอยู่ที่คอของกราฟ เป็นต้น พวกนี้จะไม่เกี่ยวกับมูลค่าที่แท้จริงเลย
ปกติบทวิเคราะห์ห่วยๆจะไม่ได้บอกว่าราคาเป้าหมายคำนวนมาจากอะไร
ราคาเป้าหมายทางกราฟ เช่น หากกราฟเป็นรูป head-and-shoulder ราคาเป้าหมายก็จะอยู่ที่คอของกราฟ เป็นต้น พวกนี้จะไม่เกี่ยวกับมูลค่าที่แท้จริงเลย
ปกติบทวิเคราะห์ห่วยๆจะไม่ได้บอกว่าราคาเป้าหมายคำนวนมาจากอะไร
Vi IMrovised
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 7
อะไรคือ mof ครับ ???inza เขียน:รบกวนถามเพื่อนๆครับ ว่าราคาเป้าหมายที่ตามโบร๊กวิเคราะห์ เป็นราคาเดียวกับมูลค่าที่จริง ที่เราใช้หาเพื่อใช้หา mof ไหมครับ
ขอบคุณครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 8
ราคาเป้าหมายจากโบรก เป็นตัวเลขที่ไร้สาระที่สุดตั้งแต่ผมเรียนคณิตศาสตร์มา
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- นายมานะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 9
คุณ inza หมายถึง mos รึเปล่าครับthaloengsak เขียน:อะไรคือ mof ครับ ???inza เขียน:รบกวนถามเพื่อนๆครับ ว่าราคาเป้าหมายที่ตามโบร๊กวิเคราะห์ เป็นราคาเดียวกับมูลค่าที่จริง ที่เราใช้หาเพื่อใช้หา mof ไหมครับ
ขอบคุณครับ
- KentaII
- Verified User
- โพสต์: 382
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 10
ถูกต้องครับ บทวิเคราะห์ส่วนใหญ่ของโบรค บอกราคาเป้าหมาย แต่ไม่บอกเกี่ยวกับวิธีการประเมินและ assumption ต่างๆ เลย ไม่ทราบว่าลอกมา หรือนั่งเทียนเอาchowbe76 เขียน:ราคาเป้าหมายจากโบรก เป็นตัวเลขที่ไร้สาระที่สุดตั้งแต่ผมเรียนคณิตศาสตร์มา
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 11
thaloengsak เขียน:อะไรคือ mof ครับ ???inza เขียน:รบกวนถามเพื่อนๆครับ ว่าราคาเป้าหมายที่ตามโบร๊กวิเคราะห์ เป็นราคาเดียวกับมูลค่าที่จริง ที่เราใช้หาเพื่อใช้หา mof ไหมครับ
ขอบคุณครับ
อ๋อครับ พิมพ์ผิดครับ ผมหมายถึง mos margin of safty ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ครับที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น
ถ้าเป็นแบบนั้นราคาเป้าหมาย ก็สามารถมีหลายค่า แล้วแต่แต่ละคนจะนำส่วนประกอบต่างๆ มาประเมิน
และเมื่อ ณ ระยะเวลาหนึ่งราคาที่คนส่วนใหญ่ประเมินตรงกันมากที่สุด ก็จะเป็นราคาที่ซื็อขายกันในตลาดใช่หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
ถ้าเป็นแบบนั้นราคาเป้าหมาย ก็สามารถมีหลายค่า แล้วแต่แต่ละคนจะนำส่วนประกอบต่างๆ มาประเมิน
และเมื่อ ณ ระยะเวลาหนึ่งราคาที่คนส่วนใหญ่ประเมินตรงกันมากที่สุด ก็จะเป็นราคาที่ซื็อขายกันในตลาดใช่หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาเป้าหมาย
โพสต์ที่ 13
ราคาเป้าหมาย คือ ราคาที่มีไว้พุ่งชน ครับ เพราะ เป้าหมายมีไว้พุ่งชน
ขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทครับ ถ้าทำได้ตามเป้า ราคาก้มักวิ่งไปตามเป้า
แต่หุ้นบางตัว ราคาก้ชอบวิ่งไปถึงราคาเป้าหมายก่อน ผลประกอบการค่อยตามมา
แบบหลังเนี่ย ราคาก้มักจะ On fact หลังผลประกอบการออกครับ
ขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทครับ ถ้าทำได้ตามเป้า ราคาก้มักวิ่งไปตามเป้า
แต่หุ้นบางตัว ราคาก้ชอบวิ่งไปถึงราคาเป้าหมายก่อน ผลประกอบการค่อยตามมา
แบบหลังเนี่ย ราคาก้มักจะ On fact หลังผลประกอบการออกครับ