ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่อนละ
-
- Verified User
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 31
ขอถามท่าน miracle นะครับ แต่อย่าหาว่าผมเข้าข้างท่าน CARPENTER นะ
ถ้าทำอย่างที่ท่าน CARPENTER ว่าคือ
1 ลดดอกเบี้ยเพื่อที่ ธปท. ไม่ต้องเสียส่วนต่างดอกให้ต่างชาติ
2 ให้ธนาคารไทยเพิ่มทุนสำรองเพื่อชะลอฟองสบู่
ทำตามสองข้อนี้แล้วจะมีผลเสียอย่างไรในความคิดท่าน miracle ครับ
ถ้าทำอย่างที่ท่าน CARPENTER ว่าคือ
1 ลดดอกเบี้ยเพื่อที่ ธปท. ไม่ต้องเสียส่วนต่างดอกให้ต่างชาติ
2 ให้ธนาคารไทยเพิ่มทุนสำรองเพื่อชะลอฟองสบู่
ทำตามสองข้อนี้แล้วจะมีผลเสียอย่างไรในความคิดท่าน miracle ครับ
เราจะรวยแร้วววววววววว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 32
ลดดอกเบี้ย อ่านข้างบน
เพิ่มทุนสำรองของธนาคาร อันนีิ้ ทำตามบาเซิล ไม่เกี่ยวข้อง
แต่ถ้าลดอัตราการปล่อยกู้หรือให้กั้นสำรองเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นตำราเก่าเก็บ ใช้ตอนต้น1900s
แต่จีนใช้3-4 ปีที่แล้ว ผลที่ได้เหมือนการขึ้นดอกเบี้ย แต่จริงๆมันลดการหมุนของเงิน ลดการสร้างเงินของธนาคารลง
ทำไมบอกว่าลดการสร้างเงิน หรือลดการหมุนของเงินลด (สมมติว่ากู้มาฝากต่อทั้งหมด)
เงินฝาก100 บาท อัตรากั้นสำรอง(สมมติ) 10%
ปล่อยครั้งที่ 1 ปล่อย 90 บาท
มาฝาก 90 บาท
ปล่อยรอบ2 ได้ไป 81 บาท
กลับมาฝาก 81 บาท
ปล่อยครั้งที่ 3 ปล่อย 72.9 บาท
ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ แหละ เป็นการสร้างเงินโดยธนาคาร
ถ้าเพิ่มอัตราการกั้นสำรองเป็น 11% ก็จะทำให้ปล่อยกู้น้อยลง
มาตราการแบบนี้ ธปท เอาไปใช้กับภาคอสังหา แทนการขึ้นดอกเบี้ย
ลดความร้อนแรงของภาคอสังหา ใน ปี 2550-53
เพิ่มทุนสำรองของธนาคาร อันนีิ้ ทำตามบาเซิล ไม่เกี่ยวข้อง
แต่ถ้าลดอัตราการปล่อยกู้หรือให้กั้นสำรองเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นตำราเก่าเก็บ ใช้ตอนต้น1900s
แต่จีนใช้3-4 ปีที่แล้ว ผลที่ได้เหมือนการขึ้นดอกเบี้ย แต่จริงๆมันลดการหมุนของเงิน ลดการสร้างเงินของธนาคารลง
ทำไมบอกว่าลดการสร้างเงิน หรือลดการหมุนของเงินลด (สมมติว่ากู้มาฝากต่อทั้งหมด)
เงินฝาก100 บาท อัตรากั้นสำรอง(สมมติ) 10%
ปล่อยครั้งที่ 1 ปล่อย 90 บาท
มาฝาก 90 บาท
ปล่อยรอบ2 ได้ไป 81 บาท
กลับมาฝาก 81 บาท
ปล่อยครั้งที่ 3 ปล่อย 72.9 บาท
ไปเรื่อย ๆ แบบนี้ แหละ เป็นการสร้างเงินโดยธนาคาร
ถ้าเพิ่มอัตราการกั้นสำรองเป็น 11% ก็จะทำให้ปล่อยกู้น้อยลง
มาตราการแบบนี้ ธปท เอาไปใช้กับภาคอสังหา แทนการขึ้นดอกเบี้ย
ลดความร้อนแรงของภาคอสังหา ใน ปี 2550-53
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 33
เตือนไว้นิดหนึ่ง ในฐานะคนที่ผ่านวิกฤตต้มยำกุ้ง
บ้านเรา (ที่จริงทุกประเทศ) เวลาวิ่งเร็วๆ แรงๆ
มันสนุก ไม่เชื่อลองถามคนขับรถยนต์ มอ'ไซค์
ก็ได้ มันส์มากกกกๆ จริงไหม ... แต่สดุดก้อนหิน
หรือแหกโค้ง ที่่เจอเนิน อะไรก็ได้ เป็นไงครับ
ประเทศจีน บางครั้งเราถึงเห็นว่า เขาเหยียบเบรค
ตัวโก่ง กันเลย เพราะไม่เบรค แหกโค้งแน่ๆ
ทำไม เขาทำได้ เพราะเขาเห็นแก่ชาติส่วนรวม
หนึ่ง อีกหนึ่งคือเขาไม่มีความกดดันในการเลือกตั้ง
ครับ 10 ปีแห่งการบริหารก็จบแล้ว ...
การที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังเติบโตในทางที่
เหมาะสม ไม่ร้อนแรงเกินไป อยู่ในภาวะ
วิ่งไปได้เรื่อยๆ (แต่แรงส์เกินไป ที่ดิน หุ้น พุ่งมาก
ซื้อขายเปลี่ยนมืออย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ารูปแบบเดิมๆ
หลายๆ บมจ. เริ่มซื้อที่ สร้างตึก ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะสร้าง)
ถ้าหากไปเหยียบคันเร่ง ด้วยการลดดอกเบี้ยลงไปอีก
จะเกิดอะไรขึ้น เราอาจจะแหกโค้ง พลิกคว่ำอีกครั้ง
เป็นวิกฤตมัสมั่น หรือเปล่า???
บ้านเรา (ที่จริงทุกประเทศ) เวลาวิ่งเร็วๆ แรงๆ
มันสนุก ไม่เชื่อลองถามคนขับรถยนต์ มอ'ไซค์
ก็ได้ มันส์มากกกกๆ จริงไหม ... แต่สดุดก้อนหิน
หรือแหกโค้ง ที่่เจอเนิน อะไรก็ได้ เป็นไงครับ
ประเทศจีน บางครั้งเราถึงเห็นว่า เขาเหยียบเบรค
ตัวโก่ง กันเลย เพราะไม่เบรค แหกโค้งแน่ๆ
ทำไม เขาทำได้ เพราะเขาเห็นแก่ชาติส่วนรวม
หนึ่ง อีกหนึ่งคือเขาไม่มีความกดดันในการเลือกตั้ง
ครับ 10 ปีแห่งการบริหารก็จบแล้ว ...
การที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังเติบโตในทางที่
เหมาะสม ไม่ร้อนแรงเกินไป อยู่ในภาวะ
วิ่งไปได้เรื่อยๆ (แต่แรงส์เกินไป ที่ดิน หุ้น พุ่งมาก
ซื้อขายเปลี่ยนมืออย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ารูปแบบเดิมๆ
หลายๆ บมจ. เริ่มซื้อที่ สร้างตึก ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะสร้าง)
ถ้าหากไปเหยียบคันเร่ง ด้วยการลดดอกเบี้ยลงไปอีก
จะเกิดอะไรขึ้น เราอาจจะแหกโค้ง พลิกคว่ำอีกครั้ง
เป็นวิกฤตมัสมั่น หรือเปล่า???
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 35
คุณ syj ครับ ผมเห็นด้วยว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของทรัพย์สินต่างๆ เช่น หุ้น ที่ดิน เป็นสิ่งที่อันตราย
การปล่อยให้บาทแข็งค่ากว่า เงินในภูมิภาคมาก ก็ทำให้ คนมีตัง เพิ่มการใช้สินค้าจาก ตปท
เช่น ผลไม้ ไวน์ น้ำหอม นาฬิกา กระเป๋า รถยนต์ และเที่ยว ตปท อย่างมากมาย ไม่น่ากลัวหรือ
สิ่งที่ ผมพูดถึง คือ การลดดอกเบี้ย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ของ ประเทศลง
ถ้ากลัว ฟองสบู่ก็ให้ bank เพิ่มสำรอง แค่นั้น
แต่ bot ไม่ทำ จริงๆ แล้ว ตั้ง แต่ อดีตร bot กับ ธนาคารพาณิชย์ใกล้ชิดกันมาก
นโยบายทุกอย่างของ bot เพื่อ ธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ผมอยากเขียนแต่เรื่องมันยาว
การปล่อยให้บาทแข็งค่ากว่า เงินในภูมิภาคมาก ก็ทำให้ คนมีตัง เพิ่มการใช้สินค้าจาก ตปท
เช่น ผลไม้ ไวน์ น้ำหอม นาฬิกา กระเป๋า รถยนต์ และเที่ยว ตปท อย่างมากมาย ไม่น่ากลัวหรือ
สิ่งที่ ผมพูดถึง คือ การลดดอกเบี้ย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ของ ประเทศลง
ถ้ากลัว ฟองสบู่ก็ให้ bank เพิ่มสำรอง แค่นั้น
แต่ bot ไม่ทำ จริงๆ แล้ว ตั้ง แต่ อดีตร bot กับ ธนาคารพาณิชย์ใกล้ชิดกันมาก
นโยบายทุกอย่างของ bot เพื่อ ธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ผมอยากเขียนแต่เรื่องมันยาว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 38
ขอตั้งข้อสังเกต
ธนาคารที่ทำอภิมหาดิว ขอธปท เป็นพิเศษในการปล่อยกู้รายใหญ่เกิรเกณฑ์ 25%
ถามว่า เงินมาจากไหน มาจากในประเทศ ต่างประเทศ หรือ ขอพิเศษจากแบงค์ชาติ
หากเงินต่างประเทศ มันต้องมีขั้นตอนการแลกเงิน แล้วเอาเงินก้อนนี้พักไว้ที่ตลาดตราสารหนี้ เพราะตลาดนี้ผันผวนน้อย แล้วได้อีกเด้งคือกดดันให้ ธปท ลดดอกเบี้ยอีกต่างหาก
ขายเสร็จ เจ้าของเดิมก็ต่างประเทศมีแผนลงทุนในไทยต่อหรือเปล่า
คาดว่ามีอาจจะน้อย ก็ต้องแลกเงินกลับในจำนวนมหาศาล
สรุป การแข็งค่าอาจจะมีการไหลเข้าของเงินจากการทำดิว และเมื่อทำดิวเสร็จก็ไหลออก
ผลที่ได้ตามมา คือ ทำให้ดอกเบี้ยลดลง
ข้อมูลพวกนี้ระดับสูงของธปทและธนาคาร น่าจะรู้ดี
แต่เมืองไทยน่าเสียดายว่า ไม่เปิดเผยสัญญาอนุพันธ์
อีกเรื่องที่น่าคิด
สังเกตไหม ตลาดตราสารหนี้ไม่สบสะท้านต่อข่าวที่ออก
ผลตอบแทนลดลงตลอดอายุคงเหลือของพันธบัตรเลย
เป็นสิ่งที่แปลก เพราะถ้า จะออก มาตราการ capital control หรือลดดอกเบี้ย
ไม่มีทางเกิดแบบนี้ได้ คือ รู้เพียงไม่กี่นาที ตลาดก็มีผลทันทีเลย
ดังนั้น อาจจะเป็น มวยล้มต้มคนดูก็เป็นไปได้ หรือ ตีเจ้าช่วยเว่ย
ธนาคารที่ทำอภิมหาดิว ขอธปท เป็นพิเศษในการปล่อยกู้รายใหญ่เกิรเกณฑ์ 25%
ถามว่า เงินมาจากไหน มาจากในประเทศ ต่างประเทศ หรือ ขอพิเศษจากแบงค์ชาติ
หากเงินต่างประเทศ มันต้องมีขั้นตอนการแลกเงิน แล้วเอาเงินก้อนนี้พักไว้ที่ตลาดตราสารหนี้ เพราะตลาดนี้ผันผวนน้อย แล้วได้อีกเด้งคือกดดันให้ ธปท ลดดอกเบี้ยอีกต่างหาก
ขายเสร็จ เจ้าของเดิมก็ต่างประเทศมีแผนลงทุนในไทยต่อหรือเปล่า
คาดว่ามีอาจจะน้อย ก็ต้องแลกเงินกลับในจำนวนมหาศาล
สรุป การแข็งค่าอาจจะมีการไหลเข้าของเงินจากการทำดิว และเมื่อทำดิวเสร็จก็ไหลออก
ผลที่ได้ตามมา คือ ทำให้ดอกเบี้ยลดลง
ข้อมูลพวกนี้ระดับสูงของธปทและธนาคาร น่าจะรู้ดี
แต่เมืองไทยน่าเสียดายว่า ไม่เปิดเผยสัญญาอนุพันธ์
อีกเรื่องที่น่าคิด
สังเกตไหม ตลาดตราสารหนี้ไม่สบสะท้านต่อข่าวที่ออก
ผลตอบแทนลดลงตลอดอายุคงเหลือของพันธบัตรเลย
เป็นสิ่งที่แปลก เพราะถ้า จะออก มาตราการ capital control หรือลดดอกเบี้ย
ไม่มีทางเกิดแบบนี้ได้ คือ รู้เพียงไม่กี่นาที ตลาดก็มีผลทันทีเลย
ดังนั้น อาจจะเป็น มวยล้มต้มคนดูก็เป็นไปได้ หรือ ตีเจ้าช่วยเว่ย
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 39
คำถามCARPENTER เขียน:คุณ syj ครับ ผมเห็นด้วยว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของทรัพย์สินต่างๆ เช่น หุ้น ที่ดิน เป็นสิ่งที่อันตราย
การปล่อยให้บาทแข็งค่ากว่า เงินในภูมิภาคมาก ก็ทำให้ คนมีตัง เพิ่มการใช้สินค้าจาก ตปท
เช่น ผลไม้ ไวน์ น้ำหอม นาฬิกา กระเป๋า รถยนต์ และเที่ยว ตปท อย่างมากมาย ไม่น่ากลัวหรือ
สิ่งที่ ผมพูดถึง คือ การลดดอกเบี้ย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ของ ประเทศลง
ถ้ากลัว ฟองสบู่ก็ให้ bank เพิ่มสำรอง แค่นั้น
แต่ bot ไม่ทำ จริงๆ แล้ว ตั้ง แต่ อดีตร bot กับ ธนาคารพาณิชย์ใกล้ชิดกันมาก
นโยบายทุกอย่างของ bot เพื่อ ธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ผมอยากเขียนแต่เรื่องมันยาว
คนขับคือใครครับ
แต่คนเหยียบเบรก ไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารเสมอไป
ถ้ายกปี 2540 เรื่องมันยาว
ตั้งได้หลายกระทู้ ไล่ตั้งแต่ มาตราฐานบัญชี ความซื่อสัตย์ต่อการรรายงานตัวเลข
การเอาข้อมูลเก่า ที่แตกต่าวกับข้อมูลปัจจุบันมาเปิดจนกระทั่งการบ้มของสถาบันการเงิน
เป็นต้น
ตอนนั้น ผมช่วยทางบ้านนับแบงค์ 20 มาทอนเงิน เจอสภาพดำบี้ เหม็นมากมาย
ใบละร้อยก็เปื่อยยุ่ยเละ ดำ เหม็น ออกนิดเดียวก็ฉีกขาด
มันคงละภาพกับตอนนี้ครับ ที่แบงค์สะอาดสะอ้าน น่าใช้ มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาตลอด
เล่าได้เป็นวันครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 40
น่าสนใจครับ
ชำแหละ “ลด ดบ.นโยบาย” ได้ไม่คุ้มเสีย ชี้ชัด “บอนด์ระยะยาว” ต้นตอปัญหา คนที่เคยเจ็บตัวเมื่อปี 40 คงเข้าใจดี
“วิรไท สันติประภพ” ชำแหละแนวทางลด ดบ. แก้ปัญหาค่าเงินบาทได้จริงหรือ พร้อมระบุปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในวันนี้ คือ เงินทุนไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งมีบอนด์ระยะยาวของภาครัฐเป็นกลไกสำคัญ ชี้ชัดการลด ดบ.นโยบาย ไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหยุดเงินไหลเข้า หวั่นผลที่ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะกระทบโครงสร้างตลาดเงิน แถมยังกระตุ้นเงินเฟ้อให้รุนแรงขึ้น จุดชนวนฟองสบู่รอบใหม่ หากใครที่เคยเจ็บตัวเมื่อปี 40 คงเข้าใจดี
นายวิรไท สันติประภพ นักเศรษฐศาสตร์ โพสต์ในเฟซบุ๊ก ในประเด็นเรื่องแนวทางการจัดการเงินทุนไหลเข้า โดยคัดค้านการใช้นโยบายลดดอกเบี้ย พร้อมเสนอ 5 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้
เรื่องนโยบายเศรษฐกิจที่ “hot” ที่สุดเวลานี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการจัดการเงินทุนไหลเข้า และค่าเงินบาท หลายคนสงสัยว่าทำไมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จึงไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยหยุดเงินทุนไหลเข้าได้จริงหรือ และถ้า กนง. ไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทางการควรมีมาตรการบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าอย่างไร
ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะหยุดเงินทุนไหลเข้า อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมากคือ สำหรับเงินกู้เพียงหนึ่งวันเท่านั้น แต่ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้ คือ เงินทุนไหลเข้ามาในตราสารหนี้ ซึ่งมีพันธบัตร (ระยะยาว) ของภาครัฐเป็นกลไกสำคัญ
ถ้าคณะกรรมการนโยบายการเงินตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวจะลดลงด้วย โดยเฉพาะถ้าตลาดเห็นว่า รัฐบาลยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรมากู้เงินอีกจำนวนมาก หรือถ้าตลาดเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถูกแทรกแซงไม่สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างอิสระ ส่งผลให้เงินเฟ้อในอนาคตมีโอกาสสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวก็จะปรับเพิ่มขึ้นได้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลง
แต่การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพราะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ระบบธนาคารพาณิชย์นำไปใช้ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ วันนี้หนึ้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นเร็วมาก ฐานการออมของประเทศลดลง และเชื่อได้ว่ามีฟองสบู่เกิดขึ้นในสินทรัพย์หลายประเภท ถ้าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำไปนานๆ จะทำให้ฟองสบู่ในอนาคตขยายขึ้นจนควบคุมได้ยาก ดังนั้น ใครที่เคยเจ็บตัวเมื่อปี 2540 คงจะเข้าใจดี
รัฐบาลส่วนใหญ่มองแค่สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และผลการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงไม่ค่อยสนใจเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากเท่าที่ควร
นอกจากนี้ หลายคนคงไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในวันนี้ค่อนข้างต่ำด้วยซ้ำไปเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในทวีปอื่นๆ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าเรามาก แต่เงินก็ไม่ได้ไหลเข้าประเทศเหล่านี้มากเหมือนกับที่เราเผชิญอยู่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่ต้นเหตุหลักของเงินทุนไหลเข้านะครับ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือ “ด้านราคาที่มีผลเหวี่ยงแหในระดับมหภาค” ทั้งในวันนี้และวันหน้า ถ้าจะจัดการปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้า และค่าเงินบาทแข็งแล้วควรใช้มาตรการที่ “เฉพาะเจาะจง” ถึงต้นเหตุของเงินทุนไหลเข้ามากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะมาตราการเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ แต่รัฐบาลทุกประเทศมักไม่ชอบมาตรการเหล่านี้ เพราะอาจจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัฐบาลสูงขึ้น แผนการกู้เงินจะทำได้ไม่สะดวกเหมือนอย่างที่อยากให้เป็น
ผมคิดว่ามีแนวทางอย่างน้อย 5 เรื่องที่ควรได้รับการพิจารณาเพื่อจัดการเงินทุนไหลเข้าและปัญหาค่าเงินบาท โดยไม่สร้างความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต
1.การเร่งแก้กฎหมายเพื่อให้รัฐบาลเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากชาวต่างประเทศที่ถือพันธบัตรรัฐบาลไทยได้ (ทำให้เท่าเทียมกับคนไทยที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยพันธบัตร) เรามีมติ ครม. เรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่กระทรวงการคลังไม่ขับเคลื่อนให้มีการแก้ประมวลรัษฎากรให้เกิดผลในทางปฏิบัติ แม้ว่าเมื่อแก้ประมวลรัษฎากรแล้ว นักลงทุนจากบางประเทศจะไปขอคืนภาษีได้เพราะมีสนธิสัญญาภาษีซ้อนกับไทย
แต่การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นการสร้าง friction ให้เงินทุนที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตร และสร้างภาระให้นักลงทุนต่างประเทศต้องไปดำเนินการขอคืนภาษีเอง วิธีการนี้เป็น capital control ที่โปร่งใส ชัดเจน และเป็นธรรมที่สุด ไม่สร้างผลเสียด้านความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศในระยะยาวเหมือนกับ capital control บางประเภทซึ่งทางการควรหยิบยกมาพิจารณาด้วยเช่นกัน เช่น การกำหนดระยะเวลาการถือครองพันธบัตรขั้นต่ำของนักลงทุนต่างประเทศ การเก็บภาษีเงินลงทุนในพันธบัตร
2.ทบทวนวิธีการกู้เงินของรัฐบาล ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพราะรัฐบาลออกพันธบัตร inflation linked bond จำนวนมากที่ได้รับความสนใจสูงจากนักลงทุนต่างประเทศ การออกพันธบัตรที่มีเป้าหมายเป็นนักลงทุนต่างประเทศในเวลานี้จำเป็นหรือไม่ รัฐบาลควรจะหันมาพัฒนาตลาดพันธบัตร saving bonds สำหรับขายให้ผู้ฝากเงินในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะจะช่วยลดการพึ่งพิงนักลงทุนต่างประเทศ เพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ฝากเงินในประเทศ และช่วยสร้างความเข้มแข็งของฐานเงินออมภาคประชาชนอีกด้วย
3.ทบทวนกรอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศเป็นช่องทางเงินทุนไหลเข้าที่สำคัญมากเช่นกัน ตัวเลขการขอสิทธิประโยชน์บีโอไอสูงเป็นประวัติการณ์ จำเป็นหรือไม่ที่เรายังต้องให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิมอีก อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันนี้ลดลงมาจาก 30% เหลือ 20% แล้ว และเรายังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย ผมเชื่อว่ามีการลงทุนหลายประเภทที่เราเคยส่งเสริมในอดีต แต่ไม่ต้องการในปัจจุบัน
4.ทบทวนนโยบาย และเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างจริงจัง วันนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนถึงเกือบสองในสามของสินเชื่อครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ และยังแข่งขันกันปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ในสภาวะที่เรากังวลเรื่องฟองสบู่ สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้มาตรการป้องกันฟองสบู่ผ่านนโยบาย prudential measures ไม่ได้ผล เราควรควบคุมนโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างไร
5.ประเด็นสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด การออกนโยบาย หรือมาตรการใดๆ เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้า และค่าเงินบาท จะต้องได้รับการยอมรับจากตลาดว่าเป็นมาตรการที่น่าเชื่อถือ หรือมี credibility สูง หมายความว่าจะต้องเป็นมาตรการที่ทั้งรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นตรงกัน และรับผิดชอบร่วมกันอย่างหนักแน่น แต่เรายังเห็นความขัดแย้งทางความคิด และพฤติกรรมที่มุ่งแต่ประเด็นเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไม่พยายามจะทำมาตรการเฉพาะเจาะจงร่วมกันแบบเป็น package
และที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือ เริ่มมีความพยายามจะทำให้นโยบายเศรษฐกิจเป็นนโยบายกีฬาสีเหลืองสีแดง ถ้าวิธีการบริหารเศรษฐกิจยังเป็นแบบที่จะเอาชนะกัน ไม่มีทางที่มาตรการต่างๆ ที่ออกมาจะเกิดผล เพราะจะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากตลาด
มาตรการทางเศรษฐกิจทุกอย่างมีต้นทุน ต้องแน่ใจว่าเมื่อออกมาแล้วมีประสิทธิภาพ ถ้าสามารถออกมาตรการที่เฉพาะเจาะจงได้ จะลดผลเสียข้างเคียงได้ดีกว่ามาตรการมหภาคแบบเหวี่ยงแห (เช่นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย)
ก่อนที่การตัดสินใจนโยบายเศรษฐกิจจะกลายเป็นนโยบายกีฬาสี ผมอยากเห็นนักเศรษฐศาสตร์ และผู้รู้ทั้งหลายช่วยกันคิด และชี้นำสังคมว่าเราควรจะออกมาตรการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อบริหารเงินทุนไหลเข้า และแก้ปัญหาค่าเงินบาทได้อย่างไร
ชำแหละ “ลด ดบ.นโยบาย” ได้ไม่คุ้มเสีย ชี้ชัด “บอนด์ระยะยาว” ต้นตอปัญหา คนที่เคยเจ็บตัวเมื่อปี 40 คงเข้าใจดี
“วิรไท สันติประภพ” ชำแหละแนวทางลด ดบ. แก้ปัญหาค่าเงินบาทได้จริงหรือ พร้อมระบุปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในวันนี้ คือ เงินทุนไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งมีบอนด์ระยะยาวของภาครัฐเป็นกลไกสำคัญ ชี้ชัดการลด ดบ.นโยบาย ไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหยุดเงินไหลเข้า หวั่นผลที่ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะกระทบโครงสร้างตลาดเงิน แถมยังกระตุ้นเงินเฟ้อให้รุนแรงขึ้น จุดชนวนฟองสบู่รอบใหม่ หากใครที่เคยเจ็บตัวเมื่อปี 40 คงเข้าใจดี
นายวิรไท สันติประภพ นักเศรษฐศาสตร์ โพสต์ในเฟซบุ๊ก ในประเด็นเรื่องแนวทางการจัดการเงินทุนไหลเข้า โดยคัดค้านการใช้นโยบายลดดอกเบี้ย พร้อมเสนอ 5 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้
เรื่องนโยบายเศรษฐกิจที่ “hot” ที่สุดเวลานี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการจัดการเงินทุนไหลเข้า และค่าเงินบาท หลายคนสงสัยว่าทำไมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จึงไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยหยุดเงินทุนไหลเข้าได้จริงหรือ และถ้า กนง. ไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทางการควรมีมาตรการบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าอย่างไร
ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะหยุดเงินทุนไหลเข้า อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมากคือ สำหรับเงินกู้เพียงหนึ่งวันเท่านั้น แต่ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้ คือ เงินทุนไหลเข้ามาในตราสารหนี้ ซึ่งมีพันธบัตร (ระยะยาว) ของภาครัฐเป็นกลไกสำคัญ
ถ้าคณะกรรมการนโยบายการเงินตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวจะลดลงด้วย โดยเฉพาะถ้าตลาดเห็นว่า รัฐบาลยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรมากู้เงินอีกจำนวนมาก หรือถ้าตลาดเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถูกแทรกแซงไม่สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างอิสระ ส่งผลให้เงินเฟ้อในอนาคตมีโอกาสสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวก็จะปรับเพิ่มขึ้นได้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลง
แต่การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพราะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ระบบธนาคารพาณิชย์นำไปใช้ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ วันนี้หนึ้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นเร็วมาก ฐานการออมของประเทศลดลง และเชื่อได้ว่ามีฟองสบู่เกิดขึ้นในสินทรัพย์หลายประเภท ถ้าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำไปนานๆ จะทำให้ฟองสบู่ในอนาคตขยายขึ้นจนควบคุมได้ยาก ดังนั้น ใครที่เคยเจ็บตัวเมื่อปี 2540 คงจะเข้าใจดี
รัฐบาลส่วนใหญ่มองแค่สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และผลการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงไม่ค่อยสนใจเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากเท่าที่ควร
นอกจากนี้ หลายคนคงไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในวันนี้ค่อนข้างต่ำด้วยซ้ำไปเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในทวีปอื่นๆ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าเรามาก แต่เงินก็ไม่ได้ไหลเข้าประเทศเหล่านี้มากเหมือนกับที่เราเผชิญอยู่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่ต้นเหตุหลักของเงินทุนไหลเข้านะครับ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือ “ด้านราคาที่มีผลเหวี่ยงแหในระดับมหภาค” ทั้งในวันนี้และวันหน้า ถ้าจะจัดการปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้า และค่าเงินบาทแข็งแล้วควรใช้มาตรการที่ “เฉพาะเจาะจง” ถึงต้นเหตุของเงินทุนไหลเข้ามากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเฉพาะมาตราการเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ แต่รัฐบาลทุกประเทศมักไม่ชอบมาตรการเหล่านี้ เพราะอาจจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัฐบาลสูงขึ้น แผนการกู้เงินจะทำได้ไม่สะดวกเหมือนอย่างที่อยากให้เป็น
ผมคิดว่ามีแนวทางอย่างน้อย 5 เรื่องที่ควรได้รับการพิจารณาเพื่อจัดการเงินทุนไหลเข้าและปัญหาค่าเงินบาท โดยไม่สร้างความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต
1.การเร่งแก้กฎหมายเพื่อให้รัฐบาลเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากชาวต่างประเทศที่ถือพันธบัตรรัฐบาลไทยได้ (ทำให้เท่าเทียมกับคนไทยที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยพันธบัตร) เรามีมติ ครม. เรื่องนี้มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่กระทรวงการคลังไม่ขับเคลื่อนให้มีการแก้ประมวลรัษฎากรให้เกิดผลในทางปฏิบัติ แม้ว่าเมื่อแก้ประมวลรัษฎากรแล้ว นักลงทุนจากบางประเทศจะไปขอคืนภาษีได้เพราะมีสนธิสัญญาภาษีซ้อนกับไทย
แต่การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นการสร้าง friction ให้เงินทุนที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตร และสร้างภาระให้นักลงทุนต่างประเทศต้องไปดำเนินการขอคืนภาษีเอง วิธีการนี้เป็น capital control ที่โปร่งใส ชัดเจน และเป็นธรรมที่สุด ไม่สร้างผลเสียด้านความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศในระยะยาวเหมือนกับ capital control บางประเภทซึ่งทางการควรหยิบยกมาพิจารณาด้วยเช่นกัน เช่น การกำหนดระยะเวลาการถือครองพันธบัตรขั้นต่ำของนักลงทุนต่างประเทศ การเก็บภาษีเงินลงทุนในพันธบัตร
2.ทบทวนวิธีการกู้เงินของรัฐบาล ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพราะรัฐบาลออกพันธบัตร inflation linked bond จำนวนมากที่ได้รับความสนใจสูงจากนักลงทุนต่างประเทศ การออกพันธบัตรที่มีเป้าหมายเป็นนักลงทุนต่างประเทศในเวลานี้จำเป็นหรือไม่ รัฐบาลควรจะหันมาพัฒนาตลาดพันธบัตร saving bonds สำหรับขายให้ผู้ฝากเงินในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะจะช่วยลดการพึ่งพิงนักลงทุนต่างประเทศ เพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ฝากเงินในประเทศ และช่วยสร้างความเข้มแข็งของฐานเงินออมภาคประชาชนอีกด้วย
3.ทบทวนกรอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศเป็นช่องทางเงินทุนไหลเข้าที่สำคัญมากเช่นกัน ตัวเลขการขอสิทธิประโยชน์บีโอไอสูงเป็นประวัติการณ์ จำเป็นหรือไม่ที่เรายังต้องให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิมอีก อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันนี้ลดลงมาจาก 30% เหลือ 20% แล้ว และเรายังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย ผมเชื่อว่ามีการลงทุนหลายประเภทที่เราเคยส่งเสริมในอดีต แต่ไม่ต้องการในปัจจุบัน
4.ทบทวนนโยบาย และเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างจริงจัง วันนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนถึงเกือบสองในสามของสินเชื่อครัวเรือนของธนาคารพาณิชย์ และยังแข่งขันกันปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ในสภาวะที่เรากังวลเรื่องฟองสบู่ สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้มาตรการป้องกันฟองสบู่ผ่านนโยบาย prudential measures ไม่ได้ผล เราควรควบคุมนโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างไร
5.ประเด็นสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด การออกนโยบาย หรือมาตรการใดๆ เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้า และค่าเงินบาท จะต้องได้รับการยอมรับจากตลาดว่าเป็นมาตรการที่น่าเชื่อถือ หรือมี credibility สูง หมายความว่าจะต้องเป็นมาตรการที่ทั้งรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นตรงกัน และรับผิดชอบร่วมกันอย่างหนักแน่น แต่เรายังเห็นความขัดแย้งทางความคิด และพฤติกรรมที่มุ่งแต่ประเด็นเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไม่พยายามจะทำมาตรการเฉพาะเจาะจงร่วมกันแบบเป็น package
และที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือ เริ่มมีความพยายามจะทำให้นโยบายเศรษฐกิจเป็นนโยบายกีฬาสีเหลืองสีแดง ถ้าวิธีการบริหารเศรษฐกิจยังเป็นแบบที่จะเอาชนะกัน ไม่มีทางที่มาตรการต่างๆ ที่ออกมาจะเกิดผล เพราะจะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากตลาด
มาตรการทางเศรษฐกิจทุกอย่างมีต้นทุน ต้องแน่ใจว่าเมื่อออกมาแล้วมีประสิทธิภาพ ถ้าสามารถออกมาตรการที่เฉพาะเจาะจงได้ จะลดผลเสียข้างเคียงได้ดีกว่ามาตรการมหภาคแบบเหวี่ยงแห (เช่นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย)
ก่อนที่การตัดสินใจนโยบายเศรษฐกิจจะกลายเป็นนโยบายกีฬาสี ผมอยากเห็นนักเศรษฐศาสตร์ และผู้รู้ทั้งหลายช่วยกันคิด และชี้นำสังคมว่าเราควรจะออกมาตรการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อบริหารเงินทุนไหลเข้า และแก้ปัญหาค่าเงินบาทได้อย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 42
ถ้า บอนด์ระยะยาว คือต้นตอของปัญหา ในการแข็งค่าของเงินบาท ทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง ผมคิดว่าน่าจะมีการออกกฎให้การซื้อบอนด์ของต่างชาติให้มีโควต้าครับว่าไม่สามารถซื้อเกินได้เท่าไหร่ต่อปี ถ้าต่างชาติซื้อกันเต็มโควต้าแล้วก็ต้องรอให้กองทุนต่างชาติกองใดกองหนึ่งขายออกมาก่อนกองอื่นถึงจะได้สิทธิ์กลับเข้ามาซื้อต่อได้ครับ ถ้าทำลักษณะนี้น่าจะพอช่วยแก้ปัญหาได้บ้างนะครับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 43
การ re-structure เช่น การเพิ่ม tax การทำ capital control มันเหมือนเป็นการปรับเปลี่ยน gov policy ซึ่งเกิดผลกระทบวงกว้างทั้งภายในและภายนอก และมีผลต่อความเชื่อมั่น ฯลฯ
แต่การปรับลด interest เป็นเรื่องของอาหารเสริม ซึ่งให้ผลเหมือนกัน แต่เป็น normal practice ที่ทำกัน hedge fund ก็เข้ามาเก็งกำไรจากเรื่องนี้
-- เคยเห็นใน internet แชร์เรื่องการแข็งค่าว่า มีปัจจัยมาจาก volatility มากกว่า inflation หรือ interest,
-- คำถาม คือ หน้าที่ใคร คือคนคุม fundflow คนนั้นก็คือคนที่ต้องออกนโนบาย? รัฐ หรือ ธปท?
สรุป ผมไม่คิดว่า หน้าที่ ธปท คือแค่ inflation target หรอกนะ ถ้าไม่ดู fundflow ให้ด้วย ผมว่าเขา fail ต่อหน้าที่
แต่การปรับลด interest เป็นเรื่องของอาหารเสริม ซึ่งให้ผลเหมือนกัน แต่เป็น normal practice ที่ทำกัน hedge fund ก็เข้ามาเก็งกำไรจากเรื่องนี้
-- เคยเห็นใน internet แชร์เรื่องการแข็งค่าว่า มีปัจจัยมาจาก volatility มากกว่า inflation หรือ interest,
-- คำถาม คือ หน้าที่ใคร คือคนคุม fundflow คนนั้นก็คือคนที่ต้องออกนโนบาย? รัฐ หรือ ธปท?
สรุป ผมไม่คิดว่า หน้าที่ ธปท คือแค่ inflation target หรอกนะ ถ้าไม่ดู fundflow ให้ด้วย ผมว่าเขา fail ต่อหน้าที่
การจะได้สิ่งใดมานั้น...จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งที่มีค่าเท่าเทียมกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 44
หน้าที่ ธปท.kondee เขียน:การ re-structure เช่น การเพิ่ม tax การทำ capital control มันเหมือนเป็นการปรับเปลี่ยน gov policy ซึ่งเกิดผลกระทบวงกว้างทั้งภายในและภายนอก และมีผลต่อความเชื่อมั่น ฯลฯ
แต่การปรับลด interest เป็นเรื่องของอาหารเสริม ซึ่งให้ผลเหมือนกัน แต่เป็น normal practice ที่ทำกัน hedge fund ก็เข้ามาเก็งกำไรจากเรื่องนี้
-- เคยเห็นใน internet แชร์เรื่องการแข็งค่าว่า มีปัจจัยมาจาก volatility มากกว่า inflation หรือ interest,
-- คำถาม คือ หน้าที่ใคร คือคนคุม fundflow คนนั้นก็คือคนที่ต้องออกนโนบาย? รัฐ หรือ ธปท?
สรุป ผมไม่คิดว่า หน้าที่ ธปท คือแค่ inflation target หรอกนะ ถ้าไม่ดู fundflow ให้ด้วย ผมว่าเขา fail ต่อหน้าที่
http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/inde ... ities.aspx
8. บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
การจะได้สิ่งใดมานั้น...จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งที่มีค่าเท่าเทียมกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 45
คำถามต่อมาคือ
ประเทศอื่นๆ เพื่อนบ้านมีดอกเบี้ยนโยบายพอๆกับเรา แต่เงินก็ไม่ได้แข็งแบบเรา
ถ้าเงินไหลจากอัตราดอกเบี้ยต่ำไปหาอัตราดอกเบี้ยสูง ประเทศเหล่านั้นควรแข็งพอๆกับเราซิ
คำถามต่อมาคือ จริงๆ การทำ เยนแครีเทรด ก็ดี การแสวงกำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
สิ่งที่เป็นหัวใจคือ สัญญาของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นเอง
แล้วตัวการในประเทศไทยที่ทำคือธนาคาร ถ้าหากธปท ดำเนินการผ่านธนาคาร ก็สามารถดำเนินการได้โดยตรง
คำถามต่อมาทำไม นักลงทุนถึงชอบให้ลดดอกเบี้ย
มองกันลึกๆคือ อาวุธสำคัญของนักลงทุนคือ Leverage
โดยผ่านบัญชีมาร์จิ้น ใช้เงินเราส่วนหนึ่ง และใช้เงินคนอื่นด้วย โดยเราเสียดอกเบี้ย
ดังนั้น ถ้าหากลดดอกเบี้ย นักลงทุนก็ได้ประโยชน์จึงยินดีที่ตอบสนอง
สุดท้ายทั้งหมดคือ คำถาม ที่หาทางออกในเรื่องนี้
ประเทศอื่นๆ เพื่อนบ้านมีดอกเบี้ยนโยบายพอๆกับเรา แต่เงินก็ไม่ได้แข็งแบบเรา
ถ้าเงินไหลจากอัตราดอกเบี้ยต่ำไปหาอัตราดอกเบี้ยสูง ประเทศเหล่านั้นควรแข็งพอๆกับเราซิ
คำถามต่อมาคือ จริงๆ การทำ เยนแครีเทรด ก็ดี การแสวงกำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
สิ่งที่เป็นหัวใจคือ สัญญาของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นเอง
แล้วตัวการในประเทศไทยที่ทำคือธนาคาร ถ้าหากธปท ดำเนินการผ่านธนาคาร ก็สามารถดำเนินการได้โดยตรง
คำถามต่อมาทำไม นักลงทุนถึงชอบให้ลดดอกเบี้ย
มองกันลึกๆคือ อาวุธสำคัญของนักลงทุนคือ Leverage
โดยผ่านบัญชีมาร์จิ้น ใช้เงินเราส่วนหนึ่ง และใช้เงินคนอื่นด้วย โดยเราเสียดอกเบี้ย
ดังนั้น ถ้าหากลดดอกเบี้ย นักลงทุนก็ได้ประโยชน์จึงยินดีที่ตอบสนอง
สุดท้ายทั้งหมดคือ คำถาม ที่หาทางออกในเรื่องนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 47
1) ทำไมดอกเบี้ยเท่า แต่เงินแข็งไม่เท่า -> ต้องถามกลับว่าทำไมในตลาดหุ้นที่มี EPS เท่ากัน ทำไม P/E ถึงไม่เท่ากัน?miracle เขียน:คำถามต่อมาคือ
ประเทศอื่นๆ เพื่อนบ้านมีดอกเบี้ยนโยบายพอๆกับเรา แต่เงินก็ไม่ได้แข็งแบบเรา
ถ้าเงินไหลจากอัตราดอกเบี้ยต่ำไปหาอัตราดอกเบี้ยสูง ประเทศเหล่านั้นควรแข็งพอๆกับเราซิ
คำถามต่อมาคือ จริงๆ การทำ เยนแครีเทรด ก็ดี การแสวงกำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
สิ่งที่เป็นหัวใจคือ สัญญาของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นเอง
แล้วตัวการในประเทศไทยที่ทำคือธนาคาร ถ้าหากธปท ดำเนินการผ่านธนาคาร ก็สามารถดำเนินการได้โดยตรง
คำถามต่อมาทำไม นักลงทุนถึงชอบให้ลดดอกเบี้ย
มองกันลึกๆคือ อาวุธสำคัญของนักลงทุนคือ Leverage
โดยผ่านบัญชีมาร์จิ้น ใช้เงินเราส่วนหนึ่ง และใช้เงินคนอื่นด้วย โดยเราเสียดอกเบี้ย
ดังนั้น ถ้าหากลดดอกเบี้ย นักลงทุนก็ได้ประโยชน์จึงยินดีที่ตอบสนอง
สุดท้ายทั้งหมดคือ คำถาม ที่หาทางออกในเรื่องนี้
2) ธปท ไม่เป็นองค์กรแสวงหากำไรเพื่อไม่ให้เข้าไป take risk
3) ถ้า player มี ธุรกิจไทย(import &export) , ต่างชาติ ถ้าลดดอกเบี้ยใครเจ็บ ผมว่าเป็นบวกกับในประเทศแต่เป็นลบกับต่างชาติ แล้วถ้าขึ้นภาษีล่ะ ลบกับทั้งในประเทศและต่างชาติหรือป่าว?
การจะได้สิ่งใดมานั้น...จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งที่มีค่าเท่าเทียมกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 48
1) ทำไมดอกเบี้ยเท่า แต่เงินแข็งไม่เท่า -> ต้องถามกลับว่าทำไมในตลาดหุ้นที่มี EPS เท่ากัน ทำไม P/E ถึงไม่เท่ากัน?
อืม เฉียบมาก
ตอนนี้ผมก็รอคุณ miracleตอบ หวังว่า จะไม่ตอบแบบ
ถามว่าไปไหนมา ตอบว่า สามวาสองศอกนะ
อืม เฉียบมาก
ตอนนี้ผมก็รอคุณ miracleตอบ หวังว่า จะไม่ตอบแบบ
ถามว่าไปไหนมา ตอบว่า สามวาสองศอกนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 49
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล
ดังนั้น แค่ eps เท่ากัน ทั้งสองบริษัทก็ดูต่อว่า บริษัททำอะไร มีroa roe เป็นอย่างไร ผู้บริหารมีโหวงเฮ้งดีหรือเปล่า ตามทาเป็นขบวน
สิ่งที่ถามต่อคือ
ถ้าเราลดดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 0-0.25% เท่ากับประเทศ US ญี่ปุ่น บางละ
ผลคืออะไร ในขณะที่เศรษฐกิจเราเจริญเติบโตโดยไม่มีปัญหา แบบนี้เงินยังไหลเข้ามาอีกหรือเปล่า
ดังนั้น แค่ eps เท่ากัน ทั้งสองบริษัทก็ดูต่อว่า บริษัททำอะไร มีroa roe เป็นอย่างไร ผู้บริหารมีโหวงเฮ้งดีหรือเปล่า ตามทาเป็นขบวน
สิ่งที่ถามต่อคือ
ถ้าเราลดดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 0-0.25% เท่ากับประเทศ US ญี่ปุ่น บางละ
ผลคืออะไร ในขณะที่เศรษฐกิจเราเจริญเติบโตโดยไม่มีปัญหา แบบนี้เงินยังไหลเข้ามาอีกหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 51
ทำไมไหลออกละครับCARPENTER เขียน:ถ้าดอกเบี้ยนโยบาย 0-.25% เงินไม่ไหลเข้าแน่นอน
เงินจะไหลออก
เงินบาทอ่อนลงแน่นอน
ในเมื่อ อัตราดอกเบี้ยภายในและภายนอกเท่ากัน
ค่าเงินควรคงที่มิใช่หรือครับ
มีอะไรเป็นสิ่งที่ให้เวินไหลออกละ
และภายในประเทศเป็นอย่างไงละในกรณีนี้
ถามเพิ่มเติมถ้าแบบนี้เครดิตเรตติ้ง จอวประเทศในมุมมองต่างชาติอยู่เรตไหนละ
ตอบให้ชัดเจนรอบด้านเท่าที่ความรู้ที่มีหน่อยครับ ในเมื่อคิดว่าลดอัตราดอกเบี้ยช่วยได้
อีกอย่างจะได้เป็นวิทยาทานแก่ผมและเพื้อนชาว thaivi ด้วยครับ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 52
กระทู้นี้ deja vu มากๆ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 53
นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาบาทแข็ง ครับ
“อัมมาร” แนะรัฐออกมาตรการต่างชาติซื้อประกันความเสี่ยงแก้ปัญหาบาทแข็ง
ทีดีอาร์ไอ 10 พ.ค.- นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นด้วยที่รัฐบาลเตรียม 4 มาตรการไว้ดูแลสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะมาตรการที่ให้นักลงทุนต่างชาติที่นำเงินทุนเข้ามาลงทุนในไทยต้องทำประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้ได้รับผลตอบแทนในเชิงบวก และไม่ให้ได้รับผลกระทบในเชิงลบ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากที่สุด
ทั้งนี้ หากรัฐบาลมองว่าปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาเก็งกำไรในส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย โดยสนับสนุนให้ดำเนินการทันที จนกว่าสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศจะปรับตัวสูงใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของไทย เนื่องจากการบังคับให้นักลงทุนต่างชาติทำประกันความเสี่ยงจะทำให้นักลงทุนไม่ได้รับผลกำไรจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีมาตรการดังกล่าวออกมาแล้วสามารถแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทได้ รัฐบาลจะต้องยอมรับหากมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น
ส่วนแนวคิดเอกชนให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1 นั้น มองว่าไม่มีความจำเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.75 ในปัจจุบัน เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่แล้ว การที่ธนาคารกลางหลายประเทศดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำ เพราะประเทศเหล่านั้นมีปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และไม่มีปัญหาการว่างงาน
นายอัมมาร ในฐานะเป็นอดีตคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมองว่า ที่ผ่านมา กนง.ให้ความสำคัญทั้งเป้าหมายเงินเฟ้อและสถานการณ์ของอัตราแลกเปลี่ยน โดยอิงกับเงินสกุลภูมิภาคมากกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะให้น้ำหนักกับอัตราแลกเปลี่ยนน้อยกว่าเงินเฟ้อก็ตาม แต่ กนง.ได้พิจารณาผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และตั้งเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้นให้มีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจมาโดยตลอด ดังนั้น การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบยืดหยุ่นเหมาะสมกว่าการอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นก่อนเกิดวิกฤติปี 2540 เพราะภาคเอกชนจะทำธุรกิจที่อิงอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จนเกินไป หากมีการเปลี่ยนแปลงจะปรับตัวไม่ทัน
นอกจากนี้ นายอัมมาร ยังเห็นด้วยกับเรื่องอำนาจการปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยมาตรา 28/19 ที่ระบุ การปลดผู้ว่าการ ธปท. จะต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง ทุจริตต่อหน้าที่ หรือบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง เพราะจะทำให้เกิดความสมดุลในการบริหารงาน และไม่ให้การปลดผู้ว่าการ ธปท. ผูกพันกับอำนาจทางการเมือง
สำหรับสถานการณ์ค่าเงินบาทวันนี้ (10 พ.ค.) เปิดตลาดอ่อนค่าตามภูมิภาคที่ 29.58 -29.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ 29.63-29.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง.- สำนักข่าวไทย
ที่มา. เว็บไซต์สำนักข่าวไทย
“อัมมาร” แนะรัฐออกมาตรการต่างชาติซื้อประกันความเสี่ยงแก้ปัญหาบาทแข็ง
ทีดีอาร์ไอ 10 พ.ค.- นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นด้วยที่รัฐบาลเตรียม 4 มาตรการไว้ดูแลสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะมาตรการที่ให้นักลงทุนต่างชาติที่นำเงินทุนเข้ามาลงทุนในไทยต้องทำประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้ได้รับผลตอบแทนในเชิงบวก และไม่ให้ได้รับผลกระทบในเชิงลบ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากที่สุด
ทั้งนี้ หากรัฐบาลมองว่าปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาเก็งกำไรในส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย โดยสนับสนุนให้ดำเนินการทันที จนกว่าสถานการณ์อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศจะปรับตัวสูงใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของไทย เนื่องจากการบังคับให้นักลงทุนต่างชาติทำประกันความเสี่ยงจะทำให้นักลงทุนไม่ได้รับผลกำไรจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีมาตรการดังกล่าวออกมาแล้วสามารถแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทได้ รัฐบาลจะต้องยอมรับหากมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น
ส่วนแนวคิดเอกชนให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1 นั้น มองว่าไม่มีความจำเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.75 ในปัจจุบัน เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่แล้ว การที่ธนาคารกลางหลายประเทศดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำ เพราะประเทศเหล่านั้นมีปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และไม่มีปัญหาการว่างงาน
นายอัมมาร ในฐานะเป็นอดีตคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมองว่า ที่ผ่านมา กนง.ให้ความสำคัญทั้งเป้าหมายเงินเฟ้อและสถานการณ์ของอัตราแลกเปลี่ยน โดยอิงกับเงินสกุลภูมิภาคมากกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะให้น้ำหนักกับอัตราแลกเปลี่ยนน้อยกว่าเงินเฟ้อก็ตาม แต่ กนง.ได้พิจารณาผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และตั้งเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้นให้มีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจมาโดยตลอด ดังนั้น การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบยืดหยุ่นเหมาะสมกว่าการอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นก่อนเกิดวิกฤติปี 2540 เพราะภาคเอกชนจะทำธุรกิจที่อิงอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จนเกินไป หากมีการเปลี่ยนแปลงจะปรับตัวไม่ทัน
นอกจากนี้ นายอัมมาร ยังเห็นด้วยกับเรื่องอำนาจการปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยมาตรา 28/19 ที่ระบุ การปลดผู้ว่าการ ธปท. จะต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง ทุจริตต่อหน้าที่ หรือบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง เพราะจะทำให้เกิดความสมดุลในการบริหารงาน และไม่ให้การปลดผู้ว่าการ ธปท. ผูกพันกับอำนาจทางการเมือง
สำหรับสถานการณ์ค่าเงินบาทวันนี้ (10 พ.ค.) เปิดตลาดอ่อนค่าตามภูมิภาคที่ 29.58 -29.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ 29.63-29.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง.- สำนักข่าวไทย
ที่มา. เว็บไซต์สำนักข่าวไทย
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 54
ดูกันจะจะ"ดอกเบี้ยไทย" ใครว่าแพง
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2556, 00:00 น.
คอลัมน์ เมืองไทย25น.
ทวี มีเงิน
เสาร์สบายๆ พยายามจะหาเรื่องเบาๆ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะหนีเรื่องเครียดๆ ค่าเงินบาทจะแข็งหรือจะอ่อนดี ดอกเบี้ยจะลดหรือไม่ลด เผอิญได้เห็นข้อมูล "หม่อมอุ๋ย"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ อดีตรัฐมนตรีคลัง จึงน่าจะรู้และเข้าใจความรู้สึกทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี
ข้อมูลที่นำมาให้ดูกันเป็นข้อมูลที่ "หม่อมอุ๋ย" ไปพูดให้กับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชนฟัง น่าสนใจจึงจะขอหยิบยืมมาบางส่วนเพื่อเอามาขยายความให้ผู้อ่านได้เห็นกันจะจะว่าของจริงๆ เป็นอย่างไร แต่จะนำเสนอแบบเบาๆ สบายๆ อย่างมีสาระ
อันแรกจะเปรียบเทียบค่าเงินบาท ในยุคของ 3 ผู้ว่าการ แบงก์ชาติ ตั้งแต่ "หม่อมอุ๋ย" ถัดมาเป็นยุคคุณธาริษา วัฒนเกส และยุคปัจจุบัน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ค่าเงินบาทในยุค "หม่อมอุ๋ย"ซึ่งดำรงตำแหน่งปี 2544-2549 ค่าเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐอยู่ที่ 45.50-37.56 บาท ตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่ดำรงตำแหน่งค่าเงินบาทแข็งขึ้น 20.87% ยุคต่อมาเป็นยุคของคุณธาริษา ระหว่างปี 2549-2553 ค่าเงินอยู่ที่ 37.56-30.36 บาท แข็งขึ้น 23.72% ขณะที่ในยุคของ ดร.ประสาร ตั้งแต่ปี 2553- ปัจจุบัน (2556) ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.36-29.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งขึ้น 3.46%
จากข้อมูลที่ "หม่อมอุ๋ย" นำเสนอจะเห็นว่ายุคของคุณ ธาริษาค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากที่สุด
หากคิดตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงเม.ย.2556 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 4.37% ย้อนหลังไปอีก 16 เดือน บาทแข็งค่าขึ้น 7.5%
ในฐานะที่ไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออก การจะดูค่าเงินบาทเราแข็งเกินไปหรือไม่ ดอกเบี้ยเป็นอย่างไร ก็ต้องเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน พบว่าค่าเงินดอลลาร์ของสิงคโปร์ แข็งค่าขึ้น 5.14% เปโซฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้น 6.47% รูเปียห์อินโดนีเซียอ่อนค่าลง 6.79% หากมาดูอัตราดอกเบี้ยจะเห็นว่าเกาหลีใต้อัตราดอกเบี้ยล่าสุด 2.50% มาเลเซีย 3% ฟิลิปปินส์ 3.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซีย 5.75%
จึงมีคำถามว่า ดอกเบี้ยอินโดนีเซียสูงสุดในภูมิภาค แต่ทำไมค่าเงินรูเปียห์เทียบกับดอลลาร์ อ่อนค่าลงถึง 6.79%
นี่คงเป็นคำตอบว่าดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยดึงเงินเข้าประเทศอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ ฉะนั้นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ย จึงไม่ใช่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องข้อมูลล้วนๆ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... RVMU5nPT0=
--------------------------------------
ผมขอตั้งคำถามเสียงดังๆ บ้าง ว่าทำไม
ปล่อยให้ ต่างชาติ หัวดำหัวทอง. เข้าออก ได้กำไร และดอกเบี้ย
จากตลาดทุนและตลาดเงิน โดยไม่ต้องจ่ายภาษี ???
ผมไม่แน่ใจตัวเลขว่ากี่ % แต่ะท่าที่เคยอ่านผ่านๆ ตา ของมาเลย์
ภาษีประมาณ 10% - 20%. ....
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2556, 00:00 น.
คอลัมน์ เมืองไทย25น.
ทวี มีเงิน
เสาร์สบายๆ พยายามจะหาเรื่องเบาๆ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะหนีเรื่องเครียดๆ ค่าเงินบาทจะแข็งหรือจะอ่อนดี ดอกเบี้ยจะลดหรือไม่ลด เผอิญได้เห็นข้อมูล "หม่อมอุ๋ย"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ อดีตรัฐมนตรีคลัง จึงน่าจะรู้และเข้าใจความรู้สึกทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี
ข้อมูลที่นำมาให้ดูกันเป็นข้อมูลที่ "หม่อมอุ๋ย" ไปพูดให้กับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชนฟัง น่าสนใจจึงจะขอหยิบยืมมาบางส่วนเพื่อเอามาขยายความให้ผู้อ่านได้เห็นกันจะจะว่าของจริงๆ เป็นอย่างไร แต่จะนำเสนอแบบเบาๆ สบายๆ อย่างมีสาระ
อันแรกจะเปรียบเทียบค่าเงินบาท ในยุคของ 3 ผู้ว่าการ แบงก์ชาติ ตั้งแต่ "หม่อมอุ๋ย" ถัดมาเป็นยุคคุณธาริษา วัฒนเกส และยุคปัจจุบัน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ค่าเงินบาทในยุค "หม่อมอุ๋ย"ซึ่งดำรงตำแหน่งปี 2544-2549 ค่าเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐอยู่ที่ 45.50-37.56 บาท ตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่ดำรงตำแหน่งค่าเงินบาทแข็งขึ้น 20.87% ยุคต่อมาเป็นยุคของคุณธาริษา ระหว่างปี 2549-2553 ค่าเงินอยู่ที่ 37.56-30.36 บาท แข็งขึ้น 23.72% ขณะที่ในยุคของ ดร.ประสาร ตั้งแต่ปี 2553- ปัจจุบัน (2556) ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.36-29.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งขึ้น 3.46%
จากข้อมูลที่ "หม่อมอุ๋ย" นำเสนอจะเห็นว่ายุคของคุณ ธาริษาค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากที่สุด
หากคิดตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงเม.ย.2556 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 4.37% ย้อนหลังไปอีก 16 เดือน บาทแข็งค่าขึ้น 7.5%
ในฐานะที่ไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออก การจะดูค่าเงินบาทเราแข็งเกินไปหรือไม่ ดอกเบี้ยเป็นอย่างไร ก็ต้องเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน พบว่าค่าเงินดอลลาร์ของสิงคโปร์ แข็งค่าขึ้น 5.14% เปโซฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้น 6.47% รูเปียห์อินโดนีเซียอ่อนค่าลง 6.79% หากมาดูอัตราดอกเบี้ยจะเห็นว่าเกาหลีใต้อัตราดอกเบี้ยล่าสุด 2.50% มาเลเซีย 3% ฟิลิปปินส์ 3.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซีย 5.75%
จึงมีคำถามว่า ดอกเบี้ยอินโดนีเซียสูงสุดในภูมิภาค แต่ทำไมค่าเงินรูเปียห์เทียบกับดอลลาร์ อ่อนค่าลงถึง 6.79%
นี่คงเป็นคำตอบว่าดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยดึงเงินเข้าประเทศอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ ฉะนั้นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ย จึงไม่ใช่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องข้อมูลล้วนๆ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... RVMU5nPT0=
--------------------------------------
ผมขอตั้งคำถามเสียงดังๆ บ้าง ว่าทำไม
ปล่อยให้ ต่างชาติ หัวดำหัวทอง. เข้าออก ได้กำไร และดอกเบี้ย
จากตลาดทุนและตลาดเงิน โดยไม่ต้องจ่ายภาษี ???
ผมไม่แน่ใจตัวเลขว่ากี่ % แต่ะท่าที่เคยอ่านผ่านๆ ตา ของมาเลย์
ภาษีประมาณ 10% - 20%. ....
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 55
มีเรื่องนึงที่ผมสงสัยวิธีคิดของ bot
ทำไม เราต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆให้ เพื่อให้ usa eu japan เอาเงินมาทำแครี่เทรดหรือ
ทำไม ต่างชาติชอบเอาเงินมาเข้าประเทศไทย เพราะเป็นประเทศเดียวที่ยอมเจ้ง
แต่ไม่ยอมทำให้ต่างชาติผิดหวังมีบทพิสูจน์แล้วสมัยต้มยำกุ้ง
มาเลเป็นประเทศที่ไม่ยอมเจ้ง จนฝรั่งมันรุมด่ากันเละเทะในสมัยนั้น
เกาหลีหนือ รัสเซีย อิหร่าน มีประวัติการเบี้ยวหนี้มาแล้ว
ไทย จึงเป็นสวรรค์ของดอลล่าแครี่เทรด และเยนแครี่เทรด
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เงินบาทแข็งกว่าเงินอินโด
เหมือนญี่ปุ่นที่ เอาใจ usa ในสมัยประมาณ 1980 จนเงินเยนแข็งจนประเทศเจ้งจนปัจจุบัน
ถ้าจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ เพื่อพยุงไม่ให้ค่าเงินตกต่ำมากๆ ก็พอเข้าใจ
แต่นี้เงิน ก็แข็ง แล้วยังดันทุรังจ่าย ดอกเบี้ยสูงๆอีก
จะทำอะไรก็ทำ แต่ช่วยรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ไม๊
อย่า อวดเก่ง อวดฉลาด โดยใช้ เงินของชาติไปจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ
เรื่อง เงินแข็งก็เรื่องนึง แต่เรื่องค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงก็อีกเรื่องนึง
ถ้ารัฐจะเก็บภาษี ผมก็เห็นด้วย แต่ อย่าฉลาดแบบหม่อมอุ๋ยที่รู้ทุกเรื่อง
แต่ออกมาตราการที่ทำให้หุ้นตกมหาวินาศ
กลัวจริงๆ คนที่ฉลาดในการพูดเขียน แต่ทำแล้วคนเจ้งเป็นแถบๆ
จริงๆแล้วประเทศไทย ต้องเสียหายเพราะนโยบายรัฐ ปีละหลายแสนล้านบาท
เช่น ..... ไม่อยากพูดเดี๋ยวถูกแบน
ผมก็เลยหวังว่า bot ที่ เชื่อว่าไม่โกง จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศบ้าง
ทำไม เราต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆให้ เพื่อให้ usa eu japan เอาเงินมาทำแครี่เทรดหรือ
ทำไม ต่างชาติชอบเอาเงินมาเข้าประเทศไทย เพราะเป็นประเทศเดียวที่ยอมเจ้ง
แต่ไม่ยอมทำให้ต่างชาติผิดหวังมีบทพิสูจน์แล้วสมัยต้มยำกุ้ง
มาเลเป็นประเทศที่ไม่ยอมเจ้ง จนฝรั่งมันรุมด่ากันเละเทะในสมัยนั้น
เกาหลีหนือ รัสเซีย อิหร่าน มีประวัติการเบี้ยวหนี้มาแล้ว
ไทย จึงเป็นสวรรค์ของดอลล่าแครี่เทรด และเยนแครี่เทรด
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เงินบาทแข็งกว่าเงินอินโด
เหมือนญี่ปุ่นที่ เอาใจ usa ในสมัยประมาณ 1980 จนเงินเยนแข็งจนประเทศเจ้งจนปัจจุบัน
ถ้าจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ เพื่อพยุงไม่ให้ค่าเงินตกต่ำมากๆ ก็พอเข้าใจ
แต่นี้เงิน ก็แข็ง แล้วยังดันทุรังจ่าย ดอกเบี้ยสูงๆอีก
จะทำอะไรก็ทำ แต่ช่วยรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ไม๊
อย่า อวดเก่ง อวดฉลาด โดยใช้ เงินของชาติไปจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ
เรื่อง เงินแข็งก็เรื่องนึง แต่เรื่องค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงก็อีกเรื่องนึง
ถ้ารัฐจะเก็บภาษี ผมก็เห็นด้วย แต่ อย่าฉลาดแบบหม่อมอุ๋ยที่รู้ทุกเรื่อง
แต่ออกมาตราการที่ทำให้หุ้นตกมหาวินาศ
กลัวจริงๆ คนที่ฉลาดในการพูดเขียน แต่ทำแล้วคนเจ้งเป็นแถบๆ
จริงๆแล้วประเทศไทย ต้องเสียหายเพราะนโยบายรัฐ ปีละหลายแสนล้านบาท
เช่น ..... ไม่อยากพูดเดี๋ยวถูกแบน
ผมก็เลยหวังว่า bot ที่ เชื่อว่าไม่โกง จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 56
กลับไปดูบัญชีเดินสะพัด -> ติดลบ จากการนำเข้า
แต่เงินใไหลเข้ามา ทำให้มีเงินหมุนเวียน
ต่อด้วย ลดดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ
เมื่อลดดอกเบี้ยอีกก็ยิ่งส่งผล ต่อการออมภายในประเทศหรือเปล่าละ
ถ้าหาก ต่างชาติเลิกนำเงินมาลงทุน
เจอสองเด้งคือขาดทุนทั้งบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุน
เดี๋ยวได้งานเข้าหรอก
ปล ยังไม่ตอบคำถามเลย
แต่เงินใไหลเข้ามา ทำให้มีเงินหมุนเวียน
ต่อด้วย ลดดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ
เมื่อลดดอกเบี้ยอีกก็ยิ่งส่งผล ต่อการออมภายในประเทศหรือเปล่าละ
ถ้าหาก ต่างชาติเลิกนำเงินมาลงทุน
เจอสองเด้งคือขาดทุนทั้งบัญชีเดินสะพัดและบัญชีทุน
เดี๋ยวได้งานเข้าหรอก
ปล ยังไม่ตอบคำถามเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 57
"กลับไปดูบัญชีเดินสะพัด -> ติดลบ จากการนำเข้า
แต่เงินใไหลเข้ามา ทำให้มีเงินหมุนเวียน"
ทำไมเกิดปัญหานี้
ผมขี้เกียจรอคุณ มิราเคิ้ล ตอบ กลัว คำตอบประเภท ยาวเป็นกิโล
เกิดเพราะ เงินเราแข็ง เกินไป ทำให้ export เจ้ง
พวก import และทัวร์ ตปท ตีปีก
ถ้าหวังว่าเราจะอยู่เพราะ เงินทุนไหลเข้า โดยขาดดุลการค้า เป็นความคิดที่ ทึ่มมาก
มันคืออาการเริ่มแรกของต้มยำกุ้ง
ก่อนต้มยำกุ้ง ที่เราเจ้งบ้ง เพราะ ดบ ในประเทศสูงมาก
คนบางคน กู้เงิน ตปท อัตรา 4% มาปล่อยต่อ 15% รวยเละเทะ
bot เคยทำอะไร ให้มันถูกต้อง บ้าง
ปล่อยเลยตามเลย คนที่รวย เพราะ กินผล ต่าง อัตราดอกเบี้ย ก็รับเละ
แต่เงินใไหลเข้ามา ทำให้มีเงินหมุนเวียน"
ทำไมเกิดปัญหานี้
ผมขี้เกียจรอคุณ มิราเคิ้ล ตอบ กลัว คำตอบประเภท ยาวเป็นกิโล
เกิดเพราะ เงินเราแข็ง เกินไป ทำให้ export เจ้ง
พวก import และทัวร์ ตปท ตีปีก
ถ้าหวังว่าเราจะอยู่เพราะ เงินทุนไหลเข้า โดยขาดดุลการค้า เป็นความคิดที่ ทึ่มมาก
มันคืออาการเริ่มแรกของต้มยำกุ้ง
ก่อนต้มยำกุ้ง ที่เราเจ้งบ้ง เพราะ ดบ ในประเทศสูงมาก
คนบางคน กู้เงิน ตปท อัตรา 4% มาปล่อยต่อ 15% รวยเละเทะ
bot เคยทำอะไร ให้มันถูกต้อง บ้าง
ปล่อยเลยตามเลย คนที่รวย เพราะ กินผล ต่าง อัตราดอกเบี้ย ก็รับเละ
-
- Verified User
- โพสต์: 2011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 58
วิพากษ์ 4 มาตรการ คุมเงินบาทแข็ง จับสัญญาณลดดอกเบี้ย
updated: 11 พ.ค. 2556 เวลา 10:30:09 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จนถึงขณะนี้มุมมองต่อแนวทางการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ปัญหา "บาทแข็ง" ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะกระทรวงการคลังก็ยังคงยืน
ความเห็นที่ต้องการให้มีการลดดอกเบี้ย ขณะที่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวกับการดำเนิน 4 มาตรการที่ ธปท.เสนอ โดยในวันจันทร์ที่ 13 พ.ค.นี้ รัฐบาลโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้นัดประชุมพิเศษกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. รวมทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงภารกิจและหน้าที่ในการดูแลค่าเงินบาทให้ตรงกัน
สำหรับ 4 มาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าเพื่อแก้ไขการแข็งค่าของเงินบาท ที่ ธปท.เสนอ ได้แก่ 1.การกำหนดห้ามไม่ให้ต่างชาติซื้อพันธบัตรของ ธปท. 2.กำหนดการถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจ 3-6 เดือน 3.การเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับต่างชาติที่มาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เมื่อได้รับผลตอบแทน และ 4.นักลงทุนต่างประเทศนำเงินเข้ามาต้องทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และต้องกันเงินจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งสำรองไว้ที่ ธปท.
ผู้ว่าการ ธปท.ส่งซิกลดดอกเบี้ย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ตอนนี้สถานการณ์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มสกุลเงินในภูมิภาค และ ธปท.ก็ยังเฝ้าตามดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่
"ถ้าจำได้ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว ผมให้ความเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น มันเกินพื้นฐานไปนั้น ซึ่งการแทรกแซงก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ขณะนี้มีเครื่องมือต่าง ๆ ไว้หลายด้าน ก็เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเราก็เลือกใช้ในแต่ละสถานการณ์ อาจไม่ต้องใช้ทั้งหมด หรืออาจใช้ผสมผสานกัน" นายประสารกล่าว
ทั้งนี้ หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 28.5 บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งแข็งค่าสุดในภูมิภาคเอเชีย และมีการปรับอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนล่าสุดอยู่ที่ 29.53 บาท/ดอลลาร์ (เช้าวันที่ 10 พ.ค.) ซึ่งเกาะกลุ่มกับภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธปท.ยังเห็นว่ากระแสเงินทุนยังไหลเข้าต่อค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดการเงินมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวค่อนข้างเร็ว ซึ่งได้เสนอไป 4 มาตรการ พร้อมทั้งให้ข้อมูลผลกระทบของแต่ละมาตรการพร้อมกันไปด้วย แต่จะนำมาตรการใดมาใช้ ธปท.ต้องติดตามสถานการณ์และดูความเหมาะสม
"มาตรการให้ต่างชาติทำเฮดจิ้ง ถือเป็นมาตรการที่เข้มที่สุด เพราะเป็นการประกาศว่า การเข้ามาลงทุนก็อย่าหวังกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เฮดจ์คือต้องประกันตัวอัตราแลกเปลี่ยน" นายประสารกล่าว
นายประสารได้ยอมรับว่า เงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาในปัจจุบัน ดอกเบี้ยอาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติดู ขณะที่การเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อลงทุนจะคิดกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาได้สูง เมื่อลงแค่เดือนสองเดือน และคำนวณออกมาทั้งปี จะเป็นตัวเลขที่สูง ซึ่งต่างกับดอกเบี้ยที่มีส่วนต่าง (กำไร) 1% ต่อปี
โดยระบุว่า ดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในเครื่องมือแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้าได้ นอกเหนือจากการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารจัดการเงินทุนเคลื่อนย้าย แต่ว่าปัจจุบันดอกเบี้ยในประเทศไทย รับภาระหนักที่ต้องพยายามรักษาดุลยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การจะใช้ดอกเบี้ยลดหรือไม่ จึงต้องพยายามดูให้เหมาะสมว่าจะผ่อนได้ขนาดไหน ถ้าหากเศรษฐกิจในประเทศไม่ได้เติบโตสูง หรือร้อนแรงมากนัก ก็จะผ่อนภารกิจของดอกเบี้ย
ขณะที่เสียงสะท้อนของคนแวดวงการเงินหลากหลายมุมมอง โดยนายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อในเรื่องระบบเศรษฐกิจตามกลไกตลาดเสรี การที่จะออกมาตรการอะไรออกมานั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ทั้งมีความชัดเจน และต้องมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินมาตรการชัดเจนด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนมากกว่าที่คิด ดังนั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ
นักวิชาการหนุนห้าม ตปท.ซื้อบอนด์ ธปท.
ด้าน รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ เห็นว่ามี 2 มาตรการที่ควรทำคือ การห้ามนักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตร ธปท. เนื่องจากปัญหาที่ ธปท.ประสบอยู่ขณะนี้คือ เงินดอลลาร์ที่ล้นระบบ ทำให้ ธปท.ต้องออกพันธบัตรเพื่อมาดูดซับสภาพคล่อง ดังนั้น เพื่อลดปัญหาการทำงาน ธปท.ให้เบาลงคือ ต้องหยุดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในพันธบัตร ธปท.
และอีกแนวทางคือ ห้ามนักลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อป้องกันเงินร้อนที่เข้ามาเพื่อหวังเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และหากถือครองต่ำกว่า 6 เดือน ควรจะมีการเก็บภาษีระดับ 2% เพื่อลดความเหลี่ยมล้ำของอัตราดอกเบี้ยไทยกับต่างประเทศ เชื่อว่า 2 แนวทางข้างต้นเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้เลยทันที ไม่ต้องใช้ขั้นตอนในการออกนโยบายมากนัก
ส่วนมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมการลงทุนในตราสาร และมาตรการต้องตั้งสำรองและทำประกันความเสี่ยงของเม็ดเงินที่นำเข้ามาลงทุน จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน อาจทำให้การลงทุนชะงักได้ ซึ่งไม่เพียงแต่หยุดเงินทุนระยะสั้น แต่อาจกระทบไปถึงเงินทุนระยะยาว
สำหรับมาตรการด้านดอกเบี้ย เชื่อว่า ไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหา เพราะเต็มที่ ธปท.อาจลดได้เพียง 0.25% ถือว่าไม่มีผลต่อตลาดมากนัก หากจะได้ผลต้องลดมากกว่า 1% แต่ ธปท.ไม่สามารถดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฟองสบู่ตามมาในที่สุด
SCB เชื่อลด ดบ.ไม่สามารถสกัดเงินไหลเข้า
ขณะที่นางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการด้านดอกเบี้ยดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากการลดดอกเบี้ย ไม่ใช่ทางออก และไม่ได้สกัดเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติได้ เพราะหากเทียบกับเงินที่มีในระบบจำนวนมาก ทั้งจาก QE ญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐแล้ว เห็นว่าแม้จะลดดอกเบี้ยแล้ว เม็ดเงินต่างชาติก็ไหลเข้ามาอยู่ดี เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยดี ความเสี่ยงน้อย
หากยืนยันที่จะใช้นโยบายดังกล่าว ก็ต้องออกมาตรการคุมสินเชื่อ เพื่อกำจัดปัญหาฟองสบู่ตามมา เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องมีการออกกฎควบคุมเงินดาวน์ เหมือนสิงคโปร์ที่เพิ่มเงินดาวน์บ้านหลังที่สอง
"เชื่อว่า ทุกมาตรการทำได้หมด แต่การทำนโยบายดังกล่าวต้องไม่ให้กระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนมากนัก และอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนอดีตที่เคยให้กันสำรอง 30% อาจต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ"
สภาตลาดทุนฯค้านมาตรการเก็บค่าฟี
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการข้อแรก เพราะจะช่วยจำกัดการเก็งกำไรในตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งน่าจะเพียงพอและมีผลต่อค่าเงินบาทในขณะนี้ เพราะตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นถือเป็นช่องทางหลักที่นักลงทุนต่างชาติใช้เข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน
แต่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการที่ 2 ที่กำหนดระยะเวลาการถือครองพันธบัตรในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวโดยตรง ทั้งนี้เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนมาเป็นห้ามนักลงทุนต่างชาติลงทุนในพันธบัตรของกระทรวงการคลัง และรัฐวิสาหกิจที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด
สำหรับมาตรการที่ 3 และ 4 นายไพบูลย์ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะการเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีจากนักลงทุนต่างประเทศที่ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้นั้น เป็นการลดผลตอบแทนที่ได้รับ อีกทั้งในทางปฏิบัติทำได้ยาก ส่วนการทำประกันป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนนั้น จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน เพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้าลงทุนส่วนใหญ่ยังต้องการมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
updated: 11 พ.ค. 2556 เวลา 10:30:09 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จนถึงขณะนี้มุมมองต่อแนวทางการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ปัญหา "บาทแข็ง" ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะกระทรวงการคลังก็ยังคงยืน
ความเห็นที่ต้องการให้มีการลดดอกเบี้ย ขณะที่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวกับการดำเนิน 4 มาตรการที่ ธปท.เสนอ โดยในวันจันทร์ที่ 13 พ.ค.นี้ รัฐบาลโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้นัดประชุมพิเศษกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. รวมทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงภารกิจและหน้าที่ในการดูแลค่าเงินบาทให้ตรงกัน
สำหรับ 4 มาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าเพื่อแก้ไขการแข็งค่าของเงินบาท ที่ ธปท.เสนอ ได้แก่ 1.การกำหนดห้ามไม่ให้ต่างชาติซื้อพันธบัตรของ ธปท. 2.กำหนดการถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจ 3-6 เดือน 3.การเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับต่างชาติที่มาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เมื่อได้รับผลตอบแทน และ 4.นักลงทุนต่างประเทศนำเงินเข้ามาต้องทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และต้องกันเงินจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งสำรองไว้ที่ ธปท.
ผู้ว่าการ ธปท.ส่งซิกลดดอกเบี้ย
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ตอนนี้สถานการณ์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มสกุลเงินในภูมิภาค และ ธปท.ก็ยังเฝ้าตามดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่
"ถ้าจำได้ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว ผมให้ความเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น มันเกินพื้นฐานไปนั้น ซึ่งการแทรกแซงก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ขณะนี้มีเครื่องมือต่าง ๆ ไว้หลายด้าน ก็เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเราก็เลือกใช้ในแต่ละสถานการณ์ อาจไม่ต้องใช้ทั้งหมด หรืออาจใช้ผสมผสานกัน" นายประสารกล่าว
ทั้งนี้ หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 28.5 บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งแข็งค่าสุดในภูมิภาคเอเชีย และมีการปรับอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนล่าสุดอยู่ที่ 29.53 บาท/ดอลลาร์ (เช้าวันที่ 10 พ.ค.) ซึ่งเกาะกลุ่มกับภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธปท.ยังเห็นว่ากระแสเงินทุนยังไหลเข้าต่อค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดการเงินมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวค่อนข้างเร็ว ซึ่งได้เสนอไป 4 มาตรการ พร้อมทั้งให้ข้อมูลผลกระทบของแต่ละมาตรการพร้อมกันไปด้วย แต่จะนำมาตรการใดมาใช้ ธปท.ต้องติดตามสถานการณ์และดูความเหมาะสม
"มาตรการให้ต่างชาติทำเฮดจิ้ง ถือเป็นมาตรการที่เข้มที่สุด เพราะเป็นการประกาศว่า การเข้ามาลงทุนก็อย่าหวังกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เฮดจ์คือต้องประกันตัวอัตราแลกเปลี่ยน" นายประสารกล่าว
นายประสารได้ยอมรับว่า เงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาในปัจจุบัน ดอกเบี้ยอาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติดู ขณะที่การเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อลงทุนจะคิดกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาได้สูง เมื่อลงแค่เดือนสองเดือน และคำนวณออกมาทั้งปี จะเป็นตัวเลขที่สูง ซึ่งต่างกับดอกเบี้ยที่มีส่วนต่าง (กำไร) 1% ต่อปี
โดยระบุว่า ดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในเครื่องมือแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้าได้ นอกเหนือจากการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารจัดการเงินทุนเคลื่อนย้าย แต่ว่าปัจจุบันดอกเบี้ยในประเทศไทย รับภาระหนักที่ต้องพยายามรักษาดุลยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การจะใช้ดอกเบี้ยลดหรือไม่ จึงต้องพยายามดูให้เหมาะสมว่าจะผ่อนได้ขนาดไหน ถ้าหากเศรษฐกิจในประเทศไม่ได้เติบโตสูง หรือร้อนแรงมากนัก ก็จะผ่อนภารกิจของดอกเบี้ย
ขณะที่เสียงสะท้อนของคนแวดวงการเงินหลากหลายมุมมอง โดยนายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อในเรื่องระบบเศรษฐกิจตามกลไกตลาดเสรี การที่จะออกมาตรการอะไรออกมานั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ทั้งมีความชัดเจน และต้องมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินมาตรการชัดเจนด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนมากกว่าที่คิด ดังนั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ
นักวิชาการหนุนห้าม ตปท.ซื้อบอนด์ ธปท.
ด้าน รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ เห็นว่ามี 2 มาตรการที่ควรทำคือ การห้ามนักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตร ธปท. เนื่องจากปัญหาที่ ธปท.ประสบอยู่ขณะนี้คือ เงินดอลลาร์ที่ล้นระบบ ทำให้ ธปท.ต้องออกพันธบัตรเพื่อมาดูดซับสภาพคล่อง ดังนั้น เพื่อลดปัญหาการทำงาน ธปท.ให้เบาลงคือ ต้องหยุดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในพันธบัตร ธปท.
และอีกแนวทางคือ ห้ามนักลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อป้องกันเงินร้อนที่เข้ามาเพื่อหวังเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และหากถือครองต่ำกว่า 6 เดือน ควรจะมีการเก็บภาษีระดับ 2% เพื่อลดความเหลี่ยมล้ำของอัตราดอกเบี้ยไทยกับต่างประเทศ เชื่อว่า 2 แนวทางข้างต้นเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้เลยทันที ไม่ต้องใช้ขั้นตอนในการออกนโยบายมากนัก
ส่วนมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมการลงทุนในตราสาร และมาตรการต้องตั้งสำรองและทำประกันความเสี่ยงของเม็ดเงินที่นำเข้ามาลงทุน จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน อาจทำให้การลงทุนชะงักได้ ซึ่งไม่เพียงแต่หยุดเงินทุนระยะสั้น แต่อาจกระทบไปถึงเงินทุนระยะยาว
สำหรับมาตรการด้านดอกเบี้ย เชื่อว่า ไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหา เพราะเต็มที่ ธปท.อาจลดได้เพียง 0.25% ถือว่าไม่มีผลต่อตลาดมากนัก หากจะได้ผลต้องลดมากกว่า 1% แต่ ธปท.ไม่สามารถดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฟองสบู่ตามมาในที่สุด
SCB เชื่อลด ดบ.ไม่สามารถสกัดเงินไหลเข้า
ขณะที่นางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการด้านดอกเบี้ยดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากการลดดอกเบี้ย ไม่ใช่ทางออก และไม่ได้สกัดเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติได้ เพราะหากเทียบกับเงินที่มีในระบบจำนวนมาก ทั้งจาก QE ญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐแล้ว เห็นว่าแม้จะลดดอกเบี้ยแล้ว เม็ดเงินต่างชาติก็ไหลเข้ามาอยู่ดี เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยดี ความเสี่ยงน้อย
หากยืนยันที่จะใช้นโยบายดังกล่าว ก็ต้องออกมาตรการคุมสินเชื่อ เพื่อกำจัดปัญหาฟองสบู่ตามมา เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องมีการออกกฎควบคุมเงินดาวน์ เหมือนสิงคโปร์ที่เพิ่มเงินดาวน์บ้านหลังที่สอง
"เชื่อว่า ทุกมาตรการทำได้หมด แต่การทำนโยบายดังกล่าวต้องไม่ให้กระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนมากนัก และอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนอดีตที่เคยให้กันสำรอง 30% อาจต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ"
สภาตลาดทุนฯค้านมาตรการเก็บค่าฟี
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการข้อแรก เพราะจะช่วยจำกัดการเก็งกำไรในตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งน่าจะเพียงพอและมีผลต่อค่าเงินบาทในขณะนี้ เพราะตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นถือเป็นช่องทางหลักที่นักลงทุนต่างชาติใช้เข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน
แต่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการที่ 2 ที่กำหนดระยะเวลาการถือครองพันธบัตรในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวโดยตรง ทั้งนี้เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนมาเป็นห้ามนักลงทุนต่างชาติลงทุนในพันธบัตรของกระทรวงการคลัง และรัฐวิสาหกิจที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด
สำหรับมาตรการที่ 3 และ 4 นายไพบูลย์ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะการเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีจากนักลงทุนต่างประเทศที่ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้นั้น เป็นการลดผลตอบแทนที่ได้รับ อีกทั้งในทางปฏิบัติทำได้ยาก ส่วนการทำประกันป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนนั้น จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน เพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้าลงทุนส่วนใหญ่ยังต้องการมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 59
บอกมาถูกแต่ไม่หมดCARPENTER เขียน:"กลับไปดูบัญชีเดินสะพัด -> ติดลบ จากการนำเข้า
แต่เงินใไหลเข้ามา ทำให้มีเงินหมุนเวียน"
ทำไมเกิดปัญหานี้
ผมขี้เกียจรอคุณ มิราเคิ้ล ตอบ กลัว คำตอบประเภท ยาวเป็นกิโล
เกิดเพราะ เงินเราแข็ง เกินไป ทำให้ export เจ้ง
พวก import และทัวร์ ตปท ตีปีก
ถ้าหวังว่าเราจะอยู่เพราะ เงินทุนไหลเข้า โดยขาดดุลการค้า เป็นความคิดที่ ทึ่มมาก
มันคืออาการเริ่มแรกของต้มยำกุ้ง
ก่อนต้มยำกุ้ง ที่เราเจ้งบ้ง เพราะ ดบ ในประเทศสูงมาก
คนบางคน กู้เงิน ตปท อัตรา 4% มาปล่อยต่อ 15% รวยเละเทะ
bot เคยทำอะไร ให้มันถูกต้อง บ้าง
ปล่อยเลยตามเลย คนที่รวย เพราะ กินผล ต่าง อัตราดอกเบี้ย ก็รับเละ
เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดคือ bibf เราเปิดให้เงินไหลสะดวก แต่เราไป fix exchange rate
ทำให้เกิดปัญหา
แล้วพอดีสินค้าที่นำเข้ามา ไม่ใช้วัตถุดิบที่ผิด มียัดไส้ พวกรถปอร์เช่ รถเบนซ์ แว่นตาราคาแพง นาฬิกา เพชร พลอย เป็นต้น มาเป็นสินค้าทุน แต่ไม่ได้ขาย ซื้อมาใช้หรือประดับ
ทำให้ ขาดทุนจากการค้าขาย ( สินค้า import > export)
ประกอบกับ ช่วงนั้นมีมหกรรมในสถานที่ของผู้ทรงเกียรติในประเทศ ทำให้เกิดข่าวว่าแบงค์ตังค์แดงเดียวล้ม (ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง) ทำให้ประชาทั่วฟ้า เห่มาถอนเงิน จน bank runธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าควบคุม
ต่างชาติที่ปล่อยกู้เห็นสัญญาณมิดี ก็ดึงเงินกลับจากการกู้ bibf
ทัวร์เองตอนนั้นมาเที่ยวน้อย มิใช่มามาก เพราะค่าเงินแข็ง (คิดดูตอนนี้คนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นมากเพราะค่าเงินเยนอ่อนไปมาก ก็ทำนองเดียวกัน)
ข้อมูลหาอ่านได้จาก รายงานผลการศึกษาการออกกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตราการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
รายงานผลการศึกษาการโอนหนี้เอกชนเป็นหนี้สาธารณะ ของ ศสปป (คณะกรรมการการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศเพื้อเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ)
ปล
ไม่ตอบคำถามเรื่องทำไม เงินอ่อนเมื่อลดดอกเบี้ยนโยบาย เป็น 0.00-0.25% เลย
ผมยังอธิบาย หาข้อมูลมาเผยแพร่
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
โพสต์ที่ 60
ผมเชื่อว่าในการประชุมกนง.ครั้งต่อไปจะมีการลดดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากแรงกดดันจากทั้งคลังและสอท. แต่จะลดไม่ 1 % ตามที่คลังกับสอท. เสนอ น่าจะลด 0.25%
ถามว่ามาตรการอื่นๆ จะมีหรือไม่ ผมไม่คิดว่ารัฐบาลจะทำอะไรทั้งนั้น ดังนั้นจะไม่มีมาตรการใหม่ๆ ทางการคลังออกมาเลย
และจะมีเสียงวิพากษ์กันต่อว่าลดดอกเบี้ย น้อยไป และช้าไป
ลองมาดูครับ ว่าผมจะทายผิดหรือไม่
http://www.thairath.co.th/content/eco/344428
ถามว่ามาตรการอื่นๆ จะมีหรือไม่ ผมไม่คิดว่ารัฐบาลจะทำอะไรทั้งนั้น ดังนั้นจะไม่มีมาตรการใหม่ๆ ทางการคลังออกมาเลย
และจะมีเสียงวิพากษ์กันต่อว่าลดดอกเบี้ย น้อยไป และช้าไป
ลองมาดูครับ ว่าผมจะทายผิดหรือไม่
http://www.thairath.co.th/content/eco/344428
ขอนไม้อันนิ่งสงบ