UEC มีใครสนใจบ้าง
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 36
เอาข้อมูล มาpostครับ
UEC : บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
กลุ่มอุตสาหกรรม/หมวดอุตสาหกรรม : - / ธุรกิจขนาดกลาง
หลักทรัพย์ : UEC
ชื่่อบริษัท : บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่ : 109/92-95 หมู่ 19 ซอยสุขสวัสดิ์ 66 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2463-0100
เบอร์โทรสาร : 0-2463-1910
Website : http://www.unimit.com
ราคาพาร์ : 1.00 บาท
ประเภทบริษัท : Company-Listed
ทุนจดทะเบียน :
- หุ้นสามัญ : 143,000,000.00 บาท
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว :
- หุ้นสามัญ : 143,000,000.00 บาท
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
จำนวนหุ้นซื้อคืน :
- หุ้นสามัญ : -
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
จำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง :
- หุ้นสามัญ : 143,000,000 หุ้น
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
หมายเลขกำกับหลักทรัพย์ :
- ในประเทศ : TH0874010000
- ต่างด้าว : TH0874010018
- NVDR : TH0874010R16
ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว : 39.00 %
จำนวนหุ้นคงเหลือเพื่อโอน : 32,150,250 หุ้น
นโยบายเงินปันผล : ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและหักสำรองตามกฎหมาย (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)
UEC : บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
กลุ่มอุตสาหกรรม/หมวดอุตสาหกรรม : - / ธุรกิจขนาดกลาง
หลักทรัพย์ : UEC
ชื่่อบริษัท : บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่ : 109/92-95 หมู่ 19 ซอยสุขสวัสดิ์ 66 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2463-0100
เบอร์โทรสาร : 0-2463-1910
Website : http://www.unimit.com
ราคาพาร์ : 1.00 บาท
ประเภทบริษัท : Company-Listed
ทุนจดทะเบียน :
- หุ้นสามัญ : 143,000,000.00 บาท
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว :
- หุ้นสามัญ : 143,000,000.00 บาท
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
จำนวนหุ้นซื้อคืน :
- หุ้นสามัญ : -
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
จำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง :
- หุ้นสามัญ : 143,000,000 หุ้น
- หุ้นบุริมสิทธิ : -
หมายเลขกำกับหลักทรัพย์ :
- ในประเทศ : TH0874010000
- ต่างด้าว : TH0874010018
- NVDR : TH0874010R16
ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว : 39.00 %
จำนวนหุ้นคงเหลือเพื่อโอน : 32,150,250 หุ้น
นโยบายเงินปันผล : ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและหักสำรองตามกฎหมาย (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 37
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เพิ่มสินค้า : UEC
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขอแจ้งว่าคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
ได้สั่งให้รับหุ้นสามัญของบริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตั้งแต่วันที่
25 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเห็นควรกำหนดให้หุ้นสามัญของ
บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) จำนวน 143,000,000 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 143,000,000 บาท ทำการซื้อขายใน
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "UEC"
และกำหนดให้เริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
หมายเหตุ ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทได้จากสรุปข้อสนเทศของ UEC
ในระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ (SET SMART) และ
เว็บไซด์ของบริษัทที่ http://www.unimit.com
สรุปข้อสนเทศ
บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (UEC)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
109/92-95 หมู่ 19 ซ.สุขสวัสดิ์ 66 ถ.สุขสวัสดิ์ ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
10130
ที่ตั้งโรงงาน
10/7-8 หมู่ 3 ถ.ชลบุรี-บ้านบึง-ป่ายุบ ต.หนองชาก อ.บ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20170
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 143 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 143 ล้านบาท
บริษัทฯเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ต่อประชาชนจำนวน 40 ล้านหุ้น และพนักงานและกรรมการบริหาร
2 ท่านจำนวน 3 ล้านหุ้น
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ราคาเสนอขาย 8.10 บาทต่อหุ้น สำหรับประชาชน
6.07 บาทต่อหุ้น สำหรับพนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่าน
วันที่เสนอขาย วันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2548
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน - ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ (โรงงานปัจจุบัน)
- ซื้อที่ดินเพิ่มเติม
- สร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เน้นงานด้านโครงสร้างเหล็ก
อุปกรณ์แลกเปลี่ยน ความร้อน และภาชนะความดันซึ่งสามารถรับแรงดันสูง
(โรงงานแห่งใหม่)
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
ดำเนินธุรกิจวิศวกรรมด้านการรับจ้างออกแบบ การผลิต และการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในกระบวนการ
ผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบและขนาดที่ลูกค้าเป็นผู้กำหนด (made to order) โดยผลิตภัณฑ์หลักของ
บริษัทฯแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ภาชนะความดัน (Pressure Vessel) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ถูกออกแบบให้สามารถทนต่อ
แรงดันในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมได้ ตัวอย่างสารเคมี เช่น น้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลวแอมโมเนีย
คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน เป็นต้น
2. ชิ้นส่วนเครื่องจักร (Machinery Parts) เช่น ชิ้นส่วนเครื่องปรับอุณหภูมิอากาศ (Part of Air
Preheater) ชิ้นส่วนเตาเผา (Part of Incinerator) ปล่องควันไอเสียโรงงาน (Stack) และเสื้อพัดลม
(Fan Casing) เป็นต้น
3. โครงสร้างเหล็ก (Steel Structure) โดยส่วนใหญ่ใช้สำหรับในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น โครงสร้างเหล็กของอาคารโรงงาน เป็นต้น
4. ภาชนะบรรจุสารเคมี (Chemical Tank) เช่น ถังเก็บน้ำมัน เป็นต้น
5. การติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Mechanical Installation) เช่น การวาง ระบบท่อใน
โรงงานปิโตรเคมี เป็นต้น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขอแจ้งว่าคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
ได้สั่งให้รับหุ้นสามัญของบริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตั้งแต่วันที่
25 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเห็นควรกำหนดให้หุ้นสามัญของ
บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) จำนวน 143,000,000 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 143,000,000 บาท ทำการซื้อขายใน
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "UEC"
และกำหนดให้เริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
หมายเหตุ ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทได้จากสรุปข้อสนเทศของ UEC
ในระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ (SET SMART) และ
เว็บไซด์ของบริษัทที่ http://www.unimit.com
สรุปข้อสนเทศ
บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (UEC)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
109/92-95 หมู่ 19 ซ.สุขสวัสดิ์ 66 ถ.สุขสวัสดิ์ ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
10130
ที่ตั้งโรงงาน
10/7-8 หมู่ 3 ถ.ชลบุรี-บ้านบึง-ป่ายุบ ต.หนองชาก อ.บ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20170
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 143 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 143 ล้านบาท
บริษัทฯเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ต่อประชาชนจำนวน 40 ล้านหุ้น และพนักงานและกรรมการบริหาร
2 ท่านจำนวน 3 ล้านหุ้น
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ราคาเสนอขาย 8.10 บาทต่อหุ้น สำหรับประชาชน
6.07 บาทต่อหุ้น สำหรับพนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่าน
วันที่เสนอขาย วันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2548
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน - ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ (โรงงานปัจจุบัน)
- ซื้อที่ดินเพิ่มเติม
- สร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เน้นงานด้านโครงสร้างเหล็ก
อุปกรณ์แลกเปลี่ยน ความร้อน และภาชนะความดันซึ่งสามารถรับแรงดันสูง
(โรงงานแห่งใหม่)
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
ดำเนินธุรกิจวิศวกรรมด้านการรับจ้างออกแบบ การผลิต และการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในกระบวนการ
ผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบและขนาดที่ลูกค้าเป็นผู้กำหนด (made to order) โดยผลิตภัณฑ์หลักของ
บริษัทฯแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ภาชนะความดัน (Pressure Vessel) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ถูกออกแบบให้สามารถทนต่อ
แรงดันในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมได้ ตัวอย่างสารเคมี เช่น น้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลวแอมโมเนีย
คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน เป็นต้น
2. ชิ้นส่วนเครื่องจักร (Machinery Parts) เช่น ชิ้นส่วนเครื่องปรับอุณหภูมิอากาศ (Part of Air
Preheater) ชิ้นส่วนเตาเผา (Part of Incinerator) ปล่องควันไอเสียโรงงาน (Stack) และเสื้อพัดลม
(Fan Casing) เป็นต้น
3. โครงสร้างเหล็ก (Steel Structure) โดยส่วนใหญ่ใช้สำหรับในงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น โครงสร้างเหล็กของอาคารโรงงาน เป็นต้น
4. ภาชนะบรรจุสารเคมี (Chemical Tank) เช่น ถังเก็บน้ำมัน เป็นต้น
5. การติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Mechanical Installation) เช่น การวาง ระบบท่อใน
โรงงานปิโตรเคมี เป็นต้น
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 38
โครงสร้างรายได้
บริษัทฯมีโครงสร้างรายได้แยกตามประเภทผลิตภัณฑ์ตามตารางด้านล่าง
ประเภทของผลิตภัณฑ์ 2545 2546 2547 ม.ค.-มิ.ย. 2548
และบริการ (ล้านบาท) % (ล้านบาท) % (ล้านบาท) % (ล้านบาท) %
ภาชนะความดัน 326.81 56.14 401.95 53.41 589.63 66.15 376.70 58.07
ชิ้นส่วนเครื่องจักร 42.76 7.34 195.75 26.01 139.53 15.65 128.68 19.83
โครงสร้างเหล็ก 15.98 2.74 11.20 1.49 95.56 10.72 74.41 11.47
ภาชนะบรรจุสารเคมี 63.85 10.97 48.65 6.46 46.98 5.27 8.73 1.35
การติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ 123.71 21.25 92.31 12.26 11.97 1.34 56.70 8.74
รายได้อื่นๆ 9.06 1.56 2.78 0.37 7.76 0.87 3.53 0.54
รวมรายได้ 582.17 100.00 752.64 100.00 891.43 100.00 648.75 100.00
บริษัทฯมีโครงสร้างรายได้แยกตามประเภทผลิตภัณฑ์ตามตารางด้านล่าง
ประเภทของผลิตภัณฑ์ 2545 2546 2547 ม.ค.-มิ.ย. 2548
และบริการ (ล้านบาท) % (ล้านบาท) % (ล้านบาท) % (ล้านบาท) %
ภาชนะความดัน 326.81 56.14 401.95 53.41 589.63 66.15 376.70 58.07
ชิ้นส่วนเครื่องจักร 42.76 7.34 195.75 26.01 139.53 15.65 128.68 19.83
โครงสร้างเหล็ก 15.98 2.74 11.20 1.49 95.56 10.72 74.41 11.47
ภาชนะบรรจุสารเคมี 63.85 10.97 48.65 6.46 46.98 5.27 8.73 1.35
การติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ 123.71 21.25 92.31 12.26 11.97 1.34 56.70 8.74
รายได้อื่นๆ 9.06 1.56 2.78 0.37 7.76 0.87 3.53 0.54
รวมรายได้ 582.17 100.00 752.64 100.00 891.43 100.00 648.75 100.00
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 39
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
บริษัทอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถังบรรจุก๊าซ NGV สำหรับใช้ในรถยนต์ รถแท็กซี่
และรถโดยสาร หากโครงการมีความเป็นไปได้สูง บริษัทฯคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2550
เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณในการลงทุนสร้างโรงงาน ซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรประมาณ 300 ล้านบาท
บริษัทอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถังบรรจุก๊าซ NGV สำหรับใช้ในรถยนต์ รถแท็กซี่
และรถโดยสาร หากโครงการมีความเป็นไปได้สูง บริษัทฯคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2550
เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณในการลงทุนสร้างโรงงาน ซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรประมาณ 300 ล้านบาท
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 40
โครงการดำเนินงานในอนาคต
บริษัทฯมีโครงการในอนาคตที่จะสร้างรายได้เพื่อให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี
รายละเอียดของโครงการต่างๆดังนี้
1. โครงการซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและลดค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงาน
ปัจจุบัน โดยบริษัทฯมีแผนการลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท โดยบริษัทฯจะเริ่มสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรตั้งแต่ไตรมาส
1 ปี 2549 และติดตั้งแล้วเสร็จจนสามารถใช้งานได้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2549
2. โครงการจัดซื้อที่ดินแห่งใหม่สำหรับขยายพื้นที่โรงงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับงานจากลูกค้า
โดยบริษัทฯได้วางงบประมาณในการซื้อที่ดินและปรับพื้นที่ (ไม่รวมอาคารโรงงาน) ประมาณ 110 ล้านบาท สำหรับ
ที่ดินขนาดประมาณ 140 ไร่ ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2549
3. โครงการขยายงานด้าน Steel Structure และ Heat Exchanger บริษัทฯมีโครงการลงทุนใน
การสร้างโรงงาน ซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักร จำนวนประมาณ 84 ล้านบาท บนที่ดินแปลงใหม่ในข้อที่ 2 ในช่วงไตรมาส
2 ปี 2549 และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตได้ในช่วงปลายไตรมาส 4 ปี 2549 เพื่อรองรับการขยายงานในทุก
ผลิตภัณฑ์ โดยบริษัทฯเน้นการรับงานด้าน Steel Structure และ Heat Exchanger มากขึ้น
4. โครงการขยายงานด้าน High Pressure Vessel ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯและยังไม่มี
โรงงานในประเทศไทยผลิตมาก่อน บริษัทฯมีโครงการลงทุนในการสร้างโรงงาน บนที่ดินแปลงใหม่ในข้อที่ 2 ซื้อ
อุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อรับงานด้าน High Pressure Vessel จำนวนประมาณ 120 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส
2 ปี 2550 และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตได้ในช่วงปลายไตรมาส 4 ปี 2550 เป็นต้นไป ปัจจุบัน บริษัทฯ
สามารถผลิตภาชนะความดันที่สามารถทนต่อความดันในกระบวนการผลิตได้สูงสุดประมาณ 100 บาร์ ซึ่งที่ผ่านมา
บริษัทฯได้รับคำสั่งผลิตจากลูกค้าหลายรายในการผลิตภาชนะความดันที่สามารถต่อความดันในกระบวนการผลิตในช่วง
ประมาณ 100 - 400 บาร์ แต่บริษัทฯขาดเครื่องจักรที่จะผลิตภาชนะความดันที่สามารถรับความดันในระดับดังกล่าวได้
บริษัทฯมีโครงการในอนาคตที่จะสร้างรายได้เพื่อให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี
รายละเอียดของโครงการต่างๆดังนี้
1. โครงการซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและลดค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงาน
ปัจจุบัน โดยบริษัทฯมีแผนการลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท โดยบริษัทฯจะเริ่มสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรตั้งแต่ไตรมาส
1 ปี 2549 และติดตั้งแล้วเสร็จจนสามารถใช้งานได้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2549
2. โครงการจัดซื้อที่ดินแห่งใหม่สำหรับขยายพื้นที่โรงงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับงานจากลูกค้า
โดยบริษัทฯได้วางงบประมาณในการซื้อที่ดินและปรับพื้นที่ (ไม่รวมอาคารโรงงาน) ประมาณ 110 ล้านบาท สำหรับ
ที่ดินขนาดประมาณ 140 ไร่ ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2549
3. โครงการขยายงานด้าน Steel Structure และ Heat Exchanger บริษัทฯมีโครงการลงทุนใน
การสร้างโรงงาน ซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักร จำนวนประมาณ 84 ล้านบาท บนที่ดินแปลงใหม่ในข้อที่ 2 ในช่วงไตรมาส
2 ปี 2549 และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตได้ในช่วงปลายไตรมาส 4 ปี 2549 เพื่อรองรับการขยายงานในทุก
ผลิตภัณฑ์ โดยบริษัทฯเน้นการรับงานด้าน Steel Structure และ Heat Exchanger มากขึ้น
4. โครงการขยายงานด้าน High Pressure Vessel ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯและยังไม่มี
โรงงานในประเทศไทยผลิตมาก่อน บริษัทฯมีโครงการลงทุนในการสร้างโรงงาน บนที่ดินแปลงใหม่ในข้อที่ 2 ซื้อ
อุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อรับงานด้าน High Pressure Vessel จำนวนประมาณ 120 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส
2 ปี 2550 และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิตได้ในช่วงปลายไตรมาส 4 ปี 2550 เป็นต้นไป ปัจจุบัน บริษัทฯ
สามารถผลิตภาชนะความดันที่สามารถทนต่อความดันในกระบวนการผลิตได้สูงสุดประมาณ 100 บาร์ ซึ่งที่ผ่านมา
บริษัทฯได้รับคำสั่งผลิตจากลูกค้าหลายรายในการผลิตภาชนะความดันที่สามารถต่อความดันในกระบวนการผลิตในช่วง
ประมาณ 100 - 400 บาร์ แต่บริษัทฯขาดเครื่องจักรที่จะผลิตภาชนะความดันที่สามารถรับความดันในระดับดังกล่าวได้
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 41
ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบมีราคาผันแปรไปตามราคาซื้อขายของตลาดโลก
โดยทั่วไปบริษัทฯจะทำสัญญาด้านรายได้กับลูกค้าซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยได้สำรวจ
ราคาเหล็กก่อนทำการเสนอราคาและทำสัญญากับลูกค้า ดังนั้นราคาเหล็กที่ใช้คิดคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์จึงเป็น
ราคาต้นทุนซึ่งสามารถจัดซื้อเหล็กได้ในขณะนั้น อย่างไรก็ตามหากบริษัทฯไม่ได้จัดซื้อเหล็กเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ให้กับ
ลูกค้ารายดังกล่าวได้ทั้งจำนวน ในกรณีที่เหล็กมีราคาสูงขึ้น บริษัทฯมีความเสี่ยงด้านต้นทุนที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบ
กับกำไรขั้นต้นของบริษัทฯ โดยตรง โดยความเสี่ยงในการจัดซื้อเหล็กและมาตรการในการลดความเสี่ยงสามารถ
แบ่งออกได้ดังนี้
การจัดซื้อเหล็กจากผู้จัดจำหน่ายต่างประเทศ
บริษัทฯ มีมาตรการในการป้องกันผลกระทบจากราคาเหล็กที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยทำการตรวจสอบราคา
กับผู้จัดจำหน่ายต่างประเทศก่อน และระบุเงื่อนไขในสัญญาอย่างชัดเจน ในเรื่องเงื่อนไขของระยะเวลาและราคา
ผลิตภัณฑ์ก่อนทำการเซ็นสัญญากับลูกค้าเพื่อให้รับเงื่อนไขดังกล่าว โดยหากลูกค้าไม่เซ็นสัญญาตามเวลาที่ได้กำหนด
ไว้ในสัญญา บริษัทฯ สามารถยื่นสัญญาฉบับใหม่ที่อาจมีการปรับราคาให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนวัตถุดิบใหม่ได้ และ
หลังจากเซ็นสัญญา บริษัทฯ จัดซื้อเหล็กจากต่างประเทศทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกันในครั้งเดียวจากต่างประเทศ
การจัดซื้อเหล็กจากผู้จัดจำหน่ายในประเทศ
บริษัทฯ ทำการตรวจสอบราคากับผู้จัดจำหน่ายในประเทศเช่นเดียวกับการจัดซื้อเหล็กจากต่างประเทศ
และระบุเงื่อนไขสัญญากับลูกค้าในลักษณะเดียวกับที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทฯจะต้องใช้เงินทุน
หมุนเวียนและพื้นที่เก็บเหล็กเป็นจำนวนมาก และการจัดส่งเหล็กภายในประเทศใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น
บริษัทฯ จึงไม่ได้จัดซื้อเหล็กทั้งจำนวนเช่นเดียวกับการจัดซื้อเหล็กจากต่างประเทศ โดยบริษัทฯทยอยจัดซื้อเหล็ก
ตามความต้องการในกระบวนการผลิต
2. ความเสี่ยงจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงกว่าประมาณการ (Cost Overrun)
บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงกว่าประมาณการ (Cost Overrun) ในกรณีที่บริษัทฯ
รับงานโครงการที่มีระยะเวลาส่งมอบมากกว่า 1 ปีและจัดซื้อเหล็กภายในประเทศซึ่งบริษัทฯจะทยอยจัดซื้อเหล็กตาม
ความต้องการในกระบวนการผลิต ดังนั้นหากราคาเหล็กปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่บริษัทฯคาดการณ์ไว้ในช่วงทำสัญญา
อาจส่งผลให้บริษัทฯมีผลขาดทุนจากการรับงานได้
อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้เกิดโครงการที่มี Cost Overrun เพิ่มเติม ในกรณีที่มีการรับจ้างผลิต
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว บริษัทฯ มีนโยบายเสนอให้ลูกค้าจัดซื้อวัตถุดิบเองหรือบริษัทฯอาจพิจารณาซื้อวัตถุดิบทั้งหมดภายใน
ครั้งเดียวเพื่อกำหนดต้นทุนที่แน่นอนหรือบริษัทฯสามารถระบุเงื่อนไขในสัญญาในประเด็นการปรับราคาผลิตภัณฑ์ได้
หากราคาวัตถุดิบมีการเปลี่ยนแปลงถึงในระดับราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบและ
บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องเก็บวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก
3. ความเสี่ยงด้านรายได้จากการประมูล
ในการรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า บริษัทฯ จะต้องเข้าไปประมูลงาน ดังนั้นรายได้ของบริษัทฯ
จึงขึ้นกับความสามารถในการชนะประมูล ซึ่งมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี ในปี 2545 2546 2547 และในช่วง
6 เดือนแรกของปี 2548 บริษัทฯมีรายได้ตามสัญญาเท่ากับ 573.11, 749.86, 883.67 และ 645.22 ล้านบาท
ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่บริษัทฯมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมากว่า 23 ปี โดยผลิตภัณฑ์
ของบริษัทฯเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานและความต้องการของลูกค้า รวมถึงการส่งมอบ
ผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อเวลา
4. ความเสี่ยงด้านรายได้จากวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
แผนงานการขยายกำลังการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปัจจุบันจะขยายเป็นโครงการซึ่ง
อยู่ในช่วงปี 2548 -2552 จากนั้นการขยายงานในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอาจจะเริ่มลดลง
เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการขยายกำลังการผลิตจะเริ่มมีมากกว่าอุปสงค์ ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์
ปิโตรเคมีมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจน้อยลงในการขยายกำลังการผลิต
ในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 บริษัทฯมีรายได้ในการผลิตสินค้าและให้บริการ
ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ตามสัญญา ดังนั้นหากในอนาคตซึ่งเป็นช่วงที่
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอาจมีการชะลอการลงทุนลง อาจส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัทฯในระดับหนึ่ง อย่างไร
ก็ตาม บริษัทฯมีการกระจายรายได้ไปยังอุตสาหกรรมพลังงาน โดยในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548
มีสัดส่วนรายได้มากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ตามสัญญา โดยอุตสาหกรรมพลังงานมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีลักษณะของวัฏจักรที่ชัดเจนเช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้นรายได้จากอุตสาหกรรมพลังงานจึงมีความมั่นคง
มากกว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
5. ความเสี่ยงจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้าไม่ทันตามที่กำหนด
บริษัทฯมีความเสี่ยงในการถูกปรับในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าทันตาม
ที่กำหนดในสัญญา ทั้งนี้โดยทั่วไปบริษัทฯมีการกำหนดค่าชดเชยในการส่งมอบสินค้าล่าช้าเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของ
มูลค่างานทั้งหมดในสัญญา จากประวัติที่ผ่านมา 5 ปีย้อนหลัง บริษัทฯมีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าไม่ทันตามที่กำหนดซึ่ง
กระทบรายได้ของบริษัทฯไม่เกินจำนวน 6.37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.99 ของรายได้รวม โดยมีสาเหตุหลัก
คือการแก้ไขแบบงานที่ล่าช้าเกินเวลาที่ได้กำหนดไว้และบริษัทฯได้รับการจัดส่งวัตถุดิบจากผู้จัดจำหน่ายล่าช้ากว่า
กำหนดการอย่างไรก็ตาม หากเป็นการส่งมอบสินค้าล่าช้าอันเนื่องมากจากลูกค้า เช่น จัดส่งแบบที่ใช้ในการผลิต
ล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่บริษัทฯ กำหนด บริษัทฯสามารถต่อรองกับลูกค้าเพื่อขยายระยะเวลาในการส่งมอบ
สินค้าได้
6. ความเสี่ยงจากเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญขาดแคลน
ในช่วงปี 2547 ที่ผ่านมา ราคาเหล็กได้มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้มีการ
ขาดแคลนเหล็กภายในประเทศ บริษัทฯตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยเหล็กเป็นวัตถุดิบหลักใน
กระบวนการผลิตของบริษัทฯ หากเหล็กขาดแคลนและไม่มีวัตถุดิบอย่างเพียงพอ อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของ
บริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนงานที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีการวางแผนอย่าง
รัดกุมในการทำงาน โดยก่อนที่บริษัทฯ จะรับงานจากลูกค้า บริษัทฯจะดำเนินการตรวจสอบราคาและปริมาณเหล็ก
จากผู้จัดจำหน่ายก่อน และบริษัทฯจะต้องได้รับคำยืนยันจากผู้จัดจำหน่ายว่าสามารถที่จะส่งเหล็กให้กับบริษัทฯ ได้
ตามปริมาณที่ได้ตกลงกัน จากนั้นบริษัทฯจึงทำสัญญารับงานกับลูกค้า ทำให้บริษัทฯสามารถส่งมอบงานได้ตาม
ระยะเวลาที่กำหนด
7. ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 โครงสร้างรายได้และต้นทุนที่เป็นสกุลเงิน
ต่างประเทศของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่สกุลเงินต่างประเทศอื่นๆได้แก่ ยูโร
ดอลล่าร์สิงคโปร์ ปอนด์ และดอลล่าร์ออสเตรเลีย มีสัดส่วนไม่มากนัก
บริษัทฯได้กำหนดนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว โดยสกุลเงินดอลล่าร์
สหรัฐ บริษัทฯได้ทำการเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐเพื่อทำ Natural Hedge โดยบริษัทฯสามารถนำ
เงินรายได้ในสกุลดอลล่าร์สหรัฐมาชำระค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นเงินสกุลเดียวกันได้ ซึ่งสัดส่วนรายได้และต้นทุนของ
เงินดอลล่าร์สหรัฐมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนเงินสกุลอื่นๆนั้นมีความผันผวนไปในแต่ละช่วงเวลาและมีมูลค่า
ไม่มากนัก ซึ่งการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์นั้น บริษัทฯได้ประเมินค่าความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณ
รวมเข้าในราคาผลิตภัณฑ์ไว้ในระดับหนึ่ง
8. ความเสี่ยงจากการขายหุ้นราคาต่ำให้พนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่านของบริษัทฯ
เนื่องจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ บริษัทฯได้จัดสรรหุ้นให้พนักงานและกรรมการบริหาร 2
ท่านของบริษัทฯ เป็นจำนวน 3,000,000 หุ้น และราคาเสนอขายหุ้นต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นให้ประชาชน
ร้อยละ 25 โดยจำนวนหุ้นคิดเป็นคิดเป็นร้อยละ 2.10 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้
โดยหุ้นที่เสนอขายให้พนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่านของบริษัทฯทั้งหมดในส่วนนี้ได้ถูกห้ามขายทั้งจำนวน
ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับแต่วันที่หุ้นของบริษัทฯเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
เอ็มเอไอ โดยภายหลังจากวันที่หุ้นของบริษัทฯเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ครบกำหนด
ระยะเวลา 6 เดือนแรก จะสามารถทยอยขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย
6 เดือนต่อไปสามารถขายได้อีกร้อยละ 25 และเมื่อครบ 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด
ดังนั้นเมื่อพ้นระยะเวลาการห้ามขายหุ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้จึงมี
ความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้น หากพนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่านของบริษัทฯ ทำการขายหุ้นออกมา
อย่างไรก็ตาม จำนวนหุ้นดังกล่าวถือว่ามีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้
กรณีพิพาท ไม่มี
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 มีจำนวน 882 คน
1. ความเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบมีราคาผันแปรไปตามราคาซื้อขายของตลาดโลก
โดยทั่วไปบริษัทฯจะทำสัญญาด้านรายได้กับลูกค้าซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยได้สำรวจ
ราคาเหล็กก่อนทำการเสนอราคาและทำสัญญากับลูกค้า ดังนั้นราคาเหล็กที่ใช้คิดคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์จึงเป็น
ราคาต้นทุนซึ่งสามารถจัดซื้อเหล็กได้ในขณะนั้น อย่างไรก็ตามหากบริษัทฯไม่ได้จัดซื้อเหล็กเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ให้กับ
ลูกค้ารายดังกล่าวได้ทั้งจำนวน ในกรณีที่เหล็กมีราคาสูงขึ้น บริษัทฯมีความเสี่ยงด้านต้นทุนที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบ
กับกำไรขั้นต้นของบริษัทฯ โดยตรง โดยความเสี่ยงในการจัดซื้อเหล็กและมาตรการในการลดความเสี่ยงสามารถ
แบ่งออกได้ดังนี้
การจัดซื้อเหล็กจากผู้จัดจำหน่ายต่างประเทศ
บริษัทฯ มีมาตรการในการป้องกันผลกระทบจากราคาเหล็กที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยทำการตรวจสอบราคา
กับผู้จัดจำหน่ายต่างประเทศก่อน และระบุเงื่อนไขในสัญญาอย่างชัดเจน ในเรื่องเงื่อนไขของระยะเวลาและราคา
ผลิตภัณฑ์ก่อนทำการเซ็นสัญญากับลูกค้าเพื่อให้รับเงื่อนไขดังกล่าว โดยหากลูกค้าไม่เซ็นสัญญาตามเวลาที่ได้กำหนด
ไว้ในสัญญา บริษัทฯ สามารถยื่นสัญญาฉบับใหม่ที่อาจมีการปรับราคาให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนวัตถุดิบใหม่ได้ และ
หลังจากเซ็นสัญญา บริษัทฯ จัดซื้อเหล็กจากต่างประเทศทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกันในครั้งเดียวจากต่างประเทศ
การจัดซื้อเหล็กจากผู้จัดจำหน่ายในประเทศ
บริษัทฯ ทำการตรวจสอบราคากับผู้จัดจำหน่ายในประเทศเช่นเดียวกับการจัดซื้อเหล็กจากต่างประเทศ
และระบุเงื่อนไขสัญญากับลูกค้าในลักษณะเดียวกับที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทฯจะต้องใช้เงินทุน
หมุนเวียนและพื้นที่เก็บเหล็กเป็นจำนวนมาก และการจัดส่งเหล็กภายในประเทศใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น
บริษัทฯ จึงไม่ได้จัดซื้อเหล็กทั้งจำนวนเช่นเดียวกับการจัดซื้อเหล็กจากต่างประเทศ โดยบริษัทฯทยอยจัดซื้อเหล็ก
ตามความต้องการในกระบวนการผลิต
2. ความเสี่ยงจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงกว่าประมาณการ (Cost Overrun)
บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากต้นทุนราคาวัตถุดิบสูงกว่าประมาณการ (Cost Overrun) ในกรณีที่บริษัทฯ
รับงานโครงการที่มีระยะเวลาส่งมอบมากกว่า 1 ปีและจัดซื้อเหล็กภายในประเทศซึ่งบริษัทฯจะทยอยจัดซื้อเหล็กตาม
ความต้องการในกระบวนการผลิต ดังนั้นหากราคาเหล็กปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่บริษัทฯคาดการณ์ไว้ในช่วงทำสัญญา
อาจส่งผลให้บริษัทฯมีผลขาดทุนจากการรับงานได้
อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้เกิดโครงการที่มี Cost Overrun เพิ่มเติม ในกรณีที่มีการรับจ้างผลิต
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว บริษัทฯ มีนโยบายเสนอให้ลูกค้าจัดซื้อวัตถุดิบเองหรือบริษัทฯอาจพิจารณาซื้อวัตถุดิบทั้งหมดภายใน
ครั้งเดียวเพื่อกำหนดต้นทุนที่แน่นอนหรือบริษัทฯสามารถระบุเงื่อนไขในสัญญาในประเด็นการปรับราคาผลิตภัณฑ์ได้
หากราคาวัตถุดิบมีการเปลี่ยนแปลงถึงในระดับราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบและ
บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องเก็บวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก
3. ความเสี่ยงด้านรายได้จากการประมูล
ในการรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า บริษัทฯ จะต้องเข้าไปประมูลงาน ดังนั้นรายได้ของบริษัทฯ
จึงขึ้นกับความสามารถในการชนะประมูล ซึ่งมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี ในปี 2545 2546 2547 และในช่วง
6 เดือนแรกของปี 2548 บริษัทฯมีรายได้ตามสัญญาเท่ากับ 573.11, 749.86, 883.67 และ 645.22 ล้านบาท
ตามลำดับ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่บริษัทฯมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมากว่า 23 ปี โดยผลิตภัณฑ์
ของบริษัทฯเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานและความต้องการของลูกค้า รวมถึงการส่งมอบ
ผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อเวลา
4. ความเสี่ยงด้านรายได้จากวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
แผนงานการขยายกำลังการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปัจจุบันจะขยายเป็นโครงการซึ่ง
อยู่ในช่วงปี 2548 -2552 จากนั้นการขยายงานในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอาจจะเริ่มลดลง
เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการขยายกำลังการผลิตจะเริ่มมีมากกว่าอุปสงค์ ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์
ปิโตรเคมีมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจน้อยลงในการขยายกำลังการผลิต
ในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 บริษัทฯมีรายได้ในการผลิตสินค้าและให้บริการ
ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ตามสัญญา ดังนั้นหากในอนาคตซึ่งเป็นช่วงที่
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอาจมีการชะลอการลงทุนลง อาจส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัทฯในระดับหนึ่ง อย่างไร
ก็ตาม บริษัทฯมีการกระจายรายได้ไปยังอุตสาหกรรมพลังงาน โดยในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548
มีสัดส่วนรายได้มากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ตามสัญญา โดยอุตสาหกรรมพลังงานมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีลักษณะของวัฏจักรที่ชัดเจนเช่นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้นรายได้จากอุตสาหกรรมพลังงานจึงมีความมั่นคง
มากกว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
5. ความเสี่ยงจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้าไม่ทันตามที่กำหนด
บริษัทฯมีความเสี่ยงในการถูกปรับในกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าทันตาม
ที่กำหนดในสัญญา ทั้งนี้โดยทั่วไปบริษัทฯมีการกำหนดค่าชดเชยในการส่งมอบสินค้าล่าช้าเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของ
มูลค่างานทั้งหมดในสัญญา จากประวัติที่ผ่านมา 5 ปีย้อนหลัง บริษัทฯมีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าไม่ทันตามที่กำหนดซึ่ง
กระทบรายได้ของบริษัทฯไม่เกินจำนวน 6.37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.99 ของรายได้รวม โดยมีสาเหตุหลัก
คือการแก้ไขแบบงานที่ล่าช้าเกินเวลาที่ได้กำหนดไว้และบริษัทฯได้รับการจัดส่งวัตถุดิบจากผู้จัดจำหน่ายล่าช้ากว่า
กำหนดการอย่างไรก็ตาม หากเป็นการส่งมอบสินค้าล่าช้าอันเนื่องมากจากลูกค้า เช่น จัดส่งแบบที่ใช้ในการผลิต
ล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่บริษัทฯ กำหนด บริษัทฯสามารถต่อรองกับลูกค้าเพื่อขยายระยะเวลาในการส่งมอบ
สินค้าได้
6. ความเสี่ยงจากเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญขาดแคลน
ในช่วงปี 2547 ที่ผ่านมา ราคาเหล็กได้มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้มีการ
ขาดแคลนเหล็กภายในประเทศ บริษัทฯตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยเหล็กเป็นวัตถุดิบหลักใน
กระบวนการผลิตของบริษัทฯ หากเหล็กขาดแคลนและไม่มีวัตถุดิบอย่างเพียงพอ อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของ
บริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนงานที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีการวางแผนอย่าง
รัดกุมในการทำงาน โดยก่อนที่บริษัทฯ จะรับงานจากลูกค้า บริษัทฯจะดำเนินการตรวจสอบราคาและปริมาณเหล็ก
จากผู้จัดจำหน่ายก่อน และบริษัทฯจะต้องได้รับคำยืนยันจากผู้จัดจำหน่ายว่าสามารถที่จะส่งเหล็กให้กับบริษัทฯ ได้
ตามปริมาณที่ได้ตกลงกัน จากนั้นบริษัทฯจึงทำสัญญารับงานกับลูกค้า ทำให้บริษัทฯสามารถส่งมอบงานได้ตาม
ระยะเวลาที่กำหนด
7. ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 โครงสร้างรายได้และต้นทุนที่เป็นสกุลเงิน
ต่างประเทศของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่สกุลเงินต่างประเทศอื่นๆได้แก่ ยูโร
ดอลล่าร์สิงคโปร์ ปอนด์ และดอลล่าร์ออสเตรเลีย มีสัดส่วนไม่มากนัก
บริษัทฯได้กำหนดนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว โดยสกุลเงินดอลล่าร์
สหรัฐ บริษัทฯได้ทำการเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐเพื่อทำ Natural Hedge โดยบริษัทฯสามารถนำ
เงินรายได้ในสกุลดอลล่าร์สหรัฐมาชำระค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นเงินสกุลเดียวกันได้ ซึ่งสัดส่วนรายได้และต้นทุนของ
เงินดอลล่าร์สหรัฐมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนเงินสกุลอื่นๆนั้นมีความผันผวนไปในแต่ละช่วงเวลาและมีมูลค่า
ไม่มากนัก ซึ่งการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์นั้น บริษัทฯได้ประเมินค่าความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณ
รวมเข้าในราคาผลิตภัณฑ์ไว้ในระดับหนึ่ง
8. ความเสี่ยงจากการขายหุ้นราคาต่ำให้พนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่านของบริษัทฯ
เนื่องจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ บริษัทฯได้จัดสรรหุ้นให้พนักงานและกรรมการบริหาร 2
ท่านของบริษัทฯ เป็นจำนวน 3,000,000 หุ้น และราคาเสนอขายหุ้นต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นให้ประชาชน
ร้อยละ 25 โดยจำนวนหุ้นคิดเป็นคิดเป็นร้อยละ 2.10 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้
โดยหุ้นที่เสนอขายให้พนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่านของบริษัทฯทั้งหมดในส่วนนี้ได้ถูกห้ามขายทั้งจำนวน
ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับแต่วันที่หุ้นของบริษัทฯเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
เอ็มเอไอ โดยภายหลังจากวันที่หุ้นของบริษัทฯเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ครบกำหนด
ระยะเวลา 6 เดือนแรก จะสามารถทยอยขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย
6 เดือนต่อไปสามารถขายได้อีกร้อยละ 25 และเมื่อครบ 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด
ดังนั้นเมื่อพ้นระยะเวลาการห้ามขายหุ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้จึงมี
ความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้น หากพนักงานและกรรมการบริหาร 2 ท่านของบริษัทฯ ทำการขายหุ้นออกมา
อย่างไรก็ตาม จำนวนหุ้นดังกล่าวถือว่ามีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้
กรณีพิพาท ไม่มี
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 มีจำนวน 882 คน
-
- Verified User
- โพสต์: 55
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 42
เรื่อง ธรรมาภิบาล ของเจ้าของ ผมได้ฟังจากการสัมภาษณ์ แล้ว มีความมั่นใจว่า ผู้บริหารมีความโปร่งใส จริงใจ ครับ ตอนเข้าตลาดวันแรก เป็นช่วงที่เทรดหุ้นใหม่ โดนทิ้งทุกตัว แต่ว่า ตัวนี้ มันดีจริงๆๆ อย่างที่ เจ้าของว่า แถมเจ้าของยังซื้อเก็บอีก ไม่ได้ขายทิ้ง ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 55
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 43
บิ๊ก UEC ทนเห็นหุ้นรูดไม่ไหว ยอมควักงินเก็บหุ้นเข้ากระเป๋า
บิ๊ก UEC เปิดใจทนเห็นราคาหุ้นรูดลงไม่ไหว ยอมควักเงินเก็บหุ้นเข้ากระเป๋า
กว่า 1.5 ล้านหุ้น ย้ำ UEC เห็นหุ้นน่าลงทุนระยะยาว โวแนวโน้ม 5 ปีข้างหน้ารัฐบาล
ทุ่มงบกว่า 4 แสนล้านลงทุนปิโตรเคมี มั่นใจงานนี้บริษัทมีเอี่ยวแน่
จากกรณีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก
ทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร ประธานกรรมการ บมจ ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง
(UEC) และครอบครัว ได้เข้าซื้อหุ้น UEC ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 จนถึงวันที่ 7
ธันวาคม 2548 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,560,800 ล้านหุ้น โดยหุ้น UEC เพิ่งเข้าซื้อขายในตลาด
หลักทรัพย์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีราคาไอพีโอที่หุ้นละ 8.10 บาทนั้น
นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร ประธานกรรมการ บมจ ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง (UEC)
กล่าวว่า การที่ตนเข้าไปซื้อหุ้น UEC อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเพราะหุ้น UEC ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าลง
ทุน ผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมารายได้โตเฉลี่ยปีละ 24%
ขณะที่กำไรโตเฉลี่ยปีละ 37% มาโดยตลอด และราคาหุ้นปัจจุบันถือว่าถูกมาก
สำหรับผลประกอบการของบริษัทในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีกำไรสุทธิประมาณ 118
ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 100% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิประมาณ 59
ล้านบาท ส่วนแนวโน้มธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น ในส่วนของพลังงานและปิโตรเคมี รัฐบาลจะมี
การใช้เงินลงทุนประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ซึ่ง UEC มีโอกาสจะได้งานในส่วนดังกล่าวด้วย
'อยากบอกว่า หุ้น UEC เป็นหุ้นที่น่าลงทุน และเป็นหุ้นที่ถูกถึงอยากลงทุน ซึ่งเหมาะ
กับการลงทุนระยะยาว ซึ่งระยะยาวดีแน่นอน ส่วนราคาหุ้นที่ยังปรับตัวลดลงนั้น คงต้องปล่อยให้เป็น
ไปตามกลไกตลาดฯ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ให้ข้อมูลที่ถูก
ที่มา : น.ส.พ.คอหุ้น
บิ๊ก UEC เปิดใจทนเห็นราคาหุ้นรูดลงไม่ไหว ยอมควักเงินเก็บหุ้นเข้ากระเป๋า
กว่า 1.5 ล้านหุ้น ย้ำ UEC เห็นหุ้นน่าลงทุนระยะยาว โวแนวโน้ม 5 ปีข้างหน้ารัฐบาล
ทุ่มงบกว่า 4 แสนล้านลงทุนปิโตรเคมี มั่นใจงานนี้บริษัทมีเอี่ยวแน่
จากกรณีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก
ทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร ประธานกรรมการ บมจ ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง
(UEC) และครอบครัว ได้เข้าซื้อหุ้น UEC ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 จนถึงวันที่ 7
ธันวาคม 2548 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,560,800 ล้านหุ้น โดยหุ้น UEC เพิ่งเข้าซื้อขายในตลาด
หลักทรัพย์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีราคาไอพีโอที่หุ้นละ 8.10 บาทนั้น
นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร ประธานกรรมการ บมจ ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง (UEC)
กล่าวว่า การที่ตนเข้าไปซื้อหุ้น UEC อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเพราะหุ้น UEC ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าลง
ทุน ผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมารายได้โตเฉลี่ยปีละ 24%
ขณะที่กำไรโตเฉลี่ยปีละ 37% มาโดยตลอด และราคาหุ้นปัจจุบันถือว่าถูกมาก
สำหรับผลประกอบการของบริษัทในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีกำไรสุทธิประมาณ 118
ล้านบาท หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 100% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิประมาณ 59
ล้านบาท ส่วนแนวโน้มธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น ในส่วนของพลังงานและปิโตรเคมี รัฐบาลจะมี
การใช้เงินลงทุนประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ซึ่ง UEC มีโอกาสจะได้งานในส่วนดังกล่าวด้วย
'อยากบอกว่า หุ้น UEC เป็นหุ้นที่น่าลงทุน และเป็นหุ้นที่ถูกถึงอยากลงทุน ซึ่งเหมาะ
กับการลงทุนระยะยาว ซึ่งระยะยาวดีแน่นอน ส่วนราคาหุ้นที่ยังปรับตัวลดลงนั้น คงต้องปล่อยให้เป็น
ไปตามกลไกตลาดฯ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ให้ข้อมูลที่ถูก
ที่มา : น.ส.พ.คอหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 44
พี่ Jeng ครับ FCF นี่ เขาคิด เงินฝากประจำสถาบันการเงินที่มีข้อจำกัดในการใช้69 รวมด้วยหรือปล่าวครับ (FCF=145+250+69)Saitthasak เขียน: 3.2 นี่มาจาก เงินสด145 เงินฝาก250 เงินฝากประจำสถาบันการเงินที่มีข้อจำกัดในการใช้69 ใช่หรือปล่าวครับพี่ Jeng
หรือคิดเฉพาะเงินสด+เงินฝาก(145+250)เพราะมันเอามาใช้ไม่ได้
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 45
โค้ด: เลือกทั้งหมด
Saitthasak
ขอบคุณครับ อยากรู้เหมือนกัน
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 46
ถ้าจําไม่ผิด ไม่เกี่ยวกันนี่ครับSaitthasak เขียน: พี่ Jeng ครับ FCF นี่ เขาคิด เงินฝากประจำสถาบันการเงินที่มีข้อจำกัดในการใช้69 รวมด้วยหรือปล่าวครับ (FCF=145+250+69)
หรือคิดเฉพาะเงินสด+เงินฝาก(145+250)เพราะมันเอามาใช้ไม่ได้
FCFคือ การปรับกําไรสุทธิ ให้อยู่ในรูปของกระแสเงินสด แล้วหัก
ด้วย เงินที่ต้องใช้ลงทุน ก็จะได้ กระแสเงินสดอิสระ
มันมีสูตรแต่จะยาวครับและยุ่งยาก ผมไม่ขออธิบาย
แต่มีอีกวิธี 1 พี่ ฉัตรเคยให้ไวคือ
เอา cfo-cash flow from investingครับ
เนื่องจาก cfo เค้าปรับมาให้แล้วแต่ทั้งนี้cash flow from investing
ที่จะนํามาหักต้อง วิเคราห์เองนะครับว่า เป็น รายจ่ายพวกเครื่อง จักร
ที่ต้อง ลงทุนประจํา หรือ ซ่อมเสมอรึเปล่าครับ
ทั้งหมดคือที่ผมจําได้คร่าวๆนะ ถ้าผิดรบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 47
ถ้าจําไม่ผิด ไม่เกี่ยวกันนี่ครับRocker เขียน:
FCFคือ การปรับกําไรสุทธิ ให้อยู่ในรูปของกระแสเงินสด แล้วหัก
ด้วย เงินที่ต้องใช้ลงทุน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
UEC มีใครสนใจบ้าง
โพสต์ที่ 48
น่าซื้อเล่มนี้ไปอ่านกันนะ พี่ว่าจะไปซื้อ จะได้รู้เรืองหน่อย
6. การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis) 400
7. การเงินธุรกิจ (Corporate Finance) 200
http://www.tsi-thailand.org/Professiona ... _CISA.html
6. การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis) 400
7. การเงินธุรกิจ (Corporate Finance) 200
http://www.tsi-thailand.org/Professiona ... _CISA.html